ฉบับที่ 188 เพื่อนบ้านเป็นเหตุวิธีสังเกตเครื่องสำอางที่ปลอดภัย


การเลือกเครื่องสำอางให้ปลอดภัยจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเราตรวจสอบรายละเอียดสำคัญต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน ซึ่งจะมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นอย่างไรลองมาดูกันเลย


1. ตรวจสอบฉลากกันก่อน

ฉลากเครื่องสำอาง ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทุกชนิดจำเป็นต้องมี ซึ่งตามพระราชพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 กำหนดให้ระบุรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอางและชื่อทางการค้า2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีที่ผลิตในประเทศ ส่วนในกรณีที่นำเข้าให้ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า และชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต 3. ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน เดือนปีที่ผลิตและที่หมดอายุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต 4. ข้อความอื่นเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกขา


สำหรับกรณีภาชนะบรรจุเครื่องสำอางมีขนาดเล็ก คือ มีพื้นที่แสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ ดังนี้ 1. ชื่อเครื่องสำอาง 2. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต 3. เดือน ปี ที่ผลิต/ปี เดือนที่ผลิต 4. เลขที่ใบรับแจ้ง ส่วนข้อความอื่นๆ ให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารคู่มือที่ใช้ประกอบเครื่องสำอาง


2. ตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง

ปัจจุบันเครื่องสำอางทุกชนิดต้องมีเลขที่จดแจ้งเป็นตัวเลขจำนวน 10 หลัก เช่น 10-2-5624168 โดย 2 หลักแรก บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดที่จังหวัดใด ถัดมาหลักที่ 3 บ่งบอกว่าเป็นสินค้าที่ผลิต (1) หรือนำเข้า (2) หรือผลิตเฉพาะเพื่อการส่งออก (3) และหลักที่ 4 – 5 บ่งบอกว่าแจ้งรายละเอียดในปี พ.ศ. ใด ซึ่งจะมีอายุ 3 ปีนับแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง ส่วนหลักที่ 6 -10 จะเป็นลำดับของการออกใบรับแจ้งในปี พ.ศ. นั้น ซึ่งเลขที่จดแจ้งจะแตกต่างจากเลข อย. 13 หลักที่ไว้กำกับควบคุมความปลอดภัยด้านอาหาร


หากผลิตภัณฑ์ใดผ่านการตรวจสอบจาก อย.แล้วว่าไม่มีสารห้ามใช้ (หรือหากมีสารที่ควบคุมปริมาณการใช้ก็จะต้องมีปริมาณไม่เกินตามที่กฎหมายกำหนด) จะได้รับเลขที่รับแจ้งและต้องแสดงเลขดังกล่าวไว้บนฉลากเครื่องสำอาง เพื่อบ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แจ้งรายละเอียดต่อรัฐตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. (http://fdaolap.fda.moph.go.th/logistics/cosmetic/CSerch.asp?id=cos ) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีการระบุชื่อผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายตรงกับในฉลากหรือไม่ โดยหากเราพบว่าไม่ตรงกันก็สามารถแจ้ง อย. เพื่อให้ตรวจสอบได้


อย่างไรก็ตามการที่ผลิตภัณฑ์มีเลขที่จดแจ้ง ไม่ได้หมายความว่าเราใช้แล้วจะไม่มีอาการแพ้ เนื่องจากการจดแจ้งเป็นเพียงการแจ้งส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่อาการแพ้เป็นปฏิกิริยาเฉพาะบุคคล ซึ่งต่อให้ไม่มีสารต้องห้ามอยู่ในส่วนประกอบ แต่เราสามารถเกิดอาการแพ้ได้จากสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำหอม แอลกอออล์หรือสารกันเสีย จึงควรทดสอบอาการแพ้เบื้องต้นก่อนใช้งานเสมอ


3. สังเกตวิธีการโฆษณา

ผลิตภัณฑ์ใดที่มีการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่า มีจุดมุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใดๆ ต่อร่างกายมนุษย์ หรือสำหรับใช้ในการบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค ถือว่าเป็นข้อความโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญอันเกี่ยวกับเครื่องสำอาง เช่น “ยกกระชับ หน้าแลเรียวเล็ก ปลอดภัย 100% นวัตกรรมใหม่ ปรับหน้าเรียวง่ายๆ เมื่อใช้ต่อเนื่อง 7-14 วัน” โดยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คำว่าปลอดภัย 100% ถือเป็นข้อความที่พิจารณาได้ว่าโอ้อวดเกินจริง ยากแก่การพิสูจน์


4. สังเกตร้านค้า

ร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เป็นทางเลือกที่ดีในการซื้อเครื่องสำอาง เพราะหากเกิดปัญหา เราสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้ นอกจากนี้เราก็ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาชนะบรรจุหีบห่อสภาพดี และมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อนชื้นหรือโดนแสงแดด

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

230 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ เครื่องสำอาง ปลอดภัีย ผลิตภัณฑ์

ฉบับที่ 278 สิ่งที่ต้องระวัง “ช่วงฤดูฝน”

        เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูฝนแล้ว คิดว่าหลายๆ คนคงจะได้งัดร่มและเสื้อกันฝนออกมาใช้งานกันแล้วแน่ๆ ฤดูฝนของประเทศไทยเรียกได้ว่าเราทุกคนคงต้องระวังกันเป็นพิเศษ เนื่องจากพายุฝนที่กระหน่ำลงมาจะทำให้มีอากาศที่อับชื้น เฉอะแฉะ หรือมีน้ำท่วมขังจนสร้างความไม่สะดวกสบายให้กับผู้คน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลายสิ่งที่เราควรจะต้องระมัดระวังกันในช่วงหน้าฝนด้วย         อย่างแรก ช่วงหน้าฝนสิ่งที่เราควรจะต้องระวังกัน คือ โรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับหน้าฝน ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกัน  โรคที่มียุงเป็นพาหนะ           แน่นอนว่าเมื่อมีฝนก็อาจจะมีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งก่อให้เกิดลูกน้ำยุงลายพาหะของไข้เลือดออก ดังนั้นหากในบ้านหรือบริเวณรอบบ้านมีน้ำขังก็รีบให้จัดการไม่ให้มีพวกน้ำขังไม่ว่าจะบนพื้นหรือในภาชนะต่างๆ ทันที เพื่อป้องกันการเกิดลูกน้ำยุงลาย และถ้าบ้านใครมีโอ่งหรือถังน้ำก็ควรหาฝามาปิดให้เรียบร้อย อย่าลืมป้องกันตนเองด้วยการพยายามอย่าให้ยุงกัด ใส่เสื้อแขนยาวขายาวหรือใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง โรคน้ำกัดเท้า         โรคนี้เกิดจากการอับชื้นบริเวณเท้า โดยสาเหตุหลัก เช่น เท้าของเราต้องแช่น้ำหรือลุยน้ำเป็นเวลานานๆ นั้นเอง และน้ำที่เท้าเราไปสัมผัสอาจจะไม่สะอาด บางทีเป็นน้ำท่วมขังที่มีสิ่งสกปรกปะปนอยู่จนก่อให้เกิดการเชื้อราที่เท้าเราได้นั้นเอง แนะนำวิธีป้องกันเบื้องต้น หลังจากลุยน้ำมาต้องรีบทำความสะอาดด้วยสบู่ทุกซอกนิ้วแล้วเช็ดให้เท้าแห้งทันที และไม่ควรสวมถุงเท้าหรือรองเท้าที่อับชื้นเป็นเวลานานๆ  โรคหวัด         ถือว่าเป็นโรคยอดฮิตเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะหน้าหนาวหรือหน้าฝนกับไข้หวัด ดังนั้นป้องกันโดยการดูแลตนเองโดยการล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้านเพื่อป้องกันการติดเชื้อ สระผมหลังเปียกฝนและเช็ดให้แห้งสนิททุกครั้งก่อนเข้านอน โรคฉี่หนู         เป็นโรคที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะบริเวณน้ำท่วมขังอาจมีปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะปะปนอยู่ ดังนั้นสำหรับคนที่มีบาดแผลบริเวณเท้าหรือขา พยายามอย่าให้โดนน้ำไม่สะอาดโดยเฉพาะพวกน้ำท่วมขังที่มีสิ่งปฏิกูลปะปน หากต้องเดินลุยน้ำจริงๆ ให้สวมใส่รองเท้าบูทเพื่อป้องกัน หลังจากลุยน้ำให้รีบทำความสะอาดทันทีและอย่าสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหนะของโรคได้ สำหรับอาการโรคฉี่หนู เริ่มต้นอาจมีอาการคล้ายเหมือนไข้หวัด ถ้าไม่แน่ใจผู้บริโภคควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์และหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี         ทั้งนี้นอกจากโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับฤดูฝนแล้ว ยังคงมีสิ่งที่ต้องระวังอีก เช่น สัตว์มีพิษทั้งหลาย งู แมงป่อง ตะขาบ เป็นต้น แนะนำให้ดูแลสำรวจเช็กพื้นที่ภายในบ้านให้ดี ตรงไหนที่น่าจะเป็นพื้นที่ให้สัตว์มีพิษอาศัยได้ให้เอาออกและทำให้เป็นที่โล่งๆ ได้ยิ่งดี พยายามอย่าทำให้รกรุงรังเพราะอาจกลายเป็นที่อยู่อาศัยจากสัตว์มีพิษชั้นดี แล้วกลายเป็นที่อันตรายต่อผู้อยู่อาศัยซะเอง ก่อนสวมรองเท้าก็ควรดูให้ดี เคาะๆ ก่อนใส่ เพื่อเช็กว่าไม่มีสัตว์มีพิษทั้งหลายอยู่ในรองเท้า         ส่วนอีกเรื่องที่ต้องดูให้ดีเพื่อความปลอดภัย คือ เรื่องของไฟฟ้าภายในบ้านที่ต้องระวัง เพราะเป็นเรื่องอันตรายที่ใกล้ตัวมากที่สุด ไม่ควรปิดเปิดและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียกๆ อย่านำมือไปใกล้หรือสัมผัสเครื่องไฟฟ้าเด็ดขาด หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องไฟฟ้าที่เปียกน้ำไปแล้ว หากต้องการใช้งานควรรอให้แห้งสนิทเท่านั้น และอย่าลืมติดตั้งสายดินเพื่อความปลอดภัย และปิดถอดปลั๊กทุกครั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งาน ข้อมูลจาก PEA เตือนภัยจากการใช้ไฟฟ้าช่วงฤดูฝนฉี่หนู หน้าฝนน้ำท่วมต้องระวังให้หนักhttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/leptospirosisโรคติดเชื้อที่มากับฤดูฝนhttps://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2011/hong-kong-foot-althletes-foot-flood

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 277 ป้องกันผดผื่นหน้าร้อนได้ด้วยตนเอง

        หน้าร้อนประเทศไทย พ.ศ. 2567 อุณหภูมิพุ่งสูงไปถึง 40 กว่าองศา ถือว่าร้อนมากๆ จะออกไปไหนทีแทบละลายเพราะอุณหภูมิ อากาศร้อนแล้วแดดยังแรงไปอีกก็อย่าลืมป้องกันผิวด้วยครีมกันแดดเพื่อให้ผิวมีสุขภาพดี แต่ว่านอกจากผิวไหม้เกรียมจากแดด ปัญหาที่พบบ่อยของหลายคนในช่วงหน้าร้อนนี้อีกอย่างจากสภาพอากาศร้อนก็คงจะเป็นอาการผดผื่นที่ขึ้นมาตามร่างกาย ซึ่งจะป้องกันได้อย่างไรฉลาดซื้อมีคำแนะนำมาฝาก         ผดผื่นหน้าร้อนเกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ขึ้นได้ทุกบริเวณร่างกายทั้ง ใบหน้า หลัง แขน ขา ข้อพับต่างๆ ตามจุดที่เกิดเหงื่อได้ง่าย ปกติผดผื่นลักษณะนี้มักจะสามารถหายไปได้เองได้ตามธรรมชาติอาจจะไม่ต้องกังวลมาก แต่ยังไงก็ต้องป้องกันไว้ก่อนดีกว่าซึ่งทำได้ง่ายๆ  ดังนี้         1. ผดผื่นเกิดจากความร้อนเป็นสาเหตุ เราก็พยายามอยู่ในที่อากาศเย็น โล่งโปร่งสบายๆ พื้นที่อากาศถ่ายเทได้ตลอด หลีกเลี่ยงไม่ให้เหงื่อออกเยอะได้ยิ่งดี        2. ใส่เสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี ไม่เป็นเสื้อที่คับแน่นจนเกินไป ที่สำคัญควรเป็นเสื้อซักสะอาดแล้ว ไม่ใส่เสื้อซ้ำเพราะอาจก่อให้เกิดความหมักหมม เหงื่อไคล สิ่งสกปรกต่างๆ ได้ เรื่องสุขอนามัยสำคัญเสมอ        3. อาบน้ำเย็นและไม่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ก่อให้ระคายเคืองง่าย หรือใช้แล้วผิวแห้งตึง และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม        4. สายออกกำลังกาย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งที่แดดแรงๆ และควรทาครีมกันแดดซ้ำสม่ำเสมอ  หลังออกกำลังกายควรอาบน้ำเพื่อชำระคราบเหงื่อบนร่างกายออก        5. หลีกเลี่ยงแสงแดดแรงๆ หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่อุณหภูมิสูง        6. สำหรับใครที่สายบำรุงผิว ต้องทาครีมสม่ำเสมอแนะนำให้ไม่เลือกเนื้อครีมที่หนักจนเกินไป เพราะจะทำให้อุดตันได้ง่าย          ผดผื่นไม่ค่อยอันตรายแต่มักจะสร้างความรำคาญ เช่น อาการคัน และเป็นตุ่มใสๆ ขึ้นมาแนะนำว่าพยายามอย่าแกะหรือเกา เพราะอาจทำให้แผลถลอกแสบจนก่อให้เกิดแผลเป็น         วิธีรักษาผดผื่นได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น หากมีอาการคันมากๆ แนะนำให้อาบน้ำเย็นหลังจากนั้น ให้ทายาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการคัน เช่น Calamine Lotion ถ้าไม่ดีขึ้น หรือหลายวันแล้วผื่นผด ยังไม่ยุบและมีตุ่มหนอง ตุ่มแดง หรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี อย่าซื้อยามากินหรือทาเองเด็ดขาด         ในกรณีเข้าร้านยาเพื่อซื้อยาควรปรึกษาเภสัชกรโดยบอกอาการให้ชัดเจน บอกตัวยาที่เราแพ้ให้ละเอียดเพื่อป้องกันอันตรายในการบริโภคยาผิดชนิด อ่านและศึกษาวิธีการใช้ให้ชัดเจน เพราะยาทาบางตัวที่ใช้ทาผิวหนังอาจเป็นยาสเตียรอยด์ใช้บ่อยๆ จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ ทั้งนี้ นอกจากผดผื่นทางผิวหนังช่วงหน้าร้อนแล้ว ยังคงมีโรคทางผิวหนังช่วงหน้าร้อนอีกหลายประเภท ดังนั้น อยากให้หลายๆ คนดูแลตนเองโดยหมั่นรักษาความสะอาด สุขอนามัยให้ดี ทาครีมกันแดดสม่ำเสมอ  ข้อมูลจาก https://www.vimut.com/article/Prickly-heathttps://www.siphhospital.com/th/news/article/share/379https://www.pobpad.com/ผดร้อนhttps://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/รับมือ-ผดผื่นคัน-วายร้า/

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 “รอยสิว” แก้ยังไงดี

        “รอยสิว” ไม่ใช่เรื่องสิวๆ เอาเสียเลย ยิ่งถ้ามันเยอะจนเกินไป ยิ่งเป็นเรื่องกวนใจอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะมันทำให้ผู้ประสบปัญหาขาดความมั่นใจได้ไม่ว่าจะเป็นรอยดำ รอยแดงหรือหลุมสิวที่ทิ้งร่องรอยไว้บนหน้า แต่มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับคนเป็นสิว อย่างไรก็ตามก็พอมีวิธีการรักษา ดูสิว่าทำอย่างไรได้บ้าง           ก่อนที่จะไปรักษารอยสิว สิ่งที่ไม่ควรทำและหลีกเลี่ยง มีดังนี้         ·  เวลาเป็นสิวไม่ว่าจะสิวอุดตันหรือสิวอักเสบ ห้ามแกะ/บีบสิว หรือกดสิวเอง ควรให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กดเท่านั้น        ·  ไม่ขัดถู สครับใบหน้าแรงๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง         · ไม่ควรนำส่วนผสมต่างๆ ที่เป็นกรดแรงๆ มาแต้มสิวเพราะอาจเกิดอาการไหม้ได้จนทำให้เป็นรอยดำมากกว่าเดิมวิธีการรักษารอยดำ แดง จากสิว                   รอยสิวต่างที่เกิดขึ้นหลังจากที่สิวหายแล้วนั้น หากเป็น “รอยแดง” และ “รอยดำ” บริเวณบนใบหน้าจะรักษาได้ง่าย นั่นคือต้องขยันทาครีมหรือเจลลดรอยสิวอย่างสม่ำเสมอ โดยสามารถใช้พวกผลิตภัณฑ์ช่วยลดรอยดำจากสิวที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปได้ แต่จะให้ดีเลือกตัวที่มีกลุ่มสารประกอบ เช่น ไนอะซินาไมด์ วิตามินซี  กรดซาลิไซลิก(กลุ่มผลัดเซลล์ผิว) หรืออาร์บูติน โดยเลือกที่มีส่วนผสมที่มาจากสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้ มะเขือเทศ หอมแดง เป็นต้น อ่านฉลากให้ละเอียดเพื่อดูส่วนผสมต่างๆ ให้ดีเพื่อป้องกันที่จะแพ้ส่วนผสมบางตัว และอย่าลืมดูวันเดือนปีที่หมดอายุ รายละเอียดวิธีการใช้ ชื่อบริษัทที่ผลิต/จัดจำหน่าย                          ในส่วนของสารกลุ่มผลัดเซลล์ผิวแน่นอนว่าสามารถช่วยลดรอยได้แต่ควรระมัดระวังการใช้ให้ถูกวิธี อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้งว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับอะไร เนื่องจากผลิตภัณฑ์กลุ่มผลัดเซลล์ผิวบางตัวใช้เป็นกลุ่มรักษาสิว ซึ่งหากนำมาใช้ลดรอยโดยเฉพาะนั้น คงจะไม่เหมาะเพราะใช้ผิดวัตถุประสงค์และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้มากกกว่าเดิม จากหน้าที่ดีขึ้นอาจจะกลายเป็นแย่ลงได้นั่นเอง                 นอกจากนี้ อย่าลืมทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกตัว และที่สำคัญควรทามอยเจอร์ไรเซอร์รวมถึงครีมกันแดดในช่วงระหว่างรักษารอยดำ แดง เพื่อป้องกันแสงแดดทำร้ายผิวให้หมองคล้ำกว่าเดิม ควรเป็นกันแดดที่มีประสิทธิภาพดี เช่น มี SPF 50+ ขึ้นไป         หากผู้บริโภคมีรอยสิวเยอะมากและรู้สึกว่าใช้ผลิตภัณฑ์ลดรอยแล้วแต่ก็ไม่ช่วยอะไร อีกวิธีที่ช่วยลดรอยให้เร็วขึ้น คือ การทำเลเซอร์ลดรอย ซึ่งส่วนมากจะนิยมใช้เป็นตัวเลเซอร์ IPL (ปัจจุบันอาจมีเลเซอร์ตัวอื่นที่สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน) การเข้าใช้บริการรักษาด้วยเลเซอร์จากคลินิกเสริมความงาม ควรตรวจสอบให้ดีเกี่ยวกับรายละเอียดใบอนุญาตคลินิก สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายหรือวิธีการรักษาให้ชัดเจน และรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น         กรณี รอยหลุมสิว หรือรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว เป็นรอยที่รักษายากพอสมควร ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีครีมตัวไหนรักษาให้กลับมาเนียนเหมือนเดิมได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วิธีเดียวคือการเลเซอร์เท่านั้น ดังนั้นหากใครที่ดูรีวิวจากบรรดาอินฟลูเอนเซอร์แล้วมีการเคลมว่ามี ครีมสามารถรักษาหลุมสิวให้หายได้อย่างรวดเร็ว 3-7 วัน อย่าหลงเชื่อนะคะ  ข้อมูลจาก วิธีรักษาและลบรอยสิว - พบแพทย์ (pobpad.com)https://ch9airport.com/th รอยดำหลังการเกิดสิว รักษาอย่างไรดีhttps://www.si.mahidol.ac.th/metc/met/th/images/exhibition/METex2022/Acne/scar.html

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 ใส่คอนแทคเลนส์อย่างไร ให้ปลอดภัย

        การใส่คอนแทคเลนส์ยังคงเป็นที่นิยม บางคนใส่เพื่อแก้ปัญหาทางด้านสายตา แต่บางรายก็เพื่อแฟชั่นความสวยงามเฉยๆ แต่รู้หรือไม่ แม้การใส่คอนแทคเลนส์จะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไรแต่ก็ควรจะต้องระมัดระวังกันไว้ เพราะเกี่ยวพันกับอวัยวะสำคัญอย่างดวงตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่บอบบาง หากดูแลไม่ดีอาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้ ยิ่งเฉพาะสำหรับมือใหม่ที่หัดใส่คอนแทคเลนส์เป็นครั้งแรกด้วยนั้น ยิ่งต้องดูแลให้ปลอดภัย ฉลาดซื้อจึงมีวิธีที่ถูกต้องมาแนะนำ การเลือกซื้อคอนแทคเลนส์         คอนแทคเลนส์ที่จำหน่ายโดยทั่วไปส่วนมากจะมีระยะเวลาในการใส่ เช่น หลักๆ ก็จะมีเป็นแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี เป็นต้น ซึ่งสำหรับผู้ใส่คอนแทคเลนส์ควรจะใส่ตามระยะเวลาที่เลือกซื้อ เช่น หากเลือกซื้อแบบรายวัน ก็ควรใช้แบบวันต่อวันและเปลี่ยนใหม่ในวันถัดไปทันที ไม่ควรเอาแบบรายวันมาใส่เป็นรายเดือนเด็ดขาด รวมถึงแบบอื่นๆ ด้วย ห้ามใช้เกินระยะเวลาที่กำหนดเพื่อความปลอดภัย         ในหมู่วัยรุ่นมักจะนิยมใส่คอนแทคเลนส์โดยซื้อจากตามท้องตลาดทั่วไป โดยไม่ตรวจเช็กรายละเอียดอื่นๆ แนะนำว่า ควรต้องดูฉลากกันสักหน่อย เช่น ชื่อคอนแทคเลนส์ วัสดุที่ใช้ วันเดือนปีที่หมดอายุ ที่สำคัญเลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสามารถนำเลขมาตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ ระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ - กระทรวงสาธารณสุข อย่าลืมติ๊กเครื่องมือแพทย์ก่อนตรวจสอบ  ข้อควรรู้ก่อนใส่คอนแทคเลนส์        1. สำหรับผู้ที่ต้องการใส่คอนแทคเลนส์เนื่องจากปัญหาสายตาสั้นแนะนำให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญและเข้าตรวจวัดค่าสายตาก่อนใส่         2. ล้างมือให้สะอาดเสมอก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์ทุกครั้งก่อนใส่         3. ก่อนใส่คอนแทคเลนส์ควรนำออกมาแช่น้ำยาคอนแทคเลนส์ก่อนทุกครั้ง ไม่แนะนำให้แช่เป็นน้ำเกลือหรือน้ำเปล่า         4. ตรวจเช็กก่อนใส่ว่าเลนส์ไม่พลิกหรือกลับด้าน เพื่อป้องกันการใส่ผิดด้านแล้วเกิดการระคายเคือง        5. เมื่อใส่คอนแทคเลนส์แล้วไม่รู้สึกระคายเคืองตา แสดงว่าเข้าที่เรียบร้อยแล้ว หากมีอาการแสบตาระคายเคืองไม่หาย แนะนำควรถอดออกทันที         6. ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นอนข้ามคืน (ต้องถอดออกก่อนเสมอ) เพราะเสี่ยงทำให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อ หรืออื่นๆ ที่อันตรายต่อดวงตาได้        7. สำหรับคนที่ปัญหาตาแห้งบ่อยควรพกน้ำตาเทียมเพื่อหยอดระหว่างวัน แนะนำใช้แบบธรรมดาไม่เป็นแบบหยอดตาแล้วเย็นหรือใดๆ ทั้งสิ้น        8. ที่สำคัญคือไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับคนอื่นโดยเด็ดขาด  ดูแลรักษาอย่างไรหลังใช้งาน         สำหรับคนที่ใช้แบบรายสัปดาห์ รายเดือนหรือปี ควรเปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ในตลับทุกครั้งหลังใช้งาน และควรทำความสะอาดอีกด้วย โดยมีวิธีดังนี้         ล้างมือให้สะอาดและนำคอนแทคเลนส์ ไว้บนฝ่ามือเทน้ำยาลงที่เลนส์แล้วใช้นิ้วถูทำความสะอาดบริเวณเลนส์สักพัก และล้างด้วยน้ำยาอีกรอบ เมื่อเสร็จให้นำใส่ตลับแล้วแช่น้ำยาเหมือนเดิม รวมถึงทำความสะอาดตลับที่ใส่ทุกวัน ในส่วนของตลับใส่ก็ควรเปลี่ยนอย่างน้อยทุก 3 เดือน  ข้อควรระวัง        ·     พิจารณาบรรจุภัณฑ์หรือขวดบรรจุคอนแทคเลนส์ ต้องไม่มีรอยชำรุดหรือเสียหาย หากเจอในลักษณะนั้น ไม่ควรนำมาใช้งาน        ·     น้ำยาคอนแทคเลนส์ ควรดูฉลากให้ชัดเจน โดยเฉพาะวันเดือนปีที่หมดอายุ ถ้าหมดอายุแล้วไม่ควรนำมาใช้ต่อ ไม่ต้องเสียดายให้ทิ้งไปเลย นอกจากนี้อ่านฉลากหรือวิธีการใช้งานให้ละเอียดและควรทำตามอย่างเคร่งครัด เนื่องจากตัวน้ำยาคอนแทคเลนส์ก็มีหลากหลายรูปแบบ บางอันสามารถหยอดตาได้หรือบางอันไม่ได้  และวิธีการใช้งานอาจแตกต่างกัน และอย่าลืม ไม่ควรใช้น้ำเปล่าหรือน้ำเกลือแทนน้ำยาเด็ดขาด         ·     หากมีอาการปวดเจ็บตาผิดปกติจากเดิม เช่น ตาแดง ตามัว ตามแห้ง รวมถึงอาการต่างๆ มากกว่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา  ข้อมูลจาก : วิธีการดูแล คอนแทคเลนส์ ที่ถูกต้อง วิธีใส่คอนแทคเลนส์ที่ปลอดภัย ทำได้ง่ายใน 7 ขั้นตอนคอนแทคเลนส์ ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยคอนแทคเลนส์ : เภสัชกรหญิง กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลใส่คอนแทคเลนส์อย่างไร ให้ปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)