ฉบับที่ 189 “ทิชชู่เปียก” เลือกใช้เท่าที่จำเป็น



ปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายหลากหลายประเภท ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่งก็คือ ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ทิชชู่เปียก” (Wipes) ถือเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ ใช้เช็ดทำความสะอาดได้ทั้งผิวกาย ผิวหน้า ใช้ลบรอยเครื่องสำอาง บางชนิดบางยี่ห้อก็สามารถนำไปทำความสะอาดผิวกายของทารกได้ด้วย 


หตุผลที่ผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน น่าจะมาจากความรู้สึกของผู้ใช้ที่รู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้สามารถทำความสะอาดได้ดีมีประสิทธิภาพมากกว่าจะใช้แค่กระดาษชำระธรรมดา ทั้งนี้เพราะผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ มีส่วนประกอบหลักคือ “น้ำ” ทำให้เวลาที่เช็ดทำความสะอาดนอกจากคราบสกปรกจะถูกเช็ดออกได้หมดจดมากกว่าแล้ว ยังทำให้ผิวของผู้ใช้รู้สึกถึงความชุ่มชื่น นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของสารลดแรงตึงผิว สารฆ่าเชื้อโรค สารที่ช่วยบำรุงผิว จึงอาจทำให้ผู้บริโภคมั่นใจและนิยมมากกว่ากระดาษทิชชู่


แต่การใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของสารเคมีในกลุ่มของสารที่ใช้ฆ่าเชื้อ (กลุ่ม Antiseptics หรือสารเคมีที่ใช้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่อยู่ภายนอกร่างกายสิ่งมีชีวิต ไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อ) แม้ว่าจะเป็นสารที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ได้เพราะผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่เป็นอันตราย แต่ผิวของแต่ละคนไม่เหมือนกันอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงอาจเกิดขึ้นได้



นอกจากนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกาศว่าพบผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ มีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลชีววิทยาจำนวน 2 ตัวอย่าง(จาก 44 ตัวอย่าง) คิดเป็นร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีจำนวนรวมของแบคทีเรีย ยีสต์ และ รา ที่เจริญเติบโตโดยใช้อากาศมากกว่า 1,000 cfu/g ซึ่งอาจมีสาเหตุจากกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะ จึงต้องระมัดระวังในการใช้ให้ถูกวิธี 


ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จะพาไปดูผลการเปรียบเทียบของผลิตภัณฑ์ “ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย” ว่าแต่ละยี่ห้อที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด มีจุดดีจุดเด่นอะไรกันบ้าง 


ผลการสำรวจ




-จากการสำรวจพบว่า มีการกล่าวอ้างบนฉลากว่า “ไม่มีการใช้แอลกอฮอล์” แทบจะทุกยี่ห้อ อย่างไรก็ตาม แอลกอฮอล์ที่ถูกอ้างถึง น่าจะหมายถึง เอทานอล (ethanol) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค แต่ก็เป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ง่าย แต่จากการสังเกตบนฉลากในส่วนประกอบบางยี่ห้อที่อ้างว่าปราศจากแอลกอฮอล์นั้น ก็มีการระบุว่า มีการใช้ Dichlorobenzyl alcohol ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ ชนิดหนึ่งเช่นกัน ซึ่งนิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อในช่องปาก และบางยี่ห้อมีการใช้ Phenoxyethanol ที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นอาจเกิดอาการแพ้ได้


-พบว่า มีการใช้คำอ้างว่า ลดการสะสมของแบคทีเรีย แอนตี้แบคทีเรีย สูตรแอนตี้แบคทีเรีย ในหลายยี่ห้อ แต่มีเพียง 4 ยี่ห้อที่ ระบุลดการสะสมของแบคทีเรีย 99.9% คือ

ยี่ห้อ เดทตอล ซึ่งระบุวิธีการทดสอบ จากผลการทดสอบในหลอดทดลองระยะเวลาสัมผัสเชื้อ E.coli, S.aureus นาน 60 วินาที (เรกคิทท์ เบนคีเซอร์, 2558)


ยี่ห้อ เซลล็อกซ์ พิวริฟาย อ้างว่าลดการสะสมของแบคทีเรีย(S.aureus,K.pneumoniae) 99.9% ด้วยเทคโนโลยีเจิร์มเคลียร์พลัส แต่ไม่มีรายละเอียดวิธีการทดสอบเหมือนเดทตอล



ยี่ห้อ แคริสม่า อเนกประสงค์ อ้างว่า มีคุณสมบัติยับยั้งเชื้อไวรัส รา และแบคทีเรียได้ถึง 99.99% แต่ไม่มีการบอกถึงลักษณะของการทดสอบว่าใช้วิธีการใด อ้างเพียงว่า ผ่านการรับรองโดยนักวิจัยจากห้องทดลองชั้นนำ ใน UK และ VIRUSOLVE+ นอกจากนี้ยังไม่มีการระบุเลขที่จดแจ้งบนฉลากด้วย




ยี่ห้อ แคริสม่า ผ้าเช็ดผิวแบบเปียก สูตรยับยั้งแบคทีเรีย มีการใช้ภาพเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Antibacterial 99.9% โดยไม่ระบุวิธีการทดสอบแต่อย่างใด ซึ่งน่าจะเข้าข่ายฉลากที่ชวนให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยกล่าวอ้างเกินจริง ว่าสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99.9 %




ฉลาดซื้อแนะนำ

- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย หรือ ทิชชู่เปียก จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องสำอาง ต้องมีการจดแจ้งเพื่อผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทยชัดเจนครบถ้วน มีเลขที่ใบรับแจ้ง รวมถึงระบุผู้ผลิตชัดเจน และควรสังเกตหากใช้แล้วมีอาการแพ้ เป็นผื่นแดง บวม อักเสบ ต้องหยุดใช้ และไปพบแพทย์ทันที


- ควรใช้ให้ถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนบนฉลาก เช่น ไม่ควรเช็ดรอบบริเวณดวงตา ไม่ทิ้งลงในชักโครก 


- ชนิดที่ระบุว่า ฆ่าเชื้อโรคได้ 99% ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสที่อาจก่อให้เกิดเชื้อโรคดื้อยาในสิ่งแวดล้อม 


- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ที่ถึงแม้จะโฆษณาว่า อ่อนโยนต่อผิวทารก ไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีน้ำหอม ใช้แล้วไม่ระคายเคืองต่อผิว แต่ก็ควรใช้แต่พอดีใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่เป็นการสร้างขยะ และการทิ้งเชื้อโรคไว้ในทิชชู่เปียก ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้วิธีทำความสะอาดแบบธรรมดาอย่างการใช้สบู่และน้ำจะดีกว่า ประหยัดกว่า


- มีข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) ว่า ได้มีการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์เช็ดทำความสะอาดแบบเปียกบางยี่ห้อคืนจากท้องตลาด เนื่องจากพบจุลินทรีย์ในกลุ่ม Pseudomonas ปนเปื้อน ดังนั้นก็ใช่ว่า ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดแล้ว จะสะอาดเสมอไป เพราะอาจได้เชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่เพิ่มเข้ามาด้วย 


- ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วควรทิ้งทันที เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค เมื่อเช็ดทำความสะอาดผิวของตัวเราแล้วไม่ควรนำไปเช็ดทำความสะอาดผิวของคนอื่นอีก


- การอ้างว่า ผ่านการทดสอบโดยสถาบันหรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังมาแล้วว่าไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวนั้น อย่าได้วางใจ 100% เพราะผิวของแต่คนแตกต่างกัน โอกาสที่จะเกิดอาการแพ้จากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีอย่างผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายถือว่ามีความเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นควรใช้อย่างระมัดระวัง ปฏิบัติตามคำเตือน เมื่อเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันที




ทิชชู่เปียก ทำลายสิ่งแวดล้อม?

ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้ว ถือเป็นขยะที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะย่อยสลายช้า ว่ากันว่าต้องใช้เวลามากกว่า 100 ปีในการย่อยสลาย เช่นเดียวกับพลาสติก มีหลายคนที่นำผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกายที่ใช้แล้วทิ้งลงในชักโครก ซึ่งการเป็นต้นเหตุให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำ อย่างที่ประเทศอังกฤษบรรดาบริษัทด้านระบบประปาต่างรบตัวกันออกแคมเปญ “อย่าทิ้งทิชชู่เปียกลงในชักโครก” ส่วนในอเมริกาก็มีกรณีฟ้องร้องให้บริษัทผู้ผลิตทิชชู่เปียกจำนวน 6 บริษัท ยกเลิกข้อความบนผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า “ทิ้งลงชักโครกได้” เพราะเมื่อทิ้งลงไปแล้ว ตัวทิชชู่เปียกไม่ได้ถูกย่อยสลาย แถมจะไปอุดตันตามท่อ ถ้าออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติก็จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม



สารประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย

1.  น้ำ ใช้เพื่อทำเป็นตัวทำละลายสารต่างๆ ถือเป็นส่วนประกอบหลัก ในฉลากผลิตภัณฑ์อาจจะใช้คำที่หลากหลายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น water, Puriffed water, Pure Water และ Aqua


2.   สารที่ใช้ฆ่าเชื้อโรค ที่พบบ่อย Ethanol, Dichlorobenzyl Alcohol, Benzalkonium Chloride Isopropyl Methylphenol เป็นต้น


3. สารลดแรงตึงผิว(Surfactants) มีคุณสมบัติเพื่อช่วยให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นผิวโดยง่าย เช่น lauryl hydroxysultaine และสารลดแรงตึงผิวบางชนิดมีคุณสมบัติทำลายเชื้อโรคพ่วงด้วย ที่พบใช้อยู่ในหลายผลิตภัณฑ์ก็คือ Benzalkonium Chloride นอกจากนี้ยังมีสารที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นอย่าง Panthenol และสารที่ได้จากกรดผลไม้อย่าง Malic Acid (สารสกัดจากแอปเปิล), Citric Acid (สารสกัดจากส้ม) หรือ Ascorbic Acid (วิตามินซี)


4.  น้ำหอม ใส่เพื่อเพิ่มกลิ่นหอมเชิญชวนให้น่าใช้มากขึ้น บนฉลากจะใช้คำว่า Fragance, Perfume หรือ Parfum


5.  วัตถุกันเสีย (Preservative) มีคุณสมบัติป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพก่อนกำหนด สารที่นิยมใช้คือ Sodium Benzoate เป็นได้ทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อด้วยเช่นกัน และสารในกลุ่ม Paraben เช่น Methylparaben และ Ethylparaben ซึ่ง พาราเบนเป็นสารที่ยังมีข้อสงสัยในหมู่นักวิจัยว่าอาจเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็ยังเป็นสารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ โดยอ้างว่าปริมาณที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนไม่น่าส่งผลกระทบใดๆ แต่ก็เริ่มมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจำนวนไม่น้อย ที่เลิกใช้สาร Paraben เพื่อลดความเสี่ยงให้กับผู้บริโภค


ผ้าเช็ดทำความสะอาดผิวกาย ทำมาจากผ้าที่มีชื่อเรียกว่า Spunlance Nonwoven เป็นผ้าชนิดที่ไม่มีการถักการทอตามลักษณะโดยทั่วไป แต่เกิดจากการยึดติดกันของเส้นใยโดยการใช้สารเคมี และยึดโดยการใช้ความร้อน อัดติด หรือการทำให้เส้นใยยึดติดเกาะกันเองด้วยกระบวนการทางเคมี เชิงกล ความร้อน สารละเลย หรือหลายๆ อย่างรวมกัน มีคุณสมบัติเป็นผ้าที่มีผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เส้นใยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ใช้ ดูดซึมน้ำและของเหลวได้ดี น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

500 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ทิชชู่เปียก คุณภาพ ผลิตภัณฑ์

ฉบับที่ 275 สารเคมีตลอดกาลในเสื้อผ้า

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ชวนคุณไปดูผลทดสอบสิ่งทอที่ระบุว่ามีคุณสมบัติกันละอองน้ำ คราวนี้ไม่ใช่การทดสอบเปรียบเทียบคุณสมบัติการใช้งานหรือความพึงพอใจของผู้บริโภค แต่เป็นการวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีกลุ่ม PFAS (per-and polyfluoroalkyl substances) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “สารเคมีตลอดกาล” ซึ่งใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเพิ่มคุณสมบัติกันน้ำกันคราบสกปรกเครือข่ายการกำจัดมลพิษระหว่างประเทศ (International Pollutants Elimination Network หรือ IPEN)* และองค์กรสมาชิก เจาะจงตรวจวิเคราะห์หาสาร PFAS ในเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เนื่องจากเป็นกลุ่มสารที่สามารถทำให้ผู้ที่ทำงานในโรงงานได้รับอันตรายสะสม ลูกค้าที่ซื้อไปสวมใส่ก็สัมผัสกับสารเหล่านี้โดยตรง และการซักทำความสะอาดยังทำให้สารเหล่านี้แพร่ไปสู่อากาศหรือแหล่งน้ำ ที่สำคัญคือมันสามารถสะสมและคงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้อย่างยาวนานด้วย   การทดสอบครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรสมาชิกของ IPEN ใน 13 ประเทศจากเอเชีย อัฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้แก่ ไทย อินเดีย ศรีลังกา บังคลาเทศ เคนยา เยอรมนี โปแลนด์ เซอร์เบีย มอนเตเนโกร เนธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเชก สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยองค์กรสมาชิกในประเทศไทยที่ร่วมส่งตัวอย่างเข้าทดสอบได้แก่ มูลนิธิบูรณะนิเวศตัวอย่างทั้งหมด 72 ตัวอย่าง ที่ได้จากการสุ่มซื้อในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ปี 2565 ถูกส่งไปตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการของสถาบันสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยชารลส์ ในสาธารณรัฐเชกเนื่องจากมีสารเคมี PFAS หลายพันชนิดที่ถูกใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ การทดสอบจึงแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ การตรวจหาสารกลุ่ม PFAS ตัวที่ระบุ 58 ชนิด และการวัดระดับ EOF (Extractable Organic Fluorine) หรือสารฟลูออรีนอินทรีย์ที่สกัดได้ ซึ่งผลที่ได้จะสัมพันธ์กับการใช้สารเคมีกลุ่ม PFAS   ผลการตรวจวิเคราะห์ในภาพรวมเราพบว่ามีถึง 47 ตัวอย่าง (ร้อยละ 65) จากเสื้อผ้าทั้งหมด 72 ตัวอย่าง ที่มีการใช้หรือการปนเปื้อนของสารในกลุ่ม PFAS หากดูเฉพาะตัวอย่างที่เป็นแจ็กเก็ต 56 ตัวอย่าง พบว่ามีถึง 16 ตัวอย่างที่มีระดับสารเคมีในกลุ่ม PFAS เกินระดับที่สหภาพยุโรปกำหนด ในกรณีของประเทศไทยพบการปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ส่งไป (6 ตัวอย่าง)การตรวจวิเคราะห์พบสาร FTOHs (หนึ่งในสารกลุ่ม PFAS) และผลผลิตจากการสลายตัวของสารดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติด้านความทนทาน การสะท้อนน้ำ และการป้องกันรอยเปื้อน ในตัวอย่างที่ส่งตรวจ เกิดจากการใช้โพลีเมอร์ที่ได้จากฟลูโรเทโลเมอร์แบบสายโซ่ด้านข้างและ FTOHs ตัวที่พบมากที่สุดคือ PFOA ซึ่งเป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในรายการ “ต้องกำจัด” ภายใต้อนุสัญญาสตอกโฮล์ม จึงไม่ควรนำมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าทำไมเราถึงเรียกมันว่า “สารเคมีตลอดกาล”? สารเคมีในกลุ่ม PFAS ทุกตัวมีพันธะทางเคมีระหว่างอะตอมของคาร์บอนและฟลูโอรีนที่ยึดเหนี่ยวกันแน่นมาก ทำให้มีความเสถียรสูงและสลายตัวยาก เราจึงเรียกมันว่า “สารเคมีตลอดกาล” งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า PFAS สามารถถูกปล่อยออกมาในสิ่งแวดล้อมได้ตลอดช่วงชีวิตของมัน ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต การใช้ ไปจนถึงการกำจัด และเพราะมันกำจัดได้ยาก ความเข้มข้นของสารเคมีเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมจึงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา นักวิจัยพบ PFAS ทั้งในดิน น้ำ อากาศ รวมถึงแหล่งน้ำดื่ม และฝุ่นผงตามบ้าน มีหลักฐานว่ามันสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลถึงขั้วโลกเหนือเลยทีเดียวเราจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่?ปัจจุบันมีสารชนิดอื่นที่สามารถนำมาใช้แทนได้โดยให้คุณสมบัติอย่างเดียวกัน เห็นได้จากผลการทดสอบครั้งนี้ เราพบเสื้อผ้าที่มีฟังก์ชันคล้ายกันที่ผลวิเคราะห์ระบุว่าปราศจากสาร PFAS ถึง 21 ตัวอย่าง หากเปรียบเทียบกันระหว่างตัวอย่างที่มีสาร PFAS สูงที่สุดของแต่ละประเทศในเอเชียด้วยกันจะพบว่าตัวอย่างที่ซื้อจากอินเดียมีปริมาณ PFAS สูงสุด (702.2 นาโนกรัม/กรัม) ตามด้วยตัวอย่างจากไทย (379.9 นาโนกรัม/กรัม) ในขณะที่ตัวอย่างจากบังคลาเทศและศรีลังกามีสาร PFAS ในปริมาณ 6.8 และ 2.7 นาโนกรัม/กรัม ตามลำดับถ้ามองในภาพรวมจากทั้ง 13 ประเทศจะพบว่าตัวอย่างจากสาธารณรัฐเชก ครองอันดับสิ่งทอที่มี PFAS ในปริมาณมากที่สุด (1304.7 นาโนกรัม/กรัม) อันดับสองตัวอย่างจากสหรัฐ (983 นาโนกรัม/กรัม) อันดับสามได้แก่อีกหนึ่งตัวอย่างจากสาธารณรัฐเชก (825.1 นาโนกรัม/กรัม) ส่วนตัวอย่างจากไทยนั้นเข้ามาเป็นอันดับที่ 9·     คำอธิบายEOF (Extractable Organic Fluorine) หมายถึงปริมาณสารฟลูออรีนอินทรีย์ที่สกัดได้ LOD (Limit of Detection) หมายถึงปริมาณต่ำสุดที่สามารถวัดได้ 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่่ 273 คาร์ซีท 2023

        กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบเปรียบเทียบเบาะนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็กหรือ​ คราวนี้ฉลาดซื้อนำเสนอให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกกัน 24 รุ่น มีตั้งแต่รุ่นที่รองรับน้ำหนักสูงสุดได้ 10 กิโลกรัม ไปจนถึง 36 กิโลกรัม และเหมาะสำหรับความสูงของเด็กตั้งแต่ 40 – 125 เซนติเมตร ในสนนราคาตั้งแต่หมื่นต้นๆ ไปจนถึงประมาณ 26,000 บาท*         การทดสอบดังกล่าวทำอย่างต่อเนื่องโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing (ICRT) ฉลาดซื้อ ในฐานะองค์กรร่วมทดสอบ จึงมีผลการทดสอบมานำเสนอสมาชิกทุกปี (ดูผลทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ในฉบับที่ 262 และ 234)         การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีบุตรหลานวัย 3 ปี 6 ปี และ 10 ปี อีกจำนวน 10 ครอบครัว โดยรถที่นำมาติดตั้งคาร์ซีทเพื่อการทดสอบมีสามประเภทคือ รถแฮทช์แบ็คสามประตู รถอเนกประสงค์แบบสปอร์ตห้า ประตู และรถตู้อเนกประสงค์          การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่         ความปลอดภัย (50 คะแนน) เช่น ความสามารถในการป้องกันการบาดเจ็บจากการชนทั้งด้านหน้าและด้านข้าง การดูดซับแรงกระแทก ความแข็งแรงในการยึดติดกับเบาะรถ เป็นต้น         ความสะดวกในการใช้งาน (40 คะแนน) เช่น การติดตั้งกับตัวรถ การปรับขนาดให้พอดีตัวเด็ก การป้องกันโอกาสการใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น         การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (10 คะแนน) ทั้งที่นั่งและเบาะพิง รวมถึงความนุ่มสบาย และการประหยัดพื้นที่ในตัวรถ เป็นต้น         นอกจากนี้ยังมีการตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายที่ถูกประกาศห้ามใช้ในยุโรป เช่น พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือโลหะหนักต่างๆ บนวัสดุหุ้มเบาะ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เด็กจะได้รับสารเคมีดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสและการเลีย         คราวนี้รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดได้ไปเพียง 77 คะแนน (Besafe iZi Go Modular X2 i-Size + iZi Modular i-Size base และ Cybex Cloud T + Base T ทั้งสองรุ่นราคาประมาณ 20,000 บาท)  และเช่นเดียวกับครั้งก่อน เราพบว่าคาร์ซีท “แบรนด์” เดียวกัน อาจไม่ได้มีประสิทธิภาพระดับเดียวกันเสมอไป ถ้าอยากรู้ว่ารุ่นไหนให้ความปลอดภัยมากกว่า ใช้งานสะดวกกว่า หรือรองรับสรีระของเด็กได้ดีกว่า เชิญติดตามได้ในหน้าถัดไป* ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 273 ผลทดสอบการใช้งาน call center ของมือถือค่ายต่างๆ

        ใครอยากรู้ว่า call center มือถือค่ายไหนติดต่อได้ไวทันใจ หรือต้องรอนาน ตามมาๆ         นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการทดสอบการใช้งาน call center ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ได้แก่  AIS, DTAC, NT และ TRUE โดยเก็บข้อมูลการทดสอบในระหว่างวันที่ 5 - 17 กันยายน 2566   วิธีการทดสอบ         ผู้ทดสอบจะใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือของทั้ง 4 เครือข่าย และเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน (02) โทร.ติดต่อ call center ของทุกค่าย (AIS 1175, DTAC 1678, NT 1888 และ TRUE 1242) โดยแบ่งขั้นตอนการติดต่อเป็นการเปลี่ยนโปรโมชั่น การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ การย้ายค่าย และปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะโทร.ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00 – 18.00 น.และ 19.00 – 23.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น. และ 19.00 – 23.00 น. โดยจับเวลาตั้งแต่เริ่มต้นที่ 0.01 จนถึงได้พูดคุยกับโอเปอเรเตอร์ ผลการทดสอบ        เมื่อใช้เครือข่าย AIS โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.TRUE (6.31)          2.AIS (3.10)             3.DTAC (2.37)            4.NT (0.40)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (5.27)          2.AIS (2.46)             3.DTAC (2.06)            4.NT (0.53)         การย้ายเครือข่าย =>                                             1.TRUE (5.11)          2.DTAC (2.56)           3.AIS (2.24)               4.NT (1.37)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>          1.TRUE (4.33)          2.DTAC (3.02)           3.AIS (2.42)               4.NT (0.58)         ·     ลูกค้า AIS หากต้องการเปลี่ยนโปรโมชั่นและมีปัญหาสัญญาณหายฯ ควรโทร.ในวันทำงานช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น ส่วนใครจะถามเรื่องค่าใช้จ่ายผิดปกติและการย้ายค่าย แนะนำให้โทร.ในวันหยุดตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น     เมื่อใช้เครือข่าย DTAC โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.AIS (6.47)            2.DTAC (3.56)            3.TRUE (3.39)              4.NT (1.21)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (5.02)          2.AIS (2.48)               3.DTAC (2.23)              4.NT (1.18)        การย้ายเครือข่าย =>                                             1.AIS (3.43)             2.TRUE (1.15)            3.DTAC (1.13)              4.NT (1.01)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>           1.DTAC (4.08)         2.AIS (3.05)               3.TRUE (2.58)              4.NT (0.43)         ·     ลูกค้า DTAC แนะนำให้โทร.ในวันทำงานช่วงค่ำ 1 ทุ่มถึง 5 ทุ่ม แต่หากต้องการย้ายค่ายโทร.ช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น จะเร็วกว่า และเลี่ยงติดต่อในวันหยุดเพราะจะต้องรอนานกว่า      เมื่อใช้เครือข่าย NT โทร.ออก call center แต่ละเครือข่ายมีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                        1.TRUE (3.52)          2.AIS (3.24)                3.DTAC (1.54)             4.NT (0.47)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                          1.TRUE (3.30)          2.AIS (3.18)                3.DTAC (1.39)             4.NT (1.16)         การย้ายเครือข่าย =>                                             1.TRUE (9.45)         2.DTAC (3.35)             3.AIS (2.13)                4.NT (0.38)        ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>           1.TRUE (4.00)          2.AIS (2.40)                3.DTAC (1.47)             4.NT (0.38)        ·     ลูกค้า NT โทร.ถามทุกเรื่องได้จากโอเปอเรเตอร์โดยตรง ทุกวันตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 5 ทุ่ม รอสายนานสุดไม่เกิน 4 นาที แต่ถ้าอยากให้ไวแบบไม่ถึงนาทีก็โทร.ช่วงค่ำวันหยุดได้เลย     เมื่อใช้เครือข่าย TRUE โทร.ออก call center แต่ละเครือข่าย มีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                     1.TRUE (4.29)          2.AIS (3.30)                3.DTAC (2.57)             4.NT (0.39)         การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                        1.TRUE (3.01)          2.AIS (2.55)                3.DTAC (2.27)             4.NT (1.06)        การย้ายเครือข่าย =>                                          1.TRUE (5.03)          2.AIS (2.48)                3.DTAC (2.22)             4.NT (0.59)         ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>        1.TRUE (3.00)         2.AIS (2.53)                 3.DTAC (2.20)             4.NT(1.00)         ·     ลูกค้า TRUE แนะนำให้โทร.ในวันทำงานช่วง 9 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็น แต่หากต้องการเปลี่ยนโปรโมชั่น ให้โทร.ช่วงค่ำๆ จะเร็วกว่า  *หมายเหตุ ลูกค้าในที่นี้ คือ ผู้ใช้เบอร์ที่โทร.ออก และเบอร์ติดต่อ call center เป็นของเครือข่ายเดียวกัน     เมื่อใช้โทรศัพท์พื้นฐาน โทร. ออก call center แต่ละเครือข่าย มีระยะเวลาเฉลี่ย (นาที) ตามลำดับดังนี้        การเปลี่ยนโปรโมชั่น =>                                     1.AIS (3.14)            2.DTAC (2.14)                3.TRUE (2.06)            4.NT (1.01)        การสอบถามค่าใช้จ่ายผิดปกติ =>                       1.AIS (2.48)            2.DTAC (2.40)                3.TRUE (2.22)            4.NT (0.57)        การย้ายเครือข่าย =>                                         1.TRUE (3.09)         2.DTAC (1.35)                3.NT (1.02)                4.AIS (0.55)         ปัญหาสัญญาณหายไม่สามารถใช้งานได้ =>       1.AIS (3.17)            2.TRUE (1.52)                3.DTAC (1.48)            4.NT (0.52)         ·     ผู้ใช้โทรศัพท์พื้นฐานโทร.ออก ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาเฉลี่ยในอันดับ 1 น้อยกว่าใช้ทุกค่ายโทร.ออก ยกเว้นใช้เครือข่าย TRUE โทร.ออก เรื่องปัญหาสัญญาณฯ  ข้อสังเกต         ·          call center ของ TRUE ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยนานสุดทุกขั้นตอน เมื่อโทร.ออกด้วยเบอร์ของ AIS, NT และ TRUE  เอง บางครั้งพนักงานมีการตัดสาย        ·          call center ของ NT ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยเร็วสุดทุกขั้นตอน เมื่อโทร.ออกด้วยเบอร์มือถือของทุกค่าย และติดต่อพนักงานได้ทุกครั้ง        ·          call center ของ AIS, DTAC และ TRUE มีบางครั้งที่ติดต่อพนักงานไม่ได้        ·          call center ของ DTAC และ TRUE มีบางครั้งที่พนักงานติดต่อกลับ        ·          ระยะเวลานานสุดที่จับเวลาได้คือ 28.10 นาที เมื่อใช้เบอร์เครือข่าย NT โทร.ไปยัง call center ของ TRUE ในขั้นตอนการย้ายค่าย ช่วงวันและเวลาทำงาน        ·          ระยะเวลาเร็วสุดที่จับเวลาได้คือ 0.30 นาที เมื่อใช้เบอร์โทรศัพท์พื้นฐานโทร.ไปยัง call center ของ NT ในขั้นตอนสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายผิดปกติ ช่วงวันและเวลาทำงาน สรุปผลโพลล์         จากการสำรวจเรื่อง call center ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกรุงเทพมหานคร         จำนวน 1,116 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 4 -10 กันยายน 2566         ·        ร้อยละ     46.6            เป็นลูกค้าของ AIS        ·        ร้อยละ     33.4            เป็นลูกค้าของ TRUE        ·        ร้อยละ     18               เป็นลูกค้าของ DTAC        ·        ร้อยละ     2                 เป็นลูกค้าของ NT         ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 88.4) เคยโทร.ติดต่อ Call Center โดยมีผู้ใช้ทั้งเบอร์แบบหมายเลข 4 ตัว (ร้อยละ 50.8)        และแบบหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วย 02 (ร้อยละ49.2) พอๆ กัน ในเรื่องต่างๆ ดังนี้        ·        ร้อยละ    44.4        ใช้งานอินเทอร์เนตไม่ได้        ·        ร้อยละ    44           ค่าบริการผิดปกติ        ·        ร้อยละ    43.2        ตรวจสอบการใช้งาน        ·        ร้อยละ    26.6        โทรเข้า/ออกไม่ได้        ·        ร้อยละ    25.4        เปลี่ยนโปรโมชั่น        ·        ร้อยละ    23.1        สอบถามโปรโมชั่น         เหตุผลในการย้ายเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ได้แก่        ·        ร้อยละ     38.9       ได้รับโปรโมชั่นที่ดีกว่าจากกการย้าย           ·        ร้อยละ    24.5        ลดค่าใช้จ่าย                  ·        ร้อยละ    17.4        เปลี่ยนเครื่องมือถือ        ·        ร้อยละ    17.4        ปัญหาสัญญาณมือถือ                  ·        ร้อยละ    1.8         อื่นๆ                                                                                                 เมื่อถามว่าเคยโทร.หา call center แล้วรอนานแค่ไหนกว่าจะได้คุยสายกับเจ้าหน้าที่ คำตอบคือ        ·  11 – 15    นาที          ร้อยละ    31.5        ·  6 – 10      นาที          ร้อยละ    25.3        ·  16 – 20    นาที          ร้อยละ    16        ·  1 – 5        นาที          ร้อยละ    15.5        ·  21 – 25    นาที          ร้อยละ    5.6        ·  26 -30      นาที          ร้อยละ    2.9        ·  น้อยกว่า 1 นาที          ร้อยละ    1.9        ·  มากกว่า 30 นาที        ร้อยละ    1.3 จากการสำรวจครั้งนี้ยังพบว่า ร้อยละ 92.5 คิดว่าภาครัฐควรมีการแจ้งเตือนภัยพิบัติแบบ Cell Broadcasting ด้วยการส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนโดยตรง

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 273 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม

        ย้อนไปกว่า 60 ปีแล้วที่มีการใช้ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มหรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener) กันในครัวเรือน เหตุผลหนึ่งคือเพื่อลดปัญหาผ้าแข็งหลังซักด้วยผงซักฟอก โดยมีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ 2 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ทำให้ผ้านุ่ม ได้แก่ กรดไขมันที่ได้จากสัตว์ เมื่อสัมผัสผิวผ้าจะทำให้เกิดความนุ่ม ไม่แข็ง และสารที่ให้กลิ่นหอมติดทนนาน ปัจจุบันน้ำยาปรับผ้านุ่มที่จำหน่ายในประเทศไทยโดยทั่วไปจะเป็นชนิดน้ำที่ใช้ใส่ผสมในน้ำล้างสุดท้ายที่ซักผ้า มีทั้งสูตรมาตรฐานและสูตรเข้มข้น จัดเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยอดนิยม         แม้ก่อนหน้านี้จะมีข้อมูลส่งต่อกันถึงผลกระทบต่อสุขภาพหลังการใช้ แต่ทาง อย.ก็ได้ออกมายืนยันแล้วว่าถึงน้ำยาปรับผ้านุ่มมีส่วนทำให้เกิดสารตกค้างในผ้า แต่มีปริมาณที่น้อยมาก การสวมใส่เสื้อผ้าบนผิวหนังจึงไม่มีสารที่ซึมเข้าสู่เลือดจนส่งผลต่อฮอร์โมนได้ ยกเว้นคนที่มีอาการแพ้ เกิดผื่น         อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคบางคนยังมีคำถามคาใจว่า เราจำเป็นต้องใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มจริงๆ หรือเป็นอิทธิพลของสื่อที่กระตุ้นให้ต้องซื้อใช้กันแน่ ?         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสิรมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม (สูตรมาตรฐาน) จำนวน 10 ตัวอย่าง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 มาสำรวจฉลากเพื่อปรียบเทียบความคุ้มค่า และข้อความที่แสดงถึงความรับผิดชอบและความปลอดภัยต่อผู้ใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้พิจารณาว่าจะเลือกซื้อหรือไม่ซื้อต่อไป ผลสำรวจฉลาก         ·     จากผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มทั้งหมด 10 ตัวอย่าง มีปริมาณสุทธิตั้งแต่ 450 – 650 มิลลิลิตร และมีราคาขายปลีกแบบถุงชนิดเติมตั้งแต่ถุงละ 10 – 59 บาท         ·     เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร พบว่า แพงสุด = 0.09 บาท คือยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ ถูกสุด = 0.02 บาท ได้แก่ ยี่ห้อโปร กลิ่นการ์เดน สวีท ยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์ และยี่ห้อเฟรช แอนด์ ซอฟท์ กลิ่นเลิฟลี่ คิส        ·     เมื่อดูวันผลิต-วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์             Ø มีอายุเก็บไว้ได้นานตั้งแต่ 1- 3 ปี นับจากวันผลิต            Ø มี 2 ตัวอย่างที่ระบุเฉพาะวันผลิต คือยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ และยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์         ·     เมื่อพิจารณาข้อความที่แสดงถึงความรับผิดชอบและความปลอดภัยต่อผู้ใช้ผลิตภัณฑ์            Ø มี 2 ตัวอย่าง ไม่ระบุเบอร์โทร.ติดต่อศูนย์บริการลูกค้า ได้แก่ ยี่ห้อไฟน์ไลน์ สูตรพิงค์ บลอสซั่ม และยี่ห้อสมาร์ท กลิ่นเลิฟลี่ พิงค์            Ø มี 2 ตัวอย่าง ไม่ระบุคำเตือนเรื่องความปลอดภัยของผู้ใช้ ได้แก่ ยี่ห้อแมกซ่า กลิ่นฟลาวเวอรี่ ซอฟท์ และยี่ห้อแฮปปี้ ไพรซ์ กลิ่นคิส ออฟ ฟลาวเวอร์ ข้อสังเกต        ·     ทุกตัวอย่างผลิตโดยบริษัทในประเทศไทย เป็นสูตรมาตรฐาน ที่ระบุคุณสมบัติไว้คล้ายๆ กัน คือ เมื่อใช้แล้วจะช่วยให้เสื้อผ้านุ่มฟู หอมนาน ถนอมสีผ้า ใส่สบายไม่ลีบติดตัว รีดเรียบง่าย และลดกลิ่นอับ         ·     ส่วนใหญ่มีคำเตือนหรือคำแนะนำเรื่องความปลอดภัยว่า เก็บให้พ้นมือเด็ก ห้ามรับประทาน ระวังเข้าตา หากเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายควรสวมถุงมือยางขณะใช้         ·     มี 2 ตัวอย่างที่มีรูปแม่และเด็กอยู่บนบรรจุภัณฑ์ โดยไม่มีข้อความระบุไว้ชัดเจน เช่น ซักเสื้อผ้าเด็กได้ไร้สารตกค้าง เป็นต้น จึงอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับเสื้อผ้าเด็ก  ฉลาดซื้อแนะ        ·     ก่อนใช้ ควรอ่านคำเตือนต่างๆ วิธีใช้และปริมาณที่เหมาะสมของแต่ละยี่ห้อที่แนะนำไว้บนฉลาก        ·     หากใช้ครั้งแรก ควรซื้อแบบซองเล็กๆ มาทดลองใช้ก่อนว่าเป็นกลิ่นหอมที่ชอบ ใช้แล้วตอบโจทย์ และไม่เกิดอาการแพ้ทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ แล้วจึงเลือกซื้อขนาดใหญ่เพื่อให้คุ้มราคากว่า        ·     ไม่ควรใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มกับผ้าบางชนิด เพราะอาจทำให้คุณสมบัติของผ้าลดลงหรือเกิดการระคายเคืองจากการสัมผัสสารตกค้างได้ง่าย เช่น ผ้าขนหนู ชุดกีฬา ชุดเด็กอ่อน และชุดชั้นใน เป็นต้น        ·     เสื้อผ้าที่แช่น้ำยาปรับผ้านุ่มแล้ว ไม่ควรนำไปตากแดดจัดนานๆ หรือเข้าเครื่องอบผ้า เพราะความร้อนจะทำให้กลิ่นหอมจางหายไปจนหมดได้ ผลคือใช้ก็เหมือนไม่ได้ใช้นั่นเอง          ·ห้ามทิ้งบรรจุภัณฑ์และน้ำล้างสุดท้ายที่ผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มลงในแม่น้ำ คู คลอง แหล่งน้ำสาธารณะ เพราะน้ำยาปรับผ้านุ่มส่วนใหญ่ที่ขายในประเทศไทยไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมนำถุงชนิดเติมมารีไซเคิล เช่น เย็บกระเป๋า แผ่นรองนั่ง หรือส่งไปทำอิฐบล็อก แผ่นหลังคา ตามหน่วยงานที่รับบริจาคได้ที่มาhttps://www.consumerreports.org/appliances/laundry/why-fabric-softener-is-bad-for-your-laundry-a5931009251/https://www.choice.com.au/home-and-living/laundry-and-cleaning/laundry-detergents/buying-guides/fabric-softeners

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)