ฉบับที่ 236 ธนาคารหักเงินในบัญชีเพื่อชำระหนี้บัตรเครดิตทั้งที่คดียังไม่สิ้นสุด

        หลายคนเคยเป็นหนี้บัตรเครดิต การชำระคืนอาจจะจ่ายขั้นต่ำบ้าง จ่ายมากกว่าขั้นต่ำบ้าง จ่ายเต็มจำนวนบ้างซึ่งแล้วแต่สถานการณ์การเงินช่วงนั้น แต่กรณีไม่จ่ายเต็มแน่นอนว่าต้องเสียดอกเบี้ยไปตามระยะเวลาและเงื่อนไขของบัตรเครดิต อย่างไรก็ตามบางครั้งเกิดกรณีรู้สึกว่า ทำไมธนาคารเอาเปรียบเราแบบไม่มีเหตุผล การขัดขืนและใช้สิทธิเพื่อต่อสู้ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ 
        ภูผา นำสมุดบัญชีธนาคารของตนเองไปปรับยอดบัญชีทุกเดือน แต่ล่าสุดเมื่อเขานำสมุดไปปรับยอดแล้วพบว่าเงินหายจากบัญชีไปประมาณ 4,000 บาท เขาจึงรีบไปสอบถามธนาคารว่า เงินเขาหายไปไหน 4,000 บาท ทั้งที่เขาไม่ได้เบิกเงิน ธนาคารบอกว่า เขาเป็นหนี้บัตรเครดิตอยู่ประมาณ 40,000 บาท ธนาคารจึงหักเงินฝากของเขาชำระหนี้ของธนาคาร เขาไม่แน่ใจว่าธนาคารสามารถหักเงินในบัญชีของเขาได้จริงเหรอ จึงมาปรึกษามูลนิธิเพื่อขอคำแนะนำ
 
แนวทางการแก้ไขปัญหา
        กรณีของคุณภูผา เมื่อทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้เขาทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรสอบถามไปยังธนาคารว่าเงินในบัญชีหายไปไหน เมื่อธนาคารตอบกลับมาเป็นหนังสือจึงทำให้ทราบว่า ปัจจุบันหนี้ของคุณภูผาถึงกำหนดชำระแล้ว ธนาคารจึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายและข้อตกลงเงื่อนไขการใช้บัตรเพื่อใช้หักกลบลบหนี้กับบัญชีเงินฝากของเขา จำนวนเงิน 4,000 บาท (สงสัยกันใช่ไหมว่า ข้อตกลงเงื่อนไขการใช้บัตรเพื่อใช้หักกลบลบหนี้กับบัญชีเงินฝาก เราไปตกลงกับเขาตั้งแต่เมื่อไหร่ เรื่องที่หลายคนอาจไม่รู้คือ เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเราได้เซ็นเอกสารการขอใช้บริการบัตรเครดิต ข้อตกลงพวกนี้จะแทรกอยู่ในเอกสารต่างๆ ที่ธนาคารส่งให้เราเซ็นลายมือชื่อ) 
        คุณภูผาให้ข้อมูลว่า เขาเป็นหนี้บัตรเครดิตประมาณ 40,000 บาทจริง แต่เป็นปัญหาที่ยังค้างคากันในชั้นศาล เนื่องจากตอนที่เขาใช้บัตรเครดิตนั้น เขาจ่ายเงินชำระหนี้แบบมากกว่าขั้นต่ำแต่ไม่เต็มจำนวน และในช่วงเวลาที่บัตรเครดิตของเขาใกล้หมดอายุ ธนาคารไม่ได้ส่งบัตรใหม่มาให้ แต่มีพนักงานธนาคารโทรศัพท์มาบอกให้ชำระหนี้ทั้งหมดแทน  เขารู้สึกเหมือนว่าธนาคารไม่ไว้ใจให้เขาใช้บัตรเครดิตของธนาคารอีกหรือไม่ จึงไม่ส่งบัตรใหม่ให้และเรียกให้คืนเงินทั้งหมด เมื่อลองเจรจาว่าขอผ่อนชำระอย่างเดิมได้ไหม พนักงานบอกเขาว่าไม่สามารถผ่อนได้ต้องชำระเต็มจำนวนเท่านั้น เขาจึงกลายเป็นลูกหนี้ของธนาคาร ทั้งที่เขาก็สามารถผ่อนจ่ายบัตรเครดิตตรงงวดมาโดยตลอดไม่ใช่ว่าไม่เคยจ่ายจนเสียเครดิต  ตรงนี้เขาก็ไม่เข้าใจธนาคารเหมือนกันว่า ทำไมถึงทำกับเขาแบบนี้
        จากนั้นเมื่อเขาได้สอบถามถึงเรื่องคะแนนสะสมในบัตรเครดิต ซึ่งบัตรนี้มีคะแนนอยู่ในบัตร 10,000 กว่าคะแนน ธนาคารตัดบัตรเขาอย่างนี้แล้วคะแนนในบัตรที่เขาสะสมไว้จะทำอย่างไร ส่วนนี้ธนาคารไม่มีคำตอบให้กับเขา เขาจึงไม่ต้องการจ่ายเงินให้ธนาคารจนกว่าจะได้คำตอบ เมื่อธนาคารทวงถามหนี้อยู่เรื่อยๆ และยืนยันว่าต้องชำระเต็มจำนวนไม่เช่นนั้นธนาคารจะฟ้องร้องดำเนินคดี เขาก็ตัดสินใจว่าคงต้องใช้วิธีสู้กันในศาล สุดท้ายจึงเป็นคดีกันในท้ายที่สุด 
         เวลานั้น คุณภูผาไปขึ้นศาลต่อสู้คดีตามกฎหมาย ในชั้นศาล ทนายของธนาคารซึ่งเป็นทั้งทนายและผู้รับมอบอำนาจช่วงของธนาคาร ได้เจรจาและทำข้อตกลงกับคุณภูผาว่า ให้เขาชำระหนี้จำนวน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยภายในเดือนนี้(เดือนที่มีการเจรจากันในชั้นศาล) ถ้าชำระเรียบร้อยนัดหน้าทนายจะมาถอนฟ้อง ซึ่งศาลก็บันทึกในรายการกระบวนพิจารณาคดีพร้อมลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายและนัดหมายครั้งถัดไป หลังกลับจากศาลเขาก็นำเงินไปชำระกับธนาคารตามข้อตกลงแต่พนักงานธนาคารบอกว่า เขาไม่สามารถชำระได้ต้องชำระยอดเต็มเท่านั้น(ยอดเต็มคือ 40,000 บาท) เขาพยายามอธิบายว่าเขาได้ไปขึ้นศาลและตกลงกับผู้รับมอบอำนาจของธนาคารแล้ว แต่ธนาคารก็ยืนยันว่ารับชำระหนี้ยอด 20,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ตามที่ตกลงกับผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ ต้องชำระตามยอดเต็มตามฟ้องเท่านั้น 
        คุณภูผาได้รับคำแนะนำจากนักกฎหมายว่า ให้นำเงินที่ต้องชำระ(ตามข้อตกลง) จำนวน 21,000 บาทไปทำเรื่องขอวางเงินไว้ที่ศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ต่อมาเมื่อถึงวันที่ศาลนัดหมาย คุณภูผาถามทนายซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารว่า เขาไปชำระหนี้ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่ไม่สามารถทำได้ ทนายความกลับบอกเขาว่า ผมไม่มีอำนาจตัดสินใจ จะขอนำเรื่องลดยอดหนี้ไปปรึกษากับธนาคารว่าจะลดให้เขาได้มากน้อยเพียงใด เขาก็สงสัยว่าในเมื่อทนายความเป็นผู้รับมอบอำนาจก็ต้องถือว่าเป็นตัวแทนของธนาคารแล้ว เมื่อผู้รับมอบอำนาจทำข้อตกลงก็ต้องผูกพันถึงธนาคารด้วยในฐานะตัวแทน ทำไมมาให้เหตุผลย้อนแย้งอีก หลังจากนั้นก็มีการนัดมาศาลอีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะทนายความยืนยันให้เขาชำระเงินตามยอดที่ฟ้องมาให้ได้ สุดท้ายศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ภูผาชำระหนี้จำนวน 40,000 กว่าบาท ตามที่ธนาคารฟ้องมา คุณภูผาก็งงไปว่า การตกลงของเขากับทนายความที่รับมอบอำนาจและศาลก็บันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาคดี ซึ่งทั้งเขาและทนายก็เซ็นชื่อยอมรับข้อตกลงนี้ด้วยแล้ว ทำไมศาลถึงพิพากษาให้เขาต้องชำระหนี้จำนวนเต็มตามที่ฟ้องอีก 
        เมื่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นออกมาแบบนั้น คุณภูผาก็ขอสู้ต่อในชั้นอุทธรณ์เพื่อให้คลายสงสัยว่า ข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณาที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานไม่สามารถใช้บังคับได้จริงหรือ
        แต่ในขณะที่รอคำตัดสินในชั้นศาลอุทธรณ์ธนาคารกลับมาหักเงินจากบัญชีของเขาไปก่อน ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงทำหนังสือให้ธนาคารยุติการหักเงินและคืนเงินให้แก่คุณภูผาก่อน เพราะถือว่าคดีความยังไม่สิ้นสุด 
        ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาให้คุณภูผาชำระหนี้เพียง 21,000 บาท ตามข้อตกลงในรายงานกระบวนพิจารณา เพราะถือว่าข้อตกลงในรายการกระบวนพิจารณาเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันตามกฎหมาย 
        ดังนั้นแล้ว ธนาคารจะใช้สิทธิในการหักเงินจากบัญชีธนาคารเพื่อนำเงินไปใช้หนี้จำนวน 40,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยไม่ได้ ธนาคารต้องรับยอดหนี้ที่คุณภูผาฝากไว้ที่ศาล 21,000 บาทไปตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ ต่อมาทางศูนย์พิทักษ์สิทธิทราบว่า ธนาคารได้จัดการคืนเงินที่หักจากบัญชีธนาคารคืนกลับให้แก่คุณภูผาแล้ว

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

200 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค บัตรเครดิต บัญชี ธนาคาร

ฉบับที่ 278 ลูกชิ้นปลา ทำฟันระเบิด!

        ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นปลา ของกินสุดแสนอร่อยที่ใครหลายคนชื่นชอบ มีขายอยู่ทั่วเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ถึงขนาดปัจจุบันก็มีร้านเฟรนไชส์ขายลูกชิ้นกันให้เกลื่อนเต็มไปหมด ซึ่งถ้าพูดถึงร้านเฟรนไชส์เราก็คงจะคาดหวังว่าอาหารที่เราจะซื้อคงจะสะอาดปลอดภัย ถูกสุขอนามัยทุกขั้นตอนใช่ไหมล่ะ (เป็นมาตรฐานที่ควรจะมีสำหรับการขายอาหารอยู่แล้ว) แต่ดันไม่ใช่กับเคสของคุณจุ๊บ        คุณจุ๊บเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เธอซื้อลูกชิ้นปลาร้านเฟรนไชส์เจ้าหนึ่งมารับประทาน จำนวน 1 ถ้วย ราคา 55 บาท พอได้รับสินค้ามาแล้วเธอก็รับประทานทันที แต่ในระหว่างที่กำลังเคี้ยวอยู่นั้น ก็เหมือนกับเจออะไรแข็งๆ โดนที่ฟัน ซึ่งพอเอาออกมาดูก็พบกับเศษเหล็กและฟันกรามของเธอที่แตกหักเสียหาย เธอจึงติดต่อไปยังเฟรนไชส์ดังกล่าวให้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลาทำงานและอื่นๆ เป็นเงินจำนวน 69,300 บาท         ทั้งนี้ จากที่คุณจุ๊บติดต่อไปยังบริษัทเฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาดังกล่าว ทางบริษัทก็ได้มารับชิ้นส่วนดังกล่าวไปตรวจสอบ หลังจากนั้นทางบริษัทก็ได้ติดต่อผู้เสียหายมาว่าทางบริษัทได้ให้ทางโรงงานที่ผลิตตรวจสอบแล้ว ไม่พบชิ้นส่วนเหล็กดังกล่าว อย่างไรก็ตามจะขอชดเชยค่าเสียหายดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท แทน คุณจุ๊บเองนั้นไม่โอเคกับขอเสนอดังกล่าวเนื่องจากเธอนั้นตั้งครรภ์อยู่จึงไม่สามารถทำฟันได้ทันที และการที่เธอได้รับประทานลูกชิ้นดังกล่าวไปในขณะตั้งครรภ์อยู่ทำให้ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับหน้าที่การงานของเธอนั้นต้องใช้หน้าตาในการให้บริการลูกค้า ซึ่งตั้งแต่เกิดเรื่องเธอต้องถือเอาเรื่องโควิดมาช่วยแก้สถานการณ์ในการทำงานโดยต้องใส่แมสก์ตลอดเวลา เพราะไม่มั่นใจ ไม่กล้ายิ้มหรือพูดคุยได้เหมือนปกติ ที่สำคัญอีกอย่างคือค่าเสียหายทั้งหมดที่เธอต้องเสียไปในการรักษาพยาบาลก็มากกว่าจำนวนเงินที่ทางบริษัทเสนอมาอีกด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหา         เพื่อติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปยังคุณจุ๊บอีกครั้ง ทำให้ได้ทราบว่าคุณจุ๊บมีการเจรจากับทางบริษัทอีกครั้ง โดยทางบริษัทฯ เจ้าของเฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาได้มีการส่งตัวแทนเข้าไกล่เกลี่ยและยื่นข้อเสนอเป็นเงินชดเชยจำนวน 50,000 บาท ทางคุณจุ๊บยินยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เป็นอันว่าจบไปได้ด้วยดี         ก่อนจะเข้าร้องเรียนที่มูลนิธิฯ คุณจุ๊บเองได้มีการไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน พร้อมกับตรวจเช็กร่างกายนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการรวบรวมหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย อย่าลืมถ่ายรูปอาหารที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ใบเสร็จหรือสลิปโอนเงินก็เป็นหลักฐานอย่างดีว่าเราซื้อหรือใช้บริการจริง ผู้บริโภคทุกคนควรใส่ใจ  

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 278 อย่ายอม ! หากโรงแรมให้ไปจอดรถในที่มืดๆ

        โรงแรมเป็นสถานที่พักที่ต้องจัดให้บริการให้เป็นไปมาตรฐานที่ทั้งต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าพัก มีความสะอาด ปลอดภัย หากไม่เป็นไปตามนี้อาจเสี่ยงทำให้ทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการเสียหายได้ เช่นเรื่องราวของคุณนัท         เรื่องราวคือ คุณนัทได้เข้าไปใช้บริการโรงแรมมีชื่อแห่งหนึ่งย่านรัชดา เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ในเวลา 19.40 น. โดยได้ติดต่อขอใช้บริการห้องพักชั่วคราวกับโรงแรมเป็นเวลา 2 ช.ม. และได้ชำระเงิน 600 บาท โดยเป็นค่าห้องพัก 300 บาท และค่ามัดจำกุญแจ 300 บาท หลังชำระเงินเสร็จแล้ว จึงค่อยมาทราบทีหลังว่าไม่สามารถนำรถไปจอดหน้าห้องพักตามปกติได้ทั้งที่คุณนัทเคยมาใช้บริการก่อนหน้านี้สามารถนำรถมาจอดหน้าห้องพักได้เลย         ในครั้งนี้พนักงานให้คุณนัทนำรถไปจอดฝั่งตรงข้ามโรงแรม  คุณนัทจึงได้ขอยกเลิกคืนเงินในทันทีแต่โดนปฏิเสธการคืนเงิน จึงจำใจต้องใช้บริการแต่เมื่อทำเลื่อนรถไปจอดฝั่งตรงข้าม พนักงานยังไม่มีแจ้งสถานที่จอดรถที่ชัดเจน ทั้งยังไม่มีป้ายบอกหรือแสดงข้อความที่ชัดเจนว่าต้องเข้าจอดตรงไหน ตลอดจนไปที่จะให้ความสว่างก็มีไม่เพียงพอ เรียกว่าเกือบมืดเลยแหละ คุณนัทไม่รู้ว่าจะจอดรถอย่างไร พนักงานจึงเดินมาบอกให้ขับเข้าไปจอดด้านในมืดๆ         คราวนี้คุณนัทรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยจึงตัดสินใจยอมทิ้งค่าห้องพัก ไม่พักแล้ว เพราะบริการของโรงแรมไม่ได้มาตรฐานและหากต้องจอดรถในที่มืด ไม่มีระบบป้องกันความปลอดภัยใดๆ รถก็เสี่ยงเสียหายได้ คุณนัทจึงตัดสินใจเชคเอ้าท์ออกในเวลา 19.53 โดยได้รับเงินค่ามัดจำกุญแจคืน จำนวน 300 บาท และจ่ายค่าห้องพัก 2 ช.ม. ไปฟรี 300 บาท โดยที่ไม่ได้เข้าพัก         คุณนัทจึงมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะการบริการของโรงแรมดังกล่าวไม่ปลอดภัยต่อทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ไม่ได้เป็นไปตามาตรฐานของโรงแรงตามที่ควรเป็นหลายประการ  แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว ได้ติดต่อกับโรงแรมดังกล่าว สอบถามถึงข้อปัญหาที่บกพร่อง ต่อมาเจ้าของหน้าที่ของโรงแรมได้ประสานและรายงานแสดงผลกับมูลนิธิฯ ว่าได้ปรับปรุงจุดที่มีปัญหาแล้ว คือได้ทำให้ไฟหน้าห้องพักใช้งานได้ตามปกติ  ติดตั้งป้ายและไฟในที่จอดรถแล้ว และได้โทรศัพท์แจ้งผลการปรับปรุงให้คุณนัททราบด้วย คุณนัทจึงพึงพอใจไม่ติดใจโรงแรมอีก         มาตรฐานของโรงแรมแล้วนั้น กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรมพ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้           1.ให้มีโทรศัพท์หรือระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีจำนวนเพียงพอ        2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อส่งไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียง         3. ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมง         4. จัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมในส่วนที่ให้บริการสาธารณะโดยจัดแยกชายและหญิง          5. มีการรักษาความสะอาด มีการจัดแสงสว่างอย่างเพียงพอ และมีระบบระบายน้ำ บำบัดน้ำเสีย และระบบระบายอากาศที่ถูกสุขลักษณะ         6. ทุกชั้นต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง และเครื่องดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา         7. ต้องติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้         8. ต้องมีทางหนีไฟหรือบันไดหนีไฟตามหลักเกณฑ์ 9. ต้องจัดให้มีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน ใช้ได้อัตโนมัติเมื่อระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน 10. ต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 เมตร         นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้มาตรฐานความปลอดภัยถูกยกระดับมากยิ่งขึ้น อีกหลายประการ เช่น กล้องวงจรปิด ,บัตรผ่านจอดรถ ,คีย์การ์ด ,สัญญาณกันขโมย ,ไม้กั้นอัตโนมัติ เป็นต้น         หากผู้บริโภคท่านอื่นๆ พบเจอปัญหาเช่นคุณนัท ก็สามารถร้องเรียนได้ เพราะมาตรฐานการบริการของโรงแรมมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างเข้มงวด ชัดเจน 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 278 ผู้โดยสารร้องแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์ ปล่อยลงกลางทาง

        แม้หลายคนจะเคยได้รับรู้ข่าวปัญหาจากการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ตามหน้าสื่อต่างๆ ว่าผู้โดยสารบางคนโบกแล้วแท็กซี่ไม่จอด จอดแล้วไม่ไปบ้าง ขับพาอ้อมบ้าง ไม่กดมิเตอร์บ้าง โก่งราคาบ้าง หรือกระทั่งถูกปล่อยทิ้งกลางทาง แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเองจะเจอปัญหานี้ คุณริต้าก็เช่นกัน แต่เธอก็เจอแจ็กพ็อตจนได้         ในเช้าวันหนึ่ง คุณริต้ามีธุระต้องเดินทางไปดอนเมือง เธอมายืนเรียกแท็กซี่อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า รอสักพักก็มีรถแท็กซี่คันหนึ่งผ่านมาและจอดรับ เธอขึ้นรถตอนเจ็ดโมงกว่าๆ เกือบแปดโมงเช้า คุณโชเฟอร์เขาขับรถออกไปโดยไม่ได้กดมิเตอร์ตามปกติ แต่กลับหันมาเรียกเก็บค่าโดยสารจำนวน 600 บาทแทน คุณริต้าตกใจ แต่ก็มีสติพอที่จะไม่จ่ายให้เพราะรู้สึกว่าแพงเกินไป         เมื่อผู้โดยสารปฎิเสธ คนขับแท็กซี่ก็เลยจอดรถและให้เธอลงกลางทางที่หน้าปากซอยพหลโยธิน 2 แล้วมุ่งหน้าไปยังถนนวิภาวดี เรียกว่าปล่อยเธอไว้กลางทาง ตอนนั้นเธอรู้สึกไม่พอใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากเรียกแท็กซี่คันใหม่ในบริเวณนั้นให้ไปส่งที่ดอนเมืองแทน เมื่อถึงปลายทางเธอจ่ายค่าโดยสารไปเพียง 163 บาท ทำให้เธอเชื่อว่าแท็กซี่คันแรกนั้นต้องจ้องจะเอาเปรียบผู้โดยสารแน่ๆ เธอจึงร้องเรียนมายังมูลนิธิฯ เพื่อขอให้ดำเนินการตามกฎหมายกับคนขับแท็กซี่ที่ไม่กดมิเตอร์ เรียกเก็บค่าโดยสารแพงเกินจริงและทิ้งผู้โดยสารไว้กลางทางรายนี้    แนวทางการแก้ไขปัญหา         หลังจากทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วก็ได้ประสานไปที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยทำหนังสือถึงอธิบดีกรมขนส่งทางบก ขอให้ดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่กรมขนส่งฯ กรณีมีการแจ้งให้ตรวจสอบแท็กซี่จากหน่วยงาน หากในหนังสือระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อผู้เสียหาย ทางกรมขนส่งฯ จะติดต่อผ่านผู้เสียหายเองเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หากมีข้อมูลตกหล่นหรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเมื่อโดยสารรถแท็กซี่คือ ผู้โดยสารควรจดจำทะเบียนรถหรือชื่อคนขับรถแท็กซี่ไว้ เผื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะได้ติดต่อตามตัวมาได้อย่างรวดเร็ว  และสายด่วนเพื่อร้องเรียนพฤติกรรมของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ คือ สายด่วน 1584 กรมการขนส่งทางบก

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 278 นั่งกินหมูกระทะแต่กลับได้แผลกลับบ้าน

        มาตรฐานของร้านอาหารนอกจากเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยในอาหารแล้ว ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการรับประทานอาหารทั้งโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะไม่อย่างนั้น แค่เพียงไปนั่งรับประทานหมูกระทะก็อาจจะได้แผลกลับมาเหมือนเรื่องของคุณสุดเขตต์         เรื่องราวเริ่มเมื่อคุณสุดเขตต์ไปรับประทานหมูกระทะกับแฟน ในวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา คุณสุดเขตต์ก็นั่งรับประทานตามปกติ แต่แค่เพียงขยับขาเปลี่ยนท่านั่งเข่าก็ไปชนกับ ก้นของเตาเข้าอย่างจังจนทำให้สะดุ้ง ชักขากลับแทบไม่ทัน         แม้ขาจะชนขอบเตาเพียงไม่นานแต่ก็เกิดเป็นแผล เริ่มแรกเป็นเพียงรอยแดงถลอก ต่อมาไม่กี่ชั่วโมงจึงเริ่มพุพอง         “เตาหมูกระทะของร้านนั้น เขาติดตั้งแบบเขาเจาะหลุมกลางโต๊ะ แล้วก็หย่อนตัวเตาลงไป ก้นเตาที่อยู่ด้านล่าง มันยาวกว่า 20 เซ็นได้ แล้วเตามันก็ใหญ่ มันทำให้ชิดกับขาของคนนั่ง ตอนแรกที่นั่ง ยังไม่รู้ เพราะยังไม่ได้ทันสังเกตแต่พอโดนเข้าแล้วแบบนี้ เราก้มดู ติดตั้งเตาแบบนี้อันตรายมาก ใครนั่งก็โดน เด็กๆ มานั่งยิ่งโดนไม่ปลอดภัยจริงๆ ”         หลังจากรับประทานหมูกระทะในวันนั้น คุณสุดเขตต์ได้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาแผลพุพองที่ได้จากการไปกินหมูกระทะ และกลายเป็นแผลที่เข่าขนาดกว้าง ยาวกว่า 1 นิ้ว รักษาอยู่ต่อเนื่อง 4 – 5 วันจึงค่อยหายดีแล้วคุณสุดเขตต์จึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่าจะสามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง   แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อประชาชนพบเจอปัญหาเช่นคุณสุดเขตต์ คือได้รับความไม่ปลอดภัยจากร้านอาหารให้ดำเนินการ สองแนวทาง คือ หนึ่งเข้าร้องเรียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลร้านอาหาร เช่น กรุงเทพฯ ให้เข้าร้องเรียนที่สำนักงานเขตที่ร้านอาหารนั้นตั้งอยู่ โดยกรุงเทพมหานครได้มีสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครประจำอยู่ในแต่ละสำนักเขตพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่คือตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยร้านอาหารในพื้นที่ และออกคำสั่งให้ร้านปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน  สำหรับต่างจังหวัดคือเทศบาลของแต่ละพื้นที่         สอง รวบรวมหลักฐาน ทั้งหลักฐานการจ่ายเงินว่าได้เข้ารับประทานอาหารในร้านดังกล่าวจริง รูปถ่ายความเสียหายและเอกสารจากการเข้ารับการตรวจรักษา เพิ่มเติมด้วยการเข้าบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ และเจรจาเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลกับทางร้านอาหาร  กรณีของคุณสุดเขตต์ ซึ่งเข้าร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคนั้น ขณะนี้กำลังประสานงานเพื่อจะดำเนินการเรียกร้องสิทธิให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ร้านอาหารเยียวยาค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายต่อไป

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)