ฉบับที่ 247 สำรวจปริมาณโซเดียมในซอสปรุงรส

        "ซอสปรุงรส" เป็นซอสถั่วเหลืองที่มีรสชาติอร่อยเข้มข้น มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ นำไปปรุงอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเมนูผัด ต้ม แกง ทอด เหยาะจิ้ม หรือหมักเนื้อสัตว์ก็อร่อย         หลายคนติดความเค็มหวานหอมกลมกล่อมของอาหารรสซอสปรุง จนอาจลืมไปว่าซอสปรุงรสซึ่งผ่านกระบวนการปรุงด้วยส่วนผสมต่างๆ นั้น มักมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง หากเผลอกินมากไปอาจมีอันตรายแอบแฝงและโรคร้ายตามมาได้           เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสอาหารและซอสผัด จำนวน 10 ตัวอย่าง (6  ยี่ห้อ) จากร้านสะดวกซื้อและห้างค้าปลีกมาเปรียบเทียบฉลากว่ายี่ห้อไหนมีปริมาณโซเดียมที่แสดงไว้บนฉลากมากหรือน้อยกว่ากัน  ผลการเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมในซอสปรุงรส        เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมในซอสปรุงรสต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) พบว่า         - ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ ซอสปรุงรสอาหาร หมักธรรมชาติ มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด คือ 1,280 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อแม็กกี้ ซอสผัดสำเร็จรูป ออล-อิน-วัน มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ 740 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค         - มี 4 ตัวอย่างที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณโซเดียมได้ เพราะไม่มีระบุในฉลากโภชนาการ ได้แก่ ทาคุมิอายิ ซอสผัด สูตรน้ำมันงาและพริกไทย, คิคุแมน ซอสผัด สไตล์ญี่ปุ่น, เด็กสมบูรณ์ ซอสปรุงรสฝาเขียว และง่วนเชียง ซอสปรุงรสอาหารฉลากเขียว กลิ่นคั่วกระทะ         - จาก 6 ตัวอย่างที่แสดงปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการ พบว่ามีปริมาณโซเดียมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,110 มิลลิกรัม /หน่วยบริโภค ข้อสังเกต         หากลองคำนวณเปรียบเทียบราคาในปริมาณต่อหน่วย (100 มิลลิลิตร) พบว่ามีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 8-9 บาท             - ยี่ห้อคิคุแมน ซอสผัด สไตล์ญี่ปุ่น มีราคาต่อหน่วยแพงที่สุดคือ 26 บาท         - ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ ซอสปรุงรสฝาเขียว มีราคาต่อหน่วยถูกที่สุดคือ 3.6 บาท           - พบ 6 ตัวอย่างที่ระบุว่าใส่สารกันเสีย และมี 3 ตัวอย่างที่ไม่ได้ระบุไว้ ในขณะที่ยี่ห้อภูเขาทอง น้ำซอสปรุงรสฝาเขียว(ซอสถั่วเหลือง) ระบุชัดเจนว่าไม่ใส่วัตถุกันเสีย         - ทุกตัวอย่างใส่วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร พบ 9 ตัวอย่างใส่ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมต/โมโนโซเดียมแอล-กลูตาเมต) และ 8 ตัวอย่างใส่ไดโซเดียม 5’-ไรโบนิวคลิโอไตด์ (ให้รสเข้มข้นกลมกล่อมกว่าผงชูรส 50-100 เท่า แต่มีราคาสูง ในอุตสาหกรรมอาหารจึงใช้ในปริมาณน้อย และเป็นทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่แพ้ผงชูรส)         - ยี่ห้อ ทาคุมิอายิ ซอสผัด สูตรน้ำมันงาและพริกไทย ใส่วัตถุปรุงแต่งรสอาหารมากที่สุดคือ 4 ชนิดและมี 3 ตัวอย่างที่ใส่ชนิดเดียว ได้แก่ แม็กกี้ ซอสผัดสำเร็จรูป ออล-อิน-วัน (โมโนโซเดียมกลูตาเมต), ภูเขาทอง น้ำซอสปรุงรสฝาเขียว(ซอสถั่วเหลือง) (ไดโซเดียม 5’-ไรโบนิวคลิโอไตด์) และ เด็กสมบูรณ์ ซอสปรุงรสฝาเขียว (โมโนโซเดียมแอล-กลูตาเมต)         - ยี่ห้อภูเขาทอง น้ำซอสปรุงรสฝาเขียว(ซอสถั่วเหลือง) ระบุว่าไม่มีผงชูรส MSG แต่ใช้ไดโซเดียม 5’-ไรโบนิวคลิโอไตด์เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ซึ่งเป็นโซเดียมชนิดหนึ่ง หากบริโภคในปริมาณมากเกินไปก็มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นต้นเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคไต ได้         - ยี่ห้อภูเขาทอง ซอสปรุงรสอาหาร เจ เป็นตัวอย่างเดียวที่ไม่มีส่วนประกอบของข้าวสาลีหรือแป้งสาลีผสมอยู่ น่าจะเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับคนที่แพ้กลูเตน คำแนะนำ         - องค์การอนามัยโลกแนะนำให้จำกัดการบริโภคโซเดียมในแต่ละวันให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม แต่จากผลการวิจัยพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำถึงเกือบ 2 เท่า ดังนั้นเมื่อเรากินข้าวนอกบ้าน ควรชิมก่อนปรุง ถ้าหลีกเลี่ยงการปรุงรสเพิ่มได้ยิ่งดี และไม่ควรซดน้ำแกงหรือน้ำซุปจนหมด เพราะโซเดียมจากเครื่องปรุงรสต่างๆ ส่วนใหญ่ละลายอยู่ในน้ำแกงหรือน้ำซุป         - หากปรุงอาหารเอง ควรลดปริมาณเครื่องปรุงรสในอาหารที่มีโซเดียมอยู่ เช่น ซอสปรุงรส น้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว น้ำมันหอย ผงชูรส ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ กะปิ ผงปรุงรสหรือซุปก้อน และควรตวงก่อนปรุง หรือเลือกใช้ส่วนผสมสมุนไพรและเครื่องเทศมาปรุง เพื่อช่วยแต่งกลิ่นและรสชาติของอาหารให้กลมกล่อม รวมทั้งการใช้รสชาติอื่นมาทดแทน เช่น รสเปรี้ยวจากมะนาว รสเผ็ดจากพริก จะช่วยดึงรสเค็มขึ้นมาพร้อมกับยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย         - อย่าปรุงมากเกินไป บางคนผัดผักจานเดียวใส่ทั้งซอสปรุงรส น้ำปลา ซอสน้ำมันหอย และผงปรุงรส ยิ่งใส่เยอะร่างกายก็ได้รับโซเดียมเยอะตามไปด้วย ลองเลือกใช้วัตถุดิบที่มีรสอูมามิหรือรสอร่อยกลมกล่อมอยู่ในตัวมาทำอาหาร เช่น เห็ด มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ หัวไชเท้า เนื้อสัตว์ และชีส จะได้ไม่ต้องใส่เครื่องปรุงหรือซอสต่างๆ ให้มากมาย         - เลือกซื้อซอสปรุงรสในบรรจุภัณฑ์ที่มีสภาพสมบูรณ์ ฝาขวดปิดสนิท ภายนอกขวดไม่ชำรุดหรือมีรอยแกะและหากบ้านไหนมีเด็กๆ ควรเลือกใช้ขวดพลาสติกจะปลอดภัยและสะดวกกว่าใช้ขวดแก้ว         - เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมี อย. เพื่อลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารก่อมะเร็งตระกูล 3-MCPD ที่อาจปนเปื้อนมาจากกระบวนการผลิตซอสปรุงรส         - ผู้บริโภคควรพิจารณาปริมาณโซเดียมบนฉลากโชนาการของผลิตภัณฑ์ก่อนตัดสินใจซื้อข้อมูลอ้างอิงโครงการลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) ในประเทศไทยwww.thaihealth.or.thhttps://my-best.in.th/49587www.smethailandclub.comhttp://webdb.dmsc.moph.go.thhttps://www.greenery.org/articles/g101-01sauce/https://news.thaipbs.or.th/content/280076

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อเปิดเผยผลทดสอบโลหะหนักจากปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ ปลอดภัยไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ โดยโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลากระป๋องชนิดปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ ที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินค้าทั่วไป โดยเก็บตัวอย่างเดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 14 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ ปรอท, ตะกั่ว และแคดเมียม และสังเกตปริมาณโซเดียมบนฉลากนางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวสรุปผลการทดสอบว่า พบผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องชนิดปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศจำนวน 14 ตัวอย่าง มีปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทปรอท ตะกั่ว หรือ แคดเมียม ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขโดยการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทปรอทและตะกั่ว ประเทศไทยกำหนดให้อาหารในภาชนะบรรจุที่เป็นโลหะ สามารถตรวจพบปริมาณปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และมีปริมาณตะกั่วได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่องอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท*          ส่วนการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทแคดเมียม ประเทศไทยกำหนดให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของแคดเมียมในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 98 ) พ.ศ. 2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน          *ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงประกาศฉบับเดิมคือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนโลหะหนักประเภทแคดเมียม ตะกั่ว และปรอท ให้เป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หลังครบ 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา            โดยประกาศฯ ฉบับนี้กำหนดให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของแคดเมียมในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่วในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอทในอาหารประเภทปลาทูน่า โดยอยู่ในรูปเมธิลเมอร์คิวรี (methyl mercury) ได้ไม่เกิน 1.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งผลตรวจวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทแคดเมียม ตะกั่ว และปรอท ในผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องทั้ง 14 ตัวอย่าง ก็ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของประกาศฯ ฉบับใหม่นี้เช่นกัน          ส่วนข้อสังเกตปริมาณโซเดียมนั้น จากการสำรวจปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำบนฉลากโภชนาการ พบว่า ตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำน้อยที่สุด คือ ยี่ห้อ สามแม่ครัว ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ มีปริมาณโซเดียม เท่ากับ 230 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ ½ กระป๋อง (77 กรัม) และ ตัวอย่างที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำมากที่สุด คือ ยี่ห้อ ซูมาโก ซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 660 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ 1 กระป๋อง (125 กรัม)          ทั้งนี้ในแต่ละยี่ห้อมีปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำแตกต่างกันไป ตั้งแต่ ½ กระป๋อง (ประมาณ 77 กรัม) ถึง 1 กระป๋อง (ประมาณ 125 กรัม) ดังนั้นการพิจารณาปริมาณโซเดียมที่ได้รับจากการบริโภค จึงต้องเปรียบเทียบหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำประกอบกันไปด้วย และ โดยทั่วไปปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของอาหารในกลุ่มอาหารบรรจุกระป๋อง ขวดแก้วที่ปิดสนิท หรือในซองอะลูมิเนียมฟอยล์ จำพวกเนื้อสัตว์ ปลา หอย ในซอส เช่น ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศอยู่ที่ 85 กรัม แม้ว่าปลากระป๋องจะมีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะให้โปรตีนสูง แต่เนื่องจากมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก อยู่บ้างจากการสะสมในธรรมชาติ ซึ่งแม้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่หากรับประทานบ่อยครั้งจนเกินไป ก็อาจเกิดการสะสมของโลหะหนักในร่างกายได้ จึงควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ สลับกับการบริโภคอาหารประเภทอื่น          ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือความเสี่ยงจากสารอันตรายที่เรียกว่า "ฮีสตามีน" ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ย่อยกรดอะมิโนในตัวปลา ในระหว่างการขนส่งและจัดเก็บปลาทะเลที่ควบคุมความเย็นได้ไม่มากพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีอาการแพ้ฮีสตามีนได้ นอกจากนี้ ปลากระป๋องยังมีโซเดียมในปริมาณสูงเช่นกัน หากบริโภคมากจนเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้อ่านข้อมูลและผลทดสอบได้ที่ นิตยสารฉลาดซื้อ https://chaladsue.com/article/3499

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 ผลทดสอบโลหะหนัก ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ

        ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 231 (เดือนพฤษภาคม 2563) ได้สำรวจและทดสอบโลหะหนักในปลาทูน่ากระป๋องไปแล้ว และเพื่อเฝ้าระวัง “ปลากระป๋อง” อาหารคู่บ้านอย่างต่อเนื่อง ในฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบโลหะหนักในผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง ชนิดปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศบ้าง         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างปลากระป๋องชนิดปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ ที่วางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างสรรพสินทั่วไปจำนวน 14 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ ปรอท, ตะกั่ว และแคดเมียม และสังเกตปริมาณโซเดียมบนฉลาก ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์แสดงในหน้าถัดไป         สรุปผลการทดสอบ         พบว่า ผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องชนิดปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศจำนวน 14 ตัวอย่าง มีปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทปรอท ตะกั่ว หรือ แคดเมียม ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข         โดยการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทปรอทและตะกั่ว ประเทศไทยกำหนดให้อาหารในภาชนะบรรจุที่เป็นโลหะ สามารถตรวจพบปริมาณปรอทได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทะเล และมีปริมาณตะกั่วได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่องอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท*         ส่วนการปนเปื้อนโลหะหนักประเภทแคดเมียม ประเทศไทยกำหนดให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของแคดเมียมในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 98 ) พ.ศ. 2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน         *ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงประกาศฉบับเดิมคือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 355 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนโลหะหนักประเภทแคดเมียม ตะกั่ว และปรอท ให้เป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้หลังครบ 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา           โดยประกาศฯ ฉบับนี้กำหนดให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของแคดเมียมในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตะกั่วในอาหารประเภทปลาได้ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปรอทในอาหารประเภทปลาทูน่า โดยอยู่ในรูปเมธิลเมอร์คิวรี (methyl mercury) ได้ไม่เกิน 1.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งผลตรวจวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนักประเภทแคดเมียม ตะกั่ว และปรอท ในผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องทั้ง 14 ตัวอย่าง ก็ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานของประกาศฯ ฉบับใหม่นี้เช่นกัน  ข้อสังเกตปริมาณโซเดียม         จากการสำรวจปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำบนฉลากโภชนาการ ของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องทั้ง 14 ตัวอย่าง         พบว่า ตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำน้อยที่สุด คือ ยี่ห้อ สามแม่ครัว ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ มีปริมาณโซเดียม เท่ากับ 230 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ ½ กระป๋อง (77 กรัม)         และ ตัวอย่างที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำมากที่สุด คือ ยี่ห้อ ซูมาโก ซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศ มีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 660 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ 1 กระป๋อง (125 กรัม)         ทั้งนี้ในแต่ละยี่ห้อมีปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำแตกต่างกันไป ตั้งแต่ ½ กระป๋อง (ประมาณ 77 กรัม) ถึง 1 กระป๋อง (ประมาณ 125 กรัม) ดังนั้นการพิจารณาปริมาณโซเดียมที่ได้รับจากการบริโภค จึงต้องเปรียบเทียบหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำประกอบกันไปด้วย และ โดยทั่วไปปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของอาหารในกลุ่มอาหารบรรจุกระป๋อง ขวดแก้วที่ปิดสนิท หรือในซองอะลูมิเนียมฟอยล์ จำพวกเนื้อสัตว์ ปลา หอย ในซอส เช่น ปลาซาร์ดีนในซอสมะเขือเทศอยู่ที่ 85 กรัม  คำแนะนำในการบริโภค         แม้ว่าปลากระป๋องจะมีคุณค่าทางอาหารโดยเฉพาะให้โปรตีนสูง แต่เนื่องจากมีการปนเปื้อนของโลหะหนัก อยู่บ้างจากการสะสมในธรรมชาติ ซึ่งแม้ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่หากรับประทานบ่อยครั้งจนเกินไป ก็อาจเกิดการสะสมของโลหะหนักในร่างกายได้ จึงควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ สลับกับการบริโภคอาหารประเภทอื่น        สำหรับการเลือกซื้อปลากระป๋องนอกจากการอ่านข้อมูลบนฉลากบรรจุภัณฑ์ เช่น สถานที่ผลิตที่น่าเชื่อถือ เลขสารบบอาหาร (เลข อย.) สังเกตวันหมดอายุแล้ว ยังควรตรวจดูสภาพของกระป๋องว่าไม่บุบ โป่ง บวม มีรอยรั่ว หรือเป็นสนิม        ข้อควรระวังอีกอย่างก็คือความเสี่ยงจากสารอันตรายที่เรียกว่า "ฮีสตามีน" ซึ่งเกิดจากแบคทีเรียที่ย่อยกรดอะมิโนในตัวปลา ในระหว่างการขนส่งและจัดเก็บปลาทะเลที่ควบคุมความเย็นได้ไม่มากพอ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่มีอาการแพ้ฮีสตามีนได้        นอกจากนี้ ปลากระป๋องยังมีโซเดียมในปริมาณสูงเช่นกัน หากบริโภคมากจนเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ข้อมูลอ้างอิง- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 355) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน - กิน "ปลากระป๋อง" อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ   (https://news.thaipbs.or.th/content/254561) - บทความ Histamine, กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง  (https://www.fisheries.go.th/quality/บทความ-Histamine-300658-Final.pdf) - ปลาซาร์ดีน (Sardine), ฐานข้อมูลงานวิจัยปลาทูน่าและปลาซาร์ดีน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)     (http://agknowledge.arda.or.th/tuna&sardine/?page_id=264)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 จำหน่ายอาหารบรรจุเสร็จต้องมีเลข อย.ด้วย

        เดี๋ยวนี้การทำอาหารค่อนข้างง่ายและสะดวกมากขึ้น เพราะว่ามีตัวช่วยในการปรุงอาหาร จำพวกซอสปรุงรสแบบสำเร็จต่างๆ พ่อครัวแม่ครัวมือใหม่ไม่ต้องยุ่งยาก แค่เติมซอสแบบสำเร็จก็สามารถ ต้ม ผัด แกง ทอด ได้อาหารมารับประทานแบบอร่อยกันเลย         คุณภูผา เล่นอินสตาแกรม (Instagram) ไปเจออินสตาแกรมของเชฟคนหนึ่ง โพสรูปขายซอสปรุงรสชนิดหนึ่ง โฆษณาว่า “ทำอะไรก็อร่อย” ราคา 49 บาท คุณภูผาเห็นเชฟบอกว่าทำ ต้ม ผัด แกง ทอด ก็ได้ และเชฟก็ทำอาหารจากซอสออกมาหน้าตาน่ารับประทานมาก จึงอยากทำบ้าง เชฟขายซอส 1 ขวด ราคา 49 บาท แต่ถ้าสั่งราคาส่ง ขวดละ 30 บาท คุณภูผาเลยสั่งมา 12 ขวด ด้วยความอยากได้ของถูก         เวลาผ่านไปคุณภูผาก็ได้ซอสปรุงรสมาไว้ในครอบครอง แต่เรื่องมาเกิดตรงที่แฟนของคุณภูผามาเจอซอสดังกล่าว เธอหยิบซอสขึ้นมาดู พบว่า บนขวดมีแต่ชื่อยี่ห้อเท่านั้น ไม่มีเลขทะเบียนสารบบอาหาร ไม่มีฉลากโภชนาการ ไม่มีวันที่ผลิตและหมดอายุ ไม่มีอะไรเลย จึงบ่นคุณภูผาว่า ซื้อมาได้อย่างไร ฉลากสักอย่างก็ไม่มี ใส่อะไรบ้างก็ไม่รู้ จะปลอดภัยหรือเปล่าก็ไม่รู้ คุณภูผาก็ต้องรับคำบ่นนั้นไป เพราะว่ามันเป็นจริงตามที่แฟนบ่น และเพื่อความสบายใจของแฟนเลยสอบถามมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหา        ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคแนะนำผู้ร้องว่า การผลิตซอสปรุงรสมีการควบคุมตามกฎหมายต้องแสดงฉลากโภชนาการให้ผู้บริโภครู้ถึงรายละเอียดวัตถุดิบในการผลิต ที่สำคัญผู้บริโภคต้องทราบวันที่ผลิตและวันหมดอายุ ดังนั้นการที่เชฟคนดังผลิตและจำหน่ายซอสปรุงรสที่ไม่มีฉลากและข้อความบนฉลากที่ถูกต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6 (10)  และมาตรา 51 มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท         อย่างไรก็ตาม ศูนย์พิทักษ์ฯ ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอให้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ผลิตแล้ว         ต่อมาได้รับแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า มีการผลิตและจำหน่ายซอสปรุงรสชนิดนี้จริง ซึ่งผู้ผลิตแจ้งว่า ส่วนใหญ่ใช้ทำอาหารให้ลูกค้าในร้านรับประทาน และได้วางจำหน่ายหน้าร้านและขายทางเฟซบุ๊กด้วย เมื่อตรวจสอบการแสดงฉลากก็พบการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง เช่น ไม่แสดงเลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณเรียงตามลำดับปริมาณจากมากไปหาน้อย วัน เดือน และปีโดยมีข้อความว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือ “หมดอายุ” กำกับไว้ด้วย สำนักงานอาหารและยา ได้สั่งปรับผู้ผลิต เนื่องจากการกระทำดังกล่าวของผู้ผลิตเป็นการจำหน่ายอาหารที่แสดงฉลากไม่ถูกต้องเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 สั่งซอสปรุงรสออนไลน์ ไม่พบฉลาก

แม้การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ แต่อุปสรรคหนึ่งที่ผู้บริโภคหลายคนต้องพบ มักหนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพหรือมาตรฐานของสินค้านั้นๆ หากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา จะสามารถจัดการได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมชายเป็นคนชอบทำอาหาร และเห็นว่าพิธีกรรายการอาหารที่ตนเองชื่นชอบทำซอสปรุงรสขาย เขาจึงตัดสินใจสั่งซื้อมาทดลองประกอบอาหารดู เพราะเห็นการโฆษณาว่าซอสนี้ปรุงอาหารอะไรก็อร่อย อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับสินค้าแล้วเรียบร้อย เขากลับพบว่าสินค้าดังกล่าวมีเพียงฉลากชื่อยี่ห้อที่ระบุว่าเป็น “ซอสตราไก่” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่นๆ เช่น เลข อย. ส่วนประกอบหรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุ ทำให้คุณสมชายไม่มั่นใจว่า ซอสที่ได้รับมาเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานจริงหรือไม่ จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งรายละเอียดเกี่ยวกับโฆษณาขายซอสดังกล่าว พร้อมภาพถ่ายหรือสินค้าตัวจริงมาให้ ซึ่งภายหลังการตรวจสอบพบว่าไม่มีเลขการจดทะเบียน อย. ฉลากโภชนาการ หรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุตามที่ผู้ร้องร้องเรียนจริง จึงช่วยทำจดหมายไปยัง อย. เพื่อขอให้มีการตรวจสอบซอสดังกล่าวเนื่องจากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 200) พ.ศ. 2543 เรื่องซอสในภาชนะบรรจุปิดสนิท กำหนดให้ซอสเป็นอาหารที่ถูกควบคุม และซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก โดยต้องแสดงให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากพบว่าการผลิตซอสและจำหน่ายซอสที่ไม่มีฉลากและข้อความบนฉลากที่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 เลือกซอสพริกให้อร่อยปลอดภัย

หลายคนติดใจในรสชาติของซอสพริก เพราะสามารถนำไปรับประทานคู่กับอาหารประเภททอดได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไส้กรอก ไก่ทอดหรือมันฝรั่งทอด แต่บางครั้งอาจลืมไปว่าซอสพริกไม่ได้มีแค่พริกเป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่ยังมีน้ำตาล - เกลือผสมอยู่ด้วย เพื่อทำให้รสชาติถูกปากยิ่งขึ้น ซึ่งหากยี่ห้อไหนผสมน้ำตาลหรือเกลือสูงก็สามารถทำให้ผู้ที่รับประทานซอสเหล่านั้นเป็นประจำ เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงเอาใจคนชอบซอสพริก ด้วยการเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลและโซเดียมในฉลาก ว่ายี่ห้อไหนจะหวาน – เค็มมากน้อยกว่ากัน ส่วนผลการทดสอบสารกันบูดของซอสพริก เราจะเอามาฝากในฉบับถัดๆ ไป ใครเป็นแฟนซอสชมผลเปรียบเทียบกันได้เลย  สรุปจากการเปรียบเทียบฉลากซอสพริก16 ตัวอย่าง พบว่า- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ จิ้มแจ่มและยัวร์-เชฟ มีน้ำตาล 5 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ สามภูเขาและม้าบิน มีน้ำตาล 1 กรัม/หน่วยบริโภค- ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด คือ ยัวร์-เชฟ มีโซเดียม 620 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ สามภูเขา มีโซเดียม 105 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค- มี 5 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำตาล - เกลือได้ เพราะไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ คิงส์คิทเช่น ไฮคิว เด็กสมบูรณ์ สุขุมและพันท้ายนรสิงห์ - ยี่ห้อที่มีราคาต่อหน่วยแพงที่สุดคือ แม่ประนอม ซอสพริกศรีราชา เผ็ดมาก 15 บาท/น้ำหนัก 100 กรัม - ยี่ห้อที่มีราคาต่อหน่วยถูกที่สุดคือ ไฮคิว ซอสพริกศรีราชา และ เทสโก้ เอฟเวอรี่ เดย์ แวลู ซอสพริกเผ็ดกลาง 4 บาท/น้ำหนัก 100 กรัมข้อสังเกต- จากตัวอย่างซอสพริกที่นำมาตรวจสอบฉลากโภชนาการ 11 ยี่ห้อพบว่า มีปริมาณน้ำตาล – โซเดียมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 กรัมและ 250 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) ตามลำดับ ซึ่งตามที่องค์การอนามัยโลกได้แนะนำไว้ว่าใน 1 วันเราควรได้รับปริมาณน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม (6 ช้อนชา) และโซเดียมสูงสุดไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม (1 ช้อนชา) ทำให้เราสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย แต่อย่าลืมว่าเรายังต้องรับประทานอาหารอื่นๆ โดยเฉพาะอาหารประเภททอด เคียงกับซอสพริกด้วย จึงไม่ควรมองข้ามเรื่องไขมันและพลังงานที่ร่างกายจะได้รับลักษณะซอสพริกที่ดี 1. มีสีสดตามธรรมชาติของส่วนประกอบ มีกลิ่นรสดี2. มีความละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ข้นหรือเหลวเกินไป3. ภาชนะบรรจุต้องปิดสนิท 4. ฉลาก ต้องมีรายละเอียดดังนี้ ชื่ออาหาร เลขทะเบียนอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ วัน/เดือน/ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ ชนิดส่วนประกอบและวัตถุเจือปน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ซอสมะม่วงกับหมูทอด

  ข้อดีอีกอย่างของพิมเสนสุกเมื่อเอามาปั่นและเคี่ยวไฟ สีไม่คล้ำเข้มเหมือนอย่างอกร่อง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งความหวานจนต้องใช้เนื้อมะม่วงแก้วสุกปนด้วยเมื่อเอามากวนยามทำมะม่วงกวน มะม่วงแผ่น ฉันได้แต่หวังว่าสักวันคนแถวบ้านนอกอย่างฉันจะมีโอกาสได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ แบบ คน กทม. กะเขามั่ง เลยยังอินและละเลียดระเรื่อยไปกับข่าวสำคัญของคน กทม.  และติดตามดูอยู่ว่า คุณสุขุมพันธ์จะถูกพิษการหาเสียงบนฐานความเกลียดชังจากกรณี “เผาบ้านเผาเมือง” และข้อความของ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ที่โพสต์ใน FB ในลักษณะที่ว่า “ไม่เลือกเรา เขามาแน่” หรือไม่   กับอีกข่าวที่ไม่ค่อยโด่งดังเท่า  เป็นข่าวที่เกิดขึ้นหลังจากมีผลตัดสินการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ฯ แค่ 2 วัน   มันคือข่าวที่ศาลแพ่งตัดสินให้บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ห้างเซนเป็นเงินกว่า 1,647 ล้านบาท เพราะพิเคราะห์แล้วเห็นว่าการที่ห้างเซนเกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เป็นการกระทำจากเหตุก่อการร้าย แถมบริษัทฯ ยังต้องจ่ายชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมตามคำขอของโจทก์อีกต่างหาก   แม้จะไม่นึกชอบใจวิธีหาเสียงของฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้งเข้ามาเลย และทำใจยอมรับกับผลการเลือกตั้งไปแล้วก็ตาม   แต่ฉัน ก็ยังไม่รู้จะคิดอย่างไรดี กับบทบาทขององค์กรอิสระอย่าง ก.ก.ต. รวมทั้งอีกหลายๆ องค์กร ที่ต้องเล่นกับขอบเขตหน้าที่และบทบาทในการสนับสนุนให้การเลือกตั้งในระดับต่างๆ เป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และไม่ไปขัดขวางกระบวนการประชาธิปไตย   กฎ กติกา มารยาทของระบอบประชาธิปไตยของเรา ยังคงต้องค่อยๆ เรียน ค่อยๆ รู้ และช่วยทำความเข้าใจ  วิธีการหาเสียงเลือกตั้งแบบไม่ส่งเสริมประชาธิปไตย ซึ่งอาจทำให้ผู้ว่าคนใหม่ที่เลือกเข้ามาตายน้ำตื้นก็ได้ใครจะรู้?  ฉันเลยอยากชวนคุณผู้อ่านมาจับตาดูเรื่องราวเหล่านี้ไปด้วยกัน  ถึงวันที่ฉลาดซื้อเล่มนี้อยู่ในมือคุณ เราคงรู้ผลการตัดสินเหล่านั้นกันแล้วก็ได้   ไปว่าเรื่องกินของเรากันดีกว่า…มะม่วงสุกมีเป็นกระบุงหลังจาก 2 วันก่อน แม่เพิ่งให้คนสอยลงมา  นานหลายปีแล้วที่พิมเสนต้นนี้ไม่ออกลูกให้กินสักที   ฉันชอบมันตอนที่ยังไม่สุกแต่แก่จัดจนหัวเหลือง  เนื้อกรอบแข็งรสมันอมเปรี้ยว  แต่พอสุกก็จะมีรสหวานเฉพาะตัว ไม่เหมือนอกร่อง หรือน้ำดอกไม้  แน่ๆ  - - ก็มันพิมเสนนี่นา   กินดิบก็แล้ว กินสุกก็แล้ว แบ่งขายที่แผงหนังสือหน้าบ้านด้วย  ยังมีเหลืออีกเยอะแยะ  ฉันเลยเปิดเว็บว่าคนอื่นๆ เขากินมะม่วงสุกกันด้วยวิธีไหน?   นั่นไง... เพลินจบเกือบลืมปั่นต้นฉบับส่ง บ.ก.ฉลาดซื้อ!  แฮะ  แฮะ  แต่ก็ได้มาแระ เมนูเที่ยวนี้   ปิดหน้าเว็บ  ฉันเดินเข้าตลาด ได้มะนาว 3 ลูก เดินต่อไปเขียงหมูเจ้าประจำ  บอกแม่ค้าว่าอยากได้เนื้อหมูสำหรับทอดกิน  เธอว่าให้ฉันใช้เนื้อสันลายที่นุ่มอร่อยกว่าเนื้อสันในและไม่ติดมันมากนักมาครึ่งโล  ยังเหลือแต่เกล็ดขนมปัง ที่ต้องเข้าไปซื้อในร้านสะดวกซื้อ  แหม... ฉันพอเข้าใจ เมนูทอดเป็นเมนูยอดนิยมของเรา  มันจึงเป็นสินค้าสุดยอดขายดีของร้านไปซะได้   ฉันเลยโมเมเอาง่ายๆ ว่า เมนูเที่ยวนี้น่าจะถูกใจใครๆ ได้มากพอสมควรตามประสาคนหลงตัวเองซะงั้น   เครื่องปรุงซอสมะม่วง 1.มะม่วงสุก หั่นละเอียด 2 ถ้วย  หั่นเต๋า ¼ ถ้วย    2.น้ำ 2 ถ้วย    3.เกลือ 1 ช้อนชา  4.มะนาว ¼ ถ้วย   วิธีทำซอสมะม่วง นำมะม่วงสุกมาปั่นละเอียดโดยเติมน้ำลงไป 1 ถ้วยแล้วเทใส่ชามพักไว้   จากนั้นใช้น้ำอีก 1 ถ้วยที่เหลือล้างโถปั่นแล้วเทน้ำลงหม้อ นำไปตั้งไฟกลาง ใส่เกลือ จนกระทั่งน้ำเดือดจัด จึงเทมะม่วงปั่นลงไป   คนให้เข้ากัน หรี่ไฟลง เคี่ยวให้งวดราว 15 นาที  จึงเติมเนื้อมะม่วงหั่นเต๋า และมะนาวลงไปต้มอีก 5 นาที จึงปิดเตา   สูตรดั้งเดิมที่ได้มาจากเว็บเขาต้องใส่น้ำหวานและน้ำผึ้งด้วย  แต่ฉันว่ามันจะหวานไป  เลยไม่ใส่   ข้อดีอีกอย่างของพิมเสนสุกเมื่อเอามาปั่นและเคี่ยวไฟ สีไม่คล้ำเข้มเหมือนอย่างอกร่อง ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งความหวานจนต้องใช้เนื้อมะม่วงแก้วสุกปนด้วยเมื่อเอามากวนยามทำมะม่วงกวน มะม่วงแผ่น   ส่วนหมูทอด ฉันเอาเนื้อหมูทั้งชิ้นที่ได้จากตลาดมาล้าง  แล่ให้มีความหนาพอประมาณตามแนวขวางของชิ้นเนื้อ  คลุกเกลือกับพริกไทป่นไว้สักพักแล้วจึงเอามาเคล้ากับเศษขนมปัง  ทอดน้ำมันไฟปานกลาง   ก็อย่างที่เห็นในรูปค่ะว่าน่ากินขนาดไหน   กินแล้วคุณอาจจะติดใจ และเพิ่มซอสเข้ามาคู่กับเมนูใหม่ๆ ได้อีกหลายรายการทีเดียวเชียว   Glutathione Precursors) คือ อะมิโนแอซิด เอ็นอะซิทิลซิสเตอีน (N-acetyl-cysteine) ซึ่งโมเลกุลชนิดนี้ จะสามารถถูกดูดซึมเข้าทางเดินอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว และจะไปรวมตัวกับโปรตีนอีก 2 ชนิด คือ อะมิโนแอซิด ไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) ที่มีอยู่มากมายในกระแสเลือดจากอาหารที่รับประทานเข้าไป การรวมตัวของอะมิโนแอซิดทั้ง 3 ชนิด ก่อให้เกิดเป็นโมเลกุลกลูตาไธโอนในกระแสเลือด   อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ประสงค์จะกินอาหารเสริมชนิดนี้เป็นประจำ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มปริมาณกลูตาไธโอนในกระแสเลือด เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอวัย และเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย หากรับประทานมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น มึนงง ปวดหัว ตาพล่ามัว และอาจมีสารตกค้าง ทำให้เป็นนิ่วที่ไต และกระเพาะปัสสาวะอีกด้วย ยาทาผิวหนัง สารกลูตาไธโอน เมื่อนำมาผสมในผลิตภัณฑ์ประเภทครีม หรือเจล สำหรับทาผิวหนัง เพื่อหวังให้ผิวขาวนั้น จะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เพราะโมเลกุลสารนี้ค่อนข้างใหญ่ ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนังได้   เอกสารอ้างอิง  1, Lomaestro B, Malone M. Glutathione in health and disease. Pharmacotherapeutic Issues. Ann Pharmacother 29: 1263-73, 1995. 2, The importance of glutathione in human disease. Biomed Pharmacother. 2003 May-Jun; 57(3-4):145-55.  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 144 ซอสมะเขือเทศเชอร์รี่ ของคุณชาวนาฯ

เตรียมตัวไปเยี่ยมผู้ใหญ่ แต่เตลิดเลยไปบ้านคุณชาวนา ลูกหลานพญาคันคากที่สุพรรณบุรีเสีย  เลยได้ของฝากจากคุณชาวนาฯ มาฝากท่านผู้อ่าน   ผู้ใหญ่ที่ว่านั้น เป็นชาวนาสูงวัย 2 ราย ที่ฉันเคยได้ไปขออาศัยศึกษาข้อมูลความรู้เรื่องนาฟางลอยเมื่อ 2 ปีก่อน   รายแรกที่แวะไปเยี่ยม  เป็นคู่สามี-ภรรยา  วัย 60 ปี   ที่ทำนามาตลอดชีวิต  ตอนที่ไปหานั้นทั้งคู่อยู่ในนาทั้งที่เป็นเวลาบ่ายสี่โมงกว่าๆ แล้ว  เราคุยทักทายกันเบื้องแรกอยู่ไม่กี่นาทีประสาคนไม่เจอหน้ากันนานหลายเดือน  สักพักป้าแกเลยพาไปนั่งหลบเงารถแทรกเตอร์พ่วงบนคันนา  จึงได้รู้ว่านอกจากโครงการจำนำข้าวจะสร้างความพึงพอใจในด้านการผลิตของแก แล้ว  แกเพิ่งนำเงินกำไรจากการขายข้าวไปดาวน์รถคันแรกให้กับลูกชายคนสุดท้ายที่เพิ่งได้งานทำในบริษัท หลังจากช่วงที่ว่างงานลูกชายคนนี้เคยมาช่วยงานในนาบ้างเป็นครั้งคราว  แต่เขาก็ไม่ได้ชอบงานนาสักเท่าไหร่   ทั้งลุงและป้าก็อยากให้เขาได้งานที่สบายกว่าเป็นชาวนา     ฝ่ายลุงก็ยังอดเปรยให้ฉันฟังไม่ได้ว่าบริษัทของลูกชายนั้นเขี้ยว  หาคนเข้าไปทำงานก็ต้องมีรถไปด้วย บริษัทไม่ยอมซื้อให้  ยอมจ่ายแต่ค่าน้ำมัน   อีกรายเป็นชาวนาวัย 70 กว่า  ที่นอกจากทำนาปีในช่วงฤดูนาปีแล้ว  ยังปล่อยให้คนเช่าทำนาปรังของตัวเองในช่วงฤดูนาปรังด้วย   ส่วนรอบๆ บ้านของแกก็มีบ่อปลา เลี้ยงไก่ ปลูกกล้วย ผลไม้ และผักสวนครัวไว้กินตามประสาคนไกลตลาด    สิ่งที่น่ายินดีไปกับแกด้วย  คือลูกชายคนโตที่แกส่งเรียนจนเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลอำเภอนั้นมาหลายปี เก็บเงินเก็บทองได้ก้อนใหญ่กลับมาซื้อที่นาแปลงใกล้ๆ บ้านไว้ 30 ไร่  และพ่อลูกสองคนได้ใช้โอกาสตระเวนไปดูงานชาวนาดีเด่นอย่าง คุณชัยพร พรหมพันธุ์ , คุณทองเหมาะ แจ่มแจ้ง  และที่อื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมจะมาเป็นชาวนา   แต่คุณลุงแกก็ยังแย้มออกมาว่า ต้องดูก่อนเรื่องน้ำที่ปีนี้ว่าแล้งมากและอาจจะเบิกที่ทำนาปรังไม่ได้  และถึงทำนายังไม่ได้การมีที่ดินที่รู้แต่แรกว่าถนนเส้นใหญ่จะตัดผ่านใกล้ๆ บริเวณนั้น มันช่างการเป็นการเก็งกำไรที่คุ้มค่า  ถึงไม่ได้ทำนา ราคาที่ดินก็ขึ้นมาอยู่ดี แม้บริเวณทุ่งนาแห่งนี้จะถูกประกาศให้เป็นแอ่งรับน้ำนองในช่วงที่เกิดอุทกภัยในเขตเมืองก็ตาม   ฟังข่าวดีของผู้ใหญ่ชาวนาที่ฉันไปเยี่ยมแล้วอดแช่มชื่นใจไปกับแกด้วยไม่ได้   นี่ไม่รวมความครึ้มอกครึ้มใจที่ได้ของฝากแสนอร่อยของคุณชาวนาฯ เพื่อนฉันด้วยนะนี่   ของฝากจากคุณชาวนาฯ ที่ว่า เป็นซอสมะเขือเทศโฮมเมท ที่คุณชาวนาฯ ปลูกเองเคี่ยวเอง กินอร่อยเองภายในครอบครัวแล้วยังมีเหลือแบ่งมาให้ฉันได้ทดลองกิน    แค่ได้ดมก็หอมเหลือใจ  มันมีกลิ่นของอบเชยลอยอวลมากระทบจมูกแล้วชวนน้ำลายไหล พาให้คิดไปไกลว่าจะทำอะไรกินดีระหว่าง พาสต้าของชอบ กับพิซซ่าที่พอจะหาสูตรแป้งในอินเตอร์เน็ตได้ แต่ไม่มีเตาอบสำหรับมัน   คุณชาวนาฯ ปลูกมะเขือเทศเชอร์รี่ไว้  ทั้งกินเองและเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้บรรจุเป็นซองสวยงามจำหน่ายทั้งตามงานของเหล่าชาว GREEN ตามแต่จะมีโอกาส และทางอินเตอร์เน็ตผ่านโซเชียลมีเดีย อย่าง Facebook  ด้วย  พอมีผลผลิตเหลือเยอะเกินจัดการ ก็เปิดค้นหาทั้งรูปแบบและวิธีการแปรรูปจากอินเตอร์เน็ต  แล้วก็เอารูปผลิตภัณฑ์มาอวดกันใน Facebook   หลังจากทั้งได้ดูภาพใน Facebook  ได้ดมและได้กินซอสของจริงแล้ว ฉันว่าผู้ที่สนใจก็อาจจะเอาไปทดลองทำได้ง่ายๆ ไม่ยากเลย   ส่วนประกอบ มะเขือเทศเชอร์รี่สุก                   2              ถ้วย หอมหัวใหญ่                           1              ถ้วย น้ำส้มสายชู                            2              ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                              ½             ถ้วย เกลือป่น                               1              ช้อนชา อบเชย                               2 – 3          ชิ้น   วิธีทำ นำมะเขือเทศและหอมหัวใหญ่ใส่น้ำ ปั่นด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้  แล้วเทใส่หม้อเคลือบ  ใส่ส่วนผสมที่เหลือทั้งหมดลงไปในหม้อ ตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวสัก 30 นาที โดยคนตลอดเวลา  แล้วปิดเตาไป  ยกลง ตั้งให้เย็น   จากนั้นนำไปกรองด้วยกระชอนตาละเอียด หรือกระชอนร่อนแป้ง  กรองเอาแต่น้ำซอสไว้ใช้   สูตรนี้คุณผู้อ่านอาจจะปรับแต่งรสชาติได้เองตามชอบโดยการชิมแล้วค่อยๆ ปรุงเพิ่ม   ถ้าทำในปริมาณมากโดยเก็บใส่ขวดแก้วสะอาดมีฝาปิดแช่ไว้ในตู้เย็น   เมื่อต้องการนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องจิ้ม จึงเทแบ่งมาใช้   ฉันทดลองนำซอสมะเขือเทศทำเองของคุณชาวนามาทาขนมปังเป็นแยมกินก็อร่อยดี  ปิ้งขนมปังให้กรอบแล้วทา  จะเสริมเพิ่มแฮมโบโลน่า และ Cheddar Cheese  ลงไปด้วยก็ได้ตามอัธยาศัย   นึกแผลงขึ้นมาอีกนิดก็เอาซอสทาขนมปังแล้วเอากุ้งสดที่ล้างสะอาดผ่ากลางตัวเอาเส้นดำกลางหลังออกมาวางแผ่หรา    แล้วเรียงด้วยถั่วแขกหั่นแฉลบ ของคุณชาวนาฯ นั่นแหละลงไป  โปะด้วย  Cheddar Cheese  ที่หั่นเป็นริ้วๆ แล้วยกไปใส่ไมโครเวฟอบแป๊บเดียวก็ได้กิน   เสียแต่ว่า ขนมปังที่รองมันบางและใส่ซอสมากไปนิด เลยออกจะแฉะไป  เลยกะว่าจะลองปิ้งขนมปังให้เกรียมกรอบก่อน ค่อยบรรจงทาซอส เรียงชิ้นถั่วแขกแล้วเอาเข้าเวฟใหม่คราวหน้า   นี่ยังเสียดายว่าฉันเพลินชิมซอสไปนิด  ถ้ามีเหลือมากกว่านี้   เอาตับหมูบดละเอียดแล้วเอาลงไปเคี่ยวไฟอ่อนๆ ให้ตับสุก  ก็จะได้เป็นแยมตับกับซอสเชอร์รี่ เอาไว้ทาขนมปังกินยามเร่งด่วนก็คงจะดีไม่น้อยทีเดียว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 126 ซอส

  ซอส (Sauce) ถือเป็นเครื่องปรุงรสที่ต้องมีในทุกครัวทั่วโลก ซอสที่เรารู้จักดีก็คงจะเป็นซอสมะเขือเทศ ซอสพริก หรือแม้แต่ ซีอิ๊ว ก็จัดเป็นประเภทหนึ่งของซอสเช่นกัน  ซอส มีบทบาทโดดเด่นมากในอาหารฝรั่ง ซึ่งต่างจากอาหารไทย เหตุที่ต่างกันเพราะวิธีปรุงอาหารไทยเรานั้นนิยมต้มยำ ทำแกง ซึ่งหมายถึงรวมรสชาติของเครื่องปรุงต่างๆ ลงไปเสร็จสรรพในอาหาร แต่สำหรับอาหารอย่างฝรั่งนั้นเขาจะมีวิธีปรุงต่างไป ชาวตะวันตกชอบที่จะกินเนื้อสัตว์ชิ้นโตๆ โดยที่ไม่ว่าจะปิ้งย่าง อบ หรือทอด มักไม่ปรุงรสจนเสร็จสรรพแต่ชอบจะปรุง “ซอส” มาราดบนอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติมากกว่า  ซอสในอาหารฝรั่งแบ่งเป็นสองประเภทคือ ซอสที่กินกับอาหารคาว และซอสที่กินกับอาหารหวาน ซอสที่กินกับอาหารคาวจะมีลักษณะเป็นน้ำข้นหนืดได้จากการผสมน้ำสต๊อค(น้ำที่ได้จากการต้มน้ำกับกระดูกสัตว์) นม และแป้งสาลีแล้วปรุงรสชาติไปตามแต่เชฟแต่ละคนจะคิดประดิษฐ์ขึ้น หลักๆ จะแบ่งไปตามประเภทของเนื้อที่นำมาทำเป็นอาหารเช่น เนื้อเป็ดก็อาจเป็นซอสส้ม เนื้อวัว ก็เป็นซอสเห็ด เนื้อปลา ก็เป็นซอสขาว เป็นต้น  นอกจากเรื่องเพิ่มรสชาติแล้ว ซอสยังทำให้อาหารดูน่ารับประทานมากขึ้นด้วยเพราะช่วยเพิ่มความมันวาวชุ่มฉ่ำให้อาหารที่ส่วนใหญ่เวลาผ่านการปรุงด้วยความร้อน อาจมีลักษณะที่แห้งๆ ด้านๆ ไม่น่ากิน  ซอสที่ปรุงสุกใหม่ถือว่าเป็นสิ่งพิเศษสำหรับอาหาร แต่สำหรับซอสที่ปรุงสำเร็จเป็นขวดๆวางขายทั่วไป อย่างซอสมะเขือเทศ ซอสพริก จะใส่สารเคมีเพื่อความคงตัวของเนื้อซอสสี และวัตถุกันเสีย ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป  ซอสที่ควรรู้จัก วูสเตอร์ซอส (worcestershire sauce) ซอสสีน้ำตาล รสเปรี้ยว นิยมใส่สตู ซุป และน้ำสลัดต่างๆแพร่หลายไปทั่วโลก  ซอสทาบาสโก้ (tabasco sauce) ผลิตจากพริกแดงชื่อทาบาสโก้ รสเปรี้ยวเผ็ด โดยบดพริกผสมกับเกลือแล้วหมักจนได้รสชาติ ใช้จิ้มกับอาหารทะเล  ซอสมะเขือเทศ ทำจากมะเขือเทศสด โดยมีระดับความเข็มข้นที่ต่างกัน แบบข้นเรียกว่า tomato paste ส่วน ketchup เป็นซอสมะเขือเทศปรุงรส

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 ซอสหอยนางรม ปริมาณหอยนางรมและโซเดียม

ซอสหอยนางรมหรือน้ำมันหอย ถือเป็นเครื่องปรุงรสคู่ครัวไทยมานาน เพราะเชื่อว่าช่วยทำให้อาหารอร่อย รสชาติกลมกล่อมยิ่งขึ้น และมีประโยชน์ต่อร่างกายด้วยโปรตีนจากหอยนางรม โดยอาหารยอดนิยมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด คะน้าหมูกรอบ ผัดผักหรือหมูปิ้ง ส่วนใหญ่มักใช้ซอสหอยนางรมเป็นส่วนหนึ่งของการปรุงรส อย่างไรก็ตามปัจจุบันซอสหอยนางรมมีมากมายหลายยี่ห้อและมีราคาแตกต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนไม่แน่ใจว่าควรตัดสินใจเลือกซื้ออย่างไรดี ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเปรียบเทียบปริมาณหอยนางรม และโซเดียม รวมทั้งโปรตีนในซอสหอยนางรมจาก 23 ยี่ห้อยอดนิยมโดยดูจากฉลากข้างขวด ผลจะเป็นอย่างไรเราลองมาดูกัน         ตารางผลทดสอบ 2 ปริมาณโซเดียม ทดสอบด้วยการดูจากฉลากโภชนาการ และเรียงลำดับจากยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุด ไปยังยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุด เมื่อเทียบต่อหนึ่งหน่วยบริโภค(หนึ่งหน่วยบริโภคประมาณ 15-17 กรัม) หมายเหตุ มีเพียง 13 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ   สรุปผลทดสอบ จากซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบพบว่า 1. ซอสหอยนางรม 23 ตัวอย่าง ทุกยี่ห้อระบุว่ามีหอยนางรมเป็นส่วนประกอบ โดยยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบมากที่สุดคือ ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) 55% ต่อน้ำหนัก 255 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณหอยนางรมเป็นส่วนประกอบน้อยที่สุดคือ โฮม เฟรช มาร์ท 9% ต่อน้ำหนัก 770 กรัม2. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคน้อยที่สุดคือ เทสโก้ เอฟเวอรี่ เดย์ แวลู 240 มก. ต่อน้ำหนัก 675 กรัม และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคมากที่สุดคือ นกแพนกวินสามตัว 1,110 มก. ต่อน้ำหนัก 700 มล.3. จากการเปรียบเทียบฉลากโภชนาการ 13 ยี่ห้อ มีเพียงยี่ห้อเดียวที่ฉลากโภชนาการระบุว่ามีโปรตีนคือ ยี่ห้อ ไก่แจ้ มีปริมาณโปรตีน 2 กรัม 4. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณโปรตีนหรือโซเดียมได้ ได้แก่ ยี่ห้อ 1.แฮปปี้บาท 2.เด็กสมบูรณ์ (สูตรดั้งเดิม) 3.พันท้ายนรสิงห์ 4.เด็กสมบูรณ์(สูตรเข้มข้น) 5.ป้ายทอง 6. ลี่กุมกี่ แพนด้า 7.ลี่กุมกี่ ชอยซัน 8.เอช แอนด์ เอ็ม 9.ลี่กุมกี่ (โอลด์แบรนด์) และ 10.ท็อปเกรดออยสเตอร์ซอสข้อสังเกต 1. ปริมาณโซเดียมในซอสหอยนางรมโซเดียมในอาหารส่วนใหญ่อยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ หรือเกลือแกงที่ใช้ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ให้มีรสเค็มและใช้ในกระบวนการถนอมอาหาร อย่างไรก็ตามนอกจากการใช้เกลือในรูปของเกลือแล้ว เกลือยังมีอยู่มากในเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารให้มีรสชาติเค็ม เช่น นํ้าปลา ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสต่างๆ ซึ่งในซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ จะมีปริมาณโซเดียม 450-610 มก. หรือเฉลี่ยที่ 518 มก. แต่จากผลทดสอบจะเห็นได้ว่าบางยี่ห้อมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าค่าเฉลี่ย หรือมากทีสุดอยู่ที่ 1,110 มก./1 ช้อนโต๊ะ การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป หรือตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดให้ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 6 กรัม(1 ช้อนชา)ต่อวัน โดยสำหรับผู้ที่ต้องจำกัดปริมาณโซเดียมควรบริโภคไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน หลอดเลือดสมองแตก รวมทั้งไตวายได้ 2. ปริมาณโปรตีนในซอสหอยนางรมแม้ตามมาตรฐานของมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในอาหารประเภทซอสหอยนางรม ไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานปริมาณโปรตีนไว้ แต่หอยนางรมก็เป็นอาหารทะเลที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อย่างไรก็ตามเมื่อนำมาแปรรูปเป็นซอสหอยนางรม กลับพบว่ามีเพียงยี่ห้อเดียวที่พบปริมาณโปรตีนในฉลากโภชนาการ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เกร็ดเล็กๆ ของซอสหอยซอสหอยนางรม คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเนื้อหอยนางรมมาบดให้ละเอียดแล้วทำให้สุก หรือใช้หอยนางรมสกัดหรือใช้หอยนางรมย่อยสลาย มาผสมกับเครื่องปรุงรสเช่น ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำตาลและส่วนประกอบอื่น เช่น แป้งดัดแปร ต้มให้เดือด บรรจุในภาชนะบรรจุขณะร้อน แล้วทำให้เย็นทันทีแนะวิธีเลือกซื้อซอสหอยนางรมนอกจากเราจะสามารถเลือกซื้อหอยนางรม โดยดูจากปริมาณหอย โปรตีน หรือโซเดียมได้แล้ว ยังสามารถพิจารณาได้จากยี่ห้อที่ภาชนะบรรจุสะอาด มีฝาปิดสนิท มีสีน้ำตาลสม่ำเสมอ หรือมีฉลากภาษาไทย ซึ่งควรมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อผลิตภัณฑ์, ส่วนประกอบ, น้ำหนักสุทธิ หรือปริมาตรสุทธิ, วัน/เดือน/ปีที่หมดอายุคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้และการเก็บรักษา รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและสถานที่ตั้งข้อมูลอ้างอิง 1.http://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/8_44_1.pdf      2. http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 88 อร่อยกับซอสมะเขือเทศอย่างปลอดภัย

ปัจจุบันซอสมะเขือเทศนั้น ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ  ตามลักษณะของอาหารการกินที่ได้รับค่านิยมมาจากฝรั่ง แฮมเบอร์เกอร์ พิซซ่า สเต็ก สปาเก็ตตี้ ฯลฯ  และครอบครัวรุ่นใหม่ก็จะต้องมีไว้ติดครัวกันเกือบทุกบ้าน การตลาดของซอสมะเขือเทศแม้มีกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างกว้างตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่แล้วเชื่อหรือไม่ว่า การตัดสินใจซื้อกลับตกไปที่เด็กๆ ในบ้าน เนื่องจากเด็กๆ ต่างล้วนติดใจในความอร่อยของรสชาติหวานๆ เปรี้ยวๆ ของซอสมะเขือเทศ ซึ่งนิยมเป็นเครื่องจิ้มอาหารโดยเฉพาะของทอดต่างๆ อย่างไข่เจียว ไส้กรอกหรือลูกชิ้น ปกติเครื่องปรุงรสอาหารหรือเครื่องจิ้มในอาหารไทยไม่ว่าจะเป็นน้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ้ว เราจะรับประทานกันในปริมาณไม่มากเพราะความเค็ม แต่ซอสมะเขือเทศเป็นอะไรที่แตกต่างเพราะเวลาจิ้มกินกับอาหารเราจะกินกันในปริมาณมากพอสมควร เพราะมีรสหวานนำ ทำให้โอกาสที่จะรับส่วนผสมที่อาจมองข้ามอย่างน้ำตาลหรือเกลือ(โซเดียม) เข้าไปในร่างกายต่ออาหารมื้อหนึ่งๆ ก็สูงตามไปด้วย ซอสมะเขือเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหลายขั้นตอน จึงเป็นอาหารที่ต้องมีการกำกับดูแลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 201) พ.ศ.2543 เรื่อง ซอสบางชนิด การรับประทานซอสมะเขือเทศแม้เราจะได้ประโยชน์จากส่วนผสมที่เป็นมะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เมื่อผ่านความร้อนระดับอุณหภูมิเกิน 72 องศาเซลเซียส ย่อมทำให้สารอาหารหลายชนิดได้สูญเสียไปในกระบวนการผลิตแล้ว ดังนั้นควรรับประทานแต่พอเหมาะไม่มากเกินไป โดยเฉพาะกับเด็กๆ และผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ ทั้งเพื่อเลี่ยงน้ำตาล โซเดียม ตลอดจนสารกันบูดที่เป็นส่วนผสมสำคัญในซอสมะเขือเทศ จากการทดสอบของฉลาดซื้อพบว่า ซอสมะเขือเทศ 10 ยี่ห้อ มีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยคือ 25.95 กรัม/น้ำหนัก 100 กรัม โดย ไฮนซ์ มีปริมาณน้ำตาลสูงสุด 28.4 กรัม ตามด้วยโรซ่าและภูเขาทอง คือ 27.4 กรัมและ 27.2 กรัม สำหรับโซเดียม พบว่ามีปริมาณค่าเฉลี่ยคือ 741 มิลลิกรัม/น้ำหนัก 100 กรัม โดยยี่ห้อไฮนซ์ยังครองอันดับหนึ่งด้วยโซเดียมที่สูงถึง 1,035 มิลลิกรัม (เกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม) ตามมาด้วย เทสโก้และโรซ่า คือ 940 มิลลิกรัมและ 894 มิลลิกรัม ผลทดสอบน้ำตาลและโซเดียมในซอสมะเขือเทศ

อ่านเพิ่มเติม >