ฉบับที่ 273 สถานการณ์ผู้บริโภคประจำปี 2566

        มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภคปี 2566 ได้รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤศจิกายน 2566 ดำเนินการสำเร็จ 1,277 เรื่อง จากเคสร้องเรียนทั้งหมด 1,614 เรื่อง โดยแบ่งปัญหาของผู้บริโภค 9 เรื่องเด่นใน 4 หมวด ได้แก่ สินค้าและบริการทั่วไป, บริการขนส่งและยานพาหนะ, อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย, การเงินการธนาคารและประกัน เรื่องที่ได้รับร้องเรียนมากที่สุด ได้แก่ หมวดสินค้าและบริการทั่วไป มีมากถึง 630 เรื่อง หรือคิดเป็นร้อยละ 39 จากทุกข์ของผู้บริโภคทั้งหมดที่ร้องเรียนเข้ามา     9 เรื่องเด่น ประจำปี 2566    เรื่องที่ 1        ·     หมวดบริการขนส่งและยานพาหนะ        M-Flow ตามที่มีนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดบนทางด่วนและมอเตอร์เวย์ โดยการใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาระบบจัดเก็บค่าผ่านทางด้วยกล้องตรวจบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ ผ่านระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) บนเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 ของกรมทางหลวง  ได้แก่ ด่านทับช้าง 1 ด่านทับช้าง 2 ด่านธัญบุรี 1 ด่านธัญบุรี 2 นั้น          มูลนิธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ใช้บริการ และประสบปัญหาเรื่องการถูกเรียกเก็บค่าปรับทางด่วน  โดยมีเรื่องร้องเรียนดังนี้         1. อัตราค่าปรับแพง ระบบ M-Flow กำหนดให้ผู้ใช้บริการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันใช้บริการ หากไม่ชำระภายในระยะเวลาดังกล่าวจะถูกปรับ 10 เท่าของค่าธรรมเนียม โดยให้ผู้ใช้บริการดำเนินการชำระเงิน หากไม่เห็นด้วยให้เข้ามาชี้แจงต่อกรมทางหลวงภายในระยะเวลาที่กำหนด (ให้ระยะเวลาเข้าไปชี้แจงประมาณ 8 วัน) หากไม่ดำเนินการชี้แจงจะถูกปรับจากการไม่มาชี้แจงตามกำหนดเวลา (200 บาทต่อกรณี) ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าอัตราค่าปรับไม่เหมาะสมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ เนื่องจากผู้ใช้บริการไม่ได้มีเจตนาที่จะไม่ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง         2. ไม่ทราบว่าเส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทางที่ใช้ระบบ M-Flow ผู้ใช้บริการบางคนเดินทางมาจากต่างจังหวัด ทำให้ไม่ทราบว่า หากใช้เส้นทางของระบบ M-Flow แล้วต้องชำระค่าบริการหรือไม่ หรือต้องชำระค่าบริการอย่างไร หรือบางรายอาจถูกรถเบียดเปลี่ยนเส้นทางไม่ได้ จนหลุดเข้าไปใช้เส้นทางดังกล่าวโดยไม่ตั้งใจ แล้วไม่ทราบว่าต้องดำเนินการชำระเงินอย่างไร ซึ่งกว่าจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน ก็เลยกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระไปแล้ว         3.ป้ายแสดงไม่ชัดเจน จำนวนป้ายแสดงน้อย และมีขนาดเล็ก หากไม่สังเกต หรือไม่คุ้นเส้นทางก็จะไม่ทราบว่าเส้นทางข้างหน้าเป็นเส้นทาง M-Flow         4.ไม่รู้ยอดอัตราค่าบริการ และช่องทางการชำระ ไม่มีการประชาสัมพันธ์ช่องทางการชำระเงินให้ผู้ใช้บริการรับทราบ ซึ่งผู้ใช้บริการบางรายไม่ทราบด้วยว่าได้ใช้งานผ่านเส้นทาง M-Flow แล้ว         5.หนังสือแจ้งให้ชำระค่าบริการมาถึงช้า ทำให้เกินกำหนดชำระต้องเสียค่าปรับ ผู้ใช้บริการบางรายแจ้งว่า หนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง ส่งมาถึงก่อนวันถึงกำหนดเพียง 1 วัน โดยไม่ได้ระบุช่องทางการชำระเงินมาในหนังสือ แต่ระบุเพียงว่า “ท่านสามารถชำระผ่านเว็บไซต์ระบบ M-Flow  (www.mflowthai.com)” หรือบางรายได้รับหนังสือหลังจากเกินกำหนดชำระแล้ว ทำให้ต้องเสียค่าปรับจำนวน 10 เท่า         6.ระบบโต้แย้งค่าผ่านทาง ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ ระบบ M-Flow ได้จัดให้มีการส่งเหตุผลการโต้แย้งค่าผ่านทางได้ ผ่านเว็บไซต์ https://mflowthai.com/mflow/dispute และเหตุผลในการโต้แย้งค่าผ่านทาง ไม่ครอบคลุมปัญหาที่ผู้ใช้บริการได้รับจริง โดยในเว็บไซต์จะมีเหตุผลการโต้แย้งให้เลือกได้ดังนี้         (1) มีหนังสือยกเว้นภายหลังผ่านทาง         (2) ชำระเงินแล้วมีหนังสือแจ้งเตือน/ขอคืนเงิน/ขอคืนแต้ม         (3) ไม่ได้ผ่านทาง         (4) ข้อมูลซื้อขายรถไม่ตรงกับกรมขนส่งทางบก         (5) ซื้อขายรถแบบโอนลอย         (6) รถสวมทะเบียน         (7) รถหาย/รถโดนขโมย         (8) การผ่านทางซ้ำ (การสร้างรายการผ่านทางซ้ำ)         (9) ขนาดรถไม่ถูกต้อง         (10) เคลื่อนย้ายรถส่งซ่อมการดำเนินการ         1. ทำหนังสือขอให้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบ M-FLOW พร้อมแนบรายชื่อผู้เสียหาย (มพบที่.119/2565)                                                                      2.ทำหนังสือ/ข้อเสนอ ขอให้ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการใช้งานระบบ M-FLOW (มพบที่ 272/2566)    เรื่องที่ 2        ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        งานวิ่ง Ultra Trail Unseen Koh Chang 2023 ถูกยกเลิก แต่บริษัท ทีละก้าว จำกัด ไม่คืนเงินซึ่งจะจัดในวันที่ 21-22 ม.ค. 66 จัดที่โรงเรียนสลักเพชร เกาะช้างใต้ จ.ตราด โดยสมัครทางช่องทาง Google Form 2023 ผู้เสียหายได้ชำระค่าสมัครเรียบร้อย ต่อมาวันที่ 20 ม.ค.2566 เพจ Ultra-Tail Unseen Koh Chang ประกาศแจ้งยกเลิกงานดังกล่าว ทำให้เกิดความเสียหาย ผู้ร้องจึงประสงค์ให้บริษัทคืนเงินค่าสมัคร โดยได้แจ้งขอคืนเงินไปยังบริษัทฯแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการคืนเงินแต่อย่างใด        การดำเนินการ         1. บริษัท ทีละก้าว จำกัด จัดการแข่งขันวิ่งเทรลเกาะช้าง จังหวัดตราด ในวันที่ 21-22 มกราคม 2566 และได้มีการประกาศยกเลิกฉุกเฉิน ผ่านเพจ ""Ultra-Trail Unseen Koh Chang"" ที่เป็นของผู้จัดงาน ประกาศเพียง 1 วัน และแจ้งเพียงช่องทางเดียว         2. 3 มิถุนายน 2566 เนื่องจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทราบปัญหาการยกเลิกงานวิ่งดังกล่าวจึงได้ตรวจสอบเพจเฟซบุ๊ก Ultra-Trail Unseen Koh Chang ของ ผู้จัดงานวิ่ง พบว่าโพสต์ล่าสุด 18 เมษายน 2566 ได้โพสต์แจ้งการคืนเงินเฉพาะค่าสมัครวิ่งให้กับผู้เสียหายตามกำหนดรอบเรียงตามคิวที่ยื่นเรื่อง แต่จนถึงต้นเดือนมิถุนายน ยังมีผู้เสียหายจำนวนมาก ที่ยื่นเรื่องตามคิวแรกแจ้งว่า ยังไม่ได้รับเงินคืน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงประกาศให้ผู้เสียหายงานวิ่งเทรลเกาะช้าง ส่งหลักฐานเพื่อนำสู่การไกล่เกลี่ยกับผู้จัดให้เร่งจ่ายเงินคืน พร้อมส่งหลักฐานประกอบการร้องเรียน กรณี Ultra Trail Unseen Koh Chang 2023 (งาน UTKC 2023) (21-22 มกราคม 2566) ดังนี้            (1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน            (2) หลักฐานการสมัครวิ่ง, หมายเลขประจำตัวนักวิ่ง             (3) หลักฐานการโอนเงิน            (4) หลักฐานการจองที่พัก หรือค่าเสียหายอื่นๆ         มีผู้ร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจำนวน 18 ราย         3. 13 กรกฎาคม 2566 เชิญบริษัทฯมาไกล่เกลี่ย ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งดำเนินการไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 จากการไกล่เกลี่ย ผู้ร้องและบริษัทฯได้ทำบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท ดังนี้             (1)  บริษัทฯจะดำเนินการตรวจสอบรายชื่อนักวิ่งที่ตกหล่นและอัพเดตรายชื่อนักวิ่งให้สามารถตรวจสอบได้ พร้อมระบุลำดับการคืนเงินผ่านเพจ ""Ultra-Trail Unseen Koh Chang"" และบริษัทฯจะดำเนินการตอบข้อความผู้ร้องและเคลื่อนไหวข้อมูลทางเพจ ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2566             (2)  บริษัทฯจะดำเนินการประสานนักวิ่งเพื่อขอข้อมูลที่พัก รวบรวมเพื่อประสานสภาอุตสาหกรรม ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ประสานไว้             (3)  บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินแก่นักวิ่งตามรอบที่ลงทะเบียนเดิม โดยจะเริ่มคืนรอบที่ 2 ภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่มาไกล่เกลี่ย ผู้ร้องตกลงรับข้อเสนอที่บริษัทฯแจ้ง             (4)  13 กันยายน 2566 ผู้เสียหายรอบการคืนเงิน 16 กรกฎาคม – 16 สิงหาคม 2566 แจ้งมายังมูลนิธิฯว่ายังไม่ได้รับการคืนเงินจากบริษัทฯตามที่ได้ทำบันทึกไว้ จึงประสานไปยังบริษัทฯแจ้งว่าจะดำเนินการตรวจสอบและคืนเงินแก่ผู้ร้องภายในวันที่ 22 กันยายน 2566 เมื่อครบกำหนดผู้ร้องกลับไม่ได้รับเงินคืนตามสัญญา และตรวจสอบจากผู้ร้องพบว่ายังไม่มีผู้ร้องคนใดได้รับการคืนเงิน            (5)  12 ตุลาคม 2566 ติดต่อบริษัทฯสอบถามความคืบหน้าการคืนเงิน บริษัทฯขอให้ส่งรายชื่อผู้เสียหายอีกครั้ง มูลนิธิฯจึงส่งอีเมล์พร้อมแนบรายชื่อผู้เสียหายอีกครั้ง            (6)  18 ตุลาคม 2566 บริษัทฯแจ้งว่าได้รับอีเมล์และรายชื่อผู้เสียหายแล้ว บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 แต่จนถึงปัจจุบันผู้เสียหายยังไม่ได้รับการการคืนเงินและไม่ได้รับการติดต่อกลับจากบริษัทฯ ทั้งนี้มูลนิธิฯไม่สามารถติดต่อบริษัทฯได้เช่นเดียวกัน ***  ซึ่งผู้เสียหายสามารถใช้สิทธิทางกฎหมายเพื่อดำเนินคดีกับผู้ประกอบการได้ โดยสามารถแจ้งความประสงค์ในการดำเนินคดีพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง มายังมูลนิธิฯเพื่อช่วยเหลือในการดำเนินคดีได้     เรื่องที่ 3        ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        การปรับผังเวทีคอนเสิร์ต Mark Tuan ‘the other side’ Asia Tour 2023 in Thailand บัตรราคา 6,500 บาท ในรอบการแสดงที่กรุงเทพ และ บัตรราคา 4,500 บาท ในรอบการแสดงที่ขอนแก่น  ทำให้ผู้ซื้อบัตรคอนเสิร์ตที่ไม่พอใจการจัดเวทีรูปแบบใหม่         การดำเนินการ         ดำเนินการเจรจาแทนผู้ร้อง โดยผู้จัดงาน บริษัท ไบร์ท แพนเทอร์ จำกัด ได้ติดต่อมาที่มูลนิธิฯ บริษัทฯจะดำเนินการคืนเงินแก่ผู้ร้องที่ประสงค์จะขอเงินคืน หากผู้ร้องจะขอเงินคืนสามารถแจ้งชื่อ-สกุล เบอร์ติดต่อ/อีเมล์ และให้มูลนิธิฯดำเนินการประสานไปยังบริษัทฯ แต่ทั้งนี้ในส่วนของการเปลี่ยนผังบริษัทฯแจ้งว่าจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้     เรื่องที่ 4        ·     หมวดอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย            บริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) สร้างคอนโด 4 ปีไม่เสร็จตามสัญญา ไม่คืนเงิน โดยมีโครงการดังนี้             1.โครงการ RISE Phahon - Inthamara : ขณะนี้สร้างเสร็จถึงชั้น 2 แต่บอกว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ 31 ธันวาคม 2564             2.โครงการ The Excel ลาซาล 17 : ขณะนี้ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่บอกว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ 31 ธันวาคม 2564             3.โครงการ The Excel Hideaway รัชดาห้วยขวาง : ขณะนี้ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ แต่บอกว่าสร้างเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ : 31 ธันวาคม 2562            4.โครงการ The Excel Hideaway สุขุมวิท 50 : ผู้เสียหายแจ้งขอยกเลิกสัญญาตั้งแต่ก่อนก่อสร้างแล้วเสร็จ ( ซึ่งเดิมแจ้งว่าสร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์มีกำหนด กุมภาพันธ์ 2563)             5. โครงการ Impression เอกมัย สร้างแล้วเสร็จพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ : มิถุนายน 2563  โดยมูลนิธิฯดำเนินการช่วยยื่นฟ้องคดีที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี , และยื่นฟ้อง ที่ ศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี         การดำเนินการ         ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร้องโดยการฟ้องคดี                               1. ฟ้องที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี                                              2.ยื่นฟ้อง ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี     เรื่องที่ 5     ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป        Asia Society Fitness สาขารามคำแหง119 ปิดให้บริการ สมาชิกที่สมัครในสาขาดังกล่าวไม่สะดวกไม่สามารถไปใช้บริการในสาขาอื่น บริษัทฯไม่กำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหา  ผู้บริโภคต้องการยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน บริษัทฯแจ้งว่าจะดำเนินการคืนเงินภายใน30 วัน เมื่อครบกำหนดบริษัทฯไม่คืนเงินและไม่สามารถติดต่อบริษัทฯได้         การดำเนินการ        ทำหนังสือขอให้คืนเงิน (มพบที่ 147/2566) แต่ไม่ได้รับการตอบกลับจากบริษัทฯ     เรื่องที่ 6    ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป          ถูกว่าจ้างให้ซื้อมือถือ  ปัจจุบันมือถือกับค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มีการทำโปรโมชั่นร่วมกัน ด้วยการจำหน่ายมือถือในราคาพิเศษ แต่แลกด้วยการทำสัญญาเปิดใช้บริการอย่างน้อย 1 ปี (ซิมรายเดือน) จุดนี้จะมีช่องให้มีคนหาผลประโยชน์เข้าตนเองได้ คือ การจ้างบุคคลทั่วไป ใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องรู้จักกัน เพียงแค่อายุ 18 ปีขึ้นไปและมีบัตรประชาชน ซื้อมือถือและเปิดใช้บริการแทนตน โดยแลกกับการจ่ายเป็นค่าจ้างให้ 300-500 บาท มองเผินๆ ก็น่าจะดีเพราะไม่ได้ทำอะไรมาก แค่ซื้อเครื่องให้และรับเงินค่าจ้างสบายๆ แต่อาจลืมมองไปว่าคนที่ลงลายมือชื่อทำสัญญาใช้บริการนั้นคือเจ้าของบัตรประชาชน” ดังนั้นในกรณีที่เกิดการค้างชำระค่าบริการ หรือโทรศัพท์ถูกนำไปใช้ก่ออาชญากรรม คนที่ต้องรับผิดชอบก็คือคนที่ทำสัญญา     การดำเนินการ         ตามพระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ระบุว่า เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         รวมถึงผู้ที่เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ทั้งนี้หากบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้เปิดบัญชี ให้รีบดำเนินการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที และใช้เอกสารที่แจ้งความไปติดต่อขอยกเลิกสัญญากับผู้ให้บริการ     เรื่องที่ 7    ·     หมวดการเงินการธนาคาร/ประกัน         ทำประกันแบบสะสมทรัพย์ 20 ปีแต่ได้รับเงินปันผลไม่ครบตามสัญญา ผู้ร้องสมัครทำประกันแบบสะสมทรัพย์ 20 ปี ตรีคูณ  (มีเงินปันผล)  จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท เริ่มทำสัญญาวันที่ 8 สิงหาคม 2545 กรมธรรม์ครบสัญญาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ผู้ร้องแจ้งว่าก่อนทำสัญญาพนักงานขายแจ้งแก่ผู้ร้องว่าหากทำสัญญาครบ 20 ปี จะได้รับเงินปันผลจำนวน 500,000 บาท  ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาบริษัทฯแจ้งว่าจะจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ร้องจำนวน 70,000 บาท ผู้ร้องจึงทำเรื่องร้องเรียนโต้แย้งการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯพิจารณาเสนอการจ่ายเงินเพิ่มเติมจากเดิมแก่ผู้ร้องเป็นจำนวน 180,000 บาท แต่ผู้ร้องไม่รับข้อเสนอเนื่องจากไม่เป็นตามสัญญาที่ระบุว่าผู้ร้องจะต้องได้รับเงินปันผลจำนวน 500,000 บาท  หลังจากรับเรื่องร้องเรียนมูลนิธิฯทำหนังสือเชิญบริษัทฯมาเจรจาแต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับใดๆจากทางบริษัทฯ จึงดำเนินการฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้ร้อง         การดำเนินการ         1.ทำหนังสือเชิญบริษัทฯมาไกล่เกลี่ย ( มพบ. 038/2566)บริษัทฯไม่มาไกล่เกลี่ย         2.ดำเนินการช่วยเหลือผู้ร้องโดยการฟ้องคดี          เรื่องที่ 8    ·     สินค้าและบริการทั่วไป         ร้องเรียนกรณีถูกบริษัท  มิเนอรัล บิวตี้ จำกัด  เสนอขายเครื่องสำอางค์ของ Aqua Mineral แพงเกินจริง         การดำเนินการ         เจรจาตามความประสงค์ที่ร้องเรียน     เรื่องที่ 9    ·     หมวดสินค้าและบริการทั่วไป          ธุรกิจนำเที่ยว บริษัท อ้วนผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด หรือทัวร์ “อ้วน ผอม จอมเที่ยว” ยกเลิกทัวร์ ทำให้มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก และเกิดความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท         การดำเนินการ         ประสานกรมการท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยวแจ้งกรณีถูกบริษัท อ้วนผอม อะราวด์ เดอะ เวิลด์ จำกัด ยกเลิกทัวร์ให้ผู้เสียหายเตรียมเอกสารหลักฐาน 5 รายการ ดังนี้         1. รายการนำเที่ยวที่ซื้อ         2. ใบเสร็จรับเงิน         3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ชำระเงิน         4. หลักฐานการแจ้งยกเลิกการเดินทาง (ถ้ามี)         5. เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อความการแชตพูดคุยต่างๆ         ส่งทางอีเมล tgtcenter@tourism.go.th หรือ เดินทางมาร้องเรียนได้ตนเอง ที่กรมการท่องเที่ยว (บริเวณโถงกลาง) ชั้น 2 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ         หลังจากส่งเอกสารครบถ้วนนิติกรจะติดต่อกลับไปยังผู้ร้องทั้งนี้กรมจะดำเนินการเชิญบริษัทฯมาเจรจาหากบริษัทฯไม่มาเจรจาหรือเจรจาไม่ได้ กรมจะนำเงินกองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยวมาชดเชยแก่ผู้เสียหาย และจะดำเนินการส่งเรื่องให้สคบ.ดำเนินการฟ้องคดี         สามารถติดตามการแถลงข่าว สถานการณ์ผู้บริโภค ปี 2566 ได้ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค | มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงผลงานปี2566 (ffcthailand.org)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 สถานการณ์ฉุกเฉินจาก โรคติดต่อร้ายแรง Covid 19 ในเยอรมนี และเทคโนโลยีการพบแพทย์ที่ไม่ต้องเดินทางไปคลินิก

        วันนี้ผมขอนำเสนอสถานการณ์ของประชาชนในเยอรมนี ซึ่งกำลังประสบกับสถานการณ์ภัยพิบัติของ โรคติดต่อร้ายแรง Covid-19 ซึ่งทางเวบไซต์ของมูลนิธิทดสอบสินค้า ( Stiftungswarentest) ได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้บริโภค ในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งของข้อมูลทางวิชาการที่เป็นกลาง เชื่อถือได้ และขอแนะนำการให้บริการปรึกษาแพทย์แบบ VDO call ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจาก โควิด 19 ดังนี้  เราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของ โลก กับการระบาดของ Covid-19 ได้จากไหนบ้าง         สำหรับประชาชนชาวเยอรมันสามารถหาข้อมูล ที่ทันสมัยได้จากเวบไซต์ของสถาบันวิชาการอิสระ Robert Koch Institute(https://www.rki.de/DE/Content/InfAZ/N/Neuartiges_Coronavirus/nCoV.html) ที่เผยแพร่จำนวนของผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค Covid 19 ซึ่งมีการปรับปรุงให้ทันสมัย และทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศ หรือพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ได้ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับ แผนที่แบบ อินเตอร์แอคทีฟของศูนย์ระบบวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม (Center for Systems Science and Engineering: CSSE) ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University แห่งสหรัฐอเมริกา(https://gisanddata.maps.arcgis.com/apps/opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6) เราสามารถทราบถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของประเทศปลายทางที่จะเดินทางไปได้อย่างไร         กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกคำเตือนประชาชนที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2563 แนะนำให้ยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะมีข้อจำกัดในการเดินทางทางอากาศ และมาตรการการกักตัว เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ และการจำกัดการใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ และบางประเทศกระทรวงต่างประเทศก็ประกาศยกระดับ เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และอาจไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ถ้ามีมาตรการปิดประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเยอรมนีมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนที่ติดค้างอยู่ในต่างประเทศ โดยจัดลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งสามารถดูข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มเติมจากเวบไซต์ของกระทรวงต่างประเทศได้ เราสามารถยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ ที่เป็นประเทศเสี่ยงในการติดเชื้อ Covid-19 โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมได้หรือไม่         ผู้โดยสารสามารถใช้เหตุ ความไม่ปรกติของสถานการณ์ในการยกเลิกการเดินทางไปประเทศที่เสี่ยงกับการติดโรค โควิด-19 ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สำหรับความหมายของคำว่า ความไม่ปรกติ ในกรณีของประเทศเยอรมัน คือ การประกาศเตือนของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้เป็นข้ออ้างได้ในการขอยกเลิกการเดินทาง จริงๆ แล้ว มีสภาพบ่งชี้ อื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการขอยกเลิกการเดินทางได้เช่นกัน เช่น การปิดเมือง การปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางจุด การปิดประเทศทีเราอาต้องเดินทางผ่าน         ในกรณีที่เราจองกรุปทัวร์ไว้ และเตรียมตัวจะเดินทางก่อน 1 เดือน หรือ 2-3 สัปดาห์ ในกรณีของ ภัยพิบัติและความเสี่ยงสูงจากการติดโรค Covid-19 ก็เข้าเกณฑ์ในการเกิด เหตุการณ์ไม่ปรกติ บริษัททัวร์ต้องคืนค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับนักท่องเที่ยว โดยต้องไม่มีค่าธรรมเนียมในการบอกเลิกการเดินทาง (หมายเหตุ สำหรับกรณีอื่นๆ นั้น ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมาย แล้วแต่กรณีในการที่จะ ใช้เหตุความไม่ปรกติของสถานการณ์) แพทย์สามารถให้คำปรึกษาผ่านระบบ VDO ได้แล้ว ประชาชนควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง         ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านทางระบบ VDO call โดยจะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ แต่บริการนี้แพทย์ต้องเป็นฝ่ายเสนอการให้บริการลักษณะนี้เอง ปัจจุบันการให้บริการผ่าน VDO call ยังมีข้อจำกัดอยู่ และทำได้เพียง 20 % ของเคสเท่านั้น ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2020 คาดว่า จะสามารถให้บริการผ่าน VDO call ได้เต็มที่ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับแพทย์ที่จะเปิดให้บริการผ่าน VDO call ต้องใช้ระบบ VDO call ที่ผ่านการรองรับมาตรฐานแล้วเท่านั้น         สำหรับการพบแพทย์ด้วยเทคโนโลยี VDO call นี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานๆ และต้องรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการที่จะติดเชื้อระหว่างการรอพบแพทย์ และยังมีอาการเจ็บป่วยไม่มาก หรือการไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบอาการหลังการรักษา การให้คำปรึกษาของแพทย์ด้วยเทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม ปีที่แล้ว (2019) การให้คำปรึกษาของแพทย์จะมีค่าธรรมเนียมที่คิดคำนวณจากระบบประกันสุขภาพ และไม่จำเป็นที่แพทย์และผู้ป่วยจะต้องรู้จักหรือพบปะกันมาก่อน นอกจากนี้ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิคก็สามารถใช้บริการ VDO  Call กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง (Care Giver) ได้อีกด้วย         สำหรับผู้ป่วยที่สนใจบริการผ่าน VDO Call จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเลคโทรนิค ที่ติดตั้ง ไมโครโฟน ลำโพง และเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต และต้องผ่านระบบการนัดคิวของผู้ป่วยกับแพทย์ ที่สำคัญระบบ VDO Call ต้องเป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการรักษาความลับของผู้ป่วย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล        แนวทางปฏิบัติของเยอรมนีนั้น ผมคิดว่า เยอรมนีได้วางระบบการปรึกษาแพทย์ผ่าน VDO call ซึ่งสามารถลดปัญหาการติดโรค โควิด-19 ได้ดีระดับหนึ่ง และอาจเป็นทางเลือกการให้บริการผู้ป่วยของไทยในอนาคตอันใกล้ หลังจากผ่านวิกฤติ โควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของมนุษยชาติตามมา  แหล่งข้อมูล มูลนิธิทดสอบสินค้า (Stiftungswarentest e.V.) https://www.test.de/Coronavirus-Was-Sie-zum-neuen-Virus-aus-China-wissen-sollten-5570361-0/#question-1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 สถานการณ์การปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ เชื้อดื้อยา และยีนดื้อยา ในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อม และการจัดการ

1. เกริ่นนำ ความห่วงใยเรื่องปัญหาเชื้อดื้อยาเดิมเริ่มจากผลกระทบและปัญหาที่พบในโรงพยาบาล  และไทยก็มีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในมนุษย์ ส่งมาจากโรงพยาบาลเป็นหลัก ต่อมาเริ่มเห็นปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชน  และมีความเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาในระบบห่วงโซ่อาหาร  รวมถึงมีคำอธิบายความเชื่อมโยงของการดื้อยาทั้งในคน สัตว์ พืช และ สิ่งแวดล้อม ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ปัจจุบันทั้งนักวิชาการ และฝ่ายนโยบายจึงให้ความสำคัญมากขึ้น กับสิ่งที่เรียกว่า one health โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรายงานการใช้ยาปฏิชีวนะและการปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อม บทความนี้ทบทวนสถานการณ์ถึงความก้าวหน้าใหม่ๆ ในด้านนี้ ต่อเนื่องจากบทความในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 164 เรื่องยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร พบว่า มีความก้าวหน้าเชิงนโยบายและวิชาการทั้งจากทั่วโลกและในประเทศไทย  แต่ขณะเดียวกันก็มีความน่ากลัวของสถานการณ์การดื้อยาที่รุนแรงขึ้น จากห่วงโซ่อาหารมาสู่คนและสิ่งแวดล้อม ที่ทุกภาคส่วนล้วนยอมรับว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ และต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมที่กระทบทั้งสุขภาพและกระทบต่อการผลิตอาหารในระยะยาวในวงจรอาหารมีองค์ประกอบที่มีความหลากหลายและเชื่อมโยงกันเป็น one health  ดังนั้นการทำงานเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาควรมองการป้องกันและจัดการอย่างบูรณาการ ระบาดวิทยาของเชื้อดื้อยา (Epidemiology of Antimicrobial Resistance)  สะท้อนแหล่งผลิตเชื้อดื้อยาหรือยีนดื้อยา ที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือเกิดการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยา  มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ทั้งทางตรงและทางอ้อม   อาจมีปฏิสัมพันธ์ทางเดียวหรือสองทิศทางก็ได้ ที่สำคัญๆ มีได้ 7 จุด ได้แก่ มนุษย์(โรงพยาบาล สถานีอนามัย ชุมชน และการท่องเที่ยว) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหาร(วัว หมู แกะ เป็ดไก่ ฯลฯ) สัตว์เลี้ยง สัตว์สวยงาม สัตว์โชว์(เช่นสุนัข แมว ไก่ชน ฯลฯ) การปลูกพืช ผัก ผลไม้ ผลิตเม็ลดพันธ์(ส้ม ส้มโอ มะนาว มันเทศ ฯลฯ) การประมง(ปลา กุ้ง ฯลฯ) โรงงานผลิตยา สารเคมี และสารเคมีใช้ในบ้าน(อาจปล่อยยาปฏิชีวนะ หรือสารเคมีลงสิ่งแวดล้อม) การผลิตแอลกอฮอล์จากพืช(มีการใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะด้วย) ในการเชื่อมโยง แพร่ปัจจัยการเกิดเชื้อดื้อยา มีทั้งสัมผัสตรงหรือได้ทางอ้อม จุดเชื่อม เช่น มูลสัตว์และน้ำจากฟาร์ม การขายทำปุ๋ย หรือปล่อยลงดิน การลงแม่น้ำ นำไปสู่ ทะเลหรือทะเลสาบ มีการนำไปบริโภค แหล่งบำบัดน้ำเสียจากจุดปล่อย ต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น     2. MCR-1 gene เรื่องใหญ่ของโลกและของไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558  มีรายงานจากประเทศจีนที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Lancet Infectious     เป็นการค้นพบยีน (gene) ที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ที่ชื่อว่า mcr-1 gene เป็นครั้งแรกในโลก โดยที่เป็นการพบว่า ยีนการดื้อยานี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากยีนดื้อยาเดิม คือชนิดใหม่เกิดบน plasmid มีการถ่ายทอดพันธุกรรมในลักษณะเป็น Horizontal Gene Transfer สามารถถ่ายทอดสายพันธุกรรมข้ามสายพันธุ์ได้  การค้นพบนี้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นและตระหนกไปทั่วโลก แม้ว่าก่อนหน้านี้มีการศึกษา การดื้อยาโคลิสติน มาแล้วหลายรายงาน แต่รายงานดั้งเดิมพบยีนดื้อยาที่มีลักษณะแบบ Vertical Gene Transfer  ทั้งนี้ยาโคลิสตินเป็นหนึ่งในยากลุ่ม polymyxin   เนื่องจากความเป็นพิษต่อมนุษย์ จึงมีการแนะนำให้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์(หมูและไก่) แต่ในขณะเดียวกัน ยาโคลิสตินก็เป็นยากลุ่มสำคัญที่มักจะใช้รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ดื้อต่อยาอื่นๆ  การค้นพบครั้งนี้ จึงสะท้อนปัญหาการดื้อยาที่เกิดในห่วงโซ่อาหารและกระทบต่อสุขภาพของคนและนำไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว หลังรายงานฉบับแรก ได้เพียง 3 เดือน พบรายงานถึงการพบ mcr-1 gene ในอย่างน้อยใน 19 ประเทศ และเพียงกลางปี พ.ศ. 2559 พบรายงานแล้วกว่า 32 ประเทศ  จากการที่ผู้เขียนได้รวบรวมเอกสารงานวิจัยและข่าวต่างๆ จากทั่วโลกในช่วงเวลาสองปีย้อนหลัง(พฤศจิกายน พ.ศ. 2558-ตุลาคม พ.ศ. 2560) พบว่ามีการรายงานการพบ mcr-1 gene แล้วถึงมากกว่า 42 ประเทศ กระจายทุกภูมิภาค(ตารางที่ 1) คาดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ตารางที่ 1 รายชื่อประเทศ ที่มีรายงานตรวจพบ mcr-1 gene และยีนในกลุ่มเดียวกัน (mcr-1 gene ถึง mcr-5 gene)จากรายงานวิจัยที่รวบรวม พบว่าแหล่งของยีนเชื้อดื้อยามาจากหลากหลายแหล่ง เช่น จากฟาร์ม (อุจจาระ เลือด สารคัดหลั่ง หรือการ swab ทวารหนัก ของหมู วัว ไก่ในฟาร์ม) จากเนื้อสัตว์แหล่งต่างๆ  (หมู ไก่ วัว)  จากพืชผัก (ตรวจที่ปลายทางที่ประเทศนำเข้า ส่วนไทยยังไม่ได้ตรวจ)   จากสิ่งแวดล้อม(แม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำระหว่างการบำบัด) รวมถึงตัวอย่างเชื้อที่แยก จากผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยที่เพาะและแช่แข็งเก็บไว้ และต่อมาพบในผู้ป่วย ( เลือด อุจจาระ สารคัดหลั่ง)  หรือในอาสาสมัครปกติ( เลือด อุจจาระ สารคัดหลั่ง)   ความห่วงใยต่อการปนเปื้อนของ mcr-1 gene หรือ แบคทีเรียที่มี mcr-1 gene  ในสิ่งแวดล้อมหรือในระบบนิเวศน์ เพราะหลังจากตรวจพบ mcr-1 gene ในสัตว์ ในคน ก็เริ่มพบว่ามีการแพร่ไปสู่สิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ลักษณะ นอกจากนี้  มีข่าวบางข่าวจากต่างประเทศสะท้อนความห่วงใยการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะยาหรือยีนเชื้อดื้อจากโรงงานผลิตยา และจากโรงพยาบาล  ยังพบต่อมาว่าเกิดยีนส์อีกหลายชนิดที่เป็นกลุ่มใกล้เคียงกัน รวมแล้วปัจจุบันพบยีนดื้อยาโคลิสตินชนิดร้ายแรงนี้ ได้แก่ mcr-1, mcr-2, mcr-3, mr-4, mcr-5  และในบางครั้งพบยีนดื้อยาที่รวมกันหลายชนิดในสายพันธุกรรมเดียวกันด้วยที่มาจากผู้ป่วย  ส่วนสถานการณ์ของไทย พบว่ามีรายงานต่างประเทศระบุว่าพบ mcr-1 gene ในตัวอย่าง ที่เก็บ ตั้งแต่ พ.ศ. 2555   โดยพบในคนไทย  2 ราย จากตัวอย่างคนไทยที่ตรวจทั้งหมด 3 ราย ที่ยังไม่ได้แสดงอาการ และเห็นความเชื่อมโยงว่าอาจแพร่จากหมูมาสู่คนได้ต่อมามีรายงานในผู้ป่วย ตามที่ปรากฎในบทความ ในหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก   ที่ระบุว่า  มีเอกสารรายงาน “สถานการณ์การเกิดโรคประจำสัปดาห์ที่ 24 ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน 2559” ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ามีการตรวจพบยีนดื้อยาดังกล่าวในตัวอย่างปัสสาวะผู้ป่วยชาย ข้อความดังนี้  "4.พบผู้ป่วยติดเชื้อ Escherichia coli มียีนดื้อยา mcr-1 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จ.นนทบุรี โดยศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติได้ตรวจพบเชื้อ Escherichia coli มียีนดื้อยา mcr-1 จากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วยไทย เพศชาย อายุ 63 ปี ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งแรกระหว่างวันที่ 23 มกราคม-25 กุมภาพันธ์ 2559 ด้วยอาการ Intracerebral hemorrhage แพทย์ได้ผ่าตัด และผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2559 ด้วยโรคหลอดลมอักเสบ คาดว่าผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาล”ทั้งนี้ต่อมามีรายงานวิชาการระบุการพบเชื้อดื้อยาที่ชื่อ Escherichai coli (E coli) จากปัสสาวะของผู้ป่วยชายไทยอายุ 63 ปี ที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  การตรวจเบื้องต้นพบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะถึงกว่า 30 ชนิด เมื่อทำการตรวจยีนพบทั้ง mcr-1 gene ที่ดื้อต่อโคลิสตินและยีนดื้อยารุนแรงอื่น   หมายเหตุ ผู้เขียน เข้าใจว่าตัวอย่างนี้น่าจะเป็นชายคนเดียวกับที่รายงานในคมชัดลึก มีรายงานจากต่างประเทศระบุว่าพบ mcr-1 gene ในตัวอย่าง ผัก จากไทย(ชะอม) และเวียดนาม (โหระพา) ที่ส่งไปขายในสวิตเซอร์แลนด์ โดยตัวอย่างเก็บเมื่อพ.ศ. 2557 รายงานการตรวจพบ mcr-1 gene ในไทยจากตัวอย่างเชื้อที่เก็บจากหมู  ในช่วงพ.ศ. 2547, 2554-2557 จาก 4 จังหวัด พบ mcr-1 gene ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 (1 จังหวัด) และพบต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2555-2556 (2 จังหวัด) และพ.ศ.2557 (1 จังหวัด)  รายงานข่าวในคมชัดลึก ถึงการสำรวจฟาร์มหมู และการดำเนินการของกรมปศุสัตว์ที่เข้มงวด รวดเร็ว ที่ลงต่อเนื่อง  3. นานาชาติเขาทำอะไรกันบ้าง เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร  Antibiotic Awareness Week/Day 2017วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปี จัดเป็นวัน antibiotic awareness day  ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551 โดยเริ่ม European Antibiotic Awareness Day ด้วยการประสานงานของ European Center for Diseases Prevention and Control  ร่วมกับภาคีหลายภาคส่วน เป็นการรณรงค์ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ/ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผลและอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้ยายังคงมีประสิทธิผลในการรักษาและเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อดื้อยา ซึ่งเดิมเป้าหมายมุ่งที่การใช้ยาในคน แต่ต่อมาขยายสู่การใช้ในสัตว์และในพืชด้วย  ซึ่งงานนี้ก็แพร่หลายไปสู่ประเทศต่าง ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ส่วนไทยนับได้ว่าเป็นประเทศต้นๆ ในเอเชีย ที่จัดงานนี้ ตั้งแต่ปี 2556 สำหรับปี พ.ศ. 2560 องค์การอนามัยโลก ประกาศ ให้ World Antibiotic Awareness Week 2017  คือ ช่วง 13-19 พฤศจิกายน 2560  ซึ่งประเทศไทย กำหนดจัดกิจกรรม ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 จัดเป็นงานใหญ่ เพราะกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดงานนี้ เป็นครั้งแรก ด้วยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก ทั้งวิชาการและงบประมาณ  นอกจากนี้ กพย. สสส. ให้การสนับสนุน ทั้งงานส่วนกลาง และงานพื้นที่ เพราะ กพย. ได้เคยจัดงานนี้ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง ถึง 4 ปี (พ.ศ.2556-2559) ในชื่อวัน(สัปดาห์) รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย  มีประเด็นหลักแตกต่างกันไป  ที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คือปี พ.ศ.2558  และมีแผนงานที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการการดื้อยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และต่อเนื่องมาจนผลักเข้าเป็นวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ใน พ.ศ. 2558 และต่อมาจึงมียุทธศาสตร์ชาติด้านนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย องค์กรระหว่างประเทศองค์การอนามัยโลก เน้นเฉพาะสุขภาพของมนุษย์ มีมติสมัชชาอนามัยโลกมาอย่างต่อเนื่อง ออกรายงานการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาทั่วโลก และมีการรับรอง Global Action Plan อย่างไรก็ดี สุขภาพมนุษย์มีความเชื่อมโยงกับอาหารที่มาจากสัตว์และสัตว์เลี้ยง จึงมีการประกาศร่วมในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly) เมื่อ ตุลาคม พ.ศ 2559  Resolution adopted by the General Assembly   และให้ทำงานร่วม ระหว่าง 3 หน่วยงาน WHO, FAO และ OIEองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ออกแผนปฏิบัติการต่อสู้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ   เมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559 มีหัวใจสำคัญ ๔ ข้อ  ได้แก่ (ก) สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยาและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหารรับทราบ   และ ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือชำนาญในเรื่องนี้ (ข) เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ยาต้านจุลชีพ และปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในการผลิต อาหารและสินค้าเกษตร (ค) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพและปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร (ง) สนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร และ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างระมัดระวังล่าสุดองค์การอนามัยโลก ออกคู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีความสำคัญด้านการแพทย์ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร  4. สถานการณ์ของไทย ข้อมูลจากพื้นที่ งานวิชาการ และมาตรการนโยบายที่เกี่ยวข้อง ในวงจร ห่วงโซ่อาหาร ยังพบการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งในการเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืช มีงานสำรวจการพบเชื้อในหลายพื้นที่ โดยตัวอย่างการสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ในเชียงใหม่  พบว่าเกษตรกรที่สำรวจเกือบทั้งหมดมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งรายการยาปฏิชีวนะ 5 อันดับแรกของการเลี้ยงสัตว์แต่ละกลุ่ม เป็นดังนี้ ในโคนม ได้แก่ oxytetracycline, penicillin, sulphamethoxydiazine, cloxacillin + ampicillin (ยาดราย), kanamycinในหมู  ได้แก่ amoxicillin, enrofloxacin, oxytetracycline, gentamycin, neomycin ในไก่ไข่ ได้แก่ enrofloxacin, Sulfadimethoxine , cocidiocidal triazinetrione โดยที่ในรายงานมิได้กล่าวถึงการใช้อาหารสัตว์ผสมยาปฏิชีวนะที่ชัดเจน แต่ได้ระบุว่ามีการใช้โคลิสตินผสมน้ำให้ดื่มตั้งแต่เป็นลูกสุกรทุกวัน เรียกว่าวิตามิน ทั้งนี้ข่าวจากคมชัดลึก สะท้อนว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมูจริง ใช้ตั้งแต่แรกเกิดมีการสำรวจแหล่งขายยาหรือขายอาหารผสมยาชัดเจนนอกจากนี้จากการรวบรวมรายงานวิชาการ การสำรวจหรือสอบถามคนพื้นที่ และติดตามข่าว พบมีการใช้ยาปฏิชีวนะฉีดเข้าลำต้นผลไม้ในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ปทุมธานี ชัยนาท  โดยต้นส้ม  ต้มส้มโอ มะนาว หรือแม้แต่พ่นยากับต้นมันเทศ ยาที่ใช้ในไทย เช่น แอมพิซิลลิน เอม๊อกซี่ซิลลิน เตตร้าไซคลิน สเตรปโตมัยซิน หรือการใช้ เพนนิซิลลิน จี สำหรับจุ่มตา หรือการใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นทุเรียน  ส่วนในต่างประเทศบางประเทศก็มีการใช้ด้วยเช่นกัน เช่นจีน   ที่น่าเป็นห่วงคือการตกค้างในผลไม้และการไหลค้างลงสู่สิ่งแวดล้อม ที่ต้องการการศึกษาอย่างจริงจัง  ถึงระบาดวิทยาการดื้อยา ผลกระทบต่อมนุษย์พร้อมทั้งศึกษาหาสาเหตุและวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ  ในมิติมุมมองผู้บริโภค พบมีการเคลื่อนไหว สำรวจและรณรงค์ให้เลิกใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหาร เมื่อ 2 มีนาคม 2559 มพบ. แถลงข่าวรณรงค์ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล เรียกร้องให้บริษัทขายอาหารฟาสต์ฟู้ด เลิกใช้เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นการรณรงค์พร้อมกันทั่วโลกของเครือข่ายสมาชิกองค์กรผู้บริโภคทั่วโลก เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา  ได้ ร่วมแถลงข่าวพบยาปฏิชีวนะใน แซนด์วิชไก่อบ ซับเวย์ แต่ไม่เกินมาตรฐาน องค์กรผู้บริโภค-นักวิชาการสุขภาพ เรียกร้องให้ลดและยกเลิกการใช้เนื้อสัตว์ที่มียาปฏิชีวนะ14 มี.ค.60 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รายงานผลการเก็บตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดสด และห้างค้าปลีก รวม 15 แห่งในกรุงเทพมหานคร พบเนื้อหมูมียาปฏิชีวนะตกค้างถึงร้อยละ 13 พบจาก 2 ตลาดสด   เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัยมีความพยายามของเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้ยาปฏิชีวนะผสมเลี้ยงสัตว์ หันมาเลี้ยงหมูเสรี หมูปลอดภัย หมูหลุม เลี้ยงไก่ ปลูกผักอินทรีย์ ไม่ใช้ยา เลี้ยงปลาปลอดสาร หรือสารเคมีต่าง ๆ มีตัวอย่างที่นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ มหาสารคาม เป็นต้น   รัฐบาลควรได้มีการส่งเสริมความรู้ แก่ทั้งเกษตรกร สนับสนุนการจัดตลาดอาหารปลอดภัย และให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงสาธารณสุข มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ฉบับ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข และ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2559ล่าสุดมีการประกาศยกเลิกยาโคลิสติน ชนิดรับประทานสำหรับคน และมีความพยายามทบทวนทะเบียนตำรับยาปฏิชีวนะ(กพย. ได้จัดแถลงข่าวและทำหนังสือถึง รมว.สธ. เรียกร้องให้ทำการทบทวนทะเบียนตำรับยาสูตรที่ไม่เหมาะสม ด่วน) แต่ผลยังไม่มีความคืบหน้านักกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะหรือคุณสมบัติของวัตถุที่ห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558  ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพทุกชนิดผสมลงในอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์5. ยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์ร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ผ่านมติ ครม. เมื่อ 17 สิงหาคม 2559 ต่อมาขยายไปอีกหลายกระทรวงวิสัยทัศน์  แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 มีการกําหนดวิสัยทัศน์คือ การป่วย การตาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเชื้อดื้อยาลดลง และกําหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ไว้ 5 ประการ คือ การป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50 (ซึ่งสามารถนําไปใช้คํานวณผลกระทบต่อสุขภาพและเชิง เศรษฐกิจ) การใช้ยาต้านจุลชีพสําหรับมนุษย์และสัตว์ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามลําดับ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และประเทศไทยมีระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากลประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกํากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกํากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยงยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชนยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืนแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ มีรองนายกเป็นประธาน และคณะกรรมการมีมติรับรองแผนปฏิบัติการเบื้องต้น และให้มีการปรับปรุงต่อเนื่องได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมประกาศกลยุทธ์ 5 ด้าน  ได้แก่ ก. การลดใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์และประมง ข. ลดเชื้อ ดื้อยาในห่วงโซ่การผลิต อาหาร ค. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้ยาต้านจุลชีพในพืช ง.  พัฒนาต้นแบบสถานพยาบาลสำหรับสัตว์เลี้ยง จ. พัฒนาให้ความรู้เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพแก่ผู้เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 รู้เท่าทันสถานการณ์สุขภาพปีพ.ศ. 2556 ตอนที่ 2

การขาดแคลนยาที่ดีในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐทำให้ประชาชนต้องหาซื้อยาจากภาคเอกชน ซึ่งยาชื่อสามัญจะมีราคาสูงกว่าราคากลางระหว่างประเทศถึงร้อยละ 610  คุณภาพการบริการของภาครัฐที่ไม่ดีและราคาค่าบริการของภาคเอกชนที่สูงทำให้หลายครอบครัวเกิดภาวะล้มละลาย โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเรื้อรัง ในฉบับก่อนได้กล่าวถึงเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (Millennium Development Goals- MDGs) คือ เป้าหมายแปดประการ ที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติ 191 แห่ง ตกลงยอมรับกันที่จะพยายามบรรลุให้ได้ภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) โดยมีการลงนามในเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 เพื่อต่อสู้กับ ความยากจน ความหิวโหย โรค การไม่รู้หนังสือ การเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และการเลือกปฏิบัติต่อสตรีเพศ  เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษได้พัฒนามาจากคำประกาศดังกล่าว และทั้งหมดมีเป้าหมายและตัวชี้วัดเฉพาะ ในเรื่องโรคติดต่อนั้น พบว่าครึ่งหนึ่งของประชากรในโลกมีความเสี่ยงในการติดต่อเชื้อ มาลาเรีย และในจำนวนผู้ป่วยมาลาเรียในโลกจำนวน 219 ล้านคน มีผู้เสียชีวิต 660,000 รายในปี ค.ศ. 2010  ร้อยละ 80 ของผู้ป่วยเกิดขึ้นใน 17 ประเทศ และร้อยละ 80 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตเกิดใน 14 ประเทศเท่านั้น การครอบคลุมของปฏิบัติการต่างๆ เช่น การกระจายตัวของเครือข่ายการกำจัดยุงด้วยสารเคมีกำจัดแมลงและการพ่นสารเคมีกำจัดยุงตามบ้านเรือนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและจำเป็นที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับมาของยุงและการเสียชีวิตจากมาลาเรีย   ปริมาณผู้ป่วยใหม่ทั้งหมดที่เป็น วัณโรค ในแต่ละปีลดลงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 และระหว่างปี ค.ศ. 2010-2011 ลดลงร้อยละ 2.2  ในจำนวนผู้ป่วยใหม่ 8.7 ล้านรายในปี ค.ศ. 2011 นั้นเกิดจากผู้มีเชื้อเอชไอวี ร้อยละ 13  การตายจากวัณโรคลดลงร้อยละ 41 ตั้งแต่ ปีค.ศ. 1990 และจะลดลงร้อยละ 50 เมื่อถึงปีค.ศ. 2015 ปี ค.ศ. 2010 ประมาณการว่า มีผู้ป่วยที่ ติดเชื้อเอชไอวี รายใหม่ 2.7 ล้านคน ซึ่งลดลงร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 3.1 ล้านคนในปี ค.ศ. 2001  ปลายปี ค.ศ. 2010 จะมีผู้ที่มีเชื้อเอชไอวีประมาณ 34 ล้านคน ซึ่งมากกว่าปีก่อนๆ เพราะผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาด้วยยาฆ่าไวรัสมากขึ้น ทำให้มีการเสียชีวิตน้อยลง โลกได้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษในเรื่องการเข้าถึง น้ำดื่มที่ปลอดภัย ในปีค.ศ. 2010 ร้อยละ 89 ของประชากรมีแหล่งน้ำดื่มที่ปรับปรุงดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 76 ในปีค.ศ. 1990 ในเรื่องสุขอนามัยโดยเฉพาะ สุขาภิบาล นั้น อัตราการมีสุขาภิบาลที่ดียังพัฒนาค่อนข้างช้าเกินกว่าที่จะบรรลุเป้าหมาย  ในปี ค.ศ. 2010 มีประชากร 2,500 ล้านยังไม่มีสุขอนามัยที่ดีพอ และร้อยละ 72 ของประชากรเหล่านี้อาศัยอยู่ในชนบท  ปริมาณของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองและไม่มีสุขาภิบาลที่ดีกำลังเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของประชากรในเขตเมือง แม้ว่าเกือบทุกประเทศจะมีรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่การจัดหายาเพื่อให้บริการในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐยังค่อนข้างแย่  จากการสำรวจประเทศที่ยากจนและเศรษฐกิจปานกลางมากกว่า 70 ประเทศพบว่า มีการจัดหายาในบัญชียาหลักเพียงร้อยละ 42 ในสถานบริการภาครัฐ และร้อยละ 64 ในสถานพยาบาลภาคเอกชน  ยาที่ใช้สำหรับการรักษาโรคเรื้อรังค่อนข้างจะมีคุณภาพต่ำเมื่อเทียบกับยาที่ใช้รักษาโรคฉุกเฉิน  การขาดแคลนยาที่ดีในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐทำให้ประชาชนต้องหาซื้อยาจากภาคเอกชน ซึ่งยาชื่อสามัญจะมีราคาสูงกว่าราคากลางระหว่างประเทศถึงร้อยละ 610 คุณภาพการบริการของภาครัฐที่ไม่ดีและราคาค่าบริการของภาคเอกชนที่สูงทำให้หลายครอบครัวเกิดภาวะล้มละลาย โดยเฉพาะครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคเรื้อรัง เหลือเวลาเพียงสองปีเท่านั้นก็จะสิ้นสุดปี ค.ศ. 2015 ยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษที่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยที่ได้ประกาศไว้ในปี ค.ศ. 2000   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 156 รู้เท่าทันสถานการณ์สุขภาพปีพ.ศ. 2556 ตอนที่ 1

ปีพ.ศ. 2556 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว  เมื่อขึ้นปีใหม่ก็สมควรที่ทุกคนควรจะทบทวนสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต  ทั้งจากการกระทำของเราเองหรือของสังคมที่เราได้มีส่วนร่วมรวมทั้งที่เราได้รับผลกระทบ  เพื่อนำบทเรียนมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาวะ  ดังนั้นฉบับนี้ขออนุญาตทบทวนสถานการณ์สุขภาพในระดับโลกที่เชื่อมโยงกับภาวะสุขภาพของไทยด้วย ในระดับโลกนั้น การประชุมสุดยอดของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) ได้มีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิก เพื่อยอมรับข้อผูกมัดตาม คำประกาศสหัสวรรษของสหประชาชาติ (United Nations Millennium Declaration)  ซึ่งได้มีการกำหนด เป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (Millennium Development Goals- MDGs) คือ เป้าหมายแปดประการ ที่รัฐสมาชิกสหประชาชาติ 189 แห่ง ตกลงยอมรับกันที่จะพยายามบรรลุให้ได้ภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)  เป้าหมายแปดประการได้แก่ การขจัดความยากจนและความหิวโหย การพัฒนาการศึกษาขั้นประถม การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ การลดอัตราการตายของเด็ก การพัฒนาสุขภาพของแม่ การป้องกันโรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่นๆ การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาในโลก   องค์การอนามัยโลกได้รายงานสถานการณ์สุขภาพเกี่ยวกับ การลดอัตราการตายของแม่และเด็ก  การพัฒนาด้านโภชนาการ การลดอัตราการตายจากโรคเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคติดต่ออื่นๆ ในปีค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556) ดังต่อไปนี้ ในภาพรวมระดับโลก สามารถลดระดับของอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจากปีค.ศ. 1990-2011 (พ.ศ. 2533-2554) ได้ร้อยละ 41 หรือจาก 87 รายเป็น 51 รายต่อทารกแรกเกิดที่มีชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการลดลงดังกล่าวก็ยังไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ ให้ลดลง 2 ใน 3 ของการตายของเด็กในปีค.ศ. 1990 ในภาพระดับประเทศ พบว่า มีประเทศที่มีความแตกต่างกันถึง 27 ประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษก่อนปีค.ศ. 2015  ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 5 ประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตของเด็กสูงมากเมื่อปีค.ศ. 1991  และสาเหตุพื้นฐานของการเสียชีวิตคือ ภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งประมาณว่าเป็นสาเหตุการตายของเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบร้อยละ 35 จำนวนการเสียชีวิตของเด็กทารกลดลงจาก 4.4 ล้านรายในปีค.ศ. 1990 เป็น 3.0 ล้านรายในปีค.ศ. 2011 หรืออัตราการตายของเด็กทารกลดลงจาก 32 รายในเด็กทารกแรกเกิดที่มีชีวิต 1,000 ราย เป็น 22 รายในเด็กแรกเกิดที่มีชีวิต 1,000 ราย ในเวลาดังกล่าว อัตราการเสียชีวิตของแม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากจำนวน 543,000 ในปีค.ศ. 1990 เป็น 287,000 ใน ค.ศ. 2010 หรือร้อยละ 3.1 ต่อปี  โดยทวีปอัฟริกาเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเสียชีวิตของแม่สูงที่สุด  การแก้ปัญหาดังกล่าวได้แก่ การเข้าถึงบริการการดูแลแม่และเด็กที่มีคุณภาพ การวางแผนการมีลูกอย่างเหมาะสม ผู้หญิงวัยรุ่นประมาณ 16 ล้านคนให้กำเนิดลูกในแต่ละปี คิดเป็นร้อยละ 11 ของการให้กำเนิดทารกในโลกทั้งหมด และร้อยละ 95 ของการกำเนิดอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา  (สำหรับประเทศไทยก็มีข้อมูลจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงในมนุษย์ว่า แม่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีและคลอดลูกของประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดเป็นที่หนึ่งของอาเซียน  และเป็นที่สองของโลก กระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีก็แถลงว่า ประเทศไทยมีแม่ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี คลอดลูกปีละ 133,176 ราย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง จังหวัดที่มีแม่วัยรุ่นจำนวนมากที่สุดได้แก่ จังหวัดตาก ระยองและชลบุรี) หน้ากระดาษหมดอีกแล้ว คงต้องขอต่อฉบับหน้า  ซึ่งน่าสนใจมาก เพราะรายงานสถานการณ์ของโรคติดต่อต่างๆ ได้แก่ มาเลเรีย เอชไอวี และวัณโรค  สวัสดีครับ   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 167 สรุปสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในรอบปี 2557

สถานการณ์ ปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 6 ภูมิภาคในปี 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,665 รายปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดคือ  ด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุข 849 ราย  ซึ่งปัญหาจะอยู่ในส่วนภูมิภาค ได้แก่  การใช้สิทธิฉุกเฉิน, แพทย์ผ่าตัดผิดพลาด, ค่ายาและค่าบริการโรงพยาบาลเอกชนแพง สิทธิการรักษา ในระบบประกันสังคม เช่น โรคไต  เป็นต้น  รองลงมาคือด้านการเงินการธนาคาร 468 ราย  ยังคงเป็นปัญหาเรื่อง หนี้สิน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล  ประกัน ฯลฯ  ตามมาด้วยปัญหาด้านสื่อโทรคมนาคม 410 ราย  ลักษณะปัญหา ได้แก่ การตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน การได้รับ SMS รบกวนและถูกหักสตางค์ เป็นต้น  ส่วนอันดับที่สี่เป็นปัญหาด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 284 รายสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ ปัญหาการถูกละเมิดสิทธิส่วนใหญ่นั้น ถูกเพิกเฉยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวพันต่อเนื่อง“ยกตัวอย่าง กรณีปัญหาสินค้าประเภทรถยนต์นั้น  เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง ผู้บริโภคซื้อรถยนต์ป้ายแดงคาดหวังว่าจะใช้รถได้เต็มประสิทธิภาพ แต่กลับชำรุดบกพร่องจนต้องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซึ่งบริษัทผู้ผลิตมักอ้างว่ารถปกติ ผู้บริโภคกังวลไปเอง เช่น กรณีรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต รุ่น ครูซ  ที่เป็นข่าวฟ้องร้องกันและเคยนำเสนอใน “เสียงผู้บริโภค” อย่างต่อเนื่อง จากปัญหาเรื่องระบบส่งกำลัง เกียร์ชำรุด  เร่งไม่ขึ้น  รถดับขณะขับขี่ ทำให้ผู้บริโภคที่ซื้อรถต้องร้องเรียนให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบความชำรุดบกพร่องว่าเป็นเรื่องที่บริษัทควรรับผิดชอบ เพราะมิใช่เกิดจากความผิดของผู้บริโภคหรือเป็นเรื่องกังวลไปเอง แต่เป็นความผิดพลาดในการผลิต ซึ่งเมื่อหน่วยงานรัฐทำการตรวจสอบและพบความชำรุดบกพร่องจริงตามที่ผู้บริโภคร้องเรียน  แต่ปัญหากลับยังคงนิ่งสนิท โดยหน่วยงานรัฐได้มีการดำเนินการใดๆ กับบริษัทผู้ผลิต  หรือออกมาเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ให้ประชาชนทั่วไปรับทราบ  หรือมีมาตรการจัดการกับบริษัทผู้ผลิตแต่อย่างใดและปัจจุบันยังพบว่า ค่ายรถยนต์รายอื่นก็ทยอยมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน  ดังที่เป็นข่าวดังก่อนช่วงปีใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่เกิดซ้ำๆ  เมื่อหน่วยงานมิได้มีมาตรการที่ออกมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงไม่ถูกแก้ไขทั้งระบบ      หากเป็นกรณีที่เกิดในประเทศที่ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง หน่วยงานจะออกมาตรการให้มีการเรียกรถที่เกิดปัญหาคืนทันที เพื่อกลับมาตรวจสอบอาการผิดปกติ แต่ในเมืองไทยกลับไม่พบว่ามีการเรียกรถมาตรวจสอบเหมือนในต่างประเทศทั้งที่เป็นรถรุ่นเดียวกัน” นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคคนทำงานผู้บริโภค จึงหวังที่จะเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และต้องการให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคเกิดขึ้นโดยไว เพราะหนึ่งในหน้าที่สำคัญของ องค์การอิสระฯ คือ การทำหน้าที่รายงานสถานการณ์ปัญหาการชำรุดบกพร่องในสินค้าและบริการเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และทันสถานการณ์ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม

อ่านเพิ่มเติม >