ฉบับที่ 145 หาบเร่

  หาบเร่ นับเป็นกิจการค้าปลีกเก่าแก่ที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน เป็นทั้งเสน่ห์และสัญลักษณ์ของความไร้ระเบียบอันเป็นเอกลักษณ์ไทย การเรียกว่า หาบเร่ นั้นเป็นการเรียกจากอุปกรณ์ “หาบ” ที่นิยมกันมาแต่โบราณในการบรรทุกสินค้าไปขายในสถานที่ต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าสถานที่นั้นต้องมีคนพลุกพล่านจอแจ หรือในทางตรงข้ามก็คือนำสินค้าไปขายตรงกับลูกค้าที่มีนิวาสสถานห่างไกลจากย่านร้านค้า และไม่สะดวกในการเดินทาง เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึงแม้หาบจะไม่ได้รับความนิยมแล้ว เราก็ยังเรียกสินค้าที่ไม่ว่าจะบรรทุกด้วยรถปิกอัพหรือรถเข็น ว่า “หาบเร่” อยู่ดี   หาบเร่นั้นมักจะเน้นที่อาหารการกินเป็นหลัก ไม่ว่าจะหาบเร่ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมหรือผลไม้ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ชอบ เพราะรสชาติดีและเข้าถึงง่าย แต่เพราะหาบเร่เป็นกิจการที่ไม่ได้ลงทุนมาก ใครๆ ก็เลยแห่กันมาเป็นแม่ค้า พ่อค้าหาบเร่กันมากขึ้น ปัญหาคือพวกเขามักจะไม่ค่อยเร่ไปไหน ต่างพากันปักหลักเหนียวแน่นตามทางเท้าที่คนสัญจรผ่านไปมา(แผงลอย ก็เรียก) จนกลายเป็นสร้างความเดือดร้อนรำคาญเบียดเบียนคนเดินถนนทั่วไป ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ยากต่อการจัดการ   แม้อาหารจากหาบเร่จะอร่อย ราคาย่อมเยา แต่เมื่อต้องผจญกับฝุ่นควันริมถนน ผู้คนที่ผ่านไปมาจำนวนมาก บวกกับสภาพอากาศร้อน อาจทำให้อาหารบูดเสียง่ายหรือโอกาสปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียสูงขึ้น การล้างภาชนะ การเก็บวัตถุดิบด้วยอุณหภูมิที่เหมาะสมก็ทำได้ยาก อาหารจากหาบเร่จึงถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องรับรู้ว่า กำลังเสี่ยงภัยจากอาหารเป็นพิษด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >