ฉบับที่ 148 ก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล กับ ผศ.ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

อีกไม่นาน ประเทศไทยของเราจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เรียกว่า ยุคดิจิตอล อย่างหนึ่งก็คือ การก้าวข้ามระบบการส่งสัญญาณทีวีแบบเดิม อย่างยุคอนาล็อกมุ่งสู่ทีวีดิจิตอล แล้วผู้บริโภคร่วมยุคอย่างเราจะก้าวไปอย่างไรไม่ให้ตกขบวน    ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างกลไกสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ  (มีเดียมอนิเตอร์) ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ เรื่องทีวีดิจิตอล ผู้บริโภคควรจะเตรียมความพร้อมอย่างไร ? คิดว่ามันมี 3 ส่วนนะคะ เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของเทคนิค ว่าสำหรับผู้ชมทั่วไปไอ้ตัวเครื่องรับมันเป็นยังไง จะต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องรับไหม ซึ่งในเรื่องนี้อาจารย์มองว่า กสทช. ยังไม่ออกแบบสื่อสารชัดเจน แต่เราเอาทีละเรื่องคือเรื่องเทคนิค จอแบบเดิมมันรับได้ไหม ตอนนี้มีมติออกมาแล้วว่าจะให้คูปองไปซื้อ Set Top Box แต่มันก็มีอีกในช่วงเปลี่ยนผ่านจะมีตัวที่ทำให้คนเข้าใจว่ารีบไปซื้อซะ มีราคาพิเศษ ทีวีรุ่นนั้นรุ่นนี้เตรียมพร้อมสำหรับทีวีดิจิตอลซึ่งในความเป็นจริงแล้วทีวีที่จะออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิตอลได้นั้นจะต้องใช้เงินสูงนะ  ราคามันยังสูงอยู่ในเรื่องเครื่องรับ ฉะนั้นอันนี้คือเรื่องเทคนิคในเรื่องเครื่องรับ   อันที่สองก็คือผู้ให้บริการซึ่งมันมีความซับซ้อนก็ช่างมัน เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ผู้ให้บริการด้านเนื้อหาก็จะมีมากขึ้นตามตัวช่องที่มีมากขึ้น ตรงนี้ก็มองว่าผู้บริโภคก็ไม่ได้รู้อย่างเป็นระบบอีก ว่าผู้ให้บริการนั้นตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าอย่างไร แล้วผู้ให้บริการแต่ละประเภทนั้นควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แล้วทำไมต้องกำหนดให้ผู้ให้บริการมีประเภทโน้น ประเภทนี้ ประเภทนั้น การเปิดพื้นที่ผู้ให้บริการนอกจากจะเป็นการเปิดพื้นที่ในเรื่องของการให้บริการและการประกอบการทางธุรกิจแล้ว ในมุมของผู้บริโภคนั้นผู้บริโภคมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อันที่สาม ต่อไปนี้มีช่องให้เลือกมากมาย มีใครไปเตรียมผู้บริโภคไว้รึยังว่าจะมีช่องให้เลือกมากมาย ความเป็นจริงที่หนีไม่พ้นคือคนเราทุกคนมีวันละ 24 ชม.เท่ากัน ภายใต้ 24 ชม.นี้ถ้าจะยังชีวิตมันต้องมีเวลาพักผ่อน ถ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจก็ต้องมีการทำมาหากิน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เพราะฉะนั้นอันนั้นคือการสร้างภูมิให้กับผู้บริโภค ในสามส่วนนี้ถ้าพูดในภาพรวมฝ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ กสทช. เพราะว่า กสทช.คือองค์กรอิสระที่มาดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ ของการประกอบกิจการสื่อและลักษณะนิสัยการรับสื่อ แต่มันเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้บริโภคจะได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อหรือกระทั่งทีวีดิจิตอล สื่อหนังสือพิมพ์ในรูปแบบการสื่อสารระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเป็นหลัก นั้นคือว่ากฎกติกาการประกอบการทีวีดิจิตอลเป็นยังไง ซึ่งพวกนี้สำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเขามากเลย แต่มันก็ทำให้เขารู้ว่ามีอะไรที่เขาเถียงๆกันอยู่ กำลังพยายามจัดการกันอยู่ เพราะฉะนั้น กสทช.ไม่ได้ออกแบบระบบในการสื่อสารเพื่อการเตรียมการผู้บริโภคเลย จะมีที่เกี่ยวข้องก็มีกรณี Set Top Box ตกลง กสทช.จะใช้เงินกองทุนเรื่องนี้ อาจารย์คิดว่าเรื่องนี้มันต้องมีการออกแบบนะ มันไม่ใช่การสื่อสารตามโอกาสหรือความสะดวกใช่ไหมคะ มันต้องมีการออกแบบว่าช่วงนี้จะให้ผู้บริโภครู้เรื่องอะไรดี แล้วก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเขา สั้นๆ เข้าใจง่าย เช่น ตอนนี้อย่าเพิ่งไปตัดสินใจซื้อทีวีเพียงแค่ว่าโฆษณาว่าซื้อทีวีรุ่นนี้เตรียมรับทีวีดิจิตอล อันนี้สมมตินะคะ หมายถึงว่าต้องดูแลผู้บริโภค หรือว่าอีกหน่อยค่อยมี Set Top Box แล้วให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางว่าแต่ละช่วงเวลาผู้บริโภคควรรับรู้ข้อมูลอะไร อยู่ที่การออกแบบเพื่อการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยเฉพาะ ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคเป็นผู้เฝ้าดูการสื่อสาร วาทะกรรมหรือกิจกรรมระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งอันนี้ถ้าเปรียบเทียบกับ 3Gนะ อาจารย์ว่า3G กสทช.ออกแบบมากกว่านี้เยอะ   มีเดียมอนิเตอร์จะรับมือไหวไหมในการติดตาม Content ที่จะมีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ที่ประชุมใหญ่ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่าภูมิทัศน์สื่อมันเปลี่ยนแต่จริงแล้วใน Content มันก็คงไม่เปลี่ยนแปลงนะคะ Content หลักที่มีเดียมอนิเตอร์ดูก็คงเป็นการดูเรื่องจริยธรรมสื่อ จริยธรรมที่สำคัญก็คือจริยธรรมสื่อในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาอย่างคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ไม่เลือกปฏิบัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์พวกนี้ แต่ว่าอันนึงที่จะตามมาและเราจะดำเนินการก็คือ การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อที่มันมีผลกับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น  เนื้อหามันกลายเป็นการตลาดเข้มข้นมากขึ้นหรือเนื้อหามันกลายเป็นการเมืองที่ร้อนแรงมากขึ้น อันนี้ก็จะตามดูเหมือนกัน แต่ว่าเรื่องของการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ในภาพรวมก็คิดว่าจะศึกษาเรื่องทีวีดิจิตอล ซึ่งถือว่าสำคัญมากเพราะ กสทช.ถือเป็นจุดปลี่ยนเลยนะ มันก็จะน่าเศร้านะถ้าการปฏิรูปสื่อทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้อย่างน้อยมีประเภทสื่อที่ไม่มุ่งเน้นกำไรแต่เป็นสื่อที่มีพันธกิจในการให้บริการสาธารณะได้มีพื้นที่ แต่ปรากฏภายใต้การปฏิรูปสื่อที่มันมีจำนวนมากขึ้น ผู้ประกอบการหลากหลายมากขึ้นสถานการณ์มันกลับเหมือนเดิมแต่ว่าคูณสอง คูณสามเท่านั้น อย่างเช่นธุรกิจก็ยังใช้สื่อในการสร้างเรตติ้ง ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดความตระหนักในเรื่องของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในเรื่องของการผลิตซ้ำ ความคิดในเรื่องอคติต่อคนกลุ่มชนเฉพาะหรือกลุ่มคนลักษณะพิเศษต่างๆ เท่ากับการปฏิรูปสื่อมันเป็นการคูณปัญหาเดิมให้มันมีลักษณะของทวีคูณหรือมากมายมากขึ้น ซึ่งตัวนี้โจทย์ของผู้บริโภคแม้กระทั่งในระบบเดิมโจทย์ของผู้บริโภคต้องยอมรับว่าการเตรียมการหรือการสร้างภูมิคุ้มกันกับผู้บริโภคในลักษณะของผู้บริโภคที่เป็น Mass จริงๆ ก็ไม่ได้แข็งขัน แข็งแรง อาจารย์คิดว่าโจทย์ผู้บริโภคมันยิ่งหนักมากขึ้น สื่ออย่างฉลาดซื้ออาจจะต้องเปิดเล่มอีกเล่มหนึ่งหรือเปล่า(หัวเราะ) ไม่ใช่แค่ฉลาดซื้อแล้วอาจจะต้องเป็นฉลาดในการบริโภคสื่อหรือรู้เท่าทันสื่อเพราะมันไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแต่มันมีผลที่จะใช้ชีวิตของผู้คนเพราะว่าเขารับชุดความคิดอะไร เขาเปิดMemory เขาให้กับ Product อะไร มันก็ไปมีผลกับการอุปโภคบริโภค ถ้าการอุปโภคบริโภคนั้นมันLead ไปในทางที่ทำให้มีผลร้ายกับตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นเสียทรัพย์ เสียรู้ หรือว่ามีผลต่อสุขภาพไม่ไปหาหมอแต่ว่าไปดื่มน้ำเห็ด น้ำผลไม้ เพราะตัวสื่อมันรุนแรง เพราะฉะนั้นอาจารย์คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มันจะทวีคูณไปเยอะมากเลยแล้วเวลาเราพูดถึงผู้บริโภคเราอย่าไปนึกถึงผู้บริโภคที่ Active ผู้บริโภคที่เข้าเว็บฉลาดซื้อ ผู้บริโภคที่แลกเปลี่ยนกันใน Social Media ผู้บริโภคที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าฉันจะรู้เท่าทัน ฉันจะไม่หลงไปกับกระแสการบริโภค อาจารย์คิดว่าพวกนี้มีไม่ถึง 10% เสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการคิดในเรื่องนี้นั้นพื้นที่สื่ออย่างเดียวอาจจะไม่พอ อาจจะต้องบุกไปในพื้นที่ในเชิงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคม เช่น หน่วยงานที่ไปจัดเวทีกับผู้คนในลักษณะของ Public Communication ซึ่งตอนนี้ก็จัดกันเยอะมาก มันจะต้องมีเรื่องนี้โดยเฉพาะรึเปล่า หรือแม้กระทั่งในหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ หรือแม้กระทั่งการเสนอนโยบายของ กสทช.ต่อผู้ประกอบการเลยว่าในสัดส่วนการออกอากาศ 24 ชม.ต่อวันต้องมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำเรื่อง Consumer literacy เพราะว่าสื่อมันเป็นทุกอย่างนำไปสู่การให้ข้อมูลในการอุปโภคบริโภค ใช้ชีวิตและวิถีชีวิตด้วย   มุมมองต่อการทำงานของ กสทช. กสทช.มาดูแลเรานั่นก็คือการดูแลผู้บริโภค กสทช.บอกว่าให้เป็นเรื่องร้องเรียนเข้ามา ทั้งที่ความจริงแล้ว กสทช. สื่อเยอะมาก ให้กสทช.ไปตามมอนิเตอร์มันเป็นไปไม่ได้อันนี้เห็นด้วย แต่สุ่มดูได้ไหม  ทำเป็น Sample ได้ไหม จุดที่เห็นชัดอีกเรื่อง ก็คือรับเรื่องร้องเรียนถ้าถามว่า กสทช.มีกลไกในการบันทึกเก็บไหม โครงการเล็กๆ ในมีเดียมอนิเตอร์ยังมีมากกว่าเลย เราก็ตามเก็บประเด็นที่เราอยากศึกษา ถ้าเปรียบเทียบกับหน่วยงานในต่างประเทศอาจารย์ได้มีมีโอกาสเข้าไปในสถานทูตสหรัฐอเมริกาหน่วยที่เรียกว่า Open source center (OSC) อาจารย์เดินผ่านห้องๆ หนึ่งอาจารย์รู้เลยว่าห้องนี้เป็นห้องบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ ปรากฏว่าบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ทุกช่องที่เขารับได้แล้วเก็บไว้ตลอดต่อเนื่อง นี่คือของสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย แต่คำถามที่กลับมาก็คือว่าหน่วยงานระดับองค์กรอิสระ องค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องสื่อคุณจะไม่บันทึกเก็บเลยเหรอ ตอนนี้ถ้ามีผู้ร้องเรียนมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาแล้วไม่มีตัวหลักฐานองค์ประกอบการร้องเรียนไม่ครบนะคะ ถือว่าตกเพราะฉะนั้นถ้าร้องเรียนขึ้นมาว่ามีโฆษณาอย่างนี้ๆ ฟังจากสถานีนี้ เวลานี้ โฆษณานี้จำข้อความได้เลย มันน่าจะหลอกลวงเกินจริงหรือใช้คำไม่สุภาพ ลามก คำถามก็คือแล้วเทปเสียงที่จะเป็นหลักฐานล่ะ เสร็จแล้วพอมัน Process เข้ามาผู้บริโภคไม่มีอยู่แล้ว สมมติ กสทช.ส่งไปตามภูมิภาค ภูมิภาคบอกได้ว่าบันทึกได้ ณ ขณะนี้แต่เรื่องร้องเรียนมันร้องเรียนไปเมื่อกี่วันมาแล้ว กว่าเรื่องร้องเรียนมันจะ Process มาถึงมันก็ผ่านมาไปเป็นเดือนแล้ว ตัวเสียงก็ดี ภาพก็ดีที่ร้องเรียนมันเป็นอดีตแล้วสำหรับการบันทึกปัจจุบันบ่อยครั้งที่ถ้าจะร้องไปที่สถานี ซึ่งถ้าตามกฎหมายสถานีต้องเก็บสัญญาณ 30 วันเพราะฉะนั้นไม่ต้องทำจดหมายไปหรอก เพราะว่าแค่เรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณามันก็เกิน 30 วันแล้ว อีกเรื่องคือ กสทช.ค่อนข้างทำงานอย่างเกร็งและกลัวผู้ประกอบการมากเกินไปเพราะว่าผู้ประกอบการแต่ละรายก็ดูน่ากลัว เท่าที่อาจารย์สัมผัสคือกลัวฟ้อง กลัวถูกฟ้อง ทำให้ กสทช.ทำงานโดยเกาะกฎหมายเป็นสำคัญแล้วกฎหมายไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณตีความแบบไหนไง ถ้าคุณตีความว่าสิทธิผู้บริโภคคือสิทธิประชาชนที่พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแล ถ้าคุณตีความแบบนี้คุณก็ต้องไปเจรจากับผู้ประกอบการหรือไปดำเนินการกับผู้ประกอบการ มันก็เหมือนกฎหมายลิขสิทธิ์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์คุณจะต้องเคารพกติกาสากลจนทำให้กติกาสากลของเราไปเชื่อมโยงกับประเทศที่มีอำนาจมาทำให้ผู้บริโภคของเราต้องมาบริโภคของแพงโน่น นี่ นั่นหรือเปล่า จะทำยังไงมันก็ต้องหาจุดเพราะฉะนั้นสำคัญที่สุด อันสุดท้ายคือมี กสทช.อย่างเดียวไม่พอมันต้องมีกลไกที่ตามดู กสทช. ด้วย แล้วกลไกนั้นมีศักยภาพในการที่จะสื่อสารให้สังคมเข้าใจ ในการที่จะสื่อสารให้ กสทช.ฟัง แต่ตอนนี้คือว่า กสทช. เกาะกฎหมายไงแล้วบ่อยครั้งการตีความทางกฎหมายเลือกที่จะตีความที่ทำให้การทำงานของตัวเองนั้นมันไม่มี commitment ที่สูง นี่อาจารย์พูดตรงไปตรงมาเลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point