ฉบับที่ 104 ประมูล 3 G อย่างไรผู้บริโภคได้ประโยชน์


ตื่นเต้นไปตามๆ กันเมื่อทุกคนเริ่มเห็นว่า ประเทศไทยน่าจะมีโอกาสประมูลให้ใบอนุญาต 3 G ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยเข้าใจกันนักว่าเจ้า 3G นี้แตกต่างจากระบบปัจจุบันที่เป็น 2 G อย่างไร 

ฟังแนวทางจากคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หรือแม้แต่นายกรัฐมนตรีก็บอกว่าไม่อยากให้ประมูลราคาสูงมาก เพราะจะเป็นภาระแก่ผู้บริโภคประมูลสูงเป็นภาระผู้บริโภคจริงเหรอ ?? ลองดูรูปข้างล่างเรื่องนี้กันเล่นๆ แล้วให้ทายว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร


เหตุที่มูลค่าการประมูลที่ราคาสูงไม่เกี่ยวข้องกับภาระกับผู้บริโภคในกรณีนี้เนื่องจาก หากราคาประมูล 3 G ได้ไม่เกิน 6,500 ล้านบาท หรือถึงแม้จะสูงแต่หากยังไม่เกินมูลค่าการจ่ายสัมปทานให้กับรัฐ (ระบบ 2 G) แสดงว่าค่าใช้จ่ายบริษัทลดลง เพราะเดิมค่าใช้จ่ายส่วนนี้คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทานและหากประมูลใบอนุญาต 4 ใบจริง ผู้ให้บริการแทบจะไม่ต้องแข่งขันเพราะปัจจุบันมีเจ้าใหญ่ 3 ราย หากรวมทศท. และกสท. เป็น 5 ราย แต่หากทศท.ไม่ได้รับอนุญาตให้ประมูลก็จะเหลือเพียง 4 ราย ทุกบริษัทก็จะได้รับใบอนุญาตกันถ้วนหน้า เพราะกติกากำหนดไว้ว่าบริษัทหนึ่งจะได้รับใบอนุญาตไม่เกิน 1 ใบ โอกาสฮั้วให้ประมูลไม่สูงเกินราคาที่ตั้งไว้ ย่อมน่าจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ 

การประมูลในครั้งนี้หากจะให้รัฐได้ประโยชน์ก็ควรตั้งราคาที่จะทำให้รายได้รัฐไม่ลดไปจากเดิมมากนัก หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องรับประกันคุณภาพและราคาให้กับผู้บริโภคว่า ระบบ 3 G ราคาต้องไม่สูงกว่าระบบ 2 G ในปัจจุบัน หรือห้ามคิดเกินนาทีละบาท ทั้งเสียง ข้อความและภาพ ซึ่งก็มีกำไรมากกว่าระบบเดิมแล้ว


แหล่งข้อมูล: สารี อ๋องสมหวัง

150 point

LINE it!






ความคิดเห็น (0)