ฉบับที่ 103 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2552

19 สิงหาคม 2552
อันตราย! อย่าซื้อยาต้านหวัด 2009 ผ่านเน็ต
นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาขายยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทางอินเทอร์เน็ต โดยที่แพทย์ไม่ได้เป็นผู้จ่ายยา เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงทั้งจากการได้รับยาปลอม ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต รวมถึงการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมต่อร่างกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการดื้อยา

 

ยาต้านไวรัสดังกล่าวจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ และมีเงื่อนไขให้ใช้เฉพาะโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล จะไม่มีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการกระจายยาต้านไวรัส (โอเซลทามิเวียร์) ไปยังโรงพยาบาลและคลินิกที่เข้าร่วมโครงการเท่านั้น




25 สิงหาคม 2552
เชิญร่วมทดสอบความไวเน็ต เร็วจริงหรือแค่คำโฆษณา

สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) จับมือกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดโครงการ "สปีดเทสต์" (Speed Test) เพื่อเก็บข้อมูลเรื่องความเร็วในการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีผู้ร้องเรียนเข้ามามากว่าความเร็วต่ำกว่าที่มีการโฆษณา โดยหวังใช้ผลทดสอบครั้งนี้เป็นแนวทางแก้ไขและเอาผิดผู้ให้บริการที่เอาเปรียบผู้บริโภค

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการ สบท. กล่าวว่า “โครงการนี้มีชื่อว่า "โครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเตอร์เน็ตปี 2552" โดยที่มาของโครงการนี้เนื่องจากทาง สบท. ได้รับเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนม.ค.- มิ.ย. 2552 จำนวน 622 เรื่อง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตถึง 90% ซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนเป็นเรื่องของประสิทธิภาพของความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ไม่เป็นไปตามที่ผู้ให้บริการโฆษณา จุดมุ่งหมายของการสำรวจข้อมูลนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลมาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้บริโภค ซึ่งหากมีผู้ประกอบการรายได้มีข้อร้องเรียนเกินกว่า 50% ก็จะแจ้งให้ กทช.ดำเนินการต่อไป แต่เพื่อให้พัฒนาบริการไม่ใช่เพื่อปิดการให้บริการ”

ผู้บริโภคสามารถเข้าทดสอบความเร็วอินเทอร์เน็ตที่ตัวเองใช้ผ่านเว็บไซต์ได้ที่ www.speedtest.or.th ซึ่งระบบจะทดสอบความเร็วของผู้ให้บริการรายนั้นทันที และเก็บข้อมูลไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ จากนั้นจะนำผลที่ได้มาทำการประมวลและแจ้งผลให้ทราบในวันที่ 30 พ.ย. 2552




27 สิงหาคม 2552

อย. ยันยังไม่พบสาหร่ายปลอม
กรณีพบฟอร์เวิร์ดเมลเรื่องสาหร่ายปลอม ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้บริโภคว่า สาหร่ายที่นำเข้ามาจากต่างประเทศจะมีการปลอมปนพลาสติกนั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้ตรวจสอบการนำเข้าและการจำหน่าย พร้อมเก็บตัวอย่างสาหร่ายอบแห้งส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อวิเคราะห์หา DNA ของสิ่งมีชีวิตและพิสูจน์ว่าเป็นพลาสติกหรือไม่ โดยตรวจสอบสาหร่ายอบแห้งที่วางจำหน่ายในท้องตลาดจำนวน 5 ยี่ห้อ ซึ่งจากการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะทางกายภาพ ปรากฏว่าสามารถเห็นเซลล์สาหร่ายได้อย่างชัดเจน ซึ่งยืนยันได้ว่าเป็นสาหร่ายจริง

อย. แนะผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากภาษาไทย ระบุรายละเอียดครบถ้วน ย้ำผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านการตรวจสอบจากด่าน อย. ปลอดภัยแน่นอน




สธ. รับกลับไปใช้ชื่อ “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ” ตามเดิมหลังเจรจาเครือข่ายภาคประชาชน

สธ. มอบคำมั่นกับภาคประชาชน ยืนยันใช้ชื่อ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ตามเดิม พร้อมรับพิจารณาเรื่องสัดส่วนคณะกรรมการต้องเท่าเทียม ส่วนเรื่องตั้งเป็นองค์กรอิสระให้ครม.ตัดสินใจ เร่ง รมว.สธ. ทำข้อสรุปยื่นเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป

เครือข่ายภาคประชาชน ได้แก่ เครือข่ายผู้ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ชมรมเพื่อนโรคไต ฯลฯ กว่า 100 คน ได้เดินทางเข้ากระทรวงสาธารณสุขเพื่อไปเรียกร้อง ติดตามและหาข้อสรุป เรื่องร่าง “พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...” โดยมีนายพิเชฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการเจรจา

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมด้วย นางปรียานันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้เข้าพบนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อร้องเรียนถึงปัญหาของการเปลี่ยนแปลงแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งในการพิจารณาของกฤษฎีกามีการแก้ไขในประเด็นที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายโดยเป็นไปตามที่ตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขนำเสนอ ทั้งในส่วนของชื่อร่าง พ.ร.บ. ที่ถูกเปลี่ยนเป็น ร่าง พ.ร.บ.เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการช่วยเหลือในเรื่องการดูแลชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งจะช่วยลดการฟ้องร้องระว่างแพทย์และคนไข้ได้อีกด้วย เรื่องการตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขที่ควรเป็นอิสระและเรื่องสัดส่วนของคณะกรรมการตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่พบว่ามีไม่เท่าเทียมกันระหว่าง สภาวิชาชีพกับภาคประชาชน จึงต้องการให้มีการพิจารณาแก้ไข

หลังจากการประชุมหารือ นายพิเชฐ ได้กล่าวสรุปเห็นด้วยว่าให้เปลี่ยนชื่อร่าง พ.ร.บ.กลับไปใช้ชื่อตามร่างเดิม ส่วนประเด็นการตั้งสำนักงานกองทุนคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งร่างเดิมไม่มีความชัดเจนว่าจะตั้งเป็นองค์กรในลักษณะใด ดังนั้นในการพิจารณาชั้นกฤษฎีกาจึงให้สำนักงานดังกล่าวขึ้นกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แต่เมื่อภาคประชาชนเห็นว่า สำนักงานน่าจะเป็นองค์กรอิสระหรืออยู่ภายใต้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ดังนั้นจะทำข้อสรุปให้กับนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นำเรื่องนี้ให้ที่ประชุมครม. ทบทวนว่าจะจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้จะมีมติให้อยู่ภายใต้ สปสช.หรือ สบส.ถือเป็นการตัดสินใจของ ครม.

ส่วนเรื่ององค์ประกอบคณะกรรมการตาม ที่ประชุมยังคงมีความเห็นที่ขัดแย้งกันแต่มีแนวโน้มที่จะใช้ข้อกำหนดตามร่างเดิม คือ ให้มีตัวแทนภาคประชาชนและตัวแทนสภาวิชาชีพฝ่ายละ 3 คน แต่เนื่องจากการประชุมหารือครั้งนี้ ไม่มีตัวแทนภายในสภาวิชาชีพอยู่ด้วย จึงมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ โดยทั้งนี้จะทำสรุปข้อเสนอต่างๆ ของที่ประชุมให้ รมว.สาธารณสุข เสนอไปยังกฤษฎีกาอีกครั้ง




สู่มาตรฐาน รถโดยสารสาธารณะ

ในงานสัมมนาระดับชาติ เรื่อง อุบัติเหตุจราจร ครั้งที่ 9 ที่ไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 21 ส.ค. 52 ได้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “เวทีติดตามนโยบาย : สู่มาตรฐาน รถโดยสารสาธารณะ” โดยมีผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องการพัฒนาและแก้ไขปัญหาเรื่องรถโดยสารสาธารณะหลายท่านร่วมเป็นวิทยากร

ผศ.ดร.สมประสงค์ สัตยมัลลี จากสำนักวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นำเสนอปัญหามาตรฐานตัวถังรถที่มักมีโครงสร้างที่ไม่แข็งแรงพอ ซึ่งมักเป็นสาเหตุทำให้ผู้เสียชีวิตเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น เก้าอี้หลุด หลังคายุบ ยางรถไม่มีดอกยาง ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ขณะที่คนขับรถโดยสารสาธารณะมักขาดคุณสมบัติและขาดการฝึกอบรมที่ดี ขณะที่สภาพถนนในหลายจุดของประเทศก็สร้างความสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วย

ด้าน ดร.สุเมธ องกิตติกุล จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย นำเสนอประเด็นเรื่องนโยบายการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะในเชิงเศรษฐศาสตร์ ในการควบคุมการให้บริการ ควบคุมราคา ซึ่งเมื่อรัฐเข้ามาดูจัดการตรงนี้อย่างจริงจังก็น่าจะช่วยพัฒนาศักยภาพการให้บริการและความปลอดภัยของรถโดยสารให้เพิ่มขึ้นได้

นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พูดถึงปัญหาของผู้ประสบภัยซึ่งนำไปสู่การฟ้องคดีที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุทั้งการเตะถ่วงดึงเวลาจากบริษัทรถและบริษัทประกัน การไม่ได้รับค่าชดเชยที่เป็นธรรมและการที่ผู้เสียหายไม่ทราบสิทธิของตัวเอง โดยปกติผู้โดยสารจะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แต่ก็จะมีการจำกัดวงเงินการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยหนักหรือทุพพลภาพที่ต้องรักษาต่อเนื่องมักถูกผลักภาระให้ไปอยู่ในระบบสุขภาพอื่นๆ หรือกรณีที่มีคู่กรณีชัดเจนก็ต้องรอการพิสูจน์ความผิดเสียก่อน ทำให้กระบวนการชดเชยค่าเสียหายล่าช้า หากเสียชีวิตก็ได้รับเงินเพียง 1 แสนบาท ซึ่งเป็นอัตราต่ำมากในปัจจุบัน

ทางออกที่เห็นว่าเหมาะสม คือการผลักดัน พ.ร.บ.กองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. … ขึ้นมาทดแทน พ.ร.บ. ฉบับเดิม ซึ่งจะช่วยเรื่องการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนตามจริง ด้วยขั้นตอนที่รวดเร็วและเป็นระบบ ลดความซ้ำซ้อนและลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ลดภาระประชาชน และลดภาระความยุ่งยากในการเข้าถึงสิทธิของผู้ประสบภัย




"ปฏิญญาเชียงราย" มาตรการคุ้มครองสิทธิด้านโทรคมนาคม
สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) สภาองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (Southeast Asian Consumer Council) สหพันธ์ผู้บริโภคสากล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดการประชุมเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมแห่งภูมิภาคอาเซียนขึ้น เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ณ โรงแรมดุสิต ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จังหวัดเชียงราย ถือเป็นเวทีการประชุมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมของกลุ่มอาเซียนที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอาเซียน ครั้งที่ 15 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

การประชุมดังกล่าว มีผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมจาก 8 ประเทศ ร่วมรายงานสถานการณ์และแบ่งปันประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจโทรคมนาคม ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ สเปน และไทย โดยสถานการณ์ปัญหาที่สำคัญของโทรคมนาคมที่กระทบต่อผู้บริโภคคือ ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้ง ระบบการเรียกเก็บค่าบริการที่ไม่เที่ยงตรง การโทร.และส่งข้อความรบกวน การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว การไม่รู้เท่าทันกฎหมาย ความไม่เสมอภาคในการเข้าถึงบริการ และผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากการใช้โทรคมนาคม เป็นต้น ผลจากการประชุมทำให้ได้ร่างปฏิญญาเชียงรายที่มีเนื้อสำคัญดังนี้

(1) ทำงานอย่างแข็งขันและต่อเนื่องร่วมกับภาคีในกิจการโทรคมนาคม
(2) กำหนดมาตรฐานพื้นฐานว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
(3) ตระหนักว่ากิจการโทรคมนาคมเป็นบริการจำเป็นพื้นฐาน
(4) ตระหนักว่าการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพิมพ์เขียวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใช้แนวทาง "คนเป็นศูนย์กลาง"
(5) จัดตั้งหน่วยงานกิจการโทรคมนาคมในภูมิภาคโดยใช้กลไกที่จัดตั้งขึ้นแล้วเป็นหลัก
(6) จัดประชุมทุกปี โดยจัดทำประเด็นรณรงค์ร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบของการใช้บริการโทรคมนาคมต่อสุขภาพ หรือการบริโภคอย่างยั่งยืน
(7) ดำเนินการวิจัย/สำรวจเปรียบเทียบระหว่างประเทศในกิจการโทรคมนาคม โดยมีหัวข้อหลักคือการเข้าถึงเท่าเทียม ระบบการจ่ายเงินล่วงหน้า (Pre-paid) ระบบการเรียกเก็บค่าบริการที่เที่ยงตรง และความปลอดภัย
(8) สร้างเว็บไซต์เพื่อการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
(9) เรียกร้องให้รัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนเข้าร่วมและสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรปกป้องผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
(10) ผลักดันให้บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมใช้หลักบริการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ต้านหวัด สาหร่าย รถโดยสาร โทรคมนาคม

ฉบับที่ 277 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2567

เตือน อินฟลูฯ ดาราไทย อย่ารับรีวิวอาหารเสริมเกินจริง        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  เปิดเผยว่า ได้มีการตรวจพบการรีวิวสินค้า ประเภทอาหารเสริมโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง มีการอ้างรักษาโรค ลดความอ้วน ซึ่งมีการใช้ดารา นักแสดง พิธีกร ผู้ประกาศข่าว อินฟลูเอนเซอร์ แพทย์ รวมถึงเภสัชกรจำนวนมากมารีวิว         อย. ได้เตือนว่าการกระทำดังกล่าว มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ดังนี้        ·     มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 70         ·     มาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 71         หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทันที  บขส. แจ้งกรณีปิดพื้นที่ขาเข้าหมอชิต แต่ “ถูกแท็กซี่เรียกค่าบริการเพิ่ม”         มีนาคม 2567 ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ประกาศชี้แจงกรณีที่ทาง บขส. ปิดพื้นที่ทางขาเข้าสถานีหมอชิต 2 ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งได้ให้รถโดยสารทุกคันเข้าจอดส่งผู้โดยสารที่บริเวณชานชาลาขาออก ช่องที่ 112-130 นั้น พบว่ามีแท็กซี่บางรายฉวยโอกาสเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม 50 บาทกับผู้โดยสาร ดังนั้น ทาง บขส. ขอแจ้งว่าไม่มีนโยบายดังกล่าวสำหรับการให้รถแท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม อย่างไรก็ตาม หากพบเห็นจะมีการดำเนินการขั้นเด็ดขาด สามารถแจ้งเรื่องเรียนได้ที่สายด่วน 1584 ลูกหลานใส่ใจ ระวังมิจฉาชีพพุ่งเป้าผู้สูงอายุ         เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง ออกมาเตือนกรณีพบว่ามีผู้สูงอายุและข้าราชการเกษียณจำนวนมากมักตกเป็นเป้าหมายในกลุ่มมิจฉาชีพ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) ซึ่งใช้กลลวงหลอกเอาเงิน เช่น การแอบอ้างเป็นประกันสังคม หลอกเอาเงินบำเหน็จ-บำนาญ รวมถึงแอบอ้างเป็นสรรพากร ทางตำรวจสอบสวนกลางจึงได้แนะนำวิธีป้องกันผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ ดังนี้          1. อย่ารีบเชื่อทันที หาเหตุและผลให้ดีก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่         2. เปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด นำมาชั่งน้ำหนักดูว่าเป็นเรื่องเท็จจริงหรือไม่         3. เช็กข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง การแชร์ในสิ่งที่ผิดเป็นผลเสียตามเสมอ        4. เลือกดูสื่อที่น่าเชื่อถือเท่านั้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเข้าไปอ่าน        5. หากมิจฉาชีพอ้างถึงหน่วยงานต่างๆ ให้โทรไปสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วยตัวเองว่าจริงหรือไม่        6. ควรปรึกษาคนใกล้ตัว ลูก-หลาน ก่อนที่จะเชื่อกลอุบายต่างๆ ที่มิจฉาชีพนำมาหลอก เพื่อจะได้ให้ช่วยกันหาข้อมูลว่าจริงหรือไม่         ทั้งนี้ ตำรวจสอบสวนกลางจึงอยากให้ลูกหลานคอยระวังผู้สูงอายุและผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมออีกด้วย จับแล้วทุจริต “โครงการสามล้อเอื้ออาทร”         จากกรณีกลุ่มผู้เสียหาย 200 ราย ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจสอบสวนกลาง ให้ดำเนินคดีกับสหกรณ์ชื่อดังแห่งหนึ่ง สืบเนื่องจากสหกรณ์ดังกล่าว ได้เป็นผู้ประสานการขอสินเชื่อระหว่างสมาชิกและธนาคาร เพื่อทำโครงการสินเชื่อพัฒนาองค์กรชุมชน แต่ภายหลังพบว่าทางสหกรณ์กลับนำเงินฝากของสมาชิกไปชำระสินเชื่อกับธนาคาร ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง จนเป็นเหตุให้สมาชิกถูกธนาคารฟ้องร้องเนื่องจากผิดชำระหนี้และผิดสัญญาค้ำประกันสินเชื่อ รวมถึงที่ทางสหกรณ์ไม่สามารถจัดซื้อรถสามล้อได้ตรงตามคุณภาพที่กำหนดไว้ และติดต่อจ้างอู่หลายแห่งให้ประกอบสามล้อแล้วนำมาจำหน่ายให้สมาชิก และเพิ่มค่าส่วนต่างถึง 75,000-180,000 บาท สุดท้ายแล้วมีการนำเงินส่วนต่างดังกล่าวไปเป็นของตนเอง มูลค่าความเสียหายกว่า 8 ล้านบาทนั้น         ล่าสุดตำรวจสอบสวนกลาง ได้นำกำลังเข้าจับกุม นายสุรชัย อายุ 43 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 487/2567  ฐานความผิด “ร่วมกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการตาม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562” เพื่อนำตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ผู้บริโภค เฮ! คดีหลอกขายเครื่องนอนยางพารา ชนะศาลฎีกา         จากกรณีผู้เสียหายหลายราย ฟ้องร้องเพจเฟซบุ๊กออนไลน์ที่อ้างว่าขายที่นอนยางพารา แต่เมื่อสั่งของมากลับพบว่าได้รับของที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ ไม่ได้สินค้าเลย กว่า 10 เพจนั้น และได้มาร้องเรียนทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค         ล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2567 ณัฐวดี เต็งพาณิชกุล ทนายความมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า คดีนี้ต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2563 ตั้งแต่ศาลชั้นต้นถึงศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งมกราคม 2567 ศาลฎีกาได้พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ลงโทษจำคุก 3 ปี ซึ่งการนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์อยู่บ้าง เห็นควรลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ศาลให้จำเลยชำระเงิน 6,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2562 นับจากวันที่จำเลยกระทำละเมิดเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม         อย่างไรก็ตาม อีกคดีศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ภาค 1 โดยให้จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โดยเป็นชัยชนะของผู้บริโภค 2 ราย ในจำนวน 120 ราย ที่ได้มาร้องต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อปี 2563 ในส่วนของการได้เงินคืนทางโจทก์ต้องไปทำการสืบทรัพย์จำเลยตามกระบวนการบังคับคดีตามเงื่อนไขของคดีแพ่งต่อไป

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 ความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2567

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีสังเกตเพจหลอกจองที่พัก ขายของออนไลน์        ตำรวจไซเบอร์ระบุ  ปัจจุบันมีผู้เสียหายจำนวนมากจากการหลอกลวงของมิจฉาชีพในออนไลน์ ทั้งการใช้วิธีการสร้างเพจปลอมเป็นโรงแรมที่พักหรือการขายของออนไลน์หลอกลวงประชาชน จากข้อมูลสถิติศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งแต่ 1 มี.ค.65 – 28 มิ.ย. 66 พบว่า มีการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการมากถึง 108,383 ครั้ง         ตำรวจไซเบอร์ (บช.สอท.) จึงแนะนำวิธีการสังเกตเพจปลอมต่างๆ ดังนี้             1. เพจต้องได้รับยืนยันเครื่องหมายรับรองตัวตน (Verified badge)             2.ตรวจสอบรายละเอียดเพจได้ วันที่สร้างเพจ เคยเปลี่ยนชื่อเพจมาก่อนหรือไม่? หากเพจสร้างขึ้นมาไม่นานแต่มีการเปลี่ยนชื่อเพจเสี่ยงต่อการเป็นเพจปลอม             3. ยอดผู้กดถูกใจโพสต์ เนื่องจากเพจปลอมจะมีผู้ติดตามน้อย มิจฉาชีพมักสร้างยอดผู้ติดตามปลอมไว้ มองผ่านๆ จะคล้ายจำนวนผู้ติดตามจริง            4. ชื่อเพจสะกดถูกต้องหรือไม่ มิจฉาชีพมักทำเลียนแบบหากไม่สังเกตอาจทำให้ถูกหลอกลวง              5. โพสต์เนื้อหาและโต้ตอบในเพจ จำนวนคนกดถูกใจ คอมเมนต์ จะมีการโต้ตอบน้อย และคอมเมนต์เชิงตำหนิ เช่น สั่งสินค้าไปไม่ได้รับของเลย             6. สังเกตที่ URL ของ มักเป็นคำแปลกๆ ไม่มีความหมาย พบข้อมูลคนไทยโดนประกาศขายดาร์กเว็บ 20 กว่าล้านบัญชี        จากกรณี Resecurity บริษัทความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จากรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้รายงานว่าเมื่อเดือนมกราคม ปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่ามีข้อมูลของคนไทยรั่วไหลและถูกนำมาประกาศขายในบนเว็บไซต์ข้อมูลผิดกฎหมายกว่า 27 ล้านบัญชี โดยกลุ่มข้อมูลที่มาจากกรมกิจการผู้สูงอายุ รั่วไหลมากถึง 19.7 ล้านบัญชีนั้น         นายประเสริฐ จันทรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวว่า สำนักงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ตรวจพบตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ แล้ว พร้อมทั้งแจ้งไปยังกรมกิจการผู้สูงอายุให้รับทราบถึงกรณีข้อมูลของหน่วยงานรั่วไหลเกือบ 20 ล้านบัญชี แต่ยังหาสาเหตุของการรั่วไหลไม่ได้ ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้เตรียมเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับลักษณะการรั่วไหลของข้อมูลดังกล่าวแล้ว  สั่งค่ายมือถือ “ระงับซิมไม่ยืนยันตัวตน” กรณีมีเกิน 100 เบอร์         จากกรณีที่ กสทช. ได้ออกมาตรการบังคับใช้ เมื่อ 16 มกราคม 2567 สำหรับผู้ที่ใช้บริการซิมมือถือต้องทำการยืนยันตัวตนตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยให้กับผู้ที่ถือซิม 6-100 เบอร์ ต้องยืนยันตัวตนภายใน 180 วัน และ 101 หมายขึ้นไป ภายใน 30 วันนั้น         15 กุมภาพันธ์ 2567  กสทช. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมถึงบริษัทผู้ให้บริการ ถึงมาตรการยืนยันตัวตนของซิมการ์ด  และข้อมูลการใช้บริการของผู้ถือครองซิม หลังพ้นกำหนดระยะเวลายืนยันตัวตนสำหรับผู้ถือครอง 101 เบอร์ ขึ้นไป ตั้งแต่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กสทช. จึงได้มีคำสั่งเร่งรัดให้ค่ายมือถือ ดำเนินการตามเงื่อนไขระงับการใช้บริการรวมถึงการโทรออก ส่งข้อความ SMS และการใช้งานอินเทอร์เน็ต และจะอนุญาตเพียงเบอร์โทรฉุกเฉินเท่านั้น            “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” ไม่มีฉลากระวังอันตราย        หลังจากที่บนโลกออนไลน์มีการรีวิวขนม “เยลลี่องุ่นเคียวโฮ” อย่างมากมาย ทำให้เป็นขนมยอดฮิตในกลุ่มเด็กและคนทั่วไป จนมีการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์และวางขายตามหน้าโรงเรียนเกลื่อน         ภก. เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้เปิดเผยว่า พบขนมเลียนแบบเยลลี่องุ่นที่มีจำหน่ายในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี โดยมีการนำมารีวิวผ่านโซเชียลออนไลน์ ซึ่งลักษณะบรรจุในถุงคล้ายถุงมือยางหรือลูกโป่งลูกกลมๆ และมีวิธีการกินคือใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มให้ถุงแตกออกมาแล้วจึงนำมารับประทานได้ มีหลายรสชาติ แต่ไม่มีเลขอย. และฉลาก จึงขอเตือนว่า ไม่ควรซื้อมารับประทานเพราะอาจลักลอบนำเข้าหรือผลิตเพื่อขายในสถานที่ต่างๆ และไม่มีฉลาก ไม่มีข้อมูลเกี่ยวอาหาร อาจเสี่ยงได้รับสารอันตรายที่เป็นผลต่อสุขภาพได้ เช่น สี วัตถุกันเสีย วัตถุแต่งกลิ่นที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือเกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด การบรรจุอาหารในถุงมือยางหรือบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบรรจุอาหาร ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ หากผลิต นำเข้าเพื่อขายสถานที่ต่างๆ ไม่มีฉลาก มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท  มพบ.เสนอการบินพลเรือนเร่งจัดการปัญหาเที่ยวบินเทผู้โดยสาร         หลังจากสายการบิน  Air Japan ได้มีการยกเลิกเที่ยวบิน NQ2 เส้นทางสุวรรณภูมิ - นาริตะ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา เวลา 00.15 น.  ซึ่งเป็นการยกเลิกแบบกะทันหัน (ก่อนหน้ามีการดีเลย์กว่า 3 ชั่วโมง) หลังจากนั้นทางสายการบินได้รับผิดชอบผู้โดยสารเพียงแค่คืนค่าตั๋วเดินทาง แต่ไม่ได้ชดเชยเยียวยาความเสียหายในส่วนอื่นๆ เช่น ค่าโรงแรมที่พักของผู้โดยสารที่ได้ทำการจองไว้อีกด้วย         23 กุมภาพันธ์ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ ได้กล่าวว่า จากประเด็นดังกล่าวที่ให้ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบและต้องการเรียกร้องค่าชดเชยไปดำเนินการยื่นเรื่องเองกับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) นั้น ไม่ควรผลักให้เป็นภาระของผู้โดยสาร เพราะสำนักงานการบินพลเรือน อยู่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ซึ่งควรออกมาตรการกำหนดให้สายการบินจ่ายเงินชดเชยเยียวยาผู้โดยสาร ซึ่งจะเป็นการผลักภาระให้ต้องไปเรียกร้องที่ สคบ. และการยกเลิกเที่ยวบินแล้วคืนเฉพาะค่าโดยสารถือเป็นการเอาเปรียบผู้โดยสารที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งสายการบินควรต้องชดเชยค่าใช้จ่ายที่เสียหายจริงทั้งหมด เช่น ค่าตั๋วใหม่ ค่าโรงแรม ค่ารถที่ได้ทำการจองไปแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ         อีกประเด็น คือ ทางสายการบินมีเครื่องบินให้บริการเพียง 1 ลำ ถือเป็นเรื่องที่สำนักงานการบินพลเรือนต้องตรวจสอบรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้งนี้ ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยเรียกร้องไปยังสำนักงานการบินพลเรือนให้ออกประกาศคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินในเส้นทางบินต่างประเทศอีกด้วย เนื่องจากยังไม่มีประกาศฉบับดังกล่าว แต่กลับไม่เป็นผล จนกระทั่งมาเกิดเหตุซ้ำซากแบบเดิม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 275 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2567

ร้องเรียน 9,218 เรื่อง ปัญหามลพิษ ปี 2566        อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เผยมีประชาชนแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษในปี 2566 เข้ามากว่า 9,218 เรื่อง ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงสายด่วน 1650 โดยพบว่าจำนวน 8,043 เรื่อง เป็นกรณีเหตุรำคาญต่างๆ โดยทางกรมควบคุมมลพิษได้ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ร้องเรียนและแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหา อีก 1,175 เรื่อง ทางกรมควบคุมมลพิษดำเนินการเอง ส่วนใหญ่แหล่งกำเนิดมลพิษ คือ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารประเภทต่างๆ การเลี้ยงสุกร โดยได้รับการแก้ไขแล้วกว่า 836 เรื่อง         ทั้งนี้ ประเด็นที่พบมากที่สุด ได้แก่ 1. ปัญหากลิ่นเหม็น  2. ปัญหาฝุ่นละออง-เขม่าควัน และ 3. เสียงดัง-เสียงรบกวน   ผลิต-เผยแพร่สื่อลามกด้วย AI ระวังโทษคุก 5 ปี                    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัยว่า ปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพนำเทคโนโลยี AI มาใช้สร้างเนื้อหาปลอมเพื่อใช้ในการฉ้อโกงสร้างความเสียหายให้กับประชาชน รวมถึงผลิตสื่อลามกอนาจาร โดยมักนำภาพของบุคคลมีชื่อเสียง เช่น ดารา นักแสดง นักร้อง มาใช้เป็นใบหน้าตัวอย่างและสร้างคลิปลามกแล้วนำไปเผยแพร่หรือจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ ทางออนไลน์ ประชาชนต้องระวังต่อภัยดังกล่าว ทั้งนี้ฝากเตือนถึงผู้ที่ผลิตและเผยแพร่สื่อลามกปลอมด้วย AI  ดังกล่าวนั้น จะถือว่าเข้าข่ายความผิดทางอาญาถึง 6 ฐานความผิด ระวางโทษสูงสุดจำคุก 5 ปี ปรับสูงสุดถึง 200,000 บาท ระวัง! ไลน์ปลอม ก.ล.ต. อ้างเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน         จากกรณีพบบัญชีไลน์แอบอ้างเป็น “ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ภายใต้สำนักงาน ก.ล.ต.” นั้น   ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ทำการตรวจสอบถึงกรณีดังกล่าวแล้ว และได้ทำการชี้แจ้งว่า บัญชีไลน์ที่ว่ามีการปลอมแปลงและแอบอ้างการใช้โลโก้ของหน่วยงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้ที่ได้รับข้อมูลอาจเข้าใจผิดและหลงเชื่อเข้าลงทุนจนเกิดความเสียหาย  ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่างหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้ง ไม่แชร์หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวด้วย ลูกชิ้นเถื่อน         กองบังคับการปราบปรามการ กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เข้าตรวจค้นพื้นที่ ม.4 ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี หลังพบว่ามีการใช้สถานที่ดังกล่าวในการผลิตและจัดส่งจำหน่ายลูกชิ้นไม่ถูกสุขอนามัย ไปในพื้นที่ใกล้เคียง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจยึดลูกชิ้นกว่า 2,400 ถุง พร้อมอุปกรณ์เครื่องจักร บรรจุภัณฑ์ และส่วนผสมต่างๆ กว่า 31 รายการ พร้อมนำตัวอย่างส่งตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป นอกจากนี้ ลูกชิ้นที่พบมีทั้งมียี่ห้อและไม่มียี่ห้อรวม 9 รายการ ดังนี้ 1.ลูกชิ้นหมูตราตี๋ใหญ่  2.ลูกชิ้นหมูเมืองทอง ตราโกดี KODEE  3. ลูกชิ้นหมูเมืองทองตราที.เค  4.ลูกชิ้นหมูตราตี๋เล็ก  5.ลูกชิ้นเนื้อตราตี๋ใหญ่  6.ลูกชิ้นเนื้อ ตรา เฮง 7.ลูกชิ้นเนื้อตราเมืองเอก 8.ลูกชิ้นหมู AR  9. ชาย 2 ลูกชิ้นหมู         ทั้งนี้  การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ฐาน “ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์” ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  มพบ. จี้ ขสมก. ตอบคำถาม “ทำไมรถต่างสี ราคาต่างกัน” ย้ำ นโยบายปฎิรูปรถเมล์ ให้คำนึงถึงผู้ใช้บริการ         16 มกราคม 67 จากกรณีรถยูโรทู "สายปฏิรูป" เปลี่ยนเลขสายใหม่ พร้อมทั้งกำหนดให้ผู้เดินรถที่ได้สัมปทานโครงการปฏิรูปเอาเลขสายใหม่ไปใช้และเก็บค่าโดยสารเพิ่มอีก 1 บาท (แพงกว่าเดิม) โดยเก็บจากราคา "อัตราขั้นสูง" ตามที่กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดไว้ในตารางค่าโดยสาร (ทำให้การลดอัตราค่าโดยสารทำได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของอัตราขั้นสูง) เปิดช่องให้ผู้เดินรถเลือกที่จะเก็บค่าโดยสารตามอัตราขั้นสูงหรือหากจะลดราคาก็ให้ไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ พร้อมกับทาง ขสมก. ทั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ประกาศแจ้งให้ผู้โดยสารรับรู้ล่วงหน้าสำหรับการขึ้นราคาครั้งนี้ จึงทำให้เกิดกระแสสังคมจากผู้บริโภคในเชิงตำหนิต่างๆ นั้น         นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “มูลนิธิฯ ขอเป็นตัวแทนผู้บริโภคตั้งคำถามไปถึง ขสมก. ที่ต้องตอบให้ชัดว่า รถต่างสี ทำไมต้องเก็บราคาค่าโดยสารต่างกัน และ การเปลี่ยนเลขหมายรถนั้นมีเหตุผลอย่างไร อะไรที่เป็นเหตุต้องปรับงขึ้นราคาค่ารถ โดยไม่แจ้งผู้โดยสารล่วงหน้า” มูลนิธิฯ ขอเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบก ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล ตรวจสอบและแก้ไขปัญหากรณีดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสาร เพราะนโยบายการ “ปฎิรูปรถเมล์” ของกรมการขนส่ง ควรคำนึงถึงผู้ใช้บริการให้มีรถเมล์บริการอย่างทั่วถึงและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเฉพาะ ขสมก. ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องให้บริการรถที่มีคุณภาพและคิดค่าบริการที่ราคาเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 274 ความเคลื่อนไหวเดือนธันวาคม ปี 2566

ระวังเบอร์โทรหลอกดูดเงิน        โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เตือนภัยประชาชนกรณีที่มีมิจฉาชีพใช้เบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อประชาชนหลอกล็อกอินและดูดเงิน โดยมีวิธีการคือ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กระทวงการคลัง หลอกลวงให้กดยกเลิกสิทธิโครงการของรัฐฯ ที่หมดเขต พร้อมให้ประชาชนล็อกอินใส่ username และ password ของ “แอปพลิเคชันเป๋าเงิน” พร้อมทั้งยังแอบอ้างว่าได้รับเอกสารสิทธิพิเศษจากกระทรวงการคลัง และมีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังอีกด้วย         ทั้งนี้  ทางโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขอย้ำว่าหากมีเบอร์โทร 082-810-3575 ติดต่อไป อย่ารับเด็ดขาด ให้บล็อกได้เลย และยืนยันว่ากระทรวงการคลังไม่มีเจ้าหน้าที่ติดต่อหาประชาชนให้ยกเลิกสิทธิ์โครงการของรัฐฯ แน่นอน ภัยออนไลน์ปี 2567 มิจฉาชีพอาจใช้ AI ลวงเหยื่อ         สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึง สถิติแจ้งความออนไลน์เกี่ยวกับคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่ผ่านมา  อันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์” มีจำนวนกว่า 150,000 คดี   ในส่วนคดีที่ความเสียหายรวมสูงที่สุด คือ “หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์” เสียหายรวมกว่า 16,000 ล้านบาท                    แนวโน้มรูปแบบอาชญากรรมทางออนไลน์ ปี 2567 ประชาชนต้องระมัดระวังมิจฉาชีพ ก่อเหตุโดยนำเทคโนโลยี  AI มาใช้ประโยชน์เพื่อปลอมแปลงฉ้อโกง หรือสร้างความเสียหาย สร้างภาพคลิปปลอม เพื่อนำมาหาประโยชน์ต่างๆ เช่น             ·     การสร้างภาพ หรือคลิปปลอมเป็นบุคคลอื่น (AI Deepfakes)             ·     การเลียนเสียงของบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือคนรู้จัก (AI Voice Covers)             ·     การสร้างคลิปลามกปลอม (AI Deepfakes)             ·     การสร้างข่าวปลอม (Fake News)         ขออย่าหลงเชื่อ ยึดหลัก “ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน” เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์ ประกาศฉบับใหม่! ห้ามขาย “ใบกระท่อม” ให้คนท้อง-เด็กต่ำกว่า 18 ปี         เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง...การปิดประกาศหรือการแจ้งให้บุคคลที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ทราบถึงข้อห้ามขายใบกระท่อมหรืออาหาร ตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ พ.ศ. 2566  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม2566 เป็นต้นไป         โดยประกาศให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ มีหน้าที่ต้องประกาศ ให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ดังนี้             1. ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย มองเห็นได้ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมกับสถานที่ขาย             2. ระบุข้อความที่ปิดประกาศว่า ไม่ขายใบกระท่อม หรืออาหารที่มีใบกระท่อม เป็นวัตถุดิบหรือส่วนประกอบให้แก่บุคคล ดังต่อไปนี้                 ·บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปี                ·สตรีมีครรภ์                ·สตรีให้นมบุตร                ·ให้ผู้ขายใบกระท่อม หรืออาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่มีใบกระท่อมเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบ โดยวิธีการขายทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือด้วยวิธีการหรือในลักษณะอื่นใด ปิดประกาศหรือแจ้งให้ทราบถึงข้อห้ามขายแก่บุคคลตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ปฏิบัติตามข้อ 3 โดยอนุโลม  3 กลุ่มโรคต้องระวังเมื่อถอนฟัน          จากกรณีข่าวสาววัย 25 ปี เสียชีวิตภายหลังถอนฟัน 2 ซี่ ที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี นั้น ด้านนพ.เพชรฤกษ์ แทนสวัสดิ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี เปิดเผยว่าผลตรวจพบก้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบริเวณกรามด้านขวา ซึ่งกดบีบทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบากนำมาซึ่งการเสียชีวิต         การถอนฟันเป็นการรักษาปัญหาสุขภาพในช่องปากที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะการถอนฟันเป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงสูง เพราะในช่องปากเต็มไปด้วยเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ ซึ่งมีสามกลุ่มโรคที่ผู้ป่วยควรต้องแจ้งทันตแพทย์ก่อนหากได้รับการวินิจฉัยว่าต้องถอนฟัน ได้แก่ กลุ่มโรคที่เลือดออกง่ายและหยุดไหลยาก เช่น ลิวคีเมีย โรคไตมีประวัติล้างไต  กลุ่มที่อาจแสดงอาการระหว่างทำฟัน เช่น ลมชัก หอบหืด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และกลุ่มโรคเบาหวานที่เสี่ยงแผลหายยาก         จี้ กสทช. แก้ปัญหาผู้บริโภครับผลกระทบรวม ทรู-ดีแทค         22 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และนายธนัช ธรรมิสกุล หน่วยงานประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้เข้ายื่นหนังสือถึง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึง คณะอนุกรรมการเพื่อติดตามและประเมินผลการรวมธุรกิจตามประกาศ กสทช.         “กรณีเรียกร้องให้เร่งตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากผู้บริโภคหลังรวม ทรู-ดีแทค รวมถึงได้นำหลักฐานผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากทุกค่ายมือถือ ระหว่างวันที่ 9 – 23 พฤศจิกายน 2566 จำนวนผู้ทำแบบสำรวจ 2,924 ราย ยื่นแก่ พลเอกกิตติ เกตุศรี ที่ปรึกษาประจำประธาน กสทช.เป็นตัวแทนรับหนังสือ”         ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา 5 ปัญหาที่พบมากที่สุด จากผลสำรวจมากถึงร้อย 81 หลักๆ มีดังนี้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตช้า สัญญาณหลุดบ่อย โปรโมชันเดิมหมดต้องใช้โปรโมชันที่แพงขึ้น ค่าแพ็กเกจราคาเท่ากันหมดทำให้ไม่มีทางเลือก และ call center โทรติดยาก อย่างไรก็ตาม ด้านข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคที่ทำแบบสำรวจ เช่น ขอให้ยกเลิกการควบรวมรวมธุรกิจโทรคมนาคม ระหว่าง ทรู-ดีแทค เพราะหลังจากที่มีการควบรวมแล้ว ผู้บริโภคพบเจอปัญหาสัญญาณอินเทอร์เน็ตมีปัญหา ราคาค่าบริการแพงขึ้น แพ็คเกจไม่หลากหลาย  พร้อมยังไม่เห็นประโยชน์ใดๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับโดยตรงหลังจากการควบรวม

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)