ฉบับที่ 125 Call center ปฏิบัติการ โทรหาเธอวันละ 3 เวลา

 

ฉลาดซื้อลงเรื่องทดสอบประสิทธิภาพของโทรศัพท์มือถือมาแล้วหลายครั้ง คราวนี้ขอลองทดสอบดูการให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรือคอลเซ็นเตอร์ ของแต่ละเครือข่ายดูบ้าง หลายคนคงอยากรู้ว่าคนอื่นๆ ที่เป็นลูกค้าของเครือข่ายอื่นๆ เขาต้องรอนานเหมือนเราหรือเปล่า

 

อาสาสมัครช่างโทรของเรา รับหน้าที่โทรเข้า Call center ของผู้ประกอบการโทรคมนาคม 3 บริษัท ได้แก่ AIS DTAC และTRUE MOVE วันละ 3 เวลา (09:00 น. 12:30 น. และ 20:00 น.) ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มิใช่เพื่อการเม้าท์มอยด้วยความคิดถึง แต่เพื่อจับเวลาในการรอสาย

 

โดยเริ่มนับจากเวลาที่โทรติด จากนั้นฟังขั้นตอนต่างๆ จากระบบให้ข้อมูลอัตโนมัติของเครือข่าย จนกระทั่งได้ข้อมูลว่าต้องกดหมายเลขอะไรเพื่อติดต่อโอเปอเรเตอร์ และหยุดนับเวลาเมื่อโอเปอเรเตอร์รับสาย แต่ทั้งนี้อาสาสมัครจะวางสายเองถ้าต้องรอมากกว่า 5 นาที

 

จากการโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ของแต่ละบริษัท บริษัทละ 45 ครั้ง ทำให้เราได้ข้อมูลเรื่องระยะเวลาในการรอสายมาเล่าสู่กันฟังดังนี้

 

เวลาเฉลี่ยในการรอสายของแต่ละเครือข่าย
1 นาที 15 วินาที  DTAC  
1 นาที 59 วินาที  TRUE MOVE 
2 นาที 39 วินาที  AIS

 

เวลาเฉลี่ยในการรอสายเมื่อโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ ในช่วงเวลาต่างๆ ของแต่ละเครือข่าย

เวลา / เครือข่าย

AIS

DTAC

TRUE MOVE

9:00 น.

3 นาที 03 วินาที

1 นาที 12 วินาที

1 นาที 46 วินาที

12:30 น.

1นาที 52 วินาที

1 นาที 49 วินาที

1 นาที 58 วินาที

20:00 น.

3 นาที 04 วินาที

1 นาที 56 วินาที

3 นาที 02 วินาที

 

• ถ้าคุณเป็นลูกค้า AIS เวลาที่เหมาะจะโทรปรึกษาคอลเซ็นเตอร์ คือช่วงเที่ยงๆ เพราะตอนเช้าและหัวค่ำนั้นคุณอาจจะต้องรอไม่ต่ำกว่า 3 นาที
• ลูกค้า DTAC นั้นจะโทรเช้า เที่ยง หรือเย็นก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่ข่าวดีคือรอไม่เกิน 2 นาที
• ลูกค้า TRUE MOVE กรุณาอย่าโทรช่วงหัวค่ำเพราะต้องรอมากกว่า 3 นาที เปลี่ยนมาโทรช่วงเช้าหรือเที่ยงจะดีกว่า
___

 

อาสาสมัครของเราทดลองโทรเข้าไปขอข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนไปใช้บริการของเครือข่ายอื่น พบว่าแต่ละเครือข่ายยินดีให้ข้อมูลด้วยความเต็มใจ พูดจาสุภาพ และไม่พยายามจะตื้อให้เราใช้เครือข่ายเดิมต่อแต่อย่างใด 
___


โพลล์ “ครอบครัวฉลาดซื้อ” รอสายกันนานไหม
คราวนี้เราได้รับความร่วมมือจาก “ครอบครัวฉลาดซื้อ” สมาชิกฉลาดซื้อ และผู้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่ององค์การอิสระผู้บริโภคที่โรงแรมเอเชีย ในวันคุ้มครองผู้บริโภค 30 เมษายน 2554 ทั้งหมด 275 คน ในการช่วยให้ข้อมูลเรื่องการรอสายรับบริการจากศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์   
___

 

ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 275 คน
• ร้อยละ 37 เป็นลูกค้าของดีแทค DTAC
• ร้อยละ 35.8 เป็นลูกค้าของเอไอเอส AIS
• ร้อยละ 24.2 เป็นลูกค้าของทรูมูฟ TRUE MOVE
• ร้อยละ 3 เป็นลูกค้าของฮัทช์ HUTCH
ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.5) ใช้บริการมาแล้วกว่าสองปี

___


• ร้อยละ 76.8 ของผู้ให้ข้อมูล เคยประสบปัญหาจากการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ปัญหาเรื่องระบบสัญญาณ   ร้อยละ 59.5 
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับบริการเสริมต่างๆ  ร้อยละ 20
ปัญหาค่าบริการ    ร้อยละ 13.6
และปัญหาอื่นๆ     ร้อยละ 6.8

 

• การสำรวจครั้งนี้พบว่า 
ทรูมูฟ มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 82.8
เอไอเอส มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา ร้อยละ 75.3
ฮัทช์ มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 75
ดีแทค มีลูกค้าที่เคยประสบปัญหา  ร้อยละ 74.7

 

• สามอันดับปัญหายอดฮิต
ปัญหาเรื่องสัญญาณ  ร้อยละ 59.7
ปัญหาเรื่องบริการเสริม  ร้อยละ 19.9
ปัญหาเรื่องค่าใช้บริการ  ร้อยละ 13.4

 

• ร้อยละ 75.8 ของผู้ให้ข้อมูล เคยใช้บริการคอลเซ็นเตอร์ ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ

ร้อยละ 34.2  รอสายประมาณ 3 ถึง 5 นาที
ร้อยละ 32.9  รอสายน้อยกว่า 3 นาที 
ร้อยละ 21  รอสาย 5 ถึง 10 นาที
ร้อยละ 11.9  รอสายเป็นเวลามากกว่า 10 นาที  
----
ร้อยละ 12 ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยรอสายมากกว่า 10 นาที
ร้อยละ 38.5 ของคนที่เคยรอสายนานกว่า 10 นาทีเป็นลูกค้าของ TRUE MOVE
----

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

0 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ บริการ เครือข่าย ค่าโทร โทรศัพท์

ฉบับที่ 275 โน๊ตบุ้ก

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบคอมพิวเตอร์แบบพกพาทั้งขนาดจอใหญ่และเล็ก รวมถึงกลุ่ม Chromebook ที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ได้แก่ องค์กรผู้บริโภคจากเนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรีย ฝรั่งเศส เบลเยียม โปรตุเกส สเปน อิตาลี สวีเดน สาธารณรัฐเช็ก) ทำไว้ตั้งแต่ปลายปี 2023 ถึงต้นปี 2024  มีให้เลือกจาก 5 แบรนด์ รวมทั้งหมด 22 รุ่น ในสนนราคาตั้งแต่ 9,990 ไปจนถึงมากกว่า 80,000 บาท* ในการทดสอบครั้งนี้ยังคงแบ่งคะแนนแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่        ร้อยละ 25   ความสะดวกในการใช้งาน        ร้อยละ 20   ประสิทธิภาพในการทำงาน        ร้อยละ 20   แบตเตอรี        ร้อยละ 15   จอภาพและเสียง        ร้อยละ 15   ความสะดวกในการพกพา        ร้อยละ 5     ฟีเจอร์ต่างๆ ในภาพรวมราคายังบ่งบอกถึงคุณภาพของโน๊ตบุ้ก แต่เราก็พบว่าในระดับคะแนนที่เท่าๆ กัน เรายังสามารถเลือกโน๊ตบุ้กที่มีราคาค่อนข้างต่างกัน และโน้ตบุ้กที่ราคาที่สูงกว่าอาจไม่ใช่รุ่นที่ใช้งานได้ดีกว่าเสมอไป พลิกหน้าต่อไปเพื่อหารุ่นที่ตรงกับการใช้งานในแบบของคุณได้เลย  *โปรดตรวจสอบราคาที่อัปเดตอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 274 สมาร์ตวอทช์

        ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ตวอทช์ ที่สมาชิกองค์ทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ร่วมกันทำไว้อีกครั้ง ตัวอย่างที่ทดสอบเป็นรุ่นที่วางจำหน่ายช่วงครึ่งหลังของปี 2566 คราวนี้เราคัดมาเฉพาะรุ่นที่ได้คะแนนรวมในระดับต้นๆ มีให้คุณได้เลือก 17 รุ่น และสมาร์ตแบนด์อีก 4 รุ่น ในสนนราคาระหว่าง 899 ถึง 31,900 บาท          การทดสอบครั้งนี้แบ่งคะแนนออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่         - ร้อยละ 35 ความแม่นยำในการวัด “ความฟิต” เช่น จำนวนก้าวขณะเดิน วิ่ง และเคลื่อนไหวทั่วไป รวมถึงระยะทางและอัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น        - ร้อยละ 20 ความสะดวกในการใช้งาน เช่น ตั้งค่า เลือกเมนู ดูหน้าจอ และความรู้สึกคล่องตัวขณะสวมใส่         - ร้อยละ 15 ฟังก์ชันสมาร์ต เช่น การโทร/รับสาย รับ/ส่งข้อความ อีเมล ใช้โซเชียลมีเดีย ฟังเพลง                    - ร้อยละ 15 แบตเตอรี เช่น ระยะเวลาชาร์จและระยะเวลาการใช้งาน                - ร้อยละ 10 การใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันต่างๆ             - ร้อยละ 5 รูปลักษณ์ วัสดุ คุณภาพการประกอบ เป็นต้น             - ร้อยละ 5 รูปลักษณ์ วัสดุ คุณภาพการประกอบ เป็นต้น         ในภาพรวมอุปกรณ์สมาร์ตทั้ง 21 รุ่นที่เรานำเสนอได้คะแนนรูปลักษณ์ภายนอกในระดับ 5 ดาว คะแนนด้านประสิทธิภาพการทำงานและความสะดวกในการใช้งานก็ไม่ต่างกันมาก แต่ความแตกต่างของคะแนนอยู่ที่ความหลากหลายและการใช้งานของฟังก์ชันสมาร์ต รวมถึงแบตเตอรี และการใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชัน พลิกหน้าต่อไปเพื่อเลือกสมาร์ตวอทช์ที่ถูกใจ ในงบประมาณที่อยากจ่ายกันได้เลย         หมายเหตุ ราคาที่แสดง เป็นราคาในช่วงเดือนธันวาคม 2566 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                 (ติดตามผลทดสอบเปรียบเทียบที่เราเคยนำเสนอได้ในฉลาดซื้อฉบับที่ 265, 256, 242, 215 และ 177)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 272 แท็บเล็ต 2023

กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบเปรียบเทียบอุปกรณ์แท็บเล็ตที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้ในปีนี้  คราวนี้มีรุ่นที่ขนาดใหญ่กว่า 9 นิ้ว มานำเสนอให้เลือกกัน 18 รุ่น ในสนนราคาตั้งแต่ประมาณ 7,000 ถึง 50,000 บาท สัดส่วนของการให้คะแนนยังคงเหมือนเดิมคือ-         ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 22.5 จากการทดสอบใช้ขณะวางบนโต๊ะ บนตัก หรือถือด้วยมือข้างเดียว รวมถึงการใช้ปุ่มปิดเปิดต่างๆ สั่งงานผ่านหน้าจอแบบสัมผัส คีย์บอร์ด และการใช้งานหลายโปรแกรมพร้อมกัน เป็นต้น-         ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ร้อยละ 22.5เช่น การใช้เพื่อดูหนัง ฟังเพลง ใช้วิดีโอคอล ถ่ายภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงความยากง่ายในการมองเห็นข้อความบนหน้าจอในสภาพแสงที่แตกต่างกัน-         หน้าจอ ร้อยละ 15-         แบตเตอรี ร้อยละ 15-         ตัวอุปกรณ์ ร้อยละ 10 ขนาดเครื่อง หน่วยความจำ ช่องรองรับการเชื่อมต่อ และความสะดวกในการพกพา-         การใช้งานทั่วไป ร้อยละ 7.5เช่น ความเร็วในการรับส่งไฟล์ และการเชื่อมต่อผ่าน wifi -         ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ร้อยละ 7.5 นอกจากนี้เราขอนำเสนอผลคะแนนเปรียบเทียบความปลอดภัยและการแบคอัปข้อมูลไว้ด้วย แม้จะยังไม่ได้นำมาคิดในคะแนนรวม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 271 หูฟัง 2023

ฉลาดซื้อกลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบหูฟังบลูทูธทั้งแบบครอบหูและแบบ “เอียร์บัด” คราวนี้เราคัดเลือกมา 25 รุ่นที่ได้คะแนนอันดับต้นๆ จากการทดสอบเปรียบเทียบที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing ร่วมกันทำไว้ในปีนี้  รูปแบบการทดสอบยังคงเหมือนเดิม* แต่เกณฑ์การให้คะแนนมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยจากครั้งก่อน ดังนี้        ร้อยละ 45       คุณภาพเสียง ทั้งเสียงเพลงและเสียงพูด        ร้อยละ 20       การใช้งานและความสบายในการสวมใส่        ร้อยละ 15       ประสิทธิภาพในการตัดเสียงรบกวนภายนอก        ร้อยละ 15       แบตเตอรี        ร้อยละ 5          ความทนทาน        ในภาพรวมเราพบว่าหูฟังที่ได้คะแนนรวมสูงที่สุดไม่ใช่รุ่นที่ราคาแพงที่สุด (19,900 บาท) แต่รุ่นที่ราคาถูกที่สุด (2,490 บาท) กลับได้คะแนนน้อยที่สุดด้วยข่าวดีคือถ้าใครพร้อมจะลงทุนประมาณ 4,000 - 5,000 กว่าบาท ก็มีสิทธิ์ได้หูฟังคุณภาพดีไปใช้ฟังเพลง ฟังพอดคาสต์กันเพลินๆ หลายรุ่นมีความสามารถในการกันน้ำ จึงสามารถใส่ออกกำลังกายได้ด้วยรุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุดเท่ากันสามรุ่น (JBL Tune 770NC, Bose Quiet Comfort SE, และTechnics EAH-AZ80) มีราคาระหว่าง 4,290 – 19,990 บาท แต่ละรุ่นมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน ในขณะที่หลายรุ่นที่ราคาเกินหนึ่งหมื่นก็มีคะแนนไม่โดดเด่นนักเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆอยากรู้รายละเอียดว่าใครเป็นใคร พลิกดูรายละเอียดในหน้าถัดไปได้เลย และเพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจบนพื้นฐานของเงินที่อยากจ่าย ในกรณีที่คะแนนรวมเท่ากัน เราจะนำเสนอโดยเรียงลำดับจากรุ่นที่ราคาถูกกว่า หมายเหตุ*โปรดตรวจสอบราคาล่าสุดก่อนตัดสินใจ*ติดตามผลการทดสอบเปรียบเทียบหูฟังครั้งก่อนหน้านี้ได้ในฉลาดซื้อฉบับที่ 233 และ 260

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ความคิดเห็น (0)