ฉบับที่ 198 สารกันบูดใน “เฉาก๊วย”


“เฉาก๊วย” 1 ในขนมหวานที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ด้วยรสสัมผัสอันเป็นเอกลักษณ์ นุ่มเหนียวเคี้ยวอร่อย นำมารับประทานพร้อมน้ำแข็ง น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำเชื่อม ได้รสชาติหวานเย็นชื่นใจ เหมาะกับอากาศร้อนๆ ของเมืองไทย


เฉาก๊วย หาทานได้ทั่วไป ที่เห็นบ่อยก็น่าจะเป็นตามร้านขายขนมหวานจำพวกหวานเย็น นอกจากนี้ยังที่ปรับปรุงสูตรให้กลายมาเป็นครื่องดื่ม ใช้เฉาก๊วยเส้นเล็กๆ ใส่ในน้ำเชื่อม เพื่อรับประทานง่ายยิ่งขึ้น เดี๋ยวนี้ เฉาก๊วย ถูกทำให้เพิ่มมูลค่า นำมาใส่ในเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ นมสด ก็อร่อยไปอีกแบบ 


ฉลาดซื้อฉบับนี้ ขอนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในเฉาก๊วย” ลองไปดูกันสิว่าขนมหวานในดวงใจของใครหลายๆ คน ปลอดภัยจากการใช้สารกันบูดหรือเปล่า?


ผลทดสอบ

- จำนวนตัวอย่าง เฉาก๊วย ที่นำมาทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 30 ตัวอย่าง มีตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูด ทั้ง เบนโซอิก และ ซอร์บิก ถึง 14 ตัวอย่าง หรือเกือบ 50% ของตัวอย่างทั้งหมดที่นำมาทดสอบ ถือว่าเป็นข่าวดีของผู้บริโภค


- นอกจากนี้ยังพบว่ามีอีก 5 ตัวอย่าง ที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก


- มีตัวอย่างเฉาก๊วยที่พบปริมาณสารกันบูด เบนโซอิก และ ซอร์บิก เกินมาตรฐาน เพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอก ที่พบปริมาณเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัม เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดที่สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณเฉาก๊วย 1 กิโลกรัม


ข้อสังเกตเรื่องการแสดงฉลาก

-ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลากว่ามีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย

1.ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก.

2.เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก.กก.

3.ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05 มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก.กก.

4.เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 1,387.37 มก./กก. 


ข้อสังเกตเกี่ยวกับ ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสีย

มีกลุ่มตัวอย่างที่แจ้งว่า “ไม่มีวัตถุกันเสีย” บนฉลากแต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน ได้แก่ 

1.ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.

2.ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก.

3.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก. 

4.ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.


มาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย 
เฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือGrass Jelly )

สำหรับข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน 

ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม 


-------------------------------------------------------------

ฉลาดซื้อแนะนำ

1.เฉาก๊วย ชนิดที่จำหน่ายในภาชนะบรรจุ นอกจากจะมีมาตรฐานที่ควบคุมโดยกระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจที่ช่วยทั้งยกระดับคุณภาพของผู้ผลิตสินค้า และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์


2.มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) เฉาก๊วย จะดูเรื่องการบรรจุ ภารชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ปิดสนิท สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการแสดงเครื่องหมายและฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ต้องมีข้อมูล คือ 

-ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น เฉาก๊วย วุ้นดำ เฉาก๊วยหวาน

-ส่วนประกอบที่สำคัญ

-น้ำหนักสุทธิ

-วัน เดือน ปีที่ผลิต และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า “ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี)”

-ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น

-ชื่อสถานที่ผลิต พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น


3.คุณลักษณะที่ดีของเฉาก๊วย ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มีดังนี้ 

สี     ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้

กลิ่นรส     ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ ไม่มีกลิ่นแอลกอฮอล์ ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

เนื้อสัมผัส    ต้องนุ่ม หยุ่นตัว ไม่แข็งกระด้าง ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้


4.ข้อนี้ แค่มองด้วยตาเปล่าอาจดูไม่เห็น แต่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในเฉาก๊วยเอาไว้ด้วย 

-จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1X104  โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

-เอสเชอริเชีย โคไล โดยวิธีเอ็มพีเอ็ม ต้องน้อยกว่า 3 ตัวอย่าง 1 กรัม

-ยีสและรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม



อันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก

เป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะ








ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น
สำรวจเมื่อเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2560

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

500 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: เฉาก๊วย ทดสอบ ขนมหวาน

ฉบับที่ 248 ขนมเวเฟอร์หวานมันกรอบๆ ก็มีโซเดียมนะ

        ใกล้เทศกาลปีใหม่แบบนี้ หากลองสังเกตขนมขบเคี้ยวยอดฮิตที่ใครๆ มักนำมาจัดในกระเช้าของขวัญแล้ว หนึ่งในนั้นน่าจะต้องมี ”ขนมเวเฟอร์” รวมอยู่แน่นอน ด้วยแผ่นแป้งพิมพ์ลายไขว้กันเหมือนรังผึ้งที่กรอบบางเบาเคี้ยวเพลิน ผสานกับเนื้อครีมสอดไส้หรือเคลือบไว้ที่หอมหวานมันอร่อยลิ้น จึงเป็นขนมที่ถูกปากถูกใจทั้งเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ รวมถึงผู้สูงอายุมานาน ทั้งยังกินง่าย หาซื้อง่าย มีหลายรสชาติหลากรูปแบบให้เลือกตามชอบ แต่ถ้ากินเยอะๆ บ่อยๆ ก็อ้วนง่ายด้วย เพราะมีทั้งแป้ง น้ำตาล และไขมันที่ให้พลังงานสูง แถมยังพ่วงโซเดียมมาอีก         ทางสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ได้สุ่มสำรวจปริมาณโซเดียมบนฉลากโภชนาการกลุ่มขนมขบเคี้ยวจำนวน 400 ตัวอย่าง สำหรับเป็นข้อมูลให้ผู้ป่วยโรคไต ความดันโลหิตสูง และผู้บริโภคทั่วไป ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกเพื่อเลี่ยงขนมที่มีโซเดียมสูง         ฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนฯ ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาจึงขอนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ชุดนี้ โดยฉบับนี้เลือกขนมเวเฟอร์ทั้งที่สอดไส้และเคลือบด้วยครีมรสชาติต่างๆ ในรูปแบบสี่เหลี่ยม แบบโรลและแบบสติ๊ก จำนวน 27 ตัวอย่าง 10 ยี่ห้อ เก็บตัวอย่างจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป ในช่วงเดือนมีนาคม 2564           ผลการสำรวจฉลากดูปริมาณโซเดียมในขนมเวเฟอร์        -ขนมเวเฟอร์ทั้งหมด 27 ตัวอย่างนี้ มีราคาขายซองละ 5 - 45 บาท และมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 25 - 86 กรัม        -เมื่อดูปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคบนฉลาก พบว่า ยี่ห้อล็อคเกอร์ ครีมคาเคา (เวเฟอร์สอดไส้ครีมโกโก้) มีโซเดียมน้อยที่สุดคือ 25 มิลลิกรัม ส่วนยี่ห้อริทซ์ ชีส เวเฟอร์โรล (เวเฟอร์โรลสอดไส้ครีม รสชีส) มีโซเดียมมากที่สุดคือ 150 มิลลิกรัม        -เมื่อดูขนาดบริโภคหรือปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำบนฉลาก พบว่าปริมาณน้อยที่สุดคือ 23 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อล็อคเกอร์ 3 ตัวอย่างคือ ครีมคาเคา (เวเฟอร์สอดไส้ครีมโกโก้),นาโปลิเทนเนอร์ (เวเฟอร์สอดไส้ครีมเฮเซลนัต) และมิลค์ (เวเฟอร์สอดไส้ครีม รสนม) ส่วนปริมาณที่มากที่สุดคือ 45 กรัม ได้แก่ ยี่ห้อเดลฟี่ท็อป 4 ตัวอย่างคือ เวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลต ข้าวพองและคาราเมล, ทริปเปิ้ล ช็อก, คาปูชิโน และสตอเบอร์รี่ กับยี่ห้อล็อคเกอร์ 2 ตัวอย่างคือ วานิลลา (เวเฟอร์สอดไส้ครีมวานิลลา) และโกโก้ แอนด์ มิลค์ (เวเฟอร์รสโกโก้สอดไส้ครีมนม)         ข้อสังเกต        -หากพิจารณาถึงความคุ้มค่า เมื่อคำนวณราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อบิสชิน เวเฟอร์ไส้ครีม กลิ่นส้ม และ รสมะพร้าว มีราคาถูกสุดคือ 0.17 บาท ส่วนยี่ห้อล็อคเกอร์ ฟอนแดนท์ (เวเฟอร์สอดไส้ครีมดาร์กช็อกโกแลต มีราคาแพงสุดคือ 1.2 บาท        - จากตัวอย่างขนมขบเคี้ยวทั้งหมดที่สมาคมเพื่อนโรคไตฯ สำรวจ ซึ่งแบ่งเป็น 9 ประเภทตามวัตถุดิบนั้นเมื่อเรียงลำดับปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคมากที่สุดในขนมแต่ละประเภทแล้ว พบว่าขนมเวเฟอร์อยู่รั้งท้าย (150 มก.) โดยลำดับที่หนึ่งคือมันฝรั่ง (1,080 มก.) รองลงมาคือปลาเส้น (810 มก.) ข้าวเกรียบและขนมอบกรอบ (560 มก.) สาหร่าย (510 มก.) ข้าวโพด (390 มก.) ถั่วและนัต ( 380 มก.) แครกเกอร์และบิสกิต (230 มก.) และคุกกี้ (220 มก.)        - จากที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจฉลากเวเฟอร์ช็อกโกแลตมาแล้ว ในครั้งนั้นได้ผลออกมาว่ามีปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคอยู่ที่ 10 – 120 มิลลิกรัม และมี 6 ตัวอย่างที่นำมาสำรวจในครั้งนี้ด้วย ซึ่งพบว่ายี่ห้อกัสเซ็น เวเฟอร์สอดไส้ครีม รสช็อกโกแลต มีปริมาณโซเดียมต่อหน่วยบริโภคจากเดิม 35 มิลลิกรัม ลดลงเป็น 30 มิลลิกรัม ส่วนอีก 5 ตัวอย่างนั้นยังเท่าเดิม        - จากเกณฑ์การพิจารณาใช้สัญลักษณ์โภชนาการ”ทางเลือกเพื่อสุขภาพ” ของ อย.ที่กำหนดว่าขนมขบเคี้ยวต้องมีโซเดียมไม่เกิน 500 มิลลิกรัม/100 กรัม (หรือ 150 มิลลิกรัม/ 30 กรัม) เมื่อลองคำนวณหาปริมาณโซเดียมใน 1 หน่วยบริโภคที่ 30 กรัมเท่ากัน พบว่าขนมเวเฟอร์ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์ปริมาณโซเดียมนี้แต่อย่างไรก็ตามยังต้องพิจารณาปริมาณพลังงาน น้ำตาล และไขมันควบคู่ไปด้วย        - เมื่อคำนวณปริมาณโซเดียมของขนมเวเฟอร์ทั้งซอง พบว่ายี่ห้อบิสชิน เวเฟอร์ไส้ครีม กลิ่นส้ม มีโซเดียมน้อยที่สุดคือ 45 มิลลิกรัม ยี่ห้อริทซ์ ชีส เวเฟอร์โรล (เวเฟอร์โรลสอดไส้ครีม รสชีส) มีโซเดียมมากที่สุดคือ 225 มิลลิกรัม        - มี 13 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับน้ำหนักสุทธิ โดยมีปริมาณโซเดียมที่ 45 - 95 มิลลิกรัม        - ขนมเวเฟอร์รสโกโก้หรือช็อคโกแลต (แบบเคลือบ/สอดไส้) มีมากที่สุดคือ 10 ตัวอย่าง        - เวเฟอร์แบบสี่เหลี่ยมส่วนใหญ่จะมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่าเวเฟอร์โรลและเวเฟอร์สติ๊กที่เป็นแบบแท่งๆ คำแนะนำ-บางคนอาจสงสัยว่าขนมเวเฟอร์ไม่เค็มแล้วทำไมถึงมีโซเดียมได้ เพราะยังเข้าใจว่าอาหารรสเค็มเท่านั้นที่มีโซเดียม แต่จริงๆ แล้วขนมอบรสหวานมันที่มีส่วนผสมของผงฟู เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ต่างก็มีโซเดียมอยู่ เพราะผงฟูมีโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบ นั่นเอง ดังนั้นอย่าชะล่าใจกินขนมหวานซ่อนเค็ม(โซเดียม)เพลิน ทำให้ได้รับโซเดียมเกินโดยไม่รู้ตัว- ผู้บริโภคควรพิจารณาข้อมูลบนฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง โดยเฉพาะหากซื้อให้เด็กและผู้สูงอายุ- ผู้ปกครองหรือคุณครูควรฝึกให้เด็กๆ ดูและเปรียบเทียบฉลากหวาน มัน เค็ม ให้เข้าใจพอจะเลือกเองได้  -ในแต่ละวัน ผู้ใหญ่ไม่ควรกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัม เด็กอายุ 6-8 ปี ไม่ควรเกิน 32.5-95  มิลลิกรัม  อายุ 9-12 ปี ไม่ควรเกิน  40-117.5 มิลลิกรัม อายุ 13-15 ปี ไม่ควรเกิน  50-150 มิลลิกรัมหรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน และไม่ควรกินขนมเกินวันละ 2 มื้อด้วย    - หลายคนมักกินเวเฟอร์ที่บรรจุในซองเแยกเป็นชิ้นๆ ให้หมดในคราวเดียว เพราะขนมเวเฟอร์ไวต่อความชื้น ถ้าแกะซองแล้วกินไม่หมด ขนมที่เหลือก็จะนิ่มเหนียวไม่อร่อย จึงอาจเสี่ยงได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่แนะนำได้หากในฉลากระบุว่าควรแบ่งกินมากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้นถ้าเผลอกินไปแล้วก็ต้องมาลดอาหารเค็มๆ อย่างอื่น และออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย- ขนมเวเฟอร์แบบห่อ/กล่องใหญ่ ควรแบ่งขนมใส่จานไว้พอประมาณ แล้วปิดห่อ/กล่องให้สนิท- สำหรับขนมเวเฟอร์แบบแบ่งขายที่ไม่มีฉลากโภชนาการกำกับ หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง หรือกินแต่น้อย- ใครชอบกินเวเฟอร์กับเครื่องดื่ม หากไม่อยากให้ร่างกายได้รับน้ำตาลและไขมันเพิ่มอีก ควรดื่มเป็นน้ำเปล่า ชาร้อน กาแฟดำ หรือน้ำผลไม้คั้นสดเพื่อเลี่ยงโซเดียมจากน้ำผลไม้สำเร็จรูป- อย่าปักใจเชื่อว่าขนมเวเฟอร์ซองเล็กมีปริมาณโซเดียมต่ำกว่าซองใหญ่เสมอไป จริงๆ แล้วยังมีเวเฟอร์ซองเล็กบางยี่ห้อที่กินหมดแล้วกลับได้โซเดียมมากกว่าซองใหญ่ซะอีกข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อฉบับที่ 160 เรื่องทดสอบ “เวเฟอร์ช็อกโกแลต เผลอเคี้ยวเพลิน อ้วนแน่”ฉลาดซื้อฉบับที่ 243 เรื่องทดสอบ “สำรวจฉลากโภชนาการผลิตภัณฑ์คุกกี้เนย”http://healthierlogo.com

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับ 203 อะฟลาทอกซินเอ็มวัน ในนมรสธรรมชาติและนมโรงเรียน

โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพอะฟลาทอกซินเอ็มวันในนมรสธรรมชาติและนมโรงเรียน นมโคเป็นอาหารที่มีสารอาหารเกือบครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะโปรตีนและแคลเซียมในนมนั้นมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่ร่างกายเสื่อมไป จึงเหมาะเป็นอาหารสำหรับคนทุกวัย การบริโภคนมของไทยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 18 ลิตร/คน/ปี โดยในปี 2559 มีมูลค่าการตลาดประมาณ 60,000 ล้านบาท เนื่องจากนมเป็นแหล่งอาหารที่ดีจึงมีการส่งเสริมให้เด็กไทยได้ดื่มนมฟรีหรือที่เรียกว่า นมโรงเรียนด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังในเรื่องความปลอดภัยในอาหารที่มีคนเป็นจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จึงอาสาสอดส่องเรื่องของนม โดยลำดับแรกเป็นเรื่องของการทดสอบหาปริมาณสารพิษจากเชื้อรา อะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 (อะฟลาทอกซิน ชนิด บี 1 ถ้าอยู่ในน้ำนมจะเรียกว่า อะฟลาทอกซิน เอ็ม 1) ซึ่งเป็นสารพิษธรรมชาติชนิดร้ายแรงต่อมนุษย์ ซึ่งแม้ได้รับในปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การเก็บตัวอย่างครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจาก 6 ภูมิภาครวมทั้งอาสาสมัครผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ช่วยเก็บตัวอย่างนมโรงเรียนจำนวนรวมทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง และทีมฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างนมรสธรรมชาติทุกประเภทจากห้างค้าปลีกและร้านสะดวกซื้ออีกจำนวน 13 ตัวอย่าง รวมเป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 27 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 การทดสอบใช้ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน โดยค่าต่ำสุดที่สามารถระบุได้คือ 0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ผลทดสอบทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลทดสอบพบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้งของไทย และโคเด็กซ์(CODEX) โดยเกณฑ์มาตรฐานของไทยนั้นยังไม่มีการระบุเฉพาะเจาะจงของค่าปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ในน้ำนม จึงใช้อิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 ที่กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินได้ไม่เกิน 20 พีพีบี (20  ส่วนในพันล้านส่วน) หรือ 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนมาตรฐานของ USFDA และ CODEX กำหนดไว้อย่างชัดเจนเรื่อง ปริมาณอะฟลาทอกซิน เอ็ม 1 ในน้ำนม ต้องไม่เกิน 0.5 ไมโครกรัม/กิโลกรัม จากตัวอย่างจำนวน 27 ตัวอย่างนั้น ตรวจพบอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ในช่วง น้อยกว่า 0.03-0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม การตรวจพบในปริมาณที่น้อยนี้นับว่าเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 192 คาเฟอีนและน้ำตาล ในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่ม

กาแฟปรุงสำเร็จรูปพร้อมดื่ม ทางเลือกสำหรับคอกาแฟที่รักความสะดวกรวดเร็ว เพียงเปิดกระป๋องปุ๊บก็ดื่มได้ทันที ซึ่งปัจจุบันมีหลายยี่ห้อและรสชาติให้ลิ้มลองในราคาสบายกระเป๋า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้บริโภคหลายคนอร่อยเพลิน จนลืมไปว่ากาแฟกระป๋องเหล่านั้นอาจมีคาเฟอีนและน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณสูง โดยหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานจากการได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม/วัน หรืออาการติดคาเฟอีน (Caffeinism) จากการได้รับคาเฟอีนมากไปหรือเกินวันละ 200 มิลลิกรัม ซึ่งจะทำให้รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน นอกจากนี้ผลที่ตามมาคือสมองและหัวใจจะถูกกระตุ้นเกินกว่าปกติ ทำให้ปวดศีรษะ ใจเต้นเร็ว ใจสั่นและความดันโลหิตสูงได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลเปรียบเทียบปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลในกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มจำนวน 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งเจ้าไหนจะมีน้ำตาลและคาเฟอีนสูงกว่ากัน ลองไปดูได้เลยสัดส่วนการตลาดกาแฟพร้อมดื่มปี 2557กาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่ม มีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 ในตลาดกาแฟรวม ด้วยมูลค่า 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟกระป๋อง 95% และแบบขวด PET 5% นอกจากนี้ยังมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 6% โดยผู้นำตลาดคือ ยี่ห้อเบอร์ดี้ ครองส่วนแบ่งตลาดถึง 70%ที่มา: http://marketeer.co.th/archives/31046สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จพร้อมดื่มทั้งหมด 26 ตัวอย่างจาก 19 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า1.ยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนมากสุด คือ ดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ มีปริมาณคาเฟอีน 91.1 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร เอาชนะยี่ห้อ คาราบาว สูตรเอสเปรสโซ ที่มีปริมาณคาเฟอีน 91 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร ไปเพียง 0.1 มิลลิกรัมเท่านั้น และสำหรับยี่ห้อที่มีปริมาณคาเฟอีนน้อยที่สุด คือ สตาร์บัคส์ สูตรคอฟฟี่ แฟรบปูชิโน่ มีปริมาณคาเฟอีน 29 มิลลิกรัม/100 มิลลิลิตร2. ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด คือ โคฟี่ กาแฟสำเร็จ มีปริมาณน้ำตาลถึง 49 กรัม/ หน่วยบริโภค ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดมี 2 ยี่ห้อ คือ วีสลิม สูตรเอสเปรสโซและเนสกาแฟ สูตรเอ็กซตร้า ริช มีปริมาณน้ำตาล 14 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน ทั้งนี้สำหรับยี่ห้อ เพรียว คอฟฟี่ มีปริมาณน้ำตาล 0 กรัม/ หน่วยบริโภค เนื่องจากเป็นสูตรไม่มีน้ำตาล(รสหวานจากน้ำตาลเทียม)3. มี 10 ยี่ห้อที่ไม่สามารถตรวจสอบปริมาณน้ำตาลได้ เนื่องจากไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1.มง ปาซิญง (MON PASSION) สูตรคาเฟ่ มอคค่า 2.อาฮ่า (A-Ha) สูตรคาปูชิโนผสมช็อกโกแลต 3.อาราบัส สูตรลาเต้ 4.ไอวี่ กาแฟสูตรโบราณ 5.ยูเอฟซี สูตรกาแฟเย็น เข้มข้นรสกาแฟแท้ 6.เบอร์ดี้ สูตรคลาสสิกและสูตรบาริสต้า เอสเปรสโซ ช็อต 7.เทอร์บัสต้า แมกซ์ สูตรออริจินอล 8.ดาวแมกซ์ คอฟฟี่ และดาว สูตรไอซ์ คลาสสิค เบลนด์ 9.ซูซูกิ โกเมท์ สูตรไอซ์ คอฟฟี่ และ 10.คาราบาว สูตรบัสต้าและสูตรเอสเปรสโซ4. มี 4 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบทั้งปริมาณคาเฟอีนและน้ำตาลได้ คือ 1.ยูซีซี สูตรเอสเพรสโซ่พรีเมี่ยม 2. WONDA WONDERFUL COFFEE 3.FIRE 4.TULLY’S COFFEE BARISTA’Sข้อสังเกต- การแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ กำหนดไว้ว่า การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่ายหรือที่จำหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ (เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด) 1.ชื่ออาหาร 2.เลขสารบบอาหาร 3.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้า หรือสำนักงานใหญ่

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 191 โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย

หลังจากที่ผ่านมาเราเคยทดสอบปริมาณโซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันไปแล้ว และพบว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกือบทั้งหมดในท้องตลาดมีปริมาณโซเดียมสูง โดยการรับประทานหนึ่งห่อจะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูงถึง 50-100% ของความต้องการในแต่ละวัน ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต ได้เรากลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เราตามไปดูกันที่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย ที่เพียงแค่เปิดฝาเติมน้ำร้อนก็พร้อมรับประทานทันที ซึ่งได้รับนิยมมาก โดยเฉพาะตามร้านสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อในสถานที่ชุมชนทั่วไป ในย่านการศึกษา และร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน จะมีบริการบะหมี่ถ้วยให้เลือกจำนวนมากพร้อมมีน้ำร้อนให้บริการเสร็จสรรพ เราจึงเห็นภาพคนยืนซดเส้นซดน้ำกันอย่างเป็นเรื่องปกติ   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปชมผลทดสอบ ปริมาณโซเดียมและโปรตีนในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จากตัวอย่าง 15 ยี่ห้อยอดนิยม โดยตรวจสอบจากข้อมูลโภชนาการที่ระบุไว้บนฉลาก ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีปริมาณโปรตีน/โซเดียมสูงหรือต่ำที่สุด ลองไปดูกันเลย------------------------------------------สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ทำความตกลงกับผู้ผลิต ให้มีการจัดทำฉลากโภชนาการ เพื่อแสดงปริมาณโซเดียมให้ผู้บริโภคได้ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ และบริโภคในปริมาณที่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ควรได้รับต่อวัน คือ สูงสุดไม่เกิน 2,400 มก./วัน (ผู้ชายควรบริโภค 475-1,475 มก. และผู้หญิงควรอยู่ที่ 400-1,200 มก./วัน) ข้อมูลการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่าตลาดปี 2558 : 15,800 ล้านบาทส่วนแบ่งการตลาด: มาม่า 51% ยำยำ 20% ไวไว 20% อื่นๆ 9%สัดส่วนการตลาด: ซอง 71% ถ้วย 29%อ้างอิงข้อมูล: http://marketeer.co.th/archives/51518สรุปผลการเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมจากตัวอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั้ง 15 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบ พบว่า1. มีเพียง 7 ยี่ห้อที่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ ยี่ห้อ 1. เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 2. เซเว่นซีเล็ค บะหมี่ชามกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 3. จายา บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ 4. เกษตร วุ้นเส้นกึ่งสำเร็จรูป รสยำวุ้นเส้นทะเล 5. ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 6. ลิตเติ้ลกุ๊ก บะหมี่ต้มยำทะเล และ 7. มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า 2. จากข้อมูลโภชนาการ พบว่า - ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมเยอะที่สุดคือ เอฟเอฟ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำ มีปริมาณโซเดียม 2,160 มก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโซเดียม 1,000 มก./น้ำหนัก 26 ก. - ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนเยอะที่สุดคือ ซื่อสัตย์ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีปริมาณโปรตีน 7 ก./น้ำหนัก 65 ก. และยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ มีพลัส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทูน่า มีปริมาณโปรตีน 3 ก./น้ำหนัก 26 ก.3. มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีฉลากโภชนาการ ได้แก่ 1. พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล 2. นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น 3. ไวไว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 4. ยำยำ บะหมี่ถ้วยกึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง 5. เซเว่น ซีเล็ค-นิสชิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำทะเลน้ำข้นคิงคัพ 6. นิสชินคัพนูดเดิ้ล บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้งแซ่บ 7. ควิก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสต้มยำกุ้ง 8. มาม่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รสต้มยำกุ้ง โดยจากการตรวจสอบส่วนประกอบสำคัญ พบว่า  ยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ เช่น ปลา กุ้ง หอย มากที่สุดคือ พรานทะเลนู้ดเดิ้ลโบวล์ รสต้มยำรวมมิตรทะเล มีส่วนประกอบของรวมมิตรทะเล 25%/น้ำหนัก 80 ก. และยี่ห้อที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์น้อยที่สุดคือ นิสชิน ชิลลี่นู้ดเดิ้ล รสต้มยำกุ้งน้ำข้น มีส่วนประกอบของกุ้งอบแห้ง 0.47%/ น้ำหนัก 60 ก.ข้อสังเกตการแสดงข้อมูลโภชนาการ พบหลายยี่ห้อไม่มีฉลากโภชนาการแม้ อย.ได้ดำเนินการพิจารณาให้อาหารกึ่งสำเร็จรูปทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ หรือในเบื้องต้นให้แสดงปริมาณโซเดียม เพื่อให้ข้อมูลด้านโภชนาการแก่ผู้บริโภค ด้วยการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมันและโซเดียมแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts; GDA) บนฉลากอาหาร เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสนับสนุนมาตรการป้องกันปัญหาด้านโภชนาการ โดยอาหารกึ่งสำเร็จรูปอย่าง ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตาม พร้อมซองเครื่องปรุง และข้าวต้มปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง จำเป็นต้องมีฉลากดังกล่าว ซึ่งหากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ จัดว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศโดยมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท แต่เรายังพบว่าจากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ มี 8 ยี่ห้อที่ไม่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการตามประกาศฉบับนี้ข้อมูลอ้างอิง :1.http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_moph/P374.PDF2. http://food.fda.moph.go.th/law/data/announ_fda/No.374_Food_nutrition_labels.pdf

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)