ฉบับที่ 201 สารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก

ผลทดสอบ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพสารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก“ขนมปัง” นั้น ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่เป็นเมนูที่หารับประทานได้ง่าย ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงและแถมสะดวกในการพกพาไว้รับประทานระหว่างเดินทางอีกด้วย จึงเป็นทางเลือกที่ทดแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลยทีเดียว  ซึ่งชนิดของขนมปังที่พบได้มากที่สุดตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็คือ ขนมปังพร้อมทาน(Snack Bread)  หรือขนมปังที่มีปริมาณบรรจุต่อ 1 ซอง เหมาะสมพอดีต่อการรับประทาน 1 ครั้ง ขนมปังพร้อมทานมีหลายรูปแบบหลายรสชาติ แต่ที่น่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขนมปังสอดไส้หวาน เช่น ไส้ครีม ครีมสังขยา ช็อกโกแลต  ตลอดจนแยมผลไม้ต่างๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลวิเคราะห์ปริมาณ “สารกันบูด” ในขนมปังไส้หวาน โดยเราเลือกวิเคราะห์ขนมปังไส้หวาน 2 รสชาติแบบไทยๆ...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

1000 point

LINE it!

ฉบับที่ 196 สารกันบูดในเส้นขนมจีน ภาค 2

ถ้ายังจำกันได้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เราเคยนำเสนอ “ผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีน” ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชวนให้ตกใจไม่น้อย เพราะเส้นขนมจีนจำนวน 12 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบการปนเปื้อนของสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ทั้ง 12 ตัวอย่าง แถมมีอยู่ 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ฉลาดซื้อเล่มนี้ เราจะลองสุ่มทดสอบดูปริมาณสารกันบูดในเส้นขนมจีนอีกครั้ง ลองไปดูกันสิว่าสถานการณ์การใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนมีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไร และที่น่าสนใจคือ เราเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนที่เราเคยทดสอบเมื่อคราวที่แล้วด้วย จำนวน 8 ตัวอย่าง และเพิ่มเติมตัวอย่างในการสุ่มทดสอบอีก 9 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง เพื่อดูว่าจากผลการทดสอบครั้งที่แล้วผู้ผลิตเส้นขนมจีนมีการปรับปรุงสินค้าของตัวเองอย่างไรกันบ้างผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีนครั้งที่แล้ว สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเก็บตัวอย่างขนมจีนที่พบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นขนมจีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งยืนยันว่า ขนมจีนเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ต้องแสดงฉลากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการใช้วัตถุกันเสียก็ต้องแจ้งไว้บนฉลาก หากไม่แสดงมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินปริมาณที่กำหนดจะจัดเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท(ที่มา: ช่าว “สาธารณสุข ส่ง จนท.ตรวจเข้ม “สถานที่ผลิต-ขายขนมจีน”” มติชนออนไลน์ 12 มีนาคม 2559)ทางด้าน “ตลาดยิ่งเจริญ” ก็ตื่นตัวกับผลทดสอบ หลังพบว่ามีตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจำหน่ายอยู่ในตลาด ซึ่งทางผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ รีบแสดงความผิดชอบด้วยการตรวจเข้มสินค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจำหน่าย โดยออกเป็นมาตรการที่ชื่อว่า “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” ซึ่งมีทั้งการเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าในตลาด สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าในตลาดไปทดสอบ รวมทั้งเชิญพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดมาทำความเข้าใจเรื่องการเลือกสินค้ามาจำหน่ายต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และพร้อมจัดการขั้นเด็ดขาดกับสินค้าที่หน่วยงานรัฐออกมาให้ข้อมูลยืนยันว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย(ที่มา: ข่าว ““ตลาดยิ่งเจริญ” ออกมาตรการ “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เชิญ อย.ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าทั้งหมด” กรุงเทพธุรกิจ 16 มิถุนายน 2560)ข้อกำหนดการใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนตามข้อกำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 4) ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ซึ่งเป็นกลุ่มสารกันเสีย ในเส้นขนมจีน ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกณฑ์มาตรฐานยังคงเท่ากับการทดสอบเมื่อครั้งที่แล้วผลการทดสอบ-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีจำนวน 17 ตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ - มี 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม ซึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ ชลนิศา เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,114.24 มิลลิกรัมต่อกิโกลกรัม และ 2.ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด 3 ตัวอย่างแรก ได้แก่ 1.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, 2.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 63.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.ยี่ห้อ นิดา เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 91.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่น่าตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษคือ ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่มีการใช้สารกันบูดน้อยที่สุด 2 อันดับแรก เป็นเส้นขนมจีนที่ไม่มีการแสดงฉลากใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า เส้นขนมจีนทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตและจำหน่ายทันทีไม่ได้ผลิตเพื่อส่งไปขายต่อที่อื่น ซึ่งตามกฎหมายอนุโลมให้อาหารในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องแสดงฉลาก เป็นไปได้ว่าผู้ผลิตตั้งใจที่จะผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ทำให้มีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบครั้งที่แล้ว ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบสารกันบูดน้อยที่สุด ก็เป็นตัวอย่างเส้นขนมจีนไม่มียี่ห้อและไม่มีฉลากที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพระประแดงข้อสังเกตจากผลทดสอบ-การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกน้อยที่สุดนั้น  พบเพียงแค่ 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ทดสอบครั้งที่แล้วที่พบน้อยสุดที่ปริมาณ 147.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม -โดยภาพรวมของผลการทดสอบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีนครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามได้ว่า เส้นขนมจีนยังเป็นอาหารที่ตรวจพบว่า มีการปนเปื้อนของสารกันบูด โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารกันบูดที่พบในการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ อยู่ 450.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในการทดสอบครั้งที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 439.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-พบว่า ตัวอย่าง ยี่ห้อ ดาว ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ ที่ผลการทดสอบครั้งที่แล้ว พบกรดเบนโซอิกสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 1121.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ในการทดสอบครั้งนี้พบปริมาณกรดเบนโซอิกอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ 768.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องขอชื่นชมที่มีการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า-ในขณะที่พบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางยี่ห้อ แต่บางยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย การทดสอบครั้งที่แล้วพบปริมาณกรดเบนโซอิกแค่ 462.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในการทดสอบครั้งนี้พบการปนเปื้อนสูงถึง 1274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ต้องฝากหน่วยงานควบคุมกำกับช่วยติดตามมาตรฐานของสินค้าด้วย)การแสดงฉลากยังมีปัญหาจากผลทดสอบที่ได้พบว่าเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีการปนเปื้อนของสารกันบูด เบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 167) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ มีการกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหารลงในฉลาก แต่จากตัวอย่างเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่าง มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดระบุไว้บนฉลากหรือภาชนะบรรจุ ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อ ฉวีวรรณ เก็บตัวอย่างที่ห้างแมคโคร สาขาลาดพร้าว ที่แจ้งไว้ว่าใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอต (INS NO.211)  (INS = international numbering system for food additives หรือ หมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล)ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุต้องมีการแสดงฉลาก ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ 1.อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแก่ผู้บริโภคได้ในขณะจำหน่าย เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น, 2.อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นก็ได้ และบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารนั้น เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น และ 3.อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการเฉพาะภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล สายการบิน สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารโดยตรงให้กับผู้ซื้อจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นของกฎหมาย ต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ อาจมีบ้างบางตัวอย่างที่ผลิตและขายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าวก็เข้าข่ายที่ได้รับการยกเว้นดังนั้นอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกวดขันดูแลให้ผู้ผลิตเส้นขนมจีนปรับปรุงสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 174 พลังงานที่ซ่อนอยู่ในแซนวิชแฮมชีส

ลองคิดกันดูเล่นๆ ว่าในเวลาที่เราเร่งรีบและหิวไปพร้อมๆ กัน อาหารอะไรจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ไม่แน่ว่าเมนูที่มาแรงเป็นอันดับแรกอาจจะหนีไม่พ้น “แซนวิช” อาหารหลักของคนอังกฤษ ที่ได้แพร่หลายความนิยมมาสู่คนไทยในวงกว้าง เพราะเป็นอาหารที่รับประทานได้อย่างสะดวก (ขนมปังประกบกัน สอดไส้ด้วยเนื้อสัตว์ที่ชอบ ราดซอสที่ต้องการก็เสร็จ) แถมยังอยู่ท้องอีกด้วย อย่างไรก็ตามด้วยขนาดเล็กกะทัดรัดของแซนวิช จึงอาจทำให้ใครหลายคนคิดไปว่าอาหารชนิดนี้มีพลังงานน้อย เป็นแค่อาหารว่างแคลอรีต่ำ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปพิสูจน์กันว่า จริงๆ แล้วแซนวิชมีปริมาณไขมันและพลังงานมากน้อยแค่ไหน โดยจะขอเลือกแซนวิชไส้แฮมชีส ซึ่งเป็นไส้ที่ถูกปากคนส่วนใหญ่มากที่สุดมาทดสอบจำนวน 13 ยี่ห้อสรุปผลการทดสอบ- จากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ แซนวิสไส้แฮมชีสที่มีค่าพลังงานมากที่สุด(ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) คือยี่ห้อ Bread Talk 395 กิโลแคลอรี เพราะเป็นขนมปังชุบไข่ รองลงมาคือยี่ห้อ S&P 316 กิโลแคลอรี และแซนวิชไส้แฮมชีสที่มีค่าพลังงานน้อยที่สุดคือยี่ห้อ Victory 110 กิโลแคลอรี - สำหรับตัวอย่างแซนวิชไส้แฮมชีสที่มีปริมาณไขมันมากที่สุด(ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค)คือ ยี่ห้อ Flavor Field 17 กรัม และปริมาณไขมันน้อยที่สุดคือ ยี่ห้อ Puff & Pie และ UFM ที่มีค่าไขมัน 5 กรัมเท่ากัน- มีแซนวิชไส้แฮมชีส 7 ตัวอย่างที่มีปริมาณพลังงานมากกว่าการรับประทานข้าวสวย 1 จานหรือมากกว่า 240 กิโลแคลอรี แสดงให้เห็นว่าบางครั้งการรับประทาน แซนวิชก็ไม่สามารถเป็นอาหารว่างมื้อเบาๆ แคลอรีต่ำได้       ตามหลักโภชนาการปริมาณพลังงานที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน ไม่ควรเกิน 2,000 กิโลแคลอรี และสำหรับของว่างหรืออาหารว่างควรมีค่าพลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการหรือประมาณ 150-200 กิโลแคลอรี โดยปริมาณพลังงานที่เกินความจำเป็นของร่างกายจะถูกสะสมกลายเป็นไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วนและโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวานสูตรคำนวณพลังงานที่น้อยที่สุดร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือในกรณีที่ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย สามารถคำนวณได้ดังนี้BMR สำหรับผู้ชาย = 66 + (13.7 x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม))+(5 x ส่วนสูง (เซนติเมตร))-(6.8 x อายุ)BMR สำหรับผู้หญิง = 665 + (9.6 x น้ำหนักตัว (กิโลกรัม))+(1.8 x ส่วนสูง (เซนติเมตร))-(4.7 x อายุ)เช่น สมมติให้ ก เป็นผู้หญิง อายุ 22 ปี ส่วนสูง 155 ซม. น้ำหนัก 45 กก. BMR จะเท่ากับ 665+(9.6 x 45)+(1.8 x 155)-(4.7 x 22) = 1,273 กิโลแคลอรี**สูตรคำนวณ Basal Metabolic Rate (BMR) ของ Harris Benedict Formula ในกรณีที่วันนั้นเราไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลย-----------------------------------------------------------------แซนวิชมาจากไหนจากหนังสือตำนานอาหารโลก คำว่า แซนวิช มีที่มาจากการตั้งตามชื่อของ จอห์น มอนทากิว (John Montague 1781-1792) หรือ เอิร์ลแห่งแซนวิชที่ 4 (4th Earl of Sandwich) ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกองทัพเรืออังกฤษและมีนิสัยชอบเล่นการพนัน โดยเขาได้คิดค้นรูปแบบของอาหารชนิดนี้ขึ้นมา ด้วยการนำเนื้อประกบขนมปัง 2 แผ่น เพื่อให้นิ้วของเขาไม่มันจนเกิดตำหนิบนไพ่ให้คู่แข่งเดารูปแบบการเล่นได้ ซึ่งไม่นานอาหารดังกล่าวก็ได้รับความนิยมตามโต๊ะพนันของอังกฤษจนแพร่หลาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชาวอังกฤษอย่างรวดเร็วแม้แซนวิชจะอยู่ท้องแต่มีสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับต่อวันน้อยไปหน่อย เพราะส่วนมากมักประกอบด้วยแป้งและไขมัน จึงควรเพิ่มสารอาหารด้วยการเติมผักที่ชอบเช่น ผักสลัด ผักกาดหอม มะเขือเทศ และควรเลือกแซนวิชที่ใช้ขนมปังโฮลวีท (Whole wheat bread) เพราะมีสารอาหารและใยอาหารมากกว่าขนมปังขัดขาว  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 171 น้ำพริกนรกกับสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย                 น้ำพริกประเภทผัดอย่าง น้ำพริกนรก เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหาย เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงมองหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค และฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ได้แก่  น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จาก บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และ ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) ตลาด อตก.        ปริมาณวัตถุกันเสีย กลุ่มอาหาร กฎหมายกำหนดปริมาณวัตถุกันเสีย สูงสุดไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ถือเป็นปริมาณสูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำพริกได้ด้วย องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิกและซอร์บิก) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะ ü ควรเลือกซื้อน้ำพริกที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือใส่แต่น้อย และเลือกซื้อจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ü ในแต่ละวันเราบริโภคอาหารหลายชนิด หากวันไหนกินแต่อาหารที่มีวัตถุกันเสียผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเกิดการสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะตับและไต ü อาการเบื้องต้นที่พบเมื่อได้รับวัตถุกันเสียปริมาณมาก คือ อาการท้องเสีย เพราะวัตถุกันเสียไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 158 เยลลี่ กับสารกันบูด

เดี๋ยวนี้เยลลี่ไม่ได้เป็นแค่ขนมหวานทานเล่นสำหรับเด็กๆ แต่มันได้กลายเป็นอาหารมื้อหลักของสาวๆ บางคน เพราะเชื่อคำโฆษณาที่บอกว่าให้ทานเยลลี่แก้หิว กินแล้วอิ่มท้อง? กินได้ไม่ต้องกลัวอ้วน แถมเยลลี่หลายยี่ห้อกลายเป็นตัวช่วยเรื่องความสวยความงาม เพราะผู้ผลิตเขาเติมวิตามินนู้นนี่นั้น บอกว่ากินแล้วขาว กินแล้วสวย ในวันที่เยลลี่เปลี่ยนไป มีรสชาติใหม่ผลิตออกมายั่วใจทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ฉะนั้นก่อนที่เราจะกินเยลลี่ถ้วยต่อไป จะดีมั้ยถ้าเรารู้ว่าผู้ผลิตเขาผสมอะไรลงในเยลลี่บ้าง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราควรรู้ว่าเขาใส่มาให้เรามากน้อยแค่ไหน ก็คือ “สารกันบูด” เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย ถ้าเราได้รับในปริมาณมากๆ ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใครเป็นแฟนฉลาดซื้อคงจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า เจ้าสารกันบูดในอาหารนั้น สนิทชิดเชื้อกับผู้บริโภคอย่างเราราวกับคนในครอบครัว เพราะอาหารสำเร็จรูปหลากหลายชนิดที่วางขายอยู่ในท้องตลาดล้วนแต่ผูกขาดเรื่องการใช้สารกันบูด ไล่ตั้งแต่ พวกอาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป พวก หมูยอ ไส้กรอก แหนม กุนเชียง อาหารที่ทำจากแป้งอย่าง เค้ก ขนมปัง เนย ช็อกโกแลต อาหารที่ทำมาจากผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำอัดลม แยม และแน่นอนว่ารวมถึง "เยลลี่"   แคนดี้ฟรุ๊ต -ตัวอย่าง เยลลี่ที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่สูงที่สุด คือตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ผลิตโดยบริษัท แคนดี้ทอย จำกัด ซึ่งปริมาณของสารกันบูดแยกเป็น ซอร์บิค 414.20 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม และ เบนโซอิค 564.56 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม รวมพบวัตถุกันเสียทั้ง 2 ชนิดรวมกันเท่ากับ 978.76 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม       อย่าเพิ่งตกใจ -แม้จะพบปริมาณสารกันบูด แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะปกติเราคงไม่ได้กินเยลลี่ครั้งละ 1 กิโลกรัม อย่างเยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ที่ปริมาณต่อ 1 ชิ้นน้ำหนักอยู่ที่ 40 กรัมเท่านั้น พอเปรียบเทียบกับปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับว่า เยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” 1 ชิ้น จะมีสารกันบูดเฉลี่ยอยู่ที่ 39.15 มิลลิกรัม -ตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” นอกจากจะพบปริมาณสารกันบูดสูงที่สุดแล้ว ยังพบว่าเป็นตัวอย่างที่มีปัญหาเรื่องฉลาก เพราะบอกเพียงชื่อผู้ผลิต แต่ไม่ได้บอกสถานที่ตั้ง ไม่บอกวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ที่สำคัญคือไม่มีการแจ้งเรื่องการใช้สารกันบูดทั้งๆ ที่มีการใช้ในผลิตภัณฑ์ -สำหรับตัวอย่างเยลลี่อีก 4 ตัวอย่างที่พบการใช้สารกันบูด พบปริมาณซอร์บิคและเบนโซอิครวมกันไม่ถึง 300 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม   ฉลาดซื้อแนะ แม้ผลวิเคราะห์วัตถุกันเสียในขนมเยลลี่พบการใช้ เพียง 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด (5 จาก 15 ตัวอย่าง) และตัวอย่างที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดก็ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่เยลลี่ก็จัดเป็นขนม เป็นแค่ของกินเล่น ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ฉลาดซื้อจึงอยากขอแนะนำว่าให้กินแต่น้อยกินแต่พอดี อย่ากินจนอิ่มหรือกินแทนข้าว โฆษณาที่บอกว่าให้กินเยลลี่แทนข้าวได้ กินแทนมื้อเย็น กินแล้วอิ่มเหมือนกัน อย่าได้เชื่อโฆษณาเหล่านี้โดยเด็ดขาด เพราะแม้ว่าจะทานเยลลี่แล้วช่วยให้อิ่มท้อง แต่ถ้าเลือกกินเยลลี่แทนอาหารมื้อหลัก ร่างกายเราก็จะขาดสารอาหาร  เป็นผลเสียต่อสุขภาพ --------------------------------------------------------------------------------------------------   เยลลี่ = ฆาตกร !? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าขนมเยลลี่ สีสันสดใส อร่อยหวานนุ่ม จะเป็นตัวการร้ายทำให้เด็กเสียชีวิตมาแล้ว?! เมื่อหลายปีก่อนเคยทีกรณีที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบ ต้องเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ที่คุณแม่เป็นคนป้อน เหตุเพราะเนื้อเยลลี่ที่กินเข้าไปเกิดไปติดคอ เด็กน้อยสำลักเยลลี่ หายใจไม่ออก จนสุดท้ายเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งเรื่องน่าเศร้าครั้งนี้เกิดเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวคุณแม่เองลืมคิดไปว่าเยลลี่แม้จะดูเป็นเนื้อสัมผัสนิ่มๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ของเหลว ก่อนกลืนเด็กยังต้องเคี้ยวเนื้อเยลลี่ให้ละเอียดเสียก่อน ซึ่งเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ภาษาทำให้เผลอกลืนเนื้อเยลลี่เข้าไปทันที ซึ่งจะทำให้ติดคอ สำลักเนื้อเยลลี่ ทำให้หายใจไม่ออก จนเกิดเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างที่เป็นข่าว ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ ทำให้ อย. ต้องรีบออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้นอีก โดย อย. ได้มาออกมาคุมเข้มเรื่องฉลากผลิตภัณฑ์เยลลี่ ที่ต้องมีการระบุข้อความคำเตือนเพื่อความปลอดภัยในการกินขนมเยลลี่ ซึ่งคำเตือนจะมีอยู่ 5 ข้อความหลักๆ ประกอบด้วย 1.เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ห้ามรับประทาน 2.ก่อนรับประทานเปิดฝาออกให้หมดทุกครั้ง (ที่มีคำเตือนแบบนี้ เพราะหลายคนที่เวลากินเยลลี่มักจะใจร้อน โดยเฉพาะพวกเยลลี่อันเล็กๆ ขนาดพอคำ ที่ยังไม่ทันจะเปิดฝาหรือพลาสติกที่ปิดบรรจุภัณฑ์ที่ใส่เยลลี่เอาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย ก็จะรีบดูดเนื้อเยลลี่กินกันแล้ว ซึ่งแบบนี้เสี่ยงอันตราย เพราะเวลาที่เราดูดเนื้อเยลลี่แรงๆ เนื้อเยลลี่อาจจะพุ่งเข้าคอ ทำให้เราสำลัก หายใจติดขัด อาจจะเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ ยิ่งถ้าเป็นเยลลี่ชนิดที่มีการผสมอย่าง บุก วุ้นมะพร้าว ยิ่งต้องระวัง เพราะเนื้อสัมผัสของส่วนผสมเหล่านี้มีความเหนียวยิ่งกว่าเนื้อเยลลี่เสียอีก) 3.ห้ามวิ่งเล่นหรือนอน ขณะรับประทาน 4.เคี้ยวก่อนกลืนทุกครั้ง 5.รับประทานอย่างช้าๆ อย่าเร่งรีบ ระวังสำลัก โดยคำเตือนเหล่านี้จะต้องไปปรากฏอยู่ทั้งบนฉลาก ในโฆษณาไม่ว่าจะทางทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ เพื่อบอกเตือนคนที่ชอบกินเยลลี่ โดยเฉพาะเด็กๆ ให้อร่อยอย่างระมัดระวัง   “กินเยลลี่แทนข้าว” ความเชื่อผิดๆ ที่ไม่ควรทำตาม หลายคนน่าจะเคยได้เห็นโฆษณาที่บอกประมาณว่า ทานเยลลี่แล้วอยู่ท้องเหมือนกินข้าว ใครไม่อยากอ้วนก็ให้กินเยลลี่ ไม่ต้องทานมื้อเย็น ซึ่งฉลาดซื้ออยากบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นความคิดที่ผิด และไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ทานเยลลี่แล้วจะช่วยทำให้อยู่ท้อง แต่ว่าเราจะไม่ได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย แม้ในโฆษณาจะอ้างว่ามีการใส่วิตามินนู้นนี่นั้น แต่ก็น้อยมากๆ สู้เรากินอาหารธรรมดาทั่วไป กินพวกผัก ผลไม้ ยังจะได้วิตามินมากกว่า แถมร่างกายยังได้สารอาหารครบถ้วน ถ้าอ่านในคำเตือนบนฉลากพวกผลิตภัณฑ์เยลลี่ จะเห็นคำเตือนว่า “เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรัประทาน” เหตุผลก็คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ หากกินเข้าไปแล้วจะทำให้อิ่ม ทำให้กินอาหารอย่างอื่นไม่ลง ร่างกายก็จะขาดสารอาหาร ซึ่งเด็กๆ และคนที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ควรได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราได้จากการกินเยลลี่หลักๆ ก็คือ น้ำตาล ซึ่งในเยลลี่ที่บอกว่ากินแล้วอิ่มท้องไม่ต้องกินข้าว 1 ถ้วย หรือ 1 ซอง จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6 – 10 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม เท่ากับว่าเฉลี่ยแล้วเราได้รับน้ำตาลจากการทานเยลลี่ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่เหมาะกับร่างกายของเราใน 1 วัน แม้อาจจะดูไม่มาก แต่อย่าลืมว่านี่คือการที่เราทานน้ำตาลล้วนๆ โดยไม่ได้รับสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเลย นอกจากนี้เรายังได้รับสารสังเคราะห์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น สีผสมอาหาร สารวัตถุกันเสีย ซึ่งสารพวกนี้ถ้าร่างกายเรารับมากๆ ก็อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ คิดดูแล้วไม่ต่างอะไรกับการที่เราดื่มน้ำหวานน้ำอัดลม เพราะฉะนั้นอย่ามองเยลลี่เป็นอาหารมื้อหลัก อย่าเลือกเป็นเมนูแทนการกินข้าว เพราะเราจะไม่ได้สารอาหารอะไรเลย หากอยากเลือกความสะดวก ให้เลือกเป็นการดื่มนม ดื่มน้ำเต้าหู้ หรือกินโยเกิร์ตน่าจะดีกว่า แต่อย่างไรเสียการอาหารให้หลากหลายให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่คือสิ่งที่ดีที่สุด    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ความคิดเห็น (0)