ฉบับที่ 208 ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก

ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวการเข้าปราบปราม จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย กลายเป็นกระแสสังคมที่ช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งอันตรายที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และน่าจะเกิดความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังต้องการกำลังเสริมจากรัฐในด้านการกำกับควบคุมที่เข้มงวดต่อเนื่อง และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะถึงแม้รัฐจะออกมาตรการที่รัดกุมแค่ไหน ภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ก็คงไม่หมดไปง่ายๆ ผู้บริโภคยังเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับผู้กระทำผิดทั้งรายใหม่และรายเก่า ดังนั้นการสร้างเครื่องมือตรวจสอบและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยผู้บริโภคได้ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

1000 point

LINE it!

  เรื่องเกี่ยวข้อง: ไซบูทรามีน อาหาร ยาลดน้ำหนัก

ฉบับที่ 239 อาหารพร้อมทานร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต จานไหนโซเดียมสูง

        วิถีชีวิตแบบเร่งรีบของคนทุกวันนี้ ก่อให้เกิดวิถีการบริโภคอาหารที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว กล่าวคือ ง่าย อิ่มและไม่แพง  ยิ่งเมื่อบวกเข้ากับสถานการณ์พิเศษโควิด 19 ที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวกับชีวิตวิถีใหม่ ยิ่งส่งผลให้อาหารพร้อมรับประทาน (Ready to eat) ทั้งแบบแช่เย็นและแช่แข็งมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะตอบโจทย์ได้อย่างดี ไม่ต้องไปนั่งในร้านอาหาร ไม่ต้องยืนรอคิว ไม่ต้องสั่งให้คนนำอาหารมาให้ แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อแล้วเลือกหยิบเมนูที่ชอบ นำเข้าไมโครเวฟอุ่นร้อนก็รับประทานได้ในเวลาอันรวดเร็ว         ดังนั้นเมื่อนิตยสารฉลาดซื้อได้รับข้อมูลที่น่าสนใจจาก “สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย” ซึ่งจัดทำโครงการติดตามปริมาณโซเดียมในอาหารพร้อมบริโภคและกึ่งสำเร็จรูป เพื่อรถรงค์ ลดเค็ม ลดโรค โดยคณะทำงานของทางโครงการฯ ได้เก็บตัวอย่างสินค้า อาหารพร้อมทานทั้งแบบแช่เย็น แช่แข็ง จำนวนถึง 53 รายการ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 แล้วนำมาอ่านฉลากโภชนการว่าแต่ละเมนูที่เลือกมามีปริมาณโซเดียมเท่าไร ก็ทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนว่า อาหารพร้อมทานแบบแช่เย็น แช่แข็งนั้น มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง เป็นหนึ่งในอาหารกลุ่มเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรตไต และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่ผู้บริโภคทั่วไปจะได้รับโซเดียมเกินในแต่ละวัน         ข้าวคลุกน้ำพริกกะปิปลาทู คือแชมป์โซเดียมสูง        จากผลการสำรวจฉลากอาหารพร้อมรับประทานแบบแช่เย็น แช่แข็ง ทั้ง 53 ตัวอย่าง ซึ่งประกอบไปด้วย        · อาหารจานหลัก ได้แก่ ข้าวผัด ข้าวหน้าต่างๆ ข้าวกะเพรา ยากิโซบะ และผัดไทย (จำนวน 35 ตัวอย่าง)         · อาหารอ่อน ได้แก่ โจ๊ก ข้าวต้ม เกี๊ยวน้ำ (จำนวน 15 ตัวอย่าง)         · ขนม จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ บัวลอยมันม่วง บัวลอยเผือก และสาคูถั่วดำ         พบว่ามีค่าเฉลี่ยปริมาณโซเดียมทั้ง 53 ตัวอย่าง อยู่ที่ 858 มิลลิกรัม (ระหว่าง 210 – 1,390 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค) โดยเมื่อแบ่งเป็นกลุ่มอาหาร           o กลุ่มอาหารจานหลัก ปริมาณโซเดียมอยู่ระหว่าง 450 – 1,390   มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค        o กลุ่มอาหารอ่อน ปริมาณโซเดียมอยู่ระหว่าง 380 – 1,340   มิลลิกรัม/ หน่วยบริโภค และ        o ขนมหวาน ปริมาณโซเดียมอยู่ระหว่าง 210 - 230  มิลลิกรัม/ หน่วยบริโภค            และ 10 อันดับเมนูโซเดียมสูง จากการสำรวจครั้งนี้ ได้แก่        1.ข้าวคลุกน้ำพริกกะปิปลาทู อีซี่โก 1,390 มก./  หน่วยบริโภค 240 กรัม        2.ผัดไทยกุ้งสด อีซี่โก  1,360 มก./ หน่วยบริโภค 225 กรัม        3..ข้าวต้มหมู แฟมิลีมาร์ท 1,340 มก./ หน่วยบริโภค 300 กรัม        4.ผัดไทยกุ้งสด มาย ช้อยส์ 1,310 มก./ หน่วยบริโภค 235 กรัม        5..ยากิโซบะหมู อีซี่โก  1,290 มก./ หน่วยบริโภค 195 กรัม.        6. ข้าวผัดคะน้าปลาเค็ม อีซี่โก 1,280 มก. / หน่วยบริโภค 210 กรัม        7 ข้าวผัดกะเพราขี้เมาไก่ อีซี่โก 1,200 มก. / หน่วยบริโภค 200 กรัม        8. ข้าวผัดปู เดลี่ไทย  1,200 มก. / หน่วยบริโภค 250 กรัม        9. เกี๊ยวกุ้ง ซีพี  1,160 มก. / หน่วยบริโภค 145 กรัม        10.เกี๊ยวกุ้ง บิ๊กมีล  1,130 มก. / หน่วยบริโภค 300 กรัม ทำไมอาหารแช่เย็นแช่แข็งถึงมีโซเดียมสูง         ในการผลิตอาหารแช่เย็นแช่แข็ง นอกจากโซเดียมซึ่งอยู่ในรูปของวัตถุดิบ และเครื่องปรุงรสต่างๆ อย่างน้ำปลา ซีอิ๊ว แล้ว ยังมีการใส่วัตถุเจือปนอาหาร เพื่อช่วยให้อาหารคงสภาพดีไปจนตลอดอายุ เช่น วัตถุกันเสีย (โซเดียม เบนโซเอต) ผงชูรส (โมโนโซเดียม กลูตาเมต) สารเพิ่มความข้นเหนียว. (โซเดียม อัลจิเนต)  ฯลฯ ซึ่งวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ทางการอนุญาตให้ใช้ในอาหารได้ แต่ก็เพิ่มปริมาณโซเดียมเข้าสู่อาหารแช่เย็นแช่แข็งด้วยเช่นกัน แพทย์แนะวิธีบริโภคอาหารแช่เย็นแช่แข็ง         “อาหารแช่แข็ง หากมีความจำเป็นต้องรับประทานควรดูที่ฉลากโภชนาการ หากมีโซเดียมไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อมื้อ หรือบวกได้อีก 100 มิลลิกรัมต่อมื้อ ถือว่ายังได้รับปริมาณโซเดียมในระดับที่ไม่อันตราย” ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม และอาจารย์ประจำหน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 202 คนกรุงเทพฯ ซื้อ (อาหาร) อะไรเป็น “ของฝาก” เมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด

วันหยุดยาวช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายๆ คนก็มักจะเดินทางออกไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเวลาไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ สิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนจะต้องทำก็คือการหาซื้อของฝาก แน่นอนว่าของฝากยอดนิยมอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นของกิน ไม่ว่าจะเป็นพวกขนมนมเนย ของหวาน ของคาว มีให้เลือกสารพัด ซึ่งแต่ละภาคแต่ละจังหวัดในประเทศไทย ของฝากที่เป็นที่นิยมหรือของขึ้นชื่อก็มีความแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณ์ตามแต่พื้นที่นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร ดูว่าของกินประเภทไหนที่เป็นของฝากยอดนิยมของแต่ละภาคในประเทศที่คนกรุงเทพฯ ซื้อกลับมาฝากญาติสนิม มิตรสหาย นอกจากนี้ยังสำรวจดูพฤติกรรมการอ่านฉลากก่อนซื้อของผู้บริโภค ว่าให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อมากน้อยแค่ไหนการสำรวจครั้งนี้ เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560 แบ่งเป็น 1.เพศ ชาย ร้อยละ 57.6 หญิง ร้อยละ 42.42.อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 10.2 21-25 ปี ร้อยละ 31.9 26-30 ปี ร้อยละ 17.0 31-35 ปี ร้อยละ 15.7 36-40 ปี ร้อยละ 12.5 41-45 ปี ร้อยละ 6.6 46-50 ปี ร้อยละ 4.4 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 1.73.อาชีพ นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 38.4 ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.3 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 นักธุรกิจ / เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 13.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน ร้อยละ 9.4ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร1.ประเภทของของฝากที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรกขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6อาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 ของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0ผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9 2.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือ 5 อันดับแรก น้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 แคบหมู ร้อยละ 29.7 หมูยอ ร้อยละ 25.0 ไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 ใบชา ร้อยละ 18.3 3.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 อันดับแรก แหนมเนือง ร้อยละ 34.7 หมูยอ ร้อยละ 29.4 กุนเชียง ร้อยละ 26.9 แหนม ร้อยละ 19.7 น้ำพริก ร้อยละ 18.34.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออก 5 อันดับแรก ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 ข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 ผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 น้ำปลา ร้อยละ 17.55.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคกลาง 5 อันดับแรก ขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 สายไหม ร้อยละ 27.1 โมจิ ร้อยละ 26.8 กะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.96.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันตก 5 อันดับแรก ทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 ขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 ขนมชั้น ร้อยละ 25.3 ขนมปังสับปะรด ร้อยละ 23.4 มะขามสามรส ร้อยละ 19.7 7.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ 5 อันดับแรก ปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 กะปิ ร้อยละ 29.3 กุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 น้ำพริก ร้อยละ 22.3 เครื่องแกง ร้อยละ 21.3 ก่อนซื้อของฝาก เราดูวันหมดอายุบนฉลากกันมากน้อยแค่ไหน? ข้อมูลบนฉลากถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นตัวช่วยก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อาหาร แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของฝากชื่อดังหลายชนิดที่ทำสดใหม่ทุกวันและวางขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง ไม่ได้ส่งต่อไปจำหน่ายที่อื่น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแสดงฉลาก แต่อย่างน้อยข้อมูลสำคัญอย่าง วันเดือนปีที่หมดอายุ และ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ก็ควรมีการแจ้งไว้ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยผลสำรวจเรื่องการดูข้อมูลวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ  ร้อยละ 35.4 ไม่ได้ตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลาก ร้อยละ 19.8 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่า ส่วนการดูข้อมูลเรื่องสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิตบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 34.2 ไม่ได้ตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิต ร้อยละ 21.0 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่าเคยได้ของฝากที่หมดอายุบ้างหรือเปล่า? นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจในมุมของคนที่ได้รับของฝาก ว่ามีประสบการณ์เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุแล้วบ้างหรือเปล่า ผลสำรวจพบว่า  ร้อยละ 16.4 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุ ร้อยละ 54.8 ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุ ร้อยละ 28.8 ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับของฝากที่หมดอายุหรือเปล่าอันตรายที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมอาหารของฝากน้ำพริก – ระวังจุลินทรีย์และสารกันบูด เคยมีข่าวเมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15  สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ชนิดของวัตถุกันเสียที่พบมากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค รวมทั้งปัญหาเรื่องการปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens)ที่มา : ข่าว “สุ่มตรวจ“น้ำพริกสำเร็จ”เปียก-แห้งไม่ผ่านมาตรฐาน15 %”, คอลัมน์คุณภาพชีวิต, เว็บไซต์ คมชัดลึก, 20 กันยายน 2559แหนมเนือง - ผักสดไม่สะอาดระวังเชื้อโรค แหนงเนือง อีกหนึ่งของฝากยอดนิยมของภาคอีสานที่หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะรสชาติอร่อยแล้ว ยังถูกมองว่าเป็นอาหารสุขภาพเพราะมีผักหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ  แต่เมนูแหนมเนืองก็อาจมีอันตรายแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อจุลินทรีย์ อี.โคไล, ซาลโมเนลลา, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อเหล่านี้มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดิน และอากาศ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักสด รวมทั้งเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่บริโภคโดยไม่ผ่านการปรุงให้สุกเพียงพอ เช่น แหนม และ หมูยอปลาหมึกแห้ง – เสี่ยงโลหะหนัก อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงในเรื่องของการตกค้างของโลหะหนัก เช่น ปรอท แคดเมียม ตะกั่วและสารหนู ซึ่งเป็นการปนเปื้อนตามธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันนี้แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีการเจือปนของของเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น  เมื่อปี 2553 ฉลาดซื้อเคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้งและกุ้งแห้ง เพื่อดูการปนเปื้อนของโลหะหนัก ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท พบว่า ปลาหมึกแห้งทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มสำรวจซึ่งเก็บตัวอย่างจากทั่วประเทศ ทั้งใน กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรสาคร และ สงขลา พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักทุกตัวอย่าง  โดยพบการปนเปื้อนของแคดเมียม เกินมาตรฐานที่กฎหมายอนุญาต คือ ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมจำนวน 4 ตัวอย่าง  ส่วนโลหะหนักอีก 2 ชนิด คือ ตะกั่ว และ ปรอท พบการปนเปื้อนแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด (ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสุ่มวิเคราะห์ ยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มยาฆ่าแมลง (ไพรีทรอยด์) ถึง 5 จาก 8 ตัวอย่าง ซึ่งตามปกติไม่ควรพบการปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวคำแนะนำในการเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก 1.สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร 2.สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน 3.ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภค 4.ต้องอ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อรู้ถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่าง วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หากไม่มีฉลากแจ้งควรสอบถามจากผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 201 น้ำเชื่อมฟรุกโตสในอาหาร ก่อปัญหาต่อสุขภาพจริงหรือ

ความหวาน แทบจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เพราะนอกจากจะช่วยทำให้รสชาติกลมกล่อมถูกปากแล้ว ยังส่งผลให้ผู้ที่บริโภครู้สึกสดชื่น หายอ่อนเพลียเพราะได้รับพลังงานในเวลาอันรวดเร็ว อย่างไรก็ตามความหวานในอาหารกลับแฝงอันตรายที่สามารถส่งผลร้ายต่อสุขภาพ ทั้งในแง่ก่อให้เกิดอาการเสพติดความหวาน และเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วนหรือความดันโลหิตสูงน้ำตาลทรายแม้จะยังคงเป็นแหล่งความหวานของอาหาร แต่รู้หรือไม่ว่า ที่มาของรสหวานในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ กลับไม่ได้เกิดจากน้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียว แต่มาจากส่วนผสมที่เรียกว่า “น้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง” (High Fructose Corn Syrup หรือ HFCS)  ซึ่งให้รสหวานได้มากกว่าน้ำตาลทรายธรรมดา แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้มากกว่าน้ำตาลทรายเสียอีก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักวิชาการอิสระสายอาหารและโภชนาการของฉลาดซื้อ เคยให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าวไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อประจำฉบับที่ 173 คอลัมน์ของฝากจากอินเทอร์เน็ต เรื่อง ดื่มน้ำหวานในฤดูร้อนพึงระวัง ว่าน้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง(HFCS) เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการย่อยแป้งข้าวโพดจนเหลือเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสนั้น มันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เพราะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 1.3 เท่า รวมทั้งเป็นน้ำเชื่อมใสไม่มีสี จึงไม่บดบังสีของอาหารทำให้ดูน่าดื่มกิน ดังนั้นเมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายที่มีราคาสูงและมักเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อใช้ในอาหารแล้ว จึงถือว่าคุ้มค่ากว่าในด้านราคาต้นทุนและความสะดวกในการผลิต อย่างไรก็ตามกลับมีงานวิจัยบางฉบับได้รายงานว่า ผู้ที่บริโภคน้ำเชื่อมข้าวโพดชนิดที่มีฟรุกโตสสูงนี้เป็นประจำ จะทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากผิดปกติ เพราะน้ำเชื่อมดังกล่าวส่งผลต่อความอยากอาหาร ทำให้กินอาหารอื่นได้ในปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้น โดยเฉพาะไขมันชนิดแอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL-C) ซึ่งเป็นไขมันเลวที่ควรหลีกเลี่ยง รวมทั้งอาจทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน หรือกรดไขมันอิสระที่อาจส่งผลต่อภาวะไขมันเกาะตับ(Fatty Liver) ได้อีกด้วย เพราะน้ำเชื่อมดังกล่าวร่างกายนำไปเผาผลาญได้ที่เซลล์ตับเท่านั้น ดังนั้นพลังงานที่เกิดที่ตับ จึงมีความเหลือเฟือจนน่าจะส่งผลให้เกิดการสร้างไขมันสะสมขึ้นมาได้ ซึ่งต่างจากน้ำตาลโมเลกุลเดียวประเภทอื่น เช่น กลูโคส ที่สามารถเผาผลาญได้จากเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ประเด็นนี้ผู้บริโภคในต่างประเทศให้ความสนใจอย่างมาก ดังนั้นบรรดาผู้ผลิตอาหารจึงต้องทำให้ฉลากอาหารหรือเครื่องดื่มของตน มีการระบุที่ชัดเจนในฉลากว่า มีการผสมน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง (HFCS) หรือไม่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจในการเลือกซื้อ กลับมาที่ฉลากอาหารในบ้านเรา...และการสุ่มตัวอย่างเพื่อค้นหา HFCSเพื่อเป็นการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง(HFCS) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาไปส่องฉลากผลิตภัณฑ์ที่ให้รสหวานอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ขนมขบเคี้ยว แยมหรือเยลลี่ต่างๆ จำนวน 25 ตัวอย่าง ว่าจะมีสินค้าอะไรหรือยี่ห้อใดบ้างที่ใช้น้ำเชื่อมดังกล่าวเป็นส่วนประกอบ ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยผลโดยสรุปจากตัวอย่างสินค้าที่นำมาพิจารณาฉลากทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเครื่องดื่ม กลุ่มแยมและกลุ่มขนม/ลูกอม ทั้ง 25 ตัวอย่าง พบว่า- มีเพียง 1 ยี่ห้อที่ระบุว่า ไม่มีส่วนผสมของไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป (No high fructose corn syrup) คือ วิลเดอร์เนส (WILDERNESS) Premium ไส้ผลไม้กวนสตรอเบอร์รี่- มี 2 ยี่ห้อที่ระบุว่ามีส่วนผสมของ ไฮฟรุกโตสคอร์นไซรัป คือ 1. ไดอาน่า (Diana) มาราสชิโน เชอร์รี่ ชนิดมีก้าน และ 2. วิลเดอร์เนส (WILDERNESS) Original ไส้ผลไม้กวนบลูเบอร์รี่ - มี 1 ยี่ห้อที่ฉลากภาษาไทยระบุส่วนผสมว่ามี “น้ำเชื่อมข้าวโพด” แต่ฉลากภาษาอังกฤษระบุส่วนผสมว่า “High Fructose Corn Syrup” คือ สมัคเกอร์ส (SMUCKER’S) ซันเดย์ ไซรัป น้ำเชื่อมรสช็อกโกแลต - อีก 21 ตัวอย่างระบุว่ามีส่วนผสมของ ฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด- มี 1 ยี่ห้อไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ คือ เอสแอนด์ดับบลิว (S&W) เชอร์รี่ดำแกะเมล็ดในน้ำเชื่อม ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องฉลาก ที่กำหนดให้อาหารในภาชนะบรรจุต้องแสดงวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุรายละเอียดการสุ่มตัวอย่างตารางที่ 1 :  กลุ่มเครื่องดื่มตารางที่ 2 : กลุ่มแยมตารางที่ 3: กลุ่มขนม, ลูกอมข้อสังเกตเรื่องฉลากอาหาร 1. ฉลากส่วนผสมไม่สมบูรณ์พบว่า สินค้าส่วนใหญ่มักใช้คำว่ามี ฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด แทนคำว่า น้ำเชื่อมฟรุกโตสหรือน้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง (High Fructose Corn Syrup หรือ HFCS) ซึ่งอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคว่า ส่วนประกอบดังกล่าวเป็นน้ำเชื่อมชนิดเดียวกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ทั้งฟรุกโตสไซรัป/น้ำเชื่อมฟรุกโตส และคอร์นไซรัป/น้ำเชื่อมข้าวโพด สามารถสร้างผลกระทบต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกับ “น้ำเชื่อมข้าวโพดที่มีฟรุกโตสสูง” (HFCS) จึงอาจเป็นเรื่องสมควรที่ฉลากต้องมีคำเตือนในการบริโภค หรือระบุรายละเอียดส่วนผสมให้ชัดเจนกว่านี้2. ฉลากโภชนาการไม่ครอบคลุมแม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ แต่ฉลากโภชนาการนั้นนับเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค เพราะช่วยให้ทราบถึงปริมาณที่แท้จริงของไขมัน พลังงานหรือน้ำตาลในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อหรือบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย และได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับสุขภาพของตนเอง รวมทั้งสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หรือมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามจากผลการสุ่มตัวอย่างครั้งนี้พบว่า มีเพียงร้อยละ 50 ที่มีฉลากโภชนาการ และมี 9 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีฉลากโภชนาการเป็นภาษาไทย3. ฉลากวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ อยู่ในตำแหน่งที่อ่านยากตัวอย่างที่นำมาพิจารณาฉลากทั้งหมดครั้งนี้ มีหลายกลุ่มสินค้ามีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งพบว่าตำแหน่งของวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ มีความแตกต่างกันไปในทุกผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะสามารถตรวจสอบวันที่ได้ นอกจากนี้บางตัวอย่าง เช่น คุคุริน (KUKURIN) น้ำชาเขียวคั่ว สูตรรสกลมกล่อม มีการระบุวันเดือนปีที่ผลิต/หมดอายุ อยู่ในตำแหน่งปากขวด ซึ่งใช้สีของตัวอักษรคล้ายกับสีของสินค้า ทำให้ตรวจสอบได้ยากมากขึ้นไปอีก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 193 สารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม

เชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนชื่นชอบการบริโภคนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ มาจากคุณค่าหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ในเครื่องดื่มดังกล่าว เพราะถั่วเหลืองมีไขมันอิ่มตัวน้อยและมีโปรตีนสูงใกล้เคียงกับนมวัว ทำให้ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรือรับประทานมังสวิรัติสามารถดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมดลูกได้อีกด้วย โดยปัจจุบันเราสามารถเลือกซื้อนมถั่วเหลืองมาบริโภคกันได้ง่ายขึ้น ผ่านร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพราะมีการจำหน่ายนมถั่วเหลืองในรูปแบบสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ทันทีนั่นเองอย่างไรก็ตามนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่เราควรได้รับต่อวัน หรือไม่ควรเกินวันละ 24 กรัม/วัน (6 ช้อนชา) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงสุ่มทดสอบปริมาณสารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มจำนวน 34 ตัวอย่าง จาก 9 ยี่ห้อ ซึ่งตรวจสอบด้วยการดูฉลากว่ายี่ห้อไหนจะใส่น้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน รวมทั้งตรวจสอบปริมาณโปรตีนและแคลเซียมในแต่ละยี่ห้ออีกด้วย โดยผลทดสอบจะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมถั่วเหลือง- นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่นำมาแปรรูป- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) แต่มีฤทธิ์ในปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงไม่ใช่ตัวการหลักที่กระตุ้นให้เด็กผู้หญิงมีรอบเดือนเร็วกว่าปกติ-  ผู้หญิงที่มักปวดท้องเมื่อมีรอบเดือน อาจมีสาเหตุจากร่างกายสร้างเอสโตรเจนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ เพราะในถั่วเหลืองมีสารเจ็นนิสตีน (genistine) ที่ช่วยทำให้เอสโตรเจนออกฤทธิ์น้อยลง ด้วยการแย่งพื้นที่จับบริเวณผนังเซลล์ของต่อมน้ำนมและมดลูก แต่หากบริโภคสารดังกล่าวในรูปแบบอาหารเสริมเป็นประจำ อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้สรุปผลทดสอบจากนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม 34 ตัวอย่าง 9 ยี่ห้อ พบว่า1. น้ำตาล- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณน้ำตาล 28 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า น้ำตาลน้อย (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 4 กรัม/หน่วยบริโภค- ส่วนนมถั่วเหลืองชนิดแห้งที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ โอวันติน เนเจอร์ซีเล็คท์ ซอยย์ นมถั่วเหลืองปรุงสำเร็จชนิดผง สูตรผสมงาดำ (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 18 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ไม่มีปริมาณน้ำตาลผสมอยู่เลย2. โปรตีน- ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดมี 5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมถั่วเหลืองสีดำ (แบล็ค ซิงค์) 2.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรข้าวบาร์เลย์และมอลต์ ทูโก (ขวดแก้ว) 3.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรทูโก ออริจินัล (ขวดแก้ว) 4.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรดับเบิ้ลช็อกโก ทูโก (ขวดแก้ว) 5.แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณโปรตีน 9 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน- ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) มีปริมาณโปรตีน 4 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน3. แคลเซียม- ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที ไฮแคลเซียม สูตรเจ มีปริมาณแคลเซียม 60%/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น น้ำตาลน้อย (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมน้ำนมข้าวโพด (เจ) มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า 2%/หน่วยบริโภค4. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงานสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic ให้พลังงานทั้งหมด 260 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค - ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดมี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ให้พลังงานทั้งหมด 70 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค และ 2.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) 3. โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) ให้พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภคเท่ากัน 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ความคิดเห็น (0)