ฉบับที่ 216 ไขมันทรานส์ในเค้กเนย หลังประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์มีผลบังคับ

      


        เค้กและผลิตภัณฑ์เบเกอรี เป็นขนมที่จัดว่ามีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เป็นขนมที่นิยมกันทุกเพศวัย  เค้กนั้นมีส่วนผสมหลักคือแป้ง ไข่ ไขมันและน้ำตาล จึงเป็นอาหารให้พลังงานสูง และเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เดิมจัดว่าเป็นกลุ่มอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เนื่องจากส่วนผสมนั้นนิยมใช้ไขมันจากน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์ แต่เมื่อมีกฎหมายห้ามการใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์แล้ว ทำให้หลายคนอยากทราบว่า เค้กและบรรดาขนมอบทั้งหลาย จะยังเป็นกลุ่มเสี่ยงของไขมันทรานส์หรือไม

        ฉลาดซื้อ และโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงอาสาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค เราเก็บตัวอย่างเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่างจากผู้ผลิตเจ้าดัง และได้เพื่อนเครือข่ายผู้บริโภคเก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน ที่นิยมซื้อเป็นของฝากจำนวน 4 ตัวอย่าง รวม 16 ตัวอย่าง ส่งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยผลทดสอบเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภค เชิญติดตาม






       ไขมันทรานส์ คืออะไร            

       ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน

       ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย

       ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น


 ผลทดสอบ

        ไขมันทรานส์                                                                                                                                                

        จากผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเค้กเนย 12 ตัวอย่าง และเค้กชิฟฟ่อน 4 ตัวอย่าง มีปริมาณน้อยเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) คือ 0.2 กรัม/หน่วยบริโภค   ถือว่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภค

        ยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่ที่พบปริมาณไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัมทำให้ทางฉลาดซื้อเกิดคำถามว่า ทำไมผลทดสอบของ พรมารีย์ เบเกอรี่   จึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งเป็นไปได้สองสาเหตุคือ ยังคงใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติคือ เนยแท้ จำนวนมาก ดังนั้นจึงตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์มีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่นมาก ได้แก่ Vaccenic acid (C18:1)-11 ที่พบมากตามธรรมชาติในไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงอนุมานได้ว่า ยี่ห้อนี้เขาจัดหนักจัดเต็มในสูตรเค้กเพราะใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ  จึงไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก หากรับประทานเกิน1 หน่วยบริโภค

         ปัจจุบัน ผู้ประกอบการน้ำมันและไขมันส่วนใหญ่ได้ปรับใช้กระบวนการอื่นแทนกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และมีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อประกาศฯ มีผลใช้บังคับ (9 มกราคม 2562) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น ขนมปังกรอบ เค้ก พาย พัฟ เพสตรี คุกกี้ หรืออาหารที่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแบบน้ำมันท่วม (Deep frying) เช่น โดนัททอด ไก่ทอด  จะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจพบปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ข้างต้นได้ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ เช่น นม เนย ชีส เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณที่ตรวจพบน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน


·        วัตถุกันเสีย        

        ฉลาดซื้อทดสอบหากรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี เค้กเนยและเค้กชิฟฟ่อน พบว่า เค้กเนยจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ไม่พบกรดเบนโซอิก และพบปริมาณกรดเบนโซอิกเล็กน้อยใน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสังเกตจากการทดสอบผลิตภัณฑ์ขนมอบที่ผ่านมาคือ มีการใช้แป้งสาลี ซึ่งใช้สารฟอกขาวที่เรียกว่า กรดเบนโซอิ้ว ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกรดเบนโซอิก ทั้งๆ ที่ในสูตรการผลิตเค้ก ไม่มีการผสมวัตถุกันเสีย ส่วนในเค้กชิฟฟ่อนไม่พบกรดเบนโซอิกจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์และพบปริมาณเล็กน้อย 1 ผลิตภัณฑ์

        ผลการตรวจหากรดซอร์บิก พบว่าปริมาณของกรดซอร์บิกที่ตรวจพบสูงสุดคือ ผลิตภัณฑ์เค้กเนย ของ KUDSAN Bakery & Coffee พบปริมาณกรดซอร์บิก 244.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ซึ่งไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) .. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)

       ตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) .. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม








 

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค เค้กเนย ไขมันทรานส์

ฉบับที่ 270 ผัดหมี่สำเร็จรูป (ผัดหมี่โคราช)

        สินค้าโอทอปอย่างหนึ่งของเมืองโคราชต้องมีผัดหมี่โคราชติดอันดับต้นๆ เป็นทั้งของที่ต้องกินและของฝากติดไม้ติดมือ  และด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยก็ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านให้เป็น “หมี่โคราชพร้อมน้ำผัดสำเร็จรูป” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่ต้องไปถึงโคราชก็หาสินค้านี้ได้ตามร้านค้าปลีก ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป เรียกว่าเป็น เส้นกึ่งสำเร็จรูป ที่ได้รับความนิยมไม่น้อย         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ผัดหมี่โคราชกึ่งสำเร็จรูปมาทดสอบเพื่อให้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค จำนวน 8 ตัวอย่าง จากร้านค้าทั่วไป ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยนำส่งห้องปฎิบัติการเพื่อทดสอบปริมาณ Bacillus cereus และสารกันเสีย ในน้ำซอสปรุงของผลิตภัณฑ์ สรุปผลการทดสอบ             1.ไม่พบปริมาณ Bacillus cereus ทุกตัวอย่าง             2.มีการใช้วัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิค (ในซอสปรุงรส)                    ดูรายละเอียดในตารางหน้าถัดไป ฉลาดซื้อแนะ        1.ผัดหมี่ มักจะมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซึ่งในการทำหนึ่งครั้งอาจแบ่งกินได้ 3 – 4 คน หรือ 3 – 4 ครั้ง ดังนั้นควรเลี่ยงไม่รับประทานหมดห่อในครั้งเดียว ด้วยเสี่ยงต่อปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป         2.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี เลขสารบบอาหาร วันเดือนปี ผลิต/หมดอายุที่ชัดเจน และมีสถานที่ติดต่อหรือแหล่งผลิตแน่นอน         3. หากเปิดซองแล้วพบสภาพสินค้า ไม่สมบูรณ์ มีกลิ่นหืน ไม่ควรรับประทาน         4.อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีข้อดีที่เก็บรักษาได้นาน ราคาย่อมเยา อย่างไรก็ตามจัดว่าเป็นอาหารที่มีปริมาณสารอาหารไม่มาก ดังนั้นอาจเพิ่มปริมาณโปรตีนด้วยเนื้อสัตว์ ผัก เพื่อเพิ่มคุณค่าของสารอาหาร

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 269 สำรวจฉลากอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บและเส้นหมี่

        อาหารที่เรียกว่า กึ่งสำเร็จรูป คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จัก “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุด เพราะคุ้นชินและมีความนิยมมากเมื่อมองจากมูลค่าการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสูงถึงสองหมื่นล้านบาทในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ไม่ได้มีเพียงแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้นยังมีชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น โจ๊ก ข้าวต้มหรือซุป กึ่งสำเร็จรูป ที่วางจำหน่ายทั่วไป         ทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ โจ๊ก ข้าวต้ม กึ่งสำเร็จรูป นั้น “ฉลาดซื้อ” เคยสำรวจฉลากอยู่บ่อยครั้งเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาเลือกซื้อให้กับผู้อ่าน แต่สำหรับคราวนี้เราเลือกหยิบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนด้วยเทคโนโลยีการผลิตและความนิยมอาจจะทำให้มีผู้ผลิตไม่มากนัก ยากจะฝ่ากระแสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ แต่ด้วยยุคสมัยที่ก้าวหน้าทั้งการผลิตและช่องทางการจำหน่าย ปัจจุบันเราจะพบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (หมี่โคราช) วางจำหน่ายในตลาดมากขึ้น โดยบางยี่ห้อก็สามารถทำยอดขายจากผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปได้ถึงปีละ 100 ล้านซอง เรียกว่ากำลังเป็นตลาดที่น่าจับตา         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (ผัดโคราช) และยำขนมจีน  จำนวนรวมทั้งสิ้น 19 ยี่ห้อ จากร้านค้าทั่วไป ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนำมาสำรวจฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่อง การแสดงฉลากทั่วไป การแสดงคุณค่าทางด้านโภชนาการและราคา เพื่อให้เป็นชุดข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้เปรียบเทียบและพิจารณาเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ตรงใจ     สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่และยำขนมจีน        1.     ทุกตัวอย่างทั้ง 19 ยี่ห้อ  มีเลขสารบบอาหาร (อย.)         2.     การแสดงฉลากโภชนาการ                 - ก๋วยจั๊บสำเร็จรูป แสดงฉลากโภชนาการ 5 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 2 ตัวอย่าง                - หมี่โคราช แสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง                 - ยำขนมจีน แสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง                 -  ก๋วยเตี๋ยวเรือ แสดงฉลากโภชนาการ  ตัวอย่าง         3.     ปริมาณโซเดียมพบว่า อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง                 - ก๋วยจั๊บในขนาดซองเล็กที่ปริมาณ 50-75 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 1280 – 1730 มก.                - ผัดหมี่โคราชในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 100 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 720 – 1330 มก.                - ยำขนมจีนในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 120 กรัม จะมีโซเดียม 1990 มก.                - ก๋วยเตี๋ยวเรือ ในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ   กรัม จะมีโซเดียม    มก.        4.     มีเพียง ห้าดาว หมี่โคราชพร้อมน้ำผัดสำเร็จรูป สูตรต้นตำรับโคราช ระบุไม่เจือสีและวัตถุกันเสีย         5.     ราคาสินค้าอยู่ระหว่าง    บาท    ฉลาดซื้อแนะ        1.อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีข้อดีที่เก็บรักษาได้นาน ราคาย่อมเยาและรสชาติที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามจัดว่าเป็นอาหารที่มีปริมาณสารอาหารไม่มาก ปริมาณโปรตีนต่ำและมีโซเดียมสูงซึ่งเกิดจากการปรุงรสให้กลมกล่อม ดังนั้นไม่ควรรับประทานบ่อย และในการปรุงควรเพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ ผัก เพื่อเพิ่มคุณค่าของสารอาหาร         2.ผัดหมี่ มักจะมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซึ่งในการทำหนึ่งครั้งอาจแบ่งกินได้ 3 – 4 คน หรือ 3 – 4 ครั้ง ดังนั้นควรเลี่ยงไม่รับประทานหมดห่อในครั้งเดียว ด้วยเสี่ยงต่อปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป         3.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี เลขสารบบอาหาร วันเดือนปี ผลิต/หมดอายุที่ชัดเจน และมีสถานที่ติดต่อหรือแหล่งผลิตแน่นอน        4.หากเปิดซองแล้วพบสภาพสินค้า ไม่สมบูรณ์ มีกลิ่นหืน ไม่ควรรับประทาน

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 268 ผลทดสอบยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง

        ทุกปีนิตยสารฉลาดซื้อยังคงมุ่งมั่นเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าอาหารการกินของเราได้รับการใส่ใจทั้งในภาคการเกษตร ประมงและภาคอุตสาหกรรมอาหาร เรื่องการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหาร เป็นหนึ่งประเด็นที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากปัญหาการดื้อยายาต้านจุลชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการที่มีการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในการเกษตร ประมง หากวิธีการเลี้ยงตลอดจนการดูแลสัตว์ทำไม่ได้มาตรฐานย่อมก่อให้เกิดผลกระทบของการตกค้างของตัวยาปฏิชีวนะในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารได้และอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ         การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) แสดงถึงภัยคุกคามระดับโลกที่สำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ พืช อาหารและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2019 มีการประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคนที่เกี่ยวข้องกับ AMR จากแบคทีเรียรวมถึง  1.27 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุโดยตรง (ที่มา WHO)          ในปีนี้ ฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. ดำเนินการเก็บตัวอย่าง “กุ้งขาว” สัตว์เศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีการพบรายงานของการตกค้างในเนื้อกุ้งขาว ฉลาดซื้อจึงสุ่มตัวอย่างกุ้งขาว ในปี 2566 นี้เพื่อนำมาทดสอบหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะเพื่อให้เป็นชุดการเฝ้าระวังในด้านวัตถุดิบอาหารจากที่เคยทำมาในปีก่อนหน้า ได้แก่ ฟาสต์ฟู้ด เนื้อหมู เนื้อไก่และเครื่องในไก่ น้ำส้มคั้น ปลาทับทิม         เราเก็บตัวอย่างกุ้งขาวจากแหล่งที่เป็นตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แก่ ตลาดธนบุรี ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดไท ตลาดท่าน้ำนนทบุรี ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ ตลาดมหาชัย สมุทธสาคร ตลาดคลองเตยและห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ได้แก่ กูร์เมต์ สยามพารากอน ทอปส์ บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ กูรเม่ต์ มาร์เกต เดอะมอลล์ ห้างโลตัส และห้างแมคโคร  รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง นำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 เพื่อทดสอบหาตัวยา 4 กลุ่ม ได้แก่ Nitrofurans metabolites , Chloramphenicol , Veterinary drug residues (Tetracycline group) และ Malachite green ผลการทดสอบ        เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะทั้ง 4 กลุ่ม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 267 เครื่องดื่มเกลือแร่ ผสมเกลือแร่ แบบพร้อมดื่ม

        วันไหนร่างกายต้องเสียเหงื่อมาก จากการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือการออกกำลังกาย หลายคนอาจเลือกดื่มน้ำเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ แบบพร้อมดื่ม ที่มีส่วนประกอบหลักคือน้ำ น้ำตาล และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เพื่อเพิ่มพลังงาน ชดเชยการสูญเสียน้ำและ รักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย มาช่วยแก้กระหาย และทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้โดยไว         ปัจจุบันผู้ผลิตคิดสูตรให้มีรสชาติหอม หวาน อร่อย ใครเผลอดื่มบ่อยๆ ควรระวังปริมาณน้ำตาลด้วย รวมทั้งการได้รับโซเดียมและโพแทสเซียมที่อยู่ในเครื่องดื่มเกลือแร่มากเกินไป ก็มีผลต่อการทำงานของตับและไต การเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติได้         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกเครื่องดื่มเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ แบบขวดพร้อมดื่ม จำนวน 11 ตัวอย่าง 3 ยี่ห้อ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 มาสำรวจฉลากเพื่อดูปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม น้ำตาล และข้อความที่ควรแสดงตามที่มาตรฐานกำหนด รวมทั้งเปรียบเทียบปริมาณพลังงาน น้ำตาล และราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจฉลาก        - ทุกตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 920 มิลลิกรัมต่อลิตร และโพแทสเซียมไม่เกิน 195 มิลลิกรัมต่อลิตร        - มี 5 ตัวอย่างที่มีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 460 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (แอคทีฟ + ซิ้งค์, แอคทีฟ สตรอเบอร์รี่ และแอคทีฟ กลิ่นมะนาว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นส้ม และกลิ่นมะนาว)          - ยี่ห้อสปอนเซอร์ แอคทีฟ + ซิ้งค์ มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ โก ไม่มีน้ำตาล มีปริมาณโซเดียมมากที่สุดคือ 905 มิลลิกรัมต่อลิตร        - พบปริมาณโพแทสเซียมระหว่าง 0 - 180 มิลลิกรัมต่อลิตร        - มี 6 ตัวอย่างที่มีปริมาณน้ำตาลตามกำหนด คือมีซูโครสไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนัก ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี, แอคทีฟ + ซิ้งค์, ออริจินัล)   ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต พลัส (เขียว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)          - มี 4 ตัวอย่าง ที่ไม่ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และออริจินัล) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว  และกลิ่นบลูบลาส)          - มี 5 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อความคำเตือนตามประกาศ ข้อ 7(2) ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และ ออริจินัล) ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต พลัส (เขียว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)       ·     เปรียบเทียบปริมาณพลังงานต่อ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ ออริจินัล  มีพลังงานมากสุดคือ 100 กิโลแคลอรี        - ยี่ห้อสปอนเซอร์  โก ไม่มีน้ำตาล มีพลังงานน้อยสุด คือ 30 กิโลแคลอรี        - ยี่ห้อเกเตอเรด กลิ่นส้ม ไม่มีน้ำตาล  ระบุพลังงานเป็น 0 กิโลแคลอรี     ·     เปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลต่อ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ ออริจินัล มีน้ำตาลมากสุด คือ 24 กรัม        - ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต (ฟ้า) มีน้ำตาลน้อยสุด คือ 9 กรัม        - มี 2 ตัวอย่าง ระบุว่าไม่มีน้ำตาล ได้แก่ ยี่ห้อเกเตอเรด กลิ่นส้มและยี่ห้อสปอนเซอร์ โก         ·     เปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร        -ราคาแพงสุดคือ 0.06 บาท ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และ ออริจินัล)         -ราคาถูกสุดคือ 0.04 บาท ได้แก่ ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต ((ฟ้า), พลัส(เขียว)) และยี่ห้อสปอนเซอร์ โก ไม่มีน้ำตาล ข้อสังเกต        - มี 7 ตัวอย่าง ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล        - มี 3 ตัวอย่าง ระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย ได้แก่ ยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นส้ม กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)   ฉลาดซื้อแนะ        - ควรเลือกซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ที่มีเครื่องหมาย อย. เพื่อความปลอดภัย        - คนที่เสียเหงื่อมากจากการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างหนัก และต้องการเติมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ควรเลือกซื้อชนิดที่ได้ครบทั้งน้ำตาลและเกลือแร่        - คนที่ทำกิจกรรมเบาๆ มีเสียเหงื่อบ้าง ควรเลือกชนิดที่ให้น้ำตาลและเกลือแร่น้อยหรือปานกลาง หรือบางครั้งจะสลับดื่มน้ำเปล่าก็ทดแทนได้เช่นกัน        - ควรดื่มน้ำเกลือแร่เมื่อร่างกายรู้สึกขาดน้ำจริงๆ ไม่ควรดื่มพร่ำเพรื่อ เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำให้ฟันผุ เนื่องจากส่วนผสมของน้ำตาลและกรดต่างๆ จะไปกัดกร่อนสารเคลือบฟัน        - หากมีอาการขาดน้ำจากท้องเสีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่แก้ท้องเสีย (ORS) โดยเฉพาะ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกายแทน เพราะอาจทำให้ถ่ายเหลวมากขึ้นได้        - การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่หายหรือรุนแรงขึ้นควรปรึกษาแพทย์ข้อมูลอ้างอิงข่าวจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ : เผยผลตรวจเครื่องดื่มเกลือแร่ (1 มิ.ย. 2563)https://www.pobpad.com : เครื่องดื่มเกลือแร่ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)