ฉบับที่ 231 ลิปสติกสีแดง

        ช่วงปลายปีที่แล้วนิตยสารเกอชัวร์ซีร์ Que Choisir  ซึ่งเป็นนิตยสารขององค์กรผู้บริโภคฝรั่งเศสที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ได้ทำการตรวจหา “สารไม่พึงประสงค์” ใน “ลิปสติกสีแดง” ยอดนิยม 20 ยี่ห้อ หลายยี่ห้อมีขายในเมืองไทย ฉลาดซื้อเลยถือโอกาสนำมาเผยแพร่ให้สมาชิกสายบิวตี้ได้ใช้ประกอบการตัดสินใจ        การทดสอบซึ่งทำโดยห้องปฎิบัติการในกรุงเบอลิน เยอรมนี ครั้งนี้เป็นการตรวจหา        - โลหะหนัก ซึ่งมักพบในสารให้สี ได้แก่ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม พลวง และปรอท        -  สารไฮโดรคาร์บอนในน้ำมันมิเนอรัล Mineral oil saturated hydrocarbons (MOSH),  Mineral oil aromatic hydrocarbons (MOAH) และไฮโดรคาร์บอนสังเคราะห์ Polyolefin Oligomeric saturated hydrocarbons (POSH)         ก่อนหน้านี้ฉลาดซื้อฉบับเดือนตุลาคม 2560 เคยนำเสนอผลทดสอบลิปบาล์มทั้งในแง่ความปลอดภัยและความ...

สมาชิกอ่านต่อ...

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!

ฉบับที่ 276 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับ “เด็ก”

        ฤดูร้อนไม่เคยหายไปจากบ้านเรา แม้ในวันที่มีเมฆมากก็ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นจากรังสียูวี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพาไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับเด็กที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+         องค์กรที่ส่งตัวอย่างเข้าทดสอบในครั้งนี้คือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ในยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน หลายยี่ห้อมีจำหน่ายในบ้านเราหรือสั่งซื้อได้ออนไลน์  คราวนี้เรามีมาให้เลือก 20 ผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบโลชัน สเปรย์ และแบบแท่ง เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมา เราแบ่งคะแนนการทดสอบออกเป็น 4 ด้านดังนี้        ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)        ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนักในเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ (ส่วนใหญ่ได้คะแนนระดับสี่ดาวขึ้นไป ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนรวมน้อยกว่า 50) เมื่อเทียบกับครั้งก่อน ผู้ผลิตมีการปรับปรุงเรื่องของฉลากดีขึ้นมาก อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการแสดงฉลากที่ดีขึ้น แต่ยังต้องปรับปรุงอีกมากในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ยังได้คะแนนเพียงหนึ่งหรือสองดาวเท่านั้น            “ข่าวดี” คือเราไม่พบพาราเบนหรือสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และมีเพียงสามผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่ระบุในฉลาก นอกจากนั้นเรายังพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ยืนยันประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเสมอไป ตัวที่ได้คะแนนสูงที่สุดสามอันดับแรกมีราคาไม่เกิน 5 บาทต่อหนึ่งมิลลิลิตร ในขณะที่ตัวที่มีราคามิลลิลิตรละ 16 บาทนั้นเข้ามาที่อันดับเก้า อีกข้อสังเกตคือมีความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันจะมีประสิทธิภาพในระดับที่ต่างกันด้วย         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 268 ผลิตภัณฑ์กันแดด 2023

        ได้เวลานำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดประจำปีกันอีกครั้ง ระหว่างที่บ้านเราเข้าสู่ฤดูฝน (แต่แดดจ้าไม่เคยหายไป) ทางยุโรปกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนและเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์นี้กำลังเป็นที่ต้องการ เรามีผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ในรูปแบบของครีม โลชัน และสเปรย์ ที่มีค่า SPF30 และ SPF50+ ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศในยุโรปร่วมกันส่งเข้าทดสอบมาฝากสมาชิก ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงคัดเลือกมาเพียง 24 ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนในลำดับต้นๆ เท่านั้น คะแนนการทดสอบแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVBร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่น ไม่เหนอะหนะ ไม่ทิ้งคราบ)ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 5         ฉลากเป็นมิตรต่อผู้บริโภค        ในภาพรวมเราพบว่าคะแนนประสิทธิภาพในการกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนัก (ทั้งหมดจัดอยู่ในระดับ 4 ดาวขึ้นไป)  แต่ก็มีผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อที่ต้องปรับปรุงเรื่องฉลากและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเคลมเกินจริงหรือเคลมในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้  ผลิตภัณฑ์กันแดดที่เราทดสอบไม่มีสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และไม่มีพาราเบน ซึ่งถือว่าเป็นไปตามที่กล่าวอ้างบนฉลาก แต่เราก็พบว่าค่า SPF ที่แจ้งไว้นั้น มีทั้งที่เกินและขาดจากค่าที่วัดได้จริงในห้องปฏิบัติการ ที่ให้มาเกินเราไม่ว่า แต่ก็มีอย่างน้อย 6 ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF น้อยกว่าที่แจ้งไว้บนฉลากผลการทดสอบยืนยันอีกครั้งว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ราคาแพงเพื่อดูแลผิวหนังก่อนออกเผชิญแสงแดด พลิกหน้าถัดไปเพื่อหาครีม/สเปรย์กันแดดที่ถูกใจคุณได้เลย         ·     ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร ปอนด์อังกฤษ หรือแดนิชโครน เป็นต้น โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 264 มาสคารา

        แม้ว่ามาสคาราจะมียอดขายลดลงเพราะมีขนตาปลอมและบริการต่อขนตาเข้ามาแย่งตลาด แต่ค่ายเครื่องสำอางก็ยังส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความต้องการของคนทุกเพศทุกวัยที่รักการมีขนตางอนงาม         หากยังคิดไม่ตกว่าจะเลือกมาสคารายี่ห้อไหน ลงทุนเท่าไรถึงจะคุ้มค่า ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบมาสคารา 24 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อปลายปี 2565 มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ (ติดตามผลการทดสอบเปรียบเทียบมาสคารามาครั้งก่อนหน้านี้ได้ในฉลาดซื้อ  ฉบับที่ 138)    การทดสอบครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน        -       การทดลองใช้ โดยผู้ที่เชี่ยวชาญ (ด้านการใช้มาสคารา) ที่ใช้ผลิตภัณฑ์วันละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 30 วัน และตอบคำถามเกี่ยวกับการใช้งาน เช่น การเปิด/ปิด ความถนัดในการจับด้ามแปรง ความหนาและความโค้งงอนของขนตา ความสม่ำเสมอของเนื้อผลิตภัณฑ์บนเส้นขนตา ความเร็วในการแห้ง การติดทนและไม่ทิ้งคราบ ความยากง่ายในการล้างออก และอาการแพ้ที่อาจเกิดขึ้น             -       การให้คะแนนโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยดูจากภาพถ่ายดวงตา ก่อนและหลังการใช้มาสคารา        -       การทดสอบในห้องปฏิบัติการซึ่งแบ่งออกเป็น            ·     การตรวจวิเคราะห์หาสารต้องห้ามและปริมาณโลหะหนัก และ            ·     การวัดปริมาณมาสคาราที่เหลือค้างในบรรจุภัณฑ์ (ทดสอบโดยใช้แปรงจุ่มมาสคาราในหลอดแล้วนำมาเช็ดออก ทำซ้ำจนกว่าจะไม่มีสีติดที่กระดาษหรือหลังมือ จากนั้นนำบรรจุภัณฑ์มาชั่งน้ำหนัก ก่อนจะนำไปล้างและเช็ดให้แห้งด้วยสำลีก้าน แล้วนำมาชั่งอีกครั้งเพื่อหาส่วนต่าง) ผลทดสอบที่น่าสนใจ        ·     การทดสอบครั้งนี้พบว่าไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่มีสารเคมีหรือโลหะหนักเช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ สารหนู ตะกั่ว แคดเมียม นิกเกิล ฯลฯ เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด ที่น่าสนใจคือตรวจไม่พบสารเหล่านี้เลยในมาสคาราของ Benefit  Lancome  และ Kiko           ·     ในเรื่องของความพึงพอใจและความสามารถในการแปลงลุคขนตาของผู้ใช้ เราพบว่าราคาไม่ใช่ตัวชี้วัดเสมอไป แม้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนสูงสุด YVES SAINT LAURENT Mascara Lash Clash จะมีราคาเกิน 1,300 บาท แต่ ISADORA Build-Up Mascara Extra Volume ที่ได้คะแนนตามมาติดๆ ราคาไม่ถึง 500 บาท และมาสคาราหลายยี่ห้อที่ราคาเกินหนึ่งพันบาท ก็ได้คะแนนในอันดับไม่ดีนัก---ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการใช้มาสคาราที่เปิดใช้งานมานานเกิน 3 เดือน และไม่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ร่วมกับใคร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 255 ผลิตภัณฑ์กันแดด 2022

ก่อนจะออกไปเที่ยวผจญแดดร้อนลมแรงที่ไหน อย่าลืมสำรวจวันหมดอายุของครีม/โลชัน/สเปรย์กันแดดที่มีอยู่ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 2 – 3 ปี แต่ถ้ามันถูกเก็บในบริเวณที่ร้อนมากอย่างคอนโซลหน้ารถ ความสามารถในการป้องกันยูวีอาจเสื่อมไปก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลิตภัณฑ์มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น แยกชั้น หรือจับตัวเป็นก้อน เราขอแนะนำให้คุณซื้อใหม่         ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดดที่ทำขึ้นในช่วงต้นปี 2565 มาให้สมาชิกได้เลือกกันถึง 25 ผลิตภัณฑ์ (ค่า SPF30 และ SPF50+) ทั้งแบบครีม โลชัน และสเปรย์ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย         แม้จะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนถึงระดับห้าดาว แต่ “ตัวท็อป” ในการทดสอบปีนี้ก็ได้คะแนนรวมไปถึง 74 คะแนน (เทียบกับ 71 คะแนนของปีที่แล้ว) ข่าวดีคือผลิตภัณฑ์ 25 ตัวนี้ไม่มีสารรบกวนฮอร์โมน หรือสารก่ออาการแพ้ Octocrylene D5         แต่การทดสอบก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีผลิตภัณฑ์อีกไม่น้อยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยูวีต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลากหรือในโฆษณา เป็นการตอกย้ำว่าราคาหรือภาพลักษณ์ไม่สามารถรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เสมอไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ความคิดเห็น (0)