แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ
เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค แบคทีเรีย เครื่องกรองน้ำ ระบบ UF ระบบ UV น้ำ
ปัจจุบันตลาดสินค้าสำหรับอนามัยช่องปากคึกคักขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ดับกลิ่นปาก รวมถึงแปรงสีฟันไฟฟ้าก็มีหลากยี่ห้อ หลายระดับราคาให้เลือกมากขึ้น ฉลาดซื้อฉบับนี้เลยขอนำเสนอผลการทดสอบแปรงสีฟันไฟฟ้าที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบไว้จำนวน 14 รุ่น มาให้สมาชิกที่กำลังมองหาตัวช่วยให้ประสบการณ์แปรงฟันครั้งละสองนาทีน่ารื่นรมย์ขึ้น แปรงไฟฟ้าที่ทดสอบครั้งนี้มีราคาตั้งแต่ประมาณ 700 ถึง 11,200 บาท* โชคดีที่ทั้งสองรุ่นนี้ไม่ใช่รุ่นที่ได้คะแนนต่ำสุดหรือสูงสุด โดยในการทดสอบได้แบ่งคะแนนออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน (ให้น้ำหนักจากคะแนนรวม ร้อยละ 50) และความสะดวกในการใช้งาน แบตเตอรีการทำงานของแท่นชาร์จ และเสียงที่ไม่ดังเกินไปขณะใช้งาน (ร้อยละ 25, 20, และ 5 ตามลำดับ) นอกจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการแล้ว ในส่วนของคะแนนความสะดวกในการใช้งานนั้นมากจากความเห็นของอาสาสมัคร (ที่อายุระหว่าง 18 ถึง 65 ปี ที่สุขภาพฟันแข็งแรง มีค่าดัชนีวัดหินปูน > 1.5 และมีฟันแท้อย่างน้อย 20 ซี่) · ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินยูโร ตามองค์กรผู้บริโภคซื้อจากร้านค้าในประเทศของตนเอง โปรดตรวจสอบราคา (และคำนวณค่าจัดส่งหากสั่งซื้อออนไลน์) อีกครั้งก่อนตัดสินใจ
แม้จะเข้าวงการมาได้ไม่นาน แต่หม้อทอดไร้น้ำมันก็ติดอันดับเครื่องครัวยอดนิยมที่หลายคนอยากมีไว้ติดบ้านไปแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายนปี 2564 (หากสนใจผลการทดสอบที่เราเคยนำเสนอ สามารถติดตามได้ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 และ 230) เนื่องจากเป็นการทดสอบต่อเนื่อง ทีมทดสอบจึงยังใช้ขั้นตอนการทดสอบเหมือนที่ผ่านมา นั่นคือการใช้งานตามคู่มือของหม้อทอดแต่ละรุ่น โดยจะวัดความร้อน บันทึกเวลาที่ใช้ อุณหภูมิเฉลี่ยขณะทอด และพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ ส่วนอาหารที่ใช้ในการทดสอบได้แก่ - มันฝรั่งเส้น (ทดสอบทั้งแบบใส่ในปริมาณ 2/3 ของความจุหม้อ และแบบใส่จนเต็ม) - น่องไก่ (นำออกจากตู้เย็นหลังแช่ไว้ 24 ชั่วโมง ใส่พร้อมกัน 4 น่อง ขนาดน่องละประมาณ 100 กรัม) - ปอเปี๊ยะ (นำออกจากตู้เย็นหลังแช่ไว้ 24 ชั่วโมง ใส่10 ชิ้น ขนาดชิ้นละ 25 กรัม) - ช็อคโกแลตเค้ก (เฉพาะในบางรุ่นที่มีฟังก์ชันรองรับ) การให้คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประสิทธิภาพ ร้อยละ 55 ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 20 การประหยัดพลังงาน ร้อยละ 15 ความปลอดภัย ร้อยละ 5 คุณภาพการประกอบ ร้อยละ 5 ในภาพรวมเราพบว่าหม้อทอดรุ่นใหม่ๆ ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น แม้รุ่นที่ได้คะแนนสูงที่สุดจะได้คะแนนรวมไม่ต่างจากตัวท็อปในการทดสอบคราวก่อน แต่ที่น่าสนใจคือ “คะแนนต่ำสุด” ของหม้อทอดกลุ่มนี้สูงขึ้นกว่าเดิม และหนึ่งในรุ่นที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ รุ่นที่มีความจุสูงและพยายามรวมฟังก์ชันหลายอย่างไว้ด้วยกันคราวนี้เรามีมาให้คุณเลือกถึง 25 รุ่น เชิญพลิกหน้าต่อไปเพื่อหารุ่นที่ตรงใจได้เลย แต่อย่าลืมตรวจสอบราคาอีกครั้ง (ราคาที่นำเสนอเป็นราคาจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนธันวาคม 2564)
ฉลาดซื้อขอเอาใจคอกาแฟอีกครั้ง ด้วยผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟดริปแบบอัตโนมัติ ที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศในเนเธอร์แลนด์ (Consumentenbond) และเบลเยียม (Test-Achats) เป็นผู้เก็บตัวอย่างส่งเข้าทดสอบไว้ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอคัดมาแค่ 21 รุ่นที่ได้คะแนนระหว่าง 61 – 81 จากคะแนนเต็ม 100 สนนราคาที่จำหน่ายในเว็บไซต์มีตั้งแต่ 550 ถึง 9,400 บาท* จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ทีมทดสอบได้สัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 35 คะแนน ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง (ทดสอบตามมาตรฐาน EN 60661: 2001) เช่น ประสิทธิภาพและเวลาที่ใช้ในการสกัดกาแฟเมื่อใช้น้ำในปริมาณมาก/น้อยที่สุด อุณหภูมิของกาแฟหลังทำเสร็จทันทีและเมื่อเวลาผ่านไป 15 และ 30 นาที (กรณีที่เหยือกเป็นแบบเก็บอุณหภูมิ จะวัดอุณหภูมิเมื่อเวลาผ่านไป 1, 2, หรือ 4 ชั่วโมงด้วย) 30 คะแนน รสชาติของกาแฟ เป็นการให้คะแนน (จาก 1 – 10) โดยนักชิมมืออาชีพ 10 คน กาแฟจากเครื่องแต่ละรุ่นจะต้องมีผู้ทดสอบรสชาติอย่างน้อย 8 คน น้ำที่ใช้เป็นน้ำประปาที่อุณหภูมิห้อง (20 องศาเซลเซียส) กระดาษกรอง Melitta Original และเมล็ดกาแฟ Norvid Arqvist โดยใช้กาแฟในสัดส่วน 50 กรัม/น้ำ 1 ลิตร และเลือกระดับ Medium ในฟังก์ชัน Aroma 30 คะแนน ความสะดวกในการใช้งาน เป็นผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คนที่ทดลองใช้เครื่อง เช่น เติมน้ำ เลือก/ปรับโปรแกรมการใช้งาน ใส่/ถอดอุปกรณ์ เทกาแฟใส่แก้ว ทำความสะอาด และจัดเก็บเครื่อง เป็นต้น 5 คะแนน การประหยัดพลังงาน วัดจากพลังงานที่ใช้ขณะทำกาแฟขณะอุ่นร้อน 30 นาที ขณะอยู่ในโหมดสแตนด์บายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง รวมถึงระยะเวลาก่อนปิดตัวเองอัตโนมัติเมื่อไม่มีการใช้งาน ข่าวดีคือเราสามารถมีเครื่องทำกาแฟแบบดริปไว้ใช้ที่บ้านได้โดยไม่ต้องจ่ายแพง ใครชอบรูปลักษณ์ของเครื่องแบบไหน ชอบเหยือกกาแฟแบบแก้วหรือสแตนเลส หรือมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่จัดวางอย่างไร เชิญพลิกดูรายละเอียดประกอบการตัดสินใจในหน้าต่อไปได้เลย
น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภคต้องเลือกน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย เครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือน ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมา ทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการให้ข้อมูลกับบริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยทำการสุ่มซื้อเครื่องกรองน้ำจากท้องตลาด และการสั่งซื้อทางออนไลน์ โดยเลือกเครื่องกรองน้ำจาก 3 ระบบ ได้แก่ 1.เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) จำนวน 11 ตัวอย่าง 2.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultrafiltration (UF) จำนวน 8 ตัวอย่าง 3.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultraviolet (UV) จำนวน 7 ตัวอย่าง ผู้บริโภคสามารถใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรียของครื่องกรองน้ำ สำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอื่นๆ ของเครื่องกรองน้ำประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกรองโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารพิษอื่นๆ เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำที่เราใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้ ข้อแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอนามัย อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ RO การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ RO มีรายละเอียด ดังนี้ เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Toshiba รุ่น TWP-N1890UK Stiebel Eltron รุ่น Glacier Filtex รุ่น FT 241 RO Aquatek รุ่น RO 150 GPD และ Mi รุ่น water purifier 1A เครื่องกรองน้ำที่มีประสทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น RO PURE LI และ Pure รุ่น KT RO เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Treatton รุ่น RO 300 GPD และ Turbora รุ่น 5ROC-PRC เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบบทีเรียได้ ได้แก่ Carina รุ่น CA-5RO และ Pentair รุ่น GRO-50 System
ความคิดเห็น (0)