ฉบับที่ 253 อะฟลาท็อกซินเอ็ม1 ในนมโรงเรียนและนมรสธรรมชาติ ปี 2565

        สารอะฟลาท็อกซินเอ็ม1 (Aflatoxin M1) M หมายถึง Milk ก็คืออะฟลาท็อกซินที่พบในน้ำนมสัตว์
เมื่อโคนมกินอาหารที่ปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินบี 1 ซึ่งเป็นสารพิษก่อมะเร็งที่สร้างจากเชื้อรา จะถูกแปลงเป็นอะฟลาท็อกซินเอ็ม1 แล้วหลั่งออกมาในน้ำนม หากผู้บริโภคโดยเฉพาะเด็กๆ ดื่มนมที่ปนเปื้อนนี้
เข้าไป ก็อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ 
        ในฉลาดซื้อฉบับที่ 203 (มกราคม 2561) ได้เผยผลทดสอบปริมาณสารอะฟลาท็อกซินเอ็ม 1 ในนมโรงเรียนและนมรสธรรมชาติจากร้านค้าทั่วไป จำนวน 27 ตัวอย่าง พบว่าทุกตัวอย่างมีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเอ็ม1 แต่อยู่ในปริมาณที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโคเด็กซ์ (CODEX) 
        เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างนมรสธรรมชาติจำนวน 24 ตัวอย่าง แบ่งเป็น นมโรงเรียน 8 ตัวอย่าง จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร และผลิตภัณฑ์นมรสธรรมชาติจำนวน 16 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อ จากร้านค้าปลีกทั่วไป ร้านค้าออนไลน์ และตัวแทนจำหน่ายนม เมื่อเดือนมกราคม 2565 นำมาทดสอบโดยใช้ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เพื่อดูว่ายังมีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเอ็ม1 อยู่หรือไม่ ถ้ามี มีปริมาณเท่าไรเกินเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ 
        ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่  414)  .. 2563  เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ระบุว่า น้ำนม คือ น้ำนมดิบจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป หรือเติมแต่งส่วนผสมอื่น  มีลักษณะเป็นของเหลวสำหรับการบริโภคโดยตรง หรือนำไปผ่านกระบวนการแปรรูปก่อนการบริโภค กำหนดให้มีอะฟลาท็อกซินเอ็ม 1 ในน้ำนมได้ไม่เกิน 0.5  ไมโครกรัม/กิโลกรัม
 
ผลการทดสอบ 
        จากนมทั้งหมด 24 ตัวอย่าง พบอะฟลาท็อกซินเอ็ม1 ใน 20 ตัวอย่าง พบปริมาณในช่วง < 0.20 – 0.20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และไม่พบ 4 ตัวอย่าง ดังนั้นทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด









สรุปเปรียบเทียบผลทดสอบปี 2561 กับปี 2565


 
        จากตารางการเปรียบเทียบนี้พบว่า เปอร์เซ็นต์ตัวอย่างนมที่พบอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ปริมาณที่พบในนมโรงเรียน และปริมาณน้อยที่สุดที่พบในนมที่ขายทั่วไปนั้น ต่างก็มีค่าตัวเลขที่ลดลง แต่ปริมาณที่พบสูงสุดในนมที่ขายทั่วไปกลับมีค่าเพิ่มขึ้น 0.12 ไมโครกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม ถ้าลองพิจารณาโดยไม่รวมยี่ห้อเดียวที่มีปริมาณสูงสุดในการทดสอบครั้งนี้เข้าไปด้วย ในตัวอย่างนมที่ขายทั่วไปอื่นๆ จะพบปริมาณอะฟลาท็อกซินเอ็ม 1 อยู่ที่ <0.02 – 0.06 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ซึ่งตัวเลขลดลงจากเดิมเช่นกัน
        นอกจากนี้ มีตัวอย่างยี่ห้อนมที่ขายทั่วไปที่ทดสอบซ้ำกันอยู่ 11 ตัวอย่าง พบว่ามี 5 ตัวอย่างที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 ลดลง และมี 5 ตัวอย่างที่มีปริมาณอะฟลาทอกซินเอ็ม 1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ยกเว้นยี่ห้อเอ็มมิลล์ นมพาสเจอร์ไรส์ ที่จากเดิมพบ <0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 0.20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม ส่วนยี่ห้อไทย-เดนมาร์ค นมยูเอชที จากเดิมพบ<0.03 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ครั้งนี้กลับไม่พบอะฟลาทอกซินเอ็ม1 เลย
         
ฉลาดซื้อแนะนำ
ผู้บริโภคควรเลือกซื้อนมจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน และปฏิบัติตามคำแนะนำข้างกล่อง เช่น
- ควรบริโภคก่อนวันที่ระบุ
- ควรดื่มให้หมดทันทีหลังเปิดดื่ม
- ควรเก็บไว้ที่แห้ง ปลอดจากมดและแมลง
- ไม่ควรวางไว้ในที่ร้อนจัดหรือสัมผัสแสงแดด
- ห้ามโยน ห้ามแช่น้ำ
- ไม่ควรบริโภคหากพบบรรจุภัณฑ์ชำรุด บวม หรือมีรูรั่ว หรือมีกลิ่นผิดปกติ
 
 
 
ข้อมูลอ้างอิง
ฉลาดซื้อฉบับที่ 203 มกราคม 2561
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0177/aflatoxin-
http://lib3.dss.go.th/fulltext/dss_j/2562_68_211_P21-23.pdf
http://bqsf.dmsc.moph.go.th/
https://warning.acfs.go.th/th/early-warning/view/?page=6842

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

300 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค นม นมโรงเรียน อะฟลาท็อกซินเอ็ม1 นมธรรมชาติ

ฉบับที่ 269 สำรวจฉลากอาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บและเส้นหมี่

        อาหารที่เรียกว่า กึ่งสำเร็จรูป คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จัก “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากที่สุด เพราะคุ้นชินและมีความนิยมมากเมื่อมองจากมูลค่าการตลาดของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งสูงถึงสองหมื่นล้านบาทในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ไม่ได้มีเพียงแค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเท่านั้นยังมีชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น โจ๊ก ข้าวต้มหรือซุป กึ่งสำเร็จรูป ที่วางจำหน่ายทั่วไป         ทั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ โจ๊ก ข้าวต้ม กึ่งสำเร็จรูป นั้น “ฉลาดซื้อ” เคยสำรวจฉลากอยู่บ่อยครั้งเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาเลือกซื้อให้กับผู้อ่าน แต่สำหรับคราวนี้เราเลือกหยิบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนด้วยเทคโนโลยีการผลิตและความนิยมอาจจะทำให้มีผู้ผลิตไม่มากนัก ยากจะฝ่ากระแสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ แต่ด้วยยุคสมัยที่ก้าวหน้าทั้งการผลิตและช่องทางการจำหน่าย ปัจจุบันเราจะพบ “อาหารกึ่งสำเร็จรูป” ชนิด ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (หมี่โคราช) วางจำหน่ายในตลาดมากขึ้น โดยบางยี่ห้อก็สามารถทำยอดขายจากผลิตภัณฑ์ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูปได้ถึงปีละ 100 ล้านซอง เรียกว่ากำลังเป็นตลาดที่น่าจับตา         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปประเภท ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่ (ผัดโคราช) และยำขนมจีน  จำนวนรวมทั้งสิ้น 19 ยี่ห้อ จากร้านค้าทั่วไป ร้านค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ตลอดจนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อนำมาสำรวจฉลากของผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่อง การแสดงฉลากทั่วไป การแสดงคุณค่าทางด้านโภชนาการและราคา เพื่อให้เป็นชุดข้อมูลสำหรับผู้บริโภคไว้เปรียบเทียบและพิจารณาเลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ตรงใจ     สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์อาหารกึ่งสำเร็จรูปชนิดก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เส้นหมี่และยำขนมจีน        1.     ทุกตัวอย่างทั้ง 19 ยี่ห้อ  มีเลขสารบบอาหาร (อย.)         2.     การแสดงฉลากโภชนาการ                 - ก๋วยจั๊บสำเร็จรูป แสดงฉลากโภชนาการ 5 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 2 ตัวอย่าง                - หมี่โคราช แสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ 4 ตัวอย่าง                 - ยำขนมจีน แสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง ไม่มีการแสดงฉลากโภชนการ 1 ตัวอย่าง                 -  ก๋วยเตี๋ยวเรือ แสดงฉลากโภชนาการ  ตัวอย่าง         3.     ปริมาณโซเดียมพบว่า อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง                 - ก๋วยจั๊บในขนาดซองเล็กที่ปริมาณ 50-75 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 1280 – 1730 มก.                - ผัดหมี่โคราชในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 100 กรัม จะมีโซเดียมระหว่าง 720 – 1330 มก.                - ยำขนมจีนในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ 120 กรัม จะมีโซเดียม 1990 มก.                - ก๋วยเตี๋ยวเรือ ในหนึ่งหน่วยบริโภคที่ปริมาณ   กรัม จะมีโซเดียม    มก.        4.     มีเพียง ห้าดาว หมี่โคราชพร้อมน้ำผัดสำเร็จรูป สูตรต้นตำรับโคราช ระบุไม่เจือสีและวัตถุกันเสีย         5.     ราคาสินค้าอยู่ระหว่าง    บาท    ฉลาดซื้อแนะ        1.อาหารกึ่งสำเร็จรูปมีข้อดีที่เก็บรักษาได้นาน ราคาย่อมเยาและรสชาติที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามจัดว่าเป็นอาหารที่มีปริมาณสารอาหารไม่มาก ปริมาณโปรตีนต่ำและมีโซเดียมสูงซึ่งเกิดจากการปรุงรสให้กลมกล่อม ดังนั้นไม่ควรรับประทานบ่อย และในการปรุงควรเพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ ผัก เพื่อเพิ่มคุณค่าของสารอาหาร         2.ผัดหมี่ มักจะมาในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ ซึ่งในการทำหนึ่งครั้งอาจแบ่งกินได้ 3 – 4 คน หรือ 3 – 4 ครั้ง ดังนั้นควรเลี่ยงไม่รับประทานหมดห่อในครั้งเดียว ด้วยเสี่ยงต่อปริมาณโซเดียมที่สูงเกินไป         3.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี เลขสารบบอาหาร วันเดือนปี ผลิต/หมดอายุที่ชัดเจน และมีสถานที่ติดต่อหรือแหล่งผลิตแน่นอน        4.หากเปิดซองแล้วพบสภาพสินค้า ไม่สมบูรณ์ มีกลิ่นหืน ไม่ควรรับประทาน

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 268 ผลทดสอบยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง

        ทุกปีนิตยสารฉลาดซื้อยังคงมุ่งมั่นเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าอาหารการกินของเราได้รับการใส่ใจทั้งในภาคการเกษตร ประมงและภาคอุตสาหกรรมอาหาร เรื่องการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหาร เป็นหนึ่งประเด็นที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากปัญหาการดื้อยายาต้านจุลชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการที่มีการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในการเกษตร ประมง หากวิธีการเลี้ยงตลอดจนการดูแลสัตว์ทำไม่ได้มาตรฐานย่อมก่อให้เกิดผลกระทบของการตกค้างของตัวยาปฏิชีวนะในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารได้และอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ         การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) แสดงถึงภัยคุกคามระดับโลกที่สำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ พืช อาหารและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2019 มีการประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคนที่เกี่ยวข้องกับ AMR จากแบคทีเรียรวมถึง  1.27 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุโดยตรง (ที่มา WHO)          ในปีนี้ ฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. ดำเนินการเก็บตัวอย่าง “กุ้งขาว” สัตว์เศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีการพบรายงานของการตกค้างในเนื้อกุ้งขาว ฉลาดซื้อจึงสุ่มตัวอย่างกุ้งขาว ในปี 2566 นี้เพื่อนำมาทดสอบหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะเพื่อให้เป็นชุดการเฝ้าระวังในด้านวัตถุดิบอาหารจากที่เคยทำมาในปีก่อนหน้า ได้แก่ ฟาสต์ฟู้ด เนื้อหมู เนื้อไก่และเครื่องในไก่ น้ำส้มคั้น ปลาทับทิม         เราเก็บตัวอย่างกุ้งขาวจากแหล่งที่เป็นตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แก่ ตลาดธนบุรี ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดไท ตลาดท่าน้ำนนทบุรี ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ ตลาดมหาชัย สมุทธสาคร ตลาดคลองเตยและห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ได้แก่ กูร์เมต์ สยามพารากอน ทอปส์ บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ กูรเม่ต์ มาร์เกต เดอะมอลล์ ห้างโลตัส และห้างแมคโคร  รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง นำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 เพื่อทดสอบหาตัวยา 4 กลุ่ม ได้แก่ Nitrofurans metabolites , Chloramphenicol , Veterinary drug residues (Tetracycline group) และ Malachite green ผลการทดสอบ        เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะทั้ง 4 กลุ่ม

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 267 เครื่องดื่มเกลือแร่ ผสมเกลือแร่ แบบพร้อมดื่ม

        วันไหนร่างกายต้องเสียเหงื่อมาก จากการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือการออกกำลังกาย หลายคนอาจเลือกดื่มน้ำเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ แบบพร้อมดื่ม ที่มีส่วนประกอบหลักคือน้ำ น้ำตาล และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เพื่อเพิ่มพลังงาน ชดเชยการสูญเสียน้ำและ รักษาสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย มาช่วยแก้กระหาย และทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าได้โดยไว         ปัจจุบันผู้ผลิตคิดสูตรให้มีรสชาติหอม หวาน อร่อย ใครเผลอดื่มบ่อยๆ ควรระวังปริมาณน้ำตาลด้วย รวมทั้งการได้รับโซเดียมและโพแทสเซียมที่อยู่ในเครื่องดื่มเกลือแร่มากเกินไป ก็มีผลต่อการทำงานของตับและไต การเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติได้         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกเครื่องดื่มเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ แบบขวดพร้อมดื่ม จำนวน 11 ตัวอย่าง 3 ยี่ห้อ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 มาสำรวจฉลากเพื่อดูปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม น้ำตาล และข้อความที่ควรแสดงตามที่มาตรฐานกำหนด รวมทั้งเปรียบเทียบปริมาณพลังงาน น้ำตาล และราคา เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจฉลาก        - ทุกตัวอย่างมีปริมาณโซเดียมไม่เกิน 920 มิลลิกรัมต่อลิตร และโพแทสเซียมไม่เกิน 195 มิลลิกรัมต่อลิตร        - มี 5 ตัวอย่างที่มีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า 460 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (แอคทีฟ + ซิ้งค์, แอคทีฟ สตรอเบอร์รี่ และแอคทีฟ กลิ่นมะนาว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นส้ม และกลิ่นมะนาว)          - ยี่ห้อสปอนเซอร์ แอคทีฟ + ซิ้งค์ มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดคือ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ โก ไม่มีน้ำตาล มีปริมาณโซเดียมมากที่สุดคือ 905 มิลลิกรัมต่อลิตร        - พบปริมาณโพแทสเซียมระหว่าง 0 - 180 มิลลิกรัมต่อลิตร        - มี 6 ตัวอย่างที่มีปริมาณน้ำตาลตามกำหนด คือมีซูโครสไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 ของน้ำหนัก ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี, แอคทีฟ + ซิ้งค์, ออริจินัล)   ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต พลัส (เขียว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)          - มี 4 ตัวอย่าง ที่ไม่ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และออริจินัล) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว  และกลิ่นบลูบลาส)          - มี 5 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อความคำเตือนตามประกาศ ข้อ 7(2) ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และ ออริจินัล) ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต พลัส (เขียว) และยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)       ·     เปรียบเทียบปริมาณพลังงานต่อ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ ออริจินัล  มีพลังงานมากสุดคือ 100 กิโลแคลอรี        - ยี่ห้อสปอนเซอร์  โก ไม่มีน้ำตาล มีพลังงานน้อยสุด คือ 30 กิโลแคลอรี        - ยี่ห้อเกเตอเรด กลิ่นส้ม ไม่มีน้ำตาล  ระบุพลังงานเป็น 0 กิโลแคลอรี     ·     เปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลต่อ 1 หนึ่งหน่วยบริโภค        - ยี่ห้อสปอนเซอร์ ออริจินัล มีน้ำตาลมากสุด คือ 24 กรัม        - ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต (ฟ้า) มีน้ำตาลน้อยสุด คือ 9 กรัม        - มี 2 ตัวอย่าง ระบุว่าไม่มีน้ำตาล ได้แก่ ยี่ห้อเกเตอเรด กลิ่นส้มและยี่ห้อสปอนเซอร์ โก         ·     เปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร        -ราคาแพงสุดคือ 0.06 บาท ได้แก่ ยี่ห้อสปอนเซอร์ (ออริจินัล จีดี และ ออริจินัล)         -ราคาถูกสุดคือ 0.04 บาท ได้แก่ ยี่ห้อเอ็ม-สปอร์ต ((ฟ้า), พลัส(เขียว)) และยี่ห้อสปอนเซอร์ โก ไม่มีน้ำตาล ข้อสังเกต        - มี 7 ตัวอย่าง ใช้วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล        - มี 3 ตัวอย่าง ระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย ได้แก่ ยี่ห้อเกเตอเรด (กลิ่นส้ม กลิ่นมะนาว และกลิ่นบลูบลาส)   ฉลาดซื้อแนะ        - ควรเลือกซื้อเครื่องดื่มเกลือแร่/ผสมเกลือแร่ที่มีเครื่องหมาย อย. เพื่อความปลอดภัย        - คนที่เสียเหงื่อมากจากการออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างหนัก และต้องการเติมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว ควรเลือกซื้อชนิดที่ได้ครบทั้งน้ำตาลและเกลือแร่        - คนที่ทำกิจกรรมเบาๆ มีเสียเหงื่อบ้าง ควรเลือกชนิดที่ให้น้ำตาลและเกลือแร่น้อยหรือปานกลาง หรือบางครั้งจะสลับดื่มน้ำเปล่าก็ทดแทนได้เช่นกัน        - ควรดื่มน้ำเกลือแร่เมื่อร่างกายรู้สึกขาดน้ำจริงๆ ไม่ควรดื่มพร่ำเพรื่อ เพราะอาจมีผลเสียต่อร่างกาย เช่น ทำให้ฟันผุ เนื่องจากส่วนผสมของน้ำตาลและกรดต่างๆ จะไปกัดกร่อนสารเคลือบฟัน        - หากมีอาการขาดน้ำจากท้องเสีย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่แก้ท้องเสีย (ORS) โดยเฉพาะ ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับการออกกำลังกายแทน เพราะอาจทำให้ถ่ายเหลวมากขึ้นได้        - การดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ถ้าไม่หายหรือรุนแรงขึ้นควรปรึกษาแพทย์ข้อมูลอ้างอิงข่าวจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ : เผยผลตรวจเครื่องดื่มเกลือแร่ (1 มิ.ย. 2563)https://www.pobpad.com : เครื่องดื่มเกลือแร่ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อร่างกาย

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 266 ผลทดสอบฟอร์มาลินในแมงกะพรุนดอง

        แมงกะพรุนเป็นอาหารทะเลชนิดหนึ่ง ที่คนไทยนิยมรับประทานนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายทั้งยำหรือนำมาใส่ในก๋วยเดี๋ยวเย็นตาโฟ และยังเป็นที่ชื่นชอบของคอชาบู สุกี้ ด้วยสัมผัสที่กรุบกรอบ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการสุ่มตรวจวการปนเปื้อนของฟอร์มาลิน ซึ่งเป็นสารต้องห้ามไม่ให้นำมาใช้กับอาหาร แต่ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยรักษาสภาพของอาหารโดยเฉพาะอาหารทะเลซึ่งเน่าเสียง่าย ฟอร์มาลินจะช่วยคงสภาพให้อาหารทะเลไม่เน่าเสีย สดอยู่ได้นานๆ นั้น แมงกะพรุนติดอันดับท็อปเสมอคู่มากับหมึกกรอบ หมึกสด และกุ้ง (ติดตามผลทดสอบฟอร์มาลินในหมึกกรอบได้ใน ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 265 มีนาคม 2566         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่าง แมงกะพรุนดอง จำนวน 13  ตัวอย่าง จากแหล่งจำหน่ายสินค้า ได้แก่ ตลาดสด 7 แห่ง ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต 4 แห่ง และร้านค้าออนไลน์ 2 แห่ง  แล้วนำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 17025 สรุปผลการทดสอบ         จากแมงกะพรุนดอง จำนวน 13 ตัวอย่าง ไม่พบการปนเปื้อนทุกตัวอย่าง (ดูรายละเอียดในหน้าถัดไป)  ตารางผลทดสอบฟอร์มาลินในแมงกะพรุนดอง จำนวน 13 ตัวอย่างเก็บตัวอย่างเดือนเมษายน 2566ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)