ฉบับที่ 265 ค่าแรงขั้นต่ำ คุณภาพชีวิตต่ำ กับข้อถกเถียงเรื่อง ‘เซอร์วิสชาร์จ’

        'การมีจิตใจบริการ' หรือ 'service mind' เป็นภาพลักษณ์หนึ่งที่เกื้อหนุนอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยวของไทยให้เติบโตมาหลายทศวรรษ
        'คนไทยเป็นคนมีน้ำใจ' เป็นภาพลักษณ์เชิดชูความเป็นไทยแบบเหมารวมและยากพิสูจน์ที่ถูกเชื่อว่าหนุนหลังให้เกิด service mind แง่มุมอันงดงามเรื่องน้ำใจที่มีแง่คมต่อการขูดรีดแรงงาน
        ก่อนหน้านี้เกิดประเด็นเรื่อง 'เซอร์วิสชาร์จ' ว่าเก็บได้หรือไม่ได้ ถ้าจะเก็บต้องทำอย่างไร ผู้บริโภคไม่จ่ายได้หรือไม่ ฯลฯ เรื่องนี้มีตำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนในทางกฎหมาย ซึ่งเราจะรวบตึงมามัดไว้ด้วยกันให้ผู้บริโภคได้ทำความเข้าใจ 
        นอกเหนือจากนี้ จะชวนไปฟังความเห็นของเจ้าของร้านอาหารที่ผูกพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยว และจะชวนไปฟังเสียงบาริสต้าจากสหภาพแรงงานบาริสต้า คนทำงานบริการตัวเป็นๆ ผู้ไร้สุ้มเสียงจากข้อถกเถียงที่พวกเขาไม่ควรถูกทำให้เงียบ
 



เก็บได้ แต่ต้องชัดเจน 
        ก่อนที่งานบริการจะค่อยๆ ถูกยกมาตรฐานวิชาชีพและองค์ความรู้ตามสายงานอันหลากหลายเช่นปัจจุบัน ในสังคมอเมริกันงานบริการอย่างงานเสิร์ฟอาหารเคยเป็นงานขั้นต่ำสุดที่คนหลีกเลี่ยง แต่มันก็เป็นงานที่จำเป็นต้องมีใครสักคนรับหน้าที่ เซอร์วิสชาร์จจึงเข้ามาเพิ่มแรงจูงใจเพื่อดึงดูดแรงงานและยังมีบทบาทถึงปัจจุบัน 
        แล้วเซอร์วิสชาร์จเก็บได้ไหม? เอาตรงนี้ก่อน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. ออกมาให้ข้อมูลว่า ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าอาหารตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 69 ..2565 ข้อ 9 ได้ เซอร์วิสชาร์จนับเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามประกาศ 
        กฎหมายดังกล่าวยังกำหนดอีกว่า หากผู้ประกอบการจะคิดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็จำเป็นต้องแสดงค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้ชัดเจนและครบถ้วนโดยแสดงควบคู่กับราคาอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคทราบประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้บริการหรือไม่ อันเป็นสิทธิของผู้บริโภคตาม ...คุ้มครองผู้บริโภค ..2522 มาตรา 4 ที่ระบุถึงสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการ ประกอบด้วย
        1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
        2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
        3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
        4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
        5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหายเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตาม ข้อ -4 
        และเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการควรแจ้งการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นไว้บริเวณหน้าร้านค้า มีกำหนดราคาที่เหมาะสมตามสมควร หากผู้ประกอบการไม่ดำเนินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศฉบับนี้ ผู้บริโภคอาจปฏิเสธไม่ชำระค่าใช้จ่ายอื่นและสามารถร้องทุกข์ต่อกรมการค้าภายในได้
 
ทางเลือกของผู้บริโภค 
        สรุปว่าร้านอาหารสามารถเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จได้ แต่ต้องทำตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ถึงกระนั้นก็มีร้านอาหารบางแห่งเลือกที่จะไม่เก็บ     
        พันชนะ วัฒนเสถียร นายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่และเจ้าของร้านอาหารเป็นลาวซึ่งไม่มีการเก็บเซอร์วิสชาร์จให้เหตุผลว่า การเก็บเซอร์วิสชาร์จจะมาพร้อมกับความคาดหวังของลูกค้าต่อมาตรฐานการบริการ ขณะที่ร้านเป็นลาวมีนโยบายและรูปแบบการบริการที่เน้นความเป็นกันเอง 
        เราอยากรู้สึกเป็นเพื่อนกับลูกค้ามากกว่า แต่ถ้าในอนาคตเราต้องอยู่ในห้าง ต้องเป็นระบบ อันนั้นก็ไม่แน่ ต้องพิจารณากันอีกที แต่โดยส่วนตัวพบว่าสำหรับร้านเราไม่มีนโยบายเพราะเรารู้ว่าเราอาจบริการไม่ดีและก็ไม่อยากให้ลูกค้าคาดหวัง รู้สึกว่าจ่ายแล้วไม่คุ้มค่าพันชนะยังอธิบายต่ออีกว่า 
        ในเมืองไทยการเก็บเซอร์วิสชาร์จเกิดขึ้นและวิวัฒนาการมาพร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมโรงแรม มันเป็นแรงจูงใจให้แก่พนักงานที่แม้ว่าฐานเงินเดือนจะต่ำ แต่ได้รับค่าเซอร์วิสชาร์จจากการเข้ามาใช้บริการของแขกเป็นสิ่งชดเชย เมื่อมองในแง่การบริหารต้นทุน มันทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการไม่สูงจนเกินไป เซอร์วิสชาร์จจึงมีหน้าที่ของมันในระบบนิเวศของธุรกิจ 
        เมื่อถามเธอในฐานะนายกสมาคมท่องเที่ยวเขาใหญ่ เธอเห็นว่าควรปล่อยให้เป็นนโยบายของแต่ละร้านที่จะเลือกเก็บหรือไม่เก็บเซอร์วิสชาร์จ เพราะร้านอาหารในเขาใหญ่เองมีความหลากหลาย ตั้งแต่สตรีทฟู้ดถึงแบบ fine dining ที่มีมาตรฐานการบริการขั้นสูง การกำหนดว่าต้องเก็บหรือไม่เก็บอาจไม่สอดคล้องกับสภาพของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสถานการณ์ที่เป็นอยู่เวลานี้ พันชนะบอกว่ามีร้านอาหารไม่ถึงร้อยละ 30 ในเขาใหญ่ที่มีการเก็บเซอร์วิสชาร์จ และควรปล่อยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกว่าต้องการระดับการบริการแบบไหน
 
เก็บได้ แต่ต้องเป็นของพนักงาน 
        ถามย้อนกลับมาฝั่งผู้บริโภคบ้างว่ายินดีจ่ายหรือไม่ ตามทัศนะของ พีรพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์ เจ้าของเพจกินกับพีท และพุธิตา ปราบ เจ้าของเพจ Wander Girls ทั้งคู่เป็นเพจรีวิวร้านอาหาร คาเฟ่ สปา เห็นว่าทางร้านสามารถเก็บเซอร์วิสชาร์จได้ 
        ถ้าถามในมุมผู้ประกอบการคิดว่าเป็นสิ่งที่ควรมีพีรพัฒน์อธิบายเป็นกำลังใจให้พนักงาน แต่ประเด็นคือการจะมีสิทธิตรงนี้ ทางผู้ประกอบการเองก็น่าจะต้องคอยหมั่นเทรนพนักงานให้มีมาตรฐานที่ดีในการบริการลูกค้า ทั้งในส่วนหน้าร้านและในครัว เพราะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน 
        ส่วนพุธิตามีจุดยืนว่า service charge ควรต้องมี 
        เซอร์วิสชาร์จควรจะเป็นการเอาไปหารระหว่างพนักงานด้วยกันเอง ด้วยค่าแรงขั้นต่ำประเทศไทยคนทำงานในสายงานพวกนี้ไม่ได้เงินเดือนสูงอยู่แล้ว บวกกับวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนอเมริกาที่ทิปหนัก เซอร์วิสชาร์จยังจำเป็นอยู่เพื่อให้คนที่ทำงานด้านนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น มันก็มีกฎหมายไม่ให้เซอร์วิสชาร์จเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ก็ไม่ได้แรงมาก คิดว่ามันเล็กน้อยมากกับสิ่งที่เขาต้องทำงานให้เรา 
        แต่เมื่อเก็บเซอร์วิสชาร์จ การบริการก็ควรต้องมีมาตรฐานในระดับหนึ่ง พีรพัฒน์กล่าวว่าผู้ประกอบการต้องจัดอบรมพนักงานด้านมาตรฐานการให้บริการ ขณะที่พุธิตามองต่างเล็กน้อยว่า บริการดีหรือไม่ดี ค่อนข้างเป็นเรื่องอัตวิสัย แต่ละคนมีความคาดหวังต่างกัน การให้บริการตามที่เป็นอยู่จึงถือว่าเพียงพอ หากร้านไหนบริการแย่จริงๆ ก็มีการโซเชียล แซ็งชั่นอยู่แล้วในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำกับร้านอาหารให้ต้องรักษาคุณภาพบริการ
        ประเด็นที่ทั้งคู่เห็นพ้องต้องกันคือเซอร์วิสชาร์จควรเป็นของพนักงาน ไม่ใช่ผู้ประกอบการ
        พีรพัฒน์ กล่าวว่าผมเข้าใจว่าเจอหลายที่ที่เอาสิบเปอร์เซ็นต์นี้เก็บเข้าตัวเอง พนักงานไม่ได้ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องดูอย่างชัดเจนว่าลูกน้องได้หรือเจ้าของเก็บ ผมมองว่าควรลงที่พนักงานเต็มๆ มากกว่า
 
ในมุมคนทำงานคุ้มครองสิทธิ 
        อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่ากฎหมายไม่ได้กำหนดว่าเซอร์วิสชาร์จที่อยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ต้องเก็บเท่าไหร่ ระบุเพียงว่าต้องเหมาะสมซึ่งโดยปกติที่เก็บกันทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 10 ของค่าอาหารในแต่ละครั้ง 
        จุดนี้เอง นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เคยให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย https://www.bbc.com/thai/articles/cx808jy8g3qo ว่า การเก็บเซอร์วิสชาร์จในไทยไม่มีมาตรฐานอ้างอิง ผู้บริโภคไม่รู้ว่าที่เก็บไปร้อยละ 10 ของราคาคิดจากอะไร ซึ่งทางมูลนิธิเคยหารือเรื่องนี้กับ สคบ. และกรมการค้าภายใน แต่ก็ไม่มีระเบียบหรือมาตรฐานกำหนดไว้ บอกเพียงว่าเก็บได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ ติดป้ายหน้าร้านเพื่อให้คนที่จะเข้ามากินเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเธอกล่าวว่าไม่ค่อยพบเห็นร้านที่ติดป้ายบอกว่ามีการเก็บเซอร์วิสชาร์จ
        นฤมลตั้งข้อสังเกตต่อไปด้วยว่า ในเมืองไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องค่าทิปและเซอร์วิสชาร์จอย่างจริงจัง เช่น เงินส่วนนี้คิดเป็นมูลค่าเท่าไรของรายได้ของธุรกิจค้าปลีกและบริการของไทย อ้างอิงจากมาตรฐานอะไร หรือเซอร์วิสชาร์จตกถึงมือพนักงานหรือไม่ 
        ถึงตรงนี้เราจะเห็นร่องรอยสำคัญบางอย่างที่ขาดหายไปในการถกเถียงเรื่องเซอร์วิสชาร์จ นั่นก็คือเหล่าพนักงานบริการซึ่งสุ่มเสี่ยงจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง
         
จิตใจบริการหรือจิตวิญญาณของความเป็นทาส?
        เชียงใหม่ เมืองท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยร้านอาหารและคาเฟ่ จากการเปิดเผยของ เริงฤทธิ์ ลออกิจ บาริสต้าและสมาชิกสหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่ ทำให้รู้ว่ายังมีพนักงานบริการที่ไม่ได้รับค่าแรงตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 
        เขาให้ข้อมูลอีกว่าค่าแรงขั้นต่ำของเชียงใหม่ที่ประกาศใช้ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 คือ 340 บาทต่อวันหรือ 10,200 บาทต่อเดือน ที่ได้มากกว่านี้อาจอยู่ที่ประมาณ 11,000-12,000 บาท มันเป็นรายได้ที่ต่ำเกินกว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เป็นเหตุผลที่ทำให้เขาสนับสนุนให้มีการเก็บเซอร์วิสชาร์จ 
        มุมมองต่อลูกค้าจากแรงงานอย่างเรา เมื่อก่อนหนักมาก ปัจจุบันก็ยังมีอยู่คือการเปรียบลูกค้าเป็นพระเจ้า ทำให้ทุกบริการของแรงงานเป็นบริการพิเศษ ไม่ใช่แค่ผมไปเสิร์ฟ แต่ผมต้องยิ้มแย้ม ที่จริงผมไม่ต้องยิ้มก็ได้ งานผมแค่เสิร์ฟ แต่ในไทยไม่ได้ เราต้องมีเซอร์วิสไมด์ วันนี้จะมีปัญหาอะไรก็ตาม ต้องยิ้ม พอนิยามว่าลูกค้าคือพระเจ้า เราแทบจะบริการลูกค้าเต็มที่อยู่แล้ว เพิ่มด้วย         
        เวลามีคนมารีวิวร้านผมว่าบริการดี เป็นมิตร ผมก็จะบอกกับเพื่อนคนทำงานด้วยกันว่า ใช่สิ เพราะใส่จิตวิญญาณของความเป็นทาสลงในบริการนั้นด้วย แบบนี้ควรจะได้มั้ย แต่มันก็เป็นงานประจำของคุณอยู่แล้ว นั่นไง แล้วมันต้องพิเศษขนาดไหนเริงฤทธิ์ตั้งคำถาม



กฎหมายคลุมเครือเปิดช่องนายจ้างฮุบเงินเซอร์วิสชาร์จ
        กฎหมายอนุญาตให้ผู้ประกอบเก็บเซอร์วิสชาร์จได้และนับเป็นรายได้ แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าต้องจัดการอย่างไรกับเซอร์วิสชาร์จ ต้องให้พนักงานหรือไม่ ต้องให้ในสัดส่วนเท่าไหร่ ช่องว่างนี้กลายเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเก็บเซอร์วิสชาร์จเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของตนโดยไม่แบ่งให้พนักงานตามที่พีรพัฒน์เล่า        
       กฎหมายให้ไปตกลงกันเอง คิดว่านายจ้างกับลูกจ้างใครมีอำนาจการตัดสินใจมากกว่ากัน ไม่มีหลักประกันว่านายจ้างให้เท่านี้สมเหตุสมผลแล้ว พอไม่มีหลักประกัน แรงงานไม่กล้ามีปากเสียงในเรื่องเซอร์วิสชาร์จที่จะได้แต่ละเดือน ก็ต้องรอความอนุเคราะห์ของนายจ้าง อะไรคือหลักประกันของคนทำงานภาคบริการว่านายจ้างจะให้ ไม่มี มีนายจ้างฮุบเซอร์วิสชาร์จ แล้วเราจะพิทักษ์สิทธิ์ของตนได้ยังไงในเมื่อกฎหมายยังคลุมเครือเริงฤทธิ์อธิบาย 
        แม้กฎหมายจะเปิดทางให้ผู้ประกอบการใช้ดุลพินิจเองว่าจะเก็บหรือไม่เก็บเซอร์วิสชาร์จ แต่ถ้าธุรกิจใดเลือกจะเก็บ เริงฤทธิ์ก็เรียกร้องให้ต้องมีกฎหมายระบุชัดเจนลงไปว่าเงินที่ได้จากเซอร์วิสชาร์จต้องถูกนำมาแบ่งให้พนักงานทุกคนเท่าๆ กัน 
        ฟังดูสมเหตุสมผลที่จะเป็นเช่นนั้น พุธิตา กล่าวกับฉลาดซื้อว่า 
        ส่วนตัวรับไม่ได้ เซอร์วิสชาร์จเราเต็มใจจ่ายให้พนักงานที่มาดูแลเรา ถ้าเขาเก็บเข้าร้าน อันนี้ไม่ถูกต้อง แสดงว่ามันไม่ใช่ค่าอาหารที่แท้จริง แอบเสียบในเซอร์วิสชาร์จ ถ้าคุณจะเก็บเข้ากำไร คุณต้องใส่ในค่าอาหาร ในฐานะผู้บริโภค เดี๋ยวนี้มีการรณรงค์ว่าเวลาบริจาคไปตรวจสอบได้มากแค่ไหน อันนี้ก็เหมือนกัน เราพร้อมจ่ายเซอร์วิสชาร์จ แต่มันไปถึงคนที่เราอยากจะจ่ายให้จริงๆ หรือเปล่า ถ้ามันไม่ถึง เราทิปให้ยังจะง่ายกว่าอีก แต่ประเทศไทยมันไม่มีอะไรให้ตรวจสอบได้เลย ตอนที่มีดราม่าก็เคยลองอ่านดู มันมีบางคนที่ไม่ได้จริงๆ
 
ค่าแรงขั้นต่ำที่ต่ำเกินกว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี 
        เหมือนเป็นประโยคแบบมีเงื่อนไข กล่าวคือเพราะค่าแรงต่ำ เซอร์วิสชาร์จจึงต้องมี ดังนั้น ถ้าค่าแรงสูง เซอร์วิสชาร์จก็ไม่จำเป็น จริงๆ แล้วไม่ใช่ประโยคแบบมีเงื่อนไข เซอร์วิสชาร์จควรเรียกเก็บเป็นปกติเพื่อให้แก่การบริการของพนักงาน เป็นสิ่งที่เริงฤทธิ์และพุธิตาเห็นสอดคล้องกัน 
        เมืองไทยค่าแรงขั้นต่ำถูกนิยามว่าเป็นค่าตอบแทนที่คนทำงานได้รับซึ่งเพียงพอต่อค่าครองชีพของแรงงานคนนั้นเพียงคนเดียว แต่ค่าแรงขั้นต่ำตามนิยามสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือ ILO ค่าแรงขั้นต่ำต้องเพียงพอต่อการยังชีพตามอัตภาพของคนงาน รวมถึงภรรยาและบุตรอีก 2 คน เห็นได้ชัดว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทยห่างไกลจากหลักการสากลไปมาก 
        ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ เช่น เดนมาร์ก นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ เป็นต้น ไม่มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ แต่ใช้หลักการเจรจาร่วมระหว่างสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งและนายจ้าง ซึ่งต่างจากไทยที่นายจ้างเข้มแข็งมาก ส่วนสหภาพแรงงานอ่อนแอ 
        เหตุนี้ เงื่อนไขเดียวที่เริงฤทธิ์ยอมรับได้ถ้าจะไม่มีเซอร์วิสชาร์จคือ 
        ถ้าจะไม่มีเซอร์วิสชาร์จ คุณต้องทำให้แรงงานมีอำนาจที่จะรวมตัวและต่อรองขึ้นค่าแรงของตนเองได้โดยอิสระ

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

0 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค เซอร์วิสชาร์จ ร้านอาหาร งานบริการ บริการ

ฉบับที่ 270 เทคโนโลยี “ฝากไข่” ช่วยคนมีลูกเมื่อพร้อม กับข้อที่ต้องศึกษา รู้ก่อนเสียเงินมหาศาล

        ด้วยความที่ต้องทำมาหากินเลี้ยงปากท้อง หรือไม่ว่าจะเป็นเหตุผลความจำเป็นอื่นๆ ที่ทำให้หลายครอบครัวมีลูกเมื่ออายุมากขึ้น ด้ายสภาพร่างกายที่อาจไม่สมบูรณ์ถึงเวลานั้นบางคนก็ไม่สามารถมีลูกได้ หรือบางคนก็มีลูกยากและเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงทารกในครรภ์ที่เสี่ยงเกิดมาไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือในการมีลูกมากขึ้น อย่างเช่น หลายๆ ครอบครัวที่พอมีเงินก็จะเลือกใช้วิธี “ฝากไข่” ไว้กับสถานพยาบาลที่ให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากเอาไว้ก่อน เมื่อพร้อมจึงมาทำการผสมเทียมและฝังตัวอ่อนต่อไป         การกำกับดูแลสถานพยาบาลสำหรับผู้มีภาวะมีบุตรยาก         ปัจจุบันประเทศไทยถือว่ามีชื่อเสียงในเรื่องของการทำเด็กหลอดแก้ว จนแม้กระทั่งชาวต่างชาติที่มีปัญหาเรื่องมีบุตรยากก็เข้ามารับการรักษาในเมืองไทยจำนวนมากขึ้น เพราะมั่นใจในคุณภาพ มาตรฐานของสถานพยาบาลและบุคลากร ซึ่งในส่วนของสถานพยาบาลที่ให้การรักษาภาวะผู้มีบุตรยากนั้นจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)        นพ. สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสบส. อธิบายให้ฟังว่า การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเทคโนโลยีต่างๆ  แน่นอนว่ารวมไปถึงการเก็บไข่ ฝากไข่ กระทั่งสเปิร์มก็ตาม  ตลอดจนการตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) จะถูกกำกับด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ ทั้งเรื่องผู้รับบริการที่จะมีการกำหนดถึงความเป็นสามี ภรรยาตามกฎหมาย ตลอดจนกำหนดมาตรฐานสถานพยาบาล และบุคลากรการแทพย์           สำหรับ “สถานพยาบาล” ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฯ จะต้องจัดให้มี องค์ประกอบต่างๆ ตามมาตรฐาน ได้แก่ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด มีองค์ประกอบ ของบุคลากร ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์เพาะเลี้ยงตัวอ่อน สูตินรีแพทย์ พยาบาล รวมทั้งมีสถานที่ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว สบส. จะออกหนังสือรับรองมาตรฐานฯ ให้ พร้อมทั้งจัดทำ โปรแกรม ICMART-IVE ซึ่งเป็นโปรแกรมคลังข้อมูลด้าน เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ฯของประเทศไทย (Big-DATA)         “ขณะนี้ประเทศไทยมีสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฯ ทั้งสิ้น 110 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นสถานพยาบาลรัฐ 16 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน 94 แห่ง แบ่งเป็น โรงพยาบาลเอกชน 30 แห่ง และคลินิกเอกชน 64 แห่ง รองรับผู้รับบริการที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากทั้งคนไทยและต่างชาติ อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์เฉลี่ยสูงถึง 46 % ให้บริการทำเด็กหลอดแก้วกว่า 20,000 รอบการรักษา มีการผสมเทียมกว่า 12,000 รอบการรักษา  สร้างรายได้ในบริการทางการแพทย์นี้กว่า 7,500 ล้านบาท”         ส่วนเรื่องการตั้งครรภ์แทนนั้น ยิ่งมีความเข้มงวดมาก โดยกำหมายกำหนดว่า ในกรณีที่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้จะสามารถขออนุญาตดำเนินการให้มี การตั้งครรภ์แทนเป็นรายๆได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 23 ซึ่งจะต้องดำเนินการในสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรอง มาตรฐานการให้บริการด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และโดยแพทย์ที่มีคุณสมบัติตามที่ กฎหมายกำหนด ซึ่งหากผ่านการอนุญาตดำเนินการให้มีการตั้งครรภแทน ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จะออกหนังสืออนุญาตดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเป็นรายๆ ต่อไป           “นพ.สุระ” ย้ำว่า ประชาชนที่กำลังจะเข้ารับบริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์จะต้องทำในสถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐานฯ  ต้องดำเนินการโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และทำภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และห้ามทำในเชิงพาณิชย์ หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายทั้งแพทย์ นายหน้า คู่สมรส และหญิงที่ตั้งครรภ์แทน หากมีปัญหาในการรับบริการ หรือพบเห็นการทำผิดกฎหมายสามารถแจ้งที่สายด่วนกรม สบส. 1426  เรื่องต้องรู้ การตลาดกับบริการรับฝากไข่         แม้จะมีข้อกำหนดตามกฎหมายที่ชัดเจนในการให้บริการ แต่ที่ผ่านมาก็พบว่ามีปัญหาอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะการโฆษณาหรือนำเสนอข้อมูลที่ชวนให้เข้าใจผิด ตลอดจนสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ดังเช่นกรณีหนึ่งที่เข้ามาร้องเรียนต่อ “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” ก็เป็นปัญหาเริ่มตั้งแต่กระบวนการ “เก็บไข่ ฝากไข่” เลยด้วยซ้ำ และทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็ได้ เปิดเผยข้อมูลว่า มีผู้มาร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการฝากไข่ โดยผู้ร้องให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2564 ได้จ่ายเงินมัดจำจำนวน 100,000 บาท เพื่อตกลงซื้อแพ็คเกจฝากไข่ Oocyte Freezing Package ซึ่งราคาเต็มอยู่ที่ 189,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2565 เข้ารับการเก็บไข่ตามกระบวนการ พร้อมชำระเงินส่วนที่เหลือ รวมถึงค่ายาฮอร์โมนกระตุ้นเพิ่มเติมประมาณ 20,000 บาท  และวันที่ 21 มีนาคม 2565 โรงพยาบาลดังกล่าวได้นัดผู้ร้องเพื่อฟังผล และแจ้งว่าจะต้องชำระเงินเพิ่มอีก 40,000 บาท เพื่อแช่ไข่ที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 ปี ตามแพ็คเกจของโรงพยาบาลฯ แต่พยาบาลแจ้งแก่ผู้ร้องว่ายังไม่ต้องดำเนินการชำระเงิน ให้ผู้ร้องมาต่อสัญญาใหม่หลังจากสัญญาเดิมครบกำหนด เมื่อครบกำหนด 1 ปี         โรงพยาบาลฯ ส่งข้อความ ผู้ร้องเข้าใจว่าโรงพยาบาลติดต่อเพื่อให้เข้าไปดำเนินการต่อสัญญาตามใบนัด แต่ปรากฏว่าโรงพยาบาลแจ้งว่าศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจะดำเนินการปิดศูนย์ฯ โดยทางโรงพยาบาลมีข้อเสนอดังนี้ 1. ให้ผู้ร้องย้ายไปฝากกับ “แพทย์ที่ดูแลผู้ร้อง” ซึ่งได้ย้ายไปทำหัตถการในคลินิกอื่น หรือ 2. ให้ฝากกับโรงพยาบาลในเครือของโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าว แต่ผู้ร้องจะต้องชำระค่าฝากปีแรก 20,000 บาท และปีถัดไปขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลในเครือกำหนด         ทั้งนี้ ผู้ร้องไม่ประสงค์ย้ายการฝากไข่ไปที่คลินิกอื่นเพราะเชื่อมั่นในชื่อเสียงของโรงพยาบาลจึงตัดสินใจเลือกฝากที่โรงพยาบาลเดิมตั้งแต่แรกแม้จะมีค่าใช่จ่ายที่สูงกว่า แต่การที่ให้ยายไปฝากไข่ที่โรงพยาบาลในเครือแล้วต้องจ่ายค่าฝากปีแรก 20,000 บาท ส่วนปีถัดไปขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลในเครือกำหนดนั้น ผู้ร้องมองว่าไม่เป็นธรรม เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเดิมที่ได้ทำข้อตกลงกับโรงพยาบาลเอกชนแห่งนี้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายในการฝากแช่ไข่ 5 ปี จำนวน 40,000 บาท ไปอีกหลายเท่า ซ้ำในปีถัดไปโรงพยาบาลก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าผู้ร้องจะต้องจ่ายเท่าไหร่  จึงร้องเรียนมายังมูลนิธิฯเพื่อขอความช่วยเหลือ         ภายหลังรับเรื่องร้องเรียน ทางมูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือถึงผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนดังกล่าวเมื่อเดือนเมษายน 2566 ซึ่งทางโรงพยาบาลฯ ก็ได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า โรงพยาบาลพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ร้อง โดยหากผู้ร้องประสงค์ย้ายไปฝากไข่กับสถานพยาบาลอีกแห่งจะคิดค่าใช้จ่ายในการฝากไข่ปีละ 20,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มย้ายไข่ หากครบกำหนดระยะเวลา 5ปี ค่าใช้จ่ายจะเป็นไปตามที่สถานพยาบาลแห่งนั้นกำหนด แต่ผู้ร้องปฏิเสธข้อเสนอ        มูลนิธิฯ จึงทำหนังสือขอให้ทบทวนค่าใช้จ่ายในการย้ายไปฝากไข่ที่สถานพยาบาลแห่งใหม่ โดย 3 ปีแรกขอให้คิดค่าใช้จ่ายจำนวน 40,000 บาท และ ปีต่อๆไป ปีละ 15,000 อีก 2 ปี ทั้งนี้หากไม่สามารถตกลงกันได้ผู้ร้องขอใช้สิทธิทางศาลเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป แต่ปรากฏว่าทางโรงพยาบาลปฏิเสธข้อเสนอของมูลนิธิฯ ทำให้ทางฝั่งผู้ร้องมีการปรึกษาหารือกับทีมกฎหมายอยู่ระยะเวลาหนึ่ง สุดท้ายตัดสินใจย้ายไข่ไปฝากกับสถานพยาบาลแห่งอื่นแทน แต่ก็ยังติดปัญหาเรื่องน้ำยาการแช่ไข่ทำให้ไม่สามารถย้ายไปโรงพยาบาลปลายทางที่ผู้ร้องเลือกได้ ทำให้ผู้ร้องต้องเลือกข้อเสนอของโรงพยาบาลเอกชนดังที่ระบุไว้ในตอนต้น         ทั้งนี้ จะเห็นว่าเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่บกพร่องจากตัวผู้บริโภคเอง สุดท้ายต้องมาแบกรับค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นธรรม ดังนั้น มูลนิธิฯ จึงขอแนะนำผู้ที่มีความสนใจอยากฝากไข่ จะต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจ  เก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ไว้ เช่น ใบโฆษณา รายละเอียดคอร์ส หลักฐานการชำระเงิน ให้ครบถ้วนและที่สำคัญต้องมีสัญญา โดยสัญญาต้องมีความชัดเจน ระบุรายละเอียดข้อมูลครบถ้วน เช่น กรณีการยกเลิกสัญญา การย้ายโรงพยาบาล การคืนเงิน เป็นต้น         เทคโนโลยีเข้ามาช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่อยากมีลูกสามารถมีลูกได้สมความตั้งใจ ทุกฝ่ายทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้กำกับดูแล ต่างอยู่บนพื้นฐานกฎหมาย แม่หวังแต่ประโยชน์หรือผลกำไรที่จะ “เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์” เชื่อว่า นอกจากจะเป็นการช่วยให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์แล้ว ยังช่วยให้ประเทศชาติมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น สู้กับวิกฤติเด็กเกิดน้อยในปัจจุบันได้ จากนั้นก็เข้ากระบวนการหล่อหลอมทางการศึกษา สังคม เพื่อสร้างคนที่มีคุณภาพเป็นกำลังหลักของประเทศต่อไปอ้างอิงจากบทความของเว็บของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา National Institutes of Healthhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4554370/#:~:text=The%20most%20problematic%20aspects%20in,granted%20oocyte%20cryopreservation%20is%20a..................................................Ø ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มีนาคม 2566) สถานพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ – กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ (moph.go.th)

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 269 ความเปราะบางของสิทธิผู้บริโภคในหนี้รถยนต์

        เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้จัดการใหญ่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ นายสุรพล โอภาสเสถียร ได้ออกมาเตือนถึงสถานการณ์หนี้เสียสินเชื่อรถยนต์ที่พุ่งสูง  มีรถยนต์เสี่ยงจะถูกยึดถึงกว่า 1 ล้านคัน เป็นสัญญาณเศรษฐกิจพัง ไม่ใช่แค่หงอย หรือ ซึม!         กลุ่มลูกหนี้ที่กำลังจะเป็นหนี้เสียในไตรมาสที่ 1 / 66 จำนวน 190,000  ล้านบาท และกลุ่มลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียแล้วในไตรมาสที่ 1 / 66 จำนวน 180,000 ล้านบาท ทั้ง 2 กลุ่มมีมูลหนี้เพิ่มสูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวในจากปีก่อนถึงกว่า 40,000 ล้านบาท        กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาหนี้เสียคือกลุ่ม GEN Y ช่วงอายุ 18 – 32 ปี  มีพฤติกรรมจ่ายค่างวด 1- 3 งวด หรือค้าง 2 งวด และกลับมาจ่ายในงวดที่สามเพื่อประคับประคองหนี้ และไม่ให้รถถูกยึด!         นี่เป็นเพียงสถานการณ์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 66 เท่านั้น ยังไม่ต้องกล่าวถึงสถานการณ์ตลอดทั้งปีที่จะเกิดขึ้น         ผู้คนจำนวนมากกำลังตกในสถานการณ์เป็นหนี้เสียในกลุ่มหนี้เช่าซื้อรถยนต์ กลุ่มหนี้ที่ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองน้อยที่สุดประเภทหนึ่ง เพราะประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้เช่าซื้อทำให้ต้องอาศัยกฎหมายหลายฉบับทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรมและกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีผลบังคับใช้กับสัญญาหลากหลายประเภทไม่ใช่เพียงสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นทำให้ยังเกิดความ ‘ไม่พอดี’ หรือ ‘ช่องว่าง’ ในการกำกับดูแลทำให้ผู้บริโภคยังถูกเอาเปรียบ เช่น กรณีคุณยุพิน อายุ 45 ปี ทำอาชีพค้าขาย ใน จ. สุรินทร์ ที่เริ่มมีปัญหาค้างส่งงวดรถตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิดที่ผ่านมา          “ก่อนที่ยังไม่เกิดปัญหาโควิด พี่ยังหารายได้ได้คล่อง แต่เมื่อเกิดโควิดแล้วทางจังหวัดสั่งให้หยุดตลาดนัด 3 เดือน ทั้งเช้า- เย็น เราก็หมดโอกาสทำมาหากินแล้ว ตอนนั้นเราผ่อนรถอยู่กับอีกธนาคาร รายจ่ายเราเท่าเดิมแต่รายได้เราไม่มี ทั้งค่าบ้าน ค่าลูกไปโรงเรียน ค่ารถโรงเรียน ค่าเช่าบ้าน แล้วมีรายได้ทางเดียวเราเลยต้องไปพึ่งเงินกู้ที่จ่ายดอกเบี้ยรายวันมาช่วยเราส่งเคลียร์หมด พอเราหมุนเงินไม่ทัน ค้างงวดรถ เราต้องจ่ายแบบค้าง 2 งวด และจ่ายงวดที่ 3 เพื่อให้รถยังอยู่เพราะเราต้องเอารถใช้ขับขายของ ”         “พอเข้างวดที่ 3 เราก็ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ) เขาบอกว่าหลังจากค้างถึงงวดที่ 3 แล้วต้องบวกไปอีกไม่เกิน 30 วัน  สัญญาจะยกเลิกอัตโนมัติแล้วถึงจะมีสิทธิยึดรถ เราก็เชื่อแบบนั้น แต่พอค้างงวดที่ 3 ผ่านไปวันเดียวเขามาที่บ้านเลย เราก็บอกว่า คุณจะยึดไม่ได้นะ เขาก็ไม่ฟัง เราบอกว่ายังมีกฎหมายที่ยังคุ้มครอง  เราไม่ให้ยึดเขาก็ไม่ยอม  เราเลยบอกว่าจะหาเงินมาให้ 1 งวด เขาบอกไม่ได้  คุณต้องเคลียร์ทั้งหมด  อย่างสมมุติเราผ่อนเดือนละ 10,000 เราก็ต้องหาเงินไปให้เขา 30,000 บาท พร้อมค่าติดตามอีก หลังจากนั้นไม่เกิน 1 อาทิตย์เราก็ส่งเข้าไปอีก 1 งวด เป็น 2 งวด เขาก็หยุดตามแต่บอกให้จ่ายเพิ่มให้คนติดตามอีก 1,200 เราก็ไม่ได้ให้ ”         หลังจากนั้นด้วยมีรายได้ไม่แน่นอน แม้เมื่อเริ่มกลับมาขายของในตลาดได้ แต่เมื่อเข้าช่วงหน้าฝน ขายของในตลาดนัดไม่ได้ติดต่อกัน 2-3 สัปดาห์ คุณยุพินเริ่มกลับมาค้างจ่าย แต่เมื่อหาเงินกลับไปโปะค่างวดรถกลับมีปัญหาที่หาข้อยุติไม่ได้ คุณยุพินจึงตัดสินใจรีไฟแนนซ์กับอีกสถาบันการเงินหนึ่ง         “เราเอาเงินไปจ่ายค่างวด 16,000 บาท จ่ายที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคารแต่เขาตัดเป็นค่าติดตามทวงถามทั้งหมดไม่ตัดงวดให้เรา เราเลยไม่เอาแล้ว พอมารีไฟแนนซ์กับอีกที่ เราไม่จ่ายหน้าเคาน์เตอร์แล้ว อันนี้คือบทเรียนที่เราได้เรียนรู้”         “ตอนนี้รถยังอยู่ เพราะเรายังพยายามจ่ายงวด 3 ไว้ เพื่อเอารถไว้ทำมาหากิน เราไม่คิดว่าจะเอารถไปแอบซ่อนไว้ที่ไหน เราชัดเจนว่าเราทำมาหากิน ถามว่าเราเสียเปรียบไหมเรารู้อยู่แล้วไฟแนนซ์เป็นแบบนี้  การจัดแบบนี้เราก็ยอมรับแต่ที่เป็นปัญหาเศรษฐกิจมันไม่ดีแบบนี้ เราจ่ายอยู่แล้ว เพราะเราอยากเอารถไว้ใช้ทำมาหากิน เราคิดว่ามีประชาชนแบบเราเยอะ เราถาม สคบ. เรายังอยู่ในช่วงเวลาที่กฎหมายคุ้มครองแต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่ นี่เป็นช่องว่างที่ประชาชนยังขาดความคุ้มครอง”         กรณีของคุณยุพินเป็นตัวอย่างสะท้อนว่า ประเทศไทยยังขาดกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้เช่าซื้อที่เพียงพอ มีประสิทธิภาพและสามารถเป็นแนวทางให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติได้ถูกต้องตรงตามกันได้    สรุปปัญหา ที่ยังขาดการคุ้มครองผู้บริโภคในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์        · ดอกเบี้ยในช่วงที่พักชำระหนี้ มีการคิดไม่เป็นธรรม        · ไม่มีการกำหนดอัตราค่าทวงถามหนี้ที่ชัดเจน  ผู้ทวงถามหรือไฟแนนซ์คิดตามใจ        · การคิดยอดหนี้เช่าซื้อส่วนขาดไม่ชัดเจน และสูงกว่าที่ศาลจะพิพากษาให้ได้        · กฎหมายยังให้อำนาจกับผู้ให้เช่าซื้อมากเกินไป กล่าวคือยังไม่มีการนำสัดส่วนของการผ่อนชำระมาคิดให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ เช่น แม้ผู้เช่าซื้อบางรายจะผ่อนชำระมาจนใกล้จะหมดแล้ว แต่เมื่อขาดส่ง รถก็ถูกยึดไปอย่างง่ายดายแนวทางการต่อสู้ในชั้นศาล เมื่อถูกไฟแนนซ์ฟ้องคดี   ทนายความ กิตติศักดิ์ ธนันณัฏฐ์  ทนายความมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ได้ให้คำปรึกษาเรื่องหนี้รถยนต์ และการเงินการธนาคารโดยเฉพาะ ได้สรุปข้อควรรู้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคไว้ดังนี้         · ผู้เช่าซื้อสามารถคืนรถแบบไม่ต้องจ่ายค่าส่วนต่างแม้แต่บาทเดียว หากไม่มีค่างวดรถค้างจ่าย เรื่องนี้ศาลได้มีคำพิพากษาออกมาแล้ว ใน  ฎ 1203/2565 , ฎ 5239/2561        · หากค้างจ่าย 3 งวดซ้อน กฎหมาย มีเงื่อนไขกำหนดให้ไฟแนนซ์ ต้อง” ทำหนังสือบอกเลิกสัญญา “แจ้งมาถึงผู้เช่าซื้อ “ และต้องนับไปอีก 30 วัน นับจากที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ นั่นถึงจะทำให้ การบอกเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์ตามสัญญาและตามกฎหมาย  หากไฟแนนซ์ มายึดรถไปก่อน  “ค่าส่วนต่างผู้เช่าซื้อไม่เสียแม้แต่บาทเดียว ” แต่ผู้เช่าซื้อ ยังต้องรับภาระ นั่นคือ “จ่ายค่าขาดประโยชน์ “ ในช่วงที่ค้างจ่ายค่าเช่าซื้อรถ 3 งวด        · เมื่อผู้เช่าซื้อถูกฟ้องร้องในชั้นศาล  ผู้เช่าซื้อควรยื่นคำให้การสู้คดีในชั้นศาลเพื่อร้องให้ศาลพิพากษาโดยการคำนวนเงินต้น และดอกเบี้ยแยกจากกัน  เช่น ราคาเช่าซื้อรถ 1 ล้านบาท ต้นทุนรถจริงอยู่ที่ราคา 6 แสนบาท บวก ดอกเบี้ย 60 งวด หรือ 5 ปี เท่ากับ 4 แสนบาท  สมมุตเมื่อจ่ายเงินงวดให้ไฟแนนซ์ ไปแล้ว 5 แสนบาทและไฟแนนซ์ ได้ยึดรถไปขายทอดตลาดได้เงิน 2.5 แสนบาท ไฟแนนซ์จึงได้กำไรแล้วส่วนหนึ่ง ศาลจึงจะพิพากษาให้ผู้เช่าซื้อรับผิดชอบให้อีกตามความเหมาะสมซึ่งจะไม่สูงตามที่ไฟแนนซ์ได้ร้องขอต่อศาล           · ดังนั้นหากผู้เช่าซื้ ถูกไฟแนนซ์ฟ้องผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ อย่าตกใจ สามารถสู้คดีในศาล เพื่อลดหนี้ได้ แต่สิงสำคัญคือต้องไปศาล  นี่คือสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงเพื่อพิทักษ์สิทธิของท่านเองเพื่อให้ ศาลมีข้อมูลเพียงพอที่ใช้คัดง้างกับคำขอของไฟแนนซได้          · เมื่อถูกไฟแนนซ์ยึดรถเอาไปขายทอดตลาด  ไฟแนนซ์จะต้องมีหนังสือแจ้ง ผู้เช่าซื้อ ให้รับทราบ วัน - เวลา และ สถานที่ขาย ล่วงหน้า อย่างน้อย 7 วัน หากไฟแนนซ์ ไม่ยอมแจ้ง , ศาล ยกฟ้อง ทุกกรณี คณะกรรมการสัญญา “ เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา” ต้องทำตามระเบียบขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด   ความเคลื่อนไหว เพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ในปัจจุบัน   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค        ช่วงเดือน มกราคม ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ ออกมาตรฐานกลางเพื่อให้มีการกำกับดูแลที่ครอบคลุมและเท่าเทียมในการให้บริการด้านนี้แก่ประชาชน ภายใต้ข้อกำหนดใหม่ของ สคบ. คือการกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยการให้เช่าซื้อที่คำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแล้ว ต้องไม่เกิน 10% ต่อปีสำหรับรถยนต์ใหม่ ไม่เกิน 15% สำหรับรถยนต์มือสอง และไม่เกิน 23% สำหรับรถจักรยานยนต์ การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้ซื้อรถได้รับประโยชน์เป็นสำคัญ โดยผู้ซื้อรถที่ทำสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 จะใช้ข้อกำหนดใหม่ดังกล่าว         หากลูกหนี้นำเงินก้อนมาโปะปิดก่อนกำหนด เกณฑ์ใหม่กำหนดให้ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระไม่เกิน 40% (จากเดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 50%) ของยอดดอกเบี้ยคงเหลือ โดยขึ้นอยู่กับจำนวนค่างวดที่ชำระไปแล้วด้วย เช่น หากชำระค่างวดมาเกิน 2 ใน 3 ของทั้งหมด แล้วนำเงินก้อนมาโปะปิดได้ก่อนกำหนด จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เหลือ รวมทั้งลดเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระค่างวดเหลือไม่เกิน 5% จากเดิมไม่เกิน 15% และปรับการคิดติ่งหนี้กรณีรถที่โดนยึด ให้คิดได้เฉพาะค่างวดที่ผิดนัดชำระ ค่างวดที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระและค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ก่อนมีการบอกเลิกสัญญา นอกจากนี้ ผู้ให้บริการยังต้องแจ้งสิทธิเรื่องการซื้อรถคืนและการขายทอดตลาดให้ลูกหนี้ทราบชัดเจน ซึ่งเกณฑ์ใหม่ทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อลูกหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)         ร่วมกันจัดทำ “ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจทางการเงินบางประเภทอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551” (พ.ร.ฎ. ธุรกิจเช่าซื้อ-ลีสซิ่ง) เพื่อให้การประกอบธุรกิจการให้เช่าซื้อและลิสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีการกำกับตรวจสอบเป็นการเฉพาะเพื่อยกระดับการประกอบธุรกิจดังกล่าวให้มีมาตรฐาน ส่งเสริมการกำกับดูแลเสถียรภาพระบบเศรษฐกิจการเงินที่ไม่ส่งเสริมให้ก่อหนี้สินเกินตัว รวมทั้งมีการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม ได้รับข้อมูลโปร่งใสเพียงพอต่อการตัดสินใจ และเข้าถึงบริการด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งร่าง พ.ร.ฎ. นี้ ได้รับความเห็นชอบหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ 1 พ.ย. 2566 นี้          มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีความหวังและจะติดตามต่อไปว่าผู้บริโภคจะได้รับการคุ้มครอง ...ได้รับความเป็นธรรมในการเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 268 ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ นวัตกรรมแห่งอนาคตที่ต้องเตรียมรับมือ

        กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย กล่าวในเวทีงาน Innovation Keeping The World ที่จัดไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ว่า ประเทศไทยมีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า BEV ซึ่งรวมทั้ง BEV Plug-In Hybrid และรถไฮบริด BEV ในปี 2565 มากกว่า 20,816 คัน คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 400 เมื่อเทียบกับปี 2564         ขณะที่ https://marketeeronline.co/archives/311702  ระบุข้อมูลจากกรุงศรี ออโต้ (Krungsri Auto) ว่า สัดส่วนสินเชื่อใหม่ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อยู่ที่ 4,624 ล้านบาท เติบโตร้อยละ 217 ซึ่งเกินเป้าไปแล้วจากยอดสินเชื่อใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัล มกราคม-พฤษภาคม 2566 ที่ 1,440 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23 ของยอดสินเชื่อใหม่ EV ทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน         สองย่อหน้าข้างบนเหมือนกำลังส่งสัญญาว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยกำลังมาถึงจุดเปลี่ยนและพฤติกรรมผู้บริโภคก็เช่นกัน เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นทุกขณะ ทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสิ่งแวดล้อมในบางมิติ แต่ก็สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมในบางมุมซึ่งต้องมานั่งคุยกันว่าจะแก้ไขอย่างไร         ‘ฉลาดซื้อ’ ฉบับนี้จะไปทำความรู้จักรถยนต์ไฟฟ้าหรือ Electric Vehicle (EV) ให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เพราะสิ่งที่ต้องเตรียมไม่ใช่แค่เงินในกระเป๋า แต่กินความถึงวิธีคิด (mindset) ใหม่ๆ กับอีกหลายเรื่องที่ต้องแลกเปลี่ยนถกเถียงเพื่อวางกติกากับเทคโนโลยีที่มาแน่ๆ ชิ้นนี้ รู้จักรถยนต์ไฟฟ้า รู้จักตัวเอง         สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่ารถยนต์ไฟฟ้าแบ่งได้ 4 ประเภทคือ ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริด หรือ (HEV, Hybrid electric vehicle) เป็นลูกผสมที่ใช้น้ำมันทั่วไปและมอเตอร์ไฟฟ้าพร้อมแบตเตอรี่        ยานยนต์ไฟฟ้าไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ซึ่งใช่ทั้งน้ำมันและไฟฟ้าเช่นกัน แต่เพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟ (plug-in)         ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV, Battery Electric Vehicle) เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและใช้พลังงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าจากการเสียบปลั๊กชาร์จไฟฟ้าอย่างเดียว         และสุดท้าย ยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle) เป็นยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) โดยเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากภายนอก สามารถจุพลังงานจำเพาะได้สูงกว่าแบตเตอรี่ในปัจจุบัน แต่สถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนยังมีน้อยมาก         นอกจากการรู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้ามีแบบไหนบ้างแล้ว ก่อนจะซื้อผู้บริโภคควรต้องศึกษาหาข้อมูลให้มากและพิจารณาองค์ประกอบหลายด้าน ตั้งแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน ถ้าทำอาชีพเซลล์ต้องขับระยะทางไกลๆ ติดต่อกัน การวางแผนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าให้มีพลังงานเพียงพอตลอดก็อาจยุ่งยากกว่าคนที่ใช้แค่ขับไปทำงานทั่วไป         เมื่อเป็นรถยนต์ไฟฟ้าผู้บริโภคจำเป็นต้องเข้าใจความจุของแบตเตอรี่กับระยะทางที่วิ่งได้ไกลที่สุด ระยะเวลาในการชาร์จเพราะการชาร์จไฟกระแสสลับกับกระแสตรงกินเวลาต่างกัน รวมถึงพิจารณาหัวจ่ายไฟฟ้าที่ใช้กับรถ เพราะรถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นออกแบบที่ชาร์จแบตเฉพาะของตนทำให้หาหัวชาร์จยากจึงอาจทำให้ไม่สะดวก ขณะเดียวกันก็ต้องสำรวจด้วยว่าในเมืองที่ตนพักอาศัยมีแหล่งชาร์จจุดใดบ้าง         ส่วนการบริการหลังการขายเป็นสิ่งที่ผู้จำหน่ายต้องให้ความสำคัญอยู่แล้ว ผู้บริโภคมีสิทธิถามเพื่อรับสิทธิประโยชน์ส่วนนี้     ศึกษาและวางแผนก่อนซื้อ         ปารัช ทวีศักดิ์ ยอมไม่มีรถขับอยู่หลายปีเพื่อรอซื้อรถไฟฟ้า สาเหตุเพราะน้ำมันมีราคาแพงและเธอเชื่อว่ามันจะเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาแทนที่รถยนต์น้ำมัน เธอเล่าว่า         “ใช้เวลานานเหมือนกัน ยอมที่จะไม่ใช่รถเลย น่าจะประมาณหกเจ็ดปีได้ แต่หมายถึงว่าเราก็ใช้รถกับแฟน เราให้เขาใช้โดยที่ไม่ซื้อคันใหม่ เก็บเงินไว้ก่อนเพื่อรอรถไฟฟ้าอย่างเดียวเพราะเรารู้ว่ารถไฟฟ้าเข้ามาแล้ว แล้วทั่วโลกให้การยอมรับ ระหว่างนี้ก็ศึกษาเรื่องระบบไฟว่าต้องเติมยังไง ก็ค่อยๆ ศึกษา สอบถามจากพนักงานขาย เสิร์ชดูบ้าง เข้าไปอยู่ตามกลุ่มเฟสบุ๊ค เป็นกลุ่มรถของยี่ห้อนี้ ยี่ห้ออื่นด้วย ค่อยๆ หาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะรับรถ”         รถยนต์ไฟฟ้าที่ปารัชซื้อมาในเวลานั้นไม่ได้อยู่ในช่วงที่มีการสนับสนุนจากรัฐบาล เธอจึงซื้อมาในราคาล้านต้นๆ แต่เมื่อนำมาคำนวณแล้วเธอคิดว่าคุ้มเมื่อเทียบกับการจ่ายค่าน้ำมัน เธอยกตัวอย่างว่าถ้าวิ่ง 2,000 กิโลเมตรต่อเดือนเธอจะจ่ายค่าไฟแค่ 1,000 บาท แต่ถ้าเป็นรถยนต์น้ำมันตัวเลขจะขยับขึ้นไปถึง 6,000 บาท         สำหรับคนที่ลังเลกับการซื้อรถไฟฟ้า หนึ่งในความลังเลใหญ่คือจุดชาร์จ เพราะต่อให้เป็นการชาร์จที่บ้าน ปารัชก็ยังรู้สึกยุ่งยากเนื่องจากต้องไปทำเรื่องกับการไฟฟ้าเพื่อนำมิเตอร์มาติด         “มิเตอร์มีสองแบบด้วย แบบทีโอยูกับแบบธรรมดา ธรรมดาก็ราคาปกติ จ่ายเท่าที่เราจ่ายค่าไฟ แต่ถ้าเป็นทีโอยู หลังสี่ทุ่มถึงเก้าโมงเช้าเรทราคาจะลดไปครึ่งหนึ่ง แต่จะเสียค่าหม้อแปลงเพิ่ม นี่เลือกแบบทีโอยูแล้วติดเฉพาะรถไฟฟ้าอย่างเดียว แยกหม้อกับของที่บ้านเลย”         ปารัชยอมรับว่าหลังจากหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าแล้วก็ไม่อยากกลับไปใช้รถยนต์น้ำมันอีกเลย ส่วนหนึ่งคงเพราะเธอสามารถปรับตัวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้แล้ว ใช่ การเลือกใช้รถยนต์ไฟฟ้าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การศึกษาข้อมูล แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือการปรับวิธีคิด (mindset) ปรับ mindset         การเติมพลังงานให้แก่รถยนต์ไฟฟ้าแตกต่างจากรถยนต์น้ำมัน ผู้บริโภคจำเป็นต้องปรับพฤติกรรมและวางแผนพลังงานที่จะใช้กับรถของตนให้เพียงพอ ชัยภวิศร์ ธวัชชัยนันท์ อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการ สภาองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่าการชาร์จที่บ้านถือว่าคุ้มค่าที่สุดเพราะสามารถเลือกได้ว่าจะชาร์จเวลาใด ช่วงไหน ควรติดตั้งมิเตอร์แบบใด         “เราควรชาร์จไฟรถเวลาไหนอย่างไร ชาร์จให้เต็มพอดีๆ แล้วก็ตัดหรือถนอมแบตเตอร์รี่ มันก็ต้องคิดว่าถ้าจะถนอมให้ใช้ได้นานก็ควรหลีกเลี่ยงการชาร์จกระแสตรงถ้าไม่จำเป็น บริหารการชาร์จกระแสสลับที่บ้าน เป็นวิธีคิดที่อาจจะต้องเรียนรู้ซึ่งผมคิดว่าไม่ยาก เพียงแต่จะซับซ้อนกว่าการเติมน้ำมัน”         แม้ปัจจุบันจะมีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นและจะมากขึ้นอีก แต่ก็ยังมีจำกัดกว่าปั๊มน้ำมัน ผู้ขับขี่จำเป็นต้องบริหารความเสี่ยงให้รัดกุม ต้องวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าถ้าแบตใกล้หมดจะเติมจุดไหน อย่างไร เพราะต่อให้มีจุดชาร์จก็อาจใช้ไม่ได้ เนื่องจากกำลังซ่อมแซม มีคนจองไว้ หรือหัวชาร์จใช้ไม่ได้กับรถที่ขับ         ประเด็นนี้สอดคล้องกับปารัช เธอเล่าว่าเราจะต้องหาจุดเติมไฟใกล้บ้าน ต้องคำนวณว่ารถจะต้องวิ่งได้กี่วัน เพราะตัวรถแต่ละรุ่นไม่เท่ากัน รถของเธอวิ่งได้ประมาณ 500 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง แต่ก็มีคำแนะนำว่าถ้าชาร์จแบบเร็วไม่ชาร์จเต็มถึง 500 กิโลเมตร และถ้าต้องเดินทางออกจากบ้านและชาร์จไฟระหว่างทางก็ต้องรอทำให้ต้องคำนวณเรื่องเวลาด้วย เธอสรุปว่า         “มีรถยนต์ไฟฟ้าต้องมีการวางแผนค่อนข้างเยอะ ไม่เหมือนรถน้ำมันที่วิ่งเข้าปั๊มเติมปุ๊บปั๊บเสร็จ”         การขับด้วยความเร็วเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ต้องปรับเปลี่ยน คนขับรถยนต์น้ำมันจะรู้รอบเครื่องเมื่อเร่งความเร็วซึ่งเป็นการเตือนผู้ขับให้รู้ตัวว่าขับเร็วเกินไปหรือไม่และชะลอความเร็วลง ในทางกลับกัน ความเงียบของรถยนต์ไฟฟ้าทำให้ไม่มีเสียงเตือนจากเครื่องยนต์ ผู้ขับอาจไม่รู้ตัวจึงเสี่ยงทั้งต่ออุบัติเหตุและการทำผิดกฎจราจร        ความเงียบยังก่อความไม่ราบรื่นอีกประการหนึ่ง หากเป็นการขับในชุมชน คนที่สัญจรไปมา สัตว์จร หรือสัตว์เลี้ยงอาจไม่รู้ตัว แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าบางรุ่นจะสร้างเสียงเทียมขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะดังเพียงพอต่อการได้ยิน จึงเป็นหน้าที่ของผู้ขับที่ต้องคอยระมัดระวังในส่วนนี้ ความยุ่งยากของผู้บริโภคในเวลานี้         นอกจากความคิดและพฤติกรรมที่ต้องปรับยังมีประเด็นที่แผ่กว้างกว่าเรื่องเชิงปัจเจก ตัวอย่างเช่นเบี้ยประกัน ชัยภวิศร์ กล่าวว่า         “ถ้ารถมูลค่าเท่าๆ กัน ในความเข้าใจผม เบี้ยประกันรถไฟฟ้าจะสูงกว่ารถน้ำมันระดับหนึ่ง แต่ยังไม่ถึงขนาดสองสามเท่า ประกันภัยในช่วงแรกที่ปีล่าสุดจะแถมประกันภัยประเภท 1 มาให้ ส่วนปีที่ 2 เราจ่ายเองบางทีค่าประกันสูงทำให้ผู้บริโภคตกใจได้ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราต้องรณรงค์คุยกันว่าค่าประกันภัยจำเป็นต้องแพงขนาดนี้หรือไม่         “หรือถ้ามีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยรถที่เรียกว่า active safety ทำยังไงไม่ให้รถเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน ไม่ว่าจะเบรกเองอัตโนมัติ มีระบบเลี้ยวหักหลบอัตโนมัติ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งช่วยลดอุบัติเหตุ จะช่วยลดเบี้ยประกันได้หรือไม่ เรื่องนี้ต้องไปทำงานเชิงนโยบายกัน แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่ทำให้เบี้ยประกันลดลงมา เพราะฉะนั้นผู้บริโภคต้องเผื่อเงินไว้สำหรับการซื้อประกันภัยรถในปีต่อๆ ไป”         อะไรอีก? เบื้องต้นการชาร์จนับเป็นจุดยุ่งยากที่สุดในเวลานี้ นอกจากเรื่องหัวชาร์จที่ไม่เหมือนกันแล้ว ตู้ชาร์จบางแห่งเขียนว่า low priority แปลว่าถ้าไฟบริเวณนั้นตกตู้นั้นจะชาร์จไม่ได้เร็วตามที่ระบุไว้ โดยเฉพาะที่ห่างไกลหรือชนบท ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการชาร์จยาวนานออกไป         และเนื่องจากตู้ชาร์จไฟมีหลายแบรนด์แต่ละแบรนด์มีแอปพลิเคชันของตนเอง ผู้บริโภคต้องโหลดแอปฯ จำนวนมากเพื่อใช้กับตู้ชาร์จแต่ละเจ้าทำให้เกิดความยุ่งยาก บางแอปฯ ยังขอข้อมูลผู้บริโภคจำนวนมากทั้งที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับการรับบริการ เช่น ขอที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้กระทั่งบัตรประชาชน มันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิมากไปมั้ย แค่จะจ่ายเงินซื้อไฟ ทำไมต้องรู้ที่อยู่ เบอร์โทร บางแอปฯ ถึงกับต้องรู้เลขบัตรประชาชนโดยไม่จำเป็น         อีกเรื่องที่เกี่ยวข้องก่ำกึ่งว่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ก็คือ จุดชาร์จในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งเป็นกระแสสลับและคิดค่าชาร์จเป็นชั่วโมง ไม่ได้คิดเป็นจำนวนหน่วยกระแสไฟ ทำให้บางครั้งผู้บริโภคชาร์จไฟให้ห้างสรรพสินค้า 3 ชั่วโมงแต่ได้ไฟไปเพียง 30 กิโลวัตต์ แต่ค่าชาร์จชั่วโมงละ 40 บาท ทั้งที่เงิน 120 บาทถ้าชาร์จตามจุดชาร์จข้างนอกเรียกว่าได้พลังงานแทบจะเต็มสองรอบ         ประเด็นต่างๆ เหล่านี้คาดว่าต้องอาศัยเวลาพูดคุย แลกเปลี่ยน ถกเถียง เพื่อสร้างระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อลดความยุ่งยากและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค เตรียมรับมือพลวัตจากนวัตกรรมรถยนต์ไฟฟ้า         มิติสุดท้ายที่จะกล่าวถึงเป็นเรื่องกฎหมาย ต้องยอมรับว่ากฎหมายที่เกี่ยวกับการจราจรทางบกมุ่งจัดระเบียบรถยนต์น้ำมัน เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มปริมาณขึ้น กฎหมายมีความจำเป็นต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกันไปหรือไม่         ชัยภวิศร์คิดว่ากฎหมายเดิมส่วนใหญ่ยังคงใช้ได้ เช่น การจำกัดความเร็ว เมาแล้วขับ เป็นต้น มีเฉพาะเรื่องเสียงที่เขาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องเขียนกฎหมายกำกับว่าในที่ที่ใช้ความเร็วต่ำหรือในเขตชุมชน เสียงเทียมควรจะดังหรือมีลักษณะกระตุ้นเตือนทั้งคนและสัตว์ได้มากพอเพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความพลั้งเผลอ         นอกจากนี้ อนาคตที่รถยนต์เปลี่ยนไปเป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น หากเกิดอุบัติเหตุว่าเจ้าของรถหรือบริษัทรถยนต์จะเป็นฝ่ายรับผิดชอบ นี่ก็เป็นประเด็นทางกฎหมายที่ต้องตระเตรียมแนวทางเอาไว         สุดท้ายของท้ายสุด แบตเตอรี่ การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทยค่อนข้างหละหลวม ตรงนี้จะกลายเป็นจุดอ่อนสำคัญที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมหากไม่เตรียมการรับมือ        “เรื่องนี้ฝรั่งคุยกันเยอะ เขาทำก่อนเรา เห็นปัญหาก่อนเรา เพราะฉะนั้นแบตเตอรี่ตอนนี้มีหลายชนิดและกำลังปรับอยู่เรื่อยๆ กระบวนการจัดการของเสียที่จะเกิดขึ้นถูกเอาไปรียูสได้ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องดูให้ครบ life cycle ว่าจะเอากลับไปใช้ใหม่ได้กี่รอบ กี่ครั้ง และถึงจุดที่ต้องถูกทำลายจะทำยังไง ต้องบอกว่าบ้านเราการจัดการของเสียพวกนี้ยังด้อยมากๆ แต่ไม่ใช่แค่แบตรถไฟฟ้าอย่างเดียว แต่เป็นของเสียอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดยังไร้ประสิทธิภาพ ไม่มีการพูดคุย และยังผลักภาระเป็นของสาธารณะ ไม่ใช่ของผู้ประกอบการ         “บางประเทศผู้ประกอบต้องมีแผนเอาแบตเตอรี่มือถือของตัวเองออกจากตลาดอย่างไร จัดการยังไง เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตซึ่งเมืองไทยยังทำน้อยมาก ต้องมีมาตรการ แรงจูงใจ สนับสนุนผู้ประกอบการที่จัดการเรื่องพวกนี้ได้ดี รวมถึงออกแบบนวัตกรรมที่แบตเตอรี่หรือตัวเครื่องสามารถรีไซเคิล รียูสในเปอร์เซ็นต์สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ในโลกหลายรุ่นจุดขายคือใช้วัสดุเหลือใช้มาผลิตตัวรถ แบตเตอรี่ เอามาเป็นจุดขายว่ารีไซเคิลง่ายขึ้น”         ชัยภวิศร์เสนอข้ามไปอีกขั้นว่า รัฐอาจออกมาตรการสนับสนุนหรือสร้างแรงจูงใจให้การผลิตและใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นได้ เช่น ส่งเสริมการใช้วัสดุที่มาจากการรีไซเคิ้ล การรับจัดการแบตเตอรี่ที่เสื่อมสภาพแล้วของผู้ประกอบ หรือตู้ชาร์จไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เป็นต้น         อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมที่ยังคงมีพลวัตต่อเนื่อง ผู้ใช้หรือผู้ที่กำลังคิดจะซื้อควรศึกษาข้อมูลข่าวสารให้ละเอียดรอบคอบ ขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลก็ได้เวลาต้องปรึกษาหารือว่าจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญ

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 267 ‘ทัวร์เกาหลี’

        ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโดย ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาของประชาชนจากการซื้อบริการทัวร์ท่องเที่ยวยังประเทศเกาหลี ทำให้สูญเสียเงิน หรือไม่ได้ท่องเที่ยวตามที่หวังไว้ หลายลักษณะ         ข้อมูลจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเกาหลี (KTO) ในเดือน มิถุนายน ปี 2023 เผยว่า ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยเดินทางท่องเที่ยวเกาหลีมากถึง 570,000 คน/ปี สูงเป็นลำดับที่ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นอันดับ 5 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และไต้หวันแม้ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวมากขึ้นต่อเนื่อง แต่การท่องเที่ยวกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนขนาดใหญ่ การเดินทางโดยการซื้อทัวร์ยังมีความสำคัญ และยังได้รับความนิยม เรื่องเด่นฉบับนี้รวมประเด็นสำคัญที่ประชาชนควรได้รู้ก่อนตัดสินใจซื้อบริการทัวร์ท่องเที่ยวหลายลักษณะปัญหาที่พบจากเรื่องร้องเรียนกรณีซื้อทัวร์เกาหลีที่เข้ามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค        -          จองทัวร์ไปท่องเที่ยวประเทศเกาหลีระหว่างวันที่ 13-17 มีนาคม 2563 แต่ถูกเลื่อนเพราะจากสถานการณ์โควิด จ่ายเงินครบจำนวน 139 ,491 บาท แต่ไม่ได้ท่องเที่ยวต่อมาได้เจรจาไกล่เกลี่ย บริษัทได้เสนอเป็นเครดิตท่องเที่ยวจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2567         -          ซื้อทัวร์แบบกลุ่มไปเที่ยวเกาหลีกับเพื่อนร่วมงาน แต่ลงทะเบียนระบบ K-ETA (ระบบอนุมัติการเดินทางออนไลน์สำหรับชาวต่างชาติท่ีต้องการเข้าประเทศเกาหลีใต้โดยไม่ต้องขอวีซ่า) ไม่ผ่าน บริษัททัวร์ไม่ได้แจ้งเงื่อนไขในสัญญาว่าถ้าลงทะเบียนไม่ผ่าน ไม่สามารถเดินทางได้        -          ซื้อทัวร์ไปเที่ยวกับครอบครัวและญาติๆ รวมจำนวน 9 คน แต่ลงทะเบียนระบบ K-ETA ผ่านเพียง 4 รายเป็นเด็กเล็ก 3 รายและมีผู้ใหญ่เพียงคนเดียวและไม่ได้เป็นผู้ปกครองของเด็ก จึงจำต้องยกเลิกทัวร์ ถูกบริษัททัวร์หักเงินไปจำนวนมาก        -          จองทัวร์เพื่อไปเที่ยวลานสกีที่เกาหลี แต่เมื่อไปเที่ยวกลับไม่ได้ไปที่ลานสกีเพราะปิดบริการ บริษัทจึงพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวชดเชยในจุดอื่นๆ แต่นักท่องเที่ยวไม่พอใจเพราะไม่ได้เล่นสกีตามที่ทัวร์ได้โฆษณาไว้ จึงร้องขอเงินคืนในส่วนที่ทัวร์ไม่ได้จัดโปรแกรมให้เล่นสกี  เจาะเรื่องจริง ศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อทัวร์         กรณีของคุณพฤกษ สามกษัตริย์ ได้ซื้อทัวร์ไปเที่ยวแบบกลุ่มกับครอบครัวและญาติพี่น้อง รวมจำนวน 9 ราย ในราคาโปรโมชั่น 1 แถม 1 จากราคา 34,999 เฉลี่ยลดลงมาที่รายละ 17,499.5 บาท เป็นโปรแกรมท่องเที่ยวแบบ 5 วัน 3 คืน  คุณพฤกษซื้อทัวร์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และมีกำหนดเดินทางท่องเที่ยวในช่วงกลางเดือนมีนาคม         ปัญหาของคุณพฤกษเริ่มเกิดขึ้นในช่วงของการลงทะเบียนระบบ K-ETA (ระบบอนุมัติการเดินทางออนไลน์สำหรับชาวต่างชาติท่ีต้องการเข้าประเทศเกาหลีใต้โดยไม่ต้องขอวีซ่า) ซึ่งคุณพฤกษได้เลือกให้บริษัททัวร์เป็นผู้ดำเนินการให้ แต่แล้วจากการลงทะเบียนมีผู้ลงทะเบียนผ่านเพียง 4 ราย คือ คุณพฤกษ และลูกๆ ของญาติ เหตุนี้จึงทำให้คุณพฤกษ์ไม่อาจเดินทางไปท่องเที่ยวได้ จำต้องยกเลิกโปรแกรมทัวร์         อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนกลับไปแรกเมื่อบริษัทเสนอขายโปรแกรมทัวร์ให้แบบโปรโมชั่นคุณพฤกษ์ได้สอบถามถึงการตรวจ K-ETA  ตั้งแต่แรกเจ้าหน้าที่ของบริษัททัวร์กลับให้ข้อมูลว่า “ใช่ค่ะ ต้องทำค่ะ แต่จะรบกวนจองทัวร์เข้ามาก่อนได้ไหม  เพราะว่าเดี๋ยวโปรฯ มันจะหมด” และขอให้คุณพฤกษรีบตัดสินใจ โอนเงินให้บริษัทแบบเต็มจำนวน คือ 151,796 บาท และย้ำถึงเรื่องการลงทะเบียนระบบ K-ETA  ว่า “ไม่น่ามีปัญหาค่ะ เดี๋ยวจัดการให้เลย” “ไม่น่ามีปัญหานะคะ เพราะว่าไม่เคยมีใครมีประวัติอะไรเลย ดังนั้นทำคิดว่าน่าจะผ่าน”         เมื่อผลการลงทะเบียน K-ETA  ไม่ผ่าน คุณพฤกษจึงขอคืนเงินค่าทัวร์ที่ได้จ่ายไปเต็มจำนวน บริษัททัวร์จึงแจ้งว่าจะหักเงินไว้รวมจำนวน 33,732 บาท ในจำนวนนี้เป็นเงินที่บริษัทจะหักจากผู้ที่ลงทะเบียนK-ETA  ผ่านร้อยละ 50 ส่วนผู้ที่ไม่ผ่านจะถูกหักรายละ 500 บาท          แน่นอนว่า คุณพฤกษไม่พอใจที่ถูกหักเงินไว้จำนวนมาก ทั้งที่บริษัทยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ แต่เมื่อศึกษาข้อมูลจากเอกสารของโปรแกรมท่องเที่ยวที่บริษัทได้ให้ไว้ คุณพฤกษพบว่า หลักเกณฑ์ ข้อกำหนดเหล่านี้ถูกระบุไว้ทั้งหมดในเงื่อนไขท้ายโปรแกรม เพียงขณะที่ซื้อทัวร์การสื่อสารของพนักงานบริษัทได้เร่งเร้าให้รีบซื้อและรีบจ่ายเงินเต็มจำนวน นี่คือความผิดพลาดที่ผู้ซื้อทัวร์อาจไม่ทันเฉลียวใจที่คุณพฤกษ์อยากบอกต่อเพราะประสบการณ์ครั้งนี้ทำให้สูญเงินไปได้เปล่าๆ จำนวนมากและยังไม่ได้เที่ยว!           "เขาเขียนชัดเจนครับ  คือเขาระบุเลยนะว่า กรณีที่เราจ่ายเงินแล้ว และลงทะเบียนไม่ผ่าน เขาจะคืนเงินให้ 50% แต่กรณีผ่านแล้วมีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่ไปเขาจะหักไว้ครึ่งนึงแล้วกำหนดเวลาคุณจะต้องทำลงทะเบียน K-ETA เข้าประเทศเกาหลีใต้ให้ผ่าน คือในเอกสารเขามี แต่การขายทัวร์ของเจ้าหน้าที่ของเขาไม่สื่อสารเราแบบนี้"         "ผมอยากให้บริษัททัวร์สื่อสารกับนักท่องเที่ยว กับผู้ซื้อทัวร์ให้ชัดเจน  สื่อสารความเสี่ยงให้ชัดเจนเลยว่า เขาจะไม่ได้รับเงินคืนเรื่องอะไรบ้าง ให้เน้นเรื่องนี้ตัวแดงบันทึกไว้ทุกที่เลย"  เมื่อเกิดปัญหาจากการซื้อทัวร์ท่องเที่ยว ประชาชนควรทำอย่างไร         เมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  มูลนิธิฯ จะแนะนำให้ประชาชนผู้เดือดร้อนติดต่อไปยังสำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศน์กลาง กรมการท่องเที่ยว พร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆ ในการจองทัวร์ดังกล่าว  โดยกรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการดังนี้        o  การสอบข้อเท็จจริง โดยจะนัดหมายบริษัท และประชาชนผู้ซื้อบริการท่องเที่ยวเข้ามาสอบข้อเท็จจริง นายทะเบียนจะพิจารณาข้อสาระสำคัญฝ่ายใดเป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายให้เกิดขึ้น เช่น บริษัทนำเที่ยวปฎิบัติตามสัญญาในการนำเที่ยวหรือไม่ หรือมาจากเหตุส่วนตัวของผู้ซื้อทัวร์เอง        o  เมื่อสอบข้อเท็จจริงแล้วจะเจรจาไกล่เกลี่ย หากบริษัทเป็นผู้ทำให้ความเสียหายเกิดขึ้น เช่น คีย์ข้อมูลของนักท่องเที่ยวผิดพลาด ทำให้การลงทะเบียน K-ETA ไม่ผ่าน นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางไปได้ บริษัทย่อมต้องคืนเงินให้แก่นักท่องเที่ยว        o  กรณีบริษัททัวร์ไม่จ่ายเงินคืน หรือหักเงินนักท่องเที่ยวไว้ส่วนใด บริษัทมีหน้าที่ที่จะต้องแสดงหลักฐานว่ามีค่าใช้จ่ายส่วนใดเกิดขึ้นอันเป็นความเสียหายต่อบริษัทอย่างชัดเจน หากไม่สามารถระบุได้ บริษัทต้องคืนเงินให้กับนักท่องเที่ยว        o  หากฝ่ายบริษัทเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายกับนักท่องเที่ยว แต่ไม่ยอมชดใช้ความเสียหายให้กับนักท่องเที่ยว นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้หักเงินหลักประกันของบริษัททัวร์นำมาชดเชยความเสียหายให้กับนักท่องเที่ยวไปพรางก่อน หากเงินหลักประกันยังไม่ครอบคลุมความเสียหายทั้งหมด กรมการท่องเที่ยวจะส่งเรื่องนี้ไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณาเรื่องร้องเรียน หาทางออกเพื่อชดเชยความเสียหายของนักท่องเที่ยวในส่วนที่เหลือต่อไป        o  ข้อแนะนำจากกรมการท่องเที่ยวก่อนที่ประชาชนตัดสินใจซื้อโปรแกรมทัวร์คือให้ศึกษาเงื่อนไขท้ายโปรแกรมอย่างละเอียด เพราะส่งผลต่อส่วนได้ ส่วนเสียกับนักท่องเที่ยวอย่างมาก

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)