แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ
เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ ผู้บริโภค รถยนต์ไฟฟ้า EV รถยนต์ รถ
เตาแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า (Induction Hob) เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาศัยความร้อนจากการเหนี่ยวนำไฟฟ้า เช่น เหล็ก หรือเหล็กสเตนเลสบางชนิด ทำให้ภาชนะร้อนขึ้นจนสามารถประกอบอาหารได้ อุปกรณ์ที่ไม่มีความสามารถเหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น อะลูมิเนียม แก้ว เซรามิค จะไม่ทำให้เกิดความร้อนได้ เตาแม่เหล็กไฟฟ้าให้พลังงานความร้อนได้รวดเร็วกว่าเตาแบบธรรมดาและสูญเสียพลังงานน้อยกว่า พลังงานนั้นจะถ่ายทอดไปที่ตัวภาชนะโดยตรงโดยไม่แผ่ความร้อนออกไปเหมือนเตาความร้อนทั่วๆ ไป ในปัจจุบันเตาแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายครัวเรือนนิยมใช้ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่คอนโดมิเนียมหรืออพาร์ทเม้นท์ ซึ่งมักจะประสบปัญหาการประกอบอาหารจากเตาแก๊ส เนื่องจากที่พักอาศัยบางแห่งไม่อนุญาตให้ใช้แก๊สประกอบอาหาร เตาแม่เหล็กไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาขึ้นให้มีลักษณะการใช้งานและคุณสมบัติที่เหมาะสมกับผู้ที่พักอาศัยในคอนโดมีเนียมหรืออพาร์ทเม้นท์ การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการให้ความร้อนของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละประเภท และระยะเวลาในการต้มน้ำเดือด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประหยัดเวลาและพลังงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบ เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาทดสอบเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีกำลังไฟ ระหว่าง 2,000 – 2,100 วัตต์ มีรายละเอียด ดังนี้ ผลการทดสอบ การทดสอบประสิทธิภาพของเตาแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ละชนิดดำเนินการทดสอบ 2 ครั้ง และนำผลทดสอบทั้ง 2 ครั้งมาหาค่าเฉลี่ย การทดสอบครั้งที่ 1 โดยทำบันทึกค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (E1) ตั้งแต่เริ่มต้มน้ำจนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มขึ้นจากเดิม 75 K บันทึกค่าอุณหภูมิสิ้นสุดการทดสอบของน้ำ (TF1) ค่ามวลสุดท้ายของน้ำ (mWF1) และเวลาที่ใช้ในการทดสอบ (t1) และทำการทดสอบ ครั้งที่ 2 โดยหมุนกระทะไป 90 องศา บันทึกค่ามวลของน้ำเริ่มต้น (mWS2) อุณหภูมิของน้ำเริ่มต้นทดสอบ (TS2) และเมื่ออุณหภูมิถึงระดับที่กำหนด ให้บันทึกค่าอุณหภูมิสิ้นสุดการทดสอบของน้ำ (TF2) ค่ามวลสุดท้ายของน้ำ (mWF2) เวลาที่ใช้ในการทดสอบ (t2) และค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ (E2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเตาไฟฟ้า ตามตารางที่ 2 ดังนี้ จากตารางที่ 2 พบว่า เตาไฟฟ้าชิ้นงานตัวอย่างทั้ง 10 ยี่ห้อ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณลักษณะของเตาไฟฟ้า ตาม มอก. 2589-2556 ที่กำหนดให้ ประสิทธิภาพพลังงาน ไม่ต่ำกว่า 62% เมื่อเรียงลำดับประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด พบว่า อันดับ 1 ยี่ห้อ Toshiba รุ่น IC-20S2PT ประสิทธิภาพ 93.4% อันดับ 2 ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 ประสิทธิภาพ 93.2% อันดับ 3 ยี่ห้อ Tefal รุ่น IH7208 ประสิทธิภาพ 92.3 % รายละเอียดตามตารางที่ 3 จากตารางที่ 2 พิจารณาจากระยะเวลาในการต้มน้ำ พบว่า ยี่ห้อที่สามารถต้มน้ำจนเดือดโดยใช้เวลาน้อยที่สุด อันดับแรก ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 เวลาที่ใช้ 293.5 วินาที (4.9 นาที) อันดับที่ 2 ยี่ห้อ Imarflex รุ่น IF-408 เวลาที่ใช้ 317.5 วินาที (5.3 นาที) อันดับที่ 3 ยี่ห้อ Minimex รุ่น PIC101 เวลาที่ใช้ 320 วินาที (5.3 นาที) รายละเอียดตามตารางที่ 4 สำหรับยี่ห้อที่มีการใช้พลังงานน้อยที่สุด อันดับแรก Toshiba รุ่น IC-20S2PT ค่าพลังงานที่ใช้ 624.1 kW-s อันดับที่ 2 Hanabishi รุ่น HIC-309 ค่าพลังงานที่ใช้ 628.3 kW-s อันดับที่ 3 Sharp รุ่น CY-301 ค่าพลังงานที่ใช้ 629.6 kW-s รายละเอียดตามตามตารางที่ 5 เมื่อนำผลการทดสอบในเรื่องของประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการประหยัดเวลามาให้ค่าคะแนน เรียงลำดับคะแนนโดยกำหนดให้ยี่ห้อที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดได้ 10 คะแนน และยี่ห้อที่ได้ประสิทธิภาพน้อยที่สุดได้ 1 คะแนน และยี่ห้อที่สามารถต้มน้ำจนเดือดโดยใช้เวลาน้อยที่สุดได้คะแนน 10 คะแนน ส่วนยี่ห้อที่ใช้เวลาในการต้มน้ำจนเดือดมากที่สุดได้คะแนน 1 คะแนน ผลการจัดอันดับคะแนนในด้านประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการประหยัดเวลา ตามตารางที่ 6 พบว่า คะแนนจากการทดสอบทั้งสองประเด็น มีดังนี้ อันดับแรก ยี่ห้อ Sharp รุ่น CY-301 คะแนนรวม 19 คะแนน อันดับที่ 2 ยี่ห้อ Toshiba รุ่น IC-20S2PT คะแนนรวม 16 คะแนน อันดับที่ 3 ยี่ห้อ Minimex รุ่น PIC101 คะแนนรวม 15 คะแนน บทสรุปและข้อเสนอแนะ จากการทดสอบเตาแม่เหล็กไฟฟ้าด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พบว่า มีประสิทธิภาพตามที่กำหนด อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เตาไฟฟ้ายังได้กำหนดเกี่ยวกับอักษรหรือเครื่องหมายที่ควรติดแจ้งให้ผู้บริโภคได้รับทราบ ประกอบด้วย (1) แบบอ้างอิงหรือรุ่นอ้างอิง (2) หมายเลขลำดับเครื่อง (3) ประสิทธิภาพพลังงานเป็น % (4) แรงดันไฟฟ้าที่กำหนดเป็น V (5) ความถี่ที่กำหนด เป็น Hz (6) กระแสไฟฟ้าที่กำหนด เป็น A (7) กำลังไฟฟ้าเข้าที่กำหนด เป็น W (8) ประเภท (9) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณหุงต้ม เป็น mm (10) ชื่อผู้ทำ หรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศร่วมด้วยต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น ผลิตภัณฑ์เตาแม่เหล็กไฟฟ้าที่นำมาทดสอบทั้ง 10 ยี่ห้อมีฉลากและเครื่องหมายที่แสดงรายละเอียดเป็นไปตามกำหนด แต่ส่วนใหญ่ยังขาดการให้ข้อมูลถึงประสิทธิภาพพลังงาน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพที่เหมาะสมกับงบประมาณที่สามารถพึงจ่ายได้ หมายเหตุ การทดสอบคุณลักษณะที่ต้องการด้านประสิทธิภาพพลังงานรวมถึง เตาไฟฟ้าประเภทใช้การเหนี่ยวนำด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 2589-2556
หุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้นกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ประจำในร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า แถมยังมีสารพัดยี่ห้อให้ได้เลือกกัน หลายคนอยากมีไว้ประจำบ้านแต่ก็ยังลังเลเพราะผลการทดสอบเปรียบเทียบสองครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยนำเสนอ (ในฉบับที่ 197 และ 258) ทำให้เราได้ข้อสรุปว่าผู้ผลิตหุ่นยนต์ดูดฝุ่นยังต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์นี้อีกมาก มาดูกันว่าในการทดสอบครั้งล่าสุดนี้มีความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ หรือ International Consumer Research & Testing ได้ส่งหุ่นยนต์ดูดฝุ่นเข้าทดสอบโดยห้องปฏิบัติการ CTTN/IREN Centre Technique de la Teinture et du Nettoyage ของฝรั่งเศส ในระหว่างเดือนสิงหาคม 2565 ถึงมีนาคม 2566*คะแนนแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ในสัดส่วนดังนี้ 1. ประสิทธิภาพการทำความสะอาด (ร้อยละ 40) โดยวัดจากความสามารถในการกำจัดฝุ่น เศษขนมปัง เส้นใย ทั้งบนพื้นพรมและพื้นกระเบื้อง 2. ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22) 3. การเคลื่อนไหวในห้องนั่งเล่นที่มีสิ่งกีดขวาง เช่น โซฟา ม่าน แจกัน สายไฟ (ร้อยละ 20) 4. เสียงรบกวนจากเครื่องขณะใช้งาน (ร้อยละ 12) 5. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (ร้อยละ 6) พนักงานขายอาจเล่าถึงสรรพคุณของเจ้าหุ่นยนต์พวกนี้ไว้อย่างน่าตื่นเต้น แต่การทดสอบของเรากลับพบว่าแม้แต่รุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุด ก็ได้ไปเพียง 53 คะแนนเท่านั้น (น้อยกว่าสองครั้งก่อนหน้าที่ตัวท้อปได้คะแนน 63 และ 57 ตามลำดับ) ดูรายละเอียดคะแนนด้านต่างๆ ของหุ่นยนต์ดูดฝุ่นทั้ง 22 รุ่น (สนนราคาโดยประมานตั้งแต่ 5,250 ถึง 23,170 บาท*) ได้ในหน้าถัดไป* ราคาที่แสดงเป็นราคาที่สำรวจจากอินเทอร์เน็ตในช่วงเดือนมิถุนายน 2566 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
ตลาดแปรงสีฟันไฟฟ้าทั่วโลกเริ่มคึกคักและมีแนวโน้มจะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น หลังผู้คนหันมาให้ความใส่ใจกับสุขภาพอนามัยช่องปากกันมากขึ้น เราได้เห็นความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ราคา รวมถึงแบรนด์ใหม่ๆ ในตลาดฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแปรงสีฟันไฟฟ้ามาฝากสมาชิกกันอีกครั้ง* (ดูผลการทดสอบครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉกลาดซื้อ ฉบับ 251) เช่นเดียวกับครั้งก่อน การทดสอบแบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่การตรวจวัดในห้องปฏิบัติการ และความเห็นจากอาสาสมัครที่ใช้งานจริง โดยคะแนนจะแบ่งออกเป็นสี่ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน (ร้อยละ 50) แบตเตอรี/การชาร์จ (ร้อยละ 30) การใช้งานสะดวก (ร้อยละ 25) และการปลอดเสียงรบกวน (ร้อยละ 5) แปรงสีฟันไฟฟ้า 14 รุ่น ที่ทดสอบ (ราคาระหว่าง 715 ถึง 10,500 บาท)* มีทั้งรุ่นที่ใช้ระบบการสั่นของขนแปรง การหมุนของหัวแปรง หรือทั้งสองระบบรวมกัน แปรงส่วนใหญ่ที่เราทดสอบเป็นชนิดที่ชาร์จไฟได้ มีเพียงหนึ่งรุ่นที่ใช้พลังงานจากถ่านอัลคาไลน์ ในภาพรวมเราพบว่าการลงทุนไม่เกิน 3,000 บาท ก็สามารถได้แปรงไฟฟ้ารุ่นที่ได้คะแนนดีที่สุด (Oral-B iO-4n) มาครอบครองได้ หรือถ้าใครไม่อยากจ่ายเกินหนึ่งพัน ก็ยังมีรุ่นที่ได้คะแนนระดับดี (Dontodent) ให้เลือกใช้ เช่นกัน และยังมีแปรงบางรุ่นที่ผู้ผลิตให้หัวแปรงสำหรับเปลี่ยนมากถึง 3 หรือ 4 หัว แม้ราคาอาจจะสูงขึ้นมาบ้าง แต่เมื่อคำนวณดูแล้วก็เป็นการลงทุนที่น่าจะคุ้มค่าเช่นกัน การทดสอบโดยสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศครั้งนี้ทำขึ้นในช่วงปลายปี 2565 เนื่องจาก ฉลาดซื้อ เป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมลงขันจึงสามารถนำผลทดสอบเปรียบเทียบมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่จ่ายค่าสมาชิกของเราได้ ราคาที่นำเสนอแปลงจากหน่วยเงินปอนด์หรือยูโร ตามข้อมูลที่พบในอินเทอร์เน็ต โปรดตรวจสอบราคา (รวมถึงค่าจัดส่งหากสั่งซื้อออนไลน์) อีกครั้งก่อนตัดสินใจ
ตามที่สัญญาไว้ในฉบับก่อนหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบเครื่องทำกาแฟแบบแมนนวลและแบบแคปซูลเป็นภาคต่อ ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงคัดมา 22 รุ่น (กำลังไฟระหว่าง 850 – 1700 วัตต์) ในสนนราคาตั้งแต่ 1,800 ถึง 22,600 บาท และข่าวดีคือคุณสามารถมีเครื่องทำกาแฟที่มีคุณภาพดีไว้ใช้ที่บ้านได้ด้วยการลงทุนเบื้องต้นไม่ถึงสามพันบาท (ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ) การให้คะแนนทั้งจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการให้คะแนนเรื่องรสชาติโดยผู้เชี่ยวชาญ ยังคงเป็นเช่นเดิม โดยคะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ คุณภาพ/รสชาติของกาแฟ ร้อยละ 35 ประสิทธิภาพของเครื่อง ร้อยละ 30 ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 30 การประหยัดพลังงาน ร้อยละ 5
ความคิดเห็น (0)