ฉบับที่ 136 ปั่นปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย

เป็นที่รู้กันดีว่าการขี่จักรยานเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง แถมยังเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ติดอยู่ตรงที่หลายคนยังไม่มั่นใจว่าการใช้จักรยานสัญจรไปมาจะปลอดภัย มูลนิธิโลกสีเขียวมีผลสำรวจความคิดเห็นที่ยืนยันว่าร้อยละ 85 ของคนกรุงเทพฯ ที่ร่วมตอบแบบสอบถาม (ประมาณ 4,500 คน) ยินดีจะใช้จักรยานในการเดินทางถ้าพวกเขารู้สึกว่าสามารถขับขี่ได้โดยไม่มีอันตราย

ระหว่างที่เรากำลังรอให้เกิดทางจักรยานที่ปลอดภัยและใช้สะดวกมากขึ้น ฉลาดซื้อ ขอนำเสนอผลการทดสอบหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บเป็นหลัก ตามด้วยความสะดวกสบายในการสวมใส่ การระบายอากาศ และการปลอดสารเคมีอันตราย

 

ด้วยเนื้อที่อันจำกัด เราจึงขอนำเสนอเฉพาะ 10 รุ่นที่ได้คะแนนรวมสูงสุด (จากหมวกที่เข้าทดสอบทั้งหมด 25 รุ่น) และได้คะแนนประสิทธิภาพในการป้องกันการบาดเจ็บในระดับ 4 ดาว ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่ายังไม่มีรุ่นไหนที่ได้คะแนน 5 ดาวไปเลย

 

 

Casco Activ-TC

ราคา  2,390 บาท

น้ำหนัก 291 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       5

สวม/ถอด สะดวก         5

ระบายอากาศได้ดี         5

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศโรมาเนีย

 

 

Specialized Align 

ราคา 1,500 บาท

น้ำหนัก 336 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       5

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         5

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศจีน

 

 

Specialized Echelon

ราคา 2,500 บาท

น้ำหนัก 293 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       5

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         4

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศจีน

 

 

Giro Savant 

ราคา 3,000 บาท

น้ำหนัก 240 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       5

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         4

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศจีน

 

 

Profex FZ-006

ราคา 720 บาท

น้ำหนัก 257 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       4

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         4

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศ  - ไม่ระบุ

 

 

Giro Transfer

ราคา 1,500 บาท

น้ำหนัก 261 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       4

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         4

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศจีน

 

 

Cratoni  Evolution

ราคา 4,700 บาท

น้ำหนัก 501 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       4

สวม/ถอด สะดวก         4

ระบายอากาศได้ดี         3

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศเยอรมนี

 

 

Uvex Discovery 

ราคา 4,700 บาท

น้ำหนัก 398 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       4

สวม/ถอด สะดวก         3

ระบายอากาศได้ดี         2

ปลอดสารเคมีอันตราย  3

ผลิตในประเทศเยอรมนี

 

 

Casco E.Motion

ราคา 5,500 บาท

น้ำหนัก 464 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       3

สวม/ถอด สะดวก         3

ระบายอากาศได้ดี         2

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

ผลิตในประเทศโรมาเนีย

 

 

BELL Muni 

ราคา 3,200 บาท

น้ำหนัก 326 กรัม

ป้องกันการบาดเจ็บ       4

สวมสบายไม่อึดอัด       2

สวม/ถอด สะดวก         3

ระบายอากาศได้ดี         4

ปลอดสารเคมีอันตราย  5

 

 

รุ่นอื่นๆ

ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 3 ดาว

Nutcase URS - 011S

BELL Venture

BELL Faction

ABUS ASA Aven-U

Etto B-1350 City Safe

Uvex xp 17 city

ALPINA City

Giro Surface

GUB GUBX5

 

ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 2 ดาว

Rudy Project Snuggy

ABUS HS-17 Urbanaut

Limar 525

KED Sky Two

 

ประสิทธิภาพป้องกันการบาดเจ็บ 1 ดาว

MET Cameleonte Executive

---

 

ฉลาดซื้อแนะ

  • หมวกนิรภัยมีราคาค่อนข้างสูง ทำให้หลายคนเลือกที่จะซื้อแบบ “มือสอง” มาใช้ อย่าลืมตรวจเช็คว่ามีรอยบุบหรือไม่ (เพื่อจะได้มั่นใจว่ามันยังไม่ผ่านการชนหรือกระแทกมาแล้ว) ที่สำคัญวัสดุต่างๆที่ใช้ทำตัวหมวกก็มีอายุจำกัด ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงหมวกที่ผลิตมาแล้วเกิน 5 ปี
  • เมื่อมีหมวกแล้วก็ต้องรู้จักวิธีสวมใส่ที่ถูกต้องด้วย ใส่แบบไหนแล้วเท่เราตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะใส่ให้ปลอดภัย หมวกของคุณจะต้องอยู่ในแนวระนาบเท่านั้น
  • สำคัญอย่างยิ่ง คือการสวมใส่หมวกนิรภัยเสมอเมื่อคุณขับขี่จักรยาน เพราะอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาหรือระยะทางอยู่แล้ว
  • แต่หมวกนิรภัยเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยให้กับเราได้ เรายังต้องการทางจักรยานที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อประสบการณ์การขับขี่ที่สุนทรีย์ด้วย

----

จากใจคนรักจักรยาน

กรุงเทพฯ อาจจะยังห่างไกลจากการเป็น “เมืองจักรยาน” แต่มีคนอย่างน้อยกลุ่มหนึ่งที่นิยมชมชอบการขี่จักรยานทั้งเพื่อเดินทางมาทำงานและเพื่อเป็นกิจกรรมผ่อนคลายในวันหยุด

เรามารู้จักกับนักปั่น 3 คน จากโครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำงานรณรงค์เพื่อให้เกิดระบบกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในบ้านเรา มาดูกันว่าแต่ละคนมีประสบการณ์ ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการขับขี่จักรยานอย่างไรกันบ้าง

สุรชัย ตรงงาม ผู้อำนวยการโครงการฯ

สุรชัยให้ความเห็นว่า แม้กรุงเทพฯ จะมี “ทางจักรยาน” แต่จากการใช้เส้นทางจริงนั้นพบว่ายังไม่สามารถใช้ได้สะดวก ทางจักรยานซ้อนทับทางเท้า  ทางจักรยานไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยก็มี ทางไม่มีการปรับให้เรียบ มีแต่เพียงเส้นขีดไว้เท่านั้น

เขามองว่า “ทางจักรยาน” ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ได้สะดวก บางครั้งทางไปจบตรงบันไดขึ้นสะพานลอยเสียดื้อๆ บางช่วงก็ซ้อนทับทางเท้า พื้นผิวทางโดยรวมก็ไม่มีการปรับให้เรียบ บ่อยครั้งไม่มีทางลาดช่วยในการเปลี่ยนระดับ (ทำให้ผู้ขับขี่ต้องจอดและยกรถจักรยาน) แถมบางพื้นที่ยังกลายเป็นแผงขายของไปอีกด้วย

และที่เป็นเรื่องท้าทายสุดๆ สำหรับนักปั่น ตามความเห็นของเขาคือ ฝาท่อระบายน้ำที่บ้างก็วางในแนวขวาง บ้างก็วางในแนวขนานไปกับถนน เรียกว่าเผลอไม่ได้เลยทีเดียว

สุรชัยซึ่งใช้จักรยานในการสัญจรมาตั้งแต่ปี  2548 เคยประสบอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ในวันที่คิดว่าออกไปไม่ไกลบ้าน จึงไม่ได้สวมหมวกนิรภัย แต่จักรยานล้มในช่วงที่กำลังเข้าโค้งหน้าปากซอย ผลคือคิ้วแตกและโหนกแก้มยุบ ทำให้ต้องหยุดงานไปประมาณ 4 เดือน แถมเสียค่ารักษาพยาบาลไปไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท เขาจึงอยากจะย้ำว่าหมวกนิรภัยนั้นเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย

 

สุภาภรณ์ มาลัยลอย เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ

สุภาภรณ์ค้นพบว่า การขี่จักรยานมาทำงานนั้นเป็นประสบการณ์ที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง จะขัดใจอยู่บ้างก็ตรงป้ายโฆษณาที่วางระเกะระกะบนทางจักรยาน และบางช่วงของทางที่ไม่เอื้อต่อการผ่านไปของจักรยานนี่แหละ

เธอปั่นจักรยานเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร จากบ้านในซอยลาดพร้าว 62 มายังสำนักงานในซอยรามคำแหง 39 เจ้าตัวยืนยันว่ามันสะดวกอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนเช้าซึ่งรถติดมากๆ เธอก็ยังสามารถมาถึงสำนักงานได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ที่สำคัญประหยัดค่าเดินทางไปวันละ 66 บาท แม้จะต้องจ่ายค่าซ่อมเกียร์ เติมลม ปะยางบ้าง ก็ยังถือว่าคุ้ม

สำหรับเธอ แม้ทางจักรยานจะยังไม่สมบูรณ์แบบตามมาตรฐานสากล แต่การได้ขี่จักรยานเองก็ทำให้เธอรู้สึกปลอดภัยกว่าการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์อยู่ดี

 

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ ทนายความ

รายนี้ขัดใจกับ “ทางจักรยาน” ในเส้นทางที่เขาใช้ประจำ จนต้องหลบลงไปปั่นบนพื้นถนนอยู่บ่อยครั้ง เขาอยากให้มีการนำแนวคิดการจัดพื้นที่ถนนให้สามารถใช้ร่วมกันได้ระหว่างรถยนต์และจักรยาน เจ้าตัวบอกว่าอยากให้เหมือนกับถนนที่เจนีวา ที่แบ่งพื้นที่ถนนครึ่งเลนให้กับจักรยานไปเลย

สงกรานต์บอกว่าความจริงแล้วเลนจักรยานบนถนนสีลมบ้านเราก็มี เพียงแต่ยังถูกใช้เป็นที่จอดรถอยู่  หลักๆ แล้วเขาเชื่อว่าจะมีคนหันมาใช้จักรยานกันมากขึ้น ถ้ามีการออกแบบทางจักรยาน (ย้ำว่าต้องเป็น “ทางจักรยาน” ไม่ใช่การขีดเส้นเฉยๆ) โดยยึดหลักความปลอดภัย ความสะดวก และการเชื่อมต่อกับบริการสาธารณะ เช่นที่สำหรับจอดรถจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยจากการโจรกรรมนั้นยังมีอยู่น้อยมาก ทำให้หลายคนไม่กล้าเสี่ยง

สงกรานต์ลงทุนซื้อจักรยานไป 4,500 บาท ใช้ปั่นมาทำงานทุกวัน เขายืนยันว่าไม่เกิน 5 เดือนก็คืนทุน


แต่ทั้งนี้ใครอยากจะสร้างเสริมประสบการณ์การขับขี่ของตนเองด้วยการลงทุนเพิ่มก็ไม่ว่ากัน ทีมนี้เขายกตัวอย่างให้ฟังว่า ถ้าเราอยากให้จักรยานเบาลง 1 กิโลกรัม เราก็จะต้องใช้จ่ายประมาณ 10,000 บาท เพื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนจากเหล็กเป็นไทเทเนียม เป็นต้น

เอาเป็นว่าถูกก็ได้ แพงก็ดี ลองพิจารณาหาจักรยานมาปั่นกันดู จะไปตลาด ไปทำงาน หรือไปส่งลูกที่โรงเรียนก็ตามแต่ใจ แต่อย่าลืมใส่หมวกนิรภัยด้วยแล้วกัน

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตรสารออนไลน์ ปั่น ปลอดภัย หมวกนิรภัย จักรยาน สำรวจ

ฉบับที่ 249 หมวกนิรภัยสำหรับนักปั่น

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจทั้งสายเขียวและสายสปอร์ต ด้วยผลทดสอบ “ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายต่อศีรษะ” ของหมวกนิรภัยสำหรับผู้ใช้จักรยาน         คุณอาจสงสัย ... จะทดสอบไปทำไม สินค้าแบบนี้ต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยก่อน จึงจะวางขายในตลาดได้ ไม่ใช่หรือ         คุณเข้าใจถูกต้องแล้ว หมวกนิรภัยทั้งหมดที่เรานำมาทดสอบนั้นผ่านมาตรฐานที่มีในปัจจุบัน เพียงแต่มาตรฐานดังกล่าวกำกับเฉพาะการลดแรงกระแทกกับพื้นในแนวตั้งฉาก และเกณฑ์ที่ให้ “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน ก็วัดจากประสิทธิภาพในการป้องกัน “การบาดเจ็บรุนแรงต่อศีรษะ” เท่านั้น         องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ซึ่งประกอบด้วยองค์กรสมาชิกที่เป็นองค์กรผู้บริโภคจากประเทศต่างๆ) จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสตราสบวร์ก ประเทศฝรั่งเศส และ Certimoov องค์กรที่รณรงค์เรื่องความปลอดภัยของหมวกนิรภัยจักรยาน ทำการทดสอบครั้งนี้ขึ้นตามวิธีทดสอบที่พัฒนาให้สอดคล้องกับลักษณะการเกิดอุบัติเหตุของคนขี่จักรยานมากขึ้น เช่น เวลาที่ถูกรถยนต์ชนแล้วตัวลอยขึ้นไปจนศีรษะกระแทกกับกระจกหน้ารถ เป็นต้น         ในการทดสอบครั้งนี้นอกจากจะวัดประสิทธิภาพการป้องกันการบาดเจ็บเมื่อศีรษะกระแทกในแนวตั้งฉาก (ด้านหน้า/ด้านหลัง/ด้านข้าง) แล้ว ยังทดสอบการกระแทกกับพื้นเอียง 45 องศา (ด้านหน้า/ด้านหลัง/ด้านข้าง) อีกด้วย ทั้งหมดเป็นการทดสอบด้วยเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ และเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์ในหัวหุ่นยนต์ทดสอบ         นอกจากนี้ยังเพิ่มเกณฑ์ที่อ้างอิงงานวิจัยด้านชีวกลศาสตร์ รวมถึงนำ “อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ” หรือ “อาการโคม่าในระยะสั้น” มาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งหมดนี้ก็เพื่อทำข้อเสนอในการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย และเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น         จากหมวกนิรภัยที่เปิดตัวในปี 2021 จำนวน 27 รุ่น ที่นำมาทดสอบ เราพบว่ากลุ่มที่ดีที่สุดได้ไป 70 คะแนนจากคะแนนเต็มร้อย ในขณะที่กลุ่มที่ได้คะแนนน้อยที่สุดนั้นได้ไป 80 คะแนน สนนราคาก็มีให้เลือกหลากหลายตั้งแต่ 1,100 บาท ไปจนถึง 6,700 บาท        ข่าวดีคือหมวกนิรภัยประสิทธิภาพดีในราคาไม่เกิน 2,000 บาทนั้นมีอยู่จริง และเรายังได้ข้อสรุปเช่นเคยว่าของแพงไม่จำเป็นต้องดี และของดีไม่จำเป็นต้องแพง แต่หากของชิ้นไหนถูกมากก็อย่าเพิ่งวางใจ ว่าแล้วก็พลิกไปดูผลการทดสอบกันเลย        · ขอย้ำว่าการจัดอันดับครั้งนี้เป็นเรื่อง “ความปลอดภัย” ล้วนๆ  เรื่องความสวยงามหรือความรู้สึกสบายเวลาสวมใส่ ต้องแล้วแต่ความพึงพอใจของผู้ใช้ สิ่งสำคัญคือการทดลองสวมก่อนตัดสินใจ และราคาที่เราแจ้งเป็นราคาที่องค์กรสมาชิกในยุโรปซื้อจากร้านทั่วไปเป็นหน่วยเงินยูโร ที่เราแปลงมาเป็นหน่วยเงินบาท ก่อนซื้อโปรดตรวจสอบอีกครั้งเช่นกัน  ---------- กฎหมายว่าด้วยการสวมหมวกนิรภัย        ปัจจุบันมีเพียงออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เท่านั้นที่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ที่ขับขี่จักรยาน (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) สวมหมวกนิรภัย ในขณะที่กฎหมายประเทศมอลต้าใช้บังคับกับผู้ใหญ่เท่านั้น ส่วนสวีเดน สโลเวเนีย และสาธารณรัฐเช็ก นั้นบังคับเฉพาะในกลุ่มเด็ก บางประเทศอย่างสเปนบังคับการสวมหมวกเมื่อขับขี่จักรยานในเขตเมือง แต่ยกเว้นให้กรณีที่ถีบขึ้นเขา         บางประเทศอย่างเนเธอร์แลนด์ก็มีจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่มีการ “บังคับสวมหมวก” เนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมการใช้จักรยาน การรณรงค์ให้คนสวมหมวกนิรภัยนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องไม่ทำให้คนรู้สึกว่าการใช้จักรยานเป็นเรื่องอันตราย และไม่อยากใช้จักรยาน         ในออสเตรเลียก็มีกลุ่ม Bicycle Network ที่ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนกฎหมายบังคับสวมหมวก โดยอาจมีช่วงทดลอง 5 ปี ให้บุคคลอายุเกิน 17 ปีสามารถเลือกได้ว่าจะสวมหมวกนิรภัยหรือไม่ และรัฐจะต้องใส่ใจลด “ตัวอันตราย” ที่แท้จริงสำหรับนักปั่น ซึ่งพวกเขาบอกว่ามันคือรถยนต์นั่นเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 192 เป้สำหรับวันทำงาน

เป็นโชคดี (หรือโชคร้าย) ของคนยุคนี้ที่สามารถทำงานได้ทุกที่ หลายคนมีคอมพิวเตอร์ติดตัวไปด้วยไม่ว่าจะไปสำนักงานหรือไปนั่งในร้านกาแฟที่เปิดเป็นพื้นที่ทำงาน กระเป๋าสำหรับสัมภาระรายวันเช่น ขวดน้ำ โน้ตบุ้ค และเสื้อผ้าสำหรับออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งจำเป็นฉลาดซื้อฉบับนี้ภูมิใจเสนอผลทดสอบเป้สำหรับวันทำงานที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศร่วมกันทำไว้ ตลาดเป้เมืองไทยใหญ่ไม่แพ้ชาติใดในโลก เราจึงนำเสนอเป้ทั้ง 24 รุ่น ความจุระหว่าง 17 ถึง 35 ลิตร ที่ห้องปฏิบัติการ Strojírenský zkušební ústav, s.p. (SZU) ในสาธารณรัฐเชกได้ทำการทดสอบไว้การทดสอบแบ่งออกเป็นสองช่วงได้แก่ 1. ความพึงพอใจของอาสาสมัครที่ทดลองใช้งานโดยใส่ของทั้งแบบครึ่งและเต็มพื้นที่เป้ การปิด/เปิด หยิบโน้ตบุ้ค หยิบของขณะสะพาย และความกระชับเวลาเคลื่อนไหว 2. การทดสอบในห้องปฏิบัติการ* ที่เปรียบเทียบ- พื้นที่ใช้สอย - ความแข็งแรงทนทาน (เช่น หูหิ้ว สายสะพาย)- การกันน้ำ (ทั้งด้านบนและด้านล่างตัวกระเป๋า)- ความปลอดภัยต่อผู้ใช้ (ขอบ มุม หรือเหลี่ยมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ และสีสะท้อนแสงที่ช่วยให้มองเห็นได้ง่าย เป็นต้น)- ช่องใส่โน้ตบุ๊ก (ทดสอบกับโน้ตบุ้คขนาด 15.6 นิ้ว ความหนา 2.5 เซนติเมตร โดยดูจากความกระชับ ความสะดวกในการนำอุปกรณ์เข้าออกจากกระเป๋า) - คุณภาพการประกอบ (เช่น ตะเข็บ ซิป ล็อค และหมุด)จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เป้ที่ได้คะแนนสูงสุด (82 คะแนน) ได้แก่ THE NORTH FACE รุ่น BOREALIS ขนาด 28 ลิตร ตามด้วย deuter รุ่น Giga 7309 Blueline Check ขนาด 20 ลิตร (80 คะแนน) และ OSPREY Flare ขนาด 22 ลิตร (76 คะแนน)เป้แต่ละรุ่นมีจุดแข็งแตกต่างกัน พลิกดูรายละเอียดได้ในหน้าถัดไปเพื่อหาใบที่เหมาะกับคุณที่สุดได้เลย*อัตราค่าทดสอบต่อหนึ่งตัวอย่างอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 14,000 บาทเป้เหล่านี้ออกแบบมาให้เป็นมิตรต่อหลังของเราในระดับหนึ่ง แต่เราก็ต้องใช้มันให้ถูกวิธีด้วย เช่น ปรับสายสะพายให้กระชับเสมอ ไม่สะพายไหล่เดียว และไม่แบกน้ำหนักเกินกว่า 15% ของน้ำหนักตัว

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 180 สำรวจราคา “ก๊าซหุงต้ม” ที่ไหนขายแพงบ้าง?!!

“ก๊าซหุงต้ม” ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะบ้านไหนๆ ก็ใช้ “ก๊าซถัง” เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารกันทั้งนั้น เดี๋ยวนี้คงแทบไม่มีใครที่ยังใช้วิธีก่อฟืนจุดไฟเพื่อทำกับข้าวกันอีกแล้ว เพราะ “ก๊าซหุงต้มบรรจุถัง” สะดวกและง่ายกว่ากันเยอะ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กับตามบ้านเรือนและร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน ชื่อเรียกเต็มๆ ก็คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก็คือ ก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซก๊าซถังมีการควบคุมราคา “ห้ามขายแพงเกิน” (แต่ควบคุมเฉพาะ กทม.และ ปริมณฑล เท่านั้น) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาของก๊าซหุงต้มมีการปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าด้านพลังงานชนิดอื่นๆ เดิมทีเราเคยซื้อก๊าซหุงต้ม 1 ถังน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ที่ราคาถังละ 300 บาท เมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556 กระทรวงพลังงานได้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มทุกเดือนเฉลี่ยเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน จากเดิมที่ราคากิโลกรัมละ 18.13 บาท ขยับขึ้นไปสูงถึง 24.82 บาท ซึ่งทำให้ในเวลานั้นราคาก๊าซ 1 ถังพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึง 400 บาทเลยทีเดียว!!! แต่ว่าเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติปรับลดราคาจำหน่ายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หลังต้นทุนก๊าซ LPG ลดลงตามราคาตลาดโลก โดยปรับลดลงกิโลกรัมละ 0.67 บาท ทำให้ราคาจำหน่ายปลีกลดลงจากเดิมกิโลกรัมละ 22.96 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.29 บาท ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ*** เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดให้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง ขนาด 15 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำหน่ายปลีกในราคาไม่เกินถังละ 370 บาท โดยราคาดังกล่าวรวมค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ ซึ่งมีระยะทางขนส่งในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่รวมค่าบริการขนส่งขึ้นบนอาคารสูง ***ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติปรับลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ลงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาจะลดลงมาอยู่ 20.29 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ฉบับล่าสุดปี 2559 กำหนดราคาของก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัมไว้ใหม่ว่าจะต้องมีราคาจำหน่ายไม่เกิน 340 บาทต่อถัง ซึ่งเป็นราคาที่ร่วมค่าขนส่งในระยะรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ก็ยังเป็นราคาที่กำหนดเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น ส่วนจังหวัดอื่นๆ กบง. แจ้งว่าก็จะมีปรับลดเช่นกัน แต่อัตราที่ลดจะไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามระยะทาง การสำรวจครั้งนี้ยังคงใช้เกณฑ์ราคาแนะนำเดิมคือที่ 370 บาทเป็นเกณฑ์ในการสำรวจ เพราะการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจในเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งยังยึดตามประกาศฉบับเดิม แต่หลังจากนี้ไปผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล ควรเลือกซื้อก๊าซหุงต้มที่ราคา 340 บาทต่อถังเท่านั้นนอกจากนี้ในประกาศฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ร้านค้าต้องแสดงราคาจำหน่ายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง และค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากทางร้านมีการคิดเพิ่มนอกเหนือจากราคาจำหน่าย ซึ่งถ้าหากร้านค้าก๊าซบรรจุถังร้านใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในประกาศถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยหากร้านค้าใดจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าที่กำหนด หรือแจ้งราคาไม่ตรงกับราคาขาย มีสิทธิ์ถูกลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั่วประเทศไทยมีที่ไหนขายเกินราคาบ้าง?    จากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) จะเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่ที่การกำหนดราคาขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังมีผลบังคับกับร้านค้าเฉพาะที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำให้อีกหลายจังหวัดจำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัม สูงกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท     คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงได้ทำการสำรวจราคาซื้อขายก๊าซหุงต้มตามร้านจำหน่ายก๊าซทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อดูว่ามีการตั้งราคาจำหน่ายแตกต่างจากที่ภาครัฐกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ผลการสำรวจราคาก๊าซหุงต้มทั่วประเทศกรุงเทพมหานคร (16 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     3 ร้าน (19%)เท่ากับราคาแนะนำ    10 ร้าน (62%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    3 ร้าน (19%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ     380 บาท (2 ร้าน) 375 บาท (1 ร้าน)พื้นที่ที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ เขตพระนคร เขตทุ่งครุ และ เขตสะพานสูงการติดป้ายแสดงราคา ทุกร้านติดป้ายแสดงราคาปริมณฑล (20 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     13 ร้าน (65%)เท่ากับราคาแนะนำ    2 ร้าน (10%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    5 ร้าน (25%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (5 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน)  380 บาท (5 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ปทุมธานี (10 ร้าน) สมุทรปราการ (3 ร้าน) การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 4 ร้าน ไม่แจ้ง 16 ร้านภาคกลาง (24 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     8 ร้าน (33%)เท่ากับราคาแนะนำ    4 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    12 ร้าน (50%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (6 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ชัยนาท (4 ร้าน) พระนครศรีอยุธยา (4 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 12 ร้าน ไม่แจ้ง 12 ร้านภาคตะวันตก (94 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     50 ร้าน (53%)เท่ากับราคาแนะนำ    16 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    28 ร้าน (30%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (9 ร้าน) 400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (4 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน) 380 บาท (22 ร้าน) 375 บาท (9 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ร้าน) ราชบุรี (12 ร้าน) นครปฐม (7 ร้าน) เพชรบุรี (7 ร้าน) กาญจนบุรี (6 ร้าน) สมุทรสาคร (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 31 ร้าน ไม่แจ้ง 63 ร้านภาคตะวันออก (48 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     41 ร้าน (86%)เท่ากับราคาแนะนำ    3 ร้าน (6%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (8%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (4 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (23 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ สระแก้ว (12 ร้าน) จันทบุรี (11 ร้าน) ปราจีนบุรี (9 ร้าน) ฉะเชิงเทรา (9 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 6 ร้าน ไม่แจ้ง 42 ร้านภาคเหนือ (81 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     56 ร้าน (69%)เท่ากับราคาแนะนำ    11 ร้าน (14%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    14 ร้าน (17%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 405 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (11 ร้าน) 390 บาท (10 ร้าน) 385 บาท (4 ร้าน) 380 บาท (16 ร้าน) 379 (1 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ พิษณุโลก (12 ร้าน) น่าน (12 ร้าน) เชียงใหม่ (9 ร้าน) ลำพูน (9 ร้าน) พะเยา (8 ร้าน) ลำปาง (5 ร้าน) แพร่ (1 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 35 ร้าน ไม่แจ้ง 46 ร้านภาคอีสาน (119 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     91 ร้าน (76%)เท่ากับราคาแนะนำ    9 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    19 ร้าน (16%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    440 บาท (4 ร้าน) 430 บาท (12 ร้าน) 420 บาท (13 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (14 ร้าน) 395 บาท (3 ร้าน) 390 บาท (17 ร้าน) 385 บาท (5 ร้าน) 380 บาท (13 ร้าน) 379 บาท (1 ร้าน) 375 บาท (3 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ บึงกาฬ (24 ร้าน) หนองบัวลำภู (12 ร้าน) ร้อยเอ็ด (10 ร้าน) ขอนแก่น (9 ร้าน) เลย (8 ร้าน) บุรีรัมย์ (8 ร้าน) อุดรธานี (8 ร้าน) กาฬสินธุ์ (6 ร้าน) สุรินทร์ (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 13 ร้าน ไม่แจ้ง 106 ร้านภาคใต้ (78 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     68 ร้าน (87%)เท่ากับราคาแนะนำ    6 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (5%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    520-550 บาท (2 ร้าน*เป็นร้านที่ตั้งอยู่บนเกาะพีพี จ.กระบี่ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้การตั้งราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นค่อนข้างมาก) 470 บาท (1 ร้าน) 460 บาท (1 ร้าน) 450 บาท (1ร้าน) 430 บาท (4 ร้าน) 420 บาท (9 ร้าน) 410 บาท (6 ร้าน) 405 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (10 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (9 ร้าน) 385 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (17 ร้าน) 375 บาท (2 ร้าน) 373 บาท (1 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ กระบี่ (16 ร้าน) ปัตตานี (12 ร้าน) สตูล (12 ร้าน) สุราษฎร์ธานี (11 ร้าน) ชุมพร (10 ร้าน) สงขลา (7 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 20 ร้าน ไม่แจ้ง 53 ร้านสรุปผลการสำรวจราคา-จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า มีเพียงแค่ กทม. และ ภาคกลาง เท่านั้น ที่สัดส่วนจำนวนของร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท มากกว่าจำนวนของร้านค้าที่สูงกว่าราคาแนะนำ -หลายร้านค้ามีการคิดค่าขนส่งเพิ่มจากราคาขาย ตั้งแต่ 5 – 20 บาท- มีร้านอีกจำนวนไม่น้อยที่ขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังถูกกว่าราคาแนะนำ -การติดป้ายแสดงราคา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กฎหมายกำหนด พบว่ามีเพียงตัวอย่างร้านค้าในกทม.เท่านั้น ที่ติดป้ายครบทุกร้านที่ทำการสำรวจ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ยังพบร้านที่ไม่ติดป้ายแสดงราคาอีกเป็นจำนวนมาก-ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มบรรจุถังในพื้นที่ในต่างจังหวัด ยังไม่มีข้อบังคับที่เป็นการกำหนดราคาที่ชัดเจน โดยกรมการค้าภายในได้มอบอำนาจในการจัดการควบคุมดูแลเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กจร.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สามารถกำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีจังหวัดไหนที่ออกประกาศเรื่องนี้ ทำให้ราคามีความแตกต่างกันหลากหลายราคาตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพื้นที่และจำนวนจังหวัดในการสำรวจพื้นที่    จังหวัดที่สำรวจ    จำนวนร้านค้ากรุงเทพฯ    14 เขต (1.พระนคร 2.ทุ่งครุ 3.สะพานสูง 4.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 5.ราษฎร์บูรณะ 6.บางกะปิ 7.ห้วยขวาง 8.คลองเตย 9.พระโขนง 10.ดินแดง 11. ลาดพร้าว 12.ธนบุรี 13.บางแค และ 14.บางนา)    16 ร้านปริมณฑล    2 จังหวัด (1.สมุทรปราการ และ 2.ปทุมธานี)    20 ร้านภาคกลาง    2 จังหวัด (1.ชัยนาท และ 2.พระนครศรีอยุธยา)    24 ร้านภาคตะวันตก    8 จังหวัด (1.ประจวบคีรีขันธ์ 2.กาณจนบุรี 3.สมุทรสาคร 4.ราชบุรี 5.เพชรบุรี 6.นครปฐม 7.สมุทรสงคราม และ 8.สุพรรณบุรี)    94 ร้านภาคตะวันออก    4 จังหวัด (1.สระแก้ว 2.ปราจีนบุรี 3.จันทบุรี และ 4.ฉะเชิงเทรา)    48 ร้านภาคเหนือ    7 จังหวัด (1.ลำปาง 2.พิษณุโลก 3.น่าน 4.เชียงใหม่ 5.ลำพูน 6.แพร่ และ 7.พะเยา)    81 ร้านภาคอีสาน    9 จังหวัด (1.กาฬสินธุ์ 2.บึงกาฬ 3.เลย 4.สุรินทร์ 5.ขอนแก่น 6.หนองบัวลำภู 7.ร้อยเอ็ด 8.บุรีรัมย์ และ 9.อุดรธานี)    119 ร้านภาคใต้    6 จังหวัด (1.สุราษฎร์ธานี 2.ปัตตานี 3.กระบี่ 4.ชุมพร 5.สตูล และ 6.สงขลา)    73 ร้านรวม    39 จังหวัด    480 ร้านระยะเวลาการสำรวจ : ระหว่างวันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2558    

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 178 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง 2

โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย พยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถทัวร์โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,784 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เฉลี่ย 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งจากสถิติเฉลี่ยแล้ว พบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 4 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาล รวมถึงปีละ 8,000 – 9,000 พันล้านบาทต่อปี   ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ 4 ภูมิภาคภาคเหนือ 609 ภาคใต้ 432 ภาคตะวันออก 263 ภาคอีสาน 480 อาชีพนักเรียน 23.9% รับจ้าง 16.6% พนักงานบริษัทเอกชน 13.9% ธุรกิจส่วนตัว 13.7% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10.3%เกษตรกร 8.5% แม่บ้านพ่อบ้าน 5.8% ว่างงาน 4.5%   ผลสำรวจโดยสรุป 1.ประชาชนยังนิยมใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางทั้งไปทำธุระ กลับบ้านและไปเรียนหนังสือ โดยรถ ป.2 ชั้นเดียวได้รับความนิยมที่สุด และบริษัทรถร่วม บขส. ได้รับความนิยมพอๆ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด2. เหตุผลที่ใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ คือ ความสะดวก ปลอดภัยและราคาถูก เรียงตามลำดับ มากไปน้อย 3.ความพึงพอใจทั้งเรื่องพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ และความสะดวก ความสะอาดของสถานีรถ อยู่ในค่าเฉลี่ยปานกลาง แต่ยังพบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกินประมาณ 9.4%4.ภายในรถโดยสารส่วนใหญ่มีเข็มขัดนิรภัย(80% ตอบว่ามี) และประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ทางรถโดยสารได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้โดยสารทราบผ่านโทรทัศน์บนรถ แต่มีถึง 45 % ที่ไม่คาดเข็มขัดในขณะโดยสาร ด้วยเหตุผลว่า อึดอัดเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีเข็มขัดหรือเข็มขัดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คิดว่าเดินทางแค่ระยะสั้นๆ รวมทั้งอายจึงไม่กล้าคาดเข็มขัด5.มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 23% ที่ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดจะถูกปรับ 5000 บาท6.เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถ ทั้งค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง ส่วนใหญ่จะระบุว่ามี (68.6% ,71.6%) เรื่องประตูฉุกเฉิน 82.2 % สังเกตว่ามี ส่วนที่น่าสนใจคือ การแจ้งเรื่องการใช้อุปกรณ์มีครึ่งหนึ่ง คือ 53.4% ไม่พบว่ามีการให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นโดยพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ หรือ วิดีโอ 7.ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร อยู่ที่ระดับปานกลาง คือ 46.7%   รายละเอียดการสำรวจ         เลือกรถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย 1. เลือกรถโดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมาย เช่น ถ้าเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะต้องเป็นรถร่วมบริการที่ได้รับอนุญาต (มีตราหรือสัญลักษณ์ของ บ.ข.ส. หรือ ขสมก. ติดข้างรถ) หรือ รถโดยสารป้ายทะเบียนสีเหลืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ‘รถเสริม’ ไม่ควรใช้บริการ รถทัวร์ผี รถตู้เถื่อน ที่มาวิ่งเสริมรับคนในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเด็ดขาด ซึ่งรถดังกล่าวอาจไม่ได้รับการตรวจสภาพมาก่อน และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถผีรถเถื่อนแล้ว ผู้โดยสารจะไม่มีหลักประกันใดมารับรองความปลอดภัย อาจจะเจ็บตัวฟรีได้ 3. ผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ใช้บริการ เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุ4. เมื่อต้องเดินทางเกิน 300 กม. ไม่ควรเลือกเดินทางโดยรถตู้โดยสาร เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถตู้โดยสารให้บริการได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กม. เท่านั้น เพราะหากไกลกว่านั้นอาจจะทำให้พนักงานขับรถอ่อนเพลียจนเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายด้วย 5. ถ้ามีผู้โดยสารอื่นขึ้นเต็มรถอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรฝืนขึ้นไปยืนหรือนั่งเบาะเสริม เพียงเพราะต้องการอยากให้ไปถึงที่ด้วยความรวดเร็วอย่างเดียว เพราะการบรรทุกผู้โดยสารเกินของรถโดยสารอาจจะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 6. ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย ผู้โดยสารควรสังเกตพฤติกรรมและอากัปกริยาของพนักงานขับรถ เช่น มีอาการง่วงซึม หรือมึนเมาจากสุรา สารเสพติดหรือไม่ หรือขับรถเร็วผิดปกติ ส่ายไปส่ายมา แซงซ้ายปาดขวา ไม่เคารพกฎจราจร หากพบเห็น ต้องไม่อายที่จะแจ้งเตือนพนักงานขับรถทันที หรือรีบแจ้งสายด่วน 1584 หรือ 191 หรือกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารกับตัวเอง ต้องทำยังไง1. ผู้โดยสารต้องตั้งสติให้ได้ก่อน2. เมื่อมีสติแล้ว ให้สำรวจดูสภาพร่างกายของตนเองว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และทรัพย์สินเครื่องใช้ที่ติดตัวมายังอยู่ครบหรือเปล่า 3. ถ้ามีสติ รู้สึกตัวดี และสำรวจสภาพร่างกายตนเองเรียบร้อยแล้ว ให้หยิบสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระเป๋าสตางค์ , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วพาร่างกายออกจากตัวรถโดยทันที 4. เมื่อออกมาพ้นตัวรถแล้ว ให้รีบโทรศัพท์ (ถ้ามี) แจ้ง 191 หรือ 1584 หรือ 1193 5. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 – 4 เรียบร้อยแล้ว หากท่านยังพอมีแรงอยู่ ให้ท่านเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นที่บาดเจ็บเท่าที่พอจะช่วยได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ 6. (ถ้ามีสติและทำได้) ควรถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ถ่ายภาพตอนบาดเจ็บของตนเองและคนอื่นที่บาดเจ็บ ไว้เป็นหลักฐานด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลและพยานหลักฐานสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย 7. เมื่อผู้โดยสารที่บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากบาดเจ็บไม่มากและรู้สึกตัวดี ผู้บาดเจ็บต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวนที่มาขอข้อมูลของผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นหลักฐาน8. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ตามสิทธิ พ.ร.บ. รถ ของรถโดยสารคันที่โดยสารมา (ผู้โดยสารไม่ต้องสำรองจ่าย โรงพยาบาลที่รับการรักษาเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากบริษัทประกันภัยเอง)9. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บต้องตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของรถโดยสารคันเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวน หรือตัวแทนของคู่กรณี (เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัย) ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้หรือไม่ ถ้าทำ ทำไว้กับบริษัทใด เพราะหากรถโดยสารทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้โดยสารจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและเยียวยาความเสียหายเพิ่มเติมได้    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ความคิดเห็น (0)