ฉบับที่ 168 การสำรวจราคากระเบื้องลอนคู่

“อย่างที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกบอกอย่างชัดเจนว่า “แร่ใยหิน” หรือ “แอสเบสตอส” (Asbestos) ซึ่งมักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ ท่อน้ำซีเมนต์ ผ้าเบรค และคลัทช์ นั้นเป็นวัตถุอันตราย เนื่องจากก่อให้เกิดโรคร้ายต่อมนุษย์หากหายใจเข้าไป เช่น โรคมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด จนหลายๆ ประเทศได้สั่งห้ามผลิตและใช้วัสดุที่มีแร่ใยหินแล้ว

และแม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2554 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการอันตรายของแร่ใยหิน ตามยุทธศาสตร์ ‘สังคมไทยไร้แร่ใยหิน’ ที่เสนอโดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ โดยมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการนำเข้าและส่งออก กฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยตรงยังไม่มีการปฏิบัติตามมติ ครม.ดังกล่าว ทำให้ไม่เป็นไปตามกรอบระยะเวลา อีกทั้งผู้ประกอบการที่ยังมีความต้องการใช้แร่ใยหินชนิดนี้อยู่  ได้พยายามให้ข้อมูลในเรื่องของ ราคาสินค้าที่อาจทำให้ผู้บริโภครับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีแร่ใยหิน

ส่วนในประเทศไทยของเรา มากกว่าร้อยละ 90 ของแร่ใยหินที่นำเข้า จะใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทซีเมนต์ใยหินเช่น กระเบื้องทนไฟ กระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ และประมาณร้อยละ 7 ใช้เพื่อการผลิตสินค้าประเภทเบรค คลัทช์ ที่เหลืออีกร้อยละ 3 ใช้ในการผลิตสินค้าอื่นๆ เช่นฉนวนกันความร้อน กระเบื้องยางปูพื้น ภาชนะพลาสติก เสื้อผ้าทนไฟ กระดาษลูกฟูก สายฉนวนเตารีด เป็นต้น

แต่ก็ยังมีอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ในบ้านเรา  ที่ยังคงผลิตสินค้าประเภทกระเบื้องมุงหลังคาแบบมีแร่ใยหินอยู่เนื่องจากมีความแข็งแรง ทนทาน ราคาถูกกว่ากระเบื้องแบบไร้แร่ใยหิน ทั้ง ๆ ที่ราคากระเบื้องทั้งสองแบบอาจจะมีราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ทางแผนงานฯ จึงร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภค จัดให้มีการสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคาที่มีและไม่มีส่วนผสมของแร่ใยหิน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นข้อมูลในการผลักดัน กระตุ้นให้ผู้บริโภคเลือกใช้สินค้าที่ไม่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ เป็นทางเลือกในผู้บริโภคที่ตระหนักในเรื่องของสุขภาพ ของตัวเองเเละคนงานก็ย่อมเลือกเเบบไม่มีเเร่ใยหิน  รณรงค์ให้ผู้ประกอบการผลิตกระเบื้องที่ไม่มีส่วนผสมแร่ใยหิน และสุดท้ายก็เพื่อให้สังคมไทยไร้แร่ใยหิน

รศ.ดร.ภก.วิทยา  กุลสมบูรณ์

ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)

----------------------------------------------------

1.ระยะเวลาการสำรวจ

เริ่มตั้งแต่วันที่     10 - 28 ก.พ. 2558

2.การเลือกพื้นที่สำรวจ

เลือกจากเขตสาธารณสุขจำนวน 12 เขต เขตละ 2 จังหวัด โดยวิธีการจับสลาก รวม 24 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง แพร่ พิษณุโลก สุโขทัย นครสวรรค์ ชัยนาท ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี จันทบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี มุกดาหาร* นครศรีธรรมราช สุราษฎรธานี สงขลา ตรัง บวกกรุงเทพฯ  เขตชั้นใน และชั้นนอก

3.การสำรวจราคากระเบื้องมุงหลังคา

3.1สำรวจราคาจากร้านค้าไทวัสดุก่อสร้าง และ ร้านค้าในเขตอำเภอเมือง ของจังหวัดเป้าหมาย

3.2สำรวจราคากระเบื้องลอนคู่ขนาด 4 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน และกระเบื้องลอนคู่ขนาด 5 มม. สีซีเมนต์และสีมาตรฐาน

4.สัมภาษณ์ช่างมุงกระเบื้องหลังคา เรื่องความรู้เกี่ยวกับแร่ใยหิน ในทุกจังหวัดเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 48   ราย

 

 

 

 

 

 

 

เรื่องเล่าจากช่างมุงหลังคา

ความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมา

การสำรวจความเห็นจากช่าง/ผู้รับเหมารวม 48 คน ในพื้นที่จังหวัดที่เข้าร่วมการสำรวจ พบว่า กระเบื้องที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในกลุ่มนี้ 5 อันดับแรกคือ กระเบื้องตราช้าง กระเบื้องตราเพชร กระเบื้องตราห้าห่วง กระเบื้องตราลูกโลก และกระเบื้องทีพีไอ ตามลำดับ

กระเบื้องที่ช่างเหล่านี้เลือกใช้บ่อยที่สุด 3 แบรนด์ได้แก่ ตราช้าง ตราเพชร และตราห้าห่วง ตามลำดับ  เหตุผลอันดับต้นๆที่ช่างเลือกใช้กระเบื้องตราช้างคือความแข็งแรงทนทานและความเป็นที่นิยม สำหรับกระเบื้องตราเพชรอันดับหนึ่งคือราคา ตามด้วยความแข็งแรงทนทาน และเหตุผลที่เลือกกระเบื้องตราห้าห่วงอันดับแรกคือความแข็งแรงทนทาน ตามด้วยราคา

ในกรณีที่ลูกค้าขอคำแนะนำ ...(จะใช้ยี่ห้ออะไรดีนะช่าง)

ยี่ห้อที่ถูกแนะนำโดยช่างกลุ่มนี้มากที่สุด 4 อันดับแรกได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 66.7)  ตามด้วยตราเพชร (ร้อยละ 14.6) ตราลูกโลก (ร้อยละ 10.4) และตราห้าห่วง (ร้อยละ 8.3)  ด้วยเหตุผลเรื่องความแข็งแรงทนทานและราคาเป็นหลัก

ในกรณีที่ลูกค้าเจาะจงเลือก

จากประสบการณ์ของช่าง แบรนด์ที่ลูกค้าเจาะจงเลือกใช้มากที่สุดได้แก่ ตราช้าง (ร้อยละ 88.9) ตราเพชร (ร้อยละ 24.4) ตามด้วยตราลูกโลกและตราห้าห่วง (ร้อยละ 17.8 เท่ากัน)

ความเข้าใจเรื่องแร่ใยหิน

ช่าง/ผู้รับเหมาประมาณร้อยละ 70 ทราบว่ากระเบื้องมุงหลังคาทำจากวัสดุอะไรบ้าง

ร้อยละ 50 ตอบว่ารู้จักแร่ใยหิน และกระเบื้องที่ช่าง/ผู้รับเหมาเชื่อว่ามีแร่ใยหินได้แก่ (เรียงตามลำดับความถี่ของการเลือกตอบ) ตราเพชร ตราลูกโลก ตราห้าห่วง ตราช้าง และตราทีพีไอ

มากกว่าร้อยละ 60 เชื่อว่าแร่ใยหินเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของช่างที่ทำงานกับกระเบื้อง

 

*หมายเหตุ ช่าง/ผู้รับเหมาที่ให้ข้อมูลในการสำรวจครั้งนี้ มีอายุระหว่าง 27 ถึง 67 ปี และทำงานในวงการก่อสร้างเป็นเวลา 3 ถึง 48 ปี

 

ความเห็นของช่าง/ผู้รับเหมาต่อเรื่องอันตรายของแร่ใยหิน

  • กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินมีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย

“เชื่อว่าแร่ใยหินมีอันตรายจึงเลือกซื้อ/ใช้กระเบื้องประเภทที่ไม่มีแร่ใยหิน”

“แนะนำผู้ว่าจ้างให้ใช้กระเบื้องหลังคาแบบที่ไม่มีใยหิน”

“เวลาตัดจะสวมหน้ากากกันฝุ่น แต่ถ้ามีรุ่นใหม่ที่ไม่มีแร่ใยหินมีออกมาขายมากขึ้น คิดว่าคงเลือกใช้           แบบไม่มีแร่ใยหิน”

“ลูกน้องบางคนเป็นโรคทางเดินหายใจ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะแร่ใยหินหรือไม่”

“เวลาเจาะ ตัด จะมีฝุ่นเข้าจมูก อาจทำให้เกิดโรคตามมา”

“เวลาตัดฝุ่นฟุ้งกระจายมากกว่ากระเบื้องชนิดอื่นๆ”

“ถ้ามีอันตราย คนที่ได้รับอันตรายมากสุดคือช่าง ผู้อยู่อาศัยอาจได้รับอันตรายบ้างแต่ไม่เสี่ยงเท่า    ช่าง”

“อันตรายกับช่างที่สัมผัส อันตรายกับผู้อยู่อาศัยจากฝุ่นใยหินที่ฟุ้งกระจายในบ้าน”

“อันตรายต่อช่าง หายใจไม่ออก ป้องกันโดยการใช้ผ้าปิดจมูก แต่ไม่น่ามีผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย”

“อาจเป็นอันตรายต่อตัวช่างเพราะต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด แต่ไม่แน่ใจว่าอันตรายกับผู้อยู่อาศัยหรือไม่”        “เป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย”

“มีอันตรายถ้าใช้ระยะยาว เพราะมีส่วนประกอบเป็นวัสดุที่ก่อมะเร็ง”

“ฝุ่นและสิ่งสกปรกจากแผ่นกระเบื้องทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้”

“มีผลต่อสิ่งแวดล้อม น้ำฝนไม่สะอาด ส่งผลต่อสุขภาพ”

“อันตรายแต่ต้องรู้จักวิธีใช้”

“อาจทำให้เกิดมะเร็งได้”

“โรคปอด โรคผิวหนัง”

“น่าจะอันตรายแต่ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ให้ลูกจ้างให้ใส่หน้ากากและดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ อยากให้ตรวจสอบวัสดุก่อสร้างว่ามีแร่นี้หรือไม่ ถ้ามีควรแจ้งผู้รับเหมา ลูกค้า หน่วยงานรัฐต้องเข้ามา   จัดการ”

 

  • กลุ่มที่เห็นว่าแร่ใยหินไม่มีอันตรายต่อคนทำงานและผู้อยู่อาศัย

“ไม่น่าจะมีอันตรายเพราะเป็นสิ่งที่คนใช้กันเยอะ”

“ใช้กันทั่วไปในการสร้างที่อยู่อาศัย”

“ยังไม่เคยเห็นผลกระทบต่อร่างกาย”

“ไม่แน่ใจเพราะยังไม่เห็นผลโดยตรง”

“ไม่น่าจะอันตรายเพราะไม่ได้สัมผัสเป็นเวลานาน”

“คิดว่าแร่ใยหินไม่อันตราย แต่ฝุ่นละอองจากกระเบื้องทุกชนิดมีอันตราย”

“ไม่น่าจะอันตราย เพราะนำมาสร้างที่อยู่คน การผลิตต้องมีมาตรฐาน”

 

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

150 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ สำรวจ ราคา กระเบื้องลอนคู่

ฉบับที่ 266 สายการบิน

ผลสำรวจความพึงพอใจสนามบินและสายการบิน         เพื่อความเข้าใจในสถานการณ์การเดินทางทางอากาศหลังการระบาดหนักของโรคโควิด 19 ในแต่ละประเทศ สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ในยุโรป แคนาดา และไทย จึงได้ร่วมกันสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่ใช้บริการสนามบินและสายการบินในช่วงหนึ่งปีก่อนช่วงเวลาตอบแบบสอบถาม (ระหว่างตุลาคมถึงพฤศจิกายนปี 2565) มีผู้ตอบแบบสอบถามจาก 11 ประเทศ รวมทั้งหมด 18,210 คน-----ผู้โดยสารของเราเป็นใครในภาพรวม มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เดินทางด้วยตั๋วโดยสารชั้นประหยัด มากกว่าร้อยละ 60 เดินทางด้วยเที่ยวบินที่ใช้เวลาบินไม่เกินสามชั่วโมง ส่วนจุดประสงค์ในการเดินทางนั้น ร้อยละ 78 ใช้บริการสายการบินเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว ที่เหลืออีกร้อยละ 22 เป็นการเดินทางเพื่อธุรกิจ  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นหญิงประมาณร้อยละ 34 เป็นชายร้อยละ 66 หากแยกดูตามอายุ...ร้อยละ 44       อายุระหว่าง 50-64 ปีร้อยละ 31       อายุมากกว่า 65 ปีร้อยละ 19.7    อายุระหว่าง 35-49 ปีร้อยละ 5.4      อายุระหว่าง 18-34แต่มีข้อมูลน่าสนใจจากบางประเทศเช่น ร้อยละ 47.7 ของผู้ตอบแบบสอบถามในเบลเยียม เป็นคนอายุมากกว่า 65 ปี  ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามในสโลวาเกียร้อยละ 48.6 เป็นคนวัย 35-49 และในกรณีของไทยมี เกือบร้อยละ 50 มีอายุระหว่าง 18-34เรามาดูกันว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้พบปัญหาอะไร หรือมีความพึงพอใจกับบริการหรือสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบินและสายการบินในแต่ละด้านแตกต่างกันอย่างไร สายการบิน        ความพึงพอใจที่มีต่อเว็บไซต์หรือแอปฯ ของสายการบิน        ในภาพรวม ร้อยละ 54 ซื้อตั๋วผ่านเว็บหรือแอปฯ ของสายการบิน ผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่งตอบว่าซื้อตั๋วโดยไม่ได้ดูเว็บหรือแอปฯ เปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ตอบแบบสอบถามคนไทย ที่มีผู้ใช้บริการเว็บไซต์หรือแอปฯ เปรียบเทียบราคา เช่น Skyscanner  Kayak หรือ booking.com ถึงร้อยละ 88.6ในภาพรวม สิ่งที่ผู้ใช้งานเว็บไซต์หรือแอปในการจองตั๋วให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือ ความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ตามด้วยความโปร่งใสในการแสดงราคา (เช่น ภาษี ค่าธรรมเนียมต่างๆ) ตามด้วยความสะดวกในการซื้อตั๋วโดยสารแต่ในกรณีของไทย อันดับแรกเหมือนกับผู้คนจากอีกสิบประเทศที่ชอบความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ แต่อันดับสองของเราคือการมีเที่ยวบินไปยังปลายทางที่ต้องการ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เช่น ความโปร่งใสในการแสดงราคา ความสะดวกในการซื้อตั๋ว ได้คะแนนเท่าๆ กันทั้งนี้เว็บไซต์ของสายการบินที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจระดับต้นๆ คือ ลุกซ์แอร์ เอมิเรตส์ สวิสแอร์ แอร์ทรานแซท บินเทอร์คานาเรียส นอร์วีเจียนแอร์ และ แอร์ฟรานซ์          ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบจากการใช้บริการสายการบิน        ร้อยละ 19 เคยมีประสบการณ์เที่ยวบินถึงที่หมายล่าช้า ตามเกณฑ์การสำรวจครั้งนี้หมายถึง “เกินกำหนดมากกว่า 15 นาที” ในจำนวนนี้กว่าครึ่งพบความล่าช้าเกิน 1 ชั่วโมง หนึ่งในสี่ของไฟลท์ที่ดีเลย์ ผิดเวลาไปมากกว่า 2 ชั่วโมง และเมื่อเจาะลึกลงไปถึงสายการบินที่ใช้บริการจะพบว่า สายการบินที่มีปัญหาเรื่องไฟลท์ดีเลย์น้อยที่สุดคือ สายการบิน Etihad        ร้อยละ 6 ถูกยกเลิกเที่ยวบิน โดยร้อยละ 64 ของผู้ที่ถูกยกเลิกเที่ยวบิน ไม่ได้รับเงินคืน        ร้อยละ 5 พบปัญหาเกี่ยวกับสัมภาระชำรุดหรือสูญหาย และร้อยละ 71 ของคนกลุ่มนี้ไม่ได้เงินคืน จากข้อมูลการสำรวจ สายการบินที่ผู้โดยสารพบปัญหาเรื่องกระเป๋าน้อยที่สุดคือ บินเทอร์คานาเรียส และเอมิเรตส์หากดูเฉพาะกลุ่มตัวอย่างจากประเทศไทย จะพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้บริโภคพบคือเที่ยวบินล่าช้า (ร้อยละ 70.2) ตามด้วยปัญหาสัมภาระเสียหาย (ร้อยละ 18) การร้องเรียน        ในภาพรวม ร้อยละ 59 ของผู้ที่ประสบปัญหา ร้องเรียนต่อสายการบินผ่านการกรอกแบบฟอร์ม ในกรณีของผู้ที่ถูกยกเลิกไฟล์ มีเพียงร้อยละ 56 เท่านั้นที่ร้องเรียนมีข้อสังเกตว่ากรณีของไทยมีผู้ยื่นเรื่องร้องเรียนกับสายการบินเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ในบรรดากลุ่มคนที่ร้องเรียน มีถึงร้อยละ 80 ที่ไม่ได้รับเงินคืน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในสายการบิน        จากการให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนสายการบินในหัวข้อต่อไปนี้        บริการเช็คอินที่สนามบิน        บริการเช็คอินออนไลน์        ขั้นตอนการขึ้นเครื่อง        พนักงานต้อนรับบนเครื่อง        ความสบายของที่นั่งโดยสาร        พื้นที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ        ความสะอาดของห้องน้ำ        คุณภาพอาหารตามราคาตั๋ว        ทางเลือกสำหรับผู้มีข้อจำกัดด้านอาหาร        คุณภาพอาหารเมื่อเทียบกับราคา        ความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน        ราคาตั๋วโดยสาร        เราพบว่าสิ่งที่มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของผู้โดยสารต่อสายการบินอันดับต้นๆ ได้แก่ ความตรงเวลาของเที่ยวบิน ราคาตั๋วโดยสาร บริการเช็คอินที่สนามบิน/เช็คอินออนไลน์ พนักงานต้อนรับ และความบันเทิงบนเที่ยวบิน ตามลำดับอย่างไรก็ตามหากแยกดูความพึงพอใจของผู้โดยสารแต่ละประเทศ จะเห็นว่ามีความต้องการที่ค่อนข้างแตกต่างกัน เช่น คนแคนาดาให้ความสำคัญกับความสะอาดของห้องน้ำเป็นอันดับต้นๆ คนสโลเวเนียถูกใจสายการบินเพราะชอบความบันเทิงในเที่ยวบิน คนบราซิลและคนออสเตรียพิถีพิถันกับเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ในขณะที่คนไทยเราจริงจังกับพื้นที่เก็บสัมภาระเหนือศีรษะ เป็นต้น         ปัจจัยลำดับ 1 ถึง 3 ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในแต่ละประเทศที่มีต่อสายการบินมีทั้งเหมือนและต่างกันดังนี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในสนามบิน        เมื่อเราขอให้ผู้โดยสารให้คะแนนสนามบินในประเด็นต่อไปนี้ ...         การเดินทางเข้า/ออกจากสนามบิน (โดยรถส่วนตัวและรถสาธารณะ)        บริการที่จอดรถ        ป้ายบอกทางในสนามบิน        การออกแบบพื้นที่ในสนามบิน        จอภาพแสดงสถานะเที่ยวบิน        สิ่งอำนวยความสะดวกในการเช็คอิน        จำนวนห้องน้ำ/ความพร้อมใช้งาน        ร้านจำหน่ายสินค้า        บาร์และร้านอาหาร        ที่นั่งและสิ่งอำนวยความสะดวก        ห้องรับรอง (เลาจน์)        บริการ WIFI        บริการจุดชาร์จไฟ        เวลาในการตรวจเช็คความปลอดภัย        เวลาในการผ่านพิธีการทางศุลกากร          เราพบว่าในภาพรวมสามปัจจัยอันดับต้นที่ส่งผลต่อความพึงพอใจสนามบินได้แก่ การออกแบบพื้นที่ในสนามบิน ขั้นตอนการตรวจเช็คความปลอดภัย และจำนวนห้องน้ำสนามบินนานาชาติที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจอันดับต้นๆ ได้แก่สนามบินของเมืองดูไบ ซูริค มิวนิค เฮลซิงกิ และโดฮา ตามลำดับในขณะที่ท่าอากาศยานของมอลต้า และควิเบก ได้คะแนนสูงสุดด้านความเร็วในการผ่านขั้นตอนการตรวจเช็คความปลอดภัยด้านห้องน้ำต้องยกให้สนามบินฮามัด เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์  ส่วนท่าอากาศยานออสเทนด์ ของเบลเยียม ได้คะแนนสูงสุดด้านการออกแบบพื้นที่ในสนามบิน         สิ่งที่ผู้โดยสารในแต่ละประเทศให้ความสนใจในอันดับต้นๆ ได้แก่  แผนการเดินทางในปี 2566         เพื่อตอบคำถามว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความแพร่หลายในการจัดประชุมสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงการรับรู้เรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการเดินทางโดยเครื่องบิน จะส่งผลให้ผู้คนเลือก “บิน” น้อยลงในปี 2566 หรือไม่? จากการตอบแบบสอบถามดังกล่าว เราพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงเดินทางโดยเครื่องบินไม่น้อยกว่าปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวที่วางแผนว่าจะเดินทางไม่น้อยกว่าเดิม มีถึงร้อยละ 60   ผู้ที่เดินทางเพื่อธุรกิจ        ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.4) จะเดินทางโดยเครื่องบินไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 32.2 ตอบว่าปีนี้จะเดินทางน้อยลง และมีถึงร้อยละ 16.4 วางแผนจะเดินทางมากกว่าเดิมด้วย และถ้าดูเฉพาะกรณีของไทยจะพบว่ามีถึงร้อยละ 48 ที่จะโดยสารเครื่องบินบ่อยขึ้นกว่าปีก่อน         เหตุผลที่สายประชุม/สัมมนา จะเดินทางโดยเครื่องบินน้อยลง          ร้อยละ 28.8    ตั๋วแพงขึ้น           ร้อยละ 23.8    ประชุมออนไลน์        ร้อยละ 22.9    ต้องการเก็บเงิน        ร้อยละ 7.8      ห่วงใยสิ่งแวดล้อม        ร้อยละ 3.2      วิตกสถานการณ์ยูเครน        ร้อยละ 3.1      กลัวติดเชื้อโควิด        ร้อยละ 1.8      กังวลกับมาตรการโควิด        (ร้อยละ 8.6 อื่นๆ) ผู้เดินทางเพื่อท่องเที่ยว        “สายเที่ยว” ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 60.5) จะเดินทางมากพอๆ กับปีที่แล้ว ในขณะที่ร้อยละ 13.8 จะเดินทางน้อยลง และมีถึงร้อยละ 25.7 ที่จะเดินทางมากขึ้น ในกรณีของไทย มีคนวางแผนจะเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้นถึงร้อยละ 83.4 เลยทีเดียว         เหตุผลที่สายเที่ยวจะเดินทางโดยเครื่องบินน้อยลง          ร้อยละ 32.3    ตั๋วแพงขึ้น           ร้อยละ 32       ต้องการเก็บเงิน        ร้อยละ 11.2    ห่วงใยสิ่งแวดล้อม        ร้อยละ 2.8      วิตกสถาณการณ์ยูเครน        ร้อยละ 2.5      กลังติดเชื้อโควิด        ร้อยละ 1.8      กังวลกับมาตรการโควิด        (ร้อยละ 17.3 อื่นๆ)  

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 262 สำรวจ ฟู้ดเดลิเวอรี ใครมีตัวเลือกรักษ์โลก (ครั้งที่ 2)

        ปัจจุบันการกดสั่งอาหารออนไลน์ ทำได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว เพราะมีผู้ให้บริการให้เลือกมากมาย ตลอดช่วงการระบาดของโรคโควิด -19 ประชาชนหันมาใช้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่กันมากขึ้น   และทั้งด้วยการจัดโปรโมชัน คูปอง การสะสมแต้มต่างๆ ยิ่งทำให้ผู้บริโภคนิยมสั่งอาหารเดลิเวอร์รีมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง          อีกด้านหนึ่ง ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอร์รี่กำลังสร้างปัญหาสำคัญคือ ขยะพลาสติกจำนวนมาก ที่สำคัญคือขยะจากฟู้ดเดลิเวอรีเหล่านี้ปะปนกับเศษอาหาร จึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้             ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 242  นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มสำรวจตัวอย่างแอปพลิเคชันสั่งอาหารทางออนไลน์(ฟู้ดเดลิเวอรี) จำนวน 36 แอปพลิเคชัน ในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อสำรวจว่าแอปฯ ฟู้ดเดลิเวอรีนั้นมีตัวเลือก ‘ลดการใช้ขยะพลาสติก’ ให้กับลูกค้าหรือไม่         ดังนั้นเพื่อการเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันฟู้ดดิลิเวอรีมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาอีกหลายราย และเพื่อให้ผู้บริโภคที่มีใจของนักอนุรักษ์ได้มีข้อมูลว่า มีผู้ประกอบการรายใดที่ตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกนี้บ้าง ฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และ สสส. จึงทำการสำรวจบริการสั่งอาหารออนไลน์อีกครั้ง  โดยครั้งนี้สำรวจ ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งที่ให้บริการทั้งในพื้นที่กรุงเทพ และต่างจังหวัดดังเดิมและเพิ่มเติมรายใหม่รวมจำนวนทั้งหมด 41 ราย   สำรวจผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีรายใหม่ จำนวน 9 ราย คือ  Shopee Food TH , 1376 Delivery,  AirAsia Food ,True Food, Foodhunt , Texas Chicken Thailand, Aolaimai ,Frabbit ,Fast Delivery Ubon ระยะเวลาสำรวจ เดือนธันวาคม 2565สรุปผลการสำรวจ        - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่แบบแอปพลิเคชัน  ที่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก”  มีจำนวน 5 ราย คือ  Burger King, Food Panda, Grab Food , Line Man , AirAsia Food  (หรือ Gojek เดิม)      - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ผ่านแอปพลิเคชัน แต่ไม่มีตัวเลือก “ลดการใช้พลาสติก” มีจำนวน 22   ราย  คือ  Shopee Food TH , Foodhunt ,Truefood , 1112 Delivery ,  7- Eleven ,  KFC  Thailand ,  Mc Donald’s  , Robinhood , S&P Delivery,The Pizza company, Aolaimai, Ant Delivery, Foodman Delivery Service , Fastfood  Delivery ,Weserve ,Win Food Delivery ,Big Food Delivery,Captain Food Delivery,   Finvery,FooDee Delivery ,Coffee  World  Station , Starbucks  Thailand       - ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น ผ่านช่องทาง เว็บไซต์ ไลน์ และ call center   และไม่มีตัวเลือกเพื่อลดการใช้พลาสติกที่ชัดเจน  มีจำนวน  8  ราย  คือ 1376 Delivery ,Domino’s  Pizza ,Fast Delivery Ubon ,Frabbit  ,Texas Chicken Thailand , Fuji Japanese Restaurant ,MK  delivery,Neo  Suki        และ แอปพลิเคชันยอดนิยมที่สำรวจแล้วพบว่า ไม่ใช่บริการ ฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีจำนวน  6   แอป คือ  CP Fresh Mart , Happy Fresh, Lalamove ,Skootar ,Wongnai ,ครัวคุณต๋อย    ข้อสังเกต      -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ทั้งผ่านแอปพลิเคชัน และสั่งซื้อผ่าน เว็บไซต์ ไลน์ และ call center  ที่ไม่มีตัวเลือกกดไม่รับพลาสติกแต่จะมีช่อง ‘คำขอพิเศษ’  ‘โน้ตไปยังร้านอาหาร’ ‘หมายเหตุ’  ‘ใส่รายละเอียดเพิ่มเติม (ถ้ามี)’ ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ช่องทางนี้ ปฏิเสธไม่รับพลาสติก  รวมไปถึงสื่อสารถึงร้านอาหารได้โดยตรงว่า ไม่ต้องการรับพลาสติกที่ไม่จำเป็น           -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ มีโปรโมชั่นเพื่อจูงใจให้กดสั่งซื้อมากมาย ทั้ง มีการจัดส่งฟรี การสะสมแต้ม การลดราคาเมื่อซื้อจำนวนมากหรือ ลดราคาในวันพิเศษต่างๆ เหล่านี้เพื่อกระตุ้นยอดขายแต่ยังไม่พบว่า มีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายพร้อมๆ กับการสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้บริโภคลดปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เช่น  การสะสมแต้มจากการไม่รับช้อน ซ่อม พลาสติก ,  คูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าที่เลือกไม่รับช้อนส้อมเป็นประจำ เป็นต้น        -   ร้านอาหารจำนวนมากมีแอปพลิเคชัน และช่องทางรับคำสั่งซื้อออนไลน์ในช่องทางอื่นๆ เช่น เว็บไซต์  ไลน์ Call center ของตนเองแต่ยังมักประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคสั่งซื้อผ่าน ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ เช่น Grab Food , Line Man เนื่องจากจะได้รับความนิยมได้มากกว่า        -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่ที่มีทางเลือกให้ผู้บริโภคกดไม่รับพลาสติกทั้งหมดเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่    อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ หลายรายที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบตั้งค่าลดการใช้พลาสติดดังกล่าว การที่ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่เห็นความสำคัญมีส่วนสำคัญอย่างมากที่ช่วยให้สังคมตระหนักถึงปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่ เพราะผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี่รายใหญ่ รายหนึ่งเป็นหน้าร้านของร้านอาหารอีกเป็นจำนวนมาก เช่น  Foodhunt ที่ให้บริการจัดส่งอาหารให้แก่ Mister Donut , Auntie anne’s , โอโตยะ, ไทยเทอเรส ฯลฯ  และ  1112 Delivery  ที่ให้บริการจัดส่งอาหาร  The Pizza , Bonchon และอีกนับสิบร้านชื่อดัง       -   ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รีในต่างจังหวัดรายหนึ่งสะท้อนว่า “เคยให้บริการผ่านแอปพลิเคชันที่สามารถกดไม่รับพลาสติกได้ เมื่อได้ปรับเป็นการรับคำสั่งซื้อผ่านช่องทางไลน์เพื่อลดต้นทุน ผู้บริโภคมักไม่ระบุวัสดุการจัดส่ง  จึงมองว่าระบบการกดไม่รับพลาสติกในแอปพลิเคชันมีส่วนสำคัญที่กระตุ้นผู้บริโภคให้ลดขยะและตระหนักในปัญหาขยะจากอาหารเดลิเวอร์รีได้”  ข้อแนะนำ     -   ผู้บริโภค ควรใช้ตัวเลือกลดขยะพลาสติกในแอปฯ (ถ้ามี) เพื่อเป็นการช่วยในเรื่องการลดปัญหาขยะ    -   ปัญหาสำคัญของขยะจากฟู้ดเดลิเวอรี คือเป็นขยะพลาสติกที่ปะปนกับเศษอาหารทำให้ไม่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้บริโภคจึงควรคัดแยกขยะก่อนทิ้งและรวบรวมนำไปให้ในจุดที่บริการรับขยะพลาสติกเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์  หรืออย่างน้อยควรชำระให้ปนเปื้อนน้อยที่สุดก่อนทิ้ง       -   ปัจจุบัน ร้านอาหารหลายร้าน หากไม่ให้ถุงพลาสติกก็อาจพัฒนาถุงพลาสติกเพื่อให้ผู้บริโภคไปใช้ซ้ำได้นานมากขึ้นที่สุด เมื่อได้รับวัสดุ /ถุงพลาสติกจึงควรนำกลับมาใช้ซ้ำหรือหาทางใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด    -   เลือกใช้บริการ ร้านอาหาร / ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอร์รี ที่มีความรับผิดชอบต่อปัญหาขยะอาหารเดลิเวอร์รีหรือปรับเปลี่ยนมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม    การใช้บริการจัดส่งสั่งอาหารออนไลน์ อาจได้เป็นวิถีใหม่ของคนไทยไปแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการและผู้บริโภคควรได้ตระหนักร่วมกันถึงปริมาณขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่กำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาล  การลดขยะหรือการทำให้ขยะกลับมาใช้ได้จริง จึงต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง  

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 262 เรื่องทดสอบ สปอร์ตบรา

        ปัจจุบัน “สปอร์ตบรา” ไม่ได้จำกัดการสวมใส่เฉพาะเพื่อการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเท่านั้น ผู้หญิงหลายคนยังจัดเป็นเสื้อชั้นในเพื่อการสวมใส่ในชีวิตประจำวันด้วย         สปอร์ตบรานั้นถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ของการป้องกันสรีระช่วงอกในขณะออกกำลังกายของผู้หญิง เนื่องจากชุดชั้นในธรรมดาไม่อาจรองรับการเคลื่อนไหวของหน้าอกในระหว่างการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ ได้ ซึ่งอาจนำมาถึงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหรืออาการปวดเมื่อยบริเวณดังกล่าว ยังรวมไปถึงเรื่องความสบายในการสวมใส่ ความคล่องตัวและความมั่นใจที่ชุดชั้นในธรรมดาไม่อาจให้ได้         ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ฉลาดซื้อและโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. จึงได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์สปอร์ตบรา จำนวน 8 ยี่ห้อ จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไป ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2565 ส่งตรวจกับห้องทดสอบที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน  โดยเป็นการทดสอบด้านความปลอดภัย 2 รายการได้แก่ สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัวและปริมาณฟอร์แมลดิไฮด์ และอีก 1 รายการเป็นการทดสอบเรื่อง การจัดการความชื้น (Liquid Moisture Management Properties) รวม 3 รายการ          หมายเหตุการทดสอบ         ในการทดสอบเรื่องการจัดการความชื้น เนื่องจากเนื้อผ้าและวัสดุของสปอร์ตบรานั้นไม่เหมือนเสื้อชั้นในและเสื้อผ้าทั่วไป เพราะประกอบด้วยผ้าผสมหลายชนิดรวมถึงดีไซน์การตัดเย็บที่ต่างกัน ดังนั้นจึงทดสอบการจัดการความชื้นในสามบริเวณได้แก่ ด้านหน้าที่มีฟองน้ำ ด้านหน้าที่ไม่มีฟองน้ำและด้านหลัง (บางชุดวัสดุตรงกลางและด้านข้างต่างกัน)  ผลการทดสอบ        ·     ด้านความปลอดภัย        สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว พบ สารสองชนิด ได้แก่ BENZIDINE ปริมาณ 17.74 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ 4-METHYL-m-PHENYLENEDIAMINE ปริมาณ 37.32 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในตัวอย่างยี่ห้อ Wacoal Motion Support WR 3448 (มาตรฐานสีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว แต่ละตัวต้องไม่เกิน 30 มก./กก.) อีก 7 ตัวอย่างไม่พบสีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน 24 ตัว        ฟอร์แมลดิไฮด์ พบฟอร์แมลดิไฮด์ 1 ตัวอย่าง ปริมาณ 26.83 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (มาตรฐานต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) ได้แก่ ตัวอย่างยี่ห้อ GENTLEWOMAN sports club GST060 อีก 7 ตัวอย่างไม่พบฟอร์แมลดิไฮด์         ·     การจัดการความชื้น ผลการทดสอบพบว่า ค่า One-way transport capability (R)   ส่วนใหญ่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าที่มีฟองน้ำ ส่วนบริเวณด้านหน้าที่ไม่มีฟองน้ำและบริเวณด้านหลัง มี 3 ยี่ห้อที่ผลการทดสอบน่าพอใจ ดูรายละเอียดได้ที่ การเลือกสปอร์ตบรา         1.เลือกตามการใช้งาน ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นสามระดับของการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่ง การเล่นกีฬาหนักๆ ควรเลือกชนิด  High Support สำหรับการออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวไม่มาก เลือกแบบ Medium Support หรือ Light Support  ซึ่งเหมาะสำหรับ เวทเทรนนิ่ง บอดี้เวท การปั่นจักรยาน การเล่นโยคะ พิลาทีส เป็นต้น         2.เลือกให้พอดีกับขนาดของหน้าอก การทดลองสวมที่ร้านจะดีที่สุด ทั่วไปแล้วสปอร์ตบราจะมีขนาดที่เล็กกว่าไซส์ชุดชั้นในเล็กน้อย ควรเลือกที่ใส่แล้วไม่อึดอัดหรือคับเกินไป ไม่มีเนื้อส่วนเต้าล้นออกมา และไม่มีตะเข็บที่จะก่อให้เกิดการเสียดสี        3.เลือกจากวัสดุที่ช่วยระบายความชื้นและความร้อนได้ดี จะช่วยทำให้รู้สึกแห้งสบาย ไม่เหนอะหนะในระหว่างการใช้งาน วัสดุที่นิยมในปัจจุบันได้แก่ ไนลอน โพลีเอสเตอร์ สแปนเด็กซ์ ไลครา อีลาสติน         4.สาวที่มีช่วงไหล่กว้างอาจใส่สปอร์ตบราบางรุ่นแล้วรู้สึกว่าสายสปอร์ตบรารั้งตรงไหล่ ใส่นานๆ มีอาการปวดเมื่อยอาจเลือกเป็นประเภทที่ปรับสายได้ เพื่อให้รองรับพอดีกับช่วงไหล่        5.การดูแลรักษา เนื้อผ้าและวัสดุของสปอร์ตบรานั้นส่วนใหญ่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ หากดูแลได้ถูกวิธีจะช่วยให้ใช้งานได้นาน   ข้อมูลอ้างอิง        1.มอก.2346-2550 เสื้อผ้าสำเร็จรูป        2.มอก.เอส 6-2561 เสื้อกีฬา

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 262 ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก

            กำหนดการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการติดตั้งเบาะนิรภัยสำหรับเด็กวัยไม่เกินหกขวบ (คาร์ซีท) ของบ้านเราเริ่มต้นแล้ว ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่องค์กรผู้บริโภคในยุโรปซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบไว้ และเนื่องจากมีเนื้อที่จำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 25 รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบในปี 2022(ติดตามผลทดสอบคาร์ซีทครั้งก่อนหน้าได้ใน ฉบับที่ 234)         การทดสอบซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐานใหม่ของยุโรป (R129) แบ่งออกเป็นการจำลองการชนในห้องปฏิบัติการ และการใช้งานจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และครอบครัวที่มีเด็กอายุ 3, 6, และ 10 ปีจำนวน 10 ครอบครัว คาร์ซีททุกรุ่นจะถูกนำมาทดลองติดตั้งและใช้งานกับรถ 3 ประเภท ได้แก่ รถแฮทช์แบ็ก 3 ประตู รถ SUV 5 ประตู และรถ MPV         คะแนนรวม 100 คะแนนแบ่งออกเป็น        - ความปลอดภัย (ร้อยละ 50) เช่น ประสิทธิภาพในการป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ความแข็งแรงของตัวล็อก การยึดติดกับเบาะรถ และการดูดซับแรงกระแทก เป็นต้น        - ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 40) เช่น การติดตั้ง การปรับขนาดให้เข้ากับตัวเด็ก โอกาสที่จะใช้ผิดวิธี และความยากง่ายในการทำความสะอาด เป็นต้น        - การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ หรือ ergonomics (ร้อยละ 10) ทั้งตัวที่นั่ง พนักพิง ความนุ่มสบาย และการใช้พื้นที่ในรถ เป็นต้น         เนื่องจากสหภาพยุโรปห้ามใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิดในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น โพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน พทาเลท ฟอร์มัลดีไฮด์ สีเอโซ และโลหะหนัก ทีมทดสอบจึงทำการตรวจวิเคราะห์หาสารดังกล่าวบนตัววัสดุหุ้มเบาะและส่วนประกอบอื่นๆ ที่เด็กอาจเลียหรือนำเข้าปากไว้ด้วย         ในภาพรวมเราพบว่า คาร์ซีทที่มีจำหน่ายในยุโรปมีทั้งที่คุณภาพดีและด้อยปะปนกัน รุ่นที่ได้คะแนนสูงสุด Cybex AnorisT i-size ได้ไปถึง 81 คะแนน ในขณะที่หลายรุ่นได้คะแนนรวมต่ำกว่า 50 เพราะมีคะแนนความปลอดภัยแค่ระดับ “พอใช้” และบางรุ่นไม่ได้คะแนนเลย* ในกรณีที่เป็นรุ่นเดียวกัน รุ่นที่มาพร้อมกับฐาน (และมีราคาแพงกว่า) มักจะได้คะแนนมากกว่า  นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าการเลือก “แบรนด์” อย่างเดียวอาจไม่ใช่คำตอบ เราอาจต้องพิจารณา “รุ่น” ของคาร์ซีทด้วย         ·  เรามัดรวมคาร์ซีทที่ไม่ควรซื้อเอาไว้ที่หน้าสุดท้ายของบทความนี้แล้ว คาร์ซีทรุ่นที่ได้คะแนนรวมในระดับ “พอใช้”Jané iMatrix + iPlatform ComfyGraco Turn2MeBesafe StretchLionelo Antoon PlusSilver Cross Motion All Size 360Chicco Seat2Fit i-SizeRecaro Toria EliteAxkid Minikid 3Chicco Seat3Fit i-SizeCasualplay Backfix i-SizeJoie i-Spin Grow คาร์ซีทรุ่นที่เราไม่แนะนำJané Koos i-Size R1 + iPlatform ComfyUrban Kanga Uptown TV107Lionelo Antoon RWFKinderkraft Comfort UpWalser Kids Expert Noemi

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ความคิดเห็น (0)