ฉบับที่ 100 เที่ยวเกาะหลีเป๊ะแบบเปลือยๆ กับบริการพิเศษไทยแอร์เอเชีย

“กระเป๋าของฉันอยู่ไหน”

คุณอิสริยาเดินจูงมือน้องชายที่บินมาด้วยกันจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อสอบถามกับพนักงานของบริษัทไทยแอร์เอเชียที่ประจำอยู่ที่สนามบินหาดใหญ่ว่า ทำไมไม่เห็นกระเป๋าเสื้อผ้าของตนและน้องชายที่เตรียมไว้สำหรับไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะที่จังหวัดสตูลจำนวน 5 วันเสียที ทั้งๆ ที่ลงเครื่องมานานแล้ว

พนักงานให้คำตอบอันสุดแสนประทับใจว่า ทางสายการบินไม่ได้โหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องมาด้วย และวันนี้ก็คงจะส่งตามมาไม่ทัน

“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”

“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”

“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย” คุณอิสริยารำพึงกับตัวเอง รู้สึกว่าทำไมเช้านี้ชีวิตถึงได้อับโชคขนาดนี้ กะว่าจะเที่ยวเกาะหลีเป๊ะกับน้องชายให้ครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคักตามคำคุยของ ททท. เสียหน่อย แต่ต้องมาเจอบริการพิเศษที่ไม่ได้สั่งจองจากไทยแอร์เอเซียที่ให้บินมาได้แต่ตัว แต่กระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นอื่นๆ ไม่บินมาด้วย

พอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะ

คุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อน

พอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะ

คุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อน

พอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะ

คุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อน

พอถึงวันรุ่งขึ้นแทนที่จะได้ออกไปเที่ยวทะเลดำน้ำเหมือนนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ คุณอิสริยาต้องมานั่งรอกกระเป๋าอยู่ในที่พัก รอจนถึงบ่ายสองโมงก็ยังไม่เห็นกระเป๋าสุดที่รัก จึงโทรไปถามกับพนักงานไทยแอร์เอเชีย ได้รับแจ้งว่า ได้ทิ้งกระเป๋าไว้ให้กับบริษัทเรือที่จะมาเกาะหลีเป๊ะแล้วแต่บริษัทเรือไม่ได้นำลงเรือไปเกาะด้วย ทำให้คืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องซื้อเสื้อผ้าใส่กันอีกหนึ่งชุด

คุณอิสริยามาได้กระเป๋าในวันที่สามของการท่องเที่ยวครั้งนี้ในเวลาประมาณบ่ายสามโมงกว่าๆ สรุปว่ามาเที่ยว 5 วัน ใช้เวลา 3 วันเพื่อรอกระเป๋าและได้เที่ยวจริงๆ เพียงแค่ 2 วัน ด้วยอารมณ์บูดสุดๆ พอถึงวันเดินทางกลับคุณอิสริยาได้ร้องเรียนเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเชียที่ทำกระเป๋าตกทั้งเครื่องบิน ตกทั้งเรือจนไม่มีเสื้อผ้าใส่ ซึ่งไทยแอร์เอเชียแสดงความรับผิดชอบชดใช้เงินให้กับคุณอิสริยาและน้องชายคนละ 300 บาท บวกค่าเรือไปรับกระเป๋าอีก 100 บาทรวมเป็นเงิน 700 บาท พร้อมสำทับว่านี่คือมาตรฐานความรับผิดชอบค่าเสียหายของบริษัท คุณอิสริยาเห็นหลักในการชดใช้ดังกล่าวของไทยแอร์เอเชียแล้วต้องบอกว่า รับไม่ได้

“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”

เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้

แนวทางแก้ไขปัญหา

“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”

เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้

มูลนิธิฯ ได้ช่วยทำจดหมายประสานไปยังไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในเวลาต่อมาสายการบินราคาประหยัดแห่งนี้ได้มีจดหมายชี้แจงถึงสาเหตุที่กระเป๋าผู้โดยสารมีอันต้องตกเครื่องบินและตกเรือว่า ปัญหาเริ่มต้นมาจากระบบการลำเลียงสัมภาระได้ส่งสัมภาระมาล่าช้า จึงเป็นสาเหตุให้สัมภาระที่ลงทะเบียนไม่ได้ถูกส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินที่ผู้เสียหายเดินทาง บริษัทฯ ได้รีบดำเนินการจัดส่งไปในเที่ยวบินถัดไปของวันเดียวกันซึ่งออกจากกรุงเทพฯเวลา 10.40 ถึงหาดใหญ่เวลา 12.05 น. และนำไปส่งบริษัทเรือที่ท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล เพื่อส่งขึ้นเรือและนำไปส่งที่หลีเป๊ะ แต่มาไม่ทันเวลาเรือที่ออกไปหลีเป๊ะ จึงแจ้งให้บริษัทเรือจัดส่งให้ในวันถัดไป จนกระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้ร้องว่ายังไม่ได้รับกระเป๋า ไทยแอร์เอเชียจึงติดต่อไปยังบริษัทเรือ ถึงทราบว่าบริษัทเรือลืมนำสัมภาระลงเรือ จึงต้องจัดส่งให้ในวันต่อไป

อย่างไรก็ดี ไทยแอร์เอเชียได้พิจารณาให้ผู้ร้องเป็นกรณีพิเศษ โดยชดเชยค่าเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 1,100 บาท เป็นทั้งค่าเสื้อผ้าและค่าเรือที่ผู้ร้องจ่ายเพื่อไปรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดที่คุณอิสริยาพอที่จะรับได้จึงยินยอมรับเงินชดเชยค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวในท้ายที่สุด
 
 

แหล่งข้อมูล: กองบรรณาธิการ

250 point

LINE it!





  เรื่องเกี่ยวข้อง: นิตยสารออนไลน์ เที่ยว บริษัท ไทยแอร์เอเชีย

ฉบับที่ 276 โดนบ้านน็อคดาวน์ น็อค

        ปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงานเกิดขึ้นบ่อยครั้ง คราวนี้เกิดขึ้นกับทาสแมว คุณดุจดาว หญิงสาวผู้รักน้องแมวเหมือนลูก ไม่ใช่รักธรรมดาด้วยนะ รักแบบสุดจิตสุดใจเพราะเลี้ยงแมวจรจัดไว้กว่า 10 ตัว         เมื่อปริมาณเหมียวน้อยมากจึงจำเป็นต้องจัดหาพื้นที่เพื่อเหล่านายท่าน ซึ่งคุณดุจดาวเคยเห็นโฆษณาเกี่ยวกับบ้านน็อคดาวน์สำหรับน้องแมว เธอเลยมีความคิดอยากสร้างบ้านน็อคดาวน์ให้ลูกๆ เธอติดต่อไปที่เพจของบริษัท xxx ซึ่งประกาศรับสร้างบ้านทรงนอร์ดิก ที่ดูแล้วสวยงาม แถม ความน่าเชื่อถือก็มีด้วยนะ เพราะมีดาราชื่อดังหลายคนเป็นพรีเซ็นเตอร์ ก็เลยตัดสินใจว่าจ้างบริษัทฯ นี้ทำบ้านน็อคดาวน์ให้แมวของเธอ ซึ่งตกลงการจ้างทำที่ราคา 1.6 แสนบาทเศษ แบ่งจ่าย 2 งวด กำหนดเวลา 20 วัน บ้านเสร็จ         ขณะที่สบายใจแล้วว่าจะมีที่ทางให้เหมียวๆ เธอกลับต้องโทรศัพท์มาร้องเรียนที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  บอกว่า เจอน็อค เข้าเต็มเปา เพราะความไว้ใจเหล่าพรีเซนเตอร์ของเพจแท้ๆ  คือเธอจ่ายเงินค่าจ้างให้บริษัทฯ ไปก่อน เพราะบริษัทอ้างว่าจะส่งมอบสัญญาให้ภายหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว เรื่องนี้เลยกลายเป็นสัญญาปากเปล่านะสิ         เมื่อไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร คุณดุจดาวจึงเสียเปรียบ เพราะนับตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2566 ที่เริ่มก่อสร้าง... จวบจนถึงปัจจุบัน ( 2567 ) บ้านน็อคดาวน์ของแมวก็ไม่เสร็จเสียที แถมของเดิมที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้ (แบบยังไม่เสร็จ) ก็มีปัญหาแทบทุกจุดของบ้าน แล้วตอนนี้ผู้รับเหมาก็หายตัวไปแล้วด้วยก็เลยมาขอคำปรึกษาว่าจะทำยังไงดีเพื่อให้ได้เงินกลับคืนมา หรือให้ผู้รับเหมากลับมาสร้างบ้านให้เสร็จเรียบร้อย แนวทางการแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ เมื่อได้ฟังปัญหาจบ จึงให้คำแนะนำเบื้องต้น 3 ข้อ ดังนี้        1. หาก ”ผู้ร้อง”ไม่ต้องการให้ทำจดหมายบอกยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน โดยส่งแบบไปรษณีย์ตอบรับเท่านั้น พร้อมส่งสำเนาถึง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อช่วยติดตามเรื่องและสามารถใช้เป็นหลักฐานทางด้านคดีด้วย        2. ใน จดหมาย “ให้ ผู้ร้อง” กำหนดเงื่อนเวลากำกับให้ชัดเจน เพราะหากเลยกำหนด แต่ผู้รับเหมาไม่ยอมคืนเงิน ขั้นตอนต่อไปมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะเชิญ 2 ฝ่าย มาไกล่เกลี่ย        3. หากกระบวนการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ผู้ร้องในฐานะผู้เสียหาย สามารถยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ที่ศาลแพ่ง แผนกคดีผู้บริโภค https://civil.coj.go.th/.../category/detail/id/22/iid/334689                                                                                     เบื้องต้นผู้ร้องจะดำเนินการตามข้อแนะนำ หากต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมจะแจ้งมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคดำเนินการฟ้องคดีแล้ว ในกระบวนการทางศาลอาจเกิดกระบวนการไกล่เกลี่ยอีกครั้งก็ได้ โดยการฟ้องร้องกรณีนี้สามารถฟ้องได้ทั้งทางแพ่งและอาญา         ในทางแพ่ง: กรณีดังกล่าวเป็นการจ้างทำของ ผู้รับจ้างจะต้องส่งมอบงานให้เสร็จ ตามที่ตกลงกัน การที่ผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ จึงถือเป็นการผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับจ้างที่ผิดสัญญา เช่น เรียกเงินค่าจ้างคืน ค่าปรับหรือเบี้ยปรับส่งมอบงานล่าช้า ค่าเสียหายกรณีชำรุดบกพร่อง เป็นต้น ทั้งนี้ผู้ว่าจ้างจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1)         ในทางอาญา : เมื่อมีการผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคลสองฝ่ายเกิดขึ้น มักมีปัญหาข้อกฎหมายที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ คู่กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญานั้นมีจะความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ต้องพิจารณา “เจตนาขณะทำสัญญา” ของคู่กรณีฝ่ายที่ผิดสัญญาว่า ขณะที่ทำสัญญามีเจตนาจะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ ถ้าขณะทำสัญญาคู่กรณีฝ่ายที่ผิดสัญญา ไม่มีเจตนาจะปฏิบัติตามสัญญาเลยตั้งแต่แรก เป็นการทำสัญญาเพื่อหวังผลประโยชน์จากคู่กรณีแบบนี้จึงถือ เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่ถ้าขณะทำสัญญา คู่กรณีฝ่ายที่ทำผิดสัญญานั้น มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามสัญญา แต่ภายหลังแล้วไม่ได้ปฏิบัติตาม เป็นเพียงเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง หากจะดำเนินคดีในทางอาญาจึงจะต้องมีหลักฐานชี้ให้ศาลเห็นให้ได้ว่า ขณะทำสัญญาคู่กรณีมีเจตนาฉ้อโกงตั้งแต่แรกแล้ว

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 เจอสิ่งแปลกปลอมในกระปุก “ผิวส้ม” อบแห้ง

        “ผิวส้ม” อบแห้ง ขนมย้อนวัยยุค 90 ยอดฮิต ที่คุณกล้าชื่นชอบเป็นอย่างมากแต่มันกับทำให้คุณกล้าต้องเซ็ง! เพราะดันเจออะไรก็ไม่รู้แปลกๆ ปนมาด้วยนะสิ         คุณกล้าได้มาร้องเรียนและเล่าเรื่องราวให้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟังว่า เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เขาได้ไปซื้อ “ผิวส้ม แมนดาริน” มาจากร้านขายยาแถวบ้าน 1 กระปุก ราคา 25 บาท หลังจากได้มาเขาและครอบครัวก็แบ่งกันรับประทานจนผิวส้มที่อยู่ในกระปุกเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลืออยู่ 2 ชิ้นสุดท้าย คุณกล้าบอกว่าใน 2 ชิ้น สุดท้ายนี้ละที่ทำให้เขาถึงกับต้องร้องยี้! เพราะได้เจอกับ “ก้นบุหรี่” ในกระปุกแถมเหมือนก้นบุหรี่จะได้ผ่านการใช้งานมาแล้วซะด้วย จึงทำให้เขาและครอบครัวเริ่มเกิดความกังวล เนื่องจากได้รับประทานไปแล้ว อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนและโรคติดต่ออยู่ด้วยหรือไม่ แค่นึกก็ขนลุกขนพอง แล้วถ้ามีอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ จึงอยากได้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรดี?              แนวทางการแก้ไขปัญหา                    ก่อนหน้าจะเข้าปรึกษากับมูลนิธิฯ คุณกล้าก็ได้ติดต่อไปที่ทางบริษัทผู้จำหน่ายสินค้า “ผิวส้ม อบแห้ง” แล้วแต่ยังเจรจากันไม่ได้ข้อตกลงอันเป็นที่หน้าพอใจ ซึ่งทางคุณกล้าเองนั้นต้องการขอเรียกค่าเสียหายครั้งนี้เป็นมูลค่า 25,000 บาท         ทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปทางบริษัทผู้จำหน่ายสินค้าดังกล่าวเพื่อช่วยเจรจากับทางบริษัท ซึ่งทางบริษัทก็ได้แจ้งว่า “ขออภัยในสิ่งที่เกิดขึ้น และให้เหตุผลว่า สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ทางบริษัทสั่งตัวผิวส้มเข้ามาแล้วดำเนินการบรรจุหีบห่อ ซึ่งไม่สามารถควบคุมการบรรจุหีบห่อได้” และจะชดเชยผู้เสียหายเป็นขนมชุดใหญ่ รวมถึงคืนเงินค่าสินค้าและยกเลิกการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวอีกด้วย ถือว่าผู้จำหน่ายมีความรับผิดชอบอยู่พอสมควร         อย่างไรก็ตามทางผู้ร้องคือคุณกล้าได้ปฏิเสธการชดเชยดังกล่าวพร้อมกับได้ทำหนังสือร้องเรียนไปทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบผู้จำหน่ายขนมดังกล่าวอีกด้วย สำหรับคุณกล้าหากประสงค์ในเรื่องการชดเชยค่าเสียหายก็สามารถใช้สิทธิทางศาลได้เช่นกัน         ฝากถึงผู้บริโภคหากพบเจอปัญหาลักษณะเดียวกับคุณกล้า ควรเตรียมเอกสารดังนี้         1. ถ่ายรูปฉลากและตัวสินค้า รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่พบ พร้อมเก็บหลักฐานตัวบรรจุภัณฑ์และใบเสร็จจากร้านที่ซื้อไว้เป็นหลักฐาน         2. นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อเป็นหลักฐาน         3.ติดต่อบริษัทเพื่อเจรจาเรื่องการชดเชยค่าเสียหาย         4.ติดต่อทำหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล ด้านอาหารได้แก่ อย. หรือในต่างจังหวัด ร้องเรียนได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เกิดเหตุ 

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 จ่ายล่วงหน้าซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ร้านอาหาร หากร้านเจ๊ง ไปแจ้งความขอเงินคืนได้

        กลยุทธ์การตลาดของร้านอาหารมีหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือเสนอขายกิ๊ฟวอชเชอร์ให้ลูกค้าจ่ายเงินล่วงหน้าซื้อโปรโมชั่นที่เชียร์ว่าคุ้มสุดๆ ทำให้ลูกค้าหลายคนตัดสินใจซื้อเพราะคำนวณแล้วว่าคุ้มจริง โดยลืมนึกถึงความเสี่ยงว่าหากจู่ๆ ร้านเจ๊ง แล้วเงินที่เหลือยังจะได้คืนไหม         คุณแพรวก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้นึกถึงความเสี่ยงในข้อนี้ไว้ก่อนเลย เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2566 เธอไปกินบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นที่ร้านชื่อดังแห่งหนึ่งสาขาพัทยา ซึ่งทางร้านจะขายแบบโปรฯ ในราคา 899 บาท ซื้อ 1 แถม 1 โดยต้องจ่ายเงินก่อน มากินเท่าไหร่ก็หักไปเท่านั้น แรกๆ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ต่อมาวอชเชอร์เริ่มใช้ไม่ได้ ต้องจองล่วงหน้าและเมนูอาหารก็ไม่ครบ ลดลงไปประมาณ 30%           มีอยู่วันหนึ่ง คุณแพรวแปลกใจที่เห็นพนักงานเต็มร้านแต่กลับไม่รับลูกค้า บอกว่าวัตถุดิบในการทำอาหารไม่เข้ามาที่ร้าน เธอเริ่มสงสัยจึงลองไปเช็กที่สาขาอื่นๆ ก็พบว่าร้านอื่นมีวัตถุดิบครบ และเปิดบริการให้ลูกค้าได้ตามปกติ จากนั้นเข้าไปติดตามในเพจของร้านนี้ ก็พบลูกค้าที่มีปัญหาซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ของร้านนี้ไว้แต่กลับใช้ไม่ได้เพราะร้านปิดเหมือนกับเธอ เข้ามาคุยในเพจและรวมตัวกันราว 200 กว่าคน          คุณแพรวเองซื้อกิ๊ฟวอชเชอร์ไว้ประมาณ 4,000 กว่าบาท พอเห็นท่าไม่ดีจึงไปแจ้งความพร้อมผู้เสียหายในเพจอีกประมาณ 10 คน ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเลย เมื่อติดต่อทางร้านไป ก็แจ้งว่ากำลังปิดปรับปรุงพื้นที่ให้ดีขึ้น แต่ถ้าลูกค้าคนไหนจะขอเงินคืนก็ยินดีจ่ายให้ภายใน 10 วัน แต่แล้วก็เงียบหายไปอีก                    ต่อมาคุณแพรวได้รู้ว่ามีพนักงานของร้านเข้าไปแจ้งความด้วยว่ายังไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งทางร้านติดค้างไว้อยู่ 3 เดือน และเล่าถึงสาเหตุที่ร้านปิด เป็นเพราะว่าเจ้าของสั่งวัตถุดิบมาทำอาหารแล้วไม่จ่าย จนบริษัทที่ส่งอาหารไม่ส่งวัตถุดิบมาให้ คุณแพรวหวั่นใจว่าเจ้าของร้านอาหารนี้จะเบี้ยวหนี้ที่รับปากไว้ จึงโทรศัพท์ติดต่อมาที่มูลนิธิฯ เพื่อขอคำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ทางเจ้าหน้าที่แนะนำให้คุณแพรวในฐานะผู้เสียหาย แจ้งความเกี่ยวกับการฉ้อโกง เป็นคดีอาญา ให้ตำรวจเรียกคู่กรณีมาคุยกันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นการกดดันคู่กรณี เนื่องจากถ้าเจ้าของร้านอาหารไม่ต้องการที่จะขึ้นศาลหรือติดคุก ก็อาจจะพยายามหาเงินมาใช้หนี้ให้ได้ในที่สุด         หลังจากที่คุณแพรวได้พาผู้เสียหายประมาณ 10 คน ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยาด้วยกันอีกครั้งตามคำแนะนำแล้ว เพียงไม่นาน ทางเจ้าของร้านอาหารได้ติดต่อมาและตกลงจะคืนเงินทั้งหมดของผู้เสียหายแต่ละคนจนครบทุกคน ล่าสุด คุณแพรวได้รับเงินคืนเรียบร้อยแล้ว

อ่านเพิ่มเติม>

ฉบับที่ 276 ถูกมิจฉาชีพหลอกให้จองที่พัก

        เรื่องราวของมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบของเพจเฟซบุ๊กปลอมหลอกให้โอนเงินจนเสียทรัพย์สินเกิดขึ้นบ่อย แต่ก็ยังมีหลายคนพลาดเพราะความเนียนของมิจฉาชีพ ซึ่งไม่นานนี้คุณพลอยก็ได้ร้องเรียนเรื่องนี้เข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเช่นกัน         เรื่องนี้เริ่มจาก คุณพลอย ได้พบ Facebook ชื่อ BEACH VIEW pool Villa โพสต์โฆษณาที่พักที่หาดเจ้าสำราญ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ซึ่งสวยงาม ถูกใจมาก คุณพลอยสนใจจึงติดต่อไปจองเข้าพักในวันที่ 23-24 ธ.ค. 66 แอดมินเพจ BEACH VIEW pool Villa ก็ตอบกลับอย่างรวดเร็วแจ้งให้คุณพลอยโอนเงินค่าที่พักทันทีแล้วจะได้ส่วนลด 3,300 บาท จากราคาเต็ม 13,000 บาท คุณพลอยจึงโอนเงินค่าที่พักไปทันที จำนวน 9, 700 บาท  แต่เมื่อโอนเงินแล้วแอดมินเพจยังบอกอีกว่า ต้องโอนค่าประกันที่พักอีกจำนวน  5,000 บาท การจองจึงจะสมบูรณ์ คุณพลอยหลงเชื่อเพราะคิดว่าได้โอนเงินไปแล้ว 9, 700 บาท การติดต่อก็ไม่ได้ขาดหาย แล้วเรื่องเงินประกันก็มีเหตุผล ซึ่งเงินประกันย่อมได้คืนหากไม่มีอะไรเสียหายกับที่พัก เธอจึงโอนเงินไปให้อีก 5,000 รวมเป็นเงิน 14,700 บาทถ้วน         แต่เรื่องราวกลับถูกเปิดเผยว่า นี่คือมิจฉาชีพ เมื่อคุณพลอยเดินทางไปยังสถานที่จริงตามที่เพจระบุกลับไม่พบที่พักสวยหรูอย่างที่โพสต์ไว้เลย เวียนหายังไงก็ไม่เจอ เมื่อถามกับโรงแรมใกล้เคียงก็พบว่าไม่มีที่พักชื่อ Beach View Pool Villa และไม่สามารถติดต่อผู้ขายและแอดมินเพจได้อีกแล้ว จึงรู้ว่าถูกหลอก คุณพลอยจึงแจ้งความเพื่อดำเนินคดีที่ สน.สำเหร่ ทันที ต่อมาเมื่อนำไปไปสืบหาความจริงเรื่อยๆ จึงได้พบว่า แท้จริงแล้วภาพสวยๆ ที่อยู่บนโพสต์นั้นเป็นมิจฉาชีพนำภาพของที่พักชื่อ Canary Good Pool Villa มาเนียนหลอกลวงคน ซึ่งเจ้าของที่พัก (เจ้าของภาพ) ดังกล่าวก็ได้แจ้งความเอาผิดกับมิจฉาชีพแล้วด้วยเช่นกัน  แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อผู้บริโภครู้ว่าซื้อสินค้าบริการแล้วถูกหลอก  ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้         1.เก็บหลักฐานข้อมูลให้มากที่สุด เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน เช่น เบอร์โทรศัพท์ผู้ขาย , ภาพหน้าร้านเพจ, โปรไฟล์ของพ่อค้าแม่ค้า,บัญชี, ธนาคารที่โอนเงินไป, สลิป และ การโอนเงินชำระค่าสินค้า         2. โทรแจ้งธนาคารอาญัตบัญชีของมิจฉาชีพทันที  เมื่อรู้ตัวว่าถูกโกง ผู้บริโภคสามารถโทรศัพท์ไปที่ศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพของธนาคารต่างๆ ได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง (โดยที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งความก่อน) ซึ่งเป็นไปตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี         3. ไปแจ้งความทันที โดยแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า “ขอให้ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด” อย่าทำเพียงลงบันทึกประจำวันเด็ดขาด! หรือแจ้งความออนไลน์ที่  www.thaipoliceonline.com         4. ประสานงาน ติดต่อแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ เพื่อนำหลักฐานการแจ้งความ เพื่อแจ้งประสานงานขอข้อมูลมิจฉาชีพ ที่ใช้ทำการสมัคร และเพื่อให้ เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ ในการตามตัว รวมทั้งเพื่อให้ แพลตฟอร์มผู้ให้บริการยกระดับความปลอดภัยของผู้ขายสินค้าด้วย             5.ส่งข้อมูลที่ได้เพิ่มมาให้กับตำรวจ เป็นระยะเพื่อตามตัวมิจฉาชีพให้ได้         อย่างไรก็ตามจนถึงปัจจุบัน คุณพลอยแม้จะได้แจ้งความกับตำรวจและติดต่อให้ธนาคารอายัดบัญชีธนาคารของมิจฉาชีพแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคขอย้ำว่า การมีความรู้เท่าทันไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหรือการป้องกัน เป็นวิธีการที่ดีกว่าการแก้ปัญหาภายหลังแน่นอน  ซึ่งกรณีนี้ที่คุณพลอยถูกมิจฉาชีพหลอกให้จองที่พักในเพจ Facebook ชื่อ BEACH VIEW pool Villa  มีข้อสังเกตที่ผู้บริโภคสามารถนำไปป้องกันตนเองได้คือ           1. มิจฉาชีพให้คุณพลอยชำระค่าที่พักและค่าจองไปยังบัญชีที่เป็นชื่อบุคคล  ซึ่งหากเป็นโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้อง ชื่อบัญชีจะเป็นชื่อโรงแรมหรือบริษัทโดยตรง        2. เพจ Facebook ชื่อ BEACH VIEW pool Villa  มีรูปที่พัก ผู้ติดตามจำนวนมาก และยังมีโชว์ภาพผู้เข้าพัก เหมือนจริงทุกอย่างแต่เท่านั้นยังเชื่อไม่ได้ ต้องมีการตรวจสอบชั้นที่ 2 โดยผู้บริโภค ควรโทรศัพท์ไปติดต่อสอบถาม พูดคุยโดยตรงด้วยให้บ่อยครั้ง เพราะมิจฉาชีพส่วนใหญ่มักจะตั้งระบบไม่ให้สามารถโทรกลับได้ง่าย หากเบอร์ไม่สามารถติดต่อได้ หรือติดต่อได้ยาก จุดนี้จะทำให้เห็นพิรุธได้ว่า ไม่น่าเป็นเบอร์โทรศัพท์ติดต่อของที่พัก โรงแรมที่จะติดต่อได้ง่ายตลอดเวลา         3. หากเห็นว่ามีผู้เข้ามาพูดคุย หรือแสดงความคิดเห็นในเพจ เราควรเข้าไปดูเฟซบุ๊กของผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นด้วยว่า เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ มีลักษณะของผู้ที่เป็นบุคคลจริงหรือไม่  มีข้อสังเกตว่าหากเป็นมิจฉาชีพมักใช้วิธีการจูงใจหลายรูปแบบ เช่น อ้างว่าจะให้เหล้าหรือไวน์ฟรีจำนวนมากเพื่อเร่งรัดให้ตัดสินใจโอนเงิน

อ่านเพิ่มเติม>

ความคิดเห็น (0)