ฉบับที่ 229 เหตุแห่งมาตรการทางกฎหมายกักตัวคุมโรค 14 วัน

        ในช่วงนี้หลายคนคงติดตามข่าวสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด-19 ซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีมาตรการจัดการและป้องกันตามระดับความร้ายแรงของโรคที่เกิดขึ้น ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็มีข่าวอยู่ต่อเนื่องว่าหลายคนไปต่างประเทศกลับมาก็มีอาการป่วยและเพื่อป้องกันความเสี่ยงการระบาดของโรค รัฐก็ประกาศ “ขอความร่วมมือ” กลุ่มคนดังกล่าวกักตัวเองอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน ที่เน้นย้ำว่า เป็นการขอความร่วมมือเพราะช่วงนั้นยังไม่ได้มีการใช้อำนาจทางกฎหมายบังคับแต่อย่างใด ใครไม่กักตัวก็ไม่ผิด ต่อมา วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศมาฉบับหนึ่ง คือ “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2563” ซึ่งประกาศดังกล่าว มีผลให้โรคติดเชื้อ “โควิด-19” (COVID) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 นำไปสู่มาตรการทางกฎหมาย ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค ในประเทศไทยหลายอย่าง         ดังนั้นรู้กฎหมายฯ ในฉบับนี้ ผมจึงขอกล่าวถึงกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อดังกล่าว เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจและคลายความสงสัยว่า มาตรการทางกฎหมายที่รัฐมีนั้นใช้บังคับได้เพียงใด ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเราทุกคนที่เกิดมาบนแผ่นดินไทย เรามีสิทธิเสรีภาพในการเดินทางครับ ทุกคนมีสิทธิเดินทางจะไปเที่ยวที่ไหนก็ไปได้ ในเรื่องนี้ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบัน ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพของคนไทยในการเดินทางและเลือกถิ่นที่อยู่ ไว้ในมาตรา 38 ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน หรือการผังเมืองหรือเพื่อรักษาสถานภาพของครอบครัว หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์”  และมาตรา 28 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ...”         ดังนั้นหากไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ เรามีสิทธิเดินทางจะไปที่ไหนก็ได้ ไม่มีใครจะมีสิทธิมาจับตัวหรือนำเราไปกักขังได้ครับ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 ทั่วโลกตื่นตัวกับเรื่องนี้และการติดเชื้อทำให้หลายประเทศมีผู้เสียชีวิต แถมพบการติดเชื้อในบ้านเราด้วย แบบนี้ถือว่าเกิดภาวะไม่ปกติแล้ว รัฐมีหน้าที่ต้องออกมาดำเนินการเพื่อป้องกันและควบคุมโรค สิ่งแรกที่รัฐทำเพื่อให้ตนเองมีอำนาจจัดการกับโรคติดต่อนี้ได้ตามกฎหมายคือ ออกประกาศก่อนเลยว่า โรคติดเชื้อ “โควิด-19” (COVID) เป็นโรคติดต่ออันตราย ผลคือเมื่อโรคนี้ถูกประกาศเป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว ก็จะถือว่าโรคดังกล่าวเข้าสู่มาตรการทางกฎหมายของพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ทันที ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออก ประกาศว่าโรคติดเชื้อ “โควิด-19” (COVID) เป็นโรคติดต่ออันตราย และประกาศดังกล่าวก็เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563         ดังนั้น นับแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เมื่อมาตรการทางกฎหมายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เริ่มมีผลใช้บังคับ ทำให้เจ้าพนักงานมีอำนาจในการจัดการเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออันตราย ดังนี้             1. เจอคนต้องสงสัยเป็นโรค COVID-19 แล้วต้องแจ้ง (มาตรา 31 และ 32 ) หากมีการพบผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรค ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สถานประกอบการ หรือสถานพยาบาล ต้องดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ ภายใน 3 ชั่วโมงที่ตรวจพบ และแจ้งให้กับกรมควบคุมโรคทราบโดยเร็วที่สุดในทุกช่องทาง             2. เรียกคนต้องสัยว่าเป็นโรค COVID-19 มาตรวจ ควบคุมตัวไว้จนกว่าจะได้รับการตรวจและการชันสูตรทางการแพทย์ว่าพ้นระยะติดต่อของโรคหรือสิ้นสุดเหตุอันควรสงสัย ( มาตรา 34 (1) )            3. ให้ผู้ที่มีความเสี่ยงมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 (มาตรา 34 (2) )             4. ให้นำศพหรือซากสัตว์ ซึ่งตายหรือสงสัยว่าตายด้วยโรค COVID-19 ไปรับการตรวจ หรือจัดการทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค COVID-19 (มาตรา 34 (3) )            5. สั่งให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้พักอาศัยในบ้านโรงเรือนสถานที่ หรือพาหนะ กำจัดความติดโรค COVID-19 หรือทำลายสิ่งใดๆ ที่มีเชื้อหรือสงสัยว่ามีเชื้อโรคติดต่อ COVID-19 (มาตรา 34 (4) )            6. สั่งให้เจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือ พาหนะ กำจัดสัตว์ แมลง ตัวอ่อนของแมลงที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค COVID-19 (มาตรา 34 (5) )             7. สั่งห้ามบุคคลไม่ให้กระทำการ หรือดำเนินการซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งเป็นเหตุให้โรค COVID-19 ระบาดออกไป (มาตรา 34 (6) )             8. สั่งห้ามคนเข้าไปหรือออกจากที่ ซึ่งเจ้าพนักงานกำหนดให้เป็นสำหรับแยกกักหรือกักคนหรือสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้โรค COVID-19 แพร่โดยทางตรงหรือทางอ้อมไปยังผู้อื่น (มาตรา 34 (7) )             9. เข้าไปในบ้าน โรงเรือน สถานที่ หรือพาหนะที่มี หรือสงสัยว่ามีโรค COVID-19 เกิดขึ้น เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรค (มาตรา 34 (8) )           10. กรณีจำเป็นเร่งด่วน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมีอำนาจในพื้นที่จังหวัดตนเอง ดังนี้                ·  สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบหรือจําหน่ายอาหาร สถานที่ผลิตหรือจําหน่ายเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดไว้เป็นการชั่วคราว (มาตรา 35 (1) )                 ·  สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค COVID-19 หยุดการประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว (มาตรา 35 (2) )                 ·  สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค COVID-19 เข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษาหรือสถานที่อื่นใดเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (มาตรา 35 (3) )           11. ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น COVID-19 หรือเป็นพาหะนำโรค ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีอำนาจสั่งให้บุคคล ดังกล่าว ถูกแยกกัก ถูกกักกัน ถูกคุมไว้สังเกต ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (มาตรา 42 )     ดังนั้น 11 ข้อข้างต้นนี้ ผมต้องเรียนว่าเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นครับ ยังมีอำนาจและหน้าที่อีกหลายอย่างที่กฎหมายให้ไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค COVID-19    ทั้งนี้ กฎหมายก็มีไว้เพื่อความปลอดภัยและความสงบสุขในสังคม ก็อยากให้ท่านผู้อ่านทุกท่านช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ไม่จำเป็นก็หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงต่อตนเองและคนในครอบครัวและขอเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 คู่มือบริโภคศึกษา

15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล ซึ่งในปีนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกของ สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จัดสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2562 ขึ้นเมื่อวันที่ 14-15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยปีนี้เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องจากปี 2561 ในประเด็นการสร้างความมั่นใจและความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อัจฉริยะในยุคดิจิทัล “Trusted Smart Product” นั้น เป็นความจำเป็นสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นพลังที่สำคัญของผู้บริโภคในวันข้างหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาไปรู้จักกับคู่มือบริโภคศึกษา คู่มือสำหรับผู้บริโภควัยเยาว์ ผ่านมุมมองของนักสิทธิผู้บริโภครุ่นใหม่          รศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานคณะทำงานคู่มือบริโภคศึกษา รองประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เล่าถึงความสำคัญและความจำเป็นของวิชาบริโภคศึกษาว่า เป็นกิจกรรมที่ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้บริโภคและมีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องนี้เข้าไปสู่โรงเรียน โดยเริ่มจากการชวนเครือข่ายภาคประชาสังคมมาร่วมด้วยช่วยคิด ตั้งเป้าหมายว่าอยากจะเริ่มสอนในโรงเรียนก่อน จึงเริ่มทำร่างขึ้นมาประมาณ 16 หัวข้อ ต่อมาจึงชวนนักเรียนมาเข้าค่ายเป็นเวลา 3 วัน 2 คืนผ่านการทำกิจกรรม และนำมาสรุปผล หาจุดอ่อนจุดแข็งของร่างหลักสูตรนี้ เมื่อนำมาปรับให้เป็นหลักสูตรการสอนแล้วจึงนำร่องไปลองใช้สอนใน 7 โรงเรียน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากทั้งคุณครูและนักเรียน แต่อาจมีเรื่องที่คุณครูจะต้องเตรียมการสอนเพิ่มขึ้นอีก ส่วนนี้ก็นำคำติชมมาปรับปรุงแก้ไข และส่งให้โรงเรียนไปทดลองใช้จริงอีกครั้ง        “คล้ายๆ กับว่าเราทำงานผู้บริโภคในเชิงควบคุม ดูแลกำกับปรับปรุงนโยบายแบบนี้มันก็ทำแล้ว มันก็เหนื่อย เราก็ทำกับคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว  ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ว่าฟังแล้วมันเหนื่อยจัง ผมก็รู้สึกว่าที่พวกเราช่วยกันคิด ก็คือเรื่องที่ทำจากตัวเยาวชนมาเลย ทำให้เขาเป็นผู้บริโภคที่ แข็งแรงสักวันเขาก็จะเป็นผู้ประกอบการ เป็นผู้ออกกฎระเบียบ  เป็นผู้ออกนโยบาย เป็นผู้กำกับ ดูแล เป็นอะไรแบบนี้ เขาก็จะมีเรื่องนี้เข้าไปอยู่ใความคิดของเขา  แล้วมันก็จะขยับได้ แต่มันไม่เร็วนะ มันก็ต้องนาน เพียงแต่เริ่มรู้สึกว่ามันจะเป็นทางในอนาคตแน่ๆ สักวันนึงมันก็จะออกดอกออกผลไง” การเรียนการสอนนี้จะพัฒนาต่อไปอย่างไร        ตอบแบบความจริงคือไม่รู้ ยังไม่ทราบแต่มีความหวัง จริงๆแล้วตอนที่ไปดูกับโรงเรียน ก็ชัดเจนว่า คุณครูก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับเขา สังเกตเลยว่าบนเวที(วันที่ 14 มีนาคม) ฝากให้ทำอันโน้นทำอันนี้กัน แต่ผมรู้สึกว่าอันนี้เป็นสิ่งคุณครูรู้สึกว่าเป็นการรับฝากที่เขาไม่ได้รังเกียจอะไร แล้วก็อาจเป็นเพราะ เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องที่ทุกคนประสบในชีวิตประจำวัน อาจเคยโดนโกงค่าโทรศัพท์ ค่าตั๋วเครื่องบิน รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนก็ไม่ขัดข้องที่จะสอน        เรื่องนี้มันก็เลยทำให้เป็นเรื่องมีความหวังว่า มันควรที่จะทำต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยๆ เช่น มันควรทำให้ได้เรียนทุกปีไหม  ปีหนึ่งมีสองเทอมใช่ไหม ถ้าได้เรียนสักเทอมก็ยังดี  แต่ปัญหาตอนนี้คือ พวกเราคณะทำงานก็ต้องระดมหาทรัพยากรกัน ถ้าจะทำจริงก็แปลว่า ม.1 ต้องมีคู่มือหนึ่งเล่ม ม.2 ต้องมีหนึ่งเล่ม ม.3 ต้องมีหนึ่งเล่มจนถึง ม.6 เพราะว่าทุกปีต้องได้เรียนอะไรใหม่ๆ เป็นอันเดิมไม่ได้ แต่ตอนนี้เรามีแค่มัธยมต้น ซึ่งก็เอาคู่มือเดิมไปเรียนอีก อันนี้ก็เป็นความท้าทายของคณะทำงาน แล้วก็ภาคประชาสังคมจะว่ายังไงกันต่อ        ส่วนในเรื่องกลยุทธ์ ผมว่ากลยุทธ์ของเราคือ ใช้เครือข่าย เรามีเครือข่ายเกือบจะทุกจังหวัดแล้ว ณ ตอนนี้ หน้าที่เรา(คอบช.) คือทำหน้าที่เป็นส่วนกลางต้องสร้างแรงกระเพื่อม ทำให้เห็นว่านี่คืองานอย่างหนึ่ง การนำวิชาบริโภคศึกษานี้เข้าโรงเรียนคือ งาน ไม่ได้แปลว่าเรื่องรับร้องทุกข์ คืองาน มอนิเตอร์คืองาน การให้การศึกษา ก็คือ งาน  เช่นเดียวกัน ดังนั้นเดินเข้าไปในโรงเรียน  ในอำเภอในตำบล ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน หาคนช่วยทำงานเพิ่ม อันนี้ก็เรื่องของเครือข่ายว่ามีค่าตอบแทนอะไรไป ก็เหมือนทำงานออฟฟิศอันหนึ่งใช่ไหม รับเรื่องราวร้องทุกข์ก็ได้รายได้ เข้าโรงเรียนก็ได้รายได้ แล้วเราก็จะได้คนที่จะมาช่วยทำงาน ช่วยเราที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ที่เข้าใจประเด็นนี้ไปเรื่อยๆ        งานเรามีอันเดียว คือพาเรื่องนี้เข้าโรงเรียนแค่นั้นเอง และส่วนกลางก็อัปเดตคู่มือให้ทันสมัย มีให้ครบทุกชั้นปี อันนี้ก็เป็นงานใหม่ๆ ที่จะต้องทำอีกงานหนึ่งเลย ถ้าทำก็หัวโต แต่ควรต้องทำ สอนเด็กรุ่นใหม่เพื่อให้เด็กตระหนักถึงเรื่องที่จำเป็นต่อชีวิตเขาที่จะให้มีคุณภาพ แล้วเขาก็ขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นต่อเรื่องผู้บริโภคแบบนี้มันก็ช่วยได้ ทีนี้เวลาทำคู่มือแบบนี้ มองถึงเรื่องบูรณาการไหม ว่าทำไมมันไม่เป็นเล่มแบบนั้น ทำไมไม่บูรณาการแบบนี้ บูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่น่าจะดีนะ  เพราะว่าจริงๆ มันไม่ได้จะให้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนเป็นวิชาเดี่ยวๆ จะว่าไป อยู่กับวิชาเลขก็เจอ ไปอยู่กับวิชาภาษาอังกฤษก็เจอ  อยู่ภาษาไทยก็เจอเรื่องผู้บริโภค แต่วันนี้ เราในแง่ของการจัดการ เราจัดการแทบไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีปัญญาไปตามคุณครูคณิตศาสตร์ว่าสอนให้เราหรือยัง คุณครูภาษาอังกฤษว่าสอนบทนี้ให้เราหรือยัง        เพราะฉะนั้น เราก็ทำวิธีที่เล่นท่าง่ายที่สุดคือ ทำให้เป็นหนึ่งวิชา แล้วให้คุณครูหนึ่งคน หรือกี่คนก็ไม่รู้ช่วยสอน  สอนให้ครบ 18 คาบ ตลอดหนึ่งเทอม แล้วเราตามไปดู ซึ่งเราจัดการง่ายสุด  แต่เมื่อกี้ที่บนเวทีบอกว่าเป็นการบูรณาการนี่ถือว่าเป็นสุดยอดเลยที่จะทำได้ แต่ว่าเราไม่มีความสามารถที่จะเอาไปขายให้คุณครูทุกคนเอาเข้าไปอยู่ในวิชาของท่าน แล้วสอนให้ด้วยนะ อย่าลืมสอนนะ แล้วเราก็ตามไปดูว่าสอนให้จริงหรือเปล่า แล้วก็ประเมินผลอีก อันนี้เรารับเงิน สสส.ใช่มั้ย เราก็ต้องสนใจเรื่องการประเมินผลว่าเราประเมินยังไง ซึ่งสอนเป็นหนึ่งเล่มเป็นหนึ่งวิชา ประเมินผลง่ายกว่าสำหรับเรา อันนี้คือท้ายที่สุดของชีวิตแต่ใส่ดอกจันทร์ ในความเป็นจริงคือ บูรณาการสำหรับกระทรวงศึกษาธิการไทย ก็ยังมีปัญหานะ เอาเข้าจริง คือมันสอนได้จริงหรือเปล่า ทำเสียสวยงาม         อาจารย์ดวงพร สมจันทร์ตา อาจารย์ผู้สอนวิชาบริโภคศึกษา โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูล จังหวัดลำปาง เป็นอีกหนึ่งท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การสอน        เดิมเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา สนใจเรื่องผู้บริโภคอยู่แล้ว เป็นเรื่องอาหารและสารอาหารที่เราสอนอยู่แล้ว เรื่องสารเคมี สารปนเปื้อนในอาหาร ที่เราสอนในบทนี้  ในบทเรื่องอาหารและสารอาหารตรงเลย เน้นเรื่องไขมัน  โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราสอนเรื่องระบบย่อยอาหารด้วย มันจะมีพวกนี้เข้ามาเกี่ยงข้องด้วย ถ้าเราสอนให้เด็กตื่นรู้เรื่องนี้ เรื่องการบริโภค เรื่องการอ่านฉลาก มันก็จะช่วยเรื่องสุขภาพของเขาด้วย เราก็พยายามยกตัวอย่างที่เจอในปัจจุบันยกผลงานวิจัย  การสำรวจโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นและในโรงเรียนนี่คือการสอนจะมีไปเรื่อยๆ ค่ะ ก็ปรับเปลี่ยนไปตามเด็กในแต่ละรุ่น แต่ละปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการนี้น่าสนใจ คือเด็กถ้าเราให้ความรู้เขาตั้งแต่เด็ก มันก็เหมือนปลูกฝัง แล้วก็ได้ใช้งานต่อไปได้เรื่อยๆ มันสำคัญยังไง ที่เลือกเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค        จริงๆ ในการที่เราจะให้เด็ก  จะให้มันมีความยั่งยืนเราต้องมีการสร้างจิตสำนึก แล้วก็มีการสร้างความยั่งยืน คือ ด้วยความที่ตัวเด็กเเป็นเหมือนผ้าขาว คือถ้าเกิดเรามีการเรียนรู้แต่เด็กทำเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือมีข้อมูลในการเรียกร้องสิทธิตั้งแต่เด็กๆ เนิ่นๆ มันทำให้เรามีความยั่งยืนในการจดจำ แล้วเด็กก็สามารถเอาบทเรียนที่เราสอนให้ไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต        ตั้งแต่เริ่มโครงการสอนมา ก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ เด็กมีความกล้า กล้าที่จะเรียกร้องสิทธิ เพราะว่าเดิมเด็กเขากลัวด้วย ก็จะมีการเรียนรู้ถึงสถานที่ หรือหน่วยงานที่ใช้เรียกร้องสิทธิ โดยบางครั้งเด็กเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาโดนอยู่นั้นเป็นเรื่องของการถูกละเมิด ต่อไปเด็กก็จะได้รู้ว่า อ้อแบบนี้ ครูหนูโดนละเมิดสิทธิ เดิมที่บอกว่า เด็กกลัว ไม่ใช่กลัวคนที่มาละเมิด แต่กลัวที่จะไม่ฟ้อง หมายถึงมีความกล้าที่จะฟ้องมากกว่า มีความกล้าที่จะปกป้องสิทธิตัวเองมากขึ้น จากเดิมที่คิดว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับเราไหมไม่มีความมั่นใจ เหมือนเราจะโดนหลอกนะ เพราะเด็กหลายๆ คนก็เป็นอย่างนั้น ส่วนใหญ่ปัญหาการโดนละเมิดสิทธิของเด็กวัยนี้คืออะไร        ก็จะเป็นในเรื่องการซื้อของออนไลน์เป็นหลักเลย เด็กสมัยนี้ซื้อของเป็นแล้วนะคะ ม. 2 อย่าง เด็กผู้หญิงอาจจะซื้อเป็นเรื่องความสวยความงามของเขาก็โดนละเมิด ได้สินค้าไม่ตรงตามที่บอกไว้  เขาก็บอกว่าหนูจะไม่คุยกับร้านแล้ว หนูจะไม่เอาแล้ว  คือเด็กเขาก็จะมีความตระหนักมากขึ้น  ซึ่งเราเห็นก็โอเค         หรือเรื่องอื่นๆ ที่เห็นว่าได้ผลอีกอย่างคือ เด็กก็จะพูดในกลุ่มของเขาว่า ไปบอกแม่ก่อนว่าอย่าขึ้นรถโดยสารประจำทางที่ทำผิดนะ  เพราะมีกรณีหนึ่งที่เกิดกับเด็กคือ เขาถูกรถโดยสารประจำทางให้ลงก่อนถึงป้ายหรือปลายทางที่จะลง ก็รู้ว่าเดี๋ยวไปบอกแม่ก่อนไปฟ้องก่อน เด็กก็พูดในกลุ่มของเพื่อนๆ เขา ก็สอนเรื่องสิทธิ แต่ feedback ว่าพ่อแม่เขารู้ไหม ยังไม่ทราบจากเด็กเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร มีการวางแผนการสอนอย่างไรในเทอมถัดไป        อันดับแรกเลยคือ จะเป็นการดูภูมิหลังของเด็กก่อนว่า เด็กปีนี้ที่เราเจอ  มีความคิดความอ่านประมาณไหน  เพราะว่าแต่ละปีไม่เหมือนกันแน่นอน  แล้วเราก็ปรับไปตามบริบทของนักเรียนในแต่ละห้อง  บางทีชั้นเดียวกันแต่คนละห้อง เรายังสอนไม่เหมือนกัน แต่เราก็ยังไม่ทิ้งสาระสำคัญที่มีในแต่ละบท  แต่เทคนิคการสอนมันต้องปรับเปลี่ยนไป  ก็อาจต้องศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนก่อนจะมีการสอนในแต่ละห้อง  จากนั้นก็พยายามปรับบทเรียนโดยยังคงสาระสำคัญของบทเรียนนั้นๆ ไว้เนื้อหาในคู่มือมีการปรับเปลี่ยนบ้างไหม        เปลี่ยนบ้างค่ะ อย่างเช่นที่แนะนำไปไม่ว่าจะเป็นสิทธิ หรือการรักษาพยาบาลที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา กฎหมายที่มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา  ซึ่งตอนนี้ก็เปลี่ยน ไม่รู้ว่าเปลี่ยนรัฐบาลอะไรจะเปลี่ยนอีก คุณครูผู้สอนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลาด้วย         อาจารย์พรศิริ เทียนอุดม จากโรงเรียนมักกะสันพิทยา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เดิมสอนพิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ในหมวดวิชาการงานอาชีพ และเมื่อมีคนแนะนำคู่มือฯ นี้มาให้ศึกษาก็ลองมานั่งอ่านด้วยตัวเองและพยายามคิดตามว่าคนเขียนหลักสูตรนี้ขึ้น เขาเขียนขึ้นมาเพื่ออะไร เมื่อเราเริ่มรู้แนวคิดนั้น อีกทั้งก็คิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิต จึงเลือกนำคู่มือฯ นี้เข้ามาบูรณาการกับวิชาที่สอนอยู่ในตอนนั้นและเพื่อที่จะเปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนด้วย เช่น จะสอนนักเรียนว่าขนมชิ้นหนึ่งไม่ใช่ดูแค่ราคาหรือสีสัน แต่จะให้ประเมินผลตามสภาพจริง รวมกับการนำเนื้อหามาปรับให้ทันสมัยมากขึ้น โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยด้วย เช่น เว็บไซต์คาฮูท (Kahoot) ซึ่งเป็นเกมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย คำถามปรนัย เช่น การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการสำรวจ โดยคำถามจะแสดงที่จอหน้าคอมพิวเตอร์และให้นักเรียนตอบคำถามผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ช่วยให้นักเรียนสนุกกับการเรียนได้มีปัญหาอะไรบ้างในการนำไปสอนจริงและผ่านไปได้อย่างไร        คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เพิ่งจะพ้นจากชั้นประถมมา ในบางบทเป็นเนื้อหาที่เข้าใจยาก เด็กจะไม่เข้าใจ เราต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งก็จะปรับเป็นการทำกิจกรรมหรือสื่อที่น่าสนใจแทนการสอนแบบเน้นเนื้อหาหนักๆ นอกจากนี้จะเลือกสอนเฉพาะบทที่คิดว่าเขาจะสามารถเข้าใจได้ แต่หากบทไหนที่นักเรียนไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถไปถึงจริงๆ ก็อาจจะตัดออก เพราะการพยายามบังคับ หรือสอนไปแบบนั้นอาจจะทำให้เขาเครียดและอาจจะไม่ชอบวิชานี้ได้        ส่วนคำแนะนำหรือการทำให้ยั่งยืน หรือเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียนต่างๆ มากขึ้นนั้น โดยส่วนตัวมองว่าอาจจะไม่ต้องมีวิชาบริโภคศึกษาขึ้นเป็นหนึ่งวิชาก็ได้ แต่อาจจะนำเนื้อหาสาระจากวิชานี้ ที่เราอยากให้เด็กเรียนรู้มาบูรณาการกับวิชาต่างๆ ได้

อ่านเพิ่มเติม >

นักวิชาการแย้งกฤษฎีกา ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. ... ไม่ขัด รธน.

(29 ต.ค.61) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - กรุงเทพฯเวทีเสวนา ความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งแต่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 มิ.ย.61 ได้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ โดยเนื้อหาร่างกฎหมายดังกล่าว ถูกคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 46 จึงได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. …. ขึ้นใหม่ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ และมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายด้วยโดยนักวิชาการได้อภิปรายโต้แย้ง 3 ประเด็น คือ 1. ไม่มีหลักประกันงบประมาณของสภา ต้องของบประมาณผ่านหน่วยงานรัฐ ขอตรงไม่ได้ ซึ่งอาจไม่เป็นอิสระในการทำงาน  2. เปิดโอกาสให้มีหลายสภา ทำให้ไม่เป็นองค์กรที่จะมีตัวแทนผู้บริโภคเพียงหนึ่งเดียวที่มีพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 3. ยืนยันว่าร่างกฎหมายสภาผู้บริโภคของ สคบ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างที่กฤษฎีกาให้ความเห็น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2561กรมอนามัยเล็งชง อย.-สคบ. คุมเข้มชาเขียว-น้ำอัดลม ใช้แคมเปญล่อใจคนดื่มเพิ่มเว็บไซต์ Beevoice.org รายงานว่า นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์กรณีการบังคับใช้มาตรการเก็บภาษีน้ำตาล เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดื่ม เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งมาตรการดังกล่าว ได้ผ่อนปรนให้ผู้ประกอบการดำเนินการปรับปรุงสูตรเป็นระยะเวลา 2 ปี ส่งผลให้ผู้ประกอบการหันมาทำเครื่องดื่มสูตรหวานน้อยมากขึ้น เพื่อจะไม่ต้องจ่ายภาษีมากขึ้นแต่ปัญหาคือ เครื่องดื่มอย่างน้ำอัดลมหรือชาเขียวที่เดิมมีน้ำตาลสูง แม้จะมีการปรับสูตรให้มีน้ำตาลน้อยลง แต่กลับทำการตลาดโดยเฉพาะการชิงโชค เพื่อให้คนไทยหันมาบริโภคกันมากขึ้น ซึ่งประชาชนต้องรู้ทันเรื่องเหล่านี้ เนื่องจากการกินหวานมากๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งภาครัฐได้พยายามทำให้ประชาชนบริโภคน้ำตาลลดลง นพ.วชิระ กล่าวว่า หากการชิงโชคในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากอย่าง ชาเขียวหรือน้ำอัดลมเป็นปัญหามาก ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเสนอให้มีการออกกฎหมายควบคุมเหมือนเครื่องดื่มชูกำลังในอดีต โดยกรมอนามัยจะทำข้อมูลเสนอไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อพิจารณาออกประกาศห้ามชิงโชคในเครื่องดื่มเหล่านี้ เหมือนกับที่กรมอนามัยเสนอกรมสรรพสามิต ในการคุมภาษีน้ำตาลสำเร็จมาแล้ว*****อย.ปรับใหม่ ต้องจดแจ้งก่อนผลิตเครื่องสำอางนพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงว่า อย.จะเพิ่มมาตรการเพื่อประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยปรับเชิงระบบ เนื่องจาก พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 กำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิตเครื่องสำอางเพื่อขายต้องจดแจ้งก่อน เมื่อ อย.รับแจ้งแล้ว จึงจะผลิตเครื่องสำอาง ณ สถานที่ที่แจ้งไว้ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในเดือน มิ.ย.61โดย อย. ได้หารือกับผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  ซึ่งเสนอให้มีมาตรการเข้มงวดคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มโทษตามกฎหมาย และทบทวนระบบการอนุญาตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งการยื่นขออนุญาตเครื่องสำอางผ่านระบบ e-Submission ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขอให้ยกเลิก เพื่อลดปัญหาเครื่องสำอางผิดกฎหมายนั้น ขอชี้แจงว่าการยื่นขออนุญาตมีทั้งยื่นเป็นเอกสาร และยื่นผ่านเครือข่ายออนไลน์ ซึ่ง อย.เคยพัฒนาระบบ Auto e-Submission เพื่อให้ระบบสามารถประมวลผลและออกใบรับจดแจ้งได้ทันที แต่ได้ยกเลิกใบรับแจ้งเหล่านั้นแล้ว รวมทั้งยกเลิกการรับจดแจ้งโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ 1 ก.ย.60 *********กทม. เตรียมรื้อ ‘ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ’ ไม่มีใบอนุญาต หลังพบตู้เถื่อนเกลื่อนกรุงวันที่ 2 พ.ค.61 นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยผลสำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่กรุงเทพฯ ปี 2561 พบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ได้รับใบอนุญาตถึง 3,804 ตู้ จากทั้งหมด 3,964 ตู้ โดยพื้นที่ที่มีตู้น้ำดื่มฯ มากที่สุด คือ เขตจตุจักร 310 ตู้, เขตลาดพร้าว 295 ตู้ และเขตยานนาวา 214 ตู้ที่ผ่านมาสำนักงานเขตได้ออกหนังสือเรียกผู้ประกอบการให้มาดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการติดตั้งตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตามกฎหมาย แต่ผู้ประกอบการไม่ยินยอมมาชำระค่าธรรมเนียม เนื่องจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1 ตู้ ต้องเสียค่าธรรมเนียมปีละ 2,000 บาท ซึ่งปัญหานี้ กรุงเทพมหานครกำลังดำเนินการยกร่างข้อบัญญัติฯ ทำให้ค่าธรรมเนียมประกอบการเหลือ 500 บาทต่อปี เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการมาขอใบอนุญาตจากนี้ไป กรุงเทพมหานครจะเพิ่มมาตรการที่เข้มข้น โดยให้สำนักงานเขตดำเนินการรื้อถอนตู้น้ำที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนจะมีความผิดตามกฎหมายสาธารณสุขการประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท*********ศาลฎีกาสั่งถอนสิทธิบัตรผลิต ‘ยาความดันโลหิตสูง-หัวใจ’ หลังต่อสู้ยาวนานกว่า 7 ปีภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาเภสัชกรรม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 8 พ.ค.61 ศาลฎีกาได้ตัดสินชี้ขาดให้ถอนรายการยาวาลซาร์แทน (Valsartan) ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคความดันโลหิตสูงและป้องกันหัวใจล้มเหลว ออกจากการขึ้นทะเบียนสิทธิบัตรยาของประเทศไทย หลังจากที่ต่อสู้ยาวนานกว่า 7 ปี“ศาลฎีกาได้ใช้กระบวนการพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องนี้ตามมาตรฐานสากล โดยใช้ข้อเท็จจริงว่า กระบวนการผลิตยาเม็ดที่ถูกนำไปจดสิทธิบัตรคุ้มครองนั้น เป็นกระบวนการผลิตที่มีสอนเป็นปกติให้กับนักศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทุกคนที่มีความรู้ทางเภสัชกรรมก็สามารถทำได้ ไม่ควรได้สิทธิบัตรคุ้มครอง จึงขอให้ศาลฎีกาพิจารณายกเลิกการจดสิทธิบัตรฉบับนี้” นายกเภสัชกรรมกล่าวทั้งนี้ ในอดีตเมื่อบริษัทยาได้คิดค้นยาดังกล่าวแล้ว ได้ทำการจดสิทธิบัตรตัวยา และจดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตเป็นยาเม็ดเพิ่มเติมอีก 1 ฉบับ ที่สหรัฐอเมริกา และได้รับการคุ้มครองทั่วโลกยาวนานถึง 20 ปี โดยภายหลังที่สิทธิบัตรตัวยาดังกล่าวหมดอายุลง บริษัทยาในประเทศไทยได้ผลิตยาดังกล่าวออกมาแข่งขัน แต่ถูกบริษัทยาข้ามชาติฟ้องร้องว่าเป็นการละเมิดสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตยา ทำให้มีการต่อสู้คดีกัน*********บทเรียนการใช้สิทธิกับการจัดการปัญหาอาคารสูงผิดกฎหมายในชุมชนเมื่อวันที่ 30 เม.ย.61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ เครือข่ายผู้เสียหายจากอาคารสูงและตัวแทนผู้ได้รับความเสียหายจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จัดเวทีสภาผู้บริโภคเรื่อง “บทเรียนการใช้สิทธิของผู้บริโภค กับการจัดการปัญหาอาคารสูงผิดกฎหมาย” เพื่อสะท้อนปัญหาอาคารสูงในซอยแคบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของชุมชนนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กำหนดว่า ซอยที่มีความกว้างไม่เกิน 10 เมตรตลอดแนวไปจนถึงถนนสาธารณะ จะไม่สามารถก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 8 ชั้น หรือเกินกว่า 23 เมตรได้ เพื่อให้รถดับเพลิงหรือกู้ภัยสามารถเข้าไปช่วยเหลือในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังมีความไม่ชัดเจนเรื่องวิธีการวัดความกว้างของถนน บางครั้งจึงมีการวัดความกว้างถนนโดยรวมพื้นที่ฟุตบาทเข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ รถดับเพลิงจึงไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ ดังนั้นจึงอยากเสนอให้มีการแก้ไขตัวบทกฎหมายให้ชัดเจน โดยระบะให้วัดความกว้างของถนนเฉพาะบริเวณผิวถนนที่รถสามารถวิ่งได้เท่านั้น”นายนรฤทธิ์ โกมลารชุน ตัวแทนผู้บริโภคกลุ่มชมรมอนุรักษ์พญาไท เสนอว่า หนึ่งในวิธีที่จะปกป้องสิทธิของชุมชน คือ อย่ารอให้โครงการเริ่มก่อสร้างแล้วค่อยจัดการ แต่ต้องป้องกันไว้ก่อน ด้วยการพิจารณาสภาพแวดล้อมในชุมชน ทั้งเรื่องความกว้างของถนน ฝุ่น เสียง ฯลฯ เช่น หากถนนในซอยกว้างไม่ถึง 10 เมตร แต่กำลังจะมีโครงการก่อสร้างคอนโดสูงเกิน 8 ชั้น ก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าผิดกฎหมายแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ที่นอนยุบตัว

บางครั้งสินค้าก็มีราคาและคุณภาพที่สวนทางกัน ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างเรา ที่นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียเวลาในการเปลี่ยนคืนสินค้าอีกด้วย คุณแก้วตาต้องการที่นอนขนาด 6 ฟุต จึงไปเดินเลือกซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าเมกาบางนา ต่อมาเมื่อพบยี่ห้อที่ต้องการ เธอจึงตัดสินใจซื้อไปในราคาเกือบ 30,000 บาท แต่หลังจากที่นอนถูกจัดส่งมายังบ้านพักของเธอและใช้งานไปประมาณ 1 สัปดาห์กลับพบว่า ที่นอนดังกล่าวมีลักษณะยุบจมเป็นรอยตามส่วนของลำตัวที่กดทับ ไม่ฟูกลับคืนรูปดังเดิม เธอจึงแจ้งปัญหาไปยังบริษัท ซึ่งส่งพนักงานมาวัดระดับความยุบตัว และพบว่ายุบลงจากปกติจริงประมาณ 5 เซนติเมตร คุณแก้วตาจึงต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่ ซึ่งบริษัทก็ยินดีทำตามข้อเสนอดังกล่าว แต่สามารถจัดส่งสินค้าใหม่ให้ได้ในอีก 2 เดือนหลัง ด้านคุณแก้วตาเห็นว่าไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องยินยอมรับข้อเสนอไป อย่างไรก็ตามเมื่อที่นอนมาส่งใหม่ตามกำหนด เธอกลับพบปัญหาอีกครั้ง เพราะเมื่อจัดที่นอนวางลงบนเตียงแล้วกลับพบว่า ที่นอนที่ถูกนำมาเปลี่ยนให้นี้ มีขนาดต่ำกว่าที่นอนเดิมเยอะมาก ซึ่งไม่ตรงตามขนาดมาตรฐานของสินค้าที่ขาย ส่งผลให้เธอต้องโทรศัพท์กลับไปร้องเรียนยังบริษัทอีกครั้ง และได้การตอบรับว่ายินดีจะเปลี่ยนสินค้าให้อีกรอบเมื่อสินค้ารอบที่ 3 มาถึงและถูกใช้งานไปประมาณ 2-3 วัน คุณแก้วตาก็ต้องพบกับปัญหาเดิมคือ ที่นอนยุบตัวไม่คืนรูปขึ้นมาอีก เธอจึงโทรศัพท์ไปร้องเรียนพร้อมแจ้งว่าไม่ต้องการเปลี่ยนที่นอนใหม่แล้ว แต่ต้องการให้บริษัทคืนเงินทั้งหมดเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ บริษัทจึงยื่นข้อเสนอว่า เธอสามารถเปลี่ยนที่นอนเป็นรุ่นอื่นได้ในราคาที่สูงกว่า(ให้จ่ายส่วนต่างเพิ่ม) หรือราคาที่ถูกกว่า(ให้ของสมนาคุณทดแทนส่วนต่าง) เพราะทางบริษัทไม่มีนโยบายคืนเงินให้กับลูกค้า แต่คุณแก้วตารู้สึกไม่มีความประทับใจในยี่ห้อนี้อีกต่อไปแล้ว จึงปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดพร้อมยืนยันให้มีการคืนเงินเช่นเดิมภายหลังทางบริษัทจึงตอบกลับมาว่า หากคุณแก้วตาต้องการคืนเงิน จะใช้เวลาในการพิจารณานาน รวมทั้งต้องหักเงินในส่วนค่าของแถมอีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณแก้วตาเห็นว่าในส่วนที่จะถูกหักนั้นอยู่ในราคาที่พอรับได้ เธอจึงรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ขอให้มีการคืนเงินให้เร็วที่สุด ซึ่งบริษัทแจ้งว่าจะสามารถโอนเงินคืนได้ภายใน 3 สัปดาห์ โดยจะส่งพนักงานมารับสินค้ากลับไปก่อน ทั้งนี้เมื่อคุณแก้วตาสอบถามต่อว่า หากพนักงานมารับสินค้าแล้ว จะมีเอกสารหรือหลักฐานเพื่อยืนยันว่าจะได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้หรือไม่ กลับได้รับคำตอบว่าทางบริษัทไม่มีให้และไม่เคยเกิดเหตุการณ์โกงเงินลูกค้าขึ้น ส่งผลให้คุณแก้วตากังวลว่าอาจไม่ได้รับเงินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด และไม่ยินยอมให้พนักงานมารับที่นอนกลับไป พร้อมส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับในกรณีสินค้าชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 472 กำหนดให้ทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ผู้ขายต้องรับผิดชอบ ไม่ว่าจะรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ก็ตาม หรือกรณีที่ความชำรุดบกพร่องไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ ซึ่งจะเห็นความชำรุดบกพร่องเมื่อใช้ไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว ผู้ร้องก็สามารถเรียกให้บริษัทรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ โดยสิทธิของผู้ซื้อเมื่อทรัพย์สินนั้นชำรุดบกพร่อง คือ 1. สิทธิเรียกร้องให้ผู้ขายแก้ไขความชำรุดบกพร่อง 2. สิทธิยึดหน่วงราคาทั้งหมดหรือแต่บางส่วน 3. สิทธิบอก (ปัด) เลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหาย เงินมัดจำชำระหนี้บางส่วน ทั้งนี้หลักฐานที่สามารถใช้ยืนยันหากพบว่า บริษัทไม่คืนเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดได้นั้น สามารถเป็นเอกสารการรับสินค้าก็ได้ ซึ่งพนักงานจะนำมาให้ผู้ร้องลงลายมือชื่อเมื่อรับสินค้ากลับไป 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 ค้างค่าส่วนกลางห้องชุดเจ้าของห้องต้องระวัง

ครั้งนี้ก็มีเรื่องกฎหมายสำคัญใกล้ตัวผู้บริโภคที่จะเอามาแบ่งปันอีกเช่นเคย  แต่จะขอเน้นไปที่เรื่องของผู้อยู่อาศัยในแนวดิ่งหรือ คอนโดมิเนียม ที่เมื่อเราเข้าอยู่แล้ว จะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคือ ค่าส่วนกลาง ที่แน่นอนว่าเจ้าของห้องชุดทุกคนต้องจ่าย  แต่ก็พบว่าในหลายที่ นิติบุคคลอาคารชุดแทนที่จะไปฟ้องร้องใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อเรียกค่าส่วนกลางจากเจ้าของห้อง กลับไปออกระเบียบข้อบังคับบีบให้ลูกบ้านอื่นๆ เสียสิทธิในการใช้ที่อยู่อาศัยตามปกติ เช่นนี้ ศาลเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาตัดสินไว้แล้ว ว่าทำไม่ได้ อย่างเช่น การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่เจ้าของห้องชุด ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง เช่นนี้ถือว่าไปจำกัดสิทธิในการใช้สอยทรัพย์บุคคลเป็นการทำผิดกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2553โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 โจทก์ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินย่อมมีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้นิติบุคคลอาคารชุดจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดพิพาทและการออกระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ 1 อันเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอาคารชุดตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 7 (1) (5) แต่ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 33 วรรคสอง จำเลยที่ 1 มีสิทธิเพียงจัดการและดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลางและมีอำนาจกระทำการใดๆ เพื่อประโยชน์ตามมติของเจ้าของร่วมเท่านั้น ไม่มีอำนาจกระทำการใดเป็นการรบกวนสิทธิหรือเสื่อมความสะดวกในการใช้ทรัพย์ส่วนบุคคลของเจ้าของร่วม แม้โจทก์ค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางต่อจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีต่างหาก มิใช่ออกระเบียบเพื่อบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่จำเลยที่ 1 กำหนดโดยหลีกเลี่ยงการที่จะฟ้องร้องบังคับคดีตามกฎหมาย การออกระเบียบข้อบังคับที่จะไม่ส่งมอบบัตรผ่านประตูนิรภัยให้แก่โจทก์ซึ่งค้างชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางอันทำให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิในการใช้สอยทรัพย์ส่วนบุคคล จึงไม่สามารถบังคับเอาแก่โจทก์ได้ การที่จำเลยที่ 1 ทำประตูนิรภัยปิดกั้นและไม่ยอมมอบบัตรผ่านประตูนิรภัย จึงเป็นการรบกวนสิทธิและทำให้เสื่อมความสะดวกแห่งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของร่วมในอันที่จะเข้าไปใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล ถือว่าเป็นการจงใจทำละเมิดต่อโจทก์อีกตัวอย่าง เป็นเรื่องการงดจ่ายน้ำประปา แม้การจ่ายน้ำประปานั้นจะต้องใช้อุปกรณ์บางส่วนที่เป็นทรัพย์ส่วนกลางก็ตาม นิติบุคคลก็ไม่สามารถทำได้ หากทำเป็นการละเมิด นอกจากนี้ ศาลก็มีการกล่าวเตือนถึงเจ้าของห้องชุดเช่นกัน กรณีนิติบุคคลไม่เอาเงินที่จ่ายไปดูแลทรัพย์ส่วนกลาง ไปหาประโยชน์มิชอบอื่น เจ้าของห้องชุดเองก็ไม่มีสิทธิที่จะไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ต้องไปว่ากล่าวดำเนินคดีต่างหาก ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10230/2553ค่าใช้จ่ายส่วนกลางนั้น เป็นหนี้ที่เกิดตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 18 ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการทำสัญญาระหว่างกัน และเป็นหนี้เงิน ซึ่งตาม ป.วิ.พ.ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การบังคับชำระหนี้โดยการใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้พิจารณาพิพากษาบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ และตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ก็ไม่ได้บัญญัติให้จำเลยทั้งสองบังคับชำระหนี้โดยวิธีอื่นหรือโดยพลการ นอกจากนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคลของตนในอาคารชุด และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลางด้วย ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง จึงมีสิทธิใช้สอยทรัพย์ส่วนกลางที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมนั้นด้วย ย่อมไม่ชอบที่จำเลยที่ 1 จะใช้วิธีการขัดขวางการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางของโจทก์เพื่อเป็นมาตรการบังคับให้โจทก์ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์โดยพลการโจทก์ไม่ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพราะจำเลยที่ 1 นำเงินไปใช้จ่ายโดยพลการ โจทก์ก็ต้องว่ากล่าวดำเนินคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 เพื่อไม่ให้กระทำเช่นนั้นหรือให้ชำระค่าเสียหาย ไม่เป็นเหตุโดยชอบที่โจทก์จะอ้างขึ้นเพื่อไม่ปฏิบัติตามกฎหมายในการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 กระแสต่างแดน

สินค้าย่อไซส์ปรากฏการณ์ข้าวของเล็กลงที่ญี่ปุ่นวันนี้ ไม่ได้เกิดจากไฟฉายย่อส่วนของโดราเอมอน แต่เป็นผลจากแผนของรัฐบาลที่ต้องการสร้างภาวะเงินเฟ้อให้ได้ร้อยละ 2 ตามหลักคิดที่ว่า... เมื่อสินค้าแพงขึ้น ค่าแรงจะเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการบริโภคมากขึ้น เศรษฐกิจโดยรวมก็จะดีขึ้นเพื่อคงราคาขายไว้เหมือนเดิม ผู้ผลิตจึงใช้วิธีลดปริมาณสินค้า เช่น คิวพี ลดปริมาณซอสลงร้อยละ 13 (จาก 295 กรัมเหลือ 255 กรัม) โดยให้เหตุผลว่า ขนาดครอบครัวทุกวันนี้เล็กลง  ค่ายผู้ผลิตนมสดก็พร้อมใจกันเปลี่ยนจากขนาด 1 ลิตร มาเป็น 900 มิลลิลิตร “เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถหยิบจับได้ถนัดมือขึ้น”  ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น มาจากวัตถุดิบที่ราคาสูงขึ้นและค่าใช้จ่ายในการออกแบบ/เปลี่ยนแปลงหีบห่อให้เหมาะสมตอนนี้ท่านอาเบะคงคิดหนัก เพราะสินค้าก็แพงขึ้นแล้วแต่ค่าแรงในญี่ปุ่นยังคงเท่าเดิม หมายเหตุ: ใครอยากรู้ว่าอะไรถูกลดไซส์บ้าง สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.shrinkflation.info    ไม่มีก่อน ไม่มีหลังWeight Watchers ต้นตำรับการโฆษณาผลิตภัณฑ์/บริการลดน้ำหนัก ด้วยรูปภาพ “ก่อน” และ “หลัง” ของผู้ใช้ ประกาศยกเลิกการโฆษณาในรูปแบบดังกล่าวแล้วเนื่องจากมัน “ไม่อินเทรนด์” การควบคุมน้ำหนักและการใช้ชีวิตอย่างระวังรักษาสุขภาพนั้นควรอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคน... เขาว่าเวท วอทเชอรส์ (ซึ่งพิธีกรชื่อดัง โอปรา วินฟรีย์ เป็นทั้งพรีเซ็นเตอร์และผู้ถือหุ้น) บอกว่านั่นเป็นนโยบายแต่เขาไม่ได้ห้ามผู้ใช้บริการที่อยากจะโพสต์รูปตัวเองเพื่อโชว์ความเปลี่ยนแปลงให้โลกรู้แถมยังเปิดให้เด็กวัย 13 – 17 ปีสมัครเป็นสมาชิกฟรี เพราะเขาต้องการมีส่วนช่วยลดปัญหาการเกิดโรคอ้วนในเยาวชนอเมริกัน ฟังดูเหมือนจะดี แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการออกมาเตือนว่า การพยายามควบคุมอาหารนั้นอาจนำไปสู่พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติในวัยรุ่นได้  ปิดก็ปรับได้ศาลแขวงเมืองโอ้คแลนด์สั่งปรับ Appenture Marketing บริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์เป็นเงิน 114,000 เหรียญ (2.5 ล้านบาท) โทษฐานฝ่าฝืนกฎหมายการค้าที่เป็นธรรม และกฎหมายว่าด้วยการทำ สัญญาและการกู้ยืม บริษัทแจ้งลูกค้าว่าการที่สินค้าส่งถึงมือผู้บริโภคล่าช้ากว่ากำหนด ไม่อาจใช้เป็นเหตุในการขอเงินคืนได้   และยังแอบคิดค่าทำสัญญา 40 เหรียญ โดยไม่แจ้งยอดดังกล่าวในใบเรียกเก็บเงิน ความผิดดังกล่าว เกิดขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน 2015 ถึงเดือนเมษายน 2016 บริษัทเลิกกิจการไปในปี 2017 แต่คณะกรรมการด้านการค้าชี้แจงว่า แม้ความเป็นไปได้ที่จะได้รับ การชดใช้ความเสียหายจะมีน้อย แต่การฟ้องร้องต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นไม่เอาเยี่ยงอย่างนิวซีแลนด์มีคดีฟ้องร้องผู้จำหน่ายโทรศัพท์มือถือ 12 กรณี (ที่ตัดสินแล้ว) และเรียกค่าปรับไปกว่า 1.23 ล้านเหรียญ (28 ล้านบาท)  เชิญชุมนุม ปลายปีที่แล้วกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Attac ได้เข้าไปนั่งประท้วงในร้านของ Apple ในปารีสเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจ่ายภาษีย้อนหลังให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส บริษัทบอกว่าการกระทำดังกล่าวสร้างความตื่นตระหนกให้พนักงานและทำให้ลูกค้าไม่กล้าเข้าร้าน จึงยื่น ขอคำสั่งศาลห้ามกลุ่มคนดังกล่าวเข้ามาชุมนุมในร้านอีก ไม่ว่าจะสาขาใด หากฝ่าฝืนจะมีค่าปรับ 150,000  ยูโร (5.7 ล้านบาท) และค่าชดเชยความเสียหายอีก 3,000 ยูโร (115,000 บาท)  แต่ศาลตัดสินว่าคนเหล่านี้ไม่ได้กระทำการที่เป็นอันตราย พวกเขายังมีสิทธิชุมนุมได้ หากนั่งในร้านอย่างสงบและไม่ปิดทางเข้าออกประเด็นเรื่องภาษีของ Apple เป็นข่าวมาโดยตลอด สองปีที่แล้วบริษัทถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลังจากรัฐบาลไอร์แลนด์ 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (กว่า 450,000 ล้านบาท) อยู่ยากหากถามความเห็นของคนออสซี่วันนี้ เขาคงเสริมว่า “ตายก็ไม่ง่าย”  เพราะพื้นที่สำหรับใช้เป็นสุสานใกล้เมืองใหญ่ๆ ในออสเตรเลียมีจำกัด  จากการคำนวณพบว่าอีก 33 ปี ซิดนีย์จะไม่เหลือที่ทำสุสาน รัฐนิวเซาท์เวลส์จึงเสนอแผนทำสัญญาเช่าพื้นที่ฝังศพครั้งละ 25 ปี หากไม่มีการต่อสัญญา หรือไม่สามารถติดต่อญาติได้ ทางการก็จะย้ายกระดูกออกไปเพื่อให้รายใหม่ได้เข้าใช้พื้นที่แทนหลายคนเลือกใช้บริการเผาศพ เพราะถูกกว่าและไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ แต่เนื่องจากบริการนี้ยังไม่มีกฎระเบียบชัดเจน สนนราคาที่ผู้บริโภคจ่ายจึงมีตั้งแต่ 1,000 เหรียญ (ประมาณ 24,500 บาท) ไปจนถึง 4,000 เหรียญ (98,000 บาท) ทั้งๆ ที่บริการไม่ต่างกันมากแถมยังมีเรื่องฉาวเป็นระยะ บางเจ้าลดต้นทุนด้วยการแช่ศพไว้ในตู้เย็นแล้วเผารวมกันคราวเดียว บางรายแอบเปลี่ยนโลงสวยๆ (ที่ญาติจ่ายในราคา 1,700 เหรียญ) เป็นกล่องไม้ราคา 70 เหรียญก่อนนำเข้าเตาเผา เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 กระแสต่างแดน

ดังก็โดนกิจการของ Red Balloon เว็บไซต์ขายประสบการณ์ตื่นเต้นเร้าใจกำลังไปได้สวย  ใครๆ ก็อยากจะลองเหินฟ้าดิ่งพสุธา นั่งบอลลูน ตระเวนชิมไวน์ หรือเรียนทำอาหารแปลกๆ ผู้ก่อตั้งเว็บนี้ก็กลายเป็นคนดังในสังคมออสซี่ เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้ตัดสินประจำรายการ Shark Tank เกมโชว์ปั้นธุรกิจหน้าใหม่  นาโอมิ ซิมสัน ดังยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อบริษัทของเธอถูกคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งปรับเป็นเงิน 43,200 เหรียญ(ประมาณ 1.07 ล้านบาท) เพราะคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเดบิตและเครดิตเกินกำหนดกับลูกค้าไป 4 รายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา เธอให้สัมภาษณ์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เจตนาของบริษัท ทีมงานของเธอแค่พลาดรายละเอียดเรื่องนี้ไปเท่านั้น กฎหมายห้ามคิดค่าธรรมเนียมเกินควรนี้บังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่มาได้ประมาณหนึ่งปีแล้ว ส่วนธุรกิจรายย่อยนั้นเริ่มบังคับเมื่อเดือนกันยายน คณะกรรมการฯ บอกว่าผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยไม่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรให้กับผู้บริโภคเกินกำหนดได้กลับเองได้บรรดาครูและผู้บริหารโรงเรียนในอิตาลีต่างพากันโล่งออกเมื่อได้ข่าวว่าจะมีการแก้กฎหมายให้นักเรียนอายุต่ำกว่า 14 ปีสามารถกลับบ้านโดยไม่มีผู้ใหญ่มารับได้   สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแก้กฎหมายที่ว่าคือการที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาออกมาเรียกร้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองไปรับลูกที่โรงเรียนเพราะ “มันเป็นกฎหมาย และทุกคนต้องปฏิบัติตาม” ถ้าไม่ว่างก็ต้องจัดให้ปู่ย่าตายายไปรับแทน(สื่ออิตาลีแอบไปขุดคุ้ยมาได้ว่าตัวเธอเองไม่เคยว่างไปรับหลานสาวที่โรงเรียนเหมือนกัน)  คำพูดดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะต้องมีการจัดเวรยามเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน การเตรียมตัวถูกฟ้องร้องกรณีที่เกิดอันตรายกับเด็กในระหว่างที่เดินทางกลับบ้านในที่สุดข้อเสนอที่ออกมาคือการให้ทางเลือกแก่ผู้ปกครอง หากเชื่อมั่นในบุตรหลานและต้องการให้เด็กกลับบ้านด้วยตนเองก็สามารถเซ็นใบอนุญาตให้กับทางโรงเรียนไว้ได้เลยดีเซลหมดสิทธิเห็นเงียบๆ แต่เยอรมนีก็มลพิษเพียบนะคะ ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมยื่นฟ้องเยอรมนีในวันที่ 7 ธันวาคม โทษฐานที่ไม่ดูแลคุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงของอียูและหากศาลยุโรปเห็นว่ามีความผิดจริง ก็จะต้องจ่ายค่าปรับมิใช่น้อยการตัดสินใจนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐในเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐบาลเดิน เวิร์ทเทมเบิร์กที่ชื่อว่าเมืองชตุทท์การ์ท เป็นหนึ่งในเมืองที่มีค่าไนโตรเจนไดออกไซด์ในอากาศเกินกำหนดถึงสองเท่า กำลังจะออกประกาศห้ามรถดีเซลเข้าเขตเมืองภายในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ตามคำตัดสินของศาลท้องถิ่น Environmental Action Germany ผู้ยืนฟ้องรัฐบาเดิน เวิร์ทเทมเบิร์ก ระบุว่าการห้ามรถดีเซลนี้เป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะข้อเสนอของบรรดาค่ายรถ(เช่น เดมเลอร์ และปอร์เช่ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองนี้เช่นกัน) เรื่องการอัปเดตซอฟต์แวร์นั้นไม่ช่วยอะไรตามแผนนี้ รถที่จะวิ่งในเขตตัวเมืองได้จะต้องมีสติกเกอร์สีน้ำเงิน ซึ่งจะออกให้เป็นการรับรองรถที่ผ่านมาตรฐานยูโร- 6 เท่านั้น  ข่าวบอกว่ามิวนิคก็เล็งจะแบนรถดีเซลในเมืองเช่นกันต้องไม่หวั่นไหวเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางใต้ของเกาหลีเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนสร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนไม่น้อย เพราะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ที่น่าตกใจกว่าคือผลการสำรวจของเทศบาลกรุงโซลที่ออกมาหลังจากนั้น เทศบาลกรุงโซลพบว่ามีเพียงร้อยละ 30 ของอาคารบ้านช่องในโซลเท่านั้นที่สามารถต้านทานความแรงของแผ่นดินไหวได้   ถ้าแยกเป็นอาคารที่อยู่อาศัยแล้วจะพบว่ามีร้อยละ 46 ที่ถูกออกแบบมารองรับความสั่นสะเทือน ในกรณีของบ้านเดี่ยวแล้วมีเพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้น   ส่วนอาคารสำนักงานนั้นดีขึ้นมาอีกนิดเพราะมีถึงร้อยละ 63 ที่พร้อมรับแผ่นดินไหว ในขณะที่ตัวเลขของโรงเรียนอยู่ที่ร้อยละ 33.5     เกาหลีใต้เริ่มจริงจังเรื่องการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาตั้งแต่ปี 2012 และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้กำหนดให้อาคารทุกชนิดที่สูงเกินสองชั้นและมีพื้นที่รวมกันมากกว่า 500 ตารางเมตร ต้องออกแบบให้รองรับการสั่นสะเทือนด้วยภาระคนโสด มหกรรมจับจ่ายเงินของคนโสดในประเทศจีนเมื่อนวันที่ 11เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาทำให้เกิดการไหลสะพัดของเงินมากเป็นประวัติการณ์ แต่ละชั่วโมงร้านค้าออนไลน์มีรายได้ถึง 1 พันล้านเหรียญ ด้านผู้ซื้อก็เบิกบานกันทั่วหน้าเพราะได้สั่งซื้อสินค้า(ที่เชื่อว่าเป็น) ราคาโปรฯ มาครอบครอง แต่สิ่งที่มาพร้อมกันกับมหกรรมช้อปกระจายคือ ขยะจำนวนมหาศาล ลองจินตนาการถึงแพคเก็จจำนวน 331 ล้านกล่อง บวกด้วยถุง เทปกาว และเชือก สถิติปีก่อนระบุว่า “วันคนโสด” ปีที่แล้วทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติถึง 52,000 ตัน(ในขั้นตอนการผลิต บรรจุหีบห่อ และขนส่งนั่นเอง)  ผู้ประกอบการอย่างเจดี เถาเป่า หรืออาลีบาบา ต่างก็เคยแสดงท่าทีว่าจะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้แพคเก็จที่ย่อยสลายเร็ว ใช้กล่องพลาสติกแทนกล่องกระดาษ หรือแม้แต่การออกแบบกล่องที่ไม่ต้องใช้เทปใสปิดทับ    แต่องค์กรสิ่งแวดล้อมที่นั่นยืนยันว่าความพยายามนี้ยังไม่เด่นชัดนัก ปีหน้าเราอาจได้เห็นนวัตกรรมเด็ดๆ ในการจัดส่งสินค้าแดนมังกรในวัน “โสดต้องซื้อ” ก็ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 รู้จักกฎหมาย “ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายแบบหนึ่ง ไม่ใช่สัญญาประกันหนี้

ช่วงเดือนที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ติดตามข่าวฆาตกรรมที่มีปมจากเหตุฝากขายที่ดิน ที่ชาวบ้านหลายคนบอกว่าโดนหลอกให้ขายฝากที่ดิน แล้วถูกเอาที่ดินไปขายต่อโดยไม่รู้เรื่อง  ดังนั้นวันนี้ เรามาทำความรู้จักเรื่องการทำสัญญาขายฝากให้มากขึ้นกันดีกว่า เพื่อให้ผู้บริโภคอย่างเราเท่าทันเรื่องการขายฝากมากขึ้นครับ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การขายฝาก คืออะไร ต่างกับสัญญาจำนองอย่างไร ซึ่งหากไปดูข้อกฎหมายจะทราบว่า การทำสัญญาจำนอง คือการเอาทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ไปเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านยังเป็นของเราอยู่ไม่ได้โอนไป หากเราไม่ชำระหนี้เขาจะบังคับจำนองต้องลำบากไปฟ้องศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ แต่ถ้าทำเป็นสัญญาขายฝาก เหมือนเอาทรัพย์ไปขายและถ้าครบกำหนดก็ให้ซื้อคืนได้ ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านก็จะโอนไปด้วย หากเราผิดนัดชำระหนี้แค่วันเดียว ก็มีสิทธิจะเอาทรัพย์เราไปขายต่อหรือไปทำอะไรก็ได้เพราะกรรมสิทธิ์มันโอนมาแล้ว ไม่ต้องลำบากไปขอศาลด้วย ดังนั้นในมุมผู้ที่เดือดร้อนเงิน แล้วจะนำที่ดินหรือบ้านไปกู้เงิน จึงขอแนะนำว่าไม่ควรทำเป็นสัญญาขายฝากนะครับ เพราะโอกาสที่จะเสียทรัพย์สินจะมีสูงกว่าเพราะกรรมสิทธิ์โอนให้เขาไปตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว  เราจะเห็นว่า สัญญาขายฝากมีเรื่องของ “กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน” ไว้เป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากไม่มาไถ่คืนตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ก็จะเสียสิทธิไถ่ทรัพย์คืน และทำให้ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นตกเป็นของผู้รับฝากทันที  อย่างไรก็ตามระยะเวลาไถ่ทรัพย์อาจขยายเวลาได้  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2557            การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับกันได้ การไม่นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คงมีผลทำให้คู่สัญญาไม่อาจยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง ดังนั้น การตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ตามหนังสือขอต่อสัญญาขายฝาก ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้รับไถ่ลงลายมือชื่อไว้ แม้มิได้นำไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่การที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการตกลงและทำหนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับไถ่ด้วย หนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยนำทรัพย์สินที่รับซื้อฝากไปขายก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ นอกจากนี้ ถ้ามีการกำหนดราคาไถ่ทรัพย์ที่สูงกว่าราคาแท้จริงที่ขายฝาก กฎหมายก็ให้ถือว่า ให้ไถ่กันตามราคาขายฝากที่แท้จริง และรวมประโยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เท่านั้น โดย “ราคาขายฝากที่แท้จริง” คือ ราคาที่ผู้ซื้อฝากได้ชำระราคาแก่ผู้ขายฝากในขณะทำสัญญากัน ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาทรัพย์สินที่แท้จริง  เช่น ราคาขายฝากบ้าน 300,000 บาท กำหนดเวลาไถ่ 3 ปี กำหนดสินไถ่ เป็นเงิน 500,000 บาท เช่นนี้ ถือว่ากำหนดไว้เกินร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากเมื่อคิดประโยชน์ตอบแทนจะได้ 155,000 บาท เท่านั้น(ราคาขายฝากที่แท้จริง x ประโยชน์ตอบแทน ร้อยละ 15 x กำหนดเวลาไถ่) จึงได้เท่ากับ 455,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นค่าสินไถ่ที่กำหนดไว้ 500,000 บาทจึงตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับได้เพียงไม่เกินที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ ผู้มีสิทธิไถ่ย่อมชำระสินไถ่เพียง 455,000 บาท เท่านั้น     อีกทั้ง กฎหมายเขียนเรื่องประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี  ทำให้บางคนเข้าใจว่าเป็นสัญญาประกันหนี้ เพราะมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยเงินกู้  แต่แท้จริงคือการทำสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559       บันทึกเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความสรุปว่า จำเลยได้รับขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยยินดีจะทำสัญญาซื้อขายตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2556 ตามสัญญาเดิมที่ทำไว้พร้อมดอกเบี้ย โดยบันทึกดังกล่าวมีการอ้างถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมที่ น. มารดาโจทก์ทำไว้ก่อนตาย ซึ่งหากเป็นการตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมไว้ ทั้งยังตกลงให้โจทก์ต้องชำระสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาขายฝากเดิมให้แก่จำเลยภายในวันที่ 26 มกราคม 2556 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์  โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับไถ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง แล้ว น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีนี้จึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 ข้อควรระวัง:พยานอิเล็กทรอนิกส์

การเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล คือยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร จากเดิมที่เราสื่อสารโดยการพึ่งพาภาษาและตัวหนังสือเป็นหลักมาเป็นการสื่อสารด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผล จนหลายคนมีการตั้งคำถามว่า ถ้าโดนตำรวจยึดมือถือไป มือถือของคุณจะผ่านมือใครบ้างจนกระทั่งถึงศาล? หรือการแอบใส่ข้อมูลใหม่ที่ผิดกฎหมายเข้าไปในอุปกรณ์ของเราเหมือนกับการยัดยาบ้าหรือไม่? ปัจจุบันมีการกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการพิจารณาคดี นอกจากพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล และพยานนิติวิทยาศาสตร์ แต่ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ จะต้องมีวิธีการนำสืบและหลักในการรับฟังพยานฯ อย่างไร ผู้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรจะต้องทราบวิธีการเก็บรักษาหรือการได้มาซึ่งพยานอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ ทุกคนควรจะต้องรู้ไว้เบื้องต้นในการรับฟังพยานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลักกฎหมายสำคัญ 3 ประการที่ใช้ในการพิจารณาและสามารถยืนยันความแท้จริงของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ประกอบด้วย1. เนื้อหาของเอกสารไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง2. ข้อมูลในเอกสารเป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของผู้สร้างเอกสารนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าผู้สร้างเอกสารจะเป็นมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์3. ข้อมูลพิเศษในเอกสาร อันได้แก่ วันเดือนปีที่ถูกสร้าง นั้นถูกต้องพยานอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีควรมี 3 ข้อนี้ แต่หากเราถูกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมาย เช่น มีผู้แอบอ้างใช้เฟชบุ๊กของเราเพื่อหลอกลวงผู้อื่น มีคำถามว่า ภาระการพิสูจน์หากเราไม่ได้ทำผิดเป็นหน้าที่ของใครจะต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ กฎหมายยึดหลักที่ว่า หากใครกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นต้องเป็นผู้พิสูจน์ การที่ผู้ถูกกล่าวหาคือ เราจะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าเราไม่ได้หลอกลวงใครแต่มีผู้อื่นเข้าไปในเฟชบุ๊กของเราแล้วไปหลอกลวงผู้อื่น ตามหลักเจ้าของเฟชบุ๊กจะต้องพิสูจน์ว่า มีคนลักลอบเข้าไปในเฟชบุ๊กของตน ด้วยวิธีการใด ฟังดูแล้วก็เหนื่อยนะครับ แต่กฎหมายไทยบัญญัติไว้เช่นนี้จริงๆ แม้มันจะแสดงถึงความไม่เสมอภาคในการต่อสู้คดีก็ตามเพราะชาวบ้านอย่างเราคงจะลำบากในการที่จะพิสูจน์ในทางเทคนิค ซึ่งคดีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะมากหรือน้อยรวมทั้งสมาร์ทโฟนและข้อมูลที่อยู่ในระบบทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเพราะสิ่งแรกที่จะต้องตรวจสอบคือ ข้อมูลในเครื่องว่าผิดหรือเกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไรดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ถือเป็นหลักฐานในการที่ศาลจะชั่งน้ำหนักพยานอิเล็กทรอนิกส์ ในการที่ลงโทษผู้กระทำผิดแต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่างๆ ด้วยเช่นกัน เราจึงควรทราบกันก่อนว่าพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ศาลจะรับฟังนั้นจะต้องมีความน่าเชื่อถือรับฟังได้ในเนื้อหาสาระ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ในมาตรา 10 กล่าวคือ ข้อมูลนั้นต้องได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการเก็บรักษาความถูกต้องของข้อความ ตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์และสามารถแสดงข้อความนั้นได้ในภายหลัง โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใดๆ ของข้อความได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพยานอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่เหมือนกับ “การยัดยาบ้า” เนื่องจากคอมพิวเตอร์  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบความเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูกบันทึกไว้ในคุณสมบัติของไฟล์ เช่น ไฟล์ใหม่ที่ใส่เข้ามานี้ถูกนำเข้าเมื่อใด ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ สาระสำคัญพยานอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความเชื่อมโยงกับการกระทำความผิดจึงจะสามารถกล่าวหาเจ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ว่าเป็นผู้กระทำความผิด ฉะนั้นอย่างประมาทให้ใครยืมโทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นผู้ต้องหาโดยไม่รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 กฎหมายคุ้มครองแม่และเด็กแรกเกิดจากอิทธิพลของบริษัทนมผง

การตลาดที่ได้ผลดีที่สุดของบริษัทนมผง คือการเปลี่ยนให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขกลายมาเป็นตัวแทนขายของบริษัทนม มีรายงานในประเทศไทยระบุว่า แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม ร้อยละ 81.8 จะเลือกยี่ห้อนมตามที่ได้รับแจก(ตัวอย่าง)และคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข ภาพจำในหลายๆ ปีที่ผ่านมา รูปแบบกิจกรรมการตลาดของบริษัทนมผงมีการบันทึกไว้หลากหลาย กล่าวคือ เป็นการตลาดแบบจู่โจมเข้าถึงเนื้อตัวคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับหญิงที่ตั้งครรภ์โดยตรงของตัวแทนขายสินค้า(ส่วนหนึ่งก็เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข) หรือการแจกนมผงฟรีที่โรงพยาบาลให้แม่นำกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน หรือการให้ข้อมูลที่เกินความเป็นจริงต่างๆ เพื่อโน้มน้าวให้คุณแม่เชื่อว่า นมผงเทียบเท่านมแม่ หรือดีกว่าเพราะเพิ่มเติมสารอาหารที่จะทำให้พัฒนาการของเด็กดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวโยงไปถึงการที่บริษัทนมบริจาคสิ่งต่างๆ ให้กับสถานพยาบาล ทั้งในรูปแบบ การจัดกิจกรรมให้ความรู้กับแม่ การให้ค่าตอบแทนพิเศษแก่บุคลากรที่ช่วยแนะนำสินค้า การนำผลิตภัณฑ์แจกให้กับแม่ถึงเตียงนอนพักฟื้น ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในประเทศไทย เหตุเพราะการกระทำดังกล่าวนั้น ผิดจริยธรรม อีกทั้งเข้าข่ายละเมิดสิทธิของแม่และเด็กทารกในการเข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด ซึ่งก็คือ การได้รับน้ำนมแม่อันทรงคุณค่า เช่นเดียวกันกับภาคธุรกิจ ผู้ที่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมให้คุณแม่ทั้งหลายใช้น้ำนมของตัวเองเลี้ยงดูทารกก็ได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดกติกา ที่จะสามารถลดทอนอิทธิพลทางการตลาดของบริษัทนมผงลง โดยเฉพาะการทำตลาดแบบถึงเนื้อตัวและการห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบผ่านสื่อทุกชนิด ซึ่งลำพังกติกาเดิมที่เรียกว่า โค้ดนมแม่ หรือ  หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ ปี 2551นั้น ไม่อาจต้านทานพลังจากภาคธุรกิจได้ จึงมีแนวคิดที่จะนำกลไกที่เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติมาใช้จัดการปัญหา และในวันที่ 9 กันยายน 2560 นี้ จะเป็นวันแรกที่ พระราชบัญญัติการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560  จะมีผลบังคับใช้ ขอเล่าถึงความยากของการผลักดัน พ.ร.บ.นี้สักเล็กน้อย เนื่องเพราะมีผลประโยชน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องมหาศาล ทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งย่อมมาจากภาคธุรกิจผู้ผลิตนมผง แต่ที่น่าตั้งคำถามที่สุดว่ามาคัดค้านเพื่ออะไร กลับเป็นบรรดาองค์กรวิชาชีพบางแห่ง ที่ให้ข้อมูลและคัดค้านจน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ รวนไปหลายรอบ อย่างไรก็ตามแม้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในที่สุด พ.ร.บ.นี้ก็ผ่านออกมาจนได้ ทำให้ต่อไปนี้การทำตลาดที่ละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงดังที่ผ่านมา จะต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมายและมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ  กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ผู้บริโภคจะยังสามารถหาซื้อนมผงได้จากร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ฯลฯ แต่สิ่งที่กฎหมายห้ามคือ ห้ามบริษัททำการส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กอายุ 0-3 ปี ซึ่งหมายความว่า • ห้ามโฆษณาตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา นิตยสาร อินเตอร์เน็ต• ห้ามแจกตัวอย่างนมผง เช่น การแจกตัวอย่างนมผงให้แม่หลังคลอด หรือเมื่อไปแจ้งเกิด • ห้ามการส่งเสริมการขาย เช่น แจกของขวัญ หรือสิ่งจูงใจต่างๆ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัวของทารกและเด็กเล็ก การลดราคา การขายพ่วง• ห้ามติดต่อกับแม่ เพื่อสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การให้ Call center โทรศัพท์ไปหาแม่หลังคลอด การจัดอีเวนท์ต่างๆนอกจากนี้ กฎหมายจะมีผลในการห้ามให้ของขวัญหรือสิ่งจูงใจอื่นๆ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด้วย  ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ กฎหมายจะให้ความสำคัญกับการโฆษณาเพื่อคุมการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลว่า นมแม่มีประโยชน์ต่างๆ ต่อเด็กมากว่าแค่ในช่วง 6 เดือนแรกหรือปีแรก และเด็กควรได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นเท่านั้น แต่ยังมีเหตุผลสำคัญด้านตลาดด้วย คือการป้องกันการส่งเสริมการขายแบบข้ามชนิด(Cross promotion) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่บริษัทใช้ในการหลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม ที่ผ่านมา แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จะได้ห้ามการโฆษณานมผงสำหรับทารก แต่ยังไม่มีการห้ามโฆษณานมสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป หรือที่เราเห็นในท้องตลาดว่าคือ “นมสูตร 3” ซึ่งกลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ให้บริษัทต่างๆ ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์นี้ โดยทำให้รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของทุกๆ สูตรให้คล้ายกัน และใช้ชื่อยี่ห้อที่คล้ายกันมาก มีการใช้สโลแกน สัญลักษณ์ และแมสคอตเดียวกัน และใช้เลข 1-2-3 บนกล่องเพื่อแสดงให้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะตั้งใจเพื่อให้การส่งเสริมการตลาดของนมสูตร 3 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าโฆษณานมสูตร 1 และ 2 ไปด้วย  แต่เมื่อกฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ จะถูกห้ามโฆษณาผ่านสื่อทุกชนิด  ผลิตภัณฑ์ที่จะถูกควบคุมการส่งเสริมการตลาดตามกฎหมายนี้ ประกอบด้วย 1.อาหารสำหรับทารก (อาหารสำหรับเด็กอายุ 0-12 เดือน) 2.อาหารสำหรับเด็กเล็ก(อาหารที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-3 แต่จะต้องมีประกาศรองรับก่อน ส่วนนี้กรมอนามัยจะเป็นผู้จัดทำประกาศดังกล่าว) และ 3. อาหารเสริมสำหรับทารก ดังนั้นจึงขอฝากถึงบรรดาคุณแม่หรือผู้ที่ใกล้ชิด ให้ตระหนักและช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องกิจกรรมการทำตลาดนมผง ที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อดูแลลูกหลานของเราให้ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารอันแสนวิเศษสุดบนโลกใบนี้สำหรับเด็กแรกเกิดทุกคน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 Lemon Law กฎหมายมะนาว กับ รถใหม่เจ้าปัญหา

ข่าวรถใหม่ป้ายแดง มีปัญหาซ่อมแล้วซ่อมอีก จนผู้บริโภคต้องออกมาประท้วงบริษัทรถยนต์ ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทุบรถ ติดป้ายประจาน เอาควายมาลาก ฯลฯ ยังคงมีปรากฏอยู่ตามหน้าสื่ออยู่เป็นระยะ ๆ ล่าสุด เมื่อต้นเดือน พฤษภาคม 2560 ก็เพิ่งมีข่าว “เศรษฐีนีชาวขอนแก่น เดือด ซื้อรถหรูป้ายแดงแต่ซ่อมไม่เลิก เลยเอาต้นไม้ไปปลูกบนรถประชดหน้าบริษัท” ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่า กลไกการแก้ไขปัญหาในระบบปกติ เช่น การเจรจาให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบ เอารถเข้าไปซ่อมครั้งแล้วครั้งเล่า การร้องเรียนกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐ หรือแม้แต่การฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย มันไม่ Work ผู้บริโภคเหล่านี้จึงเลือกใช้วิธีการออกมาหาความยุติธรรมที่ข้างถนน มาฟ้องสื่อ ฟ้องสังคม ฟ้อง Social Media  เพราะดูแล้วจะได้ผลรวดเร็วกว่า การใช้พลังทางสังคมเข้าไปกดดัน (Social Sanction) เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหานั้น หลายกรณี เมื่อสังคมให้ความสนใจ จับตามอง ก็ได้รับการดูแลแก้ไขอย่างรวดเร็ว แต่ทางเลือกนี้ก็มิได้เหมาะสำหรับทุกคน เพราะต้องใช้พลังอย่างมากในการต่อสู้เพื่อให้เป็นข่าว และที่สำคัญ มันเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นราย ๆ ไป เคลียร์รายนี้ได้ เดี๋ยวก็มีรายใหม่โผล่มาอีก ตราบใดที่ยังไม่ปรับปรุงระบบการจัดการปัญหาในช่องทางปกติให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และเข้าถึงได้โดยสะดวก หนึ่งในมาตรการแก้ปัญหาเชิงระบบที่องค์กรผู้บริโภคพยายามผลักดันกันมาโดยตลอดก็คือ “ประเทศไทยต้องมีกฎหมายความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า” เช่นเดียวกับนานาอารยประเทศ ซึ่งสาระสำคัญของกฎหมายนี้ ก็คือ สินค้าใหม่ทุกชนิด ที่ผู้บริโภคซื้อไปแล้ว หากพบว่ามีความเสียหาย ชำรุดบกพร่อง ใช้งานไม่ได้ หรือไม่เป็นไปไปตามสัญญา ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกได้ว่าจะให้ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ ถ้าหากซ่อมเกิน 2 ครั้งแล้ว ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และสิทธินี้ยังรวมถึงผู้เช่าซื้อด้วย เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์  ที่ถึงแม้จะยังผ่อนไม่หมด ยังไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ แต่ไฟแนนซ์ ผู้ให้เช่าซื้อ ก็ต้องให้สิทธินี้แก่ผู้บริโภคในการเรียกร้องให้เจ้าของสินค้าซ่อมแซม หรือเปลี่ยนสินค้า ถ้าของที่เช่าซื้อมาเกิดชำรุดบกพร่อง ซึ่งกฎหมายนี้ก็จะช่วยให้ผู้บริโภคมีทางออก ไม่ต้องดิ้นรน คิดหาวิธีประท้วงแบบแปลก ๆ ใหม่ ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากสังคมและสื่อพูดถึง “กฎหมายความรับผิดต่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า” นี้  ในแวดวงคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคก็มักจะเรียกทับศัพท์ตามอย่างฝรั่งว่า “Lemon Law” ซึ่งฟังดูแล้วก็ชวนให้สงสัยว่า สินค้าใหม่ที่มันชำรุดบกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ รถใหม่ป้ายแดงที่มันซ่อมแล้วซ่อมอีก มันเกี่ยวข้องยังไงกับมะนาว เรื่องนี้ มีผู้รู้เล่าให้ฟังว่า มีที่มาจาก “Joke ตลกร้าย” ที่พูดถึงฝรั่งชาติต่าง ๆ ไว้ว่า “สวรรค์ของคนยุโรป ก็คือ ที่ที่ทุกคนได้กินอาหารที่ปรุงโดย เชฟชาวฝรั่งเศส เพราะคนฝรั่งเศสนั้นพิถีพิถันเรื่องอาหารการกิน ขับรถยนต์ที่สร้างโดยวิศวกรชาวเยอรมัน รถหรูยอดนิยมยี่ห้อ Benz , BMW นั้นก็สัญชาติเยอรมัน มีตำรวจอังกฤษคอยดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย  มีคนรักเป็นชาวอิตาเลียน และมีชาวสวิสเซอร์แลนด์ทำหน้าที่บริหารจัดการทุกอย่างที่ว่ามา ส่วนนรกของชาวยุโรป ก็คือ ที่ที่ทุกคนต้องกินอาหารอังกฤษ ใช้รถยนต์ฝรั่งเศส มีตำรวจเป็นชาวเยอรมัน มีคนรักชาวสวิส และบริหารทุกสิ่งอย่างโดยชาวอิตาเลียน JOKE นี้ ก็สะท้อนว่า ในสายตาชาวตะวันตก รถยนต์ที่แย่ ก็คือ รถจากประเทศฝรั่งเศส  ซึ่งรถยนต์ยี่ห้อดังของฝรั่งเศสก็คือ “ซีตรอง” (Citroen) ซึ่งในภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “มะนาว” ส่วนเหตุที่นาย อังเดร ซีตรอง ผู้ก่อตั้งบริษัท ตั้งชื่อยี่ห้อรถยนต์ว่า “Citroen” ก็เพราะว่า ต้นตระกูล ปู่ของเขาสร้างฐานะมาจากการค้าขายมะนาว จึงตั้งชื่อสกุลตามธุรกิจที่ทำ ดังนั้น พอรุ่นหลานมาสร้างธุรกิจผลิตรถยนต์ก็เลยเอาชื่อสกุล “ซีตรอง” มาตั้งเป็นยี่ห้อรถยนต์ พอคนอเมริกันออกกฎหมายมาเพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าใหม่ที่บกพร่องหรือรถใหม่ป้ายแดงที่มีตำหนิ ผู้คนก็เลยนึกถึง รถ Citroen (Lemon) ของชาวฝรั่งเศส จึงพากันเรียกกฎหมายดังกล่าวด้วยชื่อเล่น ว่า Lemon Law  เรื่องนี้ จริงเท็จประการใด ยังไม่ทราบแน่ชัด อาจจะเป็นแค่ เรื่องเล่าอำกันเล่นๆ ของฝรั่งก็เป็นได้ เพราะรถยนต์ Citroen จากประเทศฝรั่งเศส ก็ได้ชื่อว่าเป็นรถยนต์ที่มีเทคโนโลยี ล้ำสมัยมากยี่ห้อหนึ่งส่วนข้อสันนิษฐานที่สอง คาดว่า “Lemon” นี้เป็นคำสแลงในภาษาอังกฤษ ในความหมายที่ว่า “แสบ แย่” ซึ่งน่าจะมาจากรสชาติที่เปรี้ยวจี๊ด ของมะนาว ดังที่มีสำนวนว่า “when life gives you lemons , make lemonade” และก็มีการนำมาใช้ในแวดวงรถยนต์ ในความหมายที่ว่า “เอาของไม่ดี มาหลอกขายว่าเป็นของดี” ถ้าเป็นสำนวนแบบไทย ๆ ก็ต้องพูดว่า “ย้อมแมวขาย” ซึ่งมีที่มาจาก คนไทยสมัยก่อนจะนิยมเลี้ยงแมวที่มีลักษณะดี โดยดูจากสีขน จุดแต้ม ตามส่วนต่าง ๆ บนตัวแมว เพราะเชื่อว่า แมวพวกนี้จะให้คุณ ให้โชค แต่แมวที่มีลักษณะดีก็ใช่ว่าจะหากันง่าย ๆ จึงมีพวกคิดไม่ซื่อ ไปจับแมวทั่วๆ ไปมาย้อมสี แต่งแต้ม ให้ดูเหมือนแมวตามตำรา แล้วเอาไปหลอกขายคนซื้อ  ดู ๆ แล้วเรื่อง “คนใจคด หากินไม่สุจริต” นี่เห็นจะมีเหมือนกันทุกชาติ ทุกภาษา และมีเหมือนกันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ที่จะไม่เหมือนกันอยู่อย่างก็คือ ต่างชาติเขาคิดแก้ไข พัฒนากฎหมาย ป้องกันปัญหา คุ้มครองคนของเขาไม่ให้ถูกเอาเปรียบมานานแล้ว แต่ไทยเรายังไปไม่ถึงไหน ปล่อยให้พวก นักขายจอมกะล่อน ปลิ้นปล่อน กลมกลิ้งเป็นลูกมะนาว หากินเอาเปรียบผู้คนอยู่จนทุกวันนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 จัดฟันแฟชั่น แก้ที่กฎหมายยังไม่พอ

พบท่อสี “จัดฟันแฟชั่น” ปนเปื้อนแคดเมียมปริมาณสูง ฉลาดซื้อ ทันตแพทยสภาและแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) เก็บตัวอย่างยางจัดฟัน ท่อสี ลวดมัดฟันและแบรกเก็ตจัดฟัน เมื่อเดือน ก.พ. 60 จากร้านค้าออนไลน์ พบตัวอย่างท่อสี(ท่อยางที่ใช้ร้อยกับลวดรีเทนเนอร์) สีดำและสีชมพู ซึ่งเป็นสียอดนิยมในหมู่วัยรุ่นผู้ชื่นชอบการใส่รีเทนเนอร์แฟชั่น  พบว่า มีปริมาณแคดเมียม สูงถึง 695  mg/kg ในท่อสี สีดำ และ 692  mg/kg ในท่อสี สีชมพู   ซึ่งแคดเมียมปริมาณสูงที่พบในท่อสี เมื่ออยู่ในปากจะถูกละลายโดยน้ำลายและถูกกลืนเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดพิษจากโลหะหนัก ตับวาย ไตวาย และมะเร็ง  การทดสอบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อยืนยันว่า อุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น ได้แก่ ลวด แบรกเก็ต ยางโอริง ยางซีเซน ท่อสี ที่จำหน่ายโดยร้านค้าออนไลน์ และร้านค้าที่ขายส่งอุปกรณ์จัดฟัน จะยังเข้าข่ายสินค้าอันตรายหรือไม่ เพื่อประเมินว่า ความเสี่ยงในการตกค้างของสารโลหะหนักจะยังคงรุนแรง อย่างเช่นการทดสอบในครั้งก่อนตอนที่การจัดฟันเถื่อนเริ่มฮิตใหม่ ซึ่งขณะนั้นวัสดุและอุปกรณ์จัดฟันเถื่อนจะเป็น “ของเลียนแบบ” เครื่องมือจัดฟันที่ใช้ในทางการแพทย์ เป็นส่วนใหญ่  ครั้งนี้ฉลาดซื้อ ได้ซื้อสินค้าอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นจากร้านค้าทางออนไลน์ 38 ตัวอย่าง จากร้านค้าบนเฟซบุ๊คสองร้าน ร้านละ 19 ตัวอย่าง และจากตัวแทนร้านค้าอุปกรณ์ที่จำหน่ายให้กับทันตแพทย์ 9 ตัวอย่าง แล้วส่งวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเพื่อหาโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท โครเมียม และสารหนู  ผลการวิเคราะห์(จากจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 47 ตัวอย่าง) พบสองตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนของแคดเมียม ได้แก่ ท่อสี สีชมพูของร้านค้าจากเฟซบุ๊คที่เลือกเป็นตัวแทนร้านค้าออนไลน์ทั่วไป  มียอดผู้กดถูกใจจำนวนมาก โดยพบปริมาณแคดเมียม 692  mg/kg และ ท่อสี สีดำของร้านค้าเดียวกัน พบปริมาณแคดเมียม 695  mg/kg   ซึ่งสินค้าจากร้านค้าที่เป็นตัวแทนร้านจัดฟันแฟชั่นที่ขายสินค้าบนเฟซบุ๊คแห่งนี้ มีการจำหน่ายสินค้าในราคาถูกมาก สั่งซื้อง่าย ฉลาดซื้อเก็บตัวอย่างจากร้านค้าแห่งนี้ จำนวน 19 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนสองตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ   10.5    ซึ่งการพบการปนเปื้อนครั้งนี้ ต้องถือว่า ผู้ชื่นชอบการจัดฟันแฟชั่นยังคงมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษจากโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในวัสดุจัดฟันแฟชั่น ที่มีราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายในร้านค้าบนโลกออนไลน์  จากจัดฟันเถื่อนหน้าร้านสู่จัดฟันแฟชั่นบนโซเชียล การทำทันตกรรมจัดฟัน โดยบุคคลที่มิใช่ทันตแพทย์ เป็นปัญหาที่ยังคงคุกคามสุขภาพในช่องปากของเด็กไทยมาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีการรับทำจัดฟันแบบห้องแถว ตลอดจนร้านค้าตามแหล่งช้อปปิ้งต่างๆ ที่คึกคักโจ่งแจ้ง จนขนาดสำนักงานต่างประเทศเอาไปออกข่าวยกให้เป็นประเทศหนึ่งเดียวในโลกที่ “วัยรุ่น” ชื่นชอบการจัดฟัน โดยคนที่ไม่ได้เป็นหมอฟัน ยกย่อง(ประชด) ว่า ช่างไม่กลัวอันตรายใดๆ ห่วงอย่างเดียวคือ กลัวตกเทรนด์แฟชั่น ร้อนถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาเร่งปราบปรามกันไปครั้งหนึ่ง แต่แฟชั่นยิ้มอวดฟันเหล็กและยางสีสวยๆ นั้นมันไม่เคยหายไป  จากการจัดฟันแฟชั่นที่เริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2547 โดยการวางขายลวดดัดฟัน ที่มีลักษณะคล้ายกำไลข้อมือโดยมีปลาย 2 ข้างไว้ใช้ทาบกับพื้น และแหย่เข้าไปหักงอไว้ในซอกฟันเพื่อยึดไว้ ทำให้เวลายิ้มจะดูเหมือนคนจัดฟันมา ซึ่งรูปแบบนี้แทบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว ด้วยถูกมองว่า “เป็นงานหยาบ” และปัจจุบันอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นได้ถูกพัฒนาให้มีลักษณะใกล้เคียงกับการจัดฟันจริงมากขึ้น หรือบางทีก็ใช้วัสดุเดียวกันกับร้านค้าส่งที่ทางทันตแพทย์ใช้จริงหรือสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ  เรียกตามภาษาแม่ค้าว่า “แบบเดียวกับร้านหมอฟัน” หรือ  “คุณภาพสินค้าเท่าเทียมกับคลินิกทันตแพทย์จัดฟัน (medical grade)” ซึ่งกลุ่มผู้นิยมฟันเหล็กสามารถซื้อหามาติดเองได้ โดยมีช่องทางที่เข้าถึงได้ง่าย เพราะการเปิดกว้างของโซเชียลมีเดีย โดยช่องทางที่นิยมกันมากคือ  อินสตาแกรม เฟซบุ๊ค ไลน์ และหน้าเว็บไซต์ รูปแบบการจัดฟันปัจจุบันจะแบ่งเป็นสองแบบหลักๆ คือ จัดฟันแฟชั่นแบบติดแน่น เป็นการเลียนแบบการจัดฟันของทันตแพทย์ให้เหมือนมากขึ้น โดยจะมีการติดเครื่องมือ "แบรกเกต" เป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมที่มีร่องใส่ลวดจัดฟันและมีส่วนยื่นออกมาสำหรับคล้อง ยาง สามารถเลือกสีของยาง รูปร่างของยาง เช่น รูป ดอกไม้ ลายการ์ตูนยอดนิยม อย่าง มิกกี้เม้าส์ โดราเอมอน เป็นต้นจัดฟันแฟชั่นแบบถอดได้ เป็นการใช้เครื่องมือคงสภาพฟัน หรือ "รีเทนเนอร์" ที่เหมือนกับทันตแพทย์ใช้ มีลักษณะเป็นแผ่น พลาสติกปิดอยู่ที่เพดาน หรือข้างลิ้น มีลวดคอยบังคับฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ มีการดัดแปลง เพิ่มแบรกเกตให้ติดอยู่บนลวด ขั้นตอนการทำจะต้องมีการพิมพ์ฟันก่อน เพื่อทำให้ออกมาพอดีกับลักษณะฟัน โดยสามารถเลือกสี ลายของแผ่น พลาสติก และลวดได้ ในรูปแบบ รีเทนเนอร์นี้ ยังพัฒนาเป็น “รีไร้เหงือก” ด้วย คือ ทำออกมาแล้วใส่ได้สะดวก โดยไม่ต้องพิมพ์ฟันก่อน ภาษาแม่ค้าเรียกว่า เป็นโมเดลมาตรฐาน โดยบรรยายสรรพคุณว่า เหมาะสำหรับ ใส่ถ่ายรูป ใส่เที่ยว ไม่อันตราย--------------------------------------------------------------------------------ทำความรู้จักอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น• ลวดจัดฟัน (Archwire)• แบรกเกต (Brackets)• ยางจัดฟัน  แบบ O-Ring มีลักษณะที่สังเกตได้ง่ายๆ นั่นคือ มีห่วงกลมๆ อันเล็กๆ ที่มีลักษณะที่ค่อนข้างยืดหยุ่นได้ไม่มาก มีสารพัดสีให้เลือก ทำหน้าที่ยึดแบรกเกตกับลวด • ยางจัดฟัน  แบบ C-Chainมีลักษณะเหมือนกับโซ่ แบบ ซีเชน นี้ จะได้รับความนิยมมาก หลายคนชอบ อยากใส่ เพราะมันดูสวยดียามเมื่อยิ้มออกมา• ท่อสี  ไม่ได้มีผลกับการดึงฟัน แต่เป็นท่อยางที่ใช้ร้อยกับลวดรีเทนเนอร์พาดไปบนแนวฟัน เพื่ออวดสีสัน ดูสวยงามสำหรับกลุ่มผู้ชื่นชอบแฟชั่นนี้อันตรายจากการจัดฟันแฟชั่นการจัดฟันแฟชั่นเป็นเพียงการนำเครื่องมือจัดฟันติดบนหน้าฟันเท่านั้น ไม่มีผลในการรักษา แต่เป็นการนำของแปลกปลอมใส่เข้าไปในช่องปาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนี้ อันตรายจากขั้นตอนการทำ ซึ่งหากทำโดยผิดหลักวิชา อาจเกิดปัญหาจากการติดเชื้อ เพราะกระบวนการทำไม่สะอาดตามมาตรฐาน อันตรายจากวัสดุ วัสดุจัดฟันแฟชั่น บางชนิดยังพบการปนเปื้อนที่เป็นโลหะหนัก เช่น แคดเมียม  หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะเป็นอันตรายต่อไต ทำให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของเซลล์ตาย อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ อันตรายต่อฟันและเนื้อเยื่อในช่องปาก ในขั้นตอนการทำ จะมีการใช้หัวกรอ กรอเอาเคลือบฟันที่ดีออกไป รวมทั้งใช้กรดกัดฟัน ซึ่งจะทำให้เคลื่อนฟันบางลง ทำให้ความแข็งแรงของฟันลดลง ทำให้เสียวฟันได้ง่าย การปรับแต่งลวดโดยผู้ที่ไม่มีความรู้จะทำให้เกิดแรงกดไปที่ตัวฟัน และฟันเคลื่อนไปจากเดิม ทำให้มีอาการปวดฟันมากอาจทำให้ฟันซี่นั้นกลายเป็นฟันตาย รากฟันละลาย อาจจะต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งไปนอกจากนี้การใส่เครื่องมือจัดฟันแฟชั่นมักทำให้เกิดการบาดกระพุ้งแก้ม หรือเนื้อเยื่อในช่องปากกลายเป็นแผล เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเนื้อเยื่อในช่องปาก อีกทั้งเครื่องมือที่ใส่ในปาก จะขัดขวางการแปรงฟันและทำความสะอาดฟัน อาจทำให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ บวมแดง มีกลิ่นปาก ยิ่งถ้ากระทำด้วยตนเอง ไม่ได้รับการอบรมที่ถูกวิธีหรือคอยดูแลตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอโดยทันตแพทย์ ย่อมเกิดปัญหาสุขภาพฟันติดตามมา บางทีก็ผิดพลาดจนยากจะแก้ไขได้ทัน การจัดการกับปัญหาการจัดฟันแฟชั่นด้วยมาตรการทางกฎหมายอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น• คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จากผลการตรวจวิเคราะห์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่พบว่า ลวดดัดฟันแฟชั่น นั้น พบสารปนเปื้อนซึ่งเป็นโลหะหนัก และวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่ไม่มีมาตรฐาน ลักษณะการนำมาคล้องที่ฟันด้วยลวดที่ไม่แข็งแรง มีโอกาสหลุดลงคอ ทำให้เป็นอันตรายแก่ชีวิต อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียด้านสุขอนามัย สคบ. จึงอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 36 วรรคสอง ประกาศห้ามขายถาวรตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2552  ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่10/2552 เรื่อง ห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชั่น ซึ่งประกาศนี้มีผลเฉพาะ “ลวดดัดฟัน” เท่านั้น ปัจจุบัน สคบ.กำลังเร่งพิจารณาเพื่อออกกฎหมายให้ครอบคลุมไปถึงวัสดุอื่นๆ ด้วย • อุปกรณ์จัดฟัน ยังไม่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ จึงไม่ได้รับการกำกับดูแล ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 • อุปกรณ์จัดฟันแฟชั่นที่ขายทางอินเทอร์เน็ต จะเข้าข่าย ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  ปัจจุบันปรับมาเป็น ความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2)  พ.ศ. 2560   กำกับดูแลโดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี(ปอท.)สถานที่และผู้ให้บริการจัดฟันแฟชั่น• ผู้ลักลอบดำเนินการจัดฟันแฟชั่นจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ทำการประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว• สถานที่ที่มีการประกอบการทันตกรรมหรือคลินิกที่ประกอบกิจการสถานพยาบาลทันตกรรม โดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องโทษ ตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ทว่าเมื่อลองประเมินจากบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อที่จะควบคุมกำกับปัญหาการจัดฟันแฟชั่นเถื่อน อาจเรียกได้ว่า ยังอยู่ในสถานะที่ไม่พร้อมอย่างที่ควรจะเป็น ภาพที่ผู้ค้าบางรายยังสามารถขายสินค้าแฟชั่นนี้ได้อย่างไม่เกรงกลัวกฎหมายยังปรากฏให้เห็นผ่านช่องทางสื่อสารทางโลกโซเชียลอยู่ตลอดเวลา บวกกับค่านิยมของวัยรุ่น ที่ยอมจะสวยในแบบฉบับที่ไม่ตกเทรนด์แฟชั่น มากกว่าการห่วงเรื่องสุขภาพในช่องปาก หรืออันตรายที่แฝงอยู่ในการจัดฟันแฟชั่นนี้ เราคงจะต้องเผชิญกับปัญหานี้ไปอีกนาน ซึ่งไม่ต่างจากเรื่องที่เราเป็นห่วงคนไทยจำนวนหนึ่ง ที่อยากขาว อยากผอม ตามค่านิยมยุคสมัย แต่เลือกวิธีการที่ไม่เหมาะสมด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งการหวังเพียงให้กฎหมายช่วยจัดการอาจจะยังไม่พอ เพราะเป็นแค่การตัดช่องทางซื้อขาย  อย่างไรก็ตามคงต้องร่วมกันกับการปรับค่านิยมให้แก่คนกลุ่มเสี่ยงด้วย       

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เครื่องมือรัฐจัดการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยโหด (2)

ความเดิมตอนที่แล้ว รัฐบาลได้ปรับปรุงและประกาศใช้ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2560) ห้ามเจ้าหนี้ คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าฝ่าฝืนมีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับ สำหรับเจ้าหนี้บุคคลธรรมดา มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15  ต่อปี ส่วนสถาบันการเงินในกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคล เจ้าหนี้กลุ่มนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเงินกู้ได้เกินร้อยละ 15 ต่อปีดอกเบี้ยของเจ้าหนี้เงินกู้ที่เป็นสถาบันการเงิน  “สถาบันการเงิน” ตามนิยามของ พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 ได้แก่ (1) ธนาคารแห่งประเทศไทย(2) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์  (3) บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์  (4) สถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษากฎหมายให้สิทธิ สถาบันการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้ โดยจะออกเป็นประกาศกระทรวงการคลัง กำหนดรายละเอียดว่าสถาบันการเงินประเภทไหน คิดดอกเบี้ยได้เท่าไร และก็จะมีการปรับแก้อัตราดอกเบี้ยอยู่เป็นระยะ ๆ ตามสภาพเศรษฐกิจ ล่าสุด กำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จาก      ผู้กู้ยืม ได้ที่ http://law.longdo.com/lawindex/%E0%B8%94ดอกเบี้ยของเจ้าหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลบริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งหลายนั้น เป็นการประกอบธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย  “บัตรเครดิต” มีเงื่อนไขกำหนดว่า “การเรียกเก็บดอกเบี้ยในหนี้ค้างชำระ หรือดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดชำระหนี้ หรือค่าปรับในการชำระหนี้ล่าช้ากว่ากำหนด หรือค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใด จากผู้ถือบัตร เมื่อคำนวณรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี” และ “ห้ามคิดค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด ในการเบิกถอนเงินสดผ่านบัตรเครดิต เกินร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่เบิกถอนนั้น”ในส่วนของ “สินเชื่อส่วนบุคคล” นั้น จะคิดดอกเบี้ย ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ยังมีสิทธิคิด ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อีก แต่เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี ดอกเบี้ยธุรกิจเช่าซื้อ ธุรกิจเช่าซื้อไม่ว่าจะเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือสินค้าอะไรก็ตามนั้น ไม่อยู่ในการกำกับ ดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะไม่ได้เป็นการกู้ยืมเงิน ดังนั้น จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เกินร้อยละ 15 ต่อปี ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายแพ่ง มาตรา 654  ดังนั้น จึงมีนายทุนเงินกู้นอกระบบเจ้าเล่ห์ อาศัยช่องว่างของกฎหมายตรงนี้ ปล่อยกู้โดยคิดดอกเบี้ยสูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปี โดยอาศัยการทำสัญญาเช่าซื้อบังหน้า โดยทำทีว่า ลูกหนี้มาเช่าซื้อสินค้า เช่น คอมพิวเตอร์ ราคา 30,000 บาท ผ่อน 10 เดือน เดือนละ 3,000 บาท แต่ไม่ได้มีการส่งมอบเครื่องคอมพิวเตอร์กันจริง ๆ เมื่อเซ็นสัญญาเช่าซื้อแล้ว เจ้าหนี้ก็จะเอาเงินสดให้ลูกหนี้ 20,000 บาท หักไว้ 10,000 บาท เป็นค่าดำเนินการและดอกเบี้ยล่วงหน้า เป็นธุรกรรมทำนาบนหลังคน ที่มีเจตนาหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามคิดดอกเบี้ยเกินอัตราอย่างชัดเจน ซึ่งมีโทษทางอาญาทั้งจำทั้งปรับเลยทีเดียว ดอกเบี้ยผิดกฎหมาย ศาลยกขึ้นมาพิจารณาเองได้การคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดนั้น เป็นเรื่องที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม ศาลจึงมีอำนาจที่จะหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาได้เอง แม้ว่าลูกหนี้จะไม่ได้อ้างเรื่องนี้เป็นข้อต่อสู้ในคดี ถ้าคุณเจอศาลที่ท่านเมตตาลูกหนี้   ให้ความเป็นธรรมพิพากษาไม่ให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ยโหดก็ถือว่าโชคดีไป แต่เพื่อความไม่ประมาท ก็ควรเตรียมตัวทำคำให้การให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้เขาคิดดอกเบี้ยคุณถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะการตัดหนี้ดอกเบี้ยพวกนี้ออกไปจะช่วยให้คุณประหยัดเงินในการปิดบัญชีปลดหนี้ไปได้อีกเยอะเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 กฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา เครื่องมือรัฐจัดการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยโหด (1)

“ ... การกู้ยืมนั้น โดยปกติผู้กู้ต้องการทุน เมื่อได้ทุนแล้วไปประกอบกิจการอันใดอันหนึ่งมีผลงอกงามขึ้น ก็แบ่งผลนั้นใช้เป็นดอกเบี้ยบ้าง เหลือรวบรวมไว้เพื่อใช้หนี้ทุนต่อไป ดังนี้ ฝ่ายเจ้าหนี้ก็ได้ดอกเบี้ยเป็นค่าป่วยการ และมีโอกาสที่จะได้รับใช้ทุนคืนในภายหลัง แต่ถ้าดอกเบี้ยเรียกแรงเกินไปแล้ว ลูกหนี้ได้ผลไม่พอที่จะใช้ดอกเบี้ยได้ ย่อมต้องย่อยยับไปด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย...”(ส่วนหนึ่งของคำแถลงการณ์ คณะกรรมการราษฎร เกี่ยวแก่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475  เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รัฐจึงต้องควบคุม ห้ามเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และถ้าฝ่าฝืนนอกจากจะไม่ได้รับดอกเบี้ยแล้ว ยังจะมีโทษทางอาญาอีกด้วย ล่าสุด ได้มีการปรับปรุงและประกาศใช้ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา ฉบับใหม่ (พ.ศ. 2560)หลังจากกฎหมายฉบับแรกใช้มา 80 กว่าปีตั้งแต่สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง   สาระสำคัญของกฎหมายยังคงเดิม คือ ห้ามเจ้าหนี้ คิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ถ้าฝ่าฝืน มีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับ ที่แก้ไขปรับปรุงคือ เพิ่มโทษให้หนักขึ้น จากเดิมจำคุกไม่เกิน 1 ปี เพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี ส่วนโทษปรับจากเดิม ปรับไม่เกิน 1,000 บาท เพิ่มเป็นปรับไม่เกิน 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่กฎหมายอนุญาตให้เจ้าหนี้เรียกเก็บได้นั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 กำหนด ให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ถ้าคิดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีสิทธิคิดดอกแม้แต่บาทเดียว  บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นเสี่ยวิชัย หรืออาบัง ถ้าปล่อยเงินกู้ มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ไม่เกินร้อยละ 15  ต่อปี หรือ 5 สลึงต่อเดือน แต่ที่ผ่านมาเจ้าหนี้นอกระบบพวกนี้ จะคิดดอกเบี้ยสูงถึงร้อยละ 20 ต่อเดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 240 ต่อปี เรียกว่าเป็นการขูดเลือดขูดเนื้อลูกหนี้อย่างแสนสาหัส กฎหมายน่ารู้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์          มาตรา 654 “ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี...”          คำพิพากษาฎีกา ที่ 567/2536 เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้อัตราร้อย 19.5 ต่อปี ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ข้อกำหนด อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียก ดอกเบี้ยจากจำเลยตามสัญญา แล้วถ้าเกิดลูกหนี้ไม่รู้ข้อกฎหมาย เอาเงินไปจ่ายดอกเบี้ยซึ่งสูงเกินอัตราให้กับเจ้าหนี้ไปแล้วจะทำอย่างไร จะเรียกเงินคืนได้ไหม หรือ เอาดอกเบี้ยไปหักกับต้นเงินได้รึเปล่า  อันนี้บอกเลยว่า “เสียใจ จ่ายแล้วจ่ายเลย เรียกคืนไม่ได้” เพราะศาลถือว่าเป็น  การชำระหนี้โดยสมัครใจ จะมาอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้  ...แต่ข่าวดี คือตอนนี้คุณรู้แล้วนะว่า เจ้าหนี้ทั่วไป คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ ดังนั้น ต่อไป คุณจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยผิดกฎหมายส่วนนี้  ส่วนเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินในกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทบัตรเครดิต บริษัทสินเชื่อส่วนบุคคล เจ้าหนี้กลุ่มนี้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี โดยจะมีประกาศกระทรวงการคลัง กำหนดรายละเอียดว่าสถาบันการเงินประเภทไหน คิดดอกเบี้ยได้เท่าไร และก็จะมีการปรับแก้อัตราดอกเบี้ยอยู่เป็นระยะๆ ตามสภาพเศรษฐกิจฉบับหน้ามาลงรายละเอียดกันครับว่า เจ้าหนี้สถาบันการเงินแต่ละประเภทมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้เท่าไร และคุณจะจัดการอย่างไร ถ้าพบว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 25601 เม.ย.ทำฟันประกันสังคมกับ รพ.รัฐไม่ต้องสำรองจ่าย 1 เมษายน 2560 นี้ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการด้านทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัฐ ทั้งโรงพยาบาลสังกัด สธ., สังกัดกระทรวงกลาโหม, สังกัดกทม. และ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ตามสิทธิ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งเลื่อนจากเดิมที่วางกำหนดไว้วันที่ 1 ก.พ. เพื่อให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่เข้าร่วมแล้วกว่า 530 แห่ง และคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเพิ่มเป็น 800 แห่ง ทั้งนี้ก่อนรับบริการให้สังเกต “สติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม” ที่จะติดไว้ที่คลินิกที่ร่วมโครงการ ซึ่งสามารถรับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่ายผู้ประกันตนที่พบปัญหาจากใช้บริการหรือพบคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีสติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม แต่ยังมีการเรียกเก็บเงิน สามารถโทร.แจ้งเอาผิดได้ที่สวยด่วน สปส. โทร. 1506 คิดดอกเบี้ยเงินกู้โหด เจอโทษตามกฎหมายจากนี้ไปลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยโหดอีกแล้ว เพราะล่าสุดได้มีการออกพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ กำหนดให้ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยปัจจุบันกฎหมายกำหนดห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี หากกระทำความผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดโทษไว้ว่าจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 3 พันบาทนอกจากนี้ในกฎหมายฉบับนี้ยังมีการระบุว่า ห้ามกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอันตราที่กฎหมายกำหนด หรือมีการระบุว่าจะเรียกรับประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน สิ่งของ หรือโดยวิธการอื่นใด จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงินเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้สารกันบูดน้อยลง แต่ยังเจอเกินค่ามาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมดำเนินงานภายใต้โครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัย โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการคือการควบคุมเรื่องการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียโดยมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์วัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 370 ตัวอย่าง ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนด 71 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 19.2 โดยพบกรดเบนโซอิค ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 10.6 - 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในเส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ และเส้นผัดไทชนิดแห้ง ซึ่งค่ามาตรฐานที่อนุญาตให้พบคือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนกรดซอร์บิค พบประมาณร้อยละ 3.1 ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 102 - 414 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนดลดลงจาก ร้อยละ 36 เหลือเพียง ร้อยละ 19.2 และปริมาณวัตถุกันเสียที่ตรวจพบสูงสุดลดลงจาก 17,250 เหลือเพียง 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังเกินกว่าค่ามาตรฐาน“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ชื่อนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เตรียมเปลี่ยนชื่อโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ เป็น “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น แก้ปัญหาความเข้าใจผิด ของทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมามีกรณีร้องเรียนเรื่องสถานพยาบาลเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจำนวนไม่น้อยโดยการใช้คำว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ก็เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตระดับสีแดง ซึ่งสามารถเข้ารักษาได้ทุกที่ทุกสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งหลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงที่ กพฉ. กำหนด แบ่งเป็น 25 กลุ่มอาการ ดังนี้ 1.ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ 2.แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ 3.สัตว์กัด 4.เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ 5.หายใจลำบาก หายใจติดขัด 6.หัวใจหยุดเต้น 7.เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ 8.สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ 9.เบาหวาน 10.ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม11.ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก 12.คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ 13.พิษ รับยาเกินขนาด 14.มีครรภ์ คลอด นรีเวช 15.ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการชัก 16.ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ 17.อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน 18.ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ 19.เด็ก กุมารเวช 20.ถูกทำร้าย 21.ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต 22.ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ 23.พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด 24.อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25.อื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669ชัดเจน!!! ห้ามใช้ “โคลิสติน” ในฟาร์มสัตว์หลังจากมีข่าวว่ามีการตรวจพบฟาร์มเลี้ยงหมูในหลายจังหวัดมีการใช้ยา “โคลิสติน” (Colistin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรุนแรงที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง เพราะทำให้เกิดการดื้อยาทั้งในคนและสัตว์เรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลกับผู้บริโภคไม่น้อย กรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่จัดการดูแลปัญหานี้โดยตรงก็ไม่รอช้าเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยความรวดเร็ว โดยได้ออกคำสั่ง “เรื่อง การควบคุมการใช้ยา Colistin ในฟาร์ม” ส่งตรงถึง “นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย” ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 800 คน โดยเนื้อหาสำคัญในประกาศ คือการสั่งห้ามสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสั่งหรือใช้ยาโคลิสตินผสมอาหารหรือละลายน้ำให้สัตว์กินโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องคัดกรองและตรวจสอบอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงสัตว์จะต้องไม่มียาโคลิสตินผสมอยู่ โดยให้มีการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะแต่ก็ยังผ่อนปรนให้สามารถใช้ยาโคลิสตินได้ ในกรณีที่สัตว์ป่วยแล้วไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดใช้แล้วได้ผล“ยาโคลิสติน” เป็นยาปฏิชีวะที่นิยมใช้รักษาหมูท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรีย “อี.โคไล” แต่เมื่อปีที่แล้วมีข่าวว่าจีนพบหมูและคนดื้อยาโคลิสตินจากฟาร์มหมูชนิดข้ามสายพันธุ์ได้ หรือ “ยีนเอ็มซีอาร์-วัน” ที่สามารถส่งสายพันธุกรรมหรือเชื้อดื้อยาข้ามจากสัตว์มาสู่คน และยังถ่ายทอดไปยังเชื้อโรคตัวอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ได้อีกด้วย ขณะนี้มีรายงานการพบยีนดื้อยาตัวนี้ในมนุษย์ หมู และไก่ ช่วงปี 2010–2015 จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 กฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าตึกแถว

คราวนี้เราจะมาพูดถึงการคุ้มครองสิทธิด้านที่อยู่อาศัยของตนเองกันต่อ แต่เป็นเรื่องสิทธิของผู้เช่าที่ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่อาศัยนะครับ แต่ก็ถือว่า เขาเป็นผู้บริโภคคนหนึ่ง มีสิทธิครอบครองใช้สอยทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาได้ และมีสิทธิจะอยู่ในที่อยู่อาศัยหรือสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีใครมาทำให้เขาเดือดร้อน กฎหมายก็คุ้มครองเขานะครับมีคดีหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกรณีผู้เช่าตึกแถวคนหนึ่ง ที่เช่าอยู่มาเกือบ 20 ปี ที่อยู่มาวันดีคืนดี ก็มีเจ้าของที่มาสร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนน ที่ผู้เช่าใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกเป็นประจำ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถใช้ทางได้โดยปกติสุข ก็มาฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลก็มองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ผู้เช่าตึกแถวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2543แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 แต่ถนนพิพาทเป็นถนนหน้าตึกแถวที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ซื้อหรือเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปีแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยหวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก แต่โจทก์ก็ยังคงอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อมา การที่จำเลยที่ 2 สร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนนพิพาทด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตนซื้อจากจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์สัญจรผ่านเข้าออกไม่ได้ตามปกติย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์และผู้เช่ารายอื่นว่าจะจัดให้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตลอดไป มิฉะนั้นโจทก์และผู้เช่ารายอื่นคงไม่ยินยอมจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างและจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 เป็นเวลานานถึง 20 ปี และจำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยินยอมให้โจทก์และครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปี เช่นเดียวกัน แม้สัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้ระบุเรื่องการใช้ถนนพิพาทไว้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้หวงห้ามมิให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้ถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนพิพาทไว้สำหรับให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อถนนพิพาทบางส่วนจากจำเลยที่ 1 และได้ก่ออิฐเป็นกำแพงปิดกั้นถนนพิพาทบริเวณปากทางออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้ถนนพิพาทออกสู่ทางสาธารณะด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายหนึ่งอีกเรื่อง เป็นการเช่าช่วง ที่ผู้เช่าช่วงต้องทราบว่า หากจะให้เกิดสิทธิของผู้เช่าช่วงก็ต้องทำหนังสือสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าไว้เป็นหลักฐานด้วย หากไม่มีก็อาจจะถูกฟ้องขับไล่ เหมือนอย่างคดีดังต่อไปนี้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2551การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือ เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า เช่าช่วงจากโจทก์ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้ว เพื่อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 8 ปี บทเรียนการใช้กฎหมายคดีผู้บริโภค

ความเป็นมา            ในขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ  และขาดอำนาจในการต่อรอง เช่นในการเข้าทำสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการที่เท่าเทียม ตลอดจนไม่อาจเท่าทันความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ของผู้ประกอบธุรกิจ นั่นทำให้ผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น กระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหายต้องใช้เวลานานและสร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้บริโภค ที่จะต้องพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในความรู้เห็นของตน ทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีสูง จึงทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเหตุผลดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการบัญญัติกฎหมายพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ขึ้น เพื่อตามให้ทันเทคโนโลยีในปัจจุบันที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น สังเกตได้จากการที่กฎหมายได้บัญญัติไว้โดยชัดเจนให้ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้เองตามที่เห็นสมควร โดยมีหลักการที่สำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการดำเนินคดี คือ ความสะดวก ประหยัด รวดเร็ว และเป็นธรรมขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจหันมาให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย พบว่ายังมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการทั้งปัญหาด้านข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติส่งผลให้ผู้บริโภคยังไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง อันไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้  ที่มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรมประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว มีเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่น่ากังวล คือ คนที่นำคดีมาฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ส่วนใหญ่กลับเป็นผู้ประกอบธุรกิจ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป ซึ่งสะท้อนว่า กฎหมายมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ที่ให้มีระบบวิธีพิจาณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภคธรรมดาสถานการณ์การฟ้องคดีผู้บริโภค            หลังจากที่พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นั้น จากข้อมูลสถิติคดีของสำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551  - 2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคขึ้นสู่ศาลจำนวน  2,794,208 คดี  ซึ่งมากกว่าร้อยละ 90 ของคดีผู้บริโภค ที่เข้าสู่สารบบคดีของศาลเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค  โดยเฉพาะในปี 2558 มีคดีผู้บริโภคที่ขึ้นสู่ศาลทั่วราชอาณาจักร จำนวน 592,561 คดี จากคดีแพ่งทั้งหมด 847,551 คดี หรือคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ของคดีแพ่งทั้งหมด   นอกจากนี้ในคดี ผู้บริโภคที่ขึ้นสู่การพิจารณาคดีของศาลในปี พ.ศ.2558 นั้น  ประเภทข้อหาแห่งคดี 5 อันดับแรกของข้อมูลการฟ้องคดี  เป็นคดีที่ผู้ประกอบการฟ้องผู้บริโภคเป็นคดีผู้บริโภค มีดังนี้สินเชื่อบุคคล / กู้ยืม / ค้าประกัน จำนวน 250,527 ข้อหาบัตรเครดิต จำนวน 99,822 ข้อหากองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จำนวน 92,775 ข้อหาเช่าซื้อ (รถยนต์) จำนวน 73,071 ข้อหาเช่าซื้อ (รถจักรยานยนต์) จำนวน 5,194 ข้อหาจากสถิติข้อหาแห่งคดี หรือการฟ้องคดีผู้บริโภคของศาล จะเห็นได้ชัดเจนว่า การฟ้องคดีผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเป็นจำเลย เพื่อบังคับให้ผู้บริโภคชำระหนี้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ  จึงทำให้มีหลายคนวิตกว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจาณาคดีผู้บริโภคฯ จะตกเป็นเครื่องมือให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจในการทวงหนี้ และทำให้คดีแพ่งที่อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคฯ มีมากเกินไป อย่างที่เรียกว่า “คดีล้นศาล” ซึ่งส่งผลกระทบดังนี้  1 ผลกระทบต่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี            การมีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภค เข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก และการที่กฎหมายคดีผู้บริโภคกำหนดให้ศาลต้องนัดพิจารณาภายใน 30 วันนับแต่ยื่นฟ้อง เพื่อจะเป็นวิธีพิจารณาพิเศษที่ทำให้คดีเสร็จไปโดยเร็วนั้น ปรากฏว่าในทางปฏิบัติ ไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีคดีอื่นที่ไม่ใช่ผู้บริโภคเข้าสู่ระบบคดีผู้บริโภคของศาลจำนวนมาก ทำให้วันนัดของศาลเต็ม จึงไม่อาจทำตามเงื่อนไขของกฎหมายที่กำหนดไว้ได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี เจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้ไม่อาจบรรลุผลได้เต็มที่2  ผลกระทบต่อผู้บริโภคในการต่อสู้คดี            เนื่องจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ได้นำระบบไต่สวนมาใช้ กล่าวคือศาลสามารถไต่สวนหาความจริง โดยเรียกบุคคลหรือพยานหลักฐานได้เอง   แต่ที่ผ่านมาพบว่า ส่วนใหญ่ศาลจะใช้อำนาจในส่วนนี้น้อยมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภค เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้บัตรเครดิต หรือสินเชื่อ กู้ยืมเงิน ซึ่งคดีลักษณะดังกล่าว จะมีการไปฟ้องยังภูมิลำเนาของผู้บริโภคที่โดยมากมักไม่ได้อยู่อาศัยเนื่องจากเข้ามาทำงานในกรุงเทพ หรือจังหวัดอื่น ทำให้เสียโอกาสต่อสู้คดี อีกทั้งศาลก็จะถือข้อเท็จจริงตามที่ผู้ประกอบธุรกิจเสนอ โดยไม่ได้ใช้อำนาจไต่สวนคดีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบเข้ากับการที่มีคดีอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้มากเกินไป ทำให้บทบาทของศาลในการไต่สวนคดีทำได้ไม่เต็มที่  มีส่วนทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดีผู้บริโภคอื่นไปด้วยสาเหตุที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ            สำหรับสาเหตุในเรื่องการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาคดีได้อย่างจริงจังหลายประการนั้น  จากการเสวนาแลกเปลี่ยนในหลายเวทีและจากการสังเคราะห์ข้อมูล ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบว่าปัญหาโดยสรุปมีดังนี้ยังต้องใช้ทนายความในการดำเนินคดี แม้ว่ากฎหมายจะบทบัญญัติให้ผู้บริโภคที่จะฟ้องคดีสามารถฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ยื่นฟ้องคดีด้วยวาจา โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้บันทึกและจัดทำคำฟ้องให้ รวมถึงการฟ้องคดีด้วยเอกสาร ไม่ต้องมีทนายความเป็นผู้จัดทำคำฟ้องให้ โดยมีเจ้าพนักงานคดีเป็นผู้ตรวจเอกสารและจัดทำคำฟ้องให้เช่นกัน แต่กระบวนการดังกล่าวก็เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเบื้องต้นเท่านั้น เพราะเมื่อฟ้องคดีและศาลรับคำฟ้องไว้แล้ว ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องจัดหาทนายความเพื่อมาดำเนินคดีแทน ในคดีเกือบทุกประเภท โดยเฉพาะคดีที่มีข้อเท็จจริงที่สลับซับซ้อน เช่น คดีทางการแพทย์  รวมถึงการจัดทำคำร้อง คำแถลง ต่างๆ เนื่องด้วยผู้บริโภคไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาคดีด้วยตนเองได้การนิยามของคำว่า “คดีผู้บริโภค” และ “ผู้บริโภค” ไม่ชัดเจน ทำให้นอกจากผู้บริโภคจะมีสิทธิฟ้องคดีผู้บริโภคแล้ว กฎหมายยังให้สิทธิผู้ประกอบการฟ้องคดีผู้บริโภคได้ด้วย ก่อให้เกิดปัญหาคดีล้นศาล เนื่องจากคดีส่วนมากที่เข้ามาอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้เป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจประเภทสถาบันการเงิน ไฟแนนซ์ เป็นโจทก์ฟ้องผู้บริโภคเพื่อขอให้ชำระหนี้ ทำให้มีปริมาณคดีผู้บริโภคกลุ่มนี้ขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินคดี และทำให้ศาลและเจ้าพนักงานคดีทำหน้าที่ตามบทบาทได้อย่างไม่เต็มที่ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคให้การ บังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ได้วางไว้เจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีความมุ่งหมายที่จะให้ ศาลเข้ามามีบทบาทในการแสวงหาข้อเท็จจริงต่างๆ ในคดีแพ่งมากขึ้นเพื่อลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันในการ ต่อสู้คดีระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยการวางแนวทางการพิจารณาไปในทางระบบไต่สวนมากขึ้น จึงได้กำหนดให้มี "เจ้าพนักงานคดี” ขึ้น เพื่อช่วยเหลือศาลให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมาย กำหนดไว้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการสืบหาพยานหลักฐานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี   อย่างไรก็ดีในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีก็ยังไม่เพียงพอ คือ ในปัจจุบันมีเจ้าพนักงานคดีประจำอยู่ที่ศาลแห่งละหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เพียงพอ เป็นเหตุให้ไม่มีเจ้าพนักงานคดีมากพอที่จะตอบสนองความต้องการในการบริหารจัดการคดี ซึ่งในทางปฏิบัติเจ้าพนักงานคดีที่ถูกส่งไปประจำศาลในจังหวัดต่างๆกลับถูกใช้ให้ไปทำงานในด้านธุรการด้านอื่นๆ โดยไม่ได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือศาลในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีอย่างแท้จริง ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่กฎหมายไม่ได้ยกเว้น แม้พระราชบัญญัติฉบับนี้จะกำหนดให้ผู้บริโภคฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การเสียค่าธรรมเนียมฟ้องคดี หากเป็นผู้บริโภคที่ฟ้องคดีนั้นค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะได้รับการยกเว้นเกือบทั้งหมด ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีอย่างมากสำหรับการเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้สะดวกมากขึ้น แต่นอกจากค่าธรรมเนียมฟ้องคดีแล้ว ในกระบวนพิจารณาคดียังมีค่านำหมาย ค่าส่งคำคู่ความ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ พบว่ายังมีการลักลั่นของศาลแต่ละแห่ง ที่ยังคงเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับผู้บริโภคที่ฟ้องคดีอยู่ศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและขาดความชำนาญในการไต่สวน พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้ศาลใช้ระบบไต่สวนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดี ศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นหาความจริง มีอำนาจที่จะให้มีการรวบรวมพยาน เอกสาร สืบพยาน หรืองดสืบพยาน ไม่ใช่รอพยานหลักฐานจากคู่ความ การกำหนดกรอบระเบียบ กฎเกณฑ์ เกี่ยวกับการสืบพยานค่อนข้างยืดหยุ่น เพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจได้อย่างกว้างขวาง ระบบไต่สวนจึงเหมาะสมกับคดีที่ คู่ความมีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก เช่น คดีผู้บริโภค นี้ แต่ในทางปฏิบัติ พบว่าศาลยังใช้อำนาจหรือมีบทบาทในการไต่สวนในคดีผู้บริโภคยังไม่เต็มที่ เนื่องด้วยศาลยังมีทัศนคติและความเคยชินอยู่กับจารีตปฏิบัติในระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน พบได้ในหลายกรณีที่ศาลเลือกจะไม่ใช้อำนาจในส่วนนี้ แต่จะถามหาทนายความจากผู้บริโภคเพื่อให้มาดำเนินคดีแทน หากเป็นเช่นนี้ผู้บริโภคก็ยังคงต้องว่าจ้างทนายความ และทำให้เจตนารมณ์ของกฎหมายยังไม่อาจเป็นจริงได้ บทเรียนการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกว่า 8 ปี ที่มีคดีผู้บริโภคเข้าสู่สารบบของศาลทั่วราชอาณาจักรมากถึงกว่า  2.8 ล้านคดี แต่ส่วนใหญ่กลับเป็นคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องผู้บริโภคเสียมากกว่านั้น ย่อมน่าสนใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงไม่ใช้สิทธิฟ้องคดีเท่าที่ควร เมื่อได้นำข้อมูลจากการช่วยเหลือผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมาวิเคราะห์ ก็พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น  ความเสียหายที่ได้รับเมื่อคิดเป็นมูลค่านั้นเล็กน้อยเกินไป ไม่คุ้มค่าทนาย ค่าใช้จ่าย  หรือความกังวลว่า จะมีขั้นตอนยุ่งยากและใช้เวลานานในการดำเนินคดี สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนว่า ผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่นในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม แม้จะมีกฎหมายเพื่อช่วยให้การฟ้องคดีไม่ยุ่งยากเช่นในอดีตจากสถิติการให้ความช่วยเหลือของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในการช่วยดำเนินคดีให้ผู้บริโภคที่ถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิ ตั้งแต่ปี 2551 –  2558  พบว่า มีคดีผู้บริโภคที่ให้ความช่วยเหลือ จำนวน 289 คดี แบ่งเป็นคดีชุดรถโดยสารสาธารณะ    จำนวน    183     คดีคดีประกันภัย                    จำนวน     52     คดี       คดีผิดสัญญา                    จำนวน     31     คดีคดีละเมิด                        จำนวน     23     คดีและแม้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จะเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพียงองค์กรเดียวที่มีนโยบายและความสามารถเพียงพอที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิในการฟ้องคดีผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวนมากถึง 289 คดี  โดยเป็นคดีที่หลากหลาย เช่น รถยนต์ชำรุดบกพร่องผู้ประกอบธุรกิจผิดสัญญา กรณีอาคารชุด และบ้านจัดสรร เรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับปริมาณคดีผู้บริโภคทั้งหมดของศาลนับตั้งแต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว ต้องถือว่าพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังไม่สามารถตอบโจทย์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ข้อเสนอ            แนวทางต่อไปนี้อาจช่วยในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายนี้ได้แก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค” และ “ผู้ประกอบธุรกิจ” ให้ชัดเจน  ปัญหาหลายประการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าในการดำเนินคดี การทำหน้าที่ของเจ้าพนักงานคดี หรือการทำหน้าที่ของศาลในการไต่สวนคดี มีสาเหตุประการหนึ่งคือ มีคดีที่ไม่ควรจัดว่าเป็นคดีผู้บริโภคเข้ามาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงสมควรจัดคดีเหล่านี้ให้ไปอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามเดิม ซึ่งได้แก่ คดีที่ผู้ประกอบธุรกิจฟ้องทวงหนี้จากผู้บริโภคโดยไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคแต่อย่างใด และคดีเกี่ยวกับสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกันเพื่อประโยชน์ทางการค้าของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย การแก้ปัญหานี้อาจกระทำได้โดยการแก้ไขคำนิยาม “คดีผู้บริโภค” , “ผู้บริโภค”   และ “ ผู้ประกอบธุรกิจ” ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค หรือโดยการออกกฎหมายแก้ไขคำนิยามเหล่านี้เพิ่มและพัฒนาศักยภาพของเจ้าพนักงานคดี การมีเจ้าพนักงานคดีไม่เพียงพอและไม่มีประสบการณ์นั้น สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดทำคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ ให้แก่เจ้าพนักงานคดี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างเจ้าพนักงานคดี การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาแนวทางในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอควรจัดให้มีการเผยแพร่แนวคำวินิจฉัยของศาล เพื่อจะได้พิจารณาได้ว่าคดีใดควรเป็นคดีผู้บริโภค เพราะการได้ทราบแนวคำวินิจฉัยจะทำให้เกิดความชัดเจน และทำให้คดีที่จะนำขึ้นสู่การวินิจฉัยลดน้อยลง ซึ่งก็จะสามารถแก้ไขปัญหาความล่าช้าของคดีได้บ้างให้ศาลฎีกาออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน ในหลายคดีที่ผู้บริโภคชนะในชั้นอุทธรณ์แต่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจมักจะขออนุญาตฎีกา ทำให้คดีล่าช้าไม่เสร็จไปโดยเร็ว ดังนั้นจึงเสนอให้ศาลฎีกา ออกข้อกำหนดประธานศาลฎีกา กำหนดเวลาพิจารณาคำสั่งการขออนุญาตฎีกาที่ชัดเจน เช่น ภายใน 60 หรือ 90 วัน เพื่อให้คดีผู้บริโภคเสร็จไปโดยเร็วพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมและการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค แม้กระบวนพิจารณาของคดีผู้บริโภคจะอยู่บนพื้นฐานของระบบไต่สวน แต่ในทางปฏิบัติผู้พิพากษาส่วนใหญ่มีภาระต้องพิจารณาทั้งคดีผู้บริโภค คดีแพ่งทั่วไปและคดีอาญาด้วย และยังเคยชินอยู่กับการพิจารณาคดีที่อยู่บนพื้นฐานของระบบกล่าวหาและยังขาดความชำนาญในการไต่สวน โดยศาลไม่ได้ใช้บทบาทในเชิงไต่สวนแต่กลับถามหาทนายความของฝ่ายผู้บริโภค             ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ในเชิงการบริหาร ด้วยการพัฒนาการบริหารงานของศาลยุติธรรมโดยแยกออกตามสายงานตามระบบการพิจารณาคดีแบบกล่าวหาและแบบไต่สวน เพื่อให้ผู้พิพากษามีความชำนาญและไม่เกิดความสับสนในบทบาทหน้าที่ และการจัดทำคู่มือตุลาการในการปฏิบัติหน้าที่ในคดีผู้บริโภค หรือการจัดตั้งศาลแผนกคดีผู้บริโภคเพื่อการพิจารณาคดีผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกันข้อมูลรศ. ดร. อนันต์ จันทรโอภากร. “ปัญหาข้อขัดข้องการบังคับใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 42,ฉบับที่ 3 (2556)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมิถุนายน 2558“หัวเชื้อกลิ่นแมงดา” ปลอดภัยถ้าใช้ตามปริมาณที่กำหนดจากกรณีที่มีการส่งต่อคลิปวิดีโอผ่านทางโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับการนำวัตถุแต่งกลิ่นรส “กลิ่นแมงดานา” หยดลงบนกล่องโฟมแล้วพบว่าสามารถทำให้กล่องโฟมละลายได้ สร้างความสงสัยและตกใจให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ร้อนถึงทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ต้องรีบออกมาชี้แจงถึงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว ซึ่ง อย. ยืนยันว่าวัตถุแต่งกลิ่นดังกล่าวได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในอาหาร และมีความปลอดภัยเมื่อใช้ในปริมาณที่กำหนดวัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาจัดเป็นอาหารที่ต้องมีฉลากประเภทวัตถุแต่งกลิ่นรสตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 223) พ.ศ. 2544 เรื่อง วัตถุแต่งกลิ่นรส ทั้งนี้ วัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาได้จากการผสมของสารสำคัญในกลุ่มสารอินทรีย์ที่ให้กลิ่นรสหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยสารอินทรีย์เหล่านี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่สามารถทำให้โฟมละลายได้ เนื่องจากโฟมมีคุณสมบัติสามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์เกือบทุกชนิด ผู้บริโภคสามารถใช้วัตถุแต่งกลิ่นรสกลิ่นแมงดานาเป็นส่วนผสมในอาหาร เพื่อเพิ่มกลิ่นรสได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หากใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลาก เพราะมีการใช้ในปริมาณที่น้อยมาก (ประมาณ 1 – 3 หยดต่อน้ำพริก 1 ถ้วย) ไม่ได้เทลงไปโดยตรงบนแผ่นโฟมในปริมาณมากดังที่ปรากฏในคลิปวิดีโอ “น้ำตาลฟลุกโตสไซรัป” มากไประวังตับพัง!!!ปัจจุบันคนไทยเรามีปัญหาเรื่องการนริโภคน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพ ยิ่งเดี๋ยวนี้คนไทยนิยมดื่มเครื่องดื่มบรรจุขวดกันมากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง แถมหลายยี่ห้อยังเลือกใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์แทนน้ำตาลทราย เพราะให้ความหวานมากกว่าแต่ต้นทุนถูกกว่า ซึ่งน้ำตาลสังเคราะห์ก็มีอันตรายต่อสุขภาพไม่แพ้น้ำตาลทรายหากรับประทานในปริมาณมากเกินไปทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเตือนผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลสังเคราะห์เป็นประจำให้ระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เนื่องจากน้ำตาลสังเคราะห์หากรับประทานมากเกินไปแล้วร่างกายเผาผลาญไม่หมด น้ำตาลสังเคราะห์จะเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้อ้วนลงพุง ที่สำคัญคือเป็นอันตรายต่อตับ เพราะน้ำตาลประเภทนี้เมื่อเข้าไปในร่างกายจะตรงไปที่ตับก่อน แต่เมื่อร่างกายจะดึงพลังงานไปใช้ จะเลือกดึงน้ำตาลจากส่วนอื่นของร่างกายก่อนตับ เมื่อเผาผลาญหรือใช้ไม่หมดก็จะเกาะอยู่ที่ตับ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค ตับอักเสบ และตับแข็งสถานการณ์การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปของคนไทยถือว่าอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง มีผลวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 83.6 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 16.7 ช้อนชา ทั้งๆ ที่ปริมาณที่เหมาะสมต่อการรับประทานใน 1 วันคือไม่เกิน 6 ช้อนชาเท่านั้นยา 2 มาตรฐาน?!!จากการที่ก่อนหน้านี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าทำไมราคายาหลายๆ ชนิดที่จ่ายโดยโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งจึงมีราคาสูงกว่ายาที่จ่ายโดยโรงพยาบาลของรัฐ จนนำไปสู่กระแสข่าวลือที่ว่า ยาที่วางขายในประเทศมี 2 เกรด โดยยาราคาถูกจะผสมแป้งหรือสารอื่นที่ไม่ใช่ตัวยาสำคัญปริมาณมากเพื่อลดต้นทุน ซึ่งนั่นเป็นการส่งผลให้ยาด้อยคุณภาพลง ทำให้ อย. ซึ่งหน่วยที่รับผิดชอบในเรื่องการนำเข้า ผลิต และจำหน่ายยาในประเทศ ต้องออกมาชี้แจงว่าเรื่องดังกล่าวเป็นแค่ข่าวลือเท่านั้น ผลิตภัณฑ์ยา ต้องได้รับการกำกับดูแลโดย อย. ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 โดยกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะผลิต ขาย นำเข้า มาในประเทศ จะต้องได้รับใบอนุญาตฯ และผลิตภัณฑ์ยาทุกตำรับจะต้องผ่านการพิจารณาตามหลักวิชาการก่อนที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งในส่วนของสูตรตำรับ วิธีการผลิต และการควบคุมคุณภาพ การแสดงฉลาก ฯลฯโดย อย. ยืนยันว่ามีมาตรการในการเฝ้าระวังคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยาที่มีการกระจายอยู่ในท้องตลาด เช่น โครงการเฝ้าระวังคุณภาพยาประจำปี ซึ่งมีการกำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์ยาที่มีความเสี่ยง เช่น ยาสำหรับกลุ่มโรคเรื้อรัง ยาที่มีปริมาณการใช้สูง ยาที่มีความคงตัวต่ำ เป็นต้น และมีการเก็บตัวอย่างจากผู้ผลิต/ผู้นำหรือสั่งยาฯ ส่งวิเคราะห์คุณภาพที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยาที่ผู้บริโภคจะได้รับมีคุณภาพ ความปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการใช้ตามที่ได้มีการขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้หมึกสักลาย ปนเปื้อนโลหะหนัก - แบคทีเรีย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างหมึกสำหรับสักลาย 52 ตัวอย่าง เพื่อประเมินคุณภาพและความปลอดภัย จากผลวิเคราะห์พบ สารหนูเกินมาตรฐานที่กำหนดที่ 5 ไมโครกรัมต่อกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง ไมโครกรัมต่อกรัม ส่วน แคดเมียมเกินมาตรฐานที่กำหนดที่ 1 ไมโครกรัมต่อกรัม จำนวน 4 และตะกั่วพบ 2 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐานกำหนดที่20 ไมโครกรัมต่อกรัม แต่ไม่พบปรอทและสีห้ามใช้ในทุกตัวอย่าง สำหรับการตรวจหาเชื้อก่อโรค พบเชื้อแบคทีเรียเกินกำหนด 13 ตัวอย่าง และพบเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา 1 ตัวอย่าง จำนวนที่ปนเปื้อนอยู่ในระดับ 35,000 - 10,000,000 โคโลนีต่อกรัม ซึ่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้ไม่เกิน 1,000 โคโลนีต่อกรัมหมึกสักลายที่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลานานจะเกิดการสะสมที่บริเวณผิวหนัง และอาจเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง ส่วนเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา สามารถก่อโรคได้หลายชนิด หากติดเชื้อที่ปอดอาจจะทำให้ปอดและหลอดลมอักเสบ รวมถึงหากได้รับเชื้อทางผิวหนังอาจจะทำให้เกิดโรคทางผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวม แดง ผิวหนังแข็ง กลายเป็นเนื้อตาย ซึ่งปัจจุบันนี้หมึกสักลาย ไม่ได้ใช้เฉพาะผู้ที่สักรายสวยงามตามร่างกายเท่านั้น แต่ยังใช้ในกลุ่มเสริมความงาน เช่น สักคิ้ว สักริมฝีปากอีกด้วย ซึ่ง อย. กำลังพิจารณาที่หมึกสักเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องสำอางเพื่อให้มีมาตรฐานและการควบคุมที่ชัดเจนมากขึ้นร่วมลงชื่อสนับสนุนกฎหมายผู้บริโภคที่ change.orgคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ขอเชิญชวนผู้บริโภคทั่วประเทศร่วมลงชื่อสนับสนุน 2 กิจกรรมรณรงค์ผลักดันให้เกิดกฎหมายดีๆ เพื่อผู้บริโภคในประเทศไทย ประกอบด้วย 1. “ลงชื่อสนับสนุนให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป” หลังจากรอมา 18 ปี ถึงเวลาเสียทีที่กฎหมายสำหรับผู้บริโภคจะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย และ 2. “ลงชื่อสนับสนุนเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรในผลิตภัณฑ์อาหาร” คนไทยกำลังเผชิญกับภาวะน้ำหนักเกิน นั่นเป็นเพราะเรายังขาดความรู้เรื่องโภชนการที่ถูกต้อง จะดีกว่ามั้ย? ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้ทันว่าตัวเองกำลังกินอะไร ด้วยฉลากที่บอกปริมาณสารอาหารอย่าง น้ำตาล ไขมัน เกลือ พลังงาน ด้วยสีสัญญาณไฟจราจรโดยสามารถร่วมลงชื่อสนับสนุนทั้ง 2 กิจกรรมรณรงค์ได้ที่ www.change.org/th หรือลิงค์ที่อยู่ในหน้าเพจเฟซบุ๊ค องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทุกเสียงมีความหมาย มาช่วยกันเปลี่ยนแปลงระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 119 เจาะเวลาทะลุฟ้า..ดันเจอยาอนาคต

  กฎหมายยากำหนดให้ยาที่ผลิต ต้องแสดงวันผลิต วันหมดอายุ ให้ตรงตามความเป็นจริง ... แต่อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อดันมียาแห่งอนาคต เจาะเวลาทะลุฟ้าหล่นมายังโลกมนุษย์ได้ ประมาณเดือนสิงหาคม 2553 กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน ให้ช่วยตรวจสอบยาน้ำสมุนไพรสามัญประจำบ้านแผนโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในพื้นที่ (สมมุติว่าชื่อยาต้นกำลังเสือโครกโครก ตรารูปหมอ......ก็ได้) เหตุที่ชาวบ้านเขาสงสัยก็เพราะเมื่อใครรับประทานเข้าไปแล้ว อาการปวดเมื่อยตามข้อ มันหายเป็นปลิดทิ้ง น้องต้นเภสัชกรหนุ่มรูปหล่อไฟแรง(เหมือนผมสมัย 20 ปีที่แล้ว..ฮา) จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ เลยออกไปเก็บตัวอย่างและนำส่งไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์พิษณุโลก   ผลปรากฏว่าเจ้ายาเสือโครกโครก (นามสมมมุติ) ขวดนั้น มันไม่ใช่เสือนะซิ เพราะดันผ่าไปพบ เดกซาเมธาโซน ซึ่งเป็นสารสเตียรอยด์ ชนิดหนึ่ง (ขอย้ำอีกครั้งกันลืมว่า เจ้าสารสเตียรอยด์นั้นแม้จะเป็นสารที่ทำให้หายปวดข้อได้ชะงัด แต่มันก็มีผลทำลายภูมิต้านทาน หากรับประทานนานๆ ตัวจะบวม กระเพาะทะลุ กระดูกจะพรุน โอ๊ย..จาระไนไม่หมดครับ เพราะโทษมหันต์จริงๆ)  ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ ก็เลยทำหนังสือแจ้งทั้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เป็นสถานที่ผลิต รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และยังได้ทำหนังสือแจ้งให้ทางอำเภอต่างๆ ในจังหวัดอุตรดิตถ์เฝ้าระวังด้วย   แต่เหตุการณ์มันยังไม่จบนะครับ เพราะต่อมาอำเภอตรอนได้แจ้งว่ามีรถเร่ฉายหนังขายยา นำยาดังกล่าวมาขาย(การเร่ขายยาถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายยาครับ) เมื่อไปล่อซื้อยาน้ำแผนโบราณ เพื่อจะส่งตรวจสอบ ปรากฏว่า แม่เจ้า (โว๊ย) ฉลากมันพิสดารข้ามเวลา เพราะเหตุการณ์เกิดประมาณ “เดือนตุลาคม 2553” แต่ฉลากข้างขวดยา ดันระบุ วัน เดือน ปี ที่ผลิต “1 มกราคม 2554” และวันสิ้นอายุ 1 มกราคม 2556 โอโห้แฮะ ผู้ผลิตมันเจาะฟ้าข้ามเวลา มาผลิตยาล่วงหน้าให้โลกอนาคตได้ด้วยเรอะ อย่างนี้มันก็เข้าข่ายยาปลอมนะซิ (เพราะแสดงวัน ที่ ไม่ตรงความเป็นจริง)  นอกจากนี้ ผลการนำกำลังเข้าตรวจสอบ รถบรรทุก 6 ล้อ 2 คัน มียารวมๆ กันแล้วกว่า 150 โหล ซึ่งผู้ขายยืนยันว่าสั่งซื้อมาจากผู้ผลิต ตำรวจจึงลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แต่ท่าทางผู้ขายจะไม่เดือดร้อนเลยแฮะ เพราะบอกว่าจะติดต่อหมอ.......มาเคลียให้ ...โอ้โห คาหนังคาเขาอย่างงี้จะมาเคลียร์อีกเรอะ  ขณะนี้กำลังรอผลวิเคราะห์จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ อยู่นะครับ หากยาที่ผลิตจากโลกอนาคต ดันเจอ สเตียรอยด์ อีกละก็ รับรองโดนดำเนินคดีหลายกระทง ชนิดที่ต้นกำลังเสือโครกโครกจะกลายเป็นแมวหงอยเลยนะซิ ยังไงก็ช่วยกันบอกเล่าต่อๆ กันเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >