ฉบับที่ 205 สั่งซอสปรุงรสออนไลน์ ไม่พบฉลาก

แม้การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์จะช่วยอำนวยความสะดวกหลายประการ แต่อุปสรรคหนึ่งที่ผู้บริโภคหลายคนต้องพบ มักหนีไม่พ้นเรื่องคุณภาพหรือมาตรฐานของสินค้านั้นๆ หากปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นกับเรา จะสามารถจัดการได้อย่างไรบ้าง ลองไปดูกันคุณสมชายเป็นคนชอบทำอาหาร และเห็นว่าพิธีกรรายการอาหารที่ตนเองชื่นชอบทำซอสปรุงรสขาย เขาจึงตัดสินใจสั่งซื้อมาทดลองประกอบอาหารดู เพราะเห็นการโฆษณาว่าซอสนี้ปรุงอาหารอะไรก็อร่อย อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับสินค้าแล้วเรียบร้อย เขากลับพบว่าสินค้าดังกล่าวมีเพียงฉลากชื่อยี่ห้อที่ระบุว่าเป็น “ซอสตราไก่” เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดอื่นๆ เช่น เลข อย. ส่วนประกอบหรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุ ทำให้คุณสมชายไม่มั่นใจว่า ซอสที่ได้รับมาเป็นสินค้าที่ได้มาตรฐานจริงหรือไม่ จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งรายละเอียดเกี่ยวกับโฆษณาขายซอสดังกล่าว พร้อมภาพถ่ายหรือสินค้าตัวจริงมาให้ ซึ่งภายหลังการตรวจสอบพบว่าไม่มีเลขการจดทะเบียน อย. ฉลากโภชนาการ หรือวันเดือนปีที่ผลิต/ หมดอายุตามที่ผู้ร้องร้องเรียนจริง จึงช่วยทำจดหมายไปยัง อย. เพื่อขอให้มีการตรวจสอบซอสดังกล่าวเนื่องจากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 200) พ.ศ. 2543 เรื่องซอสในภาชนะบรรจุปิดสนิท กำหนดให้ซอสเป็นอาหารที่ถูกควบคุม และซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก โดยต้องแสดงให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งหากพบว่าการผลิตซอสและจำหน่ายซอสที่ไม่มีฉลากและข้อความบนฉลากที่ถูกต้อง จะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ฉลากเขียว สัญลักษณ์เพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประชากรโลก ทำให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประเด็นกระแสที่ถูกพูดถึงไม่จบสิ้น เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทำให้ผู้คนหลายๆ ประเทศตื่นตัวและตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกันผ่านการริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดโลกร้อน เช่น การใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงหรือใช้ถุงผ้าทดแทน การยกเลิกพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม การไม่ใช้หลอดพลาสติก เหล่านี้เป็นยุทธวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนให้รักษ์โลกมากขึ้น เช่นเดียวกันกับโครงการฉลากเขียว ที่หลายๆ คน อาจจะเคยบังเอิญสังเกตเห็น ฉลากสีเขียววงกลมที่มีรูปนก ต้นไม้และหน้าเด็กยิ้ม ชวนให้สงสัยว่าฉลากสีเขียวนี้คืออะไร และเป็นประโยชน์กับเราอย่างไรฉลากเขียวคืออะไร ? ฉลากเขียว (Green label) หรือฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (eco-label) เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 (ตาม ISO) ที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าชิ้นนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนการกำจัดทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน โดยมีองค์กรกลางเป็นผู้ให้การรับรองวิวัฒนาการของฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ eco-label  เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมนีเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย ฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich (Environment Friendly) มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen (Environment Label) ในปี พ.ศ. 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มสหภาพยุโรปเอง ก็มีฉลาก EU-Eco Label หรือที่เรียกว่า EU – Flower ของสหภาพยุโรป เป็นตราสัญลักษณ์ฉลากสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศในสหภาพยุโรปที่แสดงให้เห็นว่า สินค้าเหล่านั้นมีการผลิตและได้รับการรับรองแล้วว่ามีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบในการผลิต กระบวนการผลิตเป็นสินค้า และผลกระทบของคุณภาพสินค้าต่อผู้บริโภค เช่น การรักษาคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และเสียง รวมทั้งเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยพิจารณาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต ทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกาจัดกากเหลือใช้หรือการนากลับมาใช้ใหม่ EU Eco-label มีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกไม้และมีรูปตัวอีคล้ายสัญลักษณ์ของเงินยูโรแทนเกสรดอกไม้ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปี 2536สำหรับประเทศไทย โครงการฉลากเขียวริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Thailand Business Council for Sustainable Development (TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2536 โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียวเกิดขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานอิสระที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริโภค มีความเป็นกลาง โปร่งใส เชื่อถือได้ โดยมีการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าสีเขียวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดนำหน่ายโดยอิสระเท่านั้นฉลากเขียว เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ตามมาตรฐาน ISO14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2537 โดยฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงานGenesis (เจเนซิส) ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก Global Ecolabelling Network (GEN) มีสมาชิกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) และในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก อาจลงนามบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding (MOU) ร่วมกันเพื่อดำเนินงานร่วมกันระดับองค์กร ในการยอมรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์เดียวกันปัจจุบันฉลากเขียวได้ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันกับหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ เพื่อการรับสมัครขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม และ การตรวจประเมินสถานประกอบการ (On-Site Assessment) แทนกันของประเทศที่มีความร่วมมือ ในการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย และเยอรมนีนอกจากนี้ ฉลากเขียวยังได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ถูกนำเข้าหรือส่งออกในตลาดระหว่างประเทศ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printers) เครื่องถ่ายเอกสาร (Copiers) และผลิตภัณฑ์เครื่องฉายดิจิตอล (Digital Projectors)แนวคิดและวัตถุประสงค์ของโครงการฉลากเขียว ฉลากเขียวเป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด โดยความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค โดยการกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาด รวมถึงกระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อม และลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในสังคม ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการฉลากเขียว มาจากแนวคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ 2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน 3. ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยผู้บริโภคได้อะไรจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวนั้นมีข้อกำหนดและการพิจารณาแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งในแง่การผลิต การใช้ การทิ้งทำลาย และความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ เรียกว่าครบทั้งวงจรวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งจะคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การใช้และการกำจัดทิ้งหลังการใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก 3R คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  การที่ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียวยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่ามีคุณภาพสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีความปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นอันตราย เนื่องจากมีการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้บริโภคยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัยอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์ที่สามารถขอการรับรองฉลากเขียวได้นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สินค้า และบริการ (บางประเภท) ยกเว้น ยา เครื่องดื่ม และอาหาร เนื่องจากการติดฉลากเขียวบนผลิตภัณฑ์ยา เครื่องดื่มและอาหาร มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในการบริโภค เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคได้ ปัจจุบันฉลากเขียวของประเทศไทย มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมให้ผู้ผลิตยื่นขอรับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวแล้ว จำนวน 124 ผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียว รวมทั้งสิ้น 674 รุ่น ใน 30 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และ 72 บริษัท/ผู้ผลิต (ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว) (ข้อมูลเผยแพร่ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ประจำเดือน ม.ค.2561; http://www.tei.or.th/greenlabel/download/2018-01-Name-GL-th.pdf) โดยผู้บริโภคสามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว และรายชื่อห้องปฏิบัติการทดสอบที่ยอมรับผลโดยฉลากเขียว (ISO/IEC 17025) ได้ที่เว็บไซต์ www.tei.or.th/greenlabel นอกจากฉลากเขียวแล้ว ภาครัฐยังมีการส่งเสริมระบบการติดฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ฉลากคาร์บอน ฉลากประหยัดพลังงาน ฉลากรับรองไม่ทำลายป่าไม้ ฉลากลดการใช้น้ำ และเกียรติบัตรใบไม้สีเขียวสำหรับธุรกิจโรงแรม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า สินค้านั้นๆ มีคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันที่ไม่มีฉลากรับรอง ทั้งนี้ การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้เราทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อหาหรือใช้บริการอย่างปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้มีการแสดงหรือระบุข้อความบนฉลากตามข้อกฎหมาย โดยฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า โดยหากผู้บริโภคพบเจอสินค้าที่มีข้อความบนฉลากที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้ดำเนินการกับผู้ประกอบการที่กระทำผิดตามกฎหมายได้ ในฐานะพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Active Citizen) อย่างเราๆ การเลือกสรรหรือลดการบริโภคด้วยการเริ่มเป็นผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumers) ที่รู้จักประมาณการบริโภคและตระหนักว่า การบริโภคทุกอย่างล้วนส่งผลกระทบต่อตนเองและสังคม การเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ก็นับเป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่การบริโภคที่พอเพียงบนวิถีแห่งการรักษ์โลกที่แท้จริงเช่นกันแหล่งข้อมูลอ้างอิง- www.tei.or.th/greenlabel- ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (https://progreencenter.org)- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)สัญลักษณ์สีเขียวมีรูปหน้าเด็กยิ้ม ต้นไม้และนกที่อยู่ร่วมกันในโลกที่เห็นนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “ฉลากเขียว” ของประเทศไทย -----------------------------------------------------------------------------ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)“ฉลากสิ่งแวดล้อม” เป็นกลไกการสื่อสารและบ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภครับทราบ โดยฉลากสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ     ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)เป็นฉลากที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด โดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third party) โดยจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Consideration) ในประเทศไทยมีการออกฉลากประเภทที่ 1 ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ฉลากเขียว” ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก จะเป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง (Self-declared Environmental Claims)  ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น โดยฉลากนี้ จะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)เป็นฉลากที่บ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environmental information) โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เข้ามาประเมิน ตามมาตรฐาน ISO 14040 โดยฉลากนี้ จะมีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรกลางในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะประกาศลงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ผิวเต่งตึงด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (ตอนที่ 2)

มาต่อกันกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารสำคัญสำหรับเซลล์ผิวหนัง ในการช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นทำให้ผิวไม่แห้งตึง โดยฉบับที่ผ่านมาเราได้พูดถึงกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกันไปแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันบ้าง มารู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันสักนิดผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเสริมมีความหมายเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วอาหารทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยตรงที่ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ และไม่สามารถใช้รับประทานแทนอาหารหลักได้ โดยมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ และอยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติรับประทาน ในขณะที่ “อาหารเสริม” จะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากอาหารจริงๆ เช่น ฟักทองบด ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก หรือ โจ๊กปั่น ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกินอาหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้กินเป็นมื้อเสริมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินบางชนิดที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย โดยผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเองได้ตามท้องตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องมีการควบคุมคุณภาพและได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งผู้บริโภคควรตรวจสอบก่อนซื้อมารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกแม้ปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกจำนวนมาก ซึ่งผู้บริโภคหลายคนรับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว และเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยชะลอความเหี่ยวย่นได้จริง แต่เราไม่ควรลืมว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอาหารประเภทหนึ่ง ซึ่งช่วยเสริมสารอาหารบางอย่างให้กับร่างกายตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และไม่ควรถูกโฆษณาอวดอ้างในลักษณะสรรพคุณทางยาหรือเครื่องสำอาง เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย บำรุงหัวใจ ลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่ง กระชับรูขุมขนหรือลดรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อตามท้องตลาด มักโฆษณาว่ามีฤทธิ์หรือให้สรรพคุณคล้ายกับยารักษาโรค จนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดได้เราจึงควรสำรวจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนตัดสินใจซื้อด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการอ่านฉลาก ซึ่งหากพบว่ามีเลขสารบบอาหาร 13 หลักก็แสดงให้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหารและไม่มีสรรพคุณทางยาใดๆ แต่หากพบว่ามีเลขทะเบียนยา เช่น Reg. No. …/.. ก็หมายถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นยารักษาโรค ซึ่งเราสามารถคาดหวังสรรพคุณหรือการออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ บำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือให้ออกฤทธิ์ในการเติมเต็มร่องลึกและทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น แต่ทั้งนี้ประสิทธิผลก็ขึ้นอยู่กับการดูดซึมของร่างกายแต่ละคนด้วยวิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนอกจากเราควรตรวจสอบเลขสารบบอาหาร 13 หลักแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคต้องระบุ ดังนี้1. ชื่ออาหาร โดยมีคำว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหารหรือกำกับชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า (แล้วแต่กรณี) 4. ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ 5. ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และส่วนประกอบที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ในฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” (ถ้ามี) 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” (ถ้ามี) 8. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” (ถ้ามี) 9. ข้อความชัดเจนว่า “การได้รับสารอาหารต่างๆ นั้น ควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิดครบทั้ง 5 หมู่ และเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ” 10. คำแนะนำในการใช้ 11. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 12. วันเดือนและปีที่ผลิต/ หมดอายุการบริโภค ทั้งนี้การแสดงข้อความตามข้อ (12) ต้องมีข้อความที่ฉลากระบุตำแหน่งที่แสดงข้อความดังกล่าวด้วย 13. คำเตือนการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) และคำเตือนการบริโภคอาหาร 14. ข้อมูลเฉพาะอื่นๆ ถ้าเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ หรือฉลากโภชนาการ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 ก่อนซื้อเครื่องสำอาง อย่าลืมดูฉลาก

สาวๆ หลายคนที่ชื่นชอบการแต่งหน้า อาจเคยเผลอซื้อเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งบางคนอาจโชคดีไม่เกิดอาการแพ้ใดๆ แต่ไม่ใช่กับผู้ร้องรายนี้ คุณปาริชาตร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ว่า เธอซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากร้าน  K'Saranon Beauty and Herb  ที่ตั้งอยู่หลังตึกการบินไทยมาใช้ ซึ่งหลังใช้แล้วเกิดอาการคัน แพ้ แสบปาก และเมื่อตรวจสอบสินค้าดูอีกครั้งก็พบว่ากล่องก็ไม่มีฉลากภาษาไทย เธอจึงกลับไปที่ร้านเพื่อขอคืนสินค้า แต่แม่ค้าไม่ยินยอม โดยอ้างว่าเป็นของแท้และไม่คืนเงินให้ อย่างไรก็ตามจะให้เปลี่ยนเป็นสินค้าอื่นภายในร้านแทนด้านคุณปาริชาตไม่มั่นใจว่าสินค้าอื่นๆ จะได้มาตรฐานหรือเปล่า จึงไม่ต้องการแลกสินค้าและถ่ายรูปร้านค้าไว้ ทำให้แม่ค้าแจ้งว่าจะไม่ขายสินค้ายี่ห้อดังกล่าวแล้ว และจะคืนเงินให้ 60% แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีการติดต่อกลับมาแต่อย่างใด เธอจึงส่งเรื่องมายังศูนย์ฯ เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ ช่วยผู้ร้องด้วยการทำหนังสือถึง อย. เพื่อให้มีการเข้าไปตรวจสอบร้านค้าดังกล่าว ซึ่งภายหลังการดำเนินการ อย. ได้แจ้งกลับมาว่า สถานที่จำหน่ายเครื่องสำอางตามที่ผู้ร้องได้แจ้งมานั้นปิดทำการไปแล้ว โดยได้มีการเข้าตรวจสอบหลายครั้งก็ไม่พบว่าร้านเปิดทำการอีกเลย ทำให้ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ อย่างไรก็ตามทาง อย. จะติดตามผลต่อไป และหากพบว่าทางร้านกระทำผิดจริงหรือจำหน่ายสินค้าไม่ได้มาตรฐานก็จะสั่งระงับการขายทันที ทั้งนี้สำหรับผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรตรวจสอบฉลากภาษาไทยก่อนซื้อทุกครั้ง โดยอย่างน้อยฉลากต้องระบุข้อความดังนี้ (1) ชื่อเครื่องสำอาง (2) ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง (3) ส่วนประกอบ (4) วิธีใช้ (5) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/นำเข้า (6) ปริมาณสุทธิ (7) เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต (8) เดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งต้องมีเลขที่จดแจ้ง 10 หลัก ซึ่งเราสามารถนำเลขดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์สืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของ อย. หรือ http://164.115.28.102/FDA_SEARCH_CENTER/PRODUCT/FRM_SEARCH_CMT.aspx เพื่อดูว่าเป็นเครื่องสำอางที่ได้รับการอนุญาตให้ขายจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่าชื่อจดแจ้งข้างกล่องกับในเว็บไซต์ไม่ตรงกันก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเครื่องสำอางดังกล่าวอาจไม่ปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 ส่องฉลากสบู่สมุนไพร สูตรกระจ่างใส

ในเล่มที่ผ่านมาเราเคยส่องฉลากสบู่ฆ่าเชื้อและสบู่สมุนไพร สูตรลดสิวกันไปแล้ว คราวนี้กลับมาพบกันอีกครั้งกับ “สบู่สมุนไพร สูตรกระจ่างใส” ซึ่งถือเป็นสูตรที่ขายดีที่สุดอันดับหนึ่งในตลาดสบู่* เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามด้วยสรรพคุณตามคำโฆษณาของสบู่สมุนไพรเหล่านี้ เช่น ปรับผิวให้ขาวเนียนใส ไร้ริ้วรอย  สว่างออร่า มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือแม้แต่ช่วยเร่งการสร้างคอลลาเจน ส่งผลให้ราคาของสบู่สมุนไพรหลายยี่ห้อสูงกว่าสบู่ธรรมดาหลายเท่าตัว จนหลายคนอาจลืมไปว่าสบู่ดังกล่าวเป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เพื่อความสะอาด ความสวยงามเท่านั้น โดยไม่สามารถอ้างว่า บำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค ความเจ็บป่วย มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายได้ เพราะหากทำได้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะกลายเป็นยารักษาโรคแทน  ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาส่องฉลากสบู่สมุนไพรที่เน้นสรรพคุณว่าช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างหรือแตกต่างจากสบู่ธรรมดาทั่วไปอย่างไร เราลองไปดูกันเลย*หมายเหตุ อ้างอิงจากตลาดสบู่ ในเดือนมีนาคม 2560  ซึ่งจัดทำโดย ลอรีอัล (Marketeer) พบว่า มีมูลค่าตลาดรวม 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1. สบู่บิวตี้ 43% 2. สบู่ฆ่าเชื้อเพื่อสุขภาพ 25% 3. สบู่สมุนไพร 17% 4. สบู่เด็ก 10% 5. อื่นๆ 5%ผลการดูฉลากสบู่สูตรผิวใส1. อิงอรสูตร: ผสมทองพันชั่งแท้ปริมาณสุทธิ: 160 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : น้ำมันธรรมชาติ โซเดียมไฮดรอกไซด์ กลีเซอรีน สมุนไพรมะขาม ทองพันชั่ง วิตามินซี เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5320540ราคา: 29.5 บาท (0.2 บาท/กรัม)2. เทพสมุนไพรสูตร: อโรมา สครับ เชง หนงปริมาณสุทธิ: 100 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : ชาเขียว, ขิง, มะละกอAqua, Sodium Palmitate, Sodium Palm Kernelate, Glycerin, Fragranceเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5207519ราคา: 29 บาท (0.3 บาท/กรัม)3. นกแก้วสูตร: มะขาม ขมิ้น น้ำผึ้งปริมาณสุทธิ: 75 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palm Kernelate or Sodium Cocoate, Sodium Palmate, Palm Kernelate Acid, Palm Acid, Glycerin, Sodium Chloride, Fragrance, Lactic Acid, Salicylic Acid, Camphor, Triclosan, Tamarindus Indica Fruit Extract, Butylene Glycol, Curcuma Longa (Turmeric) Root Extract, Honey Extractเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5874818ราคา: 20 บาท (0.3 บาท/กรัม)4. BENNETT เบนเนทสูตร: วิตามินซีและอีปริมาณสุทธิ: 130 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Natural soap, Glycerin, Vitamin C, Orange rind oil Herbal oil, Vitamin Eเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5318626ราคา: 40 บาท (0.3 บาท/กรัม)5. Citra ซิตร้าสูตร: ผงไข่มุก (มะขาม น้ำนมข้าวและ AHA)ปริมาณสุทธิ: 110 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Elaeis guineensis (Palm) oil, Oryza sativa (Rice) barn oil, Cocos Nucifera (Coconut) Oil, Sodium Hydroxide, Glycerin, Fragrance, Microcrystalline cellulose, Sucrose, Zea mays (Corn) Starch Melaleuca alternifolia (Tea tree) leaf oil, BHT, Ascorbic acid, Caprylic/capric triglyceride, Lactic acid, Tamarindus Indica Fruit Extract, Pearl extract, Potassium sorbate, Xanthan gumเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5910003270 ราคา: 48 บาท (0.4 บาท/กรัม)6. Sille ซิลลี่สูตร: มะขาม ขมิ้น ขิงปริมาณสุทธิ: 110 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : น้ำมันมะพร้าว น้ำ น้ำหอม โซเดียมไฮดรอกไซด์ สารสกัดมะขาม สารสกัดขมิ้น สารสกัดขิง ไทเทเนียม ไดอ็อกไซด์ เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5311945ราคา: 39.5 บาท (0.4 บาท/กรัม)7. ธัญญะสูตร: มะขาม AHA& Vitamin Cปริมาณสุทธิ: 120 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palmitate, Tamarindus Indica L., Rhinacanthus Nasutus, Fragranceเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5202853ราคา: 48 บาท (0.4 บาท/กรัม)8. KOKLIANG ก๊กเลี้ยงสูตร: Snow Lotus สโนว์ โลตัสปริมาณสุทธิ: 90 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palmitate, Sodium Palm Kernelate, Glycerin, Vitamin E, Fragrance, Saussurea Involucrata Extract, Centella Asiatica Extract, Borneol, Aloe Barbadensis Leaf Extract, Jasmine Tea Extract, CI74160 เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5873611ราคา: 35 บาท (0.4 บาท/กรัม)9. Protex โพรเทคส์สูตร: มะขาม ขมิ้น ทานาคาปริมาณสุทธิ: 130 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palm Kernelate or Sodium Cocoate, Sodium Palmate, Fragrance, Tocopheryl Acetate (Vitamin E), Sodium Ascorbyl Phosphate (Vitamin CCurcuma Longa (Turmeric) Extract, Camellia Sinensis Leaf Extract, Limonia acidissima (Thanaka) Extract, Tocopherol (Vitamin E)เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5908279ราคา: 48 บาท (0.4 บาท/กรัม)10. K. BROTHERSสูตร: สารสกัดเฮอร์คิวมินปริมาณสุทธิ: 110 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ: น้ำมันมะพร้าว โซเดียมไฮดรอกไซด์ ไทเทเนียม ไดออกไซด์ สารสกัดเฮอร์คิวมิน น้ำหอม น้ำเลขที่ใบรับแจ้ง: 24-1-5400053ราคา: 39.5 บาท (0.4 บาท/กรัม)11. SUPAPORN สุภาภรณ์สูตร: มะขาม+มะเฟืองปริมาณสุทธิ: 100 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Elaeis Guineensis Oil, Cocos Nucifera Oil, Sodium Hydroxide, Perfume, Camphor, Oryza Sativa Germ Oil, Copernicia Cerifera wax, Tamarindus Indica Heart Wood, Sodium Gluconate, Sodium Lactate, Borneol, Etidronic Acid, BHT, Salicylic Acid, Curcuma Aromatica Powder, Averrhoa Carambola Fruit Extract, Tamarindus Indica Fruit Extract,เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5511791ราคา: 49 บาท (0.5 บาท/กรัม)12. De leaf THANAKA เดอ ลีฟ ทานาคาสูตร: มอยส์เจอร์ไรซิ่ง แอนด์ ไวท์เทนนิ่งปริมาณสุทธิ: 100 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palm Kernelate, Sodium Cocoate (Coconut oil), limonia acidissima bark powder (Thanaka Powder), Fragrance, Curcuma Longa Root Powder (Turmeric), Glycerin, Tocopheryl Acetate (Vitamin E), Nicotinamide (Vitamin B3), limonia acidissima extract (Thanaka Extract) เลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5712945ราคา: 45 บาท (0.5 บาท/กรัม)13. PARN VIMARN ปานวิมานสูตร: ขมิ้นชัน ผสมทานาคาปริมาณสุทธิ: 125 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Cocos Nucifera Oil, Elaeis Guineensis Oil, Sodium Hydroxide, Perfume, Glycerin, Galanga rhizomes extract, Butyrospermum parkii (shea) butter extract, Olea europaea (olive) fruit oil, Tocopheryl Acetate, Limonia acidissima bark extract, Curcuma longa root extractเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5631586ราคา: 80 บาท (0.6 บาท/กรัม)14. Lavenze ลาเวนเซ่สูตร: น้ำนมข้าวหอมมะลิปริมาณสุทธิ: 90 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Sodium Palm Kernelate, Sodium Cocoate (Coconut oil), Rice, Milk Fragrance, Glycerin, Tocopheryl Acetate (Vitamin E), Oryza Sativa (Rice) Extractเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5635553ราคา: 65 บาท (0.7 บาท/กรัม)15. GIFU กิฟุสูตร: ถ่าน ลาวาภูเขาไฟปริมาณสุทธิ: 70 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Palmitic Acid, Lauric Acid, Propylene Glycol, Sodium Laureth Sulfate, Stearic Acid, PEG-40 Glyceryl Cocoate, Sodium Coceth Sulfate, Etidronic Acid, Charcoal Powder, Lava Powder, Sericinเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-6001000ราคา: 59 บาท (0.8 บาท/กรัม)16. สวนสมุนไพรอุ่นหนาฝาคั่งสูตร: น้ำผึ้งนางพญาปริมาณสุทธิ: 130 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : พญายอ, ลิ้นทะเล, น้ำมันสมุนไพรมะพร้าว, JRD, น้ำมันงาเชย, น้ำมันรำข้าวสีนิลเลขที่ใบรับแจ้ง: 13-1-5400173ราคา: 119 บาท (0.9 บาท/กรัม)17. TANAKAสูตร: Perfect white soapปริมาณสุทธิ: 65 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Aqua, Sodium Palmitate, Sodium Palmkernal, Sodium Cocoate, Glycerin, Sodium Laureth Sulfate, Niacinamide (vitamin b3), Fragrance oil, Tocopherol, Trehaloseเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-5938334ราคา: 120 บาท (1.8 บาท/กรัม)18. OAB’S SOAP โอปโซฟสูตร: Moonlight Honey Drop มูนไลท์ ฮันนี่ ดรอปปริมาณสุทธิ: 80 กรัมส่วนประกอบที่น่าสนใจ : Palmitic Acid, Stearic Acid, PEG-40 Hydrogenated castor oil, Decyl glucoside, Lauric Acid, Myristic acid, Fragrance, Wild Honey, Manuka honey, Bitter honey, Sodium chloride, Niacinamide, Evening primrose oil, Passion fruit extract, Citrus lemon fruit extractเลขที่ใบรับแจ้ง: 10-1-6010024812 ราคา: 250 บาท (3 บาท/กรัม)ข้อสังเกต1.มีบางยี่ห้อที่มีเลขที่จดแจ้ง 13 หลัก ซึ่งต่างจากเดิมที่มีแค่ 10 หลัก โดยทาง อย. ได้ชี้แจงว่าปัจจุบันได้มีผู้จดทะเบียนเครื่องสำอางมากขึ้น ทำให้เลขที่จดแจ้งของเครื่องสำอางเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรตรวจสอบความถูกต้องของเลขที่จดแจ้งก่อนทุกครั้ง ผ่านการสืบค้นข้อมูลที่เว็บไซต์ของอย. (www.fda.moph.go.th) 2.สบู่สูตรที่อ้างว่าช่วยให้ผิวกระจ่างใส จะมีราคาค่อนข้างแพง พบว่า ยี่ห้อที่แพงที่สุด ตกราคากรัมละ 3 บาท ได้แก่  OAB’S SOAP โอปโซฟ รองลงมาคือ TANAKA ที่ตกที่ราคากรัมละ 1.8 บาท ขณะที่ยี่ห้ออื่นๆ มีราคาต่อกรัมไม่เกิน 1 บาท โดยสบู่ตัวที่มีราคาเฉลี่ยต่ำสุด 20 สตางค์ คือ อิงอร   ส่วนผสมในสบู่ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว 1. กลุ่มสารลดแรงตึงผิว ได้แก่ สารลดแรงตึงผิวประจุลบ คือ Sodium Lauryl Sulfate (SLS) และ Sodium Laureth Sulfate (SLES) และสารลดแรงตึงผิวสองประจุ ได้แก่ Cocamidopropyl Betaine สำหรับสารในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการทำให้เกิดฟองและสามารถความสะอาดได้ดี ซึ่งสาร SLS จะมีความสามารถชำระล้างได้รุนแรงกว่าชนิดอื่น ทำให้อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน ผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยง 2. กลุ่มสารที่มีความเป็นด่างสูง ซึ่งอาจทำให้ผิวแห้งหรือระคายเคืองได้ ได้แก่ Potassium Hydroxide และ Sodium Hydroxide 3. สารกลุ่มกรดไขมันและเกลือของกรดไขมัน ได้แก่ Potassium Myristate, Potassium Palmitate, Potassium Laurate, Potassium Oleate, Potassium Stearate, Stearate, Stearic acid, Palmitic acid, Lauric acid, Myristic acid สามารถทำให้เกิดคราบไคลสบู่ตกค้างในรูขุมขน ส่งผลให้เกิดสิวอุดตันได้ง่าย 4. สารกลุ่มน้ำหอม ได้แก่ Perfume, Fragrance  อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองในผู้ที่แพ้น้ำหอม 5. ส่วนผสมของสารต้านแบคทีเรีย Triclosan มีผลต่อการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย และถูกแบนแล้วที่อเมริกาแนะวิธีดูแลผิวให้ขาวใส1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อผิว เช่น ผักผลไม้ที่มีวิตามินที่มีวิตามิน A ซึ่งพบมากในผลไม้สีเหลือง ส้ม แดงและเขียวเข้ม จะสามารถช่วยให้ผิวพรรณกระจ่างใส มีความชุ่มชื้น หรือผลไม้ที่มีวิตามิน C ให้ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน ซึ่งพบมากในผักตระกูลกะหล่ำ มะรุม บลอกโคลี และผลไม้หลายชนิด เช่น ฝรั่ง ลิ้นจี่ ส้มโอ มะละกอสุก สตอร์เบอรี่ พุทรา หรือผลไม้ที่มีวิตามิน E เพราะสามารถช่วยช่วยชะลอความแก่ ทำให้ผิวพรรณสดใส พบมากในน้ำมันจากธัญพืช และถั่วประเภทเปลือกแข็ง รวมทั้งควรดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ2. ดูแลตัวเองจากปัจจัยภายนอก เช่น หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เร่งให้ผิวเสียด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และอย่าลืมทาครีมกันแดดก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง นอกจากนี้อาจมีการขัดผิวอาทิตย์ละครั้งเพื่อกำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว ด้วยวิธีที่ปลอดภัยอย่างสมุนไพรประจำบ้านเรา เช่น มะขามเปียก เนื่องจากมีกรด AHA ที่จะช่วยลอกผิวหนังชั้นบนที่ตายออก ทำให้รอยแผลเป็นจางลงได้ แต่ไม่ควรใช้บ่อยๆ เพราะอาจทำให้ผิวบางและไวต่อแสงแดด หรือใช้ขมิ้นชันขัดผิว เพราะมีคุณสมบัติยับยั้งการสังเคราะห์เมลานิน ช่วยทำให้สีผิวกระจ่างใสขึ้นได้ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 197 ส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย

สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียหรือสบู่ฆ่าเชื้อเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคหลายคนนิยมใช้ เพราะเชื่อว่ามีประสิทธิภาพหรือสรรพคุณดีกว่าสบู่ธรรมดา แต่สบู่เหล่านั้นสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าจริงหรือสารต้านแบคทีเรียในสบู่ฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ คือ ไตรโคลซาน )Triclosan) ซึ่งสามารถเป็นทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ ราหรือแบคทีเรียได้ จึงถูกนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน โดยหากนำมาผสมในสบู่ก็มักมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น เพราะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นกลับระบุว่า ไตรโคลซานสามารถทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม หรือทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งสารจะไปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยและไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุดนอกจากนี้เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเคยมีการตรวจพบสารดังกล่าวในปัสสาวะของคนอเมริกันถึงร้อยละ 75 และมากไปกว่านั้นเมื่อสารไตรโคลซานถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อมหลังการชะล้าง ยังส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยาอีกด้วย รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เคยพบในสัตว์ทดลอง โดยสารดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการและภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีความเป็นพิษเรื้อรัง รวมทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งได้ ในหลายประเทศ เช่น องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกา จึงประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด ซึ่งให้มีผลบังคับใช้ทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560  เนื่องจากส่งผลกระทบด้านลบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงยังไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ได้ว่าสบู่ที่ผสมสารไตรโครซาน สามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด จำนวน 18 ตัวอย่าง จาก 12 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไรเราลองไปดูกันเลย สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่ฆ่าเชื้อโรคจากตัวอย่างสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียจำนวน 18 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อที่นำมาตรวจสอบฉลาก พบว่า1. มี 11 ตัวอย่างที่ระบุว่ามีส่วนผสมสารต้านแบคทีเรีย แบ่งเป็น - 4 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน ได้แก่ กลุ่มสบู่เหลว 1. Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 2. Deterderm (ดีเทอร์เดอร์ม) สูตร Deo beauty fresh 3. Tea Tree (ที ทรี) สูตรสกินไวท์เทนนิ่ง บาธ ครีม และ 4. Oxe cure (อ๊อกซีเคียว) สูตรระงับกลิ่นกายสำหรับผู้มีปัญหาสิว/ผิวแพ้ง่าย  - 5 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ กลุ่มสบู่ก้อน 1. Dial (ไดอัล) สูตรสปริงวอเตอร์ 2. Dettol (เดทตอล) สูตรออริจินัล 3. Protex (โพรเทคส์) สูตรสดชื่น 4. Protex For Men (โพรเทคส์ ฟอร์เมน) สูตรสปอร์ต และ 5. สบู่เหลว Protex (โพรเทคส์) สูตรไอซ์ซี่ คูล- 2 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทั้งไตรโคลซานและไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ ยี่ห้อ Benice (บีไนซ์) สูตรคลีน&เธอราพี และสูตรแอคทีฟ พลัส2. มี 6 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ระบุว่ามีการผสมสารต้านแบคทีเรียในกลุ่มไตรโคลซาน ได้แก่ 1. สบู่ก้อน Safeguard (เซฟการ์ด) 2. สบู่ก้อน Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 3. สบู่เหลว ยี่ห้อ Dettol (เดทตอล) สูตรเฟรช 4. สบู่เหลว Dettol (เดทตอล) สูตรแอคทีฟ 5. สบู่เหลว Kirei Kirei (คิเรอิคิเรอิ) สูตรแอนตี้แบคทีเรียกลิ่นองุ่น และ 6. สบู่เหลว Shokubutsu (โชกุบุสซึ) สูตร anti-bacteria body foam rejuvenating & purifyingข้อสังเกตยี่ห้อ Acticex (แอคตี้เว็กซ์) สูตร Bacteria blocking system (ลิควิด โซฟ แอคทีฟ โพรเท็คชั่น) ฉลากภาษาไทยไม่มีรายละเอียดของส่วนผสม สารเคมีในกลุ่มต้านแบคทีเรียที่ถูกประกาศห้ามใช้มีอะไรบ้างตามที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เราลองมาดูกันว่าชื่อสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีอะไรบ้าง1. Cloflucarban 2. flurosalan 3. hexachlorophene 4. hexylresorcinol 5. iodine complex (ammonium ether sulfate and polyoxyethylene sorbitan monolaureate) 6. iodine complex (phosphate ester of alkylaryloxy polyethylene glycol) 7. Nonylphenoxypoly (ethyleneoxy) ethanoliodine 8. poloxamer-iodine complex 9. Povidone- iodine 5-10 % 10. Undecoylium chloride iodine complex 11. Methylbenethonium chloride 12. Phenol (มากกว่า 1.5%) 13. Phenol 16 (น้อยกว่า 1.5%) 14. Secondary amyltricresols 15. Sodium oxychlorosene 16. Tribromsalan 17. Triclocarban, Triclosan และ 18. Tripledyeแนะวิธีปองกันตัวเองจากแบคทีเรียง่ายๆ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการการล้างมือด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวชนิดธรรมดา โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะทำให้ผิวหนังมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง เพราะตามธรรมชาติผิวหนังของเราสามารถปกป้องไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ด้วยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้อยู่แล้ว ขอบคุณ ข้อมูล รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ  วิวัฒน์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 196 สารกันบูดในเส้นขนมจีน ภาค 2

ถ้ายังจำกันได้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เราเคยนำเสนอ “ผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีน” ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชวนให้ตกใจไม่น้อย เพราะเส้นขนมจีนจำนวน 12 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบการปนเปื้อนของสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ทั้ง 12 ตัวอย่าง แถมมีอยู่ 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ฉลาดซื้อเล่มนี้ เราจะลองสุ่มทดสอบดูปริมาณสารกันบูดในเส้นขนมจีนอีกครั้ง ลองไปดูกันสิว่าสถานการณ์การใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนมีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไร และที่น่าสนใจคือ เราเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนที่เราเคยทดสอบเมื่อคราวที่แล้วด้วย จำนวน 8 ตัวอย่าง และเพิ่มเติมตัวอย่างในการสุ่มทดสอบอีก 9 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง เพื่อดูว่าจากผลการทดสอบครั้งที่แล้วผู้ผลิตเส้นขนมจีนมีการปรับปรุงสินค้าของตัวเองอย่างไรกันบ้างผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีนครั้งที่แล้ว สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเก็บตัวอย่างขนมจีนที่พบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นขนมจีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งยืนยันว่า ขนมจีนเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ต้องแสดงฉลากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการใช้วัตถุกันเสียก็ต้องแจ้งไว้บนฉลาก หากไม่แสดงมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินปริมาณที่กำหนดจะจัดเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท(ที่มา: ช่าว “สาธารณสุข ส่ง จนท.ตรวจเข้ม “สถานที่ผลิต-ขายขนมจีน”” มติชนออนไลน์ 12 มีนาคม 2559)ทางด้าน “ตลาดยิ่งเจริญ” ก็ตื่นตัวกับผลทดสอบ หลังพบว่ามีตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจำหน่ายอยู่ในตลาด ซึ่งทางผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ รีบแสดงความผิดชอบด้วยการตรวจเข้มสินค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจำหน่าย โดยออกเป็นมาตรการที่ชื่อว่า “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” ซึ่งมีทั้งการเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าในตลาด สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าในตลาดไปทดสอบ รวมทั้งเชิญพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดมาทำความเข้าใจเรื่องการเลือกสินค้ามาจำหน่ายต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และพร้อมจัดการขั้นเด็ดขาดกับสินค้าที่หน่วยงานรัฐออกมาให้ข้อมูลยืนยันว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย(ที่มา: ข่าว ““ตลาดยิ่งเจริญ” ออกมาตรการ “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เชิญ อย.ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าทั้งหมด” กรุงเทพธุรกิจ 16 มิถุนายน 2560)ข้อกำหนดการใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนตามข้อกำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 4) ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ซึ่งเป็นกลุ่มสารกันเสีย ในเส้นขนมจีน ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกณฑ์มาตรฐานยังคงเท่ากับการทดสอบเมื่อครั้งที่แล้วผลการทดสอบ-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีจำนวน 17 ตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ - มี 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม ซึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ ชลนิศา เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,114.24 มิลลิกรัมต่อกิโกลกรัม และ 2.ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด 3 ตัวอย่างแรก ได้แก่ 1.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, 2.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 63.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.ยี่ห้อ นิดา เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 91.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่น่าตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษคือ ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่มีการใช้สารกันบูดน้อยที่สุด 2 อันดับแรก เป็นเส้นขนมจีนที่ไม่มีการแสดงฉลากใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า เส้นขนมจีนทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตและจำหน่ายทันทีไม่ได้ผลิตเพื่อส่งไปขายต่อที่อื่น ซึ่งตามกฎหมายอนุโลมให้อาหารในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องแสดงฉลาก เป็นไปได้ว่าผู้ผลิตตั้งใจที่จะผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ทำให้มีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบครั้งที่แล้ว ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบสารกันบูดน้อยที่สุด ก็เป็นตัวอย่างเส้นขนมจีนไม่มียี่ห้อและไม่มีฉลากที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพระประแดงข้อสังเกตจากผลทดสอบ-การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกน้อยที่สุดนั้น  พบเพียงแค่ 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ทดสอบครั้งที่แล้วที่พบน้อยสุดที่ปริมาณ 147.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม -โดยภาพรวมของผลการทดสอบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีนครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามได้ว่า เส้นขนมจีนยังเป็นอาหารที่ตรวจพบว่า มีการปนเปื้อนของสารกันบูด โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารกันบูดที่พบในการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ อยู่ 450.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในการทดสอบครั้งที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 439.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-พบว่า ตัวอย่าง ยี่ห้อ ดาว ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ ที่ผลการทดสอบครั้งที่แล้ว พบกรดเบนโซอิกสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 1121.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ในการทดสอบครั้งนี้พบปริมาณกรดเบนโซอิกอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ 768.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องขอชื่นชมที่มีการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า-ในขณะที่พบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางยี่ห้อ แต่บางยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย การทดสอบครั้งที่แล้วพบปริมาณกรดเบนโซอิกแค่ 462.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในการทดสอบครั้งนี้พบการปนเปื้อนสูงถึง 1274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ต้องฝากหน่วยงานควบคุมกำกับช่วยติดตามมาตรฐานของสินค้าด้วย)การแสดงฉลากยังมีปัญหาจากผลทดสอบที่ได้พบว่าเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีการปนเปื้อนของสารกันบูด เบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 167) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ มีการกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหารลงในฉลาก แต่จากตัวอย่างเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่าง มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดระบุไว้บนฉลากหรือภาชนะบรรจุ ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อ ฉวีวรรณ เก็บตัวอย่างที่ห้างแมคโคร สาขาลาดพร้าว ที่แจ้งไว้ว่าใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอต (INS NO.211)  (INS = international numbering system for food additives หรือ หมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล)ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุต้องมีการแสดงฉลาก ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ 1.อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแก่ผู้บริโภคได้ในขณะจำหน่าย เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น, 2.อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นก็ได้ และบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารนั้น เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น และ 3.อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการเฉพาะภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล สายการบิน สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารโดยตรงให้กับผู้ซื้อจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นของกฎหมาย ต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ อาจมีบ้างบางตัวอย่างที่ผลิตและขายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าวก็เข้าข่ายที่ได้รับการยกเว้นดังนั้นอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกวดขันดูแลให้ผู้ผลิตเส้นขนมจีนปรับปรุงสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 191 “ส่องฉลาก” ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค กลายมาเป็นตัวช่วยเรื่องการกำจัดสิ่งสกปรกที่น่าจะมีติดอยู่แทบทุกบ้าน มาในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน ไมว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความเสื้อผ้า ซึ่งเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไม่ได้มีแค่ ผงซักฟอก เพียงอย่างเดียว ยังมีแยกประเภทเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบอเนกประสงค์ที่ใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อขจัดคราบสกปรกก่อนนำไปซักปกติ ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับน้ำยาซักผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำยาปรับผ้านุ่มที่หลายๆ บ้านนิยมใช้ ฉลาดจึงจะพามาส่องฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้งานกันได้อย่างถูกวิธีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคต้องใช้อย่างระมัดระวังผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีการใช้สารเคมีที่อาจมีฤทธิ์ต่อสุขภาพและเป็นอันอันตรายต่อผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ภายในบ้านเรือนส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 ซึ่งหมายถึงกลุ่มสารเคมีที่มีอันตรายน้อย สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือตามบ้านเรื่องทั่วไปได้ แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ตัวผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการแจ้งข้อเท็จจริงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะควบคุมเรื่องสารเคมีที่ใช้และการจัดทำฉลากเพื่อประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งานได้อย่างปลอดภัยวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุอันตรายขนิดที่ 1 มีอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (ยกเว้นผงซักฟอก ที่อยู่ในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.))  เป็นต้นข้อความที่ไม่อนุญาตให้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค-“สูตรพิเศษ” ยกเว้นว่ามีเอกสารที่สามารถสนับสนุนหรือชี้แจงได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร-“ไม่เป็นอันตราย”, “ไม่เป็นพิษ”, “ปลอดภัย”, “ไม่มีสารตกค้าง”, “ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย”, “ไร้สารตกค้าง”, “ไม่มีผลต่อเด็กสัตว์เลี้ยงและอาหาร”, “สูตรไม่ระคายเคือง”, “ปราศจากการระคายเคือง” เนื่องจากอาจทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย-“นุ่มละมุนใช้ได้ทุกวัน” เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ตามความจำเป็น และต้องระมัดระวังในการใช้ -“ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ” เนื่องจากเป็นการชักจูงใจเกินความจำเป็น-“น้ำหอมปรับอากาศ”, “สดชื่น” หรือ “กลิ่นสดชื่น” เนื่องจากคำว่า “สดชื่น” มีความหมายในเชิงเกี่ยวกับสุขภาพอาจสื่อให้เกิดความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นนี้มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสารเคมี-“ปกป้องสุขภาพของคุณและสิ่งแวดล้อม”, “ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”, “ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม”, “ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ”, “จึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อม”, “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” เนื่องจากก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม-“ได้ผล 100%”, “ประสิทธิภาพสูง”, “ด้วยสูตรพลังประสิทธิภาพ”, “ประสิทธิภาพเยี่ยม”, “ระบบเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”, “ได้ผลเด็ดขาด”, “ออกฤทธิ์แรง” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-“ไม่ทำลายเนื้อผ้าหรือทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง”, “อ่อนโยนต่อทุกเนื้อผ้า”, “อ่อนโยนต่อเส้นใยผ้า”, “ถนอมผ้า”, “ปลอดภัยต่อผ้าสี”, “คงไว้ซึ่งความนุ่มนวลของเนื้อผ้า”, “พลังสลายคราบสกปรก” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-แม้แต่ชื่อทางการค้าก็ต้องไม่สื่อไปในทำนองโอ้อวดสรรพคุณ หรือทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคขาดความระมัดระวังในการใช้ที่มา : คู่มือการจัดทำฉลากวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยกลุ่มควบคุมอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อมูลสำคัญที่ “ต้องมี” บนฉลากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ชื่อทางการค้า ต้องเป็นภาษาไทย ขนาดเห็นได้ชัด หากมีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อการค้าภาษาไทย2.ชื่อและอันตราส่วนของสารสำคัญ ต้องแสดงเป็นหน่วยร้อยละของน้ำหนักต่อน้ำหนัก (% w/w) หรือร้อยละของน้ำหนักต่อปริมาตร (% w/v)3.ประโยชน์4.วิธีใช้5.คำเตือนหรือข้อควรระวัง ต้องใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้6.วิธีเก็บรักษา7.ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษ (ถ้ามี) ไมว่าจะเป็น อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำสำหรับแพทย์8.การทำลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)9.เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรืออันตรายตามที่กำหนด (ถ้ามี) 10.เลขที่รับแจ้ง 11.ขนาดบรรจุ (ปริมาณสุทธิ) 12.วัน เดือน ปี ที่ผลิต 13.วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)14.เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (Lot Number/ Batch Number)15.ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้ผลิตในประเทศ หรือนำเข้า พร้อมชื่อและประเทศของผู้ผลิตผลการสำรวจฉลากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ไม่ว่า สำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นหรือทำความสะอาดเสื้อผ้า จะมีการให้ข้อมูลในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายตัวอย่าง ที่อ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า 100% เพราะดูเป็นการโอ้อวดเกินจริง แต่ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค อนุญาตให้แสดงค่าความสามารถหรือตัวเลขที่แสดงความสามารถในการฆ่าเชื้อ เมื่อมีข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิภาพเชิงปริมาณ แต่ต้องระบุชื่อเชื้อที่ใช้ทดสอบและแสดงข้อความว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยตัวอย่างที่สำรวจส่วนใหญ่ก็จะมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของการทดสอบ แต่ก็มีบางตัวอย่างที่ใช้คำโฆษณาเรื่องการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มาของคำโฆษณาดังกล่าว เช่น แวนิช ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ เอ๊กซ์ตร้า ไอยีน และ เดทตอล ลอนดรี แซนิไทเซอร์ผลิตภัณฑ์ที่แสดงโฆษณาบนฉลากว่า “สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” หมายความว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ Salmonella enterica (choleraesuis)ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ แต่ก็ถือเป็นสารที่อันตรายหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี เช่น เข้าตา หรือเผลอกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นต้องเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนผู้ที่ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีและควรไปพบแพทย์ ปริมาณที่ใช้ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าและพื้นที่ภายในอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ เป็นสารในกลุ่ม disinfectant ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจง เหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ โดยสารเคมีหลักๆ ที่ใช้ก็คือสารที่มีผลในการฆ่าและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค กับสารที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว (surfactant) ซึ่งก็มีคุณสมบัติในการขจัดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะ Ethoxylated alcohol, Sodium Lauryl Sulfate,  Alkyldimethyl benzyl ammonium chloride และ Didecyl dimenthyl ammonium chlorideผลทดสอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 191 ฉลากโภชนาการ สิ่งจำเป็นเพื่อการดูแลสุขภาพ

ความสำคัญและระดับการควบคุมข้อมูลโภชนาการหรือฉลากโภชนาการ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงคุณค่าทางด้านโภชนาการหรือปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายจะได้รับเมื่อรับประทานเข้าไป และเป็นการยกระดับให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้บริโภคพึงได้รับ ดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพของประชาชนในทุกประเทศทั่วโลก จึงต่างให้ความสำคัญกับการแสดงฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างไรก็ตามระดับการแสดงข้อมูลโภชนาการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อมูลโภชนาการบนฉลาก(Mandatory) เป็นลักษณะบังคับว่าต้องมี ถ้าไม่มี จะมีบทลงโทษ และกลุ่มที่ผู้ประกอบการสามารถแสดงฉลากได้ตามความสมัครใจ (Voluntary) คือ กฎหมายไม่บังคับ – จะแสดงฉลากหรือไม่ก็ได้1) ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่กฎหมายบังคับให้มีการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร ได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู), สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก, อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, โคลัมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัย, อุรุกวัย, อิสราเอล, อินเดีย, อินโดนีเซีย, จีน (+ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง), เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ไต้หวัน, ไทย, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์  ซึ่งประเทศเหล่านี้จะกำหนดตามกฎหมายให้ผู้ประกอบการต้องแสดงฉลากโภชนาการถึงแม้ว่าจะไม่มีการแสดงคำกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือคำกล่าวอ้างทางสุขภาพก็ตาม โดยจะกำหนดว่าสารอาหารตัวใดจะต้องถูกแสดงบ้างและจะแสดงในลักษณะใด (เช่น ต่อ 100 กรัม หรือ ต่อหน่วยบริโภค เป็นต้น) นอกจากนี้ยังอนุญาตให้มีการแสดงรูปแบบอื่น ๆ ของฉลากโภชนาการได้โดยสมัครใจ อีกด้วย 2) ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ให้มีการแสดงฉลากโภชนาการโดยสมัครใจโดยรัฐให้การสนับสนุนแนวทางในการแสดงข้อมูล ได้แก่ กลุ่มประเทศอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) (ประกอบด้วย บาห์เรน, คูเวต, กาตาร์, โอมาน, ซาอุดิอาระเบีย, และสหรัฐอาหรับเอมิเรต: ยูเออี), เวเนซุเอล่า, ตุรกี, สิงโปร์, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, เคนยา, เมาริเทียส, ไนจีเรีย, และอาฟริกาใต้ ซึ่งกฎหมายของประเทศกลุ่มนี้จะให้รัฐเป็นผู้กำหนดว่าสารอาหารใดบ้างที่ต้องมีการแสดงบนฉลากและต้องแสดงฉลากในลักษณะใดแต่ไม่ได้บังคับว่าจะต้องแสดงเว้นเสียแต่ว่ามีการกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารนั้น ๆ หรือเป็นอาหารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการควบคุมน้ำหนัก   ภาพประกอบ : แผนภูมิภาพแสดงการแบ่งกลุ่มประเทศที่มีการแสดงฉลากโภชนาการตามกฎหมายกระแสโลกในการทำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมากระแสโลกในเรื่องการแสดงข้อมูลโภชนาการได้มุ่งไปสู่การทำเป็นกฎหมายภาคบังคับ เห็นได้จากการที่ มาตรฐานอาหารสากล(โคเด็กซ์) (Codex Alimentarius Commission, 2012) ซึ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2555 นั้น ได้แนะนำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับแม้ว่าอาหารนั้นจะไม่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการก็ตามในหลายประเทศที่เคยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงฉลากโภชนาการแบบสมัครใจ ก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นกฎหมายฉลากโภชนาการแบบภาคบังคับ เช่น ประเทศจีนก่อนหน้านี้ใช้กฎหมายฉลากโภชนาการแบบสมัครใจ ต่อมาเมื่อได้นำมาตรฐานอาหารสากล(โคเด็กซ์) มาใช้ จึงเปลี่ยนให้ฉลากโภชนาการเป็นฉลากภาคบังคับและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 ด้านสหภาพยุโรป (อียู) ได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลด้านอาหารแก่ผู้บริโภคในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 แต่ยังมีหลายสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องทำก่อนถึงกำหนดในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 หนึ่งในนั้นคือ การหาข้อสรุปว่า รูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการ แบบใดเหมาะสม เข้าใจง่าย และจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากที่สุด จึงทำให้มีการสนับสนุนทุนทำโครงการวิจัย ชื่อว่า FLABEL ที่พบข้อมูลว่า ใน 27 ประเทศสมาชิกของอียูและตุรกี มีผลิตภัณฑ์ร้อยละ 85 จาก 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉลากโภชนาการแบบ แสดงด้านหลังบรรจุภัณฑ์ (Back of Pack : BOP) มีผลิตภัณฑ์ร้อยละ 48 ที่ใช้ฉลากโภชนาการแบบ แสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (Front of Pack : FOP) นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 84 ของผลิตภัณฑ์จะแสดงข้อมูลโภชนาการใน รูปแบบเป็นตาราง หรือ เป็นเส้นตรง (ตารางโภชนาการหรือกรอบข้อความโภชนาการ) โดยที่มีเพียงร้อยละ 1 แสดงข้อมูลด้วยสัญลักษณ์สุขภาพ (health logos) และในบรรดาฉลากแบบ แสดงข้อมูลโภชนาการด้านหน้า ทั้งหมด รูปแบบฉลาก หวาน มัน เค็ม (Guideline Daily Amounts :GDA) และ การกล่าวอ้างทางโภชนาการ เป็นรูปแบบที่แพร่หลายที่สุด ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นมาตรฐานกลางของฉลากโภชนาการแบบแสดงข้อมูลด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (FOP)การโต้เถียงเรื่องการใช้ฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศในทวีปเอเชีย ได้สร้างความประหลาดใจแก่โลก โดยได้ประกาศใช้ การแสดงฉลากโภชนาการแบบด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งแสดงในรูปแบบที่เรียกว่า ฉลาก “หวาน มัน เค็ม” (GDA) เป็นประเทศแรกในเดือน พ.ค. 2554 โดยประกาศใช้ในขนมเด็ก 5 กลุ่ม หลังจากนั้นฉลากรูปแบบนี้ก็ได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาลในหลายประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา) โดยมีสิ่งที่รัฐต้องตัดสินใจคือ จะทำให้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้านี้เป็นกฎหมายภาคบังคับหรือไม่ และถ้าใช่ ควรที่จะต้องเพิ่มเติมเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจของคุณค่าทางโภชนาการที่แสดงผ่านการใส่สี (แบบสีสัญญาณไฟจราจร) หรือ การให้สัญลักษณ์ “เครื่องหมายสุขภาพ” (ตราที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีโภชนาการเหมาะสมตามเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ เช่น ตรารูปหัวใจ : สมาร์ทฮาร์ท, เครื่องหมายรูปรูกุญแจสีเขียว) หรือให้ข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นของการบริโภคต่อวัน เช่น ฉลาก หวาน มัน เค็ม : GDA ท่ามกลางการตัดสินใจต่าง ๆ เหล่านี้ รูปแบบสีสัญญาณไฟจราจร (Traffic Light) ของสหราชอาณาจักร (UK) เป็นจุดสนใจและได้รับการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง กลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก องค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) สายสุขภาพ และบางรัฐบาลในยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศกลุ่มภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ได้ประกาศสนับสนุนรูปแบบฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์แบบสีสัญญาณไฟจราจรของสหราชอาณาจักรขณะที่รัฐบาลทั้งหลายกำลังตัดสินใจว่าจะใช้ฉลากโภชนาการแบบด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยข้องต่าง ๆ ของตนอย่างไรนั้น รูปแบบย่อยทั้งหลายของฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นก็แพร่หลายไปภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล, องค์กรระหว่างประเทศ, NGOs, กลุ่มองค์กรภาคอุตสาหรรม และบริษัทต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโภชนาการได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การผลักดันให้เกิดการหลอมรวมเป็นรูปแบบเดียวกันจึงเกิดขึ้นในบางประเทศ นปี พ.ศ. 2555 แผนกสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรได้เสนอรูปแบบฉลากที่รวมฉลาก GDA เข้ากับสีสัญญาณไฟจราจร และ ตัวหนังสือบรรยายโภชนาการ อย่างไรก็ตามยังคงมีการโต้เถียงในเรื่อง การระบุคำบรรยายใต้สัญลักษณ์สีสัญญาณไฟจราจรว่า “สูง” “ปานกลาง” และ “ต่ำ” บนฉลาก และ เกณฑ์ทางโภชนาการควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งรูปแบบนี้ถูกนำไปใช้โดยความสมัครใจของร้านขายปลีกขนาดใหญ่ทั้งหลายเป็นที่เรียบร้อย แต่ผู้ผลิตอาหารจำนวนมากยังคงลังเลที่จะเข้าร่วมดำเนินการในสหรัฐอเมริกา มีรายงานระยะที่ 1 จาก the Institute of Medicine (IOM) Committee ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 แนะนำว่า ควรต้องมีระบบเฉพาะในการระบุข้อมูลโภชนาการที่สร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค 4 ประเภท คือ ค่าพลังงาน (แคลอรี่), หน่วยบริโภค (serving size), ไขมันทรานส์ (trans fat), ไขมันอิ่มตัวและโซเดียม ส่วนในรายงานระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้ระบุเรื่องของการเปิดกว้างของผู้บริโภค ความเข้าใจ และความสามารถในการการใช้ฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้ให้คำแนะนำแก่ อย. (USFDA) และหน่วยงานด้านเกษตร (USDA) ของสหรัฐไว้ว่า ควรต้องมีการพัฒนา ทดสอบและบังคับใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และได้ให้คำแนะนำให้การบังคับใช้มาตรการฉลากนี้ว่า จะต้องเกิดจากความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และกลุ่มผู้มีความสนใจที่หลากหลาย สำหรับรูปแบบฉลากที่แนะนำนั้น IOM เสนอให้แสดงเป็นสัญลักษณ์แสดงปริมาณแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคและแสดงคะแนนเป็นดาวโดยเทียบจากคุณค่าทางโภชนาการ ด้านไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ โซเดียม และน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ ที่ต่ำกว่าเกณฑ์โภชนาการ  ไม่เพียงแค่ภาครัฐที่ดำเนินการเรื่องฉลากโภชนาการ ในปี พ.ศ. 2555 กลุ่มภาคเอกชนของสหรัฐฯ ได้แก่ สมาคมร้านค้าของชำ สถาบันการตลาดอาหาร และผู้แทนของบริษัทชั้นนำด้านการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และและกลุ่มผู้ค้าปลีก ได้นำเสนอ ฉลากแบบสมัครใจเรียกว่า fact-based FOP nutrition labelling ที่แสดงข้อมูลพลังงาน และสารอาหารสำคัญ (ไขมันอิ่มตัว โซเดียม และน้ำตาล) ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง อย. ของ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนฉลากแบบนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า  ต้องไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในสารอาหารของผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญของกระแสการทำให้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์กลายเป็นมาตรฐานสากลคือ การที่ สหภาพยุโรป ได้ประกาศใช้กฎหมาย ข้อมูลด้านอาหารเพื่อผู้บริโภค ที่อนุญาตให้มีการใช้ฉลากโภชนาการแบบสมัครใจในบางรูปแบบได้ ทำให้มีการแสดงข้อมูลทางโภชนาการ สี ภาพ หรือ สัญลักษณ์ ซึ่งต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ได้มีการออกเอกสารถาม-ตอบ (Q&A) เพื่อสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการนี้ออกมา โดยในเอกสารได้ยืนยันว่า กิโลจูล (หน่วยของค่าพลังงาน)สามารถใช้ได้บนฉลากโภชนาการแบบสมัครใจด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว ๆ หรือจะแสดงคู่กันกับ กิโลแคลอรี ก็ได้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในงานประชุมของรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้มีความเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนาฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ที่เข้าใจและแปลความได้ง่าย แต่ยังไม่ได้ประกาศสนับสนุนการแสดงฉลากรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรโดยทันที ซึ่งต่อมา ในประเทศออสเตรเลีย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศขึ้นชุดหนึ่งขึ้นมาทำงานในเรื่องนี้ เช่นเดียวกันกับในนิวซีแลนด์ ที่ได้มีกลุ่มทำงานมาพัฒนาแนวทางและคำแนะนำต่อการจัดทำฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าผลิตภัณฑ์ แต่มิได้มีรูปแบบเฉพาะเจาะจงออกมาเช่นกัน ซึ่งความน่าจะเป็นของรูปแบบฉลากโภชนาการของทั้งสองประเทศนี้น่าจะมีความคล้ายคลึงกันมาทางฝั่งทวีปเอเซียกันบ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ประเทศเกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ประกาศใช้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรโดยสมัครใจในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก และภายหลังเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกระดับการแสดงฉลากในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรในขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเป็นกฎหมายภาคบังคับโดยให้มีผลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งการกระทำนี้ส่งผลให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรภายใต้กฎหมายภาคบังคับ นับแต่นั้น ได้มีการผ่านร่างกฎหมายสองฉบับ ฉบับแรก ว่าด้วยการแสดงฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรในอาหารที่เด็กชื่นชอบได้แก่ ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม กับ กฎหมายฉบับที่สองซึ่งกำหนดให้มีการแสดงฉลากโภชนาการทั้งแบบสีสัญญาณไฟจราจรและแบบคุณค่าทางโภชนาการต่อวันที่ใส่สีเพื่อแสดงเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ การเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นรุ่งอรุณแห่งมาตรการฉลากโภชนาการที่น่าจะช่วยให้ประเทศอื่น ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค เจริญรอยตาม ก็เป็นได้ข้อถกเถียงเรื่องรูปแบบฉลากโภชนาการยังไม่ยุติข้อถกเถียงที่ว่ารูปแบบฉลากโภชนาการแบบใดจะมีประสิทธิภาพที่สุด จะดำเนินต่อไปในยุโรป, เอเซีย-แปซิฟิค, และอเมริกา ในช่วงอนาคตอันใกล้ การศึกษาวิจัยที่มากขึ้นจะเป็นประโยชน์และช่วยยืนยันประเด็นนี้ รัฐบาล NGOs ผู้ผลิตอาหารและผู้ค้าปลีกได้ร่วมกันสำรวจว่า รูปแบบฉลากโภชนาการแบบใดที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุด ด้วยเหตุผลใด และรูปแบบใดจะส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการสร้างสมดุลในการเลือก แม้จะมีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่ให้คำตอบได้ แต่ยังคงไม่มีข้อสรุปใด ๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายว่าจะไปในทิศทางใดกัน อย่างไรก็ตาม มีความชัดเจนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลโภชนาการบนฉลากอาหารที่ง่ายกว่าในปัจจุบันแก่ผู้บริโภค ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการ แบบภาคบังคับ เป็นเครื่องมือทางสาธารณสุขที่ช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกของผู้บริโภคในยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย และเหมือนกับเครื่องมืออื่นๆ มันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเมื่อมันเหมาะสมต่อหน้าที่ของมัน ซึ่งก็คือ ผู้บริโภคมีความเข้าใจและใช้มัน ในสหรัฐฯ ความความเติบโตทางความเห็นที่ว่า ข้อมูลโภชนาการแบบเดิม ๆ อย่างเดียวไม่เพียงพอ หรือ มันไม่สามารถเข้าใจและใช้ได้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่อีกแล้ว อย. สหรัฐฯ จึงได้ประกาศภารกิจเร่งด่วนในการทบทวนการแสดงโภชนาการในรูปแบบ ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการเสียใหม่ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงข้อมูลโภชนาการด้านหน้าผลิตภัณฑ์ (FOP) ขณะที่ฉลากหวาน มัน เค็ม (GDA) ได้รับการสนับสนุนจำนวนมากจากกลุ่มผู้ผลิตอาหาร และผู้กำหนดนโยบาย ความเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางประกอบการเลือกของผู้บริโภคจะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าในการให้การศึกษาผู้บริโภคให้สามารถใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร------------------------------สถานการณ์ด้านฉลากโภชนาการของประเทศไทย นับแต่การประกาศใช้ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการ ในปี พ.ศ. 2541 ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการควบคุมฉลากโภชนาการแบบสมัครใจมาโดยตลอด จนถึงการบังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบหวาน มัน เค็ม (จีดีเอ) ในปี พ.ศ. 2554 ที่ยกระดับการควบคุมทางกฎหมายของฉลากโภชนาการจากสมัครใจมาสู่กฎหมายภาคบังคับ โดยควบคุมการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร กลุ่มขนมขบเคี้ยว 5 ประเภท ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ, ข้าวโพดคั่วทอดกรอบหรืออบกรอบ, ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง, ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต, และเวเฟอร์สอดไส้ แต่ก็ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการอย่างต่อเนื่อง  ย้อนไปในปี พ.ศ. 2553 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติระบุว่า ให้มีฉลากโภชนาการอย่างง่าย(ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์) ในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจร จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมและนำเสนอรูปแบบฉลากสีสัญญาณไฟจราจรแก่ อย. อย่างไรก็ตาม อย. กลับได้ประกาศใช้ฉลากหวาน มัน เค็ม แทนที่ฉลากสีสัญญาณไฟจราจรตามมติสมัชชา และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา อย. ได้ขยายการควบคุมจากผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 5 ประเภทมาเป็น อาหาร 5 กลุ่ม ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว (มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ, ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ, ข้าวเกรียบทอดหรืออบกรอบ หรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง, ถั่วหรือนัตทอดหรืออบกรอบหรืออบเกลือ หรือเคลือบปรุงรส, สาหร่ายทอด หรืออบกรอบ หรือเคลือบปรุงรส และปลาเส้นทอด หรืออบกรอบหรือปรุงรส), ช็อกโกแลต, ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต, เวเฟอร์สอดไส้, คุ้กกี้, เค้ก, และ พาย เพสตรี้ ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้), อาหารกึ่งสำเร็จรูป (ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้นไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตามพร้อมซองเครื่องปรุง, และ ข้าวต้มที่ปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง), และอาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย  นอกจากการทำให้ฉลากโภชนาการแบบหวาน มัน เค็ม เป็นฉลากแบบบังคับแล้ว อย. ยังได้ร่วมกับหน่วยงานวิชาการในการทำการศึกษารูปแบบฉลากโภชนาการแบบสัญลักษณ์สุขภาพและได้ออกประกาศให้มีการแสดงฉลากโภชนาการแบบสมัครใจขึ้นมาอีก 1 รูปแบบ ใช้ชื่อว่า สัญลักษณ์โภชนาการ (สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ) โดยได้มีการประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่ง ทางเลือกสุขภาพนี้ คือเครื่องหมายที่ช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีปริมาณสาร อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดีต่อสุขภาพ  ด้านฝั่งองค์กรภาคประชาสังคมได้มีการรณรงค์เพื่อผลักดัน ให้ อย. พิจารณาบังคับให้ฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจร แทนที่ฉลากแบบหวาน มัน เค็ม โดยได้มีดัดแปลงรูปแบบจากรูปแบบของสหราชอาณาจักรมาเป็นสัญญาณไฟจราจรแบบไทย และได้นำประเด็นเข้าสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน พัฒนาเด็กและอาจารย์ในโรงเรียนให้มีความรู้ในการอ่านฉลากอาหารและฉลากโภชนาการรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสามารถใส่สีสัญญาณไฟจราจรลงบนฉลากอาหารได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มทำงานในโรงเรียนจำนวน 3 แห่งในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายผล ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมใน 8 จังหวัดของภาคตะวันตกตามการแบ่งเขตขององค์กรผู้บริโภค ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉลากโภชนาการรูปแบบใดจะเหมาะสมสำหรับประเทศไทย สมควรหรือไม่ที่ควรต้องมีรูปแบบเดียว หรือจะให้มีหลากหลายรูปแบบทั้งแบบภาคบังคับและภาคสมัครใจนั้น ยังคงต้องการการศึกษาเพื่อยืนยัน ว่าฉลากรูปแบบใดกันแน่ ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภคมากที่สุดข้อมูล Global Update on Nutrition Labelling Executive Summary January 2015Published by the European Food Information Council. www.eufic.org/upl/1/default/doc/GlobalUpdateExecSumJan2015.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 ยาฝาแฝด “ปัญหาจาก ฉลากยา(มหัศจรรย์) ดูให้ดีก่อนกิน”

ฉลากยาเป็นเครื่องมือที่กฎหมายกำหนดให้แสดงไว้ข้างภาชนะบรรจุยา วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สั่งใช้ และผู้ที่จะต้องใช้ยา ได้อ่านเพื่อที่จะได้ใช้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัย โดยกฎหมายจะกำหนดให้ฉลากยาต้องมีรายละเอียดที่จำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อสามัญทางยา ชื่อทางการค้า เลขทะเบียนยา สรรพคุณของยา วันผลิตและวันหมดอายุ แต่บางครั้งเราพบว่าฉลากยาหลายรายการกลับมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกันมาก มากจนอาจเรียกได้ว่าเป็น “ ยาฝาแฝด จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หรือเกิดความเสี่ยงในการใช้ยาอย่างผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ ลองดูตัวอย่างที่ฉลาดซื้อ ได้สำรวจ และสอบถามข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความสับสนเหล่านี้ จากเภสัชกร ชมรมเภสัชชนบท ตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นผู้ป่วยชายไทย อายุ 41 ปี มารับยาจิตเภท (Schizophrenia) ตามนัด หลังจากเภสัชกรได้ตรวจสอบยาเดิมที่ผู้ป่วยนำติดตัวมา โดยผู้ป่วยรายนี้ได้รับยาชนิดเดียวกัน แต่ 2 ความแรง คือ Risperidone 1 mg และ Risperidone 2 mg ตามภาพประกอบโดยเวลารับประทานยาทั้ง 2 เหมือนกันคือ ครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน จากการสอบถามผู้ป่วยและญาติเข้าใจผิดคิดว่าอันเดียวกันเนื่องจากดูเหมือนๆกันจึงเก็บยาทั้ง 2 ความแรงไว้ในซองเดียวกัน โดยหยิบรับประทานครั้งละ 2 เม็ด ก่อนนอนและไม่ทราบว่าเป็นยาคนละความแรง ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความสับสนในฉลากยากลุ่มนี้ยาพาราเซตามอล ไซรัป ผู้ประกอบการได้ผลิตในรูปแบบความแรงที่แตกต่างกัน 4 ขนาดคือ 1. 120 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 120 มิลลิกรัม 2. 160 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 160 มิลลิกรัม 3. 250 mg / 5 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 5 มิลลิลิตร หรือ 1 ช้อนชา มียาพาราเซตามอล 250 มิลลิกรัม 4. 60 mg / 0.6 ml นั่นคือ ในยาน้ำ 0.6 มิลลิลิตร มียาพาราเซตามอล 60 มิลลิกรัมจะสังเกตได้ว่า ยาพาราเซตามอล ไซรัป ที่อยู่ในรูปแบบของชนิดหยด ใช้สำหรับเด็กทารกแรกเกิด มีความแรงของยาในขนาดที่สูงกว่ารูปแบบยาน้ำเชื่อมถึง 4 เท่า และยาในรูปแบบยาน้ำเชื่อมมีความแรงของยาที่แตกต่างกันถึง 3 ขนาด ซึ่งผู้บริโภคต้องทราบว่า ไม่เพียงแต่รสชาติ กลิ่นของยาน้ำเชื่อม จะแตกต่างกันเท่านั้น ความแรงของยาก็มีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งยาพาราเซตามอล หากใช้เกินขนาด อาจทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย มีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย นำไปสู่ภาวะตับวายและเสียชีวิตได้ ซึ่งขนาดการใช้ยาพาราเซตามอลในเด็ก ไม่เกิน 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/ครั้ง (และไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม/ครั้ง) รวมทั้งไม่เกิน 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/24 ชั่วโมง (ไม่เกิน 3,250 มิลลิกรัม/24 ชั่วโมง) และไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอล ติดต่อกันนานเกิน 5 วัน ในเด็กข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหา ฉลากยาที่คล้ายกันปัญหาจากกลุ่ม “ยาฝาแฝด” หรือ “ยารูปพ้อง-มองคล้าย” ต้องอาศัยการแก้ไขปัญหาร่วมกันจากทุกส่วน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายถึงผู้ใช้ยา นอกจากนี้ แม้ว่าโรงพยาบาลทุกแห่งจะมีมาตรการจัดการด้านยา “ชื่อพ้องมองคล้าย”อย่างจริงจังแล้วก็ตาม ตัวผู้ใช้ยาหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเอง ก็ต้องมีการทบทวนยาที่ตนใช้ให้ละเอียดรอบคอบทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ที่สำคัญที่สุด คือ “การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุตั้งแต่การขอขึ้นทะเบียนยา” ควรให้มีการบรรจุเกณฑ์การพิจารณาฉลากยาบรรจุภัณฑ์ของยานั้นๆ เช่น แผงยา ขวดยา หลอดยา ไม่ให้มีความเหมือน หรือคล้ายคลึงกับยาอื่น นอกจากนี้ ไม่ควรอนุญาตให้ใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน โดยที่ส่วนประกอบของตำรับยาเป็นคนละชนิดกัน และไม่ควรอนุญาตให้ยาชนิดเดียวกัน ที่มีความแรงของยาที่ไม่เท่ากัน ใช้ชื่อทางการค้าเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2559“บินถูกแต่ไม่มีที่นั่ง” โฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกของบรรดาสายบิน “โลว์คอสต์” ต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำและกลุ่มผู้ที่รักการท่องเที่ยว แต่ล่าสุดได้เกิดปัญหาจากโฆษณาโปรโมชั่นของสายบินโลว์คอสต์ที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ต้องออกมาเตือนพร้อมกำหนดแนวทางให้กับบรรดาสายการบินต่างๆ ในการทำโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกโดย สคบ.ออกมาเตือนสายการบินโลว์คอสต์แห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าบินเที่ยวออสเตรเลียจ่ายเพียง 1,200 บาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ราคาที่โฆษณามีที่นั่งจำกัดแค่ 1-2 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวถือเป็นโฆษณาในลักษณะที่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะเป็นการโฆษณาโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทาง สคบ.จึงทำเอกสารชี้แจงไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ว่าการโฆษณาโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาพิเศษต่างๆ สามารถทำได้ แต่ต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ครบถ้วน เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียด วันเริ่มต้น วันสิ้นสุดของโปรโมชั่นที่โฆษณา จำนวนที่นั่งที่มีให้ หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด กระทำการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะมีความผิดตามกฎหมาย ถอนทะเบียน 40 ตำรับยาต้านแบคทีเรีย ทำคนป่วยเพราะดื้อยามีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย” โดยเป็นการแถลงข้อมูลที่ได้จากการศึกษารายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ พบว่ามีมากกว่า 40 สูตรยาตำรับ ที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรค เช่น “ยาอมแก้เจ็บคอ” ที่ไม่ควรมียาต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ เพราะโรคเจ็บคอมากกว่า 80% ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากเกิดจากแบคทีเรียปริมาณยาก็ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อในลำคอให้หาย แถมการกลืนยาลงสู่กระเพาะอาหารยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาของแบคทีเรียในลำไส้ หรือ ยาต้านแบคทีเรียที่เป็นสูตรผสมชนิดฉีด ที่ไม่ควรเป็นสูตรผสมเพราะอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียาดังกล่าวได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th10 อาการป่วยใช้สิทธิ์ฉุกเฉินได้ทันทีฟรี 24 ชม. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต 10 อาการ เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย ในการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ซึ่งหากพบผู้ป่วยด้วยอาการ 10 ลักษณะต่อไปนี้ สามารถเข้ารับการรักษากรณีฉุกเฉินได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, 3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือ มีอาการชักร่วม, 4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด, 6.ได้รับบาดเจ็บ ต่อสมอง ต่อกระดูกสันหลัง มีแขนขาอ่อนแรง มีบาดแผลที่เสียเลือดมาก ถูกไฟฟ้าแรงสูง แผลไฟไหม้บริเวณกว้าง, 7.ถูกยิง ถูกแทง ที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะสาคัญ, 8.งูพิษกัด ซึม หายใจลำบาก หนังตาตก, 9.ตั้งครรภ์และชัก ตกเลือดมาก มีน้ำเดิน เด็กโผล่ และ 10.บาดเจ็บต่อดวงตาจากสารพิษ มองไม่ชัดคนไทยถูกค่ายมือถือเอาเปรียบ?รู้หรือไม่ว่า? คนไทยต้องจ่ายค่าบริการโทรศัพท์มือถือสูงกว่าความเป็นจริง  หลังจากมีข่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ได้เรียกให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ข้อมูลที่ทั้ง 3 บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู คิดค่าบริการเกินกว่าที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้บริการ ซึ่งทาง กสทช. ก็รับว่าปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายมือถือยังมีการคิดค่าบริการที่สูงกว่าอัตราที่ กสทช. กำหนดโดยตามประกาศ เรื่องอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ กสทช. กำหนดนั้น การคิดค่าบริการจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง แยกเป็น การบริการเสียง ห้ามเกินนาทีละ 69 สตางค์ บริการข้อความสั้น (SMS) ไม่เกิน 1.15 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ไม่เกิน 3.11 บาท/ข้อความ และบริการอินเตอร์เน็ต (Mobile Internet) ไม่เกิน 0.26 บาท/เมกกะไบค์ (MB)ซึ่งจากนี้ กสทช. ต้องทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ประกอบการค่ายมือถือที่เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหากพบว่าค่าบริการที่ใช้อยู่สูงกว่าอัตราที่ทาง กสทช. กำหนด สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช.1200 ฉลากอาหารแบบใหม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภควอนรัฐเดินหน้าอย่ายกเลิกคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) นำเสนอผลการสำรวจการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่มีการปรับปรุงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยข้อมูลผลสำรวจที่ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลโต้แย้งกับแนวคิดของประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคน้อยกว่าฉบับที่ 367 โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะมีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 จะมีการให้แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าประกาศฉบับที่ 194 เช่น สำหรับผู้แพ้อาหาร กรณีใช้ส่วนประกอบหรือปนเปื้อนในกระบวนการผลิตของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นม นอกจากนี้ต้องแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะหรือตัวเลขตามระบบเลขรหัสสากล (International Numbering System : INS for Food Additives)รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากแสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่เป็นความจริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว และให้มีกระบวนการตรวจสอบการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดีเอสไอ เชือด!!! อาหารเสริม “เมโซ” (Mezo) อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ถูกเช็คบิลไปอีกหนึ่งยี่ห้อ สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงอย่าง อาหารเสริมยี่ห้อ “เมโซ” (Mezo) ที่ถูกทาง กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำการตรวจยึดของกลางได้กว่า 1 ล้านแคปซูล มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท จาก 2 แหล่ง คือที่ บริษัท เมโซ เอนเทอร์ไพรซ์ จำกัด ซึ่งเป็นสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตราเมโซ (Mezo) และที่โรงงานผลิตอาหารเสริม บริษัท สุกฤษ 55 จำกัด ซึ่งพบผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายความผิดหลายรายการ เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักตราเมโซ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ตรา FOMO V Shape Body ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนัก ตราดับเบิลยูพีพลัส และผลิตภัณฑ์เอฟบีแอลพลัส มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท โดยโรงงาน-บริษัท ข้างต้นจดทะเบียนถูกต้อง มีรูปแบบการทำธุรกิจโดยเป็นเจ้าของสูตรยา แล้วโฆษณาให้คนที่มีต้นทุน และสนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยระบุข้อความขอเพียงมีเงินลงทุนเท่านั้น บริษัทจะเป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำการตลาด กำหนดยี่ห้อสินค้าให้ แต่ใช้สูตรตัวยาเดียวกัน สำหรับความผิดที่นำไปสู่การตรวจยึดสินค้าครั้งนี้มาจากการที่ผลิตภัณฑ์แสดงชื่อไม่ตรงกับที่จดแจ้งไว้ และแสดงฉลากข้อความอวดอ้างสรรพคุณฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาหารและยา มาตรา 6 (10) และมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 อาหารเสริมดังกล่าวมียอดการจำหน่ายต่อปีกว่า 600 ล้านบาท ซึ่งต้องตรวจสอบการยื่นเสียภาษีด้วย ส่วนการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิดนั้น ดีเอสไออยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐาน โดยในส่วนของโรงงานยังไม่สั่งปิด เนื่องจากผลิตยาหรือผลิตภัณฑ์ให้กับหลายบริษัท แต่หากพบว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ผลิตจากโรงงานมีความผิด ก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป อย.เตรียมปรับฉลากอาหารใช้สัญลักษณ์แสดงโภชนาการ บ้านเรามีความพยายามอย่างมากในการปรับปรุงฉลากอาหารให้มีความเป็นมิตรกับผู้บริโภคมากที่สุด โดยเฉพาะในส่วนของฉลากโภชนาการที่เป็นข้อมูลสำคัญที่แจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงส่วนประกอบต่างๆ ในอาหารที่เรารับประทาน ซึ่งล่าสุดผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ออกมายืนยันว่าทาง อย. มีแผนที่จะปรับปรุงฉลากอาหารโดยจะมีการกำหนดเกณฑ์ของสารอาหารที่เหมาะสมต่อการบริโภคที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยใช้วิธีการมอบตราสัญลักษณ์ให้แก่ผู้ประกอบการที่ผลิตอาหารได้ตามเกณฑ์ที่ อย. กำหนดไว้ ที่ผ่านมามีข้อเสนอจากภาคประชาชนที่เสนอให้ใช้ฉลากอาหารแบบสัญญาณไฟจราจร ที่เป็นแบบแจ้งปริมาณสารอาหารว่าอยู่ในเกณฑ์หรือไม่แบบตรงไปตรงมา ซึ่งผู้อำนวยการสำนักอาหารก็ยอมรับว่าเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นรูปแบบฉลากที่ผู้ประกอบการไม่ยอมรับ ส่วนฉลาก GDA ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการให้ข้อมูลที่อ่านง่ายแต่ไม่ได้ตัดสินว่าผลิตภัณพ์อาหารนั้นดีหรือไม่ดี โดยภายในปีนี้ เครื่องหมายตราสัญลักษณ์แบบใหม่จะเริ่มนำมาใช้ได้ในกลุ่มอาหารแช่แข็งเป็นกลุ่มแรกและค่อยๆ ทยอยออกเพิ่มเติมต่อไป สปสช. เพิ่มยา 6 รายการในสิทธิบัตรทอง คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้อนุมัติสิทธิประโยชน์ด้านยาเพิ่มเติม 6 รายการ เพื่อให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง เข้าถึงการรักษาพยาบาลและได้รับยาที่จำเป็นเพิ่มขึ้น โดยยา 6 รายการที่มีการอนุมัติเพิ่มเติมได้แก่ 1. ยาลอราซีแพม อินเจกชัน ใช้ฟื้นฟูลดภาวะที่สมองจะถูกทำลายและเสียชีวิตจากการชัก มีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยา 3,000 - 5,000 คนต่อปี 2. ยาทริแพน บูล ใช้ย้อมสีถุงหุ้มเลนส์ตาระหว่างผ่าตัดต้อกระจก และย้อม Internal Limiting membrane กรณีผ่าจอตา มีผู้ป่วยต้องการใช้ประมาณ 10,000 รายต่อปี 3. ยาอินดอคยาไนน์ กรีน ใช้วินิจฉัยโรคจุดภาพเสื่อม (PCV ) มีผู้ป่วยที่ต้องการใช้ประมาณ 20,000 ราย 4. ยาดาคาบาซีน ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดกินส์ ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยานี้มีโอกาสหาย มีผู้ที่ต้องรับยานี้ประมาณ 100 คนต่อปี 5. ยารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว APL ใช้สำหรับกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา All-trans-retinoic acid มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับยานี้ประมาณ 1,000 คน และ 6. Factor Vlll และ Factor IX สำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย A และ B มีผู้ป่วยที่ต้องใช้รับยานี้ประมาณ 1,483 ราย การส่งเสริมเรื่องการเข้าถึงยาเพิ่มมากขึ้นในครั้งนี้ นอกจากช่วยให้ผู้ป่วยบัตรทองได้สิทธิในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยกองทุนบัตรทองถึงปีละเกือบหมื่นล้านบาท ช่วยลดภาระค่ายาที่มีราคาแพงให้กับโรงพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเหล่านี้ สั่ง “วิตามิน-อาหารเสริม” จากต่างประเทศ ระวังเสียเงินฟรี!!! อย.เตือนใครที่คิดจะสั่งซื้อ “วิตามิน” และ “อาหารเสริม” จากต่างประเทศผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต ระวังจะสูญเงินเปล่า เพราะวิตามินและอาหารเสริมที่สั่งซื้ออาจเข้าข่ายเป็นยาตามกฎหมาย อย. หากไม่มีการขึ้นทะเบียนนำเข้าก็จะถูกสกัดที่ด่านอาหารและยาตั้งแต่ต้นทาง ปัจจุบันพบว่ามีคนที่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากต่างประเทศ เช่น วิตามิน เกลือแร่ โสมสมุนไพร หรือสารสกัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ทั้งนำมาใช้เองและนำมาเพื่อจำหน่ายต่อ ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาขายตามเว็บไซต์ต่างๆ นั้น แม้ในประเทศต้นทางแม้จะบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่เมื่อพิจารณาจากขนาดของวิตามิน เกลือแร่ หรือสารสกัดต่างๆ ที่เป็นส่วนผสมแล้ว หากพบว่าเกินกว่าเกณฑ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ถือว่าเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งวิตามิน หรือสารสกัดแต่ละตัวจะมีขนาดกำหนดไว้ไม่เท่ากัน และหากมีการโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคได้ก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ยา ซึ่งหากไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนนำเข้ามาในราชอาณาจักรกับ อย. ก็ถือเป็นผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย หากใครมีข้อสงสัยเรื่องการสั่งซื้อนำเข้ายาจากต่างประเทศ ควรสอบถามให้แน่ใจกับทาง อย. เสียก่อน เพื่อป้องกันการสูญเงินไปแบบฟรีๆ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายเกลื่อนจอทีวี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด ได้ทำการจับตาเฝ้าระวังสถาการณ์ของบรรดาผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทั้งหลาย ที่ยังคงโฆษณาออกอากาศอยู่ตามช่องเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม ระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา พบว่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ออกอากาศอยู่ ณ ปัจจุบัน เกือบ 100% เป็นการโฆษณาอย่างผิดกฎหมาย เนื้อหาส่วนใหญ่โอ้อวดเรื่องสรรพคุณด้านความสวยความงาม การลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ขาว-สวย-ใส และเรื่องการรักษาโรคแบบครอบจักรวาล ข้อมูลที่ได้จากการเฝ้าระวังพบว่า โทรทัศน์ดาวเทียม-เคเบิ้ลจำนวน 18 ช่อง พบแล้ว 17 ช่อง ที่โฆษณาผิดกฎหมายและเป็นช่องที่กสทช. เคยสั่งปรับไปแล้ว 5 ช่อง ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ไทยมุสลิม (TMTV) , ทีวีมุสลิมไทยแลนด์ , มีคุณทีวี , เอชพลัส (H+) และช่อง 8 (8 Channel : ดิจิตอลทีวี) โดยมีผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่โฆษณาอยู่จำนวน 95 ผลิตภัณฑ์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภคเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันและมีข้อมูลก่อนเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเทคนิคง่ายๆ สำหรับใช้เป็นคนสังเกตผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย มีดังนี้ 1.สังเกตเลขอนุญาต เช่น ด้านอาหาร คือ ฆอ. .../... , กรณีด้านยา คือ ฆท. .../... , เครื่องมือแพทย์ คือ ฆท. ..../... ,ส่วนเครื่องสำอางไม่ต้องมีเลขอนุญาตโฆษณา แต่ต้องไม่โฆษณาเกินจริง เป็นเท็จ ซึ่งจะมีความผิดตา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค 2.พิจารณาเนื้อหา ว่าโฆษณาตรงกับผลิตภัณฑ์หรือไม่ 3.เนื้อหาโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือไม่ สำหรับข้อเสนอที่ภาคประชาชนอยากให้หน่วยงานภาครัฐจัดการกับปัญหานี้ คือให้มีการปรับปรุงบทลงโทษผู้ที่ทำผิดให้มีความรุนแรงมากขึ้น และต้องเร่งรัดการจัดทำระบบฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาอาหาร และเปิดให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเรื่องการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ได้ ที่สำคัญหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลปัญหานี้โดยตรงอย่าง อย. กสทช. ต้องจริงจังเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2556 กสทช.เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จากนี้ไปปัญหาของคนที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือน่าจะบรรเทาเบาบางลง เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิด “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางจากการใช้บริการโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางตกลงหาข้อยุติของปัญหาให้กับฝ่ายผู้บริโภคและผู้ให้บริการ แต่การเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นไปตามความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย หรือหากดำเนินการไกล่เกลี่ยแล้ว ไม่เป็นที่พอใจ ผู้บริโภคที่ได้รับปัญหาก็สามารถนำเรื่องเข้าสู่การฟ้องร้องต่อไปได้ ส่วนผู้ที่จะมาเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จะเป็นบุคคลที่ได้รับการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยจากทาง กสทช.   ใครพบปัญหาจากบริการโทรคมนาคมสามารถติดต่อขอรับบริการที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม ที่สำนักงาน กสทช.   ตู้เอทีเอ็มเปลี่ยนไปใช้ระบบไมโครชิพ ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศปรับเปลี่ยนรูปแบบบัตรทั้ง บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต รวมถึงตู้เอทีเอ็ม จากระบบแถมแม่เหล็กเป็นระบบไมโครชิพ เพื่อป้องกันปัญหาการโจรกรรมข้อมูลบัตร หรือการ Skimming ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เสียหายจากการโจรกรรมเงินผ่านตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีตู้เอทีเอ็มให้บริการอยู่ราว 50,000 เครื่อง มีตู้ที่ได้รับการเปลี่ยนระบบเป็นไมโครชิพแล้ว 30,000 ตู้ ซึ่งที่เหลือทางธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการเปลี่ยนตู้ของตัวเองให้เรียบร้อยทั้งหมดภายในสิ้นปี 2557 ที่สำคัญคือทางธนาคารแห่งประเทศไทย กำชับกับทางธนาคารพาณิชย์ว่าห้ามคิดค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มจากระบบเก่าเป็นระบบไมโครชิพ เพราะถือเป็นหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องทำเพื่อยกระดับความปลอดภัยในบริการให้กับลูกค้า ส่วนผู้ใช้เองก็ต้องพยายามระมัดระวังในการใช้บัตร เช่น หมั่นเปลี่ยนรหัสบ่อยๆ และอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญลงในอินเทอร์เน็ตหากไม่มั่นใจในความปลอดภัย   คลอด รพ.ไหน ประกันสังคมก็จ่าย จากนี้ไปคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถใช้บริการคลอดบุตรได้กับทุกโรงพยาบาล โดยที่ยังคงได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 คน นอกจากนี้ยังได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร 400 บาทต่อเดือน คราวละไม่เกิน 2 คน รับสิทธิได้ในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจงสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนชาย หญิง มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร คนละ 2 ครั้ง โดยผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคม จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้คุณแม่หมาดๆ ยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ส่วนกรณีถ้าเป็นผู้ประกันตนชาย สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยนำสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองกรณีมีทะเบียนสมรส มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ แต่ผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 2 คน   อย. เผยชื่อ 5 ยาสมุนไพร อันตราย สำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ดำเนินการตรวจสอบยาสมุนไพรแผนโบราณหลังจากที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แถมยังโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยมี 5 ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ อย. ฝากเตือนผู้บริโภคให้หลีกไกลอย่าเผลอไปใช้เด็ดขาด ได้แก่ 1.ยาสมุนไพร ZIA TU WAN (เซีย ทู หวัน) 2.ผลิตภัณฑ์ พญาดงชุดชะลอความแก่ 3.ผลิตภัณฑ์ตายสิบปี ดีเหมือนเดิม 4.ผลิตภัณฑ์ฮับบาตุส เซาดาห์ “786” เนื่องจากฉลากแสดงข้อความโอ้อวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรค อาทิ แก้หัด อีสุกอีใส ป้องกันและรักษานิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ต่อมลูกหมากโต มะเร็ง บํารุงกําหนัด บํารุงหัวใจ รักษาโรคเก๊าต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ฯลฯ และ 5.ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล สรรพคุณไม่ระบุข้อความภาษาไทย อย. ได้ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทั้ง 5 รายการดังกล่าวยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียนตํารับยา และยังพบว่ายาสมุนไพร JIE DU DAN ได้นําเลขทะเบียนยาผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่บนฉลาก เพราะฉะนั้นผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อและซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงสรรพคุณโอ้อวด เกินจริงมักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และการผลิตผลิตภัณฑ์มักไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงอาจทําให้ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน   ฉลาก Smart Fabric รับรองสิ่งทอคุณภาพ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ออกฉลาก Smart Fabric เพื่อเป็นตรารับรองมาตรฐานสินค้าสิ่งทอ โดยแบ่งระดับฉลากเป็น 4 ระดับ คือ 1.ฉลากคุณภาพสิ่งทอเป็นการรับรองคุณภาพสิ่งทอ เช่น การซัก การยืดหด 2.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น กันแบคทีเรีย ทนไฟ กันน้ำ 3.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต 4.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษร่วมกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณภาพ รวมทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ได้มีโอกาสเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัย โดยขณะนี้มีบริษัทที่ได้รับเครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทยเป็นรายแรกแล้ว คือ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับรองผลิตภัณฑ์ เสื้อเชิ้ตแบรนด์ กี ลาโรช (Guy Laroche) โดยได้รับมาตรฐานฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ประเภทระบายความชื้นและเหงื่อได้ดีและเพิ่มความสบายเวลาสวมใส่ (Dry)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2556 ตรวจสุขภาพ...อาจทำร้ายสุขภาพ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) รายงานว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการตรวจที่ไม่เหมาะสม เป็นการตรวจสุขภาพโดยการสุ่มตรวจหรือการตรวจแบบ “เหวี่ยงแห” นอกจากจะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น นำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็น นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพ(ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น) ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่เป็นการตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ การตรวจการทำงานของตับ ไต หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น โดยทาง HITAP ได้ทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและราชวิทยาลัยต่างๆ จัดเป็นโปรแกรมการตรวจคัดกรอง 12 เรื่อง เตรียมเสนอให้กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง 12 เรื่องที่อยู่ในโปรแกรมการตรวจมีอย่างเช่น การตรวจโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสายตา ฯลฯ พร้อมกับกำหนดช่วงวัยที่เหมาะสมและจำนวนการตรวจ ซึ่งประชาชนควรได้รับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ ก่อนเข้ารับการตรวจ     ตู้น้ำดื่มตกมาตรฐาน ปัจจุบันมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เลือกบริโภคน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ แต่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าบรรดาตู้น้ำดื่มทั้งหลายที่ตั้งให้บริการอยู่นั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดที่รับหน้าที่ดูตรวจสอบความปลอดภัยที่ชัดเจน แถมล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุมตรวจความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่าเกินครึ่งตกมาตรฐาน อย. ได้เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจตัวอย่างคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขต กทม.จำนวน 300 ตัวอย่าง พบผ่านมาตรฐาน 129 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 43 ตกมาตรฐาน 171 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 57 โดยรายการที่ไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุด คือ ค่าความเป็นกรดด่าง ซึ่งอาจมาจากระบบการกรองของตู้ (Reverse Osmosis) ซึ่งไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง อย. ออกมาเปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉยกับปัญหานี้ โดยขณะนี้ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติ เพื่อกำหนดคุณภาพของน้ำบริโภคที่ผลิตจากเครื่องอัตโนมัติโดยตรง ขณะนี้เหลือเพียงรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมบังคับใช้ในปี 2557 ซึ่งเมื่อมีผลตามกฎหมายหากพบตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติของผู้ประกอบการรายใดไม่ได้มาตรฐานจะมีโทษทันที   อย.มั่นใจนมผงไทยไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากมีข่าวที่ชวนให้ตกใจ เรื่องการพบเชื้อแบคทีเรียในเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นที่ผลิตจากบริษัท ฟอนเทียร่า ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นนี้ถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์นมต่างๆ โดยเฉพาะนมผง โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบการปนเปื้อนมีอันตรายหากมีการบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาตรวจสอบปัญหาดังกล่าวเพื่อคลายความกังวลของผู้บริโภคในประเทศไทย ทั้งการตรวจเข้มการนำเข้า เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เชิญผู้ประกอบการมาชี้แจงหามาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัย สำหรับกรณีที่ บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย ที่มีบางผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากบริษัท ฟอนเทียร่า บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย จึงได้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์บางตัว ประกอบด้วย 1.ดูโปร สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุในระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557, 2. ไฮคิว สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 09 พฤษภาคม 2556 ถึง 15 กรกฎาคม 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 09 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 มกราคม 2558, 3. ไฮคิว สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 25 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 25 ธันวาคม 2558, 4. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 14 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 14 ธันวาคม 2557 และ 5. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557 ส่วนผลิตภัณฑ์นมดัดแปลงและอาหารทารกสำหรับเด็กเล็กจากบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอื่นๆ รวม 73 รายการ ที่แจ้งกับทาง อย. ทาง อย. ยืนยันว่าไม่มีบริษัทใดนำเข้าหรือใช้เวย์โปรตีนล็อตที่เป็นปัญหาเป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด   เตรียมปรับฉลากอาหาร ปริมาณ “น้ำตาล – เกลือ” ต้องอ่านง่าย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการจัดทำฉลากอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือใหม่ จากเดิมที่ระบุปริมาณเป็นมิลลิกรัม ซึ่งอ่านเข้าใจยาก โดยเฉพาะในฉลากขนมที่มีน้ำตาลและเกลือสูง หวังช่วยให้เด็กๆ มี่ซื้อรับประทานอ่านฉลากมากขึ้น โดยฉลากแบบใหม่ต้องปรับให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย อาจใช้รูปสัญลักษณ์ในการบอกค่า เช่น รูปช้อน แทนปริมาณน้ำตาล 1ช้อน หรือ 2 ช้อน พร้อมกับระบุวิธีการเผาผลาญออกจากร่างกาย และผลกระทบ ผลเสีย หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายด้วย เช่น น้ำตาล 2 ช้อน การเผาผลาญต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที หรือ เกลือ หากได้รับปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยอาจจะทำเป็นสติกเกอร์ติดที่ซองอาหารเพิ่มเติมจากฉลากเดิมที่มีอยู่แล้ว ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คนไทยเราเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ มากขึ้น โดยในปี 2554 ข้อมูลจากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน 277,020 ราย โดยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด เช่น ไตวาย ร้อยละ 25 รองลงมาคือแทรกซ้อนทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหินร้อยละ 23 คาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนมากขึ้น   พลังคนไทยทวงคืนพลังงานชาติ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อร่วมแสดงพลังเรียกร้องความเป็นธรรม หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อชุมนุมคัดค้านการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี พร้อมทั้งล่ารายชื่อ 5 หมื่นชื่อ ยื่นถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงานทั้งสิ้น 5 คน เนื่องจากนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ประชาชนทั่วประเทศเดือดร้อน ซึ่งการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อรวมคัดค้านนั้น จะกระจายไปทุกจังหวัด โดยตั้งเป้าให้ได้จังหวัดละ 1 พันรายชื่อ เพื่อแสดงพลังของประชาชนที่คัดค้านการปรับขึ้นราคาแอลพีจีและจะนำรายชื่อไป ยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป ก๊าซแอลพีจี หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับภาคครัวเรือน เริ่มปรับขึ้นราคาเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยปรับราคาขึ้นกิโลกรัมละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่อเดือนต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิมที่ราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.82 บาทต่อกิโลกรัมใครที่อยากร่วมลงชื่อถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงาน สามารถเข้าไปโหลดเอกสารลงรายชื่อได้ที่ลิงค์ http://www.gasthai.com/pengout.pdf และติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมและข้อมูลต่างๆ เรื่องความไม่เป็นธรรมของธุรกิจพลังงานในไทยได้ที่เฟซบุ๊ค Goosoogong   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255410 มีนาคม 2554ขอระงับใช้มือถือชั่วคราว ต้องไม่เสียเงินสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยข้อมูล พบผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ขอระงับการใช้บริการชั่วคราว ยังคงถูกเรียกเก็บเงินค่ารักษาเลขหมายโดยไม่เป็นธรรม ทั้งที่ตามมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ระบุไว้ว่า ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพียงแต่ให้มีการระงับการให้บริการไปจนครบกำหนดตามเงื่อนไข เมื่อครบกำหนดแล้วบริษัทผู้ให้บริการจึงค่อยกลับมาเปิดให้บริการและคิดค่าบริการตามปกติ  จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการใน 30 วันแรก หลังจากนั้นจะคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือ บางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น -------------------     19 มีนาคม 2554สคบ. เดินหน้า 6 นโยบายเชิงรุกเพื่อผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมผลักดันการดำเนินงานนโยบายการทำงานเชิงรุก 6 ข้อ เน้นที่ตรวจสอบเฝ้าระวังสื่อโฆษณาทุกช่องทาง ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค พร้อมประเดิมลงดาบกับบรรดาธุรกิจขายตรงที่ไม่มีความเคลื่อนไหว ซึ่งธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น หวั่นเป็นการตั้งบริษัทแบบไม่โปร่งใส โดยนโยบายเชิงรุกในการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 6 ข้อมีดังนี้  1. รายงานผลการ ดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกเดือน 2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่พนักงานข้าราชการสคบ.ประจำจังหวัด จำนวน 150 อัตรา เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันการทำงานเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในต่างจังหวัดนั้น จะมีพนักงานลูกค้าอยู่ประจำ 2 คน ทำให้มีการลาออกจากตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งทาง สคบ.ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออัตราตำแหน่ง เป็นกรณียกเว้น ตามมติครม. ที่มีคำสั่งไม่ให้เพิ่มจำนวนข้าราชการ 3. แต่งตั้งกองงานสำนักงานเพื่อดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ 4. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 5. มอบตราสัญลักษณ์ธุรกิจติดดาว เพื่อยกมาตรฐาน สินค้าและบริการให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบ้านจัดสรร ร้านค้าทอง วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบในการยกระดับมาตรฐานสินค้า และบริการ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะสื่อโฆษณาเคเบิลทีวีเนื่องจากที่ผ่านมาสคบ. ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงการอวดอ้าง สรรพคุณสินค้าและบริการที่เกินจริง ซึ่ง มีสินค้าและบริการที่เข้าข่ายอยู่ 4 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง เสริมอาหาร ยา และการพยากรณ์โชคชะตา การใบ้หวย----------------------------------------     21 มีนาคม 2554ห้าม! ธนาคารพาณิชย์จัดชิงโชคเรียกคนออมเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกกฎเหล็กห้ามธนาคารพาณิชย์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีการชิงโชคแจกรางวัลเพื่อหวังจะระดมเงินฝากจากลูกค้า เพราะบางครั้งการโฆษณาให้ฝากเงินเพื่อร่วมชิงโชคนั้น ทางธนาคารให้ข้อมูลที่ซับซ้อนและไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย เรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการแจกของรางวัลในการระดมเงินฝาก ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม หากธนาคารต้องการกระตุ้นการฝากเงินจากผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ควรใช้วิธีการเพิ่มดอกเบี้ยเงิน ซึ่งเป็นวิธีที่จริงใจตรงไปตรงมา และตัวผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์มากที่สุด-------------------------------------------------------------   22 มีนาคม 2554หมวกกันน็อคไม่ได้คุณภาพกองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) ได้ตรวจยึดสินค้าและจับกุมผู้ผลิต หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคสำหรับเด็กยี่ห้อ GUARDNER กว่า 1 พันใบ หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ยืนยันจากผลการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้จะมีตรา มอก.ติดอยู่แต่ตัวหมวกนั้นดูเปราะบางกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในปีนี้ทางภาครัฐได้ประกาศรณรงค์ให้เป็นปีส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต ได้แก่ เด็ก เยาวชน และผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการใช้หมวกนิรภัย กองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) จึงได้จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย มอก.” โดยได้มีการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนควบคู่กับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าประเภทหมวกนิรภัย  สำหรับที่พบเจอหรือสงสัยว่าสินค้าที่ซื้อมาไม่ได้มาตรฐาน สามารถแจ้งมายังเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ.ได้ที่หมายเลข 1135    ฉลากขนมแบบสัญญาณไฟจราจร คำตอบที่ใช่ของสุขภาพเด็กไทยเครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีสาธารณสุข เพื่อขอให้ทบทวนการอนุมัติการใช้ฉลากขนมแบบ GDA เพราะยังเข้าใจยาก ไม่ได้บอกถึงข้อดีข้อเสียของขนมชนิดนั้นๆ อย่างตรงไปตรง พร้อมเสนอให้ใช้ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรซึ่งให้ข้อมูลต่างๆ ที่ดูเข้าใจง่ายกว่า ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะแสดงปริมาณสารอาหารทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ในรูปแบบของสีสัญญาณไฟจราจร 3 สี คือ สีเขียว หมายถึง สารอาหารดังกล่าวมีปริมาณน้อย สีเหลือง เท่ากับมีพอสมควรหรือปานกลาง ส่วนสีแดงหมายถึงมีมาก ทานเยอะไม่ดี ซึ่งฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะช่วยให้เด็กๆ และรวมถึงพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว รู้ได้ทันทีว่าขนมที่ซื้อมาให้พลังงานหรือมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม มากน้อยเพียงใด ช่วยทำให้การควบคุมการทานขนมให้เหมาะสมกับสุขภาพเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม แม้จะเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตราย ทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน หัวใจ ความดัน  ส่วนฉลากขนมแบบ GDA จะแสดงเพียงตัวเลขปริมาณของสารอาหารและเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ควรทานต่อวัน มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบ GDA ที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ  ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม หากคณะกรรมการอาหารเห็นชอบให้ใช้ฉลากจีดีเอสีเดียว ก็ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจน  ...ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเรามีความจริงใจและห่วงใยสุขภาพเด็กๆ จริงๆ ก็คงไม่ต้องบอกว่าฉลากขนมแบบไหนที่ควรใช้มากกว่ากัน...--------------     “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย”ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิเพื่อผู้บริโภค พร้อมอาสาสมัครผู้บริโภคจากเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด จัดกิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย” เชิญชวนประชาชนผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการรถโดยสาร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันภัยอันตรายจากการใช้บริการรถโดยสารที่ไม่เหมาะสม 1.ระวัง! รถผี รถเถื่อน เพราะช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีคนต้องการเดินทางออกต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการจัดหารถโดยสารมาเสริมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ ทำให้เกิดการให้บริการรถโดยสารผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่า “รถผี รถเถื่อน” รถประเภทนี้จะไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเดินรถที่ บขส. ได้กำหนดไว้ มีการเรียกเก็บค่าโดยสารที่แพงเกินกำหนด เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และเมื่อเกิดเหตุร้ายกับผู้โดยสารแล้ว มักจะหาผู้รับผิดชอบได้ยาก เราจึงไม่ควรเลือกใช้บริการพวก “รถผี รถเถื่อน” บขส.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวดกวดขันเฝ้าระวังมิให้ผู้ใดมาชักชวนประชาชนไปใช้บริการรถโดยสารที่ผิดกฎหมายได้  2.ระวัง! ขับอันตราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานขับรถขับรถด้วยความประมาท หรือร่างกายหย่อนความสามารถ ไม่พร้อม การแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการทั้ง บขส.และรถร่วมทุกบริษัท ต้องกำชับให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามระเบียบและคู่มือการเดินรถของ บขส. อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด  3.ระวัง! ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะรถประจำทางปรับอากาศที่เดินทางระหว่างจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ควรจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยแก่ผู้โดยสารทุกที่นั่ง และควรให้พนักงานประจำรถแนะนำผู้โดยสารให้ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกคน การที่ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยหากรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะทำให้ร่างกายของผู้โดยสารไม่หลุดจากที่นั่งไปชนกระแทกกับผู้โดยสารคนอื่นหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ ในรถได้ ซึ่งช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 2554 19 มกราคม 2554ฉลากอาหารปรับลุคใหม่ หวาน – เค็มเท่าไหร่รู้ได้เลยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตรียมออกประกาศ ปรับปรุงการแสดงฉลากอาหารสำเร็จรูปทุกประเภท รวมทั้งน้ำดื่มทุกชนิด ที่เป็นการให้ข้อมูลโภชนาการแก่ผู้บริโภคให้อ่านง่ายและเข้าใจมากขึ้น จากเดิมที่มีรายละเอียดซับซ้อนและเข้าใจได้ยาก ผู้บริโภคต้องคิดคำนวณสารอาหารที่ได้หรือเปรียบปริมาณที่ควรกินต่อวันเอง แต่ข้อมูลในฉลากใหม่นี้จะเน้นที่การให้ข้อมูลสารอาหารที่บรรจุภายในผลิตภัณฑ์ เปรียบเทียบเป็นร้อยละความต้องการสารอาหารของร่างกายในแต่ละวัน รวมทั้งปรับปรุงจากเดิมที่เป็นการกำหนดสารอาหารต่อ 1 หน่วยบริโภค เป็นสารอาหารตามจำนวนที่บรรจุแทน เพราะปัจจุบันอาหารมีการบรรจุหลายขนาด บางครั้ง 1 หน่วยบริโภคอาจเป็นน้ำหนักเพียง 1 ใน 4 ของน้ำหนักอาหารจริงใน 1 ซองก็ได้ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคหลายคนเข้าใจผิด  การปรับปรุงฉลากอาหารของ อย. จะทำให้ผู้บริโภคคำนวณสารอาหารที่กินได้ง่ายขึ้น และจะแสดงค่าสารอาหารสำคัญๆ ได้แก่ พลังงาน น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และเกลือ ซึ่งการกำหนดฉลากในรูปแบบใหม่นี้ จะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถควบคุมเรื่องการกิน หวาน มัน เค็ม ไม่ให้มากเกินไป ทำให้สามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ง่ายขึ้น โดย อย. ตั้งเป้าว่าผู้บริโภคจะได้เห็นฉลากรูปแบบใหม่นี้ในปี 2554++++++++++++++++++++++++++++   23 มกราคม 2554ถึงเวลาคุมเข้ม สัญญา “ฟิตเนส”สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมออกกฎหมายคุมเข้มบริการ “ฟิตเนส” หลังยอดร้องเรียนปี 53 พุ่ง 200 ราย โดยประเด็นที่ร้องเรียนส่วนใหญ่คือเรื่อง การไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาในเรื่องการบริการ ที่ก่อนจะมีการทำสัญญา พนักงานขายจะบอกว่าสามารถใช้บริการด้านใดได้บ้าง แต่เมื่อทำสัญญาแล้วไม่เป็นตามข้อตกลงที่วางไว้ กับอีกเรื่องคือ เรื่องการบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถเรียกร้องเอาเงินคืนจากผู้ประกอบการได้ และจะมีการหักเงินจากบัตรเครดิตเป็นรายเดือน ในการทำสัญญาระหว่างผู้ประกอบการและลูกค้าจะเป็นการทำสัญญากันเองของสองฝ่าย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะถูกเอาเปรียบ และไม่สามารถเอาผิดกับผู้ประกอบการได้ เนื่องจากไม่มีข้อกฎหมายบังคับ  โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาฯ จะเจาะจงแต่สถานที่ให้บริการแบบที่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายเท่านั้น ไม่รวมสถานที่ที่มีหลักสูตรเฉพาะอย่าง โยคะ ศิลปะป้องกันตัว หรือกีฬา โดยการทำสัญญาต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน พร้อมระบุรายละเอียดขนาดพื้นที่ จำนวนประเภท จำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวก  อัตราค่าสมาชิก ค่าใช้บริการออกกำลังกาย ค่าฝึกสอน ลักษณะการเรียกเก็บเงิน ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ฯลฯ  สิทธิในการบอกเลิกสัญญา เงื่อนไขการขอเรียกคืนเงิน ซึ่งต่อไปหากพบสัญญาไม่เป็นธรรม ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้++++++++++++++   26 มกราคม 2554ผู้บริโภคเสี่ยงน้ำมันทอดซ้ำเพราะน้ำมันปาล์มขึ้นราคาผลพวงจากวิกฤติราคาน้ำมันปาล์มที่แพงขึ้น กระทรวงสาธารณสุขมีความเป็นห่วงว่า บรรดาพ่อค้า-แม่ค้าอาจใช้วิธีประหยัดต้นทุนด้วยการใช้น้ำมันทอดอาหารซ้ำหลายๆ ครั้ง ซึ่งเป็นอันตรายกับผู้บริโภค เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าการนำน้ำมันมาทอดซ้ำ จะเป็นการก่อให้เกิดสารโพลาร์ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง  กระทรวงสาธารณสุขเคยสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำมันที่ใช้ทอดอาหาร ในร้านขายอาหารในปี 2553 จำนวนทั้งหมด 4,397 ตัวอย่าง พบมีสารโพลาร์เกิน 294 ตัวอย่าง ในช่วงวันที่ 1-14 มกราคม 2554 ได้ตรวจน้ำมันทอดซ้ำในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 494 ตัวอย่าง พบน้ำมันทอดซ้ำไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 5.06  กระทรวงสาธารณสุขฝากถึงพ่อค้า-แม้ค้าว่า ไม่ควรน้ำมันทอดซ้ำเกิน 2 ครั้ง โดยหลังจากใช้ทอดครั้งแรกแล้ว จะต้องกรองกากทิ้งก่อน จึงจะสามารถนำน้ำมันมาใช้ทอดครั้งที่ 2 ได้ หากสุ่มตรวจแล้วพบมีสารโพลาร์เกินมาตรฐาน คือไม่เกินร้อยละ 25 ต่อน้ำหนักน้ำมันที่ใช้ ถือว่ามีความผิดฐานจำหน่ายอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีสิทธิโดนโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   บรอดแบรนด์ 199 บาท เพื่อการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทีโอที ได้เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตราคาถูกใน 6 จังหวัด ด้วยระบบบรอดแบนด์ 2 เมกะบิต เพียง 199 บาทต่อเดือน ภายใต้โครงการ “ถนนไร้สาย” ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ซึ่งเป็นโครงการนำร่องให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สาย หรือ ไว-ไฟ (Wi-Fi) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ตามนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ โดยเริ่มต้นไปแล้ว 6 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช, ตรัง, เพชรบูรณ์, เชียงใหม่, เชียงราย และ พิษณุโลก  โดย ทีโอที หวังว่าการให้บริการอินเตอร์เน็ตในราคานี้ จะช่วยให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในประเทศมีความแพร่หลายมากขึ้น เพราะปัจจุบันอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ขั้นต่ำ 6 เมกะบิต อยู่ที่ 599 บาทต่อเดือน ซึ่งยังถือว่าค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับลูกค้าที่มีรายได้น้อย การปรับลดราคาโดยใช้เงื่อนไขลดความเร็วของอินเตอร์เน็ตลง จึงน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน – นักศึกษา  แต่บริการนี้ก็ยังติดปัญหาเรื่องการให้บริการยังไม่ครอบคลุมในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งถ้าจะทำให้เข้าถึงได้ทั่วประเทศต้องใช้เงินลงทุนสูง  แบบนี้คงต้องฝากความหวังเอาไว้กับ 3 จี ซึ่งหวังว่าบ้านเราจะมีโอกาสได้ใช้เร็วๆ นี้++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   คัดค้านเครดิตบูโร เก็บประวัติการจ่ายค่าน้ำ – ค่าไฟมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นหนังสือคัดค้านการจัดเก็บประวัติการชำระค่าระบบสาธาณูปโภค ต่อบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด(เครดิตบูโร) เพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เรื่องการจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่น่าจะมีผลเกี่ยวข้องกับเรื่องขอสินเชื่อ พร้อมเสนอให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงสินเชื่อของประชาชนโดยไม่เป็นธรรม  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค กล่าวว่าการเข้ายื่นหนังสือครั้งนี้ต้องการให้ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ทบทวนการนำประวัติการชำระค่าระบบสาธาณูปโภคมาเป็นเงื่อนไขในการของสินเชื่อ เพราะเรื่องการชำระ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ของผู้บริโภคไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน แถมยังเป็นการซ้ำเติมประชาชน เพราะปัญหาเรื่องการขาดชำระค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นเรื่องที่อาจเกิดได้จากหลายเหตุผล ทั้งจากความผิดพลาดด้านเอกสาร ที่อาจตกหล่นไม่ถึงมือผู้ใช้บริการ หรือการที่ชื่อของผู้ขอใช้กับผู้ใช้จริงไม่ได้เป็นคนเดียวกัน อย่างในกรณีของผู้ให้บริการหอพัก บ้านเช่า หรือการที่อาจถูกแอบอ้างชื่อโดยมิจฉาชีพไปจดทะเบียนของใช้บริการโทรศัพท์ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจ หากมีการนำไปบันทึกประวัติเสียในเครดิตบูโร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ถึง 3 ปี แม้เงินที่ค้างชำระจะเป็นเงินจำนวนไม่มากและผู้บริโภคจะได้ชำระเงินเรียบร้อยในภายหลังแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ดูไม่สมเหตุสมผลหากกลายมาเป็นอุปสรรคในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน++++++++++++++++++++++  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 อย่าวางใจ “ธรรมชาติ” บนฉลากอาหาร

ท่านผู้อ่านที่มีโอกาสเดินตามห้างสรรพสินค้าใหญ่หน่อยอาจเคยสงสัยว่า สินค้าที่มีวิตามินขนาดสูงๆ หรือเป็นสารสกัดจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาตินั้น ถูกนำมาวางขายบนหิ้งในห้างได้อย่างไร มันปลอดภัยแล้วหรือ ผู้เขียนเคยพบคลิปใน YouTube ให้ข้อมูลว่า ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันปัจจุบันนั้น ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารซึ่งรวมถึงสารสกัดจากใบแปะก๊วยและรากวาเลอเรี่ยนมากินเอง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้รู้เช่น แพทย์ เภสัชกร หรือนักโภชนาการ สารสกัดจากใบแปะก๊วย(Ginkgo Biloba extract) เป็นสารสกัดที่ใช้ลดความเสี่ยงหรือแก้ปัญหาอาการความจำเสื่อม แต่สารสกัดนี้ไม่ได้ช่วยให้ความจำดีขึ้นในคนปรกติ กล่าวคือ ฉลาดหรือโง่เพียงใดก็เป็นได้แค่นั้น การกินสารสกัดนี้เองอาจก่อปัญหาถ้าต้องเข้ารับการผ่าตัด เพราะสารนี้ทำให้เลือดหยุดไหลช้าจนอาจถึงตายได้) ส่วนสารสกัดจากรากวาเลอเรี่ยน (valerian root extract) นั้น การแพทย์ทางเลือกใช้ช่วยแก้ปัญหาหลับยาก แต่อาจมีผลข้างเคียงในการทำลายตับเมื่อกินมากไป ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำในการใช้สารสกัดเหล่านี้ว่า ให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่รู้จริง ท่านผู้อ่านจึงควรถามตนเองในเรื่องความจำเป็น และสงสัยเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ก่อนซื้อมาบริโภคทุกครั้ง แต่ปัญหาสำคัญที่มักเกิดขึ้นกับบางท่านคือ จะถามใครหรือหาข้อมูลได้จากที่ไหน มีข้อสังเกตว่า ผู้ขายสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติต่างๆ มักกล่าวอ้างแบบปากต่อปากถึงสรรพคุณของสินค้าว่า มีฤทธิ์ในการบำบัดอาการหรือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพเพราะเป็นสินค้าจากธรรมชาติ ประเด็นที่น่าสนใจคือ คำว่า ธรรมชาติ นั้นไม่ได้หมายความหรือแปลว่า ปลอดภัย แค่ดูตัวหนังสือที่ใช้เขียนก็เห็นความต่างแล้ว ผู้เขียนขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านลองเข้าไปดูคลิปของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เรื่อง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ปลอดภัยกว่าสารเคมีจริงหรือ ใน YouTube ( ลิงค์ยูทูปกดดูได้ )ก็คงเข้าใจได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่คนอเมริกันซาบซึ้งใจดีเกี่ยวกับคำว่าธรรมชาติคือ การใช้สมุนไพรจีนชื่อ มาฮวง (Ma Huang ซึ่งรู้จักกันทั่วโลกในชื่อ Ephedra โดยมีชื่อเล่นว่า yellow horse) ในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่สุดท้ายปรากฏว่า ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงคือ เพิ่มความดันโลหิตให้สูงกว่าปรกติพร้อมกับอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น (ซึ่งทั้งสองอาการนี้นำไปสู่อาการหัวใจวาย) ก่อปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจึงทำให้ถูกห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในสตรีมีครรภ์ ข้อมูลจาก Wikipedia กล่าวว่า อย.มะกันได้ห้ามขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารอัลคาลอยด์ซึ่งเป็นสารสำคัญในมาฮวงชื่อ อีฟีดรีน (ephedrine alkaloids) ตั้งแต่ปี 2004 แต่ไม่ได้ห้ามการขายมาฮวงหรือสารสกัดจากมาฮวงที่มีอีฟีดรีนไม่มากเกินปริมาณที่ อย.กำหนด ในรัฐยูทาห์มีการชงชาที่ใช้ใบมาฮวงแทนใบชาจีนเพราะไม่มีคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารห้ามกินในศาสนานี้ จึงมีผู้เรียกชานี้ว่า Mormon tea จากตัวอย่างความหมายของคำว่า “ธรรมชาติ” ที่ยกให้เห็นเกี่ยวกับมาฮวงในสหรัฐอเมริกานั้น จะเห็นได้ว่าเมื่อคำนี้ปรากฏบนฉลากผลิตภัณฑ์ใดๆ โดยเฉพาะบนฉลากอาหารนั้น มัก เป็นคำที่ดูไร้สาระ ในความนึกคิดของชาวอเมริกันที่มีการศึกษาดี ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐอเมริกาจึงได้เริ่มขยับที่จะทำให้คำๆ นี้มีความหมายเป็นเรื่องราวเสียที ดังปรากฏในบทความชื่อ FDA Wants You to Define ‘Natural’ on Food Labels ซึ่งปรากฏในเว็บ www.care2.com เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2015 ใจความสำคัญในบทความนั้นกล่าวว่า องค์กรเอกชนในสหรัฐอเมริกาได้พยายามรวบรวมข้อเสนอแนะจากสาธารณะชน เพื่อขอ(กดดัน)ให้ อย.กำหนดความหมายที่ชัดเจนหรือห้ามการใช้คำๆ นี้บนฉลากอาหาร ประจวบกับทางหน่วยงานนี้ได้ถูกศาลของรัฐบาลกลางขอร้องให้ข้อแนะนำเพื่อการตัดสินคดีว่า สินค้าที่มีวัตถุดิบที่เป็นจีเอ็มโอ หรือใช้น้ำเชื่อมฟรัคโตสที่ทำจากข้าวโพดนั้น ใช้คำว่าธรรมชาติได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วนักการตลาดที่ไร้เดียงสาในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ มักมโนว่า ธรรมชาตินั้นมีความหมายเกี่ยวข้องเพียงสีธรรมชาติหรืออะไรประมาณนั้น ซึ่งบางครั้งการมโนแบบนี้ก็ได้กลายเป็นภาพลวงที่มักเกิดได้กับผู้ซื้อสินค้า(นักช็อป)มืออาชีพ จากรายงานการสำรวจของ Consumer Reports ในบทความเรื่อง Say no to 'natural' on food labels (โดย Deborah Pike Olsen ซึ่งถูกตีพิมพ์เมื่อ 16 มิถุนายน 2014 ใน www.consumerreports.org) กล่าวว่า กว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสอบถาม 1000 คน พยายามมองหาคำว่าธรรมชาติบนฉลากเมื่อต้องการซื้ออาหารสำเร็จรูป โดยที่สองในสามตีความสินค้าที่มีคำว่าธรรมชาติหมายถึงสินค้านั้นไม่มีองค์ประกอบที่เป็นสิ่งสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง และจีเอ็มโอ ในการสำรวจเดียวกันนั้นยังพบว่า 9 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจเห็นควรให้ติดฉลากอาหารที่มีองค์ประกอบที่เป็นจีเอ็มโอตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยที่กว่า 3 ใน 4 กล่าวว่าเรื่องนี้สำคัญมากสำหรับประชาชนที่ต้องหลีกเลี่ยงองค์ประกอบอาหารที่มาจากจีเอ็มโอ ในขณะที่ประเด็นนี้ทาง อย.มะกันไม่ได้รู้สึกร้อนรู้สึกหนาวในการจะบังคับให้มีการติดฉลากหรือสร้างมาตรฐานความปลอดภัย พฤติกรรมของ อย.มะกันเกี่ยวกับจีเอ็มโอนั้นเป็นที่สงสัยกันมาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าไปดูบทความเรื่อง Monsanto Controls both the White House and the US Congress ที่ www.globalresearch.ca/monsanto-controls-both-the-white-house-and-the-us-congress/5336422 แล้วใช้วิจารณญานของแต่ละบุคคลคิดเองว่ามันเป็นอย่างไร สำหรับประเด็นความหมายของคำว่า ธรรมชาติ สำหรับ อย.มะกันแล้ว มันมีอะไรมากกว่าที่มนุษย์ธรรมดาคิด กล่าวคือ อย.ได้พิจารณาว่า คำๆ นี้น่าจะหมายถึง การไม่มีของเทียมหรือสารสังเคราะห์(ซึ่งรวมถึงสีที่ใช้ใส่ในอาหาร โดยไม่คำนึงถึงแหล่งที่มาของสี ทำให้น่าจะหมายความว่า แม้แต่แตงโมที่ถูกเอาสีจากกระเจี๊ยบทาให้ดูแดงฉ่ำกว่าเดิม แตงโมนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นอาหารธรรมชาติแล้ว) เป็นองค์ประกอบหรือถูกเติมลงไปในอาหารนั้น อย่างไรก็ดี ความหมายของธรรมชาติที่ อย.มะกันมองนั้น ไม่เกี่ยวกับกระบวนการผลิตว่าใช้หรือไม่ใช้สารกำจัดศัตรูพืช หรือขั้นตอนการผลิตใช้หรือไม่ใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อ หรือการฉายรังสี อีกทั้ง อย.มะกันก็ไม่ได้มองคำว่า ธรรมชาติ นั้นมีอะไรเกี่ยวข้องกับคุณค่าทางโภชนาการหรือสิ่งที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้นในปัจจุบัน อย.มะกันจึงพยายามมองหาผู้ร่วมอุดมการมาช่วยคิดว่า มันถึงเวลาแล้วในการกำหนดความหมายที่แน่นอนของคำว่า ธรรมชาติ และควรกำหนดด้วยวิธีใด อีกทั้งหน่วยงานนี้ก็ยังต้องการความเห็นว่า การใช้คำว่าธรรมชาติบนฉลากอาหารนั้นควรเป็นอย่างไรด้วย ความเห็นของผู้สนใจ(ชาวอเมริกัน)นั้นสามารถส่งให้ อย.มะกันได้ตั้งแต่ 12 พฤศจิกายน 2015 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งหลังจากนั้นก็คงรอกันอีกนานพอควรกว่าจะได้ข้อสรุปออกมาเป็นเรื่องเป็นราวให้ อย.ประเทศอื่นได้สำเนาไปใช้กัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 129 ปรารถนาดีหรือจะมีค้าแฝง

  “บางครั้งมันก็ยากที่จะบอกว่ามันคือการปรารถนาดีหรือมีการค้าแฝง” วันหนึ่ง กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคของผม ได้รับการติดต่อจากบุคคลรายหนึ่ง แจ้งความประสงค์ว่าต้องการนำยามาเผยแพร่ให้กับผู้ป่วยฟรี  โดยบุคคลรายนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เคยมีผู้ป่วยรับประทานยาเหล่านี้  แล้วอาการเจ็บป่วยหาย  จึงมีความปรารถนาดีที่จะเผยแพร่ยาเหล่านี้กับผู้ป่วยอื่นๆ ในจังหวัด โดยการเปิดบริการผู้ป่วยโดยไม่คิดมูลค่า เมื่อพิจารณาจากฉลากยาทั้ง 2 ชนิดนี้ พบว่าทั้ง 2 ชนิดเป็นยาแผนโบราณ มีเลขทะเบียนยาแผนโบราณแสดงบนฉลากชัดเจน  มีเอกสารแผ่นพับระบุสถานที่ผลิต และข้อความ “แด่ผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ...กลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง ภูมิต้านทานร่างกายผิดปกติ โรคเกิดจากความเสื่อม ฯลฯ” แต่เมื่อได้อ่านรายละเอียดวิธีใช้ข้างกล่อง ผมก็ต้องสะดุดตากับข้อความแปลกๆ “วิธีใช้ รับประทานก่อนอาหาร ก่อนยาจากโรงพยาบาล 1 ชั่วโมง” (ซึ่งผมมั่นใจว่าทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา คงไม่อนุญาตให้ใช้ข้อความแปลกๆ ทำนองนี้) จากการติดตามตรวจสอบทะเบียนยาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาปรากฏว่า ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องแล้ว แต่ไม่ได้อนุญาตให้ระบุข้อความแบบนี้ อย่างที่สงสัย แต่สิ่งที่ผมอยากชี้แจงเพิ่มเติมแก่ผู้อ่านคือ แม้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้จะได้รับอนุญาตแล้ว แต่การที่ใครจะมาเผยแพร่หรือรักษาผู้ป่วยโดยใช้ยาเหล่านี้แจกฟรีๆ นั้น ตามกฎหมายไม่ได้อนุญาตนะครับ และที่กฎหมายไม่อนุญาตนั้น ไม่ใช่จะไปกีดกันอะไรหรอก  เจตนาก็เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเองครับ ยาเป็นสินค้าที่แม้จะมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรค แต่ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสมไม่ระมัดระวัง อาจจะทำให้ผู้ที่รับประทานเกิดอันตรายได้ ดังนั้นการจะใช้ยาชนิดใดก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขจึงต้องมีกฎเกณฑ์กติกา เช่น ต้องจำหน่ายในร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (ยกเว้นยาสามัญประจำบ้านที่อนุญาตให้ขายในร้านค้าอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต) ห้ามเร่ขายยาตามสถานที่ต่างๆ  นอกจากนี้ การที่ใครจะมาเปิดรักษาโรค แม้จะบริการฟรีไม่คิดค่าใช้จ่าย ก็ต้องแจ้งขออนุญาตให้ถูกต้อง เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้เข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัยร่วมกัน ทราบอย่างนี้ก็ช่วยกันแนะนำต่อๆ กันด้วยนะครับ เพราะบางทีเราก็อธิบายได้ยาก ว่าเรื่องแบบนี้เกิดจากเจตนาดีหรือมีการค้าแอบแฝงกันนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ฉลากแป้งฝุ่นทาผิวในประเทศไทยยังไม่มีคำเตือน อันตรายเสี่ยงมะเร็ง

หลังข่าวศาลชั้นต้นแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ตัดสินให้ “จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน” จ่ายเงินจำนวน 72 ล้านดอลลาร์ให้กับสุภาพสตรีรายหนึ่งที่ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ซึ่งฟ้องร้องว่าสาเหตุของโรคนั้นมาจากแป้งฝุ่นของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันที่ตนใช้มายาวนานหลายสิบปี ได้กระจายไปทั่วโลก ความวิตกกังวลก็พลันบังเกิดขึ้นกับคนจำนวนมหาศาลที่นิยมใช้แป้งฝุ่นโรยตัว โดยเฉพาะบริเวณจุดซ่อนเร้น จากข่าวพบว่า ที่ผ่านมา จอห์นสันแอนด์จอห์นสันถูกฟ้องร้องกว่า 1,200 คดี ที่ทั้งหมดอ้างอิงจากผลการศึกษาและวิจัยต่างๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์แบรนด์ชาวเวอร์ทูชาวเวอร์มีส่วนก่อให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ ในรายละเอียด คณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ ตัดสินว่า จอห์นสันแอนด์จอห์นสันต้องจ่ายค่าเสียหายจำนวน 10 ล้านดอลลาร์ และอีก 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นค่าชดเชยแก่ครอบครัวของ แจ็คกี ฟอกซ์ สุภาพสตรีที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่เมื่อปีที่แล้ว หลังจากใช้แป้งจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ติดต่อกันนานหลายปี เหตุผลสำคัญ คือ ทางบริษัทรับทราบมาไม่ต่ำกว่า 30 ปีแล้วว่าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งแต่ก็ล้มเหลวที่จะแจ้งและตักเตือนผู้บริโภค “มีความชัดเจนว่าบริษัทได้ปกปิดข้อมูลบางอย่างเอาไว้” คริสตา สมิธกล่าวในฐานะหัวหน้าคณะลูกขุนแห่งเมืองเซนต์หลุยส์ “สิ่งที่บริษัทควรทำมานานแล้วคือติดฉลากเพื่อตักเตือนผู้บริโภค” แจ็คกี ฟอกซ์ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งรังไข่ในวัย 62 ปี ได้ให้การในช่วงหกเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตว่า เธอใช้แป้งเด็กจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นชาวเวอร์ทูชาวเวอร์ทุกๆ เช้า จนกระทั่งตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็ง (ข้อมูลจาก : http://waymagazine.org/%E0%B9%8Bjjcausecancer/)   ฉลากแป้งฝุ่นและคำเตือนสำคัญ จากข่าวดังกล่าวทำให้เกิดประเด็นถกเถียงทางสังคมว่าการทาแป้งบริเวณจุดซ่อนเร้นเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ถ้าเป็นจริงดังคำตัดสินในคดีของแจ็คกี ฟอกซ์ บริษัทผู้ผลิตควรมีคำเตือนเพื่อให้ผู้บริโภคได้ระมัดระวังการใช้ด้วยหรือไม่ โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จึงร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สุ่มสำรวจและเก็บตัวอย่างแป้งฝุ่นทาผิวจากท้องตลาดและห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ รวม 35 ตัวอย่าง เพื่อพิจารณาฉลาก ดูส่วนประกอบของแป้งว่ามียี่ห้อไหนบ้างที่มี ทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบ และมีคำเตือนที่บอกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทาแป้งฝุ่นกับการเกิดมะเร็งหรือไม่   สรุปการสำรวจ1.ไม่พบคำเตือนที่บอกถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างการทาแป้งฝุ่นกับการเกิดมะเร็ง 2. พบผลิตภัณฑ์ 4 ตัวอย่าง ไม่ระบุคำเตือนใดๆ 3. คำเตือน ที่พบคือ ระวังอย่าให้แป้ง เข้าจมูกและปากเด็ก ระวังอย่าให้แป้งเข้าตา ห้ามใช้โรยสะดือเด็กแรกเกิด ถ้ามีการผสมสารเพื่อป้องกันแสงแดด จะระบุเพิ่ม หากใช้แล้วมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นต้องหยุดใช้และปรึกษาแพทย์4. พบ 34 ตัวอย่าง มีทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบสำคัญ5. มีเพียง 1 ตัวอย่าง ที่ไม่มีทัลค์ (Talc) เป็นส่วนประกอบ คือ แป้งหอมไร้ซแคร์ (ฟลอรัล สวีท) (ReisCare Perfumed Powder (Floral Sweet) แป้งฝุ่นทาผิวกับมะเร็งสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ติดตามเฝ้าระวังเกี่ยวกับการปนเปื้อนของแร่ใยหินในทัลก์มาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 และได้ส่งตรวจวิเคราะห์หาแร่ใยหินในแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์ จำนวน 40 ตัวอย่าง ซึ่งใน 40 ตัวอย่างนั้นตรวจไม่พบการปนเปื้อนแร่ใยหินแต่อย่างใด นอกจากนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ถึง 2558 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ส่งตัวอย่างแป้งที่มีส่วนผสมของทัลก์ ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจวิเคราะห์ โดยส่งตัวอย่างแป้งฝุ่นโรยตัว จำนวน 73 ตัวอย่าง และทุกตัวอย่างตรวจไม่พบแร่ใยหินปนเปื้อน ทั้งนี้แร่ใยหินเป็นวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 757 “จากการศึกษาพบว่า ทัลค์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อสัตว์ทดลอง ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และยังอยู่ระหว่างการวิจัยว่าทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่”   ฉลาดซื้อแนะ1. ควรอ่านวิธีการใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด2. ระวังอย่าให้แป้งเข้าจมูก และปาก3. อย่าสูดดมแป้ง4. ไม่ควรใช้แป้งกับบริเวณอวัยวะเพศ               ทัลค์ (Talc), ทัลคัม (Talcum) และแมกนีเซียม ซิลิเกท (Magnesium Silicate) ทั้ง 3 ชื่อ คือตัวสารตัวเดียวกันเพียงแต่เรียกต่างกันเท่านั้น ทั้ง 3 ชื่อ คือแร่หินชนิดหนึ่งที่ได้มาจากการทำเหมืองหินทาล์ค แล้วนำมาโม่ให้ละเอียด อบให้แห้งและฆ่าเชื้อ แม้จะมีการแยกสิ่งแปลกปลอมออก แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ จึงยังมีสิ่งแปลกปลอมหลงเหลืออยู่บางอย่าง ที่อาจจะมีคุณสมบัติคล้ายแอสเบสตอส (Asbestos) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) และ U.S. Environmental Protection Agency จัดให้เป็นUnclassifiable Carcinogen (สารก่อมะเร็งที่ไม่สามารถจัดจำพวกได้) “ทัลคัม” เป็นสารอนินทรีย์ จึงไม่สามารถ ย่อยสลายได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ถ้าใช้โดยไม่ระมัดระวัง เมื่อสูดเข้าไปเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมอาจทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ(Talcosis) และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งรังไข่ในสุภาพสตรีได้(Ovarian Cancer) กรณีใช้ใต้ร่มผ้าเป็นระยะเวลานานๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 กาเฟอีนในชาพร้อมดื่ม

เราทราบกันดีว่าเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน (เครื่องดื่มชูกำลัง) เป็นเครื่องดื่มที่มีคำเตือน “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” อยู่บนฉลาก อีกทั้ง ด้วยเป็นเครื่องดื่มที่ผสมสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ควบคุมปริมาณกาเฟอีนที่เป็นส่วนผสมไว้ว่าห้ามเกิน 50 มิลลิกรัม ต่อขวดหรือกระป๋อง (หน่วยบรรจุ) นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมเรื่องการโฆษณาอีกต่างหากเพื่อให้ผู้บริโภคไม่เกิดความเข้าใจที่ขาดเคลื่อนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เช่น ต้องมีการระบุคำเตือนในสปอตโฆษณาทุกครั้ง และต้องไม่โฆษณาในลักษณะการแถมพก หรือให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชคหรือมีการให้ของแถม เป็นต้น อย่างไรก็ดี เรื่องที่ฉลาดซื้อจะนำข้อมูลมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้นหากแต่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีกาเฟอีนเหมือนกันแต่เป็นกาเฟอีน (Caffeine) ตามธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ชาเขียว และกาแฟพร้อมดื่ม ด้วยเหตุผลที่ว่า มันไม่มีคำเตือน! และไม่ได้รับการควบคุมครับพี่น้อง   ด้วยกระแสความนิยมชาที่มีมาอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะชาเขียว) กับ กระแสกาแฟที่อ้างว่ากินแล้วหุ่นดี ไม่อ้วน ทำให้ผู้บริโภคหลายคนลืมไปว่าสิ่งที่ตนจะดื่มมีสารเสพติดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย (ถึงแม้จะมีการบังคับให้แสดงปริมาณกาเฟอีนบนฉลาก ชา – กาแฟ ก็ตาม) ผู้บริโภคบางคนถึงขนาดเคยพูดให้ผู้เขียนฟังว่า “ดื่มน้ำอัดลมไม่ดี ดื่มชา (เขียว) ดีกว่า ดีกับสุขภาพด้วย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาเอาฉลากชา แต่ละยี่ห้อ จำนวน 23 ตัวอย่าง (13 ยี่ห้อ) ทั้งชาเขียว ชาขาว ชาดำ ฯลฯ และปิดท้ายด้วยกาแฟกระป๋อง โดยนำฉลากกาแฟจำนวน 3 ตัวอย่างบวกกับฉลากเครื่องดื่มชูกำลังจำนวน 4 ตัวอย่าง มากางเห็นกันอย่างชัดเจนว่า ผลิตภัณฑ์ของเจ้าใด มีกาเฟอีน มากน้อยต่างกันเพียงใด นอกจากนี้ เรามีสมนาคุณพิเศษแถมข้อมูลน้ำตาลบนฉลาก กับการแสดงฉลากโภชนาการ มาให้ท่านผู้อ่านได้ยลกันอีกด้วย     ภาพรวมจากการเปรียบเทียบฉลาก ชาสำเร็จรูปพร้อมบริโภคทั้งหมดที่สุ่มมาจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ประการคือ น้ำชาและน้ำตาล (หรือสารอื่นที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล) โดยในน้ำชานั้นจะมีกาเฟอีนอยู่ระหว่าง เกือบ 7 ถึง 20 มิลลิกรัม ต่อ 100 มิลลิลิตร ขณะที่กาแฟกระป๋องมีกาเฟอีนอยู่ที่ 40 – 80 มล.ต่อ 100 มิลลิกรัม หากคำนวณเป็นปริมาณกาเฟอีนต่อภาชนะบรรจุแล้วจะพบว่าอยู่ในช่วง ประมาณ 23 ถึง 101 มิลลิกรัมต่อภาชนะบรรจุ ส่วนกาแฟกระป๋องจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 98 – 144 มิลลิกรัมต่อกระป๋อง และเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนทั้งหมดจะมีกาเฟอีนอยู่ที่ 50 มิลลิกรัม/ขวด สำหรับการแสดงฉลากโภชนาการ สัดส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 3 โดยมีการแสดง 1 ส่วน ขณะที่ อีก 2 ส่วนไม่มีการแสดงซึ่งทำให้ผู้บริโภคที่ใช้ฉลากเพื่อการตัดสินใจจะพบความลำบากเมื่อต้องการทราบปริมาณน้ำตาลว่ามีอยู่เท่าไร บทวิเคราะห์ ชาพร้อมดื่ม(ทุกประเภท) เป็นเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนตามธรรมชาติในปริมาณต่อหน่วยบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต่างกันกับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน นอกจากนี้ยังมีน้ำตาลสูง ยิ่งไปกว่านั้นด้วยมีการบังคับแสดงคำเตือน ว่า “ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” สำหรับเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน ดังนั้นชาพร้อมดื่มจึงไม่ใช่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพตามที่ผู้ประกอบการทำให้เราเข้าใจแต่อย่างใด การบริโภคชาพร้อมดื่มเกินกว่าวันละ 2 ขวดคู่กับการดื่มกาแฟวันละ 1 – 2 แก้ว หรืออาหารอื่นที่มีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ อาจจะนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน (Caffeinism) ได้ (การได้รับกาเฟอีนเกินกว่า 250 มก./วันนำมาซึ่งอาการติดกาเฟอีน : อาการหงุดหงิด ทำงานไม่ได้ จนกว่าจะเพิ่มปริมาณคาเฟอีนในกระแสเลือดก่อน) อีกทั้งยังอาจนำมาซึ่งโรคอ้วนและโรคเบาหวาน (จากการได้รับน้ำตาลมากเกินไป – เกณฑ์น้ำตาลต่อวันที่นักโภชนาการแนะนำคือ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการแสดงฉลากอาหาร หรือ อย. จึงควรมีการบังคับให้มีฉลากคำเตือนแบบเดียวกันกับที่มีในเครื่องดื่มผสมกาเฟอีนอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ฉลาดซื้อแนะนำ 1. ถ้าต้องการดื่มชาเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำให้ชงชาดื่มเองเพราะไม่ได้ยุ่งยากอะไรแค่ใส่ใบชาลงในน้ำร้อน ทิ้งไว้ไม่เกิน 3 นาที (เกินกว่านี้ สารแทนนินจะออกมามากทำให้มีรสขม) 2. อย่าเข้าใจว่า ชาเขียวพร้อมดื่มดีต่อสุขภาพ เพราะในระหว่างกระบวนการผลิตชาพร้อมดื่มที่ต้องใช้ความร้อนสูงในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้สารที่เป็นประโยชน์ในชาหายไปจนเกือบหมดแล้ว 3. สำหรับผู้ชื่นชอบชาพร้อมดื่ม เราขอแนะนำให้ดื่มไม่เกินวันละ 2 ขวด (แบบไม่มีน้ำตาล) โดยเด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน และผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน 4. สำหรับท่านที่ชอบดื่มชาปกติ (มีน้ำตาล) ฉลาดซื้อแนะว่า ขวดเดียวต่อวันก็เกินพอครับ (หวานเกิ๊น )

อ่านเพิ่มเติม >