ฉบับที่ 159 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2557 ประกันสังคมเพิ่มสิทธิผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ประกาศเพิ่มความคุ้มครองกรณีปลูกถ่ายอวัยวะ 5 รายการ ประกอบด้วย 1.การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ 2.การผ่าตัดปลูกถ่ายปอด 3.การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ 4.การผ่าตัดปลูกถ่ายตับอ่อน และ 5.การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่าหนึ่งอวัยวะพร้อมกัน ได้แก่ หัวใจและปอด หัวใจและไต ตับและไต ตับอ่อนและไต โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พ.ค.57 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้สำนักงานประกันสังคมก็ได้ให้สิทธิผู้ประกันตนในการ ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ปลูกถ่ายไขกระดูก และปลูกถ่ายไต ครั้งนี้ได้มีการขยายความคุ้มครองแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจล้มเหลวชนิดรุนแรง โรคปอดที่มีอันตรายถึงชีวิต โรคตับเรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นต้น ซึ่งโรคดังกล่าวไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ จึงต้องได้รับการรักษาโดยการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ โดยหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและอัตราบริการทางการแพทย์ ทั้งผู้บริจาคอวัยวะและผู้รับบริจาค จะได้รับสิทธิครอบคลุมค่าใช้จ่าย ดังนี้  1. ค่าเตรียมก่อนการผ่าตัด 2. ค่าใช้จ่ายเมื่อเข้ารับการผ่าตัดของผู้รับบริจาค กรณีมีภาวะแทรกซ้อน และกรณีไม่มีภาวะแทรกซ้อน 3. ค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัด ซึ่งขณะนี้มีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมกับสำนักงานประกันสังคมที่สามารถทำการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ 5 แห่งขณะนี้ คือ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลศรีนครินทร์     ขนส่งฯ เข้มเรื่อง “เข็มขัดนิรภัย” ระวังโทษปรับทั้งคนนั่ง-คนขับ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา ถือเป็นวันดีเดย์ที่กรมขนส่งทางบกประกาศให้รถโดยสารสาธารณะทุกคันต้องมีการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง พร้อมเดินหน้าบังคับใช้เข้มงวดจริงจัง (สักที) เป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากรถโดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ได้ทำข้อมูลอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภทพบว่ามีเกิดขึ้นเฉลี่ยถึง 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งมีผลการวิจัยถึงประโยชน์ของการใช้เข็มขัดนิรภัยในประเทศไทยระบุว่า ผู้ที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์มากกว่าผู้ที่คาดเข็มขัดนิรภัยถึง 1.52 เท่าและพบว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยสามารถช่วยลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ถึงร้อยละ 34 สำหรับประเภทของรถโดยสารสาธารณะที่ต้องปฎิบัติตามคำสั่งนี้ได้แก่ รถตู้โดยสารสาธารณะ ทั้งประจำทางและไม่ประจำทาง รถโดยสารประจำทางที่วิ่งระหว่างจังหวัด และรถโดยสารไม่ประจำทาง หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องโดนโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมนังได้มีการออกกฎกระทรวง เรื่องกำหนดความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยที่ผู้โดยสารต้องปฏิบัติในระหว่างการโดยสาร พ.ศ. 2557 ที่มีข้อบังคับให้ผู้โดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเป็น 1 ใน 10 บังคับเรื่องความปลอดภัยที่ผู้โดยสารรถโดยสารสาธารณะต้องปฏิบัติ   ยาจุดกันยุงอันตราย ตายทั้งยุง ตายทั้งคน บ้านไหนที่ใช้ยาจุดกันยุงต้องระวัง เพราะเดี๋ยวนี้มียาจุดกันยุงไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงสารอันตรายทำร้ายสุขภาพถูกลักลอบนำเข้ามาขายหลอกลวงผู้บริโภค โดยล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมมือกับกองปราบปรามเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำการจับกุมผู้กระทำผิดที่ลักลอบผลิต-จำหน่ายยาจุดกันยุงที่ไม่ได้มาตรฐานและไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน ได้แก่ ยาจุดกันยุงยี่ห้อ LaoJun และ ยี่ห้อgoldeer จากการตรวจสอบพบว่ายาจุดกันยุงทั้ง 2 ยี่ห้อ มีการใช้ “สารเมเพอร์ฟลูทริน” ( Meperfluthrin ) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มของสารไล่แมลง ไพรีทริน หรือ ไพรีทรอยด์ ที่ อย. ยังไม่รับขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ไม่มีการยืนยันเรื่องความปลอดภัยและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ใช้ เพราะฉะนั้นก่อนจะซื้อยาจุดกันยุงหรือผลิตภัณฑ์สารเคมีกำจัดแมลงต่างๆ ต้องดูให้แน่ใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองถูกต้อง และอย่าลืมดูวิธีใช้ที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง   เศร้าเพราะ “ผักสด” สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา เตือนคนชอบทานผัก ระวังผักสดที่ถูกใส่มาพร้อมในกล่องข้าวที่ปิดสนิท เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคสูง เหตุเพราะผักสดส่วนใหญ่จะมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งผักสดที่ไม่ได้ผ่านการล้างทำความสะอาดที่ดีพอ ก็อาจมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง ซึ่งมาจากดินที่ปลูก ขั้นตอนการเก็บ การขนส่ง หรือแม้แต่จากขั้นตอนการปรุง พอนำมาวางบนอาหารที่ปรุงสุกแล้วภายในกล่องซึ่งมีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 35-50 องศาเซลเซียส ผักสดที่ได้รับความร้อนจากอาหารเป็นเวลานานๆ ทำให้ผนังเซลล์ของผักถูกทำลาย เชื้อแบคทีเรียจึงเจริญเติบโตได้ง่ายขึ้น ผักจะเน่าเร็วกว่าปกติ ทำให้เชื้อแบคทีเรียอาจปนเปื้อนลงในอาหาร เสี่ยงต่ออาการอาหารเป็นพิษ วิธีป้องกันก็ต้องวอนต่อไปยังพ่อครัว-แม่ครัวว่าควรแยกผักสดออกจากกล่องข้าวกับข้าวที่ทำใหม่ๆ แยกใส่ถุงพลาสติกต่างหาก ส่วนคนกินอย่างเราก็ควรเลือกกินอาหารที่ผลิตสดใหม่ ลดความเสี่ยงจากการอาหารไม่ปลอดภัย   ยกระดับเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคม กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน และกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก แถลงข่าว “ร่วมสร้างระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ระบบหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียว” เรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบสุขภาพของผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคม ปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือ เรื่องของการเข้าถึงสิทธิ ที่ต้องสมทบเข้ากองทุนไม่น้อยกว่า 3 เดือน จึงจะได้รับสิทธิการรักษา และกรณีคลอดบุตรต้องสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน จึงจะได้รับสิทธิค่าคลอดเหมาจ่าย ทำให้คนที่ยังจ่ายสมทบไม่ครบไม่สามารถใช้สิทธิใดได้เลย สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ใช้ไม่ได้ สิทธิประกันสังคมก็ยังไม่ได้สิทธิ ต้องให้สิทธิการรักษาพยาบาลเกิดขึ้นทันทีที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุน นอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกจำนวนมากที่รอการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็น ให้การคลอดเป็นการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ยกเลิกการจำกัดการคลอดได้ 2 ครั้ง ยกเลิกการจำกัดสิทธิไม่รักษากรณีการทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ไม่ว่าจะทำสำเร็จหรือไม่ ต้องรักษาทุกกรณี และต้องได้รับการชดเชยตามสิทธิกรณีตายที่ระบุไว้ในประกันสังคม ไม่กำหนดเพดานวงเงินและเงื่อนไขจำนวนครั้งต่อปี  ในการรักษาเกี่ยวกับฟัน ต้องเป็นไปตามความจำเป็น ให้สิทธิการรักษากรณีการบำบัดสารเสพติดต่างๆ รวมทั้งพัฒนาสิทธิประโยชน์การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ให้ได้รับการบำบัดทดแทนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดอย่างโปรตีนแฟคเตอร์ที่เท่าเทียมเช่นสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกเรื่องที่มีความสำคัญมาก คือผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากการรักษาพยาบาล จะไม่ได้รับสิทธิการคุ้มครองเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 41ทำให้ผู้ประกันตนต้องไปฟ้องศาลเพียงอย่างเดียว ซึ่งใช้เวลานานไม่ทันต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น จึงควรมีการดูแลคุ้มครองสิทธิด้านนี้ให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมด้วย   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2556 กสทช.เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จากนี้ไปปัญหาของคนที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือน่าจะบรรเทาเบาบางลง เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิด “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางจากการใช้บริการโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางตกลงหาข้อยุติของปัญหาให้กับฝ่ายผู้บริโภคและผู้ให้บริการ แต่การเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นไปตามความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย หรือหากดำเนินการไกล่เกลี่ยแล้ว ไม่เป็นที่พอใจ ผู้บริโภคที่ได้รับปัญหาก็สามารถนำเรื่องเข้าสู่การฟ้องร้องต่อไปได้ ส่วนผู้ที่จะมาเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จะเป็นบุคคลที่ได้รับการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยจากทาง กสทช.   ใครพบปัญหาจากบริการโทรคมนาคมสามารถติดต่อขอรับบริการที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม ที่สำนักงาน กสทช.   ตู้เอทีเอ็มเปลี่ยนไปใช้ระบบไมโครชิพ ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศปรับเปลี่ยนรูปแบบบัตรทั้ง บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต รวมถึงตู้เอทีเอ็ม จากระบบแถมแม่เหล็กเป็นระบบไมโครชิพ เพื่อป้องกันปัญหาการโจรกรรมข้อมูลบัตร หรือการ Skimming ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เสียหายจากการโจรกรรมเงินผ่านตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีตู้เอทีเอ็มให้บริการอยู่ราว 50,000 เครื่อง มีตู้ที่ได้รับการเปลี่ยนระบบเป็นไมโครชิพแล้ว 30,000 ตู้ ซึ่งที่เหลือทางธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการเปลี่ยนตู้ของตัวเองให้เรียบร้อยทั้งหมดภายในสิ้นปี 2557 ที่สำคัญคือทางธนาคารแห่งประเทศไทย กำชับกับทางธนาคารพาณิชย์ว่าห้ามคิดค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มจากระบบเก่าเป็นระบบไมโครชิพ เพราะถือเป็นหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องทำเพื่อยกระดับความปลอดภัยในบริการให้กับลูกค้า ส่วนผู้ใช้เองก็ต้องพยายามระมัดระวังในการใช้บัตร เช่น หมั่นเปลี่ยนรหัสบ่อยๆ และอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญลงในอินเทอร์เน็ตหากไม่มั่นใจในความปลอดภัย   คลอด รพ.ไหน ประกันสังคมก็จ่าย จากนี้ไปคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถใช้บริการคลอดบุตรได้กับทุกโรงพยาบาล โดยที่ยังคงได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 คน นอกจากนี้ยังได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร 400 บาทต่อเดือน คราวละไม่เกิน 2 คน รับสิทธิได้ในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจงสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนชาย หญิง มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร คนละ 2 ครั้ง โดยผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคม จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้คุณแม่หมาดๆ ยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ส่วนกรณีถ้าเป็นผู้ประกันตนชาย สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยนำสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองกรณีมีทะเบียนสมรส มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ แต่ผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 2 คน   อย. เผยชื่อ 5 ยาสมุนไพร อันตราย สำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ดำเนินการตรวจสอบยาสมุนไพรแผนโบราณหลังจากที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แถมยังโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยมี 5 ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ อย. ฝากเตือนผู้บริโภคให้หลีกไกลอย่าเผลอไปใช้เด็ดขาด ได้แก่ 1.ยาสมุนไพร ZIA TU WAN (เซีย ทู หวัน) 2.ผลิตภัณฑ์ พญาดงชุดชะลอความแก่ 3.ผลิตภัณฑ์ตายสิบปี ดีเหมือนเดิม 4.ผลิตภัณฑ์ฮับบาตุส เซาดาห์ “786” เนื่องจากฉลากแสดงข้อความโอ้อวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรค อาทิ แก้หัด อีสุกอีใส ป้องกันและรักษานิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ต่อมลูกหมากโต มะเร็ง บํารุงกําหนัด บํารุงหัวใจ รักษาโรคเก๊าต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ฯลฯ และ 5.ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล สรรพคุณไม่ระบุข้อความภาษาไทย อย. ได้ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทั้ง 5 รายการดังกล่าวยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียนตํารับยา และยังพบว่ายาสมุนไพร JIE DU DAN ได้นําเลขทะเบียนยาผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่บนฉลาก เพราะฉะนั้นผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อและซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงสรรพคุณโอ้อวด เกินจริงมักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และการผลิตผลิตภัณฑ์มักไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงอาจทําให้ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน   ฉลาก Smart Fabric รับรองสิ่งทอคุณภาพ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ออกฉลาก Smart Fabric เพื่อเป็นตรารับรองมาตรฐานสินค้าสิ่งทอ โดยแบ่งระดับฉลากเป็น 4 ระดับ คือ 1.ฉลากคุณภาพสิ่งทอเป็นการรับรองคุณภาพสิ่งทอ เช่น การซัก การยืดหด 2.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น กันแบคทีเรีย ทนไฟ กันน้ำ 3.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต 4.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษร่วมกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณภาพ รวมทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ได้มีโอกาสเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัย โดยขณะนี้มีบริษัทที่ได้รับเครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทยเป็นรายแรกแล้ว คือ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับรองผลิตภัณฑ์ เสื้อเชิ้ตแบรนด์ กี ลาโรช (Guy Laroche) โดยได้รับมาตรฐานฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ประเภทระบายความชื้นและเหงื่อได้ดีและเพิ่มความสบายเวลาสวมใส่ (Dry)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2556 ดื่มน้ำแร่...อาจจะแย่ก็ได้ ใครที่คิดว่าดื่มน้ำแร่ทุกวันดีต่อสุขภาพคงจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาเตือนคนที่ชอบนิยมดื่มน้ำแร่เป็นประจำว่า มีโอกาสเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูงเกินความจำเป็น ในน้ำแร่ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากใต้ดินจากแหล่งกำเนิดน้ำตามที่ต่างๆ เช่น บนภูเขา น้ำพุร้อนใต้ผิวโลก จะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนผสม เช่น ฟลูออไรด์ แมงกานีส ฯลฯ ซึ่งพวกแร่ธาตุเหล่านี้มีปริมาณที่เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับร่างกาย อย่าง ฟูลออไรด์สำหรับดื่มค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 0.7 มิลลิลิตร/ลิตร หากเกินจากนี้อาจมีผลต่อกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร แมงกานีสไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัม/ลิตร ทองแดงไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร และสังกะสีไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร   เพราะฉะนั้นก่อนดื่มน้ำแร่ครั้งต่อไปอย่าลืมอ่านฉลากดูปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ให้ดี ที่สำคัญการดื่มน้ำแร่ราคาแพงๆ ก็ไม่ได้การรันตีว่าจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ได้เท่ากับการที่เราเลือกดื่มน้ำสะอาดธรรมดาๆ และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เป็นประจำ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วต่อการดูแลสุขภาพร่างกายของเรา ------------------------------------------------   รับฝากเงินพ่วงทำประกันชีวิตเพิ่มมั้ยค่ะ!? ใครที่เคยเจอปัญหาถูกเจ้าหน้าที่ธนาคารกล่อมให้ซื้อประกันหรือให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นซื้อกองทุน ตราสารหนี้ พ่วงกับการฝากเงินหรือทำธุรกรรมการเงินอื่นๆ โดยยกมาเพียงแต่ตัวเลขของผลตอบแทนที่ได้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดด้านการลงทุนหรือความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จากนี้ไปเหตุการณ์แบบนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเรื่อง แนวนโยบายการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ หลังจากพบว่ามีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศนี้จะมากำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งการต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ และผลตอบแทนที่ผู้บริโภคจะได้รับ ให้เห็นความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์หลักของธนาคารพาณิชย์ กับผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ซึ่งไม่ใช่เงินฝาก ที่อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เต็มจำนวนเมื่อถอน ประเด็นสำคัญคือห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเรื่องการส่งเสริมการขายและการเสนอขายต่างๆ ก็ต้องไม่เป็นการรบกวนผู้บริโภคและโฆษณาเกินจริง ผู้บริโภคต้องมีสิทธิปฏิเสธไม่ขอรับบริการได้ ------------------------------------------   เรื่องที่คนซื้อทองต้องรู้ ช่วงนี้ร้านทองตามที่ต่างๆ กำลังคึกคักกันน่าดู หลังจากที่ราคาทองถูกปรับลดลงมา หลายๆ คนต่างก็ไปจับจองเป็นเจ้าของทองคำกันจนแน่นร้านทอง แต่จะซื้อทองทั้งทีก็ต้องให้มั่นใจว่าทองที่ซื้อเป็นของดีมีคุณภาพ เป็นทองคำแท้ ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงฝากคำแนะนำสำหรับคนที่กำลังคิดจะซื้อทอง ก่อนซื้อทองทุกครั้งต้องไม่ลืมดูน้ำหนักทองให้ดี ต้องมีการชั่งน้ำหนักทองก่อนซื้อทุกครั้ง ทองคำ 1 บาทต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 15.16 กรัม (ต้องเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง) ที่สำคัญตราชั่งที่ใช้นั้นต้องมีความเสถียรที่ 0.00 หน่วย อย่าลืมสอบถามโรงงานที่ผลิตทองคำจากผู้ขาย เพราะในเนื้อทองคำต้องมีตราประทับของโรงงานที่ผลิต ซึ่งโรงงานที่ผลิตทองคำในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 64 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ 61 แห่ง จ.ตรัง 1 แห่ง จ.สงขลา 1 แห่ง และ จ.ขอนแก่น 1 แห่ง โดยทั้ง 64 โรงงานนี้ สคบ. ได้เข้าไปตรวจสอบและให้การรับรองมาตรฐานของทองคำที่ผลิตว่าสัดส่วนทองคำที่ 96.5% และต้องเลือกร้านทองที่ได้มาตรฐาน มีการแสดงราคาขายทองแท่งและทองรูปพรรณของแต่ละวันชัดเจน มีการแสดงราคารับซื้อคืน รวมถึงค่ากำเหน็จ --------------     หนังสั้น “เล่าเรื่องผู้บริโภค” มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ) และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมฉายหนังสั้น “เล่าเรื่องผู้บริโภค 6+1” เพื่อส่งต่อเรื่องราวสถานการณ์ด้านสิทธิผู้บริโภคไทยและการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชน โดยกิจกรรมมีขึ้นที่โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 27 – 28 เมษายนที่ผ่านมา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วยการฉายภาพยนตร์ให้ชมฟรีจำนวน 3 รอบ ซึ่งแต่ละรอบได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าแน่นโรงภาพยนตร์ทุกรอบ ก่อนฉายภาพยนตร์ยังมีการเสวนากับเหล่าผู้กำกับที่มาร่วมทำหนังสั้น พูดคุยถึงมุมมองและแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การทำภาพยนตร์เพื่อผู้บริโภค ซึ่งผู้กำกับที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์ไพจิตร ศุภวารี, คุณมานุสส วรสิงห์, คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา, คุณบุญส่ง นาคภู่ และ คุณพัฒนะ จิรวงศ์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการมอบรางวัลผู้บริโภคใช้สิทธิยอดเยี่ยมแห่งปี 2555 ให้กับผู้บริโภคภาคประชาชนที่ออกมาทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิของตัวเองและสังคม ผู้ที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย นายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ, นางจิตรทิวา อินอิ่น และ นางสายลา เจ๊ะไบ๊ ซึ่งหลังจากนี้หนังสั้นทั้ง 6 เรื่อง กับอีก 1 คลิปวิดีโอ จะเดินทางไปฉายตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนควรรู้ -----------     การแบนสารเคมีเกษตรยังไม่ถึงฝั่ง...เพราะมีใครบางคนขวางอยู่ เป็นเรื่องแปลกแต่จริง เมื่อสารเคมีเกษตรที่มีพิษร้ายแรง 4 ตัว คือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น ที่ถูกประกาศโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นวัตถุอันตรายห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายในประเทศไทย แต่สุดท้ายประกาศกับยังไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะถูกที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน สั่งเบรก ไม่ยอมรับข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรเสนอให้ยกเลิก แถมยังมีการเปิดช่องให้ภาคเอกชนผู้นำเข้าสารเคมีสามารถนำข้อมูลมาเสนอเพื่อโต้แย้งโดยไม่มีการระบุระยะเวลาในการนำเสนอ เป็นเสมือนการเปิดช่องให้บรรดาผู้นำเข้าสารเคมีได้ขายสินค้าของตัวเองต่อไปได้เรื่อยๆ ทั้งๆ ที่หลายประเทศได้สั่งแบนสารเคมีทั้ง 4 ชนิดแล้ว สารเคมีเกษตรทั้ง 4 ตัว ถือเป็นสารที่มีพิษร้ายแรง ซึ่งจากการสำรวจของภาคประชาชนและนักวิชาการที่ผลักดันให้มีการแบนสารเคมีดังกล่าว พบว่าสถานการณ์ตอนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีเกษตรดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รวมทั้งผู้บริโภคเองก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จากนี้ไปเครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการที่ผลักดันให้มีการแบนสารเคมีทั้ง 4 ชนิด ก็จะค่อยติดตามการทำงานของภาครัฐอย่างใกล้ชิด และผลักดันให้เกิดการแบนโดยเร็วที่สุด   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2555 ใบจองต้องเป๊ะ ซื้อรถคันแรก หลังจากที่รัฐบาลออกนโยบายรถคันแรกซึ่งเอื้อให้ประชาชนสามารถมีรถยนต์เป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น จากเงื่อนไขที่ภาครัฐที่จ่ายภาษีคืนให้กับผู้ซื้อ ทำให้ยอดการจองรถยนต์มีอัตราสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยการทำสัญญาจองรถยนต์นั้นผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญกับ “ใบจอง” เพราะเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก โดยทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เคยทำหนังสือถึงผู้ประกอบการจำหน่ายรถยนต์ทุกค่ายพิจารณาการออกใบจองรถยนต์ให้ลูกค้าให้มีมาตรฐาน เป็นประโยชน์กับผู้ซื้อ โดยต้องแสดงรายละเอียดสำคัญให้ครบถ้วน ตั้งแต่รายละเอียดของรถยนต์ สี รุ่น ราคา ระยะเวลาการผลิตรถ ขนาดของเครื่องยนต์ และกำหนดเวลาส่งมอบรถ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ หากค่ายรถยนต์ใดไม่แสดงรายละเอียดข้อมูลดังกล่าวให้ครบถ้วน ถือว่าอาจเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค จากข้อมูลของ สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2555 ทั้งสิ้น 889 เรื่อง เป็นกรณีขอเงินจองคืนเนื่องจากไม่ได้รถยนต์ 100 รายการ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 69 รายการ ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 53 รายการ ชำรุด 231 รายการ คืนรถ ค้างค่างวด 91 รายการ ยึดรถคืน 40 รายการ ขอชดใช้ค่าเสียหาย 38 รายการ ค่าปรับสูง 31 รายการ ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 31 รายการ ขอคำปรึกษา 30 รายการ     ที่พักแพงแจ้ง สคบ. ปีใหม่นี้หลายๆ คนคงเตรียมตัวไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ซึ่งสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องคิดและวางแผนเลือกกันอย่างดีก่อนที่จะออกไปเที่ยวก็คือ “ที่พัก” แม้จะมีให้เลือกมาก แต่รูปแบบและราคาก็แตกต่างกันมากด้วยเช่นกัน ที่สำคัญยิ่งถ้าเป็นช่วงหน้าท่องเที่ยวหรือไฮซีซั่น บรรดาที่พักต่างๆ ก็มักจะฉวยโอกาสขึ้นราคา ถือว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภค หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจึงจับมือกันเพื่อหาทางช่วยเหลือผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เป็นเจ้าภาพ ร่วมกับกรมการค้าภายใน กรมการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรมไทย ฯลฯ โดยหนึ่งในมาตรการที่อยากขอร้องกับให้ผู้ประกอบการ รวมถึงบริษัททัวร์ ก็คือ ให้จัดทำโบรชัวร์แสดงราคาของที่พักที่ต้องมีความชัดเจน แจ้งทั้งราคาช่วงไฮซีซั่นและโลว์ซีซั่น เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นและตัดสินใจได้ ซึ่งความจริงแล้วบริษัททัวร์ ที่พัก หรือสถานที่ท่องเที่ยว จัดอยู่ในกลุ่ม 26 สินค้าที่ สคบ. มีโครงการจะมอบตราสัญลักษณ์ให้ด้วยเช่นกัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ทั้งนี้หากผู้นักท่องเที่ยวคนใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องราคาทั้งที่พัก สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน สคบ. 1166 บะหมี่สำเร็จรูปเกาหลีไม่มีสารก่อมะเร็ง หลังจากมีที่มีข่าวออกมาว่า มีการตรวจพบสารก่อมะเร็งในบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังจากประเทศเกาหลี “นองชิม” (nongshim)  ที่วางจำหน่ายในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งส่งผลมาถึงประเทศไทยเราเพราะบะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อดังกล่าวก็มีวางขายในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยงานนี้ทางคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง จึงออกมาตรการด่วนด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนองชิมที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้และฮ่องกง จำนวน 20 ตัวอย่าง พร้อมกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทย จำนวน 3 ตัวอย่าง รวม 23 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนอันตราย ซึ่งผลวิเคราะห์ที่ได้พบว่าทุกตัวอย่างปลอดภัยจากสารก่อมะเร็ง ผู้บริโภคสามารถหาซื้อมารับประทานได้อย่างสบายใจ โดยการตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้เป็นการตรวจหาสารก่อมะเร็ง (สารเบนโซ (เอ) ไพรีน) ที่อยู่ในเครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเต้าเจี้ยว, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสปลาหมึก, บะหมี่  กึ่งสำเร็จรูปรสอาหารทะเล และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรสเผ็ด ซึ่งผลการตรวจวิเคราะห์ไม่พบสารก่อมะเร็งในเครื่องปรุงรสแต่อย่างใด คปภ. แนะซื้อประกันภัยสุขภาพอย่างถูกต้อง คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แนะนำผู้ที่จะซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนเลือกซื้อ อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าระหว่างการประกันชีวิตและการประกันภัยสุขภาพนั้น มีความแตกต่างกันอย่างไร สำหรับการประกันชีวิตนั้น เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองทางด้านชีวิตโดยตรง บริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินสินไหมทดแทนเนื่องจากการเสียชีวิต (จากทุกกรณี) หรือเนื่องจากการมีชีวิตอยู่รอดตามระยะเวลาที่กำหนดขึ้นอยู่กับสัญญาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองการเสียชีวิตและการอยู่รอดเต็มจำนวนผลประโยชน์ที่ซื้อจากทุกๆ กรมธรรม์ประกันชีวิต ส่วนการประกันภัยสุขภาพ ซึ่งเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่ซื้อเพิ่มจากกรมธรรม์ประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล และเงินชดเชยรายได้เนื่องจากนอนพักรักษาพยาบาลเท่านั้น ไม่ว่าการรักษาพยาบาลนั้น จะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งการพิจารณารับประกันภัยของบริษัทประกันภัย จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะไม่คุ้มครอง “โรคที่เป็นมาก่อนการทำประกันภัย” เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย และโรคเอดส์ และหากผู้ขอเอาประกันภัย มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวหลายอย่าง บริษัทประกันภัยอาจจะพิจารณารับประกันภัยด้วยเบี้ยประกันภัยที่สูงกว่าคนปกติ หรืออาจจะไม่รับประกันภัยเลยก็ได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาและควรรู้สำหรับผู้ที่จะทำประกันสุขภาพก็คือ การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากการทำประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยจะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงเท่านั้น ดังนั้น การซื้อประกันภัยสุขภาพ ผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องซื้อหลายๆ กรมธรรม์ แต่ควรพิจารณาว่าค่ารักษาพยาบาลที่ได้ทำอยู่แล้วครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยต้องการหรือไม่ และควรศึกษาทำความเข้าใจในรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยทุกครั้ง ว่าตรงกับที่บริษัทประกันภัยเสนอขาย     รถทัวร์เตรียมใช้ “จีพีเอส” ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป รถโดยสารสาธารณะเตรียมนำระบบจีพีเอสมาใช้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร โดยจะเริ่มต้นที่รถของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กว่า 800 คัน ก่อนจะขยายผลไปยังรถร่วมบริการของ บขส. และรถตู้โดยสาร ซึ่งระบบจีพีเอสน่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุของรถโดยสารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัจจุบัน ระบบจีพีเอสมีเป็นระบบสื่อสารกับดาวเทียม สามารถรู้จุดตำแหน่งของรถที่ติดตั้ง การใช้ความเร็ว สามารถควบคุมให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามกฎหมาย และเกิดความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จของผู้บริโภค หลังจากที่องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัยบนท้องถนนหลากหลายภาคส่วน ได้เข้ายื่นหนังสือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้จัดตั้ง “ศูนย์ควบคุมการเดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางตลอด 24 ชั่วโมง” และให้มีการติดตั้งระบบจีพีเอสและกล่องเก็บข้อมูลในรถโดยสารสาธารณะประจำทาง เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา เห็นหรือยังว่าพลังของผู้บริโภคมีความสำคัญอย่างมากในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ของผู้บริโภคในสังคม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2554 1 เมษายน 2554“สปาปลา” อาจพาให้เป็นโรคผิวหนัง เตือนผู้นิยมใช้สปาปลา ต้องสำรวจตัวเองให้ดีว่ามีอาการป่วยเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวเอง ร่วมทั้งป้องกันไม่ให้ตัวเองกลายเป็นพาหะแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นที่มาใช้บริการสปาร่วมกัน  สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่ามีโรคติดต่อที่อาจเกิดจากน้ำและปลาเป็นสาเหตุซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น โรครูขุมขนอักเสบโดยมีอาการคัน คล้ายเม็ดสิว มีแผลผุพอง มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนอง หรืออาจเกิดอาการโรคไฟลามทุ่ง ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  สำหรับกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สปาปลาคือ 1.ผู้ที่มีแผลตามผิวหนัง 2.ผู้ที่ใช้ยาลดภูมิ กลุ่มสเตียรอยด์ เพราะส่งผลให้มีภูมิต้านทานที่ต่ำติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วย เช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และ 3.กลุ่มที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีแผล ไม่ควรแช่เท้าเป็นเวลานาน เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ    18 เมษายน 2554“ฟองน้ำล้างจาน” แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค!!! ถ้วย ชาม จาน ช้อน ที่เคยมั่นใจว่าล้างทำความสะอาดอย่างดี อาจกลายเป็นพาหะนำโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วง หลังจากมีการเปิดเผยงานวิจัยที่น่าสนใจโดยทีมนักวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่า “ฟองน้ำ” และ “แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่แทบทุกบ้านคือแหล่งสะสมและขยายพันธุ์อย่างดีของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย “ซัลโมเนลล่า” ที่มากับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ยิ่งเจอเข้ากับสภาพอากาศของบ้านเราที่เอื้ออย่างมากต่อการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย โดยในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากกว่า 1 แสนรายต่อปี  สำหรับวิธีการลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำ ทำได้ง่ายๆ โดยการนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวัน ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดจัดทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้างคืน แต่ต้องเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้นจะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องหมั่นดูแลรักษาห้องครัวให้สะอาดถูกสุขอนามัยอยู่เสมอ     19 เมษายน 2554ระวังโรคภูมิแพ้เพราะครีมทาผิว คนที่อยากผิวสวยอาจต้องเสี่ยงกับการเป็นภูมิแพ้ เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ได้นำข้อมูลจากการประชุมเรื่องโรคภูมิแพ้ที่จัดขึ้นที่รัฐซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นที่แพทย์รักษาโรคภูมิแพ้ให้ความสนใจและห่วงใยเป็นพิเศษ คือ อันตรายจากการใช้ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ หรือสารให้ความชุ่มชื้นต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้มีการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ และไม่มีความจำเป็น แถมยังอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ใช้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง  คนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย ควรหาซื้อโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นโดยไม่มีส่วนผสมใดๆ อยู่ และควรอ่านอ่านส่วนประกอบของโลชั่นก่อนการใช้งานเสมอ และไม่ควรให้ส่วนผสมในโลชั่น มีน้ำหอม มีสี หรือสารกันเสียที่ที่ชื่อ พาราเบน ไม่ควรมีสิ่งปรุงแต่งเกินความจำเป็น ถึงแม้ว่าสารนั้นจะเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติก็ตาม     อย่ามองข้ามความปลอดภัย เด็กไทยเสี่ยงตายเพราะรถยนต์สูงขึ้น เด็กไทยยังต้องเสี่ยงตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นเพราะอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ติดตั้งมากับรถยนต์ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะกับเด็ก ทั้งเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย ทางแก้ไขพ่อ-แม่ ผู้ปกครองควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ซึ่งมีความเหมาะสมกับเด็กเล็ก ในต่างประเทศมีกฎหมายชัดเจนในการบังคับให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อยึดเหนี่ยวเด็กไม่ให้เด็กบาดเจ็บ เมื่อเกิดรถชน รถเบรกรุนแรง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมในส่วนนี้ มีเพียง พ.ร.บ.จราจรที่กำหนดให้ที่นั่งข้างคนขับต้องมีเข็มขัดนิรภัย ซึ่งในความเป็นจริงเข็มขัดนิรภัยไม่เหมาะสมกับเด็ก และไม่สามารถใช้ป้องกันอันตรายต่อตัวเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ขวบ หรือสูงไม่เกิน 140 ซม.แถมอาจให้ผลในทางตรงกันข้ามคือกลายเป็นเพิ่มอันตรายกับเด็ก เนื่องจากหากจะให้ปลอดภัยเข็มขัดนิรภัยจะต้องยึดเหนี่ยว 3 จุดสำคัญ คือ หัวไหล่ หน้าตัก และบริเวณเชิงกราน แต่หากเด็กขาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถเข็มขัดจะรัดที่บริเวณท้องน้อยและลำคอแทน หากรถเบรก หรือชน เข็มขัดจะรัดช่องท้องทำให้ตับ ม้ามแตก รัดลำคอและกระดูกสันหลังกระเทือน อาจเป็นอัมพาตได้  ส่วนถุงลมนิรภัยก็ไม่เหมาะสมกับเด็กเช่นกัน เนื่องจาก การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะปลอดภัยเมื่อนั่งห่างจากถุงลมอย่างน้อย 25 ซม.แต่เด็กที่นั่งตักแม่จึงอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมน้อยเกินไป ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานว่าเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี เสียชีวิตจากถุงลมในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงกว่า 200 ราย เกิดจากการบาดเจ็บของสมองเป็นหลัก ดังนั้น เด็กจึงควรมีการเสริมที่นั่งนิรภัยเป็นการเฉพาะ โดยทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก จัดวางที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงต่อการ เกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชนหรือเบรกรุนแรง เด็กอายุ 1-3 ปี ให้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็ก หันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ และใช้ที่เบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 4-7 ปี ใช้ที่นั่งเสริม ไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัว ใช้เข็มขัดนิรภัยรถยนต์เป็นอุปกรณ์ยึดเหนี่ยว และอยู่บริเวณเบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 8-12 ปี ควรใช้ที่นั่งเสริมจนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้พอดี     ถึงเวลาผู้ประกันตนแสดงพลัง ทวงสิทธิรักษาพยาบาลมาตรฐานเดียวรวมพลังผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมร่วมกันทำจดหมายถึงสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอเงินคืน แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อรับสิทธิในการรักษาพยาบาล ขณะที่ผู้ใช้บัตรทองหรือสิทธิข้าราชการไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ในฐานะกรรมการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ข้อมูลว่า การจ่ายเงินสมทบเพื่อสุขภาพในระบบประกันสังคมนั้นขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา  30 , 51 และ 80 (2) และกฎหมายหลักประกันสุขภาพเนื่องจากสิทธิสุขภาพเป็นสิทธิที่รับรองตามรัฐธรรมนูญและปัจจุบันกำหนดให้ใช้บริการโดยไม่ต้องร่วมจ่าย ดังนั้นผู้ประกันตนต้องได้รับบริการตามสิทธิเช่นเดียวกัน  นายนิมิตร์ เทียนอุดม เลขาธิการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคน แสดงพลังทวงคืนสิทธิ์ ด้วยการให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทำจดหมายทวงเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายทุกเดือนโดยหักประมาณร้อยละ 5 ของเงินเดือน ซึ่งผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล โดยส่งจดหมายไปถึงสำนักงานประกันสังคมในแต่ละพื้นที่เพื่อทวงเงินที่ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการที่ให้ทวงเงินตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน เพราะเป็นวันที่รัฐบาลประกาศยกเลิกไม่ต้องจ่าย 30 บาทสำหรับบัตรทองในการรักษาโรค โดยชมรม ฯ ได้จัดทำจดหมายสำเร็จรูปให้สมาชิกชมรมและผู้ประกันตน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจาก Facebook ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน หรือ www.consumerthai.org  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 25543 กุมภาพันธ์ 2554หอม...อันตราย!?ใครที่ยังมีความเชื่อว่าใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง น้ำยาทำความสะอาดบ้านและฆ่าเชื้อโรค ที่มีกลิ่นหอม หรือไม่มีกลิ่นฉุน แล้วปลอดภัยหรือเป็นอันตรายน้อยกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นแรง ต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เดี๋ยวนี้โฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เป็นวัตถุอันตรายสร้างความเข้าใจผิดให้ผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่าทำจากธรรมชาติ แต่ในความจริงแล้วกลิ่นหอมเกิดจากการปรุงแต่งกลิ่นด้วยน้ำหอมสังเคราะห์ ซึ่งหากเราสูดดมกลิ่นเข้าไปก็จะทำให้เป็นอันตรายกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ปวดหัว เวียนหัว คลื่นไส้  เพราะฉะนั้นใครที่ยังหลงใหลในกลิ่นหอมของยาฉีดฆ่าแมลงและน้ำยาทำความสะอาด ต้องคิดใหม่ทำใหม่ ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เท่าที่จำเป็น ถ้าไม่ใช้ได้ยิ่งดี แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวังศึกษาข้อมูลและคำเตือนบนฉลากก่อนใช้ เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์อันตราย+++++++++++++++++++++++     17 กุมภาพันธ์ 2554“ศูนย์แก้ไขปัญหาสินเชื่อ” เตรียมเปิดถาวร...แก้ปัญหาทวงหนี้โหดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พอใจผลงาน “ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ” (ศปส.) เตรียมจัดตั้งให้เป็นศูนย์ถาวร หลังจากศูนย์ทำหน้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินให้กับผู้บริโภค ซึ่งปัญหาที่ถูกร้องเรียนเข้ามา ธปท. จะนำไปประสานต่อกับสถาบันการเงินที่ถูกร้องเรียนเพื่อให้ชี้แจงและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขบริการต่อไป  โดยปัญหาที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุดคือ เรื่องการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ไม่สุภาพ หรือใช้วิธีรุนแรง รองลงมาคือเรื่องการเข้าไม่ถึงสินเชื่อหรือขอสินเชื่อไม่ได้ ส่วนเรื่องการหลอกลวงให้โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม หรือการถูกหลอกจากคอลเซ็นเตอร์ที่เคยเป็นข่าวก่อนหน้านี้ ขณะนี้ยอดการร้องเรียนลดลงมาก เนื่องจากทางกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ได้มีการประชุมร่วมกับ ธปท. และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตั้งศูนย์ร่วมกันเพื่อป้องปรามมิจฉาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ ซึ่งเรื่องร้องเรียนที่เข้ามายัง ศปส. จะอยู่ที่ 100 – 200 เรื่องต่อวัน โดยก่อนหน้าเคยเรื่องเข้ามาสูงสุดถึงวันละ 700 - 800 เรื่อง  ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาสินเชื่อของ ธปท.มีการต่ออายุการทำงานของศูนย์มาแล้ว 4 ครั้งแต่เปิดดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.2542 โดยล่าสุด จะครบกำหนดอายุการทำงานในเดือน มิ.ย.2554 ซึ่งขณะนี้กำลังมีการพิจารณาตั้งเป็นศูนย์ถาวรเพื่อช่วยรองรับปัญหาของผู้บริโภค เพราะว่าเห็นประโยชน์ในการเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ซึ่งนับวันปัญหาเรื่องการเงิน หนี้ และบัตรเครดิต จะกลายเป็นใหญ่ในชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++     22 กุมภาพันธ์ 2554สั่งระงับ!!!...นวดตารักษาต้อหิน ผู้ป่วยโรคต้อหินที่กำลังคิดจะไปรักษาด้วยวิธีการนวดตา คงต้องชั่งใจไตร่ตรองให้ดี เพราะว่าต้องนี้มีคำสั่งจากสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะถึงทุกสถานพยาบาล ที่มีการให้รักษาโรคต้อหินด้วยการนวดตาต้องระงับการให้บริการการรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวเอาไว้ก่อน หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวกรณีที่จักษุแพทย์โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ออกมาเปิดเผยว่า ใช้วิธีการนวดตาช่วยผู้ป่วยกำลังจะตาบอดกลับมามองเห็นได้เกือบปกติ ทำให้ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ แพทยสภา ต้องเร่งพิจารณาหาข้อเท็จจริงว่าการนวดด้วยตาสามารถรักษาโรคต้อหินได้จริงหรือไม่ รวมทั้งมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายกับดวงตาหรือเปล่า เพราะปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานการรักษาพยาบาลด้วยวิธีการดังกล่าว  โดยระหว่างรอความเห็นที่เป็นทางการจากราชวิทยาลัยจักษุแพทย์ สถานพยาบาลต้องงดให้บริการการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว นอกจากนี้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพก็เตรียมคุมเข้มการโฆษณาทางการแพทย์ที่มีการโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือจงใจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ++++++++++++++++++++++++++     22 กุมภาพันธ์ 2554 ออกฉลากคุมเข้มสินค้านาโนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ออกประกาศให้ผลิตภัณฑ์นาโนทุกชนิดเป็นสินค้าควบคุมฉลาก หลังจากมีผู้บริโภคหลายคนร้องเรียนผลิตภัณฑ์นาโนที่อวดอ้างสรรพคุณต่างๆ นานา แถมตั้งราคาขายสูงกว่าสินค้าทั่วไป โดยที่ผู้บริโภคไม่มีสิทธิรู้หรือมั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์นาโนจริงหรือเปล่า   ซึ่งจากการสุ่มตรวจสอบของศูนย์เฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าไม่ปลอดภัยของ สคบ. ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และสมาคมนาโนเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย พบว่าสินค้านาโนที่สุ่มตรวจทั้ง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดทำความสะอาดอเนกประสงค์เป็นของปลอม  ผู้บริโภคกำลังให้ความสนใจกับสินค้านาโนกันอย่างมาก โดยเฉพาะพวกสิ่งทอเพราะมีคุณสมบัติพิเศษอย่าง ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันน้ำ ทำความสะอาดง่าย หรือไม่ต้องทำความสะอาด ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นสินค้านาโนปลอม จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและหากนำไปใช้ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย  สคบ.จึงต้องเร่งออกมาตรฐานควมคุมผลิตภัณฑ์นาโน พร้อมทั้งจะทำฉลากแสดงให้รู้ว่าเป็นสินค้านาโนแท้ โดยจะใช้ชื่อว่า “นาโนคิว”  เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก +++++++++++++++++     “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” กับการรักษาพยาบาลที่เท่าเทียม ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม เรื่องการรักษาพยาบาลให้เป็นมาตรฐานเดียวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทองเดิม ซึ่งเป็นระบบรักษาพยาบาลฟรีของคนไทยทั้งประเทศ ขณะที่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมซึ่งจ้างงานสมทบเองทุกเดือน กลับได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพที่ด้อยกว่า โดยเสนอให้ผู้ประกันตนได้มีสิทธิไปใช้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วให้นำเงินสมทบที่ต้องจ่ายให้ประกันสังคมไปสบทบเพิ่มในส่วนของเงินประกันการว่างงานหรือเงินชราภาพ ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมอยู่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์มากว่า  โดยชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เรียกร้องให้สำนักงานประกันสังคม รับฟังและแก้ไขโดยเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างระบบสุขภาพบนมาตรฐานเดียวของ ประเทศ โดยจะให้เวลาประกันสังคม 30 วัน ที่จะต้องทำให้ผู้ประกันตนออกจากจากระบบประกันสังคม ในเรื่องบริการด้านสุขภาพ หากประกันสังคมไม่แก้ไขระบบดังกล่าว ผู้ประกันตนจะงดจ่ายเงินสมทบในส่วนของการรักษาพยาบาล ประมาณคนละ 250 บาท ซึ่งจะดีเดย์หยุดจ่ายวันแรก 1 พฤษภาคม 2554  ***(อ่านเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคมในเรื่องฉบับนี้)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 4 วิธี ลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ให้อุ่นใจแบบคุ้มค่า

ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ คงจะคุ้นหูกับคำว่า พรบ.รถยนต์ ,ประกันภัยชั้น 1 ,ชั้น 3 และคุ้นตากับสติ๊กเกอร์ประกันภัยที่ติดอยู่หน้ากระจกรถ และทุกปีมีหน้าที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์     ถ้าเป็นประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย เบี้ยประกันก็อยู่ที่ปีละ 650 – 1,000 บาทต้น ๆ ไม่แพงมากนักเพราะกฎหมายควบคุมอัตราเบี้ยประกันไว้     ส่วนประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันภัยชั้น 1 , ชั้น 3 ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ใครจะทำหรือไม่ทำก็ได้นั้น เบี้ยประกันอยู่ที่ปีละประมาณ 5 พันบาทไปจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับรถที่คุณใช้ ทุนประกันและความคุ้มครองที่คุณเลือก     ในกรณีที่เป็นรถประเภทเดียวกัน รุ่นเดียวกัน เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมบางคนจ่ายเบี้ยประกันได้ถูกกว่า ทั้งที่ทุนประกันและความคุ้มครองก็ได้รับเท่ากัน นั่นเป็นเพราะแต่ละคนได้รับส่วนลดเบี้ยประกันไม่เท่ากัน การจะได้ส่วนลดมากหรือน้อยนั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของแต่ละละบริษัท ว่าต้องการกระตุ้นยอดขายมากขนาดไหน แต่อีกส่วนก็ขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้บริโภคว่าจะเท่าทันตัวแทน นายหน้าประกันภัย ขนาดไหน ผมจึงอยากจะแนะนำ 4 เรื่องที่คุณควรรู้เพื่อการลดเบี้ยประกันภัย ให้ได้รับความคุ้มครองแบบอุ่นใจและคุ้มค่าเงินเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย      1. ระบุชื่อคนขับให้ชัดเจน ลดได้ 5 -20 % เพราะรถที่ใช้โดยคนคนเดียว ย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่ารถที่ขับกันหลายมือ ดังนั้น รถที่ใช้ในครอบครัว ถ้าระบุชื่อผู้ขับขี่ลงไปในกรมธรรม์จะลดเบี้ยประกันได้ และยิ่งถ้าคนขับมีอายุ มีวุฒิภาวะมากขึ้น ส่วนลดก็จะมากตาม     อายุ 18 -24 ปี ส่วนลดเบี้ย 5%    อายุ 25 – 35 ปี ส่วนลดเบี้ย 10%    อายุ 36 – 50 ปี ส่วนลดเบี้ย 15%    อายุ 50 ปี ขึ้นไป ส่วนลดเบี้ย 20%     แต่ต้องเตือนกันไว้ก่อนนะครับว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ที่ขับขี่รถยนต์ไม่ใช่ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในกรมธรรม์ แบบนี้จะประกันจะไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกในวงเงินไม่เกิน 8,000 บาท     2. ขับดี มีส่วนลด 20 -50 % การขับขี่รถอย่างระมัดระวัง ไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุแต่คุณมิได้เป็นฝ่ายผิด คุณมีสิทธิได้ส่วนลดเบี้ยประกันจากการมีประวัติที่ดี และส่วนลดจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในปีถัด ๆ ไป     ขับดีปีแรก ได้รับส่วนลด 20% เมื่อต่ออายุประกันปีต่อไป     ขับดี 2 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 30%     ขับดี 3 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 40%    ขัดดี 4 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 50%    เพื่อรักษาเครดิตส่วนลดนี้ บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเคลมประกัน หากคำนวณแล้วว่าการซ่อมเองคุ้มกว่าส่วนลดเบี้ยประกันที่ได้รับ     3. รวมรถ ลดได้อีก 10% ถ้าคุณมีรถยนต์หลายคัน การทำประกันรถยนต์แบบกลุ่มตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป สามารถขอส่วนลดได้อีก 10%     4. รับความเสี่ยงไว้เองบางส่วน จ่ายเบี้ยน้อยกว่า หรือที่ภาษาประกันเรียกว่า การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก หมายความว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด คุณจะร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ในวงเงินที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าคุณกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ 5,000 บาท เมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องซ่อมรถที่เสียหายเป็นเงิน 20,000 บาท คุณจะต้องจ่ายเงินค่าซ่อมเองก่อน 5,000 บาท ประกันถึงจะจ่ายส่วนที่เหลือ     การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกในลักษณะนี้ ก็สามารถเอามาเป็นส่วนลดเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายได้เช่นกัน            อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงของบริษัทประกันภัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด ไม่มีประโยชน์ที่จะทำประกันภัยรถยนต์ราคาถูก ๆ กับบริษัทที่ไม่มั่นคงแต่พอถึงเวลาแล้วเคลมไม่ได้ อู่ซ่อมไม่มีมาตรฐาน พนักงานบริการแย่ เพราะมันจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 174 หลักประกันสุขภาพ

1. การลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพ (สิทธิบัตรทอง) ต้องทำอย่างไรเอกสารลงทะเบียน1)    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน  สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)2)    สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ หนังสือรับรองการพักอาศัยสถานที่ลงทะเบียน ในวันเวลาราชการต่างจังหวัด : สถานีอนามัย/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)/โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกรุงเทพฯ : ติดต่อที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร             สอบถามเขตที่เปิดให้บริการ โทร.สายด่วน สปสช.1330การลงทะเบียนคนพิการ (ท.74)คนพิการผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพที่ยังไม่ได้ระบุสิทธิย่อย ท.74 ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ต้องนำในรับรองความพิการจากแพทย์หรือแสดงบัตรคนพิการตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ. 2550  ลงทะเบียน ณ สถานที่รับลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิฟื้นฟูสมรรถภาพได้2. การขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ ต้องทำอย่างไร         หน่วยบริการ  หมายถึง โรงพยาบาล สถานีอนามัย สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ศูนย์บริการสาธารณสุข  สถานพยาบาลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำ  หมายถึง  หน่วยบริการที่ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพเลือกลงทะเบียนเพื่อรับบริการสาธารณสุขเป็นประจำ  โดยทั่วไปจะเป็นหน่วยบริการที่มีสถทนที่ตั้งใกล้เคียงกับที่พักอาศัยของผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพการขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ   นำบัตรประจำตัวประชาชน ติดต่อด้วยตนเองได้ที่สถานีอนามัย/โรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน  หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด  หรือสำนักงานเขตของกทม.ที่เปิดรับลงทะเบียนในวันเวลาราชการ  โดยมีสิทธิเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปีงบประมาณ (ตุลาคมถึงกันยายนของปีถัดไป)การเข้ารับบริการ ณ หน่วยบริการแห่งใหม่ สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (สิทธิบัตรทอง) ได้หลังแจ้งความจำนงเปลี่ยนหน่วยบริการประมาณ 1 เดือน  โดยสามารถตรวจสอบสิทธิได้ที่สายด่วน สปสช. 1330

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 171 หลักประกันสุขภาพ

เมื่อวันที่  2-3  มีนาคม 2558  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช.) ได้จัดกิจกรรม เรื่อง  การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่น ขึ้น ณ โรงแรมประจักษ์ตรา  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  โดยร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์  อุดรธานี  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดกิจกรรมเสวนาให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนการทำงานในพื้นที่ภาคอีสาน  โดยกลุ่มเป้าหมายนำร่องที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดภาคอีสานตอนบน จำนวน  24 แห่ง  จาก 9 จังหวัด  ได้แก่ จ.อุดรธานี สกลนคร หนองบัวลำภู หนองคาย  เลย  นครพนม  มหาสารคาม  กาฬสินธุ์ และ ร้อยเอ็ด  วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านสิทธิผู้บริโภค เสริมพลังในการทำงานของภาคีเครือข่ายให้ตระหนักและเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น  เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภคระดับท้องถิ่นขึ้นมา โดยนายแพทย์วีระวัฒน์  พันธุ์ครุฑ   รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้กล่าวในการเปิดงานว่า  “ การทำงานคุ้มครองผู้บริโภค  ก็เปรียบเสมือน การเล่นฟุตบอล ประกอบไปด้วย ผู้บริโภค ซึ่งต้องคิดไตร่ตรองการตัดสินใจ    หน่วยราชการ ผู้รับผิดชอบในการดูแลควบคุมผู้ประกอบการ    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใกล้ชิดกับประชาชนสามารถดูแลช่วยเหลือผู้บริโภคได้ง่ายที่สุด   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอนาคตอาจเป็นองค์กรที่ดูแลผู้บริโภคโดยตรง  และยังมีกลไกอื่นๆ ที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ทั้งสมาคม  มูลนิธิ “นอกจากกิจกรรมเสวนาภายในโรงแรมแล้ว ยังมีกิจกรรมเสริม คือการดูงานในสองพื้นที่ ที่มีการทำงานที่แตกต่างกัน พื้นที่แรก ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลวังทอง  อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู (พื้นที่ต้นแบบ)  ความโดดเด่นของ อบต.แห่งนี้คือ การมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์( Lab ) สำหรับตรวจสารเคมีในผักที่ขายในท้องถิ่นเป็นของตนเอง  โดยความคิดริเริ่มของท่านนายก อบต.คุณคมกริช    สีอาจ ที่มีความคิดว่าจะทำอย่างไร ให้พื้นที่ส่วนนี้ลดการใช้สารเคมี     จึงเริ่มนำโครงการผักปลอดสารพิษเข้าสู่ระดับจังหวัด  เก็บข้อมูลและเริ่มหาแนวทางในการลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ ต่อมาก็เริ่มก่อตั้งห้อง LAB วิทยาศาสตร์ ขึ้นเพื่อทำการตรวจสอบผักหาสารเคมีตกค้าง  โดยมีอาสาสมัครชุมชน เป็นผู้ดำเนินการภายใต้การอบรมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี  ซึ่งหลังจากดำเนินงานหลายสิบปี พบว่าชาวบ้านให้ความสนใจและถ้าไม่มั่นใจว่าอาหารที่ซื้อมากินปลอดภัยหรือเปล่า  ชาวบ้านก็จะนำมาตรวจกับแล็บท้องถิ่น ถือเป็นการเฝ้าระวังในพื้นที่อีกด้วย การลงพื้นที่กลุ่มที่สอง คือการไปพื้นที่โรงพยาบาลศรีบุญเรือง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู   รพ.ตัวอย่างที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อาทิ เจ้าหน้าที่มีจิตอาสาจิตสาธารณะในการดูแลชุมชนให้เข้มแข็ง  มีความร่วมมือของภาคีเครือข่ายการคุ้มครองสิทธิ ที่มีกระบวนการทำงานเป็นรูปธรรมชัดเจน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 96 “แม่ต้อย”: จาก “ข้อยกเว้น” สู่ “กฏทั่วไป”

มีอะไรใน โคด-สะ-นา สมสุข หินวิมาน เมื่อช่วงสามถึงสี่เดือนที่ผ่านมา มีคำถามข้อหนึ่งที่เพื่อนหลายคนรอบตัวผมสงสัยยิ่งนัก นั่นก็คือคำถามที่ว่า “แม่ต้อย” มีตัวตนเป็นๆ จริงหรือ? หรือว่าจะมีก็แต่เพียงในโลกของโฆษณาเท่านั้น? เพื่อทบทวนความทรงจำกันสักนิดว่า แล้วแม่ต้อยคนนี้คือใคร ผมจะขออนุญาตสืบสาวท้าวย้อนตำนานชีวิตของแม่ต้อยกันสักนิดนะครับ แม่ต้อยก็คือผู้หญิงคนหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ในโฆษณาบริษัทประกันชีวิตยี่ห้อหนึ่ง ตามความในโฆษณานั้น จะมีเสียงผู้บรรยายชายพากย์เอาไว้ว่า ผู้หญิงที่ชื่อต้อย อาศัยอยู่ในสลัม ยากจน สามีทิ้ง แต่กระนั้นเธอก็ยังมีน้ำใจเก็บเด็กสามคนมาเลี้ยง อันได้แก่ คิตตี้เด็กหญิงบ้านแตก แบ็คเด็กชายที่เป็นโปลิโอ และเฮียโตที่เป็นขี้ขโมย แม้เด็กๆ จะมีพื้นเพพื้นฐานต่างกัน แต่เด็กทุกคนก็มีแม่คนเดียวกัน นั่นก็คือ “แม่ต้อย” เสียงพากย์ของผู้ประกาศชายตัดสลับกับภาพของแม่ต้อยที่ผัดผักไฟแดงเลี้ยงน้องๆ สามคนในสลัม ภาพของแม่ต้อยที่ให้กำลังใจน้องแบ็คที่แม้จะเป็นโปลิโอ แต่ก็ยังลุกขึ้นสู้มาเตะฟุตบอล ภาพของแม่ต้อยที่ดีดกีตาร์กล่อมเด็กๆ จนนอนหลับ กับภาพของแม่ต้อยสวมหมวกสีชมพูหวาน จูงมือพาเด็กๆ ไปเที่ยวทะเล และวิ่งรี่เข้าไปโต้คลื่นเพราะเห็นทะเลเป็นครั้งแรกในชีวิต ภาพของผู้หญิงชนชั้นล่างแบบแม่ต้อยที่ดูแลเด็กๆ เหล่านี้ ถูกเปิดเสียงดนตรีคลอแบบ easy-listening เพื่อสื่อความหมายว่า เป็นชีวิตที่มีความสุขยิ่งในท่ามกลางความยากจน แบบที่เขาว่า “จนเงินอาจไม่ได้แปลว่าจนใจเสมอไป” แต่แล้วในท่ามกลางความสุขแบบจนๆ ก็เหมือนกับโชคชะตาฟ้าดินจะกลั่นแกล้งแม่ต้อย เมื่อโฆษณาผูกเรื่องให้เธอป่วยเป็นโรคมะเร็ง และจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกินอีกสองปี แต่ผู้บรรยายก็บอกคนดูว่า สำหรับแม่ต้อยแล้ว นั่นคืออีกสองปีที่เธอกลับถือว่าโชคดีจัง เป็นสองปีที่ยังทำอะไรได้อีกมากมาย แล้วโฆษณาก็ตัดสลับมาที่ภาพของแม่ต้อยที่ป่วยเป็นมะเร็งและนั่งอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล แต่ก็ยังสู่อุตส่าห์ลุกขึ้นมาเล่นกีตาร์สนุกสนานกับเด็กๆ เสียงกีตาร์ของเธอช่วยทำให้ทั้งนางพยาบาล เด็กๆ ไปจนถึงคนไข้โรคมะเร็งคนอื่น ๆ มีกำลังใจลุกขึ้นมาต่อสู้กับชีวิตต่อไป โดยมีเสียงผู้บรรยายชายพูดปิดท้ายว่า “…เธอ(แม่ต้อย)สอนเด็ก ๆ ว่าชีวิตที่มีค่า ไม่ใช่ชีวิตที่ร่ำรวย มีเกียรติ หรืออายุยืน แต่ชีวิตที่มีค่าคือชีวิตที่ตัวเราเป็นคนมีคุณค่า และทำให้ชีวิตคนอื่นมีค่า” จากนั้นเสียงเพลงแห่งความสุขก็บรรเลงคลอจนโฆษณาชิ้นนี้จบลง หากจะถามว่า แก่นหรือธีมหลักของโฆษณาบริษัทประกันชีวิตชิ้นนี้คืออะไร คำตอบก็คงเดาได้ไม่ยากว่า เป็นการดึงคุณค่าของมนุษย์กลับคืนมา จากมนุษย์ผู้ที่มักจะเห็นแต่ตัวของตนเอง มาสู่มนุษย์ที่รู้จักทำอะไรให้กับผู้อื่น และทำให้ชีวิตของคนอื่นมีคุณค่าขึ้นมา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การทำมนุษย์ให้เป็นมนุษย์นั่นเอง แต่หากจะถามต่อไปด้วยว่า แล้วชีวิตที่รู้จักทำให้คนอื่นมีคุณค่าเช่นนั้น จะเกี่ยวพันอันใดกับการโฆษณาองค์กรประกันชีวิตกันด้วยเล่า กับความข้อนี้ผมขอเดาเอาว่า ก็เพราะการดำรงอยู่ของธุรกิจประกันชีวิตจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการเน้นขายความรู้สึกที่มนุษย์เราอยากจะทำอะไรให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะทำอะไรเพื่อเด็กๆ ลูกๆ ที่ใกล้ชิดกับชีวิตของเรานั่นเอง ภายใต้สังคมที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงนั้น การจัดการความเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การสร้างหลักประกันความอยู่รอดของทั้งตัวคุณและคนที่อยู่รอบตัวคุณ แต่อย่างไรก็ดี ก็คงคล้ายๆ กับที่ผมเคยเขียนเอาไว้ในนิตยสารฉลาดซื้อเมื่อหลายเล่มก่อนว่า แม้บริษัทประกันจะไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในชีวิตของผู้ทำประกันได้ (เฉกเช่นเดียวกับแม่ต้อยที่อยู่ดีๆ ก็ต้องกลายเป็นโรคมะเร็งขึ้นมา) แต่บริษัทดังกล่าวก็อาจจะช่วยสร้างหลักประกันความอยู่รอดปลอดภัยของอนุชนลูกหลานผู้ทำประกันได้บ้างเป็นการทดแทน (หรือในกรณีนี้ก็คงเป็นการมอบหลักประกันชีวิตให้กับคิตตี้ แม็ค และเฮียโตนั่นเอง) ทีนี้ หากเราจะลองย้อนกลับไปสู่คำถามแรกที่ว่า แล้วคนอย่างแม่ต้อยที่เสียสละและทำอะไรเพื่อคนอื่นแบบนี้ ยังมีอยู่จริงบนโลกใบนี้จริงหรือ? ผมเองก็ขออนุญาต “ฟันธง” และ “คอนเฟิร์ม” ไปพร้อมๆ กันว่า ก็คงมีคนเช่นนี้อยู่บ้างแหละครับ แต่ที่สำคัญ ถ้าจะถามในเชิงปริมาณต่อไปว่า แล้วที่ว่ามีคนแบบแม่ต้อยอยู่นั้น จะมีกันอยู่ในปริมาณมากน้อยเพียงใด คุณผู้อ่านหลายท่านก็จะมาร่วมตอบกันได้ทันทีว่า ไม่น่าจะมีมากนักในยุคนี้สมัยนี้ ไม่ต้องไปดูอื่นใดให้ไกลนักนะครับ ทุกวันนี้แค่พอเราขึ้นรถโดยสารประจำทางไปไหนต่อไหน เราก็จะเห็นป้ายประกาศเตือนสติในทำนองที่ว่า “โปรดเอื้อเฟื้อแก่เด็ก สตรี และคนชรา” ข้อความทำนองนี้เป็นนัยในทางกลับกันว่า ถ้าต้องมาติดประกาศขอความร่วมมือกันแล้ว ก็คงจะแปลความได้ว่า สมัยนี้ความเอื้อเฟื้ออนาทรระหว่างเพื่อนมนุษย์เรา ท่าทางจะหดหายมลายเลือนไปเกือบหมดสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าจะมีใครสักคนเก็บเด็กด้อยโอกาสมาเลี้ยงในสลัม หรือใครคนนั้นที่กำลังป่วยเป็นมะเร็งระยะเกือบ ๆ สุดท้าย แต่ก็ยังมีกะจิตกะใจมาเกาดีดกีตาร์ประโลมขวัญกำลังใจให้มนุษย์โลก คนๆ นั้นก็คงเป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ เพียงไม่กี่คน หรือถ้าจะพูดให้จำเพาะเจาะจงก็คือ คงเป็นบางจำนวนคนที่มีสถานะเป็นเพียง “ข้อยกเว้น” ของสังคมเท่านั้น แต่ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นก็คือ ถ้าแม่ต้อยเป็นเพียง “ข้อยกเว้น” เช่นนี้แล้ว โฆษณามีกระบวนการเสกสร้างชีวิตของแม่ต้อยออกมาสู่ผู้ชมกันเช่นไร? สำหรับผมนั้น พบว่า แม้แม่ต้อยจะเป็นเพียง “ข้อยกเว้น” แต่โฆษณาก็ทำให้ชีวิตของเธอกลายเป็น “กฎทั่วไป” ของคนในสังคม กล่าวคือแม้เราจะยอมรับความจริงที่ว่า คนอย่างแม่ต้อยช่างเป็นบุคลากรที่หาได้ยากยิ่งในสามโลกของเราก็ตาม แต่ว่าโฆษณาก็พยายามทำให้เรากลับคิดไปว่า ชีวิตแบบแม่ต้อยเป็นชีวิตที่ธรรมดาสามัญชนทั่วไปรู้สึกดีๆ และรู้สึกอยากเป็น และยิ่งเมื่อทาบกับหลักการของนักโฆษณาที่ว่า จะต้องทำให้ผู้ชมได้เห็นชิ้นงานโฆษณาดังกล่าวถี่ๆ บ่อยๆ และต่อเนื่องเรื่อยมา (แม้ในขณะที่ผมกำลังนั่งปั่นต้นฉบับอยู่เช่นนี้) ก็ยิ่งทำให้เราเข้าใจไปด้วยว่า คนแบบแม่ต้อยที่เราเห็นกันถี่ ๆ ซ้ำ ๆ บ่อยๆ ก็กลายเป็นคนแบบที่ปุถุชนธรรมดาทั่วไปเขาน่าจะเป็นกัน (ทั้ง ๆ ที่เราเองก็อาจจะรู้อยู่ลึกๆ ว่า จะเป็นได้แบบนี้ก็ช่างยากยิ่งยากเย็นเสียเหลือเกิน) แล้วเหตุใดโฆษณาจึงต้องทำให้ “ข้อยกเว้น” กลายเป็น “กฎทั่วไป” แบบนี้? คำตอบก็คงเป็นเพราะว่า โลกจินตนาการอย่างโฆษณา มีหน้าที่บางอย่างที่มากไปกว่าแค่การขายสินค้าและบริการ นั่นคือหน้าที่ในการเติมเต็มสิ่งที่แร้นแค้นขาดหายไปแล้วจากโลกความจริง กล่าวกันว่า ปัญหาอันใดก็ตามที่มนุษย์เราไม่สามารถแก้ไขบรรเทาได้ในโลกจริงนั้น โฆษณาจะช่วยสร้างภาพที่ขจัดปัดเป่าปัญหาเหล่านี้ในลักษณะเติมเต็มความรู้สึกดีๆ กลับคืนมา การเติมเต็มดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้เยียวยาปัญหาความคับข้องใจต่างๆ ในโลกจินตนาการกัน ก่อนที่จะมาเผชิญหน้ากับปัญหาเช่นนั้นอีกครั้งในโลกความเป็นจริง และที่ชวนประหลาดใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โดยปกติแล้ว คนที่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทประกันชีวิตก็มักจะเป็นคนชั้นกลางที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ๆ แต่ก็ดูเหมือนว่า โฆษณากลับเลือกพรีเซ็นเตอร์อย่างแม่ต้อยให้เป็นคนชั้นล่าง ที่วิถีชีวิตของเธอไกลห่างยิ่งจากลีลาชีวิตแบบคนชั้นกลางเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นชีวิตแบบที่ไม่เคยไปเหยียบน้ำทะเลยเลยในชีวิต หรือจะเป็นชีวิตที่ต้องผัดผักไฟแดงเลี้ยงเด็กสลัม แต่ชีวิตแบบคนชั้นล่างเหล่านี้ก็ถูกโฆษณาทำให้กลายเป็น “กฏทั่วไป” ในชีวิตของคนชั้นกลางได้ในที่สุด ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ แม้ผู้ชมทางบ้านอีกเป็นแสนเป็นล้าน จะยังไม่ได้เป็นโรคมะเร็งแบบแม่ต้อยในวันนี้ แต่โฆษณาก็เริ่มต้นบอกเราแล้วว่า หากสักวันหนึ่ง เราเกิดโชคชะตาฟ้าเล่นตลก เป็นโรคร้ายขั้นสุดท้ายเช่นนี้แล้ว ในสองหรือสามปีที่เหลืออยู่ของเรานั้น จะเผชิญหน้ากับสภาวะดังกล่าวอย่างมีคุณค่าและเปี่ยมด้วยความหวังกันเช่นไร ทั้งนี้ก็เพราะว่า ชีวิตแบบ “ข้อยกเว้น” ก็มีสิทธิกลายมาเป็น “กฏทั่วไป” ในชีวิตของคุณหลายๆ คนขึ้นมาได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง...

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 134 คนรักหลักประกันสุขภาพ

  สร้างความเท่าเทียมมาตรฐานรักษาพยาบาล ดีกว่าร่วมจ่ายเพื่อการสร้างความเท่าเทียมในการจ่ายรักษา หลังการแถลงข่าวของกลุ่มคนรักหลักประกันเมื่อวันที่ 22 ก.พ.55 ถึงเหตุผลในเรื่องที่รัฐไม่ควรกลับไปใช้นโยบายร่วมจ่าย 30 บาท ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยนำเสนอ ผลการศึกษาของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนา หลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่พบว่า การกลับมาเก็บ 30 บาท มีเหตุผลที่ไม่เชื่อมโยงหลายประการ โดยเฉพาะหากต้องการรีแบรนด์เพื่อช่วยสถานพยาบาลที่ประสบภาวะขาดทุน ยิ่งไม่ใช่ เนื่องจากข้อมูลพบว่าสาเหตุหลักของโรงพยาบาล (รพ.) ขาดทุนมาจากปัญหาค่าตอบแทน ซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นถึง 30-40% ของปีงบประมาณ 2552 ซึ่งค่าตอบแทนนี้เป็นค่าตอบแทนในการให้บริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน แต่การจะมาผลักภาระโดยให้ประชาชนในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง เป็นผู้แบกโดยการร่วมจ่าย 30 บาท ถือว่าไม่ถูกต้อง แต่ท้ายที่สุด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานการประชุมวิชาการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในศตวรรษที่ 2 จัดขึ้น ณ โรงแรมรามาการ์เด้น วันที่ 22 มี.ค.55 ว่า ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นระบบที่รัฐบาลตั้งใจดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลยามเจ็บป่วย โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการล้มละลาย ซึ่งตลอดมาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ คือกว่า 47 ล้านคน ช่วยลดความยากจนจากการจ่ายค่ารักษาประกันสุขภาพได้กว่า 76,000 ครัวเรือน ซึ่งก้าวต่อไปของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จะยกเป็นนโยบายเร่งด่วน ที่จะลดความเหลื่อมล้ำ และบริการที่ดี ครอบคลุม โดยจะกลับมาเก็บเงินสมทบ 30 บาท เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม และรู้สึกเป็นผู้ซื้อบริการ ไม่ใช่เป็นผู้มาขอรับบริการเท่านั้น   ฉลาดซื้อจึงขอพาคุณไปคุยกับกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรังอย่างชมรมเพื่อนโรคไต เครือข่ายโรคมะเร็ง กันค่ะว่า จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ควรจะเพิ่มหรือพัฒนาการอะไรบ้าง หรือทางออกที่ดีของการสร้างหลักประกันสุขภาพควรจะเป็นอย่างไร สหรัฐ ศราภัยวานิช อาสาสมัครชมรมเพื่อนโรคไต ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า การเก็บค่าบริการ 30 บาท ใครอื่นอาจจะมองดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่คนที่ใช้สิทธิอยู่มันไม่มี 100 บาทก็ไม่มี 30 บาท ก็ดูจะยาก “การที่จะเก็บ 30 บาทแล้วบอกว่าเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ใช้บริการ ไม่ให้ประชาชนมาหาหมอพร่ำเพรื่อ แต่ถ้ามองในความจริงแล้ว ไม่มีใครอยากไปหาหมอหรอกครับถ้าไม่เจ็บป่วยจริงๆ” สหรัฐมองต่อประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายในการเข้าไปรับบริการสุขภาพซึ่ง เขาเองใช้สิทธิประกันสังคม เขาเองก็ยอมรับว่าสิทธิของประกันสังคมในเรื่องค่าใช้จ่ายนั้นค่อนข้างครอบคลุม แต่กระนั้นก็ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นเข้ามา “ค่าเดินทางไปฟอกเลือดทีก็ 200 บาท ค่าอาหาร บางอย่างก็มีการเก็บเพิ่มเช่น ค่ากระดาษรองแขน คิดอาทิตย์ละ 100 บาท อย่างผมไปฟอกไตอาทิตย์ละ 3 ครั้ง เรื่องยาก็สำคัญนะครับ บางตัวหมอไม่ได้จ่ายให้ แต่เราจำเป็นต้องกิน ก็ต้องซื้อกินเองเดือนละ 300 บาท รวมประมาณการ เดือนละ 1,000 บาทครับ” แต่ค่าใช้จ่ายข้างต้น สหรัฐให้ความเห็นว่าเพราะเขารู้ช่องทางการไปฟอกไต จึงทำให้ค่าใช้จ่ายถูก แต่บางคนต้องเดินทางมาจากสมุทรปราการ บางทีมาจากประจวบฯ เพื่อมาฟอกไตที่ รพ.สงฆ์ “ก่อนที่จะมีโครงการฟอกไต ต้องบอกว่าตกเดือนละ 30,000 บาท ทั้งค่าฟอกไต ค่ายาฉีดเพิ่มเลือด ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายมากครับ มากจนบางคนล้มละลายไปเลยก็มี ต้องขายที่ดินเพื่อรักษาตัวเอง แต่พอการรักษาครอบคลุม ทุกอย่างดีขึ้นเยอะครับ แต่ถ้ามองดูสิทธิการรักษาระหว่างสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ให้สิทธิในการล้างช่องท้อง สำหรับคนเป็นโรคไต หลังปี 51 จะเลือกการรักษาโดยการฟอกเลือดไม่ได้ ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด บางคนกลัวว่าล้างช่องท้องแล้วจะติดเชื้อ ก็ยอมจ่ายค่าฟอกเลือด 1,000 ถึง 1,500 บาทก็ยอมจ่าย” การไปฟอกเลือดแต่ละครั้งจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงในการฟอกเลือด แต่ยังไม่ได้รวมเวลาในการเข้าคิวรอ บางรายมารอตั้งแต่ตี 4 เพื่อที่จะได้ฟอกเลือด 6 โมงเช้า จะได้กลับบ้านก็ 11 โมง   ส่งเสริมสิทธิการรักษาให้เท่าเทียม การรักษาโรคไตมี 2 มาตรฐานนั่นคือ คนที่ได้รับสมุดฟอกเลือด กลุ่มแรกเป็นก่อนแล้วค่อยมาทำบัตรประกันสังคม กลุ่มที่สองทำบัตรประกันสังคมก่อนแล้วถึงเป็นโรคไต ซึ่งกลุ่มที่สองนั้นสิทธิจะครอบคลุมหมดเลยการฟอกเลือด 1 ครั้งประกันสังคมจะจ่ายให้ 1,500 บาท “ส่วนกลุ่มแรกนั้น ประกันสังคมจ่ายให้ 1,000 บาท ในเรื่องสิทธิของการเปลี่ยนไตนั้นเท่าเทียมกัน สามารถยื่นคำขอเปลี่ยนไตได้ แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องค่าใช้จ่ายในการฟอกเลือด แต่ถ้าเทียบกับสิทธิผู้ป่วยไตของกลุ่มหลักประกันสุขภาพนั้นในเรื่องค่ายากดภูมิ ไม่จำกัดเรื่องวงเงิน ซึ่งชมรมเพื่อนโรคไตพยายามผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกันในเรื่องการรักษาพยาบาล” อีกเรื่องที่สหรัฐชี้ให้เห็นก็คือเรื่องยาในบัญชียาหลัก ที่มีความแตกต่างการจ่ายยาของแต่ละโรงพยาบาลแตกต่างกัน ส่งผลต่อการรักษาของผู้ป่วย “ในเรื่องของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้น ผู้ที่เป็นโรคไตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ผู้ป่วยไม่ต้องร่วมจ่าย สำหรับบริการทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งบริการทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้น เริ่มให้บริการในวันที่ 1 ตุลาคม 51 ซึ่งจะให้บริการฟอกเลือดสำหรับผู้ป่วยรายเก่าที่เลือกวิธีการฟอกเลือดต่อไป จะได้รับความคุ้มครองโดยร่วมจ่ายไม่เกิน 500 บาท สปสช.ชดเชยให้หน่วยบริการ 1,000 บาท ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ที่ยืนยันจะใช้วิธีฟอกเลือดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ซึ่งชมรมเพื่อนโรคไตกำลังพยายามผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมกัน คือถ้าหากมีการรวมกองทุนและสร้างความเท่าเทียมกันในเรื่องมาตรฐานการรักษา จะดีมากเลย คือเรื่องความสะดวกสบายน่ะไม่เป็นไร เราต้องการความเท่าเทียมกันด้านมาตรฐานการรักษามากกว่า” การรวม 3 กองทุน สู่มาตรฐานสุขภาพ ดาราณี โพธิน อาสาสมัครเครือข่ายโรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งที่ใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาโรคมะเร็ง และเป็นผู้ประกันตนที่ร่วมส่งเงินสมทบตามมาตรา 39 นั่นคือเงินบำนาญ ซึ่งเธอให้ความเห็นว่าประกันสังคมน่าจะนำเงินส่วนกองทุนสุขภาพ มาเพิ่มในส่วนของเงินบำนาญ เพราะเมื่อชราภาพลงก็น่าจะมีกองทุนที่ช่วยเยียวยา “เราเห็นสิทธิการรักษาพยาบาลแล้ว มองว่ามันยังไม่ครอบคลุมเหมือนสิทธิหลักประกันสุขภาพ และเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในเรื่องสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเอง หากจะมีการกลับมาเก็บ 30 บาทอีกนั้น ก็น่าจะมีการพัฒนาในเรื่องมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ทั้งเวลาที่รวดเร็วขึ้น ไม่ใช่ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อไปรอหมอ กว่าจะได้พบหมอ ได้รักษาก็ครึ่งค่อนวัน คนในชุมชนเองซึ่งก็ทำงานรายวัน อย่างขายน้ำ พอไปหาหมอ 1 วัน วันนั้นรายได้ก็จะไม่มีเข้ามาแล้ว ไหนจะค่ารถ ค่าอาหาร หากจะกลับมาเก็บ 30 บาท ต้องมีอะไรที่ดีขึ้นกว่าเดิม ในส่วนตัวแล้วมองว่า 3 กองทุนสุขภาพ นั่นคือกองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคมและกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังมีความเหลื่อมล้ำกันมาก อย่างคนในชุมชนใช้สิทธิประกันสุขภาพนอนดูอาการ อยู่หลายวัน แต่สิทธิข้าราชการ สามารถเข้ารับการตรวจได้เลย อีกส่วนหนึ่งที่เจ็บใจก็คือสิทธิของประกันสังคม ด้อยกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพ ทั้งที่ประกันสังคมต้องจ่ายเงิน แต่สิทธิด้านการรักษาโรคยังครอบคลุมน้อยกว่าสิทธิหลักประกันสุขภาพซะอีก เลยอยากให้นำส่วนที่เราจ่ายเงินไปสบทบในส่วนกองทุนชราภาพให้เราใช้ตอนแก่ยังจะดีกว่า เพราะสภาพสังคมแบบนี้จะมัวไปพึ่งลูกหลานอยู่ก็ไม่ได้ หากเป็นไปได้การจะพัฒนาเรื่องสุขภาพจริงๆ ก็ควรที่จะพัฒนาในเรื่องมาตรฐานการรักษาพยาบาลให้เท่าเทียมกัน ดูจะเป็นทางออกที่ดีกว่า”  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 ไม่เหมือนที่คุยกันไว้

กรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายประกันภัยอีกแล้ว โดยเป็นการขายประกันสุขภาพผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งพูดคุยเข้าใจตรงกันเรียบร้อย เกี่ยวกับเงื่อนไขการเอาประกันภัยต่างๆ แต่สุดท้ายสิ่งที่ผู้บริโภคคิด กับสิ่งที่ตัวแทนบอกไม่หมดก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดีผู้ร้องถูกชักชวนให้ทำประกันภัยของบริษัท พรูเด็นเซียล ประกันชีวิต ผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งภายหลังตัวแทนขายประกันภัยได้บอกเงื่อนไขการเอาประกันภัยต่างๆ ผู้ร้องจึงตกลงสมัคร โดยให้มีการหักเงินผ่านบัตรเครดิต อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้รับกรมธรรม์ ก็พบว่าเนื้อหาไม่ได้ครอบคลุมการรักษาอย่างที่เธอต้องการ และราคาก็ไม่คุ้มค่ากับการคุ้มครองดังกล่าว จึงต้องการยกเลิกการทำสัญญา แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือบอกเลิกสัญญา ซึ่งสามารถดาวโหลดแบบฟอร์มเอกสารฟรีได้ที่เว็บไซต์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (www.consumerthai.org) และส่งไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัทประกันภัยดังกล่าว ซึ่งสามารถส่งข้อมูลที่เขียนแล้ว มาให้ศูนย์ฯ ช่วยตรวจสอบความถูกต้องก่อนได้ ทั้งนี้หลักการในการยกเลิกการสมัครประกันภัยนั้น สามารถยกเลิกได้เมื่อเราพบว่าเนื้อหาในกรมธรรม์ ไม่เป็นไปตามที่ตัวแทนเคยบอกไว้ ซึ่งต้องยกเลิกภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ดังกล่าว ด้านบริษัทฯ เมื่อได้รับเรื่องก็ทำการยกเลิกสัญญา และคืนเงินให้ผู้ร้องเรียบร้อย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 ประกันฯ ที่ไม่มั่นคง

คปภ.และบริษัทประกันภัย โหมรณรงค์ให้คนไทยทำประกันภัยกันอย่างครึกโครม  โดยที่จริงๆ แล้วเรื่องประกันภัย ประกันสุขภาพ  ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอให้ “คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) แก้ไขอย่างจริงจัง   วันก่อนพี่จิ๋ม(นามสมมุติ) มาร้องเรียนว่า  ถูกบริษัทประกันภัยชื่อดัง  ส่งหนังสือมาบอกเลิกสัญญา  ทั้งๆ ที่ได้ซื้อประกัน ในราคา 2 หมื่นกว่าบาทต่อปี มาตั้งแต่ ปี 2552 และซื้อต่อเนื่องมาจนถึง  ตุลาคม 2558   ก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญา(พร้อมแนบเงินที่เหลือปีสุดท้ายส่งมาด้วย)   เมื่อถามต่อก็ได้ทราบว่าเหตุผลที่ถูกบอกเลิกสัญญาคือ  กล่าวหาว่าผู้ซื้อประกันปกปิดข้อมูลการเป็นโรคเรื้อรังต่างๆมากมาย   ทั้งเบาหวาน ความดัน ฯลฯ ทั้งที่ตอนทำประกันผู้ซื้อยังไม่ได้เป็นโรคเรื้อรังอะไร   ผู้ร้องทุกข์เล่าให้ฟังอีกว่า ในหนังสือที่ส่งมาแจ้งอีกว่า รู้ข้อมูลการเป็นโรคของผู้ซื้อแล้วตั้งแต่เดือน มีนาคม 2558  แต่ไม่มีการแจ้งให้ผู้ซื้อประกันทราบ   นอกจากไม่แจ้งให้ผู้ซื้อทราบแล้ว  ยังเรียกเก็บเงิน   ไปอีกเมื่อ 30 กันยายน 2558   แล้วก็มีหนังสือบอกเลิกสัญญาในเดือนตุลาคม  ในปีเดียวกัน  ที่เจ็บใจมากคือ  ลงเงินซื้อประกันฯไปตั้งแต่ปี  2552  จนถึงปัจจุบัน รวมๆ แล้วประมาณ 150,000  บาท แต่บริษัทคืนให้เฉพาะเงินที่ลงไปปีล่าสุดเท่านั้น  อย่างนี้เท่ากับหรอกให้เราซื้อประกัน  พอเราเป็นโรคก็ไม่ ก็ปฏิเสธการดูแล  ด้วยการบอกเลิกสัญญาดื้อๆ แบบนี้ เรื่องลักษณะนี้ไม่ได้เกิดกับคุณจิ๋มคนเดียว แต่เกิดขึ้นกับอีกหลายๆ คน  คำถามคือเรื่องแบบนี้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคหรือฉ้อโกงกันแน่(เรื่องนี้คงต้องรอคำตอบจากคำสั่งศาล) หากอ้างกฎหมายผู้ซื้อประกันหากสู้ยาก เพราะกฎหมายประกันวินาศภัย ข้อหนึ่ง เขียนไว้กว้างๆ ว่า “หากบริษัทเห็นว่ามีความเสี่ยงสามารถบอกเลิกสัญญาได้”  ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคต้องร่วมกันผลักดันคือ  ต้องให้ คปภ. กำหนดระเบียบกติกาที่ชัดเจน  ในการบอกเลิกสัญญาประกันภัยฯ  ว่าลักษณะไหนบ้างที่บริษัทจะบอกเลิกสัญญาได้  และลักษณะไหนที่ห้ามบอกเลิกสัญญา   ถ้าบริษัทฯ ใดละเมิดต้องจัดการให้เป็นตัวอย่าง  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อ  และเบื่อการซื้อประกันฯ เพราะไม่เป็นผลดีทั้งผู้ซื้อประกันฯ และบริษัทประกันภัย  ก็ขอเรียกร้องให้ คปภ.ขยับเรื่องนี้ให้จริงจังเสียที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 สูงวัย ไม่โอเค...สักนิด

ผลจากที่องค์กรผู้บริโภคและผู้บริโภค  ร่วมกันส่งเสียงถึงความไม่เป็นธรรมในหลายเรื่อง  ทำให้ช่วงนี้มีข่าวที่น่าพอใจของผู้บริโภคปรากฏในสื่อต่างๆ หลายเรื่อง  เช่น  คำตัดสินของศาลปกครองกลาง    “กรณีมูลนิธิผู้บริโภคและเครือข่ายชนะคดีที่ฟ้องการขึ้นค่าทางด่วนโทลล์เวย์  ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค”  และ  “การระงับโฆษณาประกันสุขภาพผู้สูงอายุที่โฆษณา ไม่ตรงกับสัญญากรมธรรม์”   ต้องยอมรับว่านี่คือความก้าวหน้าของประเด็นผู้บริโภค  แต่ประเด็นที่เกิดขึ้นนี้  จะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าผู้บริโภคไม่ร่วมมือลุกขึ้นมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง  เพราะยังมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับประกันภัยด้านสุขภาพเกิดขึ้นอยู่เนือง ๆ   ต้นเดือน กันยายน 2558  คุณอี๊ด(นามสมมุติ)มาหารือว่า  ได้ทำประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ คุ้มครองสุขภาพด้วย  ส่งเงินปีละประมาณ 2 หมื่นบาท ต่อเนื่องมา 2 ปี  พอเข้าปีที่ 3 มีปัญหาปวดไหล่มาก  หมอตรวจแล้วบอกว่า ต้องผ่าเพื่อรักษา  เขาจึงไปปรึกษากับตัวแทน ที่ขายประกันภัยให้เขา  ตัวแทนแนะนำให้ไปผ่าที่กรุงเทพฯ เลย”เรามีประกัน” เมื่อตัวแทนแนะนำเขาก็เข้าไปผ่าที่ รพ.ใน กทม. นอนพักฟื้นอยู่ 5 วันมีค่าใช้จ่าย  1 แสนบาทเศษ  พอประสานงานกับตัวแทนประกันฯ เพื่อใช้สิทธิ ตัวแทนไม่พูดอะไรเมื่อฟังว่าค่ารักษาเท่าไหร่  เงียบไปเลย  โทรไปก็ไม่คุยด้วย  สรุปจ่ายเงินเองไปก่อน   พอกลับมาสมุทรสงครามได้ไปประสานกับบริษัทประกันเพื่อเคลียร์ค่าใช้จ่าย   ปรากฏว่า บริษัทปฏิเสธการจ่ายสินไหมทดแทน  ด้วยเหตุผล ผู้เอาประกันมีประวัติเกี่ยวกับแขนข้างที่ผ่าตัดที่ “เคยตกต้นไม้ มาก่อน” แต่ไม่แจ้งต่อผู้ขายประกัน  คุณอี๊ดบอกต่ออีกว่า  จริงๆ บอกตัวแทน(ขนาดโฆษณาบอกว่าไม่ถามเรื่องสุขภาพนะ อันนี้บอกเองเลย) แล้วตัวแทนบอกไม่เป็นไร ทำได้ เขาก็จ่ายเงินซื้อประกันมาอย่างต่อเนื่อง   สุดท้ายยังตกลงกันไม่ได้  ต้องดำเนินการขั้นตอนต่อไปบทเรียนเรื่องนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าผู้บริโภค  ให้ความสำคัญกับคำบอกเล่าของตัวแทนขายประกันมากกว่า  “การอ่านกรมธรรม์” เพราะถ้าอ่านเขาจะทราบ “วงเงินในการรักษา”แต่ละครั้งในกรมธรรม์กำหนดไว้เท่าไร  เพราะถ้ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าที่กำหนดในกรมธรรม์  ส่วนต่างนั้นผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเอง   รวมถึงข้อยกเว้นต่างๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์  เพื่อให้ทราบว่าเขาคุ้มครองอะไรเราบ้าง  และการคุ้มครองนั้นคุ้มค่าเงินที่เราต้องจ่ายไปหรือไม่    การอ่านกรมธรรม์ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  อ่านแล้วพบว่า ไม่โอเค ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิขอยกเลิกกรมธรรม์ได้    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 “ทำประกัน จ่ายครบ แต่คืนไม่ครบ (อีกแล้ว)”

“การทำประกันชีวิต นอกจากจากช่วยคุ้มครองผู้ทำประกันภัยจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันแล้ว ยังสามารถเป็นการสะสมทรัพย์รูปแบบหนึ่ง เพราะเมื่อเราส่งครบตามกำหนดสัญญา สุดท้ายเบี้ยประกันพร้อมเงินปันผลต่างๆ ก็จะกลับคืนมาให้ผู้ทำประกันอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย…”หลายคนคงคุ้นเคยกับประโยคยาวๆ ข้างต้น เพราะเรามักจะได้ยินเสมอเมื่อกำลังถูกโน้มน้าวใจให้ทำประกันชีวิต ซึ่งหากความจริงเป็นไปตามที่ตัวแทนกล่าวไว้ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่เหตุการณ์ก็มักจะเกิดขึ้นตรงกันข้ามมากกว่า ดังที่เราจะเห็นข่าวการฟ้องร้องกรณีประกันภัยจ่ายไม่ครบ หรืออาจบอกเลิกสัญญากรมธรรม์กับเรากะทันหันกันมากมาย เช่นเดียวกันกับผู้ร้องรายนี้ ที่ได้ทำประกันชีวิตระยะยาว ซึ่งสุดท้ายก็ได้เงินคืนไม่ครบ โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นเพราะอะไรด้วยซ้ำเมื่อปี พ.ศ. 2536 ผู้ร้องทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 21 ปี กับบริษัทประกันภัย เอไอเอ จำกัด ซึ่งต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 16,138 บาท โดยตามเงื่อนไขในกรมธรรม์จะมีการจ่ายคืนทุกๆ 3 ปี จำนวน 6 งวด งวดละ 20,000 บาท และเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา 21 ปีก็จะจ่ายเงินงวดสุดท้ายคืนให้อีกจำนวน 280,000 บาท ซึ่งแน่นอนว่าอายุสัญญาครบกำหนดเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา แต่ผลประโยชน์ตอบแทนกลับไม่เป็นไปตามที่ได้แจ้งไว้เมื่อ 21 ปีก่อน ผู้ร้องได้รับเงินคืนงวดแรกทุกๆ 3 ปีจำนวน 6 งวดรวมทั้งสิ้น 120,000 บาทและงวดสุดท้ายอีก 239,000 บาท ซึ่งขาดไปอีก 41,000 บาท เมื่อสอบถามไปยังตัวแทนประกันก็ไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดได้ โดยบอกเพียงว่าให้ติดต่อกับบริษัทฯ ที่กรุงเทพเอง ดังนั้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองและรักษาผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่านการส่งรายละเอียดทั้งหมดมาให้ทางจดหมายแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิแนะนำให้ผู้ร้องส่งหนังสือทวงถามจำนวนเงินที่ขาดไป และนัดเจราจากับบริษัทฯ ซึ่งภายหลังได้ยินยอมจ่ายเงินส่วนที่ขาดไปเพียง 31,000 บาท โดยไม่สามารถชี้แจงเหตุผลถึงเงินส่วนที่เหลืออีก 10,000 บาท ได้ว่าทำไมถึงไม่จ่ายคืนให้ครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา ด้านผู้ร้องก็เห็นว่าหากต้องฟ้องร้องคดีในศาล แม้จะรู้ว่าต้องชนะแน่นอน แต่ก็ต้องเสียเวลาอีกนาน จึงยินยอมรับเงินจำนวนนั้นไปสำหรับการฟ้องร้องเงินคืนไม่ครบตามสัญญานั้น ผู้บริโภคมักจะเป็นฝ่ายชนะคดีเสมอ โดยบริษัทก็ต้องเสียเงินมากกว่าค่าเบี้ยประกันที่คืนให้ไม่ครบ แต่กว่าจะชนะคดีก็ต้องเสียเวลานาน ทางออกจึงมักยุติได้ที่การเจรจาไกล่เกลี่ย ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องทำใจยอมรับการเสียประโยชน์ “เล็กน้อย” จากความไม่ซื่อสัตย์ของบริษัทประกันภัยนั้นไปโดยปริยาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 ประกันสุขภาพ อยากได้แต่ไม่อยากเสีย

แม้โฆษณาการประกันภัยของบริษัทต่างๆ จะมุ่งเน้นให้ผู้ซื้อบริการเห็นถึงการรับประกันความเสี่ยงให้กับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เพราะอย่างน้อยหากเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตหรือทรัพย์สิน ผู้ซื้อก็จะไม่ต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าเสียหายต่างๆ เหล่านั้นเพียงผู้เดียว แต่อีกด้านหนึ่งที่ผู้ซื้อไม่ค่อยได้รู้หรือบริษัทไม่เคยบอกอย่างชัดเจนก็คือ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่แฝงอยู่ในข้อสัญญากรมธรรม์ต่างๆ ที่ทำให้ใครหลายคนเคยต้องผิดหวังกับความไม่เป็นธรรมดังกรณีของผู้ร้องรายนี้“บริษัทฯ ใคร่ขอแจ้งให้ท่านทราบว่า บริษัทฯ ขออภัยที่จะต้องขอบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยฉบับดังกล่าวตามเงื่อนไขทั่วไปและข้อกำหนด โดยกรมธรรม์มีผลบังคับสิ้นสุดลงวันที่…”ข้อความดังกล่าวถูกส่งมาในจดหมาย เพื่อระงับการเอาประกันของภรรยาผู้ร้องที่ซื้อประกันภัย “HIP MediCare1” ของบริษัทกรุงไทยพาณิชย์ประกันภัย โดยผู้ร้องได้ชี้แจงว่าเขาซื้อประกันภัยแบบเหมาจ่ายให้กับตนเอง ภรรยาและลูก 1 คน ตั้งแต่เมื่อปี 2554 ซึ่งจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยปีละ 6 งวด งวดละ 1,102 บาท (รวมภาษีและอากรแล้ว) มีข้อตกลงและความคุ้มครองที่สำคัญคือ การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้าพักรักษาตัวแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่ออุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง จำนวน 3,000 บาท ซึ่งในระหว่างที่ทำประกันภัยนั้น ภรรยาของเขาได้มีการเบิกเคลมค่าสินไหมจำนวน 4 ครั้ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 26,000 บาท สำหรับการป่วยที่เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลซึ่งเป็นโรคทั่วไปที่ไม่ใช่โรคร้ายแรง ได้แก่ อาการจากเยื่อบุจมูกอักเสบ กระเพาะอักเสบและน้ำในหูไม่เท่ากัน ประเด็นที่สำคัญ คือภรรยาของผู้ร้องไม่ได้เบิกเคลมเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญากรมธรรม์ และไม่ได้ผิดสัญญาการชำระเบี้ยประกันเลย ดังนั้นเมื่อได้รับหนังสือแจ้งการบอกเลิกจากบริษัทและให้กรมธรรม์มีผลสิ้นสุดโดยไม่ได้แจ้งเหตุผล จึงทำให้ผู้ร้องไม่เข้าใจว่าตนเองผิดสัญญาข้อไหน และรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังจากผู้ร้องได้ทำหนังสือสอบถามสาเหตุการยกเลิกประกันภัย แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงนัดเจรจา โดยบริษัทประกันภัยนำเอกสารใบกรมธรรม์มาชี้แจงว่า สามารถบอกยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยได้ตามสัญญาข้อ 12.1 ที่ระบุว่า “บริษัทจะบอกเลิกกรมธรรม์ฉบับนี้ได้ด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัย ตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ และกรมธรรม์ประกันภัยจะสิ้นสุดโดยอัตโนมัติในวันสุดท้ายที่เบี้ยประกันภัย ซึ่งได้รับชำระมาแล้วสามารถซื้อความคุ้มครองได้ โดยบริษัทไม่ต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใด”อย่างไรก็ตามจากข้อความในสัญญากรมธรรม์ รวมทั้งตัวแทนของบริษัทดังกล่าวก็ยังไม่สามารถชี้แจงให้ผู้ร้องทราบถึงเหตุผลที่ชัดเจนว่า เพราะเหตุใดถึงต้องบอกยกเลิกการเอาประกันของภรรยาเขาได้ ทางศูนย์ฯ จึงต้องดำเนินการหาช่องทางกฎหมายเพื่อดำเนินคดีต่อไป เพราะการที่บริษัทฯ บอกยกเลิกสัญญาโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน ถือเป็นการกระทำที่สร้างความไม่เป็นธรรมกับผู้ร้อง และอาจเข้าข่ายเรื่องข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ที่กำหนดว่าการบอกเลิกสัญญาต้องมีเหตุผลให้บอกเลิก รวมทั้งต้องไม่เป็นการบอกเลิกฝ่ายเดียวดังเช่นในกรณีนี้ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 “โปรดระวังเอกสารสำคัญของตัวเอง”

“นักศึกษาช้ำกลายเป็นผู้ค้ำประกันแบบไม่รู้เรื่อง แถมยังโดนทวงหนี้กว่า 150 ล้าน!!”นี่ไม่ใช่เรื่องระหว่างนักธุรกิจร้อยล้านคุยกัน แต่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องที่เป็นนักศึกษาอายุ 20 ปีกับบริษัทประกันภัยชื่อดังอย่าง บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้รับจดหมายขอให้ชำระหนี้ ของสำนักงานกฎหมายที่อ้างว่าทวงถามหนี้ให้กับบริษัทประกันภัยดังกล่าว เหตุเพราะต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนขายประกันของบริษัทเนื้อหาในจดหมายอ้างว่าตัวแทนคนหนึ่งของบริษัทฯ ได้ชักชวนให้คนทำประกันภัย โดยเสนอผลตอบแทนสูงกว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ เป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยจำนวนมากหลงเชื่อและตกลงทำประกันชีวิต อย่างไรก็ตามต่อมาผู้เอาประกันภัยเหล่านั้นได้ขอยกเลิกกรมธรรม์ ทำให้บริษัทฯ ต้องคืนเงินเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัย และสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตนั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการจ่ายเงินค่าบำเหน็จ และผลประโยชน์อื่นๆ ที่ให้ตัวแทนดังกล่าวไปแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 159,924,536.12 บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบเก้าล้านเก้าแสนสองหมื่นสี่พันห้าร้อยสามสิบหกบาทสิบสองสตางค์) ดังนั้นเพื่อเป็นการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทฯ จึงขอให้ผู้ร้องในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันและตัวแทนดังกล่าว ร่วมกันชำระเงินที่บริษัทได้สูญเสียไปทั้งหมดข้างต้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ คืนเบี้ย!! แน่นอนว่าเงินจำนวนมากที่บริษัทเสียหายไปเทียบไม่ได้กับความตกใจของผู้ร้อง เพราะเขาไม่เคยรู้จักกับบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน และไม่เคยเซ็นเอกสารหรือสัญญาใดๆ กับทางบริษัทฯ มากไปกว่านั้นด้วยวัยเพียง 20 ปีจะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนดังกล่าวได้อย่างไร ซ้ำยังต้องมาโดนทวงนี้กว่า 150 ล้านทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก (แค่คิดก็ขนลุกแล้ว)แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังจากผู้ร้องได้แจ้งเรื่องมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงได้แนะนำให้ไปแจ้งความบันทึกประจำวันไว้ก่อน จากนั้นก็ให้ทำหนังสือถึงบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา เพื่อขอหนังสือสัญญาดังกล่าวมาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่า สัญญาการค้ำประกันฉบับนั้นมีการปลอมแปลงเอกสารทุกจุดได้อย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นของผู้ร้องหรือแม้กระทั่งลายนิ้วมือ ทางศูนย์ฯ จึงให้ผู้ร้องไปแจ้งความอีกครั้ง แต่เป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร โดยระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์หลักฐานของตำรวจ สิ่งน่ากลัวสำหรับผู้บริโภคอย่างเราทุกคนก็คือ เอกสารสำคัญของเราสามารถถูกปลอมแปลงได้ตั้งแต่ต้นทาง และสามารถทำให้เรากลายเป็นหนี้จำนวนมากมายมหาศาลได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา สิ่งที่เราควรทำนอกเหนือไปจากการระมัดระวังไม่ให้เอกสารสำคัญเหล่านั้นสูญหายแล้วก็คือ ในทุกครั้งที่มีการทำสัญญาใดๆ ควรเขียนหรือเซ็นกำกับไว้ว่าเอกสารนั้นใช้สำหรับทำอะไร หรือแสดงความประสงค์แบบเฉพาะเจาะจงทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เอกสารของเราถูกนำไปใช้ต่อโดยผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 บ้านมือสองกับค่าประกัน น้ำ ไฟฟ้า

ผู้บริโภคทั่วไปที่คิดจะซื้อบ้านมือสองควรรอบคอบและสังเกตสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ของงานสาธารณูปโภคพวกน้ำ และไฟฟ้า ด้วย สิ่งเล็กๆ นั้นคือ ค่าประกันการใช้น้ำและค่าประกันการใช้ไฟฟ้า เพราะอาจก่อปัญหาที่คุณคาดไม่ถึงได้ อย่างกรณีของคุณสาวิตรี เมื่อปี พ.ศ. 2551 ได้พบบ้านมือสองในทำเลและราคาที่ถูกใจมากๆ จึงได้ตกลงปลงใจซื้อบ้านตึกสองชั้นพร้อมที่ดิน จากผู้ขายและได้โอนกรรมสิทธิ์แล้วเสร็จในวันที่ 31 ตุลาคม 2551 และอยู่อาศัยมาด้วยความผาสุกเรื่อยมา จนต้นปี 2556 คุณสาวิตรีเพิ่งสังเกตเห็นว่า ใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาและใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้า นั้นยังเป็นชื่อผู้ใช้น้ำคนเดิมคือเจ้าของบ้านคนเก่า คุณสาวิตรีจึงได้พยายามติดต่อการประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของพื้นที่ปทุมธานี เพื่อขอดำเนินการเปลี่ยนชื่อใหม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งสองให้คุณสาวิตรีจัดเตรียมเอกสารและหลักฐานของผู้ใช้น้ำ ของกรณีผู้โอนและผู้รับโอนเป็นบุคคลธรรมดามาประกอบการดำเนินเรื่อง แต่ว่าการซื้อบ้านของผู้ร้องนั้นได้ล่วงเลยมานานหลายปีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่สามารถที่จะติดต่อกับผู้ขายบ้านหลังนี้ได้ จึงมาปรึกษากับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิว่าจะทำอย่างไรดี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงทำหนังสือเพื่อสอบถามและขอให้ทั้งสองหน่วยงานของรัฐช่วยเหลือผู้ร้อง การประปาส่วนภูมิภาค ปทุมธานี ได้ชี้แจงต่อกรณีนี้ว่า ตามระเบียบของการประปาส่วนภูมิภาค การโอนสิทธิในการใช้น้ำประปา หากมีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งประปาไว้แล้ว ผู้ใช้น้ำต้องแจ้งให้พนักงานประปาทราบและให้ผู้รับโอนมาลงนามในสัญญาใช้น้ำ โดยหลักฐานที่นำมาแสดง อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้าน , ใบเสร็จเงินประกันค่าน้ำตัวจริง ,ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำประปาครั้งสุดท้ายหรือสำเนา หากทั้งสองฝ่ายไม่สะดวกสามารถทำหนังสือมอบอำนาจให้กับญาติดำเนินการแทนได้ เป็นต้น บ้านของผู้ร้องนั้นเป็นอัตราค่าธรรมเนียมประกันการใช้น้ำ ขนาดมาตร 1/2 (นิ้ว) ค่าประกันการใช้น้ำ เป็นเงิน 535 บาท และการประปาฯ จะช่วยดำเนินการติดตามกับผู้ใช้น้ำเดิมเพื่อสอบถามว่าจะขอคืนเงินประกันการใช้น้ำหรือโอนเปลี่ยนให้กับผู้ร้องต่อไป แต่ในส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้น ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไม่ได้รับคำตอบต่อกรณีร้องเรียนดังกล่าวนี้แต่อย่างใดในขณะเขียนเรื่องนี้ ซึ่งจะได้ติดตามผลให้กับคุณสาวิตรีต่อไป แต่เห็นว่าเรื่องนี้น่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านหรืออาคารมือสองจึงนำมาลงไว้เป็นกรณีศึกษา 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ซื้อหมู่บ้านเล็ก เขารับประกันยังไง

ซื้อบ้านจัดสรรอยู่ แต่โครงการของบริษัทเล็กๆ เขาจะรับประกันอะไรให้บ้าง คนเรามี 2 สิ่งที่ตัดสินใจยากคือ "เลือกเมีย" กับ "เลือกบ้าน" เพราะมีผลกับชีวิตทั้งชีวิต เป็นคำถามมาสั้นๆ ง่ายๆ ที่ฝากมาในกระทู้รับเรื่องร้องเรียน เลยขอนำมาตอบไว้ที่นี้ด้วย แต่คำตอบจะต้องแยกตอบเป็น 3 คำตอบ (1) ซื้อบ้านจัดสรร (2) เจ้าของโครงการเป็นบริษัทเล็ก และ (3) การรับประกันหลังโอนประเด็นแรก คุณเจ้าของกระทู้บอกอยู่แล้วว่าตัดสินใจเลือกซื้อบ้านในโครงการจัดสรร นั่นหมายความว่าเราต้องการซื้อคุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัย เพราะฉะนั้น ข้อแนะนำก็คือ ให้ตรวจสอบว่าโครงการจัดสรรดังกล่าว ขออนุญาตจัดสรรภายใต้กฎหมายจัดสรรที่ดินหรือเปล่า ตรวจสอบข้อมูลได้จากสำนักงานกรมที่ดิน ตัวอย่างเช่น ถ้าจะซื้อบ้านจัดสรรในเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เราก็สามารถไปขอตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินประจำเขตบึงกุ่มเหตุผลที่ต้องตรวจสอบก่อน เพราะกฎหมายจัดสรรบังคับให้บริษัทเจ้าของโครงการต้องจดทะเบียนจัดสรร เพื่อจะได้เข้ามาช่วยควบคุมว่า กรณีที่เป็นโครงการใหญ่ๆ จะต้องมีการลงทุน "พื้นที่ส่วนกลาง" ให้เหมาะสมกับจำนวนบ้าน เช่น ถ้ามีบ้าน 100 หลัง ถนนเมนควรจะกว้าง 16 เมตรไหม ถ้ามีบ้าน 500 หลัง ถนนเมนจะต้องกว้าง 20 เมตรหรือเปล่าหรือถ้าขออนุญาตจัดสรรอย่างถูกต้อง กฎหมายท่านจะบังคับไว้เลยว่า บ้านเดี่ยวจะต้องมีพื้นที่ 50 ตารางวาขึ้นไป บ้านแฝดจะต้องมีที่ดิน 35 ตารางวาขึ้นไป ทาวน์เฮาส์จะต้องมีที่ดินเริ่มต้น 18 ตารางวาขึ้นไป เป็นต้นกรณีที่โครงการที่เราซื้อ ไม่ได้มีการขออนุญาตจัดสรร แสดงว่าเขากำลังเลี่ยงกฎหมายจัดสรรอยู่ โดยพื้นฐานถ้าจำไม่ผิด กฎหมายจะกำหนดไว้ว่า ถ้าขอจัดสรรทำบ้านเดี่ยวตั้งแต่ 10 หลังขึ้นไปต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง แต่ถ้าต่ำกว่า 10 หลังไม่ต้องขออนุญาตจัดสรรกลายเป็นช่องว่างให้มีการเลี่ยงกฎหมายจัดสรร เช่น อาจจะมี 40 หลัง แต่ใช้วิธีพัฒนาทีละไม่เกิน 10 หลัง โดยใช้ชื่อคนละบริษัท ทั้งๆ ที่เป็นหมู่บ้านเดียวกัน เป็นต้น ประเด็นที่สอง เรื่องของ "เจ้าของโครงการเป็นบริษัทเล็กๆ" สิ่งแรกที่ต้องคำนึงก่อนตัดสินใจวางเงินจองเงินดาวน์ และจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ สิ่งนั้นก็คือความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการในที่นี้ ไม่ได้ฟันธงว่า เวลาเราพูดถึงความน่าเชื่อของผู้ประกอบการแล้ว จะต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆ เป็นบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหุ้นเท่านั้น เรื่องนี้ไม่จริง เพราะมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ทุนหนาอีกตั้งหลายรายที่ไม่ยอมเข้าตลาดหุ้น เพราะฉะนั้นความน่าเชื่อของผู้ประกอบการจึงต้องมีองค์ประกอบอื่นเพิ่มเติมด้วยข้อแนะนำคือ เวลาดูความน่าเชื่อของผู้ประกอบการสำหรับหมู่บ้านจัดสรรที่เราจะไปเลือกซื้อนั้น นอกจากจะตรวจสอบจากใบอนุญาตจัดสรรแล้ว ควรจะมีการตรวจสอบจากข้อมูลข่าวสาร อย่างน้อยที่สุด เคยมีประวัติพัฒนาโครงการขายมาก่อนหรือไม่ ถ้าไม่เคย ธุรกิจดั้งเดิมเคยทำอะไรมาก่อนตัวอย่างเช่น ค่ายสยามกลการ ในปัจจุบันรุ่นทายาทธุรกิจเป็นคนรุ่นใหม่ ก็ให้ความนิยมหันมาลงทุนสร้างคอนโดฯ ขาย เป็นต้น กรณีแบบนี้เราค่อนข้างมั่นใจได้ว่ามีความเป็นมาตรฐานแน่นอน เพราะธุรกิจดั้งเดิมก็เป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงที่ดี ไม่ใช่ประเภทตีหัวเข้าบ้านประเด็นสุดท้าย "การรับประกันหลังโอนกรรมสิทธิ์" ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อนว่า การรับประกันหลังโอน กฎหมายจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบของบริษัทเจ้าของโครงการไว้ที่เป็นการรับประกันเรื่องตัวบ้านเป็นหลัก เช่น สร้างแล้วพังเร็วไหม อยู่แล้วอุ่นใจหรือเปล่าข้อแนะนำสำหรับการรับประกันตัวบ้านก็คือ ให้มุ่งเน้นความสำคัญไปที่การตรวจสอบคุณภาพก่อสร้างที่เป็น "โครงสร้างหลัก" ของตัวบ้าน เช่น เสา คาน ฯลฯ ส่วนผนังที่อาจจะมีรอยแตกลายงา ถือเป็นเรื่องปกติเพราะเกิดจากฝีมือฉาบปูนบ้าง โดดแดดบ้าง อะไรบ้าง หรือจะเป็นก๊อกเป็นสนิม น้ำรั่ว น้ำซึม เป็นเรื่องที่คุยกันได้ พวกนี้เรียกว่า "ส่วนควบของตัวบ้าน" ซึ่งกินความไปถึงประตู หน้าต่าง กรอบอลูมิเนียม บานเลื่อน ฯลฯ จิปาถะเยอะแยะไปหมดข้อแนะนำคือ ตรวจสอบด้วยการหาข้อมูลอ้างอิงว่า ถ้าเป็นกรณีหมู่บ้านใหญ่ๆ เขามีการรับประกันอะไรให้กับลูกค้าบ้าง แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน อย่างน้อยที่สุด การรับประกันในจุดหลัก ๆ ก็ควรจะต้องมี แต่ถ้าหมู่บ้านเล็กๆ ไม่มีให้ ข้อแนะนำคือคุณไม่ควรจะรับโอน จนกว่าจะสามารถเคลียร์และทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะถ้าหากจำเป็นจะต้อง "ค้าความ" หรือมีการฟ้องร้องคดีกันขึ้นมาเมื่อไหร่ โอกาสของผู้บริโภคคือจะต้องมีหนังสือนิติกรรมที่เป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น การดำเนินคดีในศาลจึงจะมีน้ำหนัก และทำให้เราไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ในท้ายที่สุด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 169 ความคืบหน้ากรณี รถทัวร์ตกเหว แล้วหลอกให้ผู้เสียหายทำยอมรับเงิน

ความคืบหน้าหลังการฟ้องคดี จากเสียงผู้บริโภค ฉบับที่ 165 ตอน บริษัทประกัน หลอกผู้เสียหาย ทำยอมรับเงิน เหตุรถทัวร์ตกเหว ครับจากเหตุการณ์ ที่กลุ่มชาวบ้านผู้สูงอายุ จากหมู่บ้านแม่สะลาบและหมู่บ้านบุปผาราม ตำบลชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ได้ร่วมกันเหมารถยนต์โดยสารรับจ้างจำนวน 3 คัน เพื่อไปทำบุญทอดกฐินที่วัดใหม่สามัคคีธรรม จังหวัดลำปาง ครั้นเมื่อทำบุญเสร็จแล้ว และกำลังเดินทางกลับจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อมาถึงบริเวณเส้นทางถนนสายพะเยา – วังเหนือ มุ่งหน้าไปยังอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นทางลาดลงเขา รถยนต์โดยสารคันที่ 2 ที่ขับรถมาด้วยความเร็ว ได้เสียหลัก ก่อนจะพุ่งใส่ราวสะพานเหล็กกั้นริมถนน ชนเข้ากับต้นไม้ใหญ่หักโค่น หลังคารถฉีกขาด รถพลิกคว่ำพุ่งดิ่งลงเหวลึก มีผู้เสียชีวิตทันที 22 คนและบาดเจ็บ 17 คน นั้นหลังเกิดเหตุ ตัวแทนบริษัทผู้ประกอบการรถยนต์โดยสารและตัวแทนบริษัทประกันภัยได้เข้าเยี่ยมดูแลผู้เสียหายทั้งหมดด้วยความปรารถนาดี พร้อมมอบของขวัญอันล้ำค่าที่ไม่ลืมเลือนให้กับผู้เสียหายที่บาดเจ็บและญาติผู้เสียชีวิตแต่ละราย ด้วยการจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน พร้อมสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยที่ตัวแทนบริษัทประกันภัยดังกล่าวไม่ได้อธิบายถึงข้อเสียของการทำสัญญาประนีประนอมให้กับผู้เสียหายแต่อย่างใด ว่าเมื่อผู้เสียหายรับเงินและลงชื่อรับเงินไปแล้วจะเสียสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายต่างๆ เพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นคนขับ เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัยทันทีจากกรณีดังกล่าว ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ในการลงพื้นที่รวบรวมข้อเท็จจริงและให้ความช่วยเหลือทางคดีเพื่อเรียกร้องสิทธิที่ถูกละเมิดและถูกหลอกลวงจากข้อมูลของบริษัทประกันภัย จึงได้ยื่นฟ้องนายวิวัฒน์ โนชัย , ห้างหุ้นส่วนวีระพันธ์ทัวร์แอนด์ทราเวล , นายวีระพันธ์ เหลืองทอง , บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด มหาชน และ บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด มหาชน เป็นคดีผู้บริโภค จำนวน 26 คดี ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ นัดพิจารณาคดีครั้งแรก ในวันที่ 23 ธันวาคม 2557   และ 16 มกราคม 2558  ตามลำดับ โดยในวันนัดดังกล่าวคู่ความทั้งหมดประกอบด้วยผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ทั้ง 26 คดี และจำเลยทั้งห้ามาศาล เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ย แต่คู่ความทั้งสองฝ่ายเจรจากันไม่ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรถแถลงต่อศาลว่าไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายตามที่โจทก์ทั้ง 26 คดีเรียกร้องได้ และให้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 4 บริษัทประกันภัยให้จ่ายค่าเสียหายแทน  ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะบริษัทประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุ ก็ออกตัวชัดเจนว่าได้จ่ายเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้กับผู้เสียหายและทายาททั้งหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่มให้อีกแต่อย่างใด  เมื่อคดีไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ ศาลจึงกำหนดให้นัดสืบพยานเพื่อไม่ให้คดีล่าช้าโดยศาลใช้กระบวนพิจารณาคดีแบบกลุ่ม คือ รวมทั้ง 26 คดีเป็นคดีเดียวกัน โดยให้สืบโจทก์แต่ละคดีให้เสร็จสิ้นก่อน ค่อยให้จำเลยทั้งห้าสืบแก้ แต่ในระหว่างการสืบพยานโจทก์  คู่ความทั้งสองฝ่ายได้เจรจาไกล่เกลี่ยกันโดยตลอดซึ่งภายหลังการสืบพยานโจทก์ได้ 10 วัน  จำเลยที่ 2 และ 3 เสนอเงื่อนไขการเจรจา ยินยอมชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้ง 26 คดี เป็นเงินจำนวนหนึ่ง และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยภาคสมัครใจของรถยนต์คันเกิดเหตุ เสนอเงื่อนไขการเจรจา ช่วยเหลือชำระค่าเสียหายเพิ่มเติมให้กับโจทก์ที่บาดเจ็บตามการเรียกร้องของแต่ละคนอีกจำนวนหนึ่ง (สำหรับกรณีคนที่เสียชีวิตนั้น จำเลยที่ 4 ไม่ได้จ่ายเพิ่ม เนื่องจากเต็มวงเงินตามหน้ากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว)  โจทก์ทั้ง 26 เห็นชอบด้วยกับเงื่อนไขของจำเลยดังกล่าว จึงยอมรับและยินยอมถอนฟ้องจำเลยทั้งหมดในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมาหลังคดีสิ้นสุด จำเลยที่ 3 เจ้าของรถ ได้แถลงต่อหน้าศาลแสดงความเสียใจและขออโหสิกรรมในความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด และผู้เสียหายทุกคนไม่ติดใจ ยินยอมอโหสิกรรมให้ตามที่จำเลยที่ 3 แถลง คดีจึงยุติลงด้วยดีบทสรุปของคดีนี้ หากมองถึงเรื่องจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนได้รับแล้ว อาจจะไม่สมหวังเท่าใดนัก เหตุเพราะคดีนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรื่องจำนวนเงินค่าเสียหายไม่ใช่ประเด็นสำคัญสำหรับการฟ้องคดี  อาทิ เจ้าของรถไม่มีเงินเพราะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย และผู้เสียหายเกือบทุกคนถูกบิดเบือนข้อมูลหลอกให้รับเงินทำสัญญาประนีประนอมยอมความแต่หากมองถึงเรื่องกระบวนการต่อสู้ของผู้เสียหายทุกคนที่ ร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจ ในการเรียกร้องสิทธิ รวมถึงขั้นตอนการฟ้องคดี ที่ชาวบ้านผู้เสียหายทั้งหมดได้เรียนรู้โดยตรง ในการเจรจาไกล่เกลี่ย และการรวมคดีเพื่อพิจารณาแบบกลุ่มนั้น ต้องถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูงและที่สำคัญ ผู้เสียหายทุกคน รู้ตัวเองดีว่าโอกาสที่จะได้รับค่าเสียหายได้ยาก เพราะถูกสัญญาประนีประนอมยอมความปิดปากไว้แล้ว แต่ทุกคนก็ไม่ยอมแพ้ ไม่มีถอย พร้อมที่จะสู้ เพราะทุกคนต้องการปกป้องสิทธิของตนเอง ต้องการฟ้องคดีเพื่อให้เป็นประเด็นสาธารณะ  เป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานสัญญารถเช่าต่อไปกรณีนี้ ถือเป็นกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งที่จะเป็นบทเรียนให้กับผู้บริโภครายอื่นๆ ได้เรียนรู้ได้ว่า อย่าเพิ่งยอมแพ้กับสิ่งที่ยังไม่เกิด แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคขวางอยู่ข้างหน้า ขอให้เราได้เริ่ม รับรองมีทางออกแน่นอน...  

อ่านเพิ่มเติม >