ฉบับที่ 175 บัตรเดบิตพ่วงประกัน รู้ให้ทันก่อนใช้

เดี๋ยวนี้บัตรเดบิตไม่ได้มีไว้แค่กดเงินสดจากบัญชีของเราผ่านทางตู้ ATM เพียงอย่างเดียว แต่บัตรเดบิตใบเดียวยังทำได้อีกหลายอย่าง แต่ที่หลายๆ คนให้ความสนใจแถมยังเคยเป็นประเด็นร้อนแรงจนเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ก็คือ “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ”  ที่เคยผู้บริโภคออกมาโวยว่าถูกธนาคารเอาเปรียบบังคับให้ทำบัตรเดบิตพ่วงประกัน ซึ่งค่าธรรมเนียมแพงกว่าบัตรเดบิตทั่วไป ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาผู้อ่านไปดูกันสิว่า “บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิด้านประกันอุบัติเหตุ” (เราเลือกเฉพาะคุ้มครองด้านอุบัติเหตุ) มีข้อดี-ข้อเสียยังไง เป็นทางเลือกที่น่าสนใจแค่ไหน สำหรับคนที่อยากมีประกันอุบัติเหตุไว้ให้อุ่นใจเวลาเจอเหตุที่ไม่คาดฝัน แต่เดี๋ยวก่อน ข้อมูลเรื่องการใช้สิทธิเรามีมาฝากแน่ๆ แต่สิ่งที่เราอยากบอกคือ ลักษณะการให้บริการที่ไม่ตรงไปตรงมาของธนาคาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรปรับปรุงเพื่อมิให้ก่อปัญหาในอนาคต    โดยฉลาดซื้อได้ทดลองให้อาสาสมัครไปเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับสมัครบัตรเดบิตประเภทที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุกับธนาคาร 5 แห่งได้แก่ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ และออมสิน  พบว่าทุกธนาคารที่ทดสอบไม่มีกรมธรรม์มอบให้ทั้งในขณะที่ขอเปิดบริการ มีเพียง 3 ธนาคารที่ให้แผ่นพับข้อมูลรายละเอียดการใช้สิทธิ อย่างไรก็ตาม เพื่อดูว่าจะมีการส่งกรมธรรม์มาให้ในภายหลังหรือไม่ ฉลาดซื้อได้ทิ้งระยะเวลาไว้  1 เดือน ซึ่งก็ไม่พบว่า มีการส่งกรมธรรม์มาให้กับอาสาสมัครตามที่อยู่ในการเปิดใช้บริการ และเมื่ออาสาสมัครเดินทางกลับไปยังสาขาที่เปิดใช้บริการบัตรเดบิตพร้อมประกันภัยเพื่อขอกรมธรรม์ด้วยวาจา ก็ได้รับการปฏิเสธว่า ไม่มีกรมธรรม์ให้ ทั้งๆ ที่กรมธรรม์นั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะก่อนที่เราจะใช้สิทธิเราควรรู้สิทธิประโยชน์ของเราก่อนว่ามีอะไรบ้าง รายละเอียด ข้อยกเว้น ฯลฯ ซึ่งควรเป็นรายละเอียดที่เราต้องได้พิจารณาจากกรมธรรม์ เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะยังคงทำสัญญากับบริษัทประกันภัยต่อไป หรือขอยกเลิกสัญญา เช่นเดียวกับการทำประกันภัยแบบอื่นๆ บัตรเดบิตท่านเลือกได้ว่าต้องการแบบใด เมื่อประมาณปีที่แล้วมีข่าวการร้องเรียนจากผู้ใช้บัตรเดบิตผ่านตามสื่อต่างๆ ว่าไปสมัครของใช้บัตร ATM หรือบัตรเดบิตแบบธรรมดาแล้วถูกทางธนาคารอ้างว่าไม่มีบัตรรุ่นพื้นฐานให้บริการ หรือต้องรอหลายวันถึงจะอนุมัติบัตรได้ พร้อมเสนอให้ทำบัตรที่ราคาสูงกว่า หรือบัตรที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ โดยอ้างเหตุผลต่างๆ นานา จนลูกค้าบางคนใจอ่อน แต่พอเมื่อรู้ว่าบัตรพ่วงประกันมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่า ทำให้ลูกค้าหลายคนปฏิเสธที่จะใช้บริการ แต่บางคนก็ต้องตกลงทำบัตรแบบจำยอมเพราะจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตในการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเมื่อเรื่องดังกล่าวกลายเป็นกระแสหนักเข้า ทางผู้บริหารธนาคารก็ต้องออกมาชี้แจงว่าทางธนาคารไม่ได้มีนโยบายในการบังคับให้ผู้บริโภคต้องสมัครบัตรเดบิตที่มีการพ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุ และบัตรขั้นพื้นฐานก็ยังมีให้บริการตามปกติซึ่งจากที่ฉลาดซื้อได้ลองไปสำรวจล่าสุดเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่าน เรายังพบการให้ผู้บริโภคสมัครบัตรที่มีการพ่วงสิทธิประกันโดยไม่มีการสอบถามหรือชี้แจงก่อนจากพนักงานธนาคาร ซึ่งหากผู้บริโภคที่ไม่รู้เท่าทันหรือไม่มีข้อมูลเรื่องบัตรก่อนก็อาจหลงสมัครใช้บัตรเดบิตพ่วงประกันโดยไม่รู้ตัว ทำให้ต้องเสียเงินเป็นค่าธรรมเนียมบัตรที่สูงกว่าบัตรขั้นพื้นฐาน โดยบัตรเดบิตขั้นพื้นฐานจะมีค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ที่ 200 บาทต่อปี ขณะที่บัตรเดบิตที่พ่วงสิทธิประกันอุบัติเหตุจะมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 500 – 4,000 บาทต่อปี ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลการให้บริการธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศไทย ได้กำหนดข้อบังคับไว้ในประกาศ เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและนายหน้าประกันชีวิต ว่าห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับให้ลูกค้าทำประกันทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นประกันวินาศภัย ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต รวมทั้งห้ามใช้วิธีบังคับขายประกันคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคาร หรือตั้งเป็นเงื่อนไขว่าต้องทำประกันก่อนจึงอนุมัติการทำธุรกรรมอื่นๆ ของธนาคาร เช่น ให้ผู้บริโภคต้องซื้อประกันผ่านทางธนาคารก่อนเพื่อเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาการขอสินเชื่อแต่ธนาคารสามารถให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ประกันได้ แต่ต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน และต้องไม่บังคับผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ส่วนข้อกำหนดเรื่องการให้แยกเคาน์เตอร์ขายผลิตภัณฑ์ด้านประกันออกจากเคาน์เตอร์ที่ให้บริการรับฝากถอนเงิน โดยมีป้ายบ่งบอกหรือสัญลักษณ์ที่ให้ผู้บริโภคเห็นได้อย่างชัดเจนนั้น ในทางปฏิบัติดูแล้วยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะดูเป็นเพิ่มภาระให้กับธนาคาร ที่สำคัญในข้อบังคับเองก็ยังเปิดช่องว่างว่าหากเป็นการทำธุรกรรมที่ต่อเนื่องกัน อย่างการทำบัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุ ธนาคารก็สามารถให้บริการต่อเนื่องกันได้เลย ถือว่าเป็นไปในลักษณะการบริการแบบ One Stop Serviceฉลาดซื้อแนะนำ-สำรวจตัวเองว่ามีความจำเป็นต้องใช้บัตรเดบิตที่มีสิทธิประกันอุบัติเหตุหรือไม่ สำหรับคนที่มีประกันจากแหล่งอื่นอยู่แล้ว เช่น มีประกันชีวิตอยู่แล้ว หรือมีประกันอุบัติเหตุที่ที่ทำงานทำไว้ให้ หรือใครที่พอใจกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประกันสังคม หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ก็ไม่มีความจำเป็นต้องสมัครบัตรเดบิตพ่วงประกันเพิ่มอีก ใช้บัตรเดบิตแบบธรรมดาก็พอไม่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่าย-แต่ถ้าใครสนใจอยากจะสมัครใช้บัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ ก็ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบครบถ้วน ดูเรื่องค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย วงเงินในการคุ้มครอง โรงพยาบาลที่อยู่ในสิทธิ์ เงื่อนไขในการคุ้มครอง และเหตุที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครอง ขั้นตอนการใช้สิทธิ์ โดยเราสามารถศึกษาข้อมูลเหล่านี้ได้กับธนาคารโดยตรง หรือทางหน้าเว็บไซต์ของธนาคาร (บางธนาคารมีเอกสารกรมธรรม์ให้ดาวน์โหลด เพื่อใช้ศึกษาข้อมูลและเป็นหลักฐานอ้างอิงในการขอรับสิทธิ)  หรือจะสอบถามที่ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทรสายด่วน 1213 www.1213.or.th ซึ่งที่นี่เราสามารถร้องเรียนปัญหาจากการใช้บริการสถาบันการเงินต่างๆ ได้ด้วย-ส่วนใครที่เจอปัญหาธนาคารบังคับให้ทำบัตรเดบิตที่พ่วงประกัน โดยอ้างเหตุผลต่างๆ ว่าไม่สามารถออกบัตรเดบิตแบบธรรมดาหรือบัตร ATM ได้ ให้รู้ไว้เลยว่าธนาคารกำลังหลอกลวงเราอยู่ ปัจจุบันธนาคารเกือบทุกธนาคารยังมีบัตรเดบิตแบบธรรมดาให้บริการอยู่ ให้แจ้งยืนยันกับทางธนาคารว่าเราต้องการบัตรแบบธรรมดาเท่านั้น หากธนาคารยังแจ้งว่าไม่มีให้บริการ ให้ปฏิเสธการใช้บริการแล้วเปลี่ยนไปใช้บริการกับสาขาอื่น หรือธนาคารเจ้าอื่นแทน รู้ก่อนทำบัตรเดบิตพร้อมสิทธิประกันอุบัติเหตุจุดเด่นของบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุก็คือ แค่เราเปิดบัญชีทำบัตรเดบิตเหมือนปกติทั่วไป แต่ได้รับการคุ้มครองเวลาที่เราได้รับอุบัติเหตุ ได้รับการดูแลเรื่องค่ารักษาพยาบาล พิการหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุญาติพี่น้องของเราได้รับเงินชดเชยตามวงเงินที่บัตรกำหนดไว้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมรายปีที่เราต้องจ่ายให้กับบัตรเดบิตพ่วงประกันอุบัติเหตุก็จะสูงกว่าบัตรธรรมดาทั่วไป ตั้งแต่ปีละ 500 บาทจนไปถึงหลักหลายพันบาทคุ้มครองอะไรบ้าง?บัตรเดบิตที่เพิ่มสิทธิประโยชน์เรื่องการประกันอุบัติเหตุมาด้วย จะมีการระบุวงเงินชดเชยกรณีที่ผู้ถือบัตรเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ย้ำว่าเฉพาะจากอุบัติเหตุเท่านั้น ถ้าหากสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บ ปวดหัว ตัวร้อน บอกเลยว่าหมดสิทธิ ซึ่งวงเงินที่บัตรเดบิตของแต่ละธนาคารจะจ่ายให้อยู่ที่ตั้งแต่ 100,000 – 500,000 บาท ซึ่งวงเงินชดเชยนี้ครอบคลุมทั้ง การเสียชีวิต การได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร และการสูญเสียการมองเห็น นอกจากนี้ยังมีการจ่ายชดเชยให้กรณีเข้ารักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลจากอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ ตั้งแต่ 5,000 – 20,000 บาท ต่อการเข้ารักษาพยาบาล 1 ครั้ง ไม่จำกัดจำนวนตลอดอายุการถือครองบัตร ซึ่งหากค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าวงเงินที่บัตรระบุไว้ ผู้ใช้สิทธิจะต้องจ่ายเองในส่วนเกิน บางธนาคารมีเงินชดเชยการขาดรายได้ขณะเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลให้ด้วย ถ้าจะใช้สิทธิต้องทำยังไง?สำหรับวิธีการใช้สิทธิเมื่อต้องการเข้ารักษาตัวจากอาการบาดเจ็บทำได้โดย แสดงบัตรเดบิตที่ให้สิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุ พร้อมกับบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายและออกโดยหน่วยงานราชการ ถ้าหากมีการเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล ต้องแสดงหลักฐานการเปลี่ยนการทางสถานพยาบาลด้วย ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้ทันทีกับสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาผูกอยู่กับบัตรเดบิตที่เราถืออยู่ โดยจะรับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามวงเงินที่กำหนดไว้ ไม่ต้องสำรองจ่าย แต่ถ้าเกินวงเงินเราต้องจ่ายเองแต่หากเป็นในกรณีที่เราเข้ารักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับทางธนาคาร ผู้ถือบัตรก็ยังมีสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชย แต่ต้องสำรองจ่ายเองไปก่อน แล้วค่อยทำเอกสารขอรับสิทธิไปยังบริษัทประกันที่ดูแล โดยเอกสารที่ต้องใช้ มีตั้งแต่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ แบบคำร้องขอชดเชยค่ารักษาพยาบาล ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลจากสถานพยาบาลที่เราเข้ารับบริการ **การขอรับค่าชดเชยจากการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับธนาคาร ธนาคารมักจะให้สิทธิเฉพาะกับโรงพยาบาลเท่านั้น ส่วนคลินิกกับสถาเวชกรรมจะถูกยกเว้นเรียกร้องขอรับค่าชดเชยไม่ได้ส่วนการเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และชดเชยการขาดรายได้ระหว่างที่เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล มีเงื่อนไขว่าต้องจัดส่งเอกสารสำคัญให้กับบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มคำร้องขอค่าชดเชย ใบรับรองแพทย์ สำเนาใบมรณะบัตร สำเนาบัตรประชาชน สำเนาบัตรเดบิตตามสิทธิ ฯลฯ โดยต้องจัดส่งเอกสารทั้งหมดภายใต 30 วัน นับจากวันที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตหรือจากวันที่แพทย์ลงความเห็นว่าทุพพลภาพยกเลิกได้มั้ย?บัตรเดบิตที่มาพร้อมสิทธิเรื่องประกันอุบัติเหตุจะมีการต่ออายุบัตรเป็นรายปี โดยการหักเงินค่าธรรมเนียมอันโนมัติจากยอดเงินคงเหลือที่อยู่ในบัญชี เช่นเดียวกับบัตรเดบิตทั่วไป เพราะฉะนั้นหากต้องการยกเลิกใช้บัตรให้แจ้งยกเลิก หรือทำให้เงินคงเหลือในบัญชีน้อยกว่าค่าธรรมเนียมรายปีของบัตร เมื่อครบกำหนดธนาคารไม่สามารถหักค่าธรรมเนียมรายปีจากบัตรของเราได้ บัตรก็จะถูกยกเลิกโดยอันโนมัติ หากอยากยกเลิกบัตรก่อนครบกำหนดก็สามารถไปแจ้งยกเลิกได้ทันทีที่ธนาคารสาขาที่เราสมัครไว้ โดยเรามีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมบัตรคืนตามสัดส่วนระยะเวลาการใช้บัตรข้อจำกัดที่จะทำให้เรา “ไม่ได้รับการคุ้มครอง”-อุบัติเหตุที่เกิดขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์จะได้รับการชดเชยที่น้อยกว่าอุบัติเหตุจากอุบัติเหตุทั่วไป เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยง บริษัทประกันจึงประเมินจ่ายค่าชดเชยให้น้อยกว่าอุบัติเหตุทั่วไป (ประกันอุบัติเหตุบางเจ้าถึงขั้นกำหนดเงื่อนไขไม่จ่ายกรณีอุบัติเหตุจากการขับขี่และโดยสารจักรยานยนต์)-การเจ็บป่วยใดๆ ที่ไม่ได้สืบเนื่องหรือมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกันอยู่ในอาการมึนเมาจากการดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ สารเสพติด ยาเสพติดให้โทษตามกฏหมาย-การเจ็บป่วยจากอาการติดเชื้อโรคต่าง หรือติดเชื้อจากบาดแผลที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ-การรักษาทางเวชกรรม หรือศัลยกรรม เว้นแต่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องทำเนื่องจากอุบัติเหตุ-การแท้งลูก-การรักษาฟันที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ-อาหารเป็นพิษ-อุบัติเหตุที่เกิดจากสถาการณ์ความไม่สงบทางการเมือง การก่อจลาจล สงคราม การก่อการร้าย-การฆ่าตัวตาย หรือความพยายามใดๆ ที่จงใจให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ-อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะผู้เอาประกัน ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น แข่งรถ แข่งเรือ ชกมวย โดดร่ม โดยสารอยู่บนบอลลูน เครื่องร่อน เล่นบันจี้ จัมพ์ ปีนเขา ดำน้ำ ฯลฯ-อุบัติเหตุขณะโดยสารเครื่องบินที่ไม่ใช่เครื่องบินทางการพาณิชย์-    อุบัติเหตุจากการทะเลาะวิวาท-ตำรวจ ทหาร หรือแม้แต่อาสาสมัคร ที่ประสบอุบัติเหตุขณะปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม หรืออยู่ในสงคราม***ข้อจำกัดที่จะทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปในบัตรของแต่ละธนาคาร 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 131 กระแสต่างแดน

CHOICE’s Shonky Awards 2011กระแสต่างแดนฉบับนี้ พาคุณไปพบกับงานประกาศรางวัลสินค้า/บริการที่ขัดใจผู้บริโภคชาวออสซี่สุดๆ ในปี 2554 ที่ผ่านมา งานนี้ผู้ได้รับการเสนอชื่อ เขาไม่ได้ปรากฏตัวในเสื้อผ้าหน้าผมที่จัดมาเป๊ะ เพื่อเดินเข้างานบนพรมแดง ... จริงๆ แล้ว เขาไม่ได้มาเลยด้วยซ้ำและไม่ได้ส่งตัวแทนมาด้วย แต่องค์กรผู้บริโภค CHOICE เขาก็ยืนยันที่จะมอบให้อยู่ดี มาดูกันว่ามีใครคว้ารางวัลอันไม่ค่อยจะทรงเกียรตินี้ไปบ้าง รางวัลซ้ำเติมผู้บริโภคยอดเยี่ยมได้แก่ ... ธุรกิจประกันภัยปี 2554 รัฐควีนสแลนด์ นิวเซาท์เวลส์ และวิคตอเรีย ของออสเตรเลีย ก็พบกับปัญหาน้ำท่วมเช่นเดียวกับบ้านเรา ในเดือนเมษายนมีบริษัทประกันกว่า 20 บริษัทออกมาปฏิเสธการจ่ายชดเชยความเสียหายจากน้ำท่วมในทันที  อีก 7 เดือนต่อมาชาวบ้านกว่า 8,660 ครัวเรือน ได้รับจดหมายแจ้งว่าตนเองไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้ คนเหล่านี้เชื่อตามที่นายหน้าบอกไว้ตอนมาขายประกันนั้นแล แต่จริงๆแล้วไม่มีการระบุไว้ในกรมธรรม์แต่อย่างใด ส่วนที่มีสิทธิจะได้ก็รอกันเหนื่อยหน่อย เพราะกระบวนการประเมินความเสียหายนั้นช่างยุ่งยากซับซ้อนและเนิ่นนานเหลือเกิน มีผู้เอาประกันจำนวนไม่น้อยที่ต้องรอนานกว่า 6 เดือน ที่สำคัญกรมธรรม์ของเขาก็สร้างความมึนงงได้ยอดเยี่ยม ขนาดทนายความที่ทำงานด้านเคลมประกันน้ำท่วมโดยเฉพาะก็ยังอ่านไม่เข้าใจ รางวัลหลอกกินเงินเด็กยอดเยี่ยม ได้แก่ ... เกมส์หมู่บ้านเสมิร์ฟ ผู้บริโภคโปรดระวัง “เกมฟรี” ที่ลูกๆ หลานๆ ท่านขออนุญาตดาวน์โหลด ดังตัวอย่างเกมส์หมู่บ้านเสมิร์ฟ ที่ได้รางวัลไปหมาดๆ เพราะมันเป็นเกมที่แม้จะโหลดได้ฟรี แต่ถ้าจะเล่นให้สนุก คุณก็ต้องมีเงินเอาไว้ใช้จ่ายในเกมด้วย ในเกมที่ว่านี้ผู้เล่นจะต้องสร้างบ้าน ร้านค้า อาคารต่างๆ สะพาน รวมไปถึงจัดสวน ทำขนม เรียกว่าทุกอย่างต้องใช้เงิน ซึ่งในเกมจะใช้ “เสมิร์ฟเบอรี่” เป็นเงินสมมุติ  แต่เมื่อเงินสมมุติที่ให้มาตอนแรกหมด ผู้เล่นก็จะต้องใช้เงินจริงไปซื้อเจ้าเงินสมมุตินี้ แม้เกมออนไลน์ตัวนี้จะมีคำเตือนขึ้นโดยตลอดเวลาก่อนจะขาย ว่าจะมีการเรียกเก็บเงินจริง แต่เด็กๆ มักจะไม่อ่านหรืออ่านแล้วไม่เข้าใจ ก็นะ... กำลังเล่นเพลินๆ เงินเสมิร์ฟเบอรี่ ดันมาหมดพอดี อะไรขึ้นมาก็กดโอเคไว้ก่อน เพื่อให้สามารถเล่นต่อได้  ถามว่าไม่ซื้อได้หรือไม่ เด็กๆ และผู้ใหญ่ที่นิยมเกมนี้บอกเป็นเสียงเดียวกันว่ามันก็ไม่สนุก ว่ากันว่ามีคนจ่ายเงินในเกมนี้ (ไม่แน่ใจว่ารู้ตัวหรือไม่) ไปถึง 30,000 บาทเลยทีเดียว รางวัลผลิตภัณฑ์หลอกลวงซ้ำซาก ได้แก่ ... สเปรย์ลดน้ำหนัก SensaSlim ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่อ้างว่าได้ผลแบบมหัศจรรย์จนทั้งจอร์จและซาร่าพากันทึ่ง นั้นมีให้เห็นกันเป็นประจำทางทีวี แต่สเปรย์ SensaSlim เจ้านี้เขาได้รางวัลไปด้วยความหน้ามึนนั่นเอง เพราะถึงแม้จะโดนแพทย์คนหนึ่งร้องเรียนว่าผลิตภัณฑ์นี้กระทำผิดกฎหมายควบคุมโฆษณา และถูกปรับไปแล้วก็ตาม แต่เขาช่างไม่ย่อท้อ ยังเดินหน้าโฆษณาและขายต่อไป แถมฟ้องแพทย์คนดังกล่าวด้วยข้อหาหมิ่นประมาทอีกด้วย แค่นั้นยังไม่พอยังลงข้อความแสดงแสนยานุภาพในเว็บไซต์ว่า นี่แหละเป็นบทเรียน ให้ใครไม่กล้าบังอาจมาแหยมกับเขาอีก แต่โชคไม่เข้าข้าง เรื่องไปเข้าตานักข่าวเลยตามไปขุดคุ้ยต่อ เลยได้รู้ว่าผลการทดสอบที่อ้างว่าทำโดยสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในเจนีวานั้นเป็นเรื่องโม้ทั้งเพ เช่นเดียวกับที่เคยออกข่าวว่ามีชายคนหนึ่งฟ้องบริษัทโทษฐานที่ทำให้เขาน้ำหนักลดมากเกินไป (นายคนนั้นแกน้ำหนักลดไป เกือบหนึ่งกิโลกรัมภายในเวลา 30 นาที จริง แต่ไม่ใช่เพราะผลิตภัณฑ์ที่ว่า) ขนาดแพทย์ของบริษัทเองยังประกาศไม่ขอมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่ว่า (คงไม่ต้องบอกว่าขณะนี้บริษัทกำลังฟ้องเขาอยู่เช่นกัน) รางวัลกางเกงหลุดโลก  ได้แก่ กางเกงกระชับสัดส่วน Peachy Pinkเรายังวนเวียนอยู่ในโลกของการลดน้ำหนักกระชับสัดส่วน  ที่ออสเตรเลียเขาก็มีกางเกงกระชับสัดส่วน Peachy Pink ออกมาจำหน่าย เขาว่ากางเกงเขามีทั้งชาเขียว คาเฟอีน และลูกพีช ... ว่าแต่ลูกพีชมาทำอะไรในผลิตภัณฑ์นี้ เขาอ้างว่าถ้าสวมกางเกงที่ว่านี้เป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน ต่อเนื่องกัน 21 วัน  เซลลูไลท์ที่น่องจะลดน้อยลง พร้อมๆ กับไขมัน เขาว่าเขาเป็นเจ้าเดียวเท่านั้นที่ผ่านการรับรองทางการแพทย์  ว่าแต่ใครกันนะที่ทำหน้าที่รับรองให้ เพราะไม่มีการลงผลวิจัยในวารสารทางการแพทย์เล่มใดๆ เลย นอกจากนักวิจัยจะยังไม่สามารถฟันธงเรื่องประสิทธิภาพของคาเฟอีนและชาเขียวในการลดน้ำหนัก งานวิจัยเรื่องการใช้ลูกพีชลดน้ำหนักนี่ยิ่งไม่มีเข้าไปใหญ่  แต่ลองคิดตามที่เขาโม้ดู ... สมมุติว่าขาของเราสามารถดูดซึมคาเฟอีนได้ดีเยี่ยม เราก็จะได้รับคาเฟอีนจากกางเกงที่ว่านี้วันละ 70 มิลลิกรัม (ซึ่งเท่ากับการดื่มชาเขียว 2 ถ้วย)  ชงชามากินจะไม่ดีกว่าหรือ ไม่เสี่ยงเป็นลมเพราะกางเกงรัดด้วย รางวัลติดหรูไม่ดูตาม้าตาเรือ ได้แก่ จุกนมหลอกประดับคริสตัล สำหรับเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่ร่ำรวยจนไม่รู้จะเอาเงินไปใช้ทำอะไรแล้ว ก็ยังมี “จุกนมหลอก ประดับคริสตัลซวารอฟสกี้ แท้ๆ” มาให้พ่อแม่ได้เลือกซื้อทางอินเตอร์เน็ท จุกนมหลอกนั้นประโยชน์ของมันยังเป็นที่ถกเถียงว่ามีจริงหรือเปล่า นี่ยังจะมีคนเอาไปติดเพชรนิลจินดาประดับประดาให้หรูเริด ทำนอง “เพิ่มมูลค่า” เข้าไปอีก แต่คุณขา ... นี่มันเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทารก จะติดเมล็ด “คริสตัล” เพื่อเพิ่มอันตรายจากการติดคอ หรือกลืนกินเจ้าสิ่งแปลกปลอมที่ว่านั้นไปทำไมกัน ขณะนี้เขาประกาศห้ามขายในร้านทั่วไปแล้ว แต่ยังมีให้สั่งซื้อกันได้ทางอินเตอร์เน็ท ที่ทำเนียนขายต่อไปพร้อมคำเตือนว่า “สินค้านี้ไม่เหมาะในการนำไปให้เด็กใช้จริง” รางวัลมึนทะลุหลังคา ได้แก่  รถยนต์ Chery J1 พูดกันตรงๆ คนออสซี่เขาก็ไม่ได้คาดหวังมากมายนักจากรถราคา 400,000 บาท อย่างเจ้าคอมแพค 5 ประตู เฌอรี่ เจวัน  จากจีนที่เพิ่งจะเข้ามาทำตลาดในออสเตรเลียได้ประมาณ 1 ปี รถน้อยที่ว่านี้ได้คะแนนความปลอดภัยแค่ 3 ดาว และถูกแบนในรัฐวิคตอเรียเนื่องจากขาดอุปกรณ์จำเป็นที่เขากำหนดไว้ไปหนึ่งตัว แต่นั่นยังไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้มันคว้ารางวัลนี้ไป ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อนะพี่น้อง ว่าเขาช่างกล้าติดสติ๊กเกอร์ไว้ที่ด้านในของราวหลังคา ที่มีข้อความว่า “ราวหลังคานี้มีไว้เพื่อการตกแต่งเท่านั้น ห้ามใช้งาน”   แล้วในกรณีที่เจ้าของอยากขายต่อ (สมมุติว่ารถยังขับได้อยู่แม้สติ๊กเกอร์จะลบเลือนไปแล้ว) แล้วคนที่มาซื้อต่อจะรับทราบข้อมูลสำคัญนี้หรือไม่ ตอนท้ายของโฆษณารถเฌอรี่ จบด้วยคำถามว่า “ทำไมคุณถึงจะยังเลือกรถยี่ห้ออื่น?” ก็ได้เหตุผลมากมายเป็นหางว่าว เริ่มจากข้อนี้แหละ รางวัลเขียวจอมปลอม ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟ Go4Green ในยุคที่ใครๆ ก็อยากจ่ายค่าไฟน้อยลง อุปกรณ์ประหยัดไฟมากหน้าหลายตาจึงออกมาตีตลาด Go4Green อ้างว่าสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึงร้อยละ 10  ด้วยการลงทุนครั้งแรกประมาณ 10,000 บาท เขาบอกว่าแค่ 6 เดือนก็คุ้มแล้ว ทางทีมของ CHOICE ก็เลยลองไปซื้อมาใช้ดู (ด้วยวิธีใช้ตามที่บอกในคำแนะนำการใช้ ของผู้ผลิต) หลังจากทดลองใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องปั่นแห้ง เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าเล็กๆ อื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้มอเตอร์อย่างเครื่องดูดฝุ่น สว่าน ด้วย  ผลปรากฏว่านอกจากจะไม่ช่วยลดแล้ว ในการทดสอบบางรอบ ค่าไฟยังเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก รางวัลไข่ครอบจักรวาล ได้แก่ ไข่นกกระทายี่ห้อ Quail Kingdom จะว่ายังไงดีล่ะ เขาอ้างว่าไข่เขาดีจริงๆ รักษาได้ทุกอย่างตั้งแต่ ความดันเลือดสูง วัณโรค เบาหวานชนิดที่1  โรคนิ่ว แถมยังช่วยแก้ปัญหาในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผมร่วง มีริ้วรอย หรือแม้แต่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ นี่ยังไม่นับว่า ถ้าคุณบังเอิญไปได้รับกัมมันตรังสี แบบเดียวกับที่รั่วไหลจากโรงไฟฟ้าที่เชอโนบิล กินไข่นี้แล้วก็จะอยู่รอดปลอดภัยอีกต่างหาก มีคำถามเดียวว่า ถ้ามันดีและมีผลทางการรักษาเลิศขนาดนั้นทำไมมันถึงไม่ได้รับการจดทะเบียนเป็นยาไปเสียเลย และที่สำคัญมันหลุดรอดสายตาของนักวิจัยทางด้านเภสัชศาสตร์และการแพทย์ไปได้อย่างไรหนอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

การค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ    หลังจากที่มีข่าวเรื่องของทันตแพทย์คนหนึ่งไปค้ำประกันให้ผู้รับทุนไปเรียนต่างประเทศแล้วหนีการใช้ทุน เกิดความลำบาก ต้องหาเงินมาใช้ทุนแทน และมีภาระต้องไปฟ้องเรียกเงินเอากับนักเรียนหนีทุนคนดังกล่าวอีกคราวหนึ่ง  วันนี้ จึงนำคำพิพากษาฎีกาน่าสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ มาให้ศึกษากันครับ     เรื่อง แรกเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นนักเรียนทุนที่ได้ทุนไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ต่างประเทศ โดยมีจำเลยที่ 2 มาค้ำประกันให้ แต่ปรากฏว่าครบกำหนดแล้ว ยังเรียนไม่จบ จึงทำเรื่องขออนุมัติเรียนต่ออีกสามครั้ง  ต่อมาหลังจากเรียนจบก็กลับมาใช้ทำงานใช้ทุนได้ปีกว่า ก็เกิดปัญหา ทำผิดวินัย ถูกไล่ออกจากราชการ และทางผู้ให้ทุนจึงมาฟ้องนักเรียนทุนคนดังกล่าวให้รับผิดร่วมกับผู้ค้ำประกัน ซึ่งในคดีนี้ ศาลตัดสินว่า คนค้ำต้องร่วมรับผิดด้วย แม้การอนุมัติให้ศึกษาต่อ จะไม่ได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ และไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกันก็ตาม เพราะเห็นว่าอยู่ในข้อตกลงสัญญาค้ำประกัน             คำพิพากษาฏีกาที่ 1056/2536     “สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษโดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมในการที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกนั้น แม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์จะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพที่ตนรับไปให้โจทก์เป็นเงิน 161,863.96 บาท และต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีสำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกิน ส่วนศาลก็มีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 และเมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก”แต่ถ้าเป็นกรณีเพียงค้ำประกันการไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโท และตัวผู้ขอทุนได้จบปริญญาโทแล้ว ทำเรื่องขอเรียนต่อปริญญาเอก และได้รับอนุมัติ โดยผู้ค้ำไม่ได้ยินยอมด้วย เช่นนี้ ผู้ค้ำประกันรับผิดเพียงสัญญาเดิมเท่านั้น  โดยคดีที่ยกมาอ้างอิงนี้ เป็นเรื่องของ อาจารย์ท่านหนึ่ง ขอไปเรียนต่อปริญญาโทที่ต่างประเทศ สาขาการสอนคณิตศาสตร์ มีกำหนด 2 ปี  โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน พอครบ 2 ปี อาจารย์ท่านก็จบปริญญาโท แต่ไม่ได้กลับมาใช้ทุน และขอเรียนต่อปริญญาเอกอีก รวมเป็นเวลา 5 ปีกว่า แต่ปรากฏว่าเมื่อเรียนจบปริญญาเอกแล้ว ไม่กลับมารับราชการ ดังนี้ ศาลเห็นว่า การที่โจทก์ให้ผู้ให้ทุนไม่ได้แจ้งให้ จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันทราบถึงการอนุมัติให้เรียนต่อปริญญาเอก และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเพิ่ม จำเลยที่ 2 จึงรับผิดเฉพาะตามสัญญาค้ำประกันใช้ทุนเดิม คือ 2 ปี เท่านั้น คำพิพากษาฏีกาที่ 3579/2536 “ จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่”หลายๆ ท่านคงทราบดี ว่ากฎหมายค้ำประกันมีการแก้ไขใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่20) พ.ศ.2557  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558  หากใครไปทำสัญญาค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ก็ต้องไปว่ากันตามกฎหมายใหม่ ซึ่งสิ่งที่พอจะช่วยคนค้ำได้คือ ในการเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้ที่ประสงค์จะไปเรียนต่อต่างประเทศ  หากเขาขอทุนเพื่อไปศึกษาต่อปริญญาโท จะต้องมีการแจ้งตัวเลขที่ชัดเจนกับผู้ค้ำประกันทันทีว่าจะต้องมีส่วนรับผิดชอบเป็นจำนวนเงินเท่าใด หากครบกำหนดแล้วนักเรียนทุนรายนั้นไม่สามารถมาใช้ทุนได้ ต้องมีการระบุตัวเลขชัดเจนตั้งแต่วันทำสัญญาและในกรณีที่ขอทุนไปเรียนโทแล้วจบการศึกษาแล้วประสงค์ต่อปริญญาเอกเลย ก็จะต้องมีการพูดคุยกับผู้ค้ำประกันอีกครั้งถึงมูลค่าการรับผิดชอบที่จะต้องเพิ่มขึ้น หากผู้ค้ำไม่ยินยอมก็จะต้องมีการหาผู้ค้ำรายใหม่สำหรับทุนปริญญาเอกแต่สุดท้ายนี้ขอฝากไว้ว่า หากท่านจะไปทำสัญญาค้ำประกันให้ใครก็ขอให้ดูให้ดี เพราะสุดท้ายหากเขาไม่มีความรับผิดชอบ หรือหนีทุนเหมือนกับหลายคนที่เป็นข่าว ก็จะทำให้ตัวท่านเองเดือดร้อนโดยไม่จำเป็น และหากจำเป็นต้องค้ำ ก็ขอให้พิจารณาถึงวงเงินที่ตนจะสามารถรับผิดชอบได้ เพื่อไม่ให้เป็นภาระกันในภายหลังครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 เปิดเผยประกันชีวิต ใครกันแน่ที่ปกปิด ?

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่าน วันนี้ เราจะมากล่าวถึงเรื่องการทำประกันชีวิตกันนะครับ เชื่อว่าหลายท่านก็คงเคยมีประกันที่ตัวเองทำไว้ให้คนอื่น หรือพ่อแม่ของเราทำให้กับตัวเราใช่ไหมครับ แต่ทราบกันหรือไม่ว่า มีคนอีกมากมายที่ทำสัญญาประกันไปแล้ว พอถึงเวลาจะใช้สิทธิตามสัญญา กลับถูกบริษัทประกันปฏิเสธ และหนึ่งในเหตุที่บริษัทมักนำมาอ้างในการไม่จ่ายเงินก็คือ เรื่องของการปกปิดข้อมูลสุขภาพ  เนื่องจากสัญญาประกันชีวิต เอาความทรงชีพของผู้เอาประกันมาเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงิน ดังนั้น เรื่องของสุขภาพคนทำประกันจึงสำคัญมาก และยังอาศัยความสุจริตในการทำสัญญาอย่างมาก เพราะคนเอาประกันต้องเปิดเผยข้อมูลตนเองก่อนทำสัญญา และบริษัทผู้รับประกันก็มีหน้าที่ต้องพิจารณาว่าสมควรจะรับทำประกันหรือเพิ่มเบี้ยประกันเพียงใด เมื่อต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ดังกล่าว หากไม่ปฏิบัติหน้าที่ กล่าวคือผู้เอาประกันฯ ปกปิดความจริง ส่วนจำเลยไม่ค้นหาความจริง จะถือว่าใครไม่สุจริตมากกว่ากัน เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ผู้เอาประกันไม่สุจริตมากกว่า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2536  ผู้เอาประกันภัยในสัญญาประกันชีวิตซึ่งการใช้เงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของตนเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคแรก มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาให้ผู้รับประกันภัยทราบ และจะถือว่าการที่ผู้รับประกันภัยไม่ตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก่อนเป็นการละเลยหาได้ไม่ แม้การประกันชีวิตในทุนประกันภัยต่ำตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพของผู้เอาประกันภัยก็ยังถือไม่ได้ว่าผู้รับประกันภัย ไม่ถือเอาเรื่องสุขภาพของผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ สัญญาประกันภัยชีวิตที่กระทำโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก เป็นโมฆียะมีผลให้ผู้รับประกันภัยใช้สิทธิบอกล้างได้ หากผู้รับประกันภัยไม่ใช้สิทธิบอกล้างสัญญาดังกล่าวย่อมใช้บังคับได้ จึงเป็นสิทธิของผู้รับประกันภัยจะบอกล้างหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น แม้ผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิบอกล้างแต่เพียงเฉพาะสัญญารายใดก็หาเป็นการไม่ชอบไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8082/2542 แบบฟอร์มคำขอเอาประกันชีวิตข้อ 17 ถึง ข้อ 22 เป็นข้อความที่ถามไว้เป็นข้อย่อยเกี่ยวกับสุขภาพของผู้เอาประกันชีวิต เช่น มีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจบ้างหรือไม่ ในระหว่าง 5 ปี ที่ผ่านมาเคยเจ็บป่วย เคยได้รับการผ่าตัด เคยรับการรักษาในสถานพยาบาล ถ้าเคยโปรดแจ้งรายละเอียด แบบฟอร์มที่มีข้อความเช่นนี้ตัวแทนจำเลย ผู้มาติดต่อขอเอาประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องสอบถามตามข้อความที่ระบุไว้ แต่เป็นที่เชื่อได้ว่าผู้เอาประกันชีวิตจะต้องอ่านก่อน และปรากฏว่าโจทก์มีอาชีพค้าขายและมีฐานะเป็นเจ้าของกิจการย่อมต้องรอบคอบ เมื่อโจทก์อ่านข้อความเหล่านี้แล้ว แต่กลับเพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ 23 ซึ่งระบุว่า ถ้าคำตอบในเรื่องสุขภาพเป็นคำตอบรับ เช่นเคยได้รับการผ่าตัด หรือเข้ารักษาตัวในสถานพยาบาล จะต้องอธิบายรายละเอียดไว้ด้วย ข้อความเหล่านี้มีอยู่ก่อนโจทก์ลงชื่อในคำขอเอาประกันชีวิต หาใช่ตัวแทนจำเลยกรอกข้อความดังกล่าวภายหลังไม่ เมื่อโจทก์ไม่แจ้ง ก็ถือได้ว่าโจทก์มีเจตนาปกปิดไม่แจ้งความจริงตามหน้าที่ที่ต้องชี้แจงแสดงข้อบกพร่องของผู้เอาประกันชีวิตซึ่งผู้รับประกันภัยอาจบอกปัด ไม่ยอมทำสัญญาประกันชีวิตให้ผู้รับประกันภัยทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง หน้าที่นี้มีน้ำหนักในการแสดงความสุจริตมากกว่าหน้าที่ของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 866 ที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการรับรู้ข้อความจริง โดยผู้รับประกันภัยพึงใช้ความระมัดระวังอย่างคนธรรมดาเช่นวิญญูชนทั่วไปก็พอแล้ว สัญญาประกันชีวิตดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆียะ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีประกันชีวิตที่มีเงื่อนไขว่า ผู้เอาประกันฯ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ ด้วยความเคารพต่อคำพิพากษาศาลฏีกา ผู้เขียนเห็นว่า การที่บริษัทประกันในฐานะผู้มีวิชาชีพในการประกันชีวิต ย่อมทราบดีว่าการตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญและกระทำได้โดยง่าย แม้ตัวผู้เอาประกันจะไม่ได้แจ้งข้อมูลเรื่องสุขภาพหรือไม่มีการตรวจสุขภาพ แต่เมื่อบริษัทผู้เอาประกันไม่มีการตรวจสอบ ยิ่งเห็นถึงการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ไม่ใช้ความระมัดระวังอย่างเช่นวิญญูชน ตามมาตรา 866  สัญญาประกันชีวิตจึงมีผลสมบูรณ์ ใช้บังคับได้  ซึ่งพฤติกรรมของบริษัทฯ จะรับทำสัญญาโดยไม่คำนึงว่าผู้เอาประกันฯ จะแจ้งข้อเท็จจริงตรงกับความเป็นจริงหรือไม่ แต่เมื่อต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจึงตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อพบว่ามีโรคภัยซ่อนอยู่ก็จะใช้เป็นเหตุเพื่อจะไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทน หากผู้เอาประกันภัยไม่ตายก็เก็บเบี้ยประกันฯ ต่อไป และเชื่อว่าสัญญาประกันฯ ที่ทำไว้ส่วนใหญ่ก็คงอยู่ในสภาพโมฆียะ กล่าวคือยังมีผลใช้บังคับได้ จนกว่าผู้เอาประกันจะใช้สิทธิบอกล้าง ซึ่งส่วนใหญ่สัญญาที่ทำกันสามารถบอกล้างได้เกือบทั้งนั้น    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้ดูผิวเผิน เหมือนคนทำประกันจะได้เปรียบเพราะไม่ตรวจสุขภาพก็รับทำประกัน แต่ในความจริง บริษัทผู้เอาประกันมักจะใช้เรื่องปกปิดสุขภาพเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนภายหลัง ดังนั้นผู้บริโภคที่จะทำสัญญาประกันแบบไม่ตรวจสุขภาพก็ต้องระวังไว้ด้วยนะครับ ไม่ควรหลงเชื่อเพียงคำโฆษณาชวนเชื่อที่บริษัททำขึ้นเท่านั้น ก่อนทำสัญญาก็ควรอ่านเงื่อนไขหรือข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วน      นอกจากนี้ กรณีที่ผู้ทำประกันปกปิดข้อมูลที่เคยถูกบริษัทอื่นปฏิเสธการรับประกันชีวิต กรณีนี้ บริษัทผู้รับทำประกันจะใช้เป็นเหตุอ้างปฏิเสธการจ่ายเงินประกันและบอกเลิกสัญญาว่าปกปิดข้อเท็จจริงไม่ได้ ถือว่าสัญญาประกันมีผลสมบูรณ์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2516   บริษัทจำเลยไม่ถือว่าการที่ผู้ตายเคยถูกปฏิเสธการรับประกันชีวิตมาก่อนเป็นข้อสำคัญ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าขณะผู้ตายขอประกันชีวิตครั้งที่เกิดเหตุเรื่องนี้สุขภาพของผู้ตายสมบูรณ์ดีหรือไม่ ฉะนั้น เมื่อนายแพทย์ของบริษัทจำเลยตรวจสุขภาพผู้ตายและเสนอเรื่องให้บริษัทจำเลย จนบริษัทจำเลยพิจารณาอนุมัติให้ผู้ตายประกันชีวิต จึงแสดงว่าผู้ตายมีสุขภาพสมบูรณ์ บริษัทจำเลยจะมาปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่าผู้ตายแจ้งเท็จว่า ไม่เคยได้รับปฏิเสธในการขอเอาประกันชีวิตกับบริษัทจำเลยมาก่อนไม่ได้    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 การบอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะ

คดีนี้นายใจประกันชีวิตไว้กับจำเลย โดยมีโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมา นายใจถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ โจทก์ขอรับเงินจากจำเลย จำเลยปฏิเสธการจ่าย โดยอ้างว่านายใจไม่เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพ จึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิต  ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ระบุว่า “ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ผู้รับประกันภัยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ก็ดี หรือมิได้ใช้สิทธินั้นภายในกำหนดห้าปีนับแต่วันทำสัญญานั้นก็ดี ท่านว่าสิทธินั้นเป็นอันระงับสิ้นไป“ ซึ่งหน้าที่นำสืบในเรื่องนี้เป็นภาระการพิสูจน์ของผู้รับประกันภัย ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2557  ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกา หรือไม่ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 วรรคสอง เห็นว่าโจทก์ฟ้องว่านายใจเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในขณะที่กรมธรรมประกันชีวิตมีผลคุ้มครอง  จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์  จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตที่ตกเป็นโมฆียะแล้ว  จำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่า จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด และได้บอกล้างสัญญาดังกล่าวภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง ทางนำสืบของจำเลยคงมีแต่นายวันชัย ผู้รับมอบอำนาจช่วงของจำเลย และนายวิศิษฐ์ พนักงานของจำเลย ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริการผู้ถือกรมธรรม์มีหน้าที่ตรวจสอบและให้บริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นพยานเบิกความว่า นายใจเสียชีวิตภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มต่ออายุสัญญา อยู่ในช่วงเวลาที่จำเลยสามารถใช้สิทธิโต้แย้งได้ จำเลยจึงตรวจสอบสุขภาพของนายใจ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายใจมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังก่อนที่จะขอต่อสัญญาประกันชีวิต ตามบัตรตรวจโรคของโรงพยาบาลบางมูลนากและเวชระเบียนผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพิจิตร นายใจได้เคยตอบคำถามและแถลงข้อเท็จจริงในหนังสือรับรองสุขภาพเพื่อต่ออายุกรมธรรม์ว่า ในช่วงระยะเวลาที่ขาดการชำระเบี้ย มีสุขภาพแข็งแรงและร่างกายสมบูรณ์ดีทุกประการไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคใดๆ ไม่เคยได้รับการตรวจหรือแนะนำจากแพทย์ที่เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพหรือการเจ็บป่วยแต่ประการใด หากนายใจเปิดเผยข้อเท็จจริงให้จำเลยทราบว่าเคยเข้ารักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง จำเลยจะไม่รับต่ออายุกรมธรรม์ จำเลยจึงใช้สิทธิบอกล้างสัญญา ซึ่งเป็นโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่โจทก์แล้ว ตามหนังสือบอกล้างโมฆียกรรมและคืนเบี้ยประกันภัย อันเป็นการบอกล้างสัญญาภายในระยะเวลา 2 ปีนับแต่ขอต่ออายุสัญญาประกันชีวิตจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์   โดยพยานจำเลยทั้งสองปากมิได้เบิกความว่า โจทก์แจ้งให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเมื่อใด และจำเลยทราบว่านายใจเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ซึ่งถือว่าเป็นมูลอันจำบอกล้างได้ตั้งแต่เมื่อใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยได้มีหนังสือบอกล้างสัญญาประกันชีวิต ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันต่ออายุสัญญาเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้นำสืบว่า จำเลยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคสอง จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตรายนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืนหมายเหตุ ศาลฎีกาเคยวินิจฉัยให้จำเลยผู้รับประกันภัย ที่ปฏิเสธการจ่ายเงินตามสัญญาประกันชีวิตมีภาระการพิสูจน์ ( ฎีกาที่ 6711/2553)  แต่คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ได้วางหลักเพิ่มเติมต่อไปว่า นอกจากผู้รับประกันภัยต้องมีภาระการพิสูจน์แล้ว ยังมีหน้าที่พิสูจน์ต่อไปตามข้อยกเว้นความรับผิดในมาตรา 865  วรรคสอง ให้ครบถ้วนสิ้นกระแสความด้วย กล่าวคือ ต้องนำสืบหรือพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า ผู้รับประกันภัยได้บอกล้างสัญญาประกันชีวิตภายใน 1 เดือน นับแต่วันทราบมูลเหตุอันจะบอกล้าง เมื่อใด ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนแล้วหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 ผลของการทำสัญญาค้ำประกันโดยประมาทเลินเล่อ

อุทาหรณ์จากการทำสัญญาค้ำประกันโดยประมาท จากเรื่องที่ นาย ก. ในที่นี้คือ จำเลยที่ 2  ลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน ซึ่งยังไม่มีการกรอกข้อความพร้อมมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการให้ไว้แก่โจทก์ นาย ก.  ถูก นาง ศ. หลอกว่า เป็นการค้ำประกันให้ นาง ศ.  และต่อมา นาง ศ. กับพวกนำไปใช้เป็นหลักฐานในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 (คนที่นาย ก. ไม่รู้จัก) ต่อโจทก์ ในการเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์  ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์ติดตามรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้แล้วนำออกขายได้ราคาไม่คุ้มกับความเสียหายของโจทก์  จึงได้ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 (ซึ่งเข้าสำนวนไทยว่า เนื้อไม่กิน แต่ได้กระดูกแขวนคอ) ให้การต่อสู้คดีว่า เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ขอให้ศาลยกฟ้อง(ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 ) มาดูกันว่าศาลฎีกาจะตัดสินว่าอย่างไร คำพิพากษาศาลฎีกาที่  357/2548 ศาลฎีกาแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจวินิจฉัยว่า “ พิเคราะห์แล้วข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า ... ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์  โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อุทธรณ์ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น   คดีมีปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 2  ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกัน หรือไม่ โดยจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีเจตนาค้ำประกันนาง ศ.    มิใช่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะไม่สามารถบังคับจำเลยที่ 2 ได้ และการลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ไม่ได้กรอกข้อความเนื่องจากถูกนาง ศ. หลอกลวง จึงไม่ใช่การกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 นั้น เห็นว่า การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือค้ำประกัน ซึ่งยังไม่มีการกรอกข้อความพร้อมกับมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการให้ไว้แก่โจทก์นั้น  เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการยอมเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง แม้นาง ศ. กับพวกจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยกรอกข้อความในหนังสือค้ำประกันให้ผิดไปจากเจตนาของจำเลยที่ 2 ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158**   จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว  ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้น  ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังไม่ขึ้น “ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ ก่อนทำสัญญาใดๆ ท่านผู้อ่านอย่าได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเปล่าใดๆ ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความดังกรณีนี้เป็นอันขาด และการทำนิติกรรมใดๆ ควรไปทำด้วยตนเอง  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ทะเบียนบ้านจะมอบให้ใครนำไปใช้เรื่องอะไรให้เขียนให้ชัดเจนว่ามอบให้ไปทำอะไร ช่องว่างที่เหลือแบบฟอร์มของสัญญาให้ใช้ไม้บรรทัดขีดออก เพื่อป้องการการเติมข้อความอื่น **ปพพ. มาตรา 158 ความสำคัญผิด ตาม มาตรา 156 หรือ มาตรา 157 ซึ่ง เกิดขึ้น โดย ความประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ของบุคคล ผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้น จะถือเอา ความสำคัญผิดนั้น มาใช้เป็นประโยชน์ แก่ตน ไม่ได้   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 118 ค้ำประกันเท่าไร เทวดาน่าจะรู้

ค้ำประกันเท่าไร  เทวดาน่าจะรู้ สุภาษิตคำพังเพยโบราณกล่าวไว้ว่า “ อยากเป็นลูกหนี้ให้เป็นนายหน้า  อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน “ นั้น  น่าจะมีมูลเป็นความจริง มิฉะนั้นคงจะไม่มีคำพังเพยเช่นนี้  สัญญาค้ำประกัน นั้นคืออะไร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา ๖๘๐ วรรคแรก บัญญัติว่า “ อันว่าค้ำประกันนั้น  คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น จากบทนิยามดังกล่าว ลักษณะสำคัญของสัญญาค้ำประกันมี ๓ ประการคือ  ๑.     ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก กฎหมายใช้คำว่า “ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกัน “ ดังนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลภายนอกหรือบุคคลที่สาม คือไม่ใช่เจ้าหนี้และลูกหนี้ อาจจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้  ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องเป็นการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น  ผู้ค้ำประกันหนี้รายหนึ่งอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ สัญญาค้ำประกันเป็นการประกันการชำระหนี้ด้วยตัวบุคคล ซึ่งมีผลให้เจ้าหนี้มีบุคคลสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้โดยบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินทั่วๆไปของผู้ค้ำประกัน   ๒.    ต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ จะมีการค้ำประกันได้จะต้องมีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้นั้นจะเกิดจากสัญญาหรือละเมิดก็ได้ หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เรียกว่าหนี้ประธาน เมื่อมีหนี้ประธานแล้วจึงมีสัญญาระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้  หนี้ระหว่างผู้ค้ำประกันกับเจ้าหนี้เป็นหนี้อุปกรณ์  ถ้าไม่มีหนี้ประธานคือไม่มีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้  แม้มีการทำสัญญาค้ำประกันไว้ ผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิด  ๓.    ต้องเป็นเรื่องผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น การที่จะเป็นการค้ำประกันจะต้องเป็นเรื่องบุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คือต้องทำสัญญาต่อเจ้าหนี้  ถ้าไปทำสัญญากับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้สัญญานั้นไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน   นอกจากนี้สัญญาค้ำประกันไม่มีแบบแต่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๘๐ วรรคสอง บัญญัติว่า “ อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ “   และถ้าผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสำเร็จรูปแล้วไม่ได้ไม่ได้กรอกจำนวนเงินในช่องจำนวนเงินที่จะค้ำประกันลงไป จะเกิดผลอย่างไร  ดูได้จากกรณีตัวอย่างดังนี้   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๙/๒๕๔๕ วินิจฉัยว่า สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ ๒ ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ ๑  แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อการกรอกรายละเอียดต่างๆ  โดยไม่ได้ระบุจำนวนเงิน ดังนั้นข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด จึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด  จำเลยที่ ๒ จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์  สรุป ศาลก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจำเลยที่ ๒ จะค้ำประกันจำเลยที่ ๑ จำนวนเท่าไรกันแน่จึงยกฟ้องจำเลยที่ ๒ และคิดต่อไปว่าหากมีผู้ค้ำประกันคนไหนไปบอกเจ้าหนี้ว่าถ้าขีดเส้นในช่องจำนวนเงินที่ค้ำประกันนั้นหมายความว่า ค้ำประกันไม่จำกัดจำนวนเงิน คงสนุกดีพิลึก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 ถึงตายเวลาเมา ประกันก็ต้องจ่าย

  มีคดีน่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง ประกันมาฝากครับ สัญญาประกันชีวิตนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 889 นั้นระบุว่า ในสัญญา ประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลหนึ่ง มีคดีตัวอย่าง ผู้เอาประกันภัยเมาแล้วขับรถยนต์ไปประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย แพทย์ตรวจพบว่าผู้เอาประกันภัยมีแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึงขนาดเรียกได้ว่าเมาสุรา บริษัทฯ ผู้เอาประกันภัยจึงปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับผลประโยชน์จึงมาฟ้องคดีต่อศาล มาดูกันสิว่าบริษัทฯ จะต้อง จ่ายเงินหรือไม่ เพราะเหตุใด   คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2538 นางสาวเจริญวัลย์ แซ่เตีย โจทก์บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำเลย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้ตกลงรับประกันชีวิตนาย พงษ์เดช แซ่เตีย โดยมีโจทก์เป็นผู้รับประ โยชน์ครั้น วันที่ 5 มีนาคม 2532 อันเป็นช่วง ระยะเวลา ที่อยู่ ใน ระหว่าง อายุ สัญญาประกันภัย นายพงษ์เดช ได้ขับรถยนต์คัน หมายเลข ทะเบียน 1ร-4173 กรุงเทพมหานครเกิด อุบัติเหตุเฉี่ยว ชน กับ รถยนต์ คัน อื่น ได้รับ บาดเจ็บ และถึงแก่ความตายในวันเดียวกัน ขอให้บังคับจำเลย ใช้เงินจำนวน 436,986.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี จากต้นเงินจำนวน 400,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง   จำเลยให้การ ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะหรือเนื่องจากนาย พงษ์เดช แซ่เตีย ขับรถยนต์ในขณะที่ เมาสุรา จึงอยู่ในบังคับของข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดขอให้ยกฟ้อง   ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้จำเลยชำระเงิน จำนวน 400,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี นับแต่ วันที่ 5 มีนาคม 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ดอกเบี้ยคิดถึง วันฟ้อง(1 มิถุนายน2533) มิให้คิดเกินกว่า 36,986.30 บาท   จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์ ฎีกา ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "ข้อเท็จจริง ฟังได้ในเบื้องต้น ว่านายพงษ์เดช แซ่เตีย ขับรถยนต์ จากสะพาน พระรามหก มุ่งหน้าไปทางสี่แยกท่าพระ ตามถนนจรัญสนิทวงศ์ เมื่อขับมาถึงปากทางเข้าการไฟฟ้าคลองมอญ มีนายปรีชา บำรุงพืช ขับรถยนต์ มาจากทางสี่แยกท่าพระ ถึงปากทางเข้าการไฟฟ้าคลองมอญ ได้ ขับรถเลี้ยวกลับตัดหน้ารถ ที่นายพงษ์เดช ขับมาเป็นเหตุให้รถทั้งสองคันเฉี่ยวชนกัน รถของนายพงษ์เดช เสียหลักแล่นไปชนท้ายรถยนต์โดยสาร ที่จอดอยู่ริมทาง เป็นเหตุให้นายพงษ์เดช ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุ ดังกล่าว แพทย์โรงพยาบาลศิริราชตรวจศพนายพงษ์เดช ผู้ตาย แล้วปรากฏว่า พบ แอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ตาย สูงถึง 203 มิลลิกรัม เปอร์เซ็นต์ หรือ 0.203 กรัม เปอร์เซ็นต์ ซึ่งวงการแพทย์ ถือหลักว่า หากปริมาณแอลกอฮอล์ ในเลือดมีถึง 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือ 0.15 กรัม เปอร์เซ็นต์ หรือ มากกว่าถือว่าบุคคลนั้น เมาสุราแล้ว ทั้งนี้เนื่องจาก แอลกอฮอล์ ในเลือดที่มีจำนวนเท่านั้น จะมีผลทำให้ บุคคลที่มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์และเป็นปกติมีปฏิกิริยาในการตอบสนองช้าลง ระบบประสาท ซึ่ง ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ จะทำให้บังคับกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสม ประสานกัน สติสัมปชัญญะผิดไปจากคนปกติ และมีความยากลำบาก ในการควบคุมเครื่องจักรกล และการบังคับ ยานพาหนะ ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริง ว่าขณะที่เกิดอุบัติเหตุ ผู้ตายเมาสุรา เข้าข้อยกเว้น การรับผิด ตามข้อ 11 (ฎ) จำเลย ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 400,000 บาท ให้ แก่ โจทก์   มีปัญหาต้องวินิจฉัย ตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลย ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย จำนวน 400,000 บาท ให้ แก่ โจทก์ตาม สัญญา ข้อ 11 (ฎ) หรือไม่ เห็นว่า สัญญา ข้อ 11(ฎ) ระบุ ไว้ว่า "สัญญา เพิ่มเติม นี้ ไม่คุ้มครองการสูญเสียหรือทุพพลภาพ อันเกิดขึ้นโดยทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ในขณะหรือเนื่องจากผู้เอาประกัน เมาสุราหรือแพ้ยา " นั้น มี ความหมายว่า สัญญาเพิ่มเติมนี้ ไม่คุ้มครองการมรณะของผู้เอาประกัน อันเกิดขึ้นโดยตรงจาก อุบัติเหตุ ที่ เกิดขึ้นจากผู้เอาประกันเมาสุรา ดังนั้นการที่จำเลย พิสูจน์ได้เพียงว่านายพงษ์เดช ผู้เอาประกัน ซึ่งถึงแก่กรรมโดยอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในขณะผู้เอาประกันเมาสุราตามหลักวิชาการแพทย์ โดยพิสูจน์ไม่ได้ ว่าอุบัติเหตุเกิดขึ้นเนื่องจากผู้เอาประกันเมาสุรา จำเลยจึงไม่ได้ รับยกเว้น ตามข้อสัญญาดังกล่าว ต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ มานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นศาลฎีกา ฎีกาของโจทก์ ฟังขึ้น "พิพากษากลับ ให้บังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น”   สรุป ถึงตายเวลาเมา ประกันก็ต้องจ่าย เพราะไม่ได้ตายด้วยเหตุเมา  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 เซ็นยอมความไป ก็ใช่ว่าต้องยอมให้ถูกเอาเปรียบไปด้วย

มาตรา 887 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติว่า “ อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้น คือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบบุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้นั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้ หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ ในคดีระหว่างบุคคลผู้ต้องเสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย" คดีตัวอย่าง รถยนต์แท็กซี่ของโจทก์(ผู้ต้องเสียหาย) ถูกรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ขับไปในทางการที่จ้างชนท้ายได้รับความเสียหาย รถยนต์ของจำเลยที่ 2 เอาประกันภัยไว้กับบริษัท ท. ต่อมาโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าเสียหาย 18,000 บาท โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไว้กับบริษัท ท. ว่าจะไม่ติดใจเอาความทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อบริษัทและผู้เกี่ยวข้องอื่น ต่อมาโจทก์(ผู้ต้องเสียหาย) เอารถยนต์เข้าซ่อม อู่ใช้เวลาซ่อม 32 วัน โจทก์ขาดรายได้จากการเอารถยนต์ออกขับรับจ้าง จึงมาฟ้องศาลเรียกค่าขาดรายได้ดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก จำเลยทั้งสอง(ผู้เอาประกันภัย) ก็ยกเรื่องโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมกับบริษัท ท.ไปแล้วขึ้นต่อสู้  ปัญหาจึงมีว่าสัญญาประนีประนอมดังกล่าวทำให้หนี้ในมูลละเมิดระงับไปแค่ไหน คดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิด จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้อย่างน่ารับฟังไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3074/2551 ว่า  “ เมื่อจำเลยทำประกันภัยรถยนต์ไว้กับบริษัท ท. ความรับผิดของบริษัท ท. ต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียหายและเป็นบุคคลภายนอก เป็นความรับผิดตามสัญญาที่บริษัท ท. ทำไว้กับจำเลย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน ซึ่งโจทก์ชอบที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท ท.ได้โดยตรง แต่จะเรียกร้องเกินไปกว่าจำนวนที่บริษัท ท. จะพึงต้องใช้ตามสัญญาไม่ได้ การที่โจทก์กับบริษัท ท.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ย่อมมีผลทำให้หนี้ของบริษัท ท. ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปและเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่หนี้ซึ่งระงับไปเพราะเหตุดังกล่าวนี้คงมีผลทำให้หนี้ในมูลละเมิดที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ระงับไปด้วยเพียงเท่าที่บริษัท ท. ชำระให้แก่โจทก์เท่านั้น เพราะถือว่าเป็นการชำระในนามของจำเลยผู้เอาประกันภัย ดังนั้นหากมีความเสียหายในส่วนอื่นอันเกิดจากการทำละเมิด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดได้ หาใช่ว่าสิทธิของโจทก์จะถูกจำกัดให้มีเพียงเท่าที่ปรากฏในสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์ได้ทำไว้กับบริษัท ท. เท่านั้นไม่ “ พิพากษายืน และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 400 บาท แทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 บัญญัติว่า “ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไป และทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตน “

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 ข้อควรรู้ก่อนทำประกันภัยทางโทรศัพท์

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการผู้บริโภคหลายๆ ท่านคงได้รับประสบการณ์ ถูกเชิญชวนให้ทำประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นการโฆษณาเชิญชวนที่ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคอย่างมาก และหากผู้บริโภคท่านใดรู้สึกเดือดร้อนรำคาญก็สามารถร้องเรียนไปยัง กสทช. เบอร์ 1200 ได้ทันที แต่กรณีที่ผู้บริโภค เกรงใจ หลงเสน่ห์เสียงนางของพนักงานที่โทรมาเชิญชวนให้ทำประกันภัยประเภทต่างๆ จนกระทั่งตกปากรับคำ ยอมทำสัญญาประกันนั้นแล้ว มารู้ตัวอีกทีว่า ไม่ได้ต้องการและไม่มีความจำเป็นใดๆ กับบริการนี้แล้ว เราสามารถจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ผมมีคำตอบให้ครับ จาการเติบโตของธุรกิจประกันภัย ที่มีมากขึ้นโดยเปิดโอกาสให้มีการขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ หรือการขายประกันผ่านทางโทรศัพท์ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่ใช้บริการบัตรเครดิต มักจะได้รับการติดต่อจากตัวแทนขายประกันทางโทรศัพท์อยู่เรื่อยๆ  มีการเสนอขายประกันด้วยวิธีต่างๆ จนผู้บริโภคบางรายตอบรับการทำประกันโดยมิได้ตั้งใจ เมื่อรู้ตัวและเรียกร้องให้บริษัทประกันยกเลิกสัญญา จะได้รับคำตอบเพียงว่า ทำแล้ว “ไม่สามารถยกเลิกได้” ทำให้หลายคนตกเป็นทาสของสัญญาประกันชีวิต โดยไม่รู้จะหาทางออกอย่างไร มีข้อแนะนำวิธีการป้องกันการตกเป็นเหยื่อ ดังนี้   1.ปฏิเสธตรงๆ ก่อนฟังการเสนอบริการขาย เมื่อผู้บริโภคได้รับโทรศัพท์จากตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิต ชักจูงให้ทำประกัน หากผู้บริโภคไม่ต้องการฟังข้อเสนอ ก็สามารถปฏิเสธการนำเสนอขายประกัน และยุติการสนทนาทันที แต่ถ้าผู้บริโภคต้องการรู้ว่าตัวแทนหรือนายหน้าได้ข้อมูลของผู้บริโภคมาจากไหน ตัวแทนหรือนายหน้าต้องแจ้งให้ทราบ จากนั้นสามารถยุติการสนทนาได้ทันทีเช่นกัน   2.ยกเลิกเมื่อพบว่าไม่ได้ต้องการทำประกันจริงๆ เมื่อผู้บริโภคได้ทำสัญญาโดยไม่สมัครใจ เผลอไปตอบตกลง ทำประกันแบบไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ก็ถูกหักค่าเบี้ยประกันไปแล้ว หรือมีกรรมธรรม์ส่งมาถึงบ้านแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ บอกเลิกสัญญาและขอเงินทั้งหมดคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์จากบริษัท  โดยแจ้งทางโทรศัพท์ทันทีเมื่อทราบ และทำหนังสือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเบี้ยประกันภัย คืนเต็มจํานวน  โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น   และบริษัทประกันภัยต้องดําเนินการคืนเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บริษัทได้รับแจ้งการขอใช้สิทธิยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย แจ้งบริษัทบัตรเครดิตให้ยุติการชำระค่าเบี้ยประกัน หรือหากบริษัทประกันเรียกเก็บไปแล้วให้บริษัทบัตรเครดิตเรียกเงินดังกล่าวคืนเข้าระบบ โดยแจ้งทั้งทางโทรศัพท์และหนังสือยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงบริษัทบัตรเครดิต หากดำเนินการตามข้อ 1. แล้ว บริษัทประกันภัยไม่ดำเนินการใดๆ ให้ผู้บริโภคร้องเรียนไปยังคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งเป็นนายทะเบียน บทกำหนดโทษ คือการเพิกถอนใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต 2535 มาตรา 81   จะเห็นได้ว่าการบอกเลิกสัญญานั้นยุ่งยากมากกว่า และเสียเวลา กว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคควรปฏิบัติหากไม่ประสงค์จะทำประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์คือ “การปฏิเสธ” การรับฟังข้อเสนอหรือการทำประกันตั้งแต่เริ่มต้น เพราะการเลือกทำประกัน ซึ่งเป็นการทำสัญญามีข้อผูกพันเป็นระยะเวลานานๆ นั้น ผู้บริโภคควรที่จะอ่านรายละเอียดในกรมธรรม์ ให้เข้าใจก่อนที่จะตัดสินใจ เพราะข้อเสียของการทำประกันผ่านทางโทรศัพท์คือ ผู้บริโภคไม่สามารถเห็นรายละเอียดที่ปรากฎอยู่ในเอกสารกรมธรรม์ สิ่งที่คุยกันผ่านทางโทรศัพท์ อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย   // Computer Support Hotline We have noticed your Internet browser loaded www.chaladsue.com 29.80 seconds longer than the average. Have you been experiencing slow internet and broken websites? You may have unwanted adware. Call our toll-free number to get friendly support and make your computer fast again. Get Trusted Technical Support Experts For:   Malacious Program Removal Virus Removal Adware Removal   Call 1-855-970-210about this ad

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 ‘ประกันสูงวัย’ ประกันเพื่อใคร ?

ดังที่รู้กันอยู่แล้ว สังคมไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มันหมายถึงกำลังแรงงานที่จะลดน้อยลงซึ่งส่งผลต่อผลิตภาพของประเทศ ภาระในทางสังคมและงบประมาณด้านสวัสดิการที่ต้องเพิ่มขึ้น กรณีตัวอย่างความวิตกที่เห็นชัดก็เช่นกองทุนประกันสังคมที่เริ่มจ่ายเงินบำนาญให้แก่ผู้ประกันตนวัยเกษียณที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและจะทำให้เงินกองทุนฯ หมดลงอย่างรวดเร็ว ทว่า ในทุกวิกฤตมักมาพร้อมกับโอกาสใหม่ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจค้นหาได้อย่างเชี่ยวชาญ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุถูกเรียกใหม่ว่าเป็น Silver Ages อันหมายถึงกำลังซื้อจำนวนมหาศาลที่จะตามมา ประกันชีวิตเป็นหนึ่งในบรรดาธุรกิจที่จับกลุ่มผู้สูงอายุอย่างเห็นได้ชัด เพราะมองเห็นว่าค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลมีแต่จะสูงขึ้นตามวัยที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงของโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับสังขารที่โรยรา มันจึงตอบโจทย์ได้ตรงเป้า ตรงใจผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการเป็นภาระลูกหลานและช่วยผ่อนเบาค่ารักษาพยาบาล     แต่แล้วปัญหาการเอาเปรียบผู้บริโภคก็เกิดขึ้น เมื่อบริษัทประกันชีวิตบางแห่งใช้แต้มคูทางตัวอักษร กฎระเบียบ และความไม่รู้ของผู้บริโภคเป็นเครื่องมือเอาเปรียบ ถึงกระนั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวหาใช่เพียงการเอาเปรียบผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว สิ่งที่ซุกซ่อนภายใต้พื้นผิวคือความไม่เข้าใจในสิทธิสวัสดิการสาธารณะสุขของประชาชน   ธุรกิจประกันสูงวัยบูม ยอดเบี้ยเกือบ 3 พันล้าน    ว่ากันตามหลักการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) การทำประกันชีวิตและประกันภัยจัดเป็นการปกป้องความมั่งคั่ง (Wealth Protection) ที่ควรมี มันเป็นการประกันความเสี่ยงและการมีหลักประกันต่อเหตุไม่คาดคิดซึ่งจะกระทบต่อรายได้และทรัพย์สินของบุคคล เมื่อมองในมุมนี้ การทำประกันจัดเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต ยิ่งเมื่อความรู้ด้านการเงินแพร่หลายมากขึ้น การทำประกันจึงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว     ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาสุขภาพและต้องการทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ให้ลูกหลานหลังตนเองจากไป ถ้อยคำโฆษณาว่า ‘ไม่ต้องเป็นภาระลูกหลาน’ เป็นถ้อยคำที่จี้ตรงจุดพอดี ผสมโรงกับคำว่า ‘ไม่ต้องตรวจสุขภาพ’ เข้าไปด้วยยิ่งเป็นเหตุให้ประกันสูงวัยได้รับความนิยม     ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2558 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบกิจการประกันภัยหรือ คปภ. ระบุว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่ขายตรงผ่านโทรทัศน์มีจำนวน 207,519 กรมธรรม์ คิดเป็นเบี้ยประกันสะสม 2,305.82 ล้านบาท ส่วนกรมธรรม์ที่ขายผ่านตัวแทนมีจำนวน 74,754 กรมธรรม์ มีเบี้ยประกันสะสม 838.37 ล้านบาท     และดังที่รับทราบผ่านสื่อต่างๆ ว่าเกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคจำนวนมากจนทาง คปภ. ต้องลงมาจัดการ กลยุทธ์การเอาเปรียบผู้บริโภค    กลยุทธ์การโฆษณาประกันสูงวัย ที่มีการนำเสนอด้วยการใช้ดาราที่มีวัยที่อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 50-70 ปี พูดถึงเรื่องราวที่ประทับใจหรือสะเทือนใจถูกถ่ายทอดออกมาเพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำประกันชีวิต ท้ายที่สุดคือการเลือกทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันที่ออกโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ด้วยการโทรศัพท์เข้าไปแสดงความจำนงในการทำประกัน        ต้องยอมรับว่า การเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่รู้ของผู้บริโภคเอง เนื่องจากการทำประกันชีวิตมักมีรายละเอียดมากและเป็นภาษากฎหมาย ซึ่งตีความไม่ง่าย ค่อนข้างเข้าใจยาก  ผู้บริโภคส่วนใหญ่เมื่ออ่านไม่เข้าใจ จึงมักไม่อ่านเนื้อหาในกรมธรรม์  อีกทั้งยังแยกไม่ออกระหว่างการทำประกันชีวิตที่เมื่อจ่ายครบตามสัญญาจะได้รับเงินคืนกับการทำประกันสุขภาพที่ไม่ได้เงินคืน นี้เป็นปัญหาที่พบเห็นบ่อย     อีกด้านหนึ่ง บริษัทประกันก็อาศัยช่องว่างของการไม่รู้ การบอกความจริงเพียงบางส่วน  การบอกวงเงินขั้นต่ำเช่น เพียงวันละ ... บาท  และเสนอผลประโยชน์ที่เป็นตัวเลข เพื่อเชิญชวนให้ผู้บริโภคทำประกันผ่านช่องทางสื่อโฆษณา ยกตัวอย่าง การทำประกันชีวิต ที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพซึ่งเป็นกรณีที่พบบ่อย กล่าวคือเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายหลังจากทำประกันไม่นาน ทางบริษัทดำเนินการตรวจสอบประวัติสุขภาพของผู้เอาประกันและพบว่าผู้เอาประกันมีความเจ็บป่วยจากโรคที่ไม่รับประกันอยู่ก่อนทำประกัน   และกล่าวหาว่าผู้เอาประกันปกปิดความจริง จึงปฏิเสธการจ่ายเงิน     ช่องโหว่อยู่ตรงที่การไม่ต้องตรวจสุขภาพเป็นคนละเรื่องกับการแถลงสุขภาพ หมายความว่าถึงแม้การทำประกันนั้น ขณะทำประกันจะไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่หากผู้เอาประกันมีภาวะเสี่ยงหรือมีการรักษาโรคใดอยู่ก่อนก็ต้องให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนแก่ทางบริษัทประกันทราบ ซึ่งเมื่อทางบริษัททราบแล้วย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่รับทำประกันหรือหากบริษัทยอมรับทำประกันแต่ใช้วิธีคิดเบี้ยประกันที่สูงกว่าเดิมก็ได้  เพราะหากไม่แถลงข้อมูลสุขภาพที่เป็นจริง  เมื่อบริษัททราบว่าผู้เอาประกันปกปิด จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้บริษัทบอกเลิกสัญญาได้     การแข่งขันกันของธุรกิจประกันชีวิตที่หันมาทำตลาดผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ มีหลายรายรูปแบบความคุ้มครอง ตามรูปแบบที่เปลี่ยนไป จากเดิมที่มีตัวแทนไปนำเสนอรูปแบบกรมธรรม์ประเภทต่างๆ มาเป็นวิธีการเรียกลูกค้าให้เดินเข้ามาทำประกันโดยไม่ต้องผ่านตัวแทน เรียกกันว่าเป็น Direct Marketing   แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือ การโฆษณาขายประกัน ที่บอกแต่เพียงเบอร์โทรศัพท์ และคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพและตอบคำถามสุขภาพ ทำได้ง่าย ๆ เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ ... บาท”   โดยไม่บอกกล่าวว่าเรื่องการต้องแถลงสุขภาพของผู้ซื้อประกันด้วยหรือไม่  จึงทำให้ผู้บริโภคที่ไม่มีความรู้ตรงนี้กลายเป็นเหยื่อ     อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดกรณีที่ว่า ผู้เอาประกันไม่รู้ว่าตนเป็นโรคอะไรอยู่ก่อนการทำประกัน เนื่องจากไม่เคยตรวจสุขภาพเลย ซึ่งก็เกิดคำถามว่า กรณีเช่นนี้ผู้เอาประกันจะมีความผิดหรือไม่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรียกร้องให้บอกข้อมูลให้ครบถ้วน    นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า  หากในโฆษณาระบุว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องแถลงสุขภาพ ถ้อยคำเหล่านี้ก็ควรปรากฏในใบคำขอหรือกรมธรรม์ด้วย   เนื่องจากคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย( คปภ.) ได้มีประกาศเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยผ่านทางสื่อโฆษณา ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต พ.ศ. 2556 ข้อ 5 (5) ว่า “ในการโฆษณาที่ระบุว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ”  จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่า การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัยหรือพิจารณาจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย” ซึ่ง จากการตรวจสอบพบว่ายังไม่มีการระบุไว้   “  ขอให้บริษัทประกันแก้ไขโฆษณาให้มีความชัดเจนมากขึ้น เช่น ข้อความที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ    เงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ควรแจ้งในโฆษณาด้วย โดยเฉพาะข้อกำหนดที่ว่า หากเสียชีวิตภายใน 2 ปีแรก ผู้เอาประกันจะได้รับเงินเบี้ยประกันพร้อมดอกเบี้ยอีก 2-5% หลังจาก สองปีไปแล้ว จึงจะได้รับเงินตามทุนประกัน   หรือถ้าต้องแถลงสุขภาพก็ต้องบอกไว้ในโฆษณา แต่ปัจจุบันไม่มีการบอกกล่าว แค่ให้โทรศัพท์ไป ส่วนรายละเอียดต่างๆ เป็นหน้าที่ของตัวแทนบริษัท  ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าตัวแทนชี้แจง สาระสำคัญของการทำประกันครบถ้วนหรือไม่” วิธีการหนึ่งที่พบเห็นบ่อยเช่นกัน คือการโฆษณาขายประกันที่บอกจำนวนเบี้ยประกันต่อวันที่น้อยที่สุดที่ผู้บริโภคต้องเสีย และบอกจำนวนทุนประกันที่มากที่สุดที่ผู้บริโภคจะได้รับ เช่น  โฆษณาประกันโดย   “ใช้ข้อความ เบี้ยประกันเริ่มต้นเพียงวันละ 7 บาท คุ้มครองชีวิตสูงสุดถึง 200,000 บาท”  มีข้อความตัวเล็กๆ อ่านว่า ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันของบริษัท ชวนให้ตั้งคำถามว่าโฆษณาลักษณะนี้เป็นการโฆษณาเกินจริงหรือหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดหรือไม่  อาจจะเข้าข่ายโฆษณาจูงใจอันเป็นเท็จหรือเกินความจริงเกี่ยวกับบริษัทหรือธุรกิจประกันชีวิตของบริษัท ตามมาตรา 33 (14) พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 ซึ่งความผิดจากกรณีนี้มีโทษปรับ 5 แสนบาท หากกระทำผิดต่อเนื่องปรับอีกวันละ สองหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากการที่ผู้บริโภคไม่รู้สาระสำคัญของสัญญาคือการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคซื้อประกันหลายฉบับ  เช่น แนะนำให้ผู้เอาประกันซื้อทั้งประกันชีวิตและประกันสุขภาพหลายฉบับ  โดยมิได้ชี้แจงข้อมูลว่าการทำประกันชีวิตจะได้เงินคืนเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญาและได้รับเงินประกันทุกกรมธรรม์ที่ทำ  แต่การทำประกันสุขภาพเป็นการทำเพื่อให้ผู้เอาประกันใช้สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล  ดังนั้นหลักฐานการเบิกค่ารักษาพยาบาลต้องใช้ฉบับจริงไม่สามารถเบิกซ้ำซ้อนได้  หากมีการทำหลายสัญญาอาจไม่เป็นประโยชน์กับผู้ร้อง    เป็นต้น     ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- แบบประกันสำหรับผู้สูงวัยเป็นแบบประกันชีวิตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ มีลักษณะสำคัญ ดังนี้    1.ผู้เอาประกันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจมีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้เอาประกันไว้ไม่เกิน 70-75 ปี    2.ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเป็นหลัก    3.บางแบบประกันชีวิตสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น3.1 สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุหรือเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ3.2 สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพหรือโรคร้ายแรง หรืออาจเป็นในลักษณะการจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต    4.สามารถซื้อได้ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัทแล้วแต่กรณี ได้แก่ ต้องตรวจสุขภาพ หรือไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ต้องตอบคำถามสุขภาพ หรือทั้งไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ    5.แบบประกันชีวิตที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้ในอัตรา 2-5 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในสัญญา    (ข้อมูลจากนิตยสารการเงินการธนาคาร ฉบับที่ 402 ประจำเดือนตุลาคม 2558)ห้ามตายภายใน 2 ปี    นางจิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ระบุ ที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บริษัทประกัน ชีวิตเคยโฆษณาไว้ผ่านสื่อ   โดยเฉพาะประเด็น บริษัทประกันภัยกำหนดเงื่อนไขในสัญญาว่า กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก ให้คืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 2-5 ให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญา แต่ถ้าเสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับเงินคืนทั้งหมด ตามทุนประกัน เงื่อนไขดังกล่าวถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค อันที่จริงแล้ว หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังจาก 30 วัน นับแต่ทำสัญญาประกันชีวิต ซึ่งบริษัทน่าจะได้ตรวจสอบตัวผู้เอาประกันภัยแล้ว  ผู้เอาประกันก็ควรมีสิทธิได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกันที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต       ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุ ข้ออ้างเรื่องไม่ตรวจสุขภาพทำให้เกิดการทำประกันชีวิตสูงวัยมากขึ้น เห็นได้จากสถิติการทำประกันประเภทนี้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก นั่นทำให้ความเสี่ยงของบริษัทประกันลดลง ดังนั้นเมื่อจำนวนผู้ทำประกันเพิ่มขึ้นย่อมลดความเสี่ยงต่อบริษัทประกันภัยและบริษัทประกันมีโอกาสในการบอกเลิกสัญญาประกันภายใน 30 วัน ก็ควรให้การคุ้มครองผู้บริโภคหลัง 30 วัน ทันทีหากเสียชีวิต เพราะแม้แต่การทำฌาปณกิจสงเคราะห์ก็ให้ความคุ้มครองหลัง 6 เดือน     คำแนะนำก่อนทำประกัน-คปภ. ต้องทำงานเชิงรุก    ด้านสมาคมประกันชีวิตไทยมีข้อแนะนำในการเลือกซื้อประกันสูงวัย (อันที่จริงน่าจะใช้ได้กับประกันแบบอื่นด้วย) ให้พิจารณาเบื้องต้น ดังนี้    1.ความคุ้มครองและผลประโยชน์ตรงความต้องการหรือไม่    2.ศึกษาข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์นั้นให้เข้าใจ    3.ระยะเวลาในการคุ้มครองและระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกันภัย    4.ค่าเบี้ยประกันภัยเหมาะสมกับกำลังซื้อหรือไม่    5.แบบประกันมีข้อจำกัดหรือข้อยกเว้นอะไรบ้าง    6.สอบถามเจ้าหน้าที่ให้ละเอียดและขอเบอร์ติดต่อไว้    7.เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์แล้วให้ศึกษาและทำความเข้าใจ หากพบว่าไม่ตรงกับความต้องการสามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับเล่มกรมธรรม์ในกรณีซื้อทางโทรศัพท์ หรือ 15 วัน กรณีซื้อผ่านตัวแทน     ขณะที่คำแนะนำของสมาคมประกันชีวิตไทยมุ่งไปที่ผู้บริโภค ในส่วนของนฤมลก็มีข้อเสนอที่มุ่งไปยังบริษัทประกันและผู้กำกับดูแลอย่าง คปภ. ว่า ควรมีการสรุปสาระสำคัญที่เข้าใจง่ายไว้ด้านหน้าของสมุดกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ฉบับนี้คุ้มครองอะไรและยกเว้นอะไร ซึ่งขณะนี้มีบางบริษัทเท่านั้นที่มีการสรุปในลักษณะนี้ ต้องระบุการไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องแถลงสุขภาพไว้ในสมุดกรมธรรม์ กำกับดูแลการโฆษณาตามสื่อต่างๆ ไม่ให้สร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค และ คปภ. จะต้องทำงานเชิงรุกและให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภคมากกว่าที่เป็นอยู่ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------“การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพมีผลต่อราคาของระบบสุขภาพทั้งระบบ”    การทำประกันต้องแยกแยะระหว่างประกันชีวิตกับประกันสุขภาพที่มีลักษณะแตกต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการจ่ายคืนเบี้ยประกัน เมื่อพิจารณาการประกันสุขภาพ พบว่ามีเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเพราะสังคมเริ่มเห็นความสำคัญของการมีหลักประกันและเห็นตัวอย่างของค่ารักษาพยาบาลราคาแพงของโรงพยาบาลเอกชน     ประเด็นนี้ชวนให้เกิดคำถามว่า แล้วระบบสวัสดิการสุขภาพที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมการรักษาหรือ? หรือว่าคุณภาพไม่ดี? นิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ มีข้อมูลและมุมมองน่าสนใจต่อเรื่องนี้     นิมิตร์ กล่าวว่า ความเฟื่องฟูของธุรกิจประกันสุขภาพ ส่วนหนึ่งมาจากความไม่มั่นใจในระบบสวัสดิการสุขภาพของรัฐตามสิทธิที่แต่ละคนมี อีกทั้งการบริการของโรงพยาบาลรัฐที่ด้อยกว่าโรงพยาบาลเอกชน ดังนั้น ผู้ที่มีกำลังซื้อจึงเลือกซื้อประกันสุขภาพเพื่อใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนแทน     ในมิติด้านคุณภาพการรักษา นิมิตร์ อธิบายว่าความจริงแล้ว หลักประกันสุขภาพหรือ 30 บาทรักษาทุกโรคมีระบบการรักษาที่มีคุณภาพดีเพียงพอที่จะดูแลปัญหาสุขภาพของคนได้ โดยร้อยละ 90 ของโรงพยาบาลที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งมีขีดความสามารถในการดูแลรักษาไล่เรียงกันไป ตั้งแต่ระดับตำบลถึงจังหวัด เป็นหน่วยบริการที่มีบุคลากรทางการแพทย์ครบทุกสาขาวิชาชีพ มีโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพียงพอ และถ้าเกิดขีดความสามารถก็มีการส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นไปได้     แต่เนื่องจากเป็นบริการที่ดูแลคนจำนวนมากจึงเกิดความไม่สะดวกสบาย ความแออัด ซึ่งเมื่อนำประเด็นนี้ไปเทียบกับโรงพยาบาลเอกชนจึงทำให้ดูด้อยกว่า เพราะการบริการเป็นสิ่งที่มองเห็นแรกสุด นำไปสู่ทัศนคติว่าโรงพยาบาลเอกชนน่าจะมีคุณภาพการรักษาดีกว่า ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงโรงพยาบาลเอกชนไม่ได้มีคุณภาพการรักษาดีกว่าโรงพยาบาลของรัฐ แพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลเอกชนก็เป็นแพทย์ในโรงพยาบาลรัฐ แต่ไปทำนอกเวลา หรือลาออกไปจากโรงพยาบาลรัฐ     “เพราะโรงพยาบาลรัฐให้บริการคนจำนวนมาก ความแออัดมากกว่า คนที่มีกำลังพอจะเลือกก็จะเลือกความสะดวก ไม่ต้องจ่ายเวลา แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีกำลังซื้อก็ต้องจ่ายเวลาของตนออกไป นี่คือเหตุที่ทำให้ธุรกิจประกันสุขภาพขายได้”     ประเด็นหนึ่งที่ประชาชนยังไม่ค่อยทราบคือสิทธิการรักษาที่ครอบคลุม ทั้งหลักประกันสุขภาพและประกันสังคม โดยทั่วไปแล้วครอบคลุมการรักษาพยาบาลตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม ยกเว้นประกันสังคมที่อาจต้องจ่ายเพิ่มบางส่วน เนื่องจากมีเพดานค่ารักษา     ในกรณีฉุกเฉินจากการเจ็บป่วย ถ้าไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ประกันสังคม ผู้ป่วยไม่ต้องจ่ายค่ารักษา แต่ถ้าเป็นโรงพยาบาลที่ไม่ได้ประกันตนไว้ต้องสำรองค่าใช้จ่าย แล้วนำไปเบิกภายหลัง ถ้าต้องนอนในโรงพยาบาลก็ต้องแจ้งกลับมาที่หน่วยบริการของตนเองภายใน 72 ชั่วโมง ระบบจึงจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ ขณะที่หลักประกันสุขภาพค่อนข้างสะดวกกว่า ถ้าเข้าโรงพยาบาลของรัฐระบบจะเชื่อมข้อมูลเองโดยอัตโนมัติ ผู้ป่วยไม่ต้องสำรองจ่าย เว้นเสียแต่จะไปเข้าโรงพยาบาลที่อยู่นอกระบบหลักประกัน ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาลเอกชน กรณีนี้หากค่ารักษาพยาบาลเกินเพดานที่กำหนด ผู้ป่วยต้องจ่ายส่วนที่เกิน     นิมิตร์ ยอมรับว่ายังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่สร้างความไม่สะดวกและบริการที่ไม่เป็นมิตรนักสำหรับประชาชนผู้ใช้บริการอยู่ โดยเฉพาะกับสิทธิประกันสังคม แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่ามีคุณภาพเพียงพอสำหรับดูแลคนทั้งประเทศ     ดังนั้น ในมุมมองของนิมิตร์ การซื้อประกันสุขภาพหรือประกันอุบัติเหตุจึงไม่มีความจำเป็น ในทางตรงกันข้าม การซื้อประกันสุขภาพอาจมีผลทำให้ราคาค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนเห็นอุปสงค์ ก่อให้เกิดการดึงแพทย์ออกจากระบบรัฐด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า ขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องพยายามรักษาบุคลากรของตนด้วยการเพิ่มค่าตอบแทน สุดท้ายแล้วจะดึงให้ค่ารักษาพยาบาลทั้งระบบสูงขึ้น     “การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพมีผลต่อราคาของระบบสุขภาพทั้งระบบ สิ่งที่เราซื้อไปสร้างดีมานด์และราคาที่ลวงตา ทั้งที่จริงค่ารักษาพยาบาลไม่ควรแพงขนาดนี้”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 121 ถึงเวลาคนไทยใช้ระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกัน

  “จะดีไหม!?...ถ้า 0.88% ของเงินเดือนที่เราและนายจ้างต้องจ่ายให้ระบบประกันสังคมในกรณีเจ็บป่วย ถูกนำไปเพิ่มเป็นเงินบำนาญหลังเกษียณ ส่วนเรื่องการรักษาพยาบาลเวลาเจ็บป่วยก็เปลี่ยนให้ไปใช้บัตรทองซึ่งให้สิทธิรักษาฟรีกับคนไทยทั่วประเทศอยู่แล้ว...”   ผู้ประกันตนระบบประกันสังคมฟังทางนี้!!! เรารู้จักสิทธิของตัวเองดีพอหรือยัง? คงยังมีหลายคนที่สงสัยว่า “ผู้ประกันตน” ที่ว่านี้หมายถึงใคร ?  ผู้ประกันตน ก็คือ พวกเราเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่ต้องจ่ายเงินให้กับประกันสังคม โดยการหักจากเงินเดือน (แบบอัตโนมัติ) ทุกเดือนเดือนละ 5% สำหรับเป็นเงินไว้สำหรับสมทบเพื่อสิทธิประโยชน์ เวลาที่เราเจ็บป่วยแล้วใช้บริการที่สถานพยาบาล หรือเป็นเงินช่วยเหลือตอนตกงาน รวมทั้งจะได้มีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนอายุมาก ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีเงินส่วนหนึ่งไว้ค่อยช่วยเหลือเวลาที่เราลำบาก โดยไม่ใช่แค่เราเท่านั้นที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับประกันสังคม แต่นายจ้างและรัฐก็ร่วมจ่ายสมทบเพื่อสิทธิของเราด้วย โดยนายจ้างจ่าย 5% ของเงินเดือนของเรา ส่วนรัฐช่วยน้อยลงมาหน่อยที่ 2.75% ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่เต็มใจ เหล่ามนุษย์เงินเดือนก็ต้องจ่าย 5% ของเงินเดือน เข้าสู่กองทุนประกันสังคม หลายคนอาจจะตั้งข้อสงสัยว่า  “นานทีปีหนถึงจะได้เข้าโรงพยาบาล แล้วแบบนี้ทำไมต้องมาจ่ายเงินให้ประกันสังคมด้วย”  ไขข้อข้องใจ ที่เราต้องจ่ายก็เพราะว่าหลักการของประกันสังคมคือเรื่องของการ “เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข” เงินของเราที่ถูกหักให้ประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้นจะกลายไปเป็นเงินกองกลางสำหรับบริหารจัดการดูแลทุกๆ คนที่อยู่ในระบบประกันสังคมร่วมกับเรา ใครป่วยต้องรักษาพยาบาลก็ได้รับการดูแล วันหนึ่งถ้าเราไปหาหมอก็จะได้รับการดูแลเช่นกัน หรือถ้าวันหนึ่งเราตกงานหรือเกษียณก็จะมีเงินชดเชยให้ ซึ่งก็คือเงินของเราที่ถูกหักไปทุกๆ เดือนนั้นแหละ   5% ของเงินเดือนที่เราจ่ายให้ประกันสังคมถูกใช้ไปทำอะไรบ้าง   %ของเงินเดือนที่จ่าย สิทธิประโยชน์ สิทธิที่ได้รับ เงื่อนไขการใช้สิทธิ 0.88% กรณีเจ็บป่วย *รักษาฟรีที่ รพ.ตามสิทธิที่เลือกไว้ *เงินทดแทนการขาดรายได้ ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนใช้สิทธิครั้งแรก 0.12% กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนหญิง *ได้เงินทดแทน 13,000 บาทต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกันตนชาย *ได้เงินทดแทน 13,000 บาท ต่อครรภ์ ได้ไม่เกิน 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนคลอดบุตร 0.44% กรณีทุพพลภาพ *ใช้บริการ รพ.ของรัฐฟรี *หากเป็น รพ.เอกชน -ผู้ป่วยในเดือนละ 4,000 บาท -ผู้ป่วยนอกเดือนละ 2,000 บาท *เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค้าจ้างรายเดือนไปตลอดชีวิต *อวัยวะเทียมที่จำเป็นฟรี ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนทุพพลภาพ 0.06% กรณีตาย เงินสงเคราะห์ และค่าปลงศพ 40,000 บาท *หากส่งสมทบมาแล้วมากกว่า 3 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้เงินสงเคราะห์ เท่ากับค่าจ้าง 1 เดือนครึ่ง *หากสมทบมากกว่า 10 ปี เงินสงเคาระห์เท่ากับค่าจ้างของผู้ประกันตน 5 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนตาย 3% กรณีชราภาพ *จะได้รับบำนาญ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากส่งสมทบมามากกว่า 180 เดือน *หากส่งสมทบมาไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับบำเหน็จเท่ากับเงินสมทบทั้งหมดบวกกับดอกเบี้ยตามอัตราที่สำนักงานประกันสังคมประกาศในแต่ละปี อายุ 55 ปี บริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง 0% (เพราะรัฐออกให้) กรณีสงเคราะห์บุตร *เดือนละ 400 บาท ไปจนบุตรอายุ 6 ปี และได้ครั้งละ 2 คน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับสิทธิ 0.5% กรณีว่างงาน *หากถูกให้ออกโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้างจะได้ 50% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 6 เดือน *หากลูกจ้างลาออกหรือหมดโครงการจะได้ 30% ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 3 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน   ความจริงเรื่องประกันสุขภาพ ประเทศไทยเรา ไม่ได้มีระบบประกันสุขภาพสำหรับดูแลเรื่องความป่วยไข้ของคนไทยแค่ระบบประกันสังคมเท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ระบบสำคัญที่ค่อยเป็นที่พึ่งเรื่องสุขภาพของคนไทย นั้นคือ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อที่ว่า “ระบบบัตรทอง” ซึ่งเป็นระบบที่รัฐดูแลจัดการ ถือเป็นสวัสดิการให้กับคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม หรือระบบประกันสุขภาพอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีคนไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล ค่ายา ประมาณ 47 ล้านคน งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเรานี่แหละ  คิดเป็นตัวเลขก็ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดยค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายต่อคนที่รัฐออกให้อยู่ที่ประมาณ 2,401.33 บาท อีกระบบ คือ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สำหรับดูแลข้าราชการและครอบครัว ซึ่งมีประมาณ 5 ล้านคนทั่วประเทศ งบประมาณที่ใช้ก็มาจากเงินภาษีของเราอีกนั้นแหละ ซึ่งให้งบประมาณดูแลสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท ค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายรายต่อคนประมาณ 10,000 บาท  ส่วนระบบประกันสังคม ซึ่งดูแลเหล่าลูกจ้างและมนุษย์เงินเดือนซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 ล้านคน โดยงบประมาณที่นำมาใช้ดูแลสุขทุกข์ก็มาจากเงินที่เราถูกหักจากเงินเดือนทุกๆ เดือน บวกกับนายจ้างและรัฐช่วยสมทบให้ ซึ่งเงินที่เราจ่ายไปถูกนำไปเฉลี่ยสำหรับการดูแลคุ้มครองหลายๆ ส่วน (อย่างที่เราแจกแจงให้ดูในตารางก่อนหน้านี้) ซึ่งถ้าดูเฉพาะส่วนของค่ารักษาพยาบาลเราจะมีงบประมาณดูแลอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่น 2 พันล้านบาท คิดเป็นค่ารักษาพยาบาลเหมาจ่ายที่คนละ 2,105.26 บาท  “น่าคิดมั้ย?...ทำไมระบบประกันสังคมถึงเป็นระบบประกันสุขภาพระบบเดียว ที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเอง”   ทั้ง ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ระบบสวัสดิการข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ใช้เงินจากรัฐซึ่งก็มาจากเงินภาษีของเราเองในการดูแลเรื่องสุขภาพของคนที่อยู่ในระบบ แต่ระบบประกันสุขภาพในระบบประกันสังคน ผู้ประกันตนต้องเป็นคนจ่ายสมทบเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลก ว่าทำไมรัฐจึงไม่ดูแลเรื่องสุขภาพของคนไทยให้เหมือนกันเป็นระบบเดียว เพราะเมื่องบประมาณที่ใช้ดูแลก็มาจากเงินภาษีของคนไทยทุกคนอยู่แล้ว ทำไมเรายังต้องจ่ายเพิ่มอีก?!  จริงอยู่ที่ว่าระบบประกันสังคม เป็นระบบการดูแลคุ้มครองความมั่นคงของชีวิตที่ดีและมีประโยชน์ คือมีทั้งเรื่องการช่วยเหลือซึ่งกันและในแบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข และยังเป็นการออมเพื่ออนาคต แต่หากสามารถนำหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขในเรื่องของการดูแลสุขภาพให้เท่าเทียมเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกระบบก็น่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่ามั้ย?   มาเปลี่ยนเป็นระบบสุขภาพที่เท่าเทียมกันเถอะ“ถ้าเปลี่ยนให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ว่ายังจ่ายสมทบเท่าเดิม แล้วนำเงินที่ต้องจ่ายกรณีเจ็บป่วยไปเพิ่มให้กรณีชราภาพ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกันตนมากกว่า”ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ ระบบบัตรทอง ทำหน้าที่ดูแลเรื่องสุขภาพคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศอยู่แล้ว หากจะเพิ่มการดูแลให้กับกลุ่มผู้ใช้แรงงานเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ก็คงไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกหรือยุ่งยากอะไร ถือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ยังเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินในการดูแลรักษาสุขภาพยามเจ็บป่วย ถึงแม้จะเปลี่ยนไปรับความคุ้มครองในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็เชื่อว่าผู้ประกันตนส่วนใหญ่ก็ยังยินดีที่จะจ่ายสมทบในระบบประกันสังคม เพราะยังมีข้อดีในส่วนของการออมเพื่ออนาคต ทั้งการช่วยเหลือตอนว่างงาน และเงินบำเหน็จบำนาญตอนเกษียณ  ซึ่งถ้าหากได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพจากระบบบัตรทองแล้ว เงินที่เคยจ่ายให้ประกันสังคมกรณีเจ็บป่วย 0.88% ของเงินเดือน ก็น่าจะถูกไปเพิ่มในส่วนของเงินชราภาพ ตอนเกษียณอายุเราจะได้มีเงินใช้เพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบันเราได้เงินบำนาญจากการจ่ายเงินสมทบให้ประกันสังคมอยู่ที่ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ถ้าหากได้อีก 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่ม %เฉลี่ยของเงินที่จะได้เป็นบำนาญก็จะสูงขึ้น หรือถ้าเป็นเงินบำเหน็จ ซึ่งปัจจุบันใช้เกณฑ์คิดจากเงินสมทบทั้งหมดที่เราจ่าย + กับอัตราดอกเบี้ยอีกนิดหน่อย ถ้าได้ 0.88% ของเงินเดือนไปเพิ่มก็จะทำให้ได้บำเหน็จเยอะขึ้นจากเดิมทันที (อย่าคิดว่า 0.88% ของเงินเดือนเป็นเงินไม่กี่บาท ถ้าหากเราเงินเดือนเดือนละ 10,000 บาท แต่ละเดือนเราก็จ่ายสมทบไป 88 บาท 1 ปี เราจะจ่ายไป 1,056 บาท และถ้าเป็น 10 ปี ก็เท่ากับเงิน 10,560 บาทเลยนะ)  และยิ่งถ้าเรานำเงินสมทบให้ระบบประกันสังคมจาก กรณีคลอดบุตร 0.12% ของเงินเดือน และ กรณีทุพพลภาพ 0.44% ของเงินเดือน ซึ่งระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ให้ความดูแลคุ้มครองตรงนี้ด้วยเช่นกัน ไปเพิ่มให้เงินสมทบสำหรับกรณีชราภาพอีก ตัวเงินหรือสิทธิที่เราจะได้รับการดูแลหลังเกษียณในฐานะผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมก็น่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นไปอีก  ***แต่ที่เล่ามาทั้งหมดยังเป็นแค่ความฝันและความหวัง ของเหล่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง เพราะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ประกันตนและสังคมโดยรวม งานนี้ก็คงต้องวิงวอนภาครัฐและบรรดาผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ฝันเล็กๆ ของลูกจ้าง ผู้ใช้แรงงาน และมนุษย์เงินเดือนในระบบประกันสังคมเป็นจริงด้วยเถิด*** ************************************************** “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” มาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน อยากเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคนมาร่วมกันสร้างระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียม สิทธิประโยชน์ที่ดีและเหมาะสมสำหรับพวกเราผู้จ่ายเงินสมทบในระบบประกันสังคม เพราะเงินทุกบาทที่เราจ่ายไปมีความหมาย ประกันสังคมต้องสามารถเป็น “หลักประกันให้สังคมได้อย่างแท้จริงและมีประสิทธิ”  ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม สามารถเข้าร่วม หรือติดตามข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ของการประกันสังคม ได้ที่หน้า facebook ของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” **************************************************  ตัวอย่างสิทธิประโยชน์การบริการทางการแพทย์ที่แตกต่างกันของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ***(O) = คุ้มครอง   (X) = ไม่คุ้มครอง   ลักษณะการบริการ ระบบประกันสังคม ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ โรคเดียวกันที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเกิน 180 วัน X   O กรณีมีความจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนหรือข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เจ็บป่วยฉุกเฉิน แล้วไม่สามารถใช้บริการ รพ. ที่ลงทะเบียนไว้ได้ O ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี O ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โรคหรือประสบอันตรายจากการใช้สารเสพติด X O เฉพาะหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ได้รับอันตรายหรือทุพพลภาพจากการที่ตัวเองตั้งใจให้เกิด (กรณีพยายามฆ่าตัวตาย) X O การบริการรักษาตัวเองหรือฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่บ้านหลังออกจาก รพ. X O การส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่าทางอากาศยาน (เฮลิคอปเตอร์) X O ไม่เกิน 60,000 บาทต่อครั้ง การช่วยเหลือเบื้องต้นให้แกผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายทางการแพทย์ X O 1.เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงิยช่วยเหลือไม่เกิน 200,000 บาท 2.สูญเสียอวัยวะหรือพิการ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 120,000 บาท 3.บาดเจ็บหรือเจ็บต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 50,000 บาท การให้ยาไวรัสโรคเอดส์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหลังสัมผัส เช่น ถูกข่มขืน หรือติดเชื้อระหว่างปฏิบัติงาน เช่น แพทย์ พยาบาล X O การบริการแพทย์แผนไทยหรือแพทย์ทางเลือก X O ข้อมูลประกอบบทความ : “สู่ระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว สู่หลักประกันทั้งสังคม”.เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ, “รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2552”, “รายงานประจำปีสำนักงานประกันสังคม 2552”, “คู่มือบัตรทองสำหรับอาสาสมัครสาธารณะสุข”, “สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2537 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542”, บทความ “ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย” สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย, http://www.posttoday.com/ข่าว/อาชญากรรม-สังคม/72522/เทียบผลประโยชน์-บัตรทองดีกว่าประกันสังคมทุกด้าน/page-1/   เปรียบเทียบบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคมและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   ระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรณีประสบอันตราย/อุบัติเหตุ ขอรับค่าบริการได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้ 1.สถานพยาบาลของรัฐ -ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น -ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ยกเว้น ค่าห้อง และค่าอาหารเบิกได้ไม่เกินวันละ 700 บาท 2.สถานพยาบาลของเอกชน *ผู้ป่วยนอก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,000 บาท และสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงเกิน 1,000 บาทได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด **ผู้ป่วยใน สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่กำหนด กรณีที่ใช้บริการที่หน่วยบริการซึ่งขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้รับบริการไม่ต้องเสียค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย และสามารถใช้สิทธิใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง กรณีใช้บริการที่สถานบริการอื่น ผู้รับบริการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เกินจากที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ่ายให้สถานบริการ โดยสถานบริการดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติทราบก่อนการให้บริการทุกครั้ง   การคลอดบุตร ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตรสำหรับตนเองหรือคู่สมรส มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในการคลอดบุตรคนละ 2 ครั้ง รวมถึงประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ได้แก่ ค่าตรวจรับฝากครรภ์ ค่าบำบัดทางการแพทย์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด ค่ากินอยู่และรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล ค่าบริการและค่ารักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ค่ารถพยาบาลหรือค่าพาหนะรับส่งผู้ป่วย ค่าบริการอื่นที่จำเป็น ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยจะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สำหรับการคลอดบุตร (อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป) ของผู้ประกันตนหรือภริยาของผู้ประกันตน หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ประกันโดยเปิดเผยกรณีผู้ประกันไม่มีภริยา *กรณีผู้ประกันหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท และยังจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีก ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน และสามารถหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรครั้งหนึ่ง ไม่เกิน 60 วัน *กรณีผู้ประกันตนชายที่มีภรรยาจดทะเบียนสมรส หรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยาแต่มิได้จดทะเบียนสมรส สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ จะได้รับเงินเหมาจ่ายค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท แต่ไม่มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร *กรณีเป็นผู้ประกันตนทั้งสามีและภรรยา ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิได้คนละ 2 ครั้ง รวมกันได้ไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตร ไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก และแนะนำให้ใช้สิทธิของภรรยาก่อนเนื่องจากจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรด้วยนอกเหนือจากค่าคลอดบุตร จำนวน 13,000 บาท สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม จำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง (กรณีบุตรมีชีวิตอยู่) ครอบคลุมถึงค่าตรวจและรับฝากครรภ์ โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนสิ้นสุดการตั้งครรภ์ และการตรวจเยี่ยมดูแลหลังคลอด และจะได้รับวัคซีนทุกชนิดวัคซีนตามตารางแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน (EPI) ของกรมควบคุมโรค *คุ้มครองถึงหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตนสิทธิประกันสังคมที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 7 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บริการทันตกรรม 1. กรณีถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก และรากฟันเทียม 2.การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีปัญหาด้านการกลืน แต่ช่องเพดานโหว่มีเพดานกว้างพอประมาณ ครอบคลุมอยู่ในเงินเหมาจ่ายรายหัว หมายเหตุ: 1) ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการสถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ปีละไม่เกิน 600 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก (พลาสติก) 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท ตั้งแต่ 6 ซี่ขึ้นไปจะเบิกได้ไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 2) ผู้ประกันยังต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด โดยสามารถไปใช้บริการที่ใดก็ได้ 1.กรณีถอนฟัน การผ่าตัดช่องปาก (oral surgery) อุดฟัน ขูดหินปูน การเกลารากฟัน (root planing) ฟันเทียมฐานพลาสติก และทันตกรรมประดิษฐ์ 2.การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนมสำหรับเด็กเคลือบหลุมร่องฟัน (ในกลุ่มอายุไม่เกิน 15 ปี) นอกจากนั้นยังมีงานทันตกรรมเพิ่มทวีที่ดูแลเด็กชั้นประถมปีที่ 1 ทุกคนอย่างครบวงจร 3.ทันตกรรมรักษาในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ 4.การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในช่องปาก ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปาก การแนะนำด้านทันตสุขภาพ 5.การให้ฟลูออไรด์เสริมในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ 6.การผ่าตัดแก้ไขความพิการผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ รวมถึงการจัดฟัน และแก้ไขปัญหาด้านการพูด (สำหรับเด็ก) โดยค่าผ่าตัดสามารถรับค่าใช้จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตราที่กำหนด ค่าเพดานเทียมในอัตรา 500 บาทต่อชิ้น ค่าอรรถบำบัด/แก้ไขการพูด จ่าย 3,850 บาทต่อรายต่อปี ค่าทันตกรรมบำบัด (ฟื้นฟู) จ่าย 12,000 บาทต่อรายต่อปี หมายเหตุ: ผู้มีสิทธิไม่ต้องร่วมจ่ายในกรณีที่วงเงินเกินกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยบริการที่มีศักยภาพสูงกว่า กรณีมีความจำเป็น ต้องรับหรือส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะตามอัตรา ดังนี้ 1.ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาลหรือเรือพยาบาลจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล 2.กรณีข้ามเขตจังหวัดจ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 6 บาท (ตามระยะทางกรมทางหลวง) ให้จ่ายตามราคาเรียกเก็บแต่ไม่เกินราคากลางที่กำหนดในแต่ละประเภทพาหนะและระยะทาง ดังนี้ 1.ค่าบริการรับส่งต่อทางรถยนต์ เป็นไปตามระยะทาง ถ้าไม่เกิน 50 กิโลเมตร ให้เบิกตามค่าใช้จ่ายจริงในอัตราไม่เกิน 500 บาท แต่ถ้ามากกว่า 50 กิโลเมตรขึ้นไป ให้เบิกจ่ายค่าชดเชยครั้งละ 500 บาท และให้ได้รับค่าชดเชยเพิ่มอีกกิโลเมตรละ 4 บาทต่อระยะทางจากหน่วยบริการต้นทางถึงหน่วยบริการปลายทาง (ตามระยะทางกรมทางหลวง) 2.ค่าบริการรับส่งต่อทางเรือ เป็นไปตามประเภทเรือ และระยะทางอัตราจ่ายไม่เกิน 35,000 บาทต่อครั้ง โรคไต 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และเบิกค่าวางท่อพร้อมอุปกรณ์ได้ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 2) การฟอกเลือด เหมาจ่ายให้แก่สถานพยาบาลในความตกลง และเบิกได้ครั้งละไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์ ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) อัตรา 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาทต่อราย ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต เหมาจ่ายให้สถานพยาบาลไม่เกิน 230,000 บาทต่อราย โดยครอบคลุมผู้ประกันตนและผู้บริจาคไตเป็นเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตรวมทั้งการรักษาภาวะสลัดไตอย่างเฉียบพลันของผู้ประกันเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ทำการปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายหลังการปลูกถ่ายไต สำหรับสถานพยาบาลที่ปลูกถ่ายไตผู้ประกันตนที่มีสิทธิโดยครอบคลุมการตรวจรักษา ยากดภูมิคุ้มกัน ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิภูมิคุ้มกัน เหมาจ่ายในอัตรา ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 2 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 15,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 10,000 บาท หมายเหตุ: การปลูกถ่ายไต จะไม่ได้รับคุ้มครองเมื่อผู้ป่วยเป็นไตวายเรื้อรังก่อนเป็นผู้ประกันตน 1) การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาแบบถาวร เหมาจ่ายค่าบริการให้โรงพยาบาล 220,000 บาทต่อรายต่อปี หรือ 18,320 บาทต่อรายต่อเดือน (ค่าน้ำยา 14,100 บาท ร่วมกับ ค่าดูแลครบวงจร) 2) การฟอกเลือด ผู้ป่วยลงทะเบียนก่อน 1 ต.ค. 51 1,000 บาทต่อครั้ง+ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท 1,200 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) +ผู้ป่วยร่วมจ่าย 500 บาท ผู้ป่วยลงทะเบียนหลัง 1 ต.ค. 51 1,500 บาทต่อครั้ง 1,700 บาทต่อครั้ง (อายุเกิน 60 ปี+มีโรคเรื้อรัง) ค่าเตรียมเส้นเลือด (Shunt) จ่ายตามจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อรายต่อ 2 ปี 3) การปลูกถ่ายไต ค่าใช้จ่ายก่อนการปลูกถ่ายไต ให้สิทธิผู้ป่วยที่สามารถหาไตบริจาคได้ โดยได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายคือ (1) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่สมองตาย 40,000 บาท (2) ค่าเตรียมผู้รับบริจาคก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่มีชีวิต ก่อนเข้ารับการผ่าตัด 40,000 บาท (จ่ายไม่เกิน 2 ครั้ง) ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด 32,800 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับเตรียมผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัด 31,300 บาทและค่าเตรียมผู้รับบริจาคระหว่างรอผู้บริจาคที่สมองตาย ทุก 3 เดือน ครั้งละ 1,800 บาท ค่าใช้จ่ายระหว่างปลูกถ่ายไต จ่ายตามความเสี่ยง ตั้งแต่ Protocol I-IV โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำสุดคือ 143,000 บาท และสูงสุดคือ 292,000 บาท กรณีมีภาวะแทรกซ้อนจ่ายตาม Protocol ทั้งสิ้น 7 Protocol โดยมีค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายตั้งแต่ 23,000 บาทและสูงสุดคือ 493,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังปลูกถ่ายไต สนับสนุนค่าใช้จ่าย ยากดภูมิ ตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจปัสสาวะ ตรวจระดับยากดภูมิคุ้มกัน เหมาจ่าย ดังนี้ ปีที่ 1 เดือนที่ 1-6 เดือนละ 30,000 บาท เดือนที่ 7-12 เดือนละ 25,000 บาท ปีที่ 2 เดือนละ 20,000 บาท ปีที่ 3 เป็นต้นไป เดือนละ 15,000 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point