ฉบับที่ 186 แก้ปัญหารถยนต์ใหม่มือหนึ่งชำรุดบกพร่อง

เมื่อเราซื้อรถยนต์ใหม่มือหนึ่ง ย่อมต้องคาดหวังในประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับราคา อย่างไรก็ตามใช่ว่ารถยนต์ใหม่มือหนึ่งทุกคันจะไม่มีปัญหากวนใจ ซึ่งเราควรแก้ไขปัญหาอย่างไรลองมาดูเหตุการณ์นี้กันคุณสุนีย์ต้องการซื้อรถยนต์ใหม่มือหนึ่งยี่ห้อ วอลโว่ รุ่น S60 T4F จากบริษัทแห่งหนึ่ง ในราคาเกือบ 2 ล้านบาท อย่างไรก็ตามภายหลังเธอสังเกตเห็นว่าในใบสั่งจองรถยนต์คันดังกล่าว ประทับตราข้อความว่า “รถทดลองขับ/รถผู้บริหารใช้แล้ว” เมื่อสอบถามไปยังผู้จัดการฝ่ายขายก็ได้รับคำตอบว่า ที่ต้องประทับตราข้อความเช่นนั้น เนื่องจากเป็นโปรโมชั่นพิเศษ เพื่อให้ผู้ร้องผ่อนได้ศูนย์เปอร์เซ็นต์ ทำให้เธอไม่ติดใจอะไรและตกลงซื้อรถยนต์คันดังกล่าวมาอย่างไรก็ตามเมื่อรับรถมาแล้วประมาณ 4 เดือน เธอพบว่ารถยนต์มีอาการสั่นรุนแรงและสตาร์ทไม่ติด ทำให้ต้องส่งเข้าศูนย์ซ่อม ซึ่งภายหลังศูนย์ได้เปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ เพราะมีปัญหาเกิดจากแบตเตอรี่เสื่อม ทำให้เธอข้องใจว่า ทำไมรถยนต์ใหม่ถึงมีปัญหาเช่นนี้ เมื่อสอบถามข้อมูลจึงพบว่ารถคันดังกล่าวผลิตในปี 2014 ทำให้อาจมีปัญหาแบบนี้ได้ เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณสุนีย์จึงมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ เพื่อขอคำปรึกษา เนื่องจากก่อนหน้าที่เธอจะตกลงซื้อรถยนต์คันดังกล่าว ได้แจ้งกับพนักงานแล้วว่าต้องการรถรุ่นใหม่ล่าสุด หรือรุ่นที่ผลิตในหรือ 2015 ไม่ใช่รุ่นเก่าเช่นนี้แนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องขอข้อมูลการซ่อมที่ผ่านมาทั้งหมดจากศูนย์บริการ เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับรุ่นและประวัติต่างๆ พร้อมส่งจดหมายถึง บริษัท วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขปัญหา ซึ่งภายหลังก็ได้รับการยืนยันว่า รถคันดังกล่าวไม่ใช่รุ่นที่ผู้ร้องต้องการ ดังนั้นตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาจองรถ พบว่าหากบริษัทมีการส่งรถไม่ตรงตามสัญญา เช่น ผิดรุ่นดังกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ผู้ร้องสามารถคืนรถคันดังกล่าวได้ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเจรจากับทางบริษัทก็ได้รับการชี้แจงว่า รถยนต์รุ่นนี้ไม่มีการผลิตในปี 2015 ซึ่งรถคันนี้เป็นรถใหม่ แต่อาจจอดทิ้งไว้นานจนทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น แต่ยินยอมรับผิดชอบด้วยการคืนเงินที่ลูกค้าจ่ายไป พร้อมปิดไฟแนนซ์ให้ โดยขอหักค่าเสื่อมจำนวน 60,000 บาท ด้านผู้ร้องยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวจึงยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 ทำไมประกันภัยจ่ายไม่ครบ

ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามประกันภัยดังกล่าวก็สามารถสร้างความสับสนให้กับผู้ทำประกันในส่วนของการชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุชาติประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้ม จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 2,800 บาท อย่างไรก็ตามเขารู้ว่าได้ทำประกันภัยกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภัยจากรถ (คปภ.) ไว้ จึงนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวไปเบิกกับบริษัทฯ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่าไม่สามารถเบิกได้เต็มจำนวน โดยจะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ทำให้เขาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงไม่ยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวและมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดไว้ว่า สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน ศูนย์ฯ จึงส่งเรื่องร้องเรียนของคุณสุชาติไปไปสอบถามยัง คปภ. โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของผู้ร้องไปด้วย ซึ่งภายหลังทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงกลับมาว่า “คปภ. ได้พิจารณาจ่ายรักษาพยาบาลคืนให้ผู้ร้องเป็นจำนวน 2,280.18 บาท โดยไม่สามารถจ่ายเงินเต็มจำนวนคืนให้ได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุและทำประมาทเอง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัย บริษัทกลางประกันภัย จำกัด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถดำเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามจำนวนจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินสูงสุด โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กำหนดตามมาตรฐานกลางของรายการ ซึ่งจากกรณีของผู้ร้องมีค่าใช้จ่ายที่เกินราคากลางไปจำนวน 520 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ผู้ร้องจำเป็นต้องจ่ายเอง”สรุปว่า คปภ. จ่ายได้ในแต่ละรายการไม่เกินอัตราสูงสุดที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่งกรณีของผู้ร้องนั้นสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 2,280.18 บาท ขาดไปจากที่จ่ายจริง 520 บาท ซึ่งผิดกับที่ผู้ร้องเข้าใจในตอนแรกว่าบริษัทฯ จะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ภายหลังได้รับการชี้แจง ผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนดังกล่าวและยุติการร้องเรียนทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องติดต่อกับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเตรียมหลักฐานต่างๆ ดังนี้1. กรณีบาดเจ็บ1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย2. กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย3. กรณีเสียชีวิต 3.1 สำเนามรณะบัตร 3.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน 3.3 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยอย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ  http://www.rvp.co.th หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) http://www.oic.or.th/ และสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1791

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2558“Eco Sticker” คู่มือคนซื้อรถยนต์ตั้งแต่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป รถยนต์ที่ผลิตขึ้นใหม่ทุกคันทั้งนำเข้าและผลิตเองในประเทศจะต้องติด “Eco Sticker” หรือป้ายแสดงข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อรถยนต์ ข้อมูลที่แสดงอยู่บน Eco Sticker  จะบอกข้อมูลอัตราการใช้น้ำมันว่า มีปริมาณมากน้อยเพียงใด เรื่องของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างมลพิษ และมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานการเบรก ซึ่งอิงกับเกณฑ์ระดับสากล Eco Sticker จะควบคุมดูแลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลัง เชื่อว่าการออกข้อกำหนดให้รถยนต์รุนใหม่ๆ ที่จะวางจำหน่ายในประเทศทุกคันต้องติดป้าย Eco Sticker จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคในการมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ไว้สำหรับเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคัน ส่วนทางฝั่งผู้ผลิตรถยนต์ก็จะพัฒนารถของตัวเองให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ผลิตรถยนต์ที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะต่อไปเชื่อว่านอกจากเรื่องสมรรถนะและความปลอดภัยแล้ว เรื่องของการประหยัดพลังงานและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมจะเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญที่ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์สักคัน “คีนัว” - “เมล็ดเชีย” คุณค่าทางอาหารเท่าธัญพืชไทยเพราะเดี๋ยวนี้คนไทยเรารักสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินที่หลายๆ คนให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เรียกว่ามีอะไรใหม่ๆ มาที่เขาว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพเป็นต้องหามาลองเพราะอยากจะมีสุขภาพดีอย่างที่เขาโฆษณาล่าสุดก็เกิดกระแสการบริโภค “คีนัว” และ “เมล็ดเชีย” ธัญพืชที่ว่ากันว่านำเข้ามากจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบอเมริกาใต้ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง ทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ แม้จะฟังดูคุณค่าทางอาหารสูง แต่ว่าราคาที่ขายก็สูงด้วยเช่นกัน ซึ่ง ผศ.อาณดี นิติธรรมยง อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเตือนคนไทยว่าอย่าตื่นตัวกับ ข้าวคีนัว และ เมล็ดเชีย มากกันจนเกินไป เพราะจริงๆ แล้วธัญพืชของไทยเราก็มีคุณค่าทางอาหารไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็น ลูกเดือย ถั่วแดง งา ข้าวไรซ์เบอรี่ ฯลฯ เพียงแต่หลายคนมองข้ามเพราะอาจจะมองว่าเป็นของที่อยู่ใกล้ตัวหาทานได้ทั่วไป ที่สำคัญคือราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับข้าวคีนัว และ เมล็ดเชีย ใครที่พอมีทุนทรัพย์อยากจะหามารับประทานก็ตามความสะดวก แต่ยังไงการทานอาหารให้ได้ประโยชน์สูงสุดก็คือการรับประทานอาหารให้หลากหลายครบทั้ง 5 หมู่ ลาขาด SMS กวนใจหลังจากที่ปล่อยให้บรรดา SMS ขายของ ชิงโชค ดูดวง เป็นปัญหากวนใจคนใช้โทรศัพท์มือถือมานานแสนนาน ในที่สุด กสทช. ก็ได้ฤกษ์ออกประกาศห้ามผู้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือทุกค่ายส่งข้อความโฆษณาที่สร้างความรำคาญหรือทำให้ต้องเสียค่าบริการเพิ่มกับผู้ใช้มือถือ นอกจากที่เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้บริการโดยข้อห้ามดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในประกาศของ กสทช. เรื่อง “การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. 2558” ซึ่งในประกาศฉบับนี้ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่ห้ามไม่ให้ค่ายผู้ให้บริการมือถือเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น ห้ามโฆษณาเกินจริง ห้ามกำหนดเงื่อนไขในการคิดค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม จำกัดโอกาสการเลือกใช้บริการ ฯลฯ ซึ่งหากค่ายผู้บริการมือถือไม่ทำตามประกาศฉบับนี้จะมีโทษปรับทางปกครองสูงสุดถึง 5 ล้านบาท แล้วถ้ายังไม่ทำการแก้ไขก็จะมีโทษปรับอีกสูงสุดวันละ 1 แสนบาทโทลล์เวย์ต้องลดราคา หลังศาลบอกสัญญาไม่เป็นธรรมศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้มติที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีปี 2549 และ 2550 ที่เห็นชอบให้แก้ไขสัญญาสัมปทานทางหลวง อนุญาตให้ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด เก็บค่าผ่านทางเพิ่มพร้อมทั้งขยายอายุสัมปทานเพิ่มอีก 27 ปี เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบผู้บริโภค สร้างภาระให้กับประชาชน เพราะในสัญญาเอื้อให้ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด สามารถกำหนดราคาล่วง หน้า และขึ้นราคาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต จากมติดังกล่าวของศาลปกครองกลาง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาล ดำเนินการออกคำสั่งบังคับให้ บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด กลับไปใช้อัตราค่าผ่านทางเดิมก่อนแก้ไขสัญญา ที่ปรับเพิ่มขึ้นมา 5 – 15 บาท และให้เรียกเงินคืนเงินจากบริษัทที่สร้างภาระเกินสมควรกับผู้บริโภคจากการเรียกเก็บค่าผ่านทางเพิ่มจากมติที่ไม่ชอบดังกล่าวจำนวน  4 พันล้านบาท พร้อมขอให้รัฐบาลอย่าอุทธรณ์คำสั่งของศาลปกครองกลาง เพราะศาลได้พิจารณาแล้วว่าการทำสัญญาระหว่างภาครัฐกับเอกชนครั้งนี้ เป็นสัญญาที่ทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์และสร้างภาระอย่างมากให้กับประชาชนสั่งถอดโฆษณา “ประกันสุขภาพสูงวัย” ทำผู้บริโภคเข้าใจผิดศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ให้ข้อมูลกับสื่อมวลชน ถึงความไม่ตรงไปตรงมาของการประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งมีการโฆษณาเชิญชวนให้ซื้อประกันผ่านสื่อต่างๆ โดยเฉพาะทางทีวีเป็นจำนวนมาก ในโฆษณาจะให้ข้อมูลแค่ว่าสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ จ่ายเบี้ยประกันเฉลี่ยวันละไม่กี่บาท ได้ผลตอบแทนจากวงเงินประกันสูง แต่กลับพบปัญหาเมื่อไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากการรักษาพยาบาล เนื่องจากบริษัทประกันอ้างว่า ผู้เอาประกันเป็นโรคร้ายแรงมาก่อนจะสมัครซื้อประกัน แถมยังมีการยกเลิกสัญญาประกันตามมาด้วย เพราะบริษัทประกันอ้างว่าผู้ซื้อประกันปกปิดข้อมูล ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างชัดเจน หลังจากที่เรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ไปยังสื่อต่างๆ ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวกับปัญหานี้เป็นอย่างมาก ทำให้สมาคมประกันชีวิตไทย ต้องออกมาประกาศให้บริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทถอดโฆษณาขายประกันสำหรับผู้สูงอายุออกทั้งหมด แล้วให้ไปทำการปรับปรุงและเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงข้อความในโฆษณาให้มีความชัดเจน โดยต้องมีการแจ้งให้ผู้จะซื้อประกันทราบด้วยว่า ถ้าเกิดกรณีผู้ประกันเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 2 ปีแรก บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่ม 2-5 เปอร์เซ็นต์ให้กับผู้เอาประกัน แต่ถ้าผ่านพ้นไปหลัง 2 ปีแล้วจะได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกันที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต และต้องแจ้งเงื่อนไขในการทำประกันที่ว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพนั้นมีเงื่อนไขอื่นแฝงอยู่หรือไม่ เช่นไม่จ่ายชดเชยกับโรคร้ายแรงบางโรคหรือมีเงื่อนไขในการจ่าย เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับผู้บริโภคในภายหลัง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2554 1 เมษายน 2554“สปาปลา” อาจพาให้เป็นโรคผิวหนัง เตือนผู้นิยมใช้สปาปลา ต้องสำรวจตัวเองให้ดีว่ามีอาการป่วยเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตัวเอง ร่วมทั้งป้องกันไม่ให้ตัวเองกลายเป็นพาหะแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นที่มาใช้บริการสปาร่วมกัน  สมาคมโรคผิวหนังแห่งประเทศไทย ให้ข้อมูลว่ามีโรคติดต่อที่อาจเกิดจากน้ำและปลาเป็นสาเหตุซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น โรครูขุมขนอักเสบโดยมีอาการคัน คล้ายเม็ดสิว มีแผลผุพอง มีผื่นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใส และกลายเป็นหนอง หรืออาจเกิดอาการโรคไฟลามทุ่ง ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง และอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ  สำหรับกลุ่มที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สปาปลาคือ 1.ผู้ที่มีแผลตามผิวหนัง 2.ผู้ที่ใช้ยาลดภูมิ กลุ่มสเตียรอยด์ เพราะส่งผลให้มีภูมิต้านทานที่ต่ำติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วย เช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ และ 3.กลุ่มที่ป่วยเป็นเบาหวานและมีแผล ไม่ควรแช่เท้าเป็นเวลานาน เพราะเชื้อแบคทีเรียจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่าปกติ    18 เมษายน 2554“ฟองน้ำล้างจาน” แหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค!!! ถ้วย ชาม จาน ช้อน ที่เคยมั่นใจว่าล้างทำความสะอาดอย่างดี อาจกลายเป็นพาหะนำโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร เช่น โรคอาหารเป็นพิษ หรือโรคอุจจาระร่วง หลังจากมีการเปิดเผยงานวิจัยที่น่าสนใจโดยทีมนักวิจัยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ว่า “ฟองน้ำ” และ “แผ่นใยขัดล้างจาน” ที่ใช้กันอยู่แทบทุกบ้านคือแหล่งสะสมและขยายพันธุ์อย่างดีของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากเชื้อแบคทีเรีย “ซัลโมเนลล่า” ที่มากับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ยิ่งเจอเข้ากับสภาพอากาศของบ้านเราที่เอื้ออย่างมากต่อการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรีย โดยในปี 2552 กระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษมากกว่า 1 แสนรายต่อปี  สำหรับวิธีการลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำ ทำได้ง่ายๆ โดยการนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวัน ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดจัดทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำเปล่า แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้างคืน แต่ต้องเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้นจะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ได้ ที่สำคัญที่สุดคือต้องหมั่นดูแลรักษาห้องครัวให้สะอาดถูกสุขอนามัยอยู่เสมอ     19 เมษายน 2554ระวังโรคภูมิแพ้เพราะครีมทาผิว คนที่อยากผิวสวยอาจต้องเสี่ยงกับการเป็นภูมิแพ้ เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ได้นำข้อมูลจากการประชุมเรื่องโรคภูมิแพ้ที่จัดขึ้นที่รัฐซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเด็นที่แพทย์รักษาโรคภูมิแพ้ให้ความสนใจและห่วงใยเป็นพิเศษ คือ อันตรายจากการใช้ครีมทาผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ หรือสารให้ความชุ่มชื้นต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้มีการเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ และไม่มีความจำเป็น แถมยังอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ใช้ โดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง  คนที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย ควรหาซื้อโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นโดยไม่มีส่วนผสมใดๆ อยู่ และควรอ่านอ่านส่วนประกอบของโลชั่นก่อนการใช้งานเสมอ และไม่ควรให้ส่วนผสมในโลชั่น มีน้ำหอม มีสี หรือสารกันเสียที่ที่ชื่อ พาราเบน ไม่ควรมีสิ่งปรุงแต่งเกินความจำเป็น ถึงแม้ว่าสารนั้นจะเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติก็ตาม     อย่ามองข้ามความปลอดภัย เด็กไทยเสี่ยงตายเพราะรถยนต์สูงขึ้น เด็กไทยยังต้องเสี่ยงตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นเพราะอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่ติดตั้งมากับรถยนต์ไม่มีคุณภาพและไม่เหมาะกับเด็ก ทั้งเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัย ทางแก้ไขพ่อ-แม่ ผู้ปกครองควรใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ซึ่งมีความเหมาะสมกับเด็กเล็ก ในต่างประเทศมีกฎหมายชัดเจนในการบังคับให้ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อยึดเหนี่ยวเด็กไม่ให้เด็กบาดเจ็บ เมื่อเกิดรถชน รถเบรกรุนแรง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมในส่วนนี้ มีเพียง พ.ร.บ.จราจรที่กำหนดให้ที่นั่งข้างคนขับต้องมีเข็มขัดนิรภัย ซึ่งในความเป็นจริงเข็มขัดนิรภัยไม่เหมาะสมกับเด็ก และไม่สามารถใช้ป้องกันอันตรายต่อตัวเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ขวบ หรือสูงไม่เกิน 140 ซม.แถมอาจให้ผลในทางตรงกันข้ามคือกลายเป็นเพิ่มอันตรายกับเด็ก เนื่องจากหากจะให้ปลอดภัยเข็มขัดนิรภัยจะต้องยึดเหนี่ยว 3 จุดสำคัญ คือ หัวไหล่ หน้าตัก และบริเวณเชิงกราน แต่หากเด็กขาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถเข็มขัดจะรัดที่บริเวณท้องน้อยและลำคอแทน หากรถเบรก หรือชน เข็มขัดจะรัดช่องท้องทำให้ตับ ม้ามแตก รัดลำคอและกระดูกสันหลังกระเทือน อาจเป็นอัมพาตได้  ส่วนถุงลมนิรภัยก็ไม่เหมาะสมกับเด็กเช่นกัน เนื่องจาก การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะปลอดภัยเมื่อนั่งห่างจากถุงลมอย่างน้อย 25 ซม.แต่เด็กที่นั่งตักแม่จึงอยู่ห่างจากระยะระเบิดของถุงลมน้อยเกินไป ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกามีรายงานว่าเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี เสียชีวิตจากถุงลมในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงกว่า 200 ราย เกิดจากการบาดเจ็บของสมองเป็นหลัก ดังนั้น เด็กจึงควรมีการเสริมที่นั่งนิรภัยเป็นการเฉพาะ โดยทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก จัดวางที่เบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังรถเพื่อลดโอกาสความเสี่ยงต่อการ เกิดกระดูกต้นคอหักจากการสะบัดของศีรษะเมื่อเกิดการชนหรือเบรกรุนแรง เด็กอายุ 1-3 ปี ให้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็ก หันหน้าไปทางด้านหน้ารถตามปกติ และใช้ที่เบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 4-7 ปี ใช้ที่นั่งเสริม ไม่มีเข็มขัดนิรภัยในตัว ใช้เข็มขัดนิรภัยรถยนต์เป็นอุปกรณ์ยึดเหนี่ยว และอยู่บริเวณเบาะหลังเท่านั้น เด็กอายุ 8-12 ปี ควรใช้ที่นั่งเสริมจนกว่าจะสามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้พอดี     ถึงเวลาผู้ประกันตนแสดงพลัง ทวงสิทธิรักษาพยาบาลมาตรฐานเดียวรวมพลังผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมร่วมกันทำจดหมายถึงสำนักงานประกันสังคมเพื่อขอเงินคืน แก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายเงินสมทบเพื่อรับสิทธิในการรักษาพยาบาล ขณะที่ผู้ใช้บัตรทองหรือสิทธิข้าราชการไม่ต้องจ่ายเงินสบทบ นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ในฐานะกรรมการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน ให้ข้อมูลว่า การจ่ายเงินสมทบเพื่อสุขภาพในระบบประกันสังคมนั้นขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในมาตรา  30 , 51 และ 80 (2) และกฎหมายหลักประกันสุขภาพเนื่องจากสิทธิสุขภาพเป็นสิทธิที่รับรองตามรัฐธรรมนูญและปัจจุบันกำหนดให้ใช้บริการโดยไม่ต้องร่วมจ่าย ดังนั้นผู้ประกันตนต้องได้รับบริการตามสิทธิเช่นเดียวกัน  นายนิมิตร์ เทียนอุดม เลขาธิการชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวเชิญชวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทุกคน แสดงพลังทวงคืนสิทธิ์ ด้วยการให้ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมทำจดหมายทวงเงินสมทบค่ารักษาพยาบาลที่ต้องจ่ายทุกเดือนโดยหักประมาณร้อยละ 5 ของเงินเดือน ซึ่งผู้ประกันตนเป็นกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายขณะที่กลุ่มอาชีพอื่นๆรัฐบาลเป็นผู้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล โดยส่งจดหมายไปถึงสำนักงานประกันสังคมในแต่ละพื้นที่เพื่อทวงเงินที่ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการที่ให้ทวงเงินตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน เพราะเป็นวันที่รัฐบาลประกาศยกเลิกไม่ต้องจ่าย 30 บาทสำหรับบัตรทองในการรักษาโรค โดยชมรม ฯ ได้จัดทำจดหมายสำเร็จรูปให้สมาชิกชมรมและผู้ประกันตน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดจาก Facebook ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน หรือ www.consumerthai.org  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2553 10 พฤษภาคม 2553สปสช.เตรียมยกร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ คนเจ็บต้องได้ใช้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เตรียมปฏิรูปการประกันสุขภาพภาคบังคับ หลังจากพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เกิดปัญหาการเบิกจ่ายกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ ที่มีการเบิกจ่ายจากกองทุนไม่ถึงครึ่ง เพราะมีขั้นตอนการเบิกจ่ายที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องใช้เวลานานในการพิสูจน์ถูกผิดในส่วนของค่าชดเชย ทำให้ผู้ประสบภัยหันมาใช้สิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพที่ตนเองมีอยู่แทน ทำให้กลายไปเป็นภาระด้านงบประมาณกับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทน  สำหรับหลักสำคัญที่จะใช้ในการยกร่าง พ.ร.บ.ใหม่จะใช้แนวคิดจากงานวิจัย คือ บริหารระบบโดยใช้หน่วยงานของรัฐทั้งหมด ใช้หลักการชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดในการชดเชยค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนผู้เสียหายได้รับประโยชน์ในสิทธิของตัวเองได้อย่างเต็มที่ที่สุด -------------------------------------------------------------------------------------- 15 มิถุนายน 2553กินยาโบราณปลอม โรคไม่หาย เสี่ยงป่วยเพิ่มสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยสำนักงานพระราชวัง บุกตรวจจับแหล่งจำหน่ายและกระจายยาแผนโบราณและเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ในร้านค้าและแผงลอยย่านท่าเตียน ได้ทั้งหมด 12 ร้าน รวมผลิตภัณฑ์ กว่า 200 รายการ คิดเป็นมูลค่า 2 ล้านบาท โดยพบของกลางเป็นยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และไม่มีใบอนุญาตขายยาและโฆษณาโอ้อ้วดเกินจริง เช่น ยาหยอดตาสูตรเย็น อ้างรักษาแก้ตาฝ้า ตาฟาง เป็นต้อลม ตาอักเสบ, ยาเหลืองปลาหมอชะลอความชรา สมุนไพรวัดโพธิ์ (เบอร์ 40), ยาหอมบำรุงหัวใจห้าร้อยจำพวก ยาแก้เบาหวาน แก้เจ็บแน่นหน้าอก แก้เสียวในหัวใจ บำรุงสมอง, น้ำมันมะรุมแก้ข้อเสื่อมคลายเส้นวัดโพธิ์ (เบอร์ 41), ยาสาวเสมอพันปี (บำรุงสตรีบำรุงเลือดแก้ตกขาว), ยาแผนโบราณอายุวัฒนะวัดโพธิ์ (เบอร์ 49) บำรุงประสาท บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้ไตพิการบวมเหลือง แก้มะเร็ง ในมดลูก มะเร็งเต้านม, ยาแก้ปวดนิ่วในไต ในถุงน้ำดี (สมุนไพรวัดโพธิ์) (เบอร์ 63), ยาหม่องฟ้าทะลายโจร (หมอสิงห์) นวดแก้อัมพฤกษ์, น้ำมันเขียวแป๊ะยิ้มแก้อัมพาต เหน็บชา, น้ำมันพระโมคคัลลาน แก้ลมอัมพาต ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพบในส่วนของฉลากไม่ถูกต้อง อย. ฝากเตือนประชาชนที่ชอบซื้อยาแผนโบราณตามวัดหรือสถานที่ต่างๆ ที่ไม่ใช่ร้านขายยา ต้องตรวจดูเรื่องส่วนประกอบและบริษัทผู้ผลิตให้ชัดเจน และอย่าหลงเชื่อกับคำโฆษณาที่เกินจริง --------------------------------------------------------------------------------------   16 มิถุนายน 2553พบ “สารไซยาไนด์” ในเกลือแหลมฉบัง สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เตือนชาวบ้านบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง อย่านำเกลือที่พบในบริเวณท่าเรือมารับประทาน หลังมีการตรวจพบสารไซยาไนด์ปนเปื้อน นางอารีย์ ตรีรัตนเวช ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า เกลือที่พบจำนวนมากบริเวณพื้นที่ที่การท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจมอยู่ในโคลนลึกประมาณ 5-10 ซม. กินพื้นที่ประมาณ 20-30 ไร่ นั้น ขณะนี้มีประชาชนในบริเวณดังกล่าวแห่กันไปขุดเกลือเพื่อนำไปรับบริโภคหรือจำหน่ายต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้ประกาศห้ามประชาชนนำเกลือในบริเวณดังกล่าวมาบริโภคโดยเด็ดขาด หลังพบว่ามีการปนเปื้อนสารหนูหรือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำอันตรายต่อร่างกายรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ --------------------------------------------------------------------------------------   21 มิถุนายน 2553เข้าสปาคราวหน้าอย่าลืมเรื่องความสะอาดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท พอกผิว ขัดผิว สำหรับนวด และอื่นๆ จำนวน 49 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุลชีววิทยา พบว่ามีคุณภาพผิดมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทขัดผิว 5 ตัวอย่างจาก 28 ตัวอย่าง ประเภทพอกผิว 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง เนื่องจากมีปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ยีสต์ และราเกินกำหนด  ดังนั้นผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกใช้บริการร้านสปาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทางร้านใช้ ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ โดยเฉพาะคนที่ผิวแพ้ง่าย พยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นกรดหรือด่าง หรือมีกลิ่นหอมเกินไป --------------------------------------------------------------------------------------   เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้อง กทช. ประมูล 3.9Gต้องโปร่งใสและให้ประโยชน์ของชาติมาก่อนองค์กรผู้บริโภคร่วมกันแถลงจุดยืน “การประมูลใบอนุญาต 3.9G ใครได้ประโยชน์” ณ สำนักงานชั่วคราวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เซ็นจูรี่ พลาซ่า ชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. โดยมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายนิมิตร์ เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นางสาวสุภิญญา  กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ(คปส.) และนายกำชัยน้อย  บรรจงค์ เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี ร่วมแถลงข่าว ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พยายามเร่งผลักดันให้เกิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น 3.9G โดย กทช.ระบุจำนวนใบอนุญาต 3 ใบ ใบละ 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตพร้อมกันในราคาประมูลเริ่มต้นที่ 10,000 ล้านบาท ใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปี ซึ่งทางองค์กรผู้บริโภคเห็นค้านว่าควรจะกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่ 20,000 ล้าน เนื่องจากปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการสื่อสารยักษ์ใหญ่มีกำไรไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าตั้งต้นราคาประมูลต่ำเกินไป รัฐอาจเสียผลประโยชน์ ส่วนประเด็นเรื่องระยะเวลาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคมองว่า เรื่องของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ระยะเวลา 15 ปีในการถือครองใบอนุญาตอาจดูนานไป น่าจะลดลงมาที่ 10 ปี  ถึงแม้ กทช.จะชี้แจงว่าระยะเวลา 10 ปีนั้น จะขัดต่อประกาศแต่ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกฎหมาย เครือข่ายผู้บริโภคยังได้เสนอเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภคในการประมูล 3.9G ครั้งนี้ โดยให้ทาง กทช.เขียนเป็นกติกาให้กับบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ชัดเจน ในประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต 3.9G จัดทำเลขหมายรับเรื่องร้องเรียน 4 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นเลขหมาย 7 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วต้องเสียค่าใช้จ่าย การจัดการปัญหา SMS กวนใจ โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการไม่สามารถส่งเอสเอ็มเอสโฆษณาไปยังเลยหมายของผู้บริโภคได้หากผู้บริโภคไม่เต็มใจหรือยินยอม การไม่คิดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนโปรโมชั่น ที่ปัจจุบันต้องเสีย 30 บาท และการไม่ต้องกำหนดวันหมดอายุของการใช้งานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน --------------------------------------------------------------------------------------   รัฐบาลต้องเร่งออกกม.คุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหายทางการแพทย์เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากรักษาพยาบาลเพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ และ ย้ำแพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ "ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ..." เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยไม่ให้คนไข้ฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น” เครือข่ายผู้บริโภค ระบุ แม้กฎหมายฉบับนี้ มีไม่น้อยกว่า 5 ประเด็นที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับให้รัฐบาลนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา และยืนยันหลักการกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดการฟ้องร้องของคนไข้ เพราะคนไข้หากมีความเสียหายก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระในการฟ้องคดี ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยการเข้าชื่อประชาชน 10,000 ชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอยืนยันถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ 3 ประการ คือ 1) การชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข 2) ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ 3) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย “ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41  โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้สิทธิหลักประกันแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้เสียหายในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น(ไม่เกินสองแสนบาท) ที่มีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถมีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้นเครือข่ายผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ 1. ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดยเร็ว และให้มีสาระสำคัญเป็นไปตามกรอบของร่างที่เสนอโดยเครือข่ายผู้บริโภคและประชาชน อาทิ • สำนักงานเลขานุการตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องแยกออกจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นกลาง เข้าถึงได้ง่าย และไม่เป็นการขัดแย้งในเชิงบทบาทหน้าที่ แต่หากจำเป็นต้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “ไม่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่” ก็ควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว และมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการ มิใช่ผู้ให้บริการอย่างกระทรวงสาธารณสุข • องค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือ การพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมและต้องใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์ 2. ขอให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ สุดท้าย เครือข่ายผู้บริโภค ใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภา และติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการแพทยสภาบางคน รวมทั้งแพทย์บางกลุ่ม ว่าได้ทำหน้าที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพแพทย์เพื่อประชาชนหรือไม่ หรือทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจและธุรกิจ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 4 วิธี ลดเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ให้อุ่นใจแบบคุ้มค่า

ผู้ที่ขับขี่รถยนต์ คงจะคุ้นหูกับคำว่า พรบ.รถยนต์ ,ประกันภัยชั้น 1 ,ชั้น 3 และคุ้นตากับสติ๊กเกอร์ประกันภัยที่ติดอยู่หน้ากระจกรถ และทุกปีมีหน้าที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์     ถ้าเป็นประกันภัยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ซึ่งกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกันภัย เบี้ยประกันก็อยู่ที่ปีละ 650 – 1,000 บาทต้น ๆ ไม่แพงมากนักเพราะกฎหมายควบคุมอัตราเบี้ยประกันไว้     ส่วนประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันภัยชั้น 1 , ชั้น 3 ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ใครจะทำหรือไม่ทำก็ได้นั้น เบี้ยประกันอยู่ที่ปีละประมาณ 5 พันบาทไปจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับรถที่คุณใช้ ทุนประกันและความคุ้มครองที่คุณเลือก     ในกรณีที่เป็นรถประเภทเดียวกัน รุ่นเดียวกัน เคยสงสัยไหมครับว่าทำไมบางคนจ่ายเบี้ยประกันได้ถูกกว่า ทั้งที่ทุนประกันและความคุ้มครองก็ได้รับเท่ากัน นั่นเป็นเพราะแต่ละคนได้รับส่วนลดเบี้ยประกันไม่เท่ากัน การจะได้ส่วนลดมากหรือน้อยนั้น ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของแต่ละละบริษัท ว่าต้องการกระตุ้นยอดขายมากขนาดไหน แต่อีกส่วนก็ขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้บริโภคว่าจะเท่าทันตัวแทน นายหน้าประกันภัย ขนาดไหน ผมจึงอยากจะแนะนำ 4 เรื่องที่คุณควรรู้เพื่อการลดเบี้ยประกันภัย ให้ได้รับความคุ้มครองแบบอุ่นใจและคุ้มค่าเงินเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย      1. ระบุชื่อคนขับให้ชัดเจน ลดได้ 5 -20 % เพราะรถที่ใช้โดยคนคนเดียว ย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่ารถที่ขับกันหลายมือ ดังนั้น รถที่ใช้ในครอบครัว ถ้าระบุชื่อผู้ขับขี่ลงไปในกรมธรรม์จะลดเบี้ยประกันได้ และยิ่งถ้าคนขับมีอายุ มีวุฒิภาวะมากขึ้น ส่วนลดก็จะมากตาม     อายุ 18 -24 ปี ส่วนลดเบี้ย 5%    อายุ 25 – 35 ปี ส่วนลดเบี้ย 10%    อายุ 36 – 50 ปี ส่วนลดเบี้ย 15%    อายุ 50 ปี ขึ้นไป ส่วนลดเบี้ย 20%     แต่ต้องเตือนกันไว้ก่อนนะครับว่า ถ้าเกิดอุบัติเหตุแล้วผู้ที่ขับขี่รถยนต์ไม่ใช่ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในกรมธรรม์ แบบนี้จะประกันจะไม่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรกในวงเงินไม่เกิน 8,000 บาท     2. ขับดี มีส่วนลด 20 -50 % การขับขี่รถอย่างระมัดระวัง ไม่เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุแต่คุณมิได้เป็นฝ่ายผิด คุณมีสิทธิได้ส่วนลดเบี้ยประกันจากการมีประวัติที่ดี และส่วนลดจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในปีถัด ๆ ไป     ขับดีปีแรก ได้รับส่วนลด 20% เมื่อต่ออายุประกันปีต่อไป     ขับดี 2 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 30%     ขับดี 3 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 40%    ขัดดี 4 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 50%    เพื่อรักษาเครดิตส่วนลดนี้ บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงอาจจะยังไม่จำเป็นต้องเคลมประกัน หากคำนวณแล้วว่าการซ่อมเองคุ้มกว่าส่วนลดเบี้ยประกันที่ได้รับ     3. รวมรถ ลดได้อีก 10% ถ้าคุณมีรถยนต์หลายคัน การทำประกันรถยนต์แบบกลุ่มตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป สามารถขอส่วนลดได้อีก 10%     4. รับความเสี่ยงไว้เองบางส่วน จ่ายเบี้ยน้อยกว่า หรือที่ภาษาประกันเรียกว่า การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรก หมายความว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุที่คุณเป็นฝ่ายผิด คุณจะร่วมรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย ในวงเงินที่กำหนดไว้ เช่น ถ้าคุณกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกไว้ 5,000 บาท เมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องซ่อมรถที่เสียหายเป็นเงิน 20,000 บาท คุณจะต้องจ่ายเงินค่าซ่อมเองก่อน 5,000 บาท ประกันถึงจะจ่ายส่วนที่เหลือ     การกำหนดค่าเสียหายส่วนแรกในลักษณะนี้ ก็สามารถเอามาเป็นส่วนลดเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายได้เช่นกัน            อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงของบริษัทประกันภัยก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด ไม่มีประโยชน์ที่จะทำประกันภัยรถยนต์ราคาถูก ๆ กับบริษัทที่ไม่มั่นคงแต่พอถึงเวลาแล้วเคลมไม่ได้ อู่ซ่อมไม่มีมาตรฐาน พนักงานบริการแย่ เพราะมันจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 175 รถติดไฟแนนซ์ ห้ามเบี้ยว ห้ามทำหาย ห้ามขายต่อ

เศรษฐกิจฝืดเคืองเยี่ยงนี้ ใครที่ผ่อนรถยนต์คันแรกอยู่แล้ว เริ่มช็อต หมุนเงินไม่ทัน โปรดอ่านโดยพลัน 1.    ถ้าคุณทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ หรือมอเตอร์ไซค์ แล้วอยู่ในระหว่างผ่อนค่างวดอยู่ โปรดรู้ว่าคุณยังไม่ใช่เจ้าของรถคันนั้นอย่างแท้จริง เพราะตามกฎหมายคุณเป็นแค่ “ผู้เช่าซื้อ” ซึ่งมีสิทธิครอบครองและใช้สอยรถเท่านั้น ตราบใดที่คุณผ่อนหมดนั่นล่ะคุณถึงจะได้รับโอนกรรมสิทธิ์2.    การผิดนัดชำระหนี้ค่าเช่าซื้ออาจเกิดขึ้นได้ในภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด คุณอาจจะค้างค่างวด หรือจ่ายค่างวดช้าไปบ้างก็ไม่เป็นไร แต่จำไว้ว่า “ห้ามเบี้ยว ผิดนัดจ่ายค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดต่อกัน” เพราะไฟแนนซ์อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา แล้วมายึดรถคืนไปได้ ถ้าหากไฟแนนซ์ไหน เขียนสัญญาเช่าซื้อต่างไปจากนี้ ก็ไม่มีผลในทางกฎหมาย เพราะ สคบ.เขามีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ. 2555 คุ้มครองผู้เช่าซื้ออยู่ 3.    ในฐานะผู้เช่าซื้อ ผู้ครอบครองรถ คุณต้องใช้สอย ดูแลรักษารถยนต์ที่เช่าซื้อมาให้ดี “ห้ามทำหาย” แต่ถ้าเกิดโชคร้ายจริง ๆ รถที่เช่าซื้อมาถูกขโมยไป คำถามที่พบบ่อยก็คือ แล้วจะต้องจ่ายค่างวดที่เหลือต่อจนครบสัญญาไหม ข้อนี้ในทางกฎหมาย(ประกาศ สคบ. ฉบับข้างต้น) บอกเลยว่า ถ้ารถที่เช่าซื้อมาหายไป ก็ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันสิ้นสุด คุณไม่ต้องผ่อนกุญแจรถต่อ แต่อย่าเพิ่งสบายใจไป คุณยังต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับไฟแนนซ์อยู่ดี 4.    สำหรับคนที่ผ่อนต่อไม่ไหวแล้วคิดจะเอารถไปขายต่อคนอื่น ขอให้ทบทวนให้ดี เพราะคุณในฐานะคนเช่าซื้อไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จึงไม่มีสิทธิเอารถไปขายคนอื่นได้ ถ้าเจ้าหนี้เขารู้ขึ้นมา คุณอาจโดนคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์ได้ ดังนั้น “ห้ามขาย” รถติดไฟแนนซ์แต่ถ้าเป็น “การขายดาวน์” หรือ “ขายสิทธิการเช่าซื้อ” หาคนมาผ่อนรถต่อจากคุณแบบนี้ ทำได้นะครับ แต่ต้องแจ้งไฟแนนซ์ให้รับรู้และทำสัญญาใหม่แก้ไขเปลี่ยนตัวผู้เช่าซื้อให้ถูกต้อง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 รถมือสอง สภาพ(ภายนอก)เยี่ยม

ตาดีได้ตาร้ายเสีย สำนวนนี้คงใช้ได้ดีกับผู้ที่กำลังจะซื้อรถยนต์มือสอง เพราะหากเราเลือกผิดคันก็ต้องคอยตามซ่อมปัญหาจุกจิกต่างๆ จนพาให้เหนื่อยใจได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการซ่อมถี่ ผู้ขับส่วนมากจึงมักทดลองขับก่อนตกลงซื้อ เพราะลำพังแค่คำโฆษณาจากผู้ขายอย่างเดียว ก็ไม่ได้รับประกันว่ารถจะดีจริง อย่างไรก็ตามหากเราเจอคันที่ชอบสุดๆ แต่เจ้าของเต็นท์ ไม่ยอมให้ทดลองขับ เราควรทำอย่างไรผู้ร้องรายนี้ถูกใจรถมือสอง ยี่ห้อ Nissan CEFIRO จากเต็นท์รถแห่งหนึ่งย่านลาดปลาเค้า 28 เมื่อพูดคุยสอบถามกับเจ้าของเต็นท์ก็ได้รับการโฆษณาว่า รถคันดังกล่าว อยู่ในสภาพดี เครื่องยนต์พร้อมใช้งาน ไม่ต้องซ่อมหรือทำอะไรเพิ่มเติมเลย ซึ่งหากต้องการรถก็เพียงแค่มัดจำไว้จำนวน 5,000 บาทเท่านั้นอย่างไรก็ตามก่อนมัดจำผู้ร้องต้องการทดสอบสภาพรถก่อน แต่เจ้าของเต็นท์กลับแจ้งว่า ไม่ให้มีการทดลองขับแต่อย่างใด ด้วยความที่ถูกใจรถคันดังกล่าว เพราะสภาพภายนอกดูดีสมคำบอกเล่าของเจ้าของ และเชื่อว่าสภาพภายในก็คงดีเช่นนั้นจริงๆ จึงตกลงมัดจำไว้ และมารับรถในไม่อีกกี่วันถัดมา ซึ่งเหตุการณ์ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด เพราะหลังจากขับรถคันดังกล่าวออกมาจากเต็นท์ไม่ถึง 500 เมตร ห้องเครื่องของรถส่งเสียงดังและสั่นสะเทือนแรงมาก ทำให้วิ่งกระตุกตลอดเวลา เมื่อโทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าของก็ได้รับคำตอบว่า ให้ลองเติมน้ำมันกับแก๊สดูก่อน ซึ่งผู้ร้องก็ได้ทำตาม โดยเสียค่าน้ำมันและแก๊สไปจำนวน 1,000 และ 550 บาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตามอาการของเครื่องยนต์ก็ยังคงเหมือนเดิม และรถก็เริ่มวิ่งต่อรอบต่ำมาก ขับได้ไม่เกิน 80 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทั้งๆ ที่เป็นเครื่องยนต์ 3,000 ซีซี 6 สูบ  ผู้ร้องจึงโทรศัพท์กลับไปสอบถามเจ้าของเต็นท์รถคันดังกล่าวอีกครั้ง ซึ่งก็ได้แนะนำวิธีแก้ไขปัญหาว่า ให้ขับรถไปก่อน แล้วไปเปลี่ยนน้ำมันเครื่องกับน้ำมันเกียร์ ซึ่งหากอาการยังไม่ดีขึ้นค่อยโทรศัพท์ติดต่อกลับมาใหม่เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงตัดสินว่าจะขอคืนรถคันดังกล่าว และโทรศัพท์ไปเลิกสัญญากับไฟแนนซ์ โดยให้เหตุผลว่า รถไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตามที่เจ้าของเต็นท์กล่าวอ้าง ต่อมาวันรุ่งขึ้นจึงนำรถเจ้าปัญหานี้กลับมาคืนที่เต็นท์ และขอเงินมัดจำจำนวน 5,000 บาทคืน แต่เจ้าของเต็นท์ดังกล่าวไม่ยอมคืนเงินให้ บอกเพียงว่าจะตรวจซ่อมให้เอง ผู้ร้องก็ตกลง ซึ่งหลังจากช่างประจำเต็นท์ตรวจสอบแล้วเรียบร้อย ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากอะไร แต่ก็ยังยืนยันที่จะไม่คืนเงินค่ามัดจำให้ ดังนั้นผู้ร้องจึงมาขอให้ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องทำจดหมาย ขอคืนรถยนต์กับทางเต็นท์พร้อมทั้งคืนเงินค่ามัดจำ เพราะมีการหลอกลวงผู้บริโภคด้วยการโฆษณาชวนเชื่อว่า รถอยู่ในสภาพดี พร้อมใช้ พร้อมให้ถ่ายรูปรถคันดังกล่าวเป็นหลักฐาน และแจ้งไปความลงบันทึกประจำวัน จากนั้นจึงนัดเจรจาไกล่เกลี่ย หลังการเจรจา ไม่สามารถตกลงกันได้ เพราะเจ้าของเต็นท์อ้างว่า รถคันดังกล่าวน่าจะหัวเทียนมีปัญหา ซึ่งน่าจะเกิดจากการล้างเครื่องแล้วน้ำเข้าไป หากเปลี่ยนหัวเทียนก็จะสามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งผู้ร้องเกิดความไม่ไว้วางใจเสียแล้ว จึงไม่ต้องการรถยนต์คันดังกล่าว ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงแนะนำให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีต่อไป แต่ผู้ร้องพิจารณาแล้วเห็นว่าคดีอาจยืดเยื้อและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิม จึงขอยุติเรื่อง โดยต้องจำใจเสียเงินให้กับกลโกงของเจ้าของเต็นท์รถรายนี้ไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 รถหาย! ถูกฟ้องเรียกค่ากุญแจ

พี่คะ  “แม่หนูถูกฟ้อง  ทำยังไงดี ”   คำถามของคุณจิราภรณ์ ที่ซื้อรถยนต์มือสอง ยี่ห้อ TOYOTA ซึ่งจัดไฟแนนท์กับ  กับบริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน) โดยใช้ชื่อคุณแม่ เพราะตนเองเพิ่งทำงานและพักอยู่กับแม่ที่ ปทุมธานี  ปลายปี 54  เกิดวิกฤติน้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ต้องอพยพทั้งข้าวของและรถยนต์มาพักบ้านพี่สาวแถวงามวงศ์วาน ทำให้บ้านคับแคบข้าวของต้องวางไว้นอกบ้าน จนจอดรถไม่ได้  เลยต้องนำรถไปจอดไว้ข้างทาง เหมือนที่ชาวบ้านทั่วไปเค้าจอดกัน  โดยล็อกพวงมาลัย ล็อกเบรก และล็อกกุญแจประตูรถยนต์  ตามที่จะสามารถล็อกได้ จอดไว้ได้ประมาณเกือบปี  รถหาย!ในวันเดียวกันกับที่ทราบเรื่อง น้องรีบพาแม่ไปแจ้งความ  ตำรวจแนะนำให้ไปขอหนังสือมอบอำนาจเพราะไม่ใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์รถแจ้งความเองไม่ได้  ตนเองกับแม่ก็รีบไปขอหนังสือฉบับนั้นทันที  แล้วรีบมาดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์เพื่อให้ตำรวจทำคดีอีกครั้ง จัดการเรื่องนี้เสร็จก็ทำหนังสือถึงไฟแนนท์ขอหยุดชำระทันที  ถูกไฟแนนท์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมไปอีก 500  บาท ตนเองเสียดายรถยังคิดที่จะตามหารถ โดยโพสต์ Facebook บ้าง ไปตามที่มีแหล่งข่าวว่ารถน่าจะถูกขายแถวไหนบ้าง ก็ไม่พบ เรื่องเงียบหายไปปีกว่า  อยู่ๆ แม่ก็ได้รับหมายศาลถูกไฟแนนท์ฟ้องเป็นจำเลย คดีผิดสัญญา  ไฟแนนท์เรียกให้คืนรถ หรือคืนเงิน  ชาวบ้านอย่างเรา จะสู้เค้ายังไง  มีแต่กุญแจ ไม่มีรถ  ไม่มีเงิน  จะหาทนายช่วยอย่างไร  ได้มาปรึกษากับมูลนิธิฯ เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา เนื่องจากพยานหลักฐานของผู้ร้อง ที่มีอยู่ครบถ้วน  เช่น หลักฐานการแจ้งความที่มีรายละเอียดครบถ้วน, หนังสือบอกกล่าวให้บริษัท อยุธยาฯ  รับทราบว่ารถหายไม่ขอชำระค่างวด และใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการหยุดใช้รถ ภาพถ่ายต่างๆ เช่น การโพสต์ใน Facebook เพื่อตามหารถยนต์ของตนเอง สถานที่จอดรถ เป็นต้น   โดยแนวทางการต่อสู้คดีนั้น ชี้ให้เห็นว่า “รถหายมิได้เกิดจากความประมาทของผู้ซื้อ  และผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับหรือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถาม การติดตามรถ ค่าทนายหรือค่าอื่นใด เพียงเท่าที่เจ้าของได้ใช้จ่ายไปจริงตามความจำเป็นและมีเหตุผลอันสมควร” อีกทั้งบริษัทฯ ทราบดีอยู่แล้วว่ารถยนต์คันเช่าซื้อสูญหายไป โดยการแจ้งของผู้ร้อง ตามหลักฐานที่ผู้ร้องมี แล้วยังนำคดีมาฟ้อง โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รับ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม คดีนี้ได้ขอให้ศาลยกฟ้อง    ภายหลังการพิจารณาคดี  ศาลชั้นต้น พิพากษายกฟ้อง คดีนี้บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์   คงต้องตามกันต่อไปว่าจะสิ้นสุดอย่างไร //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 ว่าด้วยเรื่อง พ.ร.บ.รถ อีกสักที

ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุทางถนนสร้างความปวดหัว และปวดใจได้ไม่น้อยเลย ยิ่งในรายที่ประสบอุบัติเหตุแบบไม่ธรรมดา คือ ต้องไปข้องเกี่ยวกับรถที่ไม่ได้ทำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกว่า พ.ร.บ.ภาคบังคับ หรือบางราย พ.ร.บ.หมดอายุ (พ.ร.บ. ขาด) แล้วใครล่ะที่จะมารับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล และค่าปลงศพ (กรณีเสียชีวิต)ให้กับผู้เสียหาย  เรื่องนี้มีคำตอบกรณีที่ผู้เสียหาย 3 คน เดินกินลมชมวิวริมถนนอยู่ดีๆ ก็มีรถมาเฉี่ยวชน คนที่ 1 บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนคนที่ 2 บาดเจ็บเล็กน้อย คนที่ 3 เสียชีวิตคาที่  และบังเอิญ รถคันที่มาชนไม่ได้ทำ พ.ร.บ.ภาคบังคับเสียด้วย จะได้รับการชดเชยเยียวยาอะไรบ้างการชดเชยในกรณีนี้ -  ทั้ง 3 คน สามารถใช้สิทธิจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ สามารถทำเรื่อง เบิกจ่ายได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) -  คนที่ 1 ทายาทจะได้รับเงิน จำนวน 35,000 บาท ซึ่งจะหัก ค่ารักษาพยาบาลตามจริงก่อนเสียชีวิต ด้วย ในรายที่รักษาเกินกว่า 35,000 บาท ก่อนเสียชีวิตก็เท่ากับว่าจะไม่ได้ค่าปลงศพนั่นเอง -  คนที่ 2 โรงพยาบาลจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท หากเกินจะสามารถใช้สิทธิที่ตนเองมีอยู่ เช่น ประกันสังคม ข้าราชการ หลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) -  คนที่ 3 ทายาทจะได้รับเงินค่าปลงศพ จำนวน 35,000 บาทอีกกรณีคือเด็กชายอายุ 13 ปี ได้ขับรถมอเตอร์ไซด์ พาน้องสาวอายุ 9 ปี นั่งซ้อนท้ายมาด้วยกัน แล้วถูกรถยนต์เก๋งชน จนเป็นเหตุให้คนขับบาดเจ็บ ส่วนน้องสาวเสียชีวิตคาที่  ทั้ง พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย อ้างว่า เด็กชายคนดังกล่าวไม่มีใบขับขี่การชดเชยในกรณีนี้ -  โปรดจำไว้ว่า แม้คนขับจะไม่มีใบขับขี่ก็ตาม จะได้รับจากชดเชยเยียวยาจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามปกติคือ ค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท แต่หากพิสูจน์ได้ว่า คู่กรณีเป็นฝ่ายผิดจะได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเป็นตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท  เพราะ เป็นกฎหมายคนละฉบับกัน หากคนขับไม่มีใบขับขี่จะถูกดำเนินการลงโทษจาก พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยการเปรียบเทียบปรับในภายหลัง - สำหรับคนซ้อน ถือเป็นบุคคลภายนอก ไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด จะได้รับความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.รถมอเตอร์ไซด์ทันที ที่ 200,000 บาท - หากไม่สามารถตกลงกันได้ สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)   ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ค่ารักษาพยาบาล ตามจริง ไม่เกิน 50,000 บาท ค่าปลงศพ จำนวน 200,000 บาท ค่าชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน กฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องมีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครอบผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หากไม่ทำจะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และให้เจ้าของรถหรือผู้ใช้รถเก็บรักษาหลักฐานแสดงการมีประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถไว้ให้พร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาที่ใช้รถ เว้นแต่กรณีรถคันดังกล่าวได้จดทะเบียนหรือชำระภาษีประจำปีแล้ว   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 ค้างค่างวดรถ 3 งวด แต่จะให้จ่าย 6 ไหวไหม

สมัยนี้ยังจะมีใครซื้อรถด้วยเงินสดๆ แบบจ่ายทีเดียวไหม คงน้อยมากๆ แม้แต่คนที่มีเงินมาก ก็ไม่ทำเพราะระบบลิซชิ่งหรือระบบเช่าซื้อรถยนต์มันทำให้บริหารเงินได้ดีกว่าที่จะเอาเงินเยอะๆ ไปทุ่มในครั้งเดียว และยังช่วยให้คนเงินน้อยสามารถมีรถยนต์เป็นของตนเองได้ บริษัทรถยนต์ก็ขายได้มากขึ้น ยังไม่รวมนโยบายรถคันแรกที่รัฐบาลออกมาช่วยกระตุ้นยอดขายด้วย เราจึงเห็นปรากฏการณ์ยอดขายรถยนต์สูงลิ่วในทุกปีการเช่าซื้อหรือทำสัญญาเช่าซื้อ (Hire-Purchase) คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ให้เช่าซื้อนำทรัพย์สินออกให้เ ช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือให้ทรัพย์สินตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระเงินครบถ้วนตามสัญญาแล้วการเช่าซื้อรถยนต์เราจึงยังไม่ได้เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์แต่เป็นเพียงผู้เช่าซื้อ โดยมีสัญญาว่าจะชำระเงินให้เป็นงวดๆ ให้แก่เจ้าของจริง ซึ่งก็คือบริษัทที่ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ ถ้าสามารถจ่ายเงินได้ตรงงวดคงไม่มีปัญหา ปัญหามาเกิดเอาตรงที่จ่ายไม่ทันและถ้าไม่ทัน 3 งวดติด เจ้าของเขาก็จะมายึดรถ(ทรัพย์)ของเขาทันทีคุณพิมลวรรณเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง(ประเทศไทย) จำกัด เป็นราคาค่าเช่า 857,247 บาท โดยจะชำระงวดละ 8,733 บาท แต่เกิดปัญหาขึ้นเมื่อคุณพิมลวรรณขาดส่งไป 3 งวด ไม่นานทางบริษัทลิสซิ่ง ได้ให้พนักงานมานำรถไปพร้อมบอกว่า ให้ไปไถ่ถอน ด้วยการชำระเงิน 3 งวดที่ขาดส่งไป รวมค่าปรับ ค่าติดตามรถ พร้อมค่าไถ่ถอนทั้งสิ้น 36,624 บาท โดยให้เวลาดำเนินการ 6 เดือน แต่เมื่อคุณพิมลพรรณติดต่อกลับไปทางโทรศัพท์เพื่อขอทราบรายละเอียดค่าบริการค่าปรับต่างๆ ก็ได้ข้อมูลใหม่ชวนตกใจว่า คุณพิมลพรรณต้องชำระทั้งหมด 89,022 ซึ่งเป็นยอดที่รวมค่าเช่าล่วงหน้าอีก 6 เดือน จึงจะมารับรถคืนได้ แนวทางแก้ไขปัญหาทางศูนย์พิทักษ์ฯ ได้สอบถามข้อมูลจากคุณพิมลพรรณ พบว่า ยอดค่าใช้จ่ายที่ถูกเรียกเก็บเกิดจากการเจรจาความกันทางโทรศัพท์ ซึ่งคุณพิมลพรรณมิได้รับหนังสือบอกกล่าวจากบริษัทแต่อย่างใดตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เรื่องให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์นั้น ความข้อ 3 มีสาระสำคัญและมีเงื่อนไข ที่เกี่ยวข้องดังนี้ (4) ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติดๆ กัน และผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น (5) เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้าครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ให้เช่าซื้อ เพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลอื่น     ก. ก่อนขายให้แก่บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไ ม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ       ข. ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ออกขาย หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะรับผิดส่วนที่ขาดนั้นเฉพาะกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้นเมื่อไม่มีหนังสือแจ้งบอกกล่าว เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์ฯ จึงได้ติดต่อกลับไปยัง บริษัท โตโยต้า ลิสซิ่ง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริง อีกทั้งแจ้งให้ทางผู้ร้องชำระเงินค่างวดที่ค้างไว้ 3 งวดแก่บริษัทฯ เพื่อให้สัญญากลับคืนสู่สภาพ ทางศูนย์ฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ว่า ผู้ร้องผิดสัญญาเพราะผิดนัดชำระ 3 งวด ในหนังสือบอกกล่าวก็ระบุไว้ว่าให้ชำระทันที จุดนี้ทางศูนย์ฯ แย้งว่า ผู้ร้องไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจากทางบริษัทแต่อย่างใด อีกทั้งการชำระทันทีก็ยังต้องอยู่ในเงื่อนไขตามประกาศของ สคบ. คือ ไม่เกิน 30 วัน จึงถือว่ากรณีนี้ผู้ร้องมิได้กระทำผิดสัญญาและยังได้ชำระค่างวดที่ค้างอยู่ทั้งหมดแล้ว ทางบริษัทจึงต้องคืนรถยนต์ให้กับผู้ร้องโดยทันทีเมื่อแย้งกลับไปด้วยข้อกฎหมายทางฝ่ายบริษัทฯ เลยขอพักการเจรจาก่อนบอกว่า ตนเองมิใช่คนดูแลโดยตรง จะติดต่อกลับในภายหลังต่อมาผู้ร้องได้แจ้งว่า บริษัทฯ ติดต่อให้ไปรับกุญแจคืนและตนก็ได้ไปรับตรวจรถเรียบร้อยแล้ว จึงขอขอบคุณมูลนิธิฯ มา ณ ที่นี้   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 กลุ่มคนใช้รถเชฟโรเลต ครูซ รวมพลังสู้

ร้องบริษัทรับผิดชอบ รถเสียซ่อมไม่หาย เป็นอีกครั้งที่การรวมพลังกันของผู้บริโภคไทยสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งสำคัญต่อมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต รุ่นครูซ และ แคปติวา หลาย 10 คัน ทนไม่ไหวกับปัญหาสภาพรถที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น เกียร์ค้าง เปลี่ยนเกียร์ไม่ได้ ขับๆ ไป เครื่องดับโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งแต่ละปัญหาล้วนแล้วแต่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เพราะเห็นว่าชีวิตยังมีค่าไม่น่านำไปเสี่ยงกับรถที่ไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ที่เจอปัญหาตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน จึงนัดรวมตัวเพื่อแสดงพลังปกป้องสิทธิของผู้บริโภค เรียกร้องให้ผู้ผลิตรถยนต์ออกมาแสดงความรับผิดชอบ เริ่มต้นจากการไปร้องเรียนผ่านสื่อ จนผู้ผลิตอยู่เฉยไม่ไหวต้องออกมาดูแลผู้เสียหายแต่ใช่ว่าทุกอย่างจะง่ายเหมือนฝัน เพราะยังมีผู้เสียหายอีกหลายคัน ที่ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น แม้ว่าทางบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จะนำรถกลับไปตรวจสอบแก้ไข แต่พอผู้เสียหายนำรถกลับมาใช้ปัญหาก็ยังคงอยู่ และปัญหาที่เกิดส่วนใหญ่ล้วนเสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิต ทางออกที่ดีที่สุดที่ผู้ผลิตควรทำเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหา คือรับซื้อคืนรถที่เสี่ยงต่ออันตรายทั้งหมดคืนไป เพื่อความปลอดภัยและความสบายใจของผู้บริโภคแต่เมื่อข้อเรียกร้องนี้ไม่ได้รับการตอบรับ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหา จึงต้องเพิ่งพากฎหมาย เดินหน้าร้องเรียนต่อ สคบ. โดยมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยดำเนินการ จนในที่สุดบริษัทผู้ผลิตก็ยินยอมที่จะนำรถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ ที่พบปัญหาจำนวน 12 คัน เข้ารับการทดสอบเพื่อตรวจดูคุณภาพรถยนต์ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพดำเนินการทดสอบ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทดสอบทั้งหมดทางบริษัท เชฟโรเลต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งถ้าผลออกมาพบว่ารถยนต์ที่ทดสอบมีปัญหา บริษัทควรต้องซื้อคืนรถยนต์และจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถ สถานการณ์ล่าสุด สคบ. แถลงผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต พบปัญหาทุกคัน13 ม.ค. 57  นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จัดประชุมเพื่อแจ้งผลการทดสอบรถยนต์เชฟโรเลต ครูซ 12 คัน เมื่อวันที่ 14-18 ต.ค. 56 ณ สนามแก่งกระจานเซอร์กิต จ.เพชรบุรี ซึ่งมีผู้ร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนบริษัท เชฟโรเลตฯ เข้าร่วมรับฟัง โดยมีนายศิริบูรณ์ เนาว์ถิ่นสุข ประธานคณะทำงานสืบค้นข้อเท็จจริง เป็นผู้ชี้แจงผลการทดสอบพบ  ปัญหาในรถทุกคันที่ทดสอบ จากการรายงานของทีมนักขับและผลจากเครื่องมือที่ใช้ติดตั้งเพื่อตรวจสอบ พบปัญหาระบบส่งกำลัง ได้แก่ เกียร์เปลี่ยนขึ้น-ลงกระตุก เกียร์ไม่ Kick-down เกียร์กระตุกในช่วงเครื่องเย็น และในสภาวะรถติดเคลื่อนตัวช้า เบรก RF ค้าง รถยนต์คันที่เกิดปัญหาดังกล่าวมีการรายงานอาการซ้ำๆ มากที่สุดถึง 38 ครั้งภายหลังทราบผล นายอำพล เลขาฯ สคบ. ยืนยันว่า สคบ.ผลการทดสอบของคณะทำงานสืบค้นฯ ถือเป็นที่สุด และขอให้บริษัทฯ เยียวยาความเสียหาย โดยคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของ สคบ. จะนัดทั้งสองฝ่ายมาเจรจาในสัปดาห์หน้า และขอให้บริษัทฯ ส่งผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นผู้มาเจรจา ซึ่งตัวแทนบริษัทฯ ขอนำผลการทดสอบในครั้งนี้ไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบที่เก็บข้อมูลมา และหารือเรื่องการเยียวยาความเสียหายกับผู้บริหารต่อไป ปัญหารถยนต์ใหม่เกิดปัญหาจากสถิติการร้องเรียนของ ผู้บริโภคทั่วประเทศ ที่ส่งเรื่องร้องเรียนเข้ามายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมานั้น การร้องเรียนด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ขยับขึ้นมาครองแชมป์อันดับหนึ่ง แซงการร้องเรียนด้านอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. ที่ผ่านมา ผู้ใช้รถยนต์เชฟโรเลตครูซและแคปติวา จำนวน 26 ราย เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อ สคบ. เรียกร้องให้เชิญบริษัทรถยนต์เข้า มาไกล่เกลี่ยภายใน 7 วัน เนื่องจากคันเร่งค้าง เครื่องเร่งเองโดยไม่เหยียบคันเร่ง ระบบเกียร์อัตโนมัติมีอาการกระตุกรุนแรง และระบบเกียร์ล็อคขณะเปลี่ยนเกียร์ โดยขอให้ สคบ.จัดทดสอบเพื่อพิสูจน์ปัญหา ซึ่งหากพิสูจน์ได้ว่ารถยนต์มีความชำรุดบกพร่องตามที่ร้องเรียนจริง ขอให้ทางบริษัทรับซื้อรถยนต์คืนในปี 2555 มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาที่ สคบ. กว่า 2,000 กรณี โดยเป็นการร้องเรียนด้านรถยนต์ 877 กรณี ซึ่งปัญหาที่ร้องเรียนมากที่สุดเกิดจากรถยนต์ชำรุด บกพร่อง รองลงมาคือของแถมไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ และสัญญาเช่าซื้อที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผู้ซื้อรถส่วนใหญ่เข้าใจผิดเรื่องการผิดนัดชำระเงิน ขณะที่สถิติร้องเรียนด้านรถยนต์ล่าสุด ตั้งวันที่ 1 ต.ค. 2555 ถึง วันที่ 31 ก.ค. 2556 รวมทั้งหมด 682 กรณี แบ่งเป็น รถยนต์ชำรุด 208 ขอเงินจองคืนกรณีไม่ได้รถ 96 ค้างค่างวด/คืนรถ/ส่วนต่างสูง 23 ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญา 65 ยกเลิกสัญญาและขอเงินคืน 83 ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย 32 ขอคำปรึกษา 36 ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง 67 ค่าปรับสูง 32 กรณี และขอให้ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ 40นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีผู้บริโภคที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ จะร้องเรียนเข้ามา ประมาณ 2,000 ราย ซึ่ง สคบ.จะจำแนกประเภทการร้องเรียนออกเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินการ โดยการร้องเรียนเกี่ยวกับรถยนต์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ 1.ปัญหารถยนต์ป้ายแดง 2.ปัญหารถยนต์มือสอง 3.ปัญหาการเช่าซื้อ และ 4.ปัญหาการซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การร้องเรียนด้านรถยนต์จะ ขยับสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 แต่ประมาณ ร้อยละ 80-90 เกี่ยวกับความรู้สึกของผู้ใช้งาน เช่น ไม่พอใจในเสียงดัง ไม่พอใจในกลิ่น ขณะที่เรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์นั้น หากช่วงใดเกิดกระแสและมีการรวมตัวกันของผู้ประสบปัญหา ก็จะมีการร้องเรียนเข้ามายัง สคบ.ค่อนข้างมาก รับเรื่องร้องเรียน 2 ลักษณะนายจิรชัย กล่าวว่า สำหรับการดำเนินการหลังจากได้รับเรื่องร้องเรียน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.บริษัทรถยนต์เป็น ผู้ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการปรับเปลี่ยนซ่อนแซมอุปกรณ์ที่มีปัญหา โดยจะต้องยืดระยะเวลาในการประกันออกไปด้วย และ 2.ประสานไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นว่าตรงตามข้อร้องเรียนหรือไม่ รวมถึงหาสาเหตุว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นเกิดจากกระบวนการผลิตหรือไม่ ซึ่งการดำเนินการในส่วนที่ 2 นี้ จะเกิดขึ้นหลังจาก การเจรจาระหว่างบริษัทรถยนต์กับผู้บริโภค ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้ส่วนขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพรถยนต์นั้น ทาง สคบ.จะประสานไปยังสถาบันยานยนต์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการด้านยานยนต์ของ สคบ.อยู่แล้ว ให้เข้ามาดำเนินการตรวจสอบปัญหาว่าเกิดจากอะไร เช่น เหยียบคันเร่งให้รถเดินหน้าแต่รถไม่ขยับ เข้าเกียร์ถอยหลังแต่ไม่ถอยหลัง หรือเกิดเสียงดังเวลาเปลี่ยนเกียร์ ตรงนี้ต้องตรวจสอบดูว่าตามสภาพจริงของรถยนต์เป็น แบบนี้หรือไม่ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจสอบได้ไม่อยาก และหากว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากความผิดพลาดในการผลิต ทางบริษัทรถยนต์ก็จะต้องดำเนินการแก้ไขตามขั้นตอน เช่น ซ่อมแซม เปลี่ยนอุปกรณ์ที่ชำรุด เปลี่ยนรถคันใหม่ หรือรับซื้อคืน ตามลำดับ เคลียร์เชฟโรเรตในเดือนนี้"ที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของรถยนต์ มีทั้งแบบผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามารายเดียว และผู้บริโภคที่ประสบปัญหาเดียวกันหรือคล้ายกันรวมกลุ่มเข้ามาร้องเรียน ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา สคบ.ได้ประชุมพิจารณากรณีของผู้ใช้รถยนต์เชฟ โลเรต พบว่าก่อนหน้านี้ได้ร้องเรียนมายัง สคบ.แล้ว 13 ราย ซึ่งทางบริษัทกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ ส่วนที่เหลือได้ยืนความจำนงไปยังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้เข้ามาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามข้อสรุปจากการประชุม สคบ.สั่งให้ทางบริษัทเร่งดำเนินการเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้น ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้"นายจิรชัย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามเมื่อผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง สคบ. ส่วนใหญ่ปัญหาจะจบอยู่ในขั้นตอนเจรจาไกลเกลี่ย ดังนั้นที่ผ่านมาการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพมาตรฐาน และปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ จึงไม่ไปถึงขั้นฟ้องร้องในชั้นศาลด้านนายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) กล่าวว่า การร้องเรียนปัญหาเกี่ยวกับมาตรฐานรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาให้ความสำคัญ เนื่องจากมูลค่าค่อนข้างสูง แต่กว่าที่ผู้บริโภคจะร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. ส่วนใหญ่จะมีการติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อเจรจาพูดคุย รวมถึงส่งรถยนต์เข้า ไปตรวจเช็คและซ่อมแซมมาแล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่บางรายก็ได้ร้องเรียนไปยัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) แล้ว แต่สุดท้ายอาจจะทนรอขั้นตอนการดำเนินการ ของทางบริษัทรถยนต์หรือหน่วยงานราชการไม่ไหว จึงตัดสินใจร้องเรียนมายัง มพบ. ให้เป็นหน่วยงานกลางเร่งรัดการดำเนินการ และเป็นไปตามกฎหมายผู้บริโภค ปัญหาเครื่องยนต์กลไก 'ต้องฟ้องร้อง'ส่วนความเสียหายเป็นไปตามมาตรฐานของรถยนต์หรือ ไม่นั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.ปัญหาจุกจิกลำคาญใจ เช่น มีเสียงเข้าไปในห้องโดยสาร เสียงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งไม่สนิท เบรกหรือโชคแข็ง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่จะสามารถแก้ไขได้ เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบ และ 2.ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์กลไก เช่น ระบบเกียร์ คันเร่ง หรือสมองของรถยนต์ ซึ่งเป็นปัญหาเชิงเทคนิคต้องมีการพิสูจน์ ส่วนใหญ่จึงนำไปสู่การฟ้องร้อง เนื่องจากบริษัทรถยนต์ไม่มีนโยบายเปลี่ยนรถคันใหม่ เมื่อลูกค้ามีปัญหาเกี่ยวกับรถยนต์ ก็จะให้นำเข้ามาซ่อมแซม ซึ่งแม้ว่าหลังจากซ่อมแล้วยังเกิดอาการเดิม ทางผู้ประกอบการก็จะยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ แต่ตามหลักจิตวิทยาของคนซื้อรถใหม่ หากรถที่ซื้อมาใหม่ถูกชำแหละราคาจะตกทันที ส่วนใหญ่ผู้บริโภคจึงต้องการให้ทางบริษัทเปลี่ยนรถยนต์คันใหม่"หลังจากผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามายัง มพบ. จะมีการตรวจข้อร้องเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นจึงติดต่อไปยังบริษัทรถยนต์ เพื่อให้เข้ามาเจรรจาพูดคุย ส่วนใหญ่จะเป็นการชี้แจงและยืนยันว่าสามารถซ่อมได้ ตรงนี้ผมมองว่าเป็นการประวิงเวลา รับผิดชอบตามระยะประกันและอายุกฎหมาย ที่กำหนดไว้ 1 ปี หลังจากรับสินค้า หากผู้บริโภคฟ้องร้องหลังจากหมดอายุความก็จะแพ้ทางเทคนิค แต่หากเรื่องเข้าสู่กระบวนการเจรจาไกลเกลี่ยผู้บริโภค ตามกฎหมายอายุความจะหยุดทันที แต่ประชนส่วนใหญ่จะไม่รู้"จากการดำเนินการฟ้องร้องที่ผ่านมา แม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายชนะ เช่น กรณีประกอบรถไม่ดีแล้วเขม่าควันเข้ามาในห้องผู้โดยสาร แต่ทางบริษัทรถยนต์ก็ ยื่นอุทธรณ์ กระบวนหลังจากฟ้องร้องจึงยาวนานมาก ประเด็นจึงอยู่ที่ว่าคนไทยมีกลไลศาลเท่านั้นที่คอยช่วยเหลือ แต่ความรู้เรื่องกลไลการทำงานของรถยนต์ จำเป็นต้องอาศัยผู้เชียวชาญโดยตรง เข้ามาเป็นตัวกลางในการตรวจสอบซ้ำ เพราะหากทางบริษัทนำรถไปตรวจสอบ และออกมาแถลงว่าไม่พบปัญหา ตรงนี้ไม่มีใครสามารถเชื่อถือได้ จี้ตรวจสอบมาตรฐานสินค้านายอิฐบูรณ์ กล่าวต่อว่า การที่ประเทศไทยไม่มีหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรง ในการตรวจสอบหรือเรียกคืนยานยนต์ ที่ถูกตรวจพบปัญหาหรือถูกร้องเรียนเข้ามา ทำให้ผู้บริโภคในบ้านเราเสียเปรียบ เพราะความรู้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเทคนิคเครื่องยนต์กลไก เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ประกอบการทั้งหมด ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าในขณะที่ประเทศไทยรถยนต์เป็น สินค้าส่งออก 5 อันดับแรก แต่การกำกับดูและมาตรฐานสินค้ายังไม่เข้มข้นมากพอ แม้ว่าล่าสุดทาง สคบ.ได้แก้ไขข้อกฎหมายให้มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจไปตรวจสอบสินค้า แต่ก็ยังคงมีการคำถามในเรื่องการดำเนินการอยู่ดีสำหรับสถิติร้องเรียนด้านมาตรฐานรถยนต์ส่วน บุคคล ที่ร้องเรียนเข้ามายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งแต่ปี 2553-2556 รวมทั้งหมด 93 กรณี โดย 10 อันดับ บริษัทที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ 1.เชฟโลเรต 38 กรณี 2.โฟตอน 29 กรณี 3.โตโยต้า 18 กรณี 4.มิซูบิชิ 12 กรณี 5.ฮอนด้า 8 กรณี 6.ฟอร์ด ประเทศไทย 7 กรณี 7.นิสสัน 4 กรณี 8.เมอร์เซเดสเบนซ์ ประเทศไทย 2 กรณี 9.มิลเลนเนียม ออโต้ จำกัด 2 กรณี และ 10.คูโบต้า 2 กรณี ซึ่งปัญหาด้านมาตรฐที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ร้องเรียน เช่น เกียร์กระชาก สมองเกียร์พัง เกียร์กระตุกเวลาเร่งเครื่องรอบขึ้นแต่ความเร็วไม่ขึ้น เครื่องยนต์ร้อนและมีเสียงดังผิดปกติ คันเร่งค้าง เครื่องเร่งเอง เครื่องพุ่ง มีกลิ่นและเขม่าควันเข้ามาในห้องโดยสาร และถุงลมนิรภัยไม่ทำงานที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สถิติร้องเรียนปัญหารถยนต์'ป้ายแดง'7เดือนพุ่ง วันที่ 3 กันยายน 2556   สถิติรับร้องทุกข์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มกราคม – พฤศจิกายน 2556                                                             กลุ่มปัญหา ปี 2556 ร้อยละ มค. กพ. มีค. เมย. พค. มิย. กค. สค. กย ตค. พย. ธค. รวม   ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย 8 3 2 1 3 1 1 0 1 0 0   20   เครื่องใช้ไฟฟ้า 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0   2 1.79 ธุรกิจซื้อขายสัตว์เลี้ยง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 บริการท่องเที่ยว 0 1 0 0 1 0 0 0 0 0 0   2 1.79 บริการห้างร้าน 2 0 2 4 1 0 2 3 0 2 0   16 14.29 บริการให้เช่า 0 0 0 0 0 0 1 0 1 0 0   2 1.79 วัสดุก่อสร้าง 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 อุปกรณ์อิเล็คทรอนิค 1 1 1 1 0 0 0 2 0 1 0   7 6.25 ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ 1 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0   2 1.79 อุปกรณ์ในครัวเรือน 0 0 0 0 0 0 0 1 0 2 1   4 3.57 ยานพาหนะ 0 1 0 0 3 5 30 7 5 4 1   56 50.00 สินค้าเกษตร 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0   0 0.00 เครื่องแต่งกาย 0 0 0 0 0 0 0

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 ตีค่าราคามนุษย์ เยียวยาความเสียหายหรือเอาเงินฟาดหัว?

วันที่ 17 เมษายน 2556 วันสุดท้ายของโครงการ 7 วันอันตราย ตามนโยบายของรัฐบาลบนถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร  หนุ่มสาวยังคงสนุกสนานกับการเล่นน้ำ ยิ่งรถติดยิ่งสนุกโครม!! เสียงรถเมล์สาย 15 ชนกับท้ายรถยนต์คันหนึ่ง แต่ไม่รุนแรงมากนัก ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ จึงมีการถ่ายผู้โดยสารจากรถเมล์ที่เกิดอุบัติเหตุมายังรถเมล์สายเดียวกันที่แล่นตามมา เมื่อรวมผู้โดยสารทั้งหมดมาอยู่ในคันเดียวกัน ทำให้เกิดความแออัดยัดเยียดเบียดกันมาถึงบริเวณด้านหน้ารถติดคนขับ“ผู้โดยสารด้านหน้าช่วยเขยิบด้วยครับ ผมมองกระจกข้างไม่เห็น” เสียงลุงคนขับรถเมล์ตะโกนบอกแต่ด้วยเสียงเครื่องยนต์ที่ดังทำให้ผู้โดยสารคนนั้นไม่ได้ยิน ลุงคนขับจึงขยับตัวเอื้อมมือไปสะกิดผู้โดยสารคนที่ยืนบังกระจกมองข้าง โดยที่รถยังแล่นด้วยความเร็ว และเรื่องไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นโครม!!! ลุงคนขับล้มลง ทำให้มือที่จับพวงมาลัยอยู่นั้น หักเข้าชนต้นไม้ข้างทางเข้าอย่างจัง ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บกว่า 20 รายวันที่ 23 เมษายน 2556 บริษัทประกันภัยที่รับทำประกันไว้กับรถเมล์คันที่เกิดเหตุ ได้นัดผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บมาเจรจาค่าเสียหาย วันนั้นเป็นวันธรรมดาผู้บาดเจ็บแต่ละคนต้องลางานมา  เมื่อผู้จัดการบริษัทประกันภัยมาถึง“เอ้า .. ใครก่อนดีครับ?” ผู้จัดการบริษัทประกันภัยตะโกนร้องเรียกเหมือนมาแจกของที่โรงทาน“ชั้นก่อนละกัน เดี๋ยวต้องรีบไปเปิดร้านขายของต่อ” หญิงคนหนึ่งยกมือแสดงตัว “300 พอมั้ย” ผู้จัดการคนนั้นเสนอตัวเลข โดยไม่ถามถึงความเสียหาย หรืออาการบาดเจ็บเลยแม้แต่น้อย“บ้าเหรอ  300  ชั้นหน้าบวมปูดไปตั้งหลายวันนะ ไปทำงานก็ไม่ได้ ชั้นมีใบเสร็จนะ”“ใบเสร็จนี้มันใช้ไม่ได้ มันไม่ได้ลงวันที่ .. เอางี้ ผมให้ 1,000 บาท จบเรื่องเลย ถือว่าผมช่วยละกัน” ผู้จัดการคนเดิมตอบ“ 1,000 ก็ได้ ชั้นกลัวเสียเวลา” หญิงคนนั้นตอบเมื่อตกลงตัวเลขเงินค่าเสียหายกันได้ด้วยวิธีแบบที่ว่ามา ผู้จัดการบริษัทประกันภัย จะส่งเรื่องให้ลูกน้องอีก 2-3 คน ดำเนินการเรื่องการประนีประนอมยอมความ และจัดการให้ผู้เสียหายแต่ละรายลงลายมือชื่อยอมให้รับเงินและไม่ติดใจเอาความทางคดีทั้งแพ่งและอาญาต่อไป จากนั้นผู้จัดการบริษัทประกันภัยก็ทำสิ่งที่เรียกว่า การเจรจาเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บ” แบบเดิมซ้ำๆ จนครบทั้ง 20 คนคำถามคือ มาตรฐานการชดเชยเยียวยาของประกันภัยในอุบัติเหตุรถโดยสารอยู่ตรงที่ไหน? อยู่ที่ความเขี้ยวของตัวแทนประกัน หรือควรอยู่บนที่ตั้งแห่งความเสียหายที่เกิดขึ้น แนวทางแก้ไขปัญหาดร.สุเมธ  องกิตติกุล  แห่งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการศึกษา “อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ : ผลกระทบ การประกันภัย การชดเชยเยียวยา” ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ได้เปิดเผยว่า การชดเชยเยียวยาต่อผู้ประสบอุบัติเหตุจากระบบประกันภัยนั้นพบว่า วงเงินค่าเสียหายยังไม่มีความเหมาะสมเท่าที่ควรนอกจากนั้น ยังพบปัญหาการขาดการเชื่อมโยงระหว่างบริษัทประกัน ผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตอย่างบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)  และบทบาทของบริษัทประกันมีอยู่น้อยในการสร้างระบบตรวจสอบ และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารจากการกำหนดเบี้ยประกัน ดังนั้นจึงเสนอให้มีการกำกับดูแลผู้ประกอบการ ทั้งผู้ประกอบการที่ถือใบอนุญาตและผู้ประกอบการที่ร่วมบริการอย่างเข้มงวด รวมถึงให้เข้มงวดในการให้ใบอนุญาตที่พิจารณาถึงประวัติด้านอุบัติเหตุด้วย นอกจากนี้ยังต้องสร้างกลไกของบริษัทประกันภัยในการกำหนดเบี้ยที่สะท้อนความเสี่ยงของผู้ประกอบการแต่ละรายด้วยนอกจากนี้ ดร.สุเมธได้เสนอให้มีการปรับปรุงเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายสำหรับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือประกันภัยภาคบังคับที่รถยนต์ทุกคันต้องทำ โดยให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากไม่เกิน 15,000 บาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 150,000 บาท ส่วนค่าชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร ให้กับจาก 200,000 บาทเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 บาท และหากสูญเสียอวัยวะหรือพิการ ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตควรปรับให้ได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น 240,000 บาทและระบบประกันภัย ควรปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคปัญหาในการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ประสบอุบัติเหตุ ได้แก่ ความล่าช้าในการพิสูจน์ถูก-ผิด และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง การติดต่อประสานงานที่ไม่มีใบเสร็จ ทำให้ใช้เรียกร้องค่าเสียหายได้ยากด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 นิสสัน อัลเมลา (บางคัน) กว้างแถมเปียก

เชื่อว่าเวลาเราซื้อรถยนต์ สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือ ขอให้ได้รถดีเหมือนที่โฆษณา และเราก็เชื่อว่ารถดีมีเป็นร้อยที่ถอยออกจากโรงงานในแต่ละวัน แต่รถคุณภาพต่ำต้อยก็มีสิทธิหลุดออกมาได้เหมือนกัน ถ้าคุณภาพบริการหลังการขายไม่ดี ความชอกช้ำชีวีมีถึงผู้บริโภคแน่นอนนี้คือคำโฆษณา...“นิสสัน อัลเมลา อีโคคาร์ 4 ประตูคันแรกของเมืองไทย”“ความสุขที่กว้างขึ้น ความภาคภูมิที่สัมผัสได้ตั้งแต่แรกเห็น”“ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ออกแบบอย่างภูมิฐานเหนือระดับพร้อมสปอย์เลอร์หลังเพิ่มประสิทธิภาพทางการขับขี่ตัวถังเน้นความโอ่อ่า เพื่อให้ห้องโดยสารภายในกว้างขวางผ่อนคลายพร้อมขยายพื้นที่ช่วงขาให้ยาวขึ้นนอกเหนือความงามคือความใส่ใจเพื่อผู้โดยสารนั่งสบายทุกอิริยาบถ” และนี้คือความจริง.......“ซื้อนิสสัน อัลเมลา ป้ายแดง ใช้งานมาได้ 4 เดือนค่ะ ตอนนี้พบปัญหา น้ำเข้าขณะล้างรถและตอนจอดตากฝน” คุณรฐาผู้บริโภคของเราบอก“น้ำเข้ารถ 2 จุด คือที่ประตูหลังด้านขวาและเข้าทางกระโปรงหลัง ได้เข้าปรึกษากับทางศูนย์ที่ออกรถมาว่าจะรับผิดชอบให้เราอย่างไร เราไม่ได้คำตอบ โทรไปเซลล์ไม่รับสาย”คุณรฐาพยายามช่วยเหลือตัวเองด้วยการไปสอบถามกับศูนย์บริการอีกแห่ง ได้รับการยืนยันว่าเกิดจากกระบวนการผลิตต้องส่งเคลมโรงงาน แต่ก็ไม่มีการดำเนินการต่อไปหลังจากนั้น“ไม่มีคำตอบว่าจะมีความรับผิดชอบเมื่อไรและอย่างไร เราได้รับบริการที่แย่มากมาตั้งแต่ต้น เราควรปฏิบัติอย่างไรในกรณีนี้คะ” คุณรฐาถาม แนวทางแก้ไขปัญหาจะเห็นว่าคำโฆษณานั้นดูดีเสมอ โดยเฉพาะกับการขายรถยนต์ราคาเป็นแสนๆ แต่การเกิดปัญหาเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่เด็กบางคนเรียกว่า “เรื่องกะโหลกกะลาแค่เนี้ย” เมื่อไม่ได้รับการแก้ไขปัญหากะโหลกกะลามันก็จะบานปลายจนส่งผลต่อชื่อเสียงของสินค้าได้ไม่ยาก และหวังว่าคุณรฐาจะไม่ใช้รถคันนี้ตอนช่วงน้ำท่วม นึกเห็นภาพแล้ว...ความเสียหายคงบาน...วิธีแก้ปัญหานี้ คือ การเจรจาให้ผู้ขายรถยนต์ต้องรับรถไปตรวจและส่งซ่อมโดยเร็ว และผู้ขายสินค้าก็ไม่ควรอิดเอื้อนบ่ายเบี่ยงทำตัวเหมือนคนท้องผูก ปิดประตูห้องน้ำนั่งขยี้กระดาษชำระเล่น หรือไม่ยอมรับสาย ไม่ยอมพบปะพูดจากับลูกค้า เพราะคิดว่าเป็นเรื่องหมูในอวย ขายรถได้แล้วเป็นอันจบศูนย์รถแห่งไหนเลี้ยงพนักงานขายแบบนี้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งเจ๊งไว สาธุ...ทำไมถึงแช่งกันอย่างนั้น เพราะยิ่งพนักงานขายแชเชือนแช่บ๊วยปล่อยปัญหาให้ช้าเนิ่นนานไป ก็ยิ่งจะทำให้ผู้บริโภคเกิดอารมณ์ขุ่นมัวสะสมพอกพูนแปรสภาพเป็นการเรียกค่าเสียหายผ่านการฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้สำหรับผู้บริโภคก็อย่าเพิ่งลัดขั้นตอนใจร้อนเอาเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอเปลี่ยนรถใหม่หรือให้ซื้อรถคืนเลย เพราะฟ้องไปหากศาลท่านเห็นว่าน่าจะซ่อมได้ท่านก็คงสั่งให้ไปซ่อมก่อน ซ่อมได้ก็จบกันไป หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไปแล้วเอากลับมาใช้อีก มองแล้วอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกายของผู้บริโภคท่านถึงจะพิจารณาให้เรียกคืนรถและชดใช้เงินค่าซื้อรถกันได้ สรุปว่าทุกอย่างมีขั้นตอนดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคควรทำเมื่อเกิดปัญหาแนวๆ นี้ คือ นำสินค้าที่เสียหายหรือชำรุดบกพร่องโดยที่ไม่ได้เกิดจากการความบกพร่องจากการใช้งานของผู้บริโภคส่งให้ผู้ขายสินค้าตรวจเช็คและร้องขอเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของตนเองเพื่อขอให้ผู้ขายสินค้าซ่อมสินค้าที่ชำรุดบกพร่องโดยทันที และเริ่มนับเวลาค่าเสียหายที่ขาดโอกาสในการใช้รถนับแต่วันที่ส่งซ่อมทันที ไม่ได้หวังว่าจะเอามาคิดเป็นเงินจริงจังก็ได้ แต่คิดเป็นตัวเลขเพื่อใช้กดดันเป็นปฏิกิริยาเร่งให้มีการซ่อมสินค้าโดยเร็ว ซ่อมได้ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมไม่เยิ่นเย้อยาวนานเกินไปก็สมควรจบปัญหากัน แต่หากซ่อมไม่ได้หรือซ่อมไม่หายจึงค่อยเรียกร้องให้เปลี่ยนสินค้าใหม่หรือคืนเงินกัน หากผู้ขายสินค้าไม่ยินยอมจึงค่อยไปฟ้องร้องต่อศาลในคดีผู้บริโภคได้ ว่ากันเป็นกระบวนยุทธ์อย่างนี้ ปัญหายุติเร็วแน่นอน ที่สำคัญยุติ แบบยุติธรรมด้วย แต่อย่าลืมเรื่องอายุความของคดีที่มีระยะเวลาแค่ 1 ปี นับแต่วันที่รับรู้ถึงความเสียหาย ต้องฟ้องร้องภายในกรอบระยะเวลานี้ หากพ้นระยะเวลานี้ไปก็หมดสิทธิที่จะเรียกร้องความรับผิดกันได้หลังจากได้รับคำแนะนำไปคุณรฐาเธอจึงเริ่มดำเนินการเจรจาตามกระบวนยุทธพิทักษ์ผู้บริโภค ไม่นานศูนย์นิสสันลาดพร้าวก็ได้ทำการตรวจสอบสภาพความชำรุดบกพร่องของรถ จนทราบสาเหตุที่น้ำรั่วไหลเข้ารถว่าเป็นเพราะขอบยางจากกระโปรงท้ายรถติดตั้งไม่เรียบร้อย และไม่มีการปิดฝาท่อระหว่างท้ายรถกับห้องโดยสารทำให้น้ำรั่วไหลเข้าไปได้ทั้งในเวลาล้างรถหรือตอนฝนตก จึงได้ทำการซ่อมแซมแก้ไขให้“เมื่อรับรถออกมาเราได้ทดสอบเบื้องต้นโดยการเอาน้ำฉีด น้ำไม่เข้าแล้ว...ขอขอบคุณทางมูลนิธิฯมากๆ ค่ะ ที่ให้คำปรึกษาดีมากๆ ขอบคุณค่ะ...”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 135 รถถูกน้ำท่วม ประกันปัดจ่ายอ้างซ่อมรถอู่นอกเครือ

คุณกชนุช มีบ้านอยู่ ต.บางบัวทอง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ครั้งน้องน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54 ทั้งครอบครัวสำลักน้ำไปเต็มๆ ไม่เว้นแม้แต่รถเก๋งคันงาม ตราวอลโว่ พยายามพาขึ้นที่สูงก็ไม่รอด โดนเข้าไปถึงเบาะทีแรกคิดว่าจะเบาใจได้เพราะรถคันนี้ทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ไว้กับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างทิพยประกันภัย เมื่อน้ำลดในปลายเดือนพฤศจิกายน 2554 จึงนำรถเข้าศูนย์วอลโว่ รามอินทรา เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย โดยมีพนักงานฝ่ายเคลมประกันของทิพยประกันภัยมาร่วมตรวจสภาพและถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน พร้อมออกใบเคลมประกันให้เบื้องต้น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง พร้อมทำความสะอาดเบาะและพรมที่ถูกน้ำเน่าแช่ขังอยู่นาน เสียค่าใช้จ่ายรวม 12,500 บาทเศษ ส่วนความเสียหายอื่นๆ ที่เหลือ ศูนย์วอลโว่ฯ จะจัดทำใบเสนอราคาส่งให้ทิพยประกันภัยพิจารณาต่อไป“วันรุ่งขึ้น ได้ติดต่อสอบถามไปที่ทิพยประกันภัยเพื่อขอทราบผลการพิจารณา คุยกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคา ใช้เวลาคุยอยู่นานค่ะ ถึงทราบว่าการทำประกันรถของดิฉันเป็นประกันซ่อมอู่ไม่ใช่ซ่อมห้าง คือนำรถเข้าซ่อมกับศูนย์บริการของวอลโว่ไม่ได้”“ดิฉันต้องการให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด จึงได้สอบถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาว่า มีอู่ในเครือของบริษัทฯ อยู่ที่ไหนบ้าง เจ้าหน้าที่ฝ่ายคุมราคาได้เอ่ยชื่อศูนย์บริการมา 4 แห่ง ดิฉันยังได้ย้ำว่า ขอเป็นอู่ในเครือ ก็ยังได้รับการเสนอชื่อศูนย์เดิม 4  แห่งนั้น ทำให้ดิฉันเข้าใจว่าเป็นศูนย์ที่เป็นอู่ในเครือ ของบริษัทฯ จึงตัดสินใจนำรถเข้าไปตรวจเช็คและซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 ของบริษัท ทีทีไอ โกลเบิล ออโตโมทีฟ จำกัด”สี่สัปดาห์ต่อมา คุณกชนุชได้ติดต่อไปที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 เพื่อขอรับรถที่ซ่อม จึงได้ทราบข่าวร้ายว่าศูนย์ดังกล่าวไม่ได้เป็น “อู่ในเครือ” ของบริษัททิพยประกันภัยฯ ตามที่เข้าใจ “ที่ทราบก็เพราะศูนย์สุขุมวิท 66/1 บอกกับดิฉันว่า จะต้องจ่ายส่วนต่างค่าซ่อม 40% ค่ะ” คุณกชนุชบอกสถานการณ์ตอนนั้น คุณกชนุชก็ยังไม่รู้จะทำยังไงก็ต้องสำรองจ่ายไปอีกครั้งเป็นเงิน 55,400 บาทเศษ แต่ก็เข้าใจว่าบริษัทประกันภัยควรต้องรับผิดชอบค่าซ่อมทั้งหมดเพราะคนของประกันภัยเป็นคนบอกเองว่าเป็นอู่ในเครือ แล้วรถก็ยังซ่อมไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะศูนย์แจ้งว่าต้องรออะไหล่บางชิ้นก่อน จนหลังปีใหม่ คุณกชนุชได้นำรถกลับไปซ่อมที่ศูนย์สุขุมวิท 66/1 อีกครั้ง เพราะศูนย์ฯแจ้งมาว่าอะไหล่ส่งมาถึงแล้ว“หลังจากเอารถเข้าศูนย์ฯ ดิฉันได้ติดตามอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่าจนถึงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ฯ ไม่ได้ดำเนินการอะไรให้เลย อ้างว่าบริษัทประกันภัยยังไม่อนุมัติการซ่อม เมื่อสอบถามไปที่บริษัทประกันภัยคุยกับเจ้าหน้าที่คนเดิมก็บอกว่า ส่งแฟกซ์ใบอนุมัติไปที่ศูนย์ฯ แล้ว แต่พอสอบถามที่ศูนย์ฯ ศูนย์ฯ ก็บอกว่ายังไม่ได้รับ”“เมื่อแจ้งไปที่บริษัทประกันภัยว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับ เจ้าหน้าที่คนเดิมของบริษัทประกันภัยก็บอกว่าจะจัดการให้” คุณกชนุชเล่าไปกัดฟันไปด้วยความโกรธและฉุน เพราะจับได้ว่าเจ้าหน้าที่บริษัทประกันตุกติกสามวันหลังจากนั้น คุณกชนุชคาดว่ารถน่าจะซ่อมเสร็จแล้วจึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์ซ่อมอีกครั้ง ปรากฏว่าศูนย์ฯ ยังไม่ได้รับเอกสารการอนุมัติซ่อมเลย คุณกชนุชจึงติดต่อไปที่บริษัทประกันภัย เจ้าหน้าที่คนเดิมบอกว่า “ได้คุยกันแล้ว ไม่ต้องรอแฟกซ์เอกสารให้ เพราะงานยุ่ง”คุณกชนุช เธอก็อดทนมาก โทรศัพท์กลับไปที่ศูนย์ฯ อีกครั้ง ได้คำตอบจากศูนย์ฯ ว่า ถ้าไม่มีเอกสารยืนยันจากบริษัทประกันภัยก็ไม่สามารถซ่อมได้ เพราะเกรงจะมีปัญหาการเบิกจ่ายในภายหลังคุณกชนุชเธออดทนถึงที่สุดก็สุดทน จึงประกาศวาจาต่อหน้าบานกระจกว่า “เรื่องนี้มันต้องถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแน่!”“ดิฉันคิดว่า เจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย มีพฤติกรรมไม่ตรงไปตรงมา ปัดความรับผิดชอบ ด้วยการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน ทำให้ดิฉันเข้าใจผิดในสาระสำคัญ สร้างความเสียหายแก่ดิฉันที่ต้องจ่ายเงินค่าซ่อม รวมถึงพฤติกรรมบ่ายเบี่ยง ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการ จนถึงขณะนี้รถยังไม่ได้ซ่อม ไม่สามารถใช้รถได้ จึงขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ช่วยดำเนินการให้บริษัททิพยประกันภัยรับผิดชอบความเสียหายครั้งนี้ด้วยค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหามูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปที่บริษัททิพยประกันภัย แจ้งข้อเรียกร้องของคุณกชนุช ที่ยินดีจะชำระค่าส่วนต่างของค่าซ่อม 40% แต่ขอให้บริษัทชดเชยค่าเสียหายที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถเป็นเงิน 30,000 บาท ทิพยประกันภัยให้คำตอบกลับมาว่า เรื่องค่าซ่อมน่าจะจัดการได้ แต่อาจติดปัญหาเรื่องค่าชดเชยเยียวยา ขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเจรจากับผู้ร้องอีกครั้งหลังทราบข้อมูล คุณกชนุช จึงแจ้งข้อเสนอใหม่ คือ ไม่ติดใจเรื่องค่าชดเชยแต่ขอให้บริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการซ่อม 100% และขอให้คืนเงินค่าซ่อมที่ได้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วจำนวน 67,900 กว่าบาทด้วยทิพยประกันภัยขอเวลาสามวันจะให้คำตอบ วันที่สามตามกำหนด มูลนิธิฯ ได้โทรสอบถามทันที ได้รับคำตอบว่า บริษัทฯ ได้อนุมัติตามที่ผู้ร้องต้องการในที่สุดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ปี 2555 คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงได้มาทำบันทึกข้อตกลงยุติเรื่องที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยบริษัททิพยประกันภัย ยินดีรับผิดชอบคืนค่าซ่อมรถ 67,900 กว่าบาทที่คุณกชนุชสำรองจ่ายไป และรับผิดชอบค่าซ่อมรถตามใบเสนอราคาของศูนย์ฯ ทั้งหมดอีก 98,293 บาทคุณกชนุช ขอบคุณในความรับผิดชอบของบริษัททิพยประกันภัย และขอบคุณความช่วยเหลือของมูลนิธิฯ และรับปากว่า จะช่วยมูลนิธิฯ ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกอุปถัมภ์นิตยสารฉลาดซื้อให้กับโรงเรียนจำนวน 19 โรงเรียน เพื่อเป็นมงคลชีวิตและครอบครัวของตนเองต่อไปสาธุ...สาธุ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถในขณะอยู่ในประกันมีสิทธิเลือกยี่ห้อมั้ย?

ตอนกำลังเผชิญหน้าน้ำท่วมใหญ่ มีคำแนะนำมากมายเรื่องรถยนต์ หนึ่งในนั้นก็คือ กรณีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ที่นักวิชาการด้านรถยนต์เขาแนะนำว่า หากน้ำท่วมรถไม่มาก แต่แช่น้ำอยู่นานก็ควรถ่ายน้ำมันเครื่องเสียเพื่อให้มั่นใจในการใช้รถต่อไปทีแรกได้ยินเรื่องนี้ก็ไม่ได้คิดอะไร เปลี่ยนก็เปลี่ยน  แต่เมื่อมีน้องคนหนึ่งโทรมาปรึกษาว่า  น้องเพิ่งซื้อรถยนต์ยี่ห้อมิตซูบิชิมาใช้ได้ประมาณหนึ่งปี   โดยในข้อสัญญาระบุว่ามีการประกันการใช้รถ ระยะทางจำนวน 150,000 กม.ในระยะเวลา 5 ปี  และฟรีค่าบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วย      ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รถยี่ห้อนี้ ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องกับศูนย์บริการของมิตซูเองเท่านั้น เพราะหากไปถ่ายที่อื่นหากเกิดอะไรขึ้นอาจเป็นเหตุให้บริษัทมิตซู  อ้างได้ว่าผู้ซื้อผิดกติกาของมิตซู และอาจถูกปฏิเสธการรับประกันดังกล่าวได้  ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาผู้ซื้อก็จะตัดสินใจไปถ่ายน้ำมันเครื่องที่ศูนย์ของมิตซู  (ประหยัดค่าจ้างถ่ายน้ำมันด้วย)น้องคนที่มาปรึกษามีบ้านอยู่ที่สมุทรสงครามสะดวกสุดก็จะถ่ายที่สมุทรสงคราม  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ศูนย์มิตซูบิชิสมุทรสงคราม น้องบอกว่าไปถ่ายครั้งแรก เสียค่าใช้จ่ายไปเกือบ 3,000 บาท(ใช้น้ำมันเครื่องเชลล์) น้องก็เลยตรวจสอบสเป็กน้ำมันว่าใช้สเป็กไหน   และมีการไปเทียบราคาเพื่อจะได้ประหยัดในการถ่ายครั้งต่อไป(น้องเขาก็ฉลาดซื้อเหมือนกัน)  น้องบอกว่าน้องได้ซื้อน้ำมันเครื่องของ ปตท.ในสเป็กเดียวกัน  ซึ่งมีค่าใช้จ่ายราวๆ 1,300  บาทมาให้ศูนย์ฯ เปลี่ยนให้  แต่ศูนย์ฯ ปฏิเสธที่จะถ่ายให้บอกว่าศูนย์ฯ ขอสงวนสิทธิ ไม่ให้ลูกค้านำน้ำมันจากภายนอกเข้ามา  และอ้างว่าน้ำมันที่น้องซื้อมาเองไม่ดี  (อ้าวปตท.ว่าไง!) น้องก็ใช้สิทธิผู้บริโภค โดยการโทรหาบริษัทมิตซูส่วนกลางเพื่อสอบถามเรื่องการสงวนสิทธิของศูนย์บริการ ก็ได้รับคำตอบว่าการสงวนสิทธิไม่ใช่นโยบายของมิตซู  แต่เป็นนโยบายของแต่ละศูนย์ฯ เอง ศูนย์ฯ บอกว่างั้นก็ไปถ่ายศูนย์ฯ อื่นล่ะกัน  น้องก็บอกว่าบ้านอยู่ที่นี่ทำไมต้องเสียน้ำมันขับไปถ่ายจังหวัดอื่น  ศูนย์ฯ ก็จะยอมให้น้องคนเดียวเป็นกรณีพิเศษ  ซึ่งน้องได้ตอบปฏิเสธไปเพราะน้องบอกว่าที่น้องเรียกร้องสิทธิไม่ใช่แค่แก้ไขให้คนร้องคนเดียว  แต่ต้องปฏิบัติกับผู้ใช้บริการทุกคนอย่างเสมอภาพไม่ใช่เลือกปฏิบัติน้องถามอีกว่า...การที่ศูนย์ฯ สงวนสิทธิไม่ยอมให้ผู้บริโภคเลือกสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่ ?      เอาละซิ !   คำถามนี้เป็นคำถามที่ท้าทายมาก.... เพราะการกระทำของศูนย์ฯ ผิด พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 4  สิทธิผู้บริโภค อนุ 2 ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกซื้อสินค้าและบริการ   ซึ่งชัดเจนว่าหรือศูนย์บริการมิตซู สมุทรสงคราม ออกระเบียบละเมิดกฎหมาย โดยใช้สัญญามาผูกมัดให้ผู้บริโภคต้องยินยอม  เรื่องนี้ผู้เขียนแนะนำให้น้องไปร้องเรียนที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคสมุทรสงคราม(ซึ่งไม่น่าจะทำงานยาก) เพื่อให้เป็นกรณีตัวอย่างให้ผู้ประกอบการรายอื่นที่กำลังละเมิดสิทธิผู้บริโภคเช่นนี้อีก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 ผู้บริโภคร้องฟอร์ดเฟียสต้าเหม็นไหม้

คุณลลิตา ชาวจังหวัดพิจิตร ได้ซื้อรถเก๋งฟอร์ดเฟียสต้าสีน้ำเงินจากศูนย์ฟอร์ดพิษณุโลกในราคา 699,000 บาท และทำสัญญาเช่าซื้อผ่านธนาคารแห่งหนึ่ง ผ่อนได้ไม่กี่เดือนรถก็มีปัญหาคุณลลิตาบอกว่า ตั้งแต่ได้รับรถมาก็ใช้รถตามปกติ ไม่เคยทำการดัดแปลงใดๆ กับรถเลย แต่ต่อมาไม่กี่เดือนพบอาการผิดปกติของรถ คือขณะที่ขับรถอยู่ได้กลิ่นเหม็นไหม้ที่หน้าเครื่องยนต์ จึงรับนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์ฟอร์ดพิจิตร ศูนย์น แจ้งว่าไม่พบสาเหตุ อาจจะเป็นที่ผ้าเบรค ช่างก็ได้ถอดผ้าเบรคมาขัดและเช็ด แต่อาการเหม็นไหม้ก็ยังมีอยู่“ช่างบอกว่าให้นำรถกลับไปใช้ก่อน ถ้าอาการยังไม่หายให้นำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์ฟอร์ดพิษณุโลกที่ได้ซื้อรถมา”เมื่อนำรถกลับมาใช้อาการก็เป็นเหมือนเดิม คุณลลิตาจึงนำรถไปตรวจเช็คที่ศูนย์ฟอร์ดพิษณุโลก ในวันนั้นช่างรับรถและเปิดห้องเครื่องปรากฏว่ามีควันลอยขึ้นมา ช่างบอกว่าต้องทิ้งรถไว้เพราะไดร์ชาร์ตไหม้ ช่างบอกว่าจะเปลี่ยนให้ใหม่แต่ต้องรออะไหล่มาจากกรุงเทพฯ“ดิฉันไม่มีรถใช้เพราะต้องไปรับส่งลูกที่โรงเรียน และต้องใช้รถยนต์ขับไปทำงานทุกวัน จึงขอรถใช้ระหว่างซ่อมกับทางศูนย์ฯ”ศูนย์ฯ บอกว่าไม่มีรถสำรองให้ใช้ และไม่มีโครงการนี้ ! เมื่อเจอคำตอบแบบไร้เยื่อขาดใย คุณลลิตาก็ไม่รู้จะทำยังไง ได้แต่ทิ้งรถไว้ให้ช่าง ส่วนตัวเองก็กลับมาบ้านและคอยติดตามถามไถ่ความคืบหน้าการซ่อมรถเป็นระยะๆคุณลลิตาส่งรถเข้าศูนย์ฯ ไปตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2554 จนถึงวันที่ 19 กันยายน ปีเดียวกัน ช่างของศูนย์ฯ ก็ยังไม่สามารถชี้ชัดฟันธงได้ว่าปัญหาที่รถมีกลิ่นไหม้เวลาวิ่งนั้นเกิดจากอะไรแน่“ช่างบอกว่าเปลี่ยนไดร์ชาร์ตให้ใหม่แล้ว พอทดลองติดเครื่องและเปิดแอร์อาการก็ยังเหมือนเดิม พอถึงวันที่ 19 กันยายน ช่างประจำศูนย์ฯ จึงโทรมาแจ้งว่าพบสาเหตุแล้ว แต่บอกว่าอาจเป็นที่แผ่นครัช เบรก หรือเกียร์ แต่ก็ไม่ได้ระบุสาเหตุที่แน่ชัด”ช่างบอกว่าต้องถอดออกมาดูก่อน ทางคุณลลิตาก็มองว่าเป็นการถอดไปเรื่อยๆ  จึงเกิดความไม่มั่นใจในคุณภาพของรถคันนี้ และมองว่ารถคันนี้ไม่มีความปลอดภัยในการใช้งาน จึงติดต่อไปที่ศูนย์ฟอร์ดฮอตไลน์เพื่อแจ้งขอให้เปลี่ยนรถคันใหม่ให้“ฟอร์ดฮอตไลน์บอกว่า ทางบริษัททำได้แค่การเปลี่ยนอะไหล่ให้ คงจะไม่เปลี่ยนรถให้ใหม่เพราะรถได้มีการใช้งานแล้ว ดิฉันจึงได้ถามว่า ซ่อมแล้วจะมีอะไรรับรองได้ว่ามันจะไม่กลับมาเป็นอีก และถ้าเสียอีกจะทำอย่างไร”“เสียอีกก็ต้องซ่อมอีก รถเสียก็ต้องซ่อม” ฟอร์ดฮอตไลน์ตอบคำถามของคุณลลิตาอย่างชัดถ้อยชัดคำพอได้รับคำตอบแบบนี้ คุณลลิตาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอให้ช่วยเจรจากับทางฟอร์ดขอรับเงินดาวน์พร้อมค่างวดรถจำนวน 272,215 บาทที่ได้จ่ายไปแล้วคืน แนวทางแก้ไขปัญหาหลังจากการร้องเรียนผ่านมูลนิธิฯ ครั้งแรกคุณลลิตาต้องการให้ฟอร์ดเปลี่ยนรถคันใหม่ให้ และต้องการเรียกร้องค่าขาดโอกาสในการใช้รถในระหว่างซ่อมด้วย แต่เมื่อคุณลลิตาได้มีการเจรจากับศูนย์ฟอร์ดพิษณุโลกในเวลาต่อมา ก็ได้ข้อสรุปที่น่าพึงพอใจคือ ศูนย์ฟอร์ดฯ จะทำการเปลี่ยนไดร์ชาร์ตและยกชุดเกียร์ให้ใหม่ และจะมีการรับประกันอะไหล่ให้ 4 ปี หรือที่ระยะทาง 120,000 กิโลเมตร และฟรีโปรแกรมเช็คระยะ 3 ปี 100,000 กิโลเมตร ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว คุณลลิตาจึงได้รถกลับมาใช้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 และขอยุติเรื่องร้องเรียนในท้ายที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 เจ็บใจอยากฟ้องบริษัทลิสซิ่ง สงสัยแกล้งขายรถทอดตลาดราคาต่ำ

ทั้งที่ตัดสินใจถวายรถคืนบริษัทเช่าซื้อไปแล้ว ก็ยังต้องถูกฟ้องให้ชดใช้หนี้ค่าเช่าซื้อที่ขาดอีก และมาชีช้ำซ้ำอีกครั้ง ที่บังเอิญไปเจอรถยนต์ตัวเองถูกขายต่อให้คนอื่นในราคาที่สูงกว่าราคาขายทอดตลาดเกือบแสนคุณภูวดล เขียนจดหมายมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยความขมขื่นใจเป็นล้นพ้นว่า เมื่อกลางปี 2551 ตนได้เช่าซื้อรถยนต์ฮอนด้าแอคคอร์ดมือสองกับบริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จำกัด(มหาชน) ในราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเป็นเงิน 475,000 บาทเศษ ผ่อน 48 งวด งวดละ 9,911 บาท(ในจดหมายไม่ได้บอกว่าผ่อนไปได้กี่งวด แต่เมื่อตรวจดูคำฟ้องที่บริษัทฟ้องเรียกค่าเสียหายกับคุณภูวดล ได้ความว่ามีการส่งค่างวดไปเพียงแค่สองงวดเท่านั้น จากนั้นก็ไม่ได้ส่งอีกเลย)หลังจากถูกติดตามทวงถามยึดรถคืนตั้งแต่ปลายปี 2551 ท้ายสุดคุณภูวดลตัดสินใจบอกบริษัทฯ ไม่ต้องส่งคนมายึดรถแล้ว เดี๋ยวจะเป็นคนส่งมอบรถยนต์คืนให้เอง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 คุณภูวนัยส่งมอบรถยนต์คืนให้บริษัทลิสซิ่ง ต่อมาวันที่ 9 มีนาคม ปีเดียวกัน บริษัทฯ มีหนังสือบอกกล่าวการขายทอดตลาดรถยนต์คันที่ส่งคืนมาถึงคุณภูวดลด้วยจดหมายลงทะเบียนตอบรับ และได้นำรถออกขายทอดตลาดในวันที่ 13 มีนาคม 2552 หรืออีก 4 วันต่อมา ในราคา 300,000 บาท ให้กับบุคคลภายนอกรายหนึ่งไปจากนั้นบริษัทฯ ได้นำเงินในส่วนที่ขายรถได้มาหักลบกลบหนี้ค่าเช่าซื้อที่ขาดอยู่ ปรากฏว่าก็ยังขาดอยู่อีก 141,000 บาท บริษัทฯ จึงยื่นฟ้องคุณภูวดลเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ และมีลูกตามน้ำคือ ค่าติดตามทวงถาม 7,200 บาท ค่าขาดประโยชน์นับแต่วันที่ผิดนัดค่างวดจนถึงวันที่ได้รถคืนเป็นเวลา 5 เดือนอีก 45,000 บาท รวมเป็นเงินค่าเสียหายที่คุณภูวดลถูกฟ้อง 193,200 บาทเมื่อถูกฟ้องคุณภูวดลก็ไม่รู้ว่าจะต่อสู้คดียังไง ศาลจึงมีคำพิพากษาให้เขาชดใช้ค่าเสียหายให้กับบริษัทลิสซิ่งแห่งนี้ ในท้ายที่สุด แต่ที่ทำให้คุณภูวดลชีช้ำกะหล่ำปลีเพิ่มขึ้นก็คือ วันหนึ่งคุณภูวดลบังเอิญไปเจอรถยนต์คันที่ตัวเองเคยเช่าซื้ออยู่บนถนน ก็ตามไปจนได้พูดคุยกับผู้ที่ครอบครองรถอยู่ ผู้ครอบครองรถได้ให้สำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายรถมาให้ดูพบว่า มีการขายในราคา 393,000 บาท เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2552 คุณภูวดลถึงกับอึ้งและคิดว่าการขายทอดตลาดเมื่อ 13 มีนาคม 2552 นั้นมีการฮั้วราคากันระหว่างบริษัทลิสซิ่งกับคนซื้อ จึงเขียนจดหมายมาถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเมื่อกุมภาพันธ์ 2554 สอบถามว่า จะฟ้องบริษัทลีสซิ่งแห่งนี้เป็นคดีผู้บริโภคได้หรือไม่ที่ขายรถทอดตลาดได้ในราคาถูกเกินไป ทำให้ตนได้รับความเสียหายต้องชดใช้หนี้ส่วนต่างที่สูงเกินสมควร แนวทางแก้ไขปัญหา ต้องบอกว่าผู้บริโภคท่านนี้ตื่นตัวช้าไปนิดนะขอรับ เหตุเกิดเมื่อปี 52 แต่มาเขียนถามกันในปี 54 เจออย่างนี้ก็ต้องบอก “อย่างนี้ก็มีด้วย” ก็คงให้ได้แต่คำแนะนำและชี้จุดบกพร่องผิดพลาดให้ทราบไว้เป็นบทเรียนสำหรับท่านอื่นๆ ครับ จุดที่หนึ่ง การที่ผู้เช่าซื้อรถยนต์จะขอบอกเลิกสัญญา และคืนรถที่เช่าซื้อนั้น ควรมีการตรวจสอบสภาพรถและประเมินราคารถก่อนทำการคืนเพื่อใช้เป็นหลักฐานจุดที่สอง การนำรถที่ยึดมาไปขายให้แก่บุคคลอื่นนั้น จากข้อเท็จจริงที่ได้รับทราบ พอที่จะบอกได้ว่าบริษัทลิสซิ่งแห่งนี้มีการกระทำที่ผิดสัญญาต่อผู้บริโภค คือระยะเวลาในการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือกับระยะเวลาที่นำรถออกขายทอดตลาดห่างกันแค่ 4 วันเท่านั้น อันนี้เป็นข้อพิรุธ ในขณะที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้กำหนดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นสัญญาควบคุมและกำหนดให้ระยะเวลาการบอกกล่าวก่อนนำรถออกขายจะต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลค่าหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ จุดที่สาม เมื่อมีการนำรถออกขายทอดตลาด ผู้เช่าซื้อควรเข้าไปดูการประมูลด้วยตนเองว่า เป็นการประมูลขายทอดตลาดที่เหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่คณะกรรมการคุมครองผู้บริโภคควบคุมนั้นได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การที่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดส่วนที่ขาดนั้น ก็เฉพาะกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น ซึ่งหากผู้เช่าซื้อสามารถพิสูจน์ได้ว่าการประมูลหรือขายทอดตลาดรถเป็นไปในลักษณะที่ไม่เหมาะสม ละเมิดสัญญากับผู้เช่าซื้อตามที่ว่ามา ศาลก็อาจจะพิจารณายกฟ้องก็เป็นได้แต่เมื่อผู้บริโภคไม่ได้ทำอะไรเลยทั้งในขั้นตอนการตรวจสอบการประมูลหรือเข้าต่อสู้ในชั้นศาล ศาลก็จะพิพากษาไปตามข้อเท็จจริงที่ได้รับจากฝ่ายบริษัทฯ เท่านั้น และเป็นการยากที่จะดำเนินการฟ้องใหม่และอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องซ้ำไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะไม่ได้เข้าไปค้านในเวลาที่บริษัทฯ ขายทรัพย์ และไม่ได้เข้าต่อสู้คดีเมื่อถูกฟ้องนั่นเอง ส่วนผู้ที่มาซื้อรถในการขายทอดตลาดโดยซื้อในราคาถูกเพื่อไปขายเอากำไรในภายหลังก็สามารถทำได้โดยชอบ ดังนั้นผู้บริโภคที่ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หากพบว่าตนเองจะไม่สามารถผ่อนค่างวดรถต่อไปได้ และยังเหลือค่างวดอีกบานตะไท การขายดาวน์รถอาจเป็นทางเลือกหนึ่งแต่จะต้องไม่ทำการซื้อขายกันเองเด็ดขาด เพราะผู้ซื้อรถต่ออาจไม่ส่งค่างวดกับบริษัทเช่าซื้อตามที่รับปากก็ได้ ทางที่ดี...ควรจะจูงมือกันไปที่ไฟแนนซ์เปลี่ยนชื่อของผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในสัญญาเช่าซื้อให้เป็นชื่อและผู้ค้ำประกันของผู้ซื้อรถรายใหม่เสียให้เรียบร้อย อย่างนี้ปลอดภัยไม่โดนฟ้องร้องในภายหลังครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 จองรถป้ายแดงดาวน์ถูก ระวังจะเสียรู้นายหน้า

เรื่องนี้เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ไม่นานมานี้เองสายของวันที่ 23 มิถุนายน 2554 คุณพงศ์วรัฐและคุณภูวนาถ เดินทางเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยสีหน้าบอกบุญไม่รับ“เมื่อสามวันที่แล้วผมสองคนเพิ่งไปทำสัญญาจองรถกับบริษัทสปอร์ต คาร์มา เป็นรถฮอนด้าซีวิคกับรถโตโยต้า วีโก้ ป้ายแดงทั้งคู่ครับ” คุณพงศ์วรัฐเริ่มเรื่อง“แล้วรู้จักมักจี่กับบริษัทนี้ยังไงคะถึงเข้าไปจองรถกับเขาได้” เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคถาม“ก้อญาติของผมน่ะสิครับ เขาเพิ่งไปวางเงินจองรถนิสสัน มาร์ชกับเต๊นท์นี้มาเมื่อเดือนที่ผ่านมานี่เอง แต่เขายังไม่ได้รถนะครับ” คุณพงศ์วรัฐหมายถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยข้อเสนอจ่ายเงินดาวน์เพียง 15,000 บาท โดยวางเงินจอง 5,000 บาท  และจ่ายที่เหลือในวันรับรถอีก 10,000 บาท  แล้วออกรถได้เลย ทำให้คุณพงศ์วรัฐและคุณภูวนาถสองเพื่อนซี้ตาโต ควักเงินคนละ 5,000 บาทวางจองรถคันที่ต้องการทันทีในวันนั้น แม้จะผิดสังเกตและทักท้วงไปกับนายหน้าขายรถ ตรงที่ใบสัญญาจอง แทนที่จะระบุว่าเป็นสัญญาจองรถยนต์กับเขียนหัวกระดาษเป็นใบรับเงินค่าบริการที่มีข้อความว่าจะต้องเสียค่าบริการ 3,000 บาท ถ้าผู้จองรถไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากไฟแนนซ์ แต่ก็คิดว่าไม่เป็นอะไรเพราะตนเองไม่มีปัญหาด้านหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินต่างๆ อยู่แล้ว“ผมได้ทักท้วงไปเหมือนกัน แต่เซลล์บอกว่าไม่มีปัญหา เพราะถ้าไฟแนนซ์ผ่าน เงินที่จ่ายมาก็เป็นค่าดาวน์ที่ต้องนำไปหักอยู่แล้ว” คุณพงศ์วรัฐว่า ทำสัญญาจองรถไปเพียงแค่วันเดียววันรุ่งขึ้น วันที่ 21 มิถุนายน  คุณพงศ์วรัฐได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์แจ้งว่า เขาไม่ผ่านไฟแนนซ์ เพราะติดแบล็คลิสต์กับบริษัทบัตรเครดิต“ผมก็เอะใจล่ะครับ เพราะผมไม่เคยทำบัตรเครดิตหรือสินเชื่ออะไรจะติดแบล็คลิสต์ได้ยังไง” คุณพงศ์วรัฐจึงแจ้นไปปรึกษากับคุณภูวนาถและญาติซึ่งทั้งคู่ก็บอกว่าโดนแจ้งว่าไฟแนนซ์ไม่ผ่านเพราะติดแบล็คลิสต์เหมือนกัน ทั้งสามก็เลยต้องร่วมมือกันวางแผนที่จะตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาว่าจริงเท็จแค่ไหนเริ่มแรก คุณพงศ์วรัฐให้ญาติและคุณภูวนาถขอชื่อบริษัทไฟแนนซ์จากเต๊นท์รถ เซลล์แจ้งว่าได้ส่งข้อมูลขอสินเชื่อของญาติของคุณพงศ์วรัฐไปที่บริษัท เซนเตอร์ ลิสซิ่ง และของคุณภูวนาถส่งไปที่บริษัท เอเซียลิสซิ่ง  ญาติของคุณพงศ์วรัฐจึงได้ทำทีโทรศัพท์ไปสอบถามขอสินเชื่อกับบริษัทเอเซีย ลิสซิ่ง พนักงานบริษัทดังกล่าวแจ้งว่า เป็นเพียงเต๊นท์รถที่รับไถ่ถอนรถถูกยึด และรับจัดไฟแนนซ์เฉพาะรถมือสองเท่านั้น ไม่มีตัวแทนหรือนายหน้า ผู้ที่ใช้บริการต้องมาที่บริษัทเอง ส่วนนายภูวนาถก็สอบถามไปที่บริษัทเซนเตอร์ลิสซิ่งสลับกัน ก็ได้ข้อมูลทำนองเดียวกันว่าไม่รู้เรื่องการติดต่อขอสินเชื่อจากเต๊นท์รถที่ไปวางเงินมัดจำจองรถเลย คุณพงศ์วรัฐ  จึงรู้ว่าถูกหลอกแน่และรีบเข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิฯ เพื่อขอความช่วยเหลือเรียกเงินจองรถคืนทันที แนวทางแก้ไขปัญหาทันทีที่ได้รับเรื่องร้องเรียนในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้พาผู้เสียหายทั้งสาม เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุทันที หลังจากร้อยเวรได้สอบสวนข้อเท็จจริงเรียบร้อย จึงลงบันทึกประจำวันรับแจ้งความไว้และขอให้ใช้วิธีเจรจาไกล่เกลี่ยกันก่อน ร้อยเวรได้ประสานไปที่สายตรวจให้เข้าไปที่เต๊นท์รถและแจ้งว่ามีผู้เสียหายมาแจ้งความและให้มาที่โรงพัก หลังจากนั้นประมาณ 14.00 น.ของวันเดียวกัน ตัวแทนของเต๊นท์รถจึงรีบแจ้นเดินทางมาที่โรงพักและขอคืนเงินทั้งหมดแก่ผู้เสียหายทั้ง 3 ราย รวมเป็นเงินจำนวน 15,000 บาทในทันที“คนมีรายได้น้อยอย่างพวกเรา แต่อยากได้รถยนต์เห็นดาวน์ถูกก็เลยตกเป็นเหยื่อ  แต่ถ้ารู้ตัวแล้วรีบแจ้งความเพื่อเอาผิดกับมิจฉาชีพพวกนี้ เราก็จะไม่สูญเสียทรัพย์สินไป อยากฝากเตือนไปถึงคนอื่นที่ต้องการมีรถ ขอให้ไปที่ตัวแทนจำหน่ายโดยตรงดีกว่า”คุณพงศ์วรัฐกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 ไอเสียรั่วในรถโตโยต้า อินโนว่า ศาลสั่งเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค

 ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาสั่ง โตโยต้าเปลี่ยนรถใหม่ให้ผู้บริโภค เหตุเชื่อว่ารถมีความบกพร่องก่อนส่งมอบให้ผู้บริโภค คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเป็นเงิน 759,850 บาท หลังฟ้องศาลผู้บริโภค 1 ปีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน คุณสุภาภรณ์ ว่องวีรวัฒนกุล กับบุตร 3 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด เป็นจำเลยที่ 1 บริษัท โตโยต้า ทีบีเอ็น จำกัด เป็นจำเลยที่ 2 และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ไทย จำกัด เป็นจำเลยที่ 3 เป็นคดีผู้บริโภค เรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท สาเหตุที่ฟ้องร้องกันเนื่องจาก คุณสุภาภรณ์ได้ซื้อรถยนต์โตโยต้า รุ่นอินโนว่า แต่ปรากฏว่ามีไอเสียจากเครื่องยนต์รั่วเข้ามาในห้องโดยสารทำให้คุณสุภาภรณ์และบุตรซึ่งใช้รถคันนี้ไปรับส่งลูกที่โรงเรียนเป็นประจำมีสุขภาพย่ำแย่ไปตามๆ กันจุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้น เมื่อประมาณเดือนธันวาคม พ.ศ.2547 คุณสุภาภรณ์ไปเที่ยวงานมหกรรมรถยนต์ที่ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี และได้ตกลงซื้อรถยนต์โตโยต้า อินโนว่า ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลกับบริษัท โตโยต้า ธนบุรี จำกัด ต่อมาได้รับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันดังกล่าวมาเป็นที่เรียบร้อย ก็ได้ใช้งานตามปกติวิสัยรวมทั้งใช้รับส่งลูกทั้งสามไป-กลับโรงเรียนเช้า-เย็นตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ เท่ากับว่าคุณสุภาภรณ์กับลูกๆ ต้องอยู่ในรถยนต์คันดังกล่าววันละประมาณ 5-6 ชั่วโมงหลังจากนั้นไม่นาน คุณสุภาภรณ์เริ่มรู้สึกว่า มีกลิ่นคล้ายกลิ่นจากท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้แจ้งกับพนักงานขายของบริษัท โตโยต้า ธนบุรีฯ พนักงานก็แจ้งว่าเป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งคุณสุภาภรณ์ไม่เคยใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลมาก่อน จึงไม่ทราบว่าว่าเป็นเรื่องปกติหรือไม่ คุณสุภาภรณ์ใช้รถยนต์คันนี้ (ร่วมกับกลิ่นท่อไอเสีย) จนครบระยะ 50,000 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 จึงได้นำรถยนต์เข้าตรวจเช็คกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ของโตโยต้า โดยแจ้งกับพนักงานว่า มีกลิ่นควันคล้ายกลิ่นท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร พนักงานแจ้งว่า เป็นเรื่องปกติของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและแนะนำให้คุณสุภาภรณ์ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศไปแล้วแต่กลิ่นดังกล่าวก็ยังไม่หายไป และเริ่มมีคราบเขม่าเข้ามาในห้องโดยสาร จึงได้นำรถกลับไปให้ศูนย์ดูอีกหลายครั้งก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิมว่า “ไม่เป็นไร เป็นธรรมดาของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล”ยิ่งใช้รถไปรอยคราบเขม่าในห้องโดยสารยิ่งชัดยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ.2552 จึงได้มีการนัดตรวจรถยนต์คันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการตรวจสอบว่ามีควันพิษของท่อไอเสียรั่วไหลอยู่ในห้องโดยสารของรถจริงหรือไม่ โดยทำการตรวจวัดประมาณ 1 ชั่วโมง ใช้วิธีขับรถยนต์รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยนำรถยนต์อีกยี่ห้อหนึ่งมาเปรียบเทียบกับรถของคุณสุภาภรณ์ ผลปรากฏว่า พบค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซค์ในห้องโดยสารรถยนต์ของคุณสุภาภรณ์สูงถึง 16 พีพีเอ็ม ส่วนรถยนต์ยี่ห้อที่นำมาเปรียบเทียบตรวจไม่พบก๊าซดังกล่าวคุณสุภาภรณ์ มาทราบภายหลังว่า รถยนต์ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2547 มีก๊าซอันตรายและเขม่าจากไอท่อไอเสียเข้ามาในห้องโดยสาร และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนและลูกทั้งสาม จึงหยุดใช้รถยนต์คันนี้ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคในเวลาต่อมา ผลของคำพิพากษาวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 ศาลแพ่งธนบุรีออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในคดี ซึ่งได้ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานการนำสืบของฝั่งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจแล้ว เห็นว่า จำเลย(โตโยต้า)ไม่สามารถพิสูจน์ถึงข้อเท็จจริงและสาเหตุของปัญหาไอเสียเครื่องยนต์ที่รั่วเข้ามาในห้องโดยสารได้ว่า เหตุของไอเสียเกิดจากสภาพการใช้งานของผู้บริโภคไม่ได้เกิดจากปัญหาการผลิต ทำให้เชื่อได้ว่า รถยนต์คันพิพาทมีความชำรุดบกพร่องมาตั้งแต่บริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ให้แก่คุณสุภาภรณ์ และไม่ได้เกิดจากการใช้งานของคุณสุภาภรณ์แต่อย่างใด ดังนั้นบริษัทโตโยต้า ธนบุรี จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จำหน่าย และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ผลิต นำเข้า จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ในความชำรุดบกพร่องของสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานพิพากษาให้บริษัททั้งสอง เปลี่ยนรถยนต์คันใหม่ที่เป็นรุ่นเดียวกับที่ขายให้กับคุณสุภาภรณ์ หรือไม่ก็ซื้อรถยนต์คันที่มีปัญหาคืน ในราคา 759,850 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจนกว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้น และยังสั่งให้จ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บริโภคอีก 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 หรือวันที่คุณสุภาภรณ์รู้ว่าในรถมีควันพิษและหยุดใช้รถ“รู้สึกพอใจกับคำพิพากษามากและรู้ว่าความยุติธรรมมีอยู่จริง ซึ่งกฎหมายผู้บริโภคเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ จึงอยากฝากบอกกับผู้บริโภคที่มีปัญหาว่าให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ตามกระบวนการทางกฎหมายเหมือนดิฉัน” คุณสุภาภรณ์กล่าว  

อ่านเพิ่มเติม >