ฉบับที่ 171 น้ำพริกนรกกับสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย                 น้ำพริกประเภทผัดอย่าง น้ำพริกนรก เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหาย เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงมองหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค และฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ได้แก่  น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จาก บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และ ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) ตลาด อตก.        ปริมาณวัตถุกันเสีย กลุ่มอาหาร กฎหมายกำหนดปริมาณวัตถุกันเสีย สูงสุดไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ถือเป็นปริมาณสูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำพริกได้ด้วย องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิกและซอร์บิก) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะ ü ควรเลือกซื้อน้ำพริกที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือใส่แต่น้อย และเลือกซื้อจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ü ในแต่ละวันเราบริโภคอาหารหลายชนิด หากวันไหนกินแต่อาหารที่มีวัตถุกันเสียผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเกิดการสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะตับและไต ü อาการเบื้องต้นที่พบเมื่อได้รับวัตถุกันเสียปริมาณมาก คือ อาการท้องเสีย เพราะวัตถุกันเสียไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 169 “ไอศกรีม” เช็คปริมาณ “สี” และ “สารกันบูด"

ฉลาดซื้อขอต้อนรับหน้าร้อน ด้วยผลทดสอบที่จะทำให้ทุกคนเย็นชุ่มฉ่ำชื่นใจ กับผลทดสอบ “ไอศกรีม” เมนูโปรดของหลายๆ คน ฉลาดซื้อจะมาพิสูจน์ดูว่าไอศกรีมที่วางขายมากมายหลากหลายยี่ห้อในบ้านเรามีการใช้ “สี” และ “สารกันบูด” มากน้อยแค่ไหน เราเลือกสุ่มสำรวจไอศกรีมจำนวน 14 ยี่ห้อ โดยเลือก 1 ในไอศกรีมรสชาติยอดฮิตตลอดกาลอย่างรส “ช็อกโกแลต” ไปดูกันสิว่าไอศกรีมรสช็อกโกแลตยี่ห้อดังๆ มีการใช้สีและสารกันบูดหรือเปล่า                         สรุปผลการทดสอบ   -ไอศกรีมรสช็อกโกแลตทั้ง 14 ตัวอย่าง ไม่พบสารกันบูด -มีไอศกรีมรสช็อกโกแลต 3 ตัวอย่างที่พบการใช้สีสังเคราะห์ คือ 1.Walls 3 in 1 ทริปเปิล ช็อกโกแลต, 2.Melt Me Hokkaido Chocolate & Healthy Gelato และ 3. F & N Magnolia Double Choc ซึ่งปริมาณสีสังเคราะห์ที่พบอยู่ในเกณฑ์ตามมาตรฐาน สีผสมอาหารที่ใช้ก็เป็นสีที่ได้รับการอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข แฟนฉลาดที่รักการกินไอศกรีม ก็ยังคงกินกันได้อย่างสบายใจ ปลอดภัย ไร้ปัญหา -          ข้อสังเกต สีสังเคระห์ที่พบในการทดสอบครั้งนี้มีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ สีในกลุ่มสีแดง คือ เออริโธรซีน (Erythrosine E127) และ คาร์โมอีซีนหรือเอโซรูบีน (Carmoisine or Azorubine E122) สีในกลุ่มสีเหลือง คือ ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF E110) และ ตาร์ตราซีน (Tartazine E102) สุดท้ายคือสีในกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนต์บลู เอฟซีเอฟ (Brillian blue FCF E133) ซึ่งตัวอย่างไอศกรีมที่พบปริมาณสีมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ Walls 3 in 1 ทริปเปิล ช็อกโกแลต พบว่ามีใช้สี 3 ชนิดจากสีถึง 3 กลุ่ม ขณะที่อีก 2 ตัวอย่างที่พบการใช้สีสังเคราะห์ พบว่าใช่แค่ตัวอย่างละ 1 ชนิดสีเท่านั้น         “ไอศกรีม” ที่ดีต้องเป็นแบบไหน? หลายคนอาจยังไม่รู้ ว่า “ไอศกรีม” ถือเป็นอาหารที่มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งไอศกรีมที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ -ไอศกรีมนม ต้องมีมันเนยเป็นส่วนผสมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนัก และมีธาตุน้ำนม ไม่รวมมันเนยไม่น้อยกว่าร้อยละ 7.5 ของน้ำหนัก - ไอศกรีมดัดแปลง ต้องมีไขมันทั้งหมดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน้ำหนัก -ไม่มีกลิ่นหืน -ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้ร่วมกับน้ำตาล โดยวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานอาหารที่ อย. รับรอง -ใส่วัตถุแต่งกลิ่น รส และสีได้ -ไม่มีวัตถุกันเสีย -มีแบคทีเรีย (Bacteria) ได้ไม่เกิน 600,000 ต่ออาหาร 1 กรัม -ต้องตรวจไม่พบมีแบคทีเรีย ชนิด อี.โคไล (Escherichia coli) -ไม่มีสารเป็นพิษจากจุลินทรีย์ในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และไม่พบจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่มา : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2556 เรื่อง ไอศกรีม   --------------------------------------------------------------- เมื่อปี 2550 ที่ประเทศอังกฤษ กลุ่มนักวิชาการได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกข้อบังคับกับผู้ผลิตอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารเด็ก ขนมหวาน เครื่องดื่ม  ให้ยกเลิกการใช้สีสังเคราะห์ 6 ชนิด ได้แก่ ซันเซต เยลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset yellow FCF E110), ตาร์ตราซีน (Tartazine E1022), ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), ควิโนลีนเยลโลว์ (Quinoline Yellow E104), คาร์โมอีซีน (Carmoisine E122) และ อัลลูราเรด Allura red (E129) เนื่องจากมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าสารจากสีสังเคราะห์เหล่านี้ส่งผลให้เด็กป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น นอกจากนี้สีสั้งเคระห์เหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต่อการนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหาร เพราะไม่ได้เพิ่มคุณค่าทางอาหาร มีแต่จะสร้างผลเสียต่อสุขภาพเท่านั้น ซึ่งการออกมาเรียกร้องครั้งนี้แม้ทางภาครัฐจะยังไม่ได้มีการรับรองอย่างเป็นทางการแต่ก็สามารถทำให้เกิดการตื่นตัวของทั้งผู้บริโภค พ่อ-แม่ผู้ปกครอง รวมถึงบริษัทผู้ผลิตอาหารทั้งในอังกฤษเอง ประเทศในยุโรปประเทศอื่นๆ และอเมริกา ก็เริ่มปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้มีการใช้สังเคราะห์อาหารลดลง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 โดนัทกับสารกันบูด

นอกจากฉลาดซื้อจะชอบทดสอบเรื่องคุณค่าทางโภชนาการในอาหารแล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่เราให้ความสนใจเป็นพิเศษ ก็คือเรื่อง “สารกันบูด” ซึ่งอาหารเดี๋ยวนี้โดยเฉพาะพวกอาหารอุตสาหกรรมทั้งหลาย มักนิยมเติมสารกันบูดกันเสียลงไป เพื่อหวังยืดอายุอาหารให้นานยิ่งขึ้น วางอยู่บนชั้นวางสินค้าได้นานกว่าเดิม เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ผู้บริโภคอย่างเราก็เสี่ยงอันตรายจากสารกันบูดมากขึ้นตามไปด้วย ถ้ายังจำกันได้ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบดูสารกันบูดในขนมปังหลากหลายประเภทที่วางขายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในร้านสะดวกซื้อ ทั้ง ขนมปังแซนวิช เค้ก ครัวซอง พบว่าส่วนใหญ่มีการใช้สารกันบูด แถมบางตัวอย่างก็พบปริมาณของสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน ฉบับนี้ ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลวิเคราะห์สารกันบูดในขนมปังอีกครั้ง แต่เน้นไปที่กลุ่มขนม “โดนัท” ขนมยอดนิยมที่ทำจากแป้ง ซึ่งผู้ผลิตมักอ้างว่ามันมีการผสมสารกันบูดมาตั้งแต่ตอนเป็นวัตถุดิบแล้ว   โดนัทสารกันบูดน้อย ü สารกันบูดที่ใช้ในโดนัทพบในปริมาณที่น้อยมาก ที่พบสูงสุดคือโดนัทน้ำตาลไม่มียี่ห้อ ซึ่งทอดขายอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ชัย พบว่าปริมาณสารกันบูด 2 ชนิด คือ เบนโซอิกพบ 18.72 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และซอร์บิกพบ 3.17 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รวมแล้วเท่ากับ 21.89 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าคิดเฉลี่ยต่อโดนัท 1 ชิ้นที่น้ำหนัก 30 กรัม เท่ากับพบว่ามีการใช้สารกันบูดเฉลี่ยที่ 6.57 มิลลิกรัมเท่านั้น และการทดสอบครั้งนี้จากตัวอย่างโดนัททั้งหมด 8 พบว่ามี 3 ตัวอย่างที่มีสารกันบูด ส่วนอีก 5 ตัวอย่างไม่พบ ถือว่าเป็นข่าวดี ü มีแนวโน้มที่ดีในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เมื่อเทียบกับผลการทดสอบครั้งก่อนที่ฉลาดซื้อเคยทำ ครั้งนั้นพบมีสารกันบูด 5 จาก 9 ตัวอย่าง โดยมิสเตอร์ โดนัทเป็นตัวอย่างที่พบสารกันบูดในการสำรวจทั้ง 2 ครั้ง คราวก่อนพบกรดเบนโซอิกที่ปริมาณ 36.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(โดนัท 1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 10.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)  แต่ในทดสอบครั้งนี้ ตัวอย่างโดนัทจากร้านมิสเตอร์ โดนัท พบสารกันบูดที่ปริมาณ 20.66 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม(1 ชิ้น 30 กรัม พบสารกันบูด 6.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) จัดว่ามีแนวโน้มที่ดี  ส่วนยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท และ โดนัท แดดดี้ โด ที่เคยตรวจพบสารกันบูดในการวิเคราะห์ครั้งก่อน ครั้งนี้ไม่พบการใช้สารกันบูด   สารกันบูดกับโดนัท สารกันบูดที่นิยมใช้ในโดนัทมีอยู่ 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid) ซึ่งตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ได้กำหนดปริมาณสูงสุดที่ของวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้พบได้ในอาหารอยู่ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ไม่ว่าอาหารชนิดนั้นจะใช้สารกันเสียกี่ชนิดก็ตาม รวมกันแล้วก็ห้ามเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม กฎหมายมีการบังคับไว้ว่า ถ้าหากอาหารประเภทใดที่มีการใช้วัตถุกันเสีย ต้องมีการแจ้งข้อมูลบนฉลากว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” แต่สำหรับโดนัทที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เป็นของร้านแฟรนไชส์ต่างๆ จะเป็นแบบผลิตขายกันวันต่อวัน ไม่มีฉลากบอกเรื่องของส่วนประกอบที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ข้อมูลโภชนาการ รวมถึงเรื่องของการใช้สารกันบูด ผู้บริโภคอย่างเราก็เลยต้องอาศัยวิธีการเดากันเอาเองว่าโดนัทยี่ห้อนี่จะมีสารกันบูดหรือเปล่า*   *กินกันแบบไม่รู้อะไรเลย ในต่างประเทศเขากินโดนัทกันมาก่อนเรา กินมากกินกันจริงจัง บางคนถึงขนาดกินเป็นอาหารหลัก กินกันจนสุขภาพเสีย อย่างในอเมริกาที่คนกินโดนัทกันจนน้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินมาตรฐาน คนอ้วนเพิ่มจำนวนมากขึ้น คนป่วยก็มากขึ้น เขาเลยมีการรณรงค์เรื่องการกินโดนัทอย่างถูกต้องปลอดภัยกับสุขภาพ ซึ่งบรรดาร้านโดนัทชื่อดังที่นู้นเขาก็ขานรับ ด้วยการช่วยให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงข้อมูลโภชนาการ ว่าโดนัทแต่ละชิ้นที่ขายอยู่ให้ร้าน มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างไรบ้าง กินแล้วได้พลังงานเท่าไร ไขมันเท่าไร น้ำตาลแค่ไหน ที่สำคัญมีการบอกด้วยว่ามีการใช้สารกันบูดด้วยหรือเปล่า ซึ่งอย่างน้อยๆ ผู้บริโภคก็ได้มีข้อมูลไว้ตัดสินใจเองได้ว่า ควรกินไม่ควรกิน คนที่ดูแลสุขภาพแต่อยากกินโดนัท ก็จะได้วางแผนควบคุมปริมาณสารอาหารของตัวเองได้ โดยข้อมูลโภชนาการของโดนัทแต่ละรสชาติ (รวมทั้งอาหารประเภทอื่นๆ ที่ขายอยู่ในร้าน) จะถูกเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของร้าน ผู้บริโภคสามารถคลิกเข้าไปดูได้ก่อนตัดสินใจซื้อ ส่วนผู้บริโภคไทยก็ยังต้องใช้วิธีตนเป็นที่พึ่งแห่งตนกันต่อไป เพราะบรรดาร้านโดนัทที่ขายอยู่ในบ้านเรา ยังไม่มีข้อมูลเรื่องโภชนาการอยู่ในเว็บไซต์ คงได้แต่อาศัยข้อมูลจากเว็บไซต์ของร้านในต่างประเทศมาเป็นข้อมูลเทียบเคียงกันไปก่อน (หรือไม่ก็ใช้ข้อมูลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจไว้ก็ได้)   3 เหตุผลที่ควรรู้ก่อนงั่มโดนัท โดนัทมีไขมันทรานส์ โดนัทเป็นของทอด ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์ ที่มักพบในน้ำมัน รวมถึงในเนยเทียม และมาร์การีน ซึ่งถือเป็นไขมันตัวร้ายมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน จากผลที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า ในโดนัท 1 ชิ้น พบปริมาณไขมันทรานส์เฉลี่ยอยู่ที่ 0.045 กรัม ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ว่าในอาหาร 1 หน่วยบริโภค ไม่ควรพบไขมันทรานส์เกิน 0.5 กรัม และเสี่ยงอันตรายจากสารก่อมะเร็งในน้ำมันทอดซ้ำอีกด้วย โดนัทมีน้ำตาลสูง ความหวานอร่อยของโดนัทเกิดจากการปรุงรสชาติด้วยน้ำตาล รวมถึงบรรดาหน้าต่างๆ ของโดนัท ส่วนประกอบหลักก็คือน้ำตาล ฉลาดซื้อเคยสำรวจพบว่า เฉลี่ยในโดนัท 1 ชิ้น จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 กรัม สูงสุดที่พบจากตัวอย่างที่ทดสอบคือ 13.9 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราควรได้รับน้ำตาลไม่เกิน 24 กรัม อันตรายๆ 3. โดนัทให้พลังงานสูง จากผลทดสอบที่ได้พบว่า โดนัท 1 ชิ้น (น้ำหนักประมาณ 40 กรัม) ให้พลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 168 กิโลแคลอรี่ ถ้าอิ่มที่ 1 ชิ้นก็ถือว่าโอเค พลังงานยังไม่สูงมาก (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ  2,000 กิโลแคลอรี่) แต่ถ้าอร่อยต่อเนื่อง มีการเบิ้ลชิ้นที่ 2 ชิ้นที่ 3 แล้วยังต้องกินข้าวอีก 3 มื้อ อันนี้ก็บอกได้เลยว่ามีความเสี่ยงอย่างมากที่ร่างกายของเราจะได้รับพลังงานเกิน อ้วนๆๆ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 เยลลี่ กับสารกันบูด

เดี๋ยวนี้เยลลี่ไม่ได้เป็นแค่ขนมหวานทานเล่นสำหรับเด็กๆ แต่มันได้กลายเป็นอาหารมื้อหลักของสาวๆ บางคน เพราะเชื่อคำโฆษณาที่บอกว่าให้ทานเยลลี่แก้หิว กินแล้วอิ่มท้อง? กินได้ไม่ต้องกลัวอ้วน แถมเยลลี่หลายยี่ห้อกลายเป็นตัวช่วยเรื่องความสวยความงาม เพราะผู้ผลิตเขาเติมวิตามินนู้นนี่นั้น บอกว่ากินแล้วขาว กินแล้วสวย ในวันที่เยลลี่เปลี่ยนไป มีรสชาติใหม่ผลิตออกมายั่วใจทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ฉะนั้นก่อนที่เราจะกินเยลลี่ถ้วยต่อไป จะดีมั้ยถ้าเรารู้ว่าผู้ผลิตเขาผสมอะไรลงในเยลลี่บ้าง ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่เราควรรู้ว่าเขาใส่มาให้เรามากน้อยแค่ไหน ก็คือ “สารกันบูด” เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกาย ถ้าเราได้รับในปริมาณมากๆ ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใครเป็นแฟนฉลาดซื้อคงจะรู้กันดีอยู่แล้วว่า เจ้าสารกันบูดในอาหารนั้น สนิทชิดเชื้อกับผู้บริโภคอย่างเราราวกับคนในครอบครัว เพราะอาหารสำเร็จรูปหลากหลายชนิดที่วางขายอยู่ในท้องตลาดล้วนแต่ผูกขาดเรื่องการใช้สารกันบูด ไล่ตั้งแต่ พวกอาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป พวก หมูยอ ไส้กรอก แหนม กุนเชียง อาหารที่ทำจากแป้งอย่าง เค้ก ขนมปัง เนย ช็อกโกแลต อาหารที่ทำมาจากผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำหวาน น้ำอัดลม แยม และแน่นอนว่ารวมถึง "เยลลี่"   แคนดี้ฟรุ๊ต -ตัวอย่าง เยลลี่ที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่สูงที่สุด คือตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ผลิตโดยบริษัท แคนดี้ทอย จำกัด ซึ่งปริมาณของสารกันบูดแยกเป็น ซอร์บิค 414.20 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม และ เบนโซอิค 564.56 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม รวมพบวัตถุกันเสียทั้ง 2 ชนิดรวมกันเท่ากับ 978.76 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณสูงสุดที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม       อย่าเพิ่งตกใจ -แม้จะพบปริมาณสารกันบูด แต่ก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะปกติเราคงไม่ได้กินเยลลี่ครั้งละ 1 กิโลกรัม อย่างเยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” ที่ปริมาณต่อ 1 ชิ้นน้ำหนักอยู่ที่ 40 กรัมเท่านั้น พอเปรียบเทียบกับปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับว่า เยลลี่ “แคนดี้ฟรุ๊ต” 1 ชิ้น จะมีสารกันบูดเฉลี่ยอยู่ที่ 39.15 มิลลิกรัม -ตัวอย่างเยลลี่ยี่ห้อ “แคนดี้ฟรุ๊ต” นอกจากจะพบปริมาณสารกันบูดสูงที่สุดแล้ว ยังพบว่าเป็นตัวอย่างที่มีปัญหาเรื่องฉลาก เพราะบอกเพียงชื่อผู้ผลิต แต่ไม่ได้บอกสถานที่ตั้ง ไม่บอกวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ที่สำคัญคือไม่มีการแจ้งเรื่องการใช้สารกันบูดทั้งๆ ที่มีการใช้ในผลิตภัณฑ์ -สำหรับตัวอย่างเยลลี่อีก 4 ตัวอย่างที่พบการใช้สารกันบูด พบปริมาณซอร์บิคและเบนโซอิครวมกันไม่ถึง 300 มิลลิกรัมต่อเยลลี่ 1 กิโลกรัม   ฉลาดซื้อแนะ แม้ผลวิเคราะห์วัตถุกันเสียในขนมเยลลี่พบการใช้ เพียง 1 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมด (5 จาก 15 ตัวอย่าง) และตัวอย่างที่พบว่ามีการใช้สารกันบูดก็ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่เยลลี่ก็จัดเป็นขนม เป็นแค่ของกินเล่น ไม่มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ฉลาดซื้อจึงอยากขอแนะนำว่าให้กินแต่น้อยกินแต่พอดี อย่ากินจนอิ่มหรือกินแทนข้าว โฆษณาที่บอกว่าให้กินเยลลี่แทนข้าวได้ กินแทนมื้อเย็น กินแล้วอิ่มเหมือนกัน อย่าได้เชื่อโฆษณาเหล่านี้โดยเด็ดขาด เพราะแม้ว่าจะทานเยลลี่แล้วช่วยให้อิ่มท้อง แต่ถ้าเลือกกินเยลลี่แทนอาหารมื้อหลัก ร่างกายเราก็จะขาดสารอาหาร  เป็นผลเสียต่อสุขภาพ --------------------------------------------------------------------------------------------------   เยลลี่ = ฆาตกร !? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าขนมเยลลี่ สีสันสดใส อร่อยหวานนุ่ม จะเป็นตัวการร้ายทำให้เด็กเสียชีวิตมาแล้ว?! เมื่อหลายปีก่อนเคยทีกรณีที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบ ต้องเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ที่คุณแม่เป็นคนป้อน เหตุเพราะเนื้อเยลลี่ที่กินเข้าไปเกิดไปติดคอ เด็กน้อยสำลักเยลลี่ หายใจไม่ออก จนสุดท้ายเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งเรื่องน่าเศร้าครั้งนี้เกิดเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวคุณแม่เองลืมคิดไปว่าเยลลี่แม้จะดูเป็นเนื้อสัมผัสนิ่มๆ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ของเหลว ก่อนกลืนเด็กยังต้องเคี้ยวเนื้อเยลลี่ให้ละเอียดเสียก่อน ซึ่งเด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ภาษาทำให้เผลอกลืนเนื้อเยลลี่เข้าไปทันที ซึ่งจะทำให้ติดคอ สำลักเนื้อเยลลี่ ทำให้หายใจไม่ออก จนเกิดเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างที่เป็นข่าว ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เด็กน้อยวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากการกินเยลลี่ ทำให้ อย. ต้องรีบออกมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องน่าเศร้าขึ้นอีก โดย อย. ได้มาออกมาคุมเข้มเรื่องฉลากผลิตภัณฑ์เยลลี่ ที่ต้องมีการระบุข้อความคำเตือนเพื่อความปลอดภัยในการกินขนมเยลลี่ ซึ่งคำเตือนจะมีอยู่ 5 ข้อความหลักๆ ประกอบด้วย 1.เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ห้ามรับประทาน 2.ก่อนรับประทานเปิดฝาออกให้หมดทุกครั้ง (ที่มีคำเตือนแบบนี้ เพราะหลายคนที่เวลากินเยลลี่มักจะใจร้อน โดยเฉพาะพวกเยลลี่อันเล็กๆ ขนาดพอคำ ที่ยังไม่ทันจะเปิดฝาหรือพลาสติกที่ปิดบรรจุภัณฑ์ที่ใส่เยลลี่เอาไว้ให้เสร็จเรียบร้อย ก็จะรีบดูดเนื้อเยลลี่กินกันแล้ว ซึ่งแบบนี้เสี่ยงอันตราย เพราะเวลาที่เราดูดเนื้อเยลลี่แรงๆ เนื้อเยลลี่อาจจะพุ่งเข้าคอ ทำให้เราสำลัก หายใจติดขัด อาจจะเป็นเหตุให้ขาดอากาศหายใจ ยิ่งถ้าเป็นเยลลี่ชนิดที่มีการผสมอย่าง บุก วุ้นมะพร้าว ยิ่งต้องระวัง เพราะเนื้อสัมผัสของส่วนผสมเหล่านี้มีความเหนียวยิ่งกว่าเนื้อเยลลี่เสียอีก) 3.ห้ามวิ่งเล่นหรือนอน ขณะรับประทาน 4.เคี้ยวก่อนกลืนทุกครั้ง 5.รับประทานอย่างช้าๆ อย่าเร่งรีบ ระวังสำลัก โดยคำเตือนเหล่านี้จะต้องไปปรากฏอยู่ทั้งบนฉลาก ในโฆษณาไม่ว่าจะทางทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์ เพื่อบอกเตือนคนที่ชอบกินเยลลี่ โดยเฉพาะเด็กๆ ให้อร่อยอย่างระมัดระวัง   “กินเยลลี่แทนข้าว” ความเชื่อผิดๆ ที่ไม่ควรทำตาม หลายคนน่าจะเคยได้เห็นโฆษณาที่บอกประมาณว่า ทานเยลลี่แล้วอยู่ท้องเหมือนกินข้าว ใครไม่อยากอ้วนก็ให้กินเยลลี่ ไม่ต้องทานมื้อเย็น ซึ่งฉลาดซื้ออยากบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นความคิดที่ผิด และไม่ควรทำตามอย่างยิ่ง เพราะแม้ทานเยลลี่แล้วจะช่วยทำให้อยู่ท้อง แต่ว่าเราจะไม่ได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย แม้ในโฆษณาจะอ้างว่ามีการใส่วิตามินนู้นนี่นั้น แต่ก็น้อยมากๆ สู้เรากินอาหารธรรมดาทั่วไป กินพวกผัก ผลไม้ ยังจะได้วิตามินมากกว่า แถมร่างกายยังได้สารอาหารครบถ้วน ถ้าอ่านในคำเตือนบนฉลากพวกผลิตภัณฑ์เยลลี่ จะเห็นคำเตือนว่า “เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรัประทาน” เหตุผลก็คือ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่มีประโยชน์ หากกินเข้าไปแล้วจะทำให้อิ่ม ทำให้กินอาหารอย่างอื่นไม่ลง ร่างกายก็จะขาดสารอาหาร ซึ่งเด็กๆ และคนที่กำลังจะเป็นคุณแม่ ควรได้รับประโยชน์จากสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งสิ่งที่เราได้จากการกินเยลลี่หลักๆ ก็คือ น้ำตาล ซึ่งในเยลลี่ที่บอกว่ากินแล้วอิ่มท้องไม่ต้องกินข้าว 1 ถ้วย หรือ 1 ซอง จะมีน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 6 – 10 กรัม ซึ่งใน 1 วันเราไม่ควรได้รับน้ำตาลเกิน 24 กรัม เท่ากับว่าเฉลี่ยแล้วเราได้รับน้ำตาลจากการทานเยลลี่ประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่เหมาะกับร่างกายของเราใน 1 วัน แม้อาจจะดูไม่มาก แต่อย่าลืมว่านี่คือการที่เราทานน้ำตาลล้วนๆ โดยไม่ได้รับสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเลย นอกจากนี้เรายังได้รับสารสังเคราะห์ที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น สีผสมอาหาร สารวัตถุกันเสีย ซึ่งสารพวกนี้ถ้าร่างกายเรารับมากๆ ก็อาจมีผลเสียต่อสุขภาพ คิดดูแล้วไม่ต่างอะไรกับการที่เราดื่มน้ำหวานน้ำอัดลม เพราะฉะนั้นอย่ามองเยลลี่เป็นอาหารมื้อหลัก อย่าเลือกเป็นเมนูแทนการกินข้าว เพราะเราจะไม่ได้สารอาหารอะไรเลย หากอยากเลือกความสะดวก ให้เลือกเป็นการดื่มนม ดื่มน้ำเต้าหู้ หรือกินโยเกิร์ตน่าจะดีกว่า แต่อย่างไรเสียการอาหารให้หลากหลายให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่คือสิ่งที่ดีที่สุด    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 143 ขนมปังและสารกันบูด

  คนไทยมีอาหารการกินหลากหลาย ขนมอบอย่างฝรั่ง เช่น ขนมปัง แซนด์วิช ครัวซอง หรือเค้ก ก็กลายมาเป็นทั้งอาหารมื้อหลัก(โดยเฉพาะมื้อเช้าที่เร่งรีบ) และอาหารว่างที่หลายคนชื่นชอบ เพราะหาได้ง่ายและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตขนมอบเรายังพบความเสี่ยงบางประการที่เกือบจะกลายเป็นสิ่งจำเป็นของระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมปัจจุบัน นั่นคือการผสมสารกันบูดลงไปด้วย ‘ฉลาดซื้อ’ เลยได้โอกาสตรวจสอบกันอีกสักทีว่าความเสี่ยงของสารกันบูดในขนมอบทั้งหลายมีมากน้อยแค่ไหนกันนะ   ฉลาดซื้อทดสอบ ‘ฉลาดซื้อ’ ได้สุ่มซื้อขนมอบพร้อมบริโภค ทั้ง ขนมปัง และเค้กยี่ห้อต่างๆ จากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ต และร้านเบเกอรี่ จำนวน 14 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างที่มีฉลากกำกับว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” 1 ตัวอย่าง และ ตัวอย่างที่ฉลากไม่ระบุว่าใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ 5 ตัวอย่าง แล้วส่งทดสอบกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี เพื่อหาสารกันบูดที่อุตสาหกรรมอาหารนิยมใช้ 3 ชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และกรดโปรปิโอนิค (Propionic Acid)     หมายเหตุ หากมีการใช้สารกันบูดร่วมกันมากกว่า 2 ชนิด ในตัวอย่างเดียวกัน การพิจารณาค่ามาตรฐานให้ใช้ค่ารวมของสารทั้งหมดที่พบเทียบกับค่าสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ของสารกันบูดชนิดที่มีค่าต่ำที่สุด ซึ่ง ณ ที่นี้ คือ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อาหาร                *** ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น   ผลทดสอบ 2 ใน 3 ของตัวอย่างทั้งหมดที่พบสารกันบูดยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย จากการทดสอบพบว่า มีการใช้สารกันบูดในขนมอบสูงถึงร้อยละ 79 (รวม 11 ตัวอย่าง)   แบ่งเป็นพบสารกันบูดชนิดเดียว ร้อยละ 21 (3 ตัวอย่าง : เค้กฟลัฟฟี่ มาม่อน ชีส, ซอฟท์เค้กรสใบเตย เลอแปง, และเค้กโรลวนิลา  sun merry)   พบสารกันบูด 2 ชนิดร้อยละ 36 (5 ตัวอย่าง : ขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery, ขนมปังไส้เผือก ฟาร์มเฮ้าส์, ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์, ขนมปังไส้ลูกเกด นัทเบเกอรี่, และ ขนมปังแซนวิช  Tesco)   และพบสารกันบูดครบทั้ง 3 ชนิดร้อยละ 21 ( 3 ตัวอย่าง : ขนมปังไส้เผือก เลอแปง, ขนมปังไส้เผือก เอพลัส, และ สวีทโรล เลอแปง) และที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วงมีทั้งหมด 5 ตัวอย่าง ได้แก่ ขนมอบที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน 5 ตัวอย่างขนมปังใส้ถั่วแดง Tesco the Bakery ที่ปริมาณรวม 1,656 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) เค้กโรลวนิลา sun merry ที่ปริมาณ 1,583 มก./กก.ขนมปังแซนวิช Tesco ที่ปริมาณรวม 1,279 มก./กก.  ขนมปังไส้เผือก เอพลัส ที่ปริมาณรวม 1,274 มก./กก.ขนมปังไส้กรอกคู่ เบเกอร์แลนด์ ที่ปริมาณรวม 1,195 มก./กก.     --------------------------------------------------   การพิจารณาฐานความผิดโดยใช้ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ตัวอย่างเกือบทั้งหมดที่พบสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน เข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (3) เรื่องอาหารผิดมาตรฐานมีบทลงโทษตามมาตรา 60 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท   โดยมีหนึ่งตัวอย่างคือ ขนมปังแซนวิช Tesco ที่เข้าข่ายการกระทำผิดมาตรา 25 (2) เรื่องอาหารปลอม มีบทลงโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เนื่องจาก บนฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสีย แต่ กลับพบการใช้วัตถุกันเสียร่วมกันถึงสองชนิดในตัวอย่างเดียว และมีค่าที่พบสูงมากอีกด้วย   ฉลาดซื้อแนะนำ เลือกซื้อขนมอบของร้านที่ทำสดแบบวันต่อวันจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับสารกันบูดได้ดีกว่าซื้อขนมอบที่ต้องทำส่งร้านหลายสาขาหรือวางสินค้าทั่วประเทศ การเลือกซื้อให้สังเกตฉลากตรงส่วนประกอบของอาหาร หากมีระบุว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” หมายความว่า คุณกำลังบริโภคสารกันบูด และมีความเสี่ยงของการจะได้รับสารกันบูดเกินค่ามาตรฐาน    สารกันบูดที่นิยมในวงการเบเกอรี่ 1. เบนโซเอท (Benzoic acid และ Benzoates) นิยม ใช้ในรูปของเกลือโซเดียม ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรด เช่น น้ำหวาน, น้ำผลไม้, แยม, น้ำสลัด, ผักดอง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%   2. ซอเบท (Sorbic acid และ Sorbates) เป็น สารกันบูดที่นิยมใช้กันมาก ซึ่งจะให้ผลดีในสภาพที่เป็นกรดเช่นกัน ดังนั้นกลุ่มที่ใช้จึงใกล้เคียงกัน รวมทั้งพวกไส้ขนมต่าง ๆ ในการทำขนมขายส่ง เป็นต้นปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายไม่เกิน 0.1%   3. โปรปิโอเนท (Propionic acid และ propionices) มี ความสามารถในการทำลายแบคทีเรียและราได้ดีกว่ายีสต์ นิยมใช้สารนี้ในผลิตภัณฑ์ขนมปัง, เค้ก, นิยมใช้แคลเซียมโปรปิโอเนทกับขนมปังมากกว่า เพราะเกลือแคลเซียม จะช่วยเป็นตัวปรับสภาพของก้อนโด ได้ด้วยส่วนเกลือโซเดียมและโปแตสเซียม นิยมใช้กับเค้ก ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมาย 0.1- 0.2% ที่มา  http://www.kccbakermart.com/bakery_materials.htm

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 121 กุนเชียง เสี่ยง...ไม่เสี่ยง

  โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงหมูจำนวน 7 ตัวอย่าง จากพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา และสงขลา จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคามที่เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังได้เก็บตัวอย่างกุนเชียงไก่จำนวน 1 ตัวอย่าง จากพื้นที่จังหวัดสตูล รวม 8 ตัวอย่าง ในเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร 2 กลุ่ม คือ สารกันบูด (ได้แก่ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์) กับ สีสังเคราะห์   ผลการทดสอบ1. พบการใช้กรดเบนโซอิคในกุนเชียงจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 62 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค2. พบการใช้กรดซอร์บิคจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 620 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมี 1 ตัวอย่างที่ปริมาณกรดซอร์บิคอยู่ในเกณฑ์สูงเกินมาตรฐาน ปริมาณสารกันบูดที่พบเท่ากับ 1,205 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. พบการใช้ไนเตรทและไนไตรท์จำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 37 ปริมาณเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัมซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภค4. ไม่พบการใช้สีสังเคราะห์ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ  สรุป ในกุนเชียง 1 กิโลกรัมจากจำนวน 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ ปริมาณเฉลี่ยของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิคเท่ากับ 15.3 มิลลิกรัม กรดซอร์บิคเท่ากับ 620 มิลลิกรัม ไนเตรทและไนไตรท์เท่ากับ 10 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจากการได้รับสารกันบูดสูงเกินมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์ต่ำที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่ความเสี่ยงจากการได้รับสีสังเคราะห์เป็นศูนย์หรือเท่ากับไม่มีเลย ซึ่งก็ถือว่าเป็นข่าวดี ยังไงเพื่อลดความเสี่ยงเวลาเลือกซื้อกุนเชียงอ่านฉลากให้ดี โดยเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ฉลากระบุว่าไม่ใช้วัตถุกันเสียและไม่เจือสีสังเคราะห์*************************************************************** กุนเชียง ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับไส้กรอก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความละเอียดของเนื้อที่ใช้ เนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อที่บดหยาบกว่า อาจจะใช้เครื่องบดหรือใช้มีดสับด้วยมือธรรมดาๆ ส่วนไส้กรอกจะเป็นเนื้อที่บดละเอียด เรียกว่าเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน ก่อนจะนำมาใส่ส่วนผสม เช่น เกลือ น้ำตาล ซีอิ้วขาว หรือเครื่องเทศ แล้วนำไปใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย นำไปตากหรืออบให้แห้ง กุนเชียง มีที่มาจากประเทศจีน หลายประเทศในแถมเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็นิยมรับประทานกุนเชียงเหมือนบ้านเรา แต่ว่าจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ถ้าเป็นชาวตะวันตกก็จะเหมาเรียกรวมกันว่า Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ************************************************************** ฉลาดซื้อแนะนำ-กุนเชียงที่ดี เนื้อกุนเชียงต้องผสมกันดี ทั้งส่วนเนื้อและส่วนที่เป็นมัน-สี ต้องเป็นธรรมชาติ ดูสม่ำเสมอกันตลอดชิ้น ไม่ซีดหรือคล้ำ-ไม่มีกลิ่นอับ หรือมีกลิ่นเหม็น -กุนเชียงต้องบรรจุอยู่ในภาชนะบรรจุที่สะอาด ผนึกเรียบร้อย ไม่มีสิ่งปนเปื้อน-ถ้าจะให้ดีควรมีการระบุ ชื่อผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ น้ำหนักสุทธิ วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ ชื่อผู้ผลิตพร้อมสถานที่ตั้ง กำกับไว้ที่ภาชนะบรรจุกุนเชียง+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างกุนเชียง ยี่ห้อ ผู้ผลิต จังหวัดที่เก็บตัวอย่าง ผลวิเคราะห์ (มิลลิกรัม / กิโลกรัม) เบนโซอิค ซอร์บิค ไนเตรท ไนไตรท์ สีสังเคราะห์ กุนเชียงหมู บิ๊กซี บ. ส ขอนแก่น กรุงเทพ 10.42 474.04 28.43 2.65 ไม่พบ ชิน เหอ เชียง ไม่ระบุ ขอนแก่น ไม่พบ 181.4 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ. พี แอนด์ พี มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ จิง จิง เชียง บ.จิง จิง เชียง มหาสารคาม 5 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่ระบุ ไม่ระบุ สงขลา 48.79 ไม่พบ 23.2 5.84 ไม่พบ แม่เนื้อพลอย ไม่ระบุ เชียงใหม่ 7.31 ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ พีแอนด์พี บ.พี แอนด์ พี พะเยา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ กุนเชียงไก่ ปิยวัฒน์ บ.ปิยะวัฒน์เจ้เม้ง สตูล ไม่พบ 1,205 1.62 0.22 ไม่พบ   ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานคริทร์ สถาบันวิจัยทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ อ้างอิงสารกันบูด – ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ผลิตภัณฑ์กุนเชียงสามารถใช้วัตถุกันเสีย (สารกันบูด) ได้ 2 ชนิด คือไนเตรทและไนไตรท์ ที่ปริมาณไม่เกิน 500 และ 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ และในกรณีใช้ไนเตรทกับไนไตรท์ร่วมกันในหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ปริมาณที่ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนการใช้สารกันบูดชนิดอื่น ๆ รวมถึงกรดซอร์บิคและกรดเบนโซอิค ไม่มีการระบุไว้แต่อย่างใดว่าให้ใช้ได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานอาหารสากล (Codex) ปี 2005 ได้กำหนดการใช้กรดเบนโซอิคในผลิตภัณฑ์กุนเชียงเพื่อถนอมอาหารนั้นไว้ว่าไม่ควรเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยที่ไม่ได้ระบุการใช้กรดซอร์บิคในกุนเชียงไว้อีกทั้งยังมิได้ระบุค่าความปลอดภัย (Acceptable Dietary Intake: ADI) เอาไว้อีกด้วย  สีสังเคราะห์ - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่าห้ามใช้สีสังเคราะห์ในกุนเชียง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 110 ‘สารกันบูด’ สูตรอร่อยเสี่ยงในลูกชิ้น

ลูกชิ้น หนึ่งในอาหารยอดนิยม ทั้งกินเล่นกินจริง นำไปปรุงเป็นอาหารต่างๆ ได้หลายเมนู ทั้งใส่ ก๋วยเตี๋ยว ปิ้ง ทอด หรือยำลูกชิ้นก็มี ลูกชิ้นมีขายทั่วไปทั้งหน้าโรงเรียน หน้าปากซอย ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาเก็ตในห้างสรรพสินค้า และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยความหลากหลายในการนำไปประกอบอาหารนี้เอง ทำให้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารสนใจและอยากรู้ว่าจะมีการปนเปื้อนอะไรบ้างในลูกชิ้น ทางโครงการฯ ร่วมกับนิตยสารฉลาดซื้อ และพื้นที่ดำเนินงานอีก 7 จังหวัด ของโครงการพัฒนากลไก ฯ จึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นไก่ และ ลูกชิ้นปลา จากทั้งตลาดสด ร้านค้าปลีกในจังหวัด และ ห้างค้าปลีกและค้าส่งขนาดใหญ่ (โลตัส แมคโคร คาร์ฟูร์) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาสารกันบูด 4 ประเภท คือ กรดเบนโซอิค กรดซอร์บิค ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนั้นยังตรวจหาน้ำประสานทองหรือ บอแรกซ์ อีกด้วย โดยเก็บตัวอย่างลูกชิ้นหมูจากพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ และ พะเยา จำนวน 22 ตัวอย่าง (22 ยี่ห้อ) เก็บตัวอย่างลูกชิ้นไก่จากจังหวัดสงขลา และ จังหวัดสตูล จำนวน 8 ตัวอย่าง (8 ยี่ห้อ) และ เก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลา จากจังหวัดพะเยา จำนวน 2 ตัวอย่าง (2 ยี่ห้อ) รวมตัวอย่างลูกชิ้นที่เก็บ ทั้งสิ้น 32 ตัวอย่าง (32 ยี่ห้อ) ผลการทดสอบ1. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร ประเภทสารกันบูด – กรดเบนโซอิค1.1. พบว่าลูกชิ้นหมูทุกยี่ห้อ (22 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,206.97 มิลลิกรัม/กิโลกรัม การแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามผลที่พบออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 7 ตัวอย่าง (ร้อยละ 32) และกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 15 ตัวอย่าง (ร้อยละ 68) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 5 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อกวางตุ้ง 9536.19 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากห้างโลตัสจังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูรวมดาว 3,572 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม (3) ยี่ห้อหมูสยาม 3317.59 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพฯ (4) ยี่ห้อคุณหมอ 3,163.27 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดห้วยขวาง กรุงเทพฯ และ (5) ยี่ห้อน้องเพียร 3,152 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากจังหวัดมหาสารคาม 1.2. พบว่าลูกชิ้นไก่ทุกยี่ห้อ (8 ยี่ห้อ) ที่เก็บตัวอย่างใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค โดยมีค่าเฉลี่ยของปริมาณที่พบอยู่ที่ 2,243.668 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคต่ำกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 37.5) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณกรดเบนโซอิคสูงกว่า 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จำนวน 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62.5) ปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 ตัวอย่างได้แก่ (1) ยี่ห้ออร่อย 5 ดาว 5,796 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา (2) ยี่ห้อบีบี 4,371.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดสดละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล และ (3) ยี่ห้อจงหยวน 2,672 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1.3. พบว่าลูกชิ้นปลาจำนวน 1 ตัวอย่างจาก 2 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจในจังหวัดพะเยาใส่สารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค คือยี่ห้อห้าดาว ซึ่งเก็บจากตลาดสดแม่ต๋ำ โดยพบที่ปริมาณ 167.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 2. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – กรดซอร์บิคพบว่ามีลูกชิ้นจำนวน 5 ตัวอย่างที่ใช้กรดซอร์บิคในผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นลูกชิ้นหมูจำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ (1) ยี่ห้อแชมป์ 138.07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างแม็คโคร จังหวัดเชียงใหม่ (2) ยี่ห้อหมูดี 61.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) ยี่ห้อเทสโก้ 103.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่เก็บจากห้างโลตัสจังหวัดพะเยา อีก 2 ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิค ได้แก่ลูกชิ้นไก่ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสตูล ประกอบด้วยยี่ห้อบีวัน 406 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ยี่ห้อไก่ยิ้ม 143.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 3. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนเตรทจากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนเตรทในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็นลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพ ฯ 4 ตัวอย่าง สมุทรสงคราม 2 ตัวอย่าง และมหาสารคาม 1 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 2.5 – 35 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารประเภทสารกันบูด – ไนไตรท์จากการทดสอบทั้งสิ้น 28 ตัวอย่าง พบการใช้ไนไตรท์ในลูกชิ้นทั้งสิ้น 11 ตัวอย่าง แบ่งเป็น ลูกชิ้นหมู 7 ตัวอย่าง (กรุงเทพฯ 3 ตัวอย่าง และ สมุทรสงคราม 4 ตัวอย่าง) และลูกชิ้นไก่ 4 ตัวอย่าง (ทั้งหมดจากจังหวัดสงขลา) โดยมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.2 – 4.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 5. การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร – น้ำประสานทอง หรือ บอแรกซ์ไม่พบน้ำประสานทอง (บอแรกซ์) ในทุกตัวอย่างที่ทำการทดสอบ ข้อสังเกต1. มีลูกชิ้นหมูทั้งสิ้น 3 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูดีและยี่ห้อแชมป์ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดขอนแก่น และยี่ห้อเทสโก้ ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดพะเยา 2. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 2 ยี่ห้อ ที่ใช้สารกันบูด 2 ชนิด คือกรดเบนโซอิค และกรดซอร์บิคร่วมกันในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อ บีวันของบริษัทอาหารเบทเทอร์ และ ยี่ห้อไก่ยิ้มของบริษัท ซีพี ที่เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสงขลา 3. มีลูกชิ้นหมูจำนวน 5 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อหมูสยาม วีไอพี และคุณหมอ ซึ่งเก็บจากตลาดสดในกรุงเทพฯ และ ยี่ห้อ พีพีเอ็น และ ศรีปทุม ซึ่งเก็บจากร้านค้าในจังหวัดสมุทรสงคราม 4. มีลูกชิ้นไก่จำนวน 4 ยี่ห้อ ที่ใส่สารกันบูดตั้งแต่ 3 ชนิดขึ้นไป (กรดเบนโซอิค ไนเตรท และไนไตรท์) ในผลิตภัณฑ์เดียว ได้แก่ ยี่ห้อจงหยวน อร่อย 5 ดาว บอลลูน และดิสโก้ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดสดในจังหวัดสงขลา สรุปผลในการทดสอบครั้งนี้ พบว่าตัวอย่างลูกชิ้นเกือบทุกยี่ห้อที่เรานำมาทดสอบครั้งนี้มีการใช้สารกันบูด โดยเฉพาะกรดเบนโซอิค ซึ่งถึงแม้ อย. จะอนุญาตให้ใช้ได้ แต่ปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก เมื่อเทียบมาตรฐานอาหารสากล (Codex Alimentarius Commission) ซึ่งกำหนดปริมาณการใช้กรดเบนโซอิคในอาหารไว้ว่าไม่ควรเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับคนที่ชอบลูกชิ้น เห็นตัวเลขของสารกันบูดจากผลการทดสอบครั้งนี้แล้วอาจตกใจ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจว่า สารกันบูดสามารถใส่ลงในลูกชิ้นได้แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด ซึ่งเราในฐานะผู้บริโภคก็ต้องรู้จักเลือกที่จะรับประทาน คือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงข้อมูลส่วนผสมต่างๆ ชัดเจน แสดงแหล่งที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ล่าสุด อย. ก็ได้ออกกฎระเบียบใหม่ให้ผู้ผลิตลูกชิ้นต้องติดฉลากแสดงข้อมูลสำคัญต่างๆ ลงบนสินค้าของตัวเอง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อ นอกจากนี้คนที่ชอบทานลูกชิ้นก็ต้องรู้จักควบคุมปริมาณการรับประทาน คือทานแต่พอดี เพราะถ้าทานมากไปก็ยิ่งเสี่ยงอันตราย ตารางแสดงผลการทดสอบสารกันบูดในลูกชิ้น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 95 หมูยอ ก็ไม่พ้นสารกันบูด

หมูยอ อาหารพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบรับประทานและนิยมซื้อเป็นของฝากเวลาไปแอ่วเมืองเหนือหรือเยือนถิ่นอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่า มีผลิตภัณฑ์แหนมและหมูยอ เป็นของดีของฝากประจำจังหวัดเดิมเวลาอยากกินหมูยอ เราอาจต้องรอให้คนซื้อมาฝาก แต่ตอนนี้แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็มีขายแล้ว เพราะเขาพัฒนาให้หมูยอกลายเป็นสินค้าที่สามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ แต่ผู้บริโภคก็ต้องระวังไว้นะคะ เพราะหมูยอ จำเป็นมากที่ต้องใส่สารกันบูด เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู ที่เอามาปั่นให้ละเอียดและผสมเครื่องปรุงตามสูตร ตีให้เหนียวหนับจนสามารถปั้นเป็นแท่งกลมๆ ได้ ก่อนจะทำให้สุก  แม้เป็นอาหารที่สุกแล้ว แต่ก็อย่างที่ทราบกันว่า อากาศบ้านเรานั้นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุดๆ ดังนั้นอาหารชนิดนี้หากจะส่งขายทั่วประเทศหรือแม้แต่เจ้าดังที่ขายในท้องถิ่นหรือตลาดสดประจำเมืองท่องเที่ยวทั้งหลาย ก็จำเป็นต้องผสมสารกันบูดกันไว้ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อถนอมรักษาให้ผลิตภัณฑ์ไม่บูดเน่าเสียก่อนจะเข้าปากผู้บริโภค  ------------------------------------------------------------------------------------------------------- กรดเบนโซอิกหรือเกลือเบนโซเอทมีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อใส่ลงในอาหาร ทำให้รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง และมีราคาถูก ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิก คือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อจุลินทรีย์จำพวกยีสต์และแบคทีเรียได้ดี โดยปกติร่างกายของคนเรา สามารถกำจัดกรดเบนโซอิกออกได้โดยขับออกมาทางปัสสาวะ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- การผสมสารกันบูดทั้งสองชนิดที่กล่าวมา ไม่ใช่เรื่องต้องห้าม สามารถทำได้ค่ะ ทางกระทรวงสาธารณสุขเขาอนุญาต แต่มีมาตรฐานกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เพราะถ้ามากกว่านี้เราก็เสี่ยงกับการรับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไป (ต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งเรากินอะไรสารพัดอย่าง อาจไปเจอเอาสารกันบูดสองตัวนี้เข้าอีกก็ได้)ฉลาดซื้อจึงไปเดินตลาด เดินซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างและร้านสะดวกซื้อ แล้วได้หมูยอชนิดที่วางขายทั่วประเทศจำนวน  5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.เจ๊หงษ์  หมูยอ 2.เจ้าสัว เตียหงี่เฮียง 3.เวียงเหนือ หมูยอ 4.บ้านไผ่ หมูยอ  5.ส.ขอนแก่น หมูยอเล็ก แล้วยังได้หมูยอที่จำหน่ายใน กาดวโรรส ตลาดดังเมืองเชียงใหม่ มาอีก 3 ยี่ห้อ คือ ป้าย่น หมูยอตำรับจีนไหหลำ วิมลรัตน์ หมูยอพริกไทยดำและสมพัตร หมูยอ ตำรับอุดร ซึ่ง 3 ตัวหลังนี้ไม่มีวันหมดอายุระบุ เพราะแม่ค้าเขาแจ้งว่า “ขายหมดวันต่อวันจ้า” ตารางทดสอบ สารกันบูด Benzoic and Sorbic acid ;ในผลิตภัณฑ์หมูยอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 87 กินน้ำพริกปลอดสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย รวมไปถึงที่เห็นขายในซูเปอร์มาเก็ตของห้างสรรพสินค้าหรือตามงานแสดงสินค้าราคาประหยัดทั้งหลาย (แบบที่ใส่เป็นกะละมังใหญ่ๆ) น้ำพริกประเภทผัดอย่างน้ำพริกนรก น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหายเพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงทำทดสอบหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค ฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่างที่มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วง   ผลิตภัณฑ์น้ำพริก      

อ่านเพิ่มเติม >