ฉบับที่ 204 ดูหนังออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์ เจ้าไหนน่าใช้บริการที่สุด

พฤติกรรมการดูภาพยนตร์ของคนยุคปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก การรับชมภาพยนตร์เฉพาะแค่ในโรงภาพยนตร์หรือหน้าจอโทรทัศน์อาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป คนที่ชื่นชอบการชมภาพยนตร์หลายคนเริ่มหันมารับชมผ่านทางสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ในอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์กันมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และแม้ว่า ณ เวลานี้ในสื่อออนไลน์จะเต็มไปด้วยการเผยแพร่ภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สำหรับคนที่อยากสนับสนุนของถูกลิขสิทธิ์ก็ยังมีบริการให้รับชมภาพยนตร์ออนไลน์แบบถูกกฎหมายไว้คอยบริการอยู่จำนวนไม่น้อย ซึ่งปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับในต่างประเทศเริ่มมีการผลิตภาพยนตร์และซีรี่ส์เพื่อฉายทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันสำหรับรับชมทางออนไลน์โดยเฉพาะฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจคนชอบดูหนังที่อยากรับชมหนังและซีรี่ส์เรื่องดังผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือ แท็บแล็ต ด้วยผลทดสอบเปรียบเทียบ เว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่ให้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง (Streaming Video) ฉายภาพยนตร์ผ่านระบบออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์ตารางเปรียบเทียบบริการของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันดูภาพยนตร์ออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์ฉลาดซื้อแนะนำ-Netflix, iflix และ Hooq ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับคนที่อยากรับชมภาพยนตร์และซีรี่ส์ออนไลน์เพื่อบอกเลิกการเป็นสมาชิก เพราะมีปริมาณให้เลือกชมเยอะ มีความหลากหลาย มีการอัพเดทคอนเทนต์ใหม่ๆ ตลอดเวลา ที่สำคัญคือภาพยนตร์และซีรี่ส์ที่มีให้ชม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน-Netflix, iflix และ Hooq ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดสำหรับคนที่อยากรับชมภาพยนตร์และซีรี่ส์ออนไลน์เพื่อบอกเลิกการเป็นสมาชิก เพราะมีปริมาณให้เลือกชมเยอะ มีความหลากหลาย มีการอัพเดทคอนเทนต์ใหม่ๆ ตลอดเวลา ที่สำคัญคือภาพยนตร์และซีรี่ส์ที่มีให้ชม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในปัจจุบัน-ส่วนจะเลือกใช้บริการเจ้าไหนก็ขึ้นอยู่กับ เนื้อหาของภาพยนตร์และซีรี่ส์ที่ต้องการรับชม ดังนั้นควรเข้าไปสำรวจดูเนื้อหาที่มีให้ชมของแต่ละเจ้า ก่อนตัดสินใจสมัครใช้บริการ-การจ่ายค่าบริการแบบตัดเงินผ่านบัตรเครดิต ผู้ให้บริการจะทำการตัดเงินต่ออายุสมาชิกแบบอัตโนมัติ ดังนั้นหากต้องการยุติการใช้บริการต้องทำให้การติดต่อกับทางผู้บริการ เพื่อบอกเลิกการเป็นสมาชิก-นอกจากการดูภาพยนตร์แบบถูกลิขสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์สตรีมมิ่งและแอปพลิเคชันที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เรายังสามารถรับชมภาพยนตร์แบบถูกลิขสิทธ์ผ่านทางมือถือผ่านแอปพลิเคชันอย่าง Google Play Store ในมือถือระบบแอนดรอยด์ และ Itunes ในมือถือระบบ IOS ซึ่งมีภาพยนตร์จำนวนมากจำหน่ายให้กับใครที่อยากรับชมแบบถูกลิขสิทธิ์บนมือถือและแท็บเล็ต โดยมีให้เลือกทั้งแบบเช่า คือเปิดดูได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กับแบบขายขาด สามารถโหลดเก็บไว้ดูภายหลังได้ โดยราคาแบบเช่าจะเริ่มที่ 60 บาท ส่วนราคาแบบขายขาดเริ่มที่ 280 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 198 ใครบ้าง มีสิทธิร้องศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

เรื่องน่าสนใจคราวนี้เกี่ยวกับขั้นตอนการบังคับคดีหลังศาลมีคำพิพากษากันนะครับ  หลายคนอาจไม่ทราบ แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะหากวันหนึ่งเราตกเป็นลูกหนี้ แล้วถูกฟ้อง จนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับผิด เราจะถูกบังคับคดี ซึ่งเราก็ควรรู้ขั้นตอนการบังคับคดีของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ ซึ่งในตอนนี้เป็นคดีที่มีผู้ร่วมรับผิดมากกว่าหนึ่งราย รู้ไว้เผื่อต้องใช้สิทธิต่อสู้ในชั้นบังคับคดีได้นะครับ   โดยประเด็นที่หยิบยกมาเล่า เป็นคดีที่มีเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยสี่คนร่วมรับผิดใช้เงิน ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชำระเงิน หากผิดนัดยอมให้ยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 4 ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำยึดที่ดินเพื่อนำออกขายทอดตลาด และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่าการยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 จำนวน 131 แปลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งประกาศเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียต้องรับภาระหนี้ส่วนที่เหลือ ขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาด ซึ่งต่อมาคดีนี้ได้ขึ้นสู่ศาลฏีกา โดยมีประเด็นที่ศาลฏีกาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 3 ทราบ และมีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่  โดยศาลฏีกาได้ตัดสินว่า กรณีมีจำเลยหลายคนที่ต้องร่วมรับผิดกับโจทก์ เฉพาะจำเลยที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดเท่านั้น ที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ เมื่อที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาดมีจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นเจ้าของไม่ปรากฎชื่อจำเลยที่ 3 เป็นหรือร่วมมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นลูกหนี้ที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1   ก็ตาม ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีทรัพย์ที่ยึดโดยวิธีขายทอดตลาดไปเพียงแจ้งวันขายทอดตลาดและสถานที่ที่กำหนดไว้ในประกาศให้จำเลยที่ 1 ผู้มีชื่อตามทะเบียนผู้เดียว จึงเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบแล้วไม่มีเหตุเพิกถอน ตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 19419/2557คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19419/2557 คำร้องของจำเลยที่ 3 ระบุชัดว่าประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้ตนทราบ เท่ากับเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเพราะจำเลยที่ 3 เห็นว่าเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเห็นได้ว่าในมาตราดังกล่าว กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้เจ้าของหรือผู้มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดได้ทราบถึงการขายทอดตลาดเท่านั้น หมายความว่า หากมีกรณีจำเลยหลายคนที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ เฉพาะจำเลยที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดเท่านั้นที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ ด้วยเหตุนี้ ความในมาตรา 306 จึงบัญญัติไว้เพียงว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียน มิได้หมายความรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในวิธีบังคับคดีตามมาตรา 280 แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 รับมาในคำร้องว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 1 ทั้งทราบได้จากเอกสารท้ายคำร้องและเอกสารในสำนวนว่า ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาดมีจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นเจ้าของไม่ปรากฎชื่อจำเลยที่ 3 เป็นหรือร่วมมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นลูกหนี้ที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ก็ตาม ผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องแจ้งวัน เวลา และสถานที่ในการขายทอดตลาดจึงมีเพียงจำเลยที่ 1 ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีทรัพย์ที่ยึดโดยวิธีขายทอดตลาดไปเพียงแจ้งวันขายทอดตลาดและสถานที่ที่กำหนดไว้ในประกาศให้จำเลยที่ 1 ผู้มีชื่อตามทะเบียนผู้เดียว จึงเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 ใช้สิทธิฉุกเฉินไม่ได้

ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคหลายรายที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถใช้สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าได้ ปัจจุบันเราก็ยังพบปัญหานี้อยู่ แต่มีความคืบหน้ามาให้ผู้บริโภคได้รู้กันช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คุณสมจิตรเรียกรถพยาบาลให้รีบมารับเพื่อนที่มีอาการหมดสติอยู่ภายในบ้าน ซึ่งได้ถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาลเปาโล เพราะอยู่ที่ใกล้ที่สุดในขณะนั้น โดยแพทย์ได้ช่วยเหลือด้วยการพาเข้าห้องไอซียู อย่างไรก็ตามก่อนทำการรักษา ทางโรงพยาบาลได้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าเป็นเงิน 50,000 บาท ซึ่งคุณสมจิตรก็ยินยอมจ่ายเงินดังกล่าวไปในเวลาต่อมาเพื่อนของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ภาระอื่นๆ ยังคงอยู่ เพราะแพทย์ได้แจ้งว่ายังมีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมอีกเกือบ 1,000 บาท ซึ่งคุณสมจิตรก็ได้จ่ายเพิ่มไปอีกครั้ง แต่เธอก็สงสัยว่ากรณีดังกล่าวสามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้หรือไม่ จึงสอบถามไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และได้รับการตอบกลับว่า กรณีดังกล่าวสามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้ โดยให้ทางโรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายผ่านระบบของ สปสช. ได้เลย อย่างไรก็ตามเมื่อคุณสมจิตรติดต่อกลับไปยังโรงพยาบาลก็พบว่า ทางโรงพยาบาลไม่ได้ทำเรื่องตั้งเบิกให้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คุณสมจิตรจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งเอกสารต่างๆ มาเพิ่มเติม ได้แก่ ใบเสร็จการชำระเงิน สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต และช่วยร่างหนังสือถึง สปสช. เกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาพยาบาลโดยการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า และทำหนังสือถึงโรงพยาบาลเพื่อให้ดำเนินการตั้งเบิกกองทุนฉุกเฉิน พร้อมโทรศัพท์สอบถามที่โรงพยาบาลถึงการจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่ายังไม่มีการตั้งเบิก อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีดังกล่าวจะนำเรื่องเข้าพิจารณาและขอติดต่อกลับมา โดยภายหลังได้มีการเยียวยาผู้ร้องด้วยการแจ้งว่าจะตั้งเบิกกรณีฉุกเฉินให้ แต่จะได้รับเงินคืนเพียง 10,000 กว่าบาท โดยเช็คจะออกอีกประมาณ 2 เดือนถัดไป ซึ่งผู้ร้องจึงยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวและขอยุติเรื่องร้องเรียนทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหากรณีการใช้สิทธิฉุกเฉินที่ไม่ทั่วถึง ทาง สปสช. จึงได้ได้ออกประกาศล่าสุด โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุดฟรี โดยไม่ต้องจ่ายเงินใน 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งกลุ่มอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สามารถใช้สิทธิได้มี 6 ประเภท ดังนี้ 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง 3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม 4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง 5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และ 6. มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตนอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลแต่ละแห่งรับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว จะต้องดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของตน โดยไม่มีเงื่อนไขการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรกนอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลแต่ละแห่งรับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว จะต้องดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของตน โดยไม่มีเงื่อนไขการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรก แต่ให้เรียกเก็บจากกรมธรรม์ประกันภัย หรือกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิรักษาพยาบาลตามกฎหมาย เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กรมบัญชีกลาง หรือตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายตามที่ภาครัฐกำหนด เช่น ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ 2,400 บาท/ชั่วโมง ค่าอัลตราซาวน์ 1,150 บาท/ครั้ง ค่า MRI สมอง 8,000 บาท/ครั้ง ค่าลิ้นหัวใจเทียม 29,000 บาท/อัน ค่าสายยางและปอดเทียม 80,000 บาท/ชุด ส่วนการรักษาพยาบาลหลัง 72 ชั่วโมงนั้น ให้โรงพยาบาลที่รับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิรับการรักษาอยู่ ซึ่งจะเข้าสู่ระบบปกติ แต่หากผู้ป่วยประสงค์จะรักษาต่อในโรงพยาบาลแห่งนั้นก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง อย่างไรก็ตามหากใครสงสัยว่าจะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่ก็สามารถโทรศัพท์สอบถามก่อนได้ที่สายด่วน 1669 (ฟรี) เพื่อช่วยให้เกิดการคัดกรองที่ถูกต้อง รวมทั้งหากพบผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถโทรแจ้งที่เบอร์สายด่วนดังกล่าวได้เช่นกัน โดยมีแนวทางในการแจ้งรายละเอียดดังนี้ 1. ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด 2. บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน 3. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ 4. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย 5. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก๊ส 6. บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 7. ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และ 8. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล หรือในกรณีที่มีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทร. 02-8721669 หรือสายด่วน สปสช. 1330

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ค่าปลงศพ กรณีทำให้เขาตาย เรียกได้แค่ไหน

ในการเรียกร้องให้ชดเชยความเสียหาย กรณีทำละเมิดจนถึงแก่ชีวิต หากเกิดเหตุมีคนในครอบครัว หรือญาติของเรามีอันเป็นไปถึงแก่ชีวิต คนที่ทำละเมิดต้องรับผิดอะไร และเราหรือญาติของเราในฐานะผู้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง หลังจากเกิดเหตุเสียชีวิต แน่นอนว่าก็ต้องมีการนำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือประเพณีท้องถิ่น เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ซึ่งตามกฎหมาย เราเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่า “ค่าปลงศพ”  อันได้แก่ ค่าปลงศพ พอตายแล้วจะต้องมีหีบศพ ห่อศพ ฉีดยาป้องกันศพเน่า แต่งตัวให้ศพ แต่งชุดพิเศษหรือชุดที่ชอบ จ้างช่างตัดผมหรือหวีผมให้ หรือว่ากรณีร่างกายถูกรถชนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่าเป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง ค่าพิธีการรดน้ำศพ สวดศพ ทำบุญอันจำเป็นตามประเพณี ค่าเช่าเมรุเผาศพ เป็นต้น ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าปลงศพได้ ตามกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะ คือทายาทผู้มีอำนาจจัดการศพ ตามมาตรา 1649 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    ดังนั้น ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ในการจัดการศพ แม้จะเป็นผู้จัดการศพ ก็เรียกค่าปลงศพไม่ได้ (  (ฎ.212-213/2525) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกก็เรียกค่าปลงศพได้ (ฏ. 14/2517 และที่ 1202/2549) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้ ค่าปลงศพใช่ว่าจะต้องจ่ายไปแล้วเท่านั้นถึงจะมาเรียกร้องได้ แม้ว่าจะเป็นค่าปลงศพที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น ทายาทยังไม่ปลงศพทันทีแต่อาจจะจัดการเบื้องต้นโดยเก็บศพไว้ก่อน แล้วค่อยทำ ซึ่งเช่นนี้สามารถเรียกค่าปลงศพในอานาคตได้ แต่กรณีนี้ต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดว่าจะจัดการศพในอนาคตอย่างไร ตามลัทธิประเพณีหรือไม่ ตามสมควรหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  143/2521ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามก่อน เพราะถือว่าได้ผิดนัดมาตั้งแต่วันทำละเมิดแล้วเมื่อเหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของคนขับรถทั้งสองฝ่าย และพฤติการณ์แห่งละเมิดมีความร้ายแรงพอๆ กันความเสียหายย่อมเป็นพับกันไปผู้ตายเนื่องจากการทำละเมิดเป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ โดยภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยจะยกเอาข้อที่ภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายมายกเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่และแม้โจทก์จะยังไม่ได้จ่ายเงินค่าฌาปนกิจศพผู้ตายก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ถ้าผู้ทำละเมิดช่วยค่าทำศพโดยไม่ยอมรับผิดจะมีลักษณะเป็นการช่วยทำบุญอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าปลงศพที่เรียกว่าเป็นค่าสินไหมทดแทน กรณีนี้จะมีบ่อยเวลาเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ฝ่ายเจ้าของรถยนต์ผู้ทำละเมิดจะไปเจรจากับฝ่ายผู้ตายเจรจาในช่วงแรกก็ยังไม่ยอมรับผิด ฝ่ายผู้ตายก็จะเรียกมาก ฝ่ายนี้ก็ไม่ยอมให้อ้างว่าไม่ได้ประมาท ไม่ผิด แต่เพื่อบรรเทาความรู้สึกของฝ่ายผู้ตาย ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาก็จะมอบเงินให้บางส่วน เช่นช่วยไป 10,000 บาท แต่ไม่ได้รับผิดเป็นการบรรเทาความรู้สึก กรณีอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกว่าเป็นค่าปลงศพเพราะว่าจ่ายโดยไม่ได้รับผิด สมมุติต่อมาเขาฟ้องเรียกค่าปลงศพ 100,000 บาท จะไปบอกขอหักที่ช่วยไปแล้ว 10,000 บาท อย่างนี้หักไม่ได้เพราะเป็นการช่วยทำบุญไม่ใช่ช่วยจ่ายค่าปลงศพอันเป็นค่าสินไหมทดแทนคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2528เงินจำนวน 3,000 บาทที่จำเลยที่ 3 ช่วยค่าทำศพในขณะที่จำเลยที่ 3 มิได้ยอมรับผิดว่าการตายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างของตน และมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมทำบุญอันเป็นสำนึกในด้านศีลธรรมและเรื่องการบุญการกุศลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะนำมาหักกับจำนวนเงินค่าทำศพที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องไม่ได้สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่าแม้ผู้บริโภคจะมีสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพดังกล่าว ก็ต้องเรียกตามฐานะและตามสมควรนะครับ ไม่ใช่ว่าจะเรียกร้องได้ตามอำเภอใจ หรือถือโอกาสจัดงานเสียใหญ่โตเกินฐานะ เพราะศาลจะพิจารณากำหนดให้ตามฐานะสมควรเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย นั้น จะต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามีการใช้จ่ายเงินทำศพตามประเพณีเป็นจำนวนเท่าใดแล้วผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2560ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิมภายใน 3 วันไม่เป็นจริงนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้องเรียนปัญหาทางด้านการให้บริการในประเทศไทยปี 2559 ระบุปัญหา เรื่องการย้ายค่ายเบอร์เดิม ถูกร้องเรียนเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวนเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมปี 2559 ทำลายสถิติเดิม ด้วยจำนวนกว่า 4,200 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีเพียง 2,913 เรื่อง เกือบ 50% โดยประเด็นเรื่องร้องเรียนที่เพิ่มกว่าพันเรื่องนั้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาบริการคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิม) ซึ่งแม้ว่า กสทช. จะกำหนดให้การย้ายค่ายต้องแล้วเสร็จใน 3 วันทำการก็ตาม แต่ผู้บริโภคเกินกว่าครึ่งก็ไม่สามารถย้ายค่ายได้ใน 3 วัน หรือถูกปฏิเสธการย้ายค่าย ในประเด็นเรื่องการย้ายค่าย สาเหตุมาจากปัญหาการช่วงชิงผู้บริโภคที่ซิมจะดับเมื่อต้นปี 2559 ด้วยช่องทางบริการคงสิทธิเลขหมายนั้น ถือเป็นกลไกการแข่งขันที่สร้างตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ซิมจะดับว่า จะเลือกใช้บริการค่ายไหนดี แต่ปัญหาก็เกิดเพราะมีการเปิดช่องทางย้ายค่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เพียงรูด หรือเสียบบัตรประชาชนกับเครื่องอ่านบัตร ซึ่งโดยปกติธุรกรรมต่างๆ มักจะต้องมีการเซ็นชื่อพิสูจน์ตัวบุคคลร่วมกับการแสดงบัตรประชาชน จึงเกิดปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของช่องทางดังกล่าวตามมา ทำให้เกิดการปฏิเสธการโอนย้ายจำนวนมหาศาล และเกิดกรณีการใช้บัตรประชาชนโอนย้ายโดยเจ้าของไม่ได้ยินยอม ซึ่งขณะนี้ กสทช.ได้ดำเนินการออกแนวปฏิบัติในการย้ายค่ายใหม่ให้สะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มมีผลในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้กรมแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลคนแก่” เช้าไปเย็นกลับ พร้อมจัดทำแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุกรมการแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลผู้สูงอายุ” แบบเช้าไปเย็นกลับ ภายในปี 2560 รับดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ชนชั้นกลาง ก่อนถอดบทเรียนจัดทำเป็นแนวทางมาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุระดับประเทศ ให้เอกชนนำไปเป็นแบบ หากทำได้ออกใบรับรองการันตีทันที              นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านราว 2% ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านจะมีอาการป่วยบ้าง แต่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และในช่วงกลางวันมักต้องอยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแล เนื่องจากลูกหลานออกไปทำงาน แต่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ต้องการที่จะไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ กรมฯ เตรียมที่จะจัดตั้งสถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน (Day Care) โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารของกรมภายในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเป็นสถานที่ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านดังกล่าว โดยจะเป็นลักษณะการดูแลแบบเช้าไปเย็นกลับ ลูกหลานสามารถมาส่งในตอนเช้าและมารับกลับในตอนเย็นเหมือนกับสถานดูแลเด็กเล็ก บริการนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อถอดบทเรียนและจัดทำเป็นมาตรฐานประเทศในเรื่องสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปดำเนินการต่อได้ “นอกจากนี้ กรมฯ ยังเตรียมที่จะจัดหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรม เพื่อที่จะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีการรับรองการผ่านการอบรมที่จะมีใบการันตีจากกรมการแพทย์ด้วย” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวกรมอนามัยเตรียมปฏิบัติการเพื่อให้เด็กไทยสูง ด้วยนมวันละ 2 แก้วกรมอนามัย ตั้งเป้าเพิ่มความสูง รูปร่างสมส่วน “เด็กวัยเรียน” ชี้ ปี 2579 เพศชายสูงเฉลี่ย 163 ซม. เพศหญิง 164 ซม. เผยดื่มนมคู่อาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทก นอนหลับสนิท 8 - 10 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มความสูงได้ เล็งเพิ่มการดื่มนมเด็กเป็นวันละ 2 แก้ว “การศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายแหล่ง พบว่า การดื่มนมมีความสัมพันธ์กับความสูงของเด็ก และล่าสุด ในปี 2555 สถาบันประวัติศาสตร์สังคมนานาชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการดื่มนมที่มีผลต่อความสูงของเด็กวัยเรียนใน 7 ประเทศ พบว่า การดื่มนมวันละ 245 มิลลิลิตร ร่วมกับการกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.4 เซนติเมตรต่อปี อย่างมีนัยสำคัญ”คอบช.  เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน(คอบช.) เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่มีพลัง ตามมาตรา 46 แห่งรัฐธรรมนูญ เผยหนึ่งปีที่ผ่านมามีผู้บริโภคร้องเรียนจำนวน 3,622 เรื่อง เป็นปัญหาด้านบริการสาธารณสุข การเงินการธนาคาร และบริการสาธารณะมากที่สุดจากองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองประธาน คอบช. ระบุปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก จากผลงานเรื่อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การเปลี่ยนบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน การควบคุมราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มทั่วประเทศ การเสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองสินค้าใหม่ที่ชำรุดบกพร่อง (Lemon Law) และความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และอื่นๆ ในส่วนของสถิติการร้องเรียนในปี 2559 ที่ผ่านเข้ามาทาง คอบช. นั้น มีกรณีร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 3,622 เรื่อง แยกเป็นปัญหาด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุขจำนวน 680 เรื่อง ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร 626 เรื่อง ปัญหาด้านบริการสาธารณะ 553 เรื่อง ปัญหาด้านสื่อและโทรคมนาคม 54 เรื่อง ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 450 เรื่อง สินค้าและบริการทั่วไป 372 เรื่อง และปัญหาที่อยู่ที่อาศัยจำนวน 38 เรื่อง ซึ่งทุกเรื่องจะมีทั้งการแก้ไขปัญหาทั้งแบบปัจเจกและถูกยกระดับขึ้นเป็นงานรณรงค์ด้านนโยบายทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ  ยกตัวอย่างเรื่อง สภาผู้บริโภคจังหวัด เช่น จังหวัดพะเยา สามารถจัดตั้งสภาผู้บริโภคโดยมีรูปแบบคณะทำงานที่เป็นทางการ สามารถขับเคลื่อนงานผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา ได้อย่างเป็นระบบ หรือที่จังหวัดเพชรบุรีมีการร่วมกันกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภคจังหวัดในประเด็นการรู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเกินจริง จนเกิดเป็นคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อสร้างมาตรการในการจัดการปัญหาดังกล่าวในระดับจังหวัดขึ้นมา  เช่นเดียวกับที่ จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคประชาชนสามารถทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภค ในประเด็นอาหารปลอดภัย และมีนโยบายผลักดันการใช้ฉลากโภชนาการอาหารแบบสัญญาณไฟจราจรการมีสภาหรือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระ จึงมีความสำคัญเพราะจะช่วยสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันด้วยการทำงานของ คอบช. สามารถสร้างองค์กรผุ้บริโภคที่เข้มแข็งได้ถึง 44 จังหวัดแล้ว  คอบช. จึงขอเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดตั้ง องค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายให้ได้ในเร็ววัน เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการประสานนโยบายและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มที่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 บอกเลิก (บริการโทรคมนาคม) อย่างไรให้ได้ผล (ตอนที่ 3)

บริการโทรคมนาคม มือถือ อินเทอร์เน็ต ทุกวันนี้ สมัครง่ายแต่เลิกยาก เพราะทุกบริษัทมัวแต่แข่งกัน หาลูกค้า จนอาจลืมใส่ใจพัฒนาคุณภาพบริการให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น หลายคนอยากยกเลิกบริการที่ใช้อยู่ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะบริษัทจะมีข้ออ้างสารพัดที่จะปฏิเสธ ไม่ให้เรายกเลิกบริการได้ง่าย ๆ ซึ่งผมได้แนะนำวิธีรับมือไว้ 2 ตอนแล้ว สรุปสั้น ๆ อีกครั้ง ก็คือ คุณสามารถยกเลิกบริการโทรคมนาคมได้ โดยการทำหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แจ้งให้บริษัทรับรู้ จะส่งจดหมาย แฟกซ์ หรือ อีเมล์ ก็ได้ทั้งนั้น แค่แจ้งแล้วจบเลย สำหรับคนที่ใช้แบบรายเดือน (Post Paid) เมื่อจะยกเลิกบริการ จะมีประเด็นเรื่องการคิดค่าบริการเดือนสุดท้ายที่ต้องดูให้ดี เพราะรายการส่งเสริมการขายทุกวันนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นแพ็คเกจแบบเหมาจ่ายรายเดือน เช่น จ่าย 540 บาท โทรฟรีได้ 550 นาที และเล่นเน็ตได้ไม่อั้น ค่าโทรส่วนเกินคิดนาทีละ 1.50 บาท ถ้าคุณจะยกเลิกบริการในระหว่างที่ยังไม่ครบรอบบิล คำถามคือ คุณจะต้องจ่ายค่าบริการเต็มจำนวนไหม โดยหลักทั่วไป คำตอบ คือ จ่ายตามสัดส่วนการใช้งานจริง ไม่ต้องจ่ายเต็มแพ็คเกจ เช่น ถ้ายกเลิกบริการตอนครึ่งเดือน ก็จ่ายแค่ครึ่งเดียว 270 บาท แต่ในชีวิตจริง มันอาจจะไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะมีลูกค้าจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากเสียเปรียบบริษัท พอรู้ว่าจะกลางเดือนนี้จะยกเลิกบริการ ก็เลยใช้สิทธิโทรเต็มที่ โทรไป 540 นาที แต่ปรากฏว่าโดนบริษัทคิดค่าบริการเพิ่ม โดยอ้างว่าใช้บริการครึ่งเดือน บริษัทก็ลดค่าบริการให้ครึ่งหนึ่งแล้ว แต่สิทธิในการใช้บริการโทรฟรีก็ต้องลดลงครึ่งหนึ่งเช่นกัน จึงเหลือสิทธิโทรฟรีแค่ 275 นาที ดังนั้น ส่วนที่เกินไป 265 นาที จะต้องจ่ายในอัตรานาทีละ 1.50 บาท ต้องจ่ายเพิ่มอีก 397.50 บาทสรุปว่า ลูกค้าใช้แพ็คเกจ 540 บาท/เดือน แต่พอยกเลิกบริการระหว่างรอบบิล กลายเป็นว่าต้องจ่ายเงิน 667.50 บาท ซึ่งแพงกว่าแพ็คเกจที่ใช้งานเต็มเดือนซะอีก งานนี้จึงมีการร้องเรียนว่าบริษัทคิดค่าบริการเกิน เขาควรจ่ายแค่ 270 บาทเท่านั้น เพราะยังโทรไม่เกินแพ็คเกจเลย ซึ่งบริษัทก็โต้แย้งว่า ถ้าจ่ายค่าบริการแค่ครึ่งเดียวแต่ใช้สิทธิเต็มที่ขนาดนี้เขาก็เสียเปรียบเหมือนกันตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นเรื่องจริงนะครับ ซึ่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม ได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนในลักษณะนี้ว่า บริษัทมีสิทธิปรับลดระยะเวลาการโทรฟรี และคิดค่าบริการแบบเฉลี่ยตามสัดส่วนวันที่มีการใช้งานจริง (คือ มีสิทธิคิดค่าบริการแค่ 270 บาท และลดสิทธิโทรฟรีเหลือแค่ 275 นาที) แต่ในกรณีนี้ บริษัทจะคิดค่าบริการในส่วนที่เกินจากสิทธิโทรฟรีโดยเฉลี่ยในอัตรา 1.50 บาท/นาที ไม่ได้ เพราะผู้ร้องเรียนมิได้ใช้สิทธิโทรฟรีเกินจากแพ็คเกจ (ผู้ร้องเรียนใช้โทรศัพท์ไป 540 นาที เกินจากสิทธิโดยเฉลี่ยไป 265 นาที แต่ไม่เกินสิทธิตามแพ็คเกจทั้งหมด 550 นาที) ค่าโทรในส่วนที่เกินสิทธิการใช้งานโดยเฉลี่ย จะต้องคิดในอัตราค่าบริการที่เป็นธรรมสำหรับทุกฝ่าย คือ คิดตามราคาที่แท้จริงของบริการที่มีการใช้งาน สำหรับแพ็คเกจที่รวมทั้งค่าโทรและค่าเน็ตไว้ด้วยกัน ก็ต้องแยกแยะว่าค่าบริการแต่ละประเภท คิดอัตราเท่าไร ซึ่งอาจจะซับซ้อนหน่อยแต่สามารถทำได้ครับ โดยสรุป ตามตัวอย่างที่ยกมา อัตราค่าโทรในแพ็คเกจจะอยู่ที่ประมาณ 0.23 /นาที ดังนั้นส่วนที่เกินมาจากสิทธิโดยเฉลี่ย 265 นาที จะต้องคิดในอัตรานาทีละ 0.23 บาท ซึ่งเป็นเงินแค่ 60.95 บาท สรุปว่า ผู้บริโภคต้องจ่าย 270 + 60.95 = 330.95 บาท แต่บริษัทคิดเงินไป 667.50 บาท ก็ต้องคืนส่วนต่างให้ผู้บริโภคส่วนใครที่ใช้บริการแบบเติมเงิน (Pre Paid) เมื่อยกเลิกบริการก็จะไม่ต้องวุ่นวายกับการคิดคำนวณค่าบริการเดือนสุดท้าย แต่อย่าลืมตรวจสอบว่ามีเงินคงเหลือในระบบหรือไม่ ซึ่งถ้ามีเงินเหลือ คุณสามารถขอคืนจากผู้ให้บริการได้นะครับ เพราะเป็นสิทธิที่กฎหมายรับรองไว้ ในข้อ 34 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 “เมื่อสัญญาเลิกกัน ในกรณีที่ผู้ให้บริการมีเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการต้องคืนเงินนั้นให้แก่ผู้ใช้บริการ ในการคืนเงินดังกล่าว เมื่อผู้ให้บริการได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ใช้บริการหรือเป็นผู้รับมอบอำนาจจากผู้ใช้บริการอย่างถูกต้องแล้ว ให้ผู้ให้บริการคืนเงินภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิกสัญญาทั้งนี้ การคืนเงินค้างชำระแก่ผู้ใช้บริการ อาจคืนด้วยเงินสด เช็ค หรือนำเข้าบัญชีเงินฝากของผู้ใช้บริการ หรือตามวิธีการที่ผู้ใช้บริการได้แจ้งความประสงค์ไว้ กรณีผู้ให้บริการไม่สามารถคืนเงินค้างชำระให้แก่ผู้ใช้บริการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดผู้ให้บริการจะต้องชำระค่าเสียประโยชน์ในอัตราเท่ากับอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้บริการคิดจากผู้ใช้บริการกรณีผู้ใช้บริการผิดนัดไม่ชำระค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการแก่ผู้ให้บริการ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ใช้บริการที่จะเรียกค่าเสียหายอย่างอื่น” ก็เป็นอันว่า ถ้าทำตามคำแนะนำทั้ง 3 ตอนที่ผ่านมา ก็รับรองว่า ท่านผู้อ่านจะสามารถยกเลิกบริการโทรคมนาคมได้แบบ Happy Ending แน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 บอกเลิก (บริการโทรคมนาคม) อย่างไรให้ได้ผล (ตอนที่ 2)

ตอนที่แล้ว ผมได้แนะนำวิธียกเลิกบริการโทรคมนาคมแบบง่าย ๆ แต่ได้ผล นั่นก็คือ การบอกเลิกสัญญาโดยทำเป็นหนังสือส่งถึงบริษัท ซึ่งจะส่งทางจดหมายไปรษณีย์ อีเมล์ หรือ แฟกซ์ ไปก็มีผลตามกฎหมายเหมือนกัน วิธีนี้สะดวกและประหยัดสุดเพราะทำการยกเลิกจากที่บ้านได้เลย ไม่ต้องเดินทางไปที่ศูนย์บริการและไม่ต้องเสียอารมณ์กับลูกตื้อกวนใจของพนักงานที่สำคัญ จำไว้นะครับ การโทรศัพท์ไปแจ้งยกเลิกบริการกับ call center ไม่มีผลในทางกฎหมาย ต้องแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรนะครับ ปัจจุบัน บริการมือถือและอินเทอร์เน็ต มักจะมีรายการส่งเสริมการขายที่ผูกสัญญาให้ลูกค้าต้องใช้บริการอย่างน้อยกี่เดือน กี่ปีก็ว่ากันไป เช่น ซื้อโทรศัพท์รุ่นยอดฮิตได้ในราคาพิเศษ แต่ต้องใช้บริการนาน 2 ปี หรือสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ต ฟรีค่าธรรมเนียม ค่าติดตั้ง ถ้าใช้บริการครบ 1 ปี เป็นต้นเมื่อสมัครใช้บริการแล้ว แต่มีเหตุจำเป็น ต้องยกเลิกบริการ เช่น ต้องย้ายบ้าน ย้ายที่ทำงาน หรือใช้บริการแล้วคุณภาพสัญญาณไม่ดี ฯลฯ กรณีแบบนี้ หลายคนสงสัยว่า จะยกเลิกบริการก่อนครบกำหนดได้ไหม และจะต้องเสียค่าปรับ หรือไม่1. เรื่องนี้ โดยหลักการแล้ว “ผู้ใช้บริการ มีสิทธิบอกเลิกสัญญาใช้บริการโทรคมนาคมเมื่อใดก็ได้” (รายละเอียดหาอ่านได้ในตอนที่แล้ว) และกรณีจัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถมอุปกรณ์โทรคมนาคมในราคาพิเศษ ผู้ให้บริการไม่มีสิทธิคิดค่าปรับ ถ้าผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดประกาศ กทช. เรื่อง มาตรฐานของสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549ข้อ 15 ในกรณีที่ผู้ให้บริการได้ส่งมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือคิดค่าใช้จ่ายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดของค่าอุปกรณ์ ในขณะที่ส่งมอบเพื่อประโยชน์ในการใช้บริการโทรคมนาคมนั้น ผู้ให้บริการจะถือเอาเหตุดังกล่าวมากำหนดเป็นเงื่อนไขอันก่อให้เกิดภาระแก่ผู้ใช้บริการหรือเรียกเก็บค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการที่ผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนกำหนดมิได้ผู้ใช้บริการที่ได้รับมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว และต้องส่งคืนให้แก่ผู้ให้บริการเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง หากผู้ใช้บริการก่อให้เกิดความเสียหายแก่เครื่องอุปกรณ์นั้น ผู้ให้บริการมีสิทธิเรียกให้ผู้ใช้บริการรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแก่เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ จะต้องไม่เกินกว่าราคาตลาดของค่าอุปกรณ์ดังกล่าวในขณะนั้น ในกรณีที่ผู้ให้บริการประสงค์จะคิดค่าใช้จ่ายจากการส่งมอบเครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องตามวรรคหนึ่งจากผู้ใช้บริการ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด2. แม้ผู้ใช้บริการจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมสำหรับทั้ง 2 ฝ่าย สิทธิประโยชน์ที่บริษัทเขาให้มาอาทิ ส่วนลดค่าเครื่องต่าง ๆ ตามโปรโมชั่น ถ้าใช้บริการไม่ครบตามสัญญา ก็ต้องคืนเขาไป เช่น แพ็กเกจรายเดือน 599 บาท รับส่วนลดค่าเครื่องโทรศัพท์ 3,000 บาท เมื่อใช้บริการครบ 6 เดือน ถ้าเกิดใช้บริการไปได้ 3 เดือน แล้วเกิดเหตุต้องยกเลิกบริการ ก็สามารถยกเลิกบริการได้ แต่ผู้ใช้บริการก็ต้องคืนส่วนลดค่าเครื่องตามสัดส่วนที่ใช้งานไป ถ้าตามตัวอย่างนี้ แทนที่จะได้ส่วนลดค่าเครื่องเต็ม 3,000 บาท ก็เหลือแค่ 1,500 บาท แต่ก็ไม่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนส่วนที่เหลือ3. ในส่วนของบริการอินเทอร์เน็ต ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อต้องยกเลิกบริการก่อนครบกำหนดก็คือ บริษัทผู้ให้บริการจะคิดค่าปรับ และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าติดตั้งที่ได้ยกเว้นให้คืน กรณีนี้ นอกจากบริษัทจะคิดค่าปรับไม่ได้เพราะขัดกับข้อ 15 แล้ว ก็ยังไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียม ค่าติดตั้งย้อนหลังได้ด้วย แม้สัญญาใช้บริการจะระบุเอาไว้อย่างนั้น ก็ไม่มีผลบังคับใช้เพราะตามกฎหมาย สัญญาบริการโทรคมนาคมไม่ว่ามือถือ หรืออินเทอร์เน็ต จะมีผลบังคับใช้ได้ต้องได้รับความเห็นชอบจาก กสทช.ก่อน และที่ผ่านมา กสทช. ไม่เคยอนุญาตให้บริษัทคิดค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการอื่นใด หากผู้ใช้บริการยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ดังนั้น ข้อสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลเรื่องของการยกเลิกบริการ ยังไม่จบนะครับ เพราะจะเลิกกันโดยสมบูรณ์ก็ต้องจ่ายค่าบริการให้ครบถ้วนก่อน ดังนั้น ตอนหน้าเราจะมาดูกันว่า ค่าบริการรอบสุดท้ายจะต้องจ่ายเท่าไร ถึงจะเป็นธรรม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 รู้เท่าทันเมล็ดเจีย

ระยะนี้ ดูเหมือน เมล็ดเจีย กลายเป็นพระเอกในตลาดสินค้าสุขภาพทางเลือกโดยเฉพาะในต่างประเทศ ประเทศไทยกำลังตามมาติดๆ เมล็ดเจียจะแซงเมล็ดงาดำหรือแมงลักได้หรือไม่ ในต่างประเทศมีความนิยมเรื่องเมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดสีและเมล็ดธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นอกจากนี้เมล็ดเจีย ยังมีตำนานว่าเป็นธัญพืชที่ชาวแอซเท็กโบราณในคริสศตวรรษ 14-16 นิยมบริโภคเพราะเชื่อว่า จะให้พลังกับร่างกายและสติปัญญา ต่อมาได้เกิดสูญพันธุ์ไป และมาค้นพบใหม่อีกครั้ง ทำให้มีการนำมาเพาะปลูกและบริโภคโดยเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างยิ่งเพราะมีภูมิปัญญาโบราณของชาวแอซเท็กเป็นหลักฐาน เรามารู้เท่าทันเมล็ดเจียกันเถอะเมล็ดเจียคืออะไรเมล็ดเจียมีชื่อว่า Salvia hispanica หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า Chia เป็นพืชตระกูลมินต์ มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกกลางและใต้ และในกัวเตมาลา นักรบชาวแอซเท็กกินเมล็ดเจียเพื่อให้พลังงานและความทนทานสูง พวกเขาเชื่อว่า การกินเมล็ดเจียแค่หนึ่งช้อนชาจะช่วยเพิ่มพลังได้นาน 24 ชั่วโมงคุณค่าของเมล็ดเจียมีการโฆษณาเกี่ยวกับเมล็ดเจียในเว็บไซต์จำนวนมาก ทั้งบริษัทร้านค้าและแพทย์ทางเลือกที่มีชื่อเสียง บางคนเรียกว่าเป็น superfood ก็มี และอ้างคุณค่าว่า มี โอเมก้า 3 มากกว่าปลาแซลมอน 8 เท่า, โอเมก้า 6, เหล็กมากว่าผักโขม 3 เท่า, สารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าบลูเบอรี่ 3 เท่า, แมกนีเซียมมากกว่าบรอกโคลี 15 เท่า, แคลเซียมมากกว่านม 5 เท่า, เส้นใยอาหารสูง และยังดีต่อโรคหัวใจ ลดไขมัน ความดันเลือดลดลง เป็นต้น ในบางเว็บไซต์ อ้างว่า เมล็ดเจียช่วยในการลดน้ำหนัก รักษาโรคเบาหวาน กระดูกพรุน สำหรับนักกีฬาราคาซื้อขายเมล็ดเจียในท้องตลาดสุขภาพในท้องตลาดประเทศไทยมีการขายเมล็ดเจียกันหลายราคา ตั้งแต่ 600 บาทต่อกิโลกรัม จนถึงพันกว่าบาท โดยเฉพาะที่นำเข้าจากประเทศเม็กซิโกและเป็นเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงเป็นพิเศษการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีงานวิจัยเกี่ยวกับเมล็ดเจียในวารสารวิชาการจำนวนมาก ในวารสาร Pubmed มีการตีพิมพ์การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเมล็ดเจียประมาณ 46 รายงาน จากการทบทวนงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Pubmed พบว่า งานวิจัยต่างๆ นั้นยังมีหลักฐานทางวิชาการที่จำกัด ไม่สามารถยืนยันประสิทธิผลของเมล็ดเจียได้เพียงพอ แต่พบว่า มีงานวิจัยคลินิก 2 รายงานที่น่าเชื่อถือ โดยรายงานการศึกษาทางคลินิกรายงานหนึ่ง พบว่า เมล็ดเจียอาจมีประสิทธิผลต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ (รวมทั้งน้ำหนักร่างกายที่มากเกินไป) บ้าง ส่วนอีกรายงานนั้นพบว่า ไม่มีประสิทธิผลต่อปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดและหัวใจ ทั้ง 2 การศึกษาพบว่า เมล็ดเจียไม่มีผลต่อการลดน้ำหนักของร่างกายอย่างไรก็ตาม การทบทวนเอกสารวิชาการโดยเฉพาะเอกสารทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมล็ดเจียมีความปลอดภัยในการบริโภคสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการแพ้เมล็ดเจียในการทบวนงานวิจัยเสนอว่าต้องมีการศึกษาที่เป็นระบบเพิ่มเติม ก่อนที่จะใช้เมล็ดเจียมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและใช้ในการบำบัดโรคและอาการต่างๆ ตามที่มีความเชื่อกันอยู่ในปัจจุบันสรุปว่า เมล็ดเจียนั้นเป็นธัญพืชอย่างหนึ่งที่มีคุณค่าทางอาหาร แต่การนำมาบริโภคเพื่อบำบัดอาการ และโรคต่างๆ นั้น ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันประสิทธิผลดังกล่าว จึงควรที่จะประเมินดูว่า คุ้มกับราคาที่สูงมากเกินไปหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 อาหารวิตถาร

การเข้าดูข้อมูลเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในอินเทอร์เน็ตนั้น ทำให้ผู้เขียนได้พบว่า นับวันที่ผ่านไปมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผลของอาหารต่อสุขภาพของผู้บริโภคเยอะมาก บ้างก็เชื่อได้(นิดหน่อย) และบ้างก็ไม่น่าเชื่อเลยจนถึงเข้าขั้นเรียกว่า อาหารวิตถารที่มาของคำว่า อาหารวิตถาร นั้นผู้เขียนแปลเองจากคำว่า food fad หรือ food faddism ซึ่งมีปรากฏให้เห็นในอินเทอร์เน็ตทุกครั้งที่สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และหลายท่านอาจเคยพบคำอีกคำคือ fad diet ซึ่งก็ไม่น่าจะต่างกันนักคำว่า Fad นั้นเป็นคำที่ใช้เมื่อมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กลุ่มชนนิยมอย่างรวดเร็วและเลิกนิยมเร็วในลักษณะเดียวกับตุ๊กตาลูกเทพ (พจนานุกรมแปล อังกฤษ-ไทยของ อ. สอ เสถบุตร ให้ความหมายคำว่า fad คือ ความคิดวิตถาร, เซี้ยว, บ้า, วิตถาร, สิ่งที่นิยมกันจนคลั่ง) ดังนั้นในกรณีของคำว่า food fad นั้นจึงน่าจะหมายถึง อาหารที่มีคนนิยมกินกันเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ที่อาจดูเป็นเรื่องราวบ้างหรือไร้สาระโดยสิ้นเชิงในวันใดวันหนึ่ง จากนั้นความนิยมนั้นก็หายไปอย่างรวดเร็ว มีผู้พยายามอธิบายถึงองค์ประกอบที่เป็นลักษณะเฉพาะของ fad diet ดังนี้1. เว่อร์เกินจริง เช่น การอวดอ้างสรรพคุณของอาหารเกินจริงในด้านการปรับปรุงสุขภาพ หรือการครอบงำทางความคิดเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่งทางโภชนาการ ตัวอย่างเช่น เรื่องของธัญพืชทั้งเมล็ดที่มีการแนะนำว่า กินแล้วสุขภาพดี จึงมีผู้หวังเงิน(ในกระเป๋าคนอื่น) บางคนนำไปเว่อร์ว่า สินค้าที่เขาขายนั้นรักษาโรคได้สารพัดโรคธัญพืชที่เคยถูกเว่อร์มาแล้วคือ เมล็ดแฟลกซ์(Flaxseed) ซึ่งหมายถึงเมล็ดจากต้นลินิน (Linseed) พืชที่ลำต้นนั้นเป็นแหล่งที่มาของใยผ้าลินิน ในความเป็นจริงแล้วเมล็ดแฟลกซ์นี้มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี แต่มันก็ไม่ได้ดีกว่าเมล็ดพืชอื่น ที่เรากินกันมานานแล้วในชีวิตประจำวัน แบบว่ารู้วิธีกินที่ไม่ก่อโทษ (ตัวอย่างเช่น พืชตระกลูถั่วถ้าปรุงไม่สุก เมื่อกินแล้วจะท้องอืดท้องเฟ้อ เพราะเมล็ดถั่วที่สุกไม่พอยังมีสารพิษอยู่หลายชนิดที่ทำให้เกิดปัญหาในการย่อยสารอาหารที่เรากินเข้าไป ดังนั้นนักวิชาการจึงมักแนะนำให้ปรุงถั่วต่าง ๆ ให้สุกเสมอก่อนกิน)ที่น่าสนใจคือ เมล็ดแฟลกซ์นั้นมีการขายกันค่อนข้างแพง(ในช่วงที่มีความนิยมสูง) และมีเว็บหนึ่งซึ่งขายเมล็ดพืชนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อควรระวังต่อผู้ซื้อเมล็ดพืชชนิดนี้ว่า “เนื่องจากองค์ประกอบของเมล็ดมีสารที่ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น warfarin สำหรับผู้ที่จะเข้ารับการผ่าตัดหรือทำฟัน ควรหยุดกินอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์”2. ความเชื่อเอาเองส่วนตัว ประเด็นนี้มักมีการนำมาใช้อวดอ้างประโยชน์ทางการแพทย์แบบที่ยังไม่มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สนันสนุน ผู้ที่มักใช้ความเชื่อส่วนตัวในการขายสินค้าอาหารเพื่อบำบัดโรคหรือบำรุงร่างกายนั้น มักเป็นผู้ที่มีความรู้ การศึกษาสูง เป็นที่รู้จักทางสังคม อยู่ในหน้าสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งที่เป็นดิจิตอลภาคพื้นดินและดาวเทียมลักษณะของอาหารวิตถารนั้นมักหนีไม่พ้นประเด็นต่อไปนี้คือ 1.) อาหารที่บอกว่าวิเศษสามารถบำบัดโรคได้ครอบจักรวาล เช่น โรคอ้วน อาการซึมเศร้า อาการเซ็กส์เสื่อม อาการเหี่ยวย่น ฯลฯ 2.) อาหารที่มีการกินกันทั้งที่ไม่ควรกินเนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ (เช่น นมวัวจากเต้าหรือ raw cow milk ที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอไรส์) และ 3.) อาหารที่ผลิตขึ้นพิเศษเพื่อสุขภาพที่คิด(เอาเอง) ว่า น่าจะดีอาหารวิตถารกลุ่มหนึ่งที่มีการหลอกหลอนอยู่ในสังคมตะวันตก โดยปัจจุบันนี้ฝรั่งได้บัญญัติศัพท์คำหนึ่งว่า superfoods ซึ่งมีคนไทยเขียนบทความในอินเทอร์เน็ตแล้วใช้คำ ๆ นี้ในความหมายที่ว่า superfoods คือ อาหารที่มีแคลอรีต่ำ ซึ่งอาจมีสารอาหารไม่ครบแต่มีสารอาหารบางอย่างมากมายจนช่วยบำรุงผิวกาย ต้านโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะต้านความแก่ ซึ่งได้แก่ ผัก น้ำผึ้ง สมุนไพร ผลไม้ ถั่ว และสาหร่ายทะเล (อาหารเหล่านี้เป็นอาหารธรรมดาที่ดีตามสิ่งที่มันมี แต่ต้องกินรวมกับอาหารอื่นในลักษณะอาหารห้าหมู่เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการครบ การกินเดี่ยวหรือมากเกินไปย่อมก่ออันตรายต่อสุขภาพได้)ในขณะที่เว็บภาษาอังกฤษเว็บหนึ่งกล่าวว่า superfoods เป็นอาหารที่น่าสงสัยเป็นอย่างมากเนื่องจากไปเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหรือความเชื่อส่วนตัว มีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ นมวัวดิบ ซึ่งมีคนทั้งไทยและฝรั่งบางกลุ่มเชื่อว่า เป็นนมที่ประเสริฐสุด ทั้งที่การดื่มนมลักษณะนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อหลายชนิด ศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control หรือ CDC) ของสหรัฐอเมริกากล่าว ในระหว่างปี 1998 ถึง 2011 นั้น ร้อยละ 79 ของโรคระบาดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มนม (148 ครั้ง มีผู้ป่วย 2,384 คน ซึ่งต้องนอนที่โรงพยาบาล 284 คน และตาย 2 คน) เกี่ยวข้องกับการดื่มนมดิบเรื่องของนมวัวดิบนี้ เริ่มมีการเผยแพร่ความเชื่อในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เดือนมกราคม ปี 1929 โดยมีการลงบทความเรื่อง Milk Cure ในวารสาร Certified Milk Magazine ซึ่งอ้างว่า นมวัวดิบนั้นบำบัด มะเร็ง ลดความอ้วน โรคไต อาการเหนื่อยง่าย ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง ปัญหาของระบบปัสสาวะและต่อมลูกหมาก ทั้งที่ตราบจนถึงปัจจุบันยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าจริงแต่อย่างใดในสหรัฐอเมริกานั้น มีกระบวนการกินอาหารลักษณะหนึ่งเรียกว่า อาหารจีเอ็ม หรือ GM diet (ย่อมาจาก General Motor diet) ซึ่งเป็นแผนการลดน้ำหนักคนงานของบริษัทรถยนต์ ซึ่งหวังทำให้คนงานของโรงงานที่ทำงานนั่งโต๊ะมีหุ่นดี พร้อมประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น(ท่านผู้อ่านสามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ www.gmdietworks.com)อาหารจีเอ็มนั้นเป็นโครงการปฏิบัติการ 7 วัน โดยในวันแรกกำหนดให้กินแต่ผลไม้ (ยกเว้นกล้วยหอม) และดื่มน้ำ 10-12 แก้ว จากนั้นในวันที่สองก็กินแต่ผัก โดยยอมให้กินมันฝรั่งอบในมื้อเช้าเพื่อกระตุ้นให้มีพลังงานในวันนั้น ส่วนวันที่สามให้กินผักและผลไม้ผสมกันพร้อมด้วยน้ำ 10-12 แก้ว (ห้ามกินกล้วยหอมเหมือนเดิม) สำหรับวันที่ 4 ผู้เข้าร่วมโครงการได้กินกล้วยหอมและนมไปพร้อมกับ wonder soup (ซึ่งประกอบด้วย หอมหัวใหญ่ 6 หัว พริกหยวก 2 หัว มะเขือเทศ 3 ผล กระหล่ำปลี 1 หัว ผักเซเลอรี 1 กำ ผสมน้ำ 22 ออนซ์ แล้วต้มให้สุก) หรือซุบผักอย่างอื่นก็ได้ พอถึงวันที่ 5 ผู้เข้าร่วมถูกกำหนดให้กินข้าวกล้อง ลิ่มน้ำนม (curd) หรือเต้าหู้ หรือเนยแข็ง และมะเขือเทศ ส่วนในวันที่ 6 นั้นกำหนดให้กินข้าวกล้องและผักหรือโปรตีนที่ใช้แทนเนื้อสัตว์ที่สามารถกินเข้ากันได้กับผัก ในวันนี้ห้ามกินมันฝรั่งแต่ยอมให้ผสมเนยแข็งหรือเต้าหู้ในชามผัก จนถึงวันที่ 7 ก็ยังคงกำหนดให้กินข้าวกล้อง 2 ถ้วย พร้อมกับผักและผลไม้ไม่จำกัด สามารถดื่มน้ำผลไม้ไปพร้อมกับน้ำดื่ม 8-10 แก้วท่านผู้อ่านบางท่านคงพอมองเห็นว่า อาหารจีเอ็มนั้นดูคล้ายกับอาหารที่เรียกว่า อาหารล้างพิษ ซึ่งผู้เสียเงินเข้าโครงการล้างพิษที่มีการโฆษณาทางเน็ตบางท่านได้เอ่ยกับผู้เขียนว่า เป็นการพาไปบังคับให้กินอาหารอดๆอยากๆ แบบมังสวิรัติโดยไม่เต็มใจนั่นเอง และถ้าพิจารณาสูตรการลดน้ำหนักแบบอาหารจีเอ็มนี้ให้ถ่องแท้จะพบว่า ไม่ได้มีความคำนึงถึงการกระจายตัวของสารอาหารแต่ละวันในแง่ของอาหารห้าหมู่เลย บางเว็บกล่าวว่า โดยหลักการแล้วโครงการนี้มุ่งให้ผู้เข้าร่วมใช้พลังงานมากกว่าที่กินเข้าไปเพื่อให้ลดน้ำหนักให้ได้ (อาจเนื่องจากได้สารอาหารไม่ครบในแต่ละวัน) ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างกังวลในแง่ของสุขภาพโดยรวมของผู้เข้าร่วมโครงการเกี่ยวกับการขาดโปรตีนมากไปในบางวัน จนภูมิต้านทานต่ำและร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมส่วนสึกหรอได้ดีพอ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 กฎหมายคุ้มครองสิทธิของผู้เช่าตึกแถว

คราวนี้เราจะมาพูดถึงการคุ้มครองสิทธิด้านที่อยู่อาศัยของตนเองกันต่อ แต่เป็นเรื่องสิทธิของผู้เช่าที่ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่อาศัยนะครับ แต่ก็ถือว่า เขาเป็นผู้บริโภคคนหนึ่ง มีสิทธิครอบครองใช้สอยทรัพย์ที่เช่าตามสัญญาได้ และมีสิทธิจะอยู่ในที่อยู่อาศัยหรือสิ่งแวดล้อมที่ดีเช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีใครมาทำให้เขาเดือดร้อน กฎหมายก็คุ้มครองเขานะครับมีคดีหนึ่งที่น่าสนใจ เป็นกรณีผู้เช่าตึกแถวคนหนึ่ง ที่เช่าอยู่มาเกือบ 20 ปี ที่อยู่มาวันดีคืนดี ก็มีเจ้าของที่มาสร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนน ที่ผู้เช่าใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกเป็นประจำ ทำให้ได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถใช้ทางได้โดยปกติสุข ก็มาฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลก็มองว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ผู้เช่าตึกแถวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2543แม้โจทก์จะเป็นเพียงผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 แต่ถนนพิพาทเป็นถนนหน้าตึกแถวที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ซื้อหรือเช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้เป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ และโจทก์ได้ใช้ถนนพิพาทตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปีแล้ว โดยจำเลยที่ 1 ไม่เคยหวงห้าม แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะขายตึกแถวที่โจทก์เช่าอยู่ให้แก่บุคคลภายนอก แต่โจทก์ก็ยังคงอยู่ในตึกแถวที่เช่าต่อมา การที่จำเลยที่ 2 สร้างกำแพงปูนปิดปากทางถนนพิพาทด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ตนซื้อจากจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์สัญจรผ่านเข้าออกไม่ได้ตามปกติย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์และผู้เช่ารายอื่นว่าจะจัดให้ถนนพิพาทเป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ตลอดไป มิฉะนั้นโจทก์และผู้เช่ารายอื่นคงไม่ยินยอมจ่ายเงินช่วยค่าก่อสร้างและจดทะเบียนการเช่ากับจำเลยที่ 1 เป็นเวลานานถึง 20 ปี และจำเลยที่ 1 ก็คงไม่ยินยอมให้โจทก์และครอบครัวตลอดจนบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ในตึกแถวดังกล่าวได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางเข้าออกตลอดมาเป็นเวลานานถึง 17 ปี เช่นเดียวกัน แม้สัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะมิได้ระบุเรื่องการใช้ถนนพิพาทไว้ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้หวงห้ามมิให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ใช้ถนนพิพาท และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 1 ก่อสร้างถนนพิพาทไว้สำหรับให้ผู้ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ การที่จำเลยที่ 2 ซื้อถนนพิพาทบางส่วนจากจำเลยที่ 1 และได้ก่ออิฐเป็นกำแพงปิดกั้นถนนพิพาทบริเวณปากทางออกสู่ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ย่อมบ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตมุ่งแต่ประโยชน์ตนฝ่ายเดียว โดยรู้อยู่แล้วว่าต้องเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ซื้อหรือผู้เช่าตึกแถวจากจำเลยที่ 1 ที่ไม่สามารถใช้ถนนพิพาทออกสู่ทางสาธารณะด้านถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินได้โดยปกติสุข การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายหนึ่งอีกเรื่อง เป็นการเช่าช่วง ที่ผู้เช่าช่วงต้องทราบว่า หากจะให้เกิดสิทธิของผู้เช่าช่วงก็ต้องทำหนังสือสัญญาเช่ากับผู้ให้เช่าไว้เป็นหลักฐานด้วย หากไม่มีก็อาจจะถูกฟ้องขับไล่ เหมือนอย่างคดีดังต่อไปนี้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6275/2551การเช่าช่วงที่ดินพิพาทถือ เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ เมื่อจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอ้างว่า เช่าช่วงจากโจทก์ แต่ไม่ได้ทำหนังสือสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์แต่อย่างใด และไม่ปรากฏว่ามีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ การที่จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทจึงต้องถือว่าจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยจะอ้างว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินแก่โจทก์แล้ว เพื่อต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไปและได้บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยยังคงอยู่ในที่ดินพิพาทต่อมาย่อมเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 ประสิทธิภาพ “โลชั่นและสเปรย์ฉีดกันยุง”

คำเปรียบเปรยที่ว่า “ยุงร้ายกว่าเสือ” นั้นไม่ได้เป็นคำกล่าวที่เกินจริงแต่อย่างใด อย่าได้ปรามาสเห็นยุงตัวเล็กกระจิริดแค่ใช้ 2 มือตบก็จบชีวิต แต่ยุงตัวเล็กๆ พิษสงเหลือร้ายทำคนตายหลายสิบรายต่อปี!!! เพราะยุงเป็นพาหะนำโรคติดต่อร้ายแรง ทั้ง ไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย โรคชิคุนกุนยา หรือแม้แต่ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่กำลังเป็นข่าวว่าระบาดในหลายประเทศ ในประเทศไทยเองก็มีผู้ป่วยแล้วหลายรายข้อมูลจากสำนักควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าเฉพาะในปี 2559 จนถึงเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 31 คน และมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 38,031 ราย ส่วนโรคไข้มาลาเรีย ข้อมูลตั้งแต่มกราคม-สิงหาคม 2559 มีผู้ป่วยรวมทั้งหมด 11,144 ราย (เป็นคนไทย 8,531 ราย และชาวต่างชาติ 2,613 ราย) สำหรับโรคชิคุนกุนยา หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย ในปี 2559 ข้อมูลจนถึงเดือนสิงหาคม มีจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 13 ราย แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้วที่รวมทั้งปีมีผู้ป่วยทั้งหมด 25 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต การหาวิธีป้องกันและกำจัดยุงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เราทุกคนควรทำ ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับปกป้องเราจากยุงหลายเดี๋ยวนี้ก็มีให้เลือกใช้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ยาจุดกันยุงแบบขด หรือ ยาฉีดไล่ยุง ที่พบเห็นมีใช้กันอยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ไล่ยุงแบบใหม่ๆ ที่เริ่มนิยมใช้กันมากขึ้นอย่าง โลชั่นทากันยุง และ สเปรย์ฉีดกันยุง ซึ่งถ้าไปเดินดูตามซูเปอร์มาเก็ตและร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์หลากหลายยี่ห้อให้เลือกซื้อเลือกใช้ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลยขออาสารวบรวม โลชั่นทากันยุง และ สเปรย์ฉีดกันยุง ยี่ห้อต่างๆ มาลองดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อมีคุณสมบัติในการไล่ยุงและมีส่วนประกอบที่ใช้แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ผลที่ได้จากการสำรวจ-ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโลชั่นทากันยุง จากทั้งหมด 8 ตัว มีถึง 6 ตัวอย่าง ที่ใช้สารเคมี ดีอีอีที DEET ซึ่งเป็นสารเคมียอดนิยมในผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง เป็นส่วนประกอบสำคัญ มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติ คือยี่ห้อ เบลล์ ที่ใช้ น้ำมันตะไคร้หอม Citronella oil เป็นส่วนประกอบ-ต่างจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสเปรย์ฉีดกันยุง ที่มีการใช้สารเคมีสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่า โดยจากตัวอย่างผลิตภัณฑ์สเปรย์ฉีดกันยุงทั้งหมด 7 ตัวอย่าง มีถึง 5 ตัวอย่างที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ ทั้ง  น้ำมันตะไคร้หอม Citronella oil และ น้ำมันหอมระเหยยูคาลิปตัส Eucalyptus Oil-ระยะเวลาในการป้องกันยุงของผลิตภัณฑ์ชนิดโลชั่นทากันยุง เฉลี่ยอยู่ที่ 6 - 7 ชั่วโมง ขณะที่ผลิตภัณฑ์ชนิดสเปรย์ฉีดกันยุงระยะเวลาในการป้องกันยุงตามที่แจ้งบนฉลากเฉลี่ยอยู่ที่ 2 - 3 ชั่วโมง มีเพียง 2 จาก 7 ตัวอย่างที่มีระยะเวลาในการป้องกันยุงอยู่ที่ 7 ชั่วโมง คือ ยี่ห้อ Mos Away ที่มีส่วนผสมเป็นสารเคมี ดีอีอีที DEET และยี่ห้อ POKPOK ป๊อกป๊อก ที่มีส่วนประกอบเป็นสารสกัดจากธรรมชาติอย่าง น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร Citronella Oil-จากการเปรียบเทียบพบว่า ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือสารที่สกัดจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัยมากกว่า ไม่มีผลต่อระยะเวลาในการป้องกันยุง เพราะส่วนประกอบทั้ง 2 ประเภทต่างก็มีระยะเวลาในการป้องกันยุงสูงสุดที่ 7 ชั่วโมงเท่ากัน-ผลิตภัณฑ์ชนิดที่ใช้สำหรับเด็กเล็ก ใช้ติดตามเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก ห้ามติดโดยตรงลงบนผิวหนังของเด็กโดยเด็ดขาด เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงชนิดอื่นๆ ห้ามใช้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี หรือ 4 ปี ตามแต่ข้อกำหนดของแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปิดกันยุงสำหรับเด็กทั้ง 2 ตัวอย่าง ต่างก็ใช้ส่วนประกอบที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติทั้ง 2 ตัวอย่าง-คำแนะนำในการเลือกซื้อ ควรเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องของประสิทธิภาพในการป้องกันยุง ปริมาณ และ ราคา เลือกตามความเหมาะสม ส่วนเรื่องของส่วนประกอบ ไมว่าจะเป็นชนิดที่ใช้สารเคมีหรือใช้สารสกัดจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบต่างก็ต้องใช้ตามคำแนะนำและคำเตือนที่ระบุไว้บนฉลากอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน แต่ส่วนประกอบที่ใช้สารสกัดจากธรรมชาติแน่นอนว่ามีความปลอดภัยมากกว่า ผู้ใช้เสี่ยงต่อการแพ้หรือระคายเคืองผิวหนังน้อยกว่าข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ของผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุงผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี (เช่น ดีอีอีที (DEET) และ เอทิล บิวทิลอะซีทิลอะมิโนโพรไพโอเนต (Ethyl Butylacetylaminopropionate)) ที่จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ต้องมีการแสดงเลขทะเบียน อย.วอส. (วัตถุอันตรายที่ใช้ในทางสาธารณสุข) บนฉลากผลิตภัณฑ์ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ส่วนผสมของสารที่สกัดจากธรรมชาติ เช่น citronella oil หรือน้ำมันตะไคร้หอมเป็นสารสำคัญ ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพระราชบัญญัตวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการแจ้งข้อเท็จจริงต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องมีการแสดงเลขที่รับแจ้งบนฉลาก ซึ่งผลิตภัณฑ์ไล่ยุงที่ใช้ส่วนประกอบของ citronella oil ควรมีประสิทธิภาพในการออกฤทธ์ไล่ยุงลายบ้านได้ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง มีฤทธิ์ไปรบกวนกลไกการรับรู้กลิ่นของยุง ทำให้ยุงไม่บินมาดูดเลือดบนผิวหนังของเรา แต่ไม่ได้มีฤทธิ์ในการฆ่ายุงแต่อย่างใด.ผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบสำคัญ เวลาใช้จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยปฏิบัติตามคำแนะนำและคำเตือนบนฉลากอย่างเคร่งครัด ป้องกันการเกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากของผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุง ต้องมีการแสดงฉลากที่ให้ข้อมูลสำคัญครบถ้วนตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดังนี้ 1.ประโยชน์ 2.วิธีเก็บรักษา 3.คำเตือนในการใช้ 4.อาการเกิดพิษ และ 5.วิธีแก้พิษเบื้องต้น นอกเหนือข้อมูลชื่อและชนิดสินค้า ที่อยู่ผู้ผลิต-ผู้จัดจำหน่าย และวัน เดือน ปี ที่ผลิต ใช้ผลิตภัณฑ์ทากันยุงและสเปรย์ฉีดกันยุงอย่างไรให้ปลอดภัย-ควรใช้ผลิตภัณฑ์เมื่อมีความต้องการใช้เพื่อป้องกันยุงเท่านั้น-ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงประเภทแป้งและโลชั่น ห้ามนำไปทาแทนแป้งและโลชั่นสำหรับทาผิวทั่วไปโดยเด็ดขาด-ก่อนใช้ควรทาหรือพ่นที่ข้อพับแขนดูก่อน เพื่อดูว่าเรามีอาการแพ้ต่อผลิตภัณฑ์ดังกล่าหรือไม่ หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้ทันที-การทาหรือฉีดสเปรย์กันยุง ควรเน้นทาและฉีดให้ทั่วบริเวณผิวหนังที่อยู่ภายนอกเสื้อผ้า ไม่จำเป็นต้องทาและฉีดให้หนาเกินไป เพราะไม่ได้ช่วยให้ประสิทธิภาพในการป้องกันยุงเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด-ไม่ควรใช้ทาบริเวณเนื้อเยื่ออ่อน เช่น บริเวณใกล้ตา ริมฝีปาก เปลือกตา รักแร้ หรือทาบริเวณที่เป็นแผล เพราะอาการแพ้หรือระคายเคืองได้-หลังจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ควรล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร-ควรเก็บผลิตภัณฑ์ในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง-หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยน้ำมันตะไคร้หอม ควรปิดฝาให้สนิท อย่าให้ถูกแสงแดด อย่าวางใกล้เปลวไฟหรือความร้อน-อ่านฉลากก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำและคำเตือนบนฉลาก ทั้งเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันยุง-ผลิตภัณฑ์ไล่แมลงส่วนใหญ่ ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 หรือ 4 ปี ขึ้นกับชนิดและปริมาณสารออกฤทธิ์ในแต่ละผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงประเภทอื่นๆยาจุดกันยุงแบบขดเป็นผลิตภัณฑ์กันยุงที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีราคาถูก หาซื้อง่าย สารเคมีที่ใช้ในยาจุดกันยุงแบบขดเป็นสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) ซึ่งเป็นสารที่ใช้ในการกำจัดแมลงทั้งในทางสาธารณสุขและทางการเกษตร สำหรับส่วนประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการผลิตยาจุดกันยุงแบบขด ประกอบด้วย ผงขี้เลื่อย ผงกะลาบด ผลแป้งที่ได้จากมันสำปะหลัง ฤทธิ์ของยาจุดกันยุงคือส่งกลิ่นและควันออกไปไล่ยุงไม่ให้เขามาใกล้ในพื้นที่ที่จุดยากันยุงไว้ ไม่มีฤทธิ์ในการฆ่ายุงยาฉีดกันยุงเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์กันยุงที่นิยมใช้ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ฆ่าหรือไล่แมลงได้หลากหลายไม่ใช่แค่เฉพาะยุงเท่านั้น สารเคมีที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เป็นสารในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) เช่นกัน การใช้ยาฉีดกันยุงหรือไล่แมลงในบ้าน ควรเลือกประเภทให้เหมาะสมกับการใช้งาน เพราะจะมีการแบ่งการใช้ไว้สำหรับแมลงที่บินเท่านั้น เช่น ยุง แมลงวัน กับแบบที่ใช้ได้เอนกประสงค์แต่เน้นไปที่แมลงที่อาศัยอยู่ตามพื้น เช่น มด ปลวก แมลงสาบ เพราะละอองของชนิดที่ฉีดได้อเนกประสงค์จะมีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง ทำให้ตัวสารไม่ได้ลอยในอากาศได้ทั้งหมด ประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงบินจึงมีน้อยกว่าไม้ตียุงไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดฮิตที่หลายคนนิยมใช้จัดการยุง ซึ่งเมื่อไม่นานนี้คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ออกประกาศให้ไม้ตียุงไฟฟ้าเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ต้องมีการระบุเรื่องของคำแนะนำในการใช้งาน คำเตือน ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ดังนั้นต่อไปนี้ถ้าใครจะซื้อหาไม้ตียุงไฟฟ้ามาใช้ต้องเลือกที่มีข้อมูลต่างๆ ครบถ้วนชัดเจน เพื่อความปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 156 แอพพลิเคชั่น “สิทธิ 30 บาท”

ทุกท่านคงได้ยินคำว่า “สิทธิ 30 บาท” กันจนคุ้นหู ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เป็นสิทธิที่ช่วยให้ประชาชนมีความเสมอภาคกันในเรื่องการรับบริการสาธารณสุข การรักษาพยาบาลในราคา 30 บาท  เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนได้เข้าถึงข้อมูลของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น “สิทธิ 30 บาท” แอพพลิเคชั่น “สิทธิ 30 บาท”  จะแบ่งเป็น 7 หมวด คือ  หมวดที่หนึ่ง หมวดตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ เมื่อคลิกที่หมวดนี้จะถูกลิ้งไปที่หน้าเว็บไซต์ของ www.nhso.go.th จากนั้นให้กรอกหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก  วันเดือนปีเกิด และคลิกตรวจสอบสิทธิ  หน้าจอจะปรากฏข้อมูลต่างๆ ดังนี้ จังหวัดที่ลงทะเบียนรักษา  สิทธิหลักในการรับบริการ  หน่วยบริการปฐมภูมิ และหน่วยบริการประจำ สำหรับผู้ที่จะตรวจสอบสิทธิได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ใช้สิทธิ 30 บาท ส่วนผู้ที่ใช้ระบบประกันสังคมจะไม่ปรากฏข้อมูลใดๆ หมวดที่สอง หมวดวิธีใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท จะแจ้งรายละเอียดสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่พึงจะได้รับ รวมถึงขั้นตอนการขอเปลี่ยนหน่วยบริการ การคุ้มครองที่ครอบคลุมสำหรับสิทธิ 30 บาท หมวดที่สาม หมวด 30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ จะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการบริการที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ และยุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าบริการ หมวดที่สี่ถึงหก ได้แก่ หมวดสอบถามข้อมูลสายด่วน สปสช. หมวดร้องเรียนร้องทุกข์ หมวดติดต่อหน่วยงาน สปสช. จะมีข้อมูลการติดต่อ สปสช. เพื่อสอบถามข้อมูล หรือร้องเรียน ร้องทุกข์ โดยแบ่งเป็นเขตในแต่ละจังหวัด เพื่อให้สะดวกในการหาข้อมูล ซึ่งในแอพพลิเคชั่นยังสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ผ่านสายด่วน สปสช. 1330  โดยเพียงคลิกเพื่อกดโทรออกได้ทันที หมวดสุดท้าย เป็นหมวดสื่อประชาสัมพันธ์ จะมีเอกสารและวารสารอิเล็คทรอนิกส์เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กับทาง สปสช. ทั้งนี้แอพพลิเคชั่น “สิทธิ 30 บาท” สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ทั้งในระบบสำหรับมือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ทาง App Store  และสำหรับมือถือระบบปฏิบัติการ iOS  โดยพิมพ์คำว่า “สิทธิ 30 บาท” หรือ “บัตรทอง” หรือ “สปสช.” หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่ www.nhso.go.th เมื่อต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล บางครั้งอาจเกิดความไม่มั่นใจว่าอาการที่จะเข้ารับการรักษา รวมอยู่ในสิทธิ 30 บาท หรือไม่ แอพพลิเคชั่นนี้ช่วยให้เข้าใจสิทธิที่พึงจะได้รับได้มากทีเดียว   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์พฤศจิกายน 2557 ห้ามจำหน่าย “ภาชนะปนเปื้อนสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์” คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ได้มีคำสั่ง ห้ามจำหน่าย "ภาชนะหรือเครื่องใช้สำหรับบรรจุหรือสัมผัสอาหารที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์" หลังจากพบข้อมูลยืนยันชัดเจนแล้วว่า สารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งสามารถละลายออกมาปะปนในอาหาร เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็เคยทดสอบการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ภาชนะที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะที่นำเข้าจากต่างประเทศ วางขายตามตลาดนัดมีสีมันฉูดฉาด ไม่มีการแจ้งผู้ผลิตหรือชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิต “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” ฟอกฟันขาวได้จริงหรือ? อะไรที่ถูกแชร์ส่งต่อกันทางโลกออนไลน์ ต้องฟังหูไว้หู อย่าได้เชื่อตามทันที อย่างกรณีล่าสุด ที่มีการส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ว่า “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” นำมาฟอกฟันให้ขาวขึ้นได้ งานนี้ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย จึงต้องออกมาไขข้อข้องใจ ว่าเรื่องนี้จริงเท็จประการใด การทำฟันขาวด้วยมะนาวผสมเบกกิงโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ถือเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูงจะละลายแคลเซียมออกจากผิวฟัน ทำให้ฟันกร่อน และกรดจากมะนาวยังระคายเคืองเหงือกอาจทำให้เหงือกอักเสบได้ เมื่อเคลือบฟันกร่อนทำให้มีอาการเสียวฟันตามมา และการที่เคลือบฟันถูกทำลายจะเพิ่มโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายอีกด้วย ส่วนเบคกิงโซดาเป็นสารที่มีความสามารถในการทำความสะอาด จึงสามารถกำจัดคราบต่างๆ ที่ติดบนผิวฟัน รวมถึงคราบสีจากการดื่มน้ำชา กาแฟ จึงทำให้ฟันขาวสะอาดขึ้น แต่ไม่สามารถทำให้ฟันขาวจากเนื้อฟันข้างในได้ ผู้ที่มีเหงือกอักเสบและเสียวฟันอยู่แล้วไม่ควรนำวิธีนี้มาใช้เพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ผู้ที่จัดฟันไม่ควรใช้เบคกิงโซดาขัดฟัน เพราะจะทำให้กาวยึดเครื่องมือจัดฟันอ่อนตัวและหลุดได้   อย.เชือด!!! “ครีมมหัศจรรย์” Firmax 3 อย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อหลงใช้ผลิตภัณฑ์ Firmax 3 ที่มีการอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นครีมมหัศจรรย์ ใช้ทาตรงจุดชีพจร สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคไซนัสอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน ความดัน ริดสีดวงทวารหนัก อัมพฤต-อัมพาต ฯลฯ หลังทำการตรวจสอบแล้วว่าไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. หลักจากการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ Firmax 3 เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พบมีแหล่งกระจายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแห่งใหญ่อยู่ที่โคราชและหาดใหญ่ มีการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ตัวสินค้าเองมีลักษณะเป็นเครื่องสำอางแต่กลับอวดอ้างสรรพคุณเป็นยารักษาโรค อย.จึงได้ดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าที่จำหน่ายและผู้ที่นำเข้า หากผู้บริโภคคนไหนพบเห็นผลิตภัณฑ์ Firmax 3 หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรืออาหารเสริมที่โฆษณาอวดอ้างเกินจริงหรือแจ้งสรรพคุณว่ามีผลต่อการรักษาโรค สามารถแจ้งไปยัง อย.ให้ทำการตรวจสอบและเอาผิดได้ทันทีที่ สายด่วย อย. 1556   ส้มจีนมีใบ คือส้มผิดกฎหมาย? รู้หรือมั้ยว่า? ส้มจีนที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด หากมีใบติดมาที่ผลส้มด้วยอาจเป็นส้มที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ที่สำคัญอาจปนเปื้อนเชื้อโรค เพราะล่าสุด กรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่า ส้มจีนที่มีใบติดมาห้ามนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เพราะเสี่ยงโรคและแมลงศัตรูพืช หากพบมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่ามีการนำส้มจีนที่มีใบติดเข้ามาจำหน่ายในไทยแบบผิดกฎหมาย เพราะขายได้ราคาดีกว่าส้มไม่มีใบ ซึ่งส้มจากจีนจะสามารถนำเข้ามาประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายต้องมาจากสวนหรือโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรอง มีใบรับรองสุขอนามัย และต้องไม่มีกิ่ง ก้านใบ ดิน ติดเข้ามาด้วย เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายต่อระบบการเกษตร แต่เพราะคนไทยเข้าใจผิด นิยมซื้อส้มที่มีใบติดเพราะเห็นว่าสวยงามกว่า คิดว่าเป็นส้มใหม่ เลยทำให้เกิดการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายแบบผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก     ค้านกฎหมาย จดสิทธิบัตร “กลิ่น-เสียง” สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน และภาคประชาชน ค้านกระทรวงพาณิชย์ที่มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่ขยายความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายการค้าที่เป็น “กลิ่นและเสียง” เหตุเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์และยังเป็นการทำร่างกฎหมายที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนอื่นๆ หากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นก็คือ เครื่องหมายการค้าในเรื่องกลิ่นจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ ซึ่งต้องใช้กลิ่นช่วยกลบและช่วยแต่งรสชาติของผลิตภัณฑ์ หากมีการแก้ไขคำจำกัดความให้มีการจดสิทธิบัตรเรื่องกลิ่น ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นโดยธรรมชาติของสินค้านั้น จะนำไปสู่การละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ถือสิทธิ์ได้ นำไปสู่ปัญหาเรื่องความไม่มั่นใจในการพัฒนาสูตรตำรับยาของบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตยาชื่อสามัญออกสู่ตลาด ทำให้บริษัทยาข้ามชาติสามารถขายยาผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลดราคาเลยเพราะไม่มีคู่แข่ง ที่สำคัญการให้กลิ่นและเสียงจดเครื่องหมายการค้าได้ ถือว่าเกินไปกว่าข้อตกลงระหว่างประเทศ TRIPS + อีกทั้ง ไม่ใช่หลักสากล จากข้อมูลพบว่า ประเทศที่อนุญาตให้จดเครื่องหมายการค้าทั้งกลิ่นและเสียงได้นั้น มีอยู่เพียง 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนประเทศที่ให้จดได้เฉพาะเสียงมี 5 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยใน 5 ประเทศนี้ 4 ประเทศแรก ยังไม่มีความชัดเจนในการจดเครื่องหมายการค้าที่เป็นกลิ่น ส่วนไต้หวันไม่มีการอนุญาต ซึ่งหลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการ พ.ศ.... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่มีการท้วงติงจากกระทรวงสาธารณสุข ครม.จึงมีมติให้กระทรวงพาณิชย์กลับไปพิจารณาอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 2555 เจ็บป่วย ฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ไม่มีแบ่งสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้เป็นต้นไป ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาได้ทันทีทุกโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชน ใกล้ที่ไหนไปที่นั้น ไม่มีการแบ่งสิทธิ ทุกกองทุนสุขภาพให้บริการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทั้ง 3 กองทุนสุขภาพของไทย ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ จับมือร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของบ้านเราให้เป็นไปอย่าง เท่าเทียม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นก้าวสำคัญที่อาจเป็นความหวังเล็กๆ ที่นำไปสู่การสร้างระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกันให้กับคนไทยทั้งประเทศ สำหรับนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดเอาไว้หมายถึง ผู้ป่วยด้วยโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามใกล้ชิด เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน   หากต้องการความช่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถติดต่อได้ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669 แต่หากมีข้อสงสัยเรื่องสิทธิหรือสอบถามรายชื่อ รพ. ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร. 1330 -------------------------------------------     คนไทยป่วยมากขึ้น เพราะกินผักน้อยลง ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อมีผลการวิจัยออกมาว่า คนไทยกินผัก – ผลไม้น้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้คนไทยเราป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง กันมากขึ้น โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันมีคนไทยป่วยด้วยโรคที่กล่าวมาเฉลี่ยปีละ 97,900 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งกว่า 6 หมื่นคนเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราอายุสั้นลง แถมคนไทยเรายังกินยากันมากถึงปีละ 4.7 หมื่นล้านเม็ด หรือเฉลี่ยวันละ 128 ล้านเม็ด สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยป่วยเพิ่มขึ้น มาจากการขาดการดูแลสุขภาพที่ดี ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ที่สำคัญคือการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม กินแต่ของหวาน ของเค็ม ของมัน แต่กลับกินผัก – ผลไม้น้อยเกินไป ซึ่งจากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา คนไทยกินผักกันค่อนข้างน้อยเฉลี่ยแค่คนละ 1.8 กรัมหรือไม่ถึง 2 ขีดเท่านั้น ทั้งที่ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ให้กินผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4 ขีด จึงจะผลในทางบวกต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นในฐานะที่บ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรหันมาให้ความสำคัญกับการกินผัก – ผลไม้กันให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง -----------------------------------------------     ตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสาร...มาตรการเพื่อความปลอดภัย ช่วงที่ผ่านมามีข่าวรถตู้โดยสารสาธารณะประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งจนน่าตกใจ แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือจำนวนทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการที่มีแต่มากขึ้น ในสภาพการจราจรที่แสนจะแออัดวุ่นวายของกทม. แม้จะหวั่นใจเรื่องอุบัติเหตุแต่รถตู้โดยสารก็เป็นทางเลือกที่หลายคนต้องการ เพราะสะดวกกว่าและประหยัดเวลา แต่เรื่องความปลอดภัยยังไงก็เรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง กรมขนส่งทางบกจึงออกมาตรการให้รถตู้โดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบตรวจจับความเร็วที่มีชื่อว่า RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ตรวจจับความเร็วของรถตู้โดยสารสาธารณะขณะวิ่งบนทางด่วน โดยความเร็วที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 90 กม./ชั่วโมง รถตู้ที่ฝ่าฝืนขับเร็วเกินกว่าที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับ 5,000 บาท ถ้าทำผิดซ้ำจะถูกปรับเพิ่มเป็น 10,000 บาท โดยขณะนี้ยังมีการใช้ระบบตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสารเฉพาะในกทม.เท่านั้น แต่ในอนาคตข้างหน้ากรมขนส่งทางบกตั้งใจจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับการเลือกใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนที่ต้องเป็นพื้นสีเหลือง ตัวเลขและตัวอักษรเป็นสีดำ แสดงชื่อเส้นทางทีวิ่ง ด้านข้างรถมีเครื่องหมายแสดงการเข้าร่วมกับ ขสมก. และ บขส. -------------     “สเตียรอยด์” ตัวร้าย...อันตรายที่แฝงมากับยาแผนโบราณ เพราะบ้านเรายังมีความเชื่อผิดๆ เรื่องการใช้ยากันอยู่อีกมาก อย่างความเชื่อที่ว่าการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณปลอดภัยกว่ายาแผนปัจจุบัน ซึ่งความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากยังพบว่ามีการใส่สารสเตียรอยด์ลงในยาแผนโบราณที่วางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จึงได้งานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” เพื่อเป็นสร้างความเข้าใจและกระตุ้นเตือนอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนอยู่ในยาแผนโบราณ จากการเก็บตัวอย่างยาแผนโบราณที่วางขายทั่วไป โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังพบการปลอมปนสารสเตียรอยด์ ทั้งในยาที่ได้และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน พบทั้งในแบบที่เป็นยาลูกกลอน ยาชุด ยาน้ำสมุนไพร รวมถึงเดี๋ยวนี้ถูกนำมาไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมด้วย ซึ่งอันตรายของสารสเตียรอยด์มีตั้งแต่ไปกัดกระเพาะอาหาร ทำให้กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจรุนแรงถึงขั้นไตวาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลา ยิ่งกินต่อเนื่องเป็นเวลานานยิ่งอันตรายมาก คนที่เสี่ยงกับสารสเตียรอยด์ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ตามต่างจังหวัด เพราะเวลาที่เจ็บป่วยไม่นิยมไปสถานพยาบาล อาจจะด้วยเพราะเดินทางลำบากหรือคิดว่าไปหาหมอต้องเสียเงินมาก จึงเลือกวิธีซื้อยามากินเอง ซึ่งยาที่ซื้อก็มักเป็นยาสมุนไพรยาแผนโบราณที่ขายตามร้านขายของชำทั่วไปบ้าง รถเร่ที่ประกาศขายยาต่างๆ บ้าง เป็นเพราะหลงเชื่อในคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ แม้เดี๋ยวนี้จะการควบคุมเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้มงวดขึ้น แต่รูปแบบของการหลอกขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีเพิ่มขึ้นหลายช่องทาง ทั้ง อินเตอร์เน็ต ทีวีเคเบิ้ล วิทยุชุมชน การขายตรง ภาครัฐต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการกินยาที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค และควบคุมดูแลการผลิตยาที่ปลอดภัย อย่าให้มีการลักลอบใช้สารสเตียรอยด์ พร้อมทั้งป้องกันการผลิตและจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องรู้เท่าทันเลือกกินยาที่ปลอดภัยได้รับการรับรองจากเภสัชกร อย่ากินเพราะคำโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง --------------------------------------------     วันสิทธิผู้บริโภคสากล ถึงเวลาตื่นตัวปัญหาผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ต้อนรับ “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยได้มีการแปลอักษรคำว่า “World Consumer Rights Day” รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาตระหนัก และสนใจในสิทธิรอบตัว เช่น การโดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัย ราคาดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้ประเด็นที่องค์กรผู้บริโภคทั่วโลกรณรงค์ร่วมกันคือ ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคาร ซึ่งองค์กรผู้บริโภคประเทศไทยของเรามีประเด็นปัญหาการเงินการธนาคารที่อยากให้ภาครัฐจัดการแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป 2.ปัญหาการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม และ 3.ตั้งคณะทำงานทบทวนมาตรการการกำหนดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนโยบายหรือมาตรการที่ออกมาเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการแทบทั้งสิ้น เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก การเก็บค่าธรรมเนียมการการโอนเงิน การฝากเงิน การเก็บเงินจากการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม ผู้บริโภคต้องรับภาระส่วนนี้โดยไม่เป็นธรรม พร้อมกันนี้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคยังส่งเสียงถึงรัฐบาล เรียกร้องให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2555 คุณพ่อก็ลาคลอดได้รู้กันหรือยังว่า คุณพ่อก็ลาคลอดได้ ไม่ต้องสงสัยว่าผู้ชายจะคลอดลูกได้ไง เพราะสิทธิที่ได้คือการลาหยุดเพื่อไปดูแลภรรยาในช่วงหลังคลอดบุตร ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ได้ถูกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยคุณพ่อสามารถลาหยุดไปดูแลคุณแม่และลูกน้อยได้ 15 วัน โดยไม่ถือเป็นวันหยุด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากที่ให้คุณพ่อได้ไปช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลลูกทำให้คุณแม่สามารถพักฟื้นร่างกายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยที่บอกว่า การที่สามีอยู่ใกล้ชิดภรรยาหลังคลอดจะทำให้ภรรยารู้สึกดีมีกำลังใจในการเลี้ยงลูก โดยภาวะหลังคลอดของผู้หญิง จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดความวิตกกังวล เกิดอาการซึมเศร้า เหนื่อยล้า ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดลง แต่ก็ยังเป็นเรื่องน่าเสียดายเพราะสิทธิวันหยุดนี้ยังให้สิทธิเฉพาะข้าราชการเท่านั้น พนักงานและลูกจ้างบริษัทเอกชนยังไม่มีโอกาสได้ใช้ ก็หวังว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันผลักดันสิทธิวันหยุดลาคลอดของผู้ชายให้ทุกคนได้ใช้กันอย่างเท่าเทียม-------------   ขนมจากชายแดน...วายร้ายอิมพอร์ต เรื่องขนมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หากซื้อมารับประทานสุ่มสี่สุ่มห้าระวังโรคร้ายถามหาไม่รู้ตัว ยิ่งตอนนี้ขนมที่ไม่ได้มาตรฐานที่ทะลักเข้ามาจากชายแดนกำลังระบาดหนัก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ขนมที่ลักลอบจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำมาขายในบ้านเรามักเป็นเป็นขนมที่มีคุณภาพต่ำ  ไม่มีการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ไม่มีการแสดงฉลากภาษาไทย ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และสีผสมอาหาร แถมยิ่งถ้ารับประทานแล้วเกิดเจ็บป่วยก็ยากที่จะหาผู้รับผิดชอบ เพราะไม่มีข้อมูลที่อยู่ผู้ผลิตที่จะเอาผิดได้ นอกจากขนมที่ลักลอบนำเข้ามาตามชายแดนแล้ว ทาง อย. ยังฝากเตือนให้ระวังอันตรายของขนมที่นำมาแบ่งขายหรืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่น่าสงสัย ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการบอกข้อมูลใดๆ ทั้งชื่อผู้ผลิต ส่วนประกอบ และวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ เพราะตอนนี้มีผู้ประกอบการที่ไม่หวังดีไปตระเวนรับซื้อขนมที่หมดอายุ ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หีบห่อฉีกขาดจากโรงงาน จากนั้นนำมาใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่และวางขายในราคาถูก------------------   แต่งไฟหน้ารถ ระวังผิดกฎหมายใครที่กำลังคิดจะแต่งหรือดัดแปลงโคมไฟหน้ารถสุดรักของตัวเอง อย่าลืมศึกษาข้อมูลทางกฎหมาย รวมทั้งอย่ามองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะตอนนี้กองบังคับการตำรวจจราจรเขาเอาจริง เร่งกวดขันรถยนต์ที่ดัดแปลงไฟหน้าให้มีความสว่างมากกว่าปกติ ซึ่งแสงที่มีความสว่างมากเกินไปจะรบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่รายอื่นทำให้เกิดอันตราย ซึ่งสีของโคมไฟหน้ารถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น ถ้าเป็นสีอื่นนอกเหนือจากนี้ถือว่าผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก นอกจากนี้กองบังคับการตำรวจจราจรยังฝากเตือนถึงสินค้าตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนที่ชอบแต่งรถอย่าง ไฟซีนอนวงแหวน 2 ชั้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ไฟทรานส์ฟอร์เมอร์” เพราะมีลักษณะคล้ายดวงตาของหุ่นยนต์ในภาพยนตร์เรื่องทรานส์ฟอร์เมอร์ ซึ่งมีผลิตออกมาหลายสี ถ้าหากใช้สีอื่นๆ นอกจากสีขาวและสีเหลืองอ่อนถือว่าผิดกฎหมาย สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโคมไฟรถยนต์ที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก โคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถต้องมีความสูงจากพื้นถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาว มีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ โดยขณะนี้นักวิชาการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) พยายามเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกแก้ไขความสูงไฟหน้ารถจากพื้นราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคม จากเดิมกำหนดไม่เกิน 1.35 เมตร เปลี่ยนเป็นไม่เกิน 1.2 เมตร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะรถยนต์ประเภทกระบะหรือโฟร์วีล เมื่อบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก รถยนต์จะเงยสูงขึ้นไปอีก ทำให้ทิศทางของแสงไฟหน้ารถรบกวนรถยนต์คันอื่นๆ---------------- เจ็บป่วยไม่สบาย รักษาหายด้วยการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุขเดินหน้าพัฒนาการแพทย์แผนไทย ประกาศให้การรับรองการรักษาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยขณะนี้มี 8 โรคที่กระทรวงฯ ให้การรับรอง ได้แก่ 1.งูพิษกัด 2.โรคกระดูกหัก 3.โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 4.อาการปวดเมื่อย 5.ไหล่ติด 6.โรคเรื้อรังอาทิเบาหวาน 7.โรคสะเก็ดเงิน 8.โรคตับแข็ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก การบำรุงน้ำนมแม่หลังคลอด ซึ่งมีโรงพยาบาลที่รับรองการรักษาแล้วทั้งหมด 23 แห่ง ใน 16 จังหวัด  โดยแต่ละโรงพยาบาลก็จะให้การรักษาในแต่ละโรคแตกต่างกันไป ตามความถนัดของหมอพื้นบ้านในพื้นที่นั้นๆ ประกอบด้วย การรักษากระดูกหักที่โรงพยาบาลได้แก่ 1.รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 2.รพ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี 3.รพ.กันทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ 4.รพ.สูงเม่น จ.แพร่ 5.รพ.สอง จ.แพร่ 6.รพ.พิชัย จ.อุตรดิถต์ 7.รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 8. รพ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 9.รพ.เทพา จ.สงขลา และ 10.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 11.รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร 12.รพ.หลังสวน จ.ชุมพร  13.รพ.ละแม จ.ชุมพร การรักษาปัญหาไหล่ติดที่ รพ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี, รักษาอัมพฤกษ์/อัมพาตที่ รพ.เทิง จ.เชียงราย รักษาโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานที่ รพ.คลองใหญ่ จ.ตราด,  และโรคปวดเมื่อยด้วยวิธีย่ำขางที่ รพ.แม่ลาว จ.เชียงราย, รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคตับแข็งที่ รพ.พระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งเดียวที่บริการด้านนี้, การรักษางูพิษกัด สัตว์พิษกัด ที่รพ.พนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ และรพ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ------------- “เลิกเก็บ 30 บาท” “เครือข่ายประชาชนคนรักหลักประกันสุขภาพ” คือเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนที่ทำงานด้านสุขภาพจากทั่วประเทศ ที่ขอทำหน้าที่แทนคนไทยทั้งประเทศในการเป็นกระบอกเสียงส่งต่อไปถึงภาครัฐ เรื่องความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดการบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ เท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยเรื่องเร่งด่วนที่ทางเครือข่ายฯ กำลังเดินหน้าเรียกร้องกับรัฐบาล คือเรื่องการขอให้ยกเลิกการเก็บค่าบริการ 30 บาทจากผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย และสิทธิในเรื่องการรักษาพยาบาลถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ภาครัฐต้องจัดสรรให้กับประชาชนคนไทยทุกคน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอด้านบริการสาธารณสุขอื่นๆ ที่เครือข่ายฯ วอนให้ภาครัฐช่วยปรับปรุงพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันให้มีระบบสุขภาพของประเทศ ที่มีคุณภาพเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ณ เวลานี้ประเทศไทยเรายังมีการแบ่งเรื่องการรักษาพยาบาลออกเป็นหลายระบบ ทั้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม ระบบราชการ ทำให้ระบบการรักษาพยาบาลของบ้านเรามีหลายมาตรฐาน รวมทั้งการขอให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้รัฐสภาเร่งพิจารณา(ร่าง)พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่จะช่วยชดเชยผู้ป่วยในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาล โดยจะไม่มีการเอาผิดจากแพทย์ ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องนำไปสู่การฟ้องร้องอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 ความปลอดภัยต้องอาศัยองค์ความรู้

“รถยนต์จะปลอดภัยหรือไม่ คนไม่ค่อยสนใจ คนไทยคิดอย่างเดียวว่าถ้าอยากปลอดภัยก็ต้องซื้อรถแพง ปลอดภัยต้องเสียเงิน และเชื่อด้วยว่ารถที่ผลิตมาแล้วก็ปลอดภัยหมด”“บ้านเราผลิตรถ แต่ทุกคนไม่รู้หรอกว่ารถสามารถสั่งตัดได้ และบ้านเราก็ไม่มีองค์ความรู้ด้านนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนมากมาย แต่เรากลับไม่รู้เลยว่ารถแต่ละคันปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะไปถึงเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร” รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม นักวิชาการด้านวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ บัณฑิตวิทยาลัย วิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (Thai–German Graduate School of Engineering) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มาของหลักสูตรวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยรถยนต์    ผมทำงานสายยานยนต์มาตั้งแต่เรียนจบมาเมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ในประเทศไทยกำลังบูม สาขาวิชาหลักๆ สำหรับอุตสาหกรรมนี้ก็มีวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการผลิต และวิศวกรรมไฟฟ้า ผมเองจบทางช่างยนต์แต่ไม่ได้มีส่วนในการออกแบบรถยนต์อย่างที่เรียนมา เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ให้ทำตามแบบของเขา บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีหน้าที่ทำให้ได้ตามข้อกำหนดของบริษัทแม่ ในประเทศไทยเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ทำกันมา คือการผลิตชิ้นส่วนอย่างไรให้ลดต้นทุน จนผมมีโอกาสได้ไปดูงานของรัฐบาลเยอรมันที่เขาจะทำหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ก็ได้เห็นว่าแตกต่างกันมากกับวิศวกรรมยานยนต์ที่เมืองไทย ที่นั่นเขาทำวิจัยร่วมกับอุตสาหกรรมบริษัทรถในการผลิต เพราะว่าเขามียี่ห้อรถของเขา แล้วเขาก็ทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยด้วย พอเราได้ไปดูงานของเขามาแล้ว ทางมหาวิทยาลัยก็จัดสร้างหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ขึ้น โดยเอาเนื้อหาหลักสูตรทั้งหมดจากเยอรมันมาใช้ ซึ่งเนื้อหาของเขาลงลึกมาก รวมงานวิจัยเข้าไปด้วย เน้นเรื่องการออกแบบ การผลิต ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ แต่หลังจากเปิดหลักสูตรไปสักพักหนึ่งมันไม่ไหว มีคนตั้งคำถามว่าเด็กจบไปแล้วจะไปทำอะไร เพราะเราไม่ได้ออกแบบรถเอง แต่ความจริงแล้วเราได้องค์ความรู้ไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมกับบริษัทรถ จะได้พูดภาษาเดียวกันได้ ร้อยละ 80 ของนักศึกษากลุ่มแรกๆ เป็นอาจารย์ เช่น อาจารย์จาก ม.ราชมงคลฯ และอีกหลายแห่งที่อยากจะพัฒนาบุคลากรในสายยานยนต์ สักพักหนึ่งมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็เปิดหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ ทีนี้คำว่าวิศวกรรมยานยนต์ของแต่ละมหาวิทยาลัยก็ไม่เหมือนกัน มันไม่ชัดว่าเนื้อหาหลักสูตรของแต่ละที่เป็นอย่างไร คนที่มาสมัครเรียนเขาก็ไม่รู้ว่าเรียนจบไปแล้วจะทำอะไร มีคนที่ประเมินหลักสูตรเขาถามว่าจบวิศวกรรมยานยนต์ที่ TGGS (Thai – German Graduate School of Engineering) แล้วจะไปทำอะไร ผมเลยเปลี่ยนหลักสูตรเป็น “หลักสูตรวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัย”ทำไมต้องหลักสูตรนี้?    ที่เราทำด้านนี้เพราะว่าผมทำโครงการรถบัสของขนส่ง(กรมการขนส่งทางบก) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 – 2556 พอทำแล้วมันได้ใช้องค์ความรู้เรา ทำแล้วมันมีผลกระทบต่อสังคม ซึ่งในสายวิศวกรรมนั้นจะไม่ค่อยมีผลต่อสังคมเท่าไร พอได้ทำตรงนี้แล้วคนสนใจและอยากรู้ ก็เลยเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกัน โดยเอาเนื้อหาเดิมมาขัดเกลาใหม่ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะกับประเทศไทย นั่นคือประเทศไทยไม่มีบริษัทรถเอง มีแต่ผู้ใช้รถ หลักสูตรจึงเน้นทดสอบรถด้านคุณภาพ มาตรฐาน สภาพรถ การประหยัดน้ำมัน ฯลฯ การจะประเมินเรื่องนี้เราต้องใช้ซอฟแวร์หรือกระบวนการอะไร ในหลักสูตรจะมีเรื่องพวกนี้อยู่ มีการทดสอบชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เกียร์ต้องทดสอบอย่างไร เครื่องยนต์ทดสอบอย่างไร ประเมินอย่างไร นี่คือหลักสูตรเรื่องนี้ เพราะเราไม่ได้เป็นผู้ผลิต  หลักสูตรของเราเน้นด้านหลักๆ 4 ด้าน คือ การผลิตรถยนต์ การทดสอบประเมินรถ มาตรฐานกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล รวมถึงการจำลองการบาดเจ็บ/ความปลอดภัยยานยนต์ การประเมินหรือการทดสอบที่อาจารย์ภาคภูมิใจ    การทดสอบรถบัสทั้งแบบ 1 ชั้นและ 2 ชั้น ด้วยเครื่องมือทางวิศวกรรม เช่น การจำลองเหตุการณ์ ซึ่งก่อนที่เราจะทดสอบเราก็ประเมินก่อนแล้วว่าไม่มีคันไหนผ่าน เราเลือกรถจากกลุ่มที่มีกระบวนการผลิตที่ดีที่สุดในรูปแบบบริษัท และเมื่อประเมินโดยใช้การคำนวณทางตัวเลขวิเคราะห์ก็ไม่ผ่าน แต่การจำลองทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิศวกรรมมันก็ไม่ชัดเจนเท่ากับเห็นภาพ เพราะมันเป็นแค่ตัวเลข พอเรารู้แล้วว่าไม่ผ่านก็สร้างเครื่องทดสอบให้เห็นเลยว่าทำไมไม่ผ่าน คือในระยะแรกเราทำการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ให้เห็นคุณภาพรถว่าเป็นอย่างไร และสร้างเครื่องทดสอบ วิเคราะห์ออกแบบใหม่ เราออกแบบโดยใช้หลักคณิตศาสตร์ แล้วสร้างเครื่อง สร้างรถ สร้างรูปแบบของโครงสร้างที่เราออกแบบ โครงการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 2 เดือนตั้งแต่สร้างเครื่องทดสอบ ประเมินรถ แล้วออกแบบโครงสร้างที่คิดว่าน่าจะปลอดภัยแล้วนำมาทดสอบ เราไม่ได้ทำแค่สร้างเครื่องทดสอบ แต่รวมไปถึงการปรับปรุงพัฒนาภายใต้เงื่อนไขของข้อกำหนด ซึ่งในการออกแบบทางกระบวนการวิศวกรรมนั้นค่อนข้างยาก ผมสามารถออกแบบให้โครงสร้างรถบัสมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ราคาถูกได้ แต่ถ้าจะออกแบบให้ถูกด้วยมันยากตรงที่บ้านเราไม่ใช่ประเทศที่รวย เราอยู่แค่ในระดับปานกลาง ถ้าจะให้ออกแบบให้แข็งแรงปลอดภัย ราคาถูกด้วย เบาด้วย มันทำไม่ได้ แล้วยังมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นรถบัสที่สามารถผลิตได้ในอู่ทั่วไปด้วย เพราะอย่างที่เรารู้กันอุตสาหกรรมต่อรถบ้านเราเป็นอุตสาหกรรมครอบครัว ความสำคัญของความปลอดภัยยานยนต์ในบ้านเรา    ประเทศไทยไม่มีผู้ผลิตรถ องค์ความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ที่ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยต่อคนนั้นมีน้อย คนที่รู้เรื่องนี้ก็มีน้อย คือรถยนต์จะปลอดภัยหรือไม่ คนไม่ค่อยสนใจ คนไทยคิดอย่างเดียวว่าถ้าอยากปลอดภัยก็ต้องซื้อรถแพง ปลอดภัยต้องเสียเงิน และเชื่อด้วยว่ารถที่ผลิตมาแล้วก็ปลอดภัยหมด ซึ่งรถบางคันอาจไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร เพราะตอนเขาผลิตเขาคำนึงถึงต้นทุนเป็นหลักแพะรับบาป 2 ตัวเวลาที่เกิดอุบัติเหตุ     ร้อยละ 70 ของการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากคน อีกร้อยละ 20 – 30 คือรถ ซึ่งเราสามารถคุมปัจจัยได้ง่ายกว่า ในบ้านเราแพะรับบาปอย่างแรกคือ “เมาแล้วขับ” อย่างที่สองคือ “ขับรถเร็วเกินกำหนด” ไม่เคยบอกว่าเป็นเพราะยางแตกหรือการเสื่อมสภาพของรถ ผมมีงานวิจัยที่ทำให้ผมรู้ว่า “การขับเร็วเกินกำหนด” เป็นเรื่องของการนั่งเทียน บ้านเราผลิตรถ แต่ทุกคนไม่รู้หรอกว่ารถสามารถสั่งตัดได้ และบ้านเราก็ไม่มีองค์ความรู้ด้านนี้ ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนมากมาย แต่เรากลับไม่รู้เลยว่ารถแต่ละคันปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะไปถึงเป้าหมายเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนได้อย่างไร ผมมีงานวิจัยชิ้นหนึ่ง คือมีอุบัติเหตุรถชนเกิดขึ้น แล้วตำรวจ สน.ไทรน้อยขอให้ผมมาช่วย รถคันที่เกิดเหตุชนท้ายรถพ่วง มีพ่อแม่ลูกนั่งมาในรถ พ่อและแม่เสียชีวิตคาที่ ส่วนเด็กไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล รอยเบรกประมาณ 27 เมตร ... คุณคิดว่ารถต้องมาด้วยความเร็วเท่าไร?  ญาติเรียกร้องให้ประกันชดเชย แต่ทางประกันแย้งว่าผู้เสียชีวิตขับรถเร็วเกินกำหนดโดยดูจากรอยเบรก 27 เมตร จากทฤษฎีสามารถคำนวณความเร็วได้ แต่พอดูยางรถยนต์ที่เขาใช้ คือล้อหน้าด้านซ้ายเป็นยางมิชลินปี 2004 ล้อหน้าข้างขวา คือยางมิชลินปี 2007 ปีนี้ปี 2015 เท่ากับใช้มา 8 ปีแล้ว ส่วนยางหลังด้านขวาคือยางกู้ดเยียร์ปี 2011และล้อหลังซ้ายยางกู้ดเยียร์ปี 2010 ผมก็เอายางไปทดสอบในสถานที่จริงเลย เริ่มที่ความเร็ว 30 กม./ชม. ระยะเบรกอยู่ที่ 5 เมตร ถามผู้ใช้รถว่าการใช้ยางแบบนี้ไหวไหม? ถ้าขับในเมืองรถมันติดก็โอเค แล้วลองที่ความเร็ว 60 กม./ชม.ระยะเบรคอยู่ที่ 19 เมตร ถ้าความเร็ว 90 กม./ชม.ระยะเบรกยาวถึง 40 เมตร ก็คือเบรกไม่อยู่โดยใช้ความเร็วที่ 90 กม./ชม.เอง คือความเร็วก็มีส่วน แต่มันไม่ควรเป็นแพะรับบาป กรณีนี้ผู้บริโภคเลือกใช้ยางผิด นั่นคือผู้บริโภคไม่รู้ เราถึงต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย เพื่อปลูกฝังและสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัย  “วัฒนธรรมความปลอดภัย” อยู่ในยุทธศาสตร์ของประเทศหรือยัง?    เรื่องความเร็วในแผนแม่บทเขาก็กำหนดไว้ แต่ทำไม “ออโตบาห์น” ในประเทศเยอรมันไม่มีการจำกัดความเร็ว? นั่นเพราะถนนเขาดี คนขับดี และรถก็ดี คือผมจะบอกว่าเขาเขียนแผนยุทธศาสตร์ผิดจากข้อมูลสถิติที่ผิด เลยทำให้ยุทธศาสตร์ประเทศวางแผนผิดไปหมด จึงทำให้ประเทศไทยมารณรงค์เรื่องเมาแล้วขับ เราเก็บข้อมูลผิดวิธีและไม่นับจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุภายใน 30 วัน คนเขียนข้อมูลเขารู้เลยว่าตำรวจไม่ค่อยให้ข้อมูลเพราะพยายามจะปิดคดี  และการปิดคดีที่ดีที่สุดก็คือระบุว่าเมาแล้วขับ หรือขับเร็วเกินกำหนด มันเลยกลายเป็นแผนไม่เคลื่อนสิ่งที่เราควรรณรงค์จริง คืออะไร    จริงๆ คือต้องรณรงค์ทั้งแผน ไม่ใช่รณรงค์แค่คน ต้องทั้งแผนถึงจะขับเคลื่อน แต่เรื่องรถไม่เคยรณรงค์เลย บ้านเราเน้นเรื่องคนมากกว่า เรื่องถนนก็มีรณรงค์บ้างอย่างถนนที่โค้งอันตราย ตำรวจก็รณรงค์ตรงจุดเสี่ยง ขาดแค่การรณรงค์เรื่องรถ บางทีรถดีแต่มีการใช้งานผิดประเภทอีกเพราะไม่มี “วัฒนธรรมความปลอดภัย” จึงเกิดการใช้รถผิดประเภท?    ใช่ แต่ “วัฒนธรรมความปลอดภัย” ต้องเป็นองค์ความรู้เรื่องรถยนต์ ยกตัวอย่างบางปลาม้าโมเดล เขาจัดทำนำร่องเรื่องรถโรงเรียนโดยเรียกคนที่มีส่วนร่วมมา เชิญตำรวจมา จัดให้อยู่ในระบบ เชิญหน่วยงานขนส่งฯ มาแนะนำว่าโครงสร้างต้องเป็นแบบไหน แล้วก็สรุปว่านี่คือรูปแบบของรถโรงเรียน แต่ในทางวิศวกรรมถ้ารถลักษณะ(สองแถว) นี้เกิดอะไรขึ้นมา มันเจ็บหนักมาก คุณรู้ไหมว่าทำไมรถรุ่นใหม่ปุ่มสตาร์ทถึงเป็นปุ่มกด? เพราะว่าเวลาชน เข่าของเราจะไปโดนพวงกุญแจ เพราะเขารู้ว่ามันเสี่ยงโดยดูจากข้อมูลอุบัติเหตุ แต่คนที่รู้จริงๆ มีน้อย คนที่ไม่ได้ทำวิจัยจะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือวัฒนธรรมความปลอดภัย คือต้องมีองค์ความรู้ ในโครงการบางปลาม้าโมเดลก็เขียนกำหนดลักษณะมาตรฐานรถให้เหมาะสมไว้นะ แต่เขาเชิญขนส่งฯ ซึ่งขนส่งเองก็มีความรู้ระดับหนึ่ง โครงการก็เลยออกมาเป็นแบบนี้ คือให้นักเรียนนั่งในคอกรถแล้วจะปลอดภัย ทางขนส่งเขาก็มีระเบียบของเขาว่าหลังคาต้องมั่นคงแข็งแรง แต่ความรู้เรื่องความปลอดภัยของรถยังไม่มี ทุกวันนี้คนก็ชื่นชมบางปลาม้าโมเดลและก็จะทำตามแบบนี้ และตอนนี้ก็จะขยายต่อไปด้วย ผมเคยโทรไปหาผู้อำนวยการโรงเรียนบางปลาม้าบอกว่าจะเอารถโรงเรียนของเขามาทดสอบดู เขาก็ไม่กล้าให้เอามาเพราะเขาเองก็ยังไม่มั่นใจ ถ้าที่เมืองนอกเวลาเอารถมา ต้องทดสอบไดนามิค ดูการเหวี่ยง ดูความเสี่ยง การชนด้านหน้า ทดสอบเบรก คุณภาพรถเป็นอย่างไรอย่างน้อยเมืองไทยก็มีมาตรฐานชิ้นส่วนรถยนต์?    ในวงจรการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย บริษัทรถจะทำออกมาตามเสียงตอบรับจากผู้ใช้ พอได้ชิ้นส่วนก็เข้ามาอยู่ในเทียวัน (บริษัทจัดหาซัพพลายเออร์สำหรับชิ้นส่วนรถยนต์) ก็มีบริษัทหลายบริษัทจนมีสมาคมชื่อว่า สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) ซึ่งมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเข้ามาควบคุมดูแล ส่วนกรมการขนส่งทางบกก็มีบทบาทตอนทำการผลิตแล้วตรวจสอบขั้นสุดท้าย ก็มีแค่นี้วงจรของมัน แต่เพื่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย รัฐบาลอยากส่งเสริม ทางบริษัทรถก็ให้ความร่วมมือ แต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างไร ขั้นตอนโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง ทำอย่างไรให้ผลิตได้เยอะขึ้น ก็ทำการวิจัยให้กระบวนการผลิต แต่ไม่ได้มองเรื่ององค์ความรู้เลย เน้นการผลิตอย่างเดียว คุณเชื่อไหมว่าบริษัทที่ขายชิ้นส่วนให้เทียวัน แม้จะขาดทุนก็ยังยอมขาย เพราะเวลาเปลี่ยนอะไหล่ผู้บริโภคก็ต้องกลับมาใช้ของเขา เขาขอให้ได้เข้าไปเป็นชิ้นส่วนในรถให้ได้เป็นพอ ยกตัวอย่างรถที่ใช้แบตเตอรี่ 3K ถ้าคนที่รู้เขาก็อาจจะเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น แต่คนที่ไม่รู้ เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ก็ยังใช้ 3K อยู่ดี

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 121 ธรรมาภิบาลของเอสซีจี

  เราไม่ได้พูดเก๋ๆ นะ แต่ถ้าเกิดว่าเราทำอันนี้โต  แต่สิ่งแวดล้อม สังคมอยู่ไม่ได้ เราก็ไม่รู้จะขายของให้ใครมันก็ไม่มีสังคมที่จะโตขึ้นมาเป็นผู้บริโภคของเราอยู่ดี ดังนั้นทั้งสามวงนี้ต้องโตไปด้วยกัน การทำให้ทั้งสามวงโตไปด้วยกันเรายึดถือเรื่อง good governance เราเรียกว่าการปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์สุจริต  วีนัส  อัศวสิทธิถาวรสาวนิเทศศาสตร์จากรั้วจามจุรีที่เริ่มจากการเป็นเหยี่ยวข่าวสาวของหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่ง จนในปัจจุบันรั้งตำแหน่ง Corporate Communications Director ของ บ.เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี)  องค์กรที่มีธรรมาภิบาลสูง และดำเนินกิจกรรมแถวหน้าของเมืองไทย กับแนวคิดดี ๆ เรื่อง ธุรกิจเพื่อสังคมกันในฉลาดซื้อฉบับนี้กันค่ะ  ธุรกิจเพื่อสังคมหรือซีเอสอาร์ในความคิดของคุณคืออะไร  ถ้าถามพี่ว่าซีเอสอาร์คืออะไร ในเอสซีจีเราไม่ได้เรียกซีเอสอาร์ เราเรียก การพัฒนาสู่ความยั่งยืน  ซึ่งส่วนหนึ่งซีเอสอาร์ก็อยู่ในนี้ เป้าหมายของเราไม่ใช่แค่ทำธุรกิจให้เจริญรุ่งเรืองเราต้องดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น โรงงานของเรา ที่ จ.ลำปางเป็นโรงงานซีเมนต์ เราผลิตซีเมนต์อาจจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะเสียงเพราะฝุ่น โรงงานซีเมนต์เกิดขึ้นล่าสุดประมาณ 15-20 ปี เรามีเทคโนโลยีล่าสุดเราก็จะเอาเทคโนโลยีล่าสุดมาให้ เพราะฉะนั้นโรงงานซีเมนต์เราจะใช้ semi-open..   เราใช้ภูเขาหินปูนมาทำซีเมนต์ โรงงานนี้เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดที่มีขณะนั้นก็คือในภูเขาเราจะทำเป็นเหมือนควักลูกแตงโม มันมีสันเขา เราจะทำเหมืองภายในเขา สันเขาจะปิดฝุ่นไว้ ฝุ่นจะไม่ออกมาเลย เราจะปลูกต้นไม้คลุมสันเขา เราจะไม่เห็นฝุ่นเลย มันจะปิดไว้เป็นป่าเขียวไปหมดเลย ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่แพงมากแต่เราก็ลงทุน  อะไรคือแนวการปฏิบัติสู่ความยั่งยืนของเอสซีจีแนวการปฏิบัติสู่ความยั่งยืนของเอสซีจี ถือเป็นไกด์ไลน์ของพวกเราคนทำงาน ที่ทำมาสำหรับพนักงานทุกระดับให้ยึดถือปฏิบัติ ซึ่งจะบอกเป้าหมายในการทำธุรกิจของเรา คือ พัฒนาสู่ความยั่งยืน เวลาเรามองเป้าหมายแม้เราจะเป็น economy เป็นเศรษฐกิจแต่เราไม่ได้มองเศรษฐกิจอย่างเดียวเรามองสามอันนี้คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม หมายความว่าเราต้องทำธุรกิจเพื่อให้ได้ผลกำไรแบบยุติธรรมเพื่อเราจะได้ดูแลอีกสองส่วนดังนั้นจะเป็นว่าทั้งสามวงมีขนาดเท่ากัน   เราไม่ได้พูดเก๋ๆ นะ แต่ถ้าเกิดว่าเราทำอันนี้(economy)โต  แต่สิ่งแวดล้อม สังคมอยู่ไม่ได้ เราก็ไม่รู้จะขายของให้ใคร มันก็ไม่มีสังคมที่จะโตขึ้นมาเป็นผู้บริโภคของเราอยู่ดี ดังนั้นทั้งสามวงนี้ต้องโตไปด้วยกัน การทำให้ทั้งสามวงโตไปด้วยกันเรายึดถือเรื่อง good governance เราเรียกว่าการปฏิบัติอย่างซื่อสัตย์สุจริต เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้   พอเรายึดถืออย่างนี้ทุกภาคส่วนต้องทำรวมถึงพนักงานทุกคน เราก็จะเริ่มตั้งแต่ว่า ถ้าพนักงานเข้ามาน้องใหม่เข้ามายังไม่ให้ทำงาน หนึ่งเดือนแรกเราจะอบรมเรื่อง เป้าหมายของธุรกิจของเรา โดยมี คุณกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือซิเมนต์ไทย (เอสซีจี)    คือคนแรกที่สอนน้องใหม่ น้อง ๆ ที่เข้าใหม่แต่ละปี มีหลายร้อยคนขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ แบ่งคลาสละประมาณ 50 คน ก็จะเข้ามานั่งรวมกัน พี่กานต์จะเล่าให้ฟังว่าเอสซีจี มีจรรยาบรรณทางธุรกิจ ก็คืออุดมการณ์สี่ อะไรบ้าง เราเรียกย่อๆ ว่า SD sustainable development คือสามวงที่กล่าวไป good governance และจรรยาบรรณทางธุรกิจ นี่คือหลักจริยธรรมในการทำงาน   จรรยาบรรณเอสซีจี ทุกคนจะได้รับแจกไป อุดมการณ์มีอะไรบ้าง ตั้งมั่นในความเป็นธรรม ซึ่งเดี๋ยวเราจะเห็นว่ามันสอดคล้องกัน มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ ความเป็นธรรมคือความยุติธรรม ยุติธรรมต่อทุกฝ่าย อย่างพี่จะรับน้องเข้ามาทำงานพี่ต้องพิจารณาอย่างเป็นธรรม พี่จะประเมินผลขึ้นเงินเดือนน้องก็ต้องคิดอย่างเป็นธรรม ไม่ได้คิดคนเดียวต้องมีกรรมการ มีเหตุผลที่จะพิสูจน์ได้ว่าน้องคนนี้มีผลงานดีกว่าอีกคนหนึ่งอย่างไร ขณะเดียวกันเราก็ต้องพัฒนาทุกคนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ คือทุกคนจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การเชื่อมั่นในศักยภาพที่จะทำสิ่งดีๆ เป็นคนเก่ง เป็นคนดี สุดท้ายคือถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม  สิ่งที่เราเตรียมคนมามันเป็นเช่นนี้ ทุกคนจะได้รับการถ่ายทอดอย่างนี้มาเรื่อยๆ  แสดงว่าซีเอสอาร์ของที่นี่ไม่ได้เป็นแค่เพียงโครงการใช่ที่พูดนี้คือ CSR in process ในกระบวนการทำงาน เราเรียกว่า CSR in process  อันนี้คือแนวปฏิบัติแล้วจะกลับมาตอบคำถามว่าซีเอสอาร์คืออะไร อันนี้คือ in process ต้องเริ่มจากเราก่อน ต่อไปจะมี after process คือไปช่วยเหลือคนอื่นล่ะ ส่วนอันนี้คือในชีวิตประจำวัน ในเอสซีจีมีความเชื่อว่าที่เราทำคือส่งเสริมเรื่องแนวคิดให้เกิด creativity หรือ innovation Innovation หมายความว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สิ่งที่เราทำ อย่างเช่น เราทำกระดาษ เราทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มของกระดาษได้ไหม มูลค่าเพิ่มอันหนึ่งสำหรับคนรักสิ่งแวดล้อม ถ้าเราเอาwaste เอาขยะมาทำมันก็ได้ ทีนี้ก็เลยบอกว่าเรามีอีกธุรกิจหนึ่งเรียกว่า inforsave คือ information save คือเก็บความลับ เราเอาตู้ไปตั้งเวลามีความลับเราก็จะเอากระดาษใส่ลงไปในตู้แล้วก็ล็อคกุญแจ พอถึงเวลาก็จะมาไขไป เอาข้อมูลทั้งหมดในตู้ไปต้มใหม่หมดเลย เก็บความลับ ที่บ้านพี่เก็บกองๆ ไว้ ถึงเวลาเขาก็จะมีคนรอรับ พี่เอากระดาษให้ บอกรหัสสมาชิก เขาก็จะถามว่ากระดาษนี้อยากได้บุญหรืออยากได้เงิน ถ้าอยากได้เงินเขาก็ไปชั่งกิโลให้เงิน ถ้าพี่บอกเอาบุญก็ไปเลือกเอาว่าจะทำบุญโรงเรียนอะไร เขาก็เอากระดาษนี้ไปรีไซเคิล ก็จะคิดว่ากิโลเท่าไหร่ แล้วเอาเงินนี้ไปซื้ออุปกรณ์การเรียนให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งเราทำแบบนี้กับหลายองค์กรมาก เป็นร้อยองค์กร แล้วเราก็จะได้ความลับเหล่านี้ไปเป็นความรักให้กับเด็กๆ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน นี่ก็เป็นแนวปฏิบัติที่เราพยายามเชื่อมโยง in process กับ after process  After Processย้อนกลับไปว่า เรามีเรื่องอุดมการณ์สี่ เรามีเรื่อง SD (sustainable development) ที่เป็นแนวคิด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราส่งเสริมให้ได้รับการ assign งานของตัวเอง มี KPI ของตัวเองว่าจะต้องทำเท่าไหร่ ต้องผลิตสินค้านี้กี่ชิ้น คนเป็นเซลล์ต้องขายได้เท่าไหร่ คนทำบัญชีก็ต้องทำอย่างซื่อสัตย์สุจริตอย่างไร นั่นคือหน้าที่หลัก เราก็อยากสนับสนุนให้เขามี DNA ของการแบ่งปัน โดยที่เราบอกว่ามีโครงการปันโอกาสวาดอนาคตเพราะเรามีมูลนิธิเอสซีจี สนับสนุนให้พนักงานรวมตัวกันตั้งแต่สามคนขึ้นไปถึงกี่คนก็ได้ แล้วก็ทำโปรเจคที่เขาอยากจะทำ แต่มีความสามารถด้วยนะในการทำ คือเอาความสามารถตัวเองในการทำ พอเขารวมกลุ่มแล้วทำโปรเจค บริษัทจะให้เงินสนับสนุนส่วนหนึ่ง อาจจะพอหรือไม่พอเขาก็อาจจะไปหาส่วนหนึ่งมา ยกตัวอย่างสำนักงานพี่ 30 คน เราก็เลือกโปรเจคว่ารักหมารักแมวกัน เสาร์อาทิตย์เราไปร่วมกับสัตวแพทย์ทำหมันหมาแมวจรจัดดีไหม แล้วก็ช่วยรักษาหมาแมวเจ็บป่วย วันหยุดเสาร์อาทิตย์ก็นัดกันไปดูแลหมาแมว เราก็ทำteam building ไปด้วย ทำความดีไปด้วยในวันเสาร์อาทิตย์ ซึ่งใช้ความสามารถของเราด้วยนะ แล้วบริษัทก็ให้เงินส่วนหนึ่ง มีโปรเจคแบบนี้ในเอสซีจีประมาณพันโปรเจค พนักงานมาร่วมทุกคนไหม ยัง แต่ส่วนใหญ่ก็มาร่วมแปดพันจากสามหมื่นคน ซึ่งขยายวงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีโปรเจคหลักขององค์กรอีก ซึ่งก็มีเยอะมาก เรามีโปรเจคหลักอยู่ 4 กลุ่ม มีการส่งเสริมเรื่อง good governance คือความซื่อสัตย์สุจริต อันที่สองเรื่องการดูแลช่วยเหลือสาธารณภัยต่างๆ อย่างการช่วยเหลือน้ำท่วม ภัยหนาว ภัยแล้ง เรื่องภัยแล้งเราก็มีถังกักเก็บน้ำไปให้ชุมชน โรงเรียน สามก็เรื่องสิ่งแวดล้อม หลักๆ เลยเราทำเรื่องน้ำ เราทำเรื่องฝายชะลอน้ำ เราลองทำที่ป่าต้นน้ำที่ลำปางก่อนรอบๆ โรงงานเรา ทำสักสามร้อยกว่าฝายภายในโรงงาน ตั้งเป้าว่าอีกสามปีบริษัทจะครบร้อยปีตอนนี้เก้าสิบเจ็ดปี จะทำให้ครบห้าหมื่น เพราะหน้าน้ำท่วมที่ผ่านมา ลำปางน้ำท่วมก่อนแต่หมู่บ้านที่ทำฝายน้ำไม่ท่วมเลย และอีกอันคือ Human Development การพัฒนาศักยภาพของคน  อันนี้เป็นportใหญ่ เราให้ทุนการศึกษาปีละห้าพันทุนทั้งในและต่างประเทศรวมกัน และให้ต่อเนื่อง ในองค์กรก็ให้แต่ไม่นับ เรานับให้ทุนคนอื่น เด็กขาดโอกาส ยากจน ให้ตั้งแต่ประถมจนจบปริญญาตรี แล้วแต่เขารับได้เรียนได้เท่าไหร่ก็ให้เท่านั้น เพิ่มเติมคือเรารับอาสาสมัครที่เป็นพี่เลี้ยงทุน คือเด็กพวกนี้โอเคไม่มีเงินให้เงิน แต่ปัญหาไม่ได้แค่นั้น เด็กบางคนขาดความอบอุ่นไม่มีพ่อแม่ชี้แนะ คือความยากจนก็มาพร้อมกับความยากไร้ทุกอย่าง สิ่งที่เราให้คือชี้แนะเด็ก น้องควรวางตัวยังไง เวลาเป็นวัยรุ่นควรจะยังไง จะสอบเอ็นทรานซ์มีคนติวให้ไหม เราก็เป็นพี่เลี้ยงเด็กในชุมชนของเราเอง   ตัวอย่างโปรเจคที่เรียกว่า ความซื่อสัตย์ถ้าเรื่องความซื่อสัตย์เราจะส่งเสริมผ่านโปรเจคที่เรียกว่า excellent intensive ทุกปีจะมีเด็กมาฝึกงานกับเราเยอะมา เราก็กะว่าจะฝึกให้ดีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเก่งอยู่แล้ว เราจะให้เป็นเด็กดีด้วย ไปทำงานที่ไหนก็จะแพร่เชื้อซื่อสัตย์สุจริตไม่ใช่แค่ให้ทำงาน ก็ทำงานจริงนะ เป็นengineer ก็ต้องไปอยู่โรงงานจริง ใส่ชุดจริงทำงานจริงไม่ใช่มาเสิร์ฟน้ำ ชงกาแฟ แล้วพวกนี้ไม่ใช่แค่ทำงานให้เรียนหนังสือด้วย เรียนเรื่องธุรกิจ ทำเปลี่ยนจากนักศึกษามาทำธุรกิจ เขาต้องเรียนว่าธุรกิจมองสังคมอย่างไร แต่เราส่งเสริมธุรกิจที่มีคุณธรรม และเราก็จะสอนหลักจริยธรรมอย่างนี้เหมือนพนักงานของเรา คิดอย่างไรกับความสำเร็จของการทำซีเอสอาร์ที่ผ่านมาพี่ไม่เคยวัดความสำเร็จของซีเอสอาร์จากการตลาด เพราะทำในนามของเอสซีจีไม่ได้ทำในนามของ product ไม่ได้วัดว่าทำซีเอสอาร์แล้วจะขายของได้เท่าไหร่ สิ่งที่วัดคือวัดจากโปรเจค อย่างเรื่องหุ่นยนต์กู้ภัย ปีนี้มีคนมาสมัครเพิ่มขึ้นไหม มีคนสนใจเพิ่มขึ้นไหม เมื่อสักครู่อธิการที่มหิดลโทรมา พรุ่งนี้พี่จะพาเด็กไปเยี่ยมLab Robot มหิดล ซึ่งเป็นหลักของmedical robot คือทำโรบอตตัวเล็กๆ เข้าไปในร่างกายเหมือนเป็นเครื่องมือแพทย์ อะเมซิ่งมากๆ ไม่คิดว่าประเทศไทยจะทำได้ พี่วัดความสำเร็จโปรเจคยังไง มีเด็กสนใจมากขึ้นไหม มีเด็กมาส่งประกวดมากขึ้นไหม มีเด็กที่ชนะหุ่นยนต์กู้ภัยปีแรกแล้วได้เป็นแชมป์โลกเขาได้ทุนไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส ได้ทุนคนอื่นนะไม่ใช่ทุนพี่ ได้ทุนจากการที่เขาเป็นแชมป์โลก พี่ไปเจอเขาที่ออสเตรีย ตอนนี้จบโทแล้ว ทำงานที่สถาบันนิวเคลียร์ที่ปารีส ไปทำงานเพราะอยากให้เขาเห็นผลงานแล้วอยากไปเรียนปริญญาเอกด้วยทุนของเขา แล้วตอนนี้เด็กคนนี้กลับมาสอนที่พระนครเหนือ เด็กที่ได้ทุนนี้ไม่ใช่ไฮโซ แต่มีความสามารถเฉพาะตัว แล้วเขามีทางเดินเลยต่อจากนี้ไป  ซีเอสอาร์ไม่ใช่ว่าคุณมีเงินคุณได้ เพราะฉะนั้นพี่ก็วัดความสำเร็จจากสิ่งนี้ พี่ทำฝายชะลอน้ำไม่ได้วัดว่าทำกี่ฝาย แต่วัดว่า biodiversity ความหลากหลายในป่าเป็นยังไง น้ำไม่ท่วม พันธุ์นก พันธุ์แมลง ผีเสื้อมากขึ้นไหม มีการทำวิจัยก่อนแล้ว ชาวบ้านมาใช้ป่าได้ไหม มาเก็บเห็ด ผักหวาน ผลไม้ต่างๆ ได้ไหม ชาวบ้านที่พอนกมาไปยิงนกต้องไป educate ว่าพี่มีนกแล้วเก็บนกนี้ไว้ เวลาคนมาเที่ยวก็พอไปดูจะได้รายได้มากกว่านี้ คือเราสอนเรื่องความยั่งยืนแล้วเติบโตไปด้วยกัน เพราะว่าพี่มีหน้าที่ทำเรื่องนี้แล้วก็ชวนคนทำ แต่เราจะบอกว่าทุกคนจะต้องทำในองค์กรเป็นไปไม่ได้ แต่เราต้อง educate   do and don’t ของการทำซีเอสอาร์คืออะไร• ก็มีอยู่สองสามข้อ แรกคือต้องตอบ need ของผู้รับไม่ใช่ need ของผู้ให้ อันที่สอง เราควรทำซีเอสอาร์แบบเคารพผู้รับ ไปเห็นอย่างสึนามิ เขาเดือดร้อน เราไปช่วยไม่ได้หมายความว่าเขาต้องเข้าแถวมารับของ ทำไมไม่เดินไปให้เขา คือแค่เขาโดนก็ suffer จะแย่อยู่แล้ว สุดท้ายซีเอสอาร์ต้องต่อเนื่อง ทำแล้วอย่าหยุด  ให้ทุนการศึกษาเขาปีหนึ่ง ปีหน้าไม่ให้เขาจะเรียนต่อยังไง  สิ่งที่คิดไว้ว่าจะทำเพิ่มมันจะมีเทรนด์อันหนึ่งพี่กำลังมองอยู่คือเทรนด์ของ social enterprise ก็จะเป็นทั่วโลกอย่างญี่ปุ่น ทำจากบริษัทเล็กๆ ที่ทำแฮนด์เมดแล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้น แล้วก็กลายเป็นอะไรที่คนนิยม เพราะนิยมวิธีการของเขา คือแบรนด์ของเขาให้อยู่แล้วและสามารถอยู่ได้ อย่างนี้พี่ว่ามันยั่งยืน พี่มองดูว่าสเกลใหญ่มากก็ไม่ค่อยเวิร์คนัก ใหญ่มากเงินลงทุนเยอะมากคนก็อาจจะทนไม่ได้ที่เอาเงินขนาดนั้นไปลงทุน ก็ทำสเกลเล็กก่อนแล้วค่อยๆ ขยายวง ทำให้เกิดนิชมาร์เกต คือคนที่คล้ายๆ ว่ารับได้ส่วนหนึ่งแล้วค่อยขยายวงออกมา  กำลังคิดว่าถ้าเราสนับสนุนให้เกิด social enterprise เช่นนี้ เช่นพี่อยากสนับสนุนให้รอบโรงงานลำปางเป็นecotourism พี่ทำให้เขาดูจนสามารถลองทำเอง เป็นสหกรณ์ของตัวเองได้ไหม โปรโมทเรื่องป่าเยอะๆ welcome ชาวบ้าน welcome นักท่องเที่ยว ดีไซต์ว่าโปรแกรมในแต่ละวันมีอะไรบ้าง หรือจะมีที่ให้อบรมสัมมนา ศาลาอากาศก็เย็นสบายไม่เห็นต้องติดแอร์มีเบาะนั่งนิ่มๆ สักหน่อย อยู่กับต้นไม้ใบหญ้า แล้วก็มีเซอร์วิส กลางวันมีข้าวห่อใบตองมาเสิร์ฟ มีขนมในพื้นที่ พี่ไปเจอถั่วแปลบกับน้ำตะไคร้ก็เก๋ดี อะไรอย่างนี้ก็เข้าท่า  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 177 ระบบจ่ายยาของไทยมีประสิทธิภาพแค่ไหน

แม้แพทย์จะวินิจฉัยอาการของโรคถูกต้อง แต่จ่ายยาให้ผู้ป่วยผิดซอง ก็เท่ากับว่าการรักษานั้นไม่มีประโยชน์อะไรเลยปัญหาการได้ยาผิดซองเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยทุกคนไม่ต้องการ เพราะนอกจากจะไม่สามารถทุเลาอาการเดิมให้หายได้ ซ้ำยังเพิ่มความเสียหายให้กับร่างกายมากขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตามเราก็ยังคงพบปัญหานี้อยู่เสมอ แม้ส่วนหนึ่งจะเป็นเพราะผู้ป่วยลืมตรวจสอบยาให้ดีก่อนนำไปรับประทาน เพราะเชื่อว่าน่าจะได้รับยาที่ถูกต้องแล้ว แต่ระบบการจ่ายยาของทุกโรงพยาบาลก็ควรมีประสิทธิภาพมากพอ ที่จะไม่ก่อให้เกิดความผิดพลาดนี้ขึ้น ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้คุณวาสนาใช้สิทธิบัตรทอง เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าด้วยอาการหอบ ไข้สูง ปวดหัว แพทย์ให้พักรักษาตัวเพื่อดูอาการและให้กลับบ้าน โดยสั่งยาให้กลับไปรับประทาน ซึ่งหลังรับประทานยาแล้วพบว่ามีอาการมึนงง ปวดหัวและอาเจียน จึงนำซองยาดังกล่าวมาตรวจสอบ และพบว่าไม่ใช่ชื่อของตนเอง ดังนั้นจึงให้บุตรสาวกลับไปที่โรงพยาบาลเพื่อเปลี่ยนยารักษาให้ถูกต้องเมื่อกลุ่มงานเภสัชกรรมของทางโรงพยาบาลดังกล่าว ได้ทำการตรวจสอบแล้วแจ้งกลับว่า รายการยาที่ผู้ป่วยได้รับนั้น แม้ชื่อผู้รับบนซองยาผิด แต่เป็นยาที่สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยจริง อย่างไรก็ตามเหตุที่ชื่อบนซองผิดพลาด เนื่องจากการบันทึกรายการยาจะเป็นการบันทึกตาม VN ของผู้ป่วย (VN หรือ Visit Number คือ หมายเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อตรวจสอบจำนวนผู้รับบริการในแต่ละวัน หรือหมายเลขสำหรับผู้ป่วยนอกเท่านั้น) ซึ่งหากไม่ได้เปลี่ยนวันที่จะเกิดปัญหาการทำรายการผิดคน ดังกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ ทั้งนี้สำหรับอาการที่เกิดขึ้นหลังรับประทานยา ได้ชี้แจงว่าเป็นเพียงผลข้างเคียงจากการใช้ยาเท่านั้น สำหรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โชคยังดีที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอันตราย แต่ทางด้านผู้ร้องก็ยังไม่มีความมั่นใจที่จะกลับไปใช้ยาดังกล่าวอีก เพราะผลข้างเคียงจากยาผิดแปลกไปจากที่เคยได้รับการรักษาที่ผ่านมาแนวทางการแก้ไขปัญหา หากผู้ร้องไม่กลับไปเปลี่ยนยาหรือปล่อยปละละเลยไป ก็อาจมีเหตุการณ์คล้ายกันนี้เกิดขึ้นได้อีก ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้รับยาที่ถูกต้องตามชื่อของตัวเองแล้ว แต่ก็ต้องการให้โรงพยาบาลดังกล่าวปรับปรุงระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเช่นนี้กับผู้ป่วยรายอื่นๆ อีก ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงส่งหนังสือประสานงานไปกับทางโรงพยาบาลดังกล่าว โดยเบื้องต้นขอให้มีการเยียวยาผู้บริโภคและตรวจสอบระบบการจ่ายยา ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้ตอบกลับมาและชี้แจงว่า จะปรับปรุงและพัฒนาระบบการจ่ายยาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในอนาคตจะมีการยิงบาร์โค้ดที่ใบสั่งยา ควบคู่กับการคีย์ HN ของคนไข้ (HN หรือ Hospital Number คือหมายเลขของผู้ป่วยนอก ซึ่งโรงพยาบาลจะออกหมายเลขให้สำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยที่จะตรวจในโรงพยาบาล) เพื่อความถูกต้องของข้อมูลคนไข้ต่อไป นอกจากนี้ก็พร้อมยินดีที่จะเยียวยาผู้ร้อง ด้วยการชดใช้ค่าเดินทางในการมาโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบยาดังกล่าวจำนวน 500 บาท โดยให้ผู้ร้องส่งเลขที่บัญชีให้กับทางโรงพยาบาลเพื่อโอนเงินให้ผู้ร้องต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 เจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุกับการใช้สิทธิประกันสังคมตามมาตรา 33

 คุณมิว...แวะซื้อนมถั่วเหลืองชนิดขวดแก้ว ราคา 10 บาท  จากร้านสะดวกซื้อหน้าปากซอย  จำนวน 1 ขวด  เพื่อใช้กินแทนมื้อเย็น ระหว่างเดินชิลๆ เข้าห้องพัก ขณะที่เปิดประตูห้อง ถุงขวดนมถั่วเหลืองได้หลุดจากมือตกใส่เท้าอย่างแรง แรงขนาดนิ้วเท้าที่เพิ่งถอดรองเท้าออก โดนเศษแก้วบาดตรงบริเวณนิ้วโป้งจนเลือดไหลไม่หยุด  คุณมิวตกใจพยายามห้ามเลือด แต่ดูท่าจะเอาไม่อยู่เพราะเลือดไหลตลอดแม้ใช้สำลีพันแผลไว้ และรีบนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปคลินิกใกล้หอพักเพื่อรักษาแผลคลินิกรักษาโรคทั่วไปที่คุณมิวพาตัวเองไปใช้บริการนั้น ตรงกระจกด้านหน้าคลินิกดังกล่าวได้ระบุไว้ว่ารับบัตรประกันชีวิตกรุงไทย, AIA  และอีกหลายบริษัทฯ  และรับสิทธิประกันสังคม  คุณมิวจึงเข้าไปเพื่อให้ทำแผลที่เลือดไหลไม่หยุด  เมื่อให้นางพยาบาลดูบัตรประกันชีวิต พยาบาลประจำคลินิกแจ้งว่า ไม่สามารถใช้ที่คลินิกได้ต้องไปรักษาที่ รพ.พระราม 9 ซึ่งเป็นรพ.เอกชนที่รับบัตรประกันชีวิตทุกชนิด พอสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคม ก็ทราบว่าคลินิกให้บริการเฉพาะบุคคลที่ใช้สิทธิที่ รพ.ตากสินทำไมชีวิตมันยุ่งยากนัก เลือดก็ไหลไม่หยุด แผลเริ่มปวด นางพยาบาลถามย้ำว่าจะล้างแผลที่นี่หรือจะนั่งรถไปที่ รพ.พระราม 9 หรือจะไปใช้สิทธิตาม รพ.ที่รองรับสิทธิของตนเอง  คุณมิวจึงตัดสินใจให้นางพยาบาลที่คลินิกทำแผล โดยยื่นความประสงค์ขอจ่ายเงินเอง เนื่องจากคงไม่สะดวกที่จะหอบเอาเท้าที่เลือดยังไหลไม่หยุดไปรักษาถึง รพ.พระราม 9 หรือ รพ.ราชวิถี แพทย์ที่รักษาคนไข้อยู่ในห้องอีกห้องได้เดินออกมาดูอาการพร้อมแจ้งให้นางพยาบาลฉีดยาบาดทะยักให้กับผู้ป่วยด้วย  พร้อมกำชับให้ดูแลความสะอาดไม่ให้แผลโดนน้ำ เมื่อทำแผลเสร็จแพทย์ได้เดินมาฉีดยากันบาดทะยักพร้อมให้นางพยาบาลแจ้งการเก็บค่ารักษาพร้อมค่ายา ซึ่งประกอบด้วย ยาแก้อักเสบ และยาพาราเซตามอล  อย่างละ 1 ถุง  ค่ายารวมทั้งหมด 800 บาท คุณมิวได้ขอใบรับรองแพทย์ พร้อมใบเสร็จรับเงิน ก่อนจ่ายค่ารักษา และใบนัดฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก อย่างไรก็ตาม คุณมิว ซึ่งเป็นผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคม ตามมาตรา 33 สิทธิ เพียงแต่สิทธิขึ้นอยู่ที่ รพ.ราชวิถี เมื่อไปเข้าคลินิกที่ไม่ได้รองรับสิทธิ    จึงจำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน  ต่อมาเมื่อได้ทำเรื่องเบิกเงินคืนจากประกันสังคม เนื่องจากกรณีที่เกิดขึ้นเป็นอุบัติเหตุ ก็สามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้ตามที่กฎหมายประกันสังคมได้ระบุไว้   และได้รับเงินคืนครบตามจำนวนคือ 800 บาท โดยสำนักงานประกันสังคม โอนเงินผ่านทางธนาคาร ตามที่ระบุไว้ตอนที่ทำเรื่องเบิกเงินคืน แนวทางแก้ไขปัญหาจะพบว่า ผู้ประกันตนในสิทธิประกันสังคมไม่ได้รับความสะดวกในกรณีฉุกเฉินสักเท่าไร ถ้าไม่ใช่ รพ. ที่ระบุไว้ในบัตรหรือในเครือ ต้องออกเงินเองไปก่อน ต่อเมื่อทำเรื่องในภายหลังจึงจะได้รับเงินคืน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เนื่องจากเป็นกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ให้ผู้ประกันตนนำใบเสร็จรับเงิน, ใบรับรองแพทย์ มาประกอบในการขอเงินคืน โดยแนะนำผู้ประกันตนไปยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนฯ (สปส.2-01/ม.40)  สามารถโหลดแบบฟอร์มได้ในเว็บไซต์ http://www.sso.go.th/wpr/uploads/uploadImages/file/2sps201.pdf แนบใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)(ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)  ,ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง) (ถ่ายสำเนาเก็บไว้ 1 ชุด)   และเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่หน่วยงานราชการออกให้  และสำเนาเวชระเบียน (ถ้ามี) แนบไปด้วย แนบสำเนาหน้าบัญชีธนาคาร กรณีที่ให้สำนักงานประกันสังคมโอนเงินคืนทางธนาคาร ระบุแจ้งเบอร์โทรศัพท์ในใบข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อสะดวกในการติดต่อประสาน ผู้ร้องสามารถยื่นเอกสารโดยส่งทางไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ หรือนำเอกสารไปยื่นได้ด้วยตนเองได้เลย ประมาณ 2 อาทิตย์ จะมีหนังสือตอบกลับจากสำนักงานประกันสังคมกรณีอนุมัติเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 เจ็บป่วยฉุกเฉิน สิทธิการรักษาที่สร้างความสับสน

นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”   คงจะใช้ไม่ได้ในหลายกรณี เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายนี้   คุณสายันห์  อายุ 61 ปี อาศัยอยู่แถว ซ.ประชาอุทิศ 19  ทุ่งครุ  เกิดอาการล้มหมดสติ เวลาประมาณ 23.00 น ในวันที่ 3 มกราคม 2557  ญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน   ระหว่างที่นำส่งญาติทราบดีว่าสิทธิของผู้ป่วยอยู่ รพ.ตากสิน แต่ขณะที่อยู่บนรถ คุณสายันห์ เกิดอาการหยุดหายใจ ญาติจึงเร่งนำตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งแพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน จนกระทั่งอาการดีขึ้นต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่ารักษาคุณสายันห์ เป็นเงิน 148,324 บาท  ญาติถึงกับตกใจ ภรรยาคุณสายันห์ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงได้ขอให้ทางโรงพยาบาลย้ายคุณสายันห์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลตากสินตามสิทธิ  แล้วจึงไปกู้เงินนอกระบบเพื่อนำกลับมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลแรกที่ช่วยรักษาคุณสายันห์ ปัญหาคือ ทำไมโรงพยาบาลจึงไม่แจ้งเรื่องสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ ทำไมต้องมาแบกรับภาระค่ารักษาทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพเมื่อมารักษาที่โรงพยาบาลตากสิน จนอาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านได้ แต่ญาติๆ พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากช่วงที่หัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล  ปัจจุบันต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”  อาจเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่นกรณีคุณสายันห์ป่วยฉุกเฉินด้วยอาการหยุดหายใจเฉียบพลัน ซึ่งเข้าตามเกณฑ์ที่สภาพยาบาลได้ให้ไว้  แต่สุดท้ายก็ต้องจ่ายเงิน(อย่างตกใจ)ไปก่อน พอได้ทราบเรื่องสิทธิและตามเบิกตามสิทธิแห่งตน ก็ได้รับการอนุมัติเงินคืนค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปก่อนหน้านั้นเพียง 16,543  บาท  หากเทียบกับยอดค่าใช้จ่ายที่ญาติผู้ป่วยจ่ายไป 148,324 บาท ยังไม่ได้ถึง 20% ของจำนวนเงินดังกล่าวเลย คำถามจึงเกิดขึ้นมาว่า อะไรคือมาตรฐานในการพิจารณาค่ารักษากรณีฉุกเฉิน  แล้วทำไมสถานพยาบาลจึงไม่มีข้อมูลแจ้งต่อผู้ป่วยหรือญาติ ในการอธิบายหรือช่วยประสานงานกับหน่วย EMCO หรือหน่วยดูแลกองทุนฉุกเฉิน ของ สปสช. ทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่อตัดสินใจเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุดจากกรณีป่วยฉุกเฉิน ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายลงได้ แต่กลับพบว่ามันไม่เป็นจริง แนวทางแก้ไข1. ประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพเพื่อตรวจสอบกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ 1330 ได้แจ้งให้ประสานไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยเพื่อทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO2. ประสานโรงพยาบาลที่ทำการรักษาให้ทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO3. เมื่อได้รับการอนุมัติค่ารักษาแล้วพบว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือ สปสช.   นโยบายรัฐให้คำจำกัดความเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง  ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรงมีอาการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรง  มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือดหรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักตลอดเวลา หรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศา ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าหรือลำคอ รักษาทุกที่ หมายถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทุกรพ.ทั้งรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ถูกถามสิทธิก่อนการรักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลาลง ทั่วถึงทุกคน หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิของ 3 กองทุน ประกอบด้วย กลุ่มข้าราชการและครอบครัว (ประมาณ 5 ล้านคน) จากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกรมบัญชีกลาง กลุ่มลูกจ้างพนักงาน (ประมาณ 10 ล้านคน) จากกองทุนประกันสังคม กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ประมาณ 48 ล้านคน) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคเวลาที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องปฏิบัติดังนี้ ข้อควรปฏิบัติในการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1)       ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วยไปด้วยทุกครั้ง ถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ 2)       เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากเลือกได้ ขอให้เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ 3)       ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หากไม่มีบัตรประชาชน ให้แจ้งชื่อ-สกุลผู้ป่วย แล้วรีบนำบัตรประชาชนมายื่นภายหลัง 4)       หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉินตามสิทธิที่มี และอ้างนโยบายรัฐบาล แต่หากเจ้าหน้าที่ยังยืนยันจะเก็บเงิน ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำ แล้วจะคืนให้เมื่อเบิกจาก สปสช. ได้  ให้โทรไปสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อให้เจราจากับโรงพยาบาล 5)       เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 6)       หากได้รับความเสียหายในการใช้สิทธิ สามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.) สายด่วน 1330  และกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งเรื่องไปที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 7)       กรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ผู้มีสิทธิบัตรทอง สามารถยื่นเรื่องขอรับการเยียวยา ความเสียหาย จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 41   ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่ทราบถึงความเสียหาย       //

อ่านเพิ่มเติม >