ฉบับที่ 150 ตรวจสุขภาพฝากครรภ์ ใครๆ ก็ใช้บัตรทองได้

เราอาจเคยได้ยินว่าสิทธิด้านสุขภาพต่างๆ ที่รัฐจัดให้ ทั้งสิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ หรือสิทธิตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) หากใครมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะไปใช้สิทธิอีกอย่างหนึ่งไม่ได้ ด้วยความรู้แบบนี้และความอ่อนแอในการสื่อสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ทำให้ประชาชนพลาดสิทธิที่มีอยู่ได้เช่นกันสุพัตรา เป็นพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่งมีสิทธิประกันสังคม เธอตั้งครรภ์อยากจะฝากครรภ์พอเปิดไปดูรายละเอียดความคุ้มครองเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ในประกันสังคม ก็พบแต่เงินช่วยเหลือเหมาจ่าย 13,000 บาทให้ค่าคลอดบุตรเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าต้องควักเงินสำรองจ่ายไปก่อนจนคลอดบุตรแล้วถึงจะไปขอเบิกคืนได้ ก็อยากจะประหยัดเงินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้  เธอจึงขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมจนทราบว่า ในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือบัตรประกันสังคมและคนไทยทุกคนให้มาใช้สิทธิบัตรทองได้ในการรับบริการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้ซึ่งรวมถึงการฝากครรภ์ด้วย โป๊ะเช่ะ...ไม่ต้องควักเงิน ลุย !สุพัตรา เดินเข้าไปที่โรงพยาบาลราชวิถีเพื่อขอฝากครรภ์และขอใช้สิทธิบัตรทอง เรื่องการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเป็นงง  บอกใช้ไม่ได้มีสิทธิประกันสังคมอยู่แล้วก็ให้ไปเบิกเงินกับทางนั้นซะ คนถือบัตรประกันสังคมจะใช้สิทธิส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคได้เพียงเรื่องการคุมกำเนิดเท่านั้น รอคลอดก่อนแล้วค่อยใช้สิทธิทำตอนทำหมันนะจ๊ะซึมเล็กๆ เมื่อได้รับคำตอบแบบนั้น สุพัตราหยิบมือถือโทรไปที่ call center สปสช. 1330 ถามความชัดเจนว่ามันเป็นยังไงกันแน่ เห็นใบประชาสัมพันธ์บอกว่าใช้ได้ไง call center สปสช. ยืนยันว่า ผู้ถือบัตรประกันสังคมสามารถใช้สิทธิส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเรื่องการฝากครรภ์ได้ และแนะนำให้สุพัตราไปคุยกับทางศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาลราชวิถีอีกครั้ง สุพัตราอุ้มท้องอ่อนๆ แล้วค่อยๆ เดินไปที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาลราชวิถีเพื่อขอยืนยันการใช้สิทธิอีกคำรบ“ไม่ได้ค่ะ เราเคยมีผู้ถือบัตรประกันสังคมมาขอใช้สิทธิแบบน้องนี่แหละค่ะ ก็ต้องแจ้งว่าผู้ที่ใช้สิทธิได้จะเป็นผู้ที่ส่งประกันสังคมไม่ครบ 7 เดือนเท่านั้นค่ะ” เจ้าหน้าที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาลอธิบาย สุพัตราจึงกดโทรศัพท์และขอให้เจ้าหน้าที่ สปสช. ได้เจรจากับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพ คุยกันอยู่พักใหญ่สุดท้ายศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพของโรงพยาบาลก็ยังยืนยันไม่ให้เธอใช้สิทธิ แถมยังบอกว่า ไม่มีนโยบาย หากต้องการใช้สิทธิส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคให้ไปขอใช้สิทธิที่สถานพยาบาลอื่นแทน  จะเรียกว่าเป็น “ไล่” อย่างสุภาพก็ว่าได้เมื่อการใช้สิทธิล้มเหลว สุพัตราจึงโทรคุยกับเจ้าหน้าที่ สปสช. อีกครั้ง เจ้าหน้าที่แจ้งว่าแม้ สปสช.จะมีนโยบายดังกล่าว แต่ สปสช. ไม่มีอำนาจบังคับให้โรงพยาบาลทำตามนโยบายดังกล่าวได้“เอ้า...แล้วมันจะเรียกว่านโยบายได้ไงน่ะ เที่ยงนี้ขนมจีนอย่ากินดีกว่า มันคงไม่มีน้ำยาเหมือนกัน” สุพัตราบ่นกับตัวเองพร้อมควักเงิน 760 บาทเป็นค่าดำเนินการฝากครรภ์ให้กับโรงพยาบาล ก่อนนำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาหลังรับเรื่องร้องเรียน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ตรวจสอบที่มาที่ไปในสิทธิการรับบริการสาธารณสุข การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้พบความเป็นมาว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 13 กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ดำเนินงานภายใต้นโยบายสาธารณสุขที่ต้องการให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพทั้งด้านการรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างมีมาตรฐาน เสมอภาค และเท่าเทียมกัน รวมถึงการพัฒนาสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องการลดอัตราตายของเด็กและทารก อัตรามารดาตาย การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญ เป็นต้น จึงได้ดำเนินการแปลงนโยบายที่ว่าสู่การปฏิบัติเพื่อให้มีการดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง มีระบบบริการเน้นการดูแลในระดับ Primary care และในชุมชน โดยจัดให้มีบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จนถึงวัยสูงอายุโดยการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว/ตามกิจกรรมหรือตามผลงานบริการ ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ที่กำหนด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ผู้มีสิทธิอื่นๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขมากขึ้น และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในอนาคต  โดยเปิดให้ผู้ที่ใช้สิทธิประกันสังคมและสิทธิราชการ สามารถใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวได้จากเอกสารเผยแพร่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพยังยืนยันว่า ผู้มีสิทธิประกันสังคมสามารถเข้าขอใช้สิทธิการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ ไม่ใช่แค่การฝากครรภ์ แต่ยังรวมไปถึงการวางแผนครอบครัวแบบชั่วคราว ทั้งการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด ห่วงอนามัย แม้กระทั่งการจะขอรับการตรวจหามะเร็งปกมดลูก ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว มูลนิธิฯจึงได้ทำหนังสือเรียนถึง ประธานคณะกรรมการคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขเพื่อให้ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้ในเวลาต่อมาได้มีการประสานงานระหว่าง สปสช. กับโรงพยาบาลราชวิถีอีกครั้ง และมีการยินยอมให้สุพัตราสามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้ เนื่องจากการฝากครรภ์อยู่ในบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่ให้ความคุ้มครองแก่คนไทยทุกคน โดยต้องเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพประเด็นนี้ทำให้เห็นจุดอ่อนใหญ่ๆ 2 จุด คือ ความคุ้มครองด้านสุขภาพของประกันสังคมใครอยากใช้สิทธิต้องควักเงินก่อนและมีข้อจำกัดของวงเงินซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และเน้นให้ความคุ้มครองด้านการรักษาแต่ไม่เน้นด้านการป้องกัน ขณะที่นโยบายในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพแม้จะมีนโยบายที่ดีมุ่งหวังดูแลประชาชนถ้วนหน้าแต่ยังมีการปฏิบัติที่ไม่ถ้วนหน้าจากสถานพยาบาลบางแห่งหรือบางครั้งอยู่ จำเป็นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องวางกรอบระเบียบแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้อย่างแท้จริงต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 ซื้อประกันสุขภาพ แค่ป่วยครั้งเดียว ถูกบอกเลิกสัญญาแล้ว

เป็นที่ยอมรับกันว่าประเทศไทยประสบผลสำเร็จในด้านทั้งการคุมกำเนิด  การสาธารณสุข  จนส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ลดลง   และผู้สูงอายุ   อายุยืนมากขึ้น  จนทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเรื่องที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้น สิ่งที่ตามมาด้วยคือ ธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ เติบโตอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะธุรกิจด้านการประกันสุขภาพ  เราๆ ท่านๆ ก็คงเห็นเหมือนกันว่ามีการโฆษณาเกี่ยวกับธุรกิจประกันสุขภาพมากมาย  โดยแต่ละบริษัทออกแบบโฆษณาเพื่อเรียกลูกค้ากันแบบหมัดต่อหมัด เช่น ประกันสุขภาพไม่ต้องตรวจสุขภาพ  วงเงินที่จะได้รับสูงขึ้น  มีการกำหนดเวลา  หากไม่เป็นโรคคืนเงินปีสุดท้าย  เป็นต้นฟังแล้วก็ดีนะ! ประกันไว้เมื่อเจ็บป่วยจะได้ไม่เดือดร้อนลูกหลาน   แต่เรื่องจริงไม่เป็นเช่นนั้น   มีกรณีร้องเรียนการประกันสุขภาพเข้ามาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคในภาคตะวันตก หลายเรื่องและเรื่องร้องเรียนคล้ายๆ กันคือ   ตอนจะซื้อประกันสะดวกมาก สามารถซื้อติดต่อกันได้ในหลายปี(หากยังไม่ป่วย)เหตุจะเกิดต่อเมื่อผู้ซื้อประกันเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัว(ซึ่งผู้สูงอายุเมื่ออายุสูงขึ้นก็ต้องป่วยมากขึ้น)และเมื่อเจ็บป่วยบริษัทประกันก็บริการจ่ายสินไหมค่ารักษาดีตามที่สัญญากำหนด  แต่...เหตุเกิดหลังจากนั้นคือ  หลังจากบริษัทจ่ายเงินค่ารักษาแล้ว ก็ตามมาด้วยเอกสารขอเลิกสัญญาการเอาประกันของผู้ซื้อประกัน  พร้อมข้อเสนอขอคืนเงินต้นที่ซื้อประกันในปีนั้นให้ทั้งหมด  ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน   ทำให้ผู้ซื้อประกันมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม  เพราะจ่ายเงินซื้อประกันไปฟรีๆหลายปีเพื่อต้องการการคุ้มครองยามเจ็บป่วย กลับถูกบอกเลิกสัญญาผู้เขียนได้มีโอกาสคุยกับ “ป้าประเทือง  พูลทั่วญาติ”  ก่อนจะคุยกันรู้เรื่องก็ได้เหนื่อย...กันเลยที่เดียว  คำพูดหนึ่งที่ป้าประเทืองพูดซ้ำหลายครั้งคือ  “ตอนนี้ใครมาชวนฉันซื้อประกัน ฉันจะด่ามันให้เจ๊ง..เลย.. ไม่เอาอีกแล้วประกันเนี่ย..มันเอาเปรียบ..ทีเงินเรามันจะเอา พอมันจะเสีย เสือก...บอกเลิกสัญญา” ดังนั้นเมื่อปัญหาคือบริษัทบอกเลิกสัญญา เมื่อผู้เอาประกันเริ่มเจ็บป่วย..    มันไม่น่าจะเป็นธรรม จึงลองหาข้อมูล  โดยโทรไปที่สายด่วน คปพ.(คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) 1186   ก็ได้ข้อมูลมาว่า   การที่บริษัท บอกเลิกสัญญา กับผู้เอาประกันนั้น  ไม่ผิด บริษัทมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับผู้ซื้อประกันได้ ทันทีที่บริษัทเห็นว่า “จะเกิดความเสี่ยงกับบริษัท”   โดยข้อกำหนดนี้เป็นไปตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั่วไปเขียนถึงตรงนี้ยิ่งรู้สึกรันทดใจ กับผู้ที่มาร้องเรียน   เพราะการโฆษณาไม่ได้บอกเหตุผลในการบอกเลิกสัญญา(มันผิด พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค  คือผู้บริโภคต้องได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน) แต่ปัจจุบัน  มีแต่การโฆษณาชักจูง เพียงอย่างเดียว  เรื่องนี้ผู้เขียนได้หารือนอกรอบกับเลขา สคบ.คนปัจจุบัน  ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง      ว่าการทำสัญญาในลักษณะนี้   เข้าข่ายสัญญาเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่  ทำอย่างไรผู้บริโภคจะไม่ถูกหลอกลวงเช่นปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 58 ร้านยาไซเบอร์ มหันตภัยยุคออนไลน์

  ในขณะที่หลายคนยังงงสับสนอยู่ว่าทิศทางการขายยาตามรูปแบบกฎหมายยาฉบับใหม่จะไปทางไหน แพทย์จะขายยาได้อีกหรือเปล่า จะให้นั่งเขียนใบสั่งยาอย่างเดียวแล้วคลินิกที่เปิดจะอยู่ได้อย่างไร เภสัชกรจะวินิจฉัยโรคและสั่งยาได้เก่งกว่าแพทย์แค่ไหน ก็ปรากฏว่าโลกของการขายยาในยุคปัจจุบันไปไกลกว่าที่เราคาดถึงเสียแล้ว เมื่อร้านขายยาถูกยกระดับเป็นร้านขายยาไซเบอร์ขายกันทางออนไลน์ ซื้อขายกันได้ข้ามโลก คำถามคือว่ากฎหมายที่เรามีอยู่หรือแม้แต่กำลังจะออกมาใหม่จะคุ้มครองผู้บริโภคได้แค่ไหนกัน ...................................................ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นจากร้านขายยาทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นใน 2 ประเทศ หนึ่งคือสหรัฐอเมริกาเจ้าแห่งโลกออนไลน์และเจ้าแห่งบริโภคนิยม สองคือประเทศไทย ประเทศที่มีประชากรใช้ยาในปริมาณที่ประเทศใหญ่ ๆ อย่างสหรัฐอเมริกายังอายและกำลังเดินเข้าหาโลกออนไลน์อย่างไม่ครั่นคร้าม พฤติกรรมการซื้อการขายยาของทั้งสองประเทศอาจจะมีจุดแตกต่าง แต่เมื่อพิจารณาให้ดีก็จะเห็นแนวทางอันตรายที่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องขบคิดว่าจะจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ในขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตระหนักให้ทันว่าร้านยาไซเบอร์คือความก้าวหน้าหรือมหันตภัยของชีวิตและสุขภาพของตัวเองกันแน่   เหตุเกิดที่ประเทศไทย ในปัจจุบันคนไทยมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาด้อยคุณภาพอยู่แล้วในหลายลักษณะ เช่น ยาผิดมาตรฐาน ยาปลอม หรือยาเสื่อมคุณภาพ ทั้งจากทางบุคลากรทางการแพทย์ จากร้านขายยา หรือร้านขายของชำต่าง ๆ และเมื่อโลกออนไลน์สำหรับคนไทยขยายตัวกว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น สภาพปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางร้านยาอินเทอร์เน็ตก็มีมากขึ้นตามลำดับปัญหาที่เกิดจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย มีการขายยาแผนปัจจุบัน ระบุชื่อการค้า และสรรพคุณ บางเว็บไซต์มีการโฆษณารูปภาพแสดงความทุกข์ทรมานและมีการลด แถม ให้ของสัมมนาคุณ มีการขายยาที่อ้างว่าเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยขึ้นทะเบียนเป็นยาแผนโบราณและมีสรรพคุณเป็นยาบำรุง มีการขายยาโดยอ้างว่าเป็นการขายแบบธุรกิจสู่ธุรกิจ แต่ผู้บริโภคทั่วไปก็สามารถเข้าถึงได้โดยมีการขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ มีการโฆษณายาโดยบุคลากรวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพใช้ชื่อของตนและอธิบายคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยระบุชื่อการค้า โดยเฉพาะการโฆษณายาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ เหตุเกิดที่สหรัฐอเมริกา ในสหรัฐอเมริกาผู้บริโภคจำนวนหนึ่งได้เปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อยาจากร้านยามาเป็นซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์จำนวนนับร้อยมีบริการจำหน่ายยาโดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ทั้งที่โดยกฎหมายของสหรัฐอเมริกาแล้ว ยาเหล่านี้จะขายให้แก่ผู้ป่วยได้จะต้องมีการตรวจวินิจฉัยโรคก่อนโดยแพทย์และจะต้องมีใบสั่งยา ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะ ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยมองไม่เห็นข้อเสียของการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบกับวิธีเดิมที่ต้องไปพบแพทย์และไปรับยากับเภสัชกรที่ร้านยา เหตุผลที่สำคัญไม่แพ้กันที่ทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้บริการร้านยาทางอินเทอร์เน็ตคือรู้สึกว่าได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลา และให้ความเป็นส่วนตัว ทั้งยังคิดว่าน่าจะเชื่อถือได้เนื่องจากเว็บไซต์หลายแห่งมีการระบุ สถานที่ และที่ติดต่อให้ไว้ อย่างไรก็ดีปัญหาจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจนนำไปสู่การเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาที่เกิดจากการซื้อยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต การขายยาให้ผู้ป่วยโดยไม่ผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ หรือการให้ผู้ป่วยกรอกแบบสอบถามแล้วจ่ายยาให้ การขายยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งเครื่องมือตรวจวินิจฉัย และให้การบำบัดรักษาทางการแพทย์ที่โอ้อวดเกินจริง มีการขายยาบางชนิดที่เข้าข่ายวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือสารเสพติด ลักษณะของร้านขายยาไซเบอร์Cybermedicine หรือ Cyberpharmacy เป็นชื่อที่ถูกใช้เรียกเว็บไซต์ขายยาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม 1.    PHARMACY BASED SITES เว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้มีแบบแผนเช่นเดียวกับร้านยาปกติโดยทั่วไปเพียงแต่ย้ายมาตั้งบนเว็บไซต์ เว็บไซต์เหล่านี้จะขายยาให้แก่ผู้ป่วยที่มีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ร้านขายยากลุ่มนี้จึงไม่ได้สร้างปัญหาในเรื่องความพยายามที่จะขายยา ปัญหาที่พบในทางกฎหมายจะเป็นในลักษณะที่บางเว็บไซต์ไม่มีใบอนุญาตจำหน่ายยาจากรัฐที่เว็บไซต์ดำเนินธุรกิจขายยาอยู่2.    PRESCRIBING BASED SITES ในสหรัฐอเมริกามีเว็บไซต์จำนวนนับพันแห่งที่มีแพทย์และเภสัชกรบริการให้คำแนะนำทางการแพทย์หรือให้ข้อมูลทางสุขภาพโดยไม่ได้จ่ายยาให้กับผู้ป่วยซึ่งนับเป็นเรื่องดี แต่กับ PRESCRIBING BASED SITES เว็บไซต์กลุ่มนี้จะให้ผู้ป่วยปรึกษากับแพทย์ทางอินเทอร์เน็ต (online doctor visit) โดยผู้ป่วยอาจจะตอบแบบสอบถามที่จัดไว้ให้ในเว็บไซต์ หรืออาจใช้รูปแบบของ Video Conference ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย คิดค่าบริการให้คำปรึกษาอยู่ระหว่าง 30 - 150 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 1,200 - 6,000 บาท) เมื่อให้คำปรึกษาแล้วแพทย์ก็จะสั่งจ่ายยาผ่านทางเว็บไซต์ขายยา หรือ online pharmacy ซึ่งอาจจะไม่เป็นที่เดียวกันกับที่ตั้งของแพทย์ผู้ให้คำปรึกษา แพทย์ ร้านยา และผู้ป่วยอาจจะอยู่กันคนละรัฐก็ได้ ข้อเสียสำคัญคือ เนื่องจากเว็บไซต์ขายยาระบบนี้จะให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามผ่านเว็บไซต์เท่านั้น แพทย์จึงไม่ได้พบผู้ป่วยเพื่อตรวจร่างกาย และอาจจะไม่พบโรคของผู้ป่วยเพราะโรคบางโรคจะพบได้ก็จะต้องมีการตรวจร่างกาย การรับบริการผ่านทาง PRESCRIBING BASED SITES ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่แพทย์จะตรวจโรคได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง พฤติกรรมของเว็บไซต์ขายยากลุ่มนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาว่าเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมละเมิดจริยธรรมและวิธีปฏิบัติของการประกอบวิชาชีพของแพทย์3. Online drug shop  เป็นร้านขายยาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิดกฎหมายอย่างชัดเจน กลุ่มร้านยาออนไลน์เหล่านี้เน้นการขายยาอย่างเดียวไม่มีการตรวจร่างกาย ไม่มีการให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การกรอกแบบสอบถามผู้ป่วย ยาที่ขายมีทั้งยาควบคุมพิเศษ , ยาอันตรายที่ต้องการใบสั่งแพทย์ และขายยาที่ไม่ผ่านการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ผู้ซื้อสามารถเลือกยาอะไรก็ได้ที่ต้องการโดยจ่ายเงินผ่านทางเครดิตการ์ด เว็บไซต์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาและสร้างปัญหาอย่างมากในการควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย ผู้บริโภคที่ซื้อยาจากร้านยาไซเบอร์กลุ่มนี้มักไม่รู้ว่าร้านยาเหล่านี้กระทำการละเมิดกฎหมายโดยตรง รัฐบาลสหรัฐฯถือว่าเว็บไซต์ในกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีปัญหามากที่สุด เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านี้ไม่เปิดเผยที่อยู่และมักจะตั้งอยู่นอกประเทศ ดังนั้นการจัดการทางกฎหมายเพื่อให้เว็บไซต์เหล่านี้หยุดขายยานับเป็นเรื่องยากมาก แม้จะมีการปิดเว็บไซต์เหล่านี้ได้แต่เพียงไม่กี่วันก็จะเปิดขึ้นใหม่อีกโดยใช้ชื่อหรือที่อยู่ที่แตกต่างไปจากเดิม ผลเสียจากการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นการทำลายระบบคุ้มครองสุขภาพที่ผู้ป่วยควรจะได้รับจากการให้บริการของแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากยาที่ได้รับ เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบของเภสัชกรในระหว่างการจ่ายยา ยาจากเว็บไซต์ที่ไม่ระบุสถานที่แน่นอน อาจเป็นยาปลอม อาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เป็นยาที่หมดอายุ หรือไม่ได้มาตรฐาน การซื้อยาผ่านทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และไม่น่าจะได้รับยาที่ถูกต้องตรงตามโรค   เว็บไซต์ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ควรหลีกเลี่ยง โลกออนไลน์เป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การหวังว่าจะได้รับการคุ้มครองเป็นอย่างดีจากมาตรการต่าง ๆ ของรัฐคงจะเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากและอาจจะช้าเกินการณ์ การหมั่นศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับผู้บริโภคในยุคออนไลน์ ในที่นี้ฉลาดซื้อขออนุญาตแนะนำหลักในการพิจารณาเว็บไซต์ขายยารวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของท่าน เว็บไซต์ที่ไม่ให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรค เว็บไซต์ขายยาที่ไม่ได้รับการอนุมัติจาก อย. หรือพยายามเชื่อมโยงให้ซื้อยาขากเว็บไซต์อื่น เว็บไซต์ที่มีแต่เพียงเบอร์โทรศัพท์ ชื่อบุคคลสมมติ ไม่มีที่อยู่ที่เป็นหลักแหล่งแสดงไว้อย่างชัดเจน เว็บไซต์ที่ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ใช่ยา แต่อวดอ้างสรรพคุณรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมายข้อมูลจาก"สถานการณ์ แนวโน้ม และการแก้ไขปัญหาการขายยาผ่านทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา" โดย ภก.ดร.วิทยา  กุลสมบูรณ์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 น้ำตาลในน้ำผักผลไม้

เครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ สามารถสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้เสมอ เพราะมักโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากเครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ผสมน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือตามที่นักโภชนาการแนะนำคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา/วัน เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนหรือฟันผุ ทั้งนี้ไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะมาจากการสกัดหรือเป็นน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในผลไม้ก็ตาม เพราะร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนน้ำตาลฟรักโทสให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานได้เช่นกันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลทดสอบ ปริมาณน้ำตาลในน้ำผักผลไม้จำนวน 27 ตัวอย่างจาก 8 ยี่ห้อยอดนิยม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ และป้องกันการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน ไปดูกันเลย    ตารางผลทดสอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 สารในโรลออนเสี่ยงมะเร็งเต้านมจริงหรือ?

เพราะเหงื่อมักออกมากในบริเวณใต้วงแขนหรือรักแร้ ซึ่งเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้เราต้องเผชิญกับปัญหากลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ คนส่วนใหญ่จึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยระงับเหงื่อหรือกลิ่นกายอย่าง “โรลออน” เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว แต่ในทุกครั้งที่เราปาดหรือทาลงใต้วงแขน เรามั่นใจหรือเปล่าว่าจะไม่มีสารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมะเร็งเต้านมได้ แม้ว่าการถกเถียงหรือความสงสัยในประเด็นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเคยมีข่าวว่าสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท (Aluminum chlorohydrate) ที่เป็นส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดมะเร็งเต้านม โดย รศ.ดร.ภญ.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุไว้ในคอลัมน์สวยอย่างฉลาด นิตยสารฉลาดซื้อว่า กลไกการระงับเหงื่อของสารดังกล่าวคือ ตัวสารจะเข้าไปอุดรูขุมขนเพื่อไม่ให้เหงื่อไหล ซึ่งหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นประจำ จะมีผลทำให้เกิดการสะสมและตกค้างของสารในบริเวณใต้วงแขนเป็นจำนวนมาก ทำให้เห็นเป็นรอยด่างดำ และจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ พบว่า สารตกค้างเหล่านี้อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุที่เกิดมะเร็งเต้านมในหญิงหรือชายบางรายได้ เนื่องจากท่อและต่อมต่างๆ ของบริเวณเต้านมมีส่วนเชื่อมต่อกับต่อมเหงื่อและรูขุมขนใต้วงแขน โดยเฉพาะเกลือโลหะหนักอลูมิเนียมจะไปจับกับดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์ทำให้เกิดความผิดปกติ และมีการตรวจพบสารตกค้างของอลูมิเนียมในเนื้อเยื่อมะเร็งจากเต้านมของคนไข้ ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีหลายสถาบันที่วิจัยเกี่ยวกับด้านมะเร็ง ออกโรงคัดค้านงานวิจัยนี้ โดยย้ำว่าการใช้เครื่องสำอางระงับกลิ่นกายไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ได้มีกรณีที่น่าสนใจของสุภาพสตรี จากเมืองเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา ที่ใช้แป้งเด็กยี่ห้อจอห์นสันทาบริเวณจุดซ่อนเร้นมาตลอดกว่า 30 ปีแล้วตรวจพบภายหลังว่าเธอเป็นมะเร็งรังไข่ โดยแพทย์ระบุสาเหตุว่ามาจากแป้งดังกล่าวที่มีส่วนประกอบของแร่หินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ทัลค์ (Talc) หรือเรียกว่า "แป้งทัลคัม" (Talcum Powder) ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งได้ ภายหลังการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ทางบริษัทแป้งดังกล่าวก็ยินดีจ่ายเงินชดเชยให้ พร้อมยังคงโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ทัลก์ต่อไป และยืนยันว่าส่วนผสมที่ใช้มีความปลอดภัย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านร่วมเฝ้าระวัง สารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทในโรลออนกันอีกครั้ง ซึ่งถึงตรงนี้เราอาจยังมีข้อสงสัยในสารดังกล่าวว่า มีหรือไม่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมะเร็งเต้านม ฉลาดซื้อจึงขออาสาพาไปดูฉลาก “ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นใต้วงแขน” ทั้งหมด 20 ยี่ห้อ ว่ายี่ห้อไหนมีส่วนประกอบของสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท บ้าง *หมายเหตุ ราคาอาจแตกต่างกันตามแหล่งซื้อต่างๆ**เก็บตัวอย่าง กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2559   ผลทดสอบฉลาก   "ไม่มีบนฉลาก"  คือ ไม่แสดงว่ามีส่วนผสมหรือไม่"ไม่แจ้งส่วนประกอบ" คือ ไม่มีรายละเอียดบนขวดว่าผสมอะไร"มีแสดงบนฉลาก" คือ แสดงส่วนประกอบว่ามีสารดังกล่าว ทั้งนี้  "ไม่มีบนฉลาก" และ  "ไม่แจ้งส่วนประกอบ"  ทางเราไม่สามารถบอกได้ว่ามีหรือไม่มี เพราะการเสนอครั้งนี้เราสำรวจจากฉลาก ที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยผู้บริโภคตัดสินใจในซื้อมาใช้ และการมีฉลากที่แจ้งข้อมูลก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ผลจากการเปรียบเทียบฉลาก- โรลออนทุกยี่ห้อเกือบทุกยี่ห้อที่สำรวจมีสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทเป็นส่วนประกอบ แต่มี 3 ยี่ห้อ คือ Nivea Rexona และ Dove ที่ไม่ระบุส่วนประกอบบนฉลาก- สารส้มแบบแท่งและแบบโรลออน ไม่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าว- ทุกยี่ห้อจะมีคำโฆษณาคล้ายกัน โดยเน้นเรื่องการระงับเหงื่อ ให้กลิ่นกายหอมสดชื่นยาวนาน และบางยี่ห้ออาจเพิ่มเติมว่าปราศจากแอลกอฮอล์ รู้จักสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรทกันอีกสักหน่อยสารอลูมิเนียมคลอไฮเดรท มีชื่อพ้องหรือชื่อเรียกอื่นที่อาจพบได้อีกคือ Aluminum hydroxychloride, Aluminium chlorhydroxide, Aluminium chloride basic, Aluminium chlorohydrol, Polyaluminium chloride เมื่อนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายอย่างโรลออน จะสามารถช่วยลดเหงื่อหรือทำให้เหงื่อออกน้อยลงได้ เพราะทำให้ผิวหนังและรูขุมขนในบริเวณที่ทาหดตัว ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย มักจะมีส่วนประกอบของสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท ที่เข้มข้นสูงถึง 30-50% เมื่อใช้ไปเรื่อยๆ จึงเป็นผลให้เกิดเป็นรอยด่างดำที่ใต้วงแขนเนื่องมาจากการสะสมของสารชนิดนี้ แม้ในส่วนโรลออนที่เป็นแบบไวท์เทนนิ่ง (whitening) หรือช่วยให้ผิวใต้วงแขนดูกระจ่างใสขึ้น ก็พบว่ามีสารตัวนี้เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน แต่จะมีสารตัวอื่นๆ ผสมเข้ามาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยด่างดำที่เป็นผลมาจากสารอะลูมิเนียมคลอไฮเดรท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ผลิตภัณฑ์เพื่อวงแขนที่แห้งสบายไร้กลิ่น

ฉลาดซื้อฉบับรับหน้าร้อนเล่มนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบผลิตภัณฑ์สำหรับควบคุมเหงื่อและกลิ่นใต้วงแขน ที่องค์กรผู้บริโภคของประเทศฝรั่งเศสส่งเข้าทดสอบร่วมกับองค์การทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ในปีที่ผ่านมา มีทั้งผลิตภัณฑ์สำหรับคุณผู้หญิงและคุณผู้ชายทั้งในรูปแบบของลูกกลิ้งและสเปรย์   การทดสอบครั้งนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 70,000 บาทต่อผลิตภัณฑ์ เขาเน้นการวัดประสิทธิภาพที่อวดอ้างในโฆษณา -- ความสามารถในการระงับกลิ่น ความสมารถในการระงับเหงื่อ และการไม่ทิ้งคราบขาวบนเสื้อ นอกจากนั้นก็ยังสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่นกลิ่น ความรู้สึกแห้งสบาย) และให้คะแนนการติดฉลากแจ้งข้อมูลแก่ผู้บริโภคด้วย   คะแนนเต็มแต่ละด้านอยู่ที่ 100 และคะแนนด้านประสิทธิภาพสูงที่สุด 80 คะแนนเป็นของ REXONA MEN COBALT DRY MOTION SENSE SYSTEM ในขณะที่ VICHY DEODORANT ANTITRANSPIRANT 48H รั้งท้ายด้วยคะแนนประสิทธิภาพเพียง 49 คะแนนเท่านั้นติดตามรายละเอียดในหน้าถัดไปว่าผลิตภัณฑ์ไหนจะคู่ควรกับพื้นที่ใต้วงแขนของคุณมากที่สุด ...           ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- มนุษย์ทุกคนไม่ได้เกิดมาตัวเหม็น ...บางคนโชคร้าย ไม่สามารถผลิตสารเคมีที่เป็นอาหารอันโอชะของแบคทีเรีย เหงื่อของคนพวกนี้จึงไม่สามารถสร้างกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ได้ และการสำรวจพบว่าคนจำนวนมากยังไม่ตระหนักเรื่องนี้ จากการสัมภาษณ์ผู้หญิงที่ “ไม่สามารถมีกลิ่นตัว” จำนวน 117 คน นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริสตอล ในอังกฤษพบว่า ร้อยละ 75 ของพวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำ หัวหน้าคณะวิจัยให้ความเห็นว่า เหตุที่พวกเธอใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทั้งๆ ที่ไม่จำเป็นนั้น คงเป็นเพราะความกดดันทางสังคม -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------เหตุผลที่เราไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายเป็นประจำอาจมีหลายเรื่องที่ยังพิสูจน์ไม่ได้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พวกนี้ แต่ที่ยืนยันได้คือ การหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หลังจากใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้แบคทีเรียตัวร้ายใต้วงแขนฟื้นคืนชีพและเติบโตได้เร็วกว่าเดิมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลนาเซ็นทรัล พบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ (ทั้งแบบระงับเหงื่อ และระงับกลิ่น) จะไปเปลี่ยนแปลงสภาพ “ชุมชน” ของจุลินทรีย์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ใต้วงแขนเรา ด้วยการกำจัดแบคทีเรียฝ่ายธรรมะออกไป เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้แบคทีเรียฝ่ายอธรรมได้รุ่งเรืองเฟื่องฟู -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------ตกงานแล้วไม่แคร์กลิ่นตัวการสำรวจโดย The Grocer วารสารวงการค้าปลีกของอังกฤษเมื่อ 3 ปีก่อนพบว่า ภาวะว่างงานมีผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายของหนุ่มเมืองผู้ดี นักวิเคราะห์มองว่าการใช้ผลิตภัณฑ์นี้หมายถึงการ “เตรียมพร้อมสำหรับวันทำงาน” เมื่อไม่มีงาน ผลิตภัณฑ์นี้จึงไม่จำเป็นสำหรับพวกเขาย้อนไปในปี 2013 ปัญหาการว่างงานเป็นเรื่องใหญ่ของอังกฤษ ด้วยสถิติ 1 ใน 10 ของบัณฑิตหางานทำไม่ได้ในช่วง 6 เดือนหลังจบการศึกษา และผู้ชายมีความเสี่ยงที่จะว่างงานมากกว่าผู้หญิง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 เครื่องวัดความดันโลหิต

คาดว่าสมาชิกฉลาดซื้อหลายท่านกำลังคิดอยากจะเป็นเจ้าของเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตชนิดที่ใช้ในบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ... ถ้าออกกำลังกายแล้วความดันลด เราก็มีกำลังใจ อยากไปออกกำลังกายทุกวัน ... ปัจจุบันเราสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์นี้ได้ตามร้านค้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ มีหลากหลายรุ่นและยี่ห้อให้เลือก แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ามันดีจริง อย่าเพิ่งวิตกจนความดันขึ้น ... ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดการสอบเครื่องวัดความดันโลหิตทั้งแบบที่ใช้กับข้อมือและต้นแขน ที่ CHOICE องค์กรผู้บริโภคของออสเตรเลียได้ทำไว้ทั้งหมด 24 รุ่น ขอบอกเลยว่างานนี้ของดีไม่จำเป็นต้องมีราคาสูง สนนราคาของรุ่นที่ได้คะแนนรวมมากกว่า 80 จากคะแนนเต็ม 100 มีตั้งแต่ 1,650 ถึง 5,300 บาท (คะแนนรวมคิดจาก คะแนนความเที่ยงตรงร้อยละ 80 และความสะดวกในการใช้งานร้อยละ 20) ถ้าอยากทราบว่ารุ่นไหนใช้ง่าย วัดได้เที่ยงตรง เชิญพลิกอ่านหน้าถัดไป ------------------------------------------------------------------------------------------------โดยเฉลี่ยทั่วโลก ประมาณร้อยละ 40 ของประชากรในวัย 25 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว และในหลายๆประเทศ 1 ใน 5 ของประชากรกลุ่มนี้ก็เริ่มมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน ปัจจุบันกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและประเทศที่มีรายได้ต่ำ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนเราเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นมี 4 อย่าง   1.    น้ำหนักมากเกินไป (ร้อยละ 30) 2.    ได้รับโซเดียมมากเกินไปจากการทานอาหารรสเค็ม  (ร้อยละ 30)3.    ได้รับโปแตสเซียมจากผัก ผลไม้น้อยเกินไป (ร้อยละ 20)4.     เคลื่อนไหวร่างกายไม่มากพอ (ร้อยละ 20) สหประชาชาติตั้งเป้าที่จะลดภาวะความดันเลือดสูงของประชากรโลกลงให้ได้ ร้อยละ 25 และลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียวสูงเกินไปให้ได้ร้อยละ 30ข้อมูลจาก สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก World Hypertension League http://www.worldhypertensionleague.org ------------------------------------------------------------------------------------------------ *    ราคาที่นำเสนอนั้นแปลงจากหน่วยเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 ปลอกหมอนใบนี้ดีจริงหรือ

ได้ฤกษ์เปลี่ยนปลอกหมอนใหม่สักที เราจะเลือกซื้อจากอะไรดีนะในทุกๆ คืนจะต้องมีสักหนึ่งท่านอนที่ทำให้หน้าของเราแนบไปกับหมอน ซึ่งคงไม่มีใครอยากแนบหน้ากับเนื้อผ้าสากๆ หรือระบายความร้อนได้ไม่ดีไปตลอดทั้งคืนหรอกจริงไหม คนส่วนใหญ่จึงมักให้ความสำคัญในการเลือกชนิดเส้นใย หรือจำนวนของเส้นใยที่นำมาทอปลอกหมอนนั้น ซึ่งจำนวนเส้นใยเป็นตัวชี้วัดราคาเลยก็ว่าได้ เพราะหากมีเส้นใยต่อตารางนิ้วมาก ราคาก็สูงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและตกลงใจซื้อมาแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลคุณสมบัติต่างๆ ที่ระบุไว้บนฉลากจะตรงกับความเป็นจริง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปทดสอบ* ปลอกหมอนทั้งหมด 11 ยี่ห้อว่า มีคุณสมบัติตรงกับที่ระบุไว้บนฉลาก และมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับราคามากน้อยแค่ไหนกัน* หมายเหตุ ปลอกหมอนทั้งหมดถูกทดสอบโดย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอ้างอิงคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 962 – 2552 (ไม่ใช่ภาคบังคับ) ที่กำหนดให้ฉลากแสดงจำนวนเส้นด้ายเป็นตารางนิ้ว และจำนวนรวมของเส้นด้ายมีความคลาดเคลื่อนจากที่ระบุไว้ในฉลากได้ ± ร้อยละ 5 แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักแสดงฉลากเป็นตารางเซนติเมตร เราจึงต้องทดสอบเป็นตารางเซนติเมตรด้วย เพื่อดูว่าฉลากกับความจริงตรงกันหรือไม่       สรุปผลทดสอบ - มีเพียง 2 ยี่ห้อที่ระบุ “จำนวนเส้นใย” ได้ตามมาตรฐาน มอก. คือ Ikea รุ่น Gaspa และ Exotica ลาย Outlook Blue- ทุกยี่ห้อระบุ “ชนิดเส้นใย” ตรงตามฉลาก มีเพียงยี่ห้อ Lotus รุ่น อิมเพรสชั่น STRIPIES ที่ไม่มีฉลากระบุชนิดเส้นใย ซึ่งทดสอบได้เป็นเส้นใย Polyester 100%- ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนต่อเหงื่อทั้งสภาวะกรด/ด่าง ทุกยี่ห้อได้มาตรฐาน มอก.- การขึ้นขนและเม็ด ส่วนใหญ่เฉลี่ยที่ระดับปานกลาง (ระดับ 3) มีเพียงยี่ห้อ LUXURIOUS รุ่น AMBIA ที่ได้ระดับชัดเจน – ปานกลาง (ระดับ 2 - 3) - ปลอกหมอนที่ได้มาตรฐานมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ ยี่ห้อ Ikea รุ่น Gaspa   ตารางที่ 1 แสดงผลทดสอบด้านคุณสมบัติทั่วไปของปลอกหมอน    สรุปผลทดสอบ- จากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ปลอกหมอนยี่ห้อ Lotus รุ่น อิมเพรสชั่น STRIPIES แสดงฉลากระบุจำนวนเส้นใยเกินจริงมากที่สุด   *หมายเหตุ- มาตรฐาน มอก. กำหนดให้ ความคงทนของสีต่อการซัก และ ความคงทนของสีต่อเหงื่อทั้งสภาพกรดและสภาพด่าง  สำหรับประเภทใช้งานทั่วไปตามบ้านเรือน ไม่น้อยกว่า การเปลี่ยนสีระดับ 4 , การเปื้อนสีระดับ 3- ความคงทนของสีต่อการซัก ใช้วิธีการทดสอบ: น้ำสบู่ที่ใช้ (150 มล.) 1993 AATCC STANDARD REFERENCE DETERGENT WOB ความเข้มข้น 4 กรัม / ลิตร - การขึ้นขนและเม็ด ใช้เครื่องทดสอบ: ICI PILLING & SNAGGING TESTER (SDL ATLAS MODEL M227) / เวลาในการทดสอบ: 10 ชั่วโมง / จำนวนรอบการหมุน: 60 ± 2 รอบต่อนาทีฉลาดซื้อแนะ การเลือกซื้อปลอกหมอน- ราคา ชุดเครื่องนอนส่วนใหญ่มักจัดโปรโมชั่นลดราคาบ่อยๆ ผู้บริโภคจึงควรเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ แหล่งก่อนตัดสินใจซื้อ- เส้นใย ความแตกต่างระหว่างชนิดเส้นใยที่นำมาทอ 1. ผ้าฝ้าย (Cotton) เป็นเส้นใยที่ทำมาจากฝ้ายธรรมชาติ ผิวของผ้าจะเรียบเนียน ทนทาน ระบายอากาศได้ดี ราคาค่อนข้างสูง 2. ผ้าที่ได้จากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (Polyester)เนื้อผ้าจะไม่ค่อยยับ ราคาค่อนข้างถูก แต่การดูดซับน้ำและการระบายอากาศไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้เมื่อใช้ไปนานๆ มักมีปุ่มขนขึ้นมาบนเนื้อผ้า 3. ผ้าทอผสมระหว่าง Cotton และ Polyester (หรือผ้า TC)ส่วนใหญ่มักผสมกันในอัตราส่วน 65 : 35 ทำให้ได้ผ้าที่มีคุณสมบัติ ไม่ยืด ไม่ย้วยหรือมีความยืดหยุ่นปานกลาง ทนทานต่อการซักได้ดี และสามารถระบายอากาศได้ปานกลาง - จำนวนเส้นใย จากผลทดสอบพบว่าฉลากส่วนใหญ่ที่บอกจำนวนเส้นใยยังไม่มีความน่าเชื่อถือ- เมื่อเรานำปลอกหมอนมาใช้งานจริง ก็ไม่อาจหลีกเหลี่ยงคราบเหงื่อไคลทั้งในสภาวะกรดและด่าง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพและสีของปลอกหมอนมีความเปลี่ยนแปลง การทดสอบประสิทธิภาพความคงทนต่อเหงื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ตัวอย่างทั้งหมดที่เรานำมาทดสอบ มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน แนะนำการดูแลรักษาชุดเครื่องนอน- ควรซักก่อนการใช้งานครั้งแรก โดยไม่ใช้สารฟอกขาว และควรผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มกับน้ำก่อนเทลงไป นอกจากนี้ควรแยกผ้าสีเข้มและสีอ่อนก่อนซัก กรณีซักเครื่องควรปั่นแห้งในระดับต่ำ หรือใช้ถุงถนอมผ้า และไม่ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ข้ามคืนเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากตามที่ มอก. กำหนดที่ภาชนะบรรจุผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ และต้องให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน1.    ชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้2.    ประเภท และ / หรือแบบ3.    ชนิดเส้นใยและส่วนผสมของเส้นใยเป็นร้อยละ4.    จำนวนเส้นด้ายต่อ 546 ตารางมิลลิเมตร (1 ตารางนิ้ว)5.    ด้านกว้าง x ด้านยาวเป็นหน่วยเมตริก สำหรับผ้าปูที่นอนแบบไม่รัดมุม6.    ด้านกว้าง x ด้านยาว x ความยาว ของส่วนรัดมุม เป็นหน่วยเมตริก สำหรับผ้าปูที่นอนแบบรัดมุม7.    คุณลักษณะพิเศษ (ถ้ามี)8.    คำแนะนำหรือคำเตือนในการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจใช้สัญลักษณ์ตาม มอก.7669.    เดือนและปีที่ทำ10.    ชื่อผู้ทำหรือโรงงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน11.    ประเทศที่ทำ ที่ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษรหรือเครื่องหมาย แจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน1.    ชนิดเส้นใยและส่วนผสมของเส้นใยเป็นร้อยละ2.    คำแนะนำหรือคำเตือนในการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจใช้สัญลักษณ์ตาม มอก.766* ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วย หรือใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการส่งออก ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 น้ำพริกนรกกับสารกันบูด

น้ำพริกเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ความนิยมน้ำพริกก็ดูได้จากที่มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายหันมาทำน้ำพริกขายให้เรากินกันได้ง่ายขึ้นไม่ต้องเสียเวลาทำ ซึ่งน้ำพริกยอดนิยมได้แก่ น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ซึ่งเป็นของสดต้องกินวันต่อวัน ส่วนน้ำพริกประเภทผัดที่สามารถเก็บไว้กินได้หลายวันก็มีคนทำออกมาให้เลือกซื้อกันมากมายทั้งแบบโรงงานและผู้ผลิตรายย่อย                 น้ำพริกประเภทผัดอย่าง น้ำพริกนรก เป็นน้ำพริกที่ต้องการให้เก็บไว้กินได้นานๆ ผู้ผลิตส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียหรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหาย เพราะทางกระทรวงสาธารณสุขก็อนุญาตให้ใช้ได้ แต่ให้เหมาะสม ฉลาดซื้อจึงมองหาปริมาณวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังให้กับผู้บริโภค และฉลาดซื้อพบว่ามีน้ำพริกหลายตัวอย่าง มีวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดในปริมาณสูงจนน่าเป็นห่วงเหมือนกัน ได้แก่  น้ำพริกรุ่งนภา(น้ำพริกแห้ง) จาก บิ๊กซี ฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต และ ร้านน้ำพริกแม่บำรุง(แม่กลอง) ตลาด อตก.        ปริมาณวัตถุกันเสีย กลุ่มอาหาร กฎหมายกำหนดปริมาณวัตถุกันเสีย สูงสุดไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ถือเป็นปริมาณสูงสุดที่ใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำพริกได้ด้วย องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่า ADI ของกรดเบนโซอิค และซอร์บิค เท่ากับ 5 และ 25 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เมื่อคิดค่าเฉลี่ยน้ำหนักผู้บริโภคคนไทย คือ 50 กิโลกรัม ปริมาณสูงสุดที่ควรบริโภค (เบนโซอิกและซอร์บิก) คือไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อวัน และ 1250 มิลลิกรัมต่อวัน   ฉลาดซื้อแนะ ü ควรเลือกซื้อน้ำพริกที่ไม่ใส่วัตถุกันเสีย หรือใส่แต่น้อย และเลือกซื้อจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน ü ในแต่ละวันเราบริโภคอาหารหลายชนิด หากวันไหนกินแต่อาหารที่มีวัตถุกันเสียผสมอยู่เป็นจำนวนมาก ย่อมเกิดการสะสมในร่างกายและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะตับและไต ü อาการเบื้องต้นที่พบเมื่อได้รับวัตถุกันเสียปริมาณมาก คือ อาการท้องเสีย เพราะวัตถุกันเสียไปทำลายความสมดุลของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหาร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 170 สีใน “กะปิ”

“กะปิ” ถือเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหารทีแทบทุกบ้านจะต้องมีติดครัวเอาไว้ เพราะหลากหลายเมนูอาหารไทย ล้วนแล้วแต่ต้องเพิ่งพาความอร่อยจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของกะปิ ด้วยว่าประเทศไทยเรามีพื้นที่หลายส่วนที่ติดกับทะเล เมื่อบวกเข้ากับภูมิปัญญาแบบชาวบ้านของคนรุ่นปู่รุ่นย่า ที่นำเอาสัตว์ทะเลตัวเล็กๆ อย่าง “เคย” นำมาหมักรวมเข้ากับเกลือ ตากแดดทิ้งไว้จนเนื้อเคยและเกลือทำปฏิกิริยาเข้าด้วยกัน ได้เป็นกะปิของดีของอร่อย เป็นเครื่องปรุงหลักทั้งในน้ำพริกและเครื่องแกงต่างๆ แม้ขั้นตอนการทำกะปิดูเหมือนจะไม่ซับซ้อนและใช้เพียงแสงแดดจากดวงอาทิตย์บวกกับกำลังคนคอยหมั่นพลิกเนื้อกะปิให้สัมผัสแดดโดยทั่วถึงกัน แต่ที่ผ่านมาเราก็ยังได้ยินข่าวเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมีหรือสิ่งแปลกปลอมในกะปิที่วางขายตามท้องตลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องการใส่ “สี” ซึ่งกฎหมายควบคุมชัดเจนว่า “ห้ามใส่สี” ในกะปิ ซึ่งสีสังเคราะห์ที่ใช้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนกิน ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงของอาสาสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิจากตลาดและซูเปอร์มาร์เก็ตในกทม. เพื่อดูว่ากะปิที่เรากินกันอยู่นั้น ปลอดภัยจากสีผสมอาหารมากน้อยแค่ไหน       **** Update (17 ธันวาคม 2558) กะปิระยอง  มีข้อชี้แจงมาด้านล่างครับ          ผลทดสอบ -พบตัวอย่างกะปิที่ใส่สีสังเคราะห์จำนวน 5 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.กะปิดี ร้านเจ๊ติ่ง ตลาดสี่มุมเมือง พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 47.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (มก./ กก.), 2.กะปิตัวอย่างจากตลาดคลองเตย พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 18.84 มก./ กก., 3.กะปิระยอง ตราเรือใบ จาก ท๊อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 6.04 มก./ กก., 4.กะปิร้านน้อยกุ้งแห้ง ตลาดโชคชัย 4 พบสี Erythrosine E127 ปริมาณ 4.55 มก./ กก. และ 5.กะปิกุ้งใหญ่ชุมพร ตลาดห้วยขวาง พบสี Erythrosine E127 ปริมาณน้อยกว่า 1 มก./กก. -สี Erythrosine E127 หรือ เออร์โธรซีน เป็นสีสังเคราะห์กลุ่มสีแดง เป็นชนิดของสีที่พบในทุกตัวอย่างกะปิที่มีการพบการใส่สี -กะปิ ถือเป็นอาหารที่ห้ามมีการใส่สีทุกชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ซึงกำหนดเกณฑ์ตามมาตรฐานของโคเด็กซ์ หรือมาตรฐานอาหารสากล หรือตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งเคยประกาศไว้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ.2525) เรื่องการใช้สีผสมอาหาร -การใส่สีลงไปในกะปิก็เพื่อให้กะปิมีสีที่ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น แต่สีสังเคราะห์ที่ใส่ลงไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แม้จะมีปริมาณไม่มากแต่ก็อาจสะสมส่งผลเสียในระยะยาว ทางที่ดีควรเลือกรับประทานกะปิที่ไม่ใส่สีใดๆ จะดีที่สุด   คำแนะนำในการเลือกซื้อกะปิ -สีของกะปิต้องเป็นที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่น สีชมพู สีแดงออกม่วง ไม่ออกคล่ำและดูสีสดเกินไป -เนื้อของกะปิต้องละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน มีความสม่ำเสมอ เหนียว ไม่แห้งหรือเปียกเกินไป -มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติของกะปิ ไม่มีกลิ่นคาวปลา หรือกลิ่นฉุนคล้ายสารเคมี ไม่เหม็นอับ -รสชาติเค็มพอดี ไม่มีรสขม -ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น แป้ง กรวด ทราย ฯลฯ ไม่มีเม็ดเกลือเป็นก้อนๆ -บรรจุในภาชนะที่สะอาด แห้ง และปิดไว้สนิท   สีในกะปิ...ก่อนหน้านี้ก็เคยมีมาแล้ว เมื่อปี 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 ตรัง ได้ทำการสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิที่ผลิตใน 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล  จำนวน 86 ตัวอย่าง เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของสี ผลที่ได้พบว่า 52.3% ของตัวอย่างกะปิมีการใส่สีสังเคราะห์ โดยชนิดของสีที่พบมีดังนี้ สีโรดามีน 50%, สีซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ 9.3%,  สีเอโซรูบีน 9.3%,  และสีปองโซ 4 อาร์  1.1% นอกจากนี้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ก็เคยตรวจวิเคราะห์หาเชื้อจุลินทรีย์ในตัวอย่างกะปิ พบว่ามีเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรคอาหารเป็นพิษหลายชนิด โดยเฉพาะกะปิที่เก็บเอาไว้นาน เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ กะปิควรทำให้สุกทุกครั้งก่อนรับประทาน       ....ผู้ผลิตและจำหน่ายกะปิระยอง ตราเรือใบ ขอเรียนชี้แจงและยืนยันว่า บริษัทฯ มีกรรมวิธีการผลิตกะปิที่ได้มาตรฐาน GMP ไม่มีการใส่สีและไม่มีสารกันบูด แต่เมื่อทางฉลาดซื้อพบว่ามีการปนเปื้อนของสีในรุ่นการผลิตที่เก็บตัวอย่าง เดือนเมษายน ทางบริษัทจึงได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ในรุ่นการผลิตอื่นๆ และปัจจุบันไม่พบว่า มีการปนเปื้อนของสีในผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค จึงเรียนมาเพื่อทราบ...ฉลาดซื้อขอขอบคุณที่บริษัทฯ ใส่ใจและเข้มงวดในเรื่องการควบคุมคุณภาพสินค้าให้มีมาตรฐาน เนื่องจากปริมาณสีที่พบในรุ่นการผลิตที่ฉลาดซื้อทดสอบมีปริมาณน้อย จึงอาจเป็นไปได้ว่า มีการปนเปื้อนมาในส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งทางบริษัทคงได้เข้มงวดในจุดนี้มากขึ้นจึงไม่พบการปนเปื้อนของสีซ้ำ จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ที่บริษัทฯ เห็นความสำคัญของงานคุ้มครองผุ้บริโภค   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 155 คาปูชิโนเย็นร้านไหน? ให้พลังงานสูง!!!

คอกาแฟหลายๆ คนคงจะเคยได้ยินคำเตือน เรื่องที่ว่าดื่มกาแฟแล้วทำให้อ้วน โดยเฉพาะกาแฟเย็น หลายคนเข้าใจได้ว่ากาแฟเย็น 1 แก้ว ใส่ทั้งนม น้ำเชื่อม น้ำตาล แต่ถ้านั้นยังไม่ช่วยให้คำตอบเรื่องดื่มกาแฟแล้วอ้วน ส่งผลเสียทำลายสุขภาพของหลายๆ คนคลี่คลาย ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพิสูจน์ปริมาณพลังงานที่ได้รับจากการดื่มกาแฟเย็น โดยเราเลือกสำรวจกาแฟประเภท “คาปูชิโนเย็น” ซึ่งถือเป็น 1 ในกาแฟยอดนิยมและหาทานได้ทุกร้านกาแฟ โดยเราได้สุ่มตัวอย่างจากร้านกาแฟชื่อดังระดับพรีเมี่ยม 10 ตัวอย่าง และอีก 1 ตัวอย่างจากร้านกาแฟขนาดเล็ก               ผลการทดสอบ -ผลทดสอบที่ได้คิดเป็นเป็นค่าเฉลี่ยปริมาณพลังงานต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร -ตัวอย่างกาแฟคาปูชิโนเย็นที่พบค่าพลังงานสูงที่สุดคือ กาแฟจากร้าน คอฟฟี่ ทูเดย์ ซึ่งพบปริมาณพลังงานอยู่ที่ 183 กิโลแคลอรีต่อกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งจากตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบพบว่า กาแฟคาปูชิโนเย็นจากร้านคอฟฟี่ ทูเดย์ 1 แก้วมีปริมาณกาแฟอยู่ที่ประมาณ 290 มิลลิลิตร (ไม่รวมน้ำแข็ง) นั่นเท่ากับว่ากาแฟคาปูชิโนเย็นจากร้านคอฟฟี่ ทูเดย์ 1 แก้ว ราคา 50 บาท จะให้ค่าพลังงานเท่ากับ 530.7 กิโลแคลอรี -อีกตัวอย่างที่พบปริมาณพลังงานค่อนข้างสูงคือ ตัวอย่างกาแฟอนันต์ ที่พบค่าพลังงานอยู่ที่ 163 กิโลแคลอรีต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็นของร้านกาแฟอนันต์ 1 แก้ว ราคา 35 บาท อยู่ที่ประมาณ 160 มิลลิลิตร ปริมาณพลังงานจึงเท่ากับ 260.8 กิโลแคลอรี -เมื่อดูข้อมูลจากแผนภาพแสดงปริมาณพลังงานในกาแฟคาปูชิโนจากตัวอย่างทั้งหมดที่เราทดสอบ พบว่าจากทั้ง 11 ตัวอย่าง มีค่าพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 122.9 ต่อปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร หากคิดเป็นปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็น 1 แก้วที่น้ำหนัก 300 มิลลิลิตร (ไม่รวมน้ำแข็ง) ปริมาณพลังงานที่ได้จะอยู่ที่ 368.7 กิโลแคลอรี   เรื่องน่ารู้ พลังงานกับคาปูฯ เย็น -ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมต่อร่างกายใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,000 กิโลแคลอรี -ตามหลักโภชนาการแล้วของว่างหรืออาหารว่างควรมีพลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการสำหรับผู้ใหญ่ หรือประมาณ 150-200 กิโลแคลอรี -ปริมาณกาแฟคาปูชิโนเย็น 1 แก้ว ให้ปริมาณพลังงานที่ค่อนข้างสูง แถมหลายคนที่นิยมดื่มกาแฟร่วมกับของทานเล่นอื่นๆ เช่น คุกกี้ ขนมเค้ก โอกาสที่ร่างกายจะได้รับพลังงานเกินความต้องการก็ยิ่งมีสูง -ปริมาณพลังงานที่เกนความจำเป็นของร่างกายจะถูกสะสมกลายเป็นไขมัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น หัวใจ ความดัน ฯลฯ -การหลีกเลี่ยงการได้รับปริมาณพลังงานสูงเกินความต้องการจากการดื่มกาแฟคาปูชิโน มีวิธีง่ายๆ คือเลือกสั่งแบบที่ไม่ใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม ส่วนนมถ้าเลือกได้ก็เลือกชนิดที่เป็นสูตรพร่องมันเนย หรือชนิดไขมัน 0% ซึ่งถ้าดูจากผลแผนภาพแสดงปริมาณพลังงานในกาแฟคาปูชิโนจากตัวอย่างทั้งหมดที่เราทดสอบ จะเห็นว่าตัวอย่างที่พบปริมาณน้อยที่สุด 2 อันดับแรก คือ สตาร์บัคที่พบค่าพลังงาน 53 กิโลแคลอรี และ ทรู คอฟฟี ที่พบพลังงาน 79 กิโลแคลอรี จากปริมาณกาแฟ 100 มิลลิลิตร ซึ่งปริมาณค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับตัวอย่างอื่นๆ นั้นเป็นเพราะตัวอย่างกาแฟคาปูชิโนจากทั้ง 2 ร้าน ไม่มีการใส่น้ำตาลหรือน้ำเชื่อม แต่จะให้ลูกค้าที่ซื้อเลือกเติมเองทีหลัง จะใส่มากใส่น้อยหรือจะไม่เติมเลยก็ได้ ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยให้เราลดปริมาณพลังงานจากการดื่มกาแฟคาปูชิโนเย็นได้   คอกาแฟควรรู้ -กาแฟเย็น 1 แก้ว มีขนาดบรรจุประมาณ 13 – 20 ออนซ์ หรือ 400 – 600 มิลลิลิตร ให้พลังงานอยู่ที่ 97 – 400 กิโลแคลอรี, ไขมัน 0.4 – 22.1 กรัม, โปรตีน 0.6 – 10.9 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 19.4 – 49.4 กรัม, น้ำตาล 11 – 38 กรัม -มอคค่า เป็นกาแฟที่ให้ปริมาณพลังงานสูงที่สุด เมื่อเทียบกับ คาปูชิโน และ ลาเต้ -กาแฟอเมริกาโน มีพลังงานน้อยที่สุด คือประมาณ 97 กิโลแคลอรีต่อแก้วขนาด 13 ออนซ์ -พลังงานที่ได้จากกาแฟเย็น 1 แก้ว ส่วนใหญ่เป็นพลังงานที่ได้จาก ไขมัน และ น้ำตาล -กาแฟที่นิยมดื่มในปัจจุบัน มีอยู่ 2 สายพันธ์ คือ อาราบิก้า และ โรบัสต้า   -อาราบิก้า มีปริมาณคาเฟอีน ร้อยละ 0.75-1.70 ส่วน โรบัสต้ามีปริมาณคาเฟอีนร้อยละ 2.0 - 4.5 -ประเทศไทยเรามีการปลูกกาแฟทั้ง อาราบิก้า และ โรบัสต้า แต่อาราบิก้า ได้รับความนิยมมากกว่า โดยปลูกมากทางภาคเหนือ ซึ่งถือเป็นกาแฟที่ดี ได้รับความนิยม ไมว่าจะเป็น กาแฟดอยช้าง ดอยวารี ที่จังหวัดเชียงรายและ ดอยขุนวาง ที่จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนโรบัสต้า นิยมปลูกในภาคใต้ เช่นที่จังหวัด ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช ยะลา สุราษฎร์ธานี เอสเปรสโซ่ (espresso) เป็นกาแฟที่เข้มข้นที่สุด ชงผ่านเครื่อง เอสเปรสโซ่ โดยใช้แรงน้าดันผ่านเนื้อกาแฟบด เอสเปรสโซ่ เป็นจุดเริ่มต้นของกาแฟสูตรอื่นๆไม่ว่าจะชงกาแฟสูตรใด ก็ต้องมีกาแฟเอสเปรสโซ่เป็นกาแฟพื้นฐานก่อน คาร์ปูชิโน่ (Cappuccino) เป็นการผสมผสานระหว่างกาแฟเอสเปรสโซ่ นมร้อน และฟองนม ในปริมาณเฉลี่ยที่เท่ากันทั้ง 3 ส่วนผสม คาปูชิโนมีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 32:63:7 คาเฟ่ ลาเต้ (Caffe Latte) เป็นกาแฟผสมนมที่มีรสและกลิ่นกาแฟน้อยที่สุด โดยเน้นที่นมร้อนมากกว่าปริมาณกาแฟ กาแฟลาเต้มีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 30:60:10 มอคค่า (Caffe Mocha) เป็นกาแฟผสมช็อกโกแลตและนมร้อน มอคค่ามีสัดส่วนพลังงานของ ไขมัน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน ร้อยละ 36:56:8 ที่มา :  รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สารอาหารในกาแฟเย็น สำนักการโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 152 เปิดขวด “น้ำจิ้มสุกี้”

สุกี้ ถือเป็นเมนูที่หลายๆ คนยกให้เป็นอาหารจานสุขภาพ เพราะความที่เป็นเมนูที่เน้นผักมากกว่าเนื้อสัตว์ สาวๆ หลายคนเลือกรับประทานสุกี้เพราะเชื่อว่ากินแล้วจะไม่อ้วน แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ประสบความสำเร็จในการรับประทานสุกี้ให้เป็นเมนูสุขภาพ ไม่ใช่เพราะแค่ดันเข้าใจผิดไปจัดเต็มกับสุกี้บุฟเฟ่ต์ แต่ยังเป็นเพราะสุกี้จานโปรดของคุณเล่นเติมน้ำจิ้มแบบไม่บันยะบันยัง รู้มั้ยในน้ำจิ้มสุกี้รสเด็ด มีทั้งน้ำตาล เกลือ บางยี่ห้อก็มีผงชูรส ฉลาดซื้อเป็นห่วงสุขภาพของคนชอบทานสุกี้ เราจึงลองสำรวจดูว่า น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปนั้น เสี่ยงต่อความหวานของน้ำตาล และความเค็มของโซเดียมมากน้อยแค่ไหน   ตารางสำรวจปริมาณโซเดียมและน้ำตาลในน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวด ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลที่เหมาะสมต่อสุขภาพ ***ปริมาณโซเดียมที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม ส่วนปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในการบริโภคสำหรับคนไทยใน 1 วัน คือไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม   วิธีการสำรวจ ฉลาดซื้อได้ทำการสุ่มสำรวจตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดจำนวน 12 ตัวอย่าง เพื่อสำรวจปริมาณของโซเดียมและน้ำตาล โดยการดูข้อมูลในฉลากโภชนาการที่แสดงไว้บนขวดน้ำจิ้มสุกี้แต่ละยี่ห้อ ซึ่งมีการแจ้งปริมาณของโซเดียมและน้ำตาลต่อหน่วยบริโภคเป็นช้อนโต๊ะ เช่น น้ำจิ้มสุกี้ตราสุรีย์ สูตรกวางตุ้ง ข้อมูลในฉลากโภชนาการแจ้งว่า ปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (25กรัม) มีปริมาณโซเดียม 460 มิลลิกรัม ปริมาณน้ำตาล 6 กรัม เป็นต้น โดยจากตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่มีการแสดงฉลากโภชนาการ คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อพันท้าย (สูตรดั้งเดิม) และ น้ำจิ้มสุกี้เด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) แต่ฉลาดซื้ออยากรู้ปริมาณโซเดียมและน้ำตาลของทั้ง 2 ตัวอย่าง เราจึงส่งตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ที่สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เพื่อนำผลมาฝากแฟนฉลาดซื้อ   ผลการสำรวจ โซเดียม ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่พบปริมาณโซเดียมสูงที่สุด คือ น้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อควิกเชฟ (สูตรกวางตุ้ง) ที่บอกไว้ในฉลากโภชนาการว่ามีปริมาณโซเดียม 740 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) หรือประมาณ 1 ใน 3 ของปริมาณโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (2,400 มิลลิกรัม) ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้ออื่นๆ ที่พบปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง ได้แก่ ยี่ห้อเด็กสมบูรณ์ (สูตรกวางตุ้ง) พบปริมาณโซเดียมจากการส่งวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ที่ปริมาณ 2,152 มิลลิกรับต่อ 100 กรัม หรือที่ประมาณ 646 มิลลิกรัม ต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ ยี่ห้อ แม่ประนอม (สูตรกวางตุ้ง) และ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ที่แสดงปริมาณโซเดียมไว้ที่ 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) ส่วนตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่เหลือพบปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่ประมาณ 500 – 600 มิลลิกรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งต้องย้ำว่าเป็นการแสดงปริมาณโซเดียมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้น แต่เชื่อว่าหลายคนเวลาทานสุกี้หรือทานพวกอาหารบุฟเฟ่ต์ที่มีน้ำจิ้มสุกี้เป็นน้ำจิ้ม คงไม่เติมกันแค่ 2 ช้อนโต๊ะ หลายคนเติมแล้วเติมอีก บางคนก็กินน้ำจิ้มกันทีเป็นถ้วยๆ ฉลาดซื้อขอเตือนว่าใครที่มีพฤติกรรมกินน้ำจิ้มสุกี้แบบนั้น มีสิทธิได้รับโซเดียมเกินปริมาณที่เหมาะสมกับสุขภาพ (2,400 มิลลิกรัมต่อวัน)   น้ำตาล ปริมาณน้ำตาลในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่พบในการสำรวจ เฉลี่ยอยู่ที่ 7 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ ที่พบมีปริมาณสูงสุดคือ ตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ยี่ห้อเจ๊เล็ก (สูตรกวางตุ้ง เผ็ดกลาง) ซึ่งแสดงปริมาณน้ำตาลในฉลากโภชนาการไว้ที่ 4 กรัมต่อหนึ่งช้อนโต๊ะ (17 กรัม) หรือถ้าเทียบเป็น 2 ช้อนโต๊ะ (34 กรัม) แบบตัวอย่างอื่นๆ จะเท่ากับ 8 กรัม ซึ่งมากที่สุดในตัวอย่างทั้งหมด 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน (24 กรัม) สำหรับตัวอย่างที่พบปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ที่ฉลาดซื้อสุ่มสำรวจครั้งนี้คือ ยี่ห้อบิ๊กซี (รสจัดจ้าน) ซึ่งพบปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัมต่อปริมาณน้ำจิ้มสุกี้ 2 ช้อนโต๊ะ (33 กรัม) เช่นเดียวกับโซเดียม การทานน้ำจิ้มสุกี้ในปริมาณที่มากเกินไป ย่อมมีความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณน้ำตาลเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพของเรา ข่าวดี!!!ไม่พบอะฟลาท็อกซินในน้ำจิ้มสุกี้ นอกจากปริมาณของโซเดียมและน้ำตาลแล้ว ฉลาดซื้อยังได้ส่งตรวจวิเคราะห์หาการปนเปื้อนของเชื้อรา “อะฟลาท็อกซิน” ในตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดทั้ง 12 ตัวอย่าง เนื่องจากส่วนประกอบในน้ำจิ้มสุกี้มีทั้ง พริก และ งา ซึ่งมีโอกาสเป็นแหล่งกำเนิดของสารอะฟลาท็อกซิน จากการวิเคราะห์โดยสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ฉลาดซื้อได้ผลวิเคราะห์ที่ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้ทั้ง 12 ยี่ห้อ ไม่พบการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซิน ผู้บริโภคสบายใจได้ ฉลาดซื้อแนะนำ ถ้าไม่อยากเสี่ยงโซเดียมและน้ำตาลในน้ำจิ้มสุกี้ -  ชิมก่อนปรุง ด้วยความที่คนไทยเราชอบทานอาหารรสจัด ก็เลยอดไม่ได้ที่จะต้องเติมเครื่องปรุงเพิ่ม เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากได้รับโซเดียมและน้ำตาลมากเกินไป ก็ควรชิมก่อนตัดสินใจเติมเครื่องปรุงหรือน้ำจิ้มต่างๆ เพิ่ม - อ่านฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการถือเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้รู้ได้ว่าอาหารที่เรากำลังทานอยู่นั้นมีปริมาณสารอาหารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โซเดียม น้ำตาล หรือสารอาหารอื่นๆ เป็นปริมาณเท่าไหร่ น้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่เราสำรวจส่วนใหญ่ก็มีการแสดงฉลากโภชนาการ   ***มีข้อสังเกตเรื่องฉลากโภชนาการ แม้ว่าตัวอย่างน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวดที่ฉลาดซื้อสำรวจส่วนใหญ่ (10 จาก 12 ตัวอย่าง) จะแสดงฉลากโภชนาการซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภค แต่การกำหนดหน่วยบริโภคเพื่อแสดงปริมาณของน้ำจิ้มสุกี้นั้น ยังมีความแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการนำไปเป็นข้อมูลการเปรียบเทียบของผู้บริโภค เช่นบางยี่ห้อ กำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค = 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 30 กรัม ขณะที่อีกยี่ห้อกลับกำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค 2 ช้อนโต๊ะ = 33 กรัม บางยี่ห้อก็กำหนดให้หนึ่งหน่วยบริโภค 2 ช้อนโต๊ะ = 25 กรัม พูดง่ายๆ คือไม่มีมาตรฐานกลางที่แน่นอน ผู้บริโภคจึงต้องลำบากคำนวณเปรียบเทียบกันเอง เพราะฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดเรื่องหน่วยบริโภคให้เป็นหน่วยเดียวกัน   ปริมาณโซเดียมในซอสปรุงรสชนิดต่างๆ ที่มา: “กินดีสมดุล...การเสริมสร้างวิถีชีวิตสุขภาพ” รองศาสตราจารย์ ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากการสัมมนาเครือข่ายวิชาการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ จัดโดยสำนักควบคุมโรค 23 กุภาพันธ์ 2554

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 คำกล่าวอ้างทางสุขภาพบนฉลากอาหาร

อาหารสำเร็จรูปในปัจจุบัน ถ้าไม่เพิ่มหรือลดสารอาหารบางอย่าง ก็ดูจะไม่อินกับกระแสรักสุขภาพ ทำให้ผู้ประกอบการต้องพยายามคิดหาอะไรมาเป็นจุดขายเพิ่มความโดดเด่นกับสินค้าของตนเอง เราจึงเห็นโฆษณาและข้อความกล่าวอ้างบนฉลากประเภท มีวิตามิน บี 12 แคลเซียมสูง หรือไขมันต่ำ อยู่เสมอ คำกล่าวอ้างที่ปรากฏบนฉลากอาหาร มีผลอย่างมากที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ  ในงานวิจัยเรื่อง อิทธิพลของข้อมูลการกล่าวอ้างหน้าที่สารอาหารบนฉลากต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารของผู้บริโภค โดยวรรณวิสา ฮับหลี พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารโดยดูข้อความกล่าวอ้างได้แก่ ไขมันต่ำ ร้อยละ 92.6 ไม่มีโคเรสเตอรอล ร้อยละ 90.4 และ ไขมันอิ่มตัว 0% ร้อยละ 89.5 เช่นเดียวกับที่ฉลาดซื้อเคยทำผลสำรวจไปเมื่อฉบับ 134 ที่พบว่า ร้อยละ 76.8 มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ   ความจริงของคำกล่าวอ้างบนฉลาก คำกล่าวอ้างบนฉลากที่บอกปริมาณสารอาหาร (Nutrient content claim) นั้น หากผู้ประกอบการจะนำมาแสดงบนฉลาก ต้องเป็นไปตามเกณฑ์กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ หมายความว่า คำที่จะนำมาใช้ต้องเป็นคำที่กฎหมายกำหนดจะมาใช้คำตามใจชอบไม่ได้ ฉลาดซื้อขอนำข้อมูลบางส่วนมานำเสนอเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะคำกล่าวอ้างที่กำลังฮิตในปัจจุบัน ไขมัน ไขมันต่ำ (low fat) ต้องมีไขมันต่ำกว่า 3 กรัมต่อ1 หน่วยบริโภคและขนาดของหน่วยบริโภคไม่เกิน 30 กรัม หรือ ไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ ปราศจากไขมัน (fat free) มีไขมันน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ1 หน่วยบริโภค ปราศจากไขมันอิ่มตัว (saturated fat free) มีไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค และมีไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ปราศจากโคเลสเตอรอล (cholesterol free) มีโคเลสเตอรอลน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม หรือไขมันอิ่มตัว ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค โคเลสเตอรอลต่ำ (low cholesterol) มีโคเลสเตอรอลไม่เกิน 20 มิลลิกรัม หรือไขมันอิ่มตัว ไม่เกิน 2 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค   น้ำตาล ปราศจากน้ำตาล (sugar free) มีน้ำตาลน้อยกว่า 0.5 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค   ใยอาหาร ใยอาหารสูง (high fiber) มีปริมาณใยอาหารตั้งแต่ 5 กรัมขึ้นไป และอาหารนั้นจะต้องจัด อยู่ในประเภทไขมันต่ำร่วมด้วย หรือต้องระบุปริมาณไขมันถัดจากปริมาณใยอาหารเป็นแหล่งใยอาหาร (food source of fiber) ใยอาหาร 2.5-4.9 กรัมต่อ 1 หน่วยบริโภค  พลังงาน ปราศจากพลังงาน (calorie free) มีพลังงานน้อยกว่า 5 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 หน่วยบริโภค พลังงานต่ำ (low calorie) มีพลังงานน้อยกว่า 40 กิโลแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคและขนาดหน่วยบริโภคไม่เกิน 30 กรัม หรือไม่เกิน 2 ช้อนโต๊ะ   ดังนั้นจะเห็นว่า คำว่า ปราศจาก ไม่ได้หมายถึง ไม่มี หรือ เป็น 0 แต่ยังมีอยู่น้อยกว่า 0.5 กรัม เช่น กรณีน้ำตาลและไขมัน ที่สำคัญคือ กฎหมายไม่อนุญาตการกล่าวอ้าง “ปราศจาก” หรือ “ต่ำ” หากอาหารนั้นหรืออาหารชนิดนั้นโดยธรรมชาติทั่วไปเป็นไปตามเงื่อนไขอยู่แล้ว โดยมิได้มีการใช้กระบวนการผลิตพิเศษ หรือมีการปรับสูตรเพื่อให้อาหารนั้นมีปริมาณสารอาหารที่จะกล่าวอ้างลดลงจนเป็นไปตามเงื่อนไข เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารจากผู้ผลิตนั้นแต่เพียงผู้เดียวที่มีคุณสมบัตินี้ ตัวอย่างเช่น ไม่อนุญาตให้น้ำบริโภคแสดงข้อความ “ปราศจากพลังงาน” หรือ “ไขมันต่ำ” เนื่องจากน้ำบริโภคทั่วไปจากผู้ผลิตทุกรายก็มีคุณสมบัตินี้ด้วย   กรณีกล่าวอ้างว่า “มี” หรือ “สูง”  การบอกว่า มี สารอาหารชนิดที่อ้างก็ต้อง มีจริงๆ แต่ถ้ามีจริงแต่มีน้อยเกินกว่าจะเป็นประโยชน์ในทางโภชนาการต่อร่างกาย ก็ห้ามแสดงคำว่า “มี” จะกล่าวอ้างว่า มี ได้ก็ต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI) และถ้าจะกล่าวอ้าง ด้วยคำว่า “สูง” (high) ก็ต้องมีสารอาหารชนิดที่อ้าง 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI)   กรณีการกล่าวอ้างถึงหน้าที่ของสารอาหารที่มีต่อร่างกาย สารอาหารที่มีการกล่าวอ้างถึง ต้องมีอยู่ในบัญชีสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างต้องมีสารอาหารนั้นอยู่ในระดับที่จัดว่า “เป็นแหล่งของ” ของสารอาหารนั้นในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงและปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลาก  มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และการกล่าวอ้างจะต้องไม่มีข้อความระบุหรือมีความหมายให้เข้าใจว่าการบริโภคสารอาหารนั้นจะสามารถป้องกันหรือบำบัดรักษาโรคได้ ตัวอย่าง “แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน” การจะระบุเช่นนี้ได้ ก็ต้องมีแคลเซียมอย่างน้อย ร้อยละ 10 ของ (Thai RDI) เพราะเมื่อผู้บริโภคเห็นข้อความนี้แล้วจะเข้าใจทันทีว่า ผลิตภัณฑ์นี้ มีแคลเซียมอยู่มาก   ความจริงเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องฉลากของผู้บริโภค คำกล่าวอ้างที่ดึงดูดใจนั้นมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งฉลากอาหารคือด่านแรกที่จะวัดว่า ผู้บริโภค เข้าใจหรือเข้าใจมากพอหรือไม่ในการซื้อผลิตภัณฑ์ ฉลาดซื้ออาศัยช่วงงานสมุนไพรแห่งชาติที่ผ่านมา สำรวจทัศนคตินักช้อปที่ร่วมเดินภายในงาน วันที่ 7-9 กันยายน 2555 จำนวน 317 คน เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องฉลากอาหาร พบว่า  ร้อยละ 90.9 เข้าใจว่าผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การแสดงฉลากโภชนาการ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 182) นั้น เป็นการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับสำหรับอาหารที่มีการกล่าวอ้างต้องแสดงฉลากโดยบังคับ ร้อยละ 53.6 เข้าใจว่าข้อความบรรยายสรรพคุณในการรักษา บำบัด บรรเทาโรค สามารถระบุบนฉลากอาหารได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องเข้าใจผิดที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะฉลากอาหารห้ามเด็ดขาดมิให้บรรยายสรรพคุณในการรักษา บำบัดหรือบรรเทาโรค เพราะอาหารไม่ใช่ยา ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนี้ทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งถูกหลอกให้เสียเงินมาแล้วเป็นจำนวนมากเพราะเชื่อว่า กินอาหารตามที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคได้แล้วจะช่วยหายจากอาการเจ็บป่วย ความเข้าใจในเรื่องฉลากจึงยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องช่วยกันทำความเข้าใจ เพื่อยกระดับผู้บริโภคของเราให้เท่าทันเกมของผู้ประกอบการ ข้อมูล อิทธิพลของข้อมูลการกล่าวอ้างหน้าที่สารอาหารบนฉลากต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มผสมสารอาหารของผู้บริโภค โดยวรรณวิสา ฮับหลี สาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 135 น้ำสลัด...วัดกันไปเลย ใครมันกว่า

คุณสาวๆ ที่อยากลดน้ำหนัก มักจะหลงรักเมนูสลัดผักมากเป็นพิเศษ เพราะเชื่อว่าการรับประทานสลัดผักจะไม่ทำให้อ้วน เพราะผักดีต่อสุขภาพช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ให้พลังงานน้อย แถมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ก็มีสูง แต่เดี๋ยวก่อน... รู้ไหมว่า “น้ำสลัด” ตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่มรสชาติ หวานๆ มันๆ เปรี้ยวนิดๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของน้ำสลัดนี้แหละ คือตัวการเพิ่มน้ำหนักโดยแท้   อร่อยมากไป..ระวังไขมันล้น หลายคนเวลารับประทานสลัดผัก มักชอบเติมน้ำสลัดแบบไม่บันยะบันยัง กลัวว่าถ้าใส่น้อยเกินไปแล้วจะไม่อร่อย หารู้ไม่ ว่าการทำแบบนั้นแทนที่กินสลัดผักแล้วจะช่วยลดน้ำหนักกลับจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เพราะส่วนประกอบหลักๆ ในน้ำสลัดประกอบด้วย น้ำมันพืช น้ำตาล และไข่ไก่ เป็นสำคัญ ยิ่งคนนิยมรับประทานสลัดผักเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น น้ำสลัดแบบบรรจุถุง บรรจุขวดพร้อมรับประทานก็มีผลิตออกมาวางขายกันหลากหลายยี่ห้อ ส่วนประกอบหลักของบรรดาน้ำสลัดยี่ห้อต่างๆ ที่วางขายกันอยู่ในปัจจุบัน คือน้ำมันพืช กับ น้ำตาล เฉพาะ 2 อย่างนี้รวมกันปริมาณก็เกือบ 50% ของส่วนประกอบทั้งหมด ถ้าเป็นแบบนี้คนที่ชอบเติมน้ำสลัดเยอะๆ ก็อาจไม่ผอมหรือสุขภาพดีสมใจ แต่จะเสี่ยงกับการมีน้ำหนักเพิ่มและเจ็บป่วยจากการที่ร่างกายได้รับไขมันมากเกินไป ทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ฉลาดซื้อส่งเสริมให้ทุกคนรับประทานผักและเห็นว่าเมนูสลัดผักเป็นเมนูที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ต้องเลือกเติมน้ำสลัดแต่พอดี แล้วน้ำสลัดสำเร็จรูปยี่ห้อไหนที่น่าจะนำมาปรุงเมนูสลัดบ้าง ฉลาดซื้อจึงได้ทำการทดสอบเปรียบเทียบปริมาณไขมัน (Total Fat) ที่อยู่ในน้ำสลัดจำนวน 10 ยี่ห้อที่วางตามท้องตลาดทั่วไป เอาใจคนรักสุขภาพ คนที่ชอบสลัด   ตารางแสดงผลการทดสอบปริมาณไขมันในตัวอย่างน้ำสลัดสำเร็จรูปผลทดสอบโดย สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งทดสอบเท่านั้นเก็บตัวอย่างทดสอบเมื่อเดือน มีนาคม 2555   ผลทดสอบ - สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ได้กำหนดปริมาณไขมันที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายเป็นปริมาณต่อ 1 มื้อ อยู่ที่ไม่เกิน 15 กรัม ไม่นับรวมกับปริมาณไขมันที่อาจได้เพิ่มอีกจากการรับประทานอาหารระหว่างมื้อหรืออาหารว่างซึ่งเกณฑ์ได้กำหนดไว้ว่าไม่ควรเกิน 6 กรัม -น้ำสลัดชนิดครีมข้นทั้ง 10 ตัวอย่างที่ทดสอบ มีไข่แดงของไข่ไก่เป็นตัวทำให้น้ำสลัดมีความข้น (น้ำสลัดแบบใสจะไม่มีไข่เป็นส่วนประกอบ) - คิวพี สลัดครีม มีปริมาณไขมันมากที่สุด คือ 54 กรัม ต่อ น้ำสลัด 100 กรัม หากคิดเป็นปริมาณต่อการรับประทานสลัด 1 จาน โดยเติมน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ หรือประมาณ 15 กรัม ปริมาณของไขมันที่ได้รับอยู่ประมาณ 8.05 กรัม แต่ถ้าเพิ่มน้ำสลัดเป็น 2 ช้อนโต๊ะ ปริมาณไขมันที่ได้จากผักสลัด 1 จานก็จะเพิ่มเป็น 16.1 กรัม ก็ถือว่าเลยเกณฑ์ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมในอาหาร 1 มื้อ ที่ 15 กรัมไปเล็กน้อย -ตัวอย่างน้ำสลัดที่ทดสอบพบปริมาณไขมันในระดับสูงรองๆ ลงมา ได้แก่ มอลลี่ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 49.2 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 7.34 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ, สุขุม สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 45.1 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.73 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ และ เบสท์ ฟู้ดส์ สลัดครีม พบปริมาณไขมัน 43.8 กรัมต่อน้ำสลัด 100 กรัม หรือประมาณ 6.53 กรัมต่อน้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ -จากการสังเกต พบว่ามี 2 ตัวอย่างที่ระบุไว้บนฉลากชัดเจนว่าเป็นสูตรไขมันต่ำ คือ บิ๊กซี น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ และเฟียว ฟู้ดส์ น้ำสลัดครีม สูตรไขมันต่ำ พบปริมาณไขมันในระดับที่น้อยมากตรงกับที่โฆษณาว่าเป็นสูตรไขมันต่ำจริง -ตัวอย่างน้ำสลัดหรือสลัดครีม ที่นำมาทดสอบมีความหลากหลายในเรื่องของการใช้วัตถุกันเสีย การใช้สี และการแต่งกลิ่น ตามข้อมูลที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากรับประทานน้ำสลัดที่ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น ก็ต้องอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ให้ดี   สรุป... ถ้าดูจากผลการทดสอบปริมาณไขมันในน้ำสลัด ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่น่าเป็นห่วง ถ้าหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม คือไปเกิน 2 ช้อนโต๊ะ แต่ที่สำคัญและต้องพิจารณาให้ดี คือต้องรับประทานสลัดเป็นอาหารจานหลักจริงๆ ไม่ใช่เป็นจานเสริมคู่กับอาหารเมนูอื่นๆ หลายคนเลือกรับประทานสลัดเพราะว่าห่วงใยสุขภาพ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี แต่หลายคนก็ยังกลัวว่าการรับประทานแค่สลัดผักจะไม่ทำให้อิ่มท้อง ก็เลยมักจะรับประทานสลัดคู่ไปกับเมนูอื่นๆ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ ไขมันในน้ำสลัดรวมเข้ากับไขมันในอาหารอื่น โอกาสเสี่ยงที่เราจะได้รับไขมันเกินความต้องการก็มีสูง ถ้าไม่อยากให้ไขมันที่เกินพอดีมาทำร้ายสุขภาพของเราก็ต้องรู้จักควบคุมดูแลเรื่องอาหารการกิน สมมติว่าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงไปแล้วแต่เรายังอยากรับประทานสลัดผัก ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงน้ำสลัดเลือกรับประทานเป็นผักสดๆ แทน หรือไม่ก็ควรรับประทานสลัดให้เป็นอาหารหลักจานเดียวให้ได้ ถ้ากลัวไม่อิ่มก็ควรเติมเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ กุ้ง ทูน่า ไข่ต้ม หรือเลือกพวกธัญพืชที่ให้โปรตีน พวกถั่วต่างๆ หรือจะใส่ผักที่ให้พลังงานสูงๆ อย่าง เผือกหรือมัน ก็เป็นวิธีที่น่าจะช่วยให้เราอิ่มได้ด้วยสลัดจานเดียว   ----------------------------------------------------------------------------------------------------- กินสลัดให้อร่อยและดีต่อสุขภาพ 1.ควรเติมน้ำสลัดแต่พอดี แค่ให้พอช่วยเพิ่มรสชาติให้เรารับประทานผักได้มากขึ้น 2.ทำน้ำสลัดไว้กินเอง น้ำสลัดทำได้ไม่ยาก มีน้ำสลัดหลายสูตรที่ไม่ต้องใช้น้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำสลัดผลไม้ ใช้นมข้น ใช้เนื้อเต้าหู้หรือน้ำเต้าหู้ หรือสูตรง่ายๆ อย่างการใช้โยเกิร์ตแทนน้ำสลัด หรือสูตรไทยๆ อย่างน้ำจิ้มซีฟู้ดก็เข้ากันดีกับผักสดๆ 3.ไม่ต้องเติมน้ำสลัดก็ได้ เราสามารถทำสลัดผักจานโปรดของเราให้มีรสชาติดีได้โดยไม่ต้องเติมน้ำสลัด แค่เพียงเลือกเติมผลไม้ที่เราชอบหรือเลือกชนิดที่มีรสเปรี้ยวและมีความฉ่ำ เช่น ส้ม ส้มโอ สับปะรด ฯลฯ รสหวานนิดๆ เปรี้ยวพอดีๆ ของผลไม้จะช่วยตัดรสจืดๆ เฝื่อนๆ ของผักใบเขียวได้เป็นอย่างดี 4.ถ้าต้องซื้อน้ำสลัด อ่านฉลากให้ละเอียด สังเกตที่ส่วนประกอบ เลือกที่มีสัดส่วนของน้ำมันน้อย ปริมาณไขมันก็น้อยลงตาม แต่อย่าลืมดูปริมาณของส่วนประกอบอื่นๆ ด้วย ทั้ง น้ำตาล เกลือ และเครื่องปรุงรสต่างๆ ถ้ามีฉลากโภชนาการก็ควรอ่านฉลากโภชนาการก่อนตัดสินใจซื้อ ดูว่าปริมาณต่อ 1 เสิร์ฟ ซึ่งเขาจะบอกไว้เป็นปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะหรือ 2 ช้อนโต๊ะ เราได้รับปริมาณสารอาหารต่างๆ มากน้อยแค่ไหน 5.ก่อนทำสลัดรับประทาน อย่าลืมล้างทำความสะอาดผักให้สะอาดเรียบร้อย เลือกผักที่สดสะอาดและต้องเลือกผักให้หลากหลาย หลากสี หลากชนิด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินแร่ธาตุที่หลากหลายแตกต่างกันไป -----------------------------------------------------------------------------------------------------   ปริมาณของไขมันที่เหมาะสมสำหรับคนไทยใน 1 วัน (Thai RDI) อยู่ที่ไม่เกิน 65 กรัม ซึ่งถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานตั้งต้น แต่หากจะดูถึงความเหมาะสมจริงๆ จำเป็นต้องพิจารณาจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของแต่ละคนประกอบด้วย เช่น ถ้าเป็นคนที่ต้องใช้แรงใช้กำลังค่อนข้างมากในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ เช่น นักกีฬา ปริมาณของไขมันที่ควรได้รับในแต่ละวันก็อาจใกล้เคียงกับเกณฑ์ของ Thai RDI ที่ไม่เกิน 65 กรัม แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้มีภาระงานหรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากนักในแต่ละวัน เช่น คนที่ทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ก็ไม่มีความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องได้รับปริมาณไขมันในระดับสูงตามที่เกณฑ์กำหนดไว้ ไขมันถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะไขมันเป็นทั้งแหล่งพลังงาน ช่วยในการดูดซึมวิตามินหลายชนิด เช่น เอ ดี อี เค ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลให้ผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญ ฯลฯ แต่การได้รับไขมันเกินกว่าความต้องการของร่างกาย ไขมันส่วนเกินจะไปรบกวนการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ฯลฯ การควบคุมให้ปริมาณไขมันพอดีกับร่างกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน ซึ่งไม่เพียงแต่การควบคุมการรับประทานอาหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแบ่งเวลาให้กับการออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายได้เผาผลาญไขมันส่วนเกิน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 130 ตรวจสุขภาพประจำปี จ่ายเท่าไหร่ ได้ตรวจอะไรบ้าง!!!

  เรื่องสุขภาพถือเป็นเรื่องใหญ่ จะปล่อยไว้เฉยๆ ไม่ดูแลไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้วิถีชีวิตของคนเราเปลี่ยนไป เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงาน แค่หาเวลาพักผ่อนยังไม่ค่อยพอ จะออกกำลังกายหรือดูแลรักษาสุขภาพก็แทบจะไม่ต้องพูดถึง หลายคนเลยถูกโรคภัยรุมเร้าแบบไม่ทันตั้งตัว พอรู้ตัวอีกทีก็อาจจะช้าเกินไป จะรักษาให้หายก็สายไปเสียแล้ว บางคนเห็นแข็งแรงๆ พอป่วยเข้าทีนึงถึงกับทรุดหนักไปเลยก็มี แบบนี้ถ้าหากเรารู้ได้ว่าสุขภาพของเรายังสบายดีอยู่มั้ย มีตรงไหนที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้าร่างกายของเราสามารถบอกสิ่งเหล่านี้กับเราได้ก็คงจะดี แต่ในความเป็นจริงเราทำแบบนั้นไม่ได้ แม้จะพอรู้ได้บ้างเวลาที่ร่างกายของเรามีอะไรที่ผิดแปลกไป หรือเกิดอาการป่วยไข้เล็กๆ น้อยๆ แต่ถ้าเป็นโรคร้ายแรง อย่าง หัวใจ เบาหวาน หรือมะเร็ง ถ้าไม่ไปหาหมอเราก็แทบไม่มีทางรู้ เราจึงต้องพึ่งพาบริการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้มีให้เลือกหลากหลายโปรแกรม ราคาก็หลากหลาย การตรวจก็หลากหลาย ถือเป็นทางเลือกให้กับคนที่อยากรู้สถานการณ์สุขภาพของตัวเอง ฉลาดซื้อ ได้ลองเลือกโปรแกรมการตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังจำนวน 10 แห่ง และโรงพยาบาลของรัฐอีกหนึ่งแห่งคือ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูเรื่องของราคาและรายละเอียดในการตรวจ โดยฉลาดซื้อเลือกโปรแกรมตรวจสุขภาพพื้นฐานของคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากตรวจสุขภาพของตัวเอง แต่ยังสองจิตสองใจยังไม่รู้ว่าจะไปตรวจกับโรงพยาบาลไหน ก็ลองนำข้อมูลของเราเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ   ตารางแสดงผลการเปรียบเทียบราคาและรายการตรวจของตัวอย่างโปรแกรมตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่มีอายุ  35 ปีขึ้นไป ของโรงพยาบาลต่างๆ โรงพยาบาล ชื่อโปรแกรมตรวจสุขภาพ ราคา (บาท) ตรวจร่างกายทั่วไป ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจไขมันในเลือด ตรวจกรดยูริค (โรคเก๊าท์) ตรวจไต ตรวจตับ ไวรัสตับอักเสบ ตรวจมะเร็งตับ/ลำไส้ ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับผู้ชาย หรือมะเร็งปากมดลูกสำหรับผู้หญิง ตรวจปัสสาวะ เพื่อดูการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ และนิ่ว ตรวจอุจจาระเพื่อหาพยาธิและความผิดปกติของทางเดินอาหาร X-Ray ปอด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจตา ตรวจฟัน ตรวจการคัดกรองการได้ยิน ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ร.พ.บำรุงราษฎร์ regular 2,600 o o o o o o o x x x o o o x x x x x ร.พ.เปาโลเมโมเรียล gold 4,900 o o o o o o o x o o o o o o o o o o ร.พ.สมิติเวช Get your health back advance packet 3,500 o o o o o o o x o x o o o o x x x x ร.พ.เจ้าพระยา โปรแกรม สำหรับผู้ที่อายุไม่เกิน 45 ปี 2,700 o o o o o o o x x x o x o o o o x x เครือ ร.พ.พญาไท โปรแกรม ตรวจสุขภาพมาตรฐาน 3,500 o o o o x o o o x x o x o o x x x x ร.พ.พระรามเก้า โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับ ชาย/หญิง ที่มีอายุ 30 – 40 ปี 3,460 o o o o o o o x x x o o o o x x x x ร.พ.วิภาวดี Standard plus 4,800 o o o o o o o x x x o o o o x o x o ร.พ.กรุงเทพ Premium 7,800 o o o o o o o x x x o x o o x x o o (เฉพาะช่วงท้องส่วนบน) ร.พ.ลาดพร้าว สำหรับผู้ที่อายุ 30 – 45 ปี สำหรับผู้อยู่ในวัยทำงานปานกลาง ออกกำลังกายบ้าง ไม่มีปัญหาสุขภาพ 4,367 o o o o o o o x x x o x o o x x x o (เลือกส่วนใดส่วนหนึ่ง) ร.พ.เวชธานี Bronze program สำหรับผู้ที่อายุ 20 – 40 ปี 4,300 o o o o o o o o x x x x o o x x x x ร.พ.ศิริราช โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 1,120 o o o o o o o x x x o o o x x x x x O = มีการตรวจ  X = ไม่มีการตรวจ *หมายเหตุ : ร.พ.วิภาวดี, ร.พ.กรุงเทพ, ร.พ.ลาดพร้าว และ ร.พ.สมิติเวช มีการให้คูปองทานอาหาร (สำหรับใช้ในโรงพยาบาล) รวมอยู่ในราคาที่จ่ายในการตรวจสุขภาพด้วย**เป็นการสำรวจในช่วงเดือนพฤศจิกานยน 2554 ราคาและรายละเอียดการตรวจอาจมีการเปลี่ยนแปลง ผู้อ่านที่อยากไปตรวจสุขภาพควรสอบถามไปยังโรงพยาบาลนั้นๆ ก่อนไปใช้บริการ   ตรวจสุขภาพประจำปี จำเป็นมากน้อยแค่ไหน? หลายคนอาจมีคำถามว่า การตรวจสุขภาพประจำปี มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า การตรวจสุขภาพนั้นก็คือการตรวจสอบว่าร่างกายของเรา สุขภาพของเรา เป็นอย่างไรบ้าง จากการทำงาน การใช้ชีวิตในแต่ละวัน สุขภาพของเรามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างมั้ย มีโรคร้ายอะไรแอบแฝงอยู่บ้างหรือเปล่า ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าร่างกายของคนเราก็ต้องมีความเปลี่ยนแปลงเสื่อมถอยไปตามเวลา ตามอายุ และรูปแบบการใช้ชีวิต ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ก็น่าจะพอให้เราเข้าใจได้ว่า การตรวจสุขภาพของเรานั้นมีความสำคัญและจำเป็นในระดับหนึ่ง แต่การตรวจสุขภาพที่ดี จะต้องเป็นการตรวจที่ช่วยให้ผู้รับการตรวจได้รู้ถึงสภาวะร่างกายและสุขภาพของตัวเอง ไม่ใช่การค้นหาโรคเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องรู้ภูมิหลัง ประวัติ และลักษณะวิธีการใช้ชีวิตประจำวันของผู้เข้ารับการตรวจ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวิเคราะห์หาสาเหตุและความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ไม่ใช่แค่ใช้แต่ผลวิเคราะห์ทางเคมีหรือในห้องปฏิบัติการเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเรามั่นใจว่าเราดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองเป็นประประจำ และไม่ใช้ชีวิตอยู่ในภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลก็อาจไม่มีความจำเป็นมากสักเท่าไหร่ คงไม่ต้องถึงปีละครั้ง แต่อาจจะเป็น 2 – 3 ปีครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุของเราด้วยว่าอยู่ในวัยไหน หากอายุมากหน่อยก็อาจต้องใส่ใจสุขภาพมากเป็นพิเศษ หรือหากพอมีทุนทรัพย์การตรวจสุขภาพเป็นประจำกับสถานพยาบาลต่างๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง   ขั้นตอนการตรวจสุขภาพ1.ซักประวัติเพื่อประเมินหาปัจจัยเสี่ยง 2.การตรวจร่างกาย ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจตามปัจจัยเสี่ยง3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เลือกตรวจตามปัจจัยเสี่ยง4.สรุปประเมินผล แนวทางการรักษา และให้คำแนะนำในการรักษาและดูแลตัวเอง   รู้ไว้...ก่อนไปตรวจสุขภาพ 1.ผู้ที่สมควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพมากที่สุด คือ ผู้ที่มีความเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับตับและไต ฯลฯ ซึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงก็อย่างเช่นคนที่มีญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัว ป่วยเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ตามที่กล่าวมา นอกจากนี้ยังรวมถึงคนที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง คนที่มีน้ำหนักตัวมาก รวมถึงคนที่ต้องทำงานในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัยเสี่ยงต่อการเกิดผลเสียกับสุขภาพเป็นประจำ เช่น คนงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารเคมี มีฝุ่นมาก คนที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ซึ่งก็นับรวมถึงคนที่ทำงานออฟฟิศ นั่งอยู่ในห้องแอร์ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ด้วยเช่นกัน หากขาดการดูแลสุขภาพที่ดี แน่นอนว่าการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ย่อมถือเป็นเรื่องที่ดีและจำเป็น โดยเฉพาะกับคนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้าใครที่พอจะมีทุนทรัพย์ก็ควรลองหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูสุขภาพของตัวเอง เพราะโรคบางโรคอาจไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา พอรู้ตัวว่าป่วยก็อาจจะช้าเกินกว่าที่จะรักษา ยิ่งรู้เร็วโอกาสที่จะรักษาให้หายก็ยิ่งมีมากขึ้น 2.อย่าเพิ่งดีใจ แม้ว่าผลการตรวจสุขภาพจะออกมาว่า แข็งแรงดีไม่มีอะไรผิดปกติ เพราะไม่แน่ว่าต่อไปข้างหน้าเราก็อาจมีสิทธิป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่เรากลัว หากว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรายังมีความเสี่ยงต่อโรคนั้นๆ อยู่ เช่น ชอบรับประทานของหวานๆ มันๆ ก็เสี่ยงกับโรคเบาหวาน ความดัน ชอบสูบบุหรี่ กินเหล้า ก็มีสิทธิเป็นมะเร็ง โรคหัวใจ ฯลฯ หรือไม่ยอมดูแลตัว ไม่ควบคุมน้ำหนัก ไม่ออกกำลังกาย วันหนึ่งปัญหาสุขภาพก็ต้องถามหาเพราะว่าร่างกายของเราไม่แข็งแรง เพราะฉะนั้นหากอยากจะดูแลรักษาสุขภาพจริงๆ ต้องรู้จักควบคุมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเอง ไม่ให้อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคต่างๆ ต้องรู้วิธีดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง อะไรควรทำ อะไรควรหลีกเลี่ยง 3.แต่ถึงแม้ผลจากการตรวจสุขภาพจะออกมาในทางที่ไม่ค่อยดี คืออาจจะพบว่ากำลังป่วย หรือเข้าข่ายว่าอาจจะป่วยโรคร้ายแรง ก็อย่าเพิ่งทุกข์ใจหรือจิตตกคิดมากจนเกินไป เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่ดีด้วยซ้ำ การที่เราได้รู้ว่าตัวเองอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการป่วยเราจะได้มีโอกาสหาทางรักษาและดูแลตัวเอง ยิ่งรู้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น 4.ก่อนไปตรวจสุขภาพกับโรงพยาบาลต่างๆ ต้องสอบถามขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ เช่น ต้องงดน้ำงดอาหารหรือไม่ ต้องนอนหลับพักผ่อนมาอย่างน้อยกี่ชั่วโมง หรือมีข้อห้ามข้อปฏิบัติอะไรบ้าง 5.ต้องตรวจสอบรายละเอียดของการตรวจต่างๆ ให้ดี ดูว่าในโปรแกรมตรวจสุขภาพที่เราเลือกนั้น มีการตรวจอะไรบ้าง ใช้วิธีการอะไร ใช้เวลานานแค่ไหน ซึ่งการตรวจบางรายการแม้แจ้งไว้ว่าเป็นการตรวจเรื่องเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจมีความแตกต่างกัน เช่น การตรวจหัวใจ ตรวจตับ หรือการตรวจไขมันในเลือด ที่สามารถแบ่งการตรวจได้หลายวิธีตามลักษณะของความผิดปกติที่แตกต่างกัน เช่น การตรวจไขมันในเลือด มีทั้งตรวจระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ (Low Density Lipoprotein: LDL) ตรวจโคเลสเตอรอล (Cholesterol) ตรวจไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ซึ่งทั้งหมดเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจหากมีมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 6.การดูแลรักษาสุขภาพย่อมสำคัญกว่าการตรวจสุขภาพ อย่าลืมดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ฯลฯ อย่าคิดว่าไว้ค่อยดูแลตัวเองเมื่ออายุมากๆ หรือไว้ทำเวลาที่ไม่สบาย ถ้าเป็นแบบนั้นรับรองว่าไปตรวจสุขภาพกี่ทีก็เจอโรคต่างๆ ถามหาแน่นอน สุดท้ายท่องจำไว้ สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องดูแลตัวเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 124 น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%

  เพราะเรารู้ว่าแฟนๆ “ฉลาดซื้อ” เป็นคนที่รักและห่วงใยดูแลสุขภาพ ฉบับนี้เรามีผลทดสอบเครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนรักสุขภาพอย่าง “น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%” มาฝาก  ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์น้ำผักพร้อมดื่มทั้ง 100% และไม่ 100% ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อหลากหลายรสชาติ ตอบรับกระแสรักสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการเลือกดื่มน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มนั้นสะดวกสบาย หาซื้อง่าย เข้ากับยุคสมัยที่ผู้คนหันมาห่วงใยสุขภาพมากขึ้นแต่กับมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แถมบางคนที่ไม่ชอบกินผักก็เลือกที่จะดื่มน้ำผักแทน เพราะกินง่ายกว่า รสชาติก็อร่อยกว่า  ลองมาหาคำตอบกันดูสิว่า น้ำผัก – ผลไม้รวม 100% พร้อมดื่ม จะเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพได้จริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------------------------ น้ำผัก - ผลไม้ถือเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปประเภทหนึ่ง เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผัก – ผลไม้ ในช่วงเวลาที่ผัก – ผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ การแปรรูปน้ำผัก – ผลไม้ยังเป็นช่วยยืดอายุของผักและผลไม้เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ประเภทของน้ำผัก ผลไม้1.น้ำผลไม้เข้มข้น ทำจากน้ำผลไม้แท้ที่ผ่านการต้มเพื่อให้น้ำระเหยออกบางส่วนจนได้เป็นน้ำผลไม้เข้มข้น เวลาดื่มต้องผสมกับน้ำให้เจือจางก่อน ซึ่งน้ำผลไม้เข้มข้นนิยมใช้เป็นส่วนผสมในขนม ไอศครีม และเครื่องดื่มต่างๆ 2.น้ำผัก - ผลไม้พร้อมดื่ม ก็คือน้ำผลไม้บรรจุกล่องหรือขวดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มก็ทั้งแบบที่เป็นน้ำผัก – ผลไม้ 100% และแบบที่ไม่ถึง 100% คือจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 50% ซึ่งคือการนำน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางและแต่งรสชาติเพิ่มเติม ------------------------------------------------------------------------------------------ สรุปผลทดสอบ -ถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่สามารถสบายใจได้ว่าน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ที่เราทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง ปลอดภัยจากการปนเปื้อนและสารเคมีทางการเกษตร -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% แม้จะอ้างว่ามีส่วนประกอบจากน้ำผัก – ผลไม้หลาย 10 ชนิด แต่ถ้าเราลองดูข้อมูลส่วนประกอบจะเห็นว่า เกือบทุกยี่ห้อจะมีน้ำแครอทเป็นส่วนประกอบหลัก หรือกว่า 30% ของส่วนประกอบทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำหน้าที่เพิ่มรสชาติให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล ส่วนน้ำผักอื่นๆ จะผสมมาในสัดส่วนที่น้อยมากๆ ไม่ถึง 10%  -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% บางยี่ห้อมีการเติมวิตามินลงไปด้วย แต่ก็ในปริมาณที่น้อยมาก แถมวิตามินส่วนใหญ่ถูกทำลายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวิตามินซี ทั้งจากการถูกความร้อน แสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศ แม้จะมีการเติมวิตามินลงไป แต่น้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่มก็ให้วิตามินได้ไม่เท่าผัก – ผลไม้สดๆ อยู่ดี  -ปริมาณน้ำตาลจากการทดสอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ 9.27 กรัม / 100 มิลลิลิตร ถ้าคิดปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาจะอยู่ประมาณ 2 ช้อนชากว่าๆ (1 ช้อนชา = 4.2 กรัม) ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าหากเราดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราก็จะได้น้ำตาลที่ประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง  ดังนั้นใครที่คิดจะดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักอาจจะต้องคิดใหม่   ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลและการปนเปื้อนของสารเคมีทางเกษตรในน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ราคา (บาท) ผลการทดสอบ น้ำตาล / 100 มิลลิลิตร  (กรัม) การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ ดอยคำ น้ำผักผลไม้รวม 100% โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป น้ำสับปะรด 50% น้ำแครอท 31% น้ำเสาวรส 7% น้ำมะเขือเทศ 7% น้ำบีทรูท 5% 55 บ. / 1 ลิตร 9.3 ไม่พบ ไม่พบ Chooze ชูส น้ำผักผลไม้รวมผสมผักโขม 100% Universal food public company limited   น้ำองุ่นขาว 43% น้ำสับปะรด 30% น้ำส้ม 20% น้ำแตงกวา 4% น้ำผักโขม 1.3% น้ำแครอท 1.2% น้ำฝักทอง 0.5% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ Big C น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 30% น้ำส้ม 27% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำฟักทอง 5% น้ำสับปะรด 5% น้ำนะนาว 3.97% น้ำมะเขือเทศ 3% น้ำขึ้นฉ่าย 1% วิตามิน ซี 0.03% 45 บ. / 1 ลิตร 11.4 ไม่พบ ไม่พบ ชบา น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 40% น้ำแอปเปิ้ลแดง 17.47% น้ำส้มเขียวหวาน 15% น้ำฟักทอง 10% น้ำสับปะรด 5% น้ำขึ้นฉ่าย 5% น้ำมะเขือเทศ 5% น้ำมะนาว 2.5% วิตามิน ซี 0.03% 51 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ ยูนิฟ น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด น้ำแครอท 40% น้ำสับปะรด 32.3% น้ำส้ม 15% น้ำแอปเปิ้ล 13% น้ำมะเขือเทศ 3.3% น้ำมะนาว 2% น้ำขึ้นฉ่าย 2% น้ำฟักทอง 1% น้ำแครอทม่วง 0.3% น้ำองุ่นแดง 0.1% 52 บ. / 1 ลิตร 9.8 ไม่พบ ไม่พบ ทิปโก้ 100% น้ำผักผลไม้รวม 32 ชนิด บริษัท ทิบโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด   น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม จากน้ำผักผสมน้ำผลไม้รวมเข้มข้น 32 ชนิด 39.4187925% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 30% น้ำแอปเปิ้ลจากน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น 15% น้ำส้มเช้งจากน้ำเช้งเข้มข้น 10% น้ำมะม่วง 3% น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2% ใยอาหาร 0.55% วิตามินซี 0.03% วิตามินเอ 0.0012% วิตามินบี 2 0.000005% วิตามินบี 1 0.0000025% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ V8 เครื่องดื่มน้ำผักผสม ผลิต บริษัท แคมเบลล์ ซุปคัมปานี จำกัด เมืองแคมเด็น รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา นำเข้า บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด น้ำมะเขือเทศ 44.05% น้ำผัก 33.07% เกลือ 0.95% แต่งกลิ่นธรรมชาติ 129 บ. / 964 ซีซี 4.0 ไม่พบ ไม่พบ เซปเป้ ฟอร์วันเดย์ บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด น้ำผักรวม (คื่นฉ่าย, ผักกาดหอม, ผักโขม, บีทรูท, ผักชีฝรั่ง, บล๊อกโคลี่) 30% น้ำแครอทจากน้ำแครอทเข้มข้น 30% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20% น้ำสับปะรดจากน้ำสับปะรดเข้มข้น 20% แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 25 บ. / 350 มิลลิลิตร 10.4 ไม่พบ ไม่พบ Malee veggies 100% บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) น้ำผลไม้รวม 88% (น้ำแอปเปิ้ลแดง, น้ำองุ่นขาว, น้ำแอปเปิ้ลเขียว, น้ำกีวี) น้ำผักรวม 12% (น้ำคื่นฉ่าย, น้ำบร็อกโคลี่, น้ำหน่อไม้ฝรั่ง, น้ำแตงกาว, น้ำผักขม) 49 บ. / 1 ลิตร 10.0 ไม่พบ ไม่พบ Smile น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท นูบูน จำกัด   น้ำผักรวม 40% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำสับปะรด 24% น้ำส้ม 8% น้ำแพชชั่น 3% 98 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ     ฉลาดซื้อแนะนำ1) หากอยากจะดื่มน้ำผัก – ผลไม้ให้ได้คุณค่าและดีกับสุขภาพร่างกายจริงๆ ฉลาดซื้อแนะนำให้คั้นดื่มเอง เพราะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้จะมาทำได้  ถ้าไม่อยากได้น้ำตาลเยอะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้ที่ไม่หวานมากมาทำ แถมน้ำผัก น้ำผลไม้ที่เราคั้นเองปั่นเองก็จะมีทั้งกากใยและเนื้อผัก – ผลไม้เหลืออยู่ด้วย ซึ่งก็คือใยอาหารที่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย 2) คั้นน้ำผักดื่มเอง ต้องล้างทำความสะอาดผักก่อนจะนำมาทำน้ำผัก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่มากับผัก  3) น้ำผักควรเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อหลีกหนีความจำเจเท่านั้น การรับประทานผักสดเป็นประจำมีความจำเป็นต่อร่างกายมากกว่า ถ้าอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานมีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มากพออยู่แล้ว การดื่มน้ำผักก็ไม่มีความจำเป็น ซึ่งราคาของน้ำผักก็สูงกว่าราคาของผักสดธรรมดาที่เราซื้อมาประกอบอาหารค่อนข้างมาก   ----------------------------------------------------------------------------------------- 7,500 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรา ซึ่งธุรกิจน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งมาจากกระแสรักสุขภาพ2,400 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดเฉพาะน้ำผัก – ผลไม้ 100% ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำผัก – ผลไม้ประเภทอื่นๆ  (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2519 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552) -----------------------------------------------------------------------------------------  ทำน้ำผักไว้ดื่มเองก็ได้  หากอยากจะได้น้ำผัก – ผลไม้ที่รสชาติถูกใจและดีต่อสุขภาพจริงๆ รวมทั้งประหยัดด้วย การเลือกผัก – ผลไม้มาคั้นเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (ใครอยากรู้สูตรการทำน้ำผัก – ผลไม้ลองคลิกไปที่ http://www.vegetablejuicerecipes.org/ มีให้เลือกลองทำหลากหลายสูตรหลากหลายเมนู) แต่การทำน้ำผัก – ผลไม้เองต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด คือการล้างทำความสะอาด เพราะผัก – ผลไม้สมัยนี้วางใจไม่ได้เรื่องสารเคมีปนเปื้อน แทนที่จะมีสุขภาพดีอาจต้องมาป่วยเพราะยาฆ่าแมลงก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ (2)

  “ฉลาดซื้อ” ฉบับที่แล้วนำเสนอได้เพียงแค่ คะน้ากับบร็อคโคลี่ คราวนี้เรามาต่อกัน อีกสามชนิด  ได้แก่  กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำและถั่วฝักยาว ครับ เป็นการสำรวจในครั้ง เดียวกันกับผักคะน้าและบร็อคโคลี่จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ดอกกะหล่ำ ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.59 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.14 มก./กก. 2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 2 ตัวอย่าง(1) อย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ พบสารคลอร์ไพริฟอสที่ปริมาณ 0.024 มก./กก.(2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบสารคลอร์ไพริฟอสเช่นกัน ที่ปริมาณ 0.0138 มก./กก.อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ในปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายกับการบริโภค 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 มาใช้ประกอบการพิจารณาจะพบว่ามีเพียง 3 ตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐาน สารเคมีที่พบได้แก่แลมป์-ดาไซฮาโลทริน เปอร์เมทริน ไซฟลูทริน เฟนวาเลอเรท และเดลทาเมทริน ปริมาณที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.3 มก./กก. โดยมีปริมาณรวมของสารเคมีตกค้างสูงสุดตามลำดับดังนี้(1) ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จ.เชียงใหม่ ที่ปริมาณ 0.5 มก./กก. (2) ต้วอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ที่ปริมาณ 0.4 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก.  สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในดอกกะหล่ำ มีความเสี่ยงกับการได้รับอันตรายจากยากันรา-คาร์เบนดาซิม สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ ดังนั้นหากจะรับประทานต้องทำการล้างให้สะอาดเรียบร้อยก่อนนำมาปรุงอาหาร ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim (มก./กก.) Organophosphate (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี กิตติพงษ์ ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin  0.15 Deltamethrin 0.01 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ Cypermethrin 0.08 สงขลา ตลาดกิมหยง - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ คาร์ฟูร์ คาร์ฟูร์ 0.59 Chlorpyrifos 0.024 Cyhalothrin 0.0216 Permethrin 0.068   Cyfluthrin 0.078 Cypermethrin 0.101 Fenvalerate 0.03 Deltamethrin 0.311 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.14 Chlorpyrifos 0.0138 Cyhalothrin 0.02 Permethrin 0.11    Cypermethrin 0.05 Fenvalerate 0.265 Deltamethrin 0.024   กะหล่ำปลีตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง คือ เดือนพฤศจิกายน 52สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี :  1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่างที่ทดสอบ โดยตัวอย่างที่พบ การปนเปื้อนได้แก่ (1) ตัวอย่างห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.24 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ ปริมาณยากันราที่พบเท่ากับ 0.16 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง ได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จากจ.พะเยามี 2 ชนิดคือ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) ที่ปริมาณเท่ากันคือ 0.009 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครจ.เชียงใหม่พบการตกค้างของสารเคมี 4 ชนิดได้แก่ เมทามิโดฟอส(Methamidophos) คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos) โพรทิโอฟอส (Prothiofos) และ อีพีเอ็น (EPN) ปริมาณของสารเคมี ที่พบทั้ง 4 ชนิดไม่มีชนิดใดสูงเกินกว่า 0.01 มก./กก.แม้ว่าจะพบสารเคมีมากกว่า 1 ชนิดในทั้งสองตัวอย่างแต่เนื่องจากปริมาณของสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ในจำนวนที่จัดได้ว่าน้อยมากทำให้ถึงจะนำปริมาณสารทั้งหมดที่พบมารวมกัน (ไม่เกิน 0.03 มก./กก.) ก็ยังเป็นปริมาณที่ต่ำและไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายเมื่อบริโภค  3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง โดยเป็นตัวอย่างจาก (1) ตัวอย่างจากห้างแมคโคร จ.เชียงใหม่ และ (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ที่มาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างไม่ได้ระบุให้ใช้ได้จำนวน 5 ชนิดเท่ากัน ได้แก่ แลมป์ดา ไซแฮโลทริน (Lambda- Cyhalothrin)เปอร์เมทริน (Permethrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เฟนวาเลอเรท (Fenvalerate) และ เดลทาเมทริน (Deltamethrin)โดยตัวอย่างจากห้างแมคโคร  จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณรวมของสารเคมีสูงกว่าตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัสจังหวัดพะเยาเกือบสี่เท่าที่ปริมาณ 1.73 มก./กก. ขณะที่ตัวอย่างจากจังหวัดพะเยามีปริมาณของสารเคมีตกค้างรวมเท่ากับ 0.45 มก./กก.(3) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.มหาสารคาม พบสารเคมีตกค้างเพียงชนิดเดียวคือเดลทาเมทริน ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก.   ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในกะหล่ำปลี จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Carbendazim(มก./กก.) Organophosphate(มก./กก.) Pyrethiod(มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนพฤศจิกายน 2552 กรุงเทพ ฟู้ดแลนด์หลักสี่ - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 - ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ มหาสารคาม บิ๊ก-ซี วุฒิ อำนวยชัยผลกิจ ไม่พบ ไม่พบ Deltamethrin 0.03 สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ เชียงใหม่ แม็คโคร แม็คโคร 0.16 Methamidophos 0.0059 Chlorpyrifos 0.0107  Prothiofos 0.0044            EPN* 0.0044 Cyhalothrin 0.216 Permethrin 0.068  Cyfluthrin 0.057 Cypermethrin 0.027 Fenvalerate 0.539 Deltamethrin 0.881 พะเยา เทสโก้ โลตัส - 0.24 Methamidophos 0.0087 Chlorpyrifos 0.0089 Cyhalothrin 0.0217 Permethrin 0.11    Cyfluthrin 0.099 Cypermethrin 0.142 Fenvalerate 0.082 Deltamethrin 0.045 * = สารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน   ถั่วฝักยาว ตัวอย่างที่ทดสอบ : 8 ตัวอย่างจากห้างค้าส่งและค้าปลีกขนาดใหญ่ ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส คาร์ฟู และ แมคโครหรือตลาดสดของพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง เมื่อเดือนมีนาคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารเคมีปนเปื้อน 3 กลุ่ม คือ ออร์กาโนฟอสเฟต ไพรีทอยด์ และคาร์บาเมต ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในดอกกะหล่ำ : 1.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่เมื่อนำมาตรฐานอาหารที่มีสารพิษตกค้างฉบับที่ 288 มาประกอบการพิจารณาจะพบตัวอย่างที่ไม่ผ่านมาตรฐานจำนวน 4 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ โพรฟิโนฟอส (Profenofos), คลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และ เมทิดาไทออน (Methidathion) กับอีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน ตัวอย่างตกมาตรฐานที่พบการปนเปื้อนสูงสุดคือตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอละงู จังหวัดสตูล พบ อีพีเอ็น ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายที่เฝ้าระวังการใช้งานที่ปริมาณ 0.48 มก./กก.   2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง แต่เมื่อพิจารณากับมาตรฐานจะพบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 3 ตัวอย่าง สารเคมีที่พบนอกเหนือหรือไม่ผ่านตามมาตรฐานกำหนดประกอบด้วย ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin)แลมป์ดา ไซฮาโลทริน (Lambda-Cyhalothrin) ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) เดลทาเมทริน (Deltamethrin) และเปอร์เมทริน (Permethrin) ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก โลตัส จ.พะเยา พบสารเคมีปนเปื้อนทั้ง 4 ชนิด 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มคาร์บาเมตเกินมาตรฐานจำนวน 1 ตัวอย่างคือตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาสมุทรสงครามของผู้ผลิตคือร้านสมพิศ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สารเคมีที่พบได้แก่ คาร์โบฟูราน*(ฟูราดาน : สารเคมีทางการเกษตรที่หลายประเทศยกเลิกการใช้ไปแล้วเนื่องจากมีอันตรายสูงแต่ประเทศจัดให้อยู่ในกลุ่มเฝ้าระวังการใช้งาน) ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. สรุปความเสี่ยงของสารเคมีตกค้างในถั่วฝักยาวถั่วฝักยาวถือว่าเป็นผักที่เราผู้บริโภคต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะปกติเรามักจะทานเป็นผักแกล้มกับน้ำตก ส้มตำซึ่งเราไม่สามารถแน่ใจได้ว่าร้านที่เราไปทานได้ล้างทำความสะอาดเรียบร้อยดีหรือเปล่า ถ้าไม่ไว้ใจยังไงก็ควรหลีกเลี่ยงหรือทานแต่น้อย หรือเลือกซื้อมาทานที่บ้านล้างผักเองแบบนี้น่าจะอุ่นใจกว่า ตารางแสดงผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในถั่วฝักยาว จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า Organophosphate  (มก./กก.) Pyrethiod (มก./กก.) Carbamate (มก./กก.) เก็บตัวอย่างเดือนมีนาคม 2553 กรุงเทพ ตลาดซอยอารีย์ - Dimethoate 0.58 Cypermethrin 0.1 Methomyl* 0.02 สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส ร้านสมพิศ Methidathion* 0.01 ไม่พบ Carbofuran

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 116 สำรวจคุณภาพผักในประเทศ(1)

ใครๆ ก็รู้ว่าทาน “ผัก” นั่นดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย กินแล้วสุขภาพดี ผิวพรรณดี แต่หน้าตาจะดีด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เดี๋ยวก่อน!? คนที่รักการกินผักอย่าเพิ่งมีความสุขกับการกินผักจนมองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะเดี๋ยวนี้โลกของเราเปลี่ยนไป ผักดีๆ ก็อาจกลายเป็นวายร้ายทำลายสุขภาพเราได้ ก็จะเพราะอะไรซะอีกละ ถ้าไม่ใช้บรรดาสารเคมีตกค้างจากการเพราะปลูก ที่ใส่เพื่อให้ผักโตไว ไล่แมลง และจะได้มีใบสวยๆ แต่ถ้าเรารับประทานเข้าไปรับรองชีวิตนี้ไม่สวยแน่ๆ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้เราจึงมีผลทดสอบสารเคมีตกค้างในผักยอดนิยม 3 ชนิด ได้แก่ คะน้า บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี จาก 8 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล มานำเสนอ   บร็อคโคลี่ตัวอย่างที่ทดสอบ : 16 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 กับเดือนมกราคม 2553 สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)  ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในบร็อคโคลี่ :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของคาร์เบนดาซิมได้แก่(1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.92 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.43 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.สตูล เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.005 มก./กก.  2.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 7 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดที่ไม่ใช่มาลาไธออน (Malathion) ซึ่งมาตรฐาน มกอช. และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 288 ระบุให้ใช้ได้ สารเคมีที่พบได้แก่ อะซีเฟต (Acephate) โพรฟิโนฟอส (Profenofos) เมทามิโดฟอส (Methamidophos) และคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) และมีปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.005 – 0.09 มก./กก. ตัวอย่างที่พบสารเคมีสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบ เมทามิโดฟอส (Methamidophos) ที่ปริมาณ 0.09  มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กทม. เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบอะซีเฟต (Acephate) ที่ปริมาณ 0.08 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาพระราม 1 กทม. และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบคลอร์ไพริฟอส (Chlopyriphos) ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ทั้ง 2 ตัวอย่าง 3.พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยพบสารเคมีหลายชนิดได้แก่ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) แลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (Lambda-cyhalothrin) เฟนวาเลอเรต (Fenvalerate) และไซฟลูทริน (Cyfluthrin) และมีปริมาณสารเคมีที่พบในแต่ละชนิดอยู่ระหว่าง 0.01 – 0.97 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนมากในปริมาณที่ต้องระวังได้แก่ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จ.เชียงใหม่เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นในปริมาณรวมกันเท่ากับ 1.61 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. พบสารเคมีทั้ง 5 ชนิดเช่นเดียวกับตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวมกันเท่ากับ 0.59 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในบร็อคโคลี่จากผลการทดสอบจะเห็นว่าบร็อคโคลี่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมีหลายชนิดโดยเฉพาะตัวอย่างที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยาเช่นเดียวกับผักคะน้าแต่อยู่ในอัตราความเสี่ยงที่น้อยกว่าเนื่องจากปริมาณสะสมของสารเคมีที่พบมีน้อยกว่า     คะน้า ตัวอย่างที่ทดสอบ : 24 ตัวอย่างจากพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง คือ เดือนกันยายน 2552 เดือนมกราคม 2553 และเดือนมีนาคม 2553  สารปนเปื้อนที่ทดสอบ : สารพิษตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่ม   ออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ผลทดสอบสารเคมีปนเปื้อนในคะน้า :1.พบการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง (*มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. – 2551) มีระบุไว้ว่ายากันรา-คาร์เบนดาซิมจะพบมากในของแห้ง เครื่องเทศ และผลไม้ แต่ในผักคะน้าไม่มีระบุไว้ (ซึ่งน่าจะหมายความว่าไม่ควรพบสารดังกล่าวตกค้างในผักคะน้า) 3 ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ (1) ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขามหาสารคาม จ.มหาสารคาม เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณสารเคมีที่พบเท่ากับ 2.41 มก./กก. (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) (2) ตัวอย่างจากห้างแมคโครสาขาหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 1.93 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยาเก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 ปริมาณของสารเคมีที่พบเท่ากับ 0.48 มก./กก.  2.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่พบการปนเปื้อนของสารเคมี 2 – 3  ชนิดในตัวอย่างเดียว โดยมีชนิดของสารเคมีที่พบ ได้แก่ เมทามิโดฟอส (Methamidophos), โพรฟิโนฟอส (Profenophos) และ ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos) กับ อีพีเอ็น (EPN) ซึ่ง 2 ตัวหลังเป็นสารเคมีอันตรายที่กระทรวงเกษตรเฝ้าระวังการใช้งาน โดยสารเคมีทั้งหมดไม่อนุญาตให้ใช้ในผักคะน้า สำหรับตัวอย่างที่พบสารเคมีปนเปื้อนสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีร่วมกันหลายชนิดแต่อยู่ในปริมาณน้อยมากยกเว้นเพียงชนิดเดียวที่มีปริมาณสูงอย่างเห็นได้ชัด ได้แก่ โพรฟิโนฟอส ที่ปริมาณ 0.67 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด อีพีเอ็น (EPN) ที่ปริมาณ 0.38 มก./กก. (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ม.ค. 2553 พบสารเคมีชนิด ไดโครโทฟอส (Dicrotrophos)* ที่ปริมาณ 0.36 มก./กก.   3.พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod) ในตัวอย่างจำนวน 8 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่พบยาฆ่าแมลงสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ (1) ตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ มี.ค. 2553 สารเคมีที่พบคือ ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 8.54 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะหากเทียบกับผักตระกูลกะหล่ำแล้ว ปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐานมกอช. กำหนดไว้ถึง 8 เท่า] คู่กับ แลมป์ดาไซแฮโลทริน (lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.04 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 8.58 มก./กก. (2) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.พะเยา เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 4.22 มก./กก. [จัดอยู่ในเกณฑ์อันตรายเพราะปริมาณสารเคมีที่พบสูงกว่าที่มาตรฐาน มกอช. ระบุให้ใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 มก./กก. ไปเกือบ 9 เท่า] ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.1 มก./กก. ไซฟลูทริน (Cyfluthrin) ที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. และ เปอร์เมทริน (Permethrin) ที่ปริมาณ 0.03 มก./กก. คิดเป็นปริมาณสารเคมีรวมเท่ากับ 4.44 มก./กก. (หมายเหตุ: สารเคมีที่มาตรฐานอนุญาตให้ใช้ได้และมีการใช้ไม่เกินมาตรฐานจะไม่ถูกนำมารวมคำนวนด้วย) (3) ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จ.เชียงใหม่ เก็บตัวอย่างเมื่อ ก.ย. 2552 สารเคมีที่พบคือ เดลทาเมทริน (Deltamethrin) ที่ปริมาณ 0.97 มก./กก. ไซเปอร์เมทริน (Cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.43 มก./กก. และ แลมป์ดาไซแฮโลทริน ((lambda-cyhalothrin) ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. รวมปริมาณสารเคมีทั้งหมดเท่ากับ 1.42 มก./กก.   สรุปความเสี่ยงของสารเคมีในผักคะน้าคะน้าถือเป็นผักยอดฮิตนิยมนำมาทำเป็นอาหารหลายเมนู จากปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละประเภทในการทดสอบ สามารถสรุปได้ว่าผักคะน้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างทางการเกษตร ดังนั้นควรต้องมีการล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนรับประทาน เวลาซื้อมาทำอาหารก็ควรเลือกที่ใบมีรอยกัดกินของแมลงบ้าง ถ้าเลือกแต่ที่ใบสวยงามเรียบร้อยรับประกันได้เลยว่าได้รับสารเคมีมาเพียบแน่นอน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 90 สำรวจ : นวดไทย โดนใจอย่างแรง

“แพทย์แผนไทย” ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาไทย ยาสมุนไพร อบ ประคบหรือนวด จัดเป็นบริการทางการแพทย์สาขาหนึ่งที่แทรกอยู่ในสถานพยาบาลของรัฐ ทั้งโรงพยาบาลระดับศูนย์ โรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย  แม้จะไม่ทุกแห่งแต่ก็ครอบคลุมทั่วประเทศ คุณที่มีบัตรทองหรือสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นสามารถขอใช้บริการได้ หรือไม่มีสิทธิหลักประกันก็ร่วมจ่ายค่ารักษาได้ในราคาไม่แพง เรียกว่า ถูกและดี ทั้งเป็นการส่งเสริม “คุณค่าแบบไทย” อีกด้วย ก่อนปี พ.ศ.2551 รู้ไหมว่า “นวดไทย” ครองใจชาวบ้านมากที่สุด จาก “รายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ประจำปี พ.ศ.2548-2550” โดยคณะกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ในรายงานฉบับนี้ระบุว่า เมื่อสำรวจข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพการแพทย์แผนไทย 57 แห่ง จากทั้งหมด 70 แห่ง พบว่า ปี 2546 มีผู้ใช้บริการแพทย์แผนไทย ทั้งเพื่อการบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค รวม 407,651 ครั้ง โดย นวดไทย ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็นร้อยละ 48 ประคบ ตามมาห่างๆ ที่ร้อยละ 19.3 การใช้ยาไทยและยาสมุนไพร ร้อยละ 17.8 อบไอน้ำสมุนไพร ร้อยละ 10.2 ที่เหลือก็เป็นนั่งสมาธิ การขอความรู้ หรือแม้แต่การทำฤาษีดัดตน ปวดหลัง ปวดไหล่นวดไทยช่วยคุณได้ ทำไมนวดไทยมาแรง เรามาดูสาเหตุของการเจ็บป่วยกันก่อน ในรายงานสถานการณ์การแพทย์แผนไทยฯ อาการเจ็บป่วยที่พึ่งแพทย์แผนไทย สูงสุดอันดับหนึ่งร้อยละ 59.3 คือ เจ็บป่วยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก ทายสิว่า ปวดอะไรมากที่สุด เฉลย…ปวดหลังมากที่สุด รองลงมาก็ปวดเมื่อย/เคล็ดขัดยอก ปวดขา/ข้อเท้าแพลง ปวดไหล่/สะบัก/บ่า   และปวดเข่า/เข่าอักเสบ อันนี้สอดรับกับข้อมูลของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2546 ซึ่งพบว่า คนไทยที่เจ็บป่วยและเลือกใช้การรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทย แพทย์พื้นบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ทั้งเกษตรและประมง โดยกลุ่มโรคที่พบมากสุดคือ  โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น กระดูกและข้อ ซึ่งโรคกลุ่มนี้จัดเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ เพราะรู้กันอยู่ว่า คนในภาคเกษตรกรรมนั้น ทำงานหนักใช้แรงกายมาก อาการปวดเมื่อยหลังไหล่เลยพบได้บ่อย นวดนี่แหละช่วยได้มาก ไม่ต้องกินยาให้เสี่ยงกับอาการไม่พึงประสงค์จากยา  แต่บริการนวดเขาก็ไม่ได้ปิดกั้นคนทำงานออฟฟิสนะ เดี๋ยวนี้โรคปวดหลัง ปวดไหล่ ไม่เข้าใครออกใคร ไม่เฉพาะคนสูงอายุ วัยทำงานแหละตัวดี ดังนั้นหากปวดหลังไหล่ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว แล้วกินแต่ยากันจนเคย ลองเปลี่ยนมาใช้บริการนวดไทยในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเอกชนที่เปิดให้บริการนวด ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเลย  นวดไทยเป็นสิทธิประโยชน์ในบัตรทองตอนปี 2549 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกาศนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทย โดยการเพิ่มการรักษาพยาบาลด้วยระบบนี้ไว้ในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ถือ “บัตรทอง” และเพิ่มเงินสนับสนุนอย่างจริงจังในปี 2551 ให้กับการจัดบริการแพทย์แผนไทย เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ   ปรากฏว่า ผ่านมา 6 เดือน (มกราคม – มิถุนายน 2551) ผู้ถือบัตรทองนิยมบริการนวดแผนไทยเพื่อรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพ ถึง 60,000 ครั้ง โดยเขตเชียงใหม่ใช้บริการมากสุด 17,000 ครั้ง จากหน่วยบริการ 122 แห่ง ส่วนเขตพื้นที่ที่มีการใช้บริการน้อยที่สุดคือ เขตพื้นที่สุราษฎร์ธานี ใช้บริการ 600 ครั้ง จากหน่วยบริการ 13 แห่ง โดยขณะนี้มีสถานพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน ที่ให้บริการแพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพทั้งสิ้น 708 แห่ง นวดไทย เสน่ห์ไทย นวดไทยนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับแล้วว่าสามารถผ่อนคลายบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้หลายกลุ่มอาการโรค ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการนวดไทยอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ ประโยชน์ของการนวด มีมากมาย ทั้งลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระบบการไหลเวียนโลหิตและน้ำเหลือง กระตุ้นระบบประสาท เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินหายใจ ฟื้นฟูสภาพของระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท และทำให้รู้สึกสบายคลายเครียด แล้วคุณล่ะ จะลองไปนวดกันสักครั้งดีไหม 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 85 โยเกิร์ต

สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการโดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์นม ประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในวัยรุ่นและสาวๆ วัยทำงาน เพราะเชื่อว่า ดีต่อสุขภาพ ทำให้อายุยืน ผอมหรือเอาไปใช้พอกหน้าเพื่อบำรุงผิวพรรณ โยเกิร์ต ได้มาจากการนำน้ำนมสัตว์ เช่น นมโค นมแพะ มาผ่านการทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค แล้วหมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดโรคหรืออันตราย ทำให้ค่าความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (รสเปรี้ยว) และอาจปรุงแต่งเพิ่มเติมเพื่อให้รับประทานได้อร่อยขึ้น สำหรับบางคนที่อาจไม่ชอบรสชาติและกลิ่นที่เกิดจากการหมักนมเปรี้ยว เชื้อจุลินทรีย์ที่นำมาหมักให้เป็นนมเปรี้ยว เป็นเชื้อจุลินทรีย์ชนิดไม่ก่อให้เกิดโรค ส่วนใหญ่ได้แก่ แบคทีเรีย สเตรปโทค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส และแล็กโทบาซิลลัส เดลบรึคคิไอ ซับสปีชีส์ บัลแกริคัส เราเรียกมันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ก็ได้ เชื่อกันว่า แลกติก แอซิด แบคทีเรีย ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยในเรื่องระบบขับถ่าย ซึ่งน่าจะจริงอยู่เพราะคนที่ท้องผูก บางครั้งได้โยเกิร์ตสักถ้วย ก็ช่วยให้ระบายท้องได้ แต่อย่าเพิ่งไปเชื่อถึงขนาดว่า มันจะป้องกันมะเร็งในระบบทางเดินอาหารได้ ผลทดสอบโยเกิร์ต รสธรรมชาติ (Plain Yogurt) 7 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่าง 11 กุมภาพันธ์ 2551)•    ปริมาณแคลเซียมในผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตทุกยี่ห้อ ไม่ได้มีค่าต่างกันมากนัก แม้หลายยี่ห้อจะกล่าวอ้างว่า แคลเซียมสูง ก็ตาม (ดูตารางเปรียบเทียบเรื่องปริมาณแคลเซียมกับผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ) •    ยี่ห้อ ริชเชส พบปริมาณโปรตีน 2.6 กรัม / 100 กรัม ซึ่งน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด 0.1  (ตามกฎหมายต้องมีโปรตีนไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.7 ของน้ำหนัก) เป็นไปได้ว่า เกิดจากปริมาณน้ำนมโคที่ต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ริชเชส นมโคร้อยละ  91.5 ดัชชี่ ร้อยละ 98 เมจิ ร้อยละ 100 (ตามที่ระบุบนฉลาก) •    ยี่ห้อ ดัชชี่ แฟตฟรี ระบุบนฉลากว่า น้ำตาลน้อยกว่า ไม่รู้จะหมายความว่า น้อยกว่ายี่ห้ออื่นหรือไม่ อย่างไร เพราะทดสอบพบว่า มีน้ำตาล 11.1 กรัม / 100 กรัม แต่บนฉลากบอกว่า มีน้ำตาล 9 กรัม / น้ำหนัก 150 กรัม (หนึ่งหน่วยบริโภค) •    ยี่ห้อ เมจิ ระบุอยู่บนฉลากว่า มีน้ำตาล 4 กรัม (จากหน่วยบริโภค 150 กรัม) แต่ฉลาดซื้อทดสอบได้ 7 กรัม (ต่อ 100 กรัม) ถ้าปริมาณโยเกิร์ตต่อหน่วย 150 กรัม น่าจะมีน้ำตาลอยู่ที่ 10.5 กรัม•    จุลินทรีย์ที่มีชีวิต ยิ่งมีจำนวนมากยิ่งมีประโยชน์ จากการทดสอบพบว่า ยี่ห้อดัชชี่ ไบโอ ดัชชี่ แฟต ฟรี และโฟร์โมสต์ พรี โพร บาลานซ์ มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากใน 3 ลำดับแรก  แต่…เนื่องจากฉลาดซื้อมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเก็บผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อให้มีวันผลิตใกล้เคียงกันหรือวันเดียวกันได้  ค่าของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจึงไม่อาจเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน เพราะการมีอยู่ของจุลินทรีย์ที่มีชีวิตในโยเกิร์ต จะขึ้นอยู่กับอายุของผลิตภัณฑ์ ยิ่งผลิตใหม่สดเท่าไร จุลินทรีย์ที่มีชีวิตก็จะมีปริมาณสูง และจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันหมดอายุ ดังนั้นยี่ห้อ บีทาเก้น ที่มีปริมาณจุลินทรีย์ที่มีชีวิตน้อยกว่ายี่ห้ออื่น ก็อาจเนื่องมาจากผลิตก่อนยี่ห้ออื่นนั่นเอง (โยเกิร์ตมีอายุการบริโภคไม่เกิน 30 วัน เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส)•    ทุกยี่ห้อไม่พบแบคทีเรียชนิดก่อโรค (โคลิฟอร์ม) เกินกฎหมายกำหนด (น้อยกว่า 3 ต่อนมเปรี้ยว 1 กรัม โดยวิธี เอ็ม พี เอ็น)

อ่านเพิ่มเติม >