ฉบับที่ 217 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2562

เด็กไทยกินเค็ม 5 เท่า        พ.อ.นพ.อดิสรณ์ ลำเพาพงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และแพทย์โรคไตในเด็ก กล่าวว่า คนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15% ต่อปี ที่น่าห่วงคือ พฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทย ซึ่งกินเค็มเกินปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน เกือบ 2-5 เท่า โดยปริมาณโซเดียมเฉลี่ยที่เด็กรับประทานอยู่ที่ 3,194 มิลลิกรัม/วัน ขณะที่ปริมาณโซเดียมที่เด็กวัยเรียน อายุ 6-8 ปี ควรได้รับอยู่ที่ 325-950 มิลลิกรัม/วัน, เด็กอายุ 9-12 ปี อยู่ที่ 400 - 1,175 มิลลิกรัม/วัน และเด็กอายุ 13-15 ปี อยู่ที่ 500-1,500 มิลลิกรัม/วัน        ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม กล่าวว่า ผู้ปกครองมักให้เด็กกินเค็มโดยไม่รู้ตัว ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปและขนมกรุบกรอบที่พบว่ามีปริมาณโซเดียมสูง เช่น โจ๊กสำเร็จรูป 1 ถ้วย ซึ่งมีโซเดียมสูงถึง 1,269 มิลลิกรัม, ปลาเส้น มีโซเดียม 666 มิลลิกรัม/ซอง, สาหร่าย 304 มิลลิกรัม/ซอง หรือ มันฝรั่งทอด 191 มิลลิกรัม/ซอง การบริโภคอาหารเหล่านี้เพียง 1 ซอง ปริมาณโซเดียมก็เกินความต้องการต่อวันแล้ว หากเด็กเคยชินกับการกินเค็มก็มีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ติดเค็ม และส่งผลต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หัวใจ และไต ตามมา        ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตทั่วโลกกว่า 850 ล้านคน และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่ 6        เครดิตภาพ : https://teen.mthai.com/variety/165892.htmlเตือนผู้ปกครอง ระวังคลิปการ์ตูน สอนเด็กทำร้ายตัวเอง        อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า พบคลิปการ์ตูนสำหรับเด็กบนยูทูป (YouTube) ถูกดัดแปลงสอดแทรกเนื้อหาที่มีความรุนแรงและการทำร้ายร่างกายตนเอง โดยจงใจทำขึ้นเพื่อมุ่งเป้าโจมตีเด็กที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ให้ทำตามแบบอย่างในคลิป        นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาความรุนแรงอื่นๆ ปะปนอยู่ในคลิปด้วย เช่น ความรุนแรงในโรงเรียน และการค้ามนุษย์ โดยผู้ไม่หวังดีใช้ฉากในการ์ตูนเพื่ออำพรางการตรวจจับของระบบรักษาความปลอดภัยบนเว็บ ซึ่งเมื่อผู้ปกครองตรวจสอบแบบผิวเผินอาจไม่พบความผิดปกติ เพราะเนื้อหาอันตรายมันถูกสอดแทรกอยู่ระหว่างกลางของเนื้อเรื่อง ผู้ปกครองจึงควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กใช้สื่อเพียงลำพัง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และมีการควบคุมเวลาและเนื้อหาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งหากเกิดกรณีตามเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323มติกก.สถานพยาบาลย้ำผู้ป่วยซื้อยานอก รพ.ได้        18 ก.พ. นพ.ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงข่าวว่า                1) ยาในสถานพยาบาลเป็นส่วนหนึ่งของบริการทางการแพทย์ ตามแผนการรักษาของแพทย์ ซึ่งแพทย์ต้องรับผิดชอบต่อผลการรักษา                2) เรื่องการติดป้ายประกาศแจ้งคนไข้ว่าสามารถขอใบสั่งยาเพื่อนำไปซื้อจากร้านขายยาได้ เห็นว่าเป็นสิทธิของผู้ป่วยอยู่แล้วที่สามารถทำได้ แต่ไม่เห็นด้วยในการติดป้าย เพราะการรักษาในรพ. เป็นลักษณะทีมสหวิชาชีพที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างแพทย์กับเภสัชกร รวมถึงคุณภาพของยา ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของการรักษาผู้ป่วยตามแผนการรักษา แต่ก็ย้ำว่ามติ 2 ข้อนี้เป็นเพียงความเห็นของคณะกรรมการสถานพยาบาลเท่านั้น ยังไม่ใช่สิ่งสุดท้ายที่ต้องทำตาม แต่จากนี้จะนำเรียนรมว.สาธารณสุขเพื่อทราบ เพื่อส่งมติดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาออกมาตรการในการควบคุมราคาบริการทางการแพทย์ ซึ่งตนยังไม่ทราบว่าอนุกรรมการฯ จะประชุมเมื่อไหร่ เพราะต้องรอความเห็นจากหน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจประกันชีวิต เป็นต้น เพราะผู้ป่วยร้อยละ 60-70 ของรพ.เอกชนเป็นผู้ที่มีประกันเหล่านี้        เมื่อถามว่าสรุปผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเอกชนสามารถนำใบสั่งยามาซื้อจากร้านขายยาข้างนอกได้หรือไม่ นพ.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เดิมกฎหมายก็ไม่ได้ห้ามผู้ป่วยนำใบสั่งยาไปซื้อจากร้านขายยาข้างนอกอยู่แล้ว อย่างยาบางตัวที่ไม่มีในรพ. หรือยา รพ.หมดสต๊อก หรือกรณีผู้ป่วยมารพ.รัฐแล้วคิวยาวก็ขอใบเสร็จไปซื้อยาจากร้านข้างนอกได้ เป็นสิทธิของผู้ป่วยอยู่แล้ว แต่ยาบางตัวไม่สามารถซื้อได้ แล้วแต่กรณีพบร้านค้าออนไลน์ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายกว่า 700 ราย         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เปิดเผยผลการเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพบนสื่อออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม ซึ่งพบสินค้าที่ถูกเพิกถอนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) 29 รายการ ยังมีวางขายอยู่ นอกจากนี้ยังมีการอ้างเลข อย.ปลอม ไม่แสดงฉลากภาษาไทย หรือข้อมูลผู้ผลิต        ทั้งนี้ยังพบว่าดาราและเน็ตไอดอลมีส่วนในการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ผ่านการขออนุญาตจาก อย. หรือมักโฆษณาว่าผ่านมาตรฐาน อย. แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงการจดแจ้งกับทาง อย.เท่านั้น จึงขอให้ดาราและเน็ตไอดอลตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนรับงานโฆษณา        โดยเครือข่ายผู้บริโภค มีข้อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการแก้ปัญหา เช่น ให้ดำเนินคดีผู้ค้ารายย่อยที่จำหน่ายหรือโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง การสร้างระบบเชื่อมต่อฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างห้างออนไลน์กับ อย. เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ รวมถึงการให้รัฐจัดเก็บภาษีการขายสินค้าออนไลน์ด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 ยาทาฝ้าจากอินเดียสั่งออนไลน์ได้นะจ๊ะนายจ๋า

ผมมีโอกาสไปสอนหนังสือนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในหัวข้อ เกี่ยวกับการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค และได้มอบหมายให้นักศึกษาไปตรวจสอบการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสื่อต่างๆ และให้ดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นักศึกษารายหนึ่งตรวจพบการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพทางออนไลน์ของเว็บขายสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง          นักศึกษาเล่าว่า เมื่อตนเข้าไปที่เว็บขายสินค้านี้  พบผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาว่า เป็นยาทาลบรอยฝ้า รอยจุดด่างดำ เห็นผลจริง เป็นของดีจากอินเดีย มีการบรรยายสรรพคุณว่าผลิตภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับการรักษาผิวใต้วงแขนที่หยาบกร้าน แผลพุพอง รอยดำของบิกินี่ รอยบวมเล็กๆ บนผิวหนัง ช่วยลดรอยฝ้า กระอ่อน รอยแห่งวัย จุดด่างดำ หน้าท้องลายจากการตั้งครรภ์ และอื่นๆ มีวิธีใช้ง่ายๆ คือ ทาบางๆ บริเวณที่เป็นฝ้า ทุกวันหลังล้างหน้าตอนเย็น  แนะนำให้ทาติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน โดยมีคำเตือนว่า สตรีมีครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรใช้          ผลิตภัณฑ์นี้ระบุส่วนประกอบ ได้แก่  Hydroquinone, Mometasone Furoate และ Tretinoin ซึ่งทั้งสามตัวมีสรรพคุณเป็นยา และเป็นยาที่ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ และต้องระมัดระวังในการใช้ เพราะมีผลข้างเคียงสูง เช่น Hydroquinone หากใช้ติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน แทนที่หน้าจะขาวผ่อง กลับจะยิ่งทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรขึ้นได้ รวมทั้งเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย          ส่วน Mometasone Furoate เป็นครีมสเตียรอยด์ ที่ทางการแพทย์นำมาใช้รักษาผื่นคัน หรือการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ การใช้ยาที่มีความแรงสูงๆ หรือใช้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้ ผิวหนังแดง แห้ง แสบร้อน คัน สีผิวจางลง หรืออาจมีผื่นคล้ายสิว และยาอาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้ อาจเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงมากได้ เช่น กดไขกระดูก หรือภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น          ส่วนตัวสุดท้าย tretinoin เป็นสารในกลุ่มวิตามินเอ ทางการแพทย์จะใช้เป็นยารักษาสิว แต่มีข้อควรระวังที่น่ากลัวคือ ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะตัวยาอาจดูดซึมเข้าสู่ทารก จนร่างกายทารกอาจพิการได้ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จึงเป็นยา ซึ่งผู้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องนำมาขอขึ้นทะเบียนตำรับยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายได้ และต้องจำหน่ายในร้านขายยาเท่านั้น แต่ยานี้กลับจำหน่ายทางออนไลน์ให้สั่งซื้อได้อย่างง่ายๆ เมื่อนักศึกษาได้ลองสั่งซื้อ ก็ได้รับสินค้ามาอย่างรวดเร็ว นักศึกษาได้ร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และแจ้งไปที่เว็บจำหน่ายสินค้าดังกล่าวด้วย          ปรากฏว่าทั้งสองแห่งต่างก็ตอบว่าได้รับเรื่องแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือนผมลองเข้าไปดูก็ยัง พบการโฆษณาในเว็บอยู่ เพียงแต่ขึ้นข้อความว่าสินค้าหมด ใครนิยมสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ก็ระวังด้วยนะครับ การจำหน่ายยาทางนี้ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำให้เราเสี่ยงต่ออันตรายอีกด้วย ถ้าใครเจอ ช่วยๆ กันเตือนและช่วยๆ กันร้องทุกข์ด้วยนะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2562

ไทยออกกฎหมายบังคับใช้ 'ซองบุหรี่แบบเรียบ' ชาติแรกในเอเชียตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับหีบห่อผลิตภัณฑ์ยาสูบ และผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิกาแรต พ.ศ. 2561 หรือ ประกาศซองบุหรี่แบบเรียบ ภายใต้ พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 12 ก.ย.62ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิควบคุมยาสูบ และที่ปรึกษากรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่ 11 ของโลกที่ออกมาตรการนี้ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ปฏิบัติเพื่อป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายนี้ตั้งแต่ปี 2555 ทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของชาวออสซี่ลดลง 0.2% ต่อปี ซึ่งหากมาตรการซองบุหรี่แบบเรียบส่งผลในประเทศไทยเช่นเดียวกับออสเตรเลีย คาดว่าจะสามารถลดคนสูบบุหรี่ในประเทศได้ถึง 111,794 คนต่อปี จากคนสูบบุหรี่ซอง 5.9 ล้านคน 222 องค์กรผู้บริโภค ค้าน กม.จัดตั้งสภาผู้บริโภค ฉบับกฤษฎีกา 9 ม.ค.62 ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 222 องค์กร ยื่นหนังสือต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรียกร้องให้ยุติการพิจารณากฎหมาย ร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. .... โดยให้เหตุผลว่าร่างกฎหมายดังกล่าวอาจทำให้เกิดองค์กรที่ไม่มีความเป็นเอกภาพ และอาจถูกแทรกแซงได้ง่าย ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในกระบวนการจัดทำ โดยเสนอให้ใช้ ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นฉบับที่ร่างโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งในการพิจารณาร่างกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 46 ต้องมีสัดส่วนของภาคประชาชนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของคณะกรรมการพิจารณากฎหมายศาลสตูลสั่ง “เพิร์ลลี่” จ่ายค่าเสียหายกว่า 10 ล้านบาทจากกรณีผู้เสียหายเนื่องจากการใช้โลชั่นทาผิว ยี่ห้อ เพิร์ลลี่ แล้วเกิดอาการผิวหนังแตกลาย ทำให้นำไปสู่การตรวจสอบและดำเนินคดีแบบกลุ่มกับบริษัทผู้ผลิตนั้น เมื่อ 27 ธ.ค.61 ศาลจังหวัดสตูลได้พิพากษาให้จำเลยคือ ผู้ผลิตโลชั่นทาผิว ‘เพิร์ลลี่’ จ่ายค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์และสมาชิกกลุ่ม รวมเป็นค่าเสียหายประมาณ 10 ล้านบาท และอาจมากขึ้นหากมีผู้เสียหายเข้าชื่อเพิ่มเติม         นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้บริษัทระงับการจำหน่ายและออกประกาศรับคืนสินค้าที่มีปัญหาจากผู้บริโภค รวมทั้งเรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่ายและทำลายทิ้ง โดยจำเลยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดอย. เสนอ รพ.จับมือ ร้านยา ช่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก ลดความแออัดเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวอภิปรายในงานเสวนาเรื่อง "แนวทางการส่งยาทางไปรษณีย์ในโรงพยาบาลรัฐที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร" จัดโดยแพทยสภา เมื่อวันที่ 24 ธ.ค.61 ว่า อย.ตีความถึงการจัดส่งยาให้ผู้ป่วยเพื่อลดความแออัดจากการรอรับยา ไม่จัดเป็นการ "ขายยา" ตาม พ.ร.บ.ยาฯ ซึ่งการดำเนินการจัดส่งทางไปรษณีย์ก็เป็นไปภายใต้ความรับผิดชอบของสถานพยาบาลนั้นๆ โดยก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยานั้นจะต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ การประเมินจากทีมสหวิชาชีพ และเภสัชกรจะเป็นผู้ให้คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยาอย่างละเอียด นอกจากนี้ อาจนำ "ร้านยา" เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริการ โดยใช้ระบบออนไลน์เข้ามาช่วยตรวจสอบ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลารอรับยาจากห้องยา และยังคงได้รับการดูแลจากเภสัชกรเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสมเช่นเดิม โดยการวางระบบจะพิจารณาถึงประเด็นของความถูกต้องสอดคล้องตามกฎหมาย ความถูกต้องของยา ประสิทธิภาพยาในส่วนกระบวนการจัดเก็บและขนส่ง รวมถึงความเหมาะสมของปริมาณยาที่อยู่ในมือผู้ป่วยผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเกิน ขอเงินคืนได้ภายใน 1 ปีเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคมได้ทำหนังสือถึงผู้ประกันตนเพื่อแจ้งให้ทราบถึงจำนวนเงินสมทบที่ชำระไว้เกิน ในปี 2561 จำนวน 60,409 ราย เพื่อแจ้งให้ผู้ประกันตนที่ต้องการรับเงินส่วนเกินคืนทราบ โดยขอให้ผู้ประกันตนกรอกข้อความและลงนามในคำขอรับเงินคืน พร้อมแนบหลักฐานรายละเอียดเงินสมทบส่วนที่เกิน สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งไปรษณีย์ถึงสำนักงานประกันสังคมทั้งนี้ หากผู้ประกันตนไม่ได้ยื่นคำขอภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่นำส่งเงินสมทบ เงินจำนวนดังกล่าวจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม จึงขอให้ผู้ประกันตนตรวจสอบและรักษาสิทธิของตนเอง โดยสอบถามที่สายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชม.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 212 ตรวจเลข อย.

              ฉบับนี้ขอแนะนำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และสินค้าด้วยการสังเกตสัญลักษณ์ อย. อย. คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีหน้าที่กำกับและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน โดยจะคุ้มครองดูแล 6 ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ อาหาร ยา เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เครื่องมือแพทย์ และวัตถุเสพติดทางการแพทย์ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องมี อย. กำกับอยู่ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีเครื่องหมาย อย. แต่ต้องมีเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนกำกับยาบนผลิตภัณฑ์การตรวจสอบเครื่องหมาย อย. หรือเลขที่จดแจ้งหรือทะเบียนกำกับยาบนผลิตภัณฑ์ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานและมีการตรวจสอบอยู่สม่ำเสมอ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ทำแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “อย. ตรวจเลข” โดยหน้าแรกของแอปพลิเคชันจะปรากฏช่องสำหรับพิมพ์หมายเลขค้นหา เพื่อตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือถ่ายรูปบริเวณสัญลักษณ์ อย. หรือใช้ระบบเสียงในการตรวจสอบหมายเลขได้ด้วย เมื่อใส่หมายเลขที่ต้องการตรวจสอบ ข้อมูลและรายละเอียดของผลิตภัณฑ์นั้นจะปรากฏขึ้น ได้แก่ สถานะปัจจุบันของผลิตภัณฑ์  ประเภทของผลิตภัณฑ์  เลขที่อนุญาต  ชื่อผลิตภัณฑ์  ชื่อผู้รับอนุญาต  สถานที่ผลิต  และที่อยู่สถานที่ผลิตภายในแอปพลิเคชันยังมีหมวดแจ้งเรื่องร้องเรียน กรณีที่ต้องการร้องเรียนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขนอกจากแอปพลิเคชัน “อย. ตรวจเลข” แล้ว ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบเลขผ่านหน้าเว็บไซต์ http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx  หรือค้นหาด้วยคำว่า ตรวจสอบ อย. ซึ่งทั้งรูปแบบแอปพลิเคชันและหน้าเว็บไซต์ถือว่ามีประโยชน์กับผู้บริโภคมากถ้าอยากทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่มีมาตรฐานหรือผ่านการตรวจสอบหรือไม่ ลองเข้าไปตรวจสอบเลขผลิตภัณฑ์ได้เลยนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 211 ร่าง พ.ร.บ.ยา ที่ขัดหลักสากล

ในโอกาส 40 ปี แห่งการก่อตั้งกลุ่มศึกษาปัญหายา(กศย.) ฉลาดซื้อได้สัมภาษณ์ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์  หรืออาจารย์จิ ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา(กศย.) คนที่ 3 และรองประธานมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน เคยถูกเรียกว่า “อาจารย์นอกคอก” อาจารย์จิเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง กศย. กลุ่มงานเล็กๆ ที่ร่วมปฏิบัติการทางสังคมในประเด็นปัญหายามาอย่างยาวนาน  ถึงมุมมองของท่าน ต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ว่า เรื่องนี้จะมีผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างไรบ้าง   ปัญหาของร่าง พ.ร.บ. ยาขณะนี้คือ “ คือประเด็นของร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับนี้นั้น จริงๆ มันไม่ได้เพิ่งเกิด ก็มีความพยายามมานานมาก เพราะว่าเป็น พ.ร.บ. ที่เก่ามาก ตั้งแต่ปี 2510 จนกระทั่งมาปี 2557 ในปีนั้นได้มีการพูดคุยเวทีมากมายในการที่จะพยายามสรุปประเด็นที่ภาคส่วนต่างๆ นั้นยอมรับได้ระดับหนึ่งของ พ.ร.บ. ยา  ต้องเข้าใจว่า พ.ร.บ.ยา นั้นเป็นเหมือนเครื่องมือในการควบคุมดูแล ไม่ว่าจะผลิตยา ขายยา นำเข้า และการใช้งาน เพราะฉะนั้นตรงนั้น ผู้บริโภคเองก็มีส่วน ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ ก็อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ผู้ประกอบวิชาชีพหลักของการดูแลตาม พ.ร.บ.นี้นั้นก็คือวิชาชีพเภสัชกรรม พอหลังจากปี 57 ได้ข้อสรุปในส่วนที่เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า มีผลดีต่อการที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นจะได้รับยาอย่างปลอดภัยและมีการใช้อย่างปลอดภัยก็คือ ในเรื่องการของ กระบวนการขึ้นทะเบียนยา เราก็บอกว่า อย่างน้อยๆ เรามีปัญหาในการเข้าถึง เพราะราคามันแพงมาก เพราะฉะนั้นน่าที่จะใช้กลไกในเรื่องของมีการควบคุมราคาตั้งแต่ตอนที่เขาจะมาขายในประเทศเรา ก็คือมาขึ้นทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการเสนอโครงสร้างราคา หรือในรูปของการที่ต้องต่อรองราคาให้มันเหมาะสม ว่าคุณจะเริ่มมาขายในประเทศนี้นั้น คุณจะขายในราคาเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นตรงนั้นก็จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเข้าถึง ส่วนในกลไกในเรื่องของ ความปลอดภัยและความมั่นคงทางยา นั้นก็คือว่า เราจะเห็นเลยว่า ถ้าในเรื่องของราคาที่เมื่อกี้พูดถึงนั้น ถ้าสมมติปัจจุบันนี้ยามันมีสิทธิบัตร เขาจะตั้งราคาแพงมาก เพราะว่ามันไม่มีตัวเปรียบเทียบ มีการผูกขาดเจ้าเดียว เราถึงเรียกร้องว่า ต้องมีโครงสร้างราคาหรือมีกลไกการต่อรองเพื่อให้มันเหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ และก็ต่อมานั้นเราจะเห็นชัดว่าถ้าอย่างนี้ เราต้องพึ่งยานำเข้าอยู่ตลอดนี่มันก็จะเป็นปัญหาความมั่นคงของระบบยาในประเทศ เพราะฉะนั้นการที่ต้องทำให้อุตสาหกรรมในประเทศนั้นพึงตนเองได้ และสามารถที่จะพัฒนาในเรื่องของอุตสาหกรรมยาได้เพื่อสามารถที่จะผลิตยาชื่อสามัญออกมาในเวลาที่เหมาะสมหลังจากยาหมดอายุสิทธิบัตร ถูกไหม เพราะฉะนั้นเขา(บริษัทยาในประเทศ) ต้องมีการเตรียมตัวไง เพราะว่าในการทำยาชื่อสามัญนั้นไม่ได้หมายความว่าพอหมดสิทธิบัตรปั๊บ รู้ว่าหมดปั๊บจะเอามาขายได้เลย เพราะมันต้องมีกระบวนการในการวิจัยพัฒนา มีกระบวนการในการมาขึ้นทะเบียนยา ถ้าเขารู้ข้อมูลว่า ยาแต่ละตัวที่มาขายในประเทศไทยนั้น มีสิทธิบัตรหรือเปล่า ในประเทศไทย สิทธิบัตรนั้นมันจะหมดอายุเมื่อไหร่ คือว่าเราต้องการที่จะให้มีการแจ้งบอกข้อมูลสถานะสิทธิบัตรของยา เพราะยาบางตัวอาจมีสิทธิบัตรหลายใบ สิทธิบัตรแต่ละใบมันมีเวลาไม่เท่ากันเวลาที่มันไม่เท่ากัน คือเวลาที่มันต่างกัน เพราะเวลาที่มาขอในช่วงต่างกัน แม้ว่าเป็น 20 ปีนับจากวันยื่นคำขอ นึกออกไหม แต่ถามว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลจำเป็นไหม ลองคิดดูสมมติว่าตามหลักการทั่วไปก็คือเวลาที่เขามาจดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์มันต้องมีข้อมูลฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศ แต่ข้อมูลฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศไทยนั้นมันบกพร่องมาก มันไม่สามารถที่จะค้นได้ มันไม่ได้สามารถหาได้ เพราะฉะนั้นมีหลายๆ ประเทศเลย เขามีกลไกที่ชัดเจนของกระบวนการในการขึ้นทะเบียนยาว่า คุณต้องให้ข้อมูลสิทธิบัตรนี้ ถ้าคุณให้ข้อมูลนี้มันก็เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมด้วย เพราะอุตสาหกรรมนั้นเขาก็สามารถที่จะรู้ว่า มียาตัวนี้นะ มันจะหมดสิทธิบัตรในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องเริ่มวิจัยแล้ว พอวิจัยเสร็จเขาก็ต้องเริ่มกระบวนการที่จะไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยา เพราะฉะนั้นพอยาหมดสิทธิบัตรปั๊บเขาก็ออกตลาดได้ในเวลาที่ไม่ช้า พอมียาชื่อสามัญออกราคามันก็ไม่ผูกขาดแล้ว มันก็มีการลดราคากัน และถ้ามีการแข่งขันกัน กลไกตลาดมันก็จะได้ทำงาน ในที่ประชุมตอนปี 57 นั้น เขาตกลงกันชัดเจนว่าต้องแจ้งข้อมูลสิทธิบัตร สิทธิบัตรต้องมีข้อมูลเรื่องโครงสร้างราคายา แต่ปรากฏว่าฉบับร่างปัจจุบัน ที่เขาเอามารับฟังความเห็นล่าสุดเลย ที่ขึ้นในเว็บไซต์ของ law moment ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐทั้งหลายที่จะเสนอกฎหมาย ปรากฏว่าเราไม่เห็นเรื่องโครงสร้างราคา เรื่องนี้ถูกเอาออก ทำไมถึงเอาออกไป ที่เคยตกลงตอนปี 57 พอมีเปลี่ยนรัฐบาล มันมีเรื่องการเมือง กฎหมายมันก็เลยยังไม่ได้นำเสนอข้อนั้น ข้อดีๆ ข้อหนึ่งที่ผู้บริโภคควรได้กลับไม่ได้เสียแล้ว มันหายไป ประเด็นที่สองก็คือว่า ตอนนั้นตกลงกันว่าอายุทะเบียนยานั้นจะเป็น 5 ปี เพราะว่าของเดิมนั้นมันไม่มีอายุ มันไม่มีอายุมันแย่มาก ถูกไหม เพราะว่ายาที่ไม่ดี ยาเก่า ยาที่มันมีผลข้างเคียงเยอะแยะมันก็ไม่ออกจากตลาดสักที การที่มันไม่ออกจากตลาดนั้นเป็นเพราะเราไม่มีกลไก หรือว่ากลไกเรานี้มันทำงานไม่ดี กลไกที่ว่ามันคือ กลไกการทบทวนตำรับยากับในเรื่องของอายุทะเบียน คือสองอันนี้เชื่อมโยงกัน คือถ้ามันมีอายุทะเบียนตำรับยามันก็จะทำให้เกิดการทบทวนทะเบียนตำรับ และถ้าเขียนให้ชัดว่าต้องมีกระบวนการในการทบทวนทะเบียนตำรับ มันก็เป็นการบังคับให้การมีอายุหรือใกล้หมดอายุนั้น ก่อนให้ใบอนุญาตใหม่ต้องทบทวน ไม่ใช่ให้โดยอัตโนมัติ เพราะว่าถ้าเราไม่มีกลไกการทบทวน พอถึงหมดอายุ 5 ปี มาเสียเงินต่อละ มันก็ต่อได้ เพราะฉะนั้นตรงนั้นไม่เห็น มันหายไป ไม่เห็นชัดเจน และที่เคยคุยกันแค่ 5 ปีพอ มาเป็น 7 ปี ขยายเป็น 7 ปี ซึ่งอาจจะอ้างว่า เป็นเพราะอาจทำให้เกิดภาระงานหรืออะไร ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้เป็นประเด็นที่เป็นหลัก 5 หรือ 7 ปี ก็ขอให้มีทบทวนก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย อันนี้คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคที่ชัดเจน  ผลกระทบกับผู้บริโภคที่มีแน่ๆ คือเรื่องการโฆษณายาใช่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คิดว่ากระทบมากต่อผู้บริโภค คือ เราจะเห็นว่าตอนนี้ ผู้บริโภคถูกหลอกจากการโฆษณาการส่งเสริมการขายยานี่เยอะมาก แม้ว่ายาเองจะบอกว่า ยาเองมันมีประเภทของมัน ถ้าเป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษจะโฆษณาไม่ได้ แต่เราก็เห็นเขาทำกัน มีทั้งการเลี่ยง การส่งเสริมการขายด้วยวิธีการต่างๆ ปรากฏว่าในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ก็เขียนว่าต่อไปการโฆษณา ซึ่งเดิม ต้องยอมรับว่าของเดิมมันดีอยู่แล้ว ที่ว่าการโฆษณานั้นต้องมาขออนุญาต กฎหมายใหม่เขาก็เปิดช่องว่า ขออนุญาตก็ได้หรือจดแจ้งก็ได้ จดแจ้งหมายถึงว่าไม่ต้องขออนุญาต คุณเพียงบอกว่า คุณจะโฆษณาข้อความแบบนี้แล้วคุณก็ไปโฆษณาได้เลย แล้วเขาค่อยไปตามหาจับ ถ้าสมมติว่าผิด กว่าจะจัดการปัญหาการโฆษณาได้ โอ้ย..ชาวบ้านติดไปตั้งเยอะแล้ว มันฝังในความคิดผู้บริโภคไปแล้ว เพราะฉะนั้นมันไม่มีประโยชน์ มันทำให้กระบวนการที่ดูแลตรงนี้มันลดลง เพราะฉะนั้นนี่คือหัวใจหลักๆ เลย 3-4 ข้อที่มันมีผลต่อผู้บริโภคมาก อย่างอื่นๆ นั้น ก็คือในเรื่องของหลักการทั่วไป ในเรื่องของยานั้น ยามันไม่ใช่สินค้าทั่วไป ยานั้นมันเกิดจากการที่หมอต้องสั่งจ่ายยาให้เรา แต่ว่าถ้าเราไม่มีกลไกในการถ่วงดุล หมออาจจะสั่งยาที่อาจจะมีผลเนื่องมาจากการส่งเสริมการขาย อาจจะมีผลเนื่องมาจากอะไรไม่รู้ ก็สั่งยาโดยที่ว่ามันอาจจะมีปัญหา ไม่ว่าเรื่องของราคาแพง หรือมันอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องของยาตีกัน หรือปัญหาที่คนไข้อาจจะแพ้แล้วไม่ได้บอกหรืออะไรก็ตามเหล่านี้ เพราะฉะนั้นโดยหลักสากลเลยเขาถึงมีวิชาชีพเภสัชกรรมขึ้นมา มีเภสัชที่คอยดูแลเพราะมันคือการทำงานในการถ่วงดุลกัน คนหนึ่งเขียนใบสั่ง อีกคนหนึ่งนั้นเมื่อรับใบสั่งมาก็เป็นคนจ่ายจัดยารับผิดชอบในเรื่องยา เพราะฉะนั้น คนจ่ายก็ต้องดูว่าคนไข้เคยได้รับยาอะไรมาแล้วบ้าง ถ้าได้ยานี้นั้นจะมีปัญหายาตีกันไหม หรือมีปัญหากับอาหารการกินจะได้แนะนำคนไข้ได้ ถูกไหมคะ เพราะหมอเขามีความชำนาญในของเรื่องการวินิจฉัยการรักษา เภสัชนั้นชำนาญในเรื่องของยา และเราจะเห็นเลยว่าเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันเร็วมาก ยาก็ออกมาใหม่ๆ เร็วมาก เพราะฉะนั้นแค่ตามเรื่องยาก็จะไม่ทันเทคโนโลยีแล้ว ให้หมอตามทำทุกอย่างเบ็ดเสร็จในตัวเองนั้นมันก็จะมีปัญหาได้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ยาในทุกประเทศนั้น เขาก็จะมีหลักการที่ชัดเจนของการแยกอำนาจในการดูแลว่าคนที่สั่งนั้นก็จะไม่จ่าย นึกออกไหม คนที่สั่งจะไม่จ่าย มันชัดเจน ประเด็นของร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ หลักการเรื่องถ่วงดุลนี้ไม่เห็น ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะเขาแบ่งยาเป็น 4 ประเภท ประเภทแรกนั้นก็คือยาควบคุมพิเศษ คือยาควบคุมใบสั่ง เป็นยาที่มันอาจจะมีผลอย่างที่เมื่อกี้อาจารย์เล่า ยาตีกันบ้าง ยาที่มันอาจจะเพิ่งใช้ใหม่ๆ มันยังไม่มีข้อมูลมากพอ มันจำเป็นต้องควบคุมการใช้อย่างเคร่งครัด อันนี้ก็คือยาที่หมอสั่งแล้วก็ให้เภสัชนั้นจ่ายตามใบสั่งยา ประเภทที่สองคือยาอันตราย ยาอันตรายนั้น คือยาที่มันไม่ได้อันตรายเท่ายาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่ใช้มานานพอควรระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ให้เภสัชจ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ กับประเภทที่สามคือ ยาสามัญ เป็นยาทั่วไปที่มันใช้มานานค่อนข้างปลอดภัยแล้ว ชาวบ้านก็ซื้อใช้เองได้ รู้พอควร และก็มีขนาดของรูปแบบของยาที่ชัดเจน เช่น พาราเซตามอลก็เป็นแพ็คแค่ 10 เม็ด ไม่ใช่ให้ขายทั้งขวด ถ้าทั้งขวดก็ต้องเป็นยาอันตราย ถูกไหมคะ เพราะไม่งั้นคนไข้ก็เอาไปกรอกทีละ 50 เม็ด มันก็เป็นอันตราย คือยาทุกตัวก็เป็นยาอันตราย แต่ว่ารูปแบบของการที่จะทำให้เป็นยาสามัญที่คนไข้เข้าถึงได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งบุคลากรสาธารณสุขนั้น มันมีวิธีการจัดการได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของแพ็คจะเป็นยังไง(เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้เกินขนาด) หรือว่าคำแนะนำเหล่านี้มันก็จะประกอบอยู่ในกลุ่มของยาสามัญ แต่ใน ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับนี้มียาประเภทที่สี่ คือ ยาที่ไม่ใช่ยาควบคุมพิเศษ ไม่ใช่ยาอันตราย แต่ไม่รู้ยาอะไร ซึ่งประเภทนี้ไปเปิดให้บุคลากรอื่นๆ สามารถจ่ายยาได้ แปลว่าอะไร จะให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เยอะอีกหนึ่งกลุ่ม เพื่อให้บุคลากรอีกเยอะแยะเลย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการแพทย์อีกตั้งหลายสาขาเยอะแยะ พยาบาลก็มีเยอะแยะในการจ่าย ซึ่งมันก็จะไม่ถูกมันไม่ได้ใช้หลักการของการที่จะดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้ยาให้มีการถ่วงดุลของอำนาจในการที่จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมกลุ่มเภสัชทั้งหลายรวมทั้งสถาบันการศึกษาทั้งหลายถึงจะออกมาคัดค้าน แล้วถ้าจำเป็น คือหลายคนก็บอกว่าบ้านเรานี่แบ่งให้มันชัดแบบนี้ หมอนี่จ่ายยานั้นไม่ได้ จะไปหาเภสัชอยู่ในคลินิกได้ทุกคลินิกหรือเปล่า จะอะไรหรือเปล่า อันนี้มันเป็นข้อยกเว้นว่า โอเค สถานการณ์ในบางสถานการณ์นั้นในบริบทของยาบางประเภท ถ้ายังไม่พร้อมคุณก็มาเขียนระบุไปสิว่าให้มีการยกเว้น แต่หลักนี้มันต้องยึดหลักไว้ก่อนแล้วมายกเว้น การยกเว้นต้องมีเงื่อนไข นึกออกไหม ยกเว้นให้หมอจ่ายยานั้น หรือให้จ่ายยาได้ในกรณี... ไม่ใช่เฉพาะสั่งเท่านั้น เช่น จ่ายยาได้ในกรณีที่ถ้าพื้นที่นั้นไม่มีร้านขายในอาณาเขตสักกี่กิโลก็ว่าไป อะไรก็ว่าไป มันก็จะเป็นข้อยกเว้น ถ้าสมมุติเงื่อนไขนั้นมันหมดไปมันเข้าสู่ระบบ โอเค มันก็มีใบสั่งไปที่ร้านยา ไม่งั้นใบสั่งมันก็ไม่ไป ฉะนั้นต้องมีใบสั่ง ต้องให้เภสัชอยู่ประจำ แล้วคุณไม่มีใบสั่งไป คือไม่รู้ว่าอะไรแก้ปัญหาอะไร เพราะว่าหลักของมันไม่ชัดเจนเท่านั้นแหละ อันนี้คือประเด็น  ดูเหมือนมีปัญหาพัวพันกันไปเรื่อยๆ ใช่ มันก็พัวพันกันไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่มีใบสั่งยา ยาขายง่าย ใช้คล่อง ก็อย่างนี้แหละ เพราะว่ามันไม่ยึดหลักไง ถ้ายึดหลักแล้วค่อยๆ แก้ปัญหาของการขาดแคลน พอแก้ปัญหา โอเค พื้นที่นี้ไม่มีร้านยาเพราะมันอยู่ไกลกันมาก ร้านยายังไม่ไปเปิดหรอก โอเคก็เป็นข้อยกเว้นไป ในคลินิกเอกชนคุณจะไม่มีเภสัชไปอยู่ หรือจ่ายโดยหมอคนเดียวก็โอเครับสภาพไป แต่ถ้ามันมีร้านยาคุณจะมาขายเองสั่งเองอย่างนี้ทำไม แล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปชาร์ตค่ายาแพงมากขึ้นไปอีกไหม เหมือนโรงพยาบาลเอกชนทั้งหลาย มันไม่รู้เลยว่าเป็นค่ารักษาหรือค่ายา  จากการทักท้วงของหลายฝ่าย ล่าสุดคือพอมีเสียงค้านออกมาเยอะ อย. ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในกฎหมายนี้เขาก็นัดประชุม นัดประชุมในเรื่องของวิชาชีพเภสัช และก็กับคณะเภสัชศาสตร์ต่างๆ  และก็ผู้คัดค้านทั้งหลาย สรุปว่าจะมีการแก้ในประเด็นว่ากลุ่มยาเขาจะเหลือแค่ 3 กลุ่ม คือ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตรายและยาสามัญ            ก็เป็นข้อที่ดีขึ้น แต่ยังไม่รับปากเรื่องโครงสร้างราคา ไม่พูดถึงเรื่องการแก้โครงสร้างราคา เรื่องของการโฆษณาเอาจดแจ้งออก ทาง อย. ยอมแก้ ประเด็นที่สองอันนั้นยอมแก้ เรื่องของข้อยกเว้น ก็ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้น เป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมายเลย แล้วไม่มีเงื่อนไขว่าจะเมื่อไหร่ นึกออกไหมว่าจะให้หมอ ให้ทันตแพทย์ สัตวแพทย์  ที่สามารถจ่ายยาได้โดยที่ไม่มีเงื่อนไขเลย พวกนี้จ่ายยาได้โดยไม่มีข้อบังคับอะไร แต่เรื่องที่จะเปิดให้วิชาชีพอื่นๆ นี้จ่ายยาได้นั้นถูกตัดออก เพราะยาประเภทสี่มันถูกตัดออกไปแล้ว  สามหรือสี่จำไม่ได้ มี แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ 3 แพทย์ เป็นข้อยกเว้นได้ แต่ว่าพยาบาลไม่ได้ แต่ว่ามันไม่มีเงื่อนไข ถ้าสมมุติเรายึดหลักถ่วงดุลมันต้องมีเงื่อนไขว่าจ่ายได้กรณีไหนได้บ้าง นี่มันจ่ายได้ตลอดในคลินิกของตัวเอง เพราะฉะนั้นมันก็ยากที่จะแก้ปัญหา  คนทั่วไปเขาจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เรากังวลก็คือเมื่อเกิดความไม่รอบคอบในกระบวนการทำกฎหมาย มันก็จะเป็นกฎหมายไม่ดีออกมา แม้ว่ามันจะมีข้อดีกว่าฉบับที่แล้ว แต่ว่ามันก็ยังไม่ได้แก้ในหลักการใหญ่ๆ หรือว่ามันก็ไม่ได้รองรับสถานการณ์ปัจจุบันที่เรามีการขายยาออนไลน์ มันจะมีกติกายังไงในการที่จะไม่ให้มีการขายออนไลน์หรือให้ขายออนไลน์แล้วผู้บริโภคปลอดภัย ถูกไหม มันไม่มีเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตาม และพยายามที่จะรักษาสิทธิของตัวเองในการที่จะรัฐเองต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยของเขา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 211 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2561แกร็บเตือนภัยอาชญากรแอบอ้างให้บริการ แนะเรียกใช้ผ่านแอปพลิเคชัน        จากเหตุการณ์บุคคลมีประวัติอาชญากรรม หลบหนีหมายจับคดีข่มขืน แอบอ้างเป็นคนขับแกร็บคาร์ ก่อเหตุล่อลวงผู้โดยสาร เมื่อ 19 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยใช้วิธีนัดแนะเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายผ่านมือถือ โดยไม่ติดต่อผ่านแอปพลิเคชันของแกร็บคาร์ ทำให้ไม่สามารถติดตามสถานะการเดินทางหรือขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากแอปฯ ได้       บริษัท เเกร็บ ประเทศไทย ได้ออกมาย้ำถึงมาตรการความปลอดภัย ขอให้ผู้โดยสารทุกท่านเรียกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ขับขี่ หรือตกลงการเดินทางโดยไม่ผ่านแอปพลิเคชัน ก่อนขึ้นรถควรตรวจสอบใบหน้าคนขับและทะเบียนรถว่าตรงกับระบบหรือไม่ และเมื่อขึ้นโดยสารรถแล้วให้กดใช้ฟีเจอร์ Share My Ride เพื่อส่งแชร์ข้อมูลการเดินทางเป็นลิงก์ข้อความไปยังคนที่ห่วงใย ก็จะสามารถติดตามตำแหน่งรถโดยสารแบบเรียลไทม์เพื่อดูได้ว่าถึงไหนแล้ว หรือหากรู้สึกว่ามีสถานการณ์ไม่ปลอดภัยก็สามารถกดใช้ปุ่มฉุกเฉินบนแอปพลิเคชันได้ทันทีกรมสุขภาพจิต เผยคนไทยคิดสั้นชม.ละ 6 คน        นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าวว่า แต่ละปีมีผู้พยายามทำร้ายตัวเองเพื่อฆ่าตัวตายประมาณ 53,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน โดยในปี 2559 มีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จจำนวน 4,131 คน เป็นชายมากกว่าผู้หญิง 4 เท่าตัว อายุต่ำสุด 10 ปี สูงสุด 100 ปี ส่วนใหญ่เป็นโสด ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจปีละกว่า 400 ล้านบาท        สาเหตุที่มักพบมาจาก 5 เรื่อง คือ ความสัมพันธ์บุคคล สุรา ยาเสพติด สังคม และเศรษฐกิจ ในผู้ชายมักมีปัจจัยความเสี่ยงจากปัญหาโรคทางจิต ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด โดยเฉพาะการดื่มสุรามากขึ้นจะมีโอกาสลงมือทำร้ายตัวเองมากกว่าผู้หญิงที่มีปัญหาถึง 2 เท่า ส่วนในผู้หญิงมักมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ได้แก่ น้อยใจ ถูกตำหนิดุด่า ผิดหวังความรัก        ด้าน นพ. ณัฐกร จำปาทอง ผอ.โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กรมสุขภาพจิตกล่าวว่า การพยายามฆ่าตัวตาย เป็นตัวบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นไม่สามารถหาทางออกได้ในสถานการณ์ที่กดดันทางอารมณ์อย่างรุนแรง   จำเป็นต้องเข้าไปให้การช่วยเหลือ   จึงขอให้ญาติหรือผู้ที่ดูแลผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายแล้วแต่ไม่สำเร็จ ซึ่งมีปีละกว่า 48,000 คน ไม่ว่าจะรู้สึกโกรธหรือผิดหวังในตัวผู้กระทำแค่ไหนก็ตาม ควรให้อภัย หลีกเลี่ยงการตำหนิหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง  ขอให้เข้าไปพูดคุยซักถามถึงความคิดฆ่าตัวตาย ด้วยท่าทีที่อ่อนโยน จริงใจ จะช่วยผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายคลายความกังวล รู้สึกผ่อนคลายและเข้าใจตัวเองดีขึ้น จะเป็นการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำได้ จากการศึกษาของกรมสุขภาพจิตพบว่าจะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้มากถึงปีละ 400 คนร้องศาลปกครองเพิกถอนประกาศ อย. เรื่องถ่ายโอนภารกิจตรวจสินค้าเกษตรนำเข้าให้ ก.เกษตรฯ เกรงไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค        10 ก.ย. 61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ร่วมกันฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กรณีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศ เรื่อง การถ่ายโอนภารกิจให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจสอบการนำเข้าสินค้าอาหาร ซึ่งเห็นว่า ขั้นตอนการออกประกาศดังกล่าว เป็นการดำเนินการโดยปราศจากอำนาจและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคโดยรวม โดยการฟ้องคดี ได้ร้องขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนประกาศฯ และสั่งให้ยุติการถ่ายโอนภารกิจดังกล่าว        นางสาวบุญยืน ศิริธรรม นายกสมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค กล่าวว่า "หลังจากที่มีการออกประกาศฉบับดังกล่าว ไทยมีการนำเข้าปลาตาเดียว(ฮิราเมะ) จากจังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่ ที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีจากภัยพิบัติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว โดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำเพียงการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่มีการเก็บตัวอย่างปลาไว้ตรวจสอบในห้องปฏิบัติการแต่อย่างใด และปัดให้ อย.ไปตรวจสอบหากมีปัญหา เมื่อสินค้าออกสู่ตลาดแล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ขั้นตอนการตรวจสอบและการคุ้มครองผู้บริโภคถูกลดทอนอย่างชัดเจนเมื่อมีการถ่ายโอนภารกิจ"        นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล อนุกรรมการด้านอาหารฯ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน กล่าวว่า "หากสินค้านำเข้าที่ไม่ปลอดภัยแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแก้ปัญหา การถ่ายโอนภารกิจรังแต่จะสร้างความสับสนในการทำงานระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง สุดท้ายผลกระทบก็จะมาตกอยู่กับประชาชน"บทบาทองค์กรผู้บริโภคกับรถโดยสารสาธารณะ        มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ วันที่ 6-7 ก.ย. 61 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค จัดเวทีสมัชชา ในหัวข้อ "บทบาทองค์กรผู้บริโภคกับรถโดยสารสาธารณะ" เพื่อเสนอประเด็นการขับเคลื่อนงานและมาตรการความสำคัญในการจัดการระบบรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัย         การบรรยายพิเศษ เรื่อง "อนาคตองค์กรผู้บริโภคกับงานด้านรถโดยสารปลอดภัย" และเวทีแลกเปลี่ยนในหัวข้อ "ความคาดหวังรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย ปี 2562นำเสนอสถิติอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ และรถรับส่งนักเรียน โดยชี้ให้เห็นถึงสาเหตุ และวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนและแนวทางการแก้ไข และยังมีการจัดสภาผู้บริโภค "เรื่องมาตรการสำคัญในการจัดการรถรับส่งนักเรียน" พร้อมบรรยายพิเศษ เรื่อง "อนาคตงานรถรับส่งนักเรียนปลอดภัย" ซึ่งมีข้อเสนอว่า ควรมีการกำหนดมาตรฐานรถรับส่งนักเรียน โดยให้โรงเรียนและองค์กรปกครองส่วนท้อนถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องการเดินทางของนักเรียน โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับตัวรถให้มีความปลอดภัยและสอดคล้องกับสภาพสังคม จากนั้นเน้นเรื่องการเข้าถึงสภาพปัญหาจริงของแต่ละพื้นที่สปสช.หนุนมติ สธ.ห้ามใช้ 3 สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ข้อมูลระบบบัตรทอง 3 ปี พบผู้เสียชีวิต 1,715 ราย        เว็บไซต์ศูนย์ข่าว สปสช. รายงานว่า เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติห้ามใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ทั้งผู้ที่สัมผัสกับสารพิษทางตรงและทางอ้อมจากภาวะสารตกค้างตามธรรมชาตินั้น        จากข้อมูลการเข้ารับบริการภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทอง ได้มีรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยมีสาเหตุจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ในปี 2560 มีผู้ป่วยจำนวน 4,983 ราย เสียชีวิตจำนวน 582 ราย มีการเบิกจ่ายค่ารักษาจำนวน 22,651,053 บาท นอกจากนี้ เมื่อดูการเข้ารับบริการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแยกข้อมูลตามเขตบริการสุขภาพ 13 เขต พบว่า ปี 2561 เขต 1 เชียงใหม่ มีรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับบริการโดยมีสาเหตุจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด จำนวน 644 ราย รองลงมา คือ นครราชสีมา 454 ราย, ราชบุรี 433 ราย, พิษณุโลก 426 ราย และนครสวรรค์ 422 ราย        จากรายงานผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาโดยมีสาเหตุจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชนี้ เป็นเพียงข้อมูลเฉพาะในส่วนผู้ป่วยที่มีการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยตรง เฉลี่ยพบผู้ป่วยประมาณ 5,000 รายต่อปี ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ราว 22 ล้านบาทต่อปี โดยยังมีข้อมูลที่น่าตระหนก เนื่องจากมีผู้ป่วยจากสารกำจัดศัตรูพืชที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตขณะรักษาตัวในโรงพยาบาลช่วงปี 2559-2561 มีจำนวนสูงถึง 1,715 ราย หรือเฉลี่ยปีละเกือบ 600 ราย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 เหตุใดมีเลข อย.จึงยังอันตราย

ช่วงนี้เกิดคำถามสำคัญขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแล กฎหมายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ว่าเหตุใด สินค้ามี อย.ถึงยังเป็นอันตรายสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนมีความสับสนในส่วนของเครื่องหมายที่ สำนักงาน อย. นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภท รวมกับความเข้าใจผิดของคนกลุ่มใหญ่ว่า “เครื่องหมาย อย.” มีค่าเท่ากับ “ปลอดภัย” (ซึ่งการสื่อสารผิดพลาดนี้ต้องวิเคราะห์กันต่อไปว่ามาได้อย่างไร) เพราะความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  ความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  และในเรื่องของความสับสนจากเครื่องหมายที่ถูกนำมาใช้ ก็มีที่มาจากความไม่เข้าใจในสาระที่ถูกต้องของเครื่องหมายแต่ละประเภท ได้แก่   เครื่องหมาย อย. จะใช้กับอาหารเท่านั้น เรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่ง เลขสารบบอาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. หากเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะไม่มี เลข อย. แต่ฉลากต้องแสดง“เลขที่ใบรับแจ้ง” (เลขจดแจ้ง)โดยกำหนดให้เป็นเลข 10 หลัก เช่น 10-1-61xxxxx เป็นต้นขณะที่ ยา จะแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียนตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา(ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50 เป็นต้น ช่องโหว่จากความที่ผู้บริโภคทั่วไปไม่เข้าใจเรื่องนี้ ได้กลายเป็นจุดขายให้แม่ค้าพ่อค้าสินค้าสุขภาพลวงโลก เอาไปยำข้อมูลจนผู้บริโภคสับสน เช่น เอาเครื่องหมาย อย.ไปใส่ในฉลากเครื่องสำอาง  เอาเครื่องหมาย อย.ไปใช้ในตัวสินค้าที่เป็นแค่อาหาร แต่อ้างสรรพคุณในทางรักษา หรือไม่ก็ข้างในผลิตภัณฑ์เป็นยา แต่ระบุฉลากด้วยเครื่องหมาย อย.  และโฆษณาว่า “ผลิตภัณฑ์เรามี อย. ผลิตภัณฑ์เราปลอดภัย” จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า ทำไมมี อย.แล้วยังไม่ปลอดภัย ปรับความรู้กันใหม่ สู้ภัยสินค้าสุขภาพผิดกฎหมาย 1.เข้าใจให้ถูกต้องเรื่องเครื่องหมาย เลขสารบบอาหาร ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น และห้ามฉลากหรือโฆษณาบอกว่า รักษาหรือบำบัดโรค ส่วนฉลากเครื่องสำอาง ต้องไม่มีเลข อย. แต่มีเลขจดแจ้ง ระบุไว้ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้สามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า เป็นเครื่องหมายจริงหรือปลอม  2.ผลิตภัณฑ์ต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิตที่ชัดเจน จะได้ตรวจสอบได้ หาคนรับผิดชอบได้ หากเกิดปัญหา  3.เลิกเชื่อโฆษณาอวดอ้าง ผลลัพธ์มหัศจรรย์ทั้งหลาย  เพราะมันไม่เป็นจริง  4.หากใช้แล้วมีความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย ต้องหยุดใช้ทันที คำอ้างที่ว่า ขับพิษหรือรออีกสักพักจะดีขึ้น มันคือคำลวง  5.ติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัยสินค้า เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อสินค้าผิดกฎหมาย  6.เจอผลิตภัณฑ์เข้าข่ายผิดกฎหมาย แจ้งสายด่วน อย. 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th หรือต่างจังหวัดที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือแจ้งตำรวจ ปคบ. สายด่วน 1135 -----------------------------------สามารถติดตามการแจ้งเตือนภัยสินค้าได้ที่www.tumdee.org  ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์5 แพลตฟอร์มของ อย. facebook.com/fdathai twitter.com/fdathai Instagram.com/fdathai YouTube.com/fdathai Line@fdathai

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยา

หากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้ “ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจล้อมกรอบว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียตารางเปรียบเทียบผลทดสอบวัตถุกันเสียและสีผสมอาหารสังเคราะห์ในโรตีสายไหมสีสังเคราะห์ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122  ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133  มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)แป้งโรตีวัตถุกันเสียอนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมสีสังเคราะห์ INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก.(ใช้ร่วมกันต้องไม่เกิน 1 )สายไหม INS 102 , INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. (ใช้ร่วมกันต้องไม่เกิน 1 )ผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  • สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”----------------------------------------------------------------------------รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร----------------------------------------------------------------------------สีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 204 พ่อยุ่งลุงไม่ว่าง : แล้วใครจะปั้นวัวปั้นควายให้ลูกหลานเล่น?

จากอดีตจวบจนถึงปัจจุบัน สังคมไทยได้มอบหมายภารกิจให้ครอบครัวกลายเป็นสถาบันหลักและสถาบันแรกที่ทำหน้าที่อบรมบ่มเพาะดูแลเด็กและเยาวชน ด้วยเหตุผลเบื้องต้นก็เป็นเพราะว่า ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เด็กๆ ใช้ชีวิตอยู่ด้วยมากที่สุดก็หนีไม่พ้นในปริมณฑลของสถาบันครอบครัว เมื่อครอบครัวเป็นหน่วยที่ประกอบขึ้นด้วยพ่อแม่พี่น้อง ปู่ยาตายาย ลุงป้าน้าอา และเครือญาติอีกมากมาย สมาชิกที่ใกล้ชิดชีวิตของเยาวชนนี้เองที่ต้องมีภาระรับผิดชอบขับเคลื่อนชีวิตของเด็กๆ ให้เดินไปข้างหน้าตามที่สังคมคาดหวังไว้ แต่ทว่า คำถามจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมาชิกผู้ใหญ่ในบ้านไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวให้กับลูกๆ หลานๆ ได้แล้ว ผลต่อการเติบโตของเด็กตามความคาดหวังของสังคมจะเป็นเช่นไร ก็คงคล้ายๆ กับชีวิตของ “น้องกาโม่” ที่เกิดมาในครอบครัวที่ทั้ง “พ่อเองก็ยุ่ง” แถม “ลุงก็ยังไม่ว่างอีก” กาโม่จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าหากครอบครัวไม่อาจทำหน้าที่ที่สังคมคาดหวังได้แล้ว จะเกิดปัญหาอันใดบ้างกับเด็กๆ ที่จะเติบโตขึ้นเป็นอนาคตของชาติ ปัญหาของเด็กน้อยกาโม่เริ่มต้นเมื่อ “โต๊ด” และ “พาย” พ่อแม่วัยใสที่มีลูกตั้งแต่วัยเรียน แต่ไม่กล้าบอกกับทางบ้าน เพราะกลัวว่าตนจะถูกตัดออกจากกองมรดกของตระกูล จึงนำกาโม่มาฝากไว้ให้ “เต็ง” พระเอกของเรื่องผู้มีศักดิ์เป็นลุงคอยเลี้ยงดู และทั้งคู่ก็ตัดสินใจทิ้งลูกน้อยเพื่อไปเรียนต่อเมืองนอก ด้วยอาชีพการงานของเต็งที่เป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ที่แทบจะไม่มีเวลาว่างเอาเสียเลย กอปรกับภาระใหม่ที่ต้องมาสวมบทบาท “คุณพ่อจำเป็น” แทนน้องชาย ลุงเต็งจึงไปติดต่อเนิร์สเซอรี และได้พบกับ “ชิดดาว” ซึ่งเขาไม่เพียงแต่จ้างให้เธอมาช่วยเลี้ยงดูกาโม่เท่านั้น แต่ชิดดาวยังกลายเป็น “รักแรกพบ” ที่เต็งสะดุดตกหลุมรักเมื่อแรกเจอ ความใกล้ชิดระหว่างเต็งกับชิดดาวค่อยๆ ก่อตัวเป็นความรักขึ้นมา ยิ่งเมื่อ “โต้” แฟนหนุ่มของชิดดาวเกิดนอกใจเลือกไปคบหากับ “ละออง” ผู้จัดการดารา เพื่อหวังใช้หล่อนเป็นทางลัดหรือสะพานไต่เต้าอยู่ในแวดวงบันเทิงด้วยแล้ว ชิดดาวจึงเลือกที่จะหันมาคบหาดูใจกับเต็งแบบเต็มตัว ลุงเต็งซึ่ง “ยุ่ง” อย่างมากกับหน้าที่การงาน ก็จึงยิ่งต้อง “ยุ่ง” กับภาระแห่งหัวใจเพิ่มขึ้นไปอีก แม้ว่าความรักระหว่างเต็งกับชิดดาวจะดำเนินไปได้ด้วยดีก็ตาม แต่ก็ใช่ว่าจะไร้ซึ่งอุปสรรคขวากหนามใดๆ เลย เพราะละครได้ผูกเรื่องเอาไว้ตามสูตรตำราที่ว่า หากตัวละครเอกจะ “lucky in love” แล้ว พวกเธอและเขาก็ไม่ควรจะ “lucky in game” ได้ง่ายนัก ฉะนั้น ในฟากของเต็งเองนั้น โต้ก็คือตัวละคร “ศัตรูหัวใจ” ที่เข้ามาขัดขวางและคอยทำตัวเป็น “สุนัขหวงก้าง” ราวีทุกวิถีทางที่จะเขี่ยเต็งออกไปจากชีวิตของชิดดาว และกลั่นแกล้งเขาในหน้าที่การงานด้วยการถอดรายการโทรทัศน์ที่เต็งและเพื่อนๆ รับผิดชอบอยู่ ให้หลุดออกไปจากผังของสถานี เมื่อปัญหาการงานรุมเร้าเข้ามา เราจึงเห็นภาพฉากที่หลายๆ ครั้ง ลุงเต็งก็พกพาเอาความหงุดหงิดจากนอกชายคาเข้ามาระบายออกในพื้นที่ของบ้าน และดุว่าหลานน้อยกาโม่ ที่ดึงดื้อตามประสาเด็กด้วยอยากจะเรียกความสนใจจากคุณลุงนั่นเอง ในขณะที่ทางฟากของชิดดาวนั้น ปัญหาที่ต้องเผชิญหน้ากับคำข่มขู่ของละอองที่หึงหวงไม่อยากให้เธอเข้าไปพัวพันกับชีวิตของโต้ ทำให้ชิดดาวเลือกตัดสินใจทิ้งปัญหารุมเร้าและหลบเร้นตัวเองออกไปจากชีวิตของเต็งและกาโม่ แม้ว่าเต็งจะเคยพูดกับเธอในฐานะคนรักว่า “ผมทุ่มสุดตัว พุ่งชนปัญหามาขนาดนี้ ผมต้องการกำลังใจมากนะครับ...” ก็ตาม ด้วยเหตุที่ผู้ใหญ่ก็เอาแต่สนใจและเล็งเห็นแต่ปัญหาของตนว่าเป็นศูนย์กลางของปัญหาทั้งมวลในโลกนี้ ไม่เพียงแค่ “พ่อที่ยุ่ง” เพราะหายตัวไปกับแม่ตั้งแต่ต้นเรื่อง และ “ลุงที่ไม่ว่าง” เพราะสาละวนแต่จะแก้ปัญหาสารพันในที่ทำงาน แถมซ้ำด้วย “อาที่เอาแต่จะหนีปัญหา” แล้ว คำถามก็คือ ใครกันจะมาทำหน้าที่ “ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกหลานของเรากัน”? เพราะสถาบันครอบครัวไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ตัวละครหน้าใหม่อย่าง “ทอย” ที่เป็นเพื่อนร่วมงานและแอบหลงรักเต็ง ก็กลายมาเป็นตัวกลางใหม่ที่เข้ามาแทรกกลางความสัมพันธ์ระหว่างเต็งกับกาโม่ ในขณะที่ชิดดาวตัดสินใจตีจากเต็งเพื่อหนีปัญหาทั้งปวง ทอยก็ถือโอกาสเข้ามาทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคนใหม่ดูแลกาโม่แทนชิดดาวเสียเลย แม้จะมีความรักใส่ใจเด็กน้อยกาโม่อยู่บ้าง แต่ลึกๆ แล้ว ทอยก็มี “ผลประโยชน์” ที่อยากจะช่วงชิงเป็นเจ้าของหัวใจของเต็งให้ได้ เด็กน้อยจึงมิใช่ “เป้าหมาย” ที่ทอยอยากจะทำหน้าที่ฟูมฟักดูแลจริงๆ หากแต่เป็นเพียง “เครื่องมือ” ที่ถูกใช้เพื่อบรรลุ “เป้าหมาย” อันเป็น “ผลประโยชน์แฝงเร้น” ของเธอเท่านั้น  ด้วยมิจฉาทิฐิที่มีอยู่ในจิตใจ ทอยก็เริ่มต้นเป่าหูให้กาโม่เป็นสะพานเชื่อมเธอเข้าไปอยู่ในหัวใจลุงเต็ง เสแสร้งเป็นแม่คนใหม่ที่คอยดูแลกาโม่ และที่สำคัญ เมื่อชิดดาวย้อนกลับมาคบหากับเต็งอีกครั้ง ทอยก็ยุแยงให้กาโม่เกลียดและทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางความรักของคุณลุง  เมื่อเทียบกับบรรดาพ่อแม่ลุงป้าน้าอาหรือสมาชิกครอบครัวด้วยกัน ที่ผลประโยชน์หลักมักจะตั้งต้นที่ตัวของเด็ก ตัวละครแบบทอยก็คือตัวอย่างของคนนอกบ้านที่พร้อมจะเสี้ยมสอนและใช้เด็กเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่ผลประโยชน์ของตนเสียมากกว่า  จนมาถึงตอนท้ายของเรื่อง ก่อนที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่จะลุกลามจนเกินเยียวยา บรรดาผู้ใหญ่ก็เริ่มหันมาทบทวนตัวเองและเข้าใจว่า บทบาททางสังคมในการดูแลบุตรหลานหาใช่การฝากฝังไว้ในมือของคนอื่น แต่เป็นภารกิจแรกๆ ที่ตนมิอาจเพิกเฉยไปได้  เริ่มจากโต๊ดและพายที่ตัดสินใจกลับมาจากเมืองนอก เพราะได้เข้าใจแล้วว่า พ่อแม่เป็นบุคคลแรกที่ต้องเลี้ยงดูเด็กน้อยโดยชอบธรรมที่สุด ในขณะที่เต็งก็เรียนรู้ว่า ภาระงานนอกบ้านก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องแลกมาด้วยความสุขความทุกข์ของหลานชายตัวน้อยได้เลย หรือแม้แต่ชิดดาวที่ตระหนักว่า การเอาแต่วิ่งหนีปัญหานั้น นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ ได้แล้ว ยังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ลุกลามเป็นไฟไม่สิ้นไม่สุด “พ่อที่เลิกยุ่ง” กับ “ลุงที่เริ่มทำตัวว่างๆ” พร้อมกับ “อาผู้หญิงที่หันหน้ามาสู้กับปัญหา” ก็คือคำตอบแก่เราๆ ว่า อยู่บ้านของตนก็อย่ามัวนั่งนิ่งดูดายเสียเอง เพราะลูกหลานยังรอให้เราคอยอบรมดูแล หาไม่แล้วก็อาจมี “บ่างช่างยุ” จากนอกบ้าน ที่ย่างก้าวเข้ามา “ปั้นวัวปั้นควาย” ให้ลูกๆ หลานๆ เล่นแทนเรา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือน มกราคม 2561สคบ.เตรียมออกประกาศคุมค่าน้ำ-ไฟหอพัก  ชาวหอพักอาจมีเงินเก็บเพิ่มหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.นี้ ความในประกาศจะระบุให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องยกเลิกสัญญาฉบับเก่าที่เคยทำไว้กับผู้เช่าทั้งหมด แล้วทำสัญญาภายใต้ข้อกำหนดใหม่  โดยสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ จะกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการเช่า เช่น เขียนชื่อ ที่อยู่ ของผู้ให้เช่าและผู้เช่า กำหนดระยะเวลาในการเช่า จำนวนเงินประกัน สภาพอาคาร อัตราค่าสาธารณูปโภค อัตราค่าใช้จ่ายอื่นๆ ได้แก่ ค่าส่วนกลาง ค่าที่จอดรถ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการ  ซึ่งหากไม่ทำตามจะมีโทษทันที คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียนค่าเช่าที่พักอาศัย และค่าบริการสาธารณูปโภคที่แพงเกินควร  น่าจับตาว่าประกาศฉบับนี้จะสามารถแก้ปัญหาให้ชาวหอพักได้จริงหรือไม่ จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการที่กระทำความผิดได้รวดเร็วและเป็นธรรมต่อผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหนซดหอยนางรมสด - กินเนื้อดิบ เสี่ยงอาจถึงตาย เล่นเอาหนุ่มน้อยหนุ่มใหญ่ ใจสั่นหวั่นไหว เมื่อมีข่าวผู้เสียชีวิตจากการกินหอยนางรมสดอย่างต่อเนื่อง เพราะหอยนางรมสดแม้ว่าจะอุดมไปด้วยแร่ธาตุสังกะสี (Zinc) และยังเชื่อกันว่าเป็นอาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศให้กับคุณผู้ชายทั้งหลาย แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารดิบแล้ว ล้วนแต่มีอันตรายแอบแฝงทั้งสิ้นหอยนางรมสดแทบจะทุกตัวมี เชื้อแบคทีเรียวิบริโอ(Vibrio) ซึ่งอาจก่อโรคระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาหารเป็นพิษ ล่าสุดมีข่าวหญิงอเมริกันวัย 55 ปี ในรัฐเท็กซัส กินหอยนางรมสดที่ซื้อจากตลาดในรัฐหลุยเซียนารวดเดียว 24 ตัว แล้วถูกเชื้อแบคทีเรียวิบริโอซิส(Vibriosis) กัดกินเนื้อบริเวณขาทั้งสองข้างจนเป็นแผลฉกรรจ์ภายใน 48 ชั่วโมง ก่อนจะเสียชีวิตอีก 21 วันต่อมา กรณีนี้นักวิชาการในเมืองไทยได้ออกมาให้ความรู้ว่า เหตุที่บางคนกินหอยนางรมดิบๆ แล้วไม่เป็นอะไร เพราะยังมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรง แต่สำหรับกลุ่มผู้มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ป่วยโรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ที่กินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคหอยนางรมสดอย่างเด็ดขาดนอกจากนี้ ยังมีข่าวหนุ่มจากสปป.ลาว 4 ราย ที่กินลาบหมูดิบแล้วท้องเสีย ปวดกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะถูกนำตัวส่งมารักษาต่อยังโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดน่าน ซึ่งแพทย์ตรวจพบว่าเป็นโรคทริคิโนซิส โดยจากการตัดชิ้นเนื้อบริเวณน่องขาไปตรวจจึงพบพยาธิ 5 ตัวชอนไชอยู่ภายในชิ้นเนื้อที่มีขนาดเท่าเมล็ดส้ม พยาธิเหล่านี้จะเข้าไปฟักตัวอยู่ในลำไส้แล้วเริ่มผสมพันธุ์วางไข่ และชอนไชไปฝังตัวตามกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รู้อย่างนี้แล้ว เลิกกินของดิบกันดีกว่า อาหารสนามบินไทย แพงเว่อร์จริงหรือ? หลังสื่อมวลชนญี่ปุ่นรายหนึ่งนำเสนอข่าวราคาอาหาร-เครื่องดื่มในสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมืองทั้งสองแห่งว่ามีราคาแพงเกินเหตุ ทำเอาหน่วยงานรัฐที่ดูแลรับผิดชอบต้องรีบลงพื้นที่ตรวจสอบและแถลงชี้แจงกันวุ่น โดยให้สัมภาษณ์โต้คำกล่าวอ้างดังกล่าวว่า ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด จากนั้นไม่นาน ก็มีข่าวจากสื่อมวลชนที่ลงพื้นที่สำรวจราคาอาหารบริเวณภายในสนามบินทั้งสองแห่ง พบว่ามีจำหน่ายทั้งโซนอาหารราคาแพงและราคาถูกโดยในโซนสำคัญของสนามบินนั้น อาหารจะมีราคาแพง ส่วนใหญ่เป็นแบรนด์ร้านอาหารที่เปิดอยู่ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งถูกควบคุมราคาไม่ให้สูงเกินกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของราคาอาหารตามห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ซึ่งที่อาหารมีราคาแพงนั้น ก็ด้วยมีต้นทุนสูง เนื่องจากต้องจ้างพนักงานไว้คอยบริการตลอด 24 ชั่วโมง ต้องใช้แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการประมูลเช่าพื้นที่ในราคาค่อนข้างสูง สำหรับโซนฟู้ดคอร์ต (Food Court) ที่เป็นศูนย์อาหารอยู่ภายใต้การดูแลของท่าอากาศยานนั้น จะมีราคาถูกและย่อมเยา เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคและพนักงานภายในสนามบิน แต่เป็นคำถามว่าเหตุใดนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนหนึ่ง จึงไม่ทราบว่ามีโซนร้านอาหารราคาถูก จำหน่ายอยู่ภายในสนามบินนับเป็นเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดในสนามบิน นอกจากปัญหาเครื่องบินดีเลย์ กระเป๋าเดินทางชำรุดสูญหาย แถวตรวจคนเข้าเมืองที่ใช้เวลานาน จนถึงปัญหามิจฉาชีพที่หากินกับผู้โดยสาร เรื่องจุกจิกเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบ ต้องขยันมากกว่าเดิมอีกหรือไม่ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ป่วน งานด่วนของใคร“แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ระบาดหนัก เหยื่อสูญเงินกว่าล้านบาทในพริบตา” พาดหัวข่าวแนวนี้ ที่ปรากฏอย่างไม่ขาดสาย ตอกย้ำ ซ้ำๆ ว่าเหตุใดผู้บริโภคจึงตกเป็นเหยื่อได้ง่ายดายขนาดนี้แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจ ธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ จะเร่งสื่อสารให้ประชาชนเท่าทันเล่ห์กลของแก๊งค์มิจฉาชีพ แต่ก็ไม่สามารถบอกเล่าเก้าสิบได้ทั่ว โจรพวกนี้มีเทคนิคล่อลวง หลากหลายท่วงท่า ทั้งโทรมาแอบอ้างเป็นไปรษณีย์ หลอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึง ลวงถามชื่อ-เลขบัตรประชาชน หรือแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โทรมากล่าวหาว่าเหยื่อไปพัวพันคดียาเสพติด ให้รีบแจ้งเลขที่บัญชีให้ตรวจสอบโดยด่วน ใครที่ตกใจง่ายเกินไป รู้ตัวอีกทีก็เสร็จโจรมันเสียแล้วล่าสุดข่าวพระลูกวัดแห่งหนึ่งใน จ.เชียงใหม่ ถูกหญิงสาวอ้างว่าโทรมาจากไปรษณีย์ไทย บอกว่ามีพัสดุตกค้างส่งไม่ถึงหลวงพี่ สงสัยว่าจะเกี่ยวพันกับสิ่งผิดกฎหมาย และโอนสายไปให้ชายคนหนึ่งรับสายต่อ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถามเลขบัตรประชาชน 13 หลักไปตรวจสอบ พร้อมโน้มน้าวถามเรื่องเงินในบัญชี โชคดีหลวงพี่ไหวตัวทัน เพราะเคยอ่านข่าวแก๊งต้มตุ๋น หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จึงรุดแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตัวจริง มีที่ไหนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะมาถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของจำนวนเงินในบัญชีกันเล่าน่าสังเกตว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่รู้ทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อก็เพราะเคยดูข่าว หรือมีเพื่อนสนิทมิตรสหายมาบอกกล่าวเล่าเตือนให้ฟัง ความมีสติ การเสพข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ อย่างสม่ำเสมอจึงเปรียบเสมือนการสร้างภูมิคุ้มกันให้พ้นภัยกลโกงของแก๊งค์โจรเหล่านี้ไปได้ด้วยดี มาสด้าฟ้องผู้บริโภค ภาพสะท้อนเมื่อผู้บริโภคตัวเล็กถูกผู้ประกอบการละเมิดซ้ำซ้อนช่วงปลายปีที่แล้ว กลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์ มาสด้า 2 รุ่น คือ รุ่น XD High Plus และ Sky Active ปี 2014 – 2016 รวมตัวกัน พร้อมตัวแทนศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบ กรณีรถเกิดอาการเครื่องยนต์สั่นผิดปกติ เร่งความเร็วไม่ขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงถึงชีวิต อีกทั้งยังได้ร่วมกันยื่นหนังสือต่อตัวแทนบริษัทฯ ในงาน Motor EXPO จนต้องถูกบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดฟ้องคดี ซึ่งผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์มาสด้า 2 รุ่นดังกล่าวรายหนึ่งถูกเรียกค่าเสียหายถึง 84 ล้านบาทเศษ โดยอ้างเหตุว่า เป็นการใช้สิทธิเกินส่วน ทำให้ภาพลักษณ์บริษัทฯ เสียหาย ขายรถไม่ได้ ฯลฯ ในขณะที่กลุ่มผู้เสียหาย โดยตัวแทนคือ นายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์มาสด้าและผู้ถูกบริษัทมาสด้าฟ้อง กล่าวว่าการออกมาเรียกร้องสิทธินั้นตนได้ทำด้วยความสุจริตใจและอยากให้บริษัทแก้ปัญหาที่เกิดเพียงเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาหรือจงใจทำลายชื่อเสียงของบริษัท “ปัญหาของรถเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิต โดยเฉพาะผู้ใช้รถที่ไปเจอปัญหานี้ครั้งแรกบนถนนในจังหวะเร่งแซงซึ่งอันตรายมาก ตนได้ส่งรถเข้าซ่อมที่ศูนย์ฯแล้วแต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตั้งกลุ่มทางเฟซบุ๊คชื่อว่า อำนาจผู้บริโภคช่วยเหลือผู้ใช้ Mazda Sky Active เครื่องสั่น เร่งไม่ขึ้น ฯลฯ เพื่อรวมตัวกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหาของรถ แต่กลับถูกฟ้องเมื่อเราลุกขึ้นมาใช้สิทธิ ก็อยากจะขอความเป็นธรรม” นายภัทรกรกล่าว กรณีนี้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดงานแถลงข่าวขึ้นในวันที่ 19 มกราคม 2561 เพื่อย้ำว่า องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนให้ผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหายใช้สิทธิร้องเรียนเพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน และไม่อยากให้บริษัทฯ ใช้วิธีการฟ้องคดีกับผู้บริโภค แต่ขอให้ดูแลรับผิดชอบผู้เสียหายทุกรายเหมือนการรับผิดชอบเรียกคืนรถในต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทฯ มากกว่า อีกประการหนึ่งคือ ถ้าผู้บริโภคถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) จะไม่สามารถรับเป็นคดีผู้บริโภคได้ “อยากให้ สคบ.ได้ใช้อำนาจตามหน้าที่ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม และอยากให้ช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ. ความรับผิดต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่องให้เกิดขึ้นในเร็ววัน เพื่อให้เท่าเทียมกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน” ในส่วนของคดีความหากผู้ประกอบการยังคงเดินหน้าฟ้องผู้บริโภค ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็จะยืนหยัดอยู่ข้างผู้บริโภคเพื่อต่อสู้คดีให้ถึงที่สุด นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่าการออกมาใช้สิทธิของผู้บริโภคเองนั้น ถือเป็นการพิทักษ์สิทธิและเป็นตัวอย่างให้กับผู้บริโภคท่านอื่นๆ"ขอชื่นชมที่ผู้บริโภคออกมาใช้สิทธิและถือว่าเป็นผู้สะท้อนปัญหาสินค้าและการใช้บริการให้กับบริษัทดังกล่าว การที่บริษัทฟ้องผู้บริโภคที่ออกมาใช้สิทธินั้นถือเป็นการฟ้องเพื่อปิดปากผู้บริโภค แทนที่จะขอบคุณที่สะท้อนปัญหาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าและบริการ ซึ่งผู้บริโภคที่ถูกบริษัทฟ้องมูลนิธิฯ ยินดีให้ความช่วยเหลือ"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 ห้องจริงไม่เหมือนในตัวอย่าง

การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยจากใบโฆษณา หรือจากห้องตัวอย่างอาจสร้างความผิดหวังได้ หากพบว่าห้องจริงที่ได้มานั้น ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้เมื่อปี 2556 คุณภารดรได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดในโครงการ ออริจินส์ บางมด-พระราม 2  ซึ่งเขาได้ชำระค่าทำสัญญาไป 27,000 บาท และผ่อนดาวน์เดือนละ 5,000 บาท ระยะเวลา 21 งวด รวมเป็นเงิน 139,200 บาท และยังชำระเกินไปอีก 2 งวดจำนวน 10,000 บาท ต่อมาในปี 2558 ทางโครงการฯ ได้ส่งจดหมายแจ้งให้คุณภารดรทำการยื่นขอสินเชื่อและเข้าไปตรวจดูห้องชุด ซึ่งปรากฏว่าห้องที่ทางโครงการจะส่งมอบให้มีการออกแบบแตกต่างไปจากในใบโฆษณาสินค้าหลายประการ เขาจึงไม่พอใจและต้องการยกเลิกสัญญา จึงส่งเรื่องร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำผู้ร้องว่า การยกเลิกสัญญาเนื่องจากห้องชุดที่ได้ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้สามารถทำได้ โดยตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจขายห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา ข้อ 8.6 ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินทั้งหมดคืนจากผู้ขายได้ หากผู้ขายไม่ได้ทำตามแบบที่นำแสดงขายหรือห้องตัวอย่างไว้ โดยศูนย์ฯ ช่วยผู้ร้องร่างหนังสือบอกเลิกสัญญาไปที่บริษัท ทั้งนี้ภายหลังได้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยเพิ่มเติมที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งทางบริษัทยินยอมคืนเงินที่ผู้ร้องชำระไป จำนวนกว่าเก้าหมื่นบาท ด้านผู้ร้องก็ยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวและขอยุติการร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 สถานการณ์การปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ เชื้อดื้อยา และยีนดื้อยา ในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อม และการจัดการ

1. เกริ่นนำ ความห่วงใยเรื่องปัญหาเชื้อดื้อยาเดิมเริ่มจากผลกระทบและปัญหาที่พบในโรงพยาบาล  และไทยก็มีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในมนุษย์ ส่งมาจากโรงพยาบาลเป็นหลัก ต่อมาเริ่มเห็นปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชน  และมีความเข้าใจมากขึ้นถึงปัญหาในระบบห่วงโซ่อาหาร  รวมถึงมีคำอธิบายความเชื่อมโยงของการดื้อยาทั้งในคน สัตว์ พืช และ สิ่งแวดล้อม ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ ปัจจุบันทั้งนักวิชาการ และฝ่ายนโยบายจึงให้ความสำคัญมากขึ้น กับสิ่งที่เรียกว่า one health โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการรายงานการใช้ยาปฏิชีวนะและการปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหารและสิ่งแวดล้อม บทความนี้ทบทวนสถานการณ์ถึงความก้าวหน้าใหม่ๆ ในด้านนี้ ต่อเนื่องจากบทความในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 164 เรื่องยาปฏิชีวนะและเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร พบว่า มีความก้าวหน้าเชิงนโยบายและวิชาการทั้งจากทั่วโลกและในประเทศไทย  แต่ขณะเดียวกันก็มีความน่ากลัวของสถานการณ์การดื้อยาที่รุนแรงขึ้น จากห่วงโซ่อาหารมาสู่คนและสิ่งแวดล้อม ที่ทุกภาคส่วนล้วนยอมรับว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงด้านอาหารและรายได้ และต่อสุขภาพประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมที่กระทบทั้งสุขภาพและกระทบต่อการผลิตอาหารในระยะยาวในวงจรอาหารมีองค์ประกอบที่มีความหลากหลายและเชื่อมโยงกันเป็น one health  ดังนั้นการทำงานเกี่ยวกับเชื้อดื้อยาควรมองการป้องกันและจัดการอย่างบูรณาการ ระบาดวิทยาของเชื้อดื้อยา (Epidemiology of Antimicrobial Resistance)  สะท้อนแหล่งผลิตเชื้อดื้อยาหรือยีนดื้อยา ที่เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือเกิดการปนเปื้อนของเชื้อดื้อยา  มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันหมด ทั้งทางตรงและทางอ้อม   อาจมีปฏิสัมพันธ์ทางเดียวหรือสองทิศทางก็ได้ ที่สำคัญๆ มีได้ 7 จุด ได้แก่ มนุษย์(โรงพยาบาล สถานีอนามัย ชุมชน และการท่องเที่ยว) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหาร(วัว หมู แกะ เป็ดไก่ ฯลฯ) สัตว์เลี้ยง สัตว์สวยงาม สัตว์โชว์(เช่นสุนัข แมว ไก่ชน ฯลฯ) การปลูกพืช ผัก ผลไม้ ผลิตเม็ลดพันธ์(ส้ม ส้มโอ มะนาว มันเทศ ฯลฯ) การประมง(ปลา กุ้ง ฯลฯ) โรงงานผลิตยา สารเคมี และสารเคมีใช้ในบ้าน(อาจปล่อยยาปฏิชีวนะ หรือสารเคมีลงสิ่งแวดล้อม) การผลิตแอลกอฮอล์จากพืช(มีการใช้กลุ่มยาปฏิชีวนะด้วย) ในการเชื่อมโยง แพร่ปัจจัยการเกิดเชื้อดื้อยา มีทั้งสัมผัสตรงหรือได้ทางอ้อม จุดเชื่อม เช่น มูลสัตว์และน้ำจากฟาร์ม การขายทำปุ๋ย หรือปล่อยลงดิน การลงแม่น้ำ นำไปสู่ ทะเลหรือทะเลสาบ มีการนำไปบริโภค แหล่งบำบัดน้ำเสียจากจุดปล่อย ต่างๆ เหล่านี้ เป็นต้น     2. MCR-1 gene เรื่องใหญ่ของโลกและของไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558  มีรายงานจากประเทศจีนที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Lancet Infectious     เป็นการค้นพบยีน (gene) ที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ที่ชื่อว่า mcr-1 gene เป็นครั้งแรกในโลก โดยที่เป็นการพบว่า ยีนการดื้อยานี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากยีนดื้อยาเดิม คือชนิดใหม่เกิดบน plasmid มีการถ่ายทอดพันธุกรรมในลักษณะเป็น Horizontal Gene Transfer สามารถถ่ายทอดสายพันธุกรรมข้ามสายพันธุ์ได้  การค้นพบนี้ก่อให้เกิดความตื่นเต้นและตระหนกไปทั่วโลก แม้ว่าก่อนหน้านี้มีการศึกษา การดื้อยาโคลิสติน มาแล้วหลายรายงาน แต่รายงานดั้งเดิมพบยีนดื้อยาที่มีลักษณะแบบ Vertical Gene Transfer  ทั้งนี้ยาโคลิสตินเป็นหนึ่งในยากลุ่ม polymyxin   เนื่องจากความเป็นพิษต่อมนุษย์ จึงมีการแนะนำให้ใช้ในการเลี้ยงสัตว์(หมูและไก่) แต่ในขณะเดียวกัน ยาโคลิสตินก็เป็นยากลุ่มสำคัญที่มักจะใช้รักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่ดื้อต่อยาอื่นๆ  การค้นพบครั้งนี้ จึงสะท้อนปัญหาการดื้อยาที่เกิดในห่วงโซ่อาหารและกระทบต่อสุขภาพของคนและนำไปสู่สิ่งแวดล้อมด้วยแล้ว หลังรายงานฉบับแรก ได้เพียง 3 เดือน พบรายงานถึงการพบ mcr-1 gene ในอย่างน้อยใน 19 ประเทศ และเพียงกลางปี พ.ศ. 2559 พบรายงานแล้วกว่า 32 ประเทศ  จากการที่ผู้เขียนได้รวบรวมเอกสารงานวิจัยและข่าวต่างๆ จากทั่วโลกในช่วงเวลาสองปีย้อนหลัง(พฤศจิกายน พ.ศ. 2558-ตุลาคม พ.ศ. 2560) พบว่ามีการรายงานการพบ mcr-1 gene แล้วถึงมากกว่า 42 ประเทศ กระจายทุกภูมิภาค(ตารางที่ 1) คาดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ตารางที่ 1 รายชื่อประเทศ ที่มีรายงานตรวจพบ mcr-1 gene และยีนในกลุ่มเดียวกัน (mcr-1 gene ถึง mcr-5 gene)จากรายงานวิจัยที่รวบรวม พบว่าแหล่งของยีนเชื้อดื้อยามาจากหลากหลายแหล่ง เช่น จากฟาร์ม (อุจจาระ เลือด สารคัดหลั่ง หรือการ swab ทวารหนัก ของหมู วัว ไก่ในฟาร์ม) จากเนื้อสัตว์แหล่งต่างๆ  (หมู ไก่ วัว)  จากพืชผัก (ตรวจที่ปลายทางที่ประเทศนำเข้า ส่วนไทยยังไม่ได้ตรวจ)   จากสิ่งแวดล้อม(แม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำระหว่างการบำบัด) รวมถึงตัวอย่างเชื้อที่แยก จากผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยที่เพาะและแช่แข็งเก็บไว้ และต่อมาพบในผู้ป่วย ( เลือด อุจจาระ สารคัดหลั่ง)  หรือในอาสาสมัครปกติ( เลือด อุจจาระ สารคัดหลั่ง)   ความห่วงใยต่อการปนเปื้อนของ mcr-1 gene หรือ แบคทีเรียที่มี mcr-1 gene  ในสิ่งแวดล้อมหรือในระบบนิเวศน์ เพราะหลังจากตรวจพบ mcr-1 gene ในสัตว์ ในคน ก็เริ่มพบว่ามีการแพร่ไปสู่สิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ลักษณะ นอกจากนี้  มีข่าวบางข่าวจากต่างประเทศสะท้อนความห่วงใยการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะยาหรือยีนเชื้อดื้อจากโรงงานผลิตยา และจากโรงพยาบาล  ยังพบต่อมาว่าเกิดยีนส์อีกหลายชนิดที่เป็นกลุ่มใกล้เคียงกัน รวมแล้วปัจจุบันพบยีนดื้อยาโคลิสตินชนิดร้ายแรงนี้ ได้แก่ mcr-1, mcr-2, mcr-3, mr-4, mcr-5  และในบางครั้งพบยีนดื้อยาที่รวมกันหลายชนิดในสายพันธุกรรมเดียวกันด้วยที่มาจากผู้ป่วย  ส่วนสถานการณ์ของไทย พบว่ามีรายงานต่างประเทศระบุว่าพบ mcr-1 gene ในตัวอย่าง ที่เก็บ ตั้งแต่ พ.ศ. 2555   โดยพบในคนไทย  2 ราย จากตัวอย่างคนไทยที่ตรวจทั้งหมด 3 ราย ที่ยังไม่ได้แสดงอาการ และเห็นความเชื่อมโยงว่าอาจแพร่จากหมูมาสู่คนได้ต่อมามีรายงานในผู้ป่วย ตามที่ปรากฎในบทความ ในหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก   ที่ระบุว่า  มีเอกสารรายงาน “สถานการณ์การเกิดโรคประจำสัปดาห์ที่ 24 ระหว่างวันที่ 12-18 มิถุนายน 2559” ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ามีการตรวจพบยีนดื้อยาดังกล่าวในตัวอย่างปัสสาวะผู้ป่วยชาย ข้อความดังนี้  "4.พบผู้ป่วยติดเชื้อ Escherichia coli มียีนดื้อยา mcr-1 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จ.นนทบุรี โดยศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติได้ตรวจพบเชื้อ Escherichia coli มียีนดื้อยา mcr-1 จากตัวอย่างปัสสาวะของผู้ป่วยไทย เพศชาย อายุ 63 ปี ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งแรกระหว่างวันที่ 23 มกราคม-25 กุมภาพันธ์ 2559 ด้วยอาการ Intracerebral hemorrhage แพทย์ได้ผ่าตัด และผู้ป่วยเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 8-11 เมษายน 2559 ด้วยโรคหลอดลมอักเสบ คาดว่าผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาจากโรงพยาบาล”ทั้งนี้ต่อมามีรายงานวิชาการระบุการพบเชื้อดื้อยาที่ชื่อ Escherichai coli (E coli) จากปัสสาวะของผู้ป่วยชายไทยอายุ 63 ปี ที่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ  การตรวจเบื้องต้นพบการดื้อต่อยาปฏิชีวนะถึงกว่า 30 ชนิด เมื่อทำการตรวจยีนพบทั้ง mcr-1 gene ที่ดื้อต่อโคลิสตินและยีนดื้อยารุนแรงอื่น   หมายเหตุ ผู้เขียน เข้าใจว่าตัวอย่างนี้น่าจะเป็นชายคนเดียวกับที่รายงานในคมชัดลึก มีรายงานจากต่างประเทศระบุว่าพบ mcr-1 gene ในตัวอย่าง ผัก จากไทย(ชะอม) และเวียดนาม (โหระพา) ที่ส่งไปขายในสวิตเซอร์แลนด์ โดยตัวอย่างเก็บเมื่อพ.ศ. 2557 รายงานการตรวจพบ mcr-1 gene ในไทยจากตัวอย่างเชื้อที่เก็บจากหมู  ในช่วงพ.ศ. 2547, 2554-2557 จาก 4 จังหวัด พบ mcr-1 gene ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 (1 จังหวัด) และพบต่อเนื่อง ในปีพ.ศ. 2555-2556 (2 จังหวัด) และพ.ศ.2557 (1 จังหวัด)  รายงานข่าวในคมชัดลึก ถึงการสำรวจฟาร์มหมู และการดำเนินการของกรมปศุสัตว์ที่เข้มงวด รวดเร็ว ที่ลงต่อเนื่อง  3. นานาชาติเขาทำอะไรกันบ้าง เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาในห่วงโซ่อาหาร  Antibiotic Awareness Week/Day 2017วันที่ 18 พฤศจิกายน ของทุกปี จัดเป็นวัน antibiotic awareness day  ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2551 โดยเริ่ม European Antibiotic Awareness Day ด้วยการประสานงานของ European Center for Diseases Prevention and Control  ร่วมกับภาคีหลายภาคส่วน เป็นการรณรงค์ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ/ยาต้านแบคทีเรียอย่างสมเหตุผลและอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้ยายังคงมีประสิทธิผลในการรักษาและเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเชื้อดื้อยา ซึ่งเดิมเป้าหมายมุ่งที่การใช้ยาในคน แต่ต่อมาขยายสู่การใช้ในสัตว์และในพืชด้วย  ซึ่งงานนี้ก็แพร่หลายไปสู่ประเทศต่าง ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ส่วนไทยนับได้ว่าเป็นประเทศต้นๆ ในเอเชีย ที่จัดงานนี้ ตั้งแต่ปี 2556 สำหรับปี พ.ศ. 2560 องค์การอนามัยโลก ประกาศ ให้ World Antibiotic Awareness Week 2017  คือ ช่วง 13-19 พฤศจิกายน 2560  ซึ่งประเทศไทย กำหนดจัดกิจกรรม ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 จัดเป็นงานใหญ่ เพราะกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดงานนี้ เป็นครั้งแรก ด้วยการสนับสนุนขององค์การอนามัยโลก ทั้งวิชาการและงบประมาณ  นอกจากนี้ กพย. สสส. ให้การสนับสนุน ทั้งงานส่วนกลาง และงานพื้นที่ เพราะ กพย. ได้เคยจัดงานนี้ มาแล้วอย่างต่อเนื่อง ถึง 4 ปี (พ.ศ.2556-2559) ในชื่อวัน(สัปดาห์) รู้รักษ์ ตระหนักใช้ยาต้านแบคทีเรีย  มีประเด็นหลักแตกต่างกันไป  ที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร ชุมชน และสิ่งแวดล้อม คือปี พ.ศ.2558  และมีแผนงานที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการการดื้อยา ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 และต่อเนื่องมาจนผลักเข้าเป็นวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ใน พ.ศ. 2558 และต่อมาจึงมียุทธศาสตร์ชาติด้านนี้ขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย องค์กรระหว่างประเทศองค์การอนามัยโลก เน้นเฉพาะสุขภาพของมนุษย์ มีมติสมัชชาอนามัยโลกมาอย่างต่อเนื่อง ออกรายงานการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาทั่วโลก และมีการรับรอง Global Action Plan อย่างไรก็ดี สุขภาพมนุษย์มีความเชื่อมโยงกับอาหารที่มาจากสัตว์และสัตว์เลี้ยง จึงมีการประกาศร่วมในที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ (General Assembly) เมื่อ ตุลาคม พ.ศ 2559  Resolution adopted by the General Assembly   และให้ทำงานร่วม ระหว่าง 3 หน่วยงาน WHO, FAO และ OIEองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ออกแผนปฏิบัติการต่อสู้ปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ   เมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2559 มีหัวใจสำคัญ ๔ ข้อ  ได้แก่ (ก) สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาเชื้อดื้อยาและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานอาหารรับทราบ   และ ทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือชำนาญในเรื่องนี้ (ข) เพิ่มขีดความสามารถของประเทศในการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ยาต้านจุลชีพ และปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในการผลิต อาหารและสินค้าเกษตร (ค) เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพและปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร (ง) สนับสนุนแนวทางปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและสินค้าเกษตร และ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างระมัดระวังล่าสุดองค์การอนามัยโลก ออกคู่มือการใช้ยาต้านจุลชีพที่มีความสำคัญด้านการแพทย์ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร  4. สถานการณ์ของไทย ข้อมูลจากพื้นที่ งานวิชาการ และมาตรการนโยบายที่เกี่ยวข้อง ในวงจร ห่วงโซ่อาหาร ยังพบการใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งในการเลี้ยงสัตว์ และปลูกพืช มีงานสำรวจการพบเชื้อในหลายพื้นที่ โดยตัวอย่างการสำรวจการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มปศุสัตว์ในเชียงใหม่  พบว่าเกษตรกรที่สำรวจเกือบทั้งหมดมีการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งรายการยาปฏิชีวนะ 5 อันดับแรกของการเลี้ยงสัตว์แต่ละกลุ่ม เป็นดังนี้ ในโคนม ได้แก่ oxytetracycline, penicillin, sulphamethoxydiazine, cloxacillin + ampicillin (ยาดราย), kanamycinในหมู  ได้แก่ amoxicillin, enrofloxacin, oxytetracycline, gentamycin, neomycin ในไก่ไข่ ได้แก่ enrofloxacin, Sulfadimethoxine , cocidiocidal triazinetrione โดยที่ในรายงานมิได้กล่าวถึงการใช้อาหารสัตว์ผสมยาปฏิชีวนะที่ชัดเจน แต่ได้ระบุว่ามีการใช้โคลิสตินผสมน้ำให้ดื่มตั้งแต่เป็นลูกสุกรทุกวัน เรียกว่าวิตามิน ทั้งนี้ข่าวจากคมชัดลึก สะท้อนว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมูจริง ใช้ตั้งแต่แรกเกิดมีการสำรวจแหล่งขายยาหรือขายอาหารผสมยาชัดเจนนอกจากนี้จากการรวบรวมรายงานวิชาการ การสำรวจหรือสอบถามคนพื้นที่ และติดตามข่าว พบมีการใช้ยาปฏิชีวนะฉีดเข้าลำต้นผลไม้ในหลายจังหวัด เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ปทุมธานี ชัยนาท  โดยต้นส้ม  ต้มส้มโอ มะนาว หรือแม้แต่พ่นยากับต้นมันเทศ ยาที่ใช้ในไทย เช่น แอมพิซิลลิน เอม๊อกซี่ซิลลิน เตตร้าไซคลิน สเตรปโตมัยซิน หรือการใช้ เพนนิซิลลิน จี สำหรับจุ่มตา หรือการใช้สารเคมีฉีดเข้าลำต้นทุเรียน  ส่วนในต่างประเทศบางประเทศก็มีการใช้ด้วยเช่นกัน เช่นจีน   ที่น่าเป็นห่วงคือการตกค้างในผลไม้และการไหลค้างลงสู่สิ่งแวดล้อม ที่ต้องการการศึกษาอย่างจริงจัง  ถึงระบาดวิทยาการดื้อยา ผลกระทบต่อมนุษย์พร้อมทั้งศึกษาหาสาเหตุและวิธีการรักษาโดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ  ในมิติมุมมองผู้บริโภค พบมีการเคลื่อนไหว สำรวจและรณรงค์ให้เลิกใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหาร เมื่อ 2 มีนาคม 2559 มพบ. แถลงข่าวรณรงค์ในวันสิทธิผู้บริโภคสากล เรียกร้องให้บริษัทขายอาหารฟาสต์ฟู้ด เลิกใช้เนื้อสัตว์ที่เลี้ยงโดยใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นการรณรงค์พร้อมกันทั่วโลกของเครือข่ายสมาชิกองค์กรผู้บริโภคทั่วโลก เมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา  ได้ ร่วมแถลงข่าวพบยาปฏิชีวนะใน แซนด์วิชไก่อบ ซับเวย์ แต่ไม่เกินมาตรฐาน องค์กรผู้บริโภค-นักวิชาการสุขภาพ เรียกร้องให้ลดและยกเลิกการใช้เนื้อสัตว์ที่มียาปฏิชีวนะ14 มี.ค.60 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รายงานผลการเก็บตัวอย่างเนื้อหมูจากตลาดสด และห้างค้าปลีก รวม 15 แห่งในกรุงเทพมหานคร พบเนื้อหมูมียาปฏิชีวนะตกค้างถึงร้อยละ 13 พบจาก 2 ตลาดสด   เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัยมีความพยายามของเกษตรกรที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพจากการใช้ยาปฏิชีวนะผสมเลี้ยงสัตว์ หันมาเลี้ยงหมูเสรี หมูปลอดภัย หมูหลุม เลี้ยงไก่ ปลูกผักอินทรีย์ ไม่ใช้ยา เลี้ยงปลาปลอดสาร หรือสารเคมีต่าง ๆ มีตัวอย่างที่นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ มหาสารคาม เป็นต้น   รัฐบาลควรได้มีการส่งเสริมความรู้ แก่ทั้งเกษตรกร สนับสนุนการจัดตลาดอาหารปลอดภัย และให้ความรู้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกระทรวงสาธารณสุข มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ฉบับ พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไข และ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2559ล่าสุดมีการประกาศยกเลิกยาโคลิสติน ชนิดรับประทานสำหรับคน และมีความพยายามทบทวนทะเบียนตำรับยาปฏิชีวนะ(กพย. ได้จัดแถลงข่าวและทำหนังสือถึง รมว.สธ. เรียกร้องให้ทำการทบทวนทะเบียนตำรับยาสูตรที่ไม่เหมาะสม ด่วน) แต่ผลยังไม่มีความคืบหน้านักกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะหรือคุณสมบัติของวัตถุที่ห้ามใช้ผสมในอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558  ห้ามใช้ยาต้านจุลชีพทุกชนิดผสมลงในอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโตหรือเพิ่มประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์5. ยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย เป็นยุทธศาสตร์ร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ผ่านมติ ครม. เมื่อ 17 สิงหาคม 2559 ต่อมาขยายไปอีกหลายกระทรวงวิสัยทัศน์  แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 มีการกําหนดวิสัยทัศน์คือ การป่วย การตาย และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากเชื้อดื้อยาลดลง และกําหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการบรรลุภายในปี 2564 ไว้ 5 ประการ คือ การป่วยจากเชื้อดื้อยาลดลงร้อยละ 50 (ซึ่งสามารถนําไปใช้คํานวณผลกระทบต่อสุขภาพและเชิง เศรษฐกิจ) การใช้ยาต้านจุลชีพสําหรับมนุษย์และสัตว์ลดลงร้อยละ 20 และ 30 ตามลําดับ ประชาชนมีความรู้เรื่องเชื้อดื้อยา และตระหนักในการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และประเทศไทยมีระบบจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพที่มีสมรรถนะตามเกณฑ์สากลประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียวยุทธศาสตร์ที่ 2 การควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพในภาพรวมของประเทศยุทธศาสตร์ที่ 3 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานพยาบาลและควบคุมกํากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกํากับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยงยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมความรู้ด้านเชื้อดื้อยาและความตระหนักด้านการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมแก่ประชาชนยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารและพัฒนากลไกระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างยั่งยืนแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ มีรองนายกเป็นประธาน และคณะกรรมการมีมติรับรองแผนปฏิบัติการเบื้องต้น และให้มีการปรับปรุงต่อเนื่องได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อาหาร ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมประมง กรมวิชาการเกษตร ได้ร่วมประกาศกลยุทธ์ 5 ด้าน  ได้แก่ ก. การลดใช้ยาต้านจุลชีพในการทำปศุสัตว์และประมง ข. ลดเชื้อ ดื้อยาในห่วงโซ่การผลิต อาหาร ค. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการใช้ยาต้านจุลชีพในพืช ง.  พัฒนาต้นแบบสถานพยาบาลสำหรับสัตว์เลี้ยง จ. พัฒนาให้ความรู้เรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพแก่ผู้เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 เงินประกันที่อยู่อาศัยยึดได้จริงหรือ?

หัวเมืองใหญ่ๆ นั้น ถือว่าเป็นสถานที่สำหรับคนต่างจังหวัดที่จะเข้ามาหางานทำ รวมทั้งนักศึกษาที่จะต้องเข้ามาศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ สิ่งที่ตามมาคือ ที่อยู่อาศัยในระหว่างการทำงานและการเรียน เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ที่อยู่อาศัยถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคนทำงานมักหาที่อยู่อาศัยแบบบ้านเช่าหรือห้องแบ่งให้เช่า ส่วนนักศึกษาก็จะอยู่อพาร์ตเม้นท์ หรือหอพัก หากพิจารณารายละเอียดก่อนที่จะเข้าไปอยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะต้องมีการทำสัญญากับผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าจะเตรียมสัญญาสำเร็จรูปที่เป็นรูปแบบที่ใช้เหมือนกันทุกคนในที่อยู่อาศัยนั้น  โดยผู้เช่าไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงสัญญาได้เลย จึงเห็นได้ว่าผู้เช่าจะไม่ค่อยได้อ่านในรายละเอียดของสัญญาหรืออ่านแล้วแต่ก็ไม่ได้สงสัยแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญของสัญญานั้นมีหลายข้อ แต่ข้อที่เป็นปัญหามากที่สุด คือเรื่องเงินประกัน ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเก็บเงินประกันเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ได้กำหนดคำว่า “ที่อยู่อาศัย” หมายถึง สถานที่ที่จัดขึ้นสำหรับการให้เช่าเพื่อเป็นที่พักอาศัย เช่น บ้าน อาคาร อาคารชุด อพาร์ตเม้นท์ หรือสถานที่พักอาศัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงสถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม และหอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก ดังนั้นเมื่อทำสัญญาเช่ากันแล้ว ผู้เช่าจะต้องชำระเงินค่าเช่าพร้อมเงินประกัน ซึ่งผู้ให้เช่าจะต้องจัดให้มีหลักฐานการรับเงินและมอบให้แก่ผู้เช่าในทันทีที่รับเงินประกัน โดยในหลักฐานการรับเงินที่ผู้ให้เช่าออกให้นั้น ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และจะต้องมีสาระสำคัญและเงื่อนไป ดังต่อไปนี้ 1. ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ และของผู้มีอำนาจออกหลักฐานการรับเงิน2. ชื่อและที่อยู่ของผู้เช่า3. ชื่อและสถานที่ตั้งของที่อยู่อาศัย4. กำหนดระยะเวลาที่อยู่อาศัย โดยระบุวันเริ่มต้นการเช่า และวันสิ้นสุดการเช่า(ถ้ามี)5. วัน เดือน ปี ที่รับเงินประกัน6. จำนวนเงินประกัน และข้อความว่า ผู้เช่ามีสิทธิได้รับเงินคืนเงินประกันทันทีเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาเช่าที่อยู่อาศัยหรือเมื่อสัญญาเช่าที่อยู่อาศัยเลิกกัน เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประสงค์จะตรวจสอบความเสียหายที่ผู้เช่าต้องรับผิดชอบ หากผู้เช่ามิได้ทำความเสียหาย ให้ผู้เช่ามีสิทธิได้รับเงินคืนประกันภายในเจ็ดวัน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรับภาระค่าใช้จ่ายในการนำส่งคืนเงินประกันนั้นตามวิธีการที่ผู้เช่าแจ้งให้ทราบซึ่งในเรื่องของเงินประกันนั้น มีประเด็นปัญหาเป็นที่ถกเถียงกันระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ว่าควรจะหักได้เท่าไหร่จากความเสียหายอะไรบ้าง ตามกฎหมายนั้นกำหนดว่า ผู้เช่าจะต้องรับผิดในกรณีที่มีการทำของภายในห้องเช่าชำรุด เช่น ผ้าม่าน ประตู ตู้ เตียง ที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินของห้องเช่าหรือหอพัก อันเกิดจากความผิดของผู้เช่าเองหรือของบุคคลอื่นที่เช่าอยู่ด้วย แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในกรณีเกิดความสกปรกที่เกิดจากจากใช้ห้องเช่าหรือหอพักนั้น แต่สำหรับค่าทำความสะอาดห้องนั้นจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว หลังจากผู้เช่าแจ้งย้ายออกแล้ว ผู้ให้เช่าจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาด ซึ่งจะหักจากเงินประกันและในสัญญาเช่าก็ได้เขียนไว้เกี่ยวกับการย้ายเข้าและย้ายออก ถ้าผู้เช่าอ่านก่อนเซ็นสัญญาก็จะทราบ แต่ที่สำคัญคือ จำนวนเงินที่หักไว้เป็นค่าทำความสะอาดนั้น ควรจะเหมาะสมกับความเป็นจริง จึงจะถือว่าไม่เอาเปรียบผู้เช่า เช่น ค่าทำความสะอาดห้อง 200-500 บาท  แต่ที่อยู่อาศัยบางที่หักค่าทำความสะอาดจากเงินประกันเกือบทั้งหมด มีทั้งค่าทำความสะอาดห้อง ค่าเสียหายต่างๆ ซึ่งบางอย่างผู้เช่าไม่ได้เป็นคนทำชำรุด แต่เกิดจากการชำรุดก่อนหน้าที่จะเข้าอยู่ ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้เช่าที่อยู่อาศัยที่เรียกเก็บเงินประกันเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ไม่สามารถที่จะยึดเงินประกันทั้งหมดของผู้เช่าได้ดังนั้น ในการที่ผู้ให้เช่าจะหักเงินประกันอะไรได้บ้าง ต้องเป็นไปตามกฎหมายและหากมีการตกลงกันเป็นเงื่อนไขของการหักเงินประกันตามสัญญา ก็ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย คงไม่ต้องถึงขนาดต้องมีการโพสต์ระบายในเฟชบุ๊กในกรณีที่มีการเอาเปรียบกันเกินไปครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พัฒนาเครือข่ายผู้บริโภค ‘เก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังอาหาร ยา สินค้าสุขภาพ’ รุกสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ” เพื่อเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพในการเก็บตัวอย่างสินค้าและบริการประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อนำไปใช้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงระดับท้องถิ่นอย่างมีมาตรฐานถูกต้องและมีประสิทธิภาพวันนี้ (10 ต.ค.60) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ - มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดกิจกรรมฝึกอบรมปฏิบัติการ การเก็บตัวอย่างและเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ ภายใต้ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้ให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน สามารถลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ทำการบรรจุ-จัดส่งผลิตภัณฑ์เพื่อส่งตรวจ และเฝ้าระวังสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพในท้องถิ่นได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยการบรรยายความรู้การเก็บตัวอย่างเพื่อการทดสอบอาหาร ยาและเครื่องสำอาง จาก ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างสินค้านายสมนึก งามละมัย ผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวว่า “การมีส่วนร่วมในการทดสอบสินค้าหรือบริการของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจากทั่วประเทศ มีผลดีต่อการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่กว้าง และครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น ทำให้ผลการทดสอบโดยรวม มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น” “ผู้เข้าอบรมเองจะได้รับความรู้พื้นฐานในการเลือกซื้อสินค้า ดูข้อมูลบนฉลาก ทำให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคมีความเชี่ยวชาญในการสุ่มเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะสินค้าในตลาดชุมชนที่ดูมีความสุ่มเสี่ยงน่าสงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไปยังห้องแล็บเพื่อตรวจสอบ และนำผลการทดสอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค” นายสมนึกกล่าว นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ความรู้และเทคนิคการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การคำนวณปริมาณที่ต้องสุ่มเก็บ เลขล็อตการผลิตที่ต้องเป็นชุดเดียวกัน การถ่ายภาพตัวอย่าง การบันทึกข้อมูลฉลากของตัวอย่างอาหารติดบนตัวอย่าง เหล่านี้ต้องทำอย่างระมัดระวังและเข้มงวด เพราะการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องจะสามารถนำส่งตรวจวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสินค้าประเภทอาหารหากเก็บผิดพลาด อาจไม่สามารถส่งตรวจได้ เป็นการเสียเวลาและงบประมาณ”นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ ผู้ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “อำเภอหาดใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสินค้าหลากหลาย มีแหล่งตลาดสดจำนวนมาก สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากจีนและมาเลเซียซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย เช่น อาหารแห้งและเครื่องสำอางที่มีความสุ่มเสี่ยง วันนี้ได้เรียนรู้การอ่านและดูฉลากและเลือกเก็บตัวอย่างประเภทอาหารสด อาหารแห้ง สุ่มเก็บอย่างไรให้ครอบคลุม โดยเรามีเครือข่ายอาสาทำงานในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่รู้เทคนิคการเก็บตัวอย่าง จะนำความรู้ในวันนี้ไปถ่ายทอดให้กับคนทำงานพื้นที่ต่อไป” นางสาวพวงทอง ว่องไว กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือและผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา กล่าวว่า “ปัญหาการเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพในภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศจีน เช่น ขนม อาหารแห้ง ยา และเครื่องสำอาง ซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย มีการตรวจพบสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรจีน จากรถขายเร่ที่มาจำหน่ายตามชุมชน ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้จดแจ้ง มาอบรมวันนี้ได้เทคนิคการอ่านฉลาก วิธีการเลือกเก็บตัวอย่างสินค้า การคำนวณปริมาณสินค้าที่ต้องส่งต่อ การบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำส่งเพื่อตรวจสอบสินค้า ซึ่งทั้งหมดจะได้นำไปใช้ทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ทั้งนี้ ภายหลังการฝึกอบรมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจะลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในชุมชนส่งศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานต่อไป ซึ่งจะส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนครอบคลุมพื้นที่ระดับประเทศมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 รู้เท่าทันหอยทากบำบัด

ฉบับนี้ขอนำเรื่องหอยทากบำบัดมาเล่าสู่กันฟัง เพราะหลายคนคงจะได้เห็นโฆษณากันตามท้องถนน และสื่อออนไลน์มากพอสมควร  หอยทากบำบัดที่ใช้เพื่อความงามของใบหน้าได้ผลจริงหรือไม่ มารู้เท่าทันกันเถอะมีการใช้หอยทากบำบัดมานานแค่ไหน มีการใช้หอยทากเพื่อการบำบัดมา ตั้งแต่สมัยของฮิปโปรเครตีส (460-370 ก่อนคริสตกาล)  เพื่อใช้ในการรักษาโรคถุงน้ำของไขสันหลัง นอกจากนี้ ยังใช้รักษาอาการปวดที่เกี่ยวกับแผลไหม้ ฝี และบาดแผล  ในคริสตศตวรรษที่ 18 มีการใช้สารจากหอยทากมาทำเป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาโรคผิวหนัง และยารักษาอาการของวัณโรคและไตอักเสบ  เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ให้ความสนใจหอยทากบำบัด  ปีค.ศ. 1999 มีการทบทวนยา  Ziconotide (SNXIII) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์จากพิษของหอยทากและใช้ลดอาการปวด  พบว่า การศึกษาในระดับพรีคลินิกและระดับคลินิกมีความน่าสนใจเมือกของหอยทากมีสรรพคุณอะไรบ้าง เมือกของหอยทากมีสารที่นำมาสกัดมากมาย เช่น  helicidine, pertussidine, pomaticine   โดยจะนำหอยทากมาแช่ในน้ำเกลือ 1%  หอยทากจะคายเมือกออกมา  ในน้ำเมือกย่อยอาหารของหอยทากจะมีเอนไซม์มากกว่า 30 ชนิด และยังมีเอนไซม์จากเมือกจากส่วนอื่นๆ อีกหลายชนิด  เมือกเหล่านี้ บางชนิดมีสรรพคุณต่างๆ เช่น การละลายเสมหะในทางเดินหายใจในห้องปฏิบัติการ เป็นต้นปัจจุบันยังนิยมใช้หอยทากบำบัดหรือไม่ ปัจจุบันมีความสนใจจากทางการแพทย์มากขึ้นในการนำประโยชน์จากหอยทากมาใช้ในการรักษาคน  นอกจากใช้เป็นยาที่ช่วยขับเสมหะแล้ว ยังพบว่า หอยทาก Helix pomatia ซึ่งเป็นหอยทากชนิดหนึ่งที่ใช้กินเป็นอาหาร  อาจนำมาใช้ในการบ่งชี้การทำนายโรคของมะเร็งเต้านม กระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่ นักวิจัยยังพบว่า ประชากรในเกาะครีต ประเทศกรีซ มีการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยกว่าประชากรในอเมริกา เนื่องจากประชากรในครีตบริโภคหอยทากเป็นปริมาณมาก  หอยทากมีปริมาณของ α-linolenic acid จำนวนมาก  ซึ่งป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดกระแสการใช้หอยทากเพื่อความงาม ในแวดวงความงาม สปา มีการใช้หอยทากในการบำบัดรอยเหี่ยวย่นของใบหน้า ช่วยทำให้ใบหน้ากลับมาเป็นหนุ่มสาวมากขึ้น เพราะเชื่อว่าเมือกเหนียวๆ ของหอยทากจะช่วยให้ผิวหน้ากลับมาเต่งตึงเหมือนผิวคนหนุ่มสาว  มีการประชาสัมพันธ์ผ่านดารา ผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มาใช้บริการและอ้างว่าได้ผลดี  ทำให้ผู้คนแห่ไปใช้บริการจากหอยทากเพื่อความงามจำนวนมาก ตั้งแต่ญี่ปุ่น อังกฤษ อินเดีย จนถึงไมอามี สหรัฐอเมริกา เป็นต้น  ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า มีการบำบัดด้วยหอยทากที่สปาเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานครประโยชน์ของหอยทากในการบำบัด เมื่อทบทวนจากเอกสารทางวิชาการ มีการศึกษาประโยชน์ของหอยทากจำนวนมาก  แต่แทบทั้งหมดจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับมะเร็ง โดยศึกษาในการทำนายโรคของมะเร็งและการใช้เพื่อชะลอการแพร่กระจายและลุกลามของมะเร็ง สรุป  การใช้หอยทากบำบัดมีมานานหลายพันปีจวบจนปัจจุบัน  มนุษย์มีความเชื่อว่า หอยทากเป็นสัตว์ที่มีสรรพคุณในการรักษาและเยียวยาโรคต่างๆ  ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน มีการนำเมือกจากหอยทากมาผลิตเป็นยาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ  มีการศึกษาเพื่อใช้ในการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด  ลดอาการปวดรุนแรง และโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 190 ขาวจากขาลามขึ้นมาถึงหน้า

หลายปีก่อนมีปรากฏการณ์เด็กวัยรุ่นสาวในจังหวัดเพชรบุรี “ขาลาย” กันหลายคน จากการติดตามลงพื้นที่เพื่อค้นหาปัญหาของเภสัชกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ทำให้ทราบข้อมูลว่าวัยรุ่นกลุ่มนี้ซื้อวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางมากวนเป็นครีมทาขาใช้กันเอง และยังนำครีมที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์มาผสมเพิ่มลงไปในครีมที่กวนด้วย ครีมสเตียรอยด์ที่เด็กวัยรุ่นกลุ่มนี้นำมาผสมคือ โคลเบตาซอล (clobetasol) ซึ่งเป็นสเตีอรอยด์ที่มีความแรงสูงสุด ใช้ไปทีแรกขาก็ขาวขึ้นแต่เมื่อใช้ไปนานๆ ขาที่ขาวกับมีลายริ้วเป็นเส้น จนเป็นข่าวครึกโครมออกสื่อโทรทัศน์ไปทั่วผ่านมาสามถึงสี่ปีแล้ว ไม่รู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวหายไปหรือยัง แต่ที่น่าตกใจคือพบพฤติกรรมใหม่อีก คือมีครีมหน้าขาวระบาดในหมู่คนที่อยากหน้าขาวหลายราย และลามไปหลายกลุ่มวัยด้วย ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยโรย มีการระบาดตั้งแต่ภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้ ผลิตภัณฑ์ที่ขายมีทั้งชนิดที่ผสมในตลับที่ไม่มีฉลาก(ผู้ซื้อไม่รู้ว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง) เมื่อตรวจวิเคราะห์ก็พบสารสเตียรอยด์ตัวเดิม คือโคลเบตาซอล (clobetasol) หรือบางทีก็มีการนำครีมที่ไม่มีฉลากมาขายเป็นชุด โดยขายรวมกับครีมโคลเบตาซอล ผลปรากฏว่ามีการแอบซื้อแอบขายกันอย่างแพร่หลายไปตามๆ กัน แต่ที่แพร่หลายไปด้วยก็คืออาการผิวหน้าเริ่มมีสิวขึ้น ผิวบางลง จนบางครั้งอาจเกิดเป็นริ้วลายเส้นๆ ตามใบหน้าในแง่วิชาการนั้น หากจัดลำดับความแรงของสารสเตียรอยด์ พบว่า โคลเบตาซอล จัดเป็นสเตอรอยด์ที่มีความแรงสูงสุดด้วยซ้ำ ดังนั้นเมื่อใช้ประจำอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงมากมาย เช่น หน้าจะกลับมามัน สิวจะเริ่มขึ้นตามบริเวณที่ทา ผิวส่วนที่ทาครีมจะบางลง จนเห็นเส้นเลือดฝอย บางคนเกิดอาการอักเสบ เมื่อใช้ไปนานๆ อาจมีขนดกขึ้นในบริเวณที่ทา จึงไม่ควรนำมาใช้กับใบหน้าในแง่กฎหมาย ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะไม่อนุญาตให้มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ทุกชนิด เพราะกฎหมายกำหนดให้ครีมที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ต้องขึ้นทะเบียนเป็นยาเท่านั้น ดังนั้นการผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์จึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้หากมีการขายเครื่องสำอางโดยจัดเป็นชุด ขายคู่กับยาครีมสเตียรอยด์ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม เพราะมีเจตนาให้นำไปใช้อย่างผิดวิธี และหากสถานที่จำหน่ายไม่ใช่ร้านขายยาก็ถือว่าผิดกฎหมายด้วย แต่ถ้าหากขายในร้านขายยาโดยมีการขายพร่ำเพรื่อไม่เหมาะสมถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็ถือว่าเภสัชกรร้านยา กระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพเช่นกันใครพบเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ แจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดโดยด่วน และอย่าลืมรีบเตือนผู้ที่กำลังหลงเป็นเหยื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปใช้โดยด่วนที่สุด ก่อนที่หน้าจะพังแหล่งข้อมูล : Facebook.com/ Rational Drug Use , กพย และ Sompong Apiromuck

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 10 พฤติกรรม ที่มีส่วนทำให้เชื้อดื้อยา

1. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรีย กินตามคนอื่นคนแต่ละคนอาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่างชนิดกัน การซื้อยาต้านแบคทีเรีย มารับประทานเอง อาจได้ยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ และยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้2. เคยหยุดรับประทานยาต้านแบคทีเรีย เมื่ออาการดีขึ้นยาต้านแบคทีเรีย ต้องรับประทานติดต่อหลายวันตามที่กำหนด หากเราหยุดรับประทาน อาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรคจะพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้3. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรีย กินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ในครั้งก่อนๆยาต้านแบคทีเรีย แต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดของเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หายแล้ว อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้4. เคยอมยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย การใช้ยาต้านแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม และต้องใช้ติดต่อให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด การอมยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินจำเป็น และอาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้5. เคยเปลี่ยนไปซื้อยาต้านแบคทีเรีย ที่แรงกว่าทานเองเมื่อรับประทานยาต้านแบคทีเรีย ชนิดแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้นทันใจการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม และใช้ติดต่อให้ครบตามระยะเวลา บางครั้งอาการเจ็บป่วยของเราต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรอาการถึงจะดีขึ้น การเปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรีย ตัวอื่นๆ ที่แรงกว่า อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้6. เคยแกะแคปซูลเอายาต้านแบคทีเรีย ไปโรยแผลนอกจากจะเป็นการใช้ยาไม่เหมาะสมแล้ว ยังทำให้แผลสกปรกและเสี่ยงต่อการเกิดอาการแผลอักเสบลุกลามได้ เพราะผงในแคปซูลไม่ได้มีแต่ตัวยาเท่านั้น ยังมีผงแป้งผสมอยู่ด้วย และยังอาจทำให้เชื้อโรคที่แผลพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้7. เคยใช้ยาต้านแบคทีเรีย ผสมในอาหารสัตว์ตามคำบอกเล่าเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เจ็บป่วยเป็นการใช้ยาที่ผิด และอาจไม่ได้ผลด้วย เนื่องจากขนาดยาไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้8. เคยใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่ทราบชื่อสามัญของยานอกจากจะเสี่ยงที่จะได้รับยาที่เคยแพ้แล้ว อาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อโรค อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้9. เคยไปซื้อยาแก้อักเสบกินเองอาการอักเสบตามความเข้าใจของคนทั่วไปมีหลายแบบ เช่น อาการปวดอักเสบ อาการอักเสบจากแผลหนอง อาการอักเสบเจ็บคอ บางครั้งเมื่อเราอักเสบจากการปวดและไปซื้อยาโดยระบุว่าต้องการยาแก้อักเสบกินเอง เราอาจได้ยาต้านแบคทีเรีย มาแทนยาแก้ปวดอักเสบ เป็นการใช้ยาต้านแบคทีเรีย อย่างไม่จำเป็นเพราะไม่ได้อักเสบจากการติดเชื้อ การได้รับยาเกินจำเป็น อาจทำให้เชื้อโรคดีๆ ในตัวเรา พัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้10. ไม่แนะนำคนที่ใช้ยาต้านแบคทีเรีย อย่างผิดให้ใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมการเพิกเฉยของเรา เท่ากับปล่อยให้มีการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่เหมาะสมขึ้นในสังคม สุดท้ายเมื่อเชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยา ปัญหานี้ก็จะกลับมาส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และผู้ป่วยอื่นๆ ในอนาคตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 เชื้อโรคดื้อยาปฏิชีวนะ ผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?

ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีคุณประโยชน์อย่างมากต่อมวลมนุษยชาติ แม้ว่าการค้นหาและสังเคราะห์ยาต้านจุลชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย แต่ทว่าจากปัญหาการใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ทำให้เชื้อแบคทีเรียปรับตัวดื้อยามากขึ้น ยาหลายชนิดไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อที่เคยรักษาได้อีกต่อไป จนปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่า ปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก จุลชีพที่เป็นปัญหาการดื้อยาอย่างมากคือ แบคทีเรีย เพราะแบคทีเรียดื้อยาเกิดขึ้นแล้วจะเพิ่มจำนวนและแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวาง ยืนยันได้จากการตรวจพบยีนดื้อยาปฎิชีวนะต่างๆ ที่แพร่กระจายไปในทุกภูมิภาคทั่วโลกองค์การอนามัยโลกรายงานว่า ทั่วโลกมีคนเสียชีวิตจากการติดเชื้อดื้อยาประมาณปีละ 700,000 ราย และหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเสียชีวิตประมาณ 10 ล้านคน เพราะมีแนวโน้มว่าพบเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้นจนน่าหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่โลกยุคหลังยาปฏิชีวนะ (post antibiotic era) ซึ่งไม่มียาที่มีประสิทธิภาพใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้ออีกต่อไป สำหรับประเทศไทย มีรายงานการศึกษาวิจัยเบื้องต้นจากการศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยารวม 17 แห่ง แล้วได้ประมาณการว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยา 87,751 ครั้ง เสียชีวิต 38,481 ราย ทั้งๆ ที่มีมูลค่ายาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาโรคสูงถึงประมาณปีละ 6,084 ล้านบาท มีมูลค่าสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 40,000 ล้านบาทองค์การอนามัยโลก จึงได้เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความร่วมมือดำเนินการอย่างจริงจัง มีมาตรการและแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่จะไม่มียาใช้รักษาโรคติดเชื้อที่สำคัญต่างๆ อีกต่อไป ในความเป็นจริงการแก้ปัญหานี้จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง รวมทั้งประชาชนผู้บริโภค เพราะมิสามารถปล่อยให้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนเท่านั้น ในฐานะผู้บริโภค เรามาทำความรู้จักกับแบคทีเรีย กลไกการดื้อยา การแพร่กระจายของเชื้อดื้อยา ตลอดจนปัจจัยต่างๆที่ส่งผลกระทบจากการดื้อยาของแบคทีเรียแบคทีเรียคืออะไรแบคทีเรีย เป็นจุลินทรีย์ที่ชีวิตขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มีรูปร่างไม่ซับซ้อน แต่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ เพิ่มประชากรได้อย่างรวดเร็ว บางชนิดเพิ่มจำนวนเป็นทวีคูณได้ทุก 15 นาที เช่น เชื้อเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) หรือเรียกย่อๆ ว่า อี โคไล แต่เชื้อบางชนิดก็ต้องใช้เวลานานในการเพิ่มประชากร เช่น เชื้อวัณโรค มีการเพิ่มจำนวนทวีคูณทุก 15 ชั่วโมง เป็นต้น แบคทีเรียมีสารพันธุกรรม ที่สำคัญ คือโครโมโซม เพียง 1 ชุด ที่ควบคุมคุณสมบัติต่างๆ การเพิ่มจำนวนการปรับตัวในสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่รอด แบคทีเรียอาจมีสารพันธุกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น พลาสมิด ทรานส์โปซอน อินทิกรอน ซึ่งจะทำให้มีความสามารถต่างๆ รวมทั้งการดื้อยาเพิ่มขึ้น เป็นต้นแบคทีเรีย พบได้ทั่วไป ทั้งในดิน น้ำ อากาศ ในคน สัตว์ พืช มีทั้งชนิดที่มีประโยชน์ และชนิดที่ก่อโรค จึงมีการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรียชนิดดีมาอย่างยาวนาน ส่วนแบคทีเรียก่อโรค มนุษย์ก็พยายามแสวงหาวิธีการรักษา จนการค้นพบยาปฏิชีวนะ ที่มีประสิทธิภาพในการฆ่า หรือยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคนั้นๆการดื้อยาปฏิชีวนะแบคทีเรียแต่ละชนิดถูกทำลายด้วยยาปฏิชีวนะ/ยาต้านแบคทีเรียแตกต่างกันไป และกลไกออกฤทธิ์เพื่อทำลายแบคทีเรียของยาก็แตกต่างกัน เช่น การทำลายผนังเซลล์ การยับยั้งการสร้างโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของเชื้อ การขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์ การขัดขวางการทำงานของสารพันธุกรรม การขัดขวางการแบ่งตัว เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความอยู่รอด เชื้อจึงมีการพัฒนาความสามารถในการต้านทาน หรือทำลายฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะ โดยกรรมวิธีต่างๆ ซึ่งเรียกว่า การดื้อยาการดื้อยาของแบคทีเรียจำแนกเป็น การดื้อยาตามธรรมชาติ เช่น เชื้อแบคทีเรียบางชนิดไม่ถูกทำลายด้วยยาบางชนิดตั้งแต่ต้น เพราะมีคุณสมบัติทางสรีรวิทยาของเยื่อหุ้มเซลล์ที่ทำให้ยาเข้าสู่เซลล์ได้น้อย ไม่เพียงพอจะทำลายแบคทีเรียได้ การดื้อยาแบบนี้ไม่เป็นปัญหาต่อการใช้ยารักษาโรคติดเชื้อ เพราะเป็นความรู้พื้นฐานของการเลือกใช้ยาที่ทราบกันทั่วไป เช่น ยาเพนิซิลลิน ไม่มีผลต่อเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ต้องใช้ยาแอมพิซิลลินในการรักษา เป็นต้นการดื้อยาของแบคทีเรียที่เป็นปัญหาต่อการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรค คือ การกลายพันธุ์ และการดื้อยาโดยการได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อม อันเป็นกลไกการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของแบคทีเรียในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมนั่นเองการดื้อยาโดยการกลายพันธุ์ กระบวนการนี้ เกิดขี้นได้โดยการเปลี่ยนแปลงของดีเอ็นเออย่างน้อย 1 ตำแหน่งบนโครโมโซม เกิดขึ้นได้ในอัตราต่ำประมาณ 1 เซลล์ในล้านเซลล์ ทว่า การที่แบคทีเรียเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วดังกล่าวแล้ว จึงใช้เวลาไม่นานในการกลายพันธุ์ดื้อยาและเพิ่มประชากรเชื้อดื้อยา ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อมียาต้านแบคทีเรียชนิดใหม่ๆ การรักษาจะได้ผลดีในระยะแรก หากมีการใช้ยาอย่างพร่ำพรื่อ ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ต่อมามักจะพบว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ไม่ได้ผลในการรักษา ทำให้ต้องคิดค้นยาใหม่ต่อไป การกลายพันธุ์เพื่อดื้อยานี้ เป็นการปรับตัวเพื่อการอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยที่แบคทีเรียจำนวนมากจะถูกทำลายไปด้วยยาปฏิชีวนะ แต่หากความเข้มข้นของยาไม่เพียงพอ การใช้ยาไม่ต่อเนื่อง ก็จะมีเชื้อเพียงจำนวนน้อยที่รอดชีวิต และปรับตัวโดยการกลายพันธุ์ ในระดับยีน เพื่อไม่ให้ยาที่ใช้เข้าไปทำลายเชื้อได้ นั่นคือ เป็นการกลายพันธุ์เพื่อต่อต้านยาการดื้อยาโดยการได้รับยีนดื้อยา แบคทีเรียสามารถรับการถ่ายทอดยีนดื้อยาจากแบคทีเรียต่างสายพันธุ์ได้หลายวิธี ได้แก่ โดยกระบวนการคอนจูเกชั่น ทรานส์ฟอร์เมชั่น และทรานส์ดักชั่น ทำให้ดื้อยาตั้งแต่ 1 ชนิด ถึงหลายชนิดได้การคอนจูเกชั่น เป็นการถ่ายทอดยีนดื้อยาโดยตรงระหว่างแบคทีเรีย 2 เซลล์ที่มีคุณสมบัติต่างกัน โดยเป็นเชื้อชนิดเดียวกัน หรือเชื้อต่างชนิดกันก็ได้ ตัวอย่างเช่นการคอนจูเกชั่นระหว่างเชื้อซัลโมเนลลา (Salmonella spp.) ที่ดื้อยา กับเชื้อซัลโมเนลลาที่ไวต่อยา ก็จะทำให้เชื้อซัลโมเนลลาที่ ไวต่อยา รับยีนดื้อยา เปลี่ยนเป็นเชื้อดื้อยา หรือการคอนจูเกชั่นระหว่างเชื้อซัลโมเนลลา ที่ดื้อยากับเชื้ออีโคไลที่ไวต่อยา ทำให้เชื้ออีโคไลเปลี่ยนเป็นเชื้อดื้อยา เพราะรับยีนดื้อยาจากเชื้อซัลโมเนลลาการแลกเปลียนยีนกันไปมา ก็ทำให้ยีนดื้อยาส่งต่อให้เชื้ออื่นๆ ที่เหมาะสมในสิ่งแวดล้อม หรือในร่างกายของผุ้ป่วย เช่น ทางเดินอาหาร ซึ่งมีแบคทีเรียประจำถิ่นอาศัยอยู่มากมายทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นกระบวนการถ่ายทอดยีน โดยแบคทีเรียรับยีนที่อยู่เป็นอิสระในสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ ซึ่งยีนนั้นๆ จะชักนำให้แบคทีเรียแสดงคุณสมบัติของยีนต่อไป ในกรณีนี้ แม้แบคทีเรียที่มีแบคทีเรียที่มียีนดื้อยาจะตายไป เหลือแต่ยีน ยีนนั้นๆ ก็สามารถเข้าไปในเซลล์อื่นๆ แล้วชักนำให้ดื้อยาได้ทรานส์ดักชั่น เป็นกระบวนการถ่ายทอดยีนระหว่างแบคทีเรียโดยอาศัยแบคเทอริโอฟาจ หรือไวรัสของแบคทีเรียเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดยีนระหว่างเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นวิธีการนี้มีข้อจำกัดในการถ่ายทอดยีนดื้อยากลไกการดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย เกิดขึ้นจากหลายกลไก ได้แก่แบคทีเรียสร้างเอนไซม์ทำลายยา ทำให้ยาสูญเสียประสิทธิภาพแบคทีเรียมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณที่เป็นเป้าหมายของยา ทำให้ยาไม่สามารถจดจำบริเวณ นั้นได้รบกวนการซึมผ่านของยาเข้าสู่เซลล์แบคทีเรีย ทำให้ยาเข้าสู่เซลล์น้อย ไม่สามารถทำลาย แบคทีเรียได้สร้างสารชีวโมเลกุลที่แย่งจับกับเอ็นไซม์หรือเป้าหมายของยา ทำให้ยาไม่สามารถทำลายเชื้อได้กลไกดังกล่าวข้างต้นควบคุมด้วยยีนต่างๆ ที่เรียกว่ายีนดื้อยา ดังนั้น การที่แบคทีเรียสามารถถ่ายทอดยีน หรือแลกเปลี่ยนยีนระหว่างเชื้อแบคทีเรีย หรือรับยีนจากสิ่งแวดล้อมได้ ทำให้แบคทีเรีย 1 เซลล์ได้รับยีนมากกว่า 1 ยีนได้ อาจรับได้มากถึง 4 ยีน จึงมีคุณสมบัติดื้อยาหลายชนิดพร้อมกัน นำไปสู่ปัญหาการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคอย่างมากปัจจัยสำคัญที่เป็นสาเหตุของการปรับตัวดื้อยาของแบคทีเรีย ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม การปนเปื้อนของยาใน น้ำ อาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงต้องควบคุมปัจจัยเหล่านั้นอย่างเข้มงวดการดื้อยาข้ามกลุ่มการดื้อยาข้ามกลุ่มคืออะไร ? คือการที่แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะโดยผลจากการได้รับสารที่เคมีมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลุ่มไบโอไซด์ (biocides) เช่น กรณีไตรโคลซาน (triclosan) ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ประเภทสบู่ ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ล้างมือ เป็นต้น ทว่ามีรายงานวิจัยพบว่าเมื่อใช้เป็นเวลานาน ทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ โดยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการปั๊มยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยไม่สามารถฆ่าเชื้อ และเชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุด ปัจจุบัน องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแล้ว รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ขนิด ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีในการลดการทำให้แบคทีเรียดื้อยา เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเคมีเหล่านี้ ถูกใช้อย่างกว้างขวางในชีวิตประจำวันแบคทีเรียดื้อยาที่พบในประเทศไทยศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งขาติ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า พบแบคทีเรียดื้อยากลุ่มต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้เชื้ออะซินีโตแบคเตอร์ (Acinetobacter spp.) และเชื้อซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) เป็นเชื้อที่มักพบในผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล(Methicillin resistant Staphylococcus aureus, MRSA และ Methicillin resistant coagulase negative S. aureus, MRCoNS)เชื้อเอนเทอโรคอคไคดื้อยาแวนโคมัยซิน (Vancomycin resistant enterococci , VRE)เชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริเอซีที่สร้างเอนไซม์เบต้าแลคเทมเมสชนิดมีฤทธิ์กว้าง (Extended spectrum beta-lactamase , ESBL producing Enterobacteriaceae)Enterobacteriaceae , CRE)เชื้อสเตรฟโตคอคคัสดื้อยาเพนิซิลลิน (Penicillin resistant Streptococcus pneumoniae , PRSP)วัณโรคดื้อยาหลายชนิด (Multidrug resistant tuberculosis , MDR-TB และ Extensively drug resistant tuberculosis, XDR-TB)เชื้ออีโคไลที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ซึ่งต้องศึกษาในรายละเอียดต่อไปว่า มียีนดื้อยาบนโครโมโซม หรือชนิดที่มียีน mcr-1 บนพลาสมิดแบคทีเรียดื้อยาต้านจุลชึพในปศุสัตว์สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ได้สำรวจติดตาม ระหว่าง พ.ศ. 2545-2558 พบเชื้อดื้อยาในหมู ไก่ เป็ด และห่าน ได้แก่ เชื้ออีโคไล และ ซัลโมเนลลา พบเชื้อแคมพิโลแบคเตอร์ (Campylobacter spp.) ดื้อยาในเนื้อหมู และไก่ และบางตัวอย่างสามารถพบเชื้อซัลโมเนลลาที่ดื้อยาถึง 3 ชนิดพร้อมกัน เชื้อที่ตรวจพบนั้นดื้อยาปฏิชีวนะต่างๆ ดังต่อไปนี้อะมอกซีซิลลินอะมอกซีซิลลิน/คลาวูลานิคแอซิด แอมพิซิลลินเตตราซัยคลิน อ๊อกซีเตตราซัยคลินสเตร็ปโตมัยซิน ไทรเมทโทพริมซัลฟาเมโธซาโซล กานามัยซินเจนตามัยซินเอนโรฟ็อกซาซินด็อกซีซัยคลินโคลิสตืน เซฟติโอเฟอ สเป็คติโนมัยซิน คลอแรมเฟนิคอล นาลิดิซิคแอซิด ซัยโพรฟล็อกซาซินแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในสัตว์น้ำกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่า ในช่วงปี พ.ศ, 2549-2557 แบคทีเรียก่อโรคที่พบเป็นปัญหาสำคัญของสัตว์น้ำทั้งปลา และกุ้ง ได้แก่ เชื้อวิบริโอ ( Vibrio spp. ) ดื้อยาต่อไปนี้ ได้แก่เตตราซัยคลิน อ๊อกซีเตตราซัยคลินคลอแรมเฟนิคอลซัลฟาเมโธซาโซล ออกโซลินิตแอซิดเอนโรฟล็อกซาซินการใช้ยาปฏิชีวนะในพืชโรคกรีนนิ่งในพืชตระกูลส้ม เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะนาว เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลผลิตลดลง โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมลบ ชื่อแคนดิดาตัส ลิเบอริแบคเตอร์ (Candidatus liberibacter) ซึ่งก่อโรคในท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ปัจจุบันเกษตรกรใช้ยาแอมพิซิลลินฉีดเข้าไปในท่อลำเลียงน้ำและอาหารของต้นพืชโดยตรงเพื่อการทำลายเชื้อ ยังไม่มีรายงานการดื้อยา แต่ควรต้องติดตามต่อไปว่ายาแอมพิซิลลินที่ใช้จะทำให้เชื้อก่อโรคพืชดื้อยาหรือไม่ และมีผลกระทบทำให้แบคทีเรียอื่นๆ บริเวณต้นพืชดื้อยาหรือไม่การตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหารสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานผลการสำรวจยาปฏิชีวนะกลุ่มคลอแรมเฟนิคอล ไนโตรฟูแรน เพนิซิลลิน ซัลโฟนาไมด์ เตตราซัยคลิน ที่อาจตกค้างในเนื้อหมู กุ้ง ไก่ และเครื่องใน ระหว่าง พ.ศ. 2553-2557 พบว่ายาตกค้างในเนื้อสัตว์ที่ตรวจบางตัวอย่าง ได้แก่ซัลฟาไดมิดีนซัลฟาไดอะซีนซัลฟาไทอะโซลเซมิคาร์บาไซด์อ๊อกซาโซลิดิโนนซัลฟิซ็อกซาโซลผู้บริโภคจะทำอย่างไร ?ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันสถานการณ์ นับว่าเป็นภัยคุกคามชีวิตคนไทยและคนทั่วโลก และเห็นได้ว่า การปรับตัวดื้อยา ปฏิชีวนะของแบคทีเรียเกิดขึ้นได้ไม่ยาก แล้วเชื้อสามารถแพร่กระจายได้หลายวิธีการ ผู้บริโภคจำป็นต้องรู้เท่าทันปัญหา และไม่ร่วมสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น โดย  ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น  หากจำเป็นต้องใช้ ต้องใช้อย่างถูกต้อง เพื่อทำลายเชื้อก่อโรคให้หมดจริงๆ ไม่เหลือให้ปรับตัวดื้อยาในร่างกาย  จำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะในอุตสาหกรรมเกษตร และปศุสัตว์ ใช้เมื่อจำเป็น อย่างเหมาะสม  ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา ช่วยเฝ้าระวังการปนเบื้อนของยา เชื้อดื้อยา ในอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2559“บินถูกแต่ไม่มีที่นั่ง” โฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกของบรรดาสายบิน “โลว์คอสต์” ต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำและกลุ่มผู้ที่รักการท่องเที่ยว แต่ล่าสุดได้เกิดปัญหาจากโฆษณาโปรโมชั่นของสายบินโลว์คอสต์ที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ต้องออกมาเตือนพร้อมกำหนดแนวทางให้กับบรรดาสายการบินต่างๆ ในการทำโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกโดย สคบ.ออกมาเตือนสายการบินโลว์คอสต์แห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าบินเที่ยวออสเตรเลียจ่ายเพียง 1,200 บาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ราคาที่โฆษณามีที่นั่งจำกัดแค่ 1-2 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวถือเป็นโฆษณาในลักษณะที่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะเป็นการโฆษณาโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทาง สคบ.จึงทำเอกสารชี้แจงไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ว่าการโฆษณาโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาพิเศษต่างๆ สามารถทำได้ แต่ต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ครบถ้วน เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียด วันเริ่มต้น วันสิ้นสุดของโปรโมชั่นที่โฆษณา จำนวนที่นั่งที่มีให้ หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด กระทำการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะมีความผิดตามกฎหมาย ถอนทะเบียน 40 ตำรับยาต้านแบคทีเรีย ทำคนป่วยเพราะดื้อยามีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย” โดยเป็นการแถลงข้อมูลที่ได้จากการศึกษารายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ พบว่ามีมากกว่า 40 สูตรยาตำรับ ที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรค เช่น “ยาอมแก้เจ็บคอ” ที่ไม่ควรมียาต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ เพราะโรคเจ็บคอมากกว่า 80% ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากเกิดจากแบคทีเรียปริมาณยาก็ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อในลำคอให้หาย แถมการกลืนยาลงสู่กระเพาะอาหารยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาของแบคทีเรียในลำไส้ หรือ ยาต้านแบคทีเรียที่เป็นสูตรผสมชนิดฉีด ที่ไม่ควรเป็นสูตรผสมเพราะอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียาดังกล่าวได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th10 อาการป่วยใช้สิทธิ์ฉุกเฉินได้ทันทีฟรี 24 ชม. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต 10 อาการ เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย ในการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ซึ่งหากพบผู้ป่วยด้วยอาการ 10 ลักษณะต่อไปนี้ สามารถเข้ารับการรักษากรณีฉุกเฉินได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, 3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือ มีอาการชักร่วม, 4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด, 6.ได้รับบาดเจ็บ ต่อสมอง ต่อกระดูกสันหลัง มีแขนขาอ่อนแรง มีบาดแผลที่เสียเลือดมาก ถูกไฟฟ้าแรงสูง แผลไฟไหม้บริเวณกว้าง, 7.ถูกยิง ถูกแทง ที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะสาคัญ, 8.งูพิษกัด ซึม หายใจลำบาก หนังตาตก, 9.ตั้งครรภ์และชัก ตกเลือดมาก มีน้ำเดิน เด็กโผล่ และ 10.บาดเจ็บต่อดวงตาจากสารพิษ มองไม่ชัดคนไทยถูกค่ายมือถือเอาเปรียบ?รู้หรือไม่ว่า? คนไทยต้องจ่ายค่าบริการโทรศัพท์มือถือสูงกว่าความเป็นจริง  หลังจากมีข่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ได้เรียกให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ข้อมูลที่ทั้ง 3 บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู คิดค่าบริการเกินกว่าที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้บริการ ซึ่งทาง กสทช. ก็รับว่าปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายมือถือยังมีการคิดค่าบริการที่สูงกว่าอัตราที่ กสทช. กำหนดโดยตามประกาศ เรื่องอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ กสทช. กำหนดนั้น การคิดค่าบริการจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง แยกเป็น การบริการเสียง ห้ามเกินนาทีละ 69 สตางค์ บริการข้อความสั้น (SMS) ไม่เกิน 1.15 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ไม่เกิน 3.11 บาท/ข้อความ และบริการอินเตอร์เน็ต (Mobile Internet) ไม่เกิน 0.26 บาท/เมกกะไบค์ (MB)ซึ่งจากนี้ กสทช. ต้องทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ประกอบการค่ายมือถือที่เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหากพบว่าค่าบริการที่ใช้อยู่สูงกว่าอัตราที่ทาง กสทช. กำหนด สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช.1200 ฉลากอาหารแบบใหม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภควอนรัฐเดินหน้าอย่ายกเลิกคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) นำเสนอผลการสำรวจการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่มีการปรับปรุงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยข้อมูลผลสำรวจที่ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลโต้แย้งกับแนวคิดของประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคน้อยกว่าฉบับที่ 367 โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะมีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 จะมีการให้แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าประกาศฉบับที่ 194 เช่น สำหรับผู้แพ้อาหาร กรณีใช้ส่วนประกอบหรือปนเปื้อนในกระบวนการผลิตของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นม นอกจากนี้ต้องแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะหรือตัวเลขตามระบบเลขรหัสสากล (International Numbering System : INS for Food Additives)รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากแสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่เป็นความจริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว และให้มีกระบวนการตรวจสอบการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 2555 เจ็บป่วย ฉุกเฉิน รักษาได้ทุกที่ไม่มีแบ่งสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.นี้เป็นต้นไป ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถเข้ารักษาได้ทันทีทุกโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชน ใกล้ที่ไหนไปที่นั้น ไม่มีการแบ่งสิทธิ ทุกกองทุนสุขภาพให้บริการภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ซึ่งทั้ง 3 กองทุนสุขภาพของไทย ประกอบด้วย กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม และกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ จับมือร่วมกันเพื่อพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลของบ้านเราให้เป็นไปอย่าง เท่าเทียม รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นก้าวสำคัญที่อาจเป็นความหวังเล็กๆ ที่นำไปสู่การสร้างระบบประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวกันให้กับคนไทยทั้งประเทศ สำหรับนิยามของผู้ป่วยฉุกเฉินที่คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดเอาไว้หมายถึง ผู้ป่วยด้วยโรค ได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง หัวใจ ทางเดินหายใจ ต้องดูแลติดตามใกล้ชิด เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน   หากต้องการความช่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถติดต่อได้ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669 แต่หากมีข้อสงสัยเรื่องสิทธิหรือสอบถามรายชื่อ รพ. ติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ โทร. 1330 -------------------------------------------     คนไทยป่วยมากขึ้น เพราะกินผักน้อยลง ถือเป็นเรื่องที่น่าตกใจเมื่อมีผลการวิจัยออกมาว่า คนไทยกินผัก – ผลไม้น้อยลง ซึ่งส่งผลทำให้คนไทยเราป่วยด้วยโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง กันมากขึ้น โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่าปัจจุบันมีคนไทยป่วยด้วยโรคที่กล่าวมาเฉลี่ยปีละ 97,900 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งกว่า 6 หมื่นคนเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ชี้ให้เห็นว่าคนไทยเราอายุสั้นลง แถมคนไทยเรายังกินยากันมากถึงปีละ 4.7 หมื่นล้านเม็ด หรือเฉลี่ยวันละ 128 ล้านเม็ด สาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยป่วยเพิ่มขึ้น มาจากการขาดการดูแลสุขภาพที่ดี ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ที่สำคัญคือการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม กินแต่ของหวาน ของเค็ม ของมัน แต่กลับกินผัก – ผลไม้น้อยเกินไป ซึ่งจากข้อมูลของกรมอนามัยพบว่าในปี 2554 ที่ผ่านมา คนไทยกินผักกันค่อนข้างน้อยเฉลี่ยแค่คนละ 1.8 กรัมหรือไม่ถึง 2 ขีดเท่านั้น ทั้งที่ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ให้กินผักให้ได้อย่างน้อยวันละ 4 ขีด จึงจะผลในทางบวกต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นในฐานะที่บ้านเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ควรหันมาให้ความสำคัญกับการกินผัก – ผลไม้กันให้มากขึ้น เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง -----------------------------------------------     ตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสาร...มาตรการเพื่อความปลอดภัย ช่วงที่ผ่านมามีข่าวรถตู้โดยสารสาธารณะประสบอุบัติเหตุบ่อยครั้งจนน่าตกใจ แต่ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือจำนวนทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการที่มีแต่มากขึ้น ในสภาพการจราจรที่แสนจะแออัดวุ่นวายของกทม. แม้จะหวั่นใจเรื่องอุบัติเหตุแต่รถตู้โดยสารก็เป็นทางเลือกที่หลายคนต้องการ เพราะสะดวกกว่าและประหยัดเวลา แต่เรื่องความปลอดภัยยังไงก็เรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง กรมขนส่งทางบกจึงออกมาตรการให้รถตู้โดยสารสาธารณะทุกคันต้องติดตั้งระบบตรวจจับความเร็วที่มีชื่อว่า RFID (Radio Frequency Identification) ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่ตรวจจับความเร็วของรถตู้โดยสารสาธารณะขณะวิ่งบนทางด่วน โดยความเร็วที่กำหนดไว้คือไม่เกิน 90 กม./ชั่วโมง รถตู้ที่ฝ่าฝืนขับเร็วเกินกว่าที่กำหนดจะต้องเสียค่าปรับ 5,000 บาท ถ้าทำผิดซ้ำจะถูกปรับเพิ่มเป็น 10,000 บาท โดยขณะนี้ยังมีการใช้ระบบตรวจจับความเร็วรถตู้โดยสารเฉพาะในกทม.เท่านั้น แต่ในอนาคตข้างหน้ากรมขนส่งทางบกตั้งใจจะขยายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับการเลือกใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนที่ต้องเป็นพื้นสีเหลือง ตัวเลขและตัวอักษรเป็นสีดำ แสดงชื่อเส้นทางทีวิ่ง ด้านข้างรถมีเครื่องหมายแสดงการเข้าร่วมกับ ขสมก. และ บขส. -------------     “สเตียรอยด์” ตัวร้าย...อันตรายที่แฝงมากับยาแผนโบราณ เพราะบ้านเรายังมีความเชื่อผิดๆ เรื่องการใช้ยากันอยู่อีกมาก อย่างความเชื่อที่ว่าการใช้ยาสมุนไพรหรือยาแผนโบราณปลอดภัยกว่ายาแผนปัจจุบัน ซึ่งความจริงอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากยังพบว่ามีการใส่สารสเตียรอยด์ลงในยาแผนโบราณที่วางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) จึงได้งานเสวนาเรื่อง “สภาพปัญหาและผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดจากการใช้สเตียรอยด์” เพื่อเป็นสร้างความเข้าใจและกระตุ้นเตือนอันตรายของสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนอยู่ในยาแผนโบราณ จากการเก็บตัวอย่างยาแผนโบราณที่วางขายทั่วไป โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังพบการปลอมปนสารสเตียรอยด์ ทั้งในยาที่ได้และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน พบทั้งในแบบที่เป็นยาลูกกลอน ยาชุด ยาน้ำสมุนไพร รวมถึงเดี๋ยวนี้ถูกนำมาไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมด้วย ซึ่งอันตรายของสารสเตียรอยด์มีตั้งแต่ไปกัดกระเพาะอาหาร ทำให้กระดูกพรุน กล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจรุนแรงถึงขั้นไตวาย ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลา ยิ่งกินต่อเนื่องเป็นเวลานานยิ่งอันตรายมาก คนที่เสี่ยงกับสารสเตียรอยด์ส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ตามต่างจังหวัด เพราะเวลาที่เจ็บป่วยไม่นิยมไปสถานพยาบาล อาจจะด้วยเพราะเดินทางลำบากหรือคิดว่าไปหาหมอต้องเสียเงินมาก จึงเลือกวิธีซื้อยามากินเอง ซึ่งยาที่ซื้อก็มักเป็นยาสมุนไพรยาแผนโบราณที่ขายตามร้านขายของชำทั่วไปบ้าง รถเร่ที่ประกาศขายยาต่างๆ บ้าง เป็นเพราะหลงเชื่อในคำโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ แม้เดี๋ยวนี้จะการควบคุมเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้มงวดขึ้น แต่รูปแบบของการหลอกขายผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีเพิ่มขึ้นหลายช่องทาง ทั้ง อินเตอร์เน็ต ทีวีเคเบิ้ล วิทยุชุมชน การขายตรง ภาครัฐต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการกินยาที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภค และควบคุมดูแลการผลิตยาที่ปลอดภัย อย่าให้มีการลักลอบใช้สารสเตียรอยด์ พร้อมทั้งป้องกันการผลิตและจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมาย ที่สำคัญคือผู้ป่วยต้องรู้เท่าทันเลือกกินยาที่ปลอดภัยได้รับการรับรองจากเภสัชกร อย่ากินเพราะคำโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเอง --------------------------------------------     วันสิทธิผู้บริโภคสากล ถึงเวลาตื่นตัวปัญหาผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ต้อนรับ “วันสิทธิผู้บริโภคสากล” เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยได้มีการแปลอักษรคำว่า “World Consumer Rights Day” รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและชักชวนให้ผู้บริโภคหันมาตระหนัก และสนใจในสิทธิรอบตัว เช่น การโดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัย ราคาดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เป็นต้น โดยมีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก โดยในปีนี้ประเด็นที่องค์กรผู้บริโภคทั่วโลกรณรงค์ร่วมกันคือ ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคาร ซึ่งองค์กรผู้บริโภคประเทศไทยของเรามีประเด็นปัญหาการเงินการธนาคารที่อยากให้ภาครัฐจัดการแก้ไข ได้แก่ 1.ปัญหาการคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป 2.ปัญหาการทวงหนี้ไม่เป็นธรรม และ 3.ตั้งคณะทำงานทบทวนมาตรการการกำหนดดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนโยบายหรือมาตรการที่ออกมาเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการแทบทั้งสิ้น เช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก การเก็บค่าธรรมเนียมการการโอนเงิน การฝากเงิน การเก็บเงินจากการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม ผู้บริโภคต้องรับภาระส่วนนี้โดยไม่เป็นธรรม พร้อมกันนี้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคยังส่งเสียงถึงรัฐบาล เรียกร้องให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (มาตรา 61) ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งกฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากให้กับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >