ฉบับที่ 203 การเลือกซื้อรถยนต์ให้สัมพันธ์กับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณแม่ว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถยนต์เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ บางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเดินทางร่วมกันของครอบครัว ดังนั้นการเลือกซื้อรถยนต์ เพื่อตอบโจทย์ในเรื่อง ความเป็นมิตรกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก (Family friendly car) จำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป คือ ยิ่งเป็นรถขนาดใหญ่ยิ่งดีใช่หรือไม่?คำตอบคือ ถูกเพียงครึ่งเดียว สิ่งที่ควรพิจารณา คือ ความง่ายในการติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก(car seat) และเข็มขัดนิรภัยของรถ สามารถติดตั้งได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งในรถรุ่นเก่าก่อนปี 2004 จะไม่มีตะขอโลหะที่ซ่อนอยู่ใต้เบาะสำหรับติดตั้งที่นั่งสำหรับเด็ก แบบ Isofix ซึ่งเป็นชิ้นส่วนมาตรฐานสำหรับรถยนต์ในปัจจุบัน(โดยเฉพาะรถยนต์ ของประเทศยุโรป)  ที่มีไว้สำหรับการติดตั้ง car seat สำหรับเด็ก นอกจากนี้ ควรพิจารณาถึงความยาวของเข็มขัดนิรภัยในรถด้วย เพราะถ้าความยาวของเข็มขัดสั้นเกินไปอาจทำให้เกิดการรัดเข็มขัดที่ยากขึ้น หรือไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยได้สำหรับกรณีการติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับทารกแบบ carry seat ซึ่งการติดตั้งในกรณีที่ติดตั้งอยู่ข้างหน้าข้างคนขับจะต้องล็อคไม่ให้กลไกถุงลมนิรภัยทำงาน เนื่องจากจะเป็นอันตรายแก่เด็กในกรณีเกิดอุบัติเหตุ  และหากเป็นไปได้ ก็ควรเลือกรถที่มี ประตู ปิด เปิด แบบสไลด์ นอกจากจะต้องคำนึงถึงรถยนต์คันใหม่ที่จะซื้อแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังต้องคำนึงถึง ที่นั่งนิรภัยที่จะซื้อตามมาอีกด้วย เพราะ ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ไม่ได้ทำมาเพื่อติดตั้งได้กับรถทุกคันในตารางที่แสดงผลการทดสอบ ความเหมาะสมของที่นั่งตำแหน่งต่างๆ ของรถยนต์หลากหลายยี่ห้อ หลากหลายแบบ ตั้งแต่ รถยนต์ กลุ่ม Middle class SUV VAN และ Compact wagon จำนวน 18 รุ่น จะเห็นได้ว่า การติดตั้งที่นั่งนิรภัยด้านข้างคนขับนั้นทุกยี่ห้อ ได้ผลการประเมินเพียงแค่ พอใช้ หรือผ่านเท่านั้น เนื่องจากเด็กไม่ควรนั่งข้างหน้าข้างคนขับ ยกเว้นในกรณีจำเป็น เพราะในกรณีเกิดอุบัติเหตุ เด็กจะได้รับการบาดเจ็บที่รุนแรงกว่า การที่นั่งข้างหลังสำหรับการให้คะแนนในการประเมินทางองค์กรที่ทดสอบการติดตั้งที่นั่งนิรภัยจะพิจารณาจากความยาวของเบาะที่นั่ง ที่ว่างด้านหน้าเบาะ ตำแหน่งของตะขอสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยแบบ Isofix และความยาวของเข็มขัดนิรภัยที่มา วารสาร Test ฉบับที่ 7/2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบัน ร้อยละ 30 ของเด็กมีพัฒนาการไม่สมวัย ส่วนหนึ่งเพราะ   เด็กทารก เด็ก ใช้สื่อ ดูสื่อ ได้รับสื่อทางอ้อม มากถึง 4 ชม.ต่อวันจากการประชุมเวทีสื่อสาธารณะ เรื่อง “แนวทางการกำหนดช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับเด็กในการใช้สื่ออออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนและแทบเลต”  ซึ่งจัดโดย คณะอนุกรรมการส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2560 มีเรื่องที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ เด็กแรกเกิดถึงอายุสองปี ไม่สามารถแปลงภาพและเสียงที่พบเห็นและได้ยินจากสื่อหน้าจอ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท มาเป็นความรู้ที่จะใช้กับโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วยตนเอง เด็ก แรกเกิดถึงอายุ 2 ปี เป็นวัยที่สมองมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลง พัฒนาการ ทุกด้าน อย่างรวดเร็ว เด็กวัยนี้จะต้องเรียนรู้โดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวภายใต้การสอนการบอก การแยกแยะ สิ่งถูกผิด การคุ้มครองอันตรายโดยผู้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีพัฒนาการที่ดี ทั้งด้านกล้ามเนื้อ ภาษา สติปัญญา และด้านอารมณ์สังคม แต่ไม่ใช่จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการศึกษาวิจัย ของนายแพทย์วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนกลุ่มแพทย์สามสถาบันพบว่า เด็กได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 1 เดือนครึ่ง และที่อายุ 1 ปีได้รับถึงร้อยละ 99.7 และได้รับเฉลี่ย 4 ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 5 ชั่วโมงต่อวัน ที่อายุ 18เดือน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่เป็นทีวี แต่แนวโน้มจะมีการดูรายการทีวี รายการเพลง การ์ตูนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และแทบเล็ต เพิ่มมากขึ้น เด็กได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในบ้านในช่วงเย็น ระหว่างทานอาหาร ในห้องนอน ในเวลาก่อนนอนเป็นจำนวนมากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก ดังนี้1. พฤติกรรมก้าวร้าว การศึกษาพบชัดเจนว่าเด็กที่ได้รับสื่อที่มีความรุนแรงความก้าวร้าวนำไปสู่พฤติกรรมความก้าวร้าว2. พฤติกรรมซนสมาธิสั้น มีการศึกษาที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าเด็กที่ใช้สื่อเป็นระยะเวลายาวนานมีความสัมพันธ์กับภาวะซนและสมาธิสั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นสื่อที่มีความก้าวร้าวรุนแรง 3. การศึกษาของนายแพทย์วีระศักดิ์พบว่าเด็กที่ได้รับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่อายุ 6 - 18 เดือน มีพฤติกรรมการแยกตัวการดื้อต่อต้านมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการได้รับสื่อสำหรับผู้ใหญ่4.พฤติกรรมด้านภาษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสื่อการศึกษาดีสามารถช่วยส่งเสริม พัฒนาการ ด้านภาษา และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยได้ ที่ถูกออกแบบมา การพูดการใช้ภาษาที่ชัดเจนให้เด็กมีส่วนร่วม จะสามารถพัฒนาทางด้านภาษาให้แก่เด็กได้ แต่ต้องถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ไปไม่ใช่รายการบันเทิงทั่วไป หากเด็กดูรายการบันเทิงทั่วไปและใช้เวลายาวนานต่อวัน กลับมีผลให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า 5. พัฒนาการด้านการใช้สมองระดับสูงในการแก้ไขปัญหา คิดสร้างสรรค์ พบชัดเจนว่าเด็กที่ใช้สื่อเป็นระยะเวลายาวนานมทำให้ความสามารถระดับสูงล่าช้ากว่าเด็กที่ใช้สื่อในระยะเวลาที่น้อยกว่า แพทย์หญิงมธุรดา  สุวรรณโพธิ์  ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่าผลกระทบต่อพัฒนาการสมองของเด็ก 5 ประการได้แก่  พัฒนาการการพูดช้าลง  สมาธิสั้น กระทบต่อการนอน พฤติกรรมก้าวร้าว  และอ้วน เมื่อเด็กโตเข้าสู่ปฐมวัยและวัยเรียน  ค.ศ.2011 มีการศึกษาปฏิกิริยาของการตอบสนองของเด็กทารกกับตุ๊กตาเปรียบเทียบกับเกมในแทบเล็ต  ผลพบว่าของเล่นทั้งสองอย่างทำให้เด็กมีความสุขพอๆกัน  แต่เด็กทารกมีการติดใจในเกมมากกว่าตุ๊กตา  ดังนั้นการหยิบยื่นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เด็กจึงต้องมีเงื่อนไขและข้อจำกัด  และต้องไม่ให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นตัวทดแทนเวลาของครอบครัวพ่อแม่หลายๆ ท่านเห็นว่าการปล่อยลูกเล่นเกมที่บ้านปลอดภัยกว่าการให้ลูกออกไปเล่นนอกบ้านไปเจอความเสี่ยงต่างๆ  แน่นอนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆมีข้อดีเสมอ เช่น อีบุ๊ค  หรือแอปพลิเคชัน ต่างๆ ที่ช่วยการอ่าน  ภาษา แต่พ่อแม่ควรพิจารณาช่วงอายุที่เหมาะสม กล่าวคือยิ่งลูกอายุเข้าใกล้วัยเรียนหรือใกล้จะเข้าโรงเรียนยิ่งดี  นอกจากนี่พ่อแม่เป็นผู้เลือกเนื้อหาและอยู่ร่วมกับเด็กเสมอในขณะลูกใช้อุปกรณ์ การศึกษาของเด็กอายุ 2 ปีพบว่าระยะเวลาของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต่อสัปดาห์ มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของค่า BMI การให้เด็กได้ดูสื่อโฆษณาอาหาร และการดูสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างมื้ออาหาร เป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์นี้ ในส่วนของการนอน การศึกษาพบว่า เด็กทารกที่ได้ดูสื่อหน้าจอในช่วงเย็น จะมีระยะเวลาของการนอนหลับในช่วงกลางคืนที่สั้นลง ซึ่งเป็นได้จาก เนื้อหาของสื่อที่กระตุ้นความตื่นเต้น และจากรังสีสีฟ้าที่ผ่านทางหน้าจอ กดการหลั่งสารเมลาโทนินนายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช กล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีกฎหมายคุ้มตรองเด็กด้านสื่อออนไลน์ เราควบคุมแต่สื่อผิดกฎหมาย สื่อไม่ผิดกฎหมายแต่ไม่เหมาะสมกับเด็กสามารถจะถูกผลิตออกไปได้ การส่งเสริมการปกป้องคุ้มครองเด็กในเรื่องนี้ต้องทำทั้งการส่งเสริมคนที่สร้างโปรแกรมที่ดีสำหรับเด็กและการควบคุมโปรแกรมอันตรายหรือไม่เหมาะสมกับเด็กให้ไม่สามารถเข้าถึงตัวเด็กได้ เรื่องนี้ต้องเอาจริงเอาจัง มุ่งที่การคุ้มครองเด็กไม่สับสนกับเสรีภาพผู้ใหญ่ ครอบครัวและชุมชนต้องมีส่วนร่วมข้อสรุป1.หน่วยงานเทคโนโลยีดิจิตอล ผู้ประกอบการ ตำรวจ การแพทย์ การศึกษา การพัฒนาเด็ก   ต้องทำข้อตกลงความร่วมมือกันในการพัฒนาระบบการคุ้มครองเด็ก ให้เท่าทันกับการพัฒนาเทคโนโลยีและการกระตุ้นการใช้งานของสังคม โดยมุ่งไปที่การคุ้มครองเด็กให้ชัดเจน ไม่สับสนกับเสรีภาพผู้ใหญ่ ครอบครัวและชุมชนต้องมีส่วนร่วม2. สำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์3. สำหรับเด็กอายุมากกว่า 2 -5 ขวบ หากผู้ดูแลเด็กต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องใช้เป็นเครื่องมือประกอบ การสอนการเล่นของผู้ดูแลเด็กเอง หรืออย่างน้อยต้องนั่งดูด้วยกัน ใช้เฉพาะโปรแกรมที่มีคุณภาพ ไม่ใช้โดยเปิดทิ้งไว้ให้เด็กดูด้วยตนเอง และใช้ไม่เกิน 1 ชม ต่อวัน โดยมีการพักเป็นระยะ และไม่เปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในระหว่างกินอาหาร และก่อนนอนให้กับเด็ก4. หน่วยงานทางการแพทย์ การศึกษา การพัฒนาเด็ก เทคโนโลยีดิจิตอล ผู้ประกอบการ   ต้องร่วมกันให้ความรู้ในเรื่องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสมแก่ผู้ดูแลเด็กตั้งแต่หลังคลอด ให้ความรู้ในเรื่องการพัฒนาการของสมอง ใน 2 ขวบแรก และความสำคัญในการกระตุ้นพัฒนาการ โดยการเล่น อย่างใกล้ชิดกับผู้ดูแลเด็ก รวมทั้งช่วยเหลือในการวางแผนการใช้สื่อในครอบครัวอย่างเหมาะสม 5. รัฐและผู้ประกอบการต้องร่วมกันส่งเสริมคนที่สร้างโปรแกรมที่ดีสำหรับเด็กและควบคุมโปรแกรมอันตรายหรือไม่เหมาะสมกับเด็กให้ไม่สามารถเข้าถึงตัวเด็กได้ 6. รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงทุนกับการเพิ่มของเล่น พื้นที่เล่น ส่งเสริมกิจกรรมการเล่นอิสระที่ปลอดภัย โดยมีผู้ช่วยการเล่นในการจัดการพื้นที่และให้คำแนะนำเพื่อความปลอดภัย ตั้งแต่ในระดับชุมชนขนาดเล็กที่ใกล้ชิดบ้านของเด็ก จนถึงระดับจังหวัด สื่อสำหรับเด็ก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 กฎหมายคุ้มครองแม่และเด็กแรกเกิดจากอิทธิพลของบริษัทนมผง

การตลาดที่ได้ผลดีที่สุดของบริษัทนมผง คือการเปลี่ยนให้บุคลากรทางด้านสาธารณสุขกลายมาเป็นตัวแทนขายของบริษัทนม มีรายงานในประเทศไทยระบุว่า แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม ร้อยละ 81.8 จะเลือกยี่ห้อนมตามที่ได้รับแจก(ตัวอย่าง)และคำแนะนำจากบุคลากรสาธารณสุข ภาพจำในหลายๆ ปีที่ผ่านมา รูปแบบกิจกรรมการตลาดของบริษัทนมผงมีการบันทึกไว้หลากหลาย กล่าวคือ เป็นการตลาดแบบจู่โจมเข้าถึงเนื้อตัวคุณแม่ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับหญิงที่ตั้งครรภ์โดยตรงของตัวแทนขายสินค้า(ส่วนหนึ่งก็เป็นบุคลากรทางสาธารณสุข) หรือการแจกนมผงฟรีที่โรงพยาบาลให้แม่นำกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน หรือการให้ข้อมูลที่เกินความเป็นจริงต่างๆ เพื่อโน้มน้าวให้คุณแม่เชื่อว่า นมผงเทียบเท่านมแม่ หรือดีกว่าเพราะเพิ่มเติมสารอาหารที่จะทำให้พัฒนาการของเด็กดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเกี่ยวโยงไปถึงการที่บริษัทนมบริจาคสิ่งต่างๆ ให้กับสถานพยาบาล ทั้งในรูปแบบ การจัดกิจกรรมให้ความรู้กับแม่ การให้ค่าตอบแทนพิเศษแก่บุคลากรที่ช่วยแนะนำสินค้า การนำผลิตภัณฑ์แจกให้กับแม่ถึงเตียงนอนพักฟื้น ฯลฯ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ได้ถูกถกเถียงกันมาอย่างยาวนานในประเทศไทย เหตุเพราะการกระทำดังกล่าวนั้น ผิดจริยธรรม อีกทั้งเข้าข่ายละเมิดสิทธิของแม่และเด็กทารกในการเข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิด ซึ่งก็คือ การได้รับน้ำนมแม่อันทรงคุณค่า เช่นเดียวกันกับภาคธุรกิจ ผู้ที่เห็นคุณค่าของการส่งเสริมให้คุณแม่ทั้งหลายใช้น้ำนมของตัวเองเลี้ยงดูทารกก็ได้พยายามอย่างยิ่งยวดที่จะผลักดันให้เกิดกติกา ที่จะสามารถลดทอนอิทธิพลทางการตลาดของบริษัทนมผงลง โดยเฉพาะการทำตลาดแบบถึงเนื้อตัวและการห้ามโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบผ่านสื่อทุกชนิด ซึ่งลำพังกติกาเดิมที่เรียกว่า โค้ดนมแม่ หรือ  หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้มาตั้งแต่ ปี 2551นั้น ไม่อาจต้านทานพลังจากภาคธุรกิจได้ จึงมีแนวคิดที่จะนำกลไกที่เป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติมาใช้จัดการปัญหา และในวันที่ 9 กันยายน 2560 นี้ จะเป็นวันแรกที่ พระราชบัญญัติการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ.2560  จะมีผลบังคับใช้ ขอเล่าถึงความยากของการผลักดัน พ.ร.บ.นี้สักเล็กน้อย เนื่องเพราะมีผลประโยชน์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องมหาศาล ทำให้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย แน่นอนว่าส่วนหนึ่งย่อมมาจากภาคธุรกิจผู้ผลิตนมผง แต่ที่น่าตั้งคำถามที่สุดว่ามาคัดค้านเพื่ออะไร กลับเป็นบรรดาองค์กรวิชาชีพบางแห่ง ที่ให้ข้อมูลและคัดค้านจน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ รวนไปหลายรอบ อย่างไรก็ตามแม้จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ในที่สุด พ.ร.บ.นี้ก็ผ่านออกมาจนได้ ทำให้ต่อไปนี้การทำตลาดที่ละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงดังที่ผ่านมา จะต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมายและมีบทลงโทษเป็นการเฉพาะ  กฎหมายฉบับนี้ ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ผู้บริโภคจะยังสามารถหาซื้อนมผงได้จากร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ฯลฯ แต่สิ่งที่กฎหมายห้ามคือ ห้ามบริษัททำการส่งเสริมการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กอายุ 0-3 ปี ซึ่งหมายความว่า • ห้ามโฆษณาตามสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ป้ายโฆษณา นิตยสาร อินเตอร์เน็ต• ห้ามแจกตัวอย่างนมผง เช่น การแจกตัวอย่างนมผงให้แม่หลังคลอด หรือเมื่อไปแจ้งเกิด • ห้ามการส่งเสริมการขาย เช่น แจกของขวัญ หรือสิ่งจูงใจต่างๆ ให้แก่หญิงตั้งครรภ์ แม่และครอบครัวของทารกและเด็กเล็ก การลดราคา การขายพ่วง• ห้ามติดต่อกับแม่ เพื่อสนับสนุนให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น การให้ Call center โทรศัพท์ไปหาแม่หลังคลอด การจัดอีเวนท์ต่างๆนอกจากนี้ กฎหมายจะมีผลในการห้ามให้ของขวัญหรือสิ่งจูงใจอื่นๆ แก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขด้วย  ในส่วนของตัวผลิตภัณฑ์ กฎหมายจะให้ความสำคัญกับการโฆษณาเพื่อคุมการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ไม่ใช่เพียงเพราะเหตุผลว่า นมแม่มีประโยชน์ต่างๆ ต่อเด็กมากว่าแค่ในช่วง 6 เดือนแรกหรือปีแรก และเด็กควรได้รับนมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นเท่านั้น แต่ยังมีเหตุผลสำคัญด้านตลาดด้วย คือการป้องกันการส่งเสริมการขายแบบข้ามชนิด(Cross promotion) ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่บริษัทใช้ในการหลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม ที่ผ่านมา แม้ว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จะได้ห้ามการโฆษณานมผงสำหรับทารก แต่ยังไม่มีการห้ามโฆษณานมสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป หรือที่เราเห็นในท้องตลาดว่าคือ “นมสูตร 3” ซึ่งกลายเป็นช่องโหว่สำคัญ ให้บริษัทต่างๆ ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์นี้ โดยทำให้รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของทุกๆ สูตรให้คล้ายกัน และใช้ชื่อยี่ห้อที่คล้ายกันมาก มีการใช้สโลแกน สัญลักษณ์ และแมสคอตเดียวกัน และใช้เลข 1-2-3 บนกล่องเพื่อแสดงให้ว่ามีความเกี่ยวข้องกัน เพราะตั้งใจเพื่อให้การส่งเสริมการตลาดของนมสูตร 3 ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจว่าโฆษณานมสูตร 1 และ 2 ไปด้วย  แต่เมื่อกฎหมายฉบับใหม่นี้มีผลบังคับใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กต่ำกว่า 3 ขวบ จะถูกห้ามโฆษณาผ่านสื่อทุกชนิด  ผลิตภัณฑ์ที่จะถูกควบคุมการส่งเสริมการตลาดตามกฎหมายนี้ ประกอบด้วย 1.อาหารสำหรับทารก (อาหารสำหรับเด็กอายุ 0-12 เดือน) 2.อาหารสำหรับเด็กเล็ก(อาหารที่ใช้สำหรับเด็กอายุ 1-3 แต่จะต้องมีประกาศรองรับก่อน ส่วนนี้กรมอนามัยจะเป็นผู้จัดทำประกาศดังกล่าว) และ 3. อาหารเสริมสำหรับทารก ดังนั้นจึงขอฝากถึงบรรดาคุณแม่หรือผู้ที่ใกล้ชิด ให้ตระหนักและช่วยกันเฝ้าระวัง สอดส่องกิจกรรมการทำตลาดนมผง ที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อดูแลลูกหลานของเราให้ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารอันแสนวิเศษสุดบนโลกใบนี้สำหรับเด็กแรกเกิดทุกคน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 การเลือกซื้อที่นั่งนิรภัย (car seats) สำหรับเด็ก

ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 12 ปี เพื่อใช้สำหรับการเดินทางร่วมไปกับพ่อแม่ในรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งในหลายๆ ประเทศ การติดตั้ง car seat ได้ออกเป็นกฎหมายบังคับ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัยของเด็กและทารก ดังนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ สำหรับประเทศไทยแม้จะไม่มีกฎหมายบังคับในเรื่องนี้ แต่ก็พบว่าคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย และซื้อมาติดตั้งเป็นจำนวนหลายรายทีเดียว บทความนี้ต้องการให้ข้อมูลซึ่งเป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ car seat เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปประกอบในการเลือกซื้อ และใช้งาน car seat ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมมาตรฐานของที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมาตรฐานของที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมี 2 แบบ แบบแรก เรียกว่า เป็นมาตรฐานที่กำหนดตามขนาดของร่างกายเด็ก i-Size (เป็นไปตามมาตรฐาน ECE R 129) แบ่งขนาดของทารกเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ (ขนาดตัวเด็กไม่เกิน 75 เซนติเมตร) และ ตั้งแต่ 1 ขวบ- 4 ขวบ (ขนาดตัวไม่เกิน 105 เซนติเมตร) แบบที่สอง แบ่งตามน้ำหนักของทารก (ตามมาตรฐาน ECE R44)การติดตั้งที่นั่งนิรภัย การติดตั้งที่นั่งนิรภัยควรติดตั้งไว้ทางด้านหลัง เพราะให้ความปลอดภัยสูงกว่าการติดตั้งด้านหน้า ในกรณีที่ ติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กไว้ด้านหน้าข้างคนขับ จำเป็นต้องล็อคถุงลมนิรภัยไม่ให้ทำงาน กรณีเกิดการชน เพราะแรงดันของถุงลมนิรภัยทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่ตัวเด็กทารกอย่างรุนแรงที่นั่งนิรภัยแบบไหนที่ป้องกันเด็กและทารกได้เป็นอย่างดี สำหรับทารกแรกเกิดที่นั่งนิรภัย แบบ carry seat ที่สามารถถอดประกอบกับที่นั่งนิรภัยได้ เหมาะสมที่สุด และการติดตั้งที่นั่งนิรภัย ควรติดตั้งในทิศหันหลังให้กับด้านหน้ารถ เนื่องจากลำคอของเด็กทารกยังไม่แข็งแรง ดังนั้นการติดตั้งแบบนี้จะช่วยประคองลำคอของทารกได้ดี การติดตั้งแบบหันหลังนี้ ควรใช้ไปจนถึงทารกหรือเด็กสามารถเดินได้ จึงค่อยเปลี่ยนมาเป็นหันหน้าออกสู่ด้านหน้ารถ เมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นจนกระทั่งศีรษะพ้นจากที่นั่งนิรภัย เป็นสิ่งที่บอกคุณพ่อคุณแม่ว่าได้เวลาเปลี่ยนที่นั่งนิรภัยอันใหม่ที่มีขนาดพอเหมาะกับร่างกายของเด็กแล้วที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 9- 18 กิโลกรัม (หรืออายุไม่เกิน 4 ขวบ)ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กขนาดนี้มีระบบนิรภัย 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า Impact shield และ แบบ Full belt safety harness ข้อดีของที่นั่งนิรภัยแบบ Impact shield นี้ คือ ในกรณีที่เกิดการชนกัน ที่นั่งนิรภัยแบบนี้จะรับแรงกระแทกได้ดีกว่าแบบ Full belt safety harness แต่แบบนี้เด็กจะนั่งได้สบายกว่า แต่การติดตั้งก็จะยุ่งยากกว่า และที่สำคัญ ต้องปรับเข็มขัดให้ติดแน่นกับตัวเด็ก เพราะเมื่อเกิดการชนกัน เข็มขัดจะเป็นส่วนที่ช่วยพยุงและป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกของตัวเด็กที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่มีน้ำหนัก 15- 25 กิโลกรัม (หรืออายุ3 ขวบครึ่ง ถึง 7 ขวบ)ที่นั่งสำหรับเด็กกลุ่มนี้สามารถปรับระดับความสูงของพนักพิงหลังได้ ซึ่งลำตัวของเด็กจะล็อคติดไว้กับ three point safety belt ซึ่งระบบนิรภัยแบบนี้จะเหมาะกับเด็กที่มีอายุมากกว่า 4 ขวบสำหรับการติดตั้งที่นั่งนิรภัยและวิธีการใช้ ควรศึกษาจากคู่มือการใช้งานและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้สมาคมยานยนต์แห่งเยอรมนี ยังได้ทดสอบความปลอดภัยของที่นั่งนิรภัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเราสามารถดูผลทดสอบเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อที่นั่งนิรภัยได้อีกเช่นกัน บางครั้งก็จะมีการแจ้งเตือนที่นั่งนิรภัยบางยี่ห้อ บางรุ่นที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย (www.adac.de) ซึ่งผู้ประกอบการก็จะตอบรับการแจ้งเตือนโดยการเรียกคืนสินค้า หรือนำสินค้ามาปรับปรุงเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับความมั่นใจในการใช้งานสูงสุด(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 11/2016)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 189 การเลือกซื้อรถเข็นเด็ก

เมื่อทราบข่าวจากคุณภรรยาว่าจะมีสมาชิกใหม่ในบ้าน หลายครอบครัวก็ต้องมาวางแผนในการที่จะต้องซื้อของเพื่อใช้ในการเลี้ยงเด็กทารก รถเข็นเด็กเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้เพื่อพาเด็กทารกร่วมเดินทางไปกับพ่อแม่ด้วย ดังนั้นการเลือกซื้อรถเข็นเด็กจำเป็นต้องมีข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อสิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกซื้อรถเข็นเด็กทั่วไป ได้แก่ 1 ใจเย็นๆ ไม่ต้องรีบร้อน โดยก่อนซื้อควรทดสอบรถเข็นก่อนว่าสามารถนำรถเข็นเด็กขึ้นรถของเราได้หรือไม่2 ในกรณีที่ต้องใช้รถเข็นบ่อยๆ ก็ควรเลือกรถเข็นเด็กที่มีน้ำหนักเบา 3 ควรเลือกซื้อรถเข็นเด็กที่สามารถใช้งานได้จนเด็กมีอายุสามขวบ ในระหว่างที่อายุไม่เกิน 6 เดือน การใช้เปลเคลื่อนที่แบบถอดประกอบได้(carry car seat) ติดตั้งในรถยนต์ได้จะเหมาะสมกว่า เปลเคลื่อนที่สามารถใช้กับเด็กที่มีน้ำหนักตัวไม่เกิน 15 กิโลกรัม4 ความสูงของพนักพิงหลังไม่ควรต่ำกว่า 50 เซนติเมตร เพราะจะช่วยประคอง คอและศีรษะของเด็กได้ดี5 ล้อของรถเข็น ในกรณีที่ต้องใช้รถเข็นบนพื้นที่ขรุขระ ควรเลือกล้อที่มีขนาดใหญ่ แบบสี่ล้อแต่ถ้าใช้รถเข็นบนพื้นราบเรียบ ก็ควรเลือกล้อขนาดเล็กที่ล้อหน้าสามารถหมุนได้6 ในกรณีที่เลือกใช้ของมือสอง ซึ่งมักจะซื้อขายทางออนไลน์(ซึ่งไม่รู้ที่มาที่ไป) ดังนั้นควรตรวจสอบสภาพของรถเข็นเด็ก เช่น ตรวจสอบว่ามีรอยแตก หรือชำรุด บกพร่องหรือไม่ ห้ามล้อ เข็มขัดนิรภัย ยังทำงานดีอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ควรพิจารณาเรื่องอะไหล่ เพราะในกรณีที่ชิ้นส่วนชำรุดก็สามารถหามาเปลี่ยนได้ง่าย7 สารเคมีอันตรายในกลุ่ม polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHC), Phthalate, Chlorparaffine, Organophosphor compound, Organozine compound, Phenolic compound, และ Formaldehyde สำหรับประเด็นเรื่องสารเคมีอันตรายที่แฝงมาในชิ้นส่วนของรถเข็นเด็ก ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ทำมาจากพลาสติก เป็นเรื่องที่ยากในการตรวจสอบและพิสูจน์ในเมืองไทย ขณะที่ในต่างประเทศจะมีการตรวจสอบสารเคมีสม่ำเสมอเพื่อแจ้งเตือนพ่อแม่ และผู้ผลิตเพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าให้ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น สำหรับคนที่สนใจในเรื่องสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์ของเด็กทารก ก็สามารถติดตามข้อมูลการแจ้งเตือนของเว็บไซต์ กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค ของอียู http://ec.europa.eu/consumers/consumers_safety/safety_products/rapex/alerts/main/?event=main.listNotifications ได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ติดตามแจ้งเบาะแสเด็กหายผ่าน ThaiMissing

    ปัจจุบันมีบุคคลที่สูญหายเป็นจำนวนมาก โดยจะเห็นได้จากข่าวสารบนหน้าหนังสือพิมพ์หรือข่าวสารในโทรทัศน์ช่องต่างๆ ที่ประกาศตามหาบุคคลที่หายไป โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ทั้งนี้ได้มีองค์กรหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือและพยายามติดตามหาบุคคลที่สูญหายเหล่านั้น ซึ่งมักจะมุ่งติดตามเด็กเป็นส่วนใหญ่ มูลนิธิกระจกเงาเป็นองค์อันดับต้นๆ ที่จะมีคนนึกถึงและแจ้งเบาะแสเรื่องเด็กที่สูญหาย ด้วยสังคมปัจจุบันหันนิยมใช้โซเชียลมีเดียกันเป็นจำนวนมาก การขอความช่วยเหลือและแจ้งเบาะแสจึงนิยมใช้โซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางในการติดตามเด็กที่สูญหาย แอพพลิเคชั่น ThaiMissing เป็นแอพพลิเคชั่นของมูลนิธิกระจกเงา ที่คำนึงถึงการใช้สื่อทางโซเชียลมีเดียเป็นตัวกลางและเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนทั่วไปได้แจ้งเบาะแสต่างๆ และติดตามคนที่สูญหายโดยผ่านแอพพลิเคชั่นนี้การเริ่มต้นการใช้แอพพลิเคชั่น ThaiMissing จะสามารถเข้าใช้งานได้ 2 แบบ คือ แบบทั่วไปโดยไม่ทำการ log in และการเข้าใช้ระบบด้วยการ log in ผ่าน facebook การเข้าระบบผ่าน facebook จะช่วยให้สามารถใช้แอพพลิเคชั่นแจ้งเบาะแสได้ดีขึ้นและเป็นการยืนยันตัวตนของผู้แจ้งอีกด้วยภายในแอพพลิเคชั่นจะแบ่งออกเป็นหมวด ได้แก่ หมวดติดตามรายบุคคล จะเป็นข้อมูลต่างๆ ของบุคคลที่สูญหายว่ามีใคร และมีรายละเอียดอย่างไร นอกจากนี้ในหมวดนี้ยังมีปุ่มให้แจ้งเบาะแส สำหรับผู้ที่ทราบข้อมูลหรือพบเห็นบุคคลที่สูญหาย โดยการส่งเป็นข้อความหรือรูปภาพ และการแชร์สถานที่บริเวณที่พบเห็นบุคคลที่สูญหายได้ทันที หมวดข้อมูลเผยแพร่จะเป็นหมวดที่ให้ข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ ข้อควรรู้เกี่ยวกับบุคคลที่สูญหาย ส่วนอีกสองหมวด คือ หมวดติดตาม ซึ่งเป็นหมวดที่ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นจะสามารถตั้งค่าแจ้งเตือนตนเองเมื่อมีบุคคลสูญหายภายในพื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สามารถช่วยสังเกตเมื่อได้พบเห็นบุคคลที่สูญหายไปและแจ้งเบาะแสได้ทันถ่วงที และหมวดสมาชิกในครอบครัว ซึ่งจะเป็นหมวดที่มีไว้สำหรับแจ้งบุคคลภายในครอบครัวตนเองหรือคนรู้จักสูญหายไป การมีแอพพลิเคชั่นนี้ในสมาร์ทโฟน จะเป็นการช่วยเหลือสังคมและครอบครัวผู้อื่นโดยไม่ยุ่งยาก  เมื่อพบเห็นบุคคลที่คาดว่าเป็นบุคคลที่ติดตามค้นหาอยู่ก็สามารถแจ้งเบาะแสและแชร์สถานที่ที่พบเห็นได้ทันทีผ่านแอพพลิเคชั่น เพียงแค่ใช้การสังเกต ติดตามข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นนี้ก็ถือว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมได้อีกทางหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 2557 เด็กไทย...เหยื่อโฆษณาอาหาร มีเดียมอนิเตอร์ร่วมกับแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ศึกษาการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มในรายการสำหรับเด็ก ทางฟรีทีวี 4 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3 5 7 และ 9 ช่วงปิดเทอมใหญ่ ระหว่างวันที่ 24 มี.ค. ถึง 4 เม.ย. 2557 พบว่า ร้อยละ 94 ของอาหารและเครื่องดื่มที่โฆษณาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดื่ม นม และขนมขบเคี้ยว ซึ่งโฆษณาที่เป็นปัญหามักใช้กลยุทธ์ต่างๆ ดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นดาราดัง ใช้การ์ตูน ทำให้อาหารมีขนาดใหญ่เกินความเป็นจริง กระตุ้นให้กินเกินความจำเป็น บ้างก็อ้างถึงขนาดว่ากินแทนอาหารมื้อหลักได้ ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์ กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายควบคุมการโฆษณาไม่ครอบคลุมการโฆษณาที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก อย., กสทช. และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ควรเร่งออกข้อกำหนดในการควบคุมโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่เหมาะสม เพราะขณะนี้พบว่ามีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมกับวัย เกิดภาวะอ้วน ขาดสารอาหาร และรุนแรงถึงขั้นเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน หัวใจ ไต ความดัน   ใช้ “ทิชชู” ซับน้ำมัน เสี่ยงอันตราย!!! จริงหรือ ใครที่ชอบใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันจากอาหาร ต้องระวังให้ดี เพราะกรมอนามัยได้ออกมาเตือนว่า ในกระดาษทิชชูมีสารโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งทำปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมัน ทำให้มีฤทธิ์กัดกร่อน หากหายใจเข้าไปจะทำให้ระคายเคืองทางเดินหายใจ หากสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง นอกจากนี้ยังมีสารก่อมะเร็ง หากกินเข้าไปก็อาจเป็นอันตรายกับกระเพาะอาหาร กระบวนการผลิตกระดาษทิชชู นิยมใช้กระดาษมาหมุนเวียนใหม่เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น นำกระดาษ A4 ที่ใช้แล้วมาผลิตกระดาษทิชชู ซึ่งการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้สารโซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือ โซดาไฟ และเพื่อความขาวน่าใช้ จึงมีการใช้สารคลอรีนฟอกขาว ซึ่งมีสารไดออกซินเป็นส่วนประกอบ การใช้ทิชชูซับน้ำมันจากอาหาร กระดาษจะสัมผัสกับอาหารโดยตรง จึงควรเลือกใช้กระดาษที่ผลิตมาเพื่อใช้กับอาหารโดยเฉพาะ และต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากล เช่น HACCP ซึ่งเป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตรายที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร แต่หลังจากที่มีข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ได้ออกมาโต้แย้งในข้อมูลดังกล่าว ว่า กระดาษ อนามัยหรือกระดาษทิชชูนั้น ไม่ได้มีความน่ากลัวตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด และแทบจะไม่มีโซดาไฟ และสารไดออกซินอยู่เลย ดร.ภูวดี ตู้จินดา อธิบายผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว ว่า สารพิษที่เป็นข่าวอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นไดออกซินหรือโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ไม่ได้เกิดขึ้น ใน "กระบวนการผลิตกระดาษ" แต่ถูกใช้ใน "กระบวนการฟอกเยื่อ" ดังนั้นการจะมีโซดาไฟปริมาณมากพอ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพปนเปื้อนอยู่ในเยื่อกระดาษธรรมดาๆ นั้นว่าน้อยแล้ว สำหรับกระดาษทิชชูนั้นยิ่งน้อยกว่า อีกทั้งโรงงานฟอกเยื่อเกือบทั้งหมดในประเทศไทยใช้สาร "คลอรีนไดออกไซด์" ซึ่งอาจทำให้เกิดสารพิษที่เรียกสั้นๆ ว่า AOX แต่ไม่เกิด "ไดออกซิน" เมื่อ "เยื่อกระดาษ" ไม่มีโซดาไฟ และ(แทบ)ไม่มีไดออกซิน กระดาษทิชชูจึงแทบไม่มีไดออกซินด้วย   ปรากฏการณ์ “คุกกี้ รัน” ดูดเงินแสน ถือเป็นเรื่องระดับ Talk of the Town เมื่อจู่ๆ มีผู้บริโภคนับ 10 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กๆ และผู้ปกครอง พร้อมใจกันออกมาโวยว่าตัวเองถูกเรียกเก็บค่าบริการโทรศัพท์แพงจนน่าตกใจ บางรายถูกเรียกเก็บหลักแสนบาท ซึ่งเมื่อตรวจสอบดูก็พบว่าเป็นผลมาจากการเล่นเกมชื่อดังบนมือถือ อย่าง “คุกกี้ รัน” ซึ่งเงินจำนวนมหาศาลที่ถูกเรียกเก็บเกิดจากการซื้อของต่างๆ ที่อยู่ในเกม เด็กที่เล่นเกมไม่รู้ว่าเมื่อกดซื้อแล้วจะต้องเสียเงิน ทำให้ถูกเรียกเก็นเงินเป็นจำนวนมากรวมไปกับค่าบริการปกติ การแก้ปัญหา ทาง สคบ.ได้เชิญผู้เสียหายมาเจรจากับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพื่อร่วมกันเพื่อหาทางออก แม้เบื้องต้นทางผู้ให้บริการจะยอมยกเลิกการเรียกเก็บเงิน เพราะเห็นว่าเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้โทรศัพท์ แต่ดูแล้วมีโอกาสที่ปัญหาในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นซ้ำ ทาง สคบ.จึงร่วมกับ กสทช. เตรียมปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจควบคุมสัญญาโดยเพิ่มข้อกำหนดของสัญญาการให้บริการให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือถูกเรียกเก็บค่าใช้บริการเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งจะมีการจัดการปัญหาข้อความเอสเอ็มเอส ต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการดูดวง ทายหวย หรือการโฆษณาต่างๆ ที่ส่งมาให้ผู้บริโภคโดยใช้กลยุทธ์บริการฟรี 7 วัน พอถึงวันที่ 8 ก็ต่ออายุอัตโนมัติและคิดเงินทันทีโดยที่ผู้ใช้มือถือไม่รู้ ซึ่งตามกฏหมาย สคบ.ก็มีการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องของโฆษณาที่สร้างความรำคาญ มีโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ   สคบ. เตรียมตั้ง “ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ” สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตรียมจัดตั้งศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้างการทำงานของ สคบ.ครั้งใหญ่ เพราะจะเป็นการรวบรวมงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ 10 กระทรวงและ 20 กรม เข้ามารวมกันเพื่อแก้ไขปัญหาให้รวดเร็วมากขึ้น ตั้งกองทุนเยียวยาผู้บริโภค คอยทำหน้าที่จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้ผู้บริโภคในช่วงที่คดีกำลังอยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้อง โดยศูนย์ดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งตามแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งจากการที่ สคบ. ได้ประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบให้แก้ไขกฎหมายของ สคบ.ฉบับเดิมให้ครอบคลุมกับแผนดังกล่าว คาดว่าศูนย์นี้จะดำเนินงานได้ภายใน 3 - 6 เดือน โดยจะให้นายกรัฐมนตรี หรือรองนายกที่นายกฯ มอบหมายมาเป็นประธานศูนย์ฯ หน้าที่ของหลักศูนย์ฯ จะรวบรวมงานที่ซ้ำซ้อนของแต่ละหน่วยงาน ที่มีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค มาเร่งแก้ไขในจุดเดียวลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ล่าช้า พร้อมทั้งมีหน่วยงาน สคบ.ระดับภูมิภาครับเรื่องร้องเรียน และไกล่เกลี่ยให้จบภายในระดับภูมิภาค รวมถึงสร้างองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายระดับท้องถิ่น โดยเชื่อว่าหากมีศูนย์ดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าใจ เข้าถึง สคบ.มากขึ้น ปริมาณเรื่องร้องเรียนที่มีเข้ามาก็น่าจะเพิ่มขึ้นจากปีละแค่ 8,000-10,000 เรื่อง เป็น 100,000 เรื่อง   8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ร้อง คสช.- ดีเอสไอ เอาผิดบอร์ดและ ผอ.องค์การเภสัช 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ ประกอบด้วย ชมรมแพทย์ชนบท, ชมรมเภสัชชนบท, กลุ่มศึกษาปัญหายา, กลุ่มคนรักหลักประกัน, เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ, สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค, มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา และมูลนิธิเภสัชชนบท ได้ยื่นหนังสือต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และสำนักงานกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อให้พิจารณาปลดและตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ชุดที่มี นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เป็นประธาน และนายแพทย์สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม มีพฤติกรรมส่อทุจริต และทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐเป็นคดีพิเศษ โดยมี 2 ประเด็นที่ให้ดีเอสไอพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ คือ ปัญหาการก่อสร้างโรงงานผลิตยาที่รังสิต ขององค์การเภสัชกรรมที่ ผอ. และบอร์ดยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการเอื้อแก่บริษัทที่เคยทิ้งงานและไม่ขึ้นบัญชีดำบริษัทที่ทิ้งงาน ทั้งที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเคยได้ทักท้วงมา นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็น คือเรื่องการก่อสร้างโรงงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งหลังจากบอร์ดปลด นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ องค์การเภสัชกรรมในขณะนั้นไปแล้ว กลับไม่มีการเร่งรัดเพื่อให้การก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็วตรงกันข้ามกลับมีการดำเนินการล่าช้า ที่สำคัญขณะนี้โรงพยาบาลในต่างจังหวัดจำนวนมากเผชิญภาวะยาขาด สาเหตุจากการที่ ผอ.อภ. และบอร์ด อภ. แก้ไขปัญหาภาวะขาดทุนด้วยการสั่งงดผลิตยาจำเป็น เช่น ยาเบาหวาน ซึ่ง อภ. เป็นผู้ผลิตส่งให้โรงพยาบาลต่างๆ ของรัฐราว 80% ของที่ใช้กับคนไข้ในประเทศ นอกจากนี้ อภ. ยังขาดส่งยาไปยังกองทุนยาต้านไวรัสกว่า 400 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่า หากไม่มีการแก้ปัญหาวัตถุดิบยา ต่อไปคนไข้อาจขาดยา นอกจากนี้ นพ.สุวัช ยังเสนอตัดงบเรื่องการทำงานวิจัย 45 ล้าน เพื่อแก้ปัญหาขาดทุน ถือเป็นการแก้ปัญหาโดยไม่คำนึงถึงอนาคตของ อภ.ที่ต้องให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 119 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2553 2 ธันวาคม 2553นักวิจัยเตือน ผักไฮโดรโปนิกเสี่ยงมะเร็ง ม.เกษตรศาสตร์ เปิดเผยงานวิจัยที่ชวนตกใจ ระบุผักที่ไฮโดรโปนิก รับประทานมากอาจเป็นต้นเหตุของโรคมะเร็ง จากไนเตรทที่สะสมมากับผัก น.ส.พัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์ นักวิจัยจากฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ร่วมกับทีมวิจัย ร่วมกันศึกษาการสะสมไนเตรทในพืชผักที่มากเกินไป ซึ่งหากรับประทานเข้าไปไนเตรตจะไปรวมตัวกับสารเหนี่ยวนำทำให้เกิดมะเร็ง  ผลการศึกษาพบว่าผักที่ปลูกในน้ำยาไฮโดรโปนิกมีแนวโน้มการสะสมไนเตรตสูงสุด เพราะวิธีปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกมีการเติมน้ำยาให้พืชเจริญเติบโตมากเกินความต้องการตามธรรมชาติของผัก โดยผักคะน้าไฮโดรโปนิกมีค่าเฉลี่ยของไนเตรตสูงที่สุด รองลงมาคือ ผักบุ้ง  ดังนั้นจึงอยากขอให้เกษตรกรและผู้ปลูกผักไฮโดรโปนิกลดปริมาณการใส่น้ำยาหรือเติมน้ำเปล่าให้มากขึ้น ผู้บริโภคควรเลือกผักไฮโดรโปรนิกจากเกษตรกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่วนการปลูกผักแบบอื่นๆ ก็ไม่ควรใส่ปุ๋ยมากเกินไป -------------------------------------------------------------------------------------------------------   16 ธันวาคม 2553ส่งเสริมสมุนไพรใช้รักษาโรคทั่วหน้า กระทรวงสาธารณสุขเตรียมส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคมากขึ้น โดยในปี 2554 นี้ จะผลักดันนโยบายด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ให้เข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของสถานพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ และให้มีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการแพทย์แผนไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้บรรจุแพทย์แผนไทยที่จบปริญญาตรี ซึ่งทั่วประเทศมีประมาณ 1,000 คน ไปปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ยังไม่นับรวมแพทย์พื้นบ้านทั้งที่ขึ้นทะเบียนไว้และได้รับใบประกอบโรคศิลป์แล้วอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องยาและการนวดเป็นหลัก  นอกจากนี้ยังเตรียมตั้งโรงงานสมุนไพรแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยทำให้สมุนไพรไทยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพื่อนำมาผลิตเป็นยาหรืออาหารเสริมอย่างถูกต้องและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น -----------------------------------------------------------------------------------------------------   15 ธันวาคม 2553โฆษณานมเด็กเกินจริงมีสิทธิโดนแบน ถึงเวลาคุมเข้มโฆษณาอาหารสำหรับทารก เมื่อที่ประชุมสมัชชาแห่งชาติ ครั้งที่ 3 เตรียมผลักดัน พ.ร.บ.อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ตรวจสอบการโฆษณานมผงในเด็ก 0-2 ปี เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติคุณแม่ยุคใหม่ ให้หันกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น  พญ.ยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการชมรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วย “นมแม่” ในประเทศไทยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 5.4 เนื่องจากมีการโฆษณาและแจกตัวอย่างนมผงในโรงพยาบาลจำนวนมาก ซึ่งการโฆษณานมผงสำหรับทารกในปัจจุบันนี้สร้างความเข้าใจที่ผิดๆ ว่ากินแล้วจะช่วยสร้างพัฒนาการที่ดีหรือทำให้เด็กฉลาดกว่าเด็กคนอื่น ทำให้มีพ่อ-แม่จำนวนมากหันมาเลี้ยงลูกด้วยนมผงกันมากขึ้น ดูได้จากยอดการนำเข้านมผงจากต่างประเทศ ซึ่งสูงถึง 10,000 ล้านบาทต่อปี  พ.ร.บ.ฉบับนี้ น่าจะเริ่มใช้ในปี 2555 เพื่อควบคุมการส่งเสริมการขายในผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กแรกเกิด โดยกฎหมายฉบับนี้จะห้ามทำการโฆษณาและส่งเสริมการขายใดๆ ในผลิตภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กทารกถึงอายุ 2 ปี ------------------------------------------------------------------------------------------------------     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยสถิติร้องเรียนปี 53 หนี้บัตรเครดิตครองแชมป์!!! มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยข้อมูลการทำงานการรับเรื่องร้องเรียนในปี 2553 ที่ผ่านมา ปัญหาหนี้บัตรเครดิต ถือเป็นปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด ถึง 94% รองลงมาเป็นเรื่อง บริการสาธารณะ สินค้าและบริการ โทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ และบริการด้านสาธารณสุข น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงสถานการณ์การรับเรื่องร้องเรียนของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในรอบปี 2553 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ฟ้องคดีกระทรวงคมนาคม กรณีดอนเมืองโทลเวย์ เป็นคดีสาธารณะ สนับสนุนการฟ้องคดีให้ผู้บริโภคจำนวน 386 คดี เป็นคดีที่ใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค 178 คดี รวมทุนทรัพย์ทั้งสิ้น 212,576,590.07 บาท และมีคดีที่สิ้นสุดแล้วจนถึงปัจจุบันเป็นเงิน 27,244,803.39 ล้านบาท โดยรับเรื่องร้องเรียนและดำเนินการช่วยเหลือทั้งสิ้น 798 คดี  สำหรับลักษณะปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตที่มาร้องเรียนนั้น มีหลายรูปแบบ เช่น เป็นหนี้บัตรหลายใบ ไม่มีความรู้ในการจัดการบริหารหนี้สิน ถูกติดตามทวงหนี้ไม่เป็นธรรม จนถึงขั้นถูกฟ้องศาล แนะรัฐฯ ต้องออกกฏหมายคุ้มครองอย่างเหมาะสม เช่น กฎหมายติดตามทวงหนี้ที่เป็นธรรม กฎหมายบัตรเครดิตที่มีการกำกับดูแลค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ย หรือการมีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำโดยรัฐกำกับดูแล เป็นต้น  มูลนิธิฯ ตั้งความหวังว่าจะได้เห็น องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคจะเกิดขึ้นในปี 2554 นี้ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ภาครัฐฯ เข้ามาควบคุมดูแลกิจการที่คิดทำธุรกิจแบบผูกขาด และให้การสนับสนุนเรื่องมาตรการอาหารปลอดภัย ปรับปรุงคุณภาพบริการรถโดยสารสาธารณะ และเรียกร้องให้ภาคธุรกิจรับผิดชอบต่อผู้บริโภคให้เท่าเทียมกับความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคในต่างประเทศ ------------------------------------------------------------------------------------------------------   “สบท.” เดินหน้าทำงานต่อไปในยุค “กสทช.” นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ยืนยันว่า งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคมยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กลายเป็นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพราะมีมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์   และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 หรือ พ.ร.บ.กสทช. คอยรองรับอยู่ แต่เรื่องตัวสถาบันจะยังมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ต้องรอหลังการจัดตั้งคณะกรรมการกสทช. ซึ่งต้องแล้วเสร็จภายใน 180 วัน ซึ่งแนวโน้มอาจจะถูกควบรวม และแต่งตั้งเป็นสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคใหม่  ทั้งนี้ ในฐานะผู้อำนวยการ สบท.จะส่งหนังสือไปยังผู้ประกอบการทุกรายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.กสทช. ใหม่นี้ว่า ผู้บริโภคยังมีสิทธิร้องเรียนปัญหาได้ตามเดิม เพราะการจัดตั้งสบท. มีความชอบด้วยกฎหมาย ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 เนื่องจาก สบท.มีผลสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในสำนักงาน กทช. ยังมีสถานะอยู่ตามเดิม  นอกจากนี้ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั่วประเทศได้เสนอ 4 มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในช่วงจัดตั้งคณะกรรมการ กสทช. คือ 1. เร่งรัดให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์อย่างเร่งด่วน และคงบทบาทการทำงานของ สบท. ต่อไป 2. เร่งออกมาตรการคุ้มครองสิทธิ กรณี เอสเอ็มเอสรบกวน และการขายสินค้าผ่านโทรศัพท์ และกำหนดมาตรการการคงสิทธิเลขหมาย ย้ายค่ายเบอร์เดิมผู้บริโภคต้องไม่เสียค่าใช้จ่าย 3. เร่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือไม่ควรกำหนดอายุของบัตรเติมเงินตามประกาศของ กทช. และ 4. ขอให้ทำร่างแผนแม่บทคลื่นความถี่ที่รับผิดชอบก่อนมีกรรมการ กสทช.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 ฮีโร่วัยเด็ก

ใช่จะมีแต่เจ้าหน้าที่และผู้ใหญ่ที่ช่วยกันสอดส่องดูแลผลิตภัณฑ์อันตรายรอบๆ ตัวเรานะครับ เดี๋ยวนี้เด็กไทยเขาพัฒนาแล้วครับ ล่าสุดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเรื่องแตกตื่นกัน แต่ไม่ใช่แตกตื่นเพราะกรุแตกนะครับ แต่แตกตื่นเพราะมีของเล่นมหัศจรรย์แพร่ออกมา เด็กๆ ในจังหวัดนี้เขาไปซื้อหามาเล่นตามประสาน่ะครับ ของเล่นชนิดนี้เป็นชิ้นเล็กๆ รูปร่างต่างๆ เช่น กลม สี่เหลี่ยม ผัก ผลไม้ จิ้งจก จระเข้ เต่า กบ ฯลฯ แต่ที่เด็กๆ ชอบคือ พอนำมาแช่น้ำ ก็จะจองหองพองขน ขยายใหญ่โตขึ้นมาทันตาเห็น (ทำตัวอย่างกับนักการเมืองตอนได้ตำแหน่ง..ฮา) ไม่พองธรรมดานะครับ มันพองคับบ้านคับเมือง มากขึ้นหลายร้อยเท่า และเมื่อนำมาตากแห้งทิ้งไว้ ก็สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ งานนี้เด็กๆ นักเรียน อย.น้อยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็เลยนำข้อมูลมาบอก เภสัชกร สันติ โฉมยงค์ เภสัชกรประจำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ ซึ่งเป็นเสมือน อย.ใหญ่(หมายถึงเภสัชกรที่เป็นผู้ใหญ่แต่ใจยังเด็ก..ฮา) เรื่องราวถึงได้ดังระเบิดระเบ้อ จนมีการออกข่าวเตือน และมีการกวดขันไม่ให้จำหน่ายในที่สุด ในส่วนของจังหวัดสมุทรสงครามก็มีเหตุการณ์แบบนี้ โดยผมได้รับแจ้งจาก พี่อัญชลี เจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชกรรมสังคมของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ซึ่งได้ข่าวมาจากพยาบาลที่ได้ข้อมูลมาจากลูกอีกทอดหนึ่ง รวมทั้งมีข่าวว่าเด็กเผลอกลืนเข้าไป จนนำไปสู่การเตือนผู้บริโภคในที่สุด ความจริงไอ้เจ้าตัวเขมือบน้ำชนิดนี้ มีชื่อเรียกต่างๆ เช่น ตัวดูดน้ำ ตัวเลี้ยง ตัวกินน้ำ หรือน้ำตานางเงือก เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้อย่างมหาศาล (Super Absorbent Polymer ; SAP) เช่น Polyacrylic acid , Sodium polyacrylate ฯลฯ วัสดุโพลิเมอร์เหล่านี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เช่น ดินวิทยาศาสตร์ ผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมสำเร็จรูป และผ้าอนามัย ฯลฯ สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับของเล่นวิทยาศาสตร์ชนิดนี้ก็คือ อันตรายจากการกลืนกินเข้าไป เพราะจะทำให้เกิดการพองตัวกีดขวางทางเดินอาหาร หากไม่สามารถนำออกมาได้ อาจทำให้เสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้สีที่ใช้ผสมในของเล่น ฯ ดังกล่าว ไม่ใช่สีผสมอาหาร เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการควบคุมต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการนำมาจำหน่ายในลักษณะของเล่นของในกลุ่มเด็กเล็กๆ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่เด็กจะกลืนกินเข้าไป งานนี้ต้องยกให้เด็กเขาเป็นฮีโร่ล่ะครับ ถ้าเขาไม่นำเรื่องนี้มาบอกผู้ใหญ่ พวกเราคงไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 Code นมสิ่งสำคัญในการปกป้องสุขภาพเด็กไทย

Code นม หรือ หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast  Milk Substiututes ) ณ ปัจจุบันหลักเกณฑ์นี้ยังไม่มีกฎหมายเป็นข้อบังคับ จึงทำให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งผลให้สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยอยู่ภาวะที่ต่ำมากในเอเชีย นั่นหมายถึงสุขภาพของเด็กไทยที่จะต้องเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพในอนาคต นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา  กล่าวว่า  Code นม ที่ประเทศต่างๆ ได้มีมติรับรองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524  เป็นกฎเกณฑ์ปกป้องสุขภาพเด็ก เพื่อให้เด็กได้กินนมแม่  ซึ่งถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และเพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อจำเป็นต้องใช้อาหารอื่นแทนนมแม่ แม่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนผ่านวิธีการตลาดที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยเรื่องการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2524  แต่ด้วยประเทศไทยไม่มีกฎหมายเพื่อบังคับใช้อย่างจริงจัง  ทำให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ มีหลักฐานจากหลายประเทศแสดงให้เห็นว่า การตรากฎหมายเพื่อควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กนั้น มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมปัจจัยที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  อย่างเช่นการวิจัยในประเทศฟิลิปปินส์ พบว่า การออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในปี 1986 ส่งผลให้มีการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในโรงพยาบาลลดลง จากร้อยละ 57.5  ในปี ค.ศ. 1986 เหลือเพียงร้อยละ 2.8 ในปี ค.ศ. 1988  ประเทศไทยของเราน่าเป็นห่วงมากว่า ถึงแม้เราจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมานานถึง 30 ปีแล้ว แต่เราไม่สามารถป้องกันหรือบังคับใช้ได้ เพราะไม่มีการลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน การมีหลักเกณฑ์จึงไม่สามารถควบคุมการส่งเสริมการตลาดที่ดำเนินการอยู่ได้ ในทัศนะของ ดร.บวรสรรค์ เจี่ยดำรง นักวิชาการนิเทศศาสตร์อิสระ ผู้ติดตามการส่งเสริมการตลาดของอุตสาหกรรมนมผงในประเทศไทย เห็นว่า มีกลยุทธ์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การโฆษณาในสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโฆษณาอื่นๆ  มีการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์เป็นของขวัญฟรีแก่แม่  การใช้ข้อความ รูป หรือสัญลักษณ์บนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เข้าใจว่าสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับเด็ก และมีสารอาหารที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ  การอบรมคุณแม่ตั้งครรภ์ผ่านสถานประกอบการ หรือผ่านกิจกรรมในโรงพยาบาล  การทำตลาดผ่านสื่อ Call Center  จดหมาย หรือ SMS  เพื่อติดต่อกับแม่และครอบครัวโดยตรง  การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ผ่านโรงพยาบาลและคลินิก ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแจกของขวัญให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล “เครื่องมือส่งเสริมการตลาดเหล่านี้ ได้สร้างมายาคตินมผงเท่ากับนมแม่ ชวนให้แม่เชื่อผิดๆ ว่านมผงมีสารอาหารเทียบเท่านมแม่ ภายใต้กรอบความเชื่อที่ผิดๆ เช่นนี้จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการเลี้ยงลูกด้วยนมผงร่วมกับนมแม่ ซึ่งเป็นกลยุทธ์อันแยบยลที่อุตสาหกรรมนมผงใช้ในการขัดขวางการผลิตน้ำนมของแม่  เมื่อแม่ไม่ได้ให้นมลูก กระบวนการผลิตน้ำนมก็ไม่ได้ถูกกระตุ้น  ทำให้น้ำนมแม่ก็แห้งไปจากอกแม่  แม่จึงเข้าใจว่าน้ำนมไม่พอ ในที่สุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนก็ไม่สำเร็จ” เมื่อทารกไม่ได้กินนมแม่หรือได้รับนมแม่ไม่เพียงพอในช่วง 6 เดือนแรก ทารกก็สูญเสียสิทธิที่จะได้รับสารอาหารที่ดีสุดในชีวิตไป ซึ่งทารกที่ไม่ได้กินนมแม่หรือกินไม่เพียงพอก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยพบเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้สูงถึง 6 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่แม่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อนมผงเลี้ยงลูกสูงถึงปีละกว่า 7 หมื่นบาท นี่ยังไม่รวมค่ารักษาพยาบาลโรคภูมิแพ้อีกปีละเกือบ 7 หมื่นบาท ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขมีต้นทุนค่ารักษาพยาบาลปีละกว่า 7,500 ล้านบาท ท่ามกลางความเสียหายต่อสุขภาพทารกและระบบสาธารณสุขของประเทศ การดำเนินธุรกิจที่ไร้จริยธรรมทำให้อุตสาหกรรมนมผงได้กำไรต่อปีกว่าพันล้านบาท ทางด้านเครือข่ายคุณแม่ออนไลน์ ซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มคุณแม่ ที่มีความตระหนักร่วมกันไม่ต้องการให้การตลาดนมผงมาสร้างมายาคติ หรือความเชื่อที่ผิดๆ ให้กับคุณแม่ทั้งหลาย โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีฐานะการเงินที่ไม่ดี เพราะนมมีคุณค่าที่สุดที่จะเลี้ยงลูกของตนเอง  จากคุณแม่ไม่กี่คนที่เชื่อมั่น และต้องการเห็นเด็กๆ คนอื่น มีความเท่าเทียมในการเติบโตอย่างมีสุขภาพ จึงเริ่มต้นแนะนำให้ความรู้กับคุณแม่มือใหม่ด้วยสื่อออนไลน์เพราะเข้าถึงคนได้ง่าย จากเว็บไซต์ และปัจจุบันยังอาสาทำงานให้ความรู้คุณแม่เท่าทันการตลาด ล่าสุดเข้าเพื่อความรวดเร็วและเข้าถึงผู้คนได้ง่ายและขยายผลได้ดี ปัจจุบันจึงเป็นเฟสบุ๊ค “นมแม่ แบบแฮปปี้” พญ.ศศินุช รุจนเวช  ตัวแทนเครือข่ายคุณแม่ออนไลน์ ยังเล่าให้ฟังว่า ตนเองไม่ใช่กุมารแพทย์ เหมือนกับคุณแม่ทั่วไป ที่กังวลกับการมีลูก ตอนที่มีลูกก็มีปัญหาน้ำนมไม่มี แต่ได้รับการดูแลจากโรงพยาบาลที่เข้ามาสนับสนุนนมแม่ จึงเริ่มสนใจเข้าใจเรื่องเหล่านี้ และเริ่มต้นจากแม่ๆ มาเริ่มพูดคุยแชร์เรื่องเหล่านี้ร่วมกัน  จึงเกิดความต้องการอยากให้คุณแม่ทุกคนให้นมแม่สำเร็จ เห็นลูกเราแข็งแรง แต่เด็กอื่นๆ ที่กินนมผง กินนมแม่น้อย มีความเจ็บป่วยมากกว่า มีสุขภาพไม่แข็งแรง จึงทำให้สนใจเรื่องการตลาด และข้อเท็จจริงก็คือคนส่วนใหญ่สามารถให้นมแม่ได้สำเร็จอยู่แล้ว แต่พอมีการตลาดเข้ามาก็ไปขัดขวางให้คุณแม่เข้าใจเรื่องนี้ผิดๆ  เราเป็นห่วงว่าอัตราการให้นมแม่ของประเทศไทยน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชีย อย่างคุณแม่ในทีมที่แข็งขันท่านหนึ่ง ที่มีสามีเป็นแพทย์ก็ได้ศึกษาหาข้อมูลตรงนี้มาเผยแพร่ พวกเราช่วยกันทำงานนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม คุยกับคนใกล้ตัว แล้วก็เจอปัญหาที่โดนคนรอบข้างกดดันเพราะอิทธิพลของการโฆษณา หลายคนเจอว่าทำไมไม่ให้ลูกกินนมผง มีสารดีๆ อยู่ในนมผงเยอะนะ  เราจึงเห็นว่านี่คือผลของอิทธิพลการโฆษณา ทำให้คนรอบข้างไม่เข้าใจและส่งผลต่อแม่ที่อยากให้ลูกทานนมแม่ ประเทศไทยจึงควรขจัด “มายาคติ” เหล่านี้ จึงอยากฝากคุณแม่ทุกท่านให้ลูกได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และอยากให้มีเครือข่ายกว้างขวางช่วยกันเผยแพร่ความรู้ ถ้าเครือข่ายเราเข้มแข็งการป้องกันเด็กทารกจะดีขึ้น และท้ายที่สุดหวังว่าจะมีการสนับสนุนให้มีกฎหมายที่ช่วยคุ้มครองสุขภาพเด็กไทยจากอิทธิพลของการตลาดนมผง   ข้อมูลจาก เวทีชี้แจงกับสื่อมวลชน ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2557 ในประเด็น “ความสำคัญของ Code นม เพื่อปกป้องสุขภาพเด็กไทย”  ที่ โรงแรมแรมเอเชีย  จัดโดยโครงการสื่อสารเพื่อสนับสนุนนมแม่ฯ  ได้รับการสนับสนุน โดย องค์การยูนิเซฟ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 183 เครื่องสำอางเด็กหมดอายุ

การร้องเรียนกรณีห้างสรรพสินค้าวางจำหน่ายสินค้าที่หมดอายุแล้ว ยังคงมีเข้ามาเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ใช้สำหรับการบริโภค แต่สำหรับกรณีนี้กลับเป็นสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ซึ่งมีไว้ให้เด็กเล่นอีกต่างหาก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณดวงใจ เธอซื้อชุดแต่งหน้าสำหรับเด็กยี่ห้อ บาร์บี้ (Barbie) จากแผนกของเล่นเด็กที่ห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัล สาขาเวตส์เกต ในราคาลด 50% จากราคาเต็มเกือบสองพัน ลดแล้วเหลือเพียงเก้าร้อยกว่าบาท  ซึ่งก่อนซื้อเธอได้สอบถามพนักงานว่า สินค้าดังกล่าวมีตำหนิอะไรหรือไม่จึงนำมาลดราคา แต่พนักงานก็ไม่ได้แจ้งว่ามีปัญหาแต่อย่างใด เธอเห็นว่าสินค้าก็มีสภาพดีจริง จึงให้พนักงานนำสินค้าดังกล่าวไปห่อของขวัญ เพื่อนำมามอบเป็นของขวัญให้ลูกสาว อย่างไรก็ตามเมื่อนำกลับไปบ้าน เธอก็สังเกตเห็นฉลากที่ระบุวันผลิตและหมดอายุไว้ว่า สินค้านี้ผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2555 หรือ 4 ปีที่แล้วและหมดอายุไปเมื่อ 2 ปีก่อน เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เธอจึงต้องการร้องเรียนให้ทางห้างสรรพสินค้าแสดงความรับผิดชอบที่นำของหมดอายุมาจำหน่าย โดยส่งกล่องเครื่องสำอางดังกล่าวมาให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ช่วยตรวจสอบอีกครั้งด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังได้รับเรื่องร้องเรียน ศูนย์ฯ ได้ตรวจสอบเบื้องต้นและพบว่า สินค้าดังกล่าวมีการโฆษณาและแนะนำให้ใช้ในการแต่งหน้าเด็ก ซึ่งสามารถเข้าข่ายเครื่องสำอาง แต่ไม่มีฉลากที่ระบุว่าเป็นเครื่องสำอางที่มีการควบคุมของสำนักงานคณะ กรรมการอาหารและยา (อย.) มีเพียงฉลากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) กำกับไว้ที่ข้างกล่องเท่านั้น นอกจากนี้ฉลากภาษาไทยกำกับไว้ว่า เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 – 12 ปี ก็ไม่ตรงกับฉลากภาษาอังกฤษที่ระบุไว้บนกล่องว่า เหมาะสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และมีคำเตือนกำกับไว้สำหรับผู้เล่นอายุต่ำกว่า 3 ปี เช่น ควรมีผู้ปกครองดูแล ศูนย์ฯ จึงทำหนังสือถึง 1. คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้มีการตรวจสอบของเล่นดังกล่าว ว่าเป็นของเล่นที่เข้าข่ายเป็นเครื่องสำอางหรือไม่ ซึ่งหากบ่งชี้ได้ว่าเข้าข่ายเป็นเครื่องสำอาง จะต้องมีการดำเนินการจดแจ้งกับ อย.ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558 และหากไม่ขออนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท 2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อให้มีการตรวจสอบฉลากสินค้าภาษาไทยที่ระบุวันหมดอายุ ไม่ตรงกับข้างกล่อง เพราะถือว่าเป็นการทำผิด พ.ร.บ. ว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งในกรณีการขายสินค้าที่หมดอายุนั้น สคบ. มีอำนาจในการสั่งปรับผู้ผลิตและบริษัทผู้นำได้ไม่เกิน 50,000 บาท รวมทั้งผู้จัดจำหน่ายไม่เกิน 20,000 บาท3. ห้างสรรพสินค้าดังกล่าว เพื่อให้มีการตรวจสอบสินค้าประเภทเดียวกันที่นำมาจัดจำหน่ายว่า ยังมีกล่องไหนที่หมดอายุอีกหรือไม่4. ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าหมดอายุ ทั้งนี้สำหรับผลการดำเนินการจะเป็นอย่างไร ทางศูนย์ฯ จะติดตามความคืบหน้าต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 กสิกรไทยหาดใหญ่ ชุ่ย ยอมให้เด็กเก้าขวบถอนเงินเอง

คุณวราภรณ์ เข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 ตนได้ไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำกับธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่ให้กับลูกชาย 2 คนคนหนึ่งอายุ 9 ขวบ อีกคนอายุ 6 ขวบ เปิดเป็นบัญชีเงินฝากทวีทรัพย์ ระยะเวลาฝาก 24 เดือน เดือนละ 5,000 บาท เป็นยอดรวมเงินฝากทั้งสิ้น 120,000 บาท คุณวราภรณ์ผู้เป็นแม่เปิดบัญชีให้ลูกคนละบัญชี โดยใช้ชื่อของลูกชายทั้งสองคนเป็นชื่อเจ้าของบัญชี และมีเงื่อนไขการถอนเงินจากบัญชีว่าให้ลงลายมือชื่อของลูกที่เป็นเจ้าของบัญชีนั้นเพียงคนเดียว“ตลอดมาดิฉันได้มอบหมายให้นางกาญจนา เส้งสุข พี่เลี้ยงของเด็กเป็นผู้ดูแลนำเงินเข้าฝากให้ทุกเดือน จนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 ดิฉันพบว่านางกาญจนา ได้ยักยอกเงินส่วนหนึ่งของดิฉันแล้วหนีหายไปไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย ดิฉันได้แจ้งความดำเนินคดีแล้วเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2554”คุณวราภรณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 ลูกชายคนโตอายุ 9 ขวบได้พูดเปรยขึ้นมาว่า นางกาญจนาเคยให้ตนกับน้องไปเซ็นเอกสารบางอย่างที่ธนาคาร“จึงเอะใจขึ้นมาค่ะ พอตรวจสอบไปที่ธนาคารปรากฏว่าได้มีการถอนเงินปิดบัญชีเงินฝากของเด็กทั้งสองคนไปเรียบร้อยแล้วค่ะ ตั้งแต่วันที่ 9 และ 10 กุมภาพันธ์ 2554”“ดิฉันได้สอบถามกับพนักงานธนาคารและผู้จัดการ(ธนาคารกสิกรไทย สาขาคาร์ฟูร์หาดใหญ่) ก็ได้รับคำตอบว่าได้ทำถูกต้องตามระเบียบธนาคารแล้ว เพราะเด็กเจ้าของบัญชีเป็นคนมาเซ็นชื่อถอนเงินเอง โดยหลักฐานที่พี่เลี้ยง(นางกาญจนา)นำมาด้วยมีเพียงสำเนาบัตรประชาชนของแม่และสำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก ผู้จัดการสาขาให้คำแนะนำแค่ว่าให้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหากต้องการให้ธนาคารรับผิดชอบก็ให้ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนของธนาคาร” คุณวราภรณ์เล่าด้วยอารมณ์เซ็งสุดขีดที่เห็นธนาคารปัดความรับผิดชอบออกมาแบบนั้น “ดิฉันขอร้องเรียนมาเพื่อขอความเป็นธรรมแทนเด็กทั้งสองเพราะได้รับความเสียหายที่เกิดจากความประมาทของพนักงานธนาคารที่ให้เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะทำธุรกรรมการเงินได้โดยไม่มีผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายไปให้ความยินยอมด้วย และขอให้ธนาคารแสดงความรับผิดชอบต่อการกระทำของพนักงานด้วย” แนวทางแก้ไขปัญหาเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทราบว่า มีการเบิกถอนเงินของลูกอายุ 9 ขวบเป็นเงิน 50,123.57 บาท และลูกคนเล็กของคุณวราภรณ์เป็นเงิน 50,124.57 บาท จากนั้นจึงได้นำเรื่องปรึกษาในข้อกฎหมายกับศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และท้ายสุดได้มีข้อแนะนำให้คุณวราภรณ์ทำจดหมายแสดงเจตนาบอกล้างนิติกรรมการฝากถอนเงิน เนื่องจากการปิดบัญชีเงินฝากและเบิกถอนเงินของเด็กทั้งสองที่ธนาคารยินยอมให้เด็กผู้เยาว์ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกระทำไปนั้น เป็นการกระทำที่ปราศจากความยินยอมของบิดามารดา ทำให้บิดามารดาในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมและบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้รับความเสียหาย และขอให้ธนาคารคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับจดหมายฉบับนี้ ซึ่งหากพ้นกำหนดคุณวราภรณ์และสามีซึ่งเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายสามารถดำเนินคดีกับธนาคารได้ตามกฎหมายต่อมาในเดือนเมษายน มูลนิธิฯ ได้ทราบความคืบหน้าจากคุณวราภรณ์ว่า ได้รับเงินคืนเต็มตามจำนวนทั้งหมด 100,274.72 บาท โดยธนาคารขอให้ผู้ร้องเซ็นหนังสือสัญญาว่าจะไม่ติดใจเอาความใดๆกับธนาคารฯ คุณวราภรณ์เห็นว่าตนได้รับเงินคืนครบตามจำนวนที่หายไป และธนาคารฯ รับปากว่าจะตามหาพนักงานที่กระทำผิดมาลงโทษ คุณวราภรณ์จึงขอยุติเรื่องร้องเรียนไว้แต่เพียงเท่านี้เรื่องนี้นับเป็นบทเรียนสำคัญกับผู้บริโภคทุกคนว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน และต้องเพิ่มด้วยว่า “อย่าวางใจธนาคาร” ด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 ซื้อนมแถมมอด

เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2553 ที่ผ่านมา มีคุณพ่อ คุณแม่ลูกอ่อนวัยขวบเศษคู่หนึ่ง ได้เข้ามาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสองสามีภรรยาคู่นี้ให้รายละเอียดว่า ในเย็นย่ำวันหนึ่งของปลายเดือนธันวาคม 2552 ตนได้ไปซื้อนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 3 ปียี่ห้อซิมิแลค เกน แอดวานซ์ ขนาดบรรจุ 900 กรัม จำนวน 2 กระป๋อง ราคากระป๋องละ 341 บาทกับห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาปทุมธานี เหตุที่ซื้อเพราะเคยเห็นโฆษณาจึงตัดสินใจเลือกให้ลูกกินตั้งแต่วัย 6 เดือนเช้าตรู่ของสองวันต่อมา หลังจากนมกระป๋องเดิมที่มีอยู่หมด คุณพ่อคุณแม่จึงได้เปิดหนึ่งในกระป๋องนมที่ซื้อมาใหม่เพื่อเตรียมชงนมให้ลูกกิน แต่ต้องตกใจเป็นอย่างมากเมื่อเปิดกระป๋องนม เพราะพบเนื้อนมในกระป๋องมีสีน้ำตาลเข้มทั้งหมดแทนที่จะเป็นสีขาวเหลืองอย่างที่คุ้นเคย แต่สิ่งที่สร้างความขยะแขยงไปกว่านั้นคือ มีตัวแมลงเล็กๆ คล้ายตัวมอดเดินไต่ยั้วเยี้ยปะปนอยู่ในเนื้อนมเต็มไปหมด เห็นสภาพเนื้อนมอย่างนั้นแล้วจึงรีบนำฝากระป๋องนมปิดนมกระป๋องนั้นทันที แล้วคว้านมผงอีกกระป๋องที่เหลืออยู่มาเปิดตรวจสอบเช่นกัน โชคดีไม่พบความผิดปกติใดๆ แม้จะคลางแคลงใจว่าจะมีอะไรอยู่ในกระป๋องนมที่เหลืออยู่หรือไม่ แต่ไม่มีทางเลือกเนื่องจากยังเช้าตรู่มากและนมหมดไม่เหลืออยู่ในบ้านเลย จึงจำเป็นต้องใช้นมในกระป๋องที่เหลืออยู่นั้นชงนมให้ลูกกิน วันนั้นพ่อแม่ลูกอ่อนทั้งสองก็อยู่ไม่สุข เห็นแต่ภาพแมลงยั้วเยี้ยในกระป๋องนมเต็มไปหมด จึงได้นำนมกระป๋องที่เกิดปัญหามาตรวจสอบกันอย่างละเอียดอีกครั้ง จึงพบว่าบริเวณปากกระป๋องนมมีการบุบ ซึ่งในตอนที่ซื้อมานั้นไม่สังเกตเห็นเพราะห้างสรรพสินค้าจะมีการใส่ที่ครอบป้องกันการขโมยไว้บริเวณปากกระป๋อง และในวันที่ซื้อเท่าที่เห็นบนชั้นวางสินค้าก็เหลือนมยี่ห้อนี้เพียง 2 กระป๋องเท่านั้น เมื่อได้รายละเอียดคร่าวๆ แล้ว จึงโทรศัพท์ไปที่คอลเซนเตอร์ของบริษัทผู้นำเข้านมคือ บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด เพื่อขอให้นำนมไปตรวจว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ซึ่งต่อมาบริษัทแสดงความรับผิดชอบโดยแจ้งว่าจะเปลี่ยนนมกระป๋องใหม่มาให้ และมอบกระเช้าของขวัญเพื่อเป็นการแสดงน้ำใจต่อปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมรับตัวอย่างนมไปตรวจ ในวันเดียวกันได้มีการร้องเรียนไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานีซึ่งเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าแห่งนั้น และยังได้ร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) อีกด้วย ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2553 บริษัทแอ๊บบอตได้มีจดหมายยืนยันถึงกระบวนการผลิตนมที่มีมาตรฐานและมีการตรวจสอบคุณภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ และได้กล่าวถึงกรณีเกี่ยวกับกระป๋องที่บุบว่า ผลิตภัณฑ์รุ่นนี้พบว่ามีมาตรฐานคุณภาพสูงในขณะที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยสินค้าเพื่อจำหน่ายจากโรงงาน อาจเป็นไปได้ที่กระป๋องถูกทำให้เสียหายระหว่างขนส่ง หรือขณะเก็บรักษาก่อนจำหน่าย หรือหลังจำหน่าย หลังได้รับจดหมายพ่อแม่ลูกอ่อน เห็นว่ายังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนว่ามีแมลงเข้าไปอยู่ในกระป๋องนมได้อย่างไร ก็เฝ้ารอติดตามผลการร้องเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่อยมา ส่วนนมที่ชงให้ลูกกินนั้นได้เปลี่ยนยี่ห้อใหม่หลังเกิดปัญหาไม่นาน แนวทางแก้ไขปัญหา หลังจากที่ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ปลายปี 2552 ไม่เห็นความคืบหน้า พ่อแม่ลูกอ่อนสองท่านนี้เห็นข่าวมูลนิธิฯ ตึกถูกไฟไหม้ จึงได้นำปัญหานี้มาร้องเรียนกับมูลนิธิฯ ที่สำนักงานชั่วคราว อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2553 ในเดือนเดียวกัน มูลนิธิฯ จึงได้นัดผู้แทนของห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส คือ บริษัท เอก-ชัย ดริสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัดและบริษัทแอ๊บบอต เข้าร่วมการเจรจาไกล่เกลี่ยกับผู้บริโภค และได้ส่งตัวอย่างนมผงไปที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 อุบลราชธานี เพื่อทำการตรวจสอบผลการเจรจาไกล่เกลี่ยผู้ประกอบธุรกิจทั้งสองได้มีโอกาสชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้บริโภคและรับที่จะนำข้อมูลจากปัญหาที่เกิดขึ้นไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการประกอบการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป พร้อมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้บริโภคร่วมกันเป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท โดยแบ่งจ่ายบริษัทละ 25,000 บาทส่วนผลการตรวจสอบศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7 ได้ความว่า แมลงที่พบในนมผงที่ส่งมาตรวจสอบนั้น เป็นแมลงชนิดเดียวกัน มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยว่า มอดแป้ง เป็นแมลงในวงศ์ Tenebrionidae อันดับ Coleoptera ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Tribolium spp.มอดแป้งเป็นแมลงขนาดเล็ก มีสีน้ำตาลแดง มักพบตามบริเวณที่แห้ง นอกจากนี้อาจพบในผลิตภัณฑ์อาหารแห้งที่เก็บรักษาไว้ มอดแป้งเป็นศัตรูในโรงเก็บ และพบทำลายผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากเมล็ดธัญพืช...ในส่วนนี้ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จึงได้ตั้งขอสันนิษฐานว่า การที่ปากกระป๋องมีรอยบุบก่อนจะถึงมือผู้บริโภคอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของแผ่นวัสดุที่ปิดกั้นบริเวณปากกระป๋องเป็นรูรั่วที่เล็กมาก ทำให้มอดแป้งที่อาจเกาะกินอยู่กับสินค้าผลิตภัณฑ์ประเภทธัญพืชซึ่งเก็บรักษาอยู่ในที่เดียวกันหรือใกล้เคียง น่าจะเล็ดลอดเข้าไปอยู่อาศัยทำมาหากินกับนมผงที่กระป๋องมีรอยบุบนี้ได้ และหากพนักงานของผู้ประกอบธุรกิจไม่ตรวจสอบให้ดีและคัดแยกออกไป นมกระป๋องนี้จึงถึงมือผู้บริโภคในท้ายที่สุดได้อย่างไรก็ดีขอขอบพระคุณผู้ประกอบธุรกิจทั้งสองที่ได้ตระหนักและให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้บริโภค นับเป็นเยี่ยงอย่างที่ดีและน่ายกย่องที่ผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ จะได้นำไปปฏิบัติต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 ช้อนตวงยา อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

  การกินยาสำหรับเด็กๆ อาจเป็นเรื่องยากและลำบากใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ “ยาน้ำ” จึงเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กๆ หรือคนที่ไม่ชอบกินยาเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งการกินยาน้ำแม้จะดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ก็ข้อพึ่งระวัง โดยเฉพาะเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามอย่าง “ช้อนและถ้วยตวงยา” ด้วยความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตยาที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด จึงทำให้ลักษณะของช้อนและถ้วยตวงยาก็มีความหลากหลายทั้ง ขนาด รูปทรง วัสดุ ซึ่งความแตกต่างทั้งหมดของช้อนและถ้วยตวงยาที่กล่าวมาอาจมีผลต่อปริมาณของยาที่รับประทาน และอาจกลายเป็นผลเสียกับร่างกาย ฉลาดซื้อ จึงอยากชวนทุกคนใส่ใจและให้ความสำคัญกับช้อนและถ้วยตวงยาน้ำมากขึ้น ด้วยผลทดสอบความจุของช้อนและถ้วยตวงยาพลาสติก โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม มาดูกันซิว่าช้อนและถ้วยตวงยาที่เราใช้กันอยู่ได้มาตรฐานหรือเปล่า      ตารางแสดงผลทดสอบความจุของช้อนตวงยาพลาสติก ที่ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ในยาน้ำสำหรับเด็ก      เครื่องหมายถูก = มี     เครื่องหมาย x = ไม่มี ผลทดสอบโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์สมุทรสงคราม และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงครามหมายเหตุ : * ทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่มีจำหน่ายในร้านยา จังหวัดสมุทรสงคราม **  ตามเกณฑ์มาตรฐานช้อนตวงยาพลาสติกของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ที่ มอก. 1411-2540 ***ผลทดสอบปริมาตรถ้วยตวงยา Dimetapp ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน เนื่องจากตัวอย่างถ้วยยาพลาสติกของตัวอย่าง lot การผลิตเดียวกัน มีความจุแตกต่างกันมาก มีทั้งผ่านมาตรฐาน และไม่ผ่านมาตรฐาน   สรุปผลทดสอบ - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ มี 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ รูปแบบช้อน และรูปแบบถ้วย ซึ่ง ช้อนยาตวงพลาสติกในรูปแบบถ้วยยานั้น ไม่เข้ามาตรฐานถ้วยตวงยาพลาสติกของ มอก. เนื่องจากมีปริมาตรสุทธิ ไม่ถึง 30 มิลลิลิตร ในการทดสอบนี้จึงใช้เกณฑ์มาตรฐานความจุของช้อนตวงยาพลาสติกโดยไม่สนใจลักษณะทางกายภาพ (คำนิยามของช้อนตวงยาพลาสติกของ มอก. หมายถึง ช้อนพลาสติกมีด้ามจับ ใช้สำหรับตวงยาน้ำเพื่อรับประทาน) - ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของช้อนตวงยาพลาสติก  มอก. ที่ 1411-2540 ระบุ ให้ช้อนตวงยาพลาสติกขนาด 1 ช้อนชา มีความจุ 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร (มิลลิลิตร หรือซี.ซี.) โดยมีความคลาดเคลื่อนได้ ± 0.25 ลูกบาศก์เซนติเมตร นั่นเท่ากับว่า ช้อนตวงยา 1 ช้อนชา มีความจุอยู่ระหว่าง 4.75 – 5.25 มิลลิลิตร - ช้อนตวงยาพลาสติกส่วนใหญ่ มีปริมาตรความจุ เกินกว่า 5 มิลลิลิตร ยกเว้น ช้อนตวงยาของยาที่มีช่วงการรักษาแคบ ที่มีปริมาตรความจุสุดท้ายน้อยกว่า 5 มิลลิลิตร - ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกที่ทำการทดสอบมีทั้งหมด 17 ตัวอย่าง แบ่งเป็นรูปแบบช้อนยา 12 ตัวอย่าง และรูปแบบถ้วยยาจำนวน 5 ตัวอย่าง โดยการทดสอบ ผู้ทดสอบจะไม่ทราบว่า ช้อนมีเลขรหัสการผลิตหรือไม่อย่างไร ผู้แปรผลสุดท้ายจะทราบรายละเอียดทั้งหมดของช้อน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างในรูปแบบช้อนยา ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 3 ตัวอย่าง และตัวอย่างในรูปแบบถ้วยยาผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 2 ตัวอย่าง โดยในจำนวนตัวอย่างที่ผ่านมาตรฐานทั้งหมด มีเพียงตัวอย่างเดียวที่ไม่ระบุหมายเลขการผลิตของช้อนตวงยาพลาสติก (ช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ BEE-COL ซึ่งเป็นตำรับยาบรรเทาหวัดสูตรผสมของ ห้างหุ่นส่วนจำกัด โบร์วู๊ด ฟาร์มาซูติคอล ส่วนตัวอย่างอื่นๆ ที่ผ่านมาตรฐาน ได้แก่ ช้อนตวงยาพลาสติกของผลิตภัณฑ์ PARACAP ของบริษัท ยูเมด้า จำกัด มีความจุ 5.13 มิลลิลิตร, DENAMOL 120 ของบริษัท ที.โอ. ฟาร์ม่า จำกัด มีความจุ 5.08 มิลลิลิตร, Tempra Kids ของ PT Taisho Pharmaceutical Indonesia Tbk. ผลิตให้กับ Taisho Pharmaceuticsl Co., Ltd. นำเข้าโดย DKSH (Thailand) Limited และ Calpol TM ของ SmithKline Beecham, Rizel, Philippines. นำเข้าโดย GlaxoSmithKline (Thailand) Limited. ที่มี Paracetamol 120 มิลลิกรัม เป็นส่วนประกอบ) - อย่างไรก็ตามมีตัวอย่าง ที่ไม่สามารถประเมินได้ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจาก ช้อนตวงยาพลาสติกที่นำมาทดสอบ ที่เก็บตัวอย่างจากรุ่นการผลิตเดียวกัน มีความจุสุทธิที่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ (ตัวอย่างช้อนตวงยาพลาสติกในผลิตภัณฑ์ Dimetapp  ของบริษัทอินเตอร์ไทย ฟาร์มาซูติเคิ้ล แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด ซึ่งเป็นตำรับยาผสม ประกอบด้วย Brompheniramine Maleate 2mg และ Phenylephrine HCl 5 mg) - เป็นที่น่าสังเกต บริษัทผู้ผลิตยาส่วนใหญ่ ใช้ช้อนตวงยาพลาสติกเป็นของตนเอง โดยระบุชื่อผู้ผลิตหรือชื่อของผลิตภัณฑ์ไว้ที่ช้อนตวงยาพลาสติก อาทิเช่น บริเวณด้ามจับของช้อน พื้นที่ผิวด้านในของตัวช้อน ขอบบนของถ้วย และก้นถ้วย -BEE-COL มีส่วนผสมของยาแก้ปวด 2 ชนิด คือ N-Acetyl-p-aminophenol และ Salicylamide ซึ่งคือ Salicylic acid ที่มีคำสั่งกระทรวงที่ 193/2536 ให้ถอนออกจากตำรับ -ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) และ ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) เป็นตัวยาที่นิยมผลิตเป็นยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก โดยมักจะต้องรับประทานยาทุก 4 – 6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเกิน 5 วัน นอกจากนี้แพทย์ยังแนะนำว่าไม่ควรรับประทานยา 2 ชนิดนี้พร้อมกัน เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ----------------------------------------------------------------------------------------   ลักษณะทั่วไปของช้อนและถ้วยตวงยา -ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องเป็นสีขาว มีลักษณะโปร่งใสหรือโปร่งแสง-พื้นผิวต้องเรียบ-ขอบของช้อนหรือถ้วยต้องมีลักษณะโค้งมน ไม่มีมุมหรือส่วนที่เป็นคม-ช้อนหรือถ้วยตวงยาต้องสามารถตั้งวางได้โดยไม่ทำให้ยาหก-ที่ช้อนหรือถ้วยตวงยาควรมีอักษรหรือเครื่องหมายแจ้งปริมาณ เช่น “1” หรือ “1 ช้อนชา”   การรับประทานยาโดยใช้ช้อนหรือถ้วยตวงยานั้น มีความจำเป็นอย่างมากับยาชนิดที่เป็นน้ำ ซึ่งยาน้ำมักจะเป็นยาสำหรับเด็กเพราะรับประทานง่ายกว่ายาชนิดเม็ด แถมเดี๋ยวยาน้ำรักษาโรคต่างๆ ก็นิยมผลิตออกมาให้มีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเวลาที่เด็กต้องรับประทานยา เด็กไม่ได้เป็นคนที่ตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกว่าจะรับประทานยาชนิดไหน แต่เป็นหน้าที่ของพ่อ – แม่ ผู้ปกครองที่จะต้องเป็นคนเลือกว่าจะให้ลูกรับประทานยาอะไร จะพาไปหาหมอหรือซื้อยามารับประทานเอง การให้เด็กรับประทานยาเป็นเรื่องที่ต้องให้ความระมัดระวัง เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่เองการรับประทานยาอย่างขาดความเข้าใจ ไม่ตรงกับโรค หรือรับประทานในปริมาณที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ซึ่งหากเป็นเด็กผลเสียก็จะยิ่งมากกว่า   สิ่งที่ควรรู้เรื่องการใช้ยาสำหรับเด็ก 1.ร่างกายของเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกัน ระบบการทำงานต่างๆ ยังด้อยกว่าผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดูดซึมยาไปใช้หรือการการเผาผลาญหรือการขับยาส่วนเกินออกจากร่างกายยังทำได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ การกำหนดปริมาณสำหรับเด็กจึงมีความสำคัญมาก 2.ก่อนที่จะให้เด็กรับประทานยาใดๆ ต้องอ่านฉลากยา ศึกษาข้อควรระวังหรือคำเตือน ปริมาณยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละวัย รวมถึงอาการผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นพร้อมวิธีรักษาหรือแก้ไข 3.การให้เด็กรับประทานยาควรใช้อุปกรณ์ตวงยาที่มาพร้อมกับยา หรือเป็นอุปกรณ์สำหรับตวงยาโดยเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงช้อนทานข้าวหรือช้อนชงกาแฟที่ใช้อยู่ เพราะอาจทำให้ปริมาณยาคลาดเคลื่อนได้ 4.ไม่ควรใส่ยาลงในขวดนมหรือใส่ไปพร้อมกับอาหารที่เด็กรับประทานเป็นประจำ เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหารเหล่านั้นอีก ถ้าอยากให้ยามีรสหวานเพื่อให้เด็กรับประทานได้ง่ายขึ้น สามารถเติมน้ำเชื่อมเพิ่มลงไปได้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 180 ที่นั่งสำหรับเด็กในรถยนต์

ฉบับนี้เรามีผลทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยให้กับผู้โดยสารตัวน้อยมาฝากสมาชิกที่กำลังมองหาที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (หรือที่เรียกกันติดปากว่าคาร์ซีท) มาติดรถไว้ยามที่มีเด็กเล็กร่วมเดินทางไปด้วย  เราใช้ผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้กับคาร์ซีทรุ่นที่วางตลาดในยุโรปในปีที่ผ่านมา สนนราคาค่าทดสอบก็ไม่มากเลย แค่ตัวอย่างละประมาณ 8,000 ยูโร (240,000 บาท) เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้มีคะแนนให้ ด้านความปลอดภัย (การป้องกันอันตรายจากการชนด้านหน้า ด้านข้าง รวมถึงความแข็งแรงในการยึดกับเบาะรถ) ตามด้วยความสะดวกในการติดตั้ง/การใช้/การปรับให้พอดี/การทำความสะอาด การออกแบบที่ถูกหลักทางการยศาสตร์ (ergonomics) ที่เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอย ลักษณะการนั่ง และความนุ่มสบาย นอกจากนี้ยังดูเรื่องของการใช้สารเคมีอันตรายที่ถูกห้ามใช้ในยุโรปด้วย ที่นั่งนิรภัยเหล่านี้ดีจริงสมราคาหรือคำร่ำลือในสังคมออนไลน์หรือไม่ ติดตามได้ในหน้าถัดไป•    หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่ค้นจากอินเตอร์เน็ทในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 กรุณาตรวจสอบราคา นอกจากนี้อย่าลืมสอบถามผู้ขายเพื่อความแน่ใจว่าที่นั่งนิรภัยรุ่นดังกล่าวสามารถใช้ได้กับรถยนต์ที่ท่านต้องการติดตั้งหรือไม่   ECE R44/04ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา พาหนะทุกคันในยุโรปต้องมีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย และมีการใช้ที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็ก นอกจากนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการใช้ที่นั่งเสริมในรถสำหรับเด็กจนกว่าเด็กจะมีความสูงถึง 135 หรือ 150 ซม.ด้วยทั้งนี้ที่นั่งสำหรับเด็กจะต้องมีฉลากแสดงตรารับรอง ECE R44/04 เมื่อผ่านการทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นใน พ.ศ. 2525 ที่นั่งสำหรับเด็ก สามารถแบ่งกลุ่มตามน้ำหนักตัวของเด็ก ดังนี้Group O    ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 9 เดือน)Group O+    ต่ำกว่า 13 กิโลกรัม (หรืออายุต่ำกว่า 15 เดือน)Group I        9 - 18 กิโลกรัม (ประมาณ 8 เดือน – 3 ปีครึ่ง)Group II    15 - 25 กิโลกรัม (ประมาณ 3 – 7 ปี)Group III      22 - 36 กิโลกรัม (ประมาณ 6 – 12 ปี)i-Size คืออะไร?i-Size คือมาตรฐานใหม่ของยุโรปสำหรับที่นั่งในรถสำหรับเด็ก ปัจจุบันรถยนต์ที่ได้รับการประเมิน 5 ดาวจาก Euro NCAP ทุกคันจะต้องสามารถใช้กับที่นั่งเด็กตามมาตรฐาน i-Size ได้   มาตรฐานนี้ออกแบบมาเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเด็ก เพื่อใช้ควบคู่ไปกับ R44/04 ตัวเดิม สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือการรองรับศีรษะและคอของเด็ก การป้องกันที่ดีขึ้นทั้งจากการชนด้านหน้าและด้านข้าง ที่จะทำให้เด็กยังคงอยู่ในที่นั่งแม้รถจะพลิกคว่ำการจัดกลุ่มจะแบ่งตามความสูงของเด็ก (ไม่ใช่น้ำหนัก) ที่นั่งมาตรฐาน i-Size จะใช้ได้กับรถยนต์ที่มีหัว IsoFix เพื่อรองรับการติดตั้ง (รถส่วนใหญ่ที่ผลิตหลัง พ.ศ. 2550 จะมีอุปกรณ์ดังกล่าว)                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 โต๊ะเขียนหนังสือเด็กเล็ก อันตรายที่ถูกมองข้าม

จากฉลาดซื้อฉบับ 109 “ตามไปดูเขากำจัดสารตะกั่วในโรงเรียนเด็กเล็ก กทม.” ทำให้ทราบว่าจุดเสี่ยงอีกตำแหน่งหนึ่งในโรงเรียนเด็กเล็กที่พบว่ามีค่าสารตะกั่วสูงเกินมาตรฐานซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเด็กนอกเหนือจากสีที่ทาผนังอาคารก็คือ โต๊ะนักเรียน ที่จะมีตัวพยัญชนะไทย อังกฤษ และตัวเลขสำหรับการจดจำของเด็กๆ   เจ้าโต๊ะที่ว่านี้ไม่เพียงแต่จะนิยมกันในหมู่โรงเรียนเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลเท่านั้น พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนหนึ่งก็นิยมซื้อหามาให้ลูกหลานไว้ใช้ภายในบ้านเพื่อฝึกหัดเขียนอ่านให้คล่อง สนนราคาก็มีตั้งแต่ราคา 200 ถึง 1,000 บาท วางจำหน่ายในร้านเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปตามย่านการค้าใหญ่ๆ และในห้างสรรพสินค้า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหาการปนเปื้อนของสารตะกั่วในสินค้าที่ใกล้ชิดเด็กเล็ก ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการสะสมพิษตะกั่วที่มีผลร้ายต่อสุขภาพทั้งในทางร่างกายและสติปัญญา โดยเฉพาะสินค้าที่หลายคนอาจมองข้ามอย่างเช่น โต๊ะเขียนหนังสือสำหรับเด็ก ฉลาดซื้อจึงลงพื้นที่ไปซื้อโต๊ะเขียนหนังสือจากย่านการค้าต่างๆ 9 แห่ง ได้แก่ พงษ์เพชร หัวหมาก โชคชัย 4 รามคำแหง ห้วยขวาง บางกะปิ สะพานใหม่ อ่อนนุช และบางบอน เพื่อส่งพิสูจน์หาปริมาณสารตะกั่ว ณ ห้องปฏิบัติการบริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส(ประเทศไทย) จำกัด   ฉลาดซื้อทดสอบ ผลตรวจสอบสีโต๊ะเก้าอี้เด็กที่ใช้เขียนหนังสือซึ่งมีภาพหรือตัวอักษร บนโต๊ะ พบว่า 1. สีของภาพหรือตัวอักษร บนโต๊ะและเก้าอี้ เมื่อตรวจสอบโดยการขูดรวมสีและหาค่าสารตะกั่วต่อน้ำหนักทั้งหมด มีค่าสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนดร้อยละ 83 (พบสารตะกั่วในโต๊ะเขียนหนังสือ 6 จาก 9 ตัว ตกมาตรฐาน 5 ตัว) 2. สีเคลือบโลหะ ซึ่งเป็นสีเคลือบโครงโต๊ะหรือเก้าอี้ และสีที่ใช้เป็นสีพื้นโต๊ะ มีผลสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนดร้อยละ 33 (ค่ามาตรฐานกำหนด ต้องน้อยกว่า 90 มก/กก ในการทดสอบหาสารตะกั่วเมื่อนำสีไปทำปฏิกิริยากับสารละลาย) 3. แผ่นพลาสติกที่ใช้ทำที่รองนั่งของเก้าอี้ ไม่พบสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด   ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กให้ปลอดภัยจากสารตะกั่วในช่วงปีค.ศ. 2002-2005 CDC และ American Academy of Pediatrics, Committee on Environmental Health พบว่าสารตะกั่วเป็นมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงต่อเด็ก หากได้รับปริมาณมากในวัยเด็กจะมีผลโดยตรงต่อระดับสติปัญญา สมองและระบบประสาทอย่างถาวรได้ โดยเฉพาะเด็กในวัย 5 ขวบปีแรกซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดที่มี การพัฒนาของสมอง อาการเป็นพิษจะเกิดเมื่อมีการสะสมของตะกั่วในร่างกายสูงพอ สารตะกั่ว จะมีผลเสียต่อสมองและการติดต่อเชื่อมกันของเซลล์ประสาท โดยสารตะกั่วจะไปจับกับเซลล์แทนที่แคลเซียม ผลอื่นคือทำให้เนื้อสมองบวม ยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาท(Gamma Aminobutyric Acid, GABA) ความดันกะโหลกศีรษะสูง ในเด็กมีการศึกษาของ Canfield และคณะ พบว่าสารตะกั่วในเลือดที่เพิ่มขึ้นทุก 10 มคก/ดล จะทำให้ IQ ลดลง 1-3 จุด ส่วนผลต่อ เม็ดเลือดแดงจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายเป็นโรคโลหิตจาง ผลต่อการทำงานของไตในระยะเฉียบพลันจะมีการทำลายของทิวบูลไตส่วนต้นและมีอาการของ Fanconi syndrome ส่วนผล ในระยะเรื้อรังต่อไตคือไตอักเสบ จนถึงไตวายได้ ผลต่อการตั้งครรภ์และทารก สารตะกั่วสามารถก่อปัญหาให้แก่ทารกในครรภ์หากมีสารตะกั่วเป็นปริมาณมากอาจจะทำให้เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาจะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ การทำงานของสมองจะพัฒนาช้า ปัญญาอ่อน ชัก   ต่อมาในปี ค.ศ.2003 Canfield และคณะได้ทำการวัดระดับสารตะกั่วในเลือดของเด็กอายุ 6 เดือน 12 เดือน ถึง 5 ปี และมีการตรวจวัด IQ ที่อายุ 3 และ 5 ปี พบว่า IQ จะลดลง 4.6 จุดในเด็กที่มีค่าสารตะกั่วในเลือดน้อยกว่า10 มคก/ดล ต่างจากเด็กที่มีค่าสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 10 มคก/ดล ที่จะมีค่า IQ ลดลงถึง 7.4 จุด ซึ่งสรุปได้ว่าระดับสารตะกั่วในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นจะแปรผกผันกับระดับ IQ อย่างมีนัยสำคัญ13 และในปี ค.ศ. 2006 Cochrane review ได้สรุปว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะสารตะกั่วเป็นพิษนั้นสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการรักษานั้นไม่ได้ก่อนให้เกิดประโยชน์ในระยะยาวดังนั้นหากเราสามารถหาภาวะเสี่ยงของสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัยต่อสารตะกั่วได้ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคพิษตะกั่วอย่างถาวรต่อสมองของเด็กได้ อย่างไรก็ตามพบว่าไม่มีระดับสารตะกั่วในเลือดค่าใดที่ถือว่าปลอดภัยอย่างแท้จริง และผลของสารตะกั่วที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ส่วนใหญ่มักเกิดอย่างถาวรโดยเฉพาะสมองและระบบประสาท ถึงแม้ว่าจะรักษาโดยการลดหรือกำจัดสารตะกั่วออกจากร่างกายก็ไม่สามารถแก้ไขผลที่เกิดกับสมองและระบบประสาทได้   ฉลาดซื้อแนะ 1. ควรนำข้อมูลนี้ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก ผู้บริหารโรงเรียนเด็กเล็ก ผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยเด็ก ความปลอดภัยในเด็ก สิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองเด็ก รู้ถึงสถานการณ์อันตรายที่ปนเปื้อนอยู่ในสินค้า 2. พ่อแม่ ผู้ปกครองควรเลือกซื้อโต๊ะเขียนหนังสือด้วยความระมัดระวัง 3. สำหรับท่านที่ซื้อมาแล้ว แต่ไม่มั่นใจว่าโต๊ะมีการปนเปื้อนสารตะกั่วหรือไม่ วิธีแก้ไขปัญหาอย่างง่าย อาจหาพลาสติกใสแผ่นใหญ่หุ้มโต๊ะเพื่อกันไม่ให้เด็กขูดขีดจนสีร่อนออกมา 4. สำหรับโต๊ะที่สีหลุดร่อนไปแล้ว ไม่ควรให้เด็กใช้ต่อ เพราะมีโอกาสที่เด็กจะหยิบเข้าปากได้   ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ 1. กระทรวงอุตสาหกรรม ควรแจ้งผลต่อ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และ ประชุมผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้นำเข้าเพื่อหามาตรการควบคุมต่อไป 2. ควรจัดให้โต๊ะ เก้าอี้ เด็ก รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์เด็กอื่นๆ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องได้รับการควบคุมความปลอดภัยเช่นเดียวกับของเล่น   ตารางแสดงผลวิเคราะห์ตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นใหญ่ ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ทดสอบเท่านั้น วัน/เดือน/ปี ที่ทดสอบ เมษายน 2553 (วิธีทดสอบ CPSC 16 CFR 1303)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 86 แอบดูร้านเน็ต รอบรั้วโรงเรียน

ปัจจุบันธุรกิจอีกหนึ่งชนิดที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็นในบริเวณรอบๆสถาบันการศึกษา ได้แก่ร้านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นเพิ่มขึ้นแน่นอน ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติก็ระบุว่าร้อยละ 25 ของเด็กไทย เข้าอินเทอร์เน็ตทุกวันหลายคนเห็นว่าการมีร้านดังกล่าวเป็นสิ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้เด็กสามารถค้นคว้าหาข้อมูล ทั้งมาทำการบ้านตามที่อาจารย์สั่ง ทั้งได้เปิดโลกทัศน์จากเว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ต่างๆ แต่บางคนก็วิตกว่าจะเป็นแหล่งชุมนุมของเด็กๆที่นิยมเกมออนไลน์ เข้าไปดูภาพลามกอนาจาร หรือสนทนากับคนแปลกหน้าผ่านโปรแกรมแชทต่างๆ อย่างที่เคยได้ยินข่าวกันเสียมากกว่า จะนั่งสงสัยอยู่ก็ใช่ที่ ฉลาดซื้อร่วมกับเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ ภาคประชาชน ในจังหวัด ลำปาง เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี ลพบุรี ตราด สมุทรสงคราม สตูล และยะลา จึงส่งสายสืบไปคุยกับเด็กๆที่เข้าใช้บริการในร้านอินเทอร์เน็ตบริเวณรอบๆ โรงเรียน ว่าพวกเขาใช้เงิน ใช้เวลาในนั้นอย่างไรสายสืบของเรา หลอก เอ้ย สอบถามข้อมูลจากเด็กนักเรียน 346 คน จากจังหวัดต่างๆ เป็นเด็กชายและเด็กหญิงอย่างละครึ่ง และในกลุ่มที่เราสำรวจนั้น มีถึงร้อยละ 20 เป็นเด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ห้า รองลงมาได้แก่เด็กใน มัธยมสี่และสามเข้าร้านเน็ตกันบ่อยไหม ?เกือบร้อยละ 30 ของเด็กกลุ่มนี้ เข้าร้านเน็ตสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ประมาณร้อยละ 20 เข้าเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ที่เข้าทุกวันมีร้อยละ 13 ช่วงเวลาที่เด็กๆ เข้าใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดได้แก่ 4 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม (ร้อยละ 47) รองลงมาคือช่วงบ่ายโมง ถึง 4 โมงเย็น (ร้อยละ 19) ตามด้วยช่วง 8 โมงเช้า ถึงเที่ยง (ร้อยละ 15)ใช้อินเทอร์เน็ตทำอะไรกันบ้าง ?กิจกรรมที่ทำมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้แก่ กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเรียน เช่นหาข้อมูลทำรายงาน  รองลงมาคือการเล่นเกมส์ออนไลน์และการสนทนาออนไลน์ หาข้อมูลทำรายงาน          ร้อยละ 68เล่นเกมส์ออนไลน์             ร้อยละ 54สนทนาออนไลน์*              ร้อยละ 48หาข้อมูลเพื่อความบันเทิง (เช่น หาข้อมูลดารา/นักร้องที่ชอบ)    ร้อยละ 30ดาวน์โหลดเพลง            ร้อยละ 26*ในกลุ่มที่เราสำรวจ โปรแกรม/เว็บสนทนาที่นิยมใช้มากที่สุดได้แก่ MSN (ร้อยละ 59) ตามด้วย Hi5 เว็บที่เป็นข่าวฮือฮากันอยู่ขณะนี้ (ร้อยละ 20)>> และเมื่อถามเด็กๆว่า สิ่งพวกเขาใช้ประโยชน์มากที่สุดจากอินเทอร์เน็ตได้แก่อะไร คำตอบคือ เพื่อการศึกษาและเพื่อเล่นเกมส์ในระดับที่พอๆกัน (ร้อยละ 41 และ 40 ตามลำดับ) กลุ่มที่ใช้เพื่อการศึกษานั้น 1 ใน 4 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 5 กลุ่มที่ใช้เพื่อเล่นเกม ร้อยละ 18 เป็นเด็กชั้นมัธยมปีที่ 1 อยู่ในร้านกันนานแค่ไหนเด็กๆส่วนใหญ่ (ร้อยละ 47) ตอบว่าใช้เวลาในการเข้าอินเทอร์เน็ตแต่ละครั้ง ประมาณ 2 ชั่วโมงมีประมาณ ร้อยละ 18 ที่ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมงต่อครั้งกลุ่มที่ใช้เวลา 2 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 47 ใช้เพื่อการศึกษา ที่เหลือใช้เพื่อเล่นเกม แชท หรือ ดูข่าวบันเทิงกลุ่มที่ใช้เวลา 3 ชั่วโมง นั้น ร้อยละ 51 ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเล่นเกมกลุ่มที่อยู่นานกว่า 5 ชั่วโมงนั้น เกือบร้อยละ 70 ใช้เพื่อเล่นเกมเช่นกัน แล้วเล่นเกมอะไรกันบ้างเกมยอดนิยมในหมู่เด็กๆที่เราไปสำรวจ ได้แก่เกมแนวต่อสู้ (ร้อยละ 41) รองลงมาได้แก่เกมกีฬา (ร้อยละ 20) ตามด้วยเกมทำครัวและแฟชั่น (ร้อยละ 12)เอาเงินที่ไหนมาใช้จ่ายที่ร้านเน็ตร้านอินเทอร์เน็ตเหล่านี้คิดค่าบริการ 10/15/20 บาท ต่อชั่วโมง เกือบร้อยละ 60 ของเด็กๆเหล่านี้ บอกว่าขอเงินจากพ่อแม่มาใช้บริการ อีกประมาณร้อยละ 39 บอกว่าใช้เงินที่เก็บสะสมไว้ ส่วนที่เหลืออีกไม่กี่คนนั้นได้เงินจากญาติหรือเพื่อนส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายนั้น เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กๆ บอกว่าใช้ไม่เกิน  50 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 32 ใช้ไม่เกิน 100 บาทต่อสัปดาห์ ร้อยละ 17 ใช้ระหว่าง 100 – 300 บาท เด็กผู้หญิงกับเด็กผู้ชาย มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกัน หรือไม่กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษานั้นเป็นเด็กหญิงร้อยละ 62 เด็กชายร้อยละ 38กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมส์นั้นเป็นเด็กชายร้อยละ 67 เด็กหญิงร้อยละ 33กลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตไม่เกิน 2 ชั่วโมงนั้น จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย แต่ในกลุ่มที่อยู่ในร้าน 3 ชั่วโมงขึ้นไป จะเป็นเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ======>>> ตามกฎหมายแล้ว ร้านจะต้องไม่ให้เด็กเข้าใช้บริการหลังเวลาสี่ทุ่ม แต่สายสืบของเราพบว่าร้อยละ 19 ของร้านอินเทอร์เน็ตในบริเวณรอบๆโรงเรียนในเขตที่เราไปสำรวจนั้นยังมีเด็กๆเข้าใช้บริการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดตราด มีร้านที่ยังให้บริการกับเด็กหลังสี่ทุ่มถึง 9 ร้าน จากทั้งหมด 20 ร้าน ที่เราไปสังเกตการณ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 โฆษณาในรายการเด็ก เยอะไปไหม???

เรื่องทดสอบ 3 กองบรรณาธิการ พ่อแม่หลายคนคงไม่ปฏิเสธว่า ทุกวันนี้ทีวีได้กลายมาเป็นเสมือนเพื่อนที่แสนดีของลูกๆ ของเรา เด็กๆ หลายคนใช้เวลาอยู่หน้าจอทีวีมากกว่าอ่านหนังสือหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งช่วงเวลาที่เด็กดูทีวีส่วนใหญ่คือช่วงเวลาหลังเลิกเรียน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 โมงเย็น จนถึง 2 ทุ่ม ของวันจันทร์ – วันศุกร์ และเกือบตลอดทั้งวัน ในวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เนื่องจากเป็นวันหยุด โดยรายการที่เด็กๆ ชอบดูมากที่สุดหนีไม่พ้น การ์ตูน รองลงมาคือ เกมส์โชว์ ซึ่งทุกรายการจะมีผลิตภัณฑ์ขนมและอาหารสำหรับเด็กเป็นผู้สนับสนุน ดังนั้นเด็กจึงได้เห็นขนมยี่ห้อต่างๆ ตลอดการชมรายการโปรด ซึ่งมาทั้งในรูปแบบโฆษณาขั้นเวลาระหว่างรายการและโฆษณาแฝง หลายคนอาจยังไม่รู้ถึงกลไกในการดำเนินธุรกิจทีวี สาเหตุที่เราได้ดูทีวีฟรีในช่องฟรีทีวีอย่าง 3 5 7 9 เป็นเพราะมีคนจ่ายเงินค่าเวลาให้กับเรา ซึ่งก็คือบรรดาเจ้าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ลงเงินไปกับค่าโฆษณาที่ออกอากาศสลับกับรายการต่างๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งแน่นอนว่าในรายการทีวีสำหรับเด็กก็ไม่มีข้อยกเว้น บรรดาสินค้าพวกขนมนมเนยทั้งหลายต่างก็รู้ว่าผู้ชมรุ่นเยาว์กำลังนั่งชมรายการโปรดของพวกเขา และนั่นก็คือช่วงเวลานาทีทองที่เหล่าสินค้าเอาใจคุณหนูๆ ทั้งขนมขบเคี้ยว หมากฝรั่ง ลูกอม นมผง นมกล่อง อาหารเช้า น้ำผลไม้ น้ำอัดลม และอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง จะสร้างภาพจำและนำเสนอสินค้าให้เป็นที่ต้องตาต้องใจของคุณหนูๆ ที่นั่งดูตาใสใส่ใจกับจอทีวี ซึ่งพร้อมที่จะซึมซับทุกอย่าง แน่นอนว่าเมื่อเขาลงทุนไปกับค่าโฆษณาสิ่งที่เขาหวังได้คืนกลับมาก็คือยอดขายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ซึ่งกลุ่มลูกค้ารุ่นเยาว์เหล่านี้ยังคงมีความสามารถในการตัดสินใจแยกแยะในระดับต่ำตามอายุและวุฒิภาวะ จึงไม่น่าแปลกใจที่สินค้าจำพวกขนมขบเคี้ยว ลูกกวาดสีสันสดใส หรือแม้กระทั้งฟาสต์ฟู้ดทั้งหลาย เจาะจงเลือกใช้กลุ่มลูกค้าที่เป็นเยาวชน โฆษณาอาหารในรายการทีวี ทำเด็กวันนี้เป็นผู้ป่วยในวันหน้าผลเสียจริงๆ ไม่ได้เกิดจากการที่เด็กๆ นั่งชมโฆษณา แต่เกิดจากการที่เด็กๆ เลือกรับประทานอาหารจากการที่เขาได้เห็นจากในโฆษณา ซึ่งโฆษณาส่วนใหญ่มักทำออกมาในภาพลักษณ์ที่เหนือความเป็นจริง ทั้งเรื่องความรสชาติ รูปร่างลักษณะ หรือแม้แต่คุณค่าทางอาหาร โฆษณาอาหารหรือขนมสำหรับเด็กหลายตัวตั้งใจใช้สีสันที่ดูสดใสสะดุดตาเกินกว่าความเป็นจริง เช่น บรรดาลูกอม ลูกกวาด เยลลี่ และขนมขบเคี้ยว ซึ่งสีสันเหล่านี้ไปกระตุ้นเร้าให้เด็กๆ เกิดความสนใจ และอยากลิ้มลองหาซื้อมารับประทาน ขณะที่ผลิตภัณฑ์จำพวก นม อาหาร เช้า รวมทั้งซุปไก่สกัด ที่ขายภาพลักษณ์ของอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ก็สร้างภาพที่สื่อออกมาเกินจริง ด้วยการให้เด็กๆ หรือตัวละครในภาพยนตร์โฆษณามีความสามารถ เก่ง และฉลาดขึ้นได้อย่างรวดเร็วเพียงแค่ได้ทานผลิตภัณฑ์นั้นๆ ส่วนโฆษณาของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดก็มักใช้ของเล่นมาเป็นจุดขายหลัก ขายพร้อมคู่ไปกับชุดอาหาร ซึ่งของเล่นที่นำมาใช้ล่อใจเด็กๆ ก็มาจากการ์ตูนหรือภาพยนตร์ที่เด็กๆ รู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งตัวอย่างกลยุทธ์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ดูแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะหลอกล่อให้เด็กเกิดความสนใจในตัวโฆษณา ต่อด้วยการรู้จักและจดจำตัวสินค้า ซึ่งสุดท้ายก็จะส่งผลร้ายไปยังพฤติกรรมการบริโภคของเด็กๆ ขนมกับผลเสียต่อสุขภาพเด็กผลวิจัยหลายๆ ตัวชี้ให้เห็นว่า เด็กไทยมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนสูงขึ้น ขณะที่การเจริญเติบโตทางร่างกายค่อนข้างต่ำ ซึ่งมาจากการที่เด็กมีพฤติกรรมการรับประทานขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลม ซึ่งเป็นอาหารที่ไม่มีความจำเป็นต่อร่างกายมากเกินความพอดี ผลสืบเนื่องมาจากการรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องจากการโฆษณา อีกทั้งการที่ผู้ปกครองหลายๆ คนเองก็เชื่อตามคำบอกกล่าวในโฆษณาว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประโยชน์ต่อร่างกายของบุตรหลาน อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์จำพวกอาหารเช้าซีเรียล ซึ่งในหลายยี่ห้อมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง นอกจากนี้ในการตรวจสอบดูปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ที่ให้ไว้ในฉลากข้อมูลโภชนาการบนบรรจุภัณฑ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์พบว่า มีขนมหลายยี่ห้อที่มี่ส่วนผสมของ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม สูงเกินกว่าเกณฑ์ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (UK Food Standards Agency) กำหนดไว้ เมื่อเด็กมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสมจากการรับประทานขนมที่มี น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากเกินความพอดี จนทำให้เด็กมีภาวะการณ์เจริญเติบโตบกพร่องเกิดเป็นโรคอ้วนแล้ว ผลเสียของสุขภาพที่จะตามมาเมื่อเด็กโตขึ้นคือโรคภัยไข้เจ็บมากมายหลากหลายโรค ไม่ว่าจะเป็นความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ โรคกระดูกเสื่อม โรคระบบทางเดินหัวใจ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจ เช่น เด็กบางคนติดที่จะรับประทานขนมจนไม่ทานข้าว ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้กลายเป็นเด็กผอม สุขภาพไม่แข็งแรง เด็กบางคนมีนิสัยก้าวร้าวเมื่อไม่ได้ทานขนม ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของโภชนาการที่ดีย่อมมีผลต่อการพัฒนาของไอคิวและอีคิว ***การแถมของเล่นไปพร้อมกับอาหารชุดสำหรับเด็กเคยทำอันตรายให้กับเด็กๆ มาแล้ว เมื่อปี 2001 มีรายงานว่าเด็กชาวอเมริกาและแคนาดาจำนวนหนึ่ง ได้กลืนชิ้นส่วนของเล่นที่หักแล้วไปติดอยู่ในลำคอ ซึ่งของเล่นที่ว่าคือ แมคโดนัลด์ แฮปปี้มีลล์ ชุด "สกูตเตอร์บั๊ก" *** เมื่อปี 2007 รัฐบาลได้เสนอข้อบังคับใช้ในการควบคุมโฆษณาที่ออกฉายในรายการทีวีสำหรับเด็กอายุระหว่าง 3 – 12 ปี รวมทั้งรายการทีวีอื่นๆ ที่มีกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่เป็นเยาวชน- สถานีโทรทัศน์สามารถโฆษณาในรายการสำหรับเด็กได้ไม่ 12 นาทีต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง โดยต้องเป็นโฆษณาที่ส่งเสริมสุภาพและพฤติกรรมการกินที่ดีสำหรับเด็ก- สินค้าชนิดเดียวกันสามารถโฆษณาซ้ำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อรายการความยาว 1 ชั่วโมง และไม่ซ้ำกันเกิน 2 ครั้งในระยะเวลา 30 นาที- ห้ามโฆษณาในลักษณะส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ ทั้งการเล่นเกมชิงรางวัล แถม แจกของขวัญ ของเล่น- ห้ามนำเสนอเนื้อหาหรือข้อมูลที่ดูเกินจริง ทั้งเรื่องภาพและเสียง ไม่เชิญชวนให้เด็กอยากซื้อหรืออยากรับประทานจนเกินขอบเขต ไม่แสดงคุณประโยชน์ ความเร็ว ขนาด สี ที่สร้างความเย้ายวนใจจนเกิดความเข้าใจผิด- ต้องมีคำเตือนที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาปรากฏหน้าจอขณะโฆษณา โดยกำหนดขนาดตัวอักษรไว้ที่ 1 ใน 25 ส่วนของภาพ และแช่ภาพคำเตือนไว้ 3 – 5 วินาที- ห้ามใช้ตัวการ์ตูน บุคคล ตัวละครที่เด็กรู้จักหรือปรากฏในรายการสำหรับเด็กเพื่อการขายหรือแนะนำสินค้า โฆษณา…จะเยอะไปไหนตารางแสดงผล 20 อันดับภาพยนตร์โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารนี้ เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่ออกอากาศทางโทรทัศน์มากที่สุดในช่วงเวลารายการสำหรับเด็ก (สำรวจในช่วงวันพุธที่ 25 – วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 17.00 น. – 19.00 น. และวันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 เวลา 08.00 น. – 12.00 น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3, 7 และ 9) โดยตลอดช่วงเวลาที่มีการสำรวจมีจำนวนภาพยนตร์โฆษณาออกอากาศทั้งหมด 1,242 เรื่อง เป็นภาพยนตร์โฆษณาที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 408 เรื่อง หรือ 32.85% เป็นยี่ห้อของผลิตภัณฑ์อาหารจำนวน 123 ยี่ห้อ ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารที่มีภาพยนตร์โฆษณาออกอากาสมากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขบเคี้ยว มันฝรั่งทอด ข้าวกรอบ ข้าวโพดกรอบ 16.4% รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์จำพวก ลูกอม หมากฝรั่ง เยลลี่ 15.2% อันดับสามคือ ผลิตภัณฑ์นม 9.3% ตามมาด้วยร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด 9% และเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ชา น้ำผลไม้ 7.8% โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความถี่ในการออกอากาศมากที่สุดคือ โอวัลติน ที่อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์นม ซึ่งยังมีผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ติดอยู่ใน 20 อันดับอีกถึง 6 ยี่ห้อ คือ แลคตาซอย,ไวตามิลด์, เอส 26 โปรเกรสโกลด์, เอนฟาโกรว เอ+, โฟร์โสท์ และดีน่า ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้มักนำเสนอการโฆษณาที่บอกเล่าเรื่องของสุขภาพ เช่น ดื่มแล้วแข็งแรง สามารถทำสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ หรือทานแล้วอิ่มเหมือนรับประทานข้าว ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนความถี่ในการออกอากาศมากเป็นอันดับสองคือ แบรนด์ ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอในโฆษณาใกล้เคียงกับกลุ่มผลิตภัณฑ์นม คือขายเรื่องสุขภาพ เสริมเรื่องความเก่งและฉลาด โดยใช้กลวิธีให้บุคคลที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซนเตอร์นำเสนอขายสินค้า ขณะที่อันดับ 3 คือโฆษณาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่าง แมคโดนัลด์ ซึ่งมักเป็นการโฆษณาอาหารชุดแฮปปี้มีลล์ที่ใช้ของเล่นมาเป็นของแถมจูงใจ ชื่อผลิตภัณฑ์ ความถี่ของการโฆษณา น้ำหนักสุทธิ ปริมาณน้ำตาล ปริมาณน้ำตาลต่อ 100 กรัม ปริมาณไขมัน ปริมาณไขมันต่อ 100 กรัม ปริมาณโซเดียม ปริมาณโซเดียมต่อ 100 กรัม 1.โอวัลติน 20 180 มิลลิลิตร 14 กรัม 7.7 2 กรัม 1.1 140 มิลลิกรัม 0.07 2.แบรนด์ 16 42 มิลลิลิตร ไม่มีข้อมูล 3.แมคโดนัลด์* 13 171 กรัม 8 กรัม 4.6 28 กรัม 16.37 730 มิลลิกรัม 0.42 4.ทิวลี่ เมจิก ทวิน 12 15 กรัม 3 กรัม 20 3 กรัม 20 55 มิลลิกรัม 0.36 5.แลคตาซอย 10 300 มิลลิลิตร 28 กรัม 9.3 11 กรัม 3.6 160 มิลลิกรัม 0.05 6.ไวตามิลค์ 10 250 มิลลิลิตร 23 กรัม 9.2 8 กรัม 3.2 45 มิลลิกรัม 0.018 7.เนสท์เล่ โกโก้ครั้นช์ 9 25 กรัม 9 กรัม 36 1 กรัม 4 50 มิลลิกรัม 0.2 8.เอส 26 โปรเกรส โกลด์ 8 200 มิลลิลิตร 15 กรัม 7.5 7 กรัม 3.5 95 มิลลิกรัม 0.047 9.เดอะ พิซซ่า คัมปานี 7               10.โค้ก 6 325 มิลลิลิตร 31 กรัม 9.5 0 0 20 มิลลิกรัม 0.006 11.นมพร้อมดื่ม เอนฟาโกรว เอ+ 6 180 มิลลิลิตร 8 กรัม 4.4 6 กรัม 3.3 70 มิลลิกรัม 0.03 12.โฟร์โมสท์ 6 225 มิลลิลิตร 9 กรัม 3.9 3 กรัม 1.3 120 มิลลิกรัม 0.05 13.เคลลอกซ์ คอร์นฟรอสตี้ 6 30 กรัม 9 กรัม 30 0 0 170 มิลลิกรัม 0.56 14. เพียงริคุ ? 6 350 มิลลิลิตร น้ำตาลทราย6.80% + กลูโคสไซรัป 4.00% 10.8 0 0 0 0 15.พิซซ่า ฮัท** 5 118 กรัม 3 กรัม 0.71 13 กรัม 11 630 มิลลิกรัม 0.53 16.ปาร์ตี้ 5 40 กรัม 12 กรัม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 135 สินค้าเด็กไทย ปลอดภัยหรือยัง

ความปลอดภัยและพัฒนาการของลูก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ หลายคนซื้อสินค้าอย่าง หัวนมหลอก ยางกัด รถหัดเดิน หรือแม้แต่เก้าอี้สูง มาให้ลูกใช้โดยหารู้ไม่ว่าอาจจะกำลังเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็กๆ เพราะปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีมาตรฐานควบคุมการผลิตสินค้าเหล่านี้ ว่าแล้วก็เริ่มสงสัยว่าทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กปลอดภัยพอแล้วหรือไม่   เพื่อตอบคำถามดังกล่าวฉลาดซื้อขอนำผลการวิจัยโดยพญ. ประภาศิริ สิงห์วิจารณ์  รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เรื่อง “การประเมินความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็กที่มีใช้ในเด็กช่วงอายุ 6 ถึง 18 เดือน” มาเล่าสู่กันฟัง   งานวิจัยดังกล่าวเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าทั่วไปในกรุงเทพมหานคร  ผลิตภัณฑ์ 12 ประเภทที่พบได้แก่   กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถหัดเดิน เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด เป้อุ้มเด็ก   จากนั้นสัมภาษณ์เก็บข้อมูล จาก “ผู้ดูแลหลัก” ของเด็กที่เกิดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี 203 คน ที่มีอายุระหว่าง 6 – 18 เดือน โดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เพื่อวิเคราะห์ว่าผลิตภัณฑ์ที่มีใช้อยู่นั้นมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือไม่   *หมายเหตุ: แบบสอบถามดังกล่าวออกแบบโดยอ้างอิงข้อมูลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เด็ก ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา เอกสารมาตรฐานจาก American Society for Testing and Materials และมาตรฐานของ ISO รวมถึงข้อมูลการบาดเจ็บที่เคยเกิดขึ้นจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของเด็ก -------------------------------------------------------------------------------------------------------   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2008 มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 63,700 ราย ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในห้องฉุกเฉินเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง รถเข็นเด็ก พาหนะเด็ก เตียงเด็กและเก้าอี้เสริม ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 5 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยม ผลิตภัณฑ์เด็กที่มีอัตราการใช้สูงสุด 5 อันดับแรก ในเด็กอายุ 12 เดือน ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง           (ร้อยละ 85.2) รถหัดเดิน           (ร้อยละ 82) ยางกัด            (ร้อยละ 71.3) รถเข็นเด็ก        (ร้อยละ 68) เปลไกว           (ร้อยละ 53.3) ---   10 อันดับ ผลิตภัณฑ์ความเสี่ยงสูง (เรียงลำดับจากความเสี่ยงมากไปความเสี่ยงน้อย) รถหัดเดิน เตียงเด็ก รถเข็นเด็ก กรุ๊งกริ๊ง เก้าอี้สูง เปลไกว เก้าอี้นั่งโยก เปลคอก พาหนะอุ้มเด็ก จุกนมหลอก   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- 4 ผลิตภัณฑ์อันตราย งานวิจัยครั้งนี้พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ประเภทกรุ๊งกริ๊ง รถหัดเดิน รถเข็นเด็ก และเปลไกว มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการบาดเจ็บหลักได้ -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ กรุ๊งกริ๊ง ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ      ด้านปลายของกรุ๊งกริ๊งทิ่มเข้าคอเด็ก ตัวกรุ๊งกริ๊งกระแทกกับศีรษะและใบหน้า หนีบนิ้วมือ มีแผลถลอก/บาด จากขอบแหลมคม   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีด้านปลายที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ จุกนมหลอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               สายคล้องคอรัดคอ และจุกนมอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์ที่มีเชือกคล้องคอหรือแป้นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร     ผลิตภัณฑ์    รถเข็นเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กตกจากรถเข็นเนื่องจากไม่มีเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสม ล้มกระแทกจากการปีนรถ หรือรถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำ ควรเลือก                                   รถเข็นที่สายรัดนิรภัยที่มีตำแหน่งยึด 5 จุด คือ ยึดระหว่างขา รอบเอว และไหล่ทั้งสองข้าง  และมีระบบห้ามล้อ           ผลิตภัณฑ์ ยางกัด ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               ยางกัดแตกเป็นชิ้นเล็กๆ หรืออาจอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ผลิตภัณฑ์มีที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 4.2 เซนติเมตร       ผลิตภัณฑ์ เตียงเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            เด็กตกเตียงหรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   เตียงที่ราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้ามีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร หรือจากขอบบนของเบาะที่นอนถึงราวกันตกด้านบนมีความสูงมากกว่า 65 เซนติเมตร         ผลิตภัณฑ์ เปลคอก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ            การอุดกั้นทางเดินหายใจ ในกรณีที่มุ้งกั้นด้านข้างมีรูรั่วหรือฉีกขาด หรือเคยมีการยุบตัวของโครงสร้าง         ผลิตภัณฑ์ เปลไกว ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               เด็กพลิกคว่ำตกจากเปล หรือลอดทะลุช่องแล้วศีรษะติดค้าง ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ   ควรเลือก                                   ตัวเปลที่มีราวกันตกและผนังเตียงด้านศีรษะและเท้าที่มีช่องห่างไม่เกิน 6 เซนติเมตร และมีฐานที่มั่นคง       ผลิตภัณฑ์ รถหัดเดิน ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               รถลื่นไถลเสียหลักจนพลิกคว่ำหรือเคลื่อนที่ไปสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย   ควรเลือก                                   รถหัดเดินชนิดที่ไม่มีล้อ   -------------------------------------------------------------------------------------------------------   รถหัดเดิน X รถช่วยพยุงตัว / เขาศึกษากันมาแล้วว่า “รถหัดเดิน” นั้นไม่ช่วยในการหัดเดินแต่อย่างใด แถมยังมีความเสี่ยงที่เด็กจะได้รับบาดเจ็บถึงร้อยละ 90  ขณะนี้อเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ประกาศห้ามขายห้ามใช้แล้ว   สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ของเรา ออกกฎหมายให้ผู้ผลิตเปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์ จาก “รถหัดเดิน” เป็น “รถช่วยพยุงตัว” และให้ติดฉลากคำเตือนที่ตัวรถว่า “อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้ช่วยหัดเดิน” -------------------------------------------------------------------------------------------------------   ผลิตภัณฑ์ เก้าอี้สูง และเก้าอี้นั่งโยก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การบาดเจ็บจากการตกจากที่สูงได้   ควรเลือก                                   เก้าอี้สูงที่มีเข็มขัดรัดระหว่างเอวและง่ามขา       ผลิตภัณฑ์ เป้อุ้มเด็ก ความเสี่ยง/การบาดเจ็บ               การหลุดรอดตกลงมาจากเป้   ควรเลือก                                   เป้อุ้มเด็กที่มีสายรัดระหว่างเป้กับคนอุ้มแข็งแรง และมีช่องใส่ขาเด็กที่ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 87 เด็กไทยกินอะไรกันหน้าโรงเรียน

เพื่อเป็นการต้อนรับเปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้ชวนผู้อ่านไปป้วนเปี้ยนแถวหน้าโรงเรียนกันอีกแล้ว เราได้ยินข่าวกันบ่อยครั้งเรื่องภาวะโภชนาการเกินของเด็กไทยสมัยนี้  จึงทำการสำรวจว่าเด็กๆของเราเลือกรับประทานอาหารว่าง (หรือบางครั้งก็อาจเป็นอาหารหลัก) อะไรกันบ้างจากร้านหรือรถเข็นบริเวณรอบๆโรงเรียนและเช่นเคยเราได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี  สมทรสงคราม ตราด อำนาจเจริญ เพชรบูรณ์ ขอนแก่น ลำปาง มหาสารคาม สตูล และยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 465 คน เป็นเด็กหญิงร้อยละ 65 เด็กชายร้อยละ 35ร้อยละ 63 มีอายุระหว่าง 13 –16 ปี และประมาณร้อยละ 63 เช่นกัน ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 4เด็กๆได้เงินมาโรงเรียนวันละกี่บาทค่าขนม    ร้อยละไม่เกิน 10 บาท    4.511 - 20 บาท    15.121 -30 บาท    12.931 - 40 บาท    16.641 - 50 บาทt    22.251 - 60 บาท    18.7มากกว่า 60 บาท    10.1เกือบร้อยละ 40 ใช้จ่ายไม่เกิน 10 บาท ต่อครั้ง มีประมาณร้อยละ 22 ที่ใช้จ่ายมากกว่า 20 บาทต่อครั้ง เด็กๆ กินอะไรกันเราพบว่าเมนูยอดฮิตหน้าโรงเรียน 5 อันดับต้น ได้แก่ (ตามลำดับ)1.    น้ำอัดลม/น้ำหวาน2.    ไอศกรีม3.    ลูกชิ้นทอด/ปิ้ง4.    ผลไม้5.    ขนมขบเคี้ยว    ซื้อทุกวันเลยหรือเปล่าร้อยละ 43.4 บอกว่าซื้อทุกวันอีกร้อยละ 35.5 ซื้อสัปดาห์ละหลายครั้งมีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้นที่ตอบว่า นานๆจะซื้อสักครั้งสาเหตุที่ซื้อทาน1.    หาซื้อได้ง่าย2.    หิว3.    อร่อยเรื่องนี้สอดคล้องกับผลการสำรวจโดยองค์กรต่างๆก่อนหน้านี้ เรื่องสภาวะโภชนาการเกินในเด็กไทย อย่างน้อยๆ เมื่อโรงเรียนเลิกปุ๊ป เด็กออกมาหน้าโรงเรียนก็หาอาหารรับประทานปั๊ป และที่รับประทานกันเป็นส่วนใหญ่ก็ดูจะเป็นอาหารพวกที่มีแป้ง น้ำตาล และน้ำมัน ในปริมาณสูง (น่าจะดีเหมือนกันถ้าผลไม้ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง) แต่คงจะต้องมีการปรับปรุงเรื่องของความสะอาด และการปนเปื้อนในอาหาร เพราะในกลุ่มนักเรียนที่ซื้อทุกวันหรือซื้ออาทิตย์ละหลายครั้งนั้น มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่เคยมีอาการเจ็บป่วยจากการรับประทานอาหารดังกล่าวเด็กๆอยากให้ ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ปรับปรุงอะไรบ้างเรื่องความสะอาดเป็นเรื่องที่เด็กๆ อยากให้มีการปรับปรุงมากที่สุดรองลงมาได้แก่ปริมาณ  ราคา และรสชาติตามลำดับคิดยังไงกับจำนวน ร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย รอบๆโรงเรียนร้อยละ 57 คิดว่าเท่าทีมีอยู่ก็เหมาะสมแล้วร้อยละ 31 บอกว่า ยังมีน้อยไป น่าจะมีร้านมาเปิดเพิ่มอีกมีร้อยละ 12 ที่บอกว่ามีร้านมาตั้งหน้าโรงเรียนมากเกินไปพ่อแม่/ ผู้ปกครองหรือครูเคยเตือนหรือเปล่ามากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กที่ตอบคำถามบอกว่า พ่อแม่/ ผู้ปกครอง / ครู เคยห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารจากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียนแต่การห้ามหรือตักเตือนยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กๆได้ เพราะ ในกลุ่มที่ตอบว่าได้รับการห้ามหรือเตือนเรื่องอาหารหน้าโรงเรียนนี้ มีมากกว่าร้อยละ 40 ที่ยังซื้ออาหารดังกล่าวรับประทานทุกวัน อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ซื้อทานสัปดาห์ละหลายครั้ง มีเพียงไม่เกินร้อยละ17 เท่านั้นที่ลดการบริโภคลงเป็นนานๆครั้ง ปัญหาที่เด็กๆ เคยพบจากการรับประทานอาหาร จากร้าน/ รถเข็น/ แผงลอย บริเวณรอบโรงเรียน ตามลำดับ1.    ภาชนะไม่สะอาด2.    อาหารไม่สดใหม่    3.    ผู้ขายมารยาทไม่ดี    4.    ผู้ขายมีการเลือกปฏิบัติ (เช่น ถ้าเป็นคนรู้จักกันไม่ต้องต่อคิว) 5.    เคยเจอสิ่งแปลกปลอม ในอาหาร เช่น หนอน แมลงสาบเคยมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหารดังกล่าวหรือไม่ร้อยละ 43.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้น นานๆครั้ง ร้อยละ 3.4 ตอบว่าเคยเกิดขึ้นบ่อยๆร้อยละ 53.1 ตอบว่าไม่เคยเกิดขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >