ฉบับที่ 133 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 2555 คุณพ่อก็ลาคลอดได้รู้กันหรือยังว่า คุณพ่อก็ลาคลอดได้ ไม่ต้องสงสัยว่าผู้ชายจะคลอดลูกได้ไง เพราะสิทธิที่ได้คือการลาหยุดเพื่อไปดูแลภรรยาในช่วงหลังคลอดบุตร ซึ่งสิทธิประโยชน์นี้ได้ถูกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา โดยคุณพ่อสามารถลาหยุดไปดูแลคุณแม่และลูกน้อยได้ 15 วัน โดยไม่ถือเป็นวันหยุด ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากที่ให้คุณพ่อได้ไปช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลลูกทำให้คุณแม่สามารถพักฟื้นร่างกายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีผลการวิจัยที่บอกว่า การที่สามีอยู่ใกล้ชิดภรรยาหลังคลอดจะทำให้ภรรยารู้สึกดีมีกำลังใจในการเลี้ยงลูก โดยภาวะหลังคลอดของผู้หญิง จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดความวิตกกังวล เกิดอาการซึมเศร้า เหนื่อยล้า ซึ่งอาจส่งผลทำให้ปริมาณน้ำนมแม่ลดลง แต่ก็ยังเป็นเรื่องน่าเสียดายเพราะสิทธิวันหยุดนี้ยังให้สิทธิเฉพาะข้าราชการเท่านั้น พนักงานและลูกจ้างบริษัทเอกชนยังไม่มีโอกาสได้ใช้ ก็หวังว่าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะช่วยกันผลักดันสิทธิวันหยุดลาคลอดของผู้ชายให้ทุกคนได้ใช้กันอย่างเท่าเทียม-------------   ขนมจากชายแดน...วายร้ายอิมพอร์ต เรื่องขนมไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หากซื้อมารับประทานสุ่มสี่สุ่มห้าระวังโรคร้ายถามหาไม่รู้ตัว ยิ่งตอนนี้ขนมที่ไม่ได้มาตรฐานที่ทะลักเข้ามาจากชายแดนกำลังระบาดหนัก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ขนมที่ลักลอบจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วนำมาขายในบ้านเรามักเป็นเป็นขนมที่มีคุณภาพต่ำ  ไม่มีการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ไม่มีการแสดงฉลากภาษาไทย ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน ทั้งเชื้อรา แบคทีเรีย และสีผสมอาหาร แถมยิ่งถ้ารับประทานแล้วเกิดเจ็บป่วยก็ยากที่จะหาผู้รับผิดชอบ เพราะไม่มีข้อมูลที่อยู่ผู้ผลิตที่จะเอาผิดได้ นอกจากขนมที่ลักลอบนำเข้ามาตามชายแดนแล้ว ทาง อย. ยังฝากเตือนให้ระวังอันตรายของขนมที่นำมาแบ่งขายหรืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่น่าสงสัย ไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการบอกข้อมูลใดๆ ทั้งชื่อผู้ผลิต ส่วนประกอบ และวันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ เพราะตอนนี้มีผู้ประกอบการที่ไม่หวังดีไปตระเวนรับซื้อขนมที่หมดอายุ ผลิตไม่ได้มาตรฐาน หีบห่อฉีกขาดจากโรงงาน จากนั้นนำมาใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่และวางขายในราคาถูก------------------   แต่งไฟหน้ารถ ระวังผิดกฎหมายใครที่กำลังคิดจะแต่งหรือดัดแปลงโคมไฟหน้ารถสุดรักของตัวเอง อย่าลืมศึกษาข้อมูลทางกฎหมาย รวมทั้งอย่ามองข้ามเรื่องความปลอดภัย เพราะตอนนี้กองบังคับการตำรวจจราจรเขาเอาจริง เร่งกวดขันรถยนต์ที่ดัดแปลงไฟหน้าให้มีความสว่างมากกว่าปกติ ซึ่งแสงที่มีความสว่างมากเกินไปจะรบกวนการมองเห็นของผู้ขับขี่รายอื่นทำให้เกิดอันตราย ซึ่งสีของโคมไฟหน้ารถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมายคือ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อนเท่านั้น ถ้าเป็นสีอื่นนอกเหนือจากนี้ถือว่าผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก นอกจากนี้กองบังคับการตำรวจจราจรยังฝากเตือนถึงสินค้าตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนที่ชอบแต่งรถอย่าง ไฟซีนอนวงแหวน 2 ชั้น หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ไฟทรานส์ฟอร์เมอร์” เพราะมีลักษณะคล้ายดวงตาของหุ่นยนต์ในภาพยนตร์เรื่องทรานส์ฟอร์เมอร์ ซึ่งมีผลิตออกมาหลายสี ถ้าหากใช้สีอื่นๆ นอกจากสีขาวและสีเหลืองอ่อนถือว่าผิดกฎหมาย สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโคมไฟรถยนต์ที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก โคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถต้องมีความสูงจากพื้นถึงจุดศูนย์กลางดวงโคมไม่น้อยกว่า 0.6 เมตร แต่ไม่เกิน 1.35 เมตร โคมไฟทั้งสองข้างต้องอยู่ในระดับเดียวกัน ใช้ไฟแสงขาว มีกำลังไฟเท่ากัน ไม่เกินดวงละ 50 วัตต์ โดยขณะนี้นักวิชาการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) พยายามเรียกร้องให้กรมการขนส่งทางบกแก้ไขความสูงไฟหน้ารถจากพื้นราบถึงจุดศูนย์กลางดวงโคม จากเดิมกำหนดไม่เกิน 1.35 เมตร เปลี่ยนเป็นไม่เกิน 1.2 เมตร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะรถยนต์ประเภทกระบะหรือโฟร์วีล เมื่อบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก รถยนต์จะเงยสูงขึ้นไปอีก ทำให้ทิศทางของแสงไฟหน้ารถรบกวนรถยนต์คันอื่นๆ---------------- เจ็บป่วยไม่สบาย รักษาหายด้วยการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุขเดินหน้าพัฒนาการแพทย์แผนไทย ประกาศให้การรับรองการรักษาจากภูมิปัญญาพื้นบ้านสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยขณะนี้มี 8 โรคที่กระทรวงฯ ให้การรับรอง ได้แก่ 1.งูพิษกัด 2.โรคกระดูกหัก 3.โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 4.อาการปวดเมื่อย 5.ไหล่ติด 6.โรคเรื้อรังอาทิเบาหวาน 7.โรคสะเก็ดเงิน 8.โรคตับแข็ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก การบำรุงน้ำนมแม่หลังคลอด ซึ่งมีโรงพยาบาลที่รับรองการรักษาแล้วทั้งหมด 23 แห่ง ใน 16 จังหวัด  โดยแต่ละโรงพยาบาลก็จะให้การรักษาในแต่ละโรคแตกต่างกันไป ตามความถนัดของหมอพื้นบ้านในพื้นที่นั้นๆ ประกอบด้วย การรักษากระดูกหักที่โรงพยาบาลได้แก่ 1.รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 2.รพ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี 3.รพ.กันทราลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ 4.รพ.สูงเม่น จ.แพร่ 5.รพ.สอง จ.แพร่ 6.รพ.พิชัย จ.อุตรดิถต์ 7.รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 8. รพ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 9.รพ.เทพา จ.สงขลา และ 10.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 11.รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร 12.รพ.หลังสวน จ.ชุมพร  13.รพ.ละแม จ.ชุมพร การรักษาปัญหาไหล่ติดที่ รพ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี, รักษาอัมพฤกษ์/อัมพาตที่ รพ.เทิง จ.เชียงราย รักษาโรคเรื้อรังเช่นเบาหวานที่ รพ.คลองใหญ่ จ.ตราด,  และโรคปวดเมื่อยด้วยวิธีย่ำขางที่ รพ.แม่ลาว จ.เชียงราย, รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคตับแข็งที่ รพ.พระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งเดียวที่บริการด้านนี้, การรักษางูพิษกัด สัตว์พิษกัด ที่รพ.พนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ และรพ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ------------- “เลิกเก็บ 30 บาท” “เครือข่ายประชาชนคนรักหลักประกันสุขภาพ” คือเครือข่ายที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนที่ทำงานด้านสุขภาพจากทั่วประเทศ ที่ขอทำหน้าที่แทนคนไทยทั้งประเทศในการเป็นกระบอกเสียงส่งต่อไปถึงภาครัฐ เรื่องความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการบริการด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้เกิดการบริการด้านการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ เท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยเรื่องเร่งด่วนที่ทางเครือข่ายฯ กำลังเดินหน้าเรียกร้องกับรัฐบาล คือเรื่องการขอให้ยกเลิกการเก็บค่าบริการ 30 บาทจากผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อย และสิทธิในเรื่องการรักษาพยาบาลถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ภาครัฐต้องจัดสรรให้กับประชาชนคนไทยทุกคน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอด้านบริการสาธารณสุขอื่นๆ ที่เครือข่ายฯ วอนให้ภาครัฐช่วยปรับปรุงพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันให้มีระบบสุขภาพของประเทศ ที่มีคุณภาพเพียงมาตรฐานเดียว ซึ่ง ณ เวลานี้ประเทศไทยเรายังมีการแบ่งเรื่องการรักษาพยาบาลออกเป็นหลายระบบ ทั้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม ระบบราชการ ทำให้ระบบการรักษาพยาบาลของบ้านเรามีหลายมาตรฐาน รวมทั้งการขอให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันให้รัฐสภาเร่งพิจารณา(ร่าง)พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ที่จะช่วยชดเชยผู้ป่วยในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการรักษาพยาบาล โดยจะไม่มีการเอาผิดจากแพทย์ ซึ่งช่วยให้ไม่ต้องนำไปสู่การฟ้องร้องอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2554 สวยด้วยแพทย์...ก็ยังมีเสี่ยง ใครที่อยาก “สวยด้วยแพทย์” ต้องอ่านข่าวนี้ให้ดีๆ เมื่อคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก. คปภ.) ได้ตรวจยึดผลิตภัณฑ์สำหรับเสริมความงามที่นำเข้าอย่างผิดกฎหมายและไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. ภายในพงศักด์คลินิก สำนักงานใหญ่ใน จ.ระยอง ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดได้ล้วนเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความสวยความงาม ไม่ว่าจะเป็น  ยาฉีดโบท็อกซ์ , ยาฉีดฟิลเลอร์ เสริมจมูก เสริมคาง, ยาฉีดกลูตาไธโอน, ยาฉีดพลาเซนต้า หรือรกแกะ, ยาฉีดแอลคานีทีน และยาฉีดวิตามินซีผสมคอลลาเจล นอกจากนี้ยังมียาลดความอ้วน รวมทั้งเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการเสริมความงาม เช่น เครื่องนวดเย็น เครื่องสลายไขมัน เครื่องยิงเลเซอร์ รวมมูลค่าสินค่าทั้งหมดกว่า 20 ล้านบาท อย.ฝากเตือนและขอความร่วมมือไปยังคลินิกเสริมความงามทั้งหลาย อย่าใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจาก อย. เพราะจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ที่มาใช้บริการอย่างที่เคยเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ อย่างกรณีการฉีดฟิลเลอร์ที่ว่าสามารถช่วยเรื่องริ้วรอยบนใบหน้านั้น เคยมีข้อมูลจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยว่า เมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาว่า มีผู้ที่ได้รับผลร้ายข้างเคียงจากการฉีดฟิลเลอร์จนทำให้ตาบอดจำนวนถึง 3 คน นอกจากนี้ฟิลเลอร์ยังอาจมีผลต่อสมองในระยะยาว หากฉีดในปริมาณมากหรือฉีดไม่ถูกวิธี คนที่อยากจะสวยทางลัดต้องศึกษาข้อมูลให้ดี ว่าการเสริมความงามแต่ละประเภทมีผลเสียหรือผลข้างเคียงอย่างไรบ้าง ความน่าเชื่อถือของสถานบริการมากน้อยแค่ไหน และเรื่องผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ต้องให้แน่ใจว่าได้รับรองจากทาง อย.--------------------   ชอบใส่กางเกงฟิตมีสิทธิปวดหลัง ตอนนี้แฟชั่นกางเกงรัดรูป ไม่ว่าจะเป็นกางเกงขาเดฟ สกินนี่ หรือเลกกิ้ง กำลังได้รับความนิยม ฮิตใส่ทั้งหนุ่มๆ และสาวๆ แต่ความสวยความเท่ก็อาจกลายเป็นผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำเสนอผลการวิจัยที่น่าสนใจในหัวข้อที่ว่า “การสวมกางเกงขายาวแบบรัดรูปมีผลต่อองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนเอวและการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัว” ซึ่งข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ขณะนี้มีวัยรุ่นในภาคอีสานกว่า 80% เป็นโรคปวดหลัง โดยส่วนใหญ่นิยมนุ่งกางเกงรัดรูปเอวต่ำ สำหรับวิธีการศึกษาในครั้งนี้ทำโดย ให้อาสาสมัครทำกิจกรรม 3 ประเภท คือ การนั่งยองๆ แล้วทำกิจกรรมต่างๆ การลองให้ยกของขึ้นจากพื้น และการนั่งเอื้อมมือไปหยิบวัตถุที่อยู่ด้านหน้า โดยใส่กางเกงขายาวแบบรัดรูป เทียบกับกางเกงขายาวแบบสวมใส่สบาย โดยอาสาสมัครจะได้รับการวัดองศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวและวัดศักย์ไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลำตัวไปพร้อมกัน เพื่อเปรียบเทียบผลระหว่างกางเกงขายาวทั้งสองแบบ ซึ่งกางเกงขายาวแบบรัดรูป จะจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ส่งผลให้องศาการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับเอวเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ การทำงานของกล้ามเนื้อหลังลดลง และทำให้ผู้สวมใส่เกิดความไม่สบายที่บริเวณหลังส่วนล่าง เมื่อเปรียบเทียบกับกางเกงขายาวแบบสวมใส่สบาย ------------------------------------------------   ลูกชิ้น (ต้อง) ไร้สารกันบูด คนที่ชอบลูกชิ้นรู้กันหรือยังว่า ลูกชิ้นที่เรากินกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นไก่ ฯลฯ ถูก อย. ประกาศให้เป็นอาหารที่ห้ามใช้สารกันบูด(เว้นแต่ขออนุญาตก่อน) แต่ก็ยังมีผู้ผลิตบางรายที่ยังคงใส่สารกันบูดในลูกชิ้น จากการสำรวจตลาดของ อย. พบลูกชิ้นยี่ห้อ “หมูสยาม” มีวัตถุกันเสียชนิดกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง คือ ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเอ็นหมู และลูกชิ้นเนื้อวัว พบกรดเบนโซอิกปริมาณ 3,745, 4,731 และ 4,770 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมตามลำดับ “หมูสยาม” ทั้งลูกชิ้นเอ็นหมู และลูกชิ้นเนื้อวัว จึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งทาง อย. ได้ทำการลงโทษผู้ผลิต ระงับการผลิต และเรียกคืนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดออกจากตลาดแล้ว------------------- “ตัดสัญญาณ คิดเงินผิด โทรไม่ติด” ปัญหา (ที่ยัง) ยอดฮิตของคนใช้โทรศัพท์นพ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวง กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยผลการร้องเรียนของผู้บริโภค ในปี 2554 ซึ่งมีจำนวนเรื่องร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 4,615 เรื่อง เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาแล้ว 2,077 เรื่อง คิดเป็น 45% ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จจำนวน 1,627 เรื่อง แบ่งเป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 75% อินเตอร์เน็ต 19% โทรศัพท์พื้นฐาน 3.9% โทรศัพท์สาธารณะ 2.1% บริษัทผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ทั้ง เอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ และ ฮัทช์ ต่างก็ได้รับการร้องเรียนในหลายๆ เรื่อง ที่มากที่สุดคือ การกำหนดระยะเวลาของบัตรเติมเงินที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ยังมีเรื่อง คิดค่าบริการผิดพลาด และมาตรฐานการให้บริการ เช่น สัญญาณไม่ดี ไม่ชัด หลุดบ่อย ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย ถูกระงับบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ถูกยึดเลขหมายแล้วนำไปจำหน่ายให้ผู้บริโภครายใหม่ก่อนครบ 180 วัน ไม่สามารถใช้บริการที่สมัครได้ เปลี่ยนเงื่อนไขบริการโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้าใครที่มีปัญหาเรื่องบริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต สามารถติดต่อสอบถามไปยั งบริการ Call Center ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการ หรือที่ กสทช. โทร.1200-----------------------------------------------------------------------   สรุปปัญหาผู้บริโภค ปี 54ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ได้สรุปสถานการณ์เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในปี 2554 ที่ผ่านมา โดยมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายังศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ทั้งสิ้น 895 กรณี และยังมีการร้องเรียนผ่านเครือข่ายผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคอีกจำนวนหนึ่ง โดยปัญหาหลักๆ ที่มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก ยังคงหนีไม่พ้นปัญหาหนี้บัตรเครดิต ปัญหาด้านสินค้าและบริการ ปัญหาเรื่องผลิตภัณฑ์อาหาร และปัญหาด้านการบริการสุขภาพและสาธารณสุข ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร หลักๆ จะเป็นเรื่องหนี้บัตรเครดิต มีตั้งแต่ปัญหาเรื่องใบแจ้งหนี้ ที่บางบริษัทมีแต่ภาษาอังกฤษ ไม่แสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่สามารถตรวจสอบได้ เหมือนจงใจให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน นอกจากนี้ผู้บริโภคมักจะถูกเชิญชวนกึ่งบังคับให้ทำประกันแบบคุ้มครองหนี้สินแต่ไม่มีค่าสินไหมตอบแทน และการหลอกล่อให้ผ่อนชำระเงินหนี้บัตรเครดิตในอัตราขั้นต่ำ ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยในอัตราที่สูง ปัญหาด้านสินค้าและบริการ ปัญหาด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ยังคงเป็นเรื่องของประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าและบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่ชัดเจนของข้อมูลบนฉลากที่อ่านยากหรือไม่มีข้อมูลภาษาไทย ด้านการบริการก็มักขาดความจริงใจหรือเอาเปรียบผู้บริโภค ส่วนปัญหาด้านบริการสุขภาพ หนีไม่พ้นเรื่องการขาดมาตรฐานในการรักษาพยาบาล ซึ่งเกิดจากการที่มีการแบ่งสิทธิการรักษาพยาบาลออกเป็นหลายประเภท ทั้งระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง และระบบเฉพาะสำหรับข้าราชการ กลายเป็นปัญหาโดยเฉพาะกับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งไม่ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยที่ใช้บัตรประกันสุขภาพ นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชนบางแห่งยังมีการโยกย้ายสิทธิของผู้ใช้บริการโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ด้านการฟ้องคดีที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคนั้น ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องการฟ้องคดี ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีผู้บริโภค โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุรถโดยสาร ซึ่งปี 54 ที่ผ่านมามีการฟ้องร้องทั้งสิ้น 124 คดี ผลคดีสิ้นสุดแล้ว 108 คดี สามารถเรียกร้องค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายได้ทั้งสิ้น 27,244,803.39 บาท จากปัญหาต่างๆ ที่พบทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมีข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการฟ้องคดีของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคให้มีข้อมูลและรู้เท่าทันการถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งเชื่อว่าถ้าหากมีองค์การอิสระผู้บริโภค จะสามารถทำหน้าที่ทั้งเผยแพร่ข้อมูล ให้ความเห็น และเสนอแนะแนวทางในการหาทางออกให้กับผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ควรมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ในสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่สำคัญต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้บริโภคให้มากที่สุด--------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2553 10 พฤษภาคม 2553สปสช.เตรียมยกร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุรถยนต์ คนเจ็บต้องได้ใช้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เตรียมปฏิรูปการประกันสุขภาพภาคบังคับ หลังจากพบว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เกิดปัญหาการเบิกจ่ายกองทุนผู้ประสบภัยจากรถ ที่มีการเบิกจ่ายจากกองทุนไม่ถึงครึ่ง เพราะมีขั้นตอนการเบิกจ่ายที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องใช้เวลานานในการพิสูจน์ถูกผิดในส่วนของค่าชดเชย ทำให้ผู้ประสบภัยหันมาใช้สิทธิตามระบบหลักประกันสุขภาพที่ตนเองมีอยู่แทน ทำให้กลายไปเป็นภาระด้านงบประมาณกับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทน  สำหรับหลักสำคัญที่จะใช้ในการยกร่าง พ.ร.บ.ใหม่จะใช้แนวคิดจากงานวิจัย คือ บริหารระบบโดยใช้หน่วยงานของรัฐทั้งหมด ใช้หลักการชดเชยโดยไม่พิสูจน์ถูกผิดในการชดเชยค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนผู้เสียหายได้รับประโยชน์ในสิทธิของตัวเองได้อย่างเต็มที่ที่สุด -------------------------------------------------------------------------------------- 15 มิถุนายน 2553กินยาโบราณปลอม โรคไม่หาย เสี่ยงป่วยเพิ่มสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยสำนักงานพระราชวัง บุกตรวจจับแหล่งจำหน่ายและกระจายยาแผนโบราณและเครื่องสำอางผิดกฎหมาย ในร้านค้าและแผงลอยย่านท่าเตียน ได้ทั้งหมด 12 ร้าน รวมผลิตภัณฑ์ กว่า 200 รายการ คิดเป็นมูลค่า 2 ล้านบาท โดยพบของกลางเป็นยาแผนโบราณที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา และไม่มีใบอนุญาตขายยาและโฆษณาโอ้อ้วดเกินจริง เช่น ยาหยอดตาสูตรเย็น อ้างรักษาแก้ตาฝ้า ตาฟาง เป็นต้อลม ตาอักเสบ, ยาเหลืองปลาหมอชะลอความชรา สมุนไพรวัดโพธิ์ (เบอร์ 40), ยาหอมบำรุงหัวใจห้าร้อยจำพวก ยาแก้เบาหวาน แก้เจ็บแน่นหน้าอก แก้เสียวในหัวใจ บำรุงสมอง, น้ำมันมะรุมแก้ข้อเสื่อมคลายเส้นวัดโพธิ์ (เบอร์ 41), ยาสาวเสมอพันปี (บำรุงสตรีบำรุงเลือดแก้ตกขาว), ยาแผนโบราณอายุวัฒนะวัดโพธิ์ (เบอร์ 49) บำรุงประสาท บำรุงสมอง บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ แก้ไตพิการบวมเหลือง แก้มะเร็ง ในมดลูก มะเร็งเต้านม, ยาแก้ปวดนิ่วในไต ในถุงน้ำดี (สมุนไพรวัดโพธิ์) (เบอร์ 63), ยาหม่องฟ้าทะลายโจร (หมอสิงห์) นวดแก้อัมพฤกษ์, น้ำมันเขียวแป๊ะยิ้มแก้อัมพาต เหน็บชา, น้ำมันพระโมคคัลลาน แก้ลมอัมพาต ส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางพบในส่วนของฉลากไม่ถูกต้อง อย. ฝากเตือนประชาชนที่ชอบซื้อยาแผนโบราณตามวัดหรือสถานที่ต่างๆ ที่ไม่ใช่ร้านขายยา ต้องตรวจดูเรื่องส่วนประกอบและบริษัทผู้ผลิตให้ชัดเจน และอย่าหลงเชื่อกับคำโฆษณาที่เกินจริง --------------------------------------------------------------------------------------   16 มิถุนายน 2553พบ “สารไซยาไนด์” ในเกลือแหลมฉบัง สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เตือนชาวบ้านบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง อย่านำเกลือที่พบในบริเวณท่าเรือมารับประทาน หลังมีการตรวจพบสารไซยาไนด์ปนเปื้อน นางอารีย์ ตรีรัตนเวช ผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กล่าวว่า เกลือที่พบจำนวนมากบริเวณพื้นที่ที่การท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจมอยู่ในโคลนลึกประมาณ 5-10 ซม. กินพื้นที่ประมาณ 20-30 ไร่ นั้น ขณะนี้มีประชาชนในบริเวณดังกล่าวแห่กันไปขุดเกลือเพื่อนำไปรับบริโภคหรือจำหน่ายต่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางเทศบาลตำบลแหลมฉบัง ได้ประกาศห้ามประชาชนนำเกลือในบริเวณดังกล่าวมาบริโภคโดยเด็ดขาด หลังพบว่ามีการปนเปื้อนสารหนูหรือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารที่ทำอันตรายต่อร่างกายรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ --------------------------------------------------------------------------------------   21 มิถุนายน 2553เข้าสปาคราวหน้าอย่าลืมเรื่องความสะอาดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ในสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ประเภท พอกผิว ขัดผิว สำหรับนวด และอื่นๆ จำนวน 49 ตัวอย่าง นำมาตรวจวิเคราะห์คุณภาพด้านจุลชีววิทยา พบว่ามีคุณภาพผิดมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทขัดผิว 5 ตัวอย่างจาก 28 ตัวอย่าง ประเภทพอกผิว 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง เนื่องจากมีปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ยีสต์ และราเกินกำหนด  ดังนั้นผู้บริโภคควรใส่ใจในการเลือกใช้บริการร้านสปาและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทางร้านใช้ ถ้าเป็นไปได้ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้ โดยเฉพาะคนที่ผิวแพ้ง่าย พยายามเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นกรดหรือด่าง หรือมีกลิ่นหอมเกินไป --------------------------------------------------------------------------------------   เครือข่ายผู้บริโภคเรียกร้อง กทช. ประมูล 3.9Gต้องโปร่งใสและให้ประโยชน์ของชาติมาก่อนองค์กรผู้บริโภคร่วมกันแถลงจุดยืน “การประมูลใบอนุญาต 3.9G ใครได้ประโยชน์” ณ สำนักงานชั่วคราวมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เซ็นจูรี่ พลาซ่า ชั้น 6 เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. โดยมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นายนิมิตร์ เทียนอุดม มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ นางสาวสุภิญญา  กลางณรงค์ รองประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ(คปส.) และนายกำชัยน้อย  บรรจงค์ เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี ร่วมแถลงข่าว ตามที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พยายามเร่งผลักดันให้เกิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 หรือ 3G ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็น 3.9G โดย กทช.ระบุจำนวนใบอนุญาต 3 ใบ ใบละ 15 เมกะเฮิรตซ์ โดยจะมีการเปิดประมูลใบอนุญาตพร้อมกันในราคาประมูลเริ่มต้นที่ 10,000 ล้านบาท ใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปี ซึ่งทางองค์กรผู้บริโภคเห็นค้านว่าควรจะกำหนดราคาประมูลตั้งต้นที่ 20,000 ล้าน เนื่องจากปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการสื่อสารยักษ์ใหญ่มีกำไรไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี ถ้าตั้งต้นราคาประมูลต่ำเกินไป รัฐอาจเสียผลประโยชน์ ส่วนประเด็นเรื่องระยะเวลาเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคมองว่า เรื่องของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ระยะเวลา 15 ปีในการถือครองใบอนุญาตอาจดูนานไป น่าจะลดลงมาที่ 10 ปี  ถึงแม้ กทช.จะชี้แจงว่าระยะเวลา 10 ปีนั้น จะขัดต่อประกาศแต่ไม่ได้ติดปัญหาเรื่องกฎหมาย เครือข่ายผู้บริโภคยังได้เสนอเงื่อนไขการคุ้มครองผู้บริโภคในการประมูล 3.9G ครั้งนี้ โดยให้ทาง กทช.เขียนเป็นกติกาให้กับบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ชัดเจน ในประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต 3.9G จัดทำเลขหมายรับเรื่องร้องเรียน 4 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันยังคงเป็นเลขหมาย 7 หลัก ที่ผู้บริโภคโทรติดต่อแล้วต้องเสียค่าใช้จ่าย การจัดการปัญหา SMS กวนใจ โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการไม่สามารถส่งเอสเอ็มเอสโฆษณาไปยังเลยหมายของผู้บริโภคได้หากผู้บริโภคไม่เต็มใจหรือยินยอม การไม่คิดค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนโปรโมชั่น ที่ปัจจุบันต้องเสีย 30 บาท และการไม่ต้องกำหนดวันหมดอายุของการใช้งานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงิน --------------------------------------------------------------------------------------   รัฐบาลต้องเร่งออกกม.คุ้มครองผู้ป่วยที่เสียหายทางการแพทย์เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ เรียกร้องรัฐบาลเร่งออกกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากรักษาพยาบาลเพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์ และ ย้ำแพทยสภาต้องจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาการฟ้องร้อง ปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และคนไข้ "ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ..." เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยไม่ให้คนไข้ฟ้องแพทย์ เพราะคนไข้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น” เครือข่ายผู้บริโภค ระบุ แม้กฎหมายฉบับนี้ มีไม่น้อยกว่า 5 ประเด็นที่เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคไม่เห็นด้วย แต่ก็ยอมรับให้รัฐบาลนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา และยืนยันหลักการกฎหมายฉบับนี้จะช่วยลดการฟ้องร้องของคนไข้ เพราะคนไข้หากมีความเสียหายก็จะได้รับการชดเชยที่เหมาะสม ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระในการฟ้องคดี ในฐานะผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... โดยการเข้าชื่อประชาชน 10,000 ชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขอยืนยันถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ 3 ประการ คือ 1) การชดเชยผู้เสียหายจากระบบบริการสาธารณสุข 2) ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ 3) พัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย “ถึงแม้ประเทศไทยจะมี พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีกลไกการช่วยเหลือเบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 41  โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ครอบคลุมเฉพาะผู้เสียหายที่ใช้สิทธิหลักประกันแห่งชาติ (บัตรทอง) เท่านั้น ยังไม่ครอบคลุมผู้เสียหายในระบบสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น(ไม่เกินสองแสนบาท) ที่มีความจำกัดในเรื่องวงเงินงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถเยียวยาให้ผู้เสียหายสามารถมีชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ดังนั้นเครือข่ายผู้บริโภค จึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาล ดังนี้ 1. ขอให้รัฐบาลเร่งพิจารณาและผ่าน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... โดยเร็ว และให้มีสาระสำคัญเป็นไปตามกรอบของร่างที่เสนอโดยเครือข่ายผู้บริโภคและประชาชน อาทิ • สำนักงานเลขานุการตามกฎหมายฉบับนี้ ต้องแยกออกจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อให้มีความเป็นกลาง เข้าถึงได้ง่าย และไม่เป็นการขัดแย้งในเชิงบทบาทหน้าที่ แต่หากจำเป็นต้องยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง “ไม่ให้มีการจัดตั้งสำนักงานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่” ก็ควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นสำนักงานไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว และมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการ มิใช่ผู้ให้บริการอย่างกระทรวงสาธารณสุข • องค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีองค์ประกอบจากผู้แทนสถานพยาบาล และผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิด้านบริการสุขภาพ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ เพราะบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมการ คือ การพิจารณาว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ โดยไม่ได้พิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรมและต้องใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์ 2. ขอให้เร่งออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้องค์กรผู้บริโภคสามารถทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ สุดท้าย เครือข่ายผู้บริโภค ใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันตรวจสอบการทำหน้าที่ของแพทยสภา และติดตามตรวจสอบพฤติกรรมของกรรมการแพทยสภาบางคน รวมทั้งแพทย์บางกลุ่ม ว่าได้ทำหน้าที่เหมาะสมกับความเป็นวิชาชีพแพทย์เพื่อประชาชนหรือไม่ หรือทำเพียงเพื่อผลประโยชน์ทางอำนาจและธุรกิจ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ 25533 กุมภาพันธ์ 53กินยาแก้ไอเล่นอาจถึงตายจากกรณีที่นักเรียนชั้นมัธยมกว่า 80 คน ถูกหามส่ง ร.พ. หลังเกิดอาเจียนจนหมดสติ เนื่องจากรับประทานยาแก้ไอที่ซื้อจากร้านเกมเพราะเชื่อกันว่ากินไปแล้วครูตีไม่เจ็บนั้น กระทรวงสาธารณสุข และอย. ได้ออกมาชี้แจงว่า ยาแก้ไอนี้มีชื่อสามัญว่า เดกโทเมโทรแฟน (Dextromethorphan) เป็นยาที่มีผลต่อระบบประสาท ซึ่งมีผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว ปกติไม่ควรกินเกินครั้งละ 2 เม็ด ถ้ากินมากเกินไปอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน กดระบบทางเดินหายใจ ความดันลดลงและเกิดอาจถึงขั้นช็อค ยานี้อนุญาตให้ขายในร้านยาที่มีใบอนุญาตให้ขายเท่านั้น หากซื้อจากร้านเกมจริงถือว่าผิดกฎหมาย ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 22 กุมภาพันธ์ 53ลูกชิ้นปลาเรืองแสง เกิดกระแสข่าว “ปริศนาลูกชิ้นปลาเรืองแสง” ซึ่งเป็นที่ฮือฮามาก หลังมีผู้นำมาร้องเรียนกับ นสพ.เดลินิวส์ ส่งผลให้ทางกระทรวงสาธารณสุขรีบเก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลาส่งเข้าทดสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง พบว่า ลูกชิ้นปลามีการปนเปื้อนของแบคทีเรียลูมิเนสเซนท์ แนะนำให้กินแบบทำสุกแล้วเท่านั้น จากการเก็บตัวอย่างลูกชิ้นปลาจำนวน 28 ตัวอย่าง พบมีสารเรืองแสงเฉพาะลูกชิ้นที่ผลิตจากโรงงานแห่งหนึ่งในจ.สมุทรสาครเพียงตัวอย่างเดียวโดยตรวจพบเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม ลูมิเนสเซนท์ (Luminescence) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการเรืองแสงได้ แบคทีเรียนี้พบได้ในน้ำทะเล ส่วนสาเหตุของการปนเปื้อนอาจเกิดได้ในขั้นตอนการผลิต ทั้งจากวัตถุดิบ เครื่องมือและจากคน รวมถึงในช่วงการเก็บรักษาระหว่างขนส่งและรอจำหน่าย โดยเฉพาะถ้าเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม (มากกว่า 4 องศา) ก็มีโอกาสที่แบคทีเรียจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แนะนำว่าในการรับประทานลูกชิ้นปลา คือควรลวกน้ำร้อนก่อนที่จะนำมารับประทาน หรือทำให้สุกด้วยวิธีการอื่นก่อนรับประทาน เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคไม่ว่าจะชนิดใดก็ตาม ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 23 ก.พ. 53น้ำประปาเลิกฟรี แต่ไฟฟ้า รถเมล์ รถไฟ ให้อีก 3 เดือน แม้สถานการณ์การเมืองจะเคร่งเครียด แต่ผู้บริโภคยังพอมีเรื่องให้ยิ้มได้ เมื่อรัฐบาลยังใจดีไฟเขียวให้ประชาชนได้ใช้บริการไฟฟ้า รถเมล์ และรถไฟ ฟรีต่อไปอีก 3 เดือน ยกเว้นค่าน้ำประปาที่ต่อจากนี้ไปต้องกลับมาเสียเงินตามปกติ ค่าไฟฟ้าฟรี ค่ารถเมล์ฟรี รถไฟฟรี จากเดิมจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2553 รัฐบาลขยายไปสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2553 ส่วนมาตรการค่าน้ำฟรีนั้นให้สิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค. 2553 สาเหตุที่คงมาตรการลดภาระค่าครองชีพประชาชนไว้ 3 มาตรการ เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชนผู้มีรายได้ต่ำได้จริง และมีประชาชนจำนวนมากได้ประโยชน์โดยเฉพาะมาตรการใช้ไฟฟ้าฟรี +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ผู้บริโภควอนรัฐฯ ยืดเวลามาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ทำให้ค่าธรรมเนียมการโอนขึ้นจาก 0.01% เป็น 2% ค่าจดจำนองจาก 0.01% เป็น 1%และภาษีธุรกิจเฉพาะจาก 0.01% เป็น 3.3% ส่งผลให้ผู้ที่กำลังจะซื้อบ้านและคอนโดฯ ต้องรับภาระค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองเป็นจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินหลายหมื่นบาท ซึ่งตอนที่ตัดสินใจซื้อเป็นตอนก่อนที่จะมีการประกาศมาตรการดังกล่าว รวมทั้งผู้ประกอบการบ้านและดอนโคฯ บางโครงการไม่ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวแก่ผู้บริโภค น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ว่า เรื่องสัญญาการเช่าซื้อและโอนอสังหาริมทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนความรับผิดชอบของลูกค้า และผู้ประกอบการซึ่งต้องรับผิดชอบกันคนละครึ่ง การจ่ายเงินค่าโอน ค่าจำนอง หรือค่าอื่นๆ นั้น ต้องมีการเขียนในสัญญาที่ชัดเจน ส่วนความเห็นในเรื่องการยกเลิกมาตรการดังกล่าวเห็นว่า เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะมาตรการดังกล่าวใช้ในช่วงที่มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งปรับลดนู่นนี่เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อบ้านและคอนโดฯ กันเยอะๆ แต่พอจะมาประกาศยกเลิกก็ยกเลิกแบบกะทันหัน ทำให้ผู้ที่ตัดสินใจซื้อในตอนแรกมีปัญหา ซึ่งอยากให้แนะนำให้คนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้ออกมาร้องเรียนกับภาครัฐฯ ทางด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวว่า “มติดังกล่าวเป็นการประกาศที่รวดเร็วเกินไป ผู้บริโภคตั้งตัวไม่ทัน อย่างคนที่วางเงินดาวน์แล้ว ก็ถอนคืนไม่ได้ ต้องเสียเงินเพิ่ม กู้แบงก์ก็ไม่ทันแล้ว รัฐบาลต้องเร่งสำรวจปัญหาอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ซึ่งถ้าพบปัญหาความเดือดร้อน ก็ให้ทบทวนมติ ครม. อาจจะโดยการเลื่อนระยะเวลาออกไปอีก พร้อมกับแจ้งประชาสัมพันธ์ประชาชนให้เข้าใจตรงกัน ซึ่งน่าจะเลื่อนไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน” ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ร่วมค้านหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสุขภาพ ออกแถลงการณ์เรียกร้องกระทรวงสาธารณสุขแก้กฎหมายให้มีตัวแทนจากบุคคลภายนอกเป็นคณะกรรมการแพทยสภา เพราะการมีเฉพาะผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ทำให้ขาดความเข้าใจสังคม เอื้อประโยชน์ รพ.เอกชน และโดยเฉพาะคณะกรรมการที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารของ รพ.เอกชนเป็นกรรมการตัดสินใจ จากการแพทยสภาได้รับรองหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาษาอังกฤษ (English program) ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าเป็นหลักสูตรที่ก่อให้เกิดประโยชน์โดยที่สภามหาวิทยาลัยยังไม่อนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ เพราะไม่ได้เป็นเรื่องส่งเสริมคุณภาพและปริมาณของแพทย์ในประเทศไทย แต่เมื่อมีผู้เรียนมากขึ้นแถมยังกำหนดให้ได้เรียนกับอาจารย์ตั้งแต่ระดับรองศาสตราจารย์ขึ้นไป เท่ากับว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนรวยเท่านั้น เนื่องจากต้องใช้เงินไม่น้อยกว่า 7 ล้านบาทในการเรียนแพทย์หลักสูตรนี้ ดังนั้นกระทบกับหลักสูตรปกติที่ให้โอกาสทุกคนในการเข้าเรียนแน่นอน การอ้างว่า คณะที่จะดำเนินการเปิดสอนหลักสูตรได้จะต้องได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยของตน ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของแพทยสภา เป็นการปัดความรับผิดชอบ เพราะแพทยสภาควรเสนอให้คณะแพทย์ มศว. ขอความเห็นชอบหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยก่อน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการเรียน รวมถึงรายละเอียดเรื่อง ค่าเทอม การจัดการและความพร้อม ตลอดจนกำหนดการเปิดรับนักศึกษาเป็นต้น ไม่ใช่ทำผิดขั้นตอนโดยเห็นชอบข้อเสนอจากคณะแพทย์โดยตรงทั้งที่ยังไม่ผ่านสภามหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ.ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ตามมาตรา 7 (5) แพทยสภามีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำแก่รัฐในประเด็นสุขภาพและปัญหาทางการแพทย์ ดังนั้นการให้ข่าวของแพทยสภาที่อ้างว่า แพทยสภาไม่ได้มีหน้าที่ในด้านนโยบาย medical hub และแพทย์ต่างชาติ เพราะเป็นเรื่องของนโยบายของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบนั้น ไม่เป็นจริงเพราะแพทยสภามีหน้าที่โดยตรงในการให้คำแนะนำเรื่องนี้ และสะท้อนให้เห็นว่าการตัดสินใจขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของตนเองและผลประโยชน์สาธารณะขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ม.61 ทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและกระทบต่อการผลิตแพทย์ในหลักสูตรปกติ องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเอกชนด้านสุขภาพและผู้ป่วย จึงขอเรียกร้องให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งแก้ไขกฎหมายประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ให้คณะกรรมการแพทยสภามีบุคคลภายนอก ดังเช่นกรรมการแพทยสภาในหลายประเทศที่มีบุคคลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์เป็นกรรมการมากถึง 50 % เพราะการตัดสินใจของแพทยสภาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสังคมกระทบต่อสาธารณะ เกี่ยวข้องกับบริการสาธารณสุขที่เป็นบริการจำเป็นพื้นฐานของทุกคน ดังนั้นจึงต้องโปร่งใส มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง และมีผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมพิจารณา ด้วยเหตุว่าสการผลิตแพทย์หลักสูตรภาษาอังกฤษนี้ หากพิจารณาให้ดีก็เหมือนการเตรียมการตอบสนองโรงพยาบาลเอกชนที่ต้องการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ของอาเซียน (Medical Hub) นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 เกือบหยุดหายใจเพราะใบสั่งยาของแพทย์

เมื่อป่วยสิ่งที่คิดเป็นอันดับแรกคือไปหาหมอ  เพื่อให้หมอรักษาอาการป่วยให้ดีขึ้น  เช่นเดียวกับน้าสมัย(นามสมมุติ) อายุ 79 ปี ที่ป่วยหลายโรค ทั้งโรคหัวใจ  เบาหวาน  ความดัน  เรียกได้ว่าโรคมาเป็น ชุดๆ ตามอายุที่สูงขึ้น    น้าสมัยไปหาหมอ หมอก็เขียนใบสั่งยาให้ไปรับยาที่ห้องยา  โดยน้าสมัย ไม่รู้เลยว่าหมอสั่งยาอะไรมาให้กิน   เมื่อได้ยามาก็กินตามคำแนะนำของหมอทุกประการ   แม้มีอาการเหนื่อยง่ายมากขึ้น ก็ไม่ได้สงสัยอะไร  คิดว่าเป็นไปตามวัย  จนกระทั่งหมอโรคหัวใจนัดไปพบอีกครั้งที่โรงพยาบาล  จึงได้ทราบว่าหัวใจเต้นอ่อนมาก เพียง 20-30  ครั้งต่อนาที   หมอสั่งให้นอนโรงพยาบาลทันที  พร้อมบอกว่า เป็นภาวะอันตรายมาก  คนไข้พร้อมจะสิ้นลมได้ทุกเวลา โดยเฉพาะเวลานอนหลับลูกๆ ของน้าสมัย ทุกข์ใจกันมาก ต้องลางานมาดูแลพ่อ ต้องผลัดกันเฝ้าตลอดเวลา เพราะกลัวว่าพ่อจะนอนแล้วไม่ตื่น     แต่ไม่มีใครรู้ว่าสาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นอ่อนมากอะไร   จนกระทั่งหมอโรคหัวใจเรียกลูกๆ ของน้าสมัยเข้าไปพูดคุย  พร้อมแจ้งว่าที่หัวใจเต้นอ่อนสาเหตุเพราะ  ยารักษาความดันที่หมอสั่งให้กิน  ไปกดให้หัวใจเต้นช้าลง  บวกกับน้าสมัยอายุมาก ทำให้อาการเป็นมากขึ้น  หมอจะสั่งยาตัวใหม่ให้นะ เมื่อเปลี่ยนยาอาการของน้าสมัยดีขึ้นทันตาเห็น  สรุปว่าที่น้าสมัยเกือบตายเพราะยาที่หมอสั่งให้กินนั่นเอง สิ่งที่สงสัยคือ  คนไข้อายุเกือบ 80 ปี หมอจะสั่งยาให้ทำไมไม่ระมัดระวังมากกว่านี้   การสั่งยาผิดหรือยาแรงเกินไป  จากหมอที่รักษาก็อาจกลายเป็นฆาตกรได้ง่ายๆ เช่นกัน   เคสนี้ใช้สิทธิราชการ (ซึ่งมักได้ยามากกว่าสิทธิอื่นๆ) การจะเรียกร้องความเสียหายทำได้ทางเดียวคือ”ต้องฟ้อง”(ไม่เหมือนสิทธิในระบบหลักประกันที่มีกองทุนชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาล) ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปล่อยเลยตามเลยไม่เรียกร้องอะไร   ที่เขียนเรื่องนี้เพราะต้องการให้ผู้บริโภคพึงระมัดระวัง  และสอบถามหมอมากขึ้น ”ก่อนรับยาต้องกล้าถาม” เพราะเมื่อเกิดอันตรายถึงชีวิต ก็ไม่อาจเยียวยาได้   ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยขอตัวท่านและคนใกล้ตัว โปรดระวังว่า  “ยา” มีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์ เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 166 หมอผ่าตัดผิดพลาด ต้องรับผิดชอบ !

คดีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างที่ผู้เขียนอยากจะเผยแพร่ เพื่อให้เห็นถึงการวินิจฉัยและการใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคอย่างแท้จริง...เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 นางกรวรรณ ได้ไปโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ด้วยอาการปวดท้องมาหลายวัน แต่อาการไม่ดีขึ้น เบื้องต้นแพทย์เวรได้ตรวจโดยการเอ็กซ์เรย์ปอดและเจาะเลือดพร้อมสังเกตอาการไปด้วย  ต่อมา นายแพทย์ ก. แพทย์ประจำแผนกสูตินรีเวช ผู้ทำการรักษาได้ตรวจนางกรวรรณด้วยวิธีใช้มือกดที่บริเวณท้องและแจ้งว่าน่าจะเป็นเนื้องอกขนาดใหญ่มาก จึงรีบดำเนินการผ่าตัดโดยด่วนโดยไม่มีการตรวจอัลตราซาวน์ก่อน  ภายหลังการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องปรากฏว่านางกรวรรณ ตั้งครรภ์ มิใช่ก้อนเนื้องอกตามที่ นายแพทย์ ก. คิดไว้ จึงได้เย็บแผลผ่าตัดให้ปิดดังเดิม หลังจากนั้นนายแพทย์ ข. ผู้ทำการร่วมตรวจได้ส่งตัวนางกรวรรณไปฝากครรภ์ต่อที่โรงพยาบาลภูมิพลต่อมาวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 นางกรวรรณ ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 อีกครั้ง ด้วยภาวะวิกฤตเลือดออกมากทางช่องคลอดเนื่องจากรกเกาะต่ำและเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ประกอบกับนางกรวรรณป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง นายแพทย์ ข. ผู้ทำการรักษาและคณะได้ร่วมกันตรวจวินิจฉัยและตัดสินใจต้องผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดพบว่าทารกในครรภ์ได้เสียชีวิตแล้ว ส่วนนางกรวรรณเสียเลือดมาก แต่คณะแพทย์ที่ทำการผ่าตัดได้ช่วยกันจนห้ามเลือดไว้และเฝ้าดูอาการจนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 นางกรวรรณ ก็ถึงแก่ความตาย...คดีนี้ โจทก์ทั้งสี่ โดยนายวิเชียร หนูมา สามีผู้ตาย ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายกับ นายแพทย์ ก. เป็นจำเลยที่ 1 และ นายแพทย์ ข. เป็นจำเลยที่ 2 และโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 เป็นจำเลยที่ 3  ในคดีหมายเลขดำที่ ผบ. 3557/2555  ต่อศาลจังหวัดมีนบุรี ระหว่างพิจารณาคดี คู่ความทั้งสองฝ่ายนำพยานเข้าสืบหักล้างกัน  ต่อมาศาลชั้นต้นพิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งหมดแล้วจึงมีคำพิพากษา ซึ่งผู้เขียนขอสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้ ศาลเห็นว่า นายแพทย์ ก. และ ข. ได้ทำการรักษานางกรวรรณอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้ว ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า นายแพทย์ ก. และ ข. ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นางกรวรรณถึงแก่ความตาย ดังนั้นเมื่อ นายแพทย์ ก และ ข. ในฐานะ จำเลยที่ 1 ที่ 2  ไม่มีความผิด  โรงพยาบาลนวมินทร์  9 จำเลยที่ 3  จึงไม่มีความผิดด้วย จึงมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์  ประการแรกว่า นายแพทย์ ข. จำเลยที่ 2 ที่ผ่าตัดครั้งที่ 2  ต้องรับผิด ศาลอุทธรณ์เห็นว่า จำเลยที่ 2 มีพยานบุคคลนายแพทย์ผู้ร่วมทำการผ่าตัดมาเบิกความประกอบกันว่า นางกรวรรณ ผู้ตายได้เข้ามารักษาเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 ด้วยภาวะวิกฤตเลือดออกมากทางช่องคลอด นายแพทย์ ข. จึงต้องทำการผ่าตัดโดยด่วน ซึ่งการผ่าตัดต้องเสียเลือดมาก ผลการผ่าตัดพบว่าทารกเสียชีวิตแล้ว เมื่อล้วงคลอดรกพบว่ารกเกาะทะลุมดลูก จึงต้องตัดมดลูกที่ทะลุออก และยังพบว่ารกยังเกาะอยู่กับอวัยวะใกล้เคียงและเลือดออกมาก จึงให้ศัลยแพทย์เข้าร่วมผ่าตัดด้วย ทั้งที่กระเพาะปัสสาวะ ผนังอุ้งเชิงกราน เมื่อเลาะรกออกแล้วมีเลือดซึมออกไม่หยุด จึงห้ามเลือด เย็บบาดแผลปิดหน้าท้อง และเฝ้าดูอาการ  แต่ผู้ตายยังมีเลือดออกมาก แพทย์จึงให้เลือดและยาตามอาการ จนถึงวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 นางกรวรรณ ก็ถึงแก่ความตาย ดังนั้นการเสียชีวิตของผู้ตายจึงเป็นไปตามพยาธิสภาพ นายแพทย์ ข. ได้ใช้ความระมัดระวังในการตรวจและรักษาแล้วประการที่สอง โจทก์ทั้งสี่อุทธรณ์ว่า นายแพทย์ ก. จำเลยที่ 1 ที่ผ่าตัดครั้งแรก ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า โจทก์ทั้งสี่ไม่มีพยานหลักฐานใดมาพิสูจน์ได้ว่า การผ่าตัดในครั้งที่ 2 โดยนายแพทย์ ข. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 ด้วยอาการเลือดออกทางช่องคลอดของผู้ตายเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการกระทำของนายแพทย์ ก. ที่ผ่าตัดครั้งแรก แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า นายแพทย์ ก. จะมีส่วนประมาทในการตรวจรักษาผ่าตัดผู้ตายในครั้งแรก แต่ก็ยังฟังไม่ได้ว่า นายแพทย์ ก. กระทำโดยประมาทเป็นเหตุนางกรวรรณถึงแก่ความตาย เนื่องจากการผ่าตัดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2554 กับการผ่าตัดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากเป็นเหตุการณ์คนละช่วงคนละตอนไม่เกี่ยวกันอย่างไรก็ตาม ศาลอุทธรณ์เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค การพิจารณาคดีต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551  มาตรา 39 ที่บัญญัติว่า “ ...ถ้าความปรากฏแก่ศาลว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้องหรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีการบังคับให้เหมาะสมได้แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ก็ตาม…”และมาตรา 42  ที่บัญญัติว่า ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องร้องเกิดจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรมหรือจงใจให้ผู้บริโภคได้รับความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้บริโภคหรือกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่เห็นสมควร...”ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว สรุปได้ว่า  แม้จำเลยที่ 1 จะเบิกความอ้างว่ามีแพทย์เวรเป็นคนตรวจเบื้องต้นตอนแรกก่อนจะมาถึงตน  แต่จำเลยที่ 1 ก็ทำเพียงแค่ซักถามประวัติผู้ตายเบื้องต้นว่าทำหมันมาแล้ว ทั้งที่ทราบดีว่าการทำหมันแล้วก็มีโอกาสหมันหลุดได้ อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้ตรวจผลเอ็กซ์เรย์เอง ทั้งที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญและยอมรับว่าแพทย์ทางรังสีวิทยาจะเป็นผู้อ่านผลเอง แต่เนื่องจากการเอ็กซ์เรย์ของผู้ตายทำในเวลากลางคืนและจะทราบผลการอ่านของแพทย์รังสีวิทยาตอนเช้าดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 เพียงตรวจดูผลจากการวินิจฉัยของแพทย์เวรที่ตรวจเบื้องต้น และซักประวัติโดยไม่ตรวจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าก้อนเนื้อที่พบนั้นจะเป็นทารกหรือไม่  อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังยอมรับว่าการตรวจการตั้งครรภ์สามารถทำด้วยวิธีง่ายๆ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ทำ กลับรีบผ่าตัดผู้ตายในคืนเดียวกับที่เข้ามาตรวจ  ซึ่งผลการผ่าตัดของจำเลยที่ 1 ไม่พบเนื้องอกที่รังไข่ แต่พบทารกที่มีอายุครรภ์ 16 – 18 สัปดาห์ มีอวัยวะครบ ซึ่งมีส่วนของกระดูกและหัวใจของทารกเต้นแล้ว  ซึ่งการวินิจฉัยที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 จึงมีผลทำให้ผู้ตายต้องนอนพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ของจำเลยที่ 3 ดังนั้นความเสียหายแก่ร่างกายของผู้ตายจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ซึ่งความเสียหายในส่วนนี้แม้โจทก์จะไม่ได้เรียกร้องมาในคำขอบังคับก็ตาม ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 39ส่วนค่าเสียหายนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่า  ภายหลังการผ่าตัดที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 3 เคยเสนอเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์เป็นเงิน 500,000  บาท แต่โจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหาย 200,000 บาท จึงตกลงกันไม่ได้ ศาลอุทธรณ์เห็นว่า เมื่อโจทก์เคยเรียกร้องค่าเสียหาย 200,000 บาท จึงเห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย 200,000 บาท ประกอบกับการกระทำของจำเลยที่ 1 ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงไม่นำพาต่อความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้ตาย จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายข้างต้นอีก 300,000 บาท ตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 500,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ประกอบกิจการโรงพยาบาลที่ผู้ตายเข้าใช้บริการและเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสี่นั้น ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคไม่เห็นพ้องด้วยพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นไปคดีนี้ยังไม่สิ้นสุด จำเลยที่ 1 และที่ 3 ยังมีสิทธิที่จะขออนุญาตศาลเพื่อฎีกา หากมีความคืบหน้าผู้เขียนจะนำมาบอกกล่าวให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบอย่างแน่นอน ....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 143 ผ่าตัดเกินพอดี

นิตยามีอาการปวดใต้ลิ้นปี่ ไปเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่ถือสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าอยู่แพทย์ตรวจพบว่ามีนิ่วอยู่ในถุงน้ำดี จึงทำการผ่าตัดออก และนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ 6 วันแพทย์จึงให้กลับบ้าน แต่เมื่อกลับไปพักที่บ้านได้ 1 อาทิตย์ เกิดอาการผิดปกติตัวเหลืองตาเหลืองไม่มีแรง นิตยาจึงเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลตามสิทธิอีกครั้ง แพทย์ได้เอ็กซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหาว่ามีนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดีอีกหรือไม่ และแจ้งว่าหากอาการผิดปกติยังไม่หายจะส่งตัวผู้ร้องไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลศิริราชจากนั้นจึงให้เธอกลับไปรอดูอาการที่บ้าน“อาการของดิฉันรู้สึกแย่ลงมาก ตัวเหลือง ตาเหลืองมากขึ้น อีกประมาณ 10 วัน หมอนัดตรวจอาการ แต่เป็นหมอคนใหม่บอกว่ามารักษาแทนหมอคนเดิมที่ทำการผ่าตัด ดิฉันบอกกับหมอที่มารักษาแทนว่า หมอคนเดิมบอกว่าถ้าพบสิ่งผิดปกติจะส่งตัวไปที่โรงพยาบาลศิริราชแล้วทำไมถึงเงียบ หมอถามว่า หมอคนเดิมบอกแบบนั้นหรือ ดิฉันก็ตอบว่าใช่ค่ะ แล้วคุณหมอท่านนั้นก็บอกว่าผมจะส่งคุณไปเอง”นิตยาถูกทำเรื่องส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชในเวลาต่อมา แต่ก็พบปัญหาว่าผลเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลเอกชนที่ส่งมานั้นดูผลได้ไม่ชัดต้องเอ็กซเรย์ใหม่ แต่ติดที่ต้องจ่ายค่าเอ็กซเรย์เองหากจะให้ศิริราชดำเนินการ     นิตยาจึงต้องย้อนกลับไปติดต่อที่โรงพยาบาลแห่งเดิม ซึ่งได้แจ้งให้เธอไปเอ็กซเรย์กับโรงพยาบาลในเครืออีกแห่งแล้วถึงได้นำผลเอ็กซเรย์ไปให้โรงพยาบาลศิริราชวินิจฉัยทำการรักษาต่อไปนิตยาใช้เวลาในการเดินเรื่องขั้นตอนนี้กว่า 2-3 เดือน ขณะที่สภาพร่างกายแย่มากขึ้นเรื่อยๆ กว่าจะได้รับการผ่าตัดอีกครั้งจากโรงพยาบาลศิริราช“ก่อนผ่าตัดคุณหมอบอกว่า การผ่าตัดครั้งนี้ต้องตัดไส้มาเย็บต่อน้ำดี เนื่องจากว่าท่อน้ำดีถูกตัดสั้นจนเกินไป(จากการผ่าตัดครั้งที่ผ่านมา) เลยทำให้การเย็บต่อก่อให้เกิดการตีบตันของทางเดินเลือด จึงเป็นสาเหตุทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง น้ำหนักลดจาก 55 เหลือ 44 กิโลกรัม” ปัญหาจากการผ่าตัดครั้งแรกทำให้น้ำหนักตัวของนิตยาลดลงถึง 11 กิโลกรัมภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว จากตัวเหลืองก็กลายเป็นดำและคันตามตัวเป็นอย่างมากและตาก็เหลืองมากขึ้น ด้วยร่างกายที่อ่อนแอลงทำให้เธอไม่สามารถประกอบอาชีพได้เหมือนเดิม ขณะที่ต้องรับภาระส่งลูกเรียกระดับ ปวช. ส่งค่าบ้านที่จำนองไว้กับธนาคารก่อให้เกิดหนี้สินมากมายเพราะไม่สามารถประกอบอาชีพได้ในช่วงรักษาตัวและทำการผ่าตัด ทำให้นิตยาต้องร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือในการเรียกร้องค่าเสียหายจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรก แนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลตามสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติถ้วนหน้า ภายหลังการยื่นเรื่องตามคำแนะนำของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นิตยาได้รับพิจารณาเงินช่วยเหลือจำนวน 50,000 บาท  ขณะที่โรงพยาบาลเอกชนที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดในครั้งแรก ได้รับคำร้องเรียนของนิตยาและรับที่จะรับผิดชอบเยียวยาในความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งโรงพยาบาลได้ทำประกันภัยความเสี่ยงจากการรักษาพยาบาลไว้กับบริษัทประกันภัย ในที่สุดนิตยาได้รับการพิจารณาเยียวยาความเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 240,000 บาท เรื่องจึงเป็นอันยุติโดยมิต้องดำเนินการฟ้องร้องให้เป็นคดีความกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 133 เก็บ 30 บาท บริการทางการแพทย์จะดีขึ้นจริงหรือ?

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ข่าวหนังสือพิมพ์และเว็บไซด์กำลังมีการแลกเปลี่ยนเรื่องระบบหลักประกันสุขภาพกันอย่างร้อนแรง(ในขณะที่ข่าวทีวีค่อนข้างเงียบ)  เกี่ยวกับที่รัฐบาลจะกลับมาเก็บ 30  บาท  เพื่อเอาชื่อ 30  บาทรักษาทุกโรคกลับคืนมาเป็นโลโก้ของพรรคเพื่อไทยอีกครั้ง   ซึ่งผู้เขียนไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเห็นว่าถึงไม่เก็บ30 บาท ชาวบ้านร้านตลาดเขาก็จำได้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เกิดขึ้นจากพรรคไทยรักไทย หรือพรรคเพื่อไทยในปัจจุบันผู้เขียนเป็นกรรมการใน สปสช. คนหนึ่งมีโอกาสได้รับฟังความคิดเห็นเรื่องนี้อย่างหลากหลายมีเหตุผลมากมายที่สนับสนุนให้เก็บ30 บาท แต่ละเหตุผลฟังแล้วปวดใจจริงๆ เช่น  บอกว่าต้องเก็บ 30 บาท เพื่อให้ชาวบ้านรู้จักคุณค่าของยาจะได้กินให้หมดไม่ทิ้งขว้าง   ไม่เก็บแล้วคนไข้มาหาหมอมาก เพราะเห็นว่าฟรี  เป็นต้น  และคนที่แสดงความคิดเห็นเหล่านั้น   ล้วนใช้สิทธิอื่นไม่ได้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเลยทั้งสิ้น  พวกเขาจึงไม่มีความเข้าใจจริงๆ ว่าการไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลแต่ละครั้งของคนชนบทห่างไกลมันลำบากแค่ไหนผู้เขียนในฐานะคนใช้สิทธิหลักประกันฯ ตัวจริง(อยู่ต่างจังหวัด)   ฟังแล้วรู้สึกสะท้อนใจ นี่หรือคนที่เข้ามารับตำแหน่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ละความคิดเห็นบ่งบอกว่า ดูถูกชาวบ้านอย่างชัดเจนในนัยยะสำคัญคือ ชาวบ้านเห็นของฟรีแล้วจะมาใช้บริการอย่างไม่ยั้งคิด   ผู้เขียนถามหน่อยว่าโรงพยาบาลมันน่าเข้าไปเดินเล่นนักหรือ  ที่โรงพยาบาลมีแต่โรคภัยไข้เจ็บ บรรยากาศก็ชุลมุนวุ่นวาย   แถมจะไปหาหมอแต่ละครั้งต้องไปจองคิวตั้งแต่ตี3 ตี4 กว่าจะได้พบหมอ รอรับยาก็ปาเข้าไปค่อนวันกว่าจะกลับถึงบ้านก็เย็นพอดี วันที่มาหาหมอที่ต้องเสียแน่ๆ คือค่าเดินทาง และค่าแรงวันนั้นสำหรับคนหาชาวกินค่ำ การไปหาหมอแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายแน่นอน ดังนั้นคงไม่มีใครไปเพราะอยากได้แค่ยาฟรี   การเก็บ 30 บาท ยังจะไปเพิ่มความวุ่นวายตามมาอีกมาก เช่น มหาดไทยต้องไปดูว่าใครหนอที่จนจริง จะได้ยกเว้นการจ่ายและออกบัตรยกเว้นให้  คนไปหาหมอต้องพกบัตร 2 ใบ คือ 1. บัตรทอง  2. บัตรประชาชน  ในอดีตสมัยที่ยังเก็บ 30 บาท ผู้เขียนจำได้แม่นยำว่า ตอนไปหาหมอต้องพกบัตร 2 ใบนี้มาให้ครบ หากขาดใบหนึ่งใบใดไป นั่นหมายความว่าวันนั้นใช้สิทธิไม่ได้ต้องเสียเงินค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด    จนมีการพัฒนาให้ใช้บัตรประชาชนใบเดียวยืนยันการใช้สิทธิได้ทันที ซึ่งนอกจากลดค่าใช้จ่ายการทำบัตรทองแล้วชาวบ้านก็ไม่ต้องรุงรังพกบัตรหลายใบอีกด้วยแต่เรื่องเก็บ 30  บาทยังคงไม่จบง่ายๆ เพราะ ฯพณฯ ท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศในที่ประชุมคณะกรรมการ สปสช. ว่าหากจะเก็บ 30 บาทบริการต้องดีขึ้นกว่าเดิม หากยังไม่ดีขึ้นก็ยังไม่เก็บ   ขณะนี้รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมของระบบสุขภาพทั้ง 3 ระบบมากกว่าขอส่งเสียงสรรเสริญ นายกฯ มาล่วงหน้าและขอเอาใจช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเร็ววัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ประเทศไทย สองมาตรฐานจริงๆ

กว่าหนังสือเล่มนี้จะออกคงล่วงเลยเวลาที่มีบุคลากรทางการแพทย์แต่งชุดดำมาคัดค้าน พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เราคงไม่บอกว่าการคัดค้านการสนับสนุนพรบ.ฉบับนี้ใครถูกใครผิด แต่มีประเด็นที่น่าคิดมากกว่านั้นคือ ประเด็นการคัดค้านของคุณหมอต่างๆ ที่ออกมาให้ข้อมูลกับสังคมว่า วันนี้ผู้ป่วยมากขึ้น หมอมีน้อย งานหนัก วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลน เตียงรองรับคนไข้ไม่เพียงพอ มาตรฐานการให้บริการยังต้องพัฒนากันอีกมาก งบบริการจัดการองค์กรเป็นไปด้วยความยากลำบากเราเข้าใจและเห็นใจเป็นอย่างยิ่งเพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ และยอมรับว่าด้วยงานที่หนักมากทำให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างจำนวนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่มาขอรับเงินชดเชย ตามมาตรา 41 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2552 (ผู้ไม่รู้สิทธิยังมีอีกมาก)จำนวน 810 ราย ผ่านเกณฑ์ช่วยเหลือ 660 รายไม่ผ่าน 150 ราย(เป็นไปตามอาการของโรค)เสียชีวิต 340 ราย พิการ 97 ราย เจ็บป่วยต่อเนื่อง 219 ราย สปสช.จ่ายเงินชดเชยไปทั้งสิ้น 73 ล้านบาท(ยังไม่รวมประกันสังคมและราชการ)   นี่คือตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีคนตายมากกว่าประเทศที่ทำสงครามอีก(อนิจจาระบบสาธารณสุขที่รักษาคนไทย)แต่อีกมุมหนึ่งในประเทศเดียวกัน เราก็เจรจาการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ โชว์สรรพคุณ คุณภาพมาตรฐานการบริสาธารณสุขที่โดดเด่นเป็นสากลไม่น้อยหน้าประเทศใดๆ ภายใต้ชื่อเมดดิคอลฮับ(ศูนย์กลางทางการแพทย์สากล) เกิดธุรกิจการแพทย์ ที่มีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วยจากต่างประเทศ คุณภาพมาตรฐานการรักษาระดับ 5 ดาว ที่เจริญเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด มีการนำโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อปั่นมูลค่ากันมากมาย ถึงขนาดบางมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรการแพทย์นานาชาติ เพื่อรองรับธุรกิจดังกล่าว จนเกิดเสียงเพรียกร้องจากประชาชน ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัย ผลิตแพทย์มารักษาคนไทยให้เพียงพอก่อน แล้วค่อยคิดถึงคนต่างชาติ แต่หานำพาไม่จนมีคำถามที่ถามทีเล่นทีจริงว่าหากมีคนไทย(คนจน) กับคนต่างประเทศที่เจ็บเจียนตายเหมือนกัน โรงพยาบาลเอกชนจะเลือกรักษาใคร ? เออ..เนาะใครรู้ช่วยตอบหน่อยซิ กี่รัฐบาลมาแล้วที่ปล่อยปละละเลย..เรื่องนี้ แล้วสังคมไทยจะโทษหมอหรือบุคลากรทางการแพทย์ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้เพราะคุณหมอก็ต้องทำงานบนข้อจำกัดมากมายเราอยากบอกคุณหมอดังๆ ว่าเราอยู่ข้างคุณหมอนะ เราเข้าใจความรู้สึกของคุณหมอ และเราก็เข้าใจความรู้สึกของผู้เสียหายเช่นกัน ก็ไม่รู้ว่าจะฝากเรื่องนี้ไว้ที่ใครดี คงต้องฝากคณะทำงานที่มีหน้าที่ปฏิรูปชุดต่างๆ ช่วยปฏิรูปเรื่องนี้ด้วย ไม่อย่างนั้นอาจต้องเขียนป้ายใหญ่ๆ ปิดไว้หน้าโรงพยาบาลว่า “การเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนี้มีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการเข้ารับการรักษา” ดีมั้ยท่านนา....ยกกกกก....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 กระแสต่างแดน

ป่วยเลือกได้วันนี้คนอเมริกันมีเว็บไซต์ที่พวกเขาสามารถค้นหาและเลือกศัลยแพทย์สำหรับการผ่าตัดชนิดไม่เร่งด่วนแล้ว เว็บ SurgeonRating.org จัดอันดับศัลยแพทย์ 50,000 คนในอเมริกา โดยใช้ข้อมูลของโครงการสิทธิประโยชน์เมดิแคร์ในปีพ.ศ. 2552 – 2556  แพทย์และนักสถิติจะเป็นผู้จัดอันดับโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ เช่น อัตราการเสียชีวิต อาการของผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด และผลการประเมินโดยแพทย์อื่นๆ  ผู้ที่ต้องการค้นหาว่าควรเข้ารับการผ่าตัดจากแพทย์ท่านไหนสำหรับอาการเจ็บป่วยของตนเอง สามารถเข้าไปที่เว็บนี้ พิมพ์รหัสไปรษณีย์ลงไป แล้วเลือกประเภทการผ่าตัด (ณ ปัจจุบันมีให้เลือก 14 ประเภท เช่น ผ่าตัดเข่า ผ่าตัดสะโพก หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น) ระบบก็จะขึ้นชื่อแพทย์มาให้เลือกศัลยแพทย์ที่ไม่มีชื่อในระบบคือกลุ่มที่ยังมีประวัติการรักษาในระบบเมดิแคร์ไม่มากพอ หรือไม่ก็ได้คะแนนประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยส่วนเว็บ SurgeonScorecard จะประเมินศัลยแพทย์ 17,000 คนที่เคยทำการผ่าตัดชนิดไม่เร่งด่วนที่นิยมกันมากที่สุด 8 ประเภท โดยใช้ข้อมูลของเมดิแคร์เช่นกัน (จากปีพ.ศ. 2552 – 2557) โดยผู้ป่วยสามารถค้นหาจากรัฐ โรงพยาบาล หรือชื่อศัลยแพทย์ได้เลย แพทย์ 24 คนและทีมงานของเว็บไซต์จะเป็นผู้จัดอันดับ โดยใช้ข้อมูลอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด (กรณีผู้ป่วยกลับเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลอีกครั้งภายใน 30 วัน) แต่เขาจะตัดกรณีที่คนไข้ป่วยหนัก มีความเสี่ยงสูง อายุมาก สุขภาพไม่ดี หรือโรงพยาบาลมีผลการดำเนินงานต่ำออกไปแต่กว่าจะได้ข้อมูลมาใช้ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี  เมื่อปีพ.ศ. 2552 องค์กร Center for the Study of Services/Consumers’ Checkbook (ผู้อยู่เบื้องหลังเว็บ SurgeonRating.Org) ฟ้องศาลเพื่อขอสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสถิติการผ่าตัดของแพทย์ แต่เขาเพิ่งจะได้ข้อมูลครบสมบูรณ์ในเดือนตุลาคม ปีที่แล้วนี่เอง    ร็อคไม่ดีมีคืนคณะกรรมการตัดสินข้อพิพาทระหว่างผู้ประการกับผู้บริโภคของฟินแลนด์ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากแฟนเพลงที่ซื้อตั๋วไปดูคอนเสิร์ตของชัค เบอรี่ ที่เมืองเฮลซิงกิ เมื่อสองปีก่อน แฟนเพลงระบุว่าตำนานร็อคแอนด์โรลในวัย 89 ปี ดูเหมือนจะยืนเล่นกีตาร์แทบไม่ไหว เจ้าตัวก็ออกปากขอโทษกับแฟนๆ กลางเวทีเรื่องสภาพร่างกายของตัวเอง เรียกว่าคอนเสิร์ตวันนั้นค่อนข้างกร่อย    คณะกรรมการฯ ตัดสินว่า เมื่อศิลปินทำการแสดงไม่ได้ตามมาตรฐานที่คาดหวัง แฟนเพลงที่เสียเงินเข้าชมก็มีสิทธิขอเงินคืนได้ครึ่งหนึ่งของราคาตั๋วที่จ่ายไป แต่นั่นต้องเป็นความเห็นร่วมกันของแฟนเพลงนะ ไม่ได้หมายความว่า ถ้าคุณไปดูคอนเสิร์ตแล้วรู้สึกหงุดหงิดไม่ชอบอยู่คนเดียวก็จะไปขอเงินคืนได้ถ้ายังจำกันได้ เมื่อ 7 ปีก่อน ศิลปินร็อครุ่นใหญ่อย่าง นีล ยัง ก็ประกาศคืนเงินให้แฟนเพลง 11,000 คนที่ผิดหวังจากการมาดูคอนเสิร์ตของเขาที่โอไฮโอ เพราะเขารู้ตัวดีว่าเสียงแหบ ร้องไม่ดี และผู้คนพากันทยอยเดินออกตั้งแต่คอนเสิร์ตยังไม่จบ  รอกันอีกนิดนึง ข่าวดี! การรถไฟฝรั่งเศส (SNCF) สั่งซื้อรถไฟที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มาวิ่งในเส้นทางสาย TER เลียบชายหาดริเวียร่า เพื่อรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่เดินทางระหว่างฝรั่งเศสและอิตาลี ปัจจุบันมีถึงวันละ 130,000 คนเดือนกรกฎาคม บริษัทบอมบาเดียร์ผู้รับสัมปทานได้ส่งมอบรถไฟรุ่น Regio 2N ที่รองรับผู้โดยสารได้ขบวนละ 1,000 คน เรียบร้อยแล้ว แต่ข่าวร้ายคือ ขณะนี้รถไฟขบวนดังกล่าวยังคงสิ้นสุดเส้นทางที่เมือง Menton ของฝรั่งเศสเท่านั้น เพราะอะไรน่ะหรือ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น Nice Matin ออกมาเปิดเผยว่าเป็นเพราะรถไฟใหม่นี้มันสูงเกินกว่าที่ควรไปประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จึงไม่สามารถลอดอุโมงค์จากฝรั่งเศสเข้าไปถึงอิตาลีได้ปัญหาแนวนี้ไม่ได้เพิ่งเคยเกิดขึ้นกับ SNCF หรอกนะ ปีที่แล้วเขาก็ต้องใช้งบประมาณถึง 50 ล้านยูโร (ประมาณ 1,859 ล้านบาท) เพื่อขยายชานชาลากว่า 1,300 แห่ง หลังจากพบว่ามันแคบเกินไปสำหรับรถไฟที่สั่งมาใหม่จำนวนหลายร้อยตู้ ข่าวไม่ได้บอกว่าปัญหาตัวรถสูงไปนี้จะต้องใช้งบในการแก้ไขเท่าไร บอกแต่ว่าใครที่รอจะขึ้นสายนี้เต็มเส้นทางก็ต้องรอถึงเดือนพฤศจิกานะจ๊ะ ... ขอเวลาขูดเพดานอุโมงค์แพ้บ!! เพิ่ม 20 ลด 20นักวิจัยนิวซีแลนด์พบว่า การเพิ่มภาษีอาหารที่มันหรือเค็มเกินพิกัดขึ้นร้อยละ 20 พร้อมๆ กับการลดภาษีผัก/ผลไม้ลงร้อยละ 20 จะสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้ปีละ 2,400 คน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยโอทาโก้ มหาวิทยาลัยโอ๊คแลนด์ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ค้นพบว่าสูตรเพิ่ม 20 ลด 20 นี้จะทำให้คนเลือกซื้ออาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น พวกเขาใช้ข้อมูลจาก Statistics NZ มาเป็นฐานในการจำลองเรื่องราคา ปริมาณการซื้อ และอัตราการตายจากหัวใจวาย โรคเบาหวาน หรือมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับนิสัยการกินสิ่งที่พบคือ อัตราการตายโดยรวมจะลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อราคาอาหารกลุ่มที่มีเกลือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และอัตราดังกล่าวจะลดลงร้อยละ 5 เมื่อราคาอาหารในกลุ่มที่มีไขมันสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในขณะเดียวกัน ถ้าลดราคาผัก/ผลไม้ลงร้อยละ 20 อัตราการตายจะลดลงไปอีกร้อยละ 1.9   คุณอาจสงสัยว่าทำไมเขาไม่พูดถึงเรื่องภาษีน้ำตาล คำตอบคือข้อมูลที่ไม่ยังไม่เพียงพอจะนำมาสร้างแบบจำลองได้นั่นเอง   รับประกันสอบตกใครๆ ก็พูดถึงไอเดียสตาร์ทอัพ  นักศึกษาหนุ่ม 3 คนจากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการเงินแห่งเซี่ยงไฮ้ก็เช่นกันเด็กกลุ่มนี้เกิดปิ๊งไอเดียการทำธุรกิจขึ้นมาได้ตอนที่สมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งสอบตก แล้วรำพึงรำพันว่า ... ถ้ามีประกันการสอบตกนี่มันน่าจะดีนะ ว่าแล้วก็พากันรวบรวมข้อมูลอัตราการสอบตกย้อนหลังของเพื่อนๆในรุ่น แล้วพบว่า ... อืม ... ดูถ้าพวกเราคงจะทำธุรกิจได้ จากนั้นก็เคาะออกมาว่า เขาจะเก็บ “เบี้ยประกัน” จากเพื่อนๆที่สนใจคนละ 5 หยวน (25 บาท) ด้วยเงื่อนไขว่าพวกเขาจะได้รับเงินชดเชย 30 หยวน (150 หยวน) ถ้าสอบไม่ผ่าน แต่ถ้าพวกเขาทำคะแนนได้มากกว่าร้อยละ 90 ก็จะได้เงินไป 20 หยวน (100 บาท) เช่นกันไอเดียนี้ได้รับความสนใจพอสมควร ขนาดเริ่มเมื่อปลายเดือนมิถุนายน ยังมีเพื่อนนักศึกษาสนใจ “ทำประกันภัยสอบตก” ถึง 150 คน เขาบอกว่าถ้าเริ่มธุรกิจก่อนสอบปลายภาค จะมีคนสนใจมากกว่านี้อีกพวกเขาคิดจะตั้งบริษัททำธุรกิจนี้เต็มรูปแบบ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายให้ความเห็นว่า แบบนี้ทำเล่นๆ ก็พอได้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจจริงๆขึ้นมาก็ต้องมีหน่วยงาน มีกฎหมายเข้ามาควบคุมเพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจถูกหลอกกันได้ทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับการประกัน เดี๋ยวจะพาลกลุ้มใจเสียดายเงินจนสอบไม่ผ่านกันหมดนะจ๊ะเด็กๆ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 กระแสต่างแดน

ความสะดวกต้องมาก่อน? พาคุณผู้อ่านไปดูสถานการณ์รถโดยสารสาธารณะในจีนกันบ้าง ข่าวว่ามีอุบัติเหตุบ่อยไม่แพ้ที่เมืองไทย แต่มันประหลาดกว่าตรงที่เราเลือกเดินทางกับรถทัวร์เพราะมันถูก แต่คนจีนเขานิยมเดินทางด้วยรถทัวร์กันมากที่สุดทั้งๆที่ตั๋วรถทัวร์แพงกว่าตั๋วรถไฟด้วยซ้ำ เหตุเพราะเวลาของรถทัวร์มันช่างเหมาะกับการใช้ชีวิตเสียจริงๆนะพี่น้อง ไม่ว่าจะมาทำงานหรือมาซื้อของไปขาย ตัวอย่างเช่น รถทัวร์ระหว่างลินเฮกับปักกิ่ง มีให้ขึ้นกันทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยค่าโดยสาร 250 หยวน ( ตั๋วรถไฟ ราคาเพียง 150 หยวน เท่านั้น) บรรดาพ่อค้าแม่ขายมาจะถึงปักกิ่งประมาณเที่ยง แล้วเดินจากสถานีขนส่งเข้าตลาดไปหาซื้อของได้เลย ได้ของครบก็กลับมาขึ้นรถที่ออกตอน 16.30 น. กลับบ้านสบายใจเฉิบ แถมบนรถยังมีพื้นให้วางของอีกด้วย ลืมบอกไปว่ารถโดยสารส่วนหนึ่งของที่นี่เขาเป็นรถนอน สองชั้น ขนาด 30 เตียง ส่วนใหญ่พาผู้โดยสารข้ามเมืองผ่านเส้นทางคดเคี้ยว มือใหม่หัดนั่งก็อาจจะนอนไม่ค่อยหลับ แต่หลายคนที่ใช้บริการอยู่บอกเดี๋ยวก็ชิน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับรถโดยสารสองชั้น 13 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 252 คน สาเหตุหลักมากจากโครงสร้างตัวรถและอาการหลับในของพนักงานขับรถนั่นเอง ทางการเขามีกฎให้เปลี่ยนคนขับทุก 4 ชั่วโมง แต่ความเป็นจริงก็อย่างที่เรารู้ๆกัน ยิ่งช่วงเทศกาลด้วยแล้วยิ่งเป็นโอกาสทองที่คนขับเขาจะทำเงิน มีรายหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่าถ้าสภาพร่างกายเขาอึดพอ เขาจะสามารถหาเงินได้ ถึง 20,000 หยวน ซึ่งเท่ากับเงินที่หาได้จากการทำงาน 11 เดือนเลยทีเดียว รัฐบาลเขาก็พยายามอย่างยิ่งที่จะลดอุบัติเหตุ ตั้งแต่การบังคับติดกล้องวงจรปิดบนรถ และห้ามรถวิ่งในระหว่างเวลาตี 2 ถึง ตี 5 (ซึ่งจากสถิติแล้วเป็นเวลาที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด) ไปจนถึงการสั่งเลิกผลิตรถสองชั้นพวกนี้ และไม่รับต่อทะเบียน ขอแสดงความเสียใจกับคนที่อยากไปทดลองขึ้น ลองแสวงหาความตื่นเต้นกันด้วยวิธีอื่นไปก่อนแล้วกัน     เวียดนามอัพเกรดกฎหมายโฆษณา กลับมาที่เพื่อนบ้านใกล้ตัว กฎหมายโฆษณาของเวียดนามฉบับปรับปรุงใหม่ที่จะมีผลวันที่ 1 มกราคมปีหน้า เขาอนุญาตให้สื่อสิ่งพิมพ์เพิ่มหน้าโฆษณาได้ และให้วิทยุ/โทรทัศน์มีโฆษณาได้ร้อยละ 10 ของเวลาออกอากาศ (มากกว่ากฎหมายเดิมซึ่งอนุญาตเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น) ประมาณการณ์ได้ว่าผู้ผลิตจะต้องมีเฮ ... แต่เดี๋ยวก่อน เขาระบุไว้ด้วยว่า ทั้งเจ้าของผลิตภัณฑ์และบริษัทโฆษณาจะต้องร่วมกันรับผิดชอบถ้าโฆษณาดังกล่าวมีข้อมูลอันเป็นเท็จ ค่าปรับตามกฎหมายใหม่นั้น มากกว่าเดิมถึง 5 เท่า ใครลงโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค ท่านก็มีสิทธิถูกปรับถึง 200 ล้านดอง (เกือบสามแสนบาท) ผู้ชมโทรทัศน์บอกว่าโฆษณาทุกวันนี้ ไม่ไหวจะดู แถมยังโผล่มาไม่เป็นเวล่ำเวลาอีกด้วย เห็นบอกว่าดูละครเรื่องหนึ่ง ต้องเจอกับโฆษณาแทรกถึง 4 ครั้ง (นี่แสดงว่ายังไม่เคยดูละครไทยกันล่ะสิ) สื่อเวียดนามเขายังมีข้อสงสัย ว่าผู้บริโภคชาวเวียดนามรู้สึกมั่นใจขึ้นว่าตัวเองจะปลอดภัยจากโฆษณาหลอกลวงเหล่านี้จริงหรือไม่? ใครจะเป็นผู้รับรองคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์? ใครจะเป็นผู้คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเวลาที่ผู้ประกอบการเผยแพร่ข้อมูลผิดๆในโฆษณา? ข่าวเขายกตัวอย่าง การเสียชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งจากการเข้าไปรับบริการที่มาเรีย คลินิก ซึ่ง โฆษณาว่าเป็นหนึ่งในคลินิกที่ดีที่สุดของเวียดนาม หรือโฆษณาหมวกกันน็อค ที่อ้างว่าได้มาตรฐานความปลอดภัย ที่มาถูกจับได้ในภายหลังว่าเป็นหมวกกันน็อคชนิดที่ใช้สำหรับการขับขี่จักรยานเท่านั้น ผู้ผลิตถูกปรับไปเพียง 27.5 ล้านดอง (ประมาณ 45,000 บาท) ซึ่งเท่ากับเงินเดือนเพียงสองเดือนของคนชั้นกลางในเวียดนามเท่านั้น     ห้าม “อินเตอร์” แค่ชื่อ ขณะที่เรากำลังจะปั้นตัวเองให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ มาเลเซียเขาก็ตั้งธงจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการศึกษาเช่นเดียวกัน เริ่มจากกระทรวงอุดมศึกษาของเขาประกาศเข้มงวดกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอกชน ที่ตั้งชื่อด้วยการใส่คำว่า “นานาชาติ” ว่าต้องมีคุณภาพและมาตรฐานสมระดับ international จริงๆ เขาบอกว่าต่อไปนี้ใครใช้คำที่ว่า ก็แปลว่าต้องมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลด้วย รวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นต้องมีสนามกีฬาทั้งกลางแจ้งและในร่มด้วย จะมามีเฉพาะห้องเรียน ห้องประชุมไม่ได้แล้ว แถมยังบอกว่ากำลังพิจารณาให้มหาวิทยาลัยตามตึกแถว ที่มีคำว่า “นานาชาติ” อยู่ในชื่อ ถอนคำดังกล่าวออกไปด้วย เพราะสถาบันพวกนี้ ตอนที่มาขอจดทะเบียนก็อ้างว่าขอใช้ห้องแถวเพียงชั่วคราว แต่ 15 ปีผ่านไปก็ยังไม่ขยับขยายไปที่อื่น ปัจจุบันมาเลเซียมีมหาวิทยาลัย “นานาชาติ” อยู่ทั้งหมด 109 แห่ง ในกลุ่มนี้เป็น “ห้องแถว” นานาชาติเสีย 48 แห่ง     ขาดแคลนจิตวิญญาณ การสำรวจเมื่อเร็วๆนี้ของกระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมของเวียดนามพบว่า ร้อยละ 20 ของคณะต่างๆในมหาวิทยาลัยที่นั่นยังไม่มีห้องสมุด อันนั้นไม่เท่าไร แต่เขาบอกว่าอีกร้อยละ 80 นั้นมีห้องสมุดก็จริง แต่มันเป็นห้องสมุดที่ช่าง “ขาดจิตวิญญาณ” เสียนี่กระไร จากการสำรวจ 196 คณะในมหาวิทยาลัยของกระทรวงฯ (จากทั้งหมด 392 แห่ง) พบว่ามีเพียง ร้อยละ 80.4 เท่านั้นมีห้องสมุด ในขณะที่มหาวิทยาลัยภายใต้สังกัดกระทรวงอื่น หรือภายใต้สังกัดการปกครองท้องถิ่นนั้น มีสถิติการมีห้องสมุดสูงกว่า นอกจากนี้ยังมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 40 ในกลุ่มนี้ ที่มี “ห้องสมุดอิเล็กทรอนิ กส์” ให้นักศึกษาได้ใช้กัน ผู้บริหารคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยด้านการศึกษาแห่งฮานอย บอกว่านี่แหละคือสถานการณ์ของมหาวิทยาลัยในเวียดนาม ณ ปัจจุบัน แม้แต่ข่าวห้องเรียนหรืออุปกรณ์การศึกษาไม่เพียงพอ ก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลก เขายกตัวอย่างว่า นักศึกษาจำนวน 10,000 คน ของมหาวิทยาลัยด้านธรณีวิทยาและการทำเหมืองก็ต้องใช้ห้องที่เป็นของโรงแรมแห่งหนึ่งเป็นห้องเรียน อาจารย์จากมหาวิทยาลัยด้านการกีฬาแห่งโฮจิมินห์ซิตี้ ก็บอกว่าปัญหาหลักอีกอย่างหนึ่งคือการมีเงินทุนไม่เพียงพอต่อการซื้อที่ดินมาทำสถานศึกษาด้วย     โชว์ห่วยแดนภารตะ  ผู้อ่านฉลาดซื้อคงจะได้ยินข่าวเรื่องรัฐบาลอินเดียยินยอมให้ห้างค้าปลีกข้ามชาติ อย่างวอลมาร์ท ของสหรัฐฯ หรือเทสโกของอังกฤษเข้าไปตั้งสาขาในแดนภารตะที่มีประชากรกว่า 1,200 ล้านคนได้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะโชติช่วงเท่าที่ควร แน่นอนอยู่แล้วว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบ และออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการตัดสินใจ เพราะตามถนนหนทาง ตรอกซอยต่างๆ ที่อินเดียนั้นล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยร้านโชว์ห่วย ที่ถือเป็นกิจการของครอบครัว สืบทอดกันมากจากรุ่นสู่รุ่น ข้อมูลของสหพันธ์ผู้ค้าแห่งอินเดีย ระบุว่ามีร้านค้าประเภทนี้กว่า 50 ล้านแห่ง และมีผู้คนกว่า 220 ล้านคนที่การทำมาหากินของพวกเขาต้องพึ่งพาร้านเหล่านี้ คนกลุ่มนี้จึงเป็นฐานเสียงขนาดใหญ่ทีเดียว ต้องจับตาดูกันว่ารัฐบาลเขาจะเลือกอย่างไร แม้นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งจะมองว่า สังคมอินเดียน่าจะไม่ถูกผลกระทบจากการมีห้างเหล่านี้ซึ่งคาดว่าต้องออกไปตั้งอยู่ตามชานเมือง ในขณะที่ร้านโชว์ห่วยดั้งเดิมมีทำเลที่ดีกว่า เข้าถึงได้ง่ายกว่า และมีความสัมพันธ์ที่ดีกว่ากับลูกค้า ข่าวบอกว่ารัฐบาลจำกัดให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เปิดได้เฉพาะในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน (ซึ่งไม่น่าจะหายากนักในอินเดีย) ต้องมีการลงทุนอย่างน้อย 100 ล้านเหรียญสหรัฐ และขายสินค้าที่จากท้องถิ่นอย่างน้อยร้อยละ 30 มาลุ้นกันดูว่าเหตุการณ์จะจบลงคล้ายที่บ้านเราหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กระแสต่างแดน

เบื้องหลังของถูก สถานีโทรทัศน์ NDR ของเยอรมนี เปิดโปงเบื้องหลังที่มาของเสื้อผ้าราคาประหยัดยี่ห้อ KIK ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในยุโรป ว่าเอาเปรียบพนักงานอย่างไม่น่าให้อภัยผู้ชมกว่า 4 ล้านคนในเยอรมนีได้รู้พร้อมๆ กันว่าหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาสามารถซื้อเสื้อยืดได้ในราคา 3 ยูโร(120 บาท) หรือกางเกงขาสั้นในราคา 4 ยูโร(160 บาท) ก็คือการที่บริษัทกดค่าแรงพนักงานให้ต่ำสุดๆ ข่าวบอกว่าพนักงานในเยอรมนีได้ค่าจ้างน้อยกว่า 3 ยูโร ต่อชั่วโมง (เบอร์เกอร์บิ๊กแมคที่นั่นราคาชิ้นละ 4.6 ยูโร)  นี่ยังไม่พูดถึงคนงานในประเทศกำลังพัฒนาที่ทำงานในโรงงานที่ KIK จ้างเป็นผู้ผลิต ที่มีรายได้คิดเป็น 0.5% ของราคาสินค้าเท่านั้น เมื่อเรื่องแดงเสียขนาดนั้น KIK จึงออกมายอมรับผิดและขอโทษต่อสังคม รวมถึงตั้งตำแหน่งผอ.ฝ่ายการสื่อสารคนใหม่ขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ   แต่ถึงกระนั้นการขุดคุ้ยก็ยังดำเนินต่อไป เพื่อพิสูจน์ “ข่าวลือ” ต่างๆ ของ KIK ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเยอรมนีและมีร้านทั่วยุโรปกว่า 3,000 สาขา เขาลือกันว่า KIK ไม่จ้างพนักงานประจำ ไม่มีสัญญาจ้างงาน ไม่มีการตั้งสหภาพแรงงาน อีกทั้งยังมีมาตรการการรับคนเข้าทำงานที่ค่อนข้างอุกอาจ ตั้งแต่การให้ผู้สมัครเปิดเผยข้อมูลเรื่องความเจ็บป่วย ความพิการโดยละเอียด รวมถึงคอยตามเช็คเครดิตพนักงานและถ้าสืบรู้ว่าว่าใครเป็นหนี้ก็จะไล่ออก.. โหดซะ Clean Clothes Campaign องค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการผลิตเสื้อผ้า บอกว่าถ้าดูจากราคาแล้ว มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีการเอาเปรียบแรงงาน เขายืนยันว่า “ราคาต่ำสุดๆ” นั้นไม่ใช่ทางออก และเสนอให้บริษัทหันมาสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคด้วยคุณภาพสินค้าและบริการที่ดีขึ้นดูบ้าง รับรองว่างานนี้วินวินกันทุกฝ่าย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  คนเยอรมันเมินเปย์ทีวี ธุรกิจโทรทัศน์แบบเสียเงินดู ดูเหมือนจะไม่รุ่งในประเทศเยอรมนี เพราะจนป่านนี้บริษัทสกายดอยท์ชแลนด์ ยังคงมียอดสมาชิกไม่ถึงร้อยละ 10 ของครัวเรือนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส  มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นสมาชิกบริการทีวีดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 นักวิเคราะห์เขาบอกว่าน่าจะเป็นเพราะคนเยอรมันรู้สึกว่ามันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของพวกเขาที่จะได้ดูทีวีดีๆ ที่รัฐจะต้องจัดหามาให้ เพราะเก็บค่าธรรมเนียมปีละประมาณ 8,000 บาทไปแล้ว(ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปมีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากผู้มีเครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อที่สถานีจะได้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโฆษณามากเกินไป) คนเยอรมันได้ดูฟรีทีวีถึง 20 ช่อง ในขณะที่อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งมีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวปีละ 7,000 บาท และ 4,600 บาท ตามลำดับ มีทีวีฟรีให้ดูอยู่ไม่เกิน 5 ช่อง ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้สองประเทศนี้มีการตอบรับต่อเปย์ทีวีมากกว่า   สกายดอยท์ชแลนด์ ซึ่งอุตสาห์เปลี่ยนชื่อจาก “พรีเมียร์” มาครั้งหนึ่งแล้ว จึงรู้สึกปวดใจอย่างมากที่ขณะนี้มียอดสมาชิกอยู่เพียง 2.4 ล้านคน และจากการคาดการณ์ที่เข้าข้างตัวเองสุดๆ ก็พบว่าจะยังต้องขาดทุนต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทั้งๆ ที่สถิติเมื่อปลายปี 2008 ระบุว่าเยอรมนีเป็นตลาดเปย์ทีวีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ด้วยฐานลูกค้ากว่า 37 ล้านครัวเรือนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างว่า ถ้ามีของดีให้ดูอยู่แล้วเป็นเราก็คงไม่อยากเสียเงินเพิ่ม เพราะบางทีอุตส่าห์ควักกระเป๋าทุ่มทุนแล้วเราก็ยังอาจต้องมาดูโฆษณาอีกอยู่ดี ... ชิมิ ชิมิ--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ยอมให้ใครเล็กกว่า เพิ่งจะรู้ว่าธุรกิจหมูกระเป๋า หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามไมโครพิก “Micro Pig” นี่เขาก็มีการแข่งขันดุเดือดเหมือนกัน เจ้าหมูน้อยที่มีสนนราคาอยู่ที่ตัวละประมาณ 700 ปอนด์ หรือ 34,000 บาทนี้ เป็นของเล่นสุดฮิพของเหล่าเซเลบทั้งหลาย (ข่าวว่าครอบครัวเบคแฮมนักฟุตบอลคนดังก็เลี้ยง) โฆษณาของบริษัทลิ้ตเติ้ลพิกฟาร์มในนิตยสาร บรรยายสรรพคุณของหมูน้อยจากฟาร์มของตนเองว่าพวกมันเลี้ยงแสนง่าย ตัวเล็กสะดวกพกพาสุดๆ ขนาดไม่เกินแก้วเบียร์ปริมาตรหนึ่งไพนท์ พร้อมกับมีรูปเจ้าหมูกับแก้วเบียร์เปรียบเทียบกันด้วย สมาคมผู้เลี้ยงหมูพันธ์คูนคูนเห็นแล้วรับไม่ได้  ออกมาร้องเรียนต่อองค์การมาตรฐานโฆษณาของอังกฤษว่าโฆษณาดังกล่าวนั้นมันไม่จริ๊งไม่จริง ไม่มีหมูที่ไหนตัวเล็กขนาดนั้น นอกเสียจากมันจะเป็นพันธุ์คูนคูน และหมูของลิ้ตเติ้ลพิกก็ไม่ใช่พันธุ์ที่ว่าเสียด้วย องค์การดังกล่าวตรวจสอบแล้วฟันธงให้แบนโฆษณาที่ว่านั้นทันทีฐานหลอกลวงผู้บริโภค ... ดีนะเนี่ยที่มีตัวจริงเขาออกมายืนยัน ไม่งั้นคงได้เห็นไฮโซอังกฤษพกหมูกระสอบแทนหมูกระเป๋ากันบ้าง  --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เปิดให้หมด ลดเรื่องฟ้อง งานวิจัยของสหรัฐฯ พบว่าการเปิดเผยข้อมูลความผิดพลาดทางการแพทย์นั้น ไม่ได้ทำให้คนไข้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการมีการฟ้องร้องเพิ่มขึ้นอย่างที่ผู้ให้บริการทางการแพทย์กังวล ตรงกันข้าม มันช่วยลดเรื่องร้องเรียนและลดค่าชดเชยลงด้วย นี่คือผลจากการสำรวจระบบสุขภาพของรัฐมิชิแกน ก่อนหน้านี้มิชิแกนก็ใช้ระบบเหมือนที่อื่นทั่วไป คือเมื่อเกิดความเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์ขึ้นผู้เสียหายก็จะเรียกร้องเงินช่วยเหลือหรือชดเชย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ไปฟ้องร้องต่อศาล จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ระบบสุขภาพของมิชิแกนหันมาใช้รูปแบบการจัดการเรื่องนี้ใหม่ โดยเน้นที่การยอมรับความผิดทั้งหมดของแพทย์และโรงพยาบาล มีการขอโทษ และจ่ายค่าชดเชยให้ แนวๆเดียวกับขอนแก่นบ้านเรา งานวิจัยครั้งนี้พบว่าตั้งแต่มีระบบ “เปิดหมด” นั้น จำนวนเรื่องร้องเรียนลดลงไปกว่าครึ่ง การจ่ายค่าชดเชยก็ลดลง และจำนวนเงินชดเชยโดยเฉลี่ยต่อกรณีก็ลดลงจาก 400,000 เหรียญ เหลือ 225,000 เหรียญ ที่สำคัญกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาน้อยกว่าเดิมถึง 5 เดือนเลยทีเดียว ข่าวบอกว่ารัฐอื่นๆ เห็นแล้วเตรียมตัวจะนำไปใช้บ้าง อีกไม่นานมิชิแกนโมเดลคงจะเป็นที่แพร่หลายในอเมริกา--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- อดวันนี้เพื่อวันหน้านักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าในปี ค.ศ. 2050 นั้นประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน และมีงานวิจัย 21 ชิ้น ที่ยืนยันว่าเราไม่มีที่ดินเพียงพอสำหรับการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนจำนวนนั้นอย่างแน่นอน อย่าว่าแต่ในอนาคตเลย ทุกวันนี้ 1 ใน 7 ของประชากรโลกก็ได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว แล้วต้องทำอย่างไร เราถึงจะได้ไปต่อ ... นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าต่อไปคงจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อสัตว์สังเคราะห์ หรือแม้แต่ “เนื้อสัตว์นาโน” ขึ้นมา เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านั้นจะต้องไม่เป็นพิษภัยต่อโลก และการผลิตอาหารจะต้องไม่ถูกผูกขาดโดยบรรษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่เจ้าแบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ นั่นเป็นเรื่องของอนาคต แต่สิ่งที่เขาอยากให้ช่วยกันลงมือทำเดี๋ยวนี้คือการลดขยะอาหารลงให้ได้ร้อยละ 30 เอ้าพี่น้องครับ บ้านใครบ้านมันลงมือได้เลย---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 กระแสต่างแดน

แดดไม่แจ่ม เราจ่าย บริษัททัวร์หัวใสในประเทศฝรั่งเศสมีโปรโมชั่นใหม่มาเอาใจลูกค้าที่นิยมสายลมแสงแดด คือถ้าคุณซื้อทัวร์ของบริษัท Pierre et Vacances หรือ FranceLoc ไป แล้วต้องขาดโอกาสในการอาบแดดเพราะไปติดฝนอยู่ไม่ต่ำกว่า 4 วันต่อหนึ่งสัปดาห์ บริษัทจะรับผิดชอบด้วยการจ่ายเงินคืนให้ด้วยวงเงินประกันสูงสุด 400 ยูโร (ประมาณ 20,000 บาท) คุณอาจสงสัยว่าแล้วจะพิสูจน์กันยังไง ถ่ายรูปตัวเองตอนเปียกปอนเพราะสายฝนแล้วส่งไปให้บริษัทดูอย่างนั้นหรือ ข่าวบอกว่านักท่องเที่ยวไม่ต้องทำอะไร บริษัทจะเป็นฝ่ายส่งอีเมล์หรือเอสเอ็มเอสไปหาเองถ้าเขาตรวจสอบข้อมูลกับรูปถ่ายจากดาวเทียมของกรมอุตุของฝรั่งเศสแล้วว่ามีฝนตกจริงๆ ในสถานที่ที่ลูกค้าซื้อทัวร์ไป จากนั้นก็จะส่งเช็คมาให้ภายใน 3 วันหลังจากลูกค้ากลับถึงบ้าน เงินที่จะคืนให้กับลูกค้าแต่ละรายนั้นเขาจะดูตามปริมาณฝนที่ต้องเผชิญด้วย (สงสัยว่าคนที่จะได้ 400 ยูโรเต็มๆ นี่คงจะเป็นพวกที่ต้องหลบฝนอยู่ในโรงแรมทั้ง 7 วันเลยแน่ๆ) ไอเดียนี้ ททท. สนใจจะนำมาใช้โปรโมทการชวนคนไทยเที่ยวไทยบ้างก็น่าจะดี ว่าแต่จะประกันเรื่องอะไรดี เราก็ไม่ใช่ชนชาติที่นิยมแสงแดดเหมือนเขาเสียด้วย คิวบา ประกาศรัดเข็มขัด ประธานาธิบดี ราอูล คาร์ลอส ของคิวบาบอกกับประชาชนว่า ขณะนี้ประเทศกำลังอยู่ในช่วงวิกฤติขั้นรุนแรง ขอให้ทุกคนขยันกันให้มากขึ้น และเตรียมพร้อมกับการรัดเข็มขัดระดับชาติกันได้แล้ว ฤดูร้อนปีที่ผ่านมา คิวบาก็เผชิญกับพายุเฮอริเคนถึงสามครั้ง เป็นความเสียหายทั้งหมดกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจนถึงวันนี้ก็ยังซ่อมบ้านของประชาชนไปได้เพียงร้อยละ 43 ของบ้านที่เสียหายทั้งหมดจำนวน 260,000 หลัง ที่สำคัญคิวบาสูญเสียเสบียงอาหารและสินค้าเกษตรที่รัฐบาลเก็บตุนไว้เพื่อประกันราคาด้วย เมื่อต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คิวบาซึ่งประชากรแทบทุกคนเป็นลูกจ้างของรัฐ ด้วยเงินเดือนเฉลี่ยต่อหัวประมาณ 20 เหรียญ (ประมาณ 700 บาท) ได้ประกาศยกเลิกอาหารกลางวันเอื้ออาทรที่เคยมีไว้บริการพนักงานในโรงงานแล้ว และตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นมา คิวบา (ซึ่งผลิตน้ำมันเองได้ และยังได้ใช้น้ำมันฟรีจากเวเนซูเอล่า) ก็ประกาศนโยบายประหยัดพลังงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนลดรายจ่ายของประเทศลงให้ได้ร้อยละ 6 ด้วย เดี๋ยวนี้รัฐประกาศให้ข้าราชการมาทำงานแค่ 8 โมงเช้า ถึง 3 โมงเย็นเท่านั้น บางแห่งให้มาทำอาทิตย์ละ 2 วัน ที่สำคัญที่ทำการรัฐหลายๆ แห่งก็ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศด้วย ข่าวบอกว่าโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายลดการใช้พลังงานไปแล้วได้แก่ โรงงานผลิตยางรถยนต์ และโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากนมวัว ช่วงนี้ยางรถยนต์ที่คิวบาขาดตลาด ในขณะที่โยเกิร์ตในเมืองหลวงฮาวาน่านั้น กลายเป็นของหายากและราคาแพงลิบลิ่ว มีขายเฉพาะในห้างหรูๆ หรือแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น คนคิวบาตาดำๆ ไม่สามารถซื้อหามากินได้ แบนร้านฟาสต์ฟู้ด อีกไม่นานนิวยอร์คอาจมีประกาศห้ามเปิดร้านฟาส์ตฟู้ดในระยะ 1.6 กิโลเมตรจากที่ตั้งของโรงเรียนรัฐกระแสการตื่นตัวเรื่องโรคอ้วนในเด็กกับอาหารฟาสต์ฟู้ด ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มธุรกิจร้านอาหารฟาส์ต์ฟู้ดรายใหญ่ได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น แมคโดนัลด์ หรือเบอร์เกอร์ คิง และบริษัทฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาอีก 13 ราย (ในกลุ่มนี้ไม่มี เคเอฟซี พิซซ่าฮัท เอแอนด์ดับบลิว และทาโก้ เบลล์) ได้ทำข้อตกลงร่วมกันว่า จะต้องมีข้อความที่พูดถึงอาหารที่ดีต่อร่างกายอย่างน้อยครึ่งหนึ่งในโฆษณาที่มีเป้าหมายเป็นเด็ก ลดการใช้ตัวการ์ตูนที่เด็กๆ รู้จัก และไม่ทำการโฆษณาในเขตโรงเรียน อย่างไรก็ตามกลุ่มที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้ยังเป็นห่วงว่า มาตรการต่างๆ นั้นอาจไม่เป็นผลเมื่อบริษัทเหล่านี้ก็จะยังคงเปิดสาขาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับลูกค้าเด็กๆ ในบริเวณที่ใกล้กับสถานศึกษา เพิ่มขึ้นทุกวัน จากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระบุว่า เด็กแคลิฟอร์เนียที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่มีร้านเบอร์เกอร์และเฟรนช์ฟรายส์ อยู่ใกล้ๆ นั้นมีอัตราการเป็นโรคอ้วนสูงกว่าเด็กจากที่อื่นๆ ร้อยละ 5.2 เจนนิเฟอร์ แฮริส นักวิชาการด้านโรคอ้วนและนโยบายด้านอาหารจากมหาวิทยาลัยเยล บอกว่าความพยายามของผู้ประกอบการนั้นยังไม่อาจนับเป็นอะไรได้ สิ่งที่ควรจะมีขึ้นคือการใช้กฎหมายเพื่อจำกัดการเข้าถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดไปเลย เหมือนอย่างที่ทำกับสินค้าอย่างบุหรี่หรือเหล้านั่นเอง ว่าแล้ว เอริค โจยา สมาชิกสภาเมืองนิวยอร์ค ก็เตรียมยื่นร่างกฎหมายที่ห้ามเปิดกิจการร้านฟาสต์ฟู้ดในระยะ 1.6 กิโลเมตรจากโรงเรียนไปเสียเลย เขาบอกว่าถึงบรรดาพ่อแม่จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการเลือกรับประทานอาหารของลูก แต่รัฐเองก็มีหน้าที่รับผิดชอบในการช่วยให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพดีขึ้นด้วยเช่นกัน รถมือสอง ... เรื่องร้องเรียนอันดับหนึ่งของคนอังกฤษ คอนซูเมอร์ ไดเร็ค หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ ออกมาแถลงสถิติจำนวนเรื่องร้องเรียนว่าปัญหาที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามามากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 ได้แก่ ปัญหาจากการซื้อรถมือสองนั่นเอง โดยมีกรณีร้องเรียนทั้งหมด 24,672 กรณี จากทั้งหมด 414,000 กรณีส่วนอันดับสองได้แก่ สัญญาการใช้โทรศัพท์มือถือ อันดับสามคือโทรทัศน์ และตามด้วยโทรศัพท์มือถือ (หมายถึงตัวเครื่อง) โดยรวมแล้วปีนี้มีคนร้องเรียนน้อยลงร้อยละ 3 โดยถ้าแยกแยะเป็นประเด็นแล้วหนึ่งในสามของเรื่องร้องเรียนเหล่านั้น เป็นเรื่องของสินค้าชำรุด บกพร่อง ในขณะที่หนึ่งในสี่เป็นการได้รับบริการที่ไม่ดีจากร้านหรือจากพนักงานขาย อังกฤษมีการใช้ พรบ.การขายสินค้า ค.ศ. 1979 ที่ระบุว่า ถ้าของที่เราซื้อมามีความบกพร่อง ทางร้านจะต้องรับผิดชอบด้วยการคืนเงินหรือซ่อมหรือเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ให้ แต่ถ้าความบกพร่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการใช้งานโดยผู้บริโภคแล้ว ถ้ายังอยู่ในช่วงหกเดือนแรกหลังการซื้อ ทางร้านจะต้องรับภาระการพิสูจน์ข้อบกพร่องดังกล่าว แต่ถ้าหกเดือนผ่านไปภาระการพิสูจน์จะเป็นของผู้บริโภค จองได้ ไม่ต้องจ่ายเพิ่งรู้เหมือนกันว่าที่ประเทศจีนนั้นจะพบแพทย์กันครั้งหนึ่งเราต้องไปเข้าคิวขอนัดหมอ และการเข้าคิวอย่างเดียวก็ใช้เวลาหลายชั่วโมงแล้ว ที่เพิ่งจะรู้อีกอย่างหนึ่งคือคนจีนที่เบื่อรอ เขานิยม (หรือจำเป็นก็ไม่แน่ใจ) ไปเสียเงินใช้บริการของตัวแทนรับจองนัดพบแพทย์อย่าง www.91985.com เป็นต้น ข่าวไม่ได้บอกว่าค่าบริการครั้งละเท่าไร แต่คงไม่สำคัญแล้วเพราะกระทรวงสาธารณสุขของจีนซึ่งอยู่ในระหว่างการปฎิรูปบริการสาธารณสุขมีแผนจะห้ามโรงพยาบาลใช้บริการจากตัวแทนดังกล่าว แล้วบังคับให้โรงพยาบาลเหล่านั้นให้บริการรับนัดฟรีให้กับประชาชนด้วยตนเอง ขณะนี้แผนการดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาและมีการเปิดให้ประชาชนเข้าไปแสดงความเห็นได้ในเว็บไซต์ของกระทรวงฯ โรงพยาบาลใหญ่ๆ อย่างโรงพยาบาลรุยจินและโรงพยาบาลหัวซานได้ประกาศยกเลิกการรับนัดผ่านตัวแทน www.91985.com ไปแล้ว และทางตัวแทนดังกล่าวก็บอกว่าจะเปลี่ยนไปทำธุรกิจขายข้อมูลด้านสุขภาพแทน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 คุณจะใช้สิทธิการตายได้อย่างไร

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้นในปัจจุบันก็เปรียบเหมือนกับเหรียญที่มี 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือ ความสามารถในการช่วยเหลือชีวิตของมนุษย์ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ แล้วกลับมาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ไว้บนโลกนี้ต่อไปได้อีกจนกว่าวาระสุดท้ายของชีวิตจะเวียนมาถึง ส่วนอีกด้านหนึ่งของเหรียญ “ความก้าวหน้าทางการแพทย์” กลับกลายเป็นสิ่งที่ “เกินความจำเป็น” เพราะไม่ว่าจะประโคมใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เพียงใด แต่ความตายก็มาเยือนในเวลาอันใกล้ ดังนั้นแล้ว หากเมื่อฝ่ายหนึ่งอยากจะจากไปอย่างสงบ แต่ฟากผู้รักษาชีวิตและญาติอาจยังทำใจไม่ได้ สิ่งที่น่าจะเป็นทางออกอาจจะอยู่ที่ หนังสือแสดงเจตนาหรือสิทธิในการเลือกที่จะตายของผู้ป่วย บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาเพื่อยืดการตายนางนิรชา อัศวธีรากุล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสิทธิและสร้างสังคมสุขภาวะ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า จากภาวะก้ำกึ่งระหว่างความเป็นความตาย ประกอบกับการที่สังคมไทยกำลังย่างเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ แต่ยังไม่มีระบบในการดูแลคนเหล่านี้ในวาระสุดท้ายได้อย่างเป็นระบบเช่นนี้ นำมาสู่การยกร่าง มาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่ให้สิทธิทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยได้ตัดสินใจเอาเองว่าจะยินดีให้แพทย์ประโคมเทคโนโลยีเพื่อยื้อชีวิต หรือขอใช้สิทธิเลือก “ตายอย่างสงบ”  สาระสำคัญของมาตรา 12 ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจาการเจ็บป่วย และเพื่อเป็นการขยายวิธีปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจึงได้มีการออกกฎกระทรวง กำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการ สาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553   นิยามของคำว่า “วาระสุดท้าย” ที่สามารถขอใช้สิทธิปฏิเสธการรักษา คือ ภาวะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอันเกิดจากการบาดเจ็บหรือโรคที่ไม่อาจรักษาให้หายได้และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้รับผิดชอบการรักษาได้วินิจฉัยจากการ พยากรณ์โรคตามมาตรฐานทางการแพทย์ว่าภาวะนั้นนำไปสู่การตายอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ในระยะเวลาอันใกล้จะถึง และให้หมายความรวมถึงภาวะที่มีการสูญเสียหน้าที่อย่างถาวรของเปลือกสมองใหญ่ ที่ทำให้ขาดความสามารถในการรับรู้และติดต่อสื่อสารอย่างถาวรโดยปราศจาก พฤติกรรมการตอบสนองใดใดที่แสดงถึงการรับรู้ได้จะมีเพียงปฏิกิริยาสนองตอบอัตโนมัติเท่านั้น แพทย์จะมีความผิดหรือไม่ หากทำตามเจตนาของผู้ป่วย “วาระสุดท้ายของชีวิตนั้นสามารถพิสูจน์ได้ เพราะสภาพร่างกายของผู้ป่วยจะเป็นตัวบ่งบอก เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปกังวลอย่างอื่น หรือคิดไปในทางที่ไม่ดี เรื่องนี้สามารถพิสูจน์ได้อยู่แล้ว และตามกฎหมายระบุว่าบุคลากรทางด้านสาธารณสุข คือแพทย์ พยาบาล คนที่เกี่ยวข้องหากปฏิบัติตามหนังสือแสดดงเจตนานี้แล้วไม่ถือว่าเป็นความผิด ให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”  นางนิรชา อัศวธีรากุล กล่าวยืนยัน อย่างไรก็ตาม เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตมาถึงจริงๆ แพทย์ต้องดูว่าผู้ป่วยนั้นมีสติสัมปชัญญะหรือไม่ หากผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ตามปกติ แพทย์เจ้าของไข้ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยที่ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ได้ทราบถึงภาวะและความเป็นไปของโรคในขณะนั้นเพื่อยืนยันความประสงค์ที่จะปฏิเสธการรักษาหรือไม่ แต่ถ้าผู้ป่วยที่ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ไม่มีสติสัมปชัญญะดีพอที่จะสื่อสารได้ตามปกติ ก็ต้องแจ้งกับบุคคลที่ 3 อาทิ ญาติของผู้ป่วยเพื่อแจ้งให้ทราบถึงภาวะของโรค และแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการตามเจตนารมณ์ของผู้ป่วยก่อนจะปฏิบัติตามคำสั่งในหนังสือ “บางคนที่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์สักวันหนึ่งญาติของตัวเองอาจจะฟื้นขึ้นมาหลังจาก นอนโดยไม่รับรู้อะไรมาสักระยะ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของญาติที่ต้องคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าใจตรงกัน บางคนพอคุยไปคุยมาก็ยอมทำตามความประสงค์ บางคนก็ฝืนคำสั่งก็มี แต่เมื่อยื้อไปสักพักแล้วเห็นว่าไม่สามารถยื้อได้อีกก็เลยกลับมาใช้แนวทาง ที่ผู้ป่วยแสดงเจตจำนงเอาไว้ ดังนั้นการตามความประสงค์ของผู้ที่ทำหนังสือแสดงเจตจำนงเอาไว้ ประกอบกับความเห็นทางการแพทย์ยืนยันว่าเป็นวาระสุดท้ายแล้วก็ปล่อยให้ ตายอย่างสงบเพื่อที่อย่างน้อยผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องเจ็บปวดกับการใช้สารพัด เครื่องช่วยชีวิต” ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสิทธิ ระบุว่า “อย่างที่บอกว่าเนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ไปมาก และแพทย์หลายๆ คนยังมีความกังวลว่ากฎหมายดังกล่าวสามารถใช้ได้จริงๆ หรือไม่ จึงมีการฟ้องร้องกฎกระทรวง ว่าเนื้อหาหรือคู่มือในการปฏิบัติตามมาตรา 12 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื้อหาสาระที่ไม่ถูกต้อง ขาดการมีส่วนร่วมมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จึงได้มีการต่อสู้ด้วยหลักการ เหตุผลกันนานกว่า 5 ปี ท้ายที่สุดศาลปกครองสูงสุดตัดสินเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2558 ว่ากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 12 นั้นชอบด้วยกฎหมาย สามารถใช้ได้จริง” การใช้สิทธิมาตรา 12 ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย  เรื่องการใช้สิทธิการตายนั้น ที่จริงแล้วมีมานานก่อนที่จะมีมาตรา 12 ออกมา โดยทุกคนสามารถแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องได้ในกรณีที่มีความประสงค์ตายอย่างธรรมชาติไม่ต้องมาสวน มาสอดเครื่องไม้เครื่องมือที่รังแต่จะทำให้เกิดความเจ็บปวด ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สมัยก่อนเป็นเรื่องง่ายมาก ผู้ป่วยสามารถแจ้งญาติ แจ้งบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้านท่ามกลางลูกหลานได้ และที่จริงแล้วกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิในการเร่งการตาย เพราะเมื่อญาติๆ และแพทย์ตกลงทำตามความประสงค์ของผู้ป่วยแล้ว แพทย์ก็ยังให้การรักษาแบบประคับประคองเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยต้องเจ็บปวดจากภาวะการดำเนินโรค เช่น ให้ยาแก้ปวด เป็นต้น ที่สำคัญยืนยันว่า การใช้สิทธิตามมาตรา 12 ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย ! อาการของวาระสุดท้ายนั้นจะสามารถมองเห็นและพิสูจน์ได้ มีข้อบ่งชี้ปัจจุบันมีคนดังหลายๆ คนได้เขียนหนังสือแสดงความจำนงขอใช้สิทธิการตายเอาไว้เช่นเดียวกัน อาทิ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการสำงานสุขภาพแห่งชาติ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ นักเขียนชื่อดัง เป็นต้น ท้ายที่สุด การใช้สิทธิขอตายตามมาตรา 12 เป็นเครื่องมือที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันได้ระหว่างแพทย์และญาติเพื่อการวางแผนดูแลชีวิตผู้ป่วยล่วงหน้า แพทย์รู้ว่าไม่ไหว ญาติเข้าใจยื้อไปก็เป็นการทรมานผู้ป่วย จะได้ใช้วาระสุดท้ายนี้ในการอยู่ด้วยกันอย่างคุ้มค่าที่สุด คนตายได้จากไปโดยไม่ต้องทรมานคนที่สามารถทำหนังสือแสดงเจตนารมณ์ขอใช้สิทธิการตายนั้นต้องมีสติสัมปชัญญะ อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ถ้าเป็นเด็กต้องให้ผู้ใหญ่เป็นคนตัดสินใจ โดยสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ 1. เขียนเป็นลักษณ์อักษร และ 2. การใช้สิทธิด้วยวาจา แต่ในกรณีแสดงความจำนงด้วยวาจานั้นอาจจะยากไปหน่อย เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน สำหรับ การเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นตามกฎหมายบอกว่าต้องมีความชัดเจนเพียงพอที่ จะดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาได้ โดยมีข้อมูลเป็นแนวทางในการทำหนังสือ ดังนี้ 1. รายการที่แสดงข้อมูลของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ โดยระบุชื่อ นามสกุล อายุ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและที่อยู่ หรือหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้  2. วัน เดือน ปี ที่ทำหนังสือแสดงเจตนา 3. ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของพยาน และความเกี่ยวข้องกับผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา  4. ระบุประเภทของบริการสาธารณสุขที่ไม่ต้องการจะรับบริการ  5. ในกรณีที่ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้ผู้อื่นเขียน หรือพิมพ์หนังสือแสดงเจตนาฯ ให้ระบุชื่อ นามสกุล และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เขียน หรือผู้พิมพ์เอาไว้ด้วย ที่สำคัญในหนังสือแสดงเจตนาฯ ต้องลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์นิ้วมือของผู้นำทำหนังสือแสดงเจตนา พยาน และผู้เขียน หรือผู้พิมพ์เอาไว้ด้วย ทั้งนี้ผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาอาจระบุชื่อบุคคลเพื่อทำหน้าที่อธิบายความประสงค์ที่ แท้จริงของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาที่ระบุไว้ไม่ชัดเจน ซึ่งบุคคลที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวจะต้องลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วมือ และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนไว้ในหนังสือแสดงเจตนาด้วย นอกจากนี้ ในหนังสือแสดงเจตนาฯ สามารถระบุ รายละเอียดอื่นๆ ได้ เช่น ต้องการเสียชีวิต ณ สถานที่ใด ความประสงค์ที่จะรับการเยียวยาทางจิตใจ และการปฏิบัติตามประเพณี และความเชื่อทางศาสนา และให้บริการสาธารณสุขให้ความร่วมมือตามสมควร เมื่อผู้ทำหนังสือแสดงเจตนาเข้ารับการรักษาตัวรักษาตัว ในสถานบริการสาธารณสุขก็ให้นำหนังสือแสดงเจตนายื่นต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขของสถานบริการสาธารณสุขโดยไม่ชักช้า อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ทำหนังสือแสดงเจตนาฯ อาจยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงหนังสือแสดงเจตนาฉบับใหม่ได้ตลอด ซึ่งในกรณีที่มีการแสดงหนังสือเจตนาหลายฉบับให้ยึดถือเอาฉบับที่ทำครั้งหลังสุดเป็นฉบับที่มีผลบังคับใช้     นานาทัศนะเรื่องการใช้สิทธิการตาย จากวงเสวนาเรื่อง ปลายทางชีวิตจะลิขิตการรักษาอย่างไร เมื่อวันที่  10 กุมภาพันธ์ 2559 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  รศ. ดร. นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์ ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ กล่าวถึงสิทธิในการทำหนังสือแสดงเจตนารมณ์ไม่ขอรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไป เพื่อการยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ตามมาตรา 12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ว่า หนังสือแสดงเจตนาฯ มีรากฐานมากจากกฎหมาย 3 ฉบับ คือ 1. มาตรา 12 ในพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ วรรค 3 กำหนดว่าบุคคลมีสิทธิในการแสดงความประสงค์ไม่ขอรับบริการสาธารณสุข และวรรค 1 กำหนดให้ต้องแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีเงื่อนไขว่าเป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต  2.กฎกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2553 กำหนด ลักษณะ วิธีการ และรายละเอียดการแสดงเจตนาไม่ขอรับบริการสาธารณสุข โดยมีนิยามในตอนท้ายว่าผู้ป่วยยังต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง และ 3. ประกาศ สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ เรื่องแนวทางปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนารมณ์ฯ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติตาม เช่น เมื่อแพทย์หรือพยาบาลได้รับหนังสือแสดงเจตนาฯ ของผู้ป่วยแล้วควรเก็บไว้ในเวชระเบียนเพื่อให้มีการส่งต่อความเข้าใจกับ แพทย์ที่มีการรับช่วงการรักษาต่อได้ทราบความประสงค์ของผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ถือว่าเป็นความผิด      ก่อนหน้านี้มีแพทย์ฟ้องร้องต่อศาลปกครองให้เพิกถอนกฎกระทรวงเพราะไม่มีการ รับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง และสาระในกฎกระทรวงไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งพอสรุปได้ 2 ประเด็น คือ 1. หลักการให้แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมปล่อยให้ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตโดยไม่ทำการรักษาพยาบาลเลยถือเป็นการุณยฆาต 2. เป็นสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่ให้ผู้ป่วยมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์เหนือผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสาธารณสุข ซึ่งศาลปกครองพิจารณาแล้วพบว่าก่อนออกกฎกระทรวงดังกล่าว สช.ได้จัดให้มีการรับฟังความเห็นมาแล้วในหลายเวที และเสนอกฎหมายตามขั้นตอน และเมื่อพิจารณาในสาระของกฎหมายพบมีกำหนดให้แพทย์ดูแลแบบประคับประคองอยู่ จึงไม่ถือเป็นการปล่อยให้ผู้ป่วยเสียชีวิต และไม่ใช่การุณยฆาต ส่วนการสร้างหลักเกณฑ์ให้ผู้ป่วยมีสิทธิเหนือแพทย์นั้น ตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้คนทุกคนมีสิทธิในสุขภาพร่างกายของตัวเอง จึงมีสิทธิปฏิเสธการรับการรักษา ดังนั้นจึงมีคำพิพากษาให้เดินหน้ากฎหมายดังกล่าวได้ และเป็นหน้าที่ของภาคประชาชนที่จะกระตุ้นให้สถานพยาบาลปฏิบัติตามหนังสือ แสดงเจตนา      “อย่างไรก็ตาม ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องทำ แต่เป็นทางเลือกให้เลือกทำเพื่อความสบายใจของผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ เมื่อทำหนังสือ ก็แสดงว่ามีความประสงค์ เมื่อมีการใช้สิทธิย่อมเกิดหน้าที่ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นแพทย์ เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพทำตามหนังสือเจตนาแล้วไม่ต้องรับผิด เป็นการสร้างความสบายใจให้กับผู้ปฏิบัติตาม” อ.นนทวัชร์ กล่าว     ศ.นพ.วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ กรรมการกฤษฎีกาและที่ปรึกษากฎหมายอาวุโส ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้คนเรามีสิทธิในชีวิตและร่างกายและร่างกายของตัวเอง ซึ่งใครจะทำอะไรโดยที่เจ้าของไม่ยินยอมไม่ได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงสิทธิปฏิเสธการรักษาที่ทำให้เกิดความทรมานได้ เช่น ไม่ขอใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่เจาะคอ หรือขอใช้สิทธิในการอยู่กับบุคคลอันเป็นที่รักที่บ้านของตัวเองก็ได้ เป็นต้น แต่ที่ต้องมีการกำหนดไว้ในมาตรา 12 ของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติก็เพื่อเป็นหลักของกฎหมายทางด้านการแพทย์ เนื่องจากที่ผ่านมาการกระทำสิ่งเหล่านี้ต้องไปอิงกับกฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง อีกทั้งยังมีการตีความที่แตกต่างกัน ยืนยันว่าหนังสือดังกล่าวไม่ใช่พินัยกรรมแต่อย่างใดหลายคนระบุว่าหนังสือดัง กล่าวเป็นพินัยกรรม หากพูดเช่นนั้นจะทำให้มีปัญหาได้ เพราะพินัยกรรมจะมีผลต่อเมื่อผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตไปแล้ว      ขณะนี้ในส่วนของโรงเรียนแพทย์เองตอนนี้ก็เริ่มมีการเรียนการสอนการดูแลผู้ ป่วยแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อลดการทรมานแล้ว แต่ในส่วนของประชาชนทั่วไปยังไม่ค่อยรู้จักกฎหมายดังกล่าวมากนัก หรือหากทราบแล้วก็ยังไม่ค่อยยอมรับกัน ครอบครัวไม่ยอมรับ โดยเฉพาะคนที่มีฐานะดีมักยื้อชีวิต สุดท้ายแล้วเสียค่าใช้จ่ายเยอะ โดยไม่สามารถยื้อชีวิตได้ ดังนั้นจะต้องมีการรณรงค์ให้ประชาชนทราบและเข้าใจเจตนารมณ์ของของกฎหมาย หากเป็นไปได้คนทุกคนก็ควรที่จะทำหนังสือแสดงเจตนาเอาไว้ที่สำคัญคือต้องหารือกับคนในครอบครัวเพื่อให้เกิดการยอมรับร่วมกัน ส่วนตัวผมก็เขียนเอาไว้เช่นกันในหนังสือ “ก่อนวันถัดไป” และกำลังจะทำขึ้นมาใหม่ โดยก่อนทำจะต้องมีการปรึกษากับครอบครัว ลูก และภรรยา เพื่อให้เป็นที่ยอมรับร่วมกันก่อนด้วย      รศ. พญ.นงลักษณ์ คณิตทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้กล่าวถึงการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตให้จากไปโดยไม่ทรมาน ว่า เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิตจะมีลักษณะอาการที่แสดงออกมา เช่น เบื่ออาหาร รับประทานไม่ได้ หรือรับประทานได้น้อย ทำให้ญาติหรือผู้ดูแลค่อนข้างเป็นกังวลว่าผู้ป่วยจะได้รับความทรมาน หรือกังวลว่าร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เมื่อผู้ป่วยมีภาวะดังกล่าวร่างกายจะหลั่งสารคีโตนออกมา ซึ่งสารตัวนี้จะมีฤทธิ์คล้ายกับยาแก้ปวดทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย เช่นเดียวกับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายจะมีภาวะของเสียในร่างกายคั่งซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งไม่ดี แต่การที่ของเสียในร่างกายคั่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือกรณีที่ผู้ป่วยไม่ยอมดื่มน้ำทำให้ร่างกายขาดน้ำนั้นในแง่ดีแล้วร่างกาย จะหลั่งสารเอ็นโดฟินออกทำให้รู้สึกสบาย แต่ตรงนี้ญาติสามารถใช้ผ้าชุบน้ำ หรือให้จิบน้ำนิดหน่อยแต่ไม่ต้องคะยั้นคะยอ และหากมีเสมหะ ส่วนใหญ่จะให้ยาละลาย ถ้าจำเป็นต้องดูดก็ใช้เพียงลูกยางแดงเท่านั้น ถ้าดูดเสมหะมากออาจจะเลือดออกและทรมานได้     ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนารมณ์ไม่ขอรับการรักษาที่เป็นไปเพื่อยืดการตาย ในวาระสุดท้ายของชีวิตเอาไว้ ญาติก็ไม่ต้องกังวล เพราะแพทย์ยังให้การดูแลแบบประคับประคองอยู่แล้ว ส่วนอาการอ่อนเพลียที่พบนั้น ถือเป็นอาการปกติของผู้ป่วยที่อยู่ในวาระสุด ท้าย ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเป็นพิเศษ แค่ให้พักผ่อนอย่างเหมาะสม และช่วยดูแลเรื่องสภาพจิตใจ พูดคุย หรือเปิดเพลงที่ผู้ป่วยชอบ ไม่ต้องปลุกมาทานอาหารหรือดื่มน้ำ ร่างกายจะเสื่อมสภาพลง ประสาทสัมผัสจะลดลง เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งการไหลเวียนของเลือดต่างๆ จะลดลง อาจจะทำให้ผิวหนังมีจำๆ บ้าง บางคนมีอาการเพ้อ ส่งเสียงอืออา ซึ่งเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงทางสมอง แต่ไม่ใช่ความเจ็บปวด หรือมองเห็นบาปบุญคุณโทษ หรือคนที่จากไปแล้ว ตรงนี้ไม่ต้องกังวล แค่ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนเยอะๆ และค่อยๆ จากไปอย่างสงบ     “การตายอย่างสงบแบ่งเป็น 3 ส่วน 1. ด้านร่างกาย ต้องไม่ได้รับการเจ็บปวด ทรมาน เช่น ถ้าเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายซึ่งผู้ป่วยย่อมมีอาการเจ็บปวด สามารถให้มอร์ฟีนได้ทุกช่วงที่มีอาการ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไปกดการหายใจ 2. ด้านจิตใจ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบ มีความสุข เช่น ให้พยาบาลพูดคุย โน้มน้าวถึงความสุขในอดีต ปล่อยวางเรื่องที่ยังค้างคา และ 3. ด้าน สิ่งแวดล้อมที่คนไข้ต้องการคือสงบ มีคนที่รักและไว้ใจอยู่ใกล้ๆ หรือถ้าผู้ป่วยอยากกลับไปเสียชีวิตที่บ้านก็ให้กลับไปได้ แล้วจัดทีมแพทย์ไปเยี่ยมบ้านแทน” พญ.นงลักษณ์ กล่าว และว่า สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยบางรายที่จะลุกขึ้นมาได้เหมือนอาการจะดีขึ้นแต่ก็เสีย ชีวิตในที่สุดนั้น เชื่อว่าเกิดจากพลังครั้งสุดท้ายของผู้ป่วยที่ต้องการจะสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย       พญ.ฉันทนา หมอกเจริญพงศ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวออกมาแล้วทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความสบายใจที่จะปฏิบัติตามความต้องการของผู้ป่วย และเมื่อทราบล่วงหน้าจะทำให้เกิดการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ในการดูแลวาระสุดท้ายของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบที่สุด รวมถึงการดูแลญาติไม่ให้เกิดความรู้สึกผิดหรือผลกระทบภายหลังจากดำเนินการ ตามหนังสือเจตนารมณ์ฯ ทั้งนี้ที่ผ่านเคยมีผู้ป่วยมะเร็งขอกลับไปเสียชีวิตที่บ้านตามประเพณีไทยทรงดำ แพทย์จะมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นการเสียชีวิตที่เป็นไปตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีการผ่าศพพิสูจน์สาเหตุอีก อย่างไรก็ตามจากการรวบรวมข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่ามีผู้ป่วยวาระ สุดท้ายของชีวิตทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ขอรับบริการสาธารณสุขฯ ไม่ถึง 1% ในขณะที่ข้อมูลในประเทศสหรัฐอเมริกามีการใช้สิทธิประมาณ 30 % ก็ยังถือว่าน้อยอยู่     ด้าน นางพรวรินทร์ นุตาวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ จากวชิระพยาบาล กล่าวว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายความยากอยู่ที่การสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารับญาติ ผู้ป่วย หรือกับแพทย์ โดยมีพยาบาลเป็นตัวประสาน โดยเฉพาะญาติที่ค่อนข้างมีการศึกษานั้นจะสื่อสารได้ยาก แม้จะมีหนังสือแสดงเจตนาฯ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องมีเทคนิคในการสื่อสารที่ดี ส่วนการช่วยผู้ป่วยเพื่อให้มีความสุขในวาระสุดท้ายของชีวิต นอกจากดูแลประคับประคอง ให้ยาระงับปวดแล้ว การสื่อสาร การพูดถึงสิ่งที่ผู้ป่วยภูมิใจ มีความสุข การปฏิบัติตามคำขอของผู้ป่วย เช่นพาคนที่ผู้ป่วยอยากเจอให้มาเจอกัน รวมถึงการกอด ซึ่งจะต้องกอดนิ่งๆ แน่นๆ นานๆ ถ่ายทอดความรู้สึกจากใจถึงใจ แต่ไม่ควรตบบ่าเพราะเหมือนกับเป็นการแสดงออกว่าให้ผู้ป่วยทำใจ     นางวรรณา จารุสมบูรณ์ เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม กล่าวว่า การดูแลจิตในวันสุดท้ายเพื่อให้ไปสู่ภพภูมิที่ดี หากผู้ป่วยในการฝึกปฏิบัติที่ดีก็อาจจะทราบดีว่าต้องทำอย่างไร แต่ถ้าผู้ป่วยไม่เคยฝึกปฏิบัติ ก็เป็นหน้าที่ของญาติที่ต้องช่วยเหลือ โดยเริ่มต้นจากการตั้งสติให้ดี เพราะผู้ป่วยบางรายมีอาการเจ็บปวดกระสับกระส่าย อาการเหล่านี้จะกระตุ้นให้ญาติตกใจ และเร่งให้การรักษาโดยลืมถึงเจตนารมณ์ของผู้ป่วยที่ไม่ขอรับการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิต บางคนเมื่อให้การรักษา ใส่ท่อช่วยหายใจแล้วกลับนึกถึงความต้องการของผู้ป่วยขึ้นมาก็เป็นเรื่องยากแล้ว ในการถอดเครื่องช่วยหายใจออกเช่นกัน  ดังนั้นในชั่วโมงสุดท้ายขอให้ตั้งหลักนิ่งๆ เมื่อรู้ว่าไม่สามารถรักษาโรคให้กลับมาเป็นปกติได้แล้ว  จะทำอย่างไรให้ไปสงบมากกว่า      สำหรับขั้นตอนดูแลชั่วโมงสุดท้ายของผู้ป่วยมีวิธีดังนี้คือ 1. ทำ ให้ทุกข์ทางกายผ่อนคลายลง ถ้าผู้ป่วยเจ็บปวดก็ให้มอร์ฟีนโดยไม่ต้องกังวลว่าจะเสพติด จากนั้นให้สังเกตอาการปวดลดลง และเริ่มนิ่งให้จัดท่านอนให้สบาย ดูอุณหภูมิให้เหมาะสมเพราะบางคนจะรู้สึกหนาว บางคนรู้สึกร้อนเหงื่อออกแสดงว่าธาตุไฟแตก ต้องใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวให้ และดูภาวะอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ธรรมชาติเตรียมขั้นตอนการตายของคนเราให้มีความสงบที่สุขอยู่แล้ว เช่น เมื่อกินไม่ได้ร่างกายก็จะหลั่งสารคีโตนออกมา แต่ที่ทรมานเพราะมีกระบวนการแทรกแซงจากกระบวนการทางการแพทย์ทั้งหลาย       2. การดูแลด้านจิตใจ ดูว่าผู้ป่วยพร้อมหรือไม่ หากไม่พร้อมจะช่วยอย่างไร เช่น ห่วงใคร ห่วงอะไร และช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้ อย่าไปบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วงเพราะเป็นเพียงการปลอบใจ แต่ต้องช่วยบรรเทาเขา บางคนอยากทำบางอย่างก่อนตายก็ช่วยให้บรรลุความตั้งใจ เช่น อยากสั่งเสีย อยากพบใครสักคน อยากถวายสังฆทาน เป็นต้น นอกจากให้ทำสิ่งที่ปรารถนาแล้วต้องดูว่ามีเรื่องค้างคาใจหรือไม่ เช่น เคยทำเรื่องไม่ดี เคยทะเลาะกับใคร ถ้าคนนั้นยังอยู่ก็พามาพบเพื่อจะได้ขอโทษ อโหสิกรรมกันได้ ที่สำคัญผู้ป่วยต้องให้อภัยตัวเองด้วย หรือให้ผู้ป่วยเขียนจดหมายส่งถึงคนที่ยังรู้สึกติดค้างใจ เป็นต้น      สุดท้ายคือเรื่องของจิตก่อนเสียชีวิตควรมีที่พึ่งที่ระลึกถึง หากผู้ป่วยเป็นคนอยู่ในศีล ในธรรม ก็ให้นึกถึงเรื่องบุญกุศล แต่ถ้าเป็นคนธรรมดาที่ไม่มีโอกาสปฏิบัติธรรม ก็ขอให้ระลึกถึงความดีที่เคยทำมา ไม่ว่าจะเป็น การประกอบอาชีพสุจริต การทำความดี เป็นพ่อแม่ที่ดี ไม่เคยให้ร้ายใคร ช่วยเหลือเกื้อกูล หรือระลึกถึงสิ่งที่ภูมิใจ เช่น ส่งลูกเรียนจบปริญญาทุกคน เป็นต้น หรือหากผู้ดูแลไม่ทราบว่าผู้ป่วยได้ทำความดีมาแค่ไหน ก็สามารถพูดกลางๆ ได้ เช่น ให้ผู้ป่วยนึกถึงสิ่งดีๆ ที่เคยทำมา อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ อย่างไรก็ตาม ช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตการรับรู้อ่อนลง สมองช้าลง ดังนั้นขอให้พูดคุยกับผู้ป่วยใกล้ๆ หู เช่น กล่าวอโหสิกรรม บอกรักให้พูดใกล้ๆ หู และพูดสั้นๆ ช้าๆ ชัดๆ อย่าพูดเร็ว เพราะจิตตามไม่ทัน     “หลายคนที่ทำแล้วได้ผลคือการนำจินตนาการ นำให้นึกถึงวันที่ดีๆ สถานที่ที่เคยไปแล้วเขาประทับใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยว เป็นจิตวิญญาณของเขา โดยสรุปคือการดูแลให้สุขสบายในช่วงสุดท้าย แต่เรื่องไหนที่จัดการไม่ได้ก็ต้องปล่อยไป ถ้าใครที่ร้องไห้ฟูมฟายควรให้ออกไปข้างนอก เพราะอาจจะทำให้คนไข้ตายโดยไม่สงบ ดังนั้นหมู่ญาติต้องคุยกัน ว่าร่างกายคนไข้ส่งสัญญาณแล้ว จะต้องรวมพลังส่งให้ไปสบายที่สุด บอกรัก กอด หอมแก้ม ห้ามทะเลาะกัน อย่าพูดเรื่องไม่ดี อย่าทำให้บรรยากาศเศร้าหมอง ถึงเวลาแล้วมันจะสงบและงดงามมาก ถ้าเราปล่อยให้กระบวนการตายนั้นเป็นไปอย่างธรรมชาติ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักสังคมฯ ที่เข้าใจเรื่องวาระสุดท้าย ควรเตรียมญาติ และมีทางเลือกให้เขาจะได้ไม่เกิดรบกวนการยื้อชีวิต ต้องยอมรับว่าเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ และจำเป็นที่ภาคประชาชนมีความรู้เรื่องนี้ จะฝากความหวังไว้ที่โรงพยาบาลอย่างเดียวไม่ได้”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 การแจกยาเบญจอำมฤตย์ เป็นความหวังดีต่อผู้ป่วยมะเร็งจริงหรือ

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีข่าวดังเกิดขึ้นในแวดวงการสาธารณสุขไทย เมื่ออธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ออกข่าวเรื่องแจกสูตรยาสมุนไพรต้านมะเร็งตับ เบญจอำมฤตย์ที่โรงพยาบาลการแพทย์ผสมผสานที่ยศเสเพื่อให้บริการรักษาและติดตามผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย ข่าวนี้สร้างความหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็งตับอย่างมาก ขนาดแห่กันไปขอรับการรักษาจนแน่นโรงพยาบาล และทำให้วัตถุดิบในการผลิตยา ราคาพุ่งกระฉูด และก่อให้เกิดคำถามสำคัญขึ้นมาว่า วิธีการแจกยาให้แก่ผู้ป่วยนี้ อาจเข้าข่ายผิดจริยธรรม เพราะสูตรยาเบญจอำมฤตย์ที่ทางกรมฯ นำมาแจกจ่ายให้กับประชาชน เป็นสูตรยาในโครงการติดตามผลการใช้ยาเบญจอำมฤตย์ ที่ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก(The Ethic Committee for Research in Human Subjects In the Fields of Thai Traditional and Alternative Medicine)   3 ก.พ. 57 นพ.ธวัชชัย กมลธรรม อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าว “ศาสตร์การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง” ว่าจากฐานข้อมูลภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยพบว่าตำรับยาแผนไทยที่มีสรรพคุณในการ รักษาโรคเรื้อรังมี จำนวน 12,428 ตำรับ ในจำนวนนี้เป็นตำรับยารักษาโรคมะเร็ง จำนวน 3,115 ตำรับ อย่างไรก็ตาม ตำรับยาที่น่าสนใจและเป็นอีกทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งร่วมกับการรักษา แพทย์แผนปัจจุบัน คือ สูตรยาสมุนไพรโบราณที่เรียกว่า เบญจอำมฤตย์   ซึ่งประกอบด้วยสูตรยาในคัมภีร์แพทยศาสตร์สงเคราะห์  9 ตัว ได้แก่ มหาหิงค์ ยาดำบริสุทธิ์ รงทอง มะกรูด ขิงแห้ง ดีปลี พริกไทย รากทนดี และดีเกลือ โดย สูตรยาดังกล่าวได้ทำการศึกษาร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตั้งแต่ปี 2554 โดยได้ทดสอบในระดับหลอดทดลอง และหนูทดลอง โดยให้ยาสูตรดังกล่าวพบว่า หนูมีภูมิต้านทานขึ้นมีประสิทธิภาพต้านเซลล์มะเร็ง เมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับยาดังกล่าว “ยาสูตรนี้จะได้ผลดีต่อการต้านทานเซลล์มะเร็งตับดีกว่ามะเร็งชนิดอื่น โดยได้ผ่านการรักษาผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งในรพ.เคียนซา และรพ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ อยู่ระหว่างทดลองในระดับคลินิกในผู้ป่วยอาสาสมัครในโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ผสมผสาน (ยศเส) ได้จัดทำเป็นยาชนิดแคปซูล เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษา โดยไม่เพียงแต่เปิดโอกาสให้กับผู้ป่วยที่มารักษา ด้วยสิทธิบัตรทอง หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเท่านั้น แต่สิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการก็สามารถมาติดต่อเพื่อขอรับยาตัวนี้ ได้ฟรี แต่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยที่รพ.ก่อน และต้องรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันร่วมด้วย” นพ.ธวัชชัย กล่าว ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140203/178149.html     เบญจอำมฤตย์ ชื่อนี้มาจากไหน ในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่งรวบรวมคัมภีร์แพทย์แผนโบราณไว้จำนวนมากนั้น ยาที่ชื่อว่า เบญจอำมฤตย์(หรือออกเสียงเหมือนกัน) ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สามเล่ม คือ คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์โรคนิทาน และคัมภีร์ธาตุบรรจบ มีรายละเอียดดังนี้ คัมภีร์ปฐมจินดา ยาชื่อเบ็ญจอำฤต ขนานนี้ท่านให้เอา มหาหิงคุ์ ๑ ยาดำ ๑ สิ่งละส่วน รงทอง ๒ ส่วน มะกรูดใหญ่ ๓ ผล แล้วจึงเอามหาหิงคุ์ รงทอง ยาดำ ทั้ง ๓ สิ่งนี้ยัดเข้าในผลมะกรูดสิ่งละผล แล้วจึงเอามูลโคสดพอกสุมไฟแกลบให้สุกระอุดี แล้วจึงเอารากตองแตก ๔ ส่วน ดีเกลือ ๑๖ ส่วน ทำเปนจุณแล้วประสมกันเข้าจึงบดทั้งเนื้อมะกรูดปั้นแท่งไว้เอาหนัก ๑ สลึง ละลายน้ำส้มมะขามเปียก กินลงสดวกดี นัก ยาขนานนี้ถ้ากุมารได้ ๓, ๔ ขวบกินก็ได้ ดีเหมือนกัน คัมภีร์โรคนิทาน กล่าวถึงชื่อยา เบญจอำมฤตย์ (ชื่อนี้ปรากฏในสมุดไทยซึ่งเป็นฉบับหลวงชำระในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่เมื่อนำมาตีพิมพ์เป็นตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ใช้ชื่อว่า บุญจอำมฤตย์) โดยไม่ได้ระบุส่วนประกอบของตำรับ   คัมภีร์ธาตุบรรจบ ยาชื่อเบ็ญจะอำมฤตย์ เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาดำบริสุทธิ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รงทอง ๒ สลึง มะกรูด ๓ ผล (เอามหาหิงคุ์, ยาดำ, รงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล แล้วเอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก) ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รากทนดี ๑ บาท ดีเกลือ ๔ บาท ยา ๕ สิ่งนี้ประสมกับมะกรูดที่สุมไว้ทำเปนจุณละลายน้ำ ส้มมะขามเปียกให้รับประทานหนัก ๑ สลึง ฟอกอุจจาระอันลามกให้สิ้นโทษ ชำระลำไส้ซึ่งเปนเมือกมันแลปะระเมหะทั้งปวง   ไม่ควรใช้ชื่อ เบญจอำมฤตย์ เพราะไม่เป็นไปตามตำรายาการแพทย์แผนไทย ยาเบญจอำมฤตย์ที่นำมาแจกจ่ายในขณะนี้ เป็นสูตรยาจาก โครงการติดตามผลการใช้ยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งทางเดินท่อน้ำดี และอ้างอิงว่า นำมาจากคัมภีร์ธาตุบรรจบ ซึ่งประกอบด้วยตัวยาจากวัตถุดิบ 9 ชนิด แต่สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาคือ ยาเบญจอำมฤตย์ที่คณะผู้วิจัย(โครงการติดตามความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งตับ, ลำไส้, ปากมดลูก และต่อมลูกหมาก) ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการจริยธรรม มีความต่างจากต้นตำรับเดิม   ตำรับยาเบญจอำมฤตย์   (ตาม protocol ที่เสนอคณะกรรมการจริยธรรม) ลำดับที่ รายการ ปริมาณ มาตราไทย มาตราเมตริก (กรัม) 1 มหาหิงคุ์ 1 สลึง 3.75 กรัม 2 ยาดำบริสุทธิ์ 1 สลึง 3.75 กรัม 3 รงทอง 2 สลึง 7.5 กรัม 4 มะกรูด 3 ผล 50 กรัม 5 ขิงแห้ง 1 สลึง 3.75 กรัม 6 ดีปลี 1 สลึง 3.75 กรัม 7 พริกไทย 1 สลึง 3.75 กรัม 8 รากทนดี 1 บาท 15 กรัม 9 ดีเกลือ 4 บาท 60 กรัม   ขั้นตอนการผลิต 1.ชั่งยาตามสูตร 2. เอามหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง ทำการสะตุหรือประสะตามวิธีของแต่ละตัว 3. นำมหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง แยกบดให้ละเอียดทีละชนิดแยกจากกันแล้วนำไปละลายน้ำ พักเอาไว้ 3. นำสมุนไพรที่เหลือมาอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส แล้วบดสมุนไพรทั้งหมดรวมกันพอหยาบ 4. นำสมุนไพรที่ได้คลุกเคล้ารวมกับน้ำที่ละลาย มหาหิงคุ์ รงทองและยาดำ 5. นำสมุนไพรไปอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส อีกครั้งจนสมุนไพรแห้ง จากนั้นนำไปอบจนสามารถบดเป็นลงละเอียดได้ 6. นำผงละเอียดที่ได้บรรจุลงแคปซูล   รูปแบบ/ความแรง แคปซูล 300 มิลลิกรัม วิธีใช้ รับประทาน ครั้งละ 3 แคปซูล ก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น วิธีปรุงยาตำรับนี้ ในคัมภีร์ธาตุบรรจบระบุว่า “เอามหาหิงคุ์ ๑ ยาดำบริสุทธิ์ ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รงทอง ๒ สลึง มะกรูด ๓ ผล (เอามหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล แล้วเอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก) ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ พริกไทย ๑ เอาสิ่งละ ๑ สลึง รากทนดี ๑ บาท ดีเกลือ ๔ บาท ยา ๕ สิ่งนี้ประสมกับมะกรูดที่สุมไว้ทำเปนจุณละลายน้ำ ส้มมะขามเปียกให้รับประทานหนัก ๑ สลึง”   จะเห็นว่าคณะผู้วิจัยฯ มีวิธีการเตรียมยา ที่ผิดไปจากในคัมภีร์ธาตุบรรจบ ดังนั้นผลในการรักษาอาจแตกต่างจากยาที่ปรุงตามตำรับยาดั้งเดิม จึงต้องถือว่า สูตรยาเบญจอำมฤตย์ตาม  protocol เป็นยาใหม่ ซึ่งหากจะนำมาทดลองวิจัยทางคลินิก จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกก่อน การดำเนินการแจกยาให้แก่ผู้ป่วยที่กระทำอยู่ในขณะนี้จึงสุ่มเสี่ยงว่า เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค(ผู้ป่วย) ซึ่งอาจไม่รู้ตัวว่า ตนเองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการทดลองยาสูตรนี้อยู่ และเมื่อฉลาดซื้อได้สอบถามกับผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งทำงานอยู่ในสังกัดกรมพัฒนาการแพทย์ฯ ท่านหนึ่ง ได้ทราบข้อมูลเพิ่มว่า “ทางกรมฯ นำสูตรยานี้มาเปลี่ยนชื่อโครงการทีหลัง เน้นเฉพาะเจาะจงที่มะเร็งตับ ส่วนเหตุผลที่ทางกรมฯ อ้างว่า ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต EC (คณะกรรมการจริยธรรม) เพราะเป็น Actual Use Research (AUR) แบบที่ทางประเทศญี่ปุ่นใช้ แต่ประเด็นคือ AUR ในญี่ปุ่น เขาใช้วิธีนี้ในการศึกษายาแผนโบราณ ที่มีการใช้กันในท้องตลาดอยู่แล้ว ไม่ใช่กับยาใหม่ ซึ่งยังไม่มีการใช้มาก่อน”   ทัศนะจากประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค รศ.ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ ฉลาดซื้อ : ตามที่ มีการแจก ยาเบญจอำมฤตย์ให้กับประชาชนทั่วไป โดยกรมพัฒนาแพทย์แผนไทยฯ เป็นผู้ดำเนินการอยู่ในขณะนี้นั้น เมื่อมีข้อสังเกตพบว่า ยาสูตรที่แจกนี้ มิใช่สูตรดั้งเดิมตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กล่าวคือ เป็นสูตรดัดแปลงไปจากตำรับเดิม หากจะทำตามขั้นตอนการปฏิบัติในทางกฎหมายให้ถูกต้อง(เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค)  ต้องมีขั้นตอนอย่างไร   รศ.ดร. จิราพร  : ยานี้จะใช้ชื่อว่า ยาเบญจอำมฤตย์ ไม่ได้ เพราะสูตรได้มีการดัดแปลง จึงถือว่าเป็นยาใหม่ ซึ่งต้องมีการวิจัยเริ่มจากห้องปฏิบัติการในสัตว์ทดลอง และในมนุษย์ตามลำดับ   ฉลาดซื้อ : สูตรยาเบญจอำมฤตย์ สูตรนี้ ยังไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรม การที่กรมฯ นำมาแจกจ่ายให้กับประชาชน ถือว่าผิดขั้นตอนหรือไม่ และอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร   รศ.ดร. จิราพร :  ยาสูตรดัดแปลงจากยา เบญจอำมฤตย์ เมื่อจะทำการวิจัยทางคลินิก ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ก่อน การแจกจ่ายและโฆษณารักษาโรคเป็นการทำผิดกฎหมาย ที่สำคัญอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ใช้ได้ เน้นว่าผิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม   การวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทย การวิจัยทางคลินิก หมายถึง การทำวิจัยที่เกี่ยวกับการรักษาโรคในคน การทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัย ระบาดวิทยา ธรรมชาติของโรค ซึ่งประกอบด้วยอาการและอาการแสดงทางคลินิก การพัฒนาของโรค เครื่องบ่งชี้ในการพยากรณ์โรค การใช้ยา การผ่าตัด และอุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์ การป้องกันโรค เช่น วัคซีน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การสืบค้นรายงานผู้ป่วย การกรวดน้ำคัดหลั่ง เลือด หรือส่วนของเลือด เนื้อเยื่อของผู้ป่วย เป็นต้น ความสำคัญในการวิจัยทางคลินิกด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร คือ การทำให้การแพทย์แผนไทยมีความปลอดภัย ประสิทธิผล และมีคุณภาพที่คนไทยจะนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โครงร่างวิจัยทางคลินิกนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแล้วเท่านั้น     เจาะประเด็นวันนี้ เราจะไปเจาะลึกทำความรู้จักกับสูตรยาสมุนไพรที่อยู่ในคัมภีร์แพทย์แผนไทย ที่ชื่อ"เบญจอำมฤตย์"ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร ประกอบไปด้วยสมุนไพรชนิดใดบ้าง สามารถต้านมะเร็งตับได้เด็ดขาดจริงหรือไม่ วันนี้จะไปเจาะลึกกันค่ะ     "เบญจอำมฤตย์" เป็นสูตรยาสมุนไพรโบราณที่กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้คิดค้นวิจัยร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี 2554 ผ่านการทดสอบการออกฤทธิ์ทั้งในหลอดทดลอง หนูทดลองและผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิด ที่ รพ.เคียนซา และรพ.วิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ทั้งมะเร็งต่อมลูกหมากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งตับ พบว่า มีประสิทธิภาพต้านเซลล์มะเร็งตับดีที่สุด หลังกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ บรรจุและเผยแพร่ตำรับยาสมุนไพร"เบญจอำมฤตย์" ปรากฏมีผู้ป่วยโรคมะเร็งตับ แห่มารับยาสมุนไพรฟรี ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานยศเส จำนวนมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาด้วยอาการมะเร็งระยะสุดท้าย อย่างคุณลุงท่านนี้อยู่ไกลถึงเพชรบูรณ์ ทันทีที่ทราบข่าว ก็รีบเดินทางมาด้วยความหวังว่า อาการป่วยมะเร็งตับจะดีขึ้น จะได้อยู่กับลูกหลานนานๆ ขณะที่ทางโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยฯ ยสเส เปิดเผยว่าเพียงแค่วันเดียว มีผู้ป่วยมะเร็ง มาขอรับยามากถึงวันละ 3,000 แคปซูล และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น  ตามขั้นตอนผู้ป่วยต้องผ่านการตรวจคัดกรองสุขภาพ ก่อน เพื่อระวังผลข้างเคียง ย้ำว่าสมุนไพร"เบญจอำมฤตย์" ไม่ใช่ยารักษามะเร็งให้หายขาด  แต่ช่วยต้านการแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง ลดภาวะแทรกซ้อน เสริมให้ระบบการทำงานของร่างกายดีขึ้นแต่จะให้ได้ผลดีที่สุดต้องรักษาควบคู่ กับการแพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อเจาะลึกสูตรยา"เบญจอำมฤตย์" พบว่าประกอบด้วยสมุนไพรไทย 9 ชนิด ซึ่งสมุนไพรแต่ละตัวมีสรรพคุณในการรักษาโรคต่างๆ อยู่แล้ว  แต่เพิ่งวิจัยค้นพบว่าเมื่อนำมาผสมรวมกัน จะออกฤทธิ์ต้านมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมงานเจาะประเด็นลงพื้นที่ โรงพยาบาลอู่ทอง ซึ่งเป็นศูนย์ผลิตยาสมุนไพรไทยที่ได้มาตรฐาน ส่งทั่วประเทศ เจาะลึกสูตรยาสมุนไพรแคปซูล"เบญจอำมฤตย์"พบว่า ประกอบด้วยสมุนไพร  9  ชนิด  คือ มหาหิงค์ ยาดำบริสุทธิ์ รงทอง มะกรูด ขิงแห้ง ดีปลี พริกไทย รากทนดี และดีเกลือ เป็นสูตรยาในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตำรายาโบราณของไทย แต่ละชนิดมีสรรพคุณบำรุงธาตุ และรักษาโรคอยู่แล้ว เช่น  ดีปลี พริกไทย ขิง ช่วยลดแก๊ส ขับลม แก้ท้องอืด ,ดีเกลือช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น โดยเมื่อเอามาผสมรวมกัน จะมีฤทธิ์ เสริมสร้างระบบในร่างกายให้สมดุล โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีปัญหาใหญ่ คือเรื่องระบบขับถ่าย ล่าสุด ยอดผู้ป่วยต้องการยาเพิ่มขึ้น วัตถุดิบสมุนไพรบางชนิดเริ่มไม่เพียงพอ จำเป็นต้องสั่งซื้อจากนอกพื้นที่ สำหรับประเทศไทย มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ปีละกว่า 60,000 ราย พบผู้ชายป่วยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด ส่วนผู้หญิง ส่วนใหญ่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และลำไส้ใหญ่ แพทย์แนะผู้ป่วยมะเร็ง นอกจากรักษาด้วยยาควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกาย และเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์เสริมภูมิต้านทานโรค ทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้น สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งตับในทุกสิทธิการรักษา สามารถมาขอรับยาฟรีได้ที่โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยฯ ยสเส โดยกลุ่มผู้ป่วยที่มารับยา จะถือเป็นกลุ่มอาสาสมัครเพื่องานวิจัยด้วย เป็นการพัฒนาอีกขั้นของการแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกความหวังของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มา CH7 NEWS   มะเร็งกับการแพทย์แผนไทย ความปลอดภัยคือหัวใจสำคัญ มะเร็งเป็นโรคร้ายที่คุกคามต่อชีวิตมนุษย์ในปัจจุบัน ในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุมะเร็งเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังสร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยทั้งจากอาการของโรคและผลข้างเคียงจากการรักษา การรักษาผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งตามทฤษฎีการแพทย์แผนตะวันตก มี 2 วิธีหลักที่ปฏิบัติกันแพร่หลายคือการใช้รังสี และการใช้เคมีบำบัด ซึ่งทั้งสองวิธี ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือทำลายเนื้อร้าย แต่ทั้งนี้ไม่สามารถเลือกทำลายเฉพาะเนื้อร้ายได้ เซลล์ดีจำนวนมากต้องถูกทำลายไปด้วย จึงเกิดผลข้างเคียงตามมาเช่น ผมร่วง แผลในปาก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เกล็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย อีกทั้งผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีก จากการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง จึงมีผู้แสวงหาแนวทางอื่นในการรักษามากขึ้น และการแพทย์แผนไทย คือทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง ซึ่งภาครัฐโดยกระทรวงสาธารณสุขเองก็ให้ความสำคัญ จากการติดตามการแถลงข่าวของกระทรวงสาธารณสุข ตำรับยาแผนไทยที่เริ่มนำมาศึกษาถึงผลการต้านมะเร็งของกระทรวงสาธารณสุขมีที่เด่นๆ อยู่สองตำรับคือ ตำรับยา "เบญจามฤต"(เบญจอำมฤตย์) และ "ตรีผลา" การวิจัยทั้งสองตำรับยานี้เป็นกระบวนการวิจัยที่จะมีขั้นตอนการศึกษาทดลองในมนุษย์ด้วย (หลังผ่านการทดลองความปลอดภัยในสัตว์ทดลองมาแล้ว) ซึ่งจะสามารถยืนยันผลหรือสรรพคุณยาในคนได้เป็นอย่างดี ต่างกับการวิจัยอื่นที่อาจทดลองเฉพาะในสมุนไพรเดี่ยว ค้นหาส่วนประกอบสารสำคัญ/สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร และทดสอบความเป็นพิษในสัตว์หรืออื่นๆ เท่านั้น แต่จากการสืบค้นข้อมูล พบว่า โครงร่างการวิจัย “โครงการติดตามความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ในผู้ป่วยมะเร็งตับ, ลำไส้, ปากมดลูก และต่อมลูกหมาก” ไม่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคนด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงเป็นที่มาของข้อกังขาสำคัญว่า เหตุใดอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยฯ จึงนำยาเบญจอำมฤตย์สูตรนี้มาแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิผู้ป่วย “ตำรับยาดังกล่าวจากการวิจัยเริ่มต้นที่หลอดทดลอง ปรุงยาขึ้นมาโดยนำมาทดสอบกับเซลล์มะเร็งในหลอดทดลอง ผลที่ได้คือ ยามีผลต่อเซลล์มะเร็งตับอันดับแรกโดยฆ่าเซลล์มะเร็งตับได้ดี จากนั้นก็นำมาทดสอบความเป็นพิษในสัตว์ทดลองซึ่งผลการทดสอบความเป็นพิษพบว่า ยาตำรับนี้ปลอดภัยในสัตว์ทดลอง  ความเป็นพิษค่อนข้างต่ำจึงมีความมั่นใจว่ายาตัวนี้น่าจะมีความปลอดภัยในคน แต่อย่างไรก็ตามงานวิจัยยังคงศึกษาทดลองต่อเนื่อง ติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาในผู้ป่วยมะเร็งตับ ในกลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วมในงานวิจัยการศึกษาวิจัยจะมีการเจาะเลือด ตรวจร่างกายเป็นระยะ ๆ...การวิจัยซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเก็บตัวอย่างข้อมูล เก็บตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้ยาเป็นการติดตามผลการรักษา ประเมินเป็นระยะโดยเริ่มในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ทีมวิจัยกล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ด้วยตำรับยาไม่เป็นที่ปิดบังตำรับยาอยู่ในคัมภีร์โบราณซึ่งเมื่อเปิดแพทยศาสตร์สงเคราะห์ก็จะเห็นถึงรายละเอียด...” (ส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ ผู้ร่วมวิจัยของโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสานใน โครงการติดตามประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ที่มา : เดลินิวส์ 5 มีนาคม 2557) ปัญหาคือ ยานี้ไม่ได้ปรุงตามคัมภีร์ธาตุบรรจบ แล้วอะไรคือหลักประกันความปลอดภัยของผู้รับยาที่กรมฯ นำมาแจก ----------------------------   วัตถุดิบทยอยขึ้นราคาทันทีที่เป็นข่าวดัง การให้ข่าวพร้อมกับการแจกจ่ายยาได้ก่อให้เกิดกระแสและสร้างความคาดหวังให้กับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย จนไม่เพียงแต่แห่กันไปรับยาจนแน่นโรงพยาบาล(สำรวจ ณ วันที่ 25 เมษายน ฉลาดซื้อพบว่า ยังมีการแจกยาอยู่) แต่ยังกลายเป็นช่องทางให้ผู้ค้าวัตถุดิบสมุนไพรตามตำรับยาดังกล่าว โก่งราคาวัตถุดิบจนแพงลิ่ว ภญ.ดลิชา ชั่งสิริพร หัวหน้างานแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี(แหล่งผลิตวัตถุดิบยาตำรับเบญจอำมฤตย์) กล่าวว่าในช่วงหลังการออกข่าวมีประชาชนบางคนนำตัวสมุนไพรไปต้มสกัดยามารับ ประทานเองซึ่งขอเตือนว่าไม่สมควรทำอย่างยิ่งนอกจากจะไม่สามารถช่วยรักษา อาการได้แล้วยังมีผลตามมาถึงขั้นเสียชีวิตได้เนื่องจากตัวยาบางตัวถ้าใช้ใน ปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะให้โทษอย่างมหันต์ เช่น ดีเกลือที่มีฤทธิ์ในการขับถ่าย อาจส่งผลให้เกิดอาการท้องเสียรุนแรงได้และสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอาจส่งผลให้ เซลล์มะเร็งลุกลามมากขึ้นได้จึงขอเตือนว่าห้ามนำมาต้มรับประทานเองเด็ดขาด ซึ่งปริมาณที่ใช้ในการใช้วัตถุดิบเพียง 0.22 ไมโครกรัมต่อซีซี เท่านั้น ประชาชนห้ามผลิตเอง "สำหรับราคาวัตถุดิบที่ไปตรวจสอบมานั้นบางชนิดมีราคาสูงขึ้นเป็นเท่าตัวคือ มหาหิงค์ จาก 350 - 450 บาท เป็น 400 - 450 บาท ยาดำบริสุทธิ์ 400 - 500 บาท เป็น 600 -800 บาท รงทอง 300 - 400 บาท เป็น 800- 1,000 บาท มะกรูด 100 บาท เป็น 100 -150 บาท ขิง 500 - 600 บาท เป็น 600 -800 บาท ดีปลี 200 - 300 บาท เป็น 300- 350 บาท พริกไทย 500 บาท เป็น 500 -600 บาท รากทนดี 150 บาท เป็น 150 -200 บาท และดีเกลือ ราคาประมาณ 50 - 80 บาทซึ่งเป็นราคาต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ขอฝากให้ผู้ค้าวัตถุดิบเห็นใจและไม่ปรับราคาให้สูงขึ้นอีก"   รู้จักตัวยาสำคัญใน เบญจอำมฤตย์ >> มหาหิงคุ์ ยาดำ รงทอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 116 ฟังเสียงหัวใจ ผู้เสียหายทางการแพทย์

จาก 2516 ถึง 2552 เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง“พ่อออกมาจากห้องไอซียู ไม่เกิน 48 ชั่วโมงแบบที่หมอบอก พ่อก็จากพวกเราไปอย่างสงบ” ครอบครัวตันทวีวงศ์ เสียบุคคลอันเป็นที่รักไปเมื่อ 5 เมษายน 2552 หากย้อนไปเมื่อปี 2516 ครอบ ครัวตันทวีวงศ์ก็เคยเสียบุคคลอันเป็นที่รักในฐานะแม่ไปด้วยสาเหตุคล้ายๆ กัน “ตอนนั้นแม่ไม่ได้ป่วยอะไรเลยนะ เพียงแค่แม่ต้องการไปเช็คสุขภาพเท่านั้นที่โรงพยาบาลเพราะแม่เป็นโรคหอบหืด หมอเลยทำการเช็คหัวใจด้วย เพราะอาจจะเป็นโรคหัวใจโตได้ แม่ก็นอนที่โรงพยาบาลเพื่อจะเช็คหัวใจให้ละเอียด พอเช้าวันรุ่งขึ้นโรงพยาบาลก็ทำการฉีดสีเพื่อตรวจหัวใจ แล้วแม่ก็ช็อคเพราะแม่แพ้และจากไปในวันนั้น ซึ่งทำให้ทุกคนช็อคมาก เพราะด้วยวัยและสุขภาพของแม่ที่แข็งแรงดี แค่การเข้าไปตรวจสภาพร่างการเท่านั้น ทำให้ครอบครัวต้องเสียโอกาสในชีวิตไปหมด” อภิญญา ตันทวีวงศ์ เผยลิ้นชักความทรงจำถึงการจากไปของแม่ด้วยอายุเพียง 34 ปี หลังจากมีลูกสาวให้พ่อได้เชยชม 3 คนในวัยไล่เลี่ยกันพี่สาวคนโต 9 ขวบ น้องสาววัย 3 ขวบ และเธอ 6 ขวบ พ่อจึงกลายเป็นแม่ในอีกบทบาทหนึ่งของครอบครัว และเลี้ยงลูกมาโดยลำพัง และเธอยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นนำความทุกข์ และชิงโอกาสต่างๆของคำว่าครอบครัวไปจากเธอ เมื่อเธอเติบโตขึ้นเธอเคยถามพ่อว่า ‘เคยคิดที่จะฟ้องหมอไหม’ พ่อตอบว่าเคยคิด แต่ครั้นปรึกษาผู้ใหญ่แล้ว การยื่นฟ้องศาลถือเป็นเรื่องใหญ่มาก และองค์การด้านสิทธิผู้บริโภคก็ยังไม่เกิด การฟ้องรังแต่จะสร้างภาระให้กับครอบครัวเพิ่มมากขึ้น พ่อจึงไม่เอาความหมอแต่ความทุกข์นั้นก็ไม่ได้หายไปจากใจของพ่อ และทำหน้าที่ทั้งพ่อและแม่เลี้ยงลูกจนเติบโตทั้งสามคน หลังจากล้มเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2551 ด้วยวัย 81 ปี พ่อของอภิญญาเส้นเลือดในสมองซีกซ้ายแตก ครอบครัวพาพ่อส่งโรงพยาบาลที่พ่อมีสิทธิประกันสังคม ซึ่งถึงแม้พ่อจะออกจากงานแล้วก็ส่งมาตลอด ระหว่างนั้นลูกๆ ก็เฝ้าพยาบาลพ่อจนออกจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นที่บ้านได้ จากนั้นก็ฟื้นฟูด้วยการพาไปทำกายภายบำบัดอยู่เสมอๆ จนเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน พ่อของเธอมีการเกร็ง กระตุก และชัก เธอจึงพาพ่อส่งโรงพยาบาลอีกครั้ง ครั้นถึงโรงพยาบาล แพทย์มองว่าพ่ออยู่ในภาวะวิกฤตจึงนำตัวเข้าห้องไอซียู และติดตามดูอาการในห้องไอซียู 48 ชม.เพื่อป้องกันการชักซ้ำ ซึ่งอาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้ในขณะชัก หลังจากนั้นพ่อก็กลับไปพักฟื้นที่บ้านโดยทุกคนในครอบครัวช่วยกันดูแลใกล้ชิดพ่อตลอดเวลา ซึ่งถึงแม้พ่อจะไม่กลับมาเดินได้อีกครั้งแต่พ่อก็รู้สึกตัว มีสติ จำทุกคนได้หมด จนพ่อมีอาการเกร็งกระตุก อีก 2 ครั้ง ในเดือนกันยายนและตุลาคมซึ่งก็ได้รับการดูแลที่ดีจากโรงพยาบาลมาโดยตลอด ปลายปี 2551 โรงพยาบาลแห่งนี้ก็จะออกจากประกันสังคม ทางครอบครัวจึงมองหาโรงพยาบาลใกล้บ้านไว้เพราะหมอได้บอกไว้ว่า อาการพ่อของเธอนั้นเมื่อเกิดอาการชัก เกร็ง ซึ่งเป็นลักษณะอาการของคนที่เส้นเลือดในสมองแตก จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้สมองได้รับความเสียหายและอาจเสียชีวิตได้ ทางครอบครัวจึงเลือกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดประกันสังคม ย่านถนนรามคำแหง ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียง 15 – 20 นาทีก็ถึงโรงพยาบาล และด้วยความเป็นห่วงพ่อ ทางครอบครัวจึงพาพ่อไปหาหมอที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ดังกล่าว เพื่อจะได้มีการทำประวัติและบันทึกอาการของพ่อของเธอไว้เป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อเตรียมการในกรณีป่วยฉุกเฉิน แล้วภาวะนั้นก็มาถึง วันที่ 19 มีนาคม 2552 พ่อของเธอชักอีกครั้ง และนั่นเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายที่ได้ใช้สิทธิที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ “พ่อชัก เกร็งกระตุก ด้วยอาการแบบนี้ เราก็รีบนำตัวพ่อส่งโรงพยาบาล พอถึงโรงพยาบาลเวลา 9.45 น. ก็ถูกนำตัวเข้าห้องฉุกเฉินและฉีดยากันชักให้ พร้อมห่มผ้าให้พ่ออย่างหนา ซึ่งทำให้เราไม่เห็นว่าพ่อยังชักอยู่ไหม ยังมีการเกร็งอยู่หรือเปล่า แล้วก็วัดความดันเป็นครั้งคราว เราก็ยืนอยู่ข้างเตียงพ่อแล้วก็ถามว่าจะรักษาพ่อต่ออย่างไร เขาบอกต้องทำซีทีสแกนสมองก่อน สักพักเวลา 10.30 น. เขาก็พาพ่อไปทำซีทีสแกนและส่งขึ้นหอผู้ป่วยตอน 11 โมงแล้วก็ตรวจวัดความดันอีกเช่นเดิม ไม่มีหมอมาตรวจ มีเพียงพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลเท่านั้น สักเที่ยงก็เลยไปถามพยาบาลว่า ‘เมื่อไรหมอประจำวอร์ดจะมาดูอาการ’ พยาบาลบอกว่าหมอไปทำธุระที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จะเข้ามาดูอาการหลังบ่าย 3 แต่หมอสั่งยาทางโทรศัพท์ไว้แล้ว ไม่ต้องห่วง เราก็กังวลละสิทีนี้ ระหว่างนั้นเราก็ทำอะไรไม่ได้เลย ต้องรออย่างอดทน สักบ่าย 2 บุรุษพยาบาลก็มาวัดความดันพ่ออีกครั้ง ครั้งนี้ความดันพ่อสูงเกิน 200 แต่พยาบาลก็ไม่ได้ทำอะไร ได้แต่บอกว่าเป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยแบบนี้ สักพักพ่อก็ตาค้าง ไม่มีสติ เราก็ขอร้องให้พยาบาลตามหมอมาที พยาบาลก็โทรไปหาหมอเล่าอาการของพ่อ แล้วหมอก็สั่งให้พยาบาลฉีดยาให้กับพ่อเพิ่ม พ่อก็ยังเกร็ง และกระตุกอยู่ จนบ่ายสามโมงครึ่ง หมอก็มาดูอาการของพ่อ บอกว่าผลซีทีสแกนออกมาแล้ว พ่อมีน้ำคั่งในโพรงสมอง แต่เขาช่วยอะไรไม่ได้ เพราะเขาเองเป็นหมออายุรกรรมทั่วไป ต้องให้หมอด้านสมองมาดู ซึ่งหมอสมองนี่ก็เป็นคุณหมอพาร์ทไทม์อีก ไม่รู้จะมาเมื่อไร เราก็โห...นี่รอหมอมาครึ่งค่อนวัน แล้วยังช่วยอะไรไม่ได้อีก” เมื่อรู้ว่าการรอคอยอย่างอดทนกว่า 7 ชั่วโมง ที่มีชีวิตของพ่อเป็นเดิมพันไม่มีสัญญาณที่ดี เธอจึงขอย้ายพ่อไปรักษาอีกโรงพยาบาลในย่านเดียวกัน ก่อนจะย้ายทางโรงพยาบาลนั้น หมอบอกกับเธอว่าพ่อของเธออยู่ในภาวะวิกฤตต้องใช้เครื่องช่วยหายใจขณะย้าย ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายได้ พร้อมส่งเอกสารให้เธอเซ็น 1 ฉบับ ถึงแม้จะอยู่ในช่วงชุลมุนเธอก็ยังมีสติที่จะอ่าน ซึ่งใจความบอกว่า จะไม่เอาความและไม่ฟ้องร้องโรงพยาบาลหากเกิดความเสียหายเกิดขึ้น และเธอก็ใช้นาทีชุลมุนเก็บเอกสารนั้นมาด้วย เพราะเธอมองว่ามันไม่ยุติธรรมเลยที่โรงพยาบาลจะทำแบบนี้ ถ้าหากเป็นญาติผู้ป่วยรายอื่นๆ อาจจะเซ็นไปแล้วก็ได้เพราะเวลานั้นเป็นช่วงเวลาเร่งรีบและอาจเกรงว่าถ้าไม่เซ็นโรงพยาบาลจะไม่ให้พาตัวออกไปก็เป็นได้ บ่ายสี่โมงครึ่ง พ่อของเธอก็ถึงอีกโรงพยาบาล ซึ่งขณะนั้นพ่อของเธออยู่ในภาวะหัวใจวาย และโคม่า จึงถูกนำตัวเข้าห้องไอซียู และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา  ตลอด 15 วันที่พ่อนิ่งสนิทไม่รู้สึกตัว เธอและครอบครัวอยู่ดูแลไม่ห่างถึงแม้จะเข้ามาเยี่ยมได้บางเวลาเท่านั้น แต่ก็อยู่ที่หน้าห้องไอซียูเสมอ การงานที่เคยทำของลูก หนังสือที่เคยเรียนของหลาน ความกังวลใจต่างๆ นานา ถาโถมเข้าสู่ครอบครัวตันทวีวงศ์อีกครั้ง ทำให้เธอเกิดคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการรักษาพยาบาล เมื่อคราวแม่และเมื่อคราวของพ่อ ที่ระยะเวลาห่างกันถึง 37 ปี แต่เหตุการณ์คล้ายๆ กันก็ยังเกิดขึ้น “หมอเรียกพวกเราไปคุยและบอกว่าพ่อจะไม่กลับมาเหมือนเดิมแล้วนะ ถึงแม้พ่อจะฟื้นขึ้นมา เพราะสมองของพ่อขาดออกซิเจนนานเกินไปแล้วตั้งแต่ก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนี้ ต้องเป็นผู้ป่วยนอนเตียงเวลากินก็กินทางสายยาง การรับรู้ก็น้อยมากเพราะสมองเสียหายไปมากตั้งแต่ตอนเริ่มชัก และทางเลือกที่มีอยู่ก็คือการเจาะคอเพื่อที่จะให้อาหารและให้อากาศ เพื่อให้พ่อมีชีวิตอยู่ได้ พอได้ฟังแบบนั้นเราก็ปรึกษากัน หาข้อมูลต่างๆ ว่าจะทำอย่างไร เราจะยอมให้พ่อตื่นขึ้นมาทุกครั้งแล้วอยู่กับความเจ็บปวดไหม ของที่ชอบก็ไม่ได้กิน หายใจเองก็ยังทำไม่ได้ สุดท้ายพวกเรายอมให้พ่อจากไป ยอมให้หมอถอดเครื่องช่วยหายใจและย้ายพ่อมารักษาที่ห้องพักฟื้นผู้ป่วย ไม่เกิน 48 ชั่วโมง พ่อก็จากไปอย่างสงบท่ามกลางลูกหลานครบทุกคน” เธอเล่าถึงนาทีสุดท้ายที่ได้อยู่กับพ่อ หลังการจากย้ายโรงพยาบาลมาอยู่โรงพยาบาลใหม่ อภิญญาบอกว่าทางโรงพยาบาลเดิมก็มาเยี่ยม และส่งเจ้าหน้าที่มาเจรจา เพราะเธอไม่ได้ส่งใบสัญญานั้นคืนให้โรงพยาบาล  ด้วยหลักฐานต่างๆ ที่เธอมีมันพร้อมที่จะเอาผิดโรงพยาบาลได้ แต่เธอเลือกที่จะไม่ฟ้องหมอหรือโรงพยาบาล เธอหวังเพียงจะให้เกิดการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และเพื่อปกป้องผู้ประกันตนคนอื่นๆ อยากให้เกิดการกำกับดูแลมาตรฐานโรงพยาบาลนั้นที่มีการบันทึกเวชระเบียนที่เป็นเท็จหลังจากเธอยื่นขอเวชระเบียนไป เหตุการณ์นี้ทำให้เธอนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อประกันสังคม สุดท้ายหลังการเจรจา ทางโรงพยาบาลยอมจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นทั้งหมดราวๆ 340,000 บาท “ญาติที่ฟ้องหมอหรือโรงพยาบาล จริงๆ แล้วไม่ได้ต้องการเงิน แต่ต้องการเห็นอะไรบางอย่างต้องการความรับผิด ต้องการการดูแลที่ดีจากโรงพยาบาล ต้องการวัดใจกันว่าทางโรงพยาบาลรู้สึกสำนึกไหมกับสิ่งที่ทำลงไปไหม ก็รู้สึกเสียใจที่พาพ่อส่งโรงพยาบาลผิด ถ้าเราพาพ่อส่งโรงพยาบาลถูกพ่อก็จะอยู่กับเราต่อ ถึงแม้ญาติๆ จะมีความรู้บ้างแต่ถึงที่สุดแล้วความรู้ความเชี่ยวชาญจริงๆ ก็ต้องเป็นหมอ และอีกอย่างการรักษาพยาบาลก็ไม่ใช่การซื้อของที่ไม่พอใจก็ไปซื้อที่อื่น ในขณะที่พ่อชักอยู่ก็พาพ่อขึ้นรถไปโรงพยาบาลอื่น มันไม่ใช่ เราไม่ฟ้องหมอหรือโรงพยาบาล เราเพียงแค่อยากให้มีการควบคุมดูโรงพยาบาล อยากให้ประกันสังคมเข้าไปควบคุมดูแลให้สมกับเงินที่จ่ายให้ประกันสังคมทุกเดือนๆ หน่อย เราไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นกับใครอีก อยากให้เรื่องของพ่อเป็นบทเรียนในการปรับปรุงบริการ ถ้าหมอมองว่าผู้ป่วยจะใช้โอกาสที่เขาพลาดเพื่อฟ้องเรียกเงิน 10 ล้าน 20 ล้าน มันไม่ใช่เลย ความสูญเสียต่างๆ มันเกิดขึ้น อย่างโรงพยาบาลทำแม่ตาย ถ้ามองว่าเราสูญเสียอะไรบ้าง เราเสียโอกาสการได้รับการเลี้ยงดูที่ดี เสียคุณภาพชีวิต เสียแม่ ซึ่งถ้าหากจะคิดเป็นตัวเงินเพื่อฟ้องร้องตอนนั้นมันก็มีเหตุผลที่ฟ้องร้องกันได้ ถ้าเทียบกับกรณีของพ่อ ค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลต้องจ่ายมันเป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยมากๆ “พอเห็นหน้าเขาก็ดีใจนะ ดีใจที่เขาเกิดมาปกติ ไม่พิการ” เนื้องอกที่มีหัวใจ ของบังอร มีประเสริฐ “แม่ใครน่ะ ใครเหรอ” น้องอาร์มแฝดคนน้องเซ้าซี้ถามบังอร มีประเสริฐ ผู้เป็นแม่ด้วยความใคร่รู้ว่าแม่พูดโทรศัพท์กับใคร ส่วนน้องอั้มแฝดคนพี่ นั่งคลอเคลียไม่ห่างแม่  ลูกชายแฝดวัย 8 ขวบของบังอร  ที่ครั้งหนึ่งหมอมีคำวิจฉัยว่าเขาสองคนเป็นเนื้องอกในมดลูกของบังอรเมื่ออยู่ในท้องได้ 6 เดือน ย้อนไปเมื่อปี 2545 เดือนเมษายน บังอร มีประเสริฐ รู้อึดอัดแน่นท้อง อีกทั้งท้องก็โตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลังจากเธอมีลูกชายให้สามีได้เชยชมแล้ว 1 คน บังอรก็กินยาคุมมาตลอด 9 ปี จึงแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งท้องอย่างแน่นอน แต่อาการผิดปกติทำให้กังวล เธอจึงให้สาธิต  นาคขันทอง ผู้เป็นสามี พาไปตรวจที่สถานีอนามัยปากมาบ แต่ด้วยความจำกัดด้านอุปกรณ์ หมออนามัยจึงใช้การคลำท้องและพบว่ามีก้อนเนื้อภายในท้อง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเนื้องอกหรือว่าบังอรตั้งท้องกันแน่ จึงแนะนำให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล ผลการตรวจของโรงพยาบาลซึ่งตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ พบว่าบังอรไม่ได้ท้อง หมอจึงวินิจฉัยว่าเหตุที่บังอรท้องโตนั้นเกิดจากเนื้องอก ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงทำการผ่าตัดเพื่อผ่าตัดเนื้องอกในท้องของบังอร แต่แล้วหลังการผ่าตัดที่หมอวินิจฉัยว่าเป็น “เนื้องอก” นั้นแท้จริงแล้วเป็นเด็กแฝด 2 คนอยู่ในมดลูกของบังอรที่ขณะนี้มีอายุครรภ์ถึง 6 เดือนแล้วหลังการผ่าตัดคุณหมอได้ออกมาแสดงความยินดีกับครอบครัวของบังอรที่หน้าห้องผ่าตัดว่า ‘ยินดีด้วย เพราะบังอรไม่ได้เป็นเนื้องอกในท้อง แต่บังอรท้องเด็กแฝด’ กลับไปพักฟื้นที่บ้านได้ ไม่มีอะไรต้องกังวล ‘ไม่มีอะไรต้องกังวล’ แต่กลับเป็นเรื่องที่สร้างความกังวลและความลำบากให้กับครอบครัวของบังอรเป็นอย่างมาก การตั้งท้องดูจะเป็นเรื่องยากเย็นที่สุดของผู้หญิงแล้ว แต่บังอรอุ้มท้องลูกแฝด  ซ้ำร้ายกว่านั้นเป็นท้องที่มีแผลผ่าตัดที่ยาวกว่าคืบ การจะพลิกตัวแต่ละครั้งจึงเป็นเรื่องที่แสนสาหัสสำหรับบังอร  อีกทั้งกังวลว่าแผลจะปริออกด้วยเพราะท้องเธอก็โตขึ้นทุกวันๆ  ตลอดระยะ 3 เดือน ที่รักษาแผลให้หายจนผ่าตัดคลอด สามีจึงต้องคอยอยู่ดูแลบังอรเกือบจะตลอดเวลา งานรับจ้างและทำประมง ด้วยรายได้ 2 คนที่ตกวันละ 200 – 300 บาท จึงมีอันต้องหยุดลง และประทังชีวิตครอบครัวด้วยการหยิบยืมเงินเพื่อนบ้านเพื่อเลี้ยงปากท้อง ในเดือนกรกฎาคม 2545 น้องอั้มและน้องอาร์ม ลูกชายฝาแฝด ของบังอรก็ลืมตาดูโลก ร่างกายสมบูรณ์ดีด้วยน้ำหนัก 3 ก.ก. กรัม เมื่อแรกคลอดทั้งคู่ ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดที่โรงพยาบาลเดิม หากแต่ว่าเปลี่ยนหมอในการผ่าตัด “พอเห็นหน้าเขาก็ดีใจนะ ดีใจที่เขาเกิดมาปกติ ไม่พิการ” ความกังวลของบังอรหมดไป 1 เปาะ แต่มีอีกเปาะที่เธอยอมรับว่าท้อเหลือเกินในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการเยียวยา ความผิดพลาดของทางโรงพยาบาล 23 พฤษภาคม 2545 บังอรได้ได้ยื่นเรื่องต่อปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้พิจารณาชดเชยค่าสินไหม ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2535 เพราะเธอถูกผ่าท้องฟรีและได้สร้างความวิตกกังวลว่า การผ่าท้องที่เกิดขึ้นจะทำให้ส่งผลกระทบต่อลูกแฝดในท้องหรือไม่ เธอเฝ้ารอผลการร้องเรียนด้วยใจหวัง แต่แล้ววันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 ผลที่ออกมาทำให้เธอถึงกับเข่าอ่อน นั่นเพราะว่าสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าการผ่าตัดของหมอนั้นเหมาะสมแล้ว และนั่นเป็นการผ่าท้องเพื่อวินิจฉัยโรค ไม่ใช่การรักษาโรค ทำให้เธอสงสัยว่าเดี๋ยวนี้เขาวินิจฉัยโรคกันอย่างนี้เลยหรือ หลังจากได้ฟังคำตอบจากสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขแล้ว เธอไม่เชื่อว่านั่นเป็นการวินิจฉัยโรค เธอยังคงตามหาความเป็นธรรมต่อไปด้วยการยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเมื่อต้นปี 2546 เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และขอให้หมอที่ทำการผ่าตัดเธอ และโรงพยาบาลร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับครอบครัวของเธอเป็นเงิน 500,000 บาท แต่เธอก็ต้องผิดหวังอีกครั้ง เพราะวันที่ 18 มีนาคม 2546 ศาลปกครองกลางไม่รับฟ้อง ในเรื่องให้มีการชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็ทำให้ใจเธอชื้นขึ้นมาบ้างเพราะศาลยอมรับคำฟ้องในข้อหาขอให้ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของสำนักงานปลัดฯ 3 ปีผ่านไป บังอรกลับมาใช้ชีวิตด้วยอาชีพรับจ้าง และทำประมง เลี้ยงครอบครัวดังเช่นปกติ โดยคดีของเธอยังคงดำเนินต่อไป และวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 ผลการรับคำฟ้องไปเมื่อ 3 ปีก็ออกมาว่าศาลยกฟ้อง เพราะกระบวนการในการออกคำสั่งของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว 29 มิถุนายน 2549 เธอจึงยื่นอุทธรณ์คดีต่อศาลปกครองสูงสุด และการรอคอยก็ผ่านไปอีก 1 ปี 15 สิงหาคม 2550 ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาออกมาว่า การผ่าตัดเธอนั้นถือเป็นการกระทำละเมิด และให้โอนคดีของเธอกลับไปยังศาลยุติธรรม จังหวัดที่เกิดเรื่องนั่นก็คือที่จังหวัดสมุทรสงคราม  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 เธอจึงยื่นเรื่องฟ้องศาลใหม่อีกครั้ง ในที่สุด 15  พฤษภาคม 2551 ก็มีการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยเกิดขึ้นระหว่าง ครอบครัวของบังอร โดยมีเจ้าหน้าที่ของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคไป ร่วมเจรจาไกล่เกลี่ย ซึ่งทราบว่าหมอที่ทำการผ่าตัดบังอรได้เสนอค่าเยียวยาเธอมาเป็นจำนวนเงิน 80,000 บาท ซึ่งการฟ้องครั้งนี้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคและบังอร ต้องการให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ได้ต้องการรับค่าเสียหายจากหมอ จึงยื่นข้อเสนอสำนักงานปลัดจ่ายไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท วันที่ 23 พฤษภาคม 2551 จึงมีการเจรจาไกล่เกลี่ยอีกครั้ง โดยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดยินดีที่จะรับผิดชอบแทนสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และอยากจะยุติเรื่องราวทั้งหมด เพราะส่วนตัวแล้วหมอเองก็รู้สึกเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา จึงยินดีช่วยเหลือเยียวยาค่าเสียหายและเป็นทุนการศึกษาให้กับลูกชายทั้งสองของบังอร เป็น 120,000 บาท  สุดท้ายวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 บังอรได้รับการชดเชยเยียวยาจำนวนเงิน 140,000 บาท กว่า 6 ปีของเส้นทางการตามหาความยุติธรรมของบังอร เธอบอกว่าระยะเวลาการต่อสู้นานขนาดนี้ ทำให้เธอท้อมาก “พอเห็นหน้าเขาก็ดีใจนะ ดีใจที่เขาเกิดมาปกติ ไม่พิการ” แต่ยาใจสำคัญที่ทำให้เธอมีแรงสู้ต่อก็คือ “ลูก” ของเธอนั่นเอง และเธอหวังว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งกำลังรอพิจารณาอยู่ในสภาฯ ขณะนี้จะมีส่วนในการช่วยลดความขัดแย้งระหว่างหมอกับผู้ป่วย และจะมีกระบวนการเยียวยาที่รวดเร็ว รวมถึงน่าจะช่วยพัฒนาระบบสาธารณสุขไทยด้วยเช่นกัน -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เรื่องเล่าจากหัวใจพ่อ กลางดึกวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 ขวัญอุทัย แสนทายก ในฐานะพ่อ กำลังส่งใจไปยื้อหัวใจลูกสาวคนเล็ก “น้องครีม” วัย 1 ขวบ 22 วัน ที่เต้นแผ่วลงทุกทีๆ ในห้องรักษาของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในขณะเดียวกันเขาก็ต้องยื้อหัวใจที่ยังเต้นตุบๆ หากแต่ว่าสลายไปแล้วของ สริชญา ติดสันโดษ  ภรรยาของเขา ที่ร่ำไห้ปานจะขาดใจอยู่หน้าห้อง “หมอบอกว่าลูกเราจะไม่เป็นไร แต่ทำใจดีๆ ไว้นะ” คำปลอบของเขากลับทำให้ภรรยาร้องไห้หนักขึ้น ด้วยคำว่า “ทำใจดีๆ” และนั่นเป็นถ้อยคำที่ดีที่สุดแล้วของเขา  ย้อนไปเมื่อเช้าของวันที่ 6 กรกฎาคม ย่าพาน้องครีมมาหาหมอด้วยอาการอาเจียนและถ่ายท้องอย่างหนัก หลังหมอตรวจอาการแล้ว บอกว่าเป็นไวรัสลงกระเพาะ ไม่เป็นอะไรมากให้กลับไปพักที่บ้านได้ ในขณะที่ขวัญอุทัย ซึ่งลางานมาเฝ้า “น้องคริส” ลูกสาวแฝดผู้พี่ที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ก่อนหน้า 2 วันแล้วด้วยอาการเดียวกัน รู้สึกเบาใจขึ้นมาบ้างหลังรู้ว่าลูกสาวคนเล็กไม่เป็นอะไรมาก ทว่าตกเย็นวันนั้น “น้องครีม” อาการทรุดลงขึ้นจึงถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง โดยโรงพยาบาลนำตัวไปที่ห้องฉุกเฉินและปล่อยให้รออย่างนั้นกว่า 1 ชั่วโมง โดยไม่มีการตรวจรักษา ขวัญอุทัยจึงขอปรอทจากพยาบาล มาวัดไข้ลูกเองซึ่งปรอทขึ้นถึง 38 องศา ทำให้เขากังวลว่าน้องครีมจะช้อคเพราะน้องเคยช้อคมาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อไข้ขึ้นถึง 39 องศา หลังวัดไข้เสร็จ “น้องครีม” ก็เปลี่ยนจากการงอแง เป็นเริ่มนิ่งแบบไม่ตอบสนอง เขาจึงขอให้หมอและพยาบาลช่วยรักษาให้หน่อย จึงได้รับการตอบสนองโดยพยาบาลนำตัวน้องครีมไปเช็ดตัว จนน้องเริ่มตัวเย็นลงแล้วก็ให้มาอุ้มไว้เช่นเดิม จนเวลา 4 ทุ่ม ทางโรงพยาบาลจึงให้เข้าพักรักษาตัว และพักอยู่เตียงใกล้ๆกับ “น้องคริส” แฝดผู้พี่ “มันเป็นช่วงเวลาการรอคอยที่ยาวนานมากครับ ไปตั้งแต่ 5 โมงเย็น กว่าจะได้ขึ้นไปห้องผู้ป่วยในก็ 4 ทุ่ม แต่ก็อุ่นใจครับเพราะเตียงอยู่ใกล้ๆกันกับพี่สาวของเขา ทำให้ดูแลได้ง่ายขึ้น น้องครีมจะแข็งแรงกว่าพี่สาว อย่างครั้งนี้ก็เหมือนกันพี่สาวเขาเป็นหนักกว่า” ขวัญอุทัยย้อนเล่าเหตุการณ์ที่เขาไม่อาจลืมได้ แต่แล้วขณะแม่น้องครีมกำลังให้นมอยู่กับอก ไข้ขึ้นสูงและเกิดอาการช็อค นักศึกษาแพทย์ที่กำลังจะเช็ดตัวให้ ก็รีบนำตัวเข้าห้องรักษา นักศึกษาแพทย์ก็กรูกันเข้าไปช่วยกัน โดยไม่มีหมอประจำการอยู่ที่นั่น จนเวลาผ่านไปกว่า 45 นาที ที่นักศึกษาแพทย์ช่วยกันปั๊มหัวใจ สักครู่ก็มีคนเข้ามา และบอกให้เขาทำใจ… สุดท้ายน้องครีมจากไป เวลาตี 1 วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม 2552 ด้วยสาเหตุระบุว่า “หัวใจล้มเหลว” “คือเหมือนหัวใจผมมันสลายไปแล้ว" ตอนแรกผมก็อุ่นใจเพราะที่นี่เป็นโรงพยาบาล เกิดอะไรขึ้นก็จะช่วยเหลือได้ทัน แต่พอถึงเวลาฉุกเฉินจริงๆ กลับช่วยเหลือไม่ได้เลย ผมเชื่อว่าลูกผมไม่ได้ตายเพราะโรค เพราะครั้งหนึ่งน้องเคยช้อคมาครั้งหนึ่งแล้วแต่ได้รับการช่วยเหลือทัน แต่ครั้งนี้ กดกันจนหน้าอกช้ำแล้วหมอก็ไม่มีอยู่เวร การเยียวยาหลังการเสียชีวิตของน้องครีมครอบครัวของขวัญอุทัย ขอพบผู้อำนวยการโรงพยาบาล ซึ่งตอนนั้นคิดไว้ว่าหากไม่ยอมดำเนินการอะไรต่อเรื่องการเสียชีวิตของ “น้องครีม” ทางครอบครัวก็ตกลงกันว่าจะฟ้องร้องให้ถึงที่สุด ด้วยหวังว่าอยากให้ทางโรงพยาบาลปรับปรุงบริการ และดูแลเอาใจใส่คนอื่นๆให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะแสดงอาการเจ็บป่วยหรือไม่ ก็ควรจะดูแลไม่ควรที่จะเพิกเฉยต่อการรักษาและควรจะมีทีมหมอพร้อมถึงแม้จะเป็นวันหยุดยาว ไม่ใช่ปล่อยไปแบบนี้ พร้อมเรียกค่าเยียวยาและค่าเลี้ยงดูไป 290,000 บาท ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 ซึ่งขณะนั้นลูกสาวคนโตยังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หลังการเข้าพบทางโรงพยาบาลมีการเรียกประชุมผู้บริหาร และเข้าเจรจากับครอบครัวขวัญอุทัย พร้อมให้การดูแลน้องคริสเป็นอย่างดี และชดเชยเยียวยาค่ารักษาพยาบาลเต็มจำนวนที่เรียกไปในวันที่ 22 ตุลาคม 2552 “ผมว่าถ้าเขาดูแลน้องครีมดีแบบนี้ตั้งแต่ตอนแรก การสูญเสียทั้งสองฝ่ายก็ไม่เกิดขึ้น เพราะเงินที่นำมาชดเชยให้ผมก็เป็นเงินจากภาษีประชาชนนั่นเอง และเงินจำนวนเพียงเท่านี้ถ้าเทียบกับชีวิตของลูกสาวผม มันเทียบกันไม่ได้เลย” นอกจากการได้รับการเยียวยาจากทางโรงพยาบาลแล้ว ครอบครัวของขวัญอุทัย ได้ใช้สิทธิตามมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ยื่นเรื่องไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในเดือนเดียวกันและได้รับการเยียวยาในวันที่ 21 มกราคม 2553 จำนวนเงิน 200,000 บาท อีกหนึ่งชีวิตที่ยังเหลืออยู่ เมื่ออีกหนึ่งชีวิตจากไป อีกสามชีวิตที่อยู่จะอยู่ต่ออย่างไร แม่น้องครีมบอกเพียงว่า ไม่อยากจะพูดถึง เธอบอกได้เพียงเท่านั้น หยาดน้ำตาก็รื้นขึ้นมาเล่าเรื่องราวแทนถ้อยคำ “มันพูดยากครับ เพราะเขาสองคนเคยเล่นอยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน นอนด้วยกัน แล้วชีวิตคู่แฝดเขาจะมีความสัมพันธ์กัน เขาก็จะไปเล่นกับลูกของเพื่อนบ้าน มีอะไรเขาก็แบ่งปันให้ เขาคงคิดว่าเป็นน้องของเขาเวลาเห็นหน้าน้องคริส แล้วจะคิดถึงน้องครีมตลอด คือเราจะคิดว่าถ้าน้องครีมยังอยู่นะโตเท่านี้แล้วนะ พ่ออุ้มคนนั้น แม่อุ้มคนนี้ คือมัน…ขาดไปหลายอย่าง อืม…ไม่รู้จะอธิบายอย่างไรดีครับ” เขาหยุดผ่อนลมหายใจอีกครั้งและนั่นเป็นการอธิบายที่ดีแล้วสำหรับเขา ถึงแม้จะผ่านไปกว่า 1 ปีแล้ว แต่ทุกอย่างยังคงชัดเจนสำหรับเขาเสมอ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point