ฉบับที่ 96 ผลสำรวจค่าธรรมเนียมโรงเรียนอนุบาล

ปิติ วาสนาดำรงดี ผลสำรวจค่าธรรมเนียมโรงเรียนอนุบาล“สมัยนี้ ค่าธรรมเนียมโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่ไหนๆ ก็แพงกันทั้งนั้น แล้วฉันจะส่งลูกเข้าเรียนที่ไหนดีล่ะ“ นี่เป็นปัญหาใหญ่มากๆ ของบรรดาผู้ปกครองทั้งหลาย เมื่อพบว่าบุตรหลานของพวกเขาอายุครบ 3 ขวบแล้ว ถึงเกณฑ์ที่จะส่งเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1 ค่าธรรมเนียมแพงจริงไหม และมีที่มาจากค่าอะไรบ้าง เราควรเลือกอย่างไรให้เหมาะสมกับฐานะเศรษฐกิจของครอบครัวและให้เหมาะสมกับลูกรัก แล้วรัฐบาลได้เข้ามาอุดหนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาอย่างไรเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง เรามาติดตามกัน แบ่งประเภทโรงเรียนอนุบาลตามสังกัด โรงเรียนอนุบาลในบทความนี้ คือโรงเรียนที่เปิดสอนชั้นระดับอนุบาล1 ขึ้นไป ซึ่งมีหลายระดับตั้งแต่เป็นโรงเรียนที่เปิดสอนระดับอนุบาลอย่างเดียว หรือเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ขึ้นไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลขอแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มเอกชน แบ่งออกเป็นโรงเรียนในเครือคาทอลิก โรงเรียนเอกชนทั่วไป และโรงเรียนนานาชาติ ทุกแห่งสังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 2.กลุ่มโรงเรียนรัฐบาล โดยหลักแล้วแบ่งย่อยออกเป็น โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) โรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกระทรวงมหาดไทย   ต้องเตรียมเงินไว้เท่าไหร่กับค่าธรรมเนียมการศึกษาเทอมแรก ค่าธรรมเนียมการศึกษาเทอมแรก จะหมายถึงค่าเล่าเรียนรวมค่าแรกเข้า ค่าอาหาร ค่าอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในวันที่ผู้ปกครองจะต้องชำระในวันมอบตัวต่อโรงเรียน (สำหรับโรงเรียนใดมีมากกว่า 2 เทอม ค่าธรรมเนียมการศึกษาเทอมแรกจะเพิ่มขึ้นโดยการหารเฉลี่ยเพื่อคิดแบบ 2 เทอมต่อปี)   โรงเรียนอนุบาลในเครือคาทอลิก 1.โรงเรียนอนุบาลในเครือคาทอลิก ในกทม. ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 22,000 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด จำนวน 6,500 -50,000 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 แห่ง)2.โรงเรียนอนุบาลในเครือคาทอลิก ในตจว. ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 13,500 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด จำนวน 3,180 -36,880 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 แห่ง)ประมาณการสัดส่วนค่าใช้จ่ายโรงเรียนในเครือคาทอลิก แบ่งเป็น ค่าเล่าเรียน 41% ค่าแรกเข้า 27% ค่าอาหาร 17%และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 15%   โรงเรียนอนุบาลเอกชนทั่วไป1.โรงเรียนอนุบาลเอกชนทั่วไป ในกทม. ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 20,350 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด จำนวน 4,000 -57,800 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 64 แห่ง)2.โรงเรียนอนุบาลเอกชนทั่วไป ในตจว. ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 8,040 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด ฟรี -79,000 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 85 แห่ง)ประมาณการสัดส่วนค่าใช้จ่ายโรงเรียนเอกชน แบ่งเป็น ค่าเล่าเรียน 31% ค่าแรกเข้า 26% ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 23%และค่าอาหาร 20% สำหรับสัดส่วนห้องเรียนชั้นอนุบาลโรงเรียนเอกชนอยู่ในช่วง 2-3 ห้อง มีนักเรียนประมาณ 20-30 คน และมีครู 2 คน (มีครู 1 คน พี่เลี้ยง 1 คน) โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ1.โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ ในกทม. มีค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่ ตั้งแต่ 150,000 บาทขึ้นไป มีค่าธรรมเนียมเฉลี่ย 247,300 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด จำนวน 64,000 – 759,200 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 แห่ง)2.โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ ในตจว. มีค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50,001-300,000 บาท มีค่าเฉลี่ยคือ 173,820 บาท โดยมีค่าธรรมเนียมต่ำสุด- สูงสุด จำนวน 41,000 – 430,000 บาท (สุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 แห่ง จากทั้งหมด 30 แห่ง) ประมาณการสัดส่วนค่าใช้จ่ายโรงเรียนนานาชาติ แบ่งเป็น ค่าเล่าเรียน 40% ค่าแรกเข้า 38% ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 19%และค่าอาหาร 3%ส่วนโรงเรียนนานาชาติมีอยู่ในช่วง 1-2 ห้อง และมีนักเรียนอยู่ในช่วง 10-25 คน และมีครูในช่วง 2-3 คน (ครู 2 พี่เลี้ยง 1 คน) โรงเรียนอนุบาลของรัฐบาลโรงเรียนของรัฐบาลนั้นมีค่าธรรมเนียมการศึกษาฟรี รัฐอุดหนุน 100% ตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ผู้ปกครองเสียแค่ ค่าอาหาร ค่าพี่เลี้ยงค่าใช้จ่ายส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งรวมกันแล้วประมาณ 3,000 ต่อเทอม วิธีคิดค่าธรรมเนียมเทอมสองแบบคร่าวๆค่าธรรมเนียมเทอมสองนั้น มีวิธีคิดง่ายๆ คือ นำค่าธรรมเนียมการศึกษาแรกเข้า เทอม 1 หักค่าใช้จ่ายค่าแรกเข้า (โดยส่วนใหญ่แล้วค่าแรกเข้าคือส่วนต่างระหว่างค่าธรรมเนียมการศึกษาทางเทอม 1 กับเทอม 2) ตัวอย่างเช่น โรงเรียนอนุบาลในเครือคาทอลิก มีค่าธรรมเนียมเทอม 1 รวมค่าแรกเข้าเฉลี่ย เท่ากับ 22,000 บาท และมีสัดส่วนแรกเข้าเท่ากับ 27% หรือและเท่ากับ 5,940 บาท ดังนั้นโรงเรียนจะมีค่าใช้จ่ายเทอม 2 ประมาณ 16,060 บาท (สัดส่วนนี้เป็นการประมาณแบบคร่าวๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละสถาบัน) โครงสร้างค่าธรรมเนียมการศึกษาเทอมแรกรวมค่าแรกเข้า โรงเรียนอนุบาลเอกชนทั่วไปในกทม.พิจารณาจากค่าธรรมเนียมรวมค่าแรกเข้าในเทอมแรก โดยใช้ค่าเทอมเฉลี่ยโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพฯ จำนวน 64 แห่ง สุ่มตัวแทนจากทุกเขตรวมกัน มีค่าเฉลี่ยค่าธรรมเนียมการศึกษาเทอมแรกเท่ากับ 20,350 บาท และมีค่าธรรมเนียมเทอมสองหักค่าแรกเข้าร้อยละ 30 (พิจารณาจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายโรงเรียนเอกชน) จะเหลือค่าธรรมเนียมเทอม 2 จำนวน 14,245 บาท เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวน 5,896 บาทต่อคนต่อปี รวมเป็นค่าธรรมเนียมการศึกษาแรกเข้าแท้จริง จำนวน 40,491 บาทต่อคนต่อปี ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1.ส่วนค่าเล่าเรียนที่โรงเรียนเรียกเก็บจากนักเรียน(~40%) เป็นการเก็บค่าเรียนแบบคงที่ จำนวน 4,960 บาท 2.ส่วนเงินอุดหนุนจากรัฐบาล เป็นเงินอุดหนุนแบบคงที่(~60%) จำนวน 5,896 บาท แบ่งเป็น เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายพื้นฐานจำนวน 1,700 บาทและเงินอุดหนุนเงินเดือนครูต่อนักเรียน 1 คนจำนวน 4,196 บาท 3.เงินค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มเติมแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า,ค่าอาหาร,ค่าอุปกรณ์พิเศษ,ค่าเรียนพิเศษ,ค่าบำรุงการศึกษา ฯลฯ จากข้อมูลนี้พบว่า ค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่โรงเรียนเรียกเก็บเพิ่มเติมมีมากสุด ร้อยละ 73 ค่าเล่าเรียนที่โรงเรียนเรียกเก็บจากนักเรียน ร้อยละ 12 เงินอุดหนุนเงินเดือนครูต่อนร.1 คน ร้อยละ 10 เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายพื้นฐานร้อยละ 4 ส่วนเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียนจากรัฐบาลมีอัตราต่ำรวมกันมีเพียงร้อยละ 14 เท่านั้น ขณะที่ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติมจากโรงเรียนอยู่ในอัตราสูงร้อยละ 73 ถ้าโรงเรียนสามารถลดค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพิ่มเติมหรือคงระดับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ในปีต่อไป และให้ภาครัฐเข้ามาเพิ่มสัดส่วนเงินอุดหนุนให้มากขึ้นก็จะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองในยามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ได้ เงินอุดหนุนของรัฐต่อโรงเรียนอนุบาลเอกชน ปัจจุบันโยบายของรัฐที่ให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียนอนุบาลเอกชน รายหัวนักเรียนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 จากยอดรายรับต่อหัวเฉลี่ยของโรงเรียน ซึ่งทางรัฐคำนวณแล้วว่ารายได้ต่อนักเรียน 1 คนเท่ากับ 10,856 บาท แบ่งเป็นเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายพื้นฐาน 1,700 บาท* เงินอุดหนุนเงินเดือนครูต่อนักเรียน 1 คน 4,196 บาท รวมเป็นเงินอุดหนุน 5,896 บาท โรงเรียนเรียกเก็บจากนักเรียนอีก 4,960 บาท ค่าใช้จ่ายพื้นฐาน คือ ค่าใช้จ่ายจริงสำหรับผู้เรียนทุกคนและค่าใช้จ่ายสำหรับสถานศึกษาเพื่อดำเนินงานจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานการณ์ปัจจุบันโรงเรียนเอกชนขอรับเงินอุดหนุนกว่าร้อยละ 90 จากโรงเรียนทั้งหมด ทั้งนี้โรงเรียนที่ขอรับเงินอุดหนุนจะต้องประกาศเฉพาะค่าเล่าเรียนไว้ตามที่รัฐบาลกำหนดเท่ากับจำนวน 4,960 บาท โรงเรียนที่ไม่ขอรับเงินอุดหนุน ส่วนใหญ่จะเป็นโรงเรียนนานาชาติและโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง ปัจจุบันรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พยายามส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยการเพิ่มเงินอุดหนุนค่าเล่าเรียนให้ ร้อยละ 70 จากเดิม ร้อยละ 60 ช่วยลดภาระค่าเล่าเรียนของผู้ปกครองให้เหลือเพียงร้อยละ 30 และนโยบายเรียนฟรี 15 ปีจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 5,000 บาทต่อปี หากทำได้จะทำให้สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาที่โรงเรียนเรียกเก็บจากนักเรียน ปีละ 4,960 บาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 96 เลือกโรงเรียนอนุบาลให้ลูกรัก

ปิติ วาสนาดำรงดีกองบรรณาธิการ โรงเรียนอนุบาลในประเทศไทยมีจำนวนมากเหลือเกิน แล้วจะเลือกอย่างไรดี คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกในวัยที่ถึงเกณฑ์ต้องส่งลูกเข้าเรียนชั้นอนุบาลคงกลุ้มใจเหลือกำลัง ยิ่งเข้ายุคเศรษฐกิจไม่ดีด้วยแล้ว เหลือบไปเห็นค่าเทอมค่าธรรมเนียมที่แสนจะแพงเข้า ก็เล่นเอาหนาวไปเหมือนกัน แต่เพื่อให้ลูกรักได้สิ่งที่ดีที่สุด คุณพ่อคุณแม่ต้องพิถีพิถันกันหน่อย และก็ไม่ใช่ว่า ราคาแพงจะเป็นคำตอบสุดท้าย เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงถึงให้มากที่สุดคือ ลูกได้รับการดูแลที่ดี โรงเรียนสามารถเตรียมความพร้อมให้ลูกได้มากพอจะไปรับมือหรือเรียนรู้กับสังคมได้ ที่สำคัญลูกต้องมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนด้วยมิใช่หรือ   ฉลาดซื้อแนะ หลักในการเลือกโรงเรียนอนุบาล1. เยี่ยมชมโรงเรียนคุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจเลือกโรงเรียนให้บุตรหลานของคุณจากเหตุผลเพราะโรงเรียนอยู่ใกล้บ้านหรือได้รับคำชักชวนจากเพื่อนบ้าน ถึงอย่างไรก็ดี สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นและมือคลำ เนื่องจากโรงเรียนที่คุณเลือกอาจไม่ได้ตรงตามสิ่งที่คุณต้องการ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรเข้าเยี่ยมชมโรงเรียนด้วยตนเอง สิ่งต่างๆที่ควรสังเกต เรียงตามลำดับก่อน-หลัง ดังนี้การเดินทางเข้ามาโรงเรียน มีความสะดวกสบายและมีการจราจรเป็นอย่างไร มีป้ายบอกชื่อและทางเข้าโรงเรียนไหม สถานที่จอดรถสำหรับการรับส่งนักเรียนเป็นอย่างไร สภาพพื้นที่ภายนอกก่อนเข้ามาที่โรงเรียนว่ามีความปลอดภัยเพียงใดและวิธีการแลกบัตรเข้ามาโรงเรียน เป็นต้นห้องเรียน ควรไปชมการเรียนการสอนในห้อง ตรวจดูความสะอาด สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในห้องเรียนว่ามีพอเพียงหรือไม่ อุปกรณ์ความปลอดภัยในห้องเรียน เช่น ถังดับเพลิง และสิ่งแวดล้อมภายนอกห้องเรียน ข้อควรคำนึงคือโปรดระมัดระวังการจัดฉากจากโรงเรียนระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายนอกห้องเรียน เช่น ระบบไฟฟ้า ประปา ห้องน้ำ ตู้น้ำดื่ม ห้องพยาบาล โรงอาหาร สนามเด็กเล่น สนามกีฬา สระว่ายน้ำ สระว่ายน้ำ เป็นต้น พิจารณาว่ามีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีความสะอาด หรือไม่ อาหารและนม คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกไปเยี่ยมชมโรงเรียนช่วงก่อนรับประทานอาหารเที่ยงของนักเรียนสักเล็กน้อย เพื่อจะได้เห็นการรับประทานอาหารของเด็กนักเรียน และพิจารณาว่าอาหารและนมของเด็กมีคุณภาพเพียงพอหรือไม่ 2. ขอดูนโยบายและแนวทางการเรียนการสอนโรงเรียนอนุบาลหลักๆ มี 2 แนว คือ แนวกระแสหลัก เน้นการเรียนรู้เชิงวิชาการ กับแนวทางเลือก เน้นการเตรียมความพร้อม และใช้นวัตกรรมการเรียนแบบใหม่ โรงเรียนอนุบาลกระแสหลักหรือแนววิชาการซึ่งโรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่จะเป็นแบบแนวนี้ เป็นรูปแบบจัดการเรียนการสอนแต่ดั้งเดิม ด้วยเชื่อว่าเด็กมีศักยภาพในการเรียนรู้ได้เต็มที่ ดังนั้นควรเร่งสอนให้เด็กสามารถหัดอ่าน หัดเขียน หัดบวกลบเลขให้ได้โดยเร็ว เพื่อจะสามารถเรียนรู้เพิ่มขีดความสามารถของสมองให้กว้างขึ้น ส่วนโรงเรียนอนุบาลทางเลือกหรือแนวเตรียมความพร้อม จะเน้นพัฒนาศักยภาพของเด็ก โดย นําเอาความต้องการของเด็ก ความสุขของเด็กเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเริ่มที่ตัวเด็กเอง โดยผ่านกิจกรรมทั้งหลาย เช่น วาดรูป เล่นเกม ร้องเพลง เป็นต้น เพื่อพัฒนาแนวคิด สำหรับนวัตกรรมการสอนและทฤษฎีที่โรงเรียนทั้วไปยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Reggio Emilia, Project Approach, Whole Language , จิตพิสัย เป็นต้น การศึกษาและสอบถามนโยบายและแนวทางการเรียนการสอนจากคุณครูหรือผู้บริหารจะทำให้เข้าใจแนวคิดของโรงเรียน และเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ครูผู้สอน นอกจากนั้นควรสอบถามถึงรางวัลโรงเรียนดีเด่นหรือรางวัลชนะเลิศด้านต่างๆของโรงเรียน อัตราการเข้าเรียนโรงเรียนดัง รวมถึงถามคำถาม เกี่ยวกับอัตราสวนคุณครูกับจำนวนนักเรียน ข้อมูลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันที่นักเรียนแต่ละคนต้องทำ 3. ตรวจสอบครูผู้สอน ครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการอบรม สั่งสอน และปลูกฝังความคิด ทัศนะคติและความรู้ แก่เด็ก ดังนั้น คุณพ่อและคุณแม่ควรสัมภาษณ์ครูผู้สอน ประวัติการศึกษา ถ้าคุณครูจบมาทางด้านครุศาสตร์มาโดยตรงจะมีความได้เปรียบกว่าสายอื่นๆ เนื่องจากคุณครูจะสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้อย่างดี นอกจากนั้นลักษณะและบุคลิกของครูผู้สอนก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอย่างรอบคอบ 4.ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆโรงรียนอนุบาลเอกชน โดยมากมักมีค่าธรรมเนียมการศึกษาต่ำ แต่จะมีค่าแรกเข้าสูง หรือหลายๆครั้งโรงเรียนจะเลี่ยงการเก็บค่าแรกเข้าที่สูง โดยเก็บเป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าอุปกรณ์,ค่ากิจกรรมพิเศษ,ค่าคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ทั้งหมดที่เกี่ยวกับค่าเทอมแรกเข้า ค่าเทอมสองและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตลอดปีการศึกษาด้วย และถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องออกเพิ่มเติมด้วย เช่น ค่าเสื้อผ้า,ค่าหนังสือ,ค่ารถโรงเรียน ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่จะไม่นำมาคำนวณในค่าเทอมแรกเข้า และควรคำนวณให้เพียงพอต่อรายได้ของครอบครัว คำแนะนำเพิ่มเติมกรณีโรงเรียนเอกชนตรวจสอบรายได้ของผู้ปกครอง โดยใช้เกณฑ์ 10% จากรายได้ครัวเรือน รายได้ของครอบครัว(คุณพ่อและคุณแม่)ที่เหมาะสมคือเดือนละ 30,000 บาท ขึ้นไป สามารถส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนได้ เนื่องจากสามารถรับค่าเล่าเรียนเอกชนตกเดือนละประมาณ 3,000 บาทได้ (ค่าธรรมเนียมการศึกษาเฉลี่ยต่อปีประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป) หรือร้อยละ 10 ของรายได้ ซึ่งพิจารณาจากผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2549 พบว่าครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 17,787 บาท รายได้จำนวน100%แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ อาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ 32% ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 22% ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะ และการเดินทาง 18% การสื่อสาร 4% ค่ารักษาพยาบาล 2% ค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา 2% และมีเงินออม 20% ดังนั้นเมื่อนำเงินออม 8% หรือลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ 8% เพราะควรเหลือเงินออมขั้นต่ำร้อยละ 10 ของรายได้ จะสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านการศึกษาและส่งบุตรหลานเข้าเรียนโรงเรียนเอกชนได้ ทั้งนี้หนี้สินเพื่อการศึกษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นเพื่อการศึกษาของตนเองในอัตราร้อยละ 2 นั้นยังค่อนข้างต่ำเพราะหนี้สินเพื่อการศึกษาถือว่าเป็นการลงทุนประการหนึ่ง ที่เพิ่มศักยภาพของการหารายได้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต สำหรับโรงเรียนนานาชาตินั้น รายได้ครอบครัวควรมีรายได้เดือนละประมาณ 400,000 บาท เป็นต้นไป เนื่องจากค่าธรรมเนียมเฉลี่ยตกปีละ 500,000 บาทหรือเดือนละ 41,666 บาท คิดในอัตราส่วนร้อยละ 10 ของรายได้ ตามหลักเกณฑ์ข้างต้น คุณแม่เลือกอย่างไรคุณปวีณา ตั้งจิตรพร ผู้ปกครองส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลคาทอลิก ต่างจังหวัด เป็นผู้ปกครองท่านหนึ่งที่มีรายได้เพียงพอและมีความเห็นว่าโรงเรียนอนุบาลเอกชนมีค่าธรรมเนียมการศึกษาไม่แพงนัก เหมาะสมกับคุณภาพการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดให้ แสดงความเห็นดังนี้ “ที่เลือกส่งลูกเรียนเพราะโรงเรียนอยู่ใกล้บ้านและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีการเรียนการสอนครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิชาพื้นฐานทั่วไปหรือด้านภาษา โดยโรงเรียนให้ความสำคัญกับการเรียนด้านภาษามาก นอกจากนั้นทางโรงเรียนได้จัดการเรียนพิเศษภาคฤดูร้อน(summer) โดยคลอบคลุมทักษะด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา,ดนตรี,ศิลปะและคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านมาถือว่าโรงเรียนได้มีคุณภาพการสอนดี สังคมและสิ่งแวดล้อมที่นี่ก็ดี กิจกรรมที่โรงเรียนจัดทุกปีคือ เช่น งานกีฬาสี กิจกรรมผู้ปกครองก็มีเช่น กิจกรรมของสมาคมผู้ปกครอง อยากให้ลูกเรียนที่นี่จนถึง ป 6. แล้วจึงให้ลูกเรียนต่อในโรงเรียนของรัฐชื่อดัง เพราะมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัดกว่า ลูกสอบได้ที่ไหนก็ให้เข้าเรียนที่นั่น สำหรับค่าเทอมถือว่าไม่แพงนัก ค่าเทอมปกติประมาณเทอมละ 20,000 บาท แต่ผู้ปกครองที่จะส่งลูกเข้าเรียนที่นี่ควรมีฐานะปานกลางขึ้นไป จะได้ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นตามมา” ในขณะที่ผู้ปกครองที่ส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลรัฐบาล (สพฐ.).ในต่างจังหวัด คุณสวนีย์ ฉ่ำเฉลียว กล่าวว่า “ที่เลือกส่งลูกเรียนที่นี่เพราะโรงเรียนอยู่ใกล้บ้าน มีญาติเป็นครูในโรงเรียน อีกทั้งตนเองยังเป็นศิษย์เก่าที่เคยเรียนมา โรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ป6.เชื่อมั่นในคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนนี้ เพราะสามารถปั้นให้เป็นคนเก่งได้ทุกคน ไม่จำเป็นต้องเรียนในโรงเรียนเอกชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเด็กเองด้วย ที่ผ่านมาเห็นว่าคุณครูมีความเอาใจใส่ต่อเด็กทุกคน มีความเข้าใจเด็ก และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างดี อัตราครูต่อนักเรียนของโรงเรียนไม่น้อยเกินไป มีความเหมาะสม อีกทั้งค่าธรรมเนียมการศึกษาฟรี จ่ายเพียงค่าเสื้อผ้า 500 บาทเท่านั้น”

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point