ฉบับที่ 240 ผลการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ เฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5

        สังคมเมืองในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ยิ่งในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นติดขัดมักจะเกิดปัญหาคุณภาพอากาศ โดยหนึ่งในปัญหาที่พบมากในขณะนี้คือ ปัญหาฝุ่นละออง (PM) ซึ่งเกิดขึ้นจากการจราจร การเผาไหม้ในที่โล่ง และภาคอุตสาหกรรม จากการวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมักเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μm (PM2.5) ทำให้ในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมใช้เครื่องฟอกอากาศ (Air cleaner/ Air Purifier) มาช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในอาคาร/บ้านเรือนของตนเอง จึงมีผู้ผลิตหลายรายหันมาผลิตเครื่องฟอกอากาศ เน้นประชาสัมพันธ์ว่าสามารถช่วยลดฝุ่นละออง (PM2.5) พร้อมช่วยขจัดมลพิษและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ          การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องฟอกอากาศที่มีในท้องตลาดมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดฝุ่นละออง  เน้นเฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5 โดยใช้วิธีและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน จากการสุ่มซื้อตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศในท้องตลาด และทางออนไลน์จำนวน 9 ยี่ห้อ ได้แก่  Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST, Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M), Licc รุ่น Fresh 241, Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  , Saijo Denki รุ่น AP-P35, SHIMONO รุ่น AP-9000, Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV, Tefal รุ่น PU6067, และ LG รุ่น AS60GDPV0 (เก็บตัวอย่างสินค้าเดือนกันยายน 2563)         ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศ         ผลการทดสอบเป็นผลลัพธ์จากการคำนวณค่าอัตราการส่งอากาศสะอาด (Clean Air Delivery Rate; CADR) และพื้นที่ห้องที่ใช้ได้ (Applicable floor area) ของทั้ง 9 รุ่น          สรุปผลการทดสอบ         จากผลการทดสอบ พบว่า ประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 โดยพิจารณาจากค่าประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นในแง่อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate, CADR) สูงสุด ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Shimono รุ่น AP-9000 มีค่า CADR สูงสุด เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 71.36 ตารางเมตร และอันดับ 2 ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 56.71 ตารางเมตร ในอันดับ 3 คือ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  โดยทั้ง 3 ยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 เป็นไปตามที่โฆษณาไว้         อันดับ 4 Licc รุ่น Fresh 241 และอันดับ 5 LG รุ่น AS60GDPV0 อันดับ 6 คือยี่ห้อ Tefal รุ่น PU6067 อันดับ 7 คือยี่ห้อ Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M) อันดับ 8 คือยี่ห้อ Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV อันดับ 9 ยี่ห้อ Saijo Denki รุ่น AP-P35 แต่ขนาดห้องที่แนะนำ ทั้ง 6 ยี่ห้อ ไม่เป็นตามคำโฆษณา เนื่องจากมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุไว้        วิธีการทดสอบ        การทดสอบครั้งนี้ ทำการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศจำนวน 9 รุ่น โดยอ้างอิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศเฉพาะด้านประสิทธิภาพการลด PM2.5 (มอก. 3061 – 2563) ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศสำหรับในที่อยู่อาศัยและงานที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน เช่น บ้านเรือน สำนักงาน ร้านค้า เป็นต้น โดยทำการทดสอบในห้องที่มีการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศให้มีค่าน้อยที่สุดและมีการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 μm (PM2.5) ที่สร้างให้มีค่าอยู่ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3          3.1 เงื่อนไขการทดสอบ        สำหรับฝุ่นที่ใช้ในการทดสอบนี้ ทางผู้ทดสอบจะใช้เครื่องสร้างฝุ่น TOPAS aerosol generator ATM 226 (ดังรูปที่ 1‑1) เพื่อสร้างฝุ่นจำลอง โดยปกติเครื่องนี้จะสร้างฝุ่นจำลองที่มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-0.9 μm ซึ่งฝุ่นส่วนใหญ่มีขนาดอนุภาค 0.2 μm โดยแผนภูมิการกระจายตัวของขนาดฝุ่นแสดงดังรูปที่ 1‑2              3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ            เครื่องวัดความเข้มข้นของ PM2.5 ในการทดสอบนี้คือ DUSTTRAK DRX AEROSOL MONITOR 8533 แสดงดังรูปที่ 1‑3 ซึ่งเครื่องวัดดังกล่าวสามารถวัดความเข้มข้นของ PM2.5 แบบ Real-time ได้             3.3 ลักษณะของห้องที่ใช้ในการทดสอบ             ห้องที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองนี้มีขนาดห้อง 30.45 m3 [กว้าง×ยาว×สูง:3.53 m x 3.45 m x 2.50 m] โดยคุณสมบัติของห้องดังกล่าวสามารถรักษาระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้องได้ ซึ่งฝุ่นละอองต้องลดลงน้อยกว่า 20% ของความเข้มข้นเริ่มต้นในระยะเวลา 30 นาที        นอกจากนี้จะติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบริเวณริมห้องโดยให้เว้นระยะจากผนังห้องเป็นระยะ 30 cm ตามที่ผู้ผลิตได้ระบุไว้ รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องวัดความเข้มข้นฝุ่นละอองและเครื่องมืออื่นๆ บริเวณกึ่งกลางห้อง โดยมีความสูงจากพื้น 1.2 m แผนผังห้องและการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด แสดงดังรูปที่ 1-4 และรูปที่ 1-5        3.2 วิธีการทดสอบ        สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพนี้จะทำการทดสอบโดยตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา เพื่อคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของการกำจัดฝุ่นละออง และเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องทดสอบอัตราการระบายอากาศ (Air exchange rate) การลดลงตามธรรมชาติของฝุ่นละอองภายในห้องขณะยังไม่มีเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศ (Natural decay) และทดสอบการลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศ (Decay of dust concentration)        การลดลงของฝุ่นละอองตามธรรมชาติ (Natural decay)         ดำเนินการโดยการสร้างฝุ่นละอองเพื่อให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ภายในห้องมีค่าอยู่ในช่วง 1.0 - 5.0 mg/m3 จากนั้นจะทำการวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้องเป็นเวลา 30 นาที เพื่อหาค่าที่การ Natural decay โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองหลังจากเวลาผ่านไป 30 นาที ควรมีค่าความเข้มข้นมากกว่า 80 % ของความเข้มข้นเริ่มต้น         การลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศ (Decay of dust concentration)         ในการทดสอบนี้จะดำเนินการเหมือนกับการทดสอบ Natural Decay แต่หลังจากสร้างฝุ่นละอองจนได้ความเข้มข้นของ PM 2.5  ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3 จะทำการเปิดเครื่องฟอกอากาศโดยจะวัดความเข้มข้นของ PM 2.5 เป็นเวลา 90 นาที หรือจนกว่าความเข้มข้นของ PM 2.5 จะเหลือความเข้มข้นน้อยกว่า 0.020 mg/m3 หรือ 20 µm/m3        การคำนวณหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ                 สำหรับการคำนวณนี้จะทำการคำนวณค่าประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศในแง่ของ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate; CADR) เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสร้างอากาศสะอาดของเครื่องฟอกอากาศhttps://consumerthai.org/consumers-news/product-and-other/4554-641203_airpurifier.html

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 228 รู้เท่าทันการบำบัดฝุ่นละออง PM2.5 ด้วยอาหารและสมุนไพร

        ขณะนี้ ปัญหาสุขภาพที่กระทบกับคนไทยและทั่วโลกคงไม่มีอะไรเกินกว่าโรคปอดอักเสบจากโคโรนาไวรัส และฝุ่นละออง PM2.5  ประเทศที่ครองแชมป์ PM2.5 ยังคงเป็นประเทศจีน ส่วนไทยก็ยังติดอันดับต้นๆ ของโลกเช่นเดียวกัน คนไทยคงต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นละอองไปอีกหลายปี แพทย์ทางเลือกออกมาพูดว่า การกินน้ำปั่นบร็อคโคลีสด จะบำบัดพิษภัยของ PM2.5 ได้ รวมทั้ง รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรก็แนะนำให้กินสมุนไพร 5 ชนิดเพื่อรักษาอันตรายจาก PM2.5 เรามารู้เท่าทันกันเถอะ  ฝุ่นละออง PM2.5 กระทบต่อร่างกายอย่างไร         PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกของมนุษย์ไม่สามารถกรองได้ PM2.5 จึงสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่อวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้โดยตรง ทะลุถึงถุงลมปอดได้ทันที เกิดการระคายเคืองและมีผลต่อทางเดินหายใจ ทำลายอวัยวะระบบทางเดินหายใจโดยตรง เกิดการระคายเคืองตา ระคายคอ แน่นหน้าอก หายใจถี่ หลอดลมอักเสบ เกิดอาการหอบหืด ถุงลมโป่งพอง  น้ำบร็อคโคลี่ปั่นสดบำบัดพิษภัยของ PM2.5 ได้จริงหรือ         มีการศึกษาวิจัยจำนวนมากพอควรเกี่ยวกับ อาหารและวิตามินต่าง ๆ ในการลดพิษภัยของมลพิษและฝุ่นละออง  งานวิจัยชิ้นหนึ่งทำการศึกษาในประเทศจีน พบว่า บร็อคโคลีมีสาร กลูโคไซโนเลท กลูโคราฟานิน ซึ่งช่วยป้องกันสารเคมีต่าง ๆ และมีซัลโฟราเฟน (sulforaphane) ที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างเอนไซม์กลูตาไทโอนทรานส์เฟอเรส[1] เมื่อให้ประชากรจำนวน 291 คนกินน้ำบร็อคโคลีปั่นสดเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จะมีการขับสาร mercapturic acid จากมลพิษต่างๆ  เบนซีน และอื่นๆ การกินน้ำบร็อคโคลีปั่นสดจึงช่วยขับสารพิษจากมลภาวะต่างๆ ทางอากาศ และอาจเป็นแนวทางในการเสริมสร้างสุขภาพและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพระยะยาวได้ [1] กลูตาไทโอนเป็นสารที่พบได้ทั่วไปในผักและเนื้อสัตว์  โรคบางชนิดเกิดจากเซลล์ถูกทําลายโดยอนุมูลอิสระ (free radical) ทั้งนี้ กลูตาไทโอนเป็นสารต้านออกซิเดชัน (antioxidant) ที่มีฤทธิ์กําจัดอนุมูลอิสระ ดังนั้นการเพิ่มระดับกลูตาไทโอนในร่างกายจึงอาจช่วยบรรเทาอาการของโรคต่าง ๆ ได้           นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่แสดงว่า วิตามินบี ซี อี ดี และโอเมก้า-3 มีผลในการป้องกันการทำลายจาก PM2.5 ในสภาพอากาศที่มีมลภาวะ การกินอาหารสุขภาพที่มีสารอาหารจำเป็นอาจป้องกันโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางเดินหายใจ สมุนไพรสู้ฝุ่นของอภัยภูเบศรสู้ได้จริงหรือไม่         แม้ว่าจะยังไม่มีงานวิจัยคลินิกรองรับ แต่ในแง่ของสารต้านอนุมูลอิสระปริมาณมากในมะขามป้อม และขมิ้นชัน สามารถช่วยการทำลายเซลล์จากมลภาวะและความเสื่อมได้ ดังนั้นก็จัดอยู่ในสารอาหารธรรมชาติที่ป้องกันการทำลายเซลล์จากมลพิษต่าง ๆ ฟ้าทะลายโจร ก็ช่วยในการรักษาไข้หวัด ทางเดินหายใจ รางจืด ก็ช่วยในการขับสารพิษจากสารเคมีฆ่าแมลงได้เป็นอย่างดี       อย่างไรก็ตาม การป้องกันและลดพิษภัยจาก PM2.5 ที่ดีที่สุดคือ การใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง การหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่กลางแจ้งเป็นเวลานาน การออกกำลังกายในสถานที่ที่มีฝุ่นละอองน้อย และการกินอาหารธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่มเติม >