ฉบับที่ 161 “Startup” บริษัทไอทีต้องมีคุณธรรม

น่ายินดีกับข่าวคราวความเคลื่อนไหวของคนในแวดวงการไอทีและเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ตอนนี้รายงานจากผลสำรวจผู้ก่อตั้งกิจการโลกหรือ World Startup Report ล่าสุดพบว่า 50 อันดับแรกของประเทศที่มีบริษัทไอทีเกิดขึ้นใหม่เมืองไทยบ้านเราก็ติดอันดับกับเขาด้วยเหมือนกันอยู่ในอันดับที่ 36 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านแล้วความเก่งไม่แพ้กันเลยยกตัวอย่างสิงคโปร์และมาเลเซียซึ่งตอนนี้อยู่ในอันดับที่ 30 และ 32 ตามลำดับ “บริษัทไอทีหน้าใหม่” ซึ่งศัพท์เฉพาะของคนในวงการไอทีเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Startup” นั้นนับว่ามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพอสมควรทีเดียวเพราะปัจจุบันบริษัทไอทีสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทยกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทและจากที่ได้ติดตามความเคลื่อนไหวของ Startup ในงาน “Start it Up, Power it Up  ครั้งที่ 6” ซึ่งจัดขึ้นโดยทีมงานผู้ดูแลเว็บไซต์ thumbsup.in.thเมื่อเร็วๆนี้ก็พบว่าบริษัทไอทีอันดับ 1 ของไทยคือAsiaSoftมีมูลค่าตลาดสูงถึง 5,810 ล้านบาทรองลงมาคือAgodaมูลค่าตลาด 2,440 ล้านบาทและอันดับ 3 คือOokbeeมูลค่าตลาด 2,250 ล้านบาท เมื่อมองไปถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันนี้เราจะพบว่าผู้คนนิยมซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะไม่ต้องออกจากบ้านสินค้าราคาไม่แพงแถมมาส่งถึงหน้าบ้านอีกด้วยสะดวกสบายและจ่ายเงินน้อยอย่างนี้จึงทำให้มีผู้บริโภคกว่า 23 ล้านคนเลือกที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าวอย่างไรก็ตามธุรกิจไอทีเป็นการซื้อขายผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนแตกต่างจากการค้าขายทั่วไปโดยสิ้นเชิงไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้าไปจนถึงการชำระเงินจึงทำให้หลายๆครั้งที่สินค้าที่ได้มาไม่ตรงตามความต้องการหรือคุณภาพด้อยกว่าที่ผู้บริโภคคิดไว้   เพื่อป้องกันการถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภคและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าวไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายสินค้าในรูปแบบต่างๆมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้ให้แนวทางวิธีป้องกันไว้ดังนี้ 1.      เมื่อผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ต้องเก็บหลักฐานการสั่งซื้อไว้เช่นหลักฐานการโอนเงินค่าสินค้าหรือเอกสารสั่งซื้อหากกรณีมีปัญหาสินค้าที่สั่งมาไม่ได้คุณภาพตามที่โฆษณาจะได้เอาผิดกับผู้ประกอบการได้ 2.      กรณีสั่งซื้อสินค้าไม่ได้รับสินค้าตามระบุไว้ในโฆษณาในเว็บไซต์ให้ทำหนังสือส่งไปยังเจ้าของเว็บไซต์พร้อมแนบสำเนาหลักฐานการโอนเงินและการสั่งซื้อสินค้าระบุให้ผู้ประกอบการจัดส่งสินค้าใหม่ให้ผู้บริโภคภายใน 7 วันนับจากที่ได้รับจดหมายหรือเอกสาร 3.  หากพ้นวันที่กำหนดการจัดส่งสินค้าและไม่ได้รับสินค้าเข้าข่ายหลอกลวงให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าแจ้งความที่สำนักงานตำรวจใกล้บ้าน นอกจากนี้ผู้บริโภคยังสามารถร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหากพบว่ามีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคได้ผ่านช่องทางต่างๆได้ไม่ว่าจะเป็นกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคโทรศัพท์ 02-5137113,02-5133681 , มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 02-2483737 หรือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166 เมื่อทางด้านผู้บริโภคมีวิธีป้องกันการละเมิดสิทธิแบบนี้แล้วด้านผู้ประกอบการที่คิดจะทำธุรกิจนี้ให้ประสบความสำเร็จมีลูกค้าจำนวนมากๆอยู่ในแวดวงไอทีได้นานๆนอกจากการทำให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยสินค้าที่มีคุณภาพโดนใจและส่งสินค้าได้ทันใจแล้วก็ควรต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าด้วยการทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรมไม่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคและยึดหลักความถูกต้อง – ซื่อสัตย์ – เชื่อถือได้ไม่หลอกลวงก็จะส่งผลให้สามารถทำธุรกิจอยู่ได้อย่างยั่งยืน. //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point