ฉลาดซื้อเปิดผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ

        ฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภค เปิดเผยผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ( RO, UF, UV ) พบว่า เครื่องกรองน้ำบางยี่ห้อ ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน พร้อมเสนอ สมอ.ออกมาตรฐานบังคับ                                 วันนี้ ( 30 กรกฎาคม 2564 ) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภคและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ แถลงผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ ( RO, UF, UV ) โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง นักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ  กล่าวว่า  “ ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป การทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ในครั้งนี้เน้นเลือกเครื่องกรองน้ำที่มีการเปิดเผย หรือเผยแพร่คุณสมบัติจากการโฆษณา จำนวน เครื่อง จาก 3 ระบบการกรอง  โดยสุ่มซื้อเก็บตัวอย่างเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และจากเว็ปไซต์ห้างค้าปลีกออนไลน์ ในเดือนธันวาคม  พ.ศ. 2563 การทดสอบครั้งนี้ทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์         1.เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) จำนวน  11 ตัวอย่าง        2.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultrafiltration (UF) จำนวน 8 ตัวอย่าง        3.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultraviolet (UV) จำนวน 7 ตัวอย่าง การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ RO มีรายละเอียด ดังนี้        เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Toshiba รุ่น TWP-N1890UK Stiebel Eltron รุ่นGlacier Filtex รุ่น FT 241 RO Aquatek รุ่น RO 150 GPD และ Mi รุ่น water purifier 1A         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น RO PURE LI และ Pure รุ่น KT RO         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Treatton รุ่น RO 300 GPD และ Turboraรุ่น 5ROC-PRC         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบบทีเรียได้ ได้แก่ Carina รุ่น  CA-5RO และ Pentair รุ่น GRO-50 System การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UF มีผลทดสอบ ดังนี้          เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Stiebel Eltron รุ่น Rain Plus และ Pure รุ่น DM 01         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Unipure รุ่น BLUE 20”(UF)         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Astina รุ่น AP401UF และ Aquatek รุ่น Silver UF         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น BUF-401N Filtex รุ่น FT-220 และ Mazuma  รุ่น AQ 50 UF  การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UV มีรายละเอียด ดังนี้        เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น AQ-5F-UVS และ Amway รุ่น eSpring         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Pure รุ่น DM 01 UV และ Filtex รุ่น FT-229         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น 5PUVPRC Carina รุ่น CA-5UV และ Absolute รุ่น Ultraviolet & Ceramic        ผู้บริโภคสามารถใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรียของครื่องกรองน้ำ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอื่นๆ  ของเครื่องกรองน้ำประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกรองโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารพิษอื่นๆ เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำที่เราใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้         ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมีข้อแนะนำว่า  ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอนามัย อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน                                                                                                         โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า “ น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภค ควรมีสิทธิเข้าถึงน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาด ปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย ประกอบกับน้ำประปานั้น แม้เป็นน้ำสะอาดที่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ตามที่การประปาประกาศ แต่กระบวนการส่งน้ำจากโรงกรองน้ำที่กว่าจะมาถึงท่อน้ำประปาแต่ละบ้านนั้นอาจจะมีสิ่งปลอมปนจากปัญหาท่อน้ำแตก ท่อน้ำบางช่วงเกิดตะกอนสะสมจนสกปรก หรือแม้แต่สิ่งสกปรกจากการซ่อมท่อน้ำได้เช่นกัน ดังนั้น การติดตั้งเครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือนเพื่อสร้างความอุ่นใจในการบริโภคน้ำให้มากขึ้น  แต่ในปัจจุบันนั้น  มาตรฐานของเครื่องกรองน้ำ ที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. นั้น เป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ ทำให้มีเครื่องกรองน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่าย และผู้บริโภคก็ต้องเจอความเสี่ยงต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องกรองน้ำก็มุ่งหวังจะได้สินค้าที่ตัวช่วยเพื่อให้ได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัยมากขึ้น แต่ผู้บริโภคเองก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ขณะซื้อและหลังซื้อ ว่าเครื่องกรองน้ำตัวใดกรองเชื้อแบคทีเรียได้หรือไม่  อีกทั้งเครื่องกรองน้ำทุกวันนี้ เน้นทำโฆษณากับผู้บริโภคชวนเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการกรองสิ่งเจือปนต่างๆ  ในเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องกรองน้ำตามคำโฆษณาได้โดยง่าย จึงควรเป็นหน้าที่รัฐที่ต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ออกมาตรฐานเครื่องกรองน้ำ เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคต่อสินค้าดังกล่าวด้วย  สภาองค์กรของผู้บริโภคในฐานะตัวแทนของผู้บริโภคเห็นว่า เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประเด็นเครื่องกรองน้ำเป็นสินค้าที่จำเป็นที่หน่วยงานรัฐควรมีการกำกับดูแลและยกระดับมาตรฐานของสินค้าให้สูงขึ้น สภาฯจะมีการทำข้อเสนอแนะนโยบายไปยัง สมอ. เพื่อติดตามการกำหนดมาตรฐานบังคับของเครื่องกรองน้ำเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่อไป         อ่านรายละเอียดผลทดสอบเพิ่มเติมได้ที่ ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (1) ระบบ RO https://www.chaladsue.com/article/3771 และ ผลการทดสอบประสิทธิภาพ การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV https://www.chaladsue.com/article/3772        ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ชนิษฎา โทรศัพท์ 0813563591

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 ผลการทดสอบประสิทธิภาพ การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV

การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV      น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภคต้องเลือกน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย เครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือน         ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป        ต่อไปนี้คือ ผลการทดสอบ เครื่องกรองน้ำระบบ UF และ ระบบ UV  (วิธีการทดสอบเดียวกับการทดสอบเครื่องกรองน้ำระบบ RO ดูบทความก่อนหน้า)        ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ UF         การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UF มีผลทดสอบ ดังนี้               เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Stiebel Eltron รุ่น Rain Plus และ Pure รุ่น DM 01         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Unipure รุ่น BLUE 20”(UF)         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Astina รุ่น AP401UF และ Aquatek รุ่น Silver UF         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น BUF-401N Filtex รุ่น FT-220 และ Mazuma  รุ่น AQ 50 UF          ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ UV        การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UV มีรายละเอียด ดังนี้         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น AQ-5F-UVS และ Amway รุ่น eSpring         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Pure รุ่น DM 01 UV และ Filtex รุ่น FT-229         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น 5PUVPRC Carina รุ่น CA-5UV และ Absolute รุ่น Ultraviolet & Ceramic

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (1) ระบบ RO

        น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภคต้องเลือกน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย เครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือน         ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป         การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมา ทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการให้ข้อมูลกับบริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยทำการสุ่มซื้อเครื่องกรองน้ำจากท้องตลาด และการสั่งซื้อทางออนไลน์ โดยเลือกเครื่องกรองน้ำจาก 3 ระบบ ได้แก่          1.เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) จำนวน  11 ตัวอย่าง        2.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultrafiltration (UF) จำนวน 8 ตัวอย่าง        3.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultraviolet (UV) จำนวน 7 ตัวอย่าง         ผู้บริโภคสามารถใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรียของครื่องกรองน้ำ สำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอื่นๆ ของเครื่องกรองน้ำประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกรองโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารพิษอื่นๆ เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำที่เราใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้        ข้อแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอนามัย อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ         ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ RO        การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ RO มีรายละเอียด ดังนี้         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Toshiba รุ่น TWP-N1890UK Stiebel Eltron รุ่น Glacier Filtex รุ่น FT 241 RO Aquatek รุ่น RO 150 GPD และ Mi รุ่น water purifier 1A         เครื่องกรองน้ำที่มีประสทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น RO PURE LI และ Pure รุ่น KT RO         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Treatton รุ่น RO 300 GPD และ Turbora รุ่น 5ROC-PRC         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบบทีเรียได้ ได้แก่ Carina รุ่น  CA-5RO และ Pentair รุ่น GRO-50 System

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 ผลิตน้ำดื่มสูตรไม่ผสมเชื้อโรค (ตอนที่ 1)

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายประชานิยม โดยสนับสนุนกองทุนหมู่บ้านให้ดำเนินการต่างๆ เพื่อสร้างรายได้นั้น สิ่งที่สังเกตเห็นคือ มีหลายพื้นที่นำเงินมาลงทุนตั้งเป็นสถานที่ผลิตน้ำดื่มขึ้นมากมาย โดยมักจะมีบริษัทมารับจัดการสถานที่และติดตั้งระบบกรองโดยขายไอเดียว่าจะดำเนินงานต่างๆ ให้เสร็จเลย แต่การผลิตอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักเพียงอย่างเดียวนั้น แม้จะดูไม่ยุ่งยากแต่มันก็มีรายละเอียดที่เราต้อระมัดระวังและใส่ใจมากพอสมควรเช่นกัน มิฉะนั้น เราอาจเผลอไปผลิตน้ำดื่มสูตรผสมเชื้อโรคโดยไม่ตั้งใจก็ได้อย่างแรกที่เราต้องตั้งสติคือ อย่าเพิ่งตัดสินในเชื่ออะไรง่ายๆ (โดยเฉพาะบริษัทที่จะมาเอาเงินเรา) ต้องพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตน้ำให้เข้าใจก่อน อันที่จริงขั้นตอนการขออนุญาตผลิตน้ำไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลย มีเพียงสองขั้นตอนเท่านั้นเอง ขั้นตอนแรกคือการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารประเภทน้ำดื่ม เมื่อผ่านการตรวจสอบและขออนุญาตแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนที่สองคือ การขอ อย.ของน้ำดื่มแต่ละตรา ซึ่งเราจะทำกี่ตราก็ได้ในขั้นตอนแรกที่จะขอสถานที่ผลิตน้ำดื่มนั้น เราต้องทำให้ตรงตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด เรียกง่ายๆ ว่า เกณฑ์จีเอ็มพี (GMP) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ดีในการผลิต หากเราทำได้ตามเกณฑ์นี้แล้วรับรองว่าคุณภาพอาหารเราจะสม่ำเสมออย่างมีมาตรฐาน หลักเกณฑ์ง่ายๆ คือสถานที่เราต้องเป็นสัดส่วนแยกให้ห่างไกลจากแหล่งสกปรก มีการปิดกั้นมิให้สิ่งโสโครกหรือผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาป้วนเปี้ยนในสถานที่ผลิต ห้องน้ำห้องส้วมก็ต้องแยกให้ชัดเจนอย่าเข้ามาอยู่ใกล้สถานที่ผลิต มีการติดตั้งอ่างล้างมือทั้งหน้าห้องส้วมและบริเวณผลิต มีการจัดแบ่งพื้นที่เป็นบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะห้องบรรจุต้องแยกให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้คนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในห้องนี้ส่วนการตัดสินใจจ่ายเงินค่าเครื่องมือไม้เครื่องมือเกี่ยวกับระบบการกรองน้ำก็ต้องพิจารณาให้ดี อย่าเพิ่งไปเชื่อผู้ขายเครื่องกรองต่างๆ มิฉะนั้นจะเสียเงินไม่คุ้มค่าหรือไม่ได้ผลให้เจ็บใจที่เสียรู้เขา อันดับแรกคือ เราต้องรู้ว่าน้ำที่จะมาผลิตนั้นมีคุณภาพดีเลวขนาดไหน จะได้เลือกใช้เครื่องกรองให้เหมาะสม ซึ่งจะรู้ได้ก็โดยการตรวจวิเคราะห์ โดยสามารถส่งตรวจวิเคราะห์ได้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ในเขตพื้นที่ (หากส่งห้องปฏิบัติการของเอกชน ก็ต้องเลือกห้องที่ได้รับการรับรองคุณภาพในการตรวจจากทางราชการ) ถ้าไม่อยากเสียเงินเอง ก็ให้คนที่จะมาขายเครื่องกรองออกเงินให้เลย ไหนๆ ก็จะขายแล้วนี่ และจะเป็นประโยชน์ด้วย เพราะต้องใช้ผลวิเคราะห์แสดง เวลาเจ้าหน้าที่มาตรวจในลำดับต่อๆ ไปด้วย (แนะนำให้ตรวจก่อนผลิตเลยครับ)เมื่อทราบผลวิเคราะห์น้ำแล้ว เราก็เลือกวิธีการกรองน้ำให้เหมาะสม เช่น น้ำที่จะนำมาใช้ผลิตมีสารอะไรมาก ควรเลือกใช้เครื่องกรองแบบไหน หรือถ้าเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก อาจต้องเปลี่ยนแหล่งน้ำ (ไม่แนะนำให้ใช้น้ำคลองเพราะคุณภาพน้ำไม่แน่นอน บางช่วงอาจดี บางช่วงอาจแย่) ส่วนมากชุดกรองแรกๆ ที่จะติดตั้งจะเป็นเป็นกระบอกใหญ่ๆ สามกระบอก แต่ละกระบอกก็จะมีตัวกรองแตกต่างกัน ตัวแรกมักจะเป็นตัวกรองแอนทราไซด์และแมงกานิส ซึ่งจะกรองพวกเหล็กและสารบางอย่างที่เจือปนอยู่ในน้ำ ส่วนอีกกระบอกจะเป็นตัวกรองเรซิน (ลักษณะข้างในจะเป็นเม็ดใสๆ คล้ายไข่ปลาดุก) จะเป็นตัวขจัดความกระด้างและสารเคมีบางตัวที่ละลายอยู่ในน้ำให้น้อยลง กระบอกต่อมาก็จะเป็นเครื่องกรองถ่าน ซึ่งข้างในจะมีผงถ่านละเอียดๆ บรรจุอยู่ เพื่อดูดกลิ่น และคลอรีนในน้ำ (มีต่อฉบับหน้าครับ)

อ่านเพิ่มเติม >