ฉบับที่ 276 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับ “เด็ก”

        ฤดูร้อนไม่เคยหายไปจากบ้านเรา แม้ในวันที่มีเมฆมากก็ไม่ได้แปลว่าเราจะรอดพ้นจากรังสียูวี โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ผู้ปกครองพาไปทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงปิดเทอม ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับเด็กที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+         องค์กรที่ส่งตัวอย่างเข้าทดสอบในครั้งนี้คือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ในยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน หลายยี่ห้อมีจำหน่ายในบ้านเราหรือสั่งซื้อได้ออนไลน์  คราวนี้เรามีมาให้เลือก 20 ผลิตภัณฑ์ ทั้งแบบโลชัน สเปรย์ และแบบแท่ง เช่นเดียวกับครั้งที่ผ่านมา เราแบ่งคะแนนการทดสอบออกเป็น 4 ด้านดังนี้        ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)        ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนักในเรื่องประสิทธิภาพการป้องกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ (ส่วนใหญ่ได้คะแนนระดับสี่ดาวขึ้นไป ยกเว้นผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนรวมน้อยกว่า 50) เมื่อเทียบกับครั้งก่อน ผู้ผลิตมีการปรับปรุงเรื่องของฉลากดีขึ้นมาก อย่างน้อยร้อยละ 50 มีการแสดงฉลากที่ดีขึ้น แต่ยังต้องปรับปรุงอีกมากในเรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนใหญ่ยังได้คะแนนเพียงหนึ่งหรือสองดาวเท่านั้น            “ข่าวดี” คือเราไม่พบพาราเบนหรือสารเคมีที่รบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และมีเพียงสามผลิตภัณฑ์เท่านั้นที่มีค่า SPF ต่ำกว่าที่ระบุในฉลาก นอกจากนั้นเรายังพบว่าราคาของผลิตภัณฑ์ไม่ได้ยืนยันประสิทธิภาพในการป้องกันรังสียูวีเสมอไป ตัวที่ได้คะแนนสูงที่สุดสามอันดับแรกมีราคาไม่เกิน 5 บาทต่อหนึ่งมิลลิลิตร ในขณะที่ตัวที่มีราคามิลลิลิตรละ 16 บาทนั้นเข้ามาที่อันดับเก้า อีกข้อสังเกตคือมีความเป็นไปได้ที่ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายเดียวกันจะมีประสิทธิภาพในระดับที่ต่างกันด้วย         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point


ฉบับที่ 268 ผลิตภัณฑ์กันแดด 2023

        ได้เวลานำเสนอผลทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดประจำปีกันอีกครั้ง ระหว่างที่บ้านเราเข้าสู่ฤดูฝน (แต่แดดจ้าไม่เคยหายไป) ทางยุโรปกำลังเข้าสู่ฤดูร้อนและเป็นช่วงที่ผลิตภัณฑ์นี้กำลังเป็นที่ต้องการ เรามีผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ ในรูปแบบของครีม โลชัน และสเปรย์ ที่มีค่า SPF30 และ SPF50+ ที่สมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศในยุโรปร่วมกันส่งเข้าทดสอบมาฝากสมาชิก ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงคัดเลือกมาเพียง 24 ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนในลำดับต้นๆ เท่านั้น คะแนนการทดสอบแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVBร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ (เช่น ไม่เหนอะหนะ ไม่ทิ้งคราบ)ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยละ 5         ฉลากเป็นมิตรต่อผู้บริโภค        ในภาพรวมเราพบว่าคะแนนประสิทธิภาพในการกันแดดและความพึงพอใจของผู้ใช้ ของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่ต่างกันมากนัก (ทั้งหมดจัดอยู่ในระดับ 4 ดาวขึ้นไป)  แต่ก็มีผลิตภัณฑ์หลายยี่ห้อที่ต้องปรับปรุงเรื่องฉลากและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเคลมเกินจริงหรือเคลมในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้  ผลิตภัณฑ์กันแดดที่เราทดสอบไม่มีสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (EDCs) และไม่มีพาราเบน ซึ่งถือว่าเป็นไปตามที่กล่าวอ้างบนฉลาก แต่เราก็พบว่าค่า SPF ที่แจ้งไว้นั้น มีทั้งที่เกินและขาดจากค่าที่วัดได้จริงในห้องปฏิบัติการ ที่ให้มาเกินเราไม่ว่า แต่ก็มีอย่างน้อย 6 ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF น้อยกว่าที่แจ้งไว้บนฉลากผลการทดสอบยืนยันอีกครั้งว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ราคาแพงเพื่อดูแลผิวหนังก่อนออกเผชิญแสงแดด พลิกหน้าถัดไปเพื่อหาครีม/สเปรย์กันแดดที่ถูกใจคุณได้เลย         ·     ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร ปอนด์อังกฤษ หรือแดนิชโครน เป็นต้น โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 255 ผลิตภัณฑ์กันแดด 2022

ก่อนจะออกไปเที่ยวผจญแดดร้อนลมแรงที่ไหน อย่าลืมสำรวจวันหมดอายุของครีม/โลชัน/สเปรย์กันแดดที่มีอยู่ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอายุประมาณ 2 – 3 ปี แต่ถ้ามันถูกเก็บในบริเวณที่ร้อนมากอย่างคอนโซลหน้ารถ ความสามารถในการป้องกันยูวีอาจเสื่อมไปก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผลิตภัณฑ์มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น แยกชั้น หรือจับตัวเป็นก้อน เราขอแนะนำให้คุณซื้อใหม่         ฉลาดซื้อ ฉบับนี้มีผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดดที่ทำขึ้นในช่วงต้นปี 2565 มาให้สมาชิกได้เลือกกันถึง 25 ผลิตภัณฑ์ (ค่า SPF30 และ SPF50+) ทั้งแบบครีม โลชัน และสเปรย์ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ที่สามารถหาซื้อได้ในประเทศไทย         แม้จะยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนถึงระดับห้าดาว แต่ “ตัวท็อป” ในการทดสอบปีนี้ก็ได้คะแนนรวมไปถึง 74 คะแนน (เทียบกับ 71 คะแนนของปีที่แล้ว) ข่าวดีคือผลิตภัณฑ์ 25 ตัวนี้ไม่มีสารรบกวนฮอร์โมน หรือสารก่ออาการแพ้ Octocrylene D5         แต่การทดสอบก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีผลิตภัณฑ์อีกไม่น้อยที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันยูวีต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลากหรือในโฆษณา เป็นการตอกย้ำว่าราคาหรือภาพลักษณ์ไม่สามารถรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้เสมอไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 246 ความเคลื่อนไหวเดือนสิงหาคม 2564

ปรับเป็นแสน ห้ามนำ-ใช้ ครีมกันแดดที่มีสารเคมีอันตรายเข้าอุทยานแห่งชาติ        3 สิงหาคม ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่อง ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ใจความสำคัญระบุว่า ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทางทะเลเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการนำและใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลง มีส่วนทำลายตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์และทำให้ปะการังฟอกขาว  ดังนั้นเพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลทรัพยากรและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศในอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ออกประกาศดังนี้         ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ Oxybenzone , Octinoxate ,4-Methylbenzylid Camphor และ Butylparaben หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท         ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซื้อยาฟ้าทะลายโจรระวังเจอของปลอม         23 สิงหาคม 2564 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการปฏิบัติกรณีบุกตรวจค้นโรงงานลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรโดยไม่ได้รับอนุญาต มูลค่าของกลางกว่า 200,000 บาท พร้อมจับแม่ลูกเจ้าของโรงงานที่ลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรปลอม  เนื่องจากมีกรณีผู้ร้องเรียนแจ้งว่า ได้สั่งซื้อยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีการโฆษณาตามเพจเฟซบุ๊ก แล้วพบว่ายาไม่มีรสชาติขมซึ่งผิดปกติจากฟ้าทะลายโจรที่มีรสขมเป็นลักษณะเด่น จึงดูที่ฉลากพบระบุสถานที่ผลิตคือ “ผลิตโดย วิสาหกิจชุมชนบ้านคลอง เลขทะเบียน 03/1-20024 ควบคุมสูตรโดยแพทย์แผนไทย” แต่ไม่พบเลขการจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร และไม่สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ผลิตได้ จึงเชื่อว่ายาฟ้าทะลายโจรดังกล่าวน่าจะเป็นของปลอม ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. จึงทำการสืบสวนจนพบผู้ที่โพสขายยาฟ้าทะลายโจร บนเพจเฟซบุ๊ก และเข้าจับกุม ด้าน อย.ระบุ หากผู้บริโภคต้องการซื้อยาฟ้าทะลายโจรต้องดูฉลากที่ระบุเลขที่จดแจ้งและระบุสถานที่ผลิตชัดเจน โดยซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ “ขนส่งทางบกขอ” ตำรวจไม่จับใบขับขี่หมดอายุถึงสิ้นปี         ตามที่กรมการขนส่งทางบกมีประกาศงดให้บริการประชาชนด้านใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศจากสถานการณ์โควิดระบาด จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น กรมฯ จึงประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้ผ่อนปรนการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง เกี่ยวกับกรณีใบขับขี่หมดอายุ ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้พิจารณากฎเกณฑ์ขยายระยะเวลา ดังนี้         1.ใบขับขี่หมดอายุขับรถต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564          2.เพิ่มการผ่อนปรนให้ผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลและส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถขับรถที่ใช้ในการรับจ้างขนส่งสินค้าได้ เช่น รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม โดยจดทะเบียนตามกฎหมายของการขนส่งทางบก และรถปิกอัพป้ายเหลือง         กรณีที่ประชาชนมีเอกสารคำขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตประจำรถ ได้แก่ เอกสารใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการผ่านการอบรมและทดสอบ หรือคำขอที่ดำเนินการไม่สำเร็จภายใน 90 วัน กรมการขนส่งทางบกจะอนุโลมให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2564  พืชกระท่อมปลดออกจากยาเสพติดแล้ว ประชาชน ซื้อ-ขายได้        นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระท่อมเคยถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ แต่ตอนนี้พืชกระท่อมได้ถูกปลดออกจากยาเสพติดให้โทษแล้ว ทุกคนสามารถครอบครองซื้อขายได้         และ การปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติด มีผลให้ต้องปล่อยตัวผู้กระทำความผิดตามกฎหมายพืชกระท่อมจำนวน 1,038 คน ซึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวกับคดีสารเสพติดอื่นนอกเหนือจากพืชกระท่อม และถือว่าเป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิด หากในกรณีที่ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการสอบสวนให้ยุติปล่อยตัวทันที รวมถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ต้องมีการจำหน่ายคดีออกจากสารบบของศาล โดยได้รับการพิพากษายกฟ้อง ผู้ที่ถูกกักขังแทนค่าปรับ จะต้องยกเลิกการเสียค่าปรับทันที ไม่รับเป็นคดีกลุ่ม กรณีคดีฟ้องกลุ่มเอไอเอสคิดค่าบริการปัดเศษวินาทีเป็นนาที         ตามที่มีตัวแทนผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม 3 ค่ายมือถือดัง เรื่องการคิดค่าโทรศัพท์แบบปัดเศษวินาทีเป็นนาทีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 เหตุจากการคิดค่าบริการดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคจ่ายค่าบริการเกินกว่าที่ใช้จริงนั้น  วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในการขอดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีฟ้องกลุ่มเอไอเอสว่า ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งไม่รับคำร้องอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มของโจทก์ ให้ดำเนินคดีแบบสามัญแทน โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มมิได้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินคดีสามัญ ไม่มีข้อมูลว่าสมาชิกในกลุ่มถูกเรียกเก็บค่าบริการเกินการใช้งานจริงไปเท่าไร ค่าเสียหายในคำขอบังคับไม่ได้ระบุหลักการและวิธีการคำนวณเพื่อชำระเงินให้แก่สมาชิก ส่วนเรื่องการคิดค่าบริการปัดเศษของบริษัทเอไอเอส ผู้ให้บริการสามารถเปลี่ยนโปรโมชั่นหรือผู้ให้บริการได้ และหากดำเนินคดีแบบสามัญการคำนวณค่าเสียหาย ผู้บริโภคไม่ต้องคำนวณ เพราะอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบการ แต่หากเป็นการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ชี้แจงมาให้หมดว่าค่าบริการที่เก็บเกินไปมีเท่าไร ดังนั้นหากดำเนินคดีแบบสามัญสะดวกกว่า         ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า จากคำตัดสินนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจว่าจะยื่นฟ้องแยกเป็นรายคดีหรือฟ้องแบบเป็นโจทก์ร่วมกันในกระบวนการแบบสามัญ เช่น สมาชิก 30-40 คน อาจจะฟ้องแยก หรือถ้าเป็นโจทก์ร่วมกัน สมาชิกที่เหลืออาจจะเอาขึ้นมาเป็นโจทก์ทั้งหมด นอกจากโจทก์ 2 คนที่ฟ้องไปก็ต้องเปลี่ยนเป็นโจทก์ที่ 1 พร้อมกับพวกอีก 30 คน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 243 ผลทดสอบผลิตภัณฑ์กันยูวี

        แสงแดดบ้านเราร้อนแรงขึ้นทุกปี ผลิตภัณฑ์กันแดดจึงกลายเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ทุกบ้านต้องมีไว้ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ขอนำผลทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดดที่สมาชิกองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้ในช่วงต้นปี 2564 มาฝากสมาชิกกันอีกครั้ง คราวนี้เป็นครีม/สเปรย์กันยูวี ที่มีค่า SPF ระหว่าง 15 - 50 ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราจึงขอนำเสนอเพียง 20 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น*         คราวนี้นอกจากจะให้ความสำคัญกับความสามารถในการป้องกันรังสี UVA/UVB (ร้อยละ 65)  ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น การซึมลงผิว และ ความรู้สึกไม่เหนียวเหนอะหนะ (ร้อยละ 20) แล้ว ทีมทดสอบยังให้ความสำคัญกับความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 10) และฉลากที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้บริโภคด้วย (ร้อยละ 5)         แม้จะไม่ได้ให้สัดส่วนคะแนนสำหรับการงดใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ (Endocrine Disrupting Chemicals หรือ EDCs) เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ให้การตอบรับและยกเลิกการใช้ไปแล้ว แต่ทีมทดสอบก็พบว่ามีอย่างน้อยสองผลิตภัณฑ์ที่ยังใช้สารเคมีกลุ่มดังกล่าวอยู่ (Hawaiian Tropic Satin Protection SPF 30 และ Lancaster Sun Beauty Sublime Tan)*หมายเหตุ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้าทดสอบ เป็นผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อโดยองค์กรผู้บริโภคในสเปน อิตาลี โปรตุเกส  ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ และราคาที่แสดงเป็นราคาที่แปลงจากหน่วยเงินยูโรในช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 โปรดตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจข้อมูลจาก National Ocean Service ภายใต้กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาhttps://oceanservice.noaa.gov/news/sunscreen-corals.html

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 218 แว่นกันแดดสำหรับเด็ก

        ฉลาดซื้อรับร้อนด้วยผลทดสอบแว่นกันแดดที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT โดยสมาคมผู้บริโภคออสเตรีย (VKI) เป็นเจ้าภาพทำไว้ เขาทดสอบแว่นกันแดดสำหรับเด็กที่เป็นที่นิยมในยุโรป (แต่ผลิตในจีนหรือไต้หวันเป็นส่วนใหญ่) ไว้ทั้งหมด 30 รุ่นการทดสอบครั้งนี้ใช้ต้นทุนไม่มากเมื่อเทียบกับการทดสอบเรื่องอื่นๆ แต่ก็ได้ผลทดสอบที่ยืนยันว่าราคาอาจไม่บ่งบอกคุณภาพ แว่นสองรุ่นที่ได้คะแนนเต็ม 100 ได้แก่ Primetta และ Marvel Ultimate Spider-Man นั้นราคาไม่เกิน 300 บาท แต่แว่นราคาเกือบ 900 บาทกลับได้คะแนนไปแค่ 48 คะแนนการทดสอบแบ่งออกเป็น 7 ด้าน ได้แก่ ระดับการป้องกันยูวี ความทนทานต่อการตกหล่น (สำรวจความเสียหายหลังปล่อยแว่นจากความสูง 1.5 เมตร ทั้งหมด 5 ครั้ง) ความทนทานต่อการแตกหัก (หลังถูกอาสาสมัครน้ำหนัก 75 กิโลกรัม นั่งทับบนเก้าอี้ 5 ครั้ง) การทนต่อรอยขีดข่วน (โดยใช้ปากกาทดสอบ Erichsen Hardness รุ่น 318S) การป้องกันแสงจากด้านข้างดวงตา (จากการสัมภาษณ์เด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 6 ขวบจำนวน 4 คนที่ทดลองสวม) การเช็ดทำความสะอาดเลนส์ (โดยดูว่าเลนส์หลุดออกจากกรอบหรือไม่ขณะเช็ดทำความสะอาด) และการเลือกใช้วัสดุที่ปลอดโลหะหนัก เช่น โครเมียม นิกเกิ้ล สารหนู และสารเคมีอันตรายเช่น พทาเลทและ PAH หรือโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 212 กันแดดแบบไม่ทำร้ายปะการัง

   จริงๆ เรื่องครีมหรือโลชั่นกันแดดมีผลต่อการตายของปะการัง ได้ถูกพูดถึงกันมาหลายปีแล้ว แต่เพราะเราหลายคนยังคงมีคำถามอยู่ในใจว่า อะไรจะขนาดนั้น ครีมกันแดดปริมาณเพียงเล็กน้อยจากตัวเราจะถึงกับทำให้ปะการังในทะเลซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่เกิดผลกระทบที่รุนแรงได้    จนเมื่อทางการไทยประกาศว่าจำต้องปิดอ่าวมาหยา บนหมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง จ.กระบี่ แหล่งท่องเที่ยวที่เคยติดอันดับต้นๆ ของโลก ต่อไปอีกอย่างไม่มีกำหนด หลังจากที่ปิดไปแล้วสามเดือนแต่ไม่พบสัญญาณที่ดีขึ้นของการฟื้นฟูของธรรมชาติบริเวณอ่าวดังกล่าว ประเด็นครีมกันแดดกับการตายของปะการังจึงกลายเป็นกระแสอีกครั้ง อะไรในครีมกันแดดที่ฆ่าปะการังสารเคมีสี่ชนิดที่นักวิจัยพบว่าฆ่าปะการังและทำให้ปะการังฟอกขาวคือ Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben ตัวสุดท้ายเป็นวัตถุกันเสียที่ทำให้ปะการังฟอกขาว  ตัวที่ร้ายที่สุดคงจะเป็น Oxybenzone หรือ BP3 เพราะรบกวนระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนปะการังโตแบบผิดรูป หรือไม่ก็พิการและตายไปเลย นอกจากนี้ Oxybezone ยังเป็นส่วนผสมที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกว่า 3,500 ยี่ห้อทั่วโลก เพราะมีคุณสมบัติในการป้องกันได้ทั้งยูวีเอและยูวีบี    บางคนอาจบอกว่าทะเลตั้งกว้างใหญ่ ครีมกันแดดแค่นิดหน่อยจากนักท่องเที่ยวไม่น่าจะสร้างปัญหาได้ แต่สิ่งที่งานวิจัยค้นพบก็คือ สารเคมีแม้ปริมาณเพียงน้อยนิด  แค่ 1 หยดต่อสระน้ำมาตรฐาน 6 สระ (62 parts per trillion) ก็ส่งผลกระทบต่อปะการังแล้ว ผลการตรวจค่าความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแนวปะการังที่ฮาวายรอบเกาะ Maui และ Oahu พบว่ามีความเข้มข้นอยู่ระหว่าง 800-19,000 parts per trillion และที่ Virgin Island National Park อยู่ที่ 250,000 parts per trillion นั่นหมายความว่าความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในปัจจุบันสูงกว่าระดับปลอดภัยไปมากและกำลังส่งผลร้ายแรงต่อแนวปะการังในระยะยาว             บางคนก็ว่าไม่ได้ว่ายน้ำในทะเลเสียหน่อย ไม่เป็นไรน่า อย่าลืมสิว่าเวลาเราอาบน้ำบรรดาสารเคมีอันตรายก็ไหลไปกับท่อน้ำทิ้งและลงสู่ทะเลเช่นเดียวกัน   เพื่อให้สวยอย่างฉลาดและรักษ์โลกไปพร้อมกัน เวลาเลือกใช้ครีมกันแดด ควรมีแนวทางดังนี้  - เปลี่ยนมาใช้ครีมกันแดดที่ปราศจากสาร Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ Butylparaben    -  ใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ (Water resistant) เพราะอย่างน้อยก็เกิดการชะล้างระหว่างอยู่ในน้ำน้อยกว่า    -  ทาครีมกันแดดเฉพาะบริเวณนอกเสื้อผ้า เช่น ใบหน้า คอ มือ บางกรณีเราอาจใช้หมวก เสื้อแขนยาว และร่มเพื่อช่วยลดความจำเป็นในการใช้ครีมกันแดดในปริมาณมากๆ    -  ร่วมกันรณรงค์ให้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการพัฒนาครีมกันแดดที่ปราศจากสารเคมีที่ทำร้ายปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใต้ท้องทะเล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกรกฎาคม 2560“เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต” รักษาโรคไม่ได้ใครที่กำลังคิดจะซื้อ “เก้าอี้ไฟฟ้าสถิต” เพราะเชื่อตามโฆษณาว่าสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ ขอให้เปลี่ยนความคิดเดี๋ยวนี้ เพราะล่าสุด อย. ออกมาให้ข้อมูลแล้วว่า อุปกรณ์เก้าอี้ไฟฟ้าสถิตย์ไม่ได้มีไว้เพื่อผลในการรักษาโรคแต่อย่างใด ซึ่งจากการตรวจสอบแล้วพบว่าไม่มีการขออนุญาตผลิตหรือนำเข้าอุปกรณ์บำบัดด้วยเก้าอี้ไฟฟ้าสถิตอุปกรณ์เก้าอี้ไฟฟ้าสถิตจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องขออนุญาต อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ อย. ซึ่ง อย.กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ว่าเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตเฉพาะที่ชั่วคราว หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อเฉพาะที่ชั่วคราวเท่านั้น ไม่สามารถรักษาหรือบำบัดบรรเทาโรคได้ และต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด แต่ปัจจุบันกลับพบปัญหาการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เรื่องการรักษา บรรเทา และป้องกันโรคต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ส่งผลกระทบที่อาจทำให้ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยต้องสูญเสียโอกาสและเวลาในการรักษาโรคให้หายด้วยวิธีทางการแพทย์ที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องเสียเงินในการซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวโดยเปล่าประโยชน์อย.ได้กำหนดโทษการโฆษณาที่เป็นเท็จทำให้ผู้บริโภคเข้าใจของสินค้าในกลุ่มเครื่องมือแพทย์ คือจำคุกไปเกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ อะลูมิเนียมใส่อาหารได้ไม่ทำให้เป็นอัลไซเมอร์ในสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อเรื่องการใช้แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ห่ออาหารที่มีความร้อน ว่าจะทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอ้างว่าอะลูมิเนียมเมื่อโดนความร้อนจะละลายปนลงในอาหาร เมื่อบริโภคเข้าไปจะส่งผลต่อระบบสมอง ทำให้ความจำลดลงและเป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ รวมทั้งจะทำลายแคลเซียมในร่างกายมีผลต่อกระดูก ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสร้างความกังวลให้กับผู้บริโภค จนกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต้องออกมาชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องพร้อมด้วยผลการทดสอบ ยืนยันว่าอะลูมิเนียมที่ใช้ในการห่อหุ้มอาหารปลอดภัย และไม่ใช่ต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใดสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ทำการตรวจวิเคราะห์การละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากภาชนะที่ทำด้วยโลหะอะลูมิเนียม แบ่งเป็นภาชนะหุงต้ม จำนวน 22 ตัวอย่าง และแผ่นเปลวอะลูมิเนียม(ฟอยล์) 6 ตัวอย่าง โดยทำการทดสอบในภาวะที่สุดโต่ง ด้วยสารละลายกรดอะซิติก ที่อุณหภูมิน้ำเดือด 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการทดสอบพบว่า มีอะลูมิเนียมละลายจากภาชนะหุงต้ม ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 11-953 มิลลิกรัม/ลิตร และพบการละลายออกมาจากแผ่นเปลวอะลูมิเนียมทั้งหมด ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 483.6-1,032 มิลลิกรัม/ลิตร ส่วนการทดสอบถาดหลุมที่อุณหภูมิ 22 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีการละลายออกมาของอะลูมิเนียมจากถาดหลุมทั้ง 6 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบน้อยกว่ามาก ซึ่งพบอยู่ในช่วง 0.5-14.1 มิลลิกรัม/ลิตรนอกจากนี้ยังมีการทดสอบเรื่องการละลายออกมาของอะลูมิเนียมลงสู่อาหาร 4 อย่าง คือ ข้าวสุก ผัดผัก ต้มยำ และยำวุ้นเส้น ที่ใส่ในถาดหลุมไว้เป็นเวลา 30 นาที เพื่อเลียนแบบการรับประทานอาหารโดยใช้ถาดหลุม พบว่า การละลายออกมาของอะลูมิเนียมมีน้อยมากๆ อยู่ในช่วง 0.047 - 0.928 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ที่สำคัญคือ การรับประทานอาหารที่อยู่ในภาชนะหรือห่อหุ้มด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ไม่ได้เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์แต่อย่างใด ครีมกันแดดในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อผู้ป่วยเอสแอลอีเพราะผู้ป่วยโรคเอสแอลอี(SLE) มีความจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ  ซึ่งที่ผ่านมามูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ได้จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อหาครีมกันแดดให้กับผู้ป่วยเหล่านี้ทุกปี ล่าสุดในงาน “แดดจ๋า อย่ารังแกหนู หนูเป็นโรคเอสแอลอี” จึงได้มีข้อเสนอที่อยากให้มีการเพิ่มครีมกันแดดเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติในระบบประกันสุขภาพของรัฐ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยเอสแอลอี สามารถเข้าถึงครีมกันแดด ซึ่งถือเป็นเวชภัณฑ์สำหรับคนไข้ในกลุ่มนี้พญ.พรเพ็ญ อัครวัชรางกูร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติซัม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ที่ปรึกษาชมรมคนต่อสู้โรคเอสแอลอี กล่าวว่า แดดในเมืองไทยแรงมาก ทำให้มีแนวโน้มที่คนไทยจะเป็นโรคเอสแอลอีอยู่แล้วถูกกระตุ้นให้เป็นเร็วมากขึ้น เวลาที่ผู้ป่วยอาการของโรคกำเริบ อาจจะต้องได้ยาขนานสูง บางคนได้สเตียรอยด์ หรือแรงกว่านั้น ทำให้มีผลกระทบหลายอย่าง เช่น ประจำเดือนไม่มา กระดูกพรุน หรือมีปัญหาเรื่องความสูงและความสมบูรณ์ของร่างกาย ดังนั้นตรงนี้จึงสำคัญมาก หากครีมกันแดดสามารถเบิกได้ในคนไข้ที่จำเป็นจะต้องใช้ เช่น ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้โรคเอสแอลอี (SLE) ย่อมาจากชื่อเต็มในภาษาอังกฤษว่า systemiclupus erythematosus เป็นโรคที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายระบบหรือหลายอวัยวะในร่างกาย ทั้ง ปวดบวมตามข้อ อาการต่อระบบไต ระบบเลือด และระบบประสาท เป็นต้น ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงไป มีผลต่อเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่ง 1 ในปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยอาการกำเริบเกิดจากการที่ผิวหนังถูกแสงอัลตราไวโอเลต คัดค้านขยายสิทธิผู้ประกันตนจาก 55 ปี เป็น 60 ปีจากการที่สำนักงานประกันสังคมมีนโยบายที่จะขยายระยะเวลาการรับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปี โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้กับแรงงานที่อยู่ภายใต้สิทธิประกันสังคม ได้รับการดูแลคุ้มครองตามสิทธิต่อเนื่องจนถึงอายุ 60 ปีแต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกคัดค้านจากองค์ตัวแทนกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ทั้งเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน และ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) โดยทั้ง 2 องค์กรเห็นตรงกันว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นลดทอนสิทธิมากกว่าสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน การขยายระยะเวลาในการอยู่ภายใต้สิทธินั้น หากมีการนำมาใช้จริงก็ควรเป็นไปแบบสมัครใจ สำหรับประเด็นที่ว่าสำนักงานประกันสังคมต้องการที่จะสร้างความมั่นคงในชีวิตให้กับแรงงานในส่วนของผู้ประกันตน ด้วยการขยายระยะเวลาการรับเงินชราภาพของผู้ประกันตนจากอายุ 55 ปี เป็น 60 ปี เพราะสามารถใช้สิทธิต่างๆ ได้นานขึ้น องค์กรที่ออกมาแสดงความเห็นคัดค้านมองว่าเป็นคนละประเด็นกัน การยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงให้กับผู้ประกันตนสามารถทำได้ด้วยวิธีอื่นเตรียมทำมาตรฐานน้ำดื่มแห่งชาติกรมอนามัยเตรียมทำร่างมาตรฐานน้ำบริโภค ที่จะเป็น “มาตรฐานกลาง” ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ เนื่องจากปัจจุบัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำบริโภคได้อ้างอิงเกณฑ์คุณภาพที่แตกต่างกัน อาทิ การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค อ้างอิงจากเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ใช้เกณฑ์คุณภาพน้ำบาดาลเพื่อการบริโภค และมาตรฐานการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการนพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวภายหลังเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ร่างมาตรฐานน้ำบริโภคประเทศไทย” ว่า ปัจจุบันมีการใช้สารเคมี สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ และยากำจัดวัชพืชเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีลงสู่แหล่งน้ำที่ใช้ในการบริโภค ซึ่งจากการสำรวจและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในประเทศของสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย โดยใช้เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ พบว่า ตั้งแต่ปี 2551 - 2559 น้ำบริโภคไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ย ร้อยละ 60 จำนวนนี้แบ่งเป็นมาตรฐานด้านกายภาพร้อยละ 30 เคมี ร้อยละ 15 และชีวภาพ ร้อยละ 70โดยกรมอนามัยจะเป็นแกนหลักในการจัดทำมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่าย คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพน้ำบริโภคของประเทศให้เป็นมาตรฐานกลางเพื่อหน่วยงานต่างๆ ได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภค ทั้ง น้ำประปา น้ำประปาภูเขา น้ำบ่อบาดาล น้ำผิวดิน และน้ำฝน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 กันแดดด้วยเครื่องสำอาง

ความร้อนแรงของแสงแดดในบ้านเรามากขึ้นทุกวัน สาวๆ หลายคนจึงต้องสรรหาสารพัดวิธีมาปกป้องผิวสวย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเลือกซื้อเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะเชื่อว่าเครื่องสำอางเหล่านั้นมีความสามารถในการป้องกันอันตรายจากรังสียูวีได้เทียบเท่ากับครีมกันแดดทั่วไป และสามารถช่วยประหยัดเวลาการแต่งหน้าได้ เนื่องจากไม่จำเป็นต้องทาครีมกันแดดเพิ่มอีก อย่างไรก็ตามการป้องกันแดดด้วยวิธีดังกล่าวจะส่งผลดีต่อผิวจริงหรือ เราลองไปดูกันรู้จักเครื่องสำอางผสมสารกันแดดกันก่อนเครื่องสำอางที่มีสารป้องกันแสงแดด ตามประกาศคณะกรรมการเครื่องสำอาง หมายถึง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เพื่อปกป้องผิวหนังหรือส่วนของร่างกายจากรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) แต่ไม่รวมถึงสารป้องกันแสงแดดที่เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อทำหน้าที่อื่น เช่น ปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสื่อมคุณภาพหรือแต่งสีของผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ต้องมีการแสดงค่าความสามารถในการป้องกันแสงแดดตามจริง ซึ่งแบ่งเป็น 1.ค่า SPF (Sun Protection Factor) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการไหม้แดงของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีบี 2.ค่า PFA (Protection factor of UV-A) คือ ค่าที่แสดงถึงความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการป้องกันการดำคล้ำของผิวหนังที่เกิดจากการสัมผัสรังสียูวีเอ และ 3.ค่า PA (Protection factor of UVA)คือ ค่าที่สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องสำอางแห่งประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดขึ้นแทนการใช้ค่า PFA เครื่องสำอางกันแดดได้แค่ไหนแม้ร่างกายเราจะต้องการแสงแดด เพื่อช่วยในการสร้างวิตามินดี แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่าควรได้รับในปริมาณที่ไม่มากเกินไปหรือประมาณ 10 – 15 นาที/วัน และต้องไม่อยู่ในช่วงเวลาที่แดดจัดหรือตั้งแต่ 10.00 น. - 16.00 น. เพราะอาจทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ผิวไหม้ หรือเป็นมะเร็งผิวหนังได้ อย่างไรก็ตามหากเราหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรปกป้องผิวด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกันแดด ซึ่งการใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารกันแดดป้องกันผิวจากรังสียูวีถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ประสิทธิภาพในการกันแดดก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้1. ปริมาณการใช้แน่นอนว่าปริมาณการใช้ที่เหมาะสม ส่งผลต่อการความสามารถในการป้องกันแดด ซึ่งหากลองเปรียบเทียบปริมาณการใช้ครีมกันแดดกับปริมาณเครื่องสำอางผสมสารกันแดดก็จะพบว่า บางครั้งเราใช้เครื่องสำอางเพียงเล็กน้อย เช่น ใช้รองพื้นทาบางๆ หรือแป้งพัฟแตะเบาๆ ที่ผิวหน้า ซึ่งระหว่างวันเครื่องสำอางเหล่านั้นก็จะหลุดลอกไปพร้อมเหงื่ออีกด้วย ในขณะที่การใช้ครีมกันแดดทั่วไป เราจำเป็นต้องใช้ประมาณ 2 ข้อนิ้วชี้จึงจะทาได้ทั่วผิวหน้า ดังนั้นหากใครที่ใช้เครื่องสำอางในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจทำให้การกันแดดไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แต่สามารถแก้ไขได้ด้วยการทาครีมกันแดดก่อน แล้วตามด้วยผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่างๆ นั่นเอง2. ค่า SPF และ PA ในผลิตภัณฑ์บางครั้งราคาของแต่ละผลิตภัณฑ์ก็แปรผันตามความสามารถในการกันแดด ซึ่งหากผลิตภัณฑ์มี SPF หรือ PA สูง ราคาก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วย สาวๆ หลายคนเลยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ด้วยการเลือกเครื่องสำอางที่มี SPF หรือ PA ไม่สูงมากนัก แต่ใช้หลายๆ ผลิตภัณฑ์ในครั้งเดียว เพราะเชื่อว่าสามารถนำค่าดังกล่าวมาบวกกันให้สูงขึ้นได้ความจริงก็คือ แม้เราจะใช้เครื่องสำอางที่ผสมสารกันแดดหลายผลิตภัณฑ์ต่อหนึ่งครั้ง ก็ไม่ได้ทำให้การป้องกันรังสียูวีเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากค่า SPF หรือ PA ไม่สามารถนำมาบวกกันได้ และความสามารถในการป้องกันแดดจะนับจากค่า SPF และ PA สูงสุดของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราทาเท่านั้นทั้งนี้ในการเลือกค่า SPF และ PA เราสามารถเลือกตามความเหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ และควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่าทั้งสองอย่าง เพื่อการป้องกันทั้งรังสียูวีเอและยูวีบี เช่น หากทำงานในร่มเป็นประจำ การเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 และไม่เกิน 50 ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการเลือกค่า SPF ที่สูงเกินไป อาจทำให้เราได้รับสารเคมีมากเกินความจำเป็น ส่วนค่า PA สามารถเลือกตามเครื่องหมาย + ได้ ดังนี้ PA+, PA++, PA+++ และ PA++++ หมายถึง ประสิทธิภาพการป้องกันในระดับต่ำ กลาง สูง และสูงมากตามลำดับ ซึ่งหากเราไม่ได้เจอกับแสงมากนักก็ไม่จำเป็นต้องเลือกค่า PA สูงหรือแค่ PA++ ก็เพี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 ครีมกันแดด 2013

เราอาจไม่มีโอกาสเห็นซูเปอร์มูน Supermoon เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเนื่องจากท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่สิ่งที่เราไม่มีทางพลาดเด็ดขาดคือ “ซูเปอร์ซัน” ที่มาให้เจอแทบทุกวัน ทำให้เราต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดกันตลอด ฉลาดซื้อ ฉบับนี้เลยขอนำเสนอผลทดสอบครีมกันแดดที่มีค่า SPF ระหว่าง 15 - 50 ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และนาทีนี้สิ่งที่องค์กรผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษ(และเริ่มได้รับการตอบรับจากผู้ผลิตหลายรายแล้ว) คือการรณรงค์ให้งดใช้สารเคมีที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์ จึงทำให้ผลการทดสอบคราวนี้ นอกจากเขาจะให้คะแนนในเรื่องความสามารถในการป้องกันรังสี UVA/UVB และความพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์แล้ว เขายังให้ดาวในเรื่องการปราศจากสารเคมีที่รบกวนฮอร์โมนไว้ด้วย ... เพื่อคุณจะได้ไม่ต้องพบกับสารเคมีที่ไม่คู่ควร ----------------------------------------------------------------------------------- อย่าลืมว่าถ้าคุณต้องการผลิตภัณฑ์กันแดดที่สามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือชะลอการเหี่ยวย่นของผิวหนังได้ ก็ควรเลือกที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 แต่ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF สูงเกิน 50 เพราะคุณอาจได้รับสารเคมีเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานว่าค่า SPF ที่สูงเกิน 50 จะทำให้คุณได้รับรังสีอันตรายจากแสงอาทิตย์น้อยลง -----------------------------------------------------------------------------------   NIVEA Sun Protect & Bronze Sun Lotion 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 1.62 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4       MIXA Lait solaire SPF 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5         Garnier Ambre solaire Lait Protecteur Embellisseur Golden Protect 20 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.43 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5       LOREAL Lait bronzage Ideal FPS 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 2.84 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     La Roche Posay ANTHELIOS  Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.06 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Vichy Capital Soleil Spray ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Eau thermale Avène Spray 30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.65 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Biotherm Lait Solaire medium 15 ปริมาณ 200 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4         LAVERA SPRAY SOLAIRE FAMILLE IP 15 ปริมาณ 125 ml. ราคา 4.46 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 5 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Roc Lait spray désaltérant IP30 ปริมาณ 200 ml. ราคา 3.24 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Biafine Soleil Biafine lait solaire ultra hydratant 30 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 3 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    4     Eucerin Sonnen Allergie Schutz Creme-Gel 25 ปริมาณ 150 ml. ราคา 4.87 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             5 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Carrefour Les cosmétiques Sun protection ปริมาณ 250 ml. ราคา 2 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              4 ป้องกัน UVA                              4 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    5     Clarins Spray Solaire Lait-Fluide Douceur UVB/UVA 20 ปริมาณ 150 ml. ราคา 7.30 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              3 ป้องกัน UVA                              3 ทาง่าย                                       5 ซึมเร็ว                                        5 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4       Sephora SPF 15-30-50 Adjustable sunscreen ปริมาณ 100 ml. ราคา 9.33 บาทต่อมิลลิลิตร ปลอดสารรบกวนฮอร์โมน 2 ป้องกัน UVB                              3 ป้องกัน UVA                              2 ทาง่าย                                       4 ซึมเร็ว                                        4 ไม่เหนอะหนะ                             4 ผิวชุ่มชื้น                                    4    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 93 ทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์กันแดด

ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบผลิตภัณฑ์กันแดดทั้งประเภทครีม โลชั่น และสเปรย์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มาฝากผู้อ่านกัน แต่ต้องย้ำกันตรงนี้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบเหล่านี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีขายในยุโรป และส่งเข้าทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคในยุโรปนั่นเอง  การทดสอบครั้งนี้จุดประสงค์อยู่ที่การสำรวจว่าในบรรดาผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดนั้น แท้จริงแล้วมีค่า SPF และประสิทธิภาพในการกันน้ำ ตามที่ได้แจ้งไว้บนฉลากหรือในโฆษณาหรือไม่ โดยมีอาสาสมัครเป็นผู้ลงทุนอุทิศแผ่นหลังเพื่อการทดสอบ ประมาณ 10 – 14 คน ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการทดสอบครั้งนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ถูกส่งเข้าทดสอบทั้งหมด 55 ผลิตภัณฑ์ แต่เราขอนำมาลงเฉพาะแบรนด์ที่พอจะพบเห็นกันได้ในบ้านเราเพียง 15 ผลิตภัณฑ์ จากการทดสอบพบว่า•    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF ใกล้เคียงกับที่แจ้งไว้บนฉลาก หรือไม่ก็มากกว่า (มีอยู่ 3 ผลิตภัณฑ์ที่เรานำเสนอในครั่งนี้ที่มีค่า SPF น้อยกว่าที่แจ้ง หนึ่งในนั้นมีไม่ถึงครึ่งของค่าที่แจ้งไว้ด้วย) •    ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังเหลือประสิทธิภาพในการกันแดด มากกว่าร้อยละ 50 หลังจากที่ผิวหนังสัมผัสกับน้ำ (เกณฑ์ที่ระบุไว้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถระบุที่ฉลากว่ากันน้ำได้ คือร้อยละ 50)-----ฉลาดซื้อสำรวจ การใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด•    ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84) เคยใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด โดยเหตุผลที่ใช้คือ เพื่อป้องกันผิวเสีย ริ้วรอย และป้องกันปัญหาสุขภาพผิว•    เกือบร้อยละ 50 ใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดทุกวัน ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร•    มากกว่าร้อยละ 30 ของผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถาม ซื้อผลิตภัณฑ์กันแดดประมาณ 5 ครั้งต่อปี•    แต่ทั้งนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 62) ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีในผลิตภัณฑ์กันแดด•    มีถึงร้อยละ 16 ที่เคยได้รับผลข้างเคียงจากผลิตภัณฑ์กันแดด และร้อยละ 94 ของผู้ที่เคยได้รับผลข้างเคียงเชื่อว่าสาเหตุคือสารเคมีในผลิตภัณฑ์  •    ร้อยละ 86.5 ของผู้ตอบแบบสอบถาม อ่านฉลากก่อนซื้อ•    ร้อยละ 87 เห็นด้วยว่าค่า SPF ในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ตามแต่ลักษณะการใช้ •    แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์กันแดด อันดับหนึ่งได้แก่โฆษณาจากสื่อต่างๆ ตามด้วยเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิด•    ปัจจัยในการเลือกซื้ออันดับหนึ่งคือประสิทธิภาพในการป้องกันแดด ตามด้วยราคา และสภาพผิว(* สำรวจในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในเขตกรุงเทพมหานคร มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 100 คน เป็นผู้หญิง 60 คน ผู้ชาย 40 คน)•    ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าตลาดครีมกันแดดในประเทศไทยในปี 2551 จะมีมูลค่าประมาณ 750 ถึง800 ล้านบาท -----•    อย่าลืมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดดใกล้ๆตัว แบบใช้แล้วใช้ซ้ำได้ เช่นเสื้อ กางเกงขายาว หมวก หรือแว่นกันแดด (ยอมรับกันเถอะพี่น้อง ว่าคนทั่วไปที่ไม่ใช่ดาราที่ต้องคอยระวังปาปารัซซี่แอบถ่าย ก็ใส่ได้)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 “จะเท่ทั้งที ต้องป้องกัน UV ด้วยนะ”

  ผลทดสอบการป้องกันรังสี UV ในแว่นกันแดด เมื่อพูดถึง “แว่นกันแดด” สำหรับบางคนอาจให้ค่าว่าเป็นเพียงแค่เครื่องประดับชิ้นหนึ่ง หรืออาจใส่ไว้เพื่อบ่งบอกรสนิยม เชื่อว่าใส่แล้วจะดูเท่ความหล่อความน่ารักจะเพิ่มขึ้น บางคนก็อาจใช้แว่นกันแดดเพื่อปกปิดอำพรางความรู้สึกทางสายตา กลัวว่าคนอื่นมองตาแล้วจะรู้ความคิดที่อยู่ในใจ หรืออาจใส่เพื่อปลอมตัวแบบที่เคยเห็นบ่อยๆ ในละครทีวี ที่แย่กว่านั้นบางคนก็ใช้แว่นกันแดดแทนที่คาดผม ซึ่งก็ไม่ถือว่าผิดแต่ก็ดูเป็นการใช้งานที่ผิดหลักการไปสักหน่อย  เพราะความจริงแล้วแว่นกันแดดถือเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเรามาก เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องดวงตาของเราจากอันตรายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต (UV) ซึ่งเป็นวายร้ายคอยทำลายดวงตาของเรา ทั้งส่งผลเสียต่อจอประสาทตา และเป็นสาเหตุของโรคต้อหิน ดังนั้นการสวมแว่นกันแดดในช่วงเวลาที่ตาของเราต้องปะทะกับแสงแดดจ้าจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก   แว่นกันแดดที่ดีต้องป้องกันรังสี UV ไม่ใช่มีแค่ความเท่หน้าที่หลักของแว่นกันแดด คือการช่วยป้องกันอันตรายของรังสีอัลตร้าไวโอเลต (รังสี UV) โดยปกติแล้วแว่นกันแดดที่ดีต้องสามารถป้องกันรังสี ได้ไม่น้อยกว่า 95% (มาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าในสหรัฐฯ The American National Standards Institute (ANSI)) นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแสงที่เกิดจากการสะท้อนบนผิววัตถุที่มีความมันวาว เพราะแสงประเภทนี้ก็ทำอันตรายกับดวงตาของเราด้วยเช่นกัน อาจทำให้ตาพร่ามั่วชั่วขณะหนึ่ง  รังสี UV เป็นรังสีที่มองไม่เห็นและไม่สามารถรับรู้หรือรู้สึกได้ ซึ่งรังสี UV สามารถทำอันตรายกับดวงตาของเรา ทำให้จอประสาทตาเสื่อมและเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจก ต้อหิน ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นของเราแย่ลง และอาจรุนแรงถึงขึ้นทำให้ตาบอดสนิทได้เลยทีเดียว   รังสี UV ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่หลายคนอาจจะมองข้าม เพราะชีวิตประจำวันของเราต้องเสี่ยงกับรังสี UV ยิ่งโดยเฉพาะกับคนที่ต้องทำงานการกลางแดดจ้า คนที่ต้องขับรถ และคนที่ชอบเล่นกีฬากลางแจ้ง   นอกจากนี้แว่นกันแดดยังใช้สวมเพื่อปกปิดความผิดปกติของดวงตา ป้องกันดวงตาของเราจากฝุ่นละอองและลมด้วย เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ถ้าเราไม่มีหมวก หรือร่ม เมื่อต้องออกเผชิญแดดจ้า เราควรต้องใส่แว่นกันแดด เพื่อช่วยดูแลปกป้องรักษาดวงตาให้อยู่กับเราไปนานๆ  เรื่องควรรู้ -สภาพอากาศ ฟ้าที่มีเมฆหรือหมอกไม่สามารถป้องกันรังสี UV ได้ -ยิ่งอยู่กลางแดดนานก็ยิ่งได้รับรังสี UV มากตามไปด้วย  -ช่วงเวลาที่แสงแดดมีรังสี UV มากคือประมาณ 10.00 น. – 16.00 น. มีมากที่สุดคือช่วงเที่ยงวัน  -ประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร (อย่างเช่นประเทศไทยของเรา) มีโอกาสได้รับรังสี UV มากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของโลก   -ยิ่งอยู่ที่สูงโอกาสที่เสี่ยงต่ออันตรายของแสง UV ก็ยิ่งมีมาก  -ความเข้มของสีเลนส์แว่นตากันแดดไม่ได้มีผลกับประสิทธิภาพในการการป้องกันรังสี UV  -แว่นตากันแดดที่ไม่ได้มาตรฐานไม่มีการเคลือบสารกรองหรือป้องกันรังสี UV นอกจากไม่ช่วยลดอันตรายของรังสี UV แล้ว กลับจะยิ่งทำอันตรายกับดวงตาของเรา เพราะเมื่ออยู่ในที่มืดหรือที่แสงสลัวรูม่านตาของเราจะขยายตัวมากขึ้น ยิ่งทำให้รังสี UV เข้าสู่นัยน์ตาเรามากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงแว่นที่มีการหักเหของแสงที่ไม่เหมาะสม เมื่อใช้แล้วเกิดมุมมองภาพที่บิดเบี้ยวหรือผิดเพี้ยนไปจากปกติ ซึ่งทำให้ตาของเราทำงานหนัก อาจทำให้ปวดตาหรือเวียนหัว  -แว่นกันแดดชนิดโพลารอยด์ (polaroid) มีคุณสมบัติช่วยป้องกันแสงที่สะท้อนผ่านเลนส์ ไม่ทำให้สายตาพร่ามั่วและช่วยตัดแสงที่ทำมุม 45 องศาที่เข้ามากระทบ ช่วยตัดแสงไม่ให้เห็นภาพลวงตาที่เกิดจากการหักเหของแสงบนพื้นถนนและช่วยลดความเข้มของแสง ป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อตาและประสาทตาเกิดอาการอ่อนล้า  -แต่แว่นตากันแดดถึงดียังไง จะได้รับการรับรองว่ากันแสงหรือรังสี UV ได้มากสักแค่ไหน ก็ไม่สามารถป้องกันอันตรายจากการมองที่ดวงอาทิตย์โดยตรง  -การใส่หมวกที่มีปีกช่วยบังทิศทางของแสงที่เข้าหาดวงตา ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดอันตรายของรังสี UV ต่อดวงตาของเราได้  -แว่นสายตาใสๆ ธรรมดา ก็สามารถป้องกันรังสี UV ได้ด้วยเช่นกัน หากมีการรับรองจากผู้ผลิตหรือผู้ขายว่าป้องกันได้   ฉลาดซื้อแนะนำวิธีเลือกซื้อแว่นกันแดดการจะทดสอบเรื่องของประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV ในแว่นตากันแดด อาจเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผู้บริโภคอย่างเรา แต่ก็ใช่ว่าเราจะมองข้ามเรื่องคุณภาพของแว่นกันแดดจนสนใจแต่เรื่องรูปทรงความสวยงามเท่านั้น เพราะยังมีวิธีง่ายๆ ในการเลือกซื้อแว่นกันแดดให้ได้คุณภาพที่คุ้มค่า   1.ถ้าหากแว่นกันแดดมีการระบุข้อความว่า “400 UV Protection” ก็น่าจะพอเชื่อใจได้ระดับหนึ่งว่า แว่นกันแดดที่เราจะซื้อมีการป้องกันรังสี UV ที่ระดับสูง (ตัวเลข 400 มาจาก 400 นาโนเมตร ซึ่งเป็นระยะปลอดภัยของรัสี UV หรือเป็นระยะที่ป้องกันรังสี UV ได้ 100% ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ใน ยุโรป อเมริกา และอีกหลายๆ ประเทศ)  2.ถ้ามีสัญลักษ์ CE ซึ่งเป็นตรารับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์จากยุโรป ก็ถือเป็นการการันตีคุณภาพได้เช่นกัน  3.ให้ลองมองแนวที่เป็นเส้นตรงผ่านเลนส์ข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นให้ขยับแว่นเลื่อนเข้าเลื่อนออกช้าๆ เลนส์ที่ดีต้องไม่ทำให้เส้นตรงที่มอง คดหรือเบี้ยวขณะขยับแว่น  4.รูปทรงของแว่นต้องเหมาะกับรูปหน้าของเรา ไม่คับเกินไปจนอึดอัดหรือเจ็บที่ขมับ และก็ต้องไม่หลวมมากจนเกินไปจนตกลงมาอยู่ที่ปลายจมูกทำให้ต้องเลื่อนสายตาลงมาเวลามอง  5.เวลาสวมแว่นกันแดดแล้วต้องให้แสงแดดลอดเข้ามาหาดวงตาน้อยที่สุด ทั้งจากด้านบนและด้านล่าง แต่ก็ไม่ถึงกับใกล้ขนาดใส่แล้วเลนส์มาชิดติดกับขนตา  6.แม้เรื่องราคาและยี่ห้อของแว่นจะไม่ใช่ตัวการันตีเรื่องคุณภาพในการป้องกันรังสี แต่การซื้อกับร้านที่มีที่อยู่แน่นอน ตัวแว่นกันแดดมีรายละเอียดข้อมูลที่อยู่ผู้ผลิต มีใบรับประกัน ก็น่าจะทำให้ผู้ใช้อย่างเรามั่นใจคุณภาพได้มากกว่า  7.ถ้าหากมีการรับประกันก็ต้องศึกษาให้ดี ยิ่งเป็นแบบที่ราคาแพงยิ่งต้องศึกษาและสอบถามจากร้านค้าหรือพนักงานขาย ดูว่ารับประกันกี่ปี อะไรบ้างที่อยู่ในข่ายรับประกันและไม่รับประกัน เช่น ถ้าซื้อมาใช้แล้วเกิดรอยขีดข่วนที่เลนส์สามารถเปลี่ยนหรือซ่อมให้ฟรีหรือเปล่า  8.อย่าลืมสอบถามกับพนักงานที่เราซื้อแว่นตากันแดดว่า แว่นที่เราซื้อต้องดูแลรักษายังไง มีขอควรระวังในการใช้อะไรบ้าง  9.แว่นกันแดดเองก็มีกำหนดอายุการใช้งานด้วยเช่นกัน (ซึ่งปกติจะอยู่ที่ 2 – 3 ปี) เพราะฉะนั้นเวลาซื้อก็ต้องอย่าลืมศึกษาข้อมูลวันที่ผลิตจากคู่มือหรือใบรับรอง หรือไม่ก็สอบถามจากพนักงานขาย -------------------------------------------------------------------------------- สีของเลนส์แว่นกันแดดที่ควรเลือกใช้คือ แดง เทา เขียว น้ำตาล เพราะสีที่เห็นจะเพี้ยนน้อย ซึ่งจะปลอดภัยเวลาต้องสังเกตสัญญาณไฟจราจรขณะขับรถ เลนส์ที่ออกโทนสีเทาและเขียว เป็นเลนส์ที่ให้การมองเห็นเป็นสีจริง ส่วนโทนสีน้ำตาล จะช่วยเพิ่มความคมชัดและการรับรู้ภาพแบบตื้นลึก ซึ่งเหมาะกับนักกีฬา นักบิน คนที่ต้องขับรถเป็นประจำ สำหรับคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การใส่แว่นกันแดดก็ช่วยถนอมสายตาและเพิ่มความคมชัดในการมองได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องเลือกแว่นกันแดดเลนส์สีอ่อนๆ เพราะเมื่อใส่แล้วจะช่วยทำให้การมองเห็นดูนุ่มนวลขึ้น --------------------------------------------------------------------------------   อย่าลืมซื้อแว่นกันแดดป้องกัน UV ให้กับเด็กๆ ด้วยนะรังสี UV ไม่เป็นมิตรกับใครทั้งนั้นไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ แถมเด็กๆ ยังมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากรังสี UV มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะดวงตาของเด็กๆ จะเปิดรับการมองเห็นได้มากกว่าผู้ใหญ่ เลนส์แก้วตาก็ยังมีความชัดเจนกว่า จึงเป็นเรื่องที่พ่อ – แม่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้ามสุขภาพตาของเด็กๆ อย่าปล่อยให้ลูกของเราต้องเผชิญแสงจ้าโดยไม่ได้สวมแว่นกันแดด และที่สำคัญเวลาเลือกซื้อแว่นกันแดดให้กับเด็กๆ ก็ต้องดูที่ประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV เป็นอันดับแรก ไม่ใช่ดูแต่รูปลักษณ์ภายนอก เลือกซื้อแต่แบบที่น่ารักกุ๊กกิ๊กซึ่งอาจกันรังสี UV ไม่ได้   ผลทดสอบการป้องกันรังสี UV ในแว่นกันแดด Vans ราคา 700 บาท ค่าการผ่านของแสง                     17% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.7% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.7%     Ray Ban ราคา 6,000 บาท ค่าการผ่านของแสง                     14.5% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.3% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.6%     ไม่มียี่ห้อ (1) ราคา 60 บาท ค่าการผ่านของแสง                     22.5% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.4% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.6%     ไม่มียี่ห้อ (2) ราคา 39 บาท ค่าการผ่านของแสง                     6.0% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.6% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0.2% ค่าการสะท้อนรัง UV                    3.8%     LE Club ราคา 590 บาท ค่าการผ่านของแสง                     11.8% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.3% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.6%     Action Eyewear (1) ราคา 299 บาท ค่าการผ่านของแสง                     13.1% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.7% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    5%     Estoffi ราคา 3,000 บาท ค่าการผ่านของแสง                     15.4% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.5% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.7%     Action Eyewear (2) ราคา 199 บาท ค่าการผ่านของแสง                     20.2% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          3.9% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    4.2%     Action Polarised ราคา 399 บาท ค่าการผ่านของแสง                     9.4% ค่าการสะท้อนแสงภายนอก          4.6% ค่าการส่งผ่านรังสี UV                  0% ค่าการสะท้อนรัง UV                    5.1%   ********************************************************************************* ผลการทดสอบ เมื่อราคาไม่ใช่ตัวการันตีประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UV ฉลาดซื้อได้สุ่มซื้อตัวอย่างแว่นกันแดดจำนวน 9 ตัวอย่าง โดยเน้นที่ความหลากหลายของราคา เพื่อจะดูว่าราคามีผลกับประสิทธิภาพการป้องกันการส่งผ่านของรังสี UV หรือไม่ ซึ่งผลที่ออกมาถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะแว่นกันแดดทุกตัวอย่างที่เราส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการทดสอบนั้น มีค่าการส่งผ่านรังสี UV ที่ 0% คือไม่สามารถผ่านได้เลย เท่ากับว่าสามารถป้องกันรังสี UV ได้ 100% มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่ยังมีการส่งผ่านของรังสี UV อยู่บ้างคือ ตัวอย่างที่ไม่มียี่ห้อซึ่งมีราคา 39 บาท ที่รูปร่างลักษณะออกจะเป็นแว่นกันแดดเฉพาะโอกาสไว้ใส่สนุกสนานดูเป็นแว่นแฟชั่นมากกว่า โดยรังสี UV สามารถส่งผ่านได้ 0.2% ซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก   จากเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าในสหรัฐฯ The American National Standards Institute (ANSI) รังสี UVB ซึ่งเป็นรังสีระยะสั้น 280 – 315 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านไม่ควรเกิน 0.1% ส่วนรังสี UVA ที่ระยะรังสีอยู่ที่ 315 – 380 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านไม่ควรเกิน 0.5% ซึ่งระยะปลอดภัยสูงสุดของรังสี UV อยู่ที่ 400 นาโนเมตร ค่าการส่งผ่านจะเท่ากับ 0% แม้การทดสอบของเราไม่ได้มีการประเภทของรังสี แต่การทดสอบก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพึงพอใจเพราะเกือบทั้งหมดมีค่าการส่งผ่านของรังสี UV ที่ 0%   ผลทดสอบนี้สามารถบอกเราได้ว่าราคาไม่มีผลกับเรื่องประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV จะถูกจะแพงก็ป้องกันรังสี UV ได้เหมือนกัน ส่วนเรื่องการทดสอบอื่นๆ ทั้งค่าการผ่านของแสง ค่าการสะท้อนของแสง และค่าการสะท้องรังสี UV ก็อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันทุกตัวอย่าง   แต่การทดสอบนี้เป็นเพียงแค่ส่วนของการผ่านของแสงและรังสี UV เท่านั้น ซึ่งแว่นกันแดดที่ดียังมีต้องคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบอีกหลายอย่าง ทั้งความคงทนของเลนส์ กรอบแว่น ขาแว่น ส่วนข้อต่อต่างๆ วัสดุที่ผลิต รวมทั้งเรื่องการออกแบบ และบริการหลังการขาย ซึ่งเรื่องพวกนี้แหละที่มาเป็นเงื่อนไขเรื่องของราคา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 SUNSCREEN UPDATE!

  เพื่อเป็นการลดความสับสนให้กับผู้บริโภคเวลาที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์กันแดด องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ประกาศกฎใหม่สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์กันแดดที่จะบังคับใช้ภายใน 1 ปี ดังนี้  •  ผลิตภัณฑ์ที่จะติดฉลากว่าเป็น ซันสกรีน (Sunscreen) ได้นั้นจะต้องสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวีเอ และยูวีบี (UVA/UVB)  • ถ้าจะมีคำว่า “Broad spectrum” บนฉลาก ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีทั้งสองประเภทได้พอๆ กัน (ไม่ใช่ป้องกันรังสียูวีเอได้มากแต่ป้องกันรังสียูวีบีได้เพียงเล็กน้อย เป็นต้น)  • ต่อไปนี้ห้ามใช้คำว่า “กันน้ำ” (Waterproof/ water resistance) หรือ “กันเหงื่อ” (Sweatproof) โดยอนุญาตให้ระบุเป็นเวลาที่ยังมีประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากโดนน้ำได้เท่านั้น อย่างที่เห็นในผลทดสอบ ว่าประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์กันแดดส่วนใหญ่มักลดลงเมื่อผิวหนังเราสัมผัสกับน้ำ บางยี่ห้อเหลืออยู่ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น  • ที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15 จึงจะสามารถอ้างว่า “สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งผิวหนัง หรือป้องกันผิวแก่ก่อนวัยได้”  • ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นมีค่า SPF ระหว่าง 2 ถึง 14 จะต้องมีคำเตือนให้ผู้ใช้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังหรือการเกิดริ้วรอยก่อนวัยได้ ---- ข้องใจ ... ทำไมไม่แบน?กฎเกณฑ์ใหม่ที่ออกมาได้รับการชื่นชมจากบรรดาผู้ที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค แต่มีอยู่หนึ่งเรื่องที่ยังเป็นที่คาใจของประธานมูลนิธิมะเร็งผิวหนังแห่งอเมริกา  เขาบอกว่ารู้สึกผิดหวังมากที่ อย.สหรัฐยังไม่ประกาศห้ามการอ้างว่ามี SPF สูงกว่า 50 ซึ่งยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าจะช่วยป้องกันรังสีอันตรายได้นานขึ้นจริงหรือไม่  เพราะการปล่อยให้มีการขายผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่ามีค่า SPF มากกว่า 50 ทำให้ผู้บริโภคได้รับสารเคมีที่อาจก่อความระคายเคืองในปริมาณที่มากขึ้น โดยไม่มีผลทางการป้องกันแดดเพิ่มขึ้น --- เพื่อเป็นการตอบรับมาตรการใหม่ในการควบคุมฉลากผลิตภัณฑ์กันแดด ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบจากองค์กรทดสอบสากลมาฝากกันอีกครั้ง คราวนี้เขาเลือกทดสอบเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีค่า SPF 15 และ SPF 20 เท่านั้น ผลิตภัณฑ์ที่ส่งเข้ามาทดสอบจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจากฝรั่งเศสและเยอรมนี ดังนั้นเราจึงเลือกมาเฉพาะแบรนด์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราเท่านั้น   เราพบว่า• ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่า SPF สูงกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก ยกเว้น อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper  การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire ที่มีค่าการป้องกันรังสี UVB หรือค่า SPF ที่วัดได้จริงเพียง 15 แต่แจ้งบนฉลากว่ามีค่า SPF 20 • ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกันรังสี UVB ยกเว้น คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream และ อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme • ผลิตภัณฑ์กันแดดชนิดที่อ้างว่าใช้สารสกัดจากธรรมชาติหรือออร์กานิกนั้นยังไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการทำให้ผิวหนังเกิดริ้วรอย เช่น อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics Sonnencreme นีเวีย Nivea Sun Pflegende Sonnenmilch SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 23ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 69 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  อีฟ โรเช่ Yves Rocher Protectyl Végétal Feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 66ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5   การ์นิเย่ Garnier Ambre Solaire Ultra-feuchtigkeitsspendende Sonnenschutz-Milch SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 21ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 63 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลอรีอัล L`Oréal Paris Solar Expertise SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 27ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 58 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   ลาโรช โพเซ่ย์ La Roche-Posay Anthelios Spray für empfindliche Haut SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 56 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2    นีเวีย Nivea Sun Light Feeling Transparentes Spray SPF 20 ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 54 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   นีเวีย Nivea Sun  Sun Spray 20 mediumค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   เอวอน Avon sun medium SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 34ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1    วิชี่ Vichy Capital Soleil SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 25ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 50 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5   ชิเซโด Shiseido Sun Protection Lotion SPF 15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 29ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 2 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ลอรีอัล L`Oreal Solar Expertise, icy protection SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 20ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 40 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  ยูเซอริน Eucerin Sun Protection Sun Spray SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 35ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 32 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อัลตราซัน Ultrasun professional protection sports clear gel formula SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 61 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 1.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1   วิชี่ Vichy Laboratoires Capital Soleil Sonnschutz-Gel-Milch Körper SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 51 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   การ์นีเย่ Garnier Ambre Solaire SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 15ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 37 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB  ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  1.5ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 1.5  คลาแรงส์ Clarins Sun Care Cream SPF 20ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 52ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 42 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 3 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  2ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 2.5ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2   อีโค คอสเมติกส์ Eco Cosmetics, Sonnencreme SPF15ค่า SPF ที่วัดได้จริง  SPF 24ประสิทธิภาพในการกันแดดหลังจากผิวหนังเปียกน้ำ ร้อยละ 67 ค่าการป้องกันรังสี UVA ไม่ต่ำกว่า 1 ใน 3 ของค่าการป้องกัน UVB ×ประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง 1 ความพึงพอใจของผู้ใช้เกลี่ยง่าย  3ซึมลงสู่ผิวรวดเร็ว 3ไม่รู้สึกเหนอะหนะ 2.5

อ่านเพิ่มเติม >