ฉบับที่ 222 กระแสต่างแดน

รถไฟไฉไลกว่า        ผู้คนหันมาเดินทางด้วยรถไฟกันมากขึ้นในภูมิภาคยุโรป ตัวอย่างเช่นในสวีเดน ยอดขายตั๋ว Interrail ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 85 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า         นี่อาจเป็นผลจากการรณรงค์ “flight shame” (หรือ flygskam ในภาษาสวีดิช) โดยสาวน้อยนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม เกรต้า ธันเบิร์ก และคุณแม่ของเธอ ที่เรียกร้องให้ผู้คนเปลี่ยนจากการเดินทางโดยเครื่องบินมาเป็นรถไฟ (ขณะเขียนข่าวนี้ เกรต้ากำลังเดินทางด้วยเรือยอทช์พลังแสงอาทิตย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังนิวยอร์กเพื่อเข้าร่วมการประชุมเรื่องสภาพอากาศ)         องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของยุโรประบุว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ 285 กรัมต่อหนึ่งกิโลเมตร สำหรับผู้โดยสารหนึ่งคน ในขณะที่ผู้โดยสารรถไฟจะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 14 กรัมในระยะทางที่เท่ากัน         ตัวแทนขายตั๋วบอกว่าอีกเหตุผลสำคัญคือนักเดินทางเริ่มตระหนักว่าการเดินทางด้วยรถไฟสามารถเป็นไฮไลท์ของการเดินทางทริปนั้นได้ด้วยมีขยะขึ้นคันนี้         หากคุณจะไปไหนมาไหนในเมืองสุราบายา อย่าลืมพกแก้วหรือขวดพลาสติกที่ใช้แล้วไปด้วย เพราะมันสามารถใช้แลกตั๋วรถได้        รถบัสปรับอากาศเที่ยวพิเศษที่คิดค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสายนี้มีให้บริการทั้งสิ้น 20 คัน คุณจะเลือกจ่ายค่าตั๋วเป็นขวดพลาสติกขนาดใหญ่ 3 ขวด หรือขวดขนาดกลาง 5 ขวด หรือแก้วพลาสติก 10 ใบก็ได้         สุราบายา ซึ่งมีประชากรประมาณ 2.9 ล้านคน ทดลองโครงการนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพื่อลดขยะและแก้ปัญหาการจราจรหนาแน่น ถึงตอนนี้เสียงตอบรับเป็นที่น่าพอใจ แต่ละสัปดาห์มีคนใช้บริการประมาณ 16,000 คน และบริษัทรถก็มีรายได้เป็นขวดพลาสติกเดือนละ 6,000 กิโลกรัม        ก่อนหน้านี้บาหลีได้ประกาศห้ามใช้หลอดพลาสติก ในขณะที่จาการ์ตาก็กำลังเล็งแผนงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นี่คือส่วนหนึ่งของความพยายามของอินโดนีเซียที่จะลดปริมาณพลาสติกในทะเลลงให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2025        อินโดนีเซียก่อมลพิษทางทะเลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีนยังมีความเสี่ยง         ปรากฎการณ์ฟาสต์แฟชั่นยังดำเนินต่อไป บังคลาเทศยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน และร้อยละ 16 ของเศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนี้ซึ่งมีการจ้างงานผู้คนไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน         แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างหลังเหตุการณ์ตึกรานาพลาซ่าถล่ม เมื่อปี 2013         โศกนาฎกรรมที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,100 คนทำให้บรรดาเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตในบังคลาเทศร่วมกันลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยของอาคารโรงงาน และร่วมกันลงขันเพื่อช่วยให้เกิดการปรับปรุงดังกล่าวด้วย โดยมีกำหนดเวลาห้าปี         สมาคมผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของบังคลาเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้มีโรงงานเพียง 200 แห่ง จาก 1,600 แห่ง ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย และมีอย่างน้อย 400 โรงงานที่ยังอยู่ในสภาพแย่มากจนต้องถูกสั่งห้ามรับออเดอร์จากต่างประเทศชีวิตติดจอ         ผลการวิจัยล่าสุดโดย The Shift Project องค์กรรณรงค์ด้านการใช้พลังงานทางเลือก พบว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการดูวิดีโอออนไลน์ในปี 2018 มีมากถึง 300 ล้านตัน(เท่ากับการปล่อยก๊าซนี้จากประเทศขนาดเท่าสเปนในเวลาหนึ่งปี)         เขาคาดการณ์ว่าในอีกสามปีข้างหน้า ร้อยละ 60 ของประชากรโลกจะเข้าสู่สังคมออนไลน์ และร้อยละ 80 ของการใช้อินเทอร์เน็ตของคนเหล่านี้จะเป็นการดูวิดีโอ โดยร้อยละ 60 ของวิดีโอที่ดูจะมาจากบริการสตรีมมิ่ง เช่น ยูทูบ เน็ทฟลิกซ์ และวิมีโอ นั่นเอง         เขาพบว่าการรับ-ส่งข้อมูลไอทีแบบนี้ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าธุรกิจการบินด้วยซ้ำ นักวิจัยแนะนำว่าหากต้องการประหยัดพลังงาน เราควร... 1. ดูหนังจากโทรทัศน์แทนโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ (ถ้าเป็นไปได้) 2. ดูผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก 3. ดูในจอเล็ก 4. ดูผ่านไวไฟ และ 5. เลือกความคมชัดธรรมดา เพราะความละเอียดที่มากขึ้นหมายถึงการใช้พลังงานมากขึ้นด้วยอย่าถามเยอะ         การใช้เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์อย่างกว้างขวางในการเสนอขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงการสนับสนุนการจับจ่ายแบบไม่ใช้เงินสดทำให้ผู้บริโภคในประเทศจีนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น แต่มีคนจำนวนไม่น้อยรู้สึกถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว         สมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศจีน (CCA) ระบุว่าร้อยละ 91 ของแอปพลิเคชันมือถือ กำหนดให้ผู้บริโภคกรอกข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นเลย เช่น แอปฯ ซื้อตั๋วหนังที่ขอข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน         เมื่อไม่ให้ข้อมูล ผู้บริโภคก็จะซื้อตั๋ว สั่งอาหาร หรือจ่ายค่าสินค้าไม่ได้ ถ้าเป็นเมืองอื่นก็พอจะทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ได้ แต่ในเมืองเทคโนโลยีล้ำอย่างเซินเจิ้น ผู้บริโภคแทบจะไม่มีทางเลือกเพราะต้องทำทุกอย่างผ่านแอปฯ เท่านั้น            การสำรวจระบุว่าร้อยละ 80 ของประชากรเคยมีประสบการณ์เบอร์มือถือหรือเบอร์โทรศัพท์ “รั่วไหล” ไปอยู่ในมือของพวกสแปมหรือโทรศัพท์มารบกวน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 25547 สิงหาคม 2554ไม่ถูกจริงมีสิทธิโดนฟ้อง ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ใครจะชอบของฟรีของถูก แต่ต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ เพราะห้างสรรพสินค้าสมัยนี้ชอบใช้วิธีโฆษณาจูงใจให้คนออกมาซื้อสินค้า โดยบอกว่ามีการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ที่มักเห็นบ่อยๆ ตามแผ่นโบรชัวร์ที่เดินแจกกันตามบ้าน หรือไม่ก็ลงโฆษณากันในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่พอถึงเวลาไปซื้อสินค้าที่ห้างจริงๆ กลับไม่มีสินค้าที่บอกว่าแถมว่าถูกอย่างที่โฆษณาไว้วางขายอยู่ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็ถือว่าเข้าข่ายโฆษณาหลอกลวงผู้บริโภค งานนี้จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ต้องออกโรงช่วยเหลือผู้บริโภค  สคบ.มีแนวคิดในการจัดทำร่างแนวทางการโฆษณาของการลด แลก แจก แถม หรือการจัดโปรโมชั่นของห้างสรรรพสินค้าใหม่ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภค ซึ่งกลยุทธการโฆษณาจัดรายการโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม ที่ห้างสรรพสินค้าใช้นั้น จริงๆ ก็เป็นเพียงการตลาดอย่างหนึ่งเพื่อดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ และซื้อสินค้าอื่นแทน ถือว่าเป็นการเอาเปรียบ และเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค   สคบ. ก็ได้หาวิธีการแก้ไข หลังจากเริ่มการร้องเรียนถึงปัญหาที่กล่าวมาเพิ่มมากขึ้น โดย สคบ. จะบังคับกับทางห้างสรรพสินค้าว่า ต้องระบุจำนวนของสินค้าที่มีจำหน่ายแต่ละสาขาลงในโฆษณา เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลก่อนตัดสินใจไปซื้อคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา จะร่างแนวทางการโฆษณาสำหรับสินค้าที่จัดโปรโมชันในห้างสรรพสินค้า เพื่อขอความร่วมมือไปยังสินค้าและห้างสรรพสินค้าที่จัดรายการต่างๆ โดยคาดว่าจะสามารถประกาศเป็นกฎกระทรวงได้ภายในสิ้นปีนี้ เพื่อป้องกันการเอาเปรียบ ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 30,000 บาท รวมทั้งสื่อที่โฆษณาก็จะต้องถูกเทียบปรับกึ่งหนึ่งคือ 15,000 บาทด้วย--------------------     28 สิงหาคม 2554ขวดพลาสติกใช้ซ้ำ ต้องระวังเรื่องความสะอาด บ้านใครที่ใช้ขวดน้ำพลาสติกที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ซ้ำสำหรับใส่น้ำดื่มอีกรอบ คงต้องตั้งใจอ่านข่าวนี้ให้ดี เพราะกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกมาเตือนคนที่อยากประหยัดและช่วยลดโลกร้อนด้วยการนำขวดน้ำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำ อย่าลืมดูเรื่องความสะอาด ก่อนนำมาใช้ก็ต้องล้างทำความสะอาดให้ดี โดยเฉพาะบริเวณปากขวดและฝาขวด ที่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคจากการสัมผัสกับมือและปากเวลาที่เราดื่มน้ำจากขวด นอกจากนี้ขวดที่นำกลับมาใช้ซ้ำเมื่อใช้ไปนานๆ สีของขวดอาจมีการเปลี่ยนแปลง ต้องคอยสังเกตดูว่าหากมีคราบสีเหลือง มีสีขุ่น ขวดไม่ใสเหมือนเดิม ก็ไม่ควรนำมาใช้ต่อ  ขวดที่บุบ มีรอยร้าว รอยแตก ก็ไม่เหมาะสำหรับนำมาใส่น้ำดื่ม  สำหรับพลาสติกที่ใช้สำหรับผลิตขวดน้ำดื่มจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ ขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (Polyethylene) หรือ PE และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน เทเรฟทาเลต (Poly Ethylene Terephthalate) หรือ ขวด PET ซึ่งนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขวดที่แบบขวดใสควรเก็บในที่แสงสว่างส่องไม่ถึง เพราะน้ำในขวดอาจเสื่อมคุณภาพหรืออาจเกิดตะไคร่ขึ้นภายในขวดได้-----------------------     31 สิงหาคม 2554อย.ลงดาบ “ซันคลาร่า” แค่อาหารเสริม...ไม่ใช่ยารักษาโรคอาหารเสริมตัวร้ายยังสร้างเรื่องวุ่นวายได้เรื่อยๆ ล่าสุด คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เอาผิดผลิตภัณฑ์อาหารเสริม “ซันคลาร่า” ที่กำลังโฆษณาขายกันอย่างแพร่หลาย ทั้งใน เคเบิลทีวี วิทยุชุมชน และเว็บไซต์ ซึ่งอวดอ้างสรรพคุณครอบจักรวาล ทั้ง ดูแลผิวพรรณ ลดน้ำหนัก กระชับภายใน ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคเบาหวาน พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ฯลฯ โดย อย. ตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นการโฆษณาอย่างผิดกฎหมาย เพราะผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค การโฆษณาในลักษณะดังกล่าวเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค ทาง อย. จึงได้ดำเนินคดีกับบริษัท สตาร์ ซันไชน์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งรับว่าเป็นผู้จัดทำข้อความโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ พร้อมทั้งมีหนังสือ ไปยังบริษัทฯ เพื่อระงับการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวในทุกสื่อ  ผู้บริโภคต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง ก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ ต้องศึกษาข้อมูลให้ดี อย่าได้หลงเชื่อสรรพคุณว่าสามารถป้องกันหรือรักษาโรค เพราะนอกจากกินแล้วจะไม่หายป่วย อาจจะซวยได้โรคอื่มเพิ่มมาแทน แถมบรรดาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่มีราคาแพง ใครที่หลงซื้อมารับประทานผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป-----------------------------------------------------------------     คลีนิคสำหรับคนเป็น “หนี้” มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปิดคลินิกให้คำปรึกษาปัญหาหนี้บัตรเครดิต รองรับนโยบายจากภาครัฐที่ใช้วิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้องของประชาชนโดยการออกบัตรเครดิตให้กับประชาชนหลายกลุ่ม ทั้งบัตรเครดิตเพื่อเกษตรกร บัตรเครดิตพลังงาน รวมถึงนโยบายการเพิ่มฐานเงินเดือนขั้นต่ำปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ซึ่งเอื้อต่อการทำบัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า หากรัฐบาลเลือกใช้วิธีสนับสนุนให้ประชาชนใช้บัตรเครดิตเพื่อแก้ปัญหาความเป็นอยู่ รัฐบาลก็จำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งการกำหนดฐานรายได้และยอดวงเงินรวมของผู้ถือบัตรเครดิตให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำหนี้ได้อย่างเหมาะสม การแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต้องไม่เกินร้อยละ 15 จึงจะถือว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม การมอบหมายให้มีหน่วยงานดูแลรับผิดชอบที่ชัดเจนในการรับเรื่องร้องเรียน ให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต และต้องมีกฎหมายทวงหนี้ที่เป็นธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้ปัญหาหนี้บัตรเครดิตถือเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนและขอคำปรึกษาเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมากเป็นอันดับหนึ่ง  ด้าน นายชูชาติ  บุญยงยศ ประธานชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เล่าให้ฟังถึงสภาวะของลูกหนี้ในยุคปัจจุบันว่า ลูกหนี้บัตรเครดิตจำนวนมากต้องเจอกับวิธีการทวงหนี้ที่ไม่เป็นธรรม ถูกกดดันจนเกิดภาวะเครียด หวาดกลัว เนื่องจากมองไม่เห็นทางออกในการหาเงินมาชำระหนี้ บางคนก็คิดสั้นจนถึงขั้นพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองหรือครอบครัวอย่างที่ได้ยินข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เป็นประจำ ใครที่มีปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิตหรืออยากรู้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับบัตรเครดิต สามารถขอคำปรึกษาได้ที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซอยราชวิถี 7 ในวันทำการจันทร์ถึงศุกร์ตั้งแต่เวลา 09.00 – 18.00 น. เบอร์โทรศัพท์ 02-2483734-37 หรือผ่านทางเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในส่วนชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ www.consumerthai.org/debt/ --------------------------------------     หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย ต่อไปนี้ใครที่พบเจอปัญหาจากการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถเมล์ รถทัวร์ รถตู้ รถไฟ แท็กซี่ ฯลฯ อย่าเก็บไว้ในใจ เมื่อมีปัญหาเราต้องแก้ไข คิดใหม่ทำใหม่ ด้วยการมาสมัครเป็น “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” โครงการดีเพื่อสังคมโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงานสัมมนาระดับชาติ “เรื่องความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 10 ทศวรรษแห่งการลงมือทำ : Time for Action” เมื่อวันที่ 25 - 26 สิงหาคมที่ผ่านมา โดย “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” จะมีหน้าที่ในการช่วยกันแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับความในปลอดภัยจากบริการรถโดยสารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น รถขับซิ่ง ขับประมาท คนขับหรือพนักงานเก็บเงินบริการไม่สุภาพ รวมทั้งเรื่องสภาพรถที่ไม่ปลอดภัย ผ่านมาที่สายด่วนคุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ 1584 และที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยทุกครั้งที่แจ้งข้อมูลมายังมูลนิธิฯ จะได้รับแต้มสะสมเพื่อลุ้นของรางวัลเล็กๆ น้อยๆ จากทางมูลนิธิฯ ซึ่งการบอกต่อปัญหาเหล่านี้ถือเป็นหนึ่งวิธีในการช่วยแก้ไขปัญหาบริการรถโดยสารสาธารณะซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ที่เราทุกคนต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใครที่สนใจสมัครเป็น “หน่วยพิทักษ์รถโดยสารปลอดภัย” สามารถโหลดใบสมัครและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.consumerthsi.org หรือที่ 02-248-3737

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 เอาไงดีกับขวดพลาสติกใส ตอน 2

จากที่กล่าวในฉลาดซื้อฉบับที่แล้วว่า “ทั้งที่ความจริงแล้วสารเคมีที่อาจก่อปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากการหลุดออกมาจากขวดพลาสติกคือ Bisphenol A” การลงท้ายในลักษณะนี้อาจทำให้ท่านผู้อ่านสับสนได้ว่า Bisphenol A นั้นอาจหลุดออกมาจากขวดพลาสติกใสทั่วไปได้ ท่านผู้อ่านโปรดอย่าสับสน เพราะขวดพลาสติกใสที่มีการใช้ใส่เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มนั้นเป็นขวด PET ส่วนกรณีของ Bisphenol A นั้น เป็นการกล่าวถึงปัญหาของขวดพลาสติกใสอีกประเภทที่เรียกกันว่า โพลีคาร์บอเนต (polycarbonate) ซึ่งแตกต่างจากขวด PET ที่ใช้ใส่น้ำดื่มบรรจุขวด ในการผลิตพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนตนั้นมีการใช้สาร Bisphenol A เป็นสารช่วยในการผลิต ดังนั้นต้องขอให้ท่านผู้อ่านตั้งสตินิดหนึ่งว่า พลาสติกทั้งสองนั้นต่างกันในเรื่อง การทนความร้อนและที่สำคัญคือ ราคาผู้บริโภคทั่วไปสามารถสัมผัส Bisphenol A จากอาหารเป็นหลัก เพราะมีการวิเคราะห์พบในเลือดคนทั่วไป ตลอดจนในเด็กทารก ซึ่งมีกระบวนการทำลายสารพิษไม่สมบูรณ์ ปริมาณที่วิเคราะห์ได้ในปัสสาวะคนสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.cdc.gov/nchs/about/major/nhanes/nhanes2003-2004/lab03_04.htm แต่ตามรายงานของโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program) ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1982 ระบุว่าสาร Bisphenol A นี้ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ท่านผู้อ่านอาจสัมผัส Bisphenol A ได้ในพลาสติกอีกประเภทคือ โพลีไวนิลคลอไรด์ ที่ใช้ทำท่อพีวีซี และแผ่นพลาสติกใสหุ้มอาหารหรือที่เรียกกันว่า แรบพ์ (wrap) ซึ่งชาวไทยหลายล้านคนได้มีประสบการณ์การใช้แผ่นพีวีซีจากแซนด์วิชต่างๆ ที่มีการขายแก้จน โดยไม่รู้ว่าถ้านำเอาแซนด์วิชที่มีแผ่นพลาสติกใสหุ้มอาหารอยู่นั้นไปอุ่นให้ร้อนด้วยไมโครเวฟ โอกาสที่ Bisphenol A จะหลุดออกมาก็พอมีได้แหล่งของสารเคมีนี้ที่ผู้บริโภคอาจได้รับอีกแหล่งคือ จากพลาสติกใสที่มีการนำไปเคลือบกระป๋องบรรจุอาหารที่ต้องผ่านความร้อนสูงวิกิพีเดีย (www.wikipedia.org) เล่าว่ามีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำในหนูถีบจักรเพศเมียที่ท้องพบว่า สาร Bisphenol A ที่ขนาด 1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว ก่อพิษต่อระบบสืบพันธุ์และก่อมะเร็งต่อตัวอ่อนที่ได้รับสารนี้ในช่วงการพัฒนาอวัยวะของตัวอ่อน นอกจากนี้สารเคมีดังกล่าวยังสามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์ของหนูถีบจักรที่เลี้ยงในหลอดทดลอง เมื่อเราเข้าไปดูข้อมูลใน http://www.emaxhealth.com เกี่ยวกับขวดนมพลาสติกซึ่งเป็นขวดใสพบว่า ในปีที่แล้วหน่วยงานด้านสุขภาพของแคนาดาได้ระงับใบอนุญาตจำหน่ายขวดนมพลาสติกที่มี Bisphenol A เป็นองค์ประกอบ ปฏิบัติการดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่หน่วยงานด้านกฎหมายของแคนาดาเริ่มจับตามองสาร Bisphenol A ทั้งที่หน่วยงานดังกล่าวเคยออกมาแถลงว่า ปริมาณการสัมผัสสารนี้อยู่ในระดับต่ำ สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น สภาสูงได้เริ่มขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของสาร Bisphenol A และที่สำคัญฝรั่งเศสก็เป็นอีกประเทศที่เริ่มดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับการทบทวนการใช้พลาสติกที่มีสาร Bisphenol A ด้วยฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกนั้นได้กล่าวว่า ปริมาณการปนเปื้อนสู่อาหารของสารเคมีจากบรรจุภัณฑ์นั้น ส่วนใหญ่มีปริมาณค่อนข้างน้อยไม่น่าเป็นห่วง และที่สำคัญคือ ยังไม่มีสารเคมีอื่นมาแทนที่ Bisphenol A ได้ในการทำให้ผลิตภาชนะบรรจุที่ทนร้อนระดับการฆ่าเชื้อทางอุตสาหกรรมซึ่งป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ การกล่าวนี้เหมือนกับบอกว่า ยอมๆ กันไปก่อนเถอะน่า ไว้หาสารตัวแทนมาได้ค่อยตื่นเต้นใหม่ผู้เชี่ยวชาญในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารบริษัทหนึ่งได้กล่าวเสริมว่า ยังมีความจำเป็นในการทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์กับระบบฮอร์โมนเพศที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันซึ่งอาจเกิดเนื่องจากสารเคมีที่มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศและปัญหาที่เกี่ยวกับเต้านม ต่อมลูกหมาก โรคอ้วน โรคเบาหวาน และภูมิแพ้ก่อน เพื่อให้มีการเชื่อมต่อกับข้อมูลการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหาร จากนั้นจึงค่อยมากังวลกับการปนเปื้อนสารพิษนี้อย่างจริงจังการดื่มเครื่องดื่มจากขวดโพลีคาร์บอเนตแล้วสามารถตรวจสอบพบสาร Bisphenol A ในปัสสาวะของผู้บริโภคนั้นเป็นข้อมูลงานวิจัยของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health) และศูนย์ควบคุมโรคกลาง (CDC) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า ในกรณีขวดนมนั้นการปนเปื้อนสามารถเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากความร้อนที่ใช้ในการอุ่นขวดนม ในสหรัฐอเมริกานั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ (National Toxicology Program) ได้เคยสรุปแล้วว่า Bisphenol A ไม่ก่อปัญหาในด้านสุขภาพ ซึ่งต่างจากหน่วยงานด้านสุขภาพในแคนาดาที่มองว่าปัญหาอาจเกิดต่อตัวอ่อนในท้องแม่ที่ได้รับสารดังกล่าว การวิเคราะห์ปริมาณปนเปื้อนของ Bisphenol A จากขวดพลาสติกที่มีสีสันสวยงามแบบหลอดนีออนพบได้ไม่ยาก ไม่ว่ามากหรือน้อย จึงมีหลายบริษัทที่ผลิตขวดพลาสติกได้เปลี่ยนไปผลิตพลาสติกที่ไม่ต้องใช้สารดังกล่าว ทั้งนี้เพราะขวดที่ใช้ Bisphenol A ในการผลิตจะมีการปนเปื้อนของสารออกมาเมื่อได้รับความร้อนไม่ว่าจากแสงแดดหรือจากไมโครเวฟ ในสหรัฐอเมริกาเองหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐมินนิโซตาและคอนเน็คติกัค ได้เริ่มห้ามการจำหน่ายภาชนะพลาสติกที่มีสารดังกล่าวเป็นส่วนผสม และอย่างน้อยผู้ผลิตภาชนะพลาสติกรายใหญ่ 5 รายในสหรัฐอเมริกาได้หยุดการผลิตหรือเพิ่มทางเลือกในการผลิตพลาสติกประเภทอื่นที่ไม่มี Bisphenol A ให้ผู้บริโภคแล้ว ข้อมูลดังกล่าวดูได้จาก http://www.alternet.org/story/141196/ และ http://www.findingdulcinea.com/news/health/2009/june/Are-BPA-Marketers-Purposely-Misleading-the-Public.html ปรากฏการนี้ทำให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐต้องเริ่มทำการทบทวนเกี่ยวกับความปลอดภัยของพลาสติกที่มี Bisphenol A เป็นองค์ประกอบตั้งแต่ปี 2008ใน http://network.nationalpost.com นักสถิติชื่อ S. Robert Lichter จาก George Mason University และ Trevor Butterworth จาก edits.stats.org ได้เขียนบทความเกี่ยวกับแนวทางการเลิกให้ใบอนุญาตการใช้สาร Bisphenol A ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ทั้งที่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนนัก อย่างไรก็ตามเมื่อทำการสอบถามความเห็นจากนักพิษวิทยาจำนวน 937 คน พบว่า มีเพียงร้อยละ 9 เท่านั้นที่คิดว่าสารนี้เป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพ โดยเทียบกับอันตรายที่เกิดจากแสงแดด สุรา หรือ อะฟลาท็อกซิน ส่วนในกลุ่มของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเอง สารพิษนี้ก็ยังอยู่ที่ท้ายๆ ของบัญชีสารพิษที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อมนุษย์ อาจเนื่องจากปริมาณที่ประชากรโลกสัมผัสสารพิษนี้ค่อนข้างต่ำ ตามการประเมินของสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Institute of Environmental Health Sciences) เคยมีนักพิษวิทยาคนหนึ่งในสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ปริมาณที่มนุษย์ได้รับแต่ละวันนั้นน้อยกว่าปริมาณที่ก่อให้เกิดพิษในสัตว์ทดลองถึง 500,000 เท่า อย่างไรก็ดีท่านผู้อ่านควรทราบว่า การศึกษาและการประเมินความเป็นพิษของสารเคมีที่อาจเข้าสู่ร่างกายมนุษย์นั้น เป็นการตั้งสมมุติฐานว่า มนุษย์ได้รับสารนั้นอย่างเดียว และสุขภาพมนุษย์ก็อยู่ในสภาวะที่ดีที่สุดด้วย ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่เลย ทั้งนี้เพราะถ้าเราคิดถึงปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพ สภาวะโภชนาการ ความแตกต่างทางพันธุกรรมที่บางคนกำจัดสารพิษได้ต่ำกว่าคนอื่นแล้ว ปริมาณสารพิษที่ดูน้อย อาจก่อให้เกิดปัญหาที่น่าตกใจได้ในวารสาร ScienceDaily (July 9, 2009) ของเว็บ http://www.sciencedaily.com กล่าวว่า Bisphenol A มีผลในการทำให้ไข่ของหนูถีบจักรพัฒนาตัวช้ากว่าปรกติ เนื่องจากผลที่มันเป็นสารที่มีฤทธิ์ของฮอร์โมนเพศหญิง แต่เรายังไม่ทราบว่าเมื่อเทียบกับฮอร์โมนเพศหญิงธรรมชาติแล้ว มันมีฤทธิ์ต่ำกว่า หรือสูงกว่าฮอร์โมนเพศธรรมชาติ และข้อที่น่าสนใจอีกประการในรายงานนี้คือ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาวในสัตว์ด้วยสารที่มีความเข้มข้นต่ำนอกจากนี้ โครงการพิษวิทยาแห่งชาติของสหรัฐอเมริกายังได้รายงานว่า สารเคมีนี้มีผลต่อสมอง พฤติกรรมและต่อมลูกหมากของลูกสัตว์ทดลองที่แม่ได้รับสารนี้ ซึ่งอาจเชื่อมโยงได้ว่ามีผลอย่างเดียวกันในคนเนื่องจากนักพิษวิทยาบางส่วนไม่สามารถกล่าวอย่างเต็มปากว่าสารเคมีนี้ปลอดภัย บริษัท Nalgene ซึ่งผลิตขวดพลาสติกหลายชนิดขาย ทั้งในห้องปฏิบัติการเคมี และใช้เป็นขวดบรรจุน้ำ อาหารและอื่น ๆ จึงได้แนะนำผู้บริโภคประมาณว่า ถ้าไม่แน่ใจในการใช้ขวดพลาสติกใสทนร้อนให้หันกลับไปใช้ขวดพลาสติกขุ่นที่บริษัทผลิตขายเช่นกันแทน เพื่อความสบายใจ ข้อมูลดังกล่าวหาดูได้จาก http://www.ecopledge.com/detoxnalgene.asp?id2=27717ดังนั้นถ้าท่านต้องการใช้ภาชนะพลาสติกใสที่ทนร้อนได้ ท่านคงต้องยอมเสี่ยงที่จะรับสารดังกล่าวบ้าง มันอาจไม่เลวร้ายนักเพราะเวลาล้างขวดนมด้วยการต้ม น้ำที่ใช้ต้มเราก็เททิ้ง แต่ยังไม่มีใครรับประกันว่าว่า มี Bisphenol A ติดอยู่ที่ผนังขวดหรือไม่ ดังนั้นน่าจะถึงเวลาหันกลับไปใช้ขวดนมแก้ว โดยยอมเสี่ยงกับการที่สาวใช้ทำขวดแตก เพราะท่านทำลูกเป็นอย่างเดียว แต่ทำงานบ้านไม่เป็น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 102 เอาไงดีกับขวดพลาสติกใส

รศ. ดร.แก้ว กังสดาลอำไพสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552 เวลาใกล้ 20.00 น ข่าวพยากรณ์อากาศของสถานีโทรทัศน์ Thai PBS ได้ให้ความรู้ในเรื่องที่นอกเหนือไปจากการพยากรณ์อากาศว่า การใช้ขวดพลาสติกใสที่เคยบรรจุน้ำดื่มซ้ำ อาจมีปัญหาการปนเปื้อนของสารพิษออกมา โดยเฉพาะเมื่อเอาขวดบรรจุน้ำนั้นไปแช่ในช่องแช่แข็งแล้ว สารพิษในกลุ่มไดออกซินจะหลุดออกมาปนเปื้อนในน้ำดื่ม ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นที่น่าสนใจกันมานานแล้วว่า ข้อมูลดังกล่าวมาจากไหน มีความน่าเชื่อถือสักเท่าไร เพราะผู้เขียนเองก็เคยได้เห็นข้อมูลดังกล่าวใน Forward mail ตลอดจนในเว็บไซต์ของคนไทย ผู้ที่คิดว่าตนเองรู้รอบทิศ แค่เดาว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งนั้นก็เป็นจริงได้ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสารพิษ ซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ได้รับข้อมูลแล้วไม่ใช้หลักกาลามสูตร จนต้องไปใช้บริการล้างพิษในธุรกิจส่วนตัวของผู้ให้ข่าว ดังนั้นในฉลาดซื้อฉบับนี้ ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้ใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่มซ้ำซาก จึงค่อนข้างกระตือรือล้นในการหาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำว่า ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพหรือไม่ เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า ควรไปซื้อขวดขุ่นมาใส่น้ำแช่ตู้เย็นหรือไม่ เริ่มแรกผู้เขียนหาข้อมูลจาก Google ด้วยกุญแจคำว่า drinking water bottle plastic reuse ก็ได้ความรู้เอามาแบ่งปันกัน เว็บแรกคือ http://www.snopes.com ซึ่งเป็นผู้ให้แหล่งที่มาของ e-mail ยอดนิยมที่คนชอบส่งต่อ ซึ่งเขียนว่า “No water bottles in freezer. A dioxin chemical causes cancer, especially breast cancer. Dioxins are highly poisonous to the cells of our bodies. Don't freeze your plastic bottles with water in them as this releases dioxins from the plastic...... เป็นเรื่องหนึ่ง และอีกเรื่องเขียนว่า “My husband has a friend whose mother recently got diagnosed with breast cancer. The doctor told her women should not drink bottled water that has been left in a car. The doctor said that the heat and the plastic of the bottle have certain chemicals that can lead to breast cancer. So please be careful and do not drink that water bottle that has been left in a car and pass this on to all the women in your life.” ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากพาดพิงถึงสารไดออกซิน (dioxin) ผู้เขียนขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ไดออกซิน ก่อนว่า เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูงที่สุดที่มนุษย์เคยประดิษฐ์ขึ้นมา ครั้งแรกที่สารกลุ่มนี้เป็นข่าวนั้นนานกว่า 30 ปีแล้ว โดยเป็นสารปนเปื้อนที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจในการผลิตสารกำจัดวัชพืชสองชนิดที่มีชื่อเล่นเรียกง่าย ๆ ว่า 2,4-D และ 2,4,5-T สารพิษเหล่านี้ประเทศมหาอำนาจผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในการโปรยจากเครื่องบินเพื่อทำให้ป่าทึบกลายเป็นป่าโปร่ง ทหารของประเทศมหาอำนาจจะได้ยิงทหารของประเทศด้อยอำนาจได้ง่าย ผลกรรมเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ทหารที่อยู่บนเครื่องบินที่โปรยสารพิษนี้ก็ได้รับสารไดออกซิน เนื่องจากลมที่ตีกลับไปมาระหว่างการโปรยสารพิษนี้ และเมื่อกลับประเทศแบบผู้ปราชัย ทหารผู้โชคร้ายเหล่านั้นก็เป็นมะเร็งกันเป็นระนาว ส่วนข้าศึกที่อยู่ภาคพื้นดินก็รับกรรมไปชั่วลูกชั่วหลาน เพราะสารพิษนี้ตกค้างบนพื้นดิน กลายเป็นสารปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหาร ทำให้ลูกหลานของคนในประเทศผู้ชนะสงครามมีความพิการมากมาย สารกลุ่มไดออกซินนั้นเป็นทั้งสารก่อมะเร็งและสารก่อลูกวิรูป (สารที่ทำให้เด็กในท้องพิการ) ด้วยเหตุนี้พอมีข่าวว่ามีสารพิษนี้หลุดออกมาจากขวดพลาสติกใส ใครๆ ก็ต้องกลัว อย่างไรก็ดีในเรื่องของขวดพลาสติกใสใส่น้ำนั้น เรื่องของไดออกซินเป็นเพียงสิ่งที่เข้าใจกันเองว่ามี ทั้งที่ความจริงไม่ควรมี เพราะไดออกซินนั้นมักเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสารเคมีที่มีคลอรีนเข้าไปเกี่ยวข้อง ดังตัวอย่างการผลิตสารกำจัดวัชชพืช 2,4-D และ 2,4,5-T ซึ่งใช้คลอรีนเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในขณะที่ขวดพลาสติกใสที่เรียกว่า ขวด PET นั้นไม่ได้มีคลอรีนร่วมในการผลิต โอกาสจะเกิดไดออกซินจึงไม่น่าเป็นไปได้ ผู้เขียนเข้าใจว่า บุคคลที่เริ่มต้นเขียนบทความเกี่ยวกับการปนเปื้อนของสารพิษในขวดพลาสติกใสนั้น เข้าใจคลาดเคลื่อนและเขียนชื่อสารพิษอีกชนิดหนึ่ง (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ผิดไปเป็นไดออกซินทั้งนี้เพราะอาจชินกับชื่อสารพิษไดออกซินซึ่งมีประวัติอันยาวนาน ตัวอย่างความเข้าใจผิดในเรื่องชื่อสารเคมีของผู้ที่ไม่ได้เรียนด้านวิทยาศาสตร์โดยตรง ที่มักพบได้ในอินเตอร์เน็ตคือ ความเข้าใจผิดๆ ถูกๆ เกี่ยวกับคำว่า ฝนเหลือง หรือ Yellow rain คนทั่วไปในปัจจุบันมักคิดว่า ฝนเหลืองนั้นมีสารพิษคือ ไดออกซิน เป็นองค์ประกอบ ทั้งที่ความจริงแล้วไดออกซินนั้นเป็นสารปนเปื้อนที่เกิดจากสารกำจัดวัชพืชดังกล่าวแล้วข้างต้น ซึ่งเวลานำไปใช้งานในสงครามนั้น สารผสมดังกล่าวถูกผลิตในรูปที่มีสีออกส้ม จึงเรียกว่า agent orange ไม่ใช่ Yellow rain ดังที่มีผู้กล่าวกันอย่างผิดๆ Yellow rain นั้นเป็นชื่อเรียกง่ายๆ ของสารพิษกลุ่ม Trichothecene ที่เรียกว่า T-2 Toxin ที่ได้จากเชื้อรากลุ่ม Fusarium, Myrothecium, Trichoderma, Trichothecium, Cephalosporium, Verticimonosporium และ Stachybotrys ซึ่งประเทศมหาอำนาจอีกประเทศได้นำสารนี้ไปใช้ในสงครามในเอเชียกลางเมื่อไม่นานมานี้ ข้อมูลเกี่ยวกับ Yellow rain หรือฝนเหลืองนั้น สามารถหาได้จาก www.wikipedia.org สารพิษ T-2 Toxin ในฝนเหลืองนี้ออกฤทธิ์ทำให้ผู้ได้รับมีอาการเหมือนโดนรังสีจากระเบิดปรมาณู เพราะสารพิษทำลายการสร้างเม็ดเลือดขาวของระบบภูมิต้านทานในไขกระดูก ดังนั้นโดยสรุปแล้ว การรายงานสารปนเปื้อนในรายการพยากรณ์อากาศที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นการเอาข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมารายงาน ซึ่งอาจเป็นเพราะความไม่ถูกต้องของแหล่งข้อมูล โดยเฉพาะถ้าเป็นแหล่งข้อมูลในอินเตอรเน็ตซึ่งไม่สามรถควบคุมความถูกต้องได้ อย่างไรก็ดี ในข้อเท็จจริงแล้วไม่ได้หมายความว่าไม่มีสารพิษหลุดออกมาจากขวดพลาสติกใส แต่จะเป็นสารอะไรนั้นขอให้ท่านผู้อ่านติดตามดูข้อมูลที่ผู้เขียนจะนำมาเสนอให้อ่านเป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจว่า จะใช้ขวดพลาสติกใสใส่น้ำซ้ำหรือไม่ ก่อนอื่นต้องทบทวนกับท่านผู้อ่านว่า ขวดพลาสติกใสนั้นชื่อทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า ขวด PET ขวดพลาสติก PET ผลิตจากสารตั้งต้นชื่อ ethylene terepthalate ด้วยกระบวนการทางเคมีทำให้ได้สารโพลีเมอร์ชื่อ polyethylene terepthalate ซึ่งเป็นพลาสติกที่ได้รับการยอมรับจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศว่าสามารถใช้กับอาหารและยาได้ PET มีความสวยงาม และใสเหมือนขวดแก้ว หรืออาจจะเพิ่มสีสันให้กับขวดได้ตามความเหมาะสม มีน้ำหนักเบา และความเหนียวในเนื้อพลาสติกมีสูงจึงไม่เกิดความเสียหายในขณะขนส่ง จึงเหมาะอย่างยิ่งกับอุตสาหกรรมอาหาร ยา เคมี เครื่องดื่มและอื่นๆ ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาของสารที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET นั้นควรเริ่มจากการเข้าไปดูได้ที่ www.wikipedia.org เช่นกัน ก่อนไปถึงเรื่องของสารเคมีที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET เราคงต้องไปดูประเด็นว่า ทำไมเรื่องของไดออกซินในพลาสติกจึงถูกปล่อยออกมาทำให้มีความหวาดกลัวกันในหมู่ผู้บริโภค ในครั้งแรกที่ได้ยินเรื่องนี้ ผู้เขียนพยายามเดาว่า เป็นนโยบายที่ผู้ผลิตขวดพยายามให้มีการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เพื่อที่บริษัทจะได้ขายขวดได้มากขึ้น แต่เมื่อประเมินผลได้ผลเสียแล้ว คิดว่าผู้ผลิตคงไม่เสี่ยงทุบหม้อข้าวตัวเองแน่ ดังนั้นจึงลองค้นข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ก็ไปพบว่าเรื่องดังกล่าวนี้มีใน wikipedia เจ้าประจำ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ในปี 2001 มีนักศึกษาคนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐไอดาโฮได้รายงานในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทรายงานว่า สาร DEHA อาจหลุดออกมาจาก ขวดพลาสติกชนิดที่เรียกว่า PET (polyethylene terephthalate) ซึ่งถูกใช้ซ้ำหรือได้รับความร้อน จากนั้นในปี 2003 ข้อมูลดังกล่าวก็ถูกส่งว่อนไปทั้วอินเตอร์เน็ต สารเคมีดังกล่าวที่นักศึกษาผู้นั้นกล่าวถึงคือ bis(2-ethylhexyl) adipate (หรือ di(2-ethylhexyl) adipate) แต่ข้อมูลที่ส่งในอินเตอร์เน็ตกลับไปเข้าใจผิดว่าเป็นสาร diethylhydroxylamine ซึ่งก็มีชื่อเช่นเดียวกันคือ DEHA ด้วยเหตุ สมาคมผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกจึงไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ ต้องลุกขึ้นมาอัดมหาวิทยาลัยดังกล่าว โดยระบุว่าการใช้ขวด PET บรรจุน้ำดื่มนั้นได้ผ่านการรับรองจาก อย ของสหรัฐแล้ว และที่สำคัญสารดังกล่าวที่อาจหลุดออกมาจากขวด PET นั้นไม่ได้อยู่บัญชีสารก่อมะเร็งของ EPA (สำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา) และไม่ได้ถูกจัดเป็นสารก่อมะเร็งตามบัญชีของ IARC ซึ่งเป็นสำนักงานระหว่างชาติที่ดูแลงานวิจัยเกี่ยวกับสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีการพยายามเคลียร์กันแล้วแต่เรื่องที่เกิดในทางไม่ดีนั้น ไม่ว่าจริงหรือเท็จมักค้างคาใจ เหมือนใบสั่งการจอดรถผิดกฎหมาย ซึ่งถึงจ่ายค่าปรับแล้ว ผู้จ่ายก็ยังมักหงุดหงิดทุกครั้งที่เห็นคนเขียนใบสั่ง และมักรู้สึกไม่ดีตลอดไป ฉันใดก็ดี เรื่องสารพิษในขวดพลาสติกก็ยังพูดกันต่อๆ ไป แล้วมันก็กลายเป็นสารไดออกซินในที่สุด ทั้งที่ความจริงแล้วสารเคมีที่อาจก่อปัญหาสุขภาพของผู้บริโภคเนื่องจากการหลุดออกมาจากขวดพลาสติกคือ Bisphenol A ซึ่งขอยกไปคุยกันในฉบับหน้า สำหรับช่วงรอเดือนหน้าผู้เขียนได้จัดการกำจัดขวดพลาสติกใสในตู้เย็นให้หมดไป โดยได้ไปซื้อขวดบรรจุน้ำที่เป็นพลาสติกขุ่นที่กำหนดว่า ใช้ใส่น้ำดื่ม มาใช้ในการแช่น้ำในตู้เย็นแทน ท่านผู้อ่านจะทำตามหรือไม่ก็แล้วแต่ใจครับตอนนี้ตัวใครตัวมันก่อนแล้วกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point