ฉบับที่ 207 โฆษณามั่วซั่วต้องตอบแทน (ตอนที่ 2)

ดังได้กล่าวในตอนที่แล้วประมาณว่า การทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกานั้น ใครใคร่ทำนั้นสามารถทำได้ แต่อย่าโอ้อวดจนน่าเกลียดเพราะมีนักร้อง(เรียน) อาชีพคอยจัดการอยู่ตัวอย่างต่อไปที่ผู้เขียนอ่านพบในอินเทอร์เน็ตคือ เมื่อปี 2009 ซึ่งกระแสความตื่นกลัวของผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไข้หวัดหมู(H1N1) กำลังแรง บริษัทขายอาหารเช้าชนิดที่ใช้ธัญพืชเป็นวัตถุดิบยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งตัวสินค้านั้นมีความละม้ายคล้ายข้าวเม่าคั่ว ได้ทำฉลากติดพาดกลางกล่องสินค้าชนิดที่ผลิตจากข้าวโพดว่า สินค้านี้ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของเด็กได้ดี พร้อมการอวดอ้างว่า การกินสินค้าดังกล่าวด้วยปริมาณที่บริษัทแนะนำนั้น ทำให้ผู้บริโภคได้สารต้านออกซิเดชั่นและสารอาหารถึงร้อยละ 25 ที่ร่างกายต้องการ แต่ทันทีที่ข้อมูลบนฉลากกระทบตานักวิชาการ คำถามถึงที่มาและการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลถึงที่มาของข้อความดังกล่าวก็ถูกตั้งเป็นประเด็นขึ้น จนสุดท้ายบริษัทก็ฉีกฉลากดังกล่าวทิ้งถังขยะไปในปีเดียวกันนั้นกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐได้ขอคำอธิบายจากบริษัทเดียวกันนั้นว่า การอวดอ้างว่าสินค้าที่ทำจากข้าวสาลีนั้นช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในเรื่อง ความเอาใจใส่(attentiveness) สูงขึ้นร้อยละ 20 นั้น ท่านได้แต่ใดมา ซึ่งทางบริษัทก็ไม่สามารถอธิบายได้ สุดท้ายกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐจึงได้สั่งการแบบปรานี ประมาณว่า ให้บริษัทถอดโฆษณาดังกล่าวออกพร้อมสำทับว่า คราวหน้าถ้าจะโฆษณาอะไรก็ตามเกี่ยวกับสินค้าว่า มีผลต่อสุขภาพผู้บริโภคนั้น ขอให้ทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์จนได้ข้อมูลที่ชัดแจ้ง อย่าได้บังอาจคิดว่าผู้บริโภคนั้นกินฟางเป็นอาหารหลักสืบเนื่องจากการโฆษณาสินค้าที่อ้างว่า มีผลต่อการเพิ่มความสามารถของคนดังกล่าวข้างต้นนั้น ชาวอเมริกันหลายคนที่มีโอกาสได้ดูโฆษณาสินค้าอาหารบางชนิดในประเทศไทย อาจประหลาดใจว่า โฆษณาสินค้าที่อ้างว่าทำให้คนฉลาดนั้นหลุดรอดออกมาสู่สายตาผู้ชมได้อย่างไร เช่น สินค้าบางชนิดอ้างเองว่า ผู้ที่กินเข้าไปแล้วจะฉลาดขึ้น เสมือนคนที่มะงุมมะงาหราอยู่ในที่มืดมานานแล้วสามารถเปิดไฟสว่างมองเห็นทางออก เช่น สอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยได้ โดยไม่ได้คำนึงเลยว่า ความฉลาดของมนุษย์นั้นมีหลายปัจจัยเป็นตัวคุม โดยหนึ่งนั้นคือ สภาวะโภชนาการ ซึ่งเป็นผลจากการกินอาหาร ซึ่งต้องเป็นอาหารที่ครบหมู่ต่างๆ ที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่สินค้าที่เหมือนได้จากการต้มโครงหมูกระดูกไก่แล้วแต่งสีบรรจุขวดขายอีกตัวอย่างที่ดูเหมือนเป็นปัจจัยที่ห้าของชีวิตสตรีและผู้ที่ข้ามเพศจำต้องหามาใช้บำรุงชีวิตนั้น คือ เครื่องสำอาง ผู้เขียนได้ดูภาพยนตร์สั้นเรื่องหนึ่งใน YouTube เกี่ยวกับสตรีไทยผู้มีอาชีพเป็นนางแบบภาพเปลือย ซึ่งทำให้เข้าใจความหมายของคำว่า nude นั้นเป็นอย่างไร มีตอนหนึ่งที่สะกิดใจมากคือ นางแบบนั้นขอทาอายไลเนอร์ก่อนถ่ายภาพทั้งที่วันนั้นเป็นการถ่ายภาพที่มองไม่เห็นส่วนดวงตาของเธอก็ตาม ซึ่งน่าจะแสดงว่าสตรีบางคนในเมืองที่มีแสงสีนั้น ขอบำรุงผิวหน้าสักหน่อยก่อนออกไปไหนๆ เพื่อความมั่นใจในตนเอง เกี่ยวกับเครื่องสำอางโฆษณาเกินจริงนี้ ผู้เขียนขอข้ามจากสหรัฐอเมริกาไปยังสหราชอาณาจักรสักหน่อย เพราะในปี 2009 นั้นผู้ดูแลด้านกฏหมายการโฆษณาของสหราชอาณาจักร(U.K.’s Advertising Standards Authority) ได้สั่งถอดโฆษณาเครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเป็นครีมที่ใช้บำรุงผิวหนังบริเวณหลังตา โดยการสั่งห้ามนั้นมาจากสาเหตุที่ในการโฆษณานั้นมีการใช้นางแบบวัยดึกอายุราว 60 ปี คนหนึ่งซึ่งเคยถูกขนานนามว่า สวยแบบผอมกระหร่องที่สุดในโลก (นางเข้าวงการเดินแบบเมื่ออายุ 15 ปีในปี 1966 โดยเป็นต้นกำเนิดของแฟชั่นสไตล์ "Androgyny" ซึ่งเป็นสไตล์กึ่งหญิงกึ่งชาย) มาอวดอ้างว่า ครีมนั้นป้องกันตีนกา(ซึ่งฝรั่งใช้คำว่า crow’s feet) ได้ สุดท้ายแล้วข่าวในอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า หลังจากการพูดจากันระหว่างผู้ดูแลกฎหมายและผู้ประกอบการ  ซึ่งก็ยอมรับแบบเสียไม่ได้ว่า ภาพที่โฆษณานั้นใช้การตกแต่งด้วยคอมพิวเตอร์(retouching) เพื่อกำจัดริ้วรอยของความแก่ตามวัยที่หางตานางแบบนั้นออกไป และสุดท้ายบริษัทก็เปลี่ยนภาพนางแบบจากสาวแก่เป็นสตรีเยาว์วัยแทนปรากฏการณ์เอาเรื่องของผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับโฆษณาเครื่องสำอางในอังกฤษนั้น ยากที่จะเกิดในบางประเทศ เพราะผู้ดูแลกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องสำอางส่วนใหญ่ในประเทศ กำลังพัฒนา มักใช้กระบวนการประมาณว่า(สมน้ำหน้า) ถ้าเครื่องสำอางนั้นใช้ไม่ได้ผลก็ให้โยนลงถังขยะแล้วอย่า(โง่) ไปซื้อมาใช้อีก โดยไม่คำนึงเลยว่า ค่าโง่ของผู้บริโภคนั้นมันต้องเสียเงินไปมากแค่ไหนย้อนกลับไปที่สหรัฐอเมริกาเพื่อดูข่าวเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการที่คนอเมริกัน ถูกหลอกให้กินผลไม้กวนปลอมปนที่ผลิตโดยบริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่หนึ่งของสหรัฐอเมริกา(บริษัทนี้ขึ้นชื่อในการผลิตอาหารที่ทำจากแป้งเมื่อเริ่มต้นตั้งบริษัท จากนั้นก็ขยายไลน์ของผลิตภัณฑ์ออกไปมากมาย พร้อมธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวกับอาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อลือชามากคือ ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดแผ่นอบกรอบชนิดที่ขายดีในวันฮาโลวีน) ขนมผลไม้กวนม้วนที่คล้ายมะม่วงกวนบ้านเราซึ่งบริษัท(ซึ่งผู้เขียนไม่ขอออกนาม) ผลิตนั้น ได้ใช้ชื่อที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า ทำจากผลสตรอว์เบอร์รี ทั้งที่มีส่วนผสมหลักคือ น้ำคั้นจากลูกแพร์เข้มข้น น้ำตาลข้าวโพดเข้มข้น น้ำตาลทราย และอื่น ๆ เช่น เพ็กตินซึ่งทำให้สินค้าเป็นแผ่นเหมือนผลไม้กวน โดยอาจมีสตรอว์เบอร์รีบ้างเป็นบางครั้งแต่ก็ไม่ถึงร้อยละ 2 (ข้อมูลจาก wikipedia)การหลอกพ่อแม่เด็กชาวอเมริกันว่า สินค้านั้นทำจากผลไม้ธรรมชาติแล้วโฆษณาว่า เด็กจะมีสุขภาพดีเพราะได้สารอาหารเหมือนกินผลไม้แท้นั้น กระตุ้นให้ The Center for Science in the Public Interest (CSPI) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนไม่หวังผลกำไรที่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นั้นเกิดอาการ หัวร้อน จัดการฟ้องร้องบริษัทนี้ในด้านละเมิดสิทธิที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี 2011 จนสุดท้ายมีการตกลงกันนอกศาล(ตามระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา) ว่า ผู้ผลิตต้องเลิกใช้รูปผลไม้บนฉลากสินค้า เลิกอวดอ้างว่าทำจากผลไม้แท้ หรือข้อมูลที่ทำให้ผู้จ่ายเงินซื้อเข้าใจว่าซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผลไม้แท้ สำหรับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนี้กระทำครบแล้วตามศาลสั่งในปี 2014สินค้าอาหารหลายอย่างที่มีลักษณะการผลิตดังที่ผู้เขียนเล่าให้ฟังนี้ ในบ้านเราคงมีขายอยู่บ้าง ตัวอย่างที่ผู้เขียนเคยพบและคิดว่าน่าจะเข้าข่ายการหลอกลวงนั้นเกิดในสมัยผู้เขียนยังทำงานสอนหนังสืออยู่คือ เมื่อชงกาแฟ 3 in 1 ยี่ห้อหนึ่งในช่วงเช้าก่อนเวลาทำงาน ปรากฏว่าเกิดกลิ่นหอมออกไปจากห้องทำงานถึงทางเดินส่วนกลางจนมีผู้ตามกลิ่นเข้ามาดูว่า กาแฟอะไรทำไมถึงหอมอย่างนี้ ปรากฏว่าเมื่อดูที่ฉลากบนซองได้พบมีการระบุชัดเจนว่า เติมกลิ่นรสกาแฟสังเคราะห์ ซึ่งสารเคมีดังกล่าวนี้ผู้เขียนคงได้เคยประสบมาแล้วอีกเช่นกัน เมื่อวันหนึ่งเดินเข้าไปในศูนย์การค้าใหญ่แถวสยามสแควร์เวลาประมาณ 11.00 น. ก็ได้กลิ่นกาแฟหอมฉุยมาจากร้านกาแฟร้านหนึ่ง จึงเดินตามกลิ่นไปดู สิ่งที่พบคือ พนักงานของร้านยังไม่ได้ต้มน้ำร้อนสำหรับชงกาแฟเลย เพียงแต่เอาสเปรย์กลิ่นกาแฟฉีดเพื่อให้เกิดบรรยากาศเรียกน้ำย่อยเท่านั้น ดังนั้นโดยสรุปแล้ว สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งที่ท่านต้องการได้จริงในบางครั้ง เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ในการผลิตเพื่อตบตานั้นได้ก้าวล้ำไปไกลแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยา

หากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้ “ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจล้อมกรอบว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียตารางเปรียบเทียบผลทดสอบวัตถุกันเสียและสีผสมอาหารสังเคราะห์ในโรตีสายไหมสีสังเคราะห์ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122  ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133  มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)แป้งโรตีวัตถุกันเสียอนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมสีสังเคราะห์ INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก.(ใช้ร่วมกันต้องไม่เกิน 1 )สายไหม INS 102 , INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. (ใช้ร่วมกันต้องไม่เกิน 1 )ผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  • สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”----------------------------------------------------------------------------รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหาร----------------------------------------------------------------------------สีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 202 คนกรุงเทพฯ ซื้อ (อาหาร) อะไรเป็น “ของฝาก” เมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด

วันหยุดยาวช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายๆ คนก็มักจะเดินทางออกไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเวลาไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ สิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนจะต้องทำก็คือการหาซื้อของฝาก แน่นอนว่าของฝากยอดนิยมอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นของกิน ไม่ว่าจะเป็นพวกขนมนมเนย ของหวาน ของคาว มีให้เลือกสารพัด ซึ่งแต่ละภาคแต่ละจังหวัดในประเทศไทย ของฝากที่เป็นที่นิยมหรือของขึ้นชื่อก็มีความแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณ์ตามแต่พื้นที่นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร ดูว่าของกินประเภทไหนที่เป็นของฝากยอดนิยมของแต่ละภาคในประเทศที่คนกรุงเทพฯ ซื้อกลับมาฝากญาติสนิม มิตรสหาย นอกจากนี้ยังสำรวจดูพฤติกรรมการอ่านฉลากก่อนซื้อของผู้บริโภค ว่าให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อมากน้อยแค่ไหนการสำรวจครั้งนี้ เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560 แบ่งเป็น 1.เพศ ชาย ร้อยละ 57.6 หญิง ร้อยละ 42.42.อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 10.2 21-25 ปี ร้อยละ 31.9 26-30 ปี ร้อยละ 17.0 31-35 ปี ร้อยละ 15.7 36-40 ปี ร้อยละ 12.5 41-45 ปี ร้อยละ 6.6 46-50 ปี ร้อยละ 4.4 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 1.73.อาชีพ นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 38.4 ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.3 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 นักธุรกิจ / เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 13.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน ร้อยละ 9.4ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร1.ประเภทของของฝากที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรกขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6อาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 ของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0ผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9 2.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือ 5 อันดับแรก น้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 แคบหมู ร้อยละ 29.7 หมูยอ ร้อยละ 25.0 ไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 ใบชา ร้อยละ 18.3 3.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 อันดับแรก แหนมเนือง ร้อยละ 34.7 หมูยอ ร้อยละ 29.4 กุนเชียง ร้อยละ 26.9 แหนม ร้อยละ 19.7 น้ำพริก ร้อยละ 18.34.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออก 5 อันดับแรก ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 ข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 ผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 น้ำปลา ร้อยละ 17.55.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคกลาง 5 อันดับแรก ขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 สายไหม ร้อยละ 27.1 โมจิ ร้อยละ 26.8 กะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.96.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันตก 5 อันดับแรก ทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 ขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 ขนมชั้น ร้อยละ 25.3 ขนมปังสับปะรด ร้อยละ 23.4 มะขามสามรส ร้อยละ 19.7 7.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ 5 อันดับแรก ปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 กะปิ ร้อยละ 29.3 กุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 น้ำพริก ร้อยละ 22.3 เครื่องแกง ร้อยละ 21.3 ก่อนซื้อของฝาก เราดูวันหมดอายุบนฉลากกันมากน้อยแค่ไหน? ข้อมูลบนฉลากถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นตัวช่วยก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อาหาร แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของฝากชื่อดังหลายชนิดที่ทำสดใหม่ทุกวันและวางขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง ไม่ได้ส่งต่อไปจำหน่ายที่อื่น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแสดงฉลาก แต่อย่างน้อยข้อมูลสำคัญอย่าง วันเดือนปีที่หมดอายุ และ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ก็ควรมีการแจ้งไว้ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยผลสำรวจเรื่องการดูข้อมูลวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ  ร้อยละ 35.4 ไม่ได้ตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลาก ร้อยละ 19.8 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่า ส่วนการดูข้อมูลเรื่องสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิตบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 34.2 ไม่ได้ตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิต ร้อยละ 21.0 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่าเคยได้ของฝากที่หมดอายุบ้างหรือเปล่า? นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจในมุมของคนที่ได้รับของฝาก ว่ามีประสบการณ์เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุแล้วบ้างหรือเปล่า ผลสำรวจพบว่า  ร้อยละ 16.4 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุ ร้อยละ 54.8 ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุ ร้อยละ 28.8 ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับของฝากที่หมดอายุหรือเปล่าอันตรายที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมอาหารของฝากน้ำพริก – ระวังจุลินทรีย์และสารกันบูด เคยมีข่าวเมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15  สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ชนิดของวัตถุกันเสียที่พบมากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค รวมทั้งปัญหาเรื่องการปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens)ที่มา : ข่าว “สุ่มตรวจ“น้ำพริกสำเร็จ”เปียก-แห้งไม่ผ่านมาตรฐาน15 %”, คอลัมน์คุณภาพชีวิต, เว็บไซต์ คมชัดลึก, 20 กันยายน 2559แหนมเนือง - ผักสดไม่สะอาดระวังเชื้อโรค แหนงเนือง อีกหนึ่งของฝากยอดนิยมของภาคอีสานที่หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะรสชาติอร่อยแล้ว ยังถูกมองว่าเป็นอาหารสุขภาพเพราะมีผักหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ  แต่เมนูแหนมเนืองก็อาจมีอันตรายแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อจุลินทรีย์ อี.โคไล, ซาลโมเนลลา, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อเหล่านี้มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดิน และอากาศ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักสด รวมทั้งเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่บริโภคโดยไม่ผ่านการปรุงให้สุกเพียงพอ เช่น แหนม และ หมูยอปลาหมึกแห้ง – เสี่ยงโลหะหนัก อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงในเรื่องของการตกค้างของโลหะหนัก เช่น ปรอท แคดเมียม ตะกั่วและสารหนู ซึ่งเป็นการปนเปื้อนตามธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันนี้แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีการเจือปนของของเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น  เมื่อปี 2553 ฉลาดซื้อเคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้งและกุ้งแห้ง เพื่อดูการปนเปื้อนของโลหะหนัก ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท พบว่า ปลาหมึกแห้งทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มสำรวจซึ่งเก็บตัวอย่างจากทั่วประเทศ ทั้งใน กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรสาคร และ สงขลา พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักทุกตัวอย่าง  โดยพบการปนเปื้อนของแคดเมียม เกินมาตรฐานที่กฎหมายอนุญาต คือ ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมจำนวน 4 ตัวอย่าง  ส่วนโลหะหนักอีก 2 ชนิด คือ ตะกั่ว และ ปรอท พบการปนเปื้อนแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด (ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสุ่มวิเคราะห์ ยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มยาฆ่าแมลง (ไพรีทรอยด์) ถึง 5 จาก 8 ตัวอย่าง ซึ่งตามปกติไม่ควรพบการปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวคำแนะนำในการเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก 1.สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร 2.สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน 3.ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภค 4.ต้องอ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อรู้ถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่าง วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หากไม่มีฉลากแจ้งควรสอบถามจากผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ปีใหม่นี้ เลือกอะไรเป็นของฝาก!

นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมมือกับศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่างผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่าผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร การซื้อของฝากให้กับญาติสนิท มิตรสหาย และของฝากประเภทใดที่มีความนิยมในการเลือกซื้อ ซึ่งมีการแบ่งแยกตามแต่ละภาคของประเทศไทย รวมไปถึงการตรวจสอบฉลากเรื่องของวันหมดอายุ สถานที่ผลิต ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าจะซื้อของฝากจากการท่องเที่ยว อันดับหนึ่งคือ ขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6 อันดับที่สองคืออาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 อันดับที่สามคือของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4 อันดับที่สี่คือเครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0 และอันดับที่ห้าคือผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9ของฝากจากภาคเหนือ อันดับแรกคือน้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 อันดับที่สองคือแคบหมู ร้อยละ 29.7 อันดับที่สามคือหมูยอ ร้อยละ 25.0 อันดับที่สี่คือไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 และอันดับที่ห้าคือใบชา ร้อยละ 18.3ของฝากจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันดับแรกคือแหนมเนือง ร้อยละ 34.7 อันดับที่สองคือหมูยอ ร้อยละ 29.4 อันดับที่สามคือกุนเชียง ร้อยละ 26.9 อันดับที่สี่คือแหนม ร้อยละ 19.7 และอันดับที่ห้าคือน้ำพริก ร้อยละ 18.3ของฝากจากภาคตะวันออก อันดับแรกคือขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 อันดับที่สองคือข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อันดับที่สามคืออาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 อันดับที่สี่คือผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 และอันดับที่ห้าคือน้ำปลา ร้อยละ 17.5ของฝากจากภาคกลาง อันดับแรกคือขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 อันดับที่สองคือสายไหม ร้อยละ 27.1อันดับที่สามคือโมจิ ร้อยละ 26.8 อันดับที่สี่คือกะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 และอันดับที่ห้าคือขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.9ของฝากจากภาคตะวันตก อันดับแรกคือทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 อันดับที่สองคือขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 อันดับที่สามคือขนมชั้น ร้อยละ 25.3 อันดับที่สี่คือขนมปังสัปปะรด ร้อยละ 23.4 และอันดับที่ห้าคือมะขามสามรส ร้อยละ 19.7ของฝากจากภาคใต้ อันดับแรกคือปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 อันดับที่สองคือกะปิ ร้อยละ 29.3 อันดับที่สามคือกุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 อันดับที่สี่คือน้ำพริก ร้อยละ 22.3 และอันดับที่ห้าคือเครื่องแกง ร้อยละ 21.3กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีการตรวจดูวันเดือนปีที่หมดอายุ ร้อยละ 44.8 รองลงมาไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 35.4 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.8 และมีการตรวจดูสถานที่ผลิต ร้อยละ 44.8 รองลงมาไม่มีการตรวจดู ร้อยละ 34.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.0และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 54.8 รองลงมาไม่แน่ใจ ร้อยละ 28.8 และเคยได้รับของฝากที่หมดอายุจากบุคคลอื่น ร้อยละ 16.4นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวเสริมเรื่องการเลือกซื้อสินค้าของฝากว่า ฉลากเป็นสิ่งจำเป็นและผู้บริโภคไม่ควรละเลยที่จะตรวจสอบข้อมูลที่แสดงบนฉลากก่อนการตัดสินใจซื้อ เนื่องจากฉลากเป็นหนึ่งในสิทธิของผู้บริโภคที่ว่าด้วยการได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ดังนั้นก่อนการซื้อทุกครั้ง ควรปฏิบัติดังนี้1) ให้พิจารณาว่ามีฉลากหรือไม่ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีฉลาก ควรหลีกเลี่ยง อย่างไรก็ตามหากของฝากประเภทอาหารหลายๆ ชนิดเป็นอาหารประเภทที่ผลิตขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง กฎหมายอนุญาตให้ไม่ต้องแสดงฉลาก ดังนั้นก่อนซื้อผู้บริโภคควรสอบถามข้อมูลสำคัญอย่าง วันที่ผลิตและวันหมดอายุ การเก็บหรือการดูแลรักษา ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นหรือไม่ เพื่อไม่ให้อาหารบูดเสียเร็ว 2) ถ้าหากมีการแสดงฉลาก ให้พิจารณาการแสดงรายละเอียดบนฉลากว่า เป็นภาษาไทย และ ถูกต้อง ครบถ้วน หรือไม่ ทั้งนี้หากฉลากไม่เป็นภาษาไทยควรหลีกเลี่ยงหากพบผู้ประกอบการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง ผู้ประกอบการอาจมีความผิดได้สองกรณี ดังนี้ กรณีแรก หากมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงผู้ซื้อให้เข้าใจผิดในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์ หรือลักษณะพิเศษอย่างอื่น หรือในเรื่องสถานที่และประเทศที่ผลิตจะเข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 25 (2) ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ 2522 เรื่อง ผลิต นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือจำหน่าย อาหารปลอม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันถึงหนึ่งแสนบาทกรณีที่สอง หากไม่แสดงฉลากหรือแสดงฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วน จะมีความผิดตามมาตรา 6 (10) ของ พ.ร.บ.อาหารฯ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สามหมื่นบาท  หากซื้อสินค้ามาแล้วพบความผิดปกติหรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสามารถใช้สิทธิร้องเรียนได้โดยตรงกับผู้ผลิต/ ผู้จัดจำหน่ายตามที่อยู่ที่ระบุไว้บนฉลากหรือตามสถานที่ที่ซื้อสินค้ามานอกจากนี้ก่อนเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก นอกจากพิจารณาเรื่องฉลากเป็นสำคัญแล้ว ยังต้องดูเรื่องอื่นๆ ควบคู่กัน เพื่อให้ได้ของฝากที่สะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค ไม่ว่าจะเป็น 1) สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร2) สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน3) ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื่อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภคที่ผ่านมาเคยมีข้อมูลผลทดสอบเรื่องความไม่ปลอดภัยของของฝากกลุ่มอาหารอยู่บ้าง เช่น เมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนใหญ่พบปัญหาเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต การปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส และ เชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน รวมทั้งในกรณีของ ปลาหมึกแห้ง ที่มูลนิธิฯ เคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้ง เมื่อปี 2553 พบการปนเปื้อนโลหะหนักทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มทดสอบ ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท โดยเฉพาะ แคดเมียม ที่พบเกินค่ามาตรฐาน 4 จาก 8 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบส่วนในกลุ่ม ขนมปัง ขนมอบ ขนมเค้ก ก็มักมีความเสี่ยงในเรื่องของสารกันบูด ส่วนอาหารจำพวกแหนมเนือง มีความเสี่ยงของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมผักสดที่ล้างทำความสะอาดไม่ดีพอ เช่นเดียวกับอาหารจำพวกเนื้อสัตว์หรือแปรรูปจากเนื้อสัตว์ หากรับประทานโดยที่อาหารไม่ผ่านการปรุงให้สุก หรือผลิตโดยไม่ได้มาตรฐานก็อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >