ฉบับที่ 269 ใส่ใจสุขภาพ..ใกล้ชิดเภสัชกร

        ช่วงนี้ฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ซึ่งมีผลมาจากการเกิดพายุโซนร้อนที่มีชื่อว่า ทกซูรี เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยกันมากขึ้นกว่าปกติ โรคที่มาในฤดูฝนแบบนี้ เช่น โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก เป็นต้น ดังนั้นควรเฝ้าระวังสุขภาพให้ห่างไกลโรคที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ที่ต้องดูแลและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ        เมื่อเจ็บป่วยควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคและรักษาให้ถูกต้อง แต่บางครั้งอาการเจ็บป่วยอาจดูเล็กน้อยจนทำให้รู้สึกว่าหาซื้อยารับประทานเองได้ ซึ่งอาจส่งกระทบทำให้การรับประทานยาไม่ตรงตามโรคก็ได้ เนื่องจากไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ต้องยอมรับว่าประเทศไทยนิยมเลือกหาซื้อยารับประทานด้วยตนเองมากกว่าที่จะไปพบแพทย์ ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป โดยการพบกับครึ่งทาง จึงขอแนะนำแอปพลิเคชันที่ช่วยเป็นตัวกลางในการให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่จะช่วยแนะนำการรับประทานยา หรือเมื่อมีอาการที่มีความเสี่ยงมากเกินกว่าจะรับประทานยาเท่านั้น ก็จะแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที         แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า ร้านยากรุงเทพ เป็นผู้ช่วยที่คอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการของโรคต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่ายาที่ได้รับนั้นตรงกับโรคที่เกิดขึ้น โดยมีเภสัชกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคอยรับคำปรึกษาและสอบถามอาการที่เกิดขึ้นก่อนที่จ่ายยาให้กับผู้ใช้แอปพลิเคชัน        เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเรียบร้อยแล้ว จะให้ลงทะเบียนเป็นสมาชิกและให้กรอกรายละเอียดส่วนตัว ชื่อนามสกุล เบอร์ติดต่อ วันเกิด เป็นต้น หลังจากนั้นแอปพลิเคชันจะปรากฎหน้าแรก โดยภายในแอปพลิเคชันไม่มีความซับซ้อน ง่ายต่อการใช้งาน ในหน้าแรกจะมีหมวดด้านล่างทั้งหมด 5 หมวด ได้แก่ หมวดหน้าแรก หมวดเข้าชมร้าน หมวดปรึกษาเภสัชกร หมวดค้นหาสาขา และหมวดอื่นๆ         หมวดหน้าแรก จะแสดงข่าวสารต่างๆ หมวดเข้าชมร้าน จะแสดงสินค้าทั้งหมดที่เกี่ยวกับเวชภัณฑ์ วิตามิน อาหารเสริม และ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หมวดค้นหาสาขา จะช่วยค้นหาสาขาและเภสัชกรร้านยากรุงเทพใกล้บ้าน หมวดอื่นๆ จะแสดงคู่มือการใช้งาน ข้อมูลส่วนบุคคล และรายละเอียดอื่นๆ         สำหรับหมวดปรึกษาเภสัชกร เมื่อกดเข้าหมวดนี้ระบบจะติดต่อประสานงานไปยังเภสัชกรเพื่อให้คำปรึกษา โดยหน้าแอปพลิเคชันจะแจ้งชื่อเภสัชกร รหัสสาขา และชื่อสาขาของร้านให้ทราบก่อนการสนทนาทุกครั้ง ระหว่างการสนทนาเภสัชกรจะแจ้งชนิดยาพร้อมราคาให้ทราบก่อนที่จะส่งเข้าระบบไปปรากฎในตะกร้าที่เลือกสินค้าของผู้ใช้แอปพลิเคชัน ทั้งนี้ ยาบางชนิดไม่สามารถเลือกหมวดเข้าชมร้านได้โดยตรง จะต้องสั่งยาผ่านเภสัชกรเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้ยา ดังนั้นถ้าต้องการยาชนิดนั้นๆ ผู้ใช้แอปพลิเคชันจำเป็นต้องกดหมวดปรึกษาเภสัชกร เพื่อให้เภสัชกรแนะนำการใช้ยาก่อน         ส่วนรูปแบบการรับสินค้า สามารถเลือกรับสินค้าที่สาขา หรือ บริการจัดส่งถึงบ้านได้ กรณีที่เลือกรับสินค้าที่สาขา ผู้ใช้สามารถค้นหาสาขาและเภสัชกรร้านยากรุงเทพใกล้บ้านได้ สำหรับบริการจัดส่งถึงบ้าน สามารถเลือกวิธีการจัดส่งภายในวันหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ได้         แอปพลิเคชันนี้เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกที่จะเดินทางไปพบแพทย์ หรือต้องการที่จะหาซื้อยามารักษาอาการที่เจ็บป่วย โดยมีเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อแนะนำยาที่ควรจะได้รับประทาน นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยในการอำนวยความสะดวก ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปซื้อยาด้วยตนเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2565

แนวโน้มอาชญากรรมไซเบอร์ ปี 65        ข้อมูลสถิติจากการแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน บก.ปอท. ปี พ.ศ. 2561-2564 พบว่า  อาญชกรรมทางเทคโนโลยีที่มีประชาชนมาแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งในปี 2564 มีผู้แจ้งความร้องทุกข์จำนวน 698 ราย  ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ ผู้ได้รับความเสียหายจากการแฮกข้อมูล  จำนวน 585 ราย และมีค่าเสียหายรวม 67 ล้านบาท ส่วนอันดับ 3 ได้แก่ การหลอกขายสินค้าและบริการ จำนวน 445 ราย ความเสียหายรวมประมาณ 45 ล้านบาท          พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง.ผบก.ปอท. กล่าวถึงแนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีใน ปี 2565 ว่า ปี 2565  ยังคงไม่แตกต่างไปจากเดิม แต่คนร้ายอาจจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น เช่น การให้ร้ายหรือระรานทางไซเบอร์  การหลอกลวงผ่านอีเมล  การแฮกเพื่อเอาข้อมูลผ่านการลวงให้กด  มัลแวร์เรียกค่าไถ่  การหลอกลวงขายสินค้า การหลอกรักออนไลน์  การหลอกรักลวงลงทุน แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลอกให้ลงทุนในลักษณะแชร์ออนไลน์ แอปพลิเคชันเงินกู้ผิดกฎหมาย การปล่อยข่าวปลอมในโลกออนไลน์เพื่อหวังผล ขอให้ประชาชนพึงระมัดระวัง สินค้าไม่ตรงปก ฟ้องได้!         ตามที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เรื่องการจัดตั้ง แผนกคดีซื้อของออนไลน์ในศาลแพ่ง นายสรวิศ ลิมปรังษี  โฆษกศาลยุติธรรม เปิดเผยว่า  ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา แต่จะเริ่มทำการเมื่อใดต้องรอประกาศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งอีกครั้ง ถ้าได้รับความเสียหายตอนนี้ก็ให้รวบรวมหลักฐานไว้ให้ครบถ้วนก่อนแล้วรอฟ้องตอนแผนกคดีซื้อขายออนไลน์เปิดทำการในเร็ว ๆ นี้ สำหรับคดีซื้อขายออนไลน์ที่ยังค้างพิจารณาอยู่ในแผนกคดีผู้บริโภคของศาลแพ่ง จะให้แผนกคดีผู้บริโภคซึ่งพิจารณาคดีนั้นดำเนินการต่อไปจนเสร็จ         แผนกคดีซื้อขายออนไลน์ จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับความสะดวก มีช่องทางกฎหมายที่สามารถยื่นฟ้องคดีได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นผ่านทางอีเล็คทรอนิคส์ไฟล์ลิ่งในหน้าเว็บไซต์ของศาลแพ่ง (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ) โดยผู้ฟ้องคดีแค่คลิกเข้าไปสมัครยืนยืนตัวตน กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ฟ้องใคร เรื่องอะไร พร้อมแนบเอกสารหลักฐานการติดต่อซื้อขาย ชื่อเว็ปไซต์ ชื่อร้านค้าที่ซื้อสลิปโอนเงิน เท่าที่จะหาได้ เมื่อยื่นคำฟ้องทาง E-ไฟล์ลิ่งแล้ว จะมีเจ้าพนักงานคดีช่วยตรวจสอบให้ว่าใส่ข้อมูลคดีครบถ้วนแล้วหรือไม่ ถ้าครบถ้วนศาลก็จะรับคดีไว้พิจารณาต่อไป         เปิดรับปีใหม่พบร้านขายยาผิดกฎหมายมากกว่าร้อยราย         ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เข้าตรวจสอบร้านขายยาหลายแห่งเกี่ยวกับการจัดจำหน่ายยาให้กับประชาชนทั่วไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายตรวจค้นเป็นร้านขายยาทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14-21 มกราคม พบว่า มีร้านขายยากระทำผิดจำนวนมาก จับกุมร้านยาที่ผิดกฎหมาย 127 ราย และตรวจยึดของกลางได้กว่า 359 รายการ มีทั้งยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท, ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตารับยา, ยาปลอม, ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษเป็นจำนวนมาก ซึ่ง นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ร้านขายเหล่านี้ได้ขายยานอนหลับ ขายยาชุด ขายยาแก้แพ้แก้ไอ ขายยาเขียวเหลือง และขายยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ โดยไม่ใช่เภสัชกร ในพื้นที่หลายจังหวัดและขาดความรู้ความเข้าใจในสรรพคุณ โดยการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 และพระราชบัญญัติวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537  ลงทุนคริปโทฯ ต้องเสียภาษี และรัฐห้ามใช้ซื้อขายสินค้า        กรมสรรพกร ได้เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวถึงการเรียกเก็บภาษีคริปโทเคอร์เรนซีจากการลงทุนว่า ยังยึดลักษณะเดียวกับการเก็บภาษีขายหุ้น หากขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีกำไรต้องเสียภาษีและพิจารณาเป็นรายธุรกรรมเช่นกัน แต่ก็ยังมีกฎหมายยกเว้นให้คือ “การเสียภาษีคริปโทฯ ก็เหมือนกับขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ถ้าขายแล้วมีกำไรก็ต้องเสียภาษี ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องเสีย”           ด้าน ก.ล.ต. ร่วมกับแบงก์ชาติ ประชุมและแถลงข่าวว่า ไม่ให้นำคริปโทฯ มาชำระค่าสินค้า โดยมีหลักเกณฑ์ที่ได้รับมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ ก.ล.ต. ว่าผู้ประกอบการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ต้องไม่ดำเนินการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการนำ สินทรัพย์ดิจิทัล มาใช้เป็นตัวกลางในการชำระเงิน ซึ่งรวมถึงการดำเนินการ ดังต่อไปนี้         1. ไม่โฆษณาเชิญชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการแก่ร้านค้าเพื่อให้ร้านค้าสามารถรับชำระค่าสินค้า หรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้ 2. ไม่จัดทำระบบ หรือเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกใดๆ แก่ร้านค้าในการรับชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล 3. ไม่ให้บริการเปิดกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ (Wallet) แก่ร้านค้า เพื่อรับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล 4. ในกรณีที่ผู้ซื้อขายทำการขายสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรับเป็นเงินบาท ผู้ประกอบการต้องโอนเงินบาทเข้าบัญชีผู้ซื้อขายเท่านั้น 5. ไม่ให้บริการที่มีลักษณะเป็นการโอน สินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงิน จากบัญชีของผู้ซื้อขาย ไปยังบัญชีของรายอื่น หรือบุคคลใด เพื่อวัตถุประสงค์ของการรับชำระค่าสินค้าหรือบริการ และ 6. ไม่ดำเนินการในลักษณะอื่นใดนอกเหนือจาก 1-5 ที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นตัวกลางในการชำระเงิน         มาตรการดังกล่าวเกิดขึ้นจากธนาคารแห่งประเทศไทยกังวลว่า หากมีคนใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในชีวิตประจำวัน จะกระทบต่อเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่น “เงินบาท” และจะส่งผลต่อการดำเนินนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ทำอยู่บนเงินบาทมพบ.คัดค้านการยื่นอุทธรณ์ของสมาคมประกันวินาศภัย         จากกรณีบอร์ดสมาคมวินาศภัยไทย ยื่นอุทธรณ์บอร์ดคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณายกเลิกคำสั่งนายทะเบียน “ห้ามบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด-19” ชี้คำสั่งดังกล่าวขัดต่อหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยและการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยนั้น        เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยนางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค ได้กล่าวว่า ขอคัดค้านการยื่นอุทธรณ์ของสมาคมประกันวินาศภัย เนื่องจากเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ซื้อ 1.สัญญาประกันเป็นสัญญาสำเร็จรูป  การระบุข้อความที่บริษัทประกันสามารถใช้สิทธิในการยกเลิกสัญญากรมธรรม์เป็นการดำเนินการของบริษัทประกันฝ่ายเดียว หากเริ่มขาดทุนจะใช้สิทธิที่ระบุไว้ในสัญญาฝ่ายเดียวบอกเลิกสัญญา  จึงเป็นข้อสัญญาที่เอาเปรียบผู้บริโภค 2.การออกคำสั่งของ คปภ.  ได้แก่  1. คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ลงวันที่ 16 ก.ค. 64 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัทในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 2. คำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2564 ลงวันที่ 12 เม.ย. 64 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารแนบท้าย เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือเป็นการออกคำสั่งตามอำนาจหน้าที่โดยชอบธรรม  3.การยกเลิกสัญญากรมธรรม์ ผู้บริโภคควรเป็นผู้ตัดสินใจยินยอมยกเลิกสัญญา หากข้อเสนอของบริษัทประกันเป็นธรรมเช่น บริษัทเสนอคืนเบี้ยประกัน 5- 10 เท่าของเบี้ยประกันที่ผู้บริโภคจ่ายไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ร้านขายยางรถหมดอายุทำอะไรได้บ้าง

        คุณสุรชัยได้ขับรถยนต์เข้าศูนย์ซ่อมรถแห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนยางรถเส้นใหม่ แต่ร้านไม่มียางรถยนต์รุ่นที่คุณสุรชัยต้องการ ร้านจึงเสนอยางรถยนต์รุ่นอื่นและบอกว่าสามารถใช้แทนกันได้ โดยจะลดราคาให้พิเศษ คุณสุรชัยจึงได้เปลี่ยนยางเส้นใหม่ตามที่ร้านแนะนำ         ไม่กี่เดือนหลังเปลี่ยนยาง คุณสุรชัยรู้สึกว่ารถมีอาการขับกินซ้ายตลอด จึงตัดสินใจนำรถเข้าศูนย์ซ่อมเพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อ แต่อาการขับกินซ้ายก็ยังไม่ดีขึ้น         ผ่านไปกว่าครึ่งปีคุณสุรชัยได้นำรถเข้าศูนย์ซ่อมรถอีกครั้งเพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อใหม่ โดยพนักงานได้ให้ความเห็นว่า ยางรุ่นนี้แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนวันหนึ่งลูกชายของคุณสุรชัยได้นำรถไปล้าง แล้วสังเกตว่ายางรถน่าจะเป็นยางที่หมดอายุแล้ว คุณสุรชัยจึงปรึกษาว่าควรทำอย่างไรดี แนวทางการแก้ไขปัญหา        หากปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจาก ยางรถหมดอายุ ยางเสื่อมคุณภาพจากการเก็บรักษาที่ไม่ดี หรือ ทางร้านแนะนำยางรุ่นอื่นให้ใช้ทดแทนแต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยผู้บริโภคมาทราบทีหลัง และพิสูจน์ได้ว่าความผิดปกติจากการใช้รถที่เกิดขึ้นเกิดจากยางรถที่เปลี่ยนมา ก็สามารถขอคืนเงินได้         รวมถึงสามารถเรียกค่าใช้จ่ายจากความเข้าใจผิด ที่เกิดจากการนำรถยนต์เข้าศูนย์ซ่อมได้ เช่น ค่าที่ผู้ร้องต้องนำรถเข้าตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพราะเข้าใจผิดว่าอาการขับกินซ้ายเกิดจากการตั้งศูนย์ เป็นต้น         ทั้งนี้การซื้อยางรถยนต์ ผู้บริโภคอาจสังเกตปีที่ผลิต สภาพของยางรถ ซึ่งสถานที่ที่เก็บรักษายางรถควรมีการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น ไม่ตากแดดตลอดเวลาและเลือกซื้อยางรถยนต์จากร้านที่น่าเชื่อถือ และควรเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการร้องเรียนหากได้สินค้าไม่มีมาตรฐานหรือหมดอายุ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 213 อ้างบุญอ้างราศี ที่แท้ก็ขายยา

ผู้อ่านหลายท่านคงเคยดูรายการทีวีเกี่ยวกับการทำนายดวงชะตาราศีต่างๆ แต่นึกไม่ถึงว่ามันจะลามมากระทั่งการขายยาพ่วงด้วย“ทีแรกก็ไม่คิดว่าจะซื้อกินหรอก แต่แกมีอาการปวดๆ เมื่อยๆ พอเจอคนขาย เขาบอกว่ามียาดี หายทุกราย รายได้จะเอาไปทำบุญ ก็เลยช่วยเขาซื้อ คงกะว่าจะลองดูด้วย” พี่ๆ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุข) เล่าพฤติกรรมของคุณป้าท่านหนึ่งที่อยู่ในชุมชนให้ฟัง ระหว่างที่ผมพาคณะอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท ลงพื้นที่ไปพูดคุยเรื่องการใช้ยา“ยาอะไรทำไมราคาแพงจัง ขวดละตั้งหลายร้อย เป็นยาสมุนไพรแผนโบราณนะ พี่อ่านฉลากข้างขวดก็มีทะเบียนยา มีที่อยู่ครบถ้วนนะ เราเป็น อสม.พอมีความรู้เรื่องการอ่านฉลากอยู่บ้าง ก็เอะใจที่ฉลากมันไม่ได้บอกว่ารักษาอาการปวดเมื่อยได้มากมายตามที่คนขายเขาบอก ฉลากมันบอกแค่เป็นยาบำรุงร่างกาย  เราเป็นห่วงก็พยายามเตือนแกแต่แกไม่เชื่อนะ ยังเถียงอีกว่ายาดี คนขายบอกว่าจะเอาเงินไปทำบุญ คนซื้อก็ได้ต่อยอดบุญ ชีวิตจะได้รุ่งเรือง”            “แล้วพี่ตามดูไหมครับว่า หลังจากนั้นคุณป้าท่านนี้เป็นยังไง” ผมถามต่อด้วยความอยากรู้            “แกไม่หายหรอก ก็ปวดๆ เมื่อยๆ เหมือนเดิม ลูกหลานห้ามก็ไม่เชื่อ ใครเตือนแกโกรธนะ แกศรัทธาเจ้าของผลิตภัณฑ์นี้มาก แกบอกว่าเขาเป็นองค์เทพมาจุติ มาโปรดสัตว์ มาชวนคนทำบุญ หลังๆ แกซื้อเป็นชุดเลยนะ คนขายไปบอกแกว่า ยานี้ต้องกินให้ครบ 12 ราศี แกก็เชื่อนะ ซื้อมาชุดละเจ็ดพันบาทครบ 12 ราศี เวลาได้มาก็ต้องเอายาวางในที่สูง ห้ามวางต่ำกับพื้นมันบาป ลูกหลานก็ยิ่งห่วง กลัวจะถูกหลอก พอเตือนแกหนักๆ เข้า แกตัดจากกองมรดกเลย แกเป็นคนมีสตางค์”            “ไอ้เราเป็น อสม. ก็อดเป็นห่วงแกไม่ได้ เผอิญช่วงนั้นมีงานศพ คนตายก็เคยกินยานี้ แกป่วย พอศรัทธายานี้ ก็เลยไม่ยอมกินยาเดิมที่หมอตรวจ เอาแต่กินยานี้ เราก็เลยชวนแกไป กะจะให้แกกลัว จะได้เลิก ขนาดเอาคนตายมาเป็นตัวอย่างสอนแกในงานศพ แกยังไม่เชื่อเลย แกยังเถียงว่า คนที่ตายได้ยาปลอมมา เพราะไม่ได้ซื้อยาจากศูนย์ขายเดียวกับแก”            “แล้วตอนนี้แกยังกินอยู่ไหมครับ ท่าทางคุณป้าแกเชื่อหัวปักหัวปำขนาดนี้” ผมถามด้วยความอยากรู้            “เลิกแล้ว แต่กว่าจะเลิกก็หมดตังค์ไปหลาย คือหลังจากงานศพแกก็ไปซื้อกินอีกเรื่อยๆ แหละ แต่ไม่กี่เดือนภรรยาของลุงที่เสียชีวิตก็มาเสียชีวิตตามไปอีกคนนึง เรารู้ว่าทั้งผัวทั้งเมียกินยานี้ทั้งคู่ แล้วก็ไม่ยอมไปตรวจรักษาเหมือนเดิม ก็เลยชวนแกไปงานศพอีก คราวนี้ก็เลยพาแกไปนั่งคุยกับญาติๆ ของคนที่เสีย ญาติมันด่าเช็ดเลยว่า ขายยาอะไรแบบนี้ เตือนแล้วห้ามแล้วก็ไม่ฟังเอาแต่กินยานี้ ไม่ยอมไปตรวจตามที่หมอเคยตรวจ ยาเดิมๆ ที่หมอเคยจ่ายตอนตรวจก็เลิกกิน “เราก็เลยถามต่อว่าซื้อยาจากที่ไหน เป็นไงล่ะ ซื้อมาจากศูนย์ขายที่เดียวกับที่แกซื้อมานั่นแหละ เราเลยถือโอกาสบอกแกว่า ถ้ายังไม่เลิก แกอาจจะเป็นรายต่อไปนะ” เรื่องนี้ น่าทึ่งทั้งเทคนิคการขายที่แพรวพราว และเทคนิคการทำงานของพี่ อสม.ท่านนี้ จริงๆ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2558 “ดีแทค” ครองแชมป์ ลูกค้าโวยปัญหาสายหลุด กสทช. ได้เปิดเผยข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายด่วน กสทช. 1200 ในช่วงระหว่างวันที่ 2 ก.ค. 2558 ถึง 14 ก.ค. 2558 พบว่ามียอดร้องเรียนเรื่องปัญหาสายหลุดที่ประชาชนแจ้งร้องเรียนเข้ามาถึง 116 เรื่อง โดย ดีแทค (Dtac) เป็นแชมป์เครือข่ายที่มีผู้บริโภคโทรเข้ามาร้องเรียนปัญหามากที่สุด 46 เรื่อง โดยเป็นกรณีสายหลุดที่พบในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รองลงมาคือ เครือข่าย เอไอเอส (AIS) 42 เรื่อง ส่วนเครือข่าย ทรู มูฟ (TRUE MOVE) มีเรื่องร้องเรียนที่จำนวน 27 เรื่อง และสุดท้ายคือ เครือข่าย แคท เทเลคอม (CAT) มี 1 เรื่องโดยทาง กสทช. จะแจ้งผู้ให้บริการทราบถึงจุดที่พบปัญหาเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขภายใน 2 สัปดาห์ หากตรวจสอบแล้วพบว่ายังไม่มีการแก้ไข จะเรียกผู้ให้บริการเจ้าของปัญหาเข้ามาชี้แจง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการลงโทษทางปกครอง ซึ่งการทำสำรวจและเปิดเผยข้อมูลสู่สังคมครั้งนี้ของ กสทช. เพราะต้องการจะใช้มาตรการทางสังคมกดดันค่ายมือถือให้ปรับปรุงคุณภาพบริการ เพราะฉะนั้นหากใครพบปัญหาจากการใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนแล้วสายหลุดหรือจะเป็นปัญหาเรื่องอื่นๆ สามารถร้องเรียนได้ทันทีที่สายด่วน 1200 โทรฟรีไม่มีค่าบริการ อย. จัดระเบียบร้านยา ห้ามขายยากลุ่มแก้แพ้-แก้ปวดเกิน 300 ขวดต่อร้านต่อเดือนอย.คุมเข้มร้านขายยา ด้วยการออกกฎเหล็กให้ทุกร้านขายยาน้ำแก้ไอ ยาแก้แพ้ ให้ผู้ซื้อได้ไม่เกิน 3 ขวดต่อ 1 คน และผู้ผลิตยาสามารถจำหน่ายยาให้กับร้านขายยาได้ไม่เกินร้านละ 300 ขวดต่อ 1 เดือน นอกจากนี้กลุ่มยาแก้ปวดผู้ผลิตสามารถขายให้กับร้านขายยาได้ในปริมาณร้านละไม่เกิน 1,000 แคปซูลต่อเดือน และร้านขายยาสามารถขายให้กับผู้ใช้ได้คนละไม่เกิน 20 แคปซูล ห้ามขายให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยาไม่ในทางที่ผิด หลังมีกระแสที่เด็กนักเรียนนำ “ยาโปรโคดิล” และ “ยาทรามาดอล” ซึ่งเป็นยาในกลุ่มแก้แพ้ แก้ปวด ไปใช้ไม่ถูกวิธี คือนำไปผสมเป็นเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาแทนการเสพสารเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะขึ้นชื่อว่ายาหากใช้ไม่ถูกวิธีต้องย่อมเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกันอย. ได้ทำการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายยาอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีการซื้อขายยาในทางที่ผิด นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วก็จะถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 120 วันด้วย ซึ่งตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 – ปัจจุบัน มีร้านขายยาที่กระทำผิดกฎหมายถูกพักใช้ใบอนุญาตไปแล้วกว่า 40 ร้าน เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหา “อี – คอมเมิร์ซ”สำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (สพธอ. หรือ ETDA) ได้จัดตั้ง  OCC (Online Complain Center) หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อดูแลทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่ปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งผ่านทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม โดยศูนย์ OCC จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางการประสานเรื่องร้องเรียนต่างๆ  ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย   อาทิ  สคบ, อย. และ  กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  (อปท.)  เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น สำหรับปัญหาเกี่ยวข้องกับอี - คอมเมิร์ซที่ถูกร้องเรียนมากสุดก่อนหน้านี้ผ่านหมายเลข 1212 ของกระทรวงไอซีที คือปัญหาการส่งของช้า รองลงมาคือ ได้ของหรือสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง และปัญหาการฉ้อโกง สั่งซื้อแล้วไม่ได้ของ โดยปีแรกของการดำเนินการคาดว่าศูนย์ดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซที่แจ้งเข้ามายังศูนย์ได้ 50% ซึ่งตั้งเป้าหมายการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรื่องแต่ละเรื่องใน 7 วันทำการ อย่าหลงเชื่ออาหารเสริม “เจอมิน็อค” อ้างป้องกันโรคเมอร์สจากกระแสข่าวเรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือโรคเมอร์ส (MERS) ในต่างประเทศ ทำให้มีประชาชนจำนวนไม่น้อยเกิดความกังวลว่าจะป่วยด้วยโรคดังกล่าว ทำให้มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางรายฉวยโอกาส หลอกลวงขายสินค้าที่อ้างว่าช่วยป้องกันไวรัสเมอร์สอย. ได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ เจอมิน็อค (GERMINOK) ซึ่งวางจำหน่ายทาง www.bimhcc.com โดยอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวและสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด แต่จากการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเจอมิน็อคจึงมีความผิดฐานอาหารปลอมเพราะไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารจาก อย. นอกจากนี้ยังผิดฐานโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต คุยงานร้านกาแฟ ระวังโดนคิดค่าบริการเพิ่ม ชั่วโมงละ 1,000!!!ในสังคมออนไลน์ได้มีการแชร์เหตุการณ์ที่มีผู้ใช้บริการร้านกาแฟร้าน Bon coffee สาขาหน้าบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษก ถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มจากค่าอาหารและกาแฟสูงถึง 2,000 บาท โดยทางร้านแจ้งว่าเป็นค่าบริการที่ลูกค้าใช้สถานที่ในร้านเป็นที่คุยธุระทางร้านคิดค่าบริการชั่วโมงละ 1,000 บาท 2 ชั่วโมงจึงเท่ากับ 2,000 บาท ซึ่งสร้างความสงสัยและตกใจให้กับผู้ใช้บริการอย่างมาก จนต้องนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาบอกเล่าต่อผ่านสังคมออนไลน์ร้อนถึง สคบ. ต้องเชิญตัวแทนร้านกาแฟดังกล่าวมาชี้แจง ซึ่งหลังจากพูดคุย สคบ. ได้ออกมายอมรับว่า การเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวของทางร้านไม่ถือว่าเป็นความผิด เพราะทางร้านมีการติดป้ายเตือนลูกค้าที่จะเข้ามานั่งเพื่อหวังประกอบธุรกิจส่วนตัวแล้วยึดที่นั่งไว้เป็นเวลานานๆ ทำให้ผู้ที่อยากมาใช้บริการไม่สามารถใช้บริการได้ ต้องถูกคิดค่าบริการเพิ่มชั่วโมงละ 1,000 บาท ทั้งนี้ในวันเกิดเหตุพนักงานในร้านได้มีการแจ้งกับลูกค้าก่อนแล้วว่าจะขอเก็บค่าบริการนั่งคุยธุระในร้านชั่วโมงละ 1,000 บาท แต่ลูกค้าก็ไม่ได้จ่ายค่าบริการดังกล่าวจ่ายแต่เพียงค่ากาแฟเท่านั้น ซึ่งเมื่อทางร้านมีการติดป้ายเตือนแจ้งไว้อยู่แล้วจึงถือว่าไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แต่ป้ายอาจจะเล็กเกินไป ทาง สคบ. จึงได้แต่แนะนำให้ทางร้านทำป้ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 2555 แท็กซี่ไม่รับ...ร้องเรียนได้ ใครที่ใช้บริการแท็กซี่โดยสารคงเคยเจอเหตุการณ์ ที่ทั้งชวนให้สงสัยและหงุดหงิดใจ อย่างการถูกปฏิเสธที่จะให้บริการ ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งคนขับรถมักจะอ้างว่ารถติด กลัวไปส่งรถไม่ทัน หรือไม่ก็แก๊สหมด ซึ่งหากเป็นจริงตามเหตุผลที่คนขับรถแท็กซี่อ้างก็ไม่น่าที่จะจอดรับผู้โดยสารตั้งแต่แรก ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ฝากคำแนะนำในกรณีที่เจอปัญหาแบบนี้ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะร้องเรียน โดยแจ้งไปยังศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ สายด่วน 1584 หรือกองบังคับการตำรวจจราจร สายด่วน 1197 โดยพยายามจดจำรายละเอียดทะเบียนและชื่อผู้ขับรถซึ่งติดอยู่ในใบอนุญาตหน้ารถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การจราจรทางบก กำหนดไว้ว่าผู้ขับรถแท็กซี่ไม่มีสิทธิปฏิเสธผู้โดยสาร หากจุดหมายอยู่ในเขตที่กำหนด คือพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยไม่มีเหตุอันควร การปฏิเสธผู้โดยสารถือเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และเป็นข้อหาที่ต้องถูกบันทึกคะแนน 20 คะแนน อีกทั้งยังถูกยึดใบอนุญาตขับขี่อีกด้วย   มีข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ที่สรุปยอดร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดของรถแท็กซี่ซึ่งพบว่ามีทั้งหมดกว่า 12,000 ราย แบ่งเป็นกระทำผิดโดยไม่แสดงใบอนุญาตสาธารณะ 2,556 ราย ไม่มีบัตรประจำตัวผู้ขับขี่ 1,950 ราย แต่งกายไม่สุภาพ 4,618 ราย ไม่นำรถเข้าตรวจสภาพตามที่กำหนด 6 เดือนต่อครั้ง 1,012 ราย ไม่ต่ออายุภาษีรถยนต์ 736 ราย และปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร 1,585 ราย ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบกได้สุ่มตรวจแท็กซี่ โดยให้เจ้าหน้าที่ปลอมเป็นผู้โดยสารทดลองเรียกใช้บริการแท็กซี่ 300 คัน พบว่ามีแท็กซี่รับผู้โดยสารประมาณ 80 คันเท่านั้น   บัตรทองกลับมาเก็บ 30 บาท แบบจ่ายก็ได้ไม่จ่ายก็ได้!? ผู้ใช้สิทธิหลักประสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องกลับมาจ่าย 30 บาท อีกครั้ง นับตั้งวันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไป หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ออกระเบียบให้ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทองเดิม) ร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท แต่การร่วมจ่ายครั้งนี้เป็นแบบไม่บังคับ คงมีหลายคนที่สงสัยว่า ตกลงแล้วต้องจ่ายหรือไม่ต้องจ่ายกันแน่ ซึ่ง นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “สำหรับการเรียกเก็บ 30 บาทนั้น จะเป็นการคิดค่าบริการในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิใช้บริการตั้งแต่โรงพยาบาลระดับอำเภอหรือโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป แต่สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ฉบับที่ 1 และ 2 จำนวน 23 กลุ่ม อาทิ ยากจน ทุพพลภาพ ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ส่วนคนทั่วไปให้ขึ้นอยู่กับความพอใจและสมัครใจของผู้ใช้บริการ ไม่ได้เป็นการบังคับ ซึ่งจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้บริการเลือกว่าจะร่วมจ่ายหรือไม่ร่วมจ่าย” ใครที่ถือสิทธิหลักประสุขภาพถ้วนหน้าคงต้องคอยติดตามข่าวกันให้ดี ว่าเมื่อมีการเรียกเก็บค่าบริการแบบจ่ายไม่จ่ายก็ได้แบบนี้ จะส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อมาตรฐานการรักษาพยาบาล ห้าม! โฆษณาขายนมผงสำหรับทารกในสถานพยาบาล สำนักงานอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาตรการเด็ดขาดห้ามสถานพยาบาลทุกแห่งโฆษณาขายผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมให้คุณแม่เลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมของตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ยังออกข้อบังคับให้ผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็ก ไม่ว่าจะเป็นนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง นมโค นมปรุงแต่ง นมผง และอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ต้องมีการแสดงข้อความบนฉลากว่า “นมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้คุณแม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ สำหรับข้อห้ามเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาลยังครอบคลุมถึงเรื่องการจัดกิจกรรมต่างๆ ด้านการขายและการตลาด การสาธิตส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่ และยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ขวดนม จุกนม  ที่สำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และห้ามเป็นตัวแทนผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหารทดแทนนมแม่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   จับตาร้านขายยา ร้ายขายยานั้นเป็นที่พึ่งพิงแห่งแรกของหลายๆ คนในยามที่รู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งแม้จะเป็นแค่ร้านขายยาแต่ก็ต้องมีการควบคุมดูแล โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายยาต้องถูกต้องตรงตามอาการป่วยของผู้ที่มาซื้อยา เพราะถ้ากินยาไม่ถูกโรค นอกจากจะไม่หายอาจจะกลายเป็นป่วยเพิ่ม เพราะฉะนั้นร้านขายยาที่ดีจะต้องมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ได้จัดเจ้าหน้าที่ดูแลตรวจสอบ ที่สำคัญคือใน พ.ร.บ. ยาได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ร้านขายยาทุกแห่งต้องมีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ที่ผ่านมา อย. ตรวจเฝ้าระวังร้านขายยาเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการสุ่มตรวจร้านขายยาในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 498 แห่ง โดยพบว่าเภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 16 ราย จำหน่ายยาอันตรายในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 8 ราย และไม่จัดทำบัญชีการซื้อขายให้เป็นไปตามกฎหมาย จำนวน 48 ราย ส่วนร้านขายยาในต่างจังหวัดนั้น อย. ได้ประสานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนี้ อย. ยังได้เตรียมจัดทำฐานข้อมูลเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในร้านขายยาทั่วประเทศ ไว้เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้สืบค้นตรวจสอบ เราในฐานะผู้บริโภค หากจำเป็นต้องซื้อยาจากร้านขายยา ก็ควรเลือกที่มีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยา ซึ่งในร้านจะต้องมีใบอนุญาตแสดงไว้ให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้หากเราพบเห็นร้านขายยาไม่มีเภสัชกรประจำร้าน หรือขายยาอันตราย หรือขายยาที่คาดว่าจะผิดกฎหมาย สามารถแจ้งไปได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556   แปรงสีฟันต้องแจ้งอายุ สุขภาพฟันของเด็กๆ เป็นเรื่องที่พ่อ-แม่ควรห่วงใย ปัญหาเด็กแปรงฟันไม่ถูกวิธีอาจไม่ใช่เรื่องเดียวที่ต้องกังวล เพราะยังมีเรื่องการใช้แปรงสีฟันไม่เหมาะสมกับวัยเป็นเรื่องหนักใจเช่นกัน ซึ่งเมื่อลองสำรวจดูแปรงสีฟันที่วางขายอยู่ในท้องตลาดก็จะพบว่า ไม่มีการระบุช่วงอายุที่เหมาะสมในการใช้แปรงสีฟันของเด็กไว้บนฉลาก เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพฟันของเด็กๆ ให้ได้รับความปลอดภัย และเลือกใช้แปรงสีฟันให้เหมาะสมกับวัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยต้องเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับช่วงอายุของเด็กในฉลากสินค้าแปรงสีฟัน ว่าเหมาะสมสำหรับช่วงอายุใด  เช่นเริ่มมีฟันถึง 3 ปี หรือ 6 ปี ถึง 12 ปี เป็นต้น ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป  

อ่านเพิ่มเติม >