ฉบับที่ 242 ใส่น้ำมันในข้าวสวยทำไมไม่บอก

        อาหารแช่เย็น แช่แข็งในร้านสะดวกซื้อนั้นเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะสะดวก ตอบโจทย์ชีวิตสำหรับคนที่ไม่ต้องการเสียเวลาไปกับการเตรียมอาหาร แต่กระนั้นสิ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ดีขึ้น ก็คือฉลากสินค้าที่ต้องครบถ้วนเพียงพอสำหรับการซื้อ ส่วนประกอบสำคัญต้องมีอะไรบ้างก็ต้องบอกให้หมดไม่ปิดบัง เพราะจะทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์         คุณภูผาเป็นหนุ่มโสดรักสุขภาพ แต่ก็ไม่อยากหุงข้าวรับประทานเองสักเท่าไรเพราะไม่ค่อยสะดวก จึงเลือกซื้อข้าวสวยอีซี่โก ในร้านสะดวกซื้อชื่อดังมารับประทานเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมมะลิหุงสุก ข้าวกล้องหอมมะลิ และข้าวไรซเบอรี่ผสมข้าวหอมมะลิ เพราะสะดวกเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเขา และเชื่อมั่นในตราสินค้าด้วยว่าคงไม่เอาเปรียบผู้บริโภค  อย่างไรก็ตามเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ภูผาได้เห็นข่าวบนสื่อออนไลน์ว่า ข้าวที่เขาซื้อประจำนั้นมีน้ำมันผสมอยู่ ซึ่งในฉลากอาหารก็ไม่ได้ระบุว่ามีน้ำมันเป็นส่วนผสม เขารู้สึกเหมือนถูกหลอก เพราะเขาไม่ต้องการร้บประทานข้าวที่ผสมน้ำมันเนื่องจากกลัวว่าจะกระทบกับสุขภาพ จึงร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา        กรณีนี้มูลนิธิฯ ไม่เพียงได้รับเรื่องจากคุณภูผา ยังได้ร้บการร้องเรียนจากสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้ออีกหลายท่านด้วย  จึงได้ทำหนังสือสอบถามไปยังบริษัท ซีพีแรม จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของตราผลิตภัณฑ์อีซี่โก เพื่อขอคำชี้แจ้งว่ามีการใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมในการหุงข้าวจริงหรือไม่ และหากมีจริงดังปรากฎเป็นข่าวบริษัทควรดำเนินการเปลี่ยนแปลงฉลากให้เป็นฉลากสินค้าที่บอกข้อมูลที่ครบถ้วนต่อผู้บริโภคต่อมาทางบริษัท ซีพีแรมฯ ได้ชี้แจงต่อมูลนิธิฯ ว่า บริษัทฯ มีการเติมน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันรำข้าวจริงในผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการเติมน้ำมันรำข้าวไปในปริมาณที่ใกล้เคียงกับน้ำมันตามธรรมชาติที่มีอยู่ในข้าว และเป็นสูตรเฉพาะของบริษัทที่ได้วิจัยมา ทั้งนี้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น โดยข้าวเมื่อทำให้เป็นอาหารแช่เย็น/แช่แข็ง การใช้น้ำมันรำข้าวจึงช่วยรักษาคุณภาพข้าวหลังแช่เย็น/แช่เยือกแข็ง ให้มีคุณภาพ เหนียว นุ่ม หนึบ และอร่อย ตลอดอายุการจัดเก็บจนถึงการบริโภค         ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ทางบริษัทฯ จะดำเนินการเพิ่มข้อมูลว่าใส่น้ำมันรำข้าวไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ข้าวแช่เย็น แช่แข็ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564         ดังนั้นผู้บริโภคทุกท่านโปรดอ่านฉลากสินค้าให้ถี่ถ้วนทุกครั้ง และหากพบข้อสังเกตใดที่สร้างความไม่มั่นใจ ควรสอบถามต่อบริษัทผู้ผลิตสินค้าโดยตรงหรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังไปด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 ตรวจแถวคุณภาพข้าวหอมมะลิ

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอชวนผู้อ่านมารับประทานข้าวด้วยกัน กับผลทดสอบพร้อมเสิร์ฟ “เปรียบเทียบคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุง” ข้าวหอมมะลิ ถือเป็นข้าวขวัญใจมหาชน ได้รับการยกย่องในเรื่องของรสชาติความอร่อย แต่จะสักกี่คนที่จะรู้ว่าข้าวหอมมะลิที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนได้กินข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพ อร่อยคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป เราจึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด จำนวน 18 ยี่ห้อ และข้าวหอมชนิดอื่นอีก 2 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์เรื่องคุณภาพในส่วนของคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งประกอบด้วย 3 คุณสมบัติ ได้แก่ 1.ปริมาณอมิโลส 2.ปริมาณ % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก และ 3.เรื่องความหอม มาทำความรู้จักคุณสมบัติทางเคมีในข้าวหอมละมิทั้ง 3 ประเภทกันก่อน   ปริมาณอมิโลส ส่วนประกอบหลักของข้าวก็คือ แป้ง ซึ่งในแป้งข้าวจะมีองค์ประกอบสำคัญคือ อมิโลเปคติน และ อมิโลส อัตราส่วนของอมิโลสและอมิโลเปคติน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวสุกมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ถ้าหากข้าวมีปริมาณอมิโลสสูงเวลาที่หุงข้าวจะดูดน้ำมากกว่าข้าวที่มีอมิโลสต่ำ ทำให้ข้าวที่มีอมิโลสสูงเมื่อหุงสุกแล้วจะมีความร่วน แข็ง ตรงข้ามกับข้าวที่มีอมิโลสต่ำจะทำให้ข้าวมีความเหนียว อย่างในข้าวเหนียวจะมีปริมาณอมิโลสอยู่ที่ประมาณ 0 – 2% เท่านั้น สำหรับปริมาณอมิโลสที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย คือ 13 – 18% ซึ่งเป็นปริมาณอมิโลสจะที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิที่หุงมีความเหนียวนุ่มกำลังดี ทั้งนี้ก็ต้องหุงโดยใช้น้ำให้เหมาะสม ปริมาณอมิโลสในข้าวหอมมะลิถือว่าอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ น้ำที่ใช้หุงก็ไม่ควรใช้มากเกินไป ปริมาณที่แนะนำคือ ถ้าใช้ข้าวสารหอมมะลิ 1 ถ้วยตวง ให้ใช้น้ำ 1 ถ้วยครึ่ง หรือไม่เกิน 1 ถ้วยกับอีก 3 ใน 4 ส่วนของถ้วยตวง อุณหภูมิแป้งสุก ข้าวที่มีคุณภาพดีควรมีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ หากมีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะทำให้ข้าวเมื่อหุงสุกมีความแข็งกระด้าง อุณหภูมิแป้งสุกมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการหุงต้ม โดยทั่วไป การหุงต้มข้าวจะใช้เวลา 13 - 24 นาที ข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกสูงจะใช้เวลาในการหุงต้มนานกว่าข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ข้าวหอมมะลิต้องมีอุณหภูมิข้าวสุกต่ำเมื่อหุงสุกแล้วความจะไม่แฉะ โดยอุณหภูมิแป้งสุกที่ถือว่าอยู่ในระดับต่ำ คือไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส การตรวจหาคุณภาพของข้าวหอมมะลิในส่วนของอุณหภูมิแป้งสุก จะใช้วิธีดูจากปริมาณของเมล็ดข้าวที่มีอุณหภูมิแป้งสุกจากการหุง คือเมื่อทำการหุงตามระยะเวลาที่กำหนด ข้าวที่หุงได้สุกทั่วทั้งเมล็ด ไม่มีส่วนที่แข็งคล้ายข้าวสาร ซึ่งข้าวหอมมะลิที่ดีควรมีปริมาณเมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุกต่ำเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 92% กลิ่นหอม ความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยที่ชื่อว่า 2 – acetyl – 1 – pyrroline ความหอมของข้าวหอมมะลิแต่เดิมนั้นว่ากันว่ากินหอมนั้นหอมคล้ายกับดอกมะลิ ซึ่งกลายเป็นที่มาของชื่อ แต่หลายคนเปรียบกลิ่นหอมของข้าวหอมมะลิว่าเหมือนกับกลิ่นหอมของใบเตย แต่ว่ากลิ่นหอมนี้จะระเหยไปตามเวลา อายุของข้าว ข้าวใหม่ – ข้าวเก่าจึงมีผลกับความหอมของข้าวหอมมะลิ โดยธรรมชาติแล้ว ข้าวใหม่จะมีความหอมมากกว่าข้าวเก่าหรือข้าวที่เก็บไว้นานก่อนจะนำมาบรรจุใส่ถุงขาย   ตารางเปรียบเทียบผลวิเคราะห์ข้าวขาวหอมมะลิบรรจุถุง ยี่ห้อ ชนิดของข้าว มีตรารับรอง ของกระทรวงพานิชย์ (ตรามือพนม) ผู้ผลิต แจ้งว่าเป็น ข้าวใหม่ หรือ ข้าวเก่า ที่ถุง วันเดือนปีที่ผลิต ราคา ผลวิเคราะห์ กลิ่นหอมตามธรรมชาติ % อมิโลส % เมล็ดที่มีอุณหภูมิแป้งสุก มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย 13 – 18 ต่ำ >= 92 ปานกลาง – สูง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 66 ชั่งความจริงใจข้าวหอมมะลิถุงไหนไม่โกง

เมื่อปี พ.ศ.2541 ฉลาดซื้อได้ทำการเก็บตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่แจ้งว่าเป็นข้าวหอมมะลิส่งให้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีทำการตรวจวิเคราะห์มาตรฐาน พบว่าจากจำนวน 18 ตัวอย่างมีเพียง 8 ตัวอย่างเท่านั้นที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิที่เหลือเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นทั้งสิ้นในปี 2545 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มีประกาศเรื่องการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายในประเทศขึ้นมาใหม่ และใช้วิธีเชิญชวนให้ผู้ประกอบการแสดงฉลากที่ถูกต้องด้วยการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงตรารูปพนมมือ โดยข้าวหอมมะลิที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานมีทั้งสิ้น  8 ชนิดซึ่งเป็นการแบ่งตามคุณภาพของเมล็ดข้าวและระดับการสี (ดูที่ล้อมกรอบมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 8 ชนิด) แต่ที่เราเห็นจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% ข้าวขาวหอมมะลิ 5% มีข้าวขาวหอมมะลิ 10% บ้างเพียงเล็กน้อยผลสำรวจของกรมการค้าภายในถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 มีข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้เครื่องหมายรับรองตราพนมมือ นับได้รวมทั้งสิ้น 104 ยี่ห้อจากผู้ประกอบการทั้งหมด 68 ราย ซึ่งบางยี่ห้อก็จำหน่ายข้าวขาวหอมมะลิหลายชนิดในชื่อยี่ห้อเดียวกันเพียงแต่ใช้สีถุงหรือลวดลายของถุงบรรจุที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวหอมมะลิที่ไม่มีตรามือพนมหรือกรมการค้าภายในไม่ได้รับรอง และข้าวหอมมะลิบางยี่ห้อก็อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้หากไม่สังเกตฉลากให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ถูกเอามาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมมะลิล้วน ๆ   เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถเลือกซื้อข้าวหอมมะลิบรรจุถุงได้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้ทำการสำรวจข้าวหอมมะลิบรรจุถุงใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หนึ่ง การสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิ และสองคือการสำรวจน้ำหนักสุทธิของข้าวหอมมะลิขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัมว่าเที่ยงตรงตามที่ระบุไว้จริงแค่ไหนหรือไม่ ผลสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงมีข้าวสารบรรจุถุง ที่ฉลากระบุว่าเป็นชนิดข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวนทั้งสิ้น 35 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อเก็บได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 34 ตัวอย่างเป็นถุงบรรจุขนาด 5 กิโลกรัม อีก  1 ตัวอย่างเป็นข้าวถุงบรรจุขนาด 4 กิโลกรัมคือยี่ห้อ ช้างทิพย์ ข้าวเติมวิตามินของ บ.สากลธุรกิจเลิศรวมมิตร จำกัด ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับข้าวขนาด 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว ฉลาดซื้อได้ส่งตัวอย่างทั้งหมดไปที่ห้องปฏิบัติการทดสอบของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของข้าวขาวหอมมะลิ 100% เหล่านี้ ผลการวิเคราะห์พบว่าจาก 35 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของกรมการค้าภายใน คือยี่ห้อ ฉลาดชิม ของ บ.ไทยฮา จก.(มหาชน) ซึ่งไม่มีตรารับรองมือพนม และ ยี่ห้อ นครไทย ของ บ.บี.เค.เค.อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ยี่ห้อนี้มีตรารับรองมือพนมของกรมการค้าภายในแสดงที่ข้างถุง โดยทั้งสองตัวอย่างมีปริมาณอมิโลสและข้าวอื่นปนเกินมาตรฐาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เกณฑ์มาตรฐานข้าวขาวหอมมะลิ 100% บรรจุถุงของกรมการค้าภายในที่ให้การรับรองด้วยตรามือพนม1.    กรมการค้าภายในยอมให้ข้าวหอมมะลิ 100% มีข้าวอื่นปนได้ไม่เกิน 8 %2.    ปริมาณอมิโลสอยู่ระหว่าง 13-18 % ข้าวอมิโลสต่ำ ๆ เวลาหุงไม่ควรใช้น้ำมากเพราะจะทำให้ข้าวแฉะ3.    อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ซึ่งทำให้ข้าวสุกไวไม่ใช้เวลาหุงนาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการวิเคราะห์ข้าวสารบรรจุถุงที่ฉลากระบุว่าเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวน 35 ตัวอย่าง

อ่านเพิ่มเติม >