ฉบับที่ 250 โควิดก็ยังไม่หมด และข้อมูลมั่วๆ ก็ยังมา (2)

        ยืนตากแดดก็ฆ่าเชื้อโควิด 19         จากกรณีที่โลกออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล โดยแนะนำให้ประชาชนออกมาตากแดดตอนเช้า เพื่อให้แดดฆ่าเชื้อโควิด 19  เพราะเชื้อโควิด 19 ชอบความเย็นมากกว่าความร้อน ดังนั้นเมื่อเจอความร้อนจากแสงแดดเชื้อโควิด 19 จะตาย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ การยืนตากแดดไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้จริง         ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด19         มีการแชร์ข้อมูลเชิญชวนให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โดยอ้างว่าฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด-19 แม้ในแง่วิชาการ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในประเด็นที่อ้างว่า ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ลดความเสี่ยงในการเป็นโควิด 19 ได้นั้น ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลว่าไม่เป็นความจริง วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้เฉพาะโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่สามารถป้องกันโควิด 19 ได้ แต่อาจจะเกี่ยวข้องกันบ้างในแง่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะลดความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะพบการติดเชื้อร่วมกับโควิด 19         เราจะรับมือกับกับข้อมูลเท็จในยุคที่ผู้บริโภคกำลังสำลักข้อมูลอย่างไรดี?        ในโลกปัจจุบันที่ผู้คนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้ยังคงถาโถมมาเรื่อยๆ และมันก็จะวนเวียนอยู่ในอินเทอร์เน็ตแบบไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อเวลาผ่านไปมันก็จะหมุนเวียนกลับมาอีกเป็นระยะๆ ผู้บริโภคอย่างเราจึงต้องตั้งสติให้ดี         1. ตรวจสอบต้นตอที่มาของข่าว         เมื่อได้รับข้อมูล อย่าเพิ่งรีบเชื่อ และต้องไม่รีบส่งต่อหรือแชร์ข้อมูล เพราะการส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จจะเป็นการทำร้ายคนอื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้บริโภคควรตรวจสอบรายละเอียดในข้อมูลก่อนว่ามีการระบุต้นตอแหล่งที่มาชัดเจนหรือไม่ ถ้าไม่มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจนก็ไม่ควรแชร์  แต่ส่วนใหญ่ข้อมูลมั่วๆ เหล่านี้มักจะมีการอ้างอิงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้นเราก็ไม่ควรรีบเชื่อ เพราะอาจเป็นการอุปโลกน์แหล่งที่มาของข้อมูลเพื่อหลอกเรา         2. ลองค้นข้อมูลด้วยตัวเองดูก่อน         เนื่องจากข้อมูลที่แชร์ๆ ต่อๆ กันมา บางทีก็เป็นข้อมูลเก่าที่เคยแชร์มาหลอกชาวบ้านเมื่อหลายปีมาแล้ว ผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ควรจะลองเข้าไปค้นหาข้อมูลดูด้วย เช่น อาจค้นจาก google ดูก็ได้ บางทีเราจะพบว่าข้อมูลนี้เป็นเท็จ และในอดีตก็มีหน่วยงานต่างๆ ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว         3. สอบถามผู้รู้ เช่น คน หน่วยงาน         หากไม่มั่นใจในข้อมูล ผู้บริโภคสามารถติดต่อสอบถามยังหน่วยงาน หรือองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ช่วยหาข้อเท็จจริงมาบอกเราได้ ทั้งนี้ควรเลือกหน่วยงานที่เรามั่นใจและน่าเชื่อถือในแง่วิชาการด้วย                 4. จัดการต้นตอข่าวลือให้อยู่หมัด         หากข่าวลือดังกล่าวนำไปสู่การโฆษณาหรือขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรแจ้งเบาะแสให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจัดการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 สีทาผนังกันความร้อน

        ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยซึ่งอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน และรุนแรง ช่วงเดือนเมษายน หน้าร้อน อุณหภูมิ อาจสูงถึง 45 องศาเลยทีเดียว ภาวะโลกร้อนดังกล่าวทำให้ชั้นบรรยากาศบางลง ทำให้สกัดกั้นรังสีความร้อนที่แผ่มาจากดวงอาทิตย์ได้น้อย        ด้วยอากาศที่ร้อนขึ้น การลดอุณหภูมิสะสมในตัวบ้าน อาคาร ให้ได้มากที่สุดมีความจำเป็นมากเพื่อลดพลังงานที่ใช้สำหรับเครื่องปรับอากาศ นอกจากจะประหยัดพลังงานแล้วยังลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย        หลังคาจะเป็นส่วนที่รับความร้อนหลัก หากลดความร้อนสะสมใต้หลังคาแล้วด้วยแผ่นสะท้อนรังสีความร้อน ฉนวนบนฝ้าเพดานแล้ว ผนังบ้าน อาคาร จะเป็นส่วนที่รับความร้อนรองลงมา สีทาผนังประเภทที่มีความสามารถสะท้อนความร้อนได้จึงมีความจำเป็นที่จะซื้อหามาใช้งาน ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายระดับราคา บางยี่ห้อมีฉลากเบอร์ 5 การันตีประสิทธิภาพด้วย        ฉลาดซื้อจะเลือกนำเอาสีทาผนังอาคาร ที่มีความสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ โดยสอบถามร้านค้าที่เป็นที่นิยม สามแห่ง ได้แก่ โฮมโปร บุญถาวร และไทวัสดุ ซึ่งพนักงานได้แนะนำสีที่มีความสามารถดังกล่าว และเป็นที่นิยม ได้มา 6 ยี่ห้อ โดยเลือกสีเป็นแบบกึ่งเงาสีขาว Base A ได้แก่ 1.TOA รุ่น SuperShield Advance2.Captain รุ่น ParaShield Cool max 3.Beger รุ่น BegerCool Diamond Shield4.Jotun รุ่น JOTASHIELD5.Dulux รุ่น Weathershield6.Nippon paint รุ่น WEATHERBOND flex         เบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลจากฉลากพบว่า มาตรฐานอุตสาหกรรม ที่ตัวอย่างสีได้รับการรับรองจะมีอยู่สองหมายเลข ได้แก่             1.มอก.2321-2549 (สีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ) พบทุกยี่ห้อ            2.มอก.2514-2553 (สีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์) พบบางยี่ห้อ         นอกเหนือจากมาตรฐานอุตสาหกรรมที่กล่าวมายังมีสัญลักษณ์ที่รับรอง แสดงบนฉลากอีกหลายอย่างโดยสรุปเป็นตารางได้ดังนี้ แนวทางการทดสอบ        เนื่องจาก ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ เป็นหน่วยงานที่ทดสอบสีตามมาตรฐาน มอก.2321-2549 และ มอก.2514-2553 จึงขอความอนุเคราะห์ส่งทดสอบตัวอย่างสีที่เตรียมไว้ ในบางรายการที่เกี่ยวข้องได้แก่             -   กำลังซ่อนแสง เป็นการทดสอบความสามารถในการทาปิดทับ โดยปรับความหนืดของสีที่เตรียมไว้ให้เท่ากัน แล้วเคลือบฟิล์มสีตัวอย่างบนแผ่นทดสอบขณะเปียกที่ความหนา 100 ไมโครเมตร             -  การสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ (solar radiation reflectance)  ทดสอบตาม JIS R 3106 เตรียมตัวอย่างโดยเคลือบสีตัวอย่างบนกระจกให้มีความหนาขณะแห้ง 300 ไมโครเมตร  การทดสอบความร้อนสะสม และ การผ่านของ แสง/ รังสีความร้อน         ทดสอบโดยใช้ตู้ทดสอบ โดยเตรียมตัวอย่างด้วยการทาสีตัวอย่างด้วยแปรงทาสี 2 ชั้น เว้นระยะเวลาแต่ละชั้นห่างกัน 1 ชม. บนกระจก ขนาด  30x30 ซม. ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทหนึ่งสัปดาห์ โดยยึดแนวคิดตามหลักปฏิบัติของช่างทาสีโดยทั่วไป หลังจากที่ตัวอย่างที่เตรียมไว้แห้งสนิทดีแล้ว นำไปวางบนตู้ทดสอบที่เตรียมไว้ ใช้หลอดฮาโลเจน และหลอดกำเนิดแสงยูวี เป็นแหล่งกำเนิดความร้อน เหนือกระจกที่ทาสีตัวอย่างไว้ แล้ววัดอุณหภูมิภายนอก และภายในตู้ทดสอบ โดยเริ่มจาก แผ่นกระจกเปล่าที่ไม่มีการทาสี เพื่อเป็นตัวควบคุมเปรียบเทียบ ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เกิดขึ้น กระจกที่ทาสีตัวอย่าง นอกจากการวัดค่าอุณหภูมิแล้ว ยังวัดผลของสเปคตรัมของแสง/ รังสีความร้อน ที่ทะลุผ่านกระจกมาด้วย          ค่าอุณหภูมิแตกต่างที่ใช้ชี้วัดประสิทธิภาพของสีตัวอย่างนั้น ใช้วิธีการดูความสามารถต้านทานการแผ่รังสีความร้อน โดยวัดอุณหภูมิภายในตู้ทดสอบ ณ เวลาเดียวกัน โดยเวลาที่กำหนด จะใช้เวลาที่ได้จากการทดสอบด้วยกระจกใสแล้วทำให้ค่าอุณหภูมิภายในและภายนอกมีค่าเท่ากัน ซึ่งจะอยู่ที่นาทีที่ 8 (ทดสอบที่อุณหภูมิเริ่มต้น 24.5˚C) ตามภาพที่ 3          สำหรับเวลานาทีที่ 8 นั้นอุณหภูมิที่วัดได้จะอยู่ที่ 47.3 ˚C และเมื่อทำการทดสอบที่กระจกทาสีตัวอย่าง หากที่เวลานาทีที่ 8 ตัวอย่างสีใดที่ได้ค่าอุณหภูมิต่ำที่สุด ย่อมมีประสิทธิภาพต้านทานรังสีความร้อนดี         ผลของสเปคตรัมแสง ความร้อน ที่ผ่านกระจกทดสอบเข้ามา จะแบ่งเป็น UV แสงช่วงที่มองเห็น (visible) และ รังสีความร้อน (infrared) ผลที่ได้เป็นดังนี้  ผลการทดสอบ        หลังจากทดสอบทั้ง 3 วิธีแล้ว โดยได้จากการทดลอง ผลของความร้อนสะสม แสง/ รังสีที่ส่องผ่าน และผลทดสอบจาก ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ได้แก่ กำลังซ่อนแสง และ ค่า % สะท้อนรังสีความร้อน เป็นดังนี้ตารางที่ 2 ผลการทดสอบบทสรุป        จากตัวอย่างสีทั้งหมดลักษณะของเนื้อสี ความเข้มข้น ค่อนข้างใกล้เคียงกัน มีความสามารถในการทาปิดทับได้ดี ทาง่ายพื้นผิวสีที่ได้หลังจากทาด้วยแปรงสองครั้ง เรียบเนียนสวยงาม ผลของกำลังซ่อนแสง จะแสดงผลของการทาปิดทับที่ดี การทดสอบเนื้อสีจะถูกปรับความเข้มข้นให้เท่ากัน หากสีที่ได้รับมาตรฐาน มอก. 2321–2549 จะมีค่าของกำลังซ่อนแสงจะต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ซึ่ง ทุกสีตัวอย่างมีค่าของ กำลังซ่อนแสง มากกว่าร้อยละ 80  โดยค่าสูงสุดคือ Nippon paint มีค่า 94.53 %        การสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ ตาม มอก.2514-2553 สีตัวอย่างจะต้องมีความสามารถสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ซึ่งสีทุกตัวอย่างมีความสามารถสะท้อนรังสีแสงอาทิตย์ ได้เกือบ 90 % โดยค่าสุงสุดคือ 91.2 % ได้แก่ TOA และ Nippon paint        ผลการทดลองการสะสมความร้อน และ การผ่านของ แสง/ รังสีความร้อน ที่นาที ที่ 8 หลังจากฉาย แสง/ รังสีความร้อน พบว่าสี Nippon paint จะมีค่าความร้อนภายในตู้ทดสอบ น้อยที่สุด ที่ 33.7 ˚C สอดคล้องกับ ผลของแสง/ รังสีความร้อนที่ส่องผ่านเข้ามาต่ำที่สุด        ผลทดสอบเชิงตัวเลขถือว่า สีตัวอย่างทุกยี่ห้อ มีความสามารถที่ลดความร้อนได้ใกล้เคียงกันมาก สามารถทดแทนกันได้ มีความสามารถลดพลังงานไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศได้อย่างแน่นอน เลือกใช้ตามความเหมาะสม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 197 การทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์

แสงแดดมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่อินฟราเรด (Infrared IR) ไม่มีสีแต่อยู่ในรูปของรังสีความร้อน ต่อไปคือแสงช่วงที่สายตามองเห็น (Visible light VL) และช่วงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet UV)อยู่ในรูปของพลังงาน ที่มีความสามารถทำลายเซลล์ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ การเกิดความร้อนในรถยนต์เกิดจากการที่กระจกรถยนต์ไม่สามารถกันคลื่นอินฟราเรด ที่เป็นคลื่นความร้อนได้ เมื่อผ่านเข้ามายังตัวรถแล้ว คลื่นอินฟาเรดจะไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกภายในรถ ความร้อนสะสมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ  สำหรับข้อกำหนดความสามารถของแผ่นฟิล์มติดรถยนต์ แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้- VLT (Visible Light Transmission) ความสามารถในการส่องผ่านของแสงในช่วงสายตามองเห็น ค่ายิ่งมากแสงผ่านได้เยอะ ทำให้การมองผ่านชัดเจน - VLR (Visible Light Reflectance) ความสามารถในการสะท้อนแสงในช่วงสายตามองเห็น เป็นค่าแสดงการสะท้อนออกของแสงจากกระจกที่ติดฟิล์ม ค่ามากกระจกที่ติดฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายกับกระจกเงา- Glare Reduction การลดความจ้า เป็นการวัดเปอร์เซ็นเปรียบเทียบค่าการส่องผ่านได้ของแสงช่วงที่มองเห็น ระหว่างกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสงกับไม่ติดฟิล์มกรองแสง- IRR (Infrared Rejection) เป็นค่าที่แสดงความสามารถในการลดความร้อนเนื่องจากคลื่นความร้อน(Infrared) จากแสงแดด- UVR (Ultraviolet Rejection) ค่าที่แสดงความสามารถในการลดแสงอัลตราไวโอเลตเราทดสอบอะไรบ้าง1. ทดสอบการป้องกันรังสียูวี ช่วง  UVA และ UVB ความยาวคลื่น 280-400 นาโนเมตร2. ทดสอบการส่องผ่านของแสงช่วงที่สายตามองเห็น ความยาวคลื่น 380-780 นาโนเมตร3. ทดสอบการลดรังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน ความยาวคลื่น 800-1000 นาโนเมตร4. ทดสอบการป้องกันความร้อนสะสมการทดสอบออกแบบให้สามารถวัดความสามารถของฟิล์มติดรถยนต์ในเรื่องการช่วยลดแสงยูวี การช่วยลดแสงสว่างในช่วงที่สายตามองเห็น ความสามารถในการกันรังสีความร้อน (Infrared) และการป้องกันความร้อนสะสมสำหรับการออกแบบการวัด ได้จำลองตู้ทดสอบซึ่งเป็นตัวแทนของรถยนต์ที่มีกระจกที่ติดฟิล์มตัวอย่าง ปิดอยู่ด้านบน รับแสงจากหลอดฮาโลเจน มีเครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัมอยู่ภายใน และหัววัดอุณหภูมิภายนอกและภายใน ซึ่งผลการวัดจะแสดงถึงความสามารถในการกันแสงและความร้อนของฟิล์มตัวอย่าง อุปกรณ์1. ตู้ทดสอบขนาดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์ฟุต 2. แผ่นกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง3. เครื่องวัดอุณหภูมิ4. เครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัม ช่วง ยูวี ถึง อินฟราเรด (200-1000nm)5. หลอดไฟฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์วิธีการทดสอบเลือกฟิล์มที่นิยมใช้กันทั่วไปในตลาดโดยเลือกอยู่ในระดับการกรองแสงเท่าๆ กันประมาณ 60 % (ตามค่าที่แจ้งบนฉลาก) แต่ค่าจำเพาะบางค่าอาจไม่เหมือนกัน แสดงดังตารางดังนี้ทดลองโดยการวัดค่าอุณหภูมิทุกๆ 30 วินาที เป็นเวลา 15 นาที โดยเรียงลำดับดังนี้1. ตู้เปล่า2. แผ่นกระจกไม่ติดฟิล์ม3. แผ่นกระจกติดฟิล์มยี่ห้อต่างๆ4. นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลวัดค่าสเปคตรัมของแสงเพื่อตรวจสอบแสง ที่ผ่านกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง ผลของแสงที่ได้จากหลอดฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์ มีลักษณะครอบคลุมช่วงที่ต้องการทดสอบ ที่ความยาวคลื่น 200 – 1000 นาโนเมตร เป็นดังนี้ภาพที่ 5 ผลของแสงและรังสีความร้อนภายในตู้ทดสอบ ที่ถูกวัด ขณะไม่มีกระจกกั้น เท่ากับ 100%สรุปผลการทดสอบการทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์นี้ ผลที่ได้พบว่าทุกๆ ยี่ห้อสามารถป้องกันแสง UV ได้ใกล้เคียงกัน การป้องกันความร้อน ถ้าค่าความแตกต่างของอุณหภูมิด้านนอกกับด้านในมีน้อย แสดงว่าสามารถกันความร้อนได้ดี และพบว่า Hi-Kool มีความสามารถกันความร้อนความร้อนได้ดีกว่าทุกยี่ห้อ แต่ความสามารถของการส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็น ผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างน้อย หากค่าแสงช่วงสายตามองเห็นได้ผ่านเข้ามาได้น้อยเกินไปก็ทำให้การมองเห็นได้ไม่ดีอาจจะลดทัศนวิสัยในการขับรถได้สำหรับในการพิจารณาเรื่อง การส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็นค่าความสว่างของแสง(Lux) มากจะทำให้การมองเห็นชัดเจนกว่าค่าความสว่างของแสงน้อย ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนเวลาขับรถเวลากลางคืน  ทำให้ ฟิล์ม 3M อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ จากข้อมูลในตารางที่ 2 ฟิล์มยี่ห้อ Xtra-Cole อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับ ความสามารถในการป้องกันความร้อน และทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่                 การป้องกันความร้อนได้ดีเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการเลือกฟิล์มกรองแสงไว้ใช้งาน แต่ยังมีตัวแปรอื่นๆ ให้พิจารณาเช่น ความคงทนต่อรอยขีดข่วน การซีดจาง เปลี่ยนสี การหลุดร่อนตามอายุการใช้งาน การรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ การรบกวนระบบนำทาง GPS เป็นต้นขอขอบคุณห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2559โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโม้สรรพคุณระบาดหนัก เจอเพียบในวิทยุปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์หลอกลวงผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาที่แก้ยังไงก็ไม่หมดไปจากสังคมไทยสักที ล่าสุดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทั้งทางสื่อต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายออกอากาศ เป็นจำนวนมาก จากการเฝ้าระวังพบว่ามีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่เผยแพร่อยู่จำนวน 206 ผลิตภัณฑ์ โดยสื่อวิทยุชุมชนถือเป็นช่องทางหลักที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงใช้เป็นทางช่องทางหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่รับฟังรายการเป็นประจำ รองลงมาคือ ดิจิตอลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ตัวอย่างที่พบการทำผิดกฎหมายก็มีอย่างเช่น โฆษณาไม่ตรงกับสรรพคุณที่ระบุไว้ ส่วนมากจะเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ใช้แล้วผิวขาว รักษาสิว ฝ้า หรือลดริ้วรอย ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังที่ได้ ทางเครือข่ายฯจึงอยากกระตุ้นไปถึงภาครัฐที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลปัญหาดังกล่าว อย่าง อย.และ กสทช. ออกมาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างจริงจัง รวดเร็ว และเด็ดขาด ใครที่พบเจอโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายหลอกลวง สามารถส่งข้อมูลแจ้งเรื่องร้องเรียนไปได้ที่ทั้ง อย.และกสทช. หรือที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   อย่าหลงเชื่อ “แผ่นหยกความร้อน” อ้างรักษาโรคอย.ออกมาเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ “แผ่นหยกให้ความร้อน” ที่มาในรูปแบบของ แผ่นรองนั่ง หมอน เตียงนอน ฯลฯ ที่อวดอ้างว่าสามารถช่วยเร่งการขับสารพิษหรือของเสียออกจากร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหายใจ แถมยังบอกว่าสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งความคัน เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ และ มะเร็ง ซึ่งข้อความสรรพคุณต่างๆ ที่ว่ามาทั้งหมด อย.ยืนยันแล้วว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทั้งสิ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บต่างๆ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 การจะผลิตหรือนำเข้าต้องได้รับอนุญาตจาก อย. เสียก่อน ซึ่งจากการตรวจสอบฐานข้อมูลการขออนุญาตด้านเครื่องมือแพทย์ของ อย. ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับแผ่นหยกให้ความร้อนที่มีสรพพคุณตามที่แอบอ้าง นอกจากนี้ อย.ยังฝากเตือนว่าแผ่นหยกให้ความร้อนนอกจากจะไม่ช่วยรักษาโรค ผู้ใช้อาจเกิดอันตรายจากผลของกระแสไฟฟ้า เช่น ถูกไฟดูดจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งผิวหนังอาจเกิดการแพ้ต่างๆ ได้ด้วย คมนาคมคาดโทษ “นกแอร์” ทำผิดซ้ำเจอถอนใบอนุญาตจากเหตุการณ์ที่สายการบินนกแอร์ยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า จากเหตุผลที่นักบินประท้วงสายการบินเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้โดยสารกว่า 3,000 คนได้รับผลกระทบ ทางด้านหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาดังกว่างอย่าง กระทรวงคมนาคม ได้ออกมาจัดการกับสายบินนกแอร์ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยทางกระทรวงคมนาคมได้ออกคำสั่งเตือนไปยังสายการบินนกแอร์ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกเป็นครั้งที่สองจะพักใช้ใบอนุญาต และถ้าซ้ำครั้งที่สามจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตด้านการบิน พร้อมกันนี้ได้แจ้งไปยังสายการบินต่างๆ ทั้งหมด ว่าต้องมีแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคในลักษณะแบบเดียวกัน ส่งให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ และต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน เสนอติดคำเตือน “ฟ้าทะลายโจร” ช่วยควบคุมมาตรฐานสร้างความตื่นตกใจให้กับผู้บริโภคไม่น้อย หลังจากที่ในสังคมออนไลน์มีการแชร์เอกสารของอย. ซึ่งลงนามโดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ อย.ที่มีเนื้อหาขอให้เพิ่มข้อความ “คำเตือนของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร” ที่ฉลากและเอกสารกำกับยา เนื่องจาก อย.ได้รับรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟ้าทะลายโจร อาจเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock) แม้ว่าจะมีจำนวนรายงานไม่สูงมากนัก โดยคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาสำหรับมนุษย์ ได้ทบทวนข้อมูลความปลอดภัย ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของยาฟ้าทะลายโจร เห็นควรกำหนดให้ยาฟ้าทะลายโจรต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา เช่น ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ในผู้มีประวัติแพ้ยา ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยาควรหยุดและพบแพทย์ทันที นพ.ไพศาล จึงต้องออกมาชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นการขอความคิดเห็นจากผู้รับอนุญาตผลิตยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเท่านั้น ประชาชนไม่ต้องตกใจหรือเกิดความกังวล ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หากมีรายงานพบผลข้างเคียง ตามขั้นตอนต้องมีการพิจารณามาตรการป้องกัน ซึ่งแนวทางหนึ่งก็คือการติดฉลากเตือนเหมือนยาแผนปัจจุบันทั่วไป ทั้งนี้ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. ได้รับข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ หลังใช้ยาฟ้าทะลายโจร ว่าอาจมีอาการ เช่น ผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีตั้งแต่ปี 2544 แต่กลุ่มที่มีอาการข้างเคียงนั้นถือว่าน้อยมาก โดยจะพบได้ประมาณ 2 - 3 คนในหมื่นคน ภาคประชาชนร้องรัฐบาลต้องมี “กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค”คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 คน เข้ายื่นหนังสือคัดค้านมติการประชุมหารือการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค และขอให้สนับสนุนกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกฯ เป็นผู้รับหนังสือแทน เนื่องจากกระบวนการหารือร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 2 ต.ค.58 ไม่มีผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภค องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม มีเพียงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่าง สคบ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ทั้งที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับ ยิ่ง ณ ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคไทยยังคงถูกละเมิดสิทธิในหลายเรื่อง โดยที่หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันยังดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง เครือข่ายผู้บริโภคจากทั่วประเทศจึงร่วมกันแสดงพลังเพื่อขอให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้มีส่วนในการพิจรณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ให้ช่วยเร่งพลักดันและทำให้เกิดขึ้นกฎหมายฉบับนี้เป็นจริง ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญตลอด 19 ปีที่ผ่าน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 ปลอกหมอนใบนี้ดีจริงหรือ

ได้ฤกษ์เปลี่ยนปลอกหมอนใหม่สักที เราจะเลือกซื้อจากอะไรดีนะในทุกๆ คืนจะต้องมีสักหนึ่งท่านอนที่ทำให้หน้าของเราแนบไปกับหมอน ซึ่งคงไม่มีใครอยากแนบหน้ากับเนื้อผ้าสากๆ หรือระบายความร้อนได้ไม่ดีไปตลอดทั้งคืนหรอกจริงไหม คนส่วนใหญ่จึงมักให้ความสำคัญในการเลือกชนิดเส้นใย หรือจำนวนของเส้นใยที่นำมาทอปลอกหมอนนั้น ซึ่งจำนวนเส้นใยเป็นตัวชี้วัดราคาเลยก็ว่าได้ เพราะหากมีเส้นใยต่อตารางนิ้วมาก ราคาก็สูงมากตามไปด้วย อย่างไรก็ตามหลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและตกลงใจซื้อมาแล้ว เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้อมูลคุณสมบัติต่างๆ ที่ระบุไว้บนฉลากจะตรงกับความเป็นจริง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปทดสอบ* ปลอกหมอนทั้งหมด 11 ยี่ห้อว่า มีคุณสมบัติตรงกับที่ระบุไว้บนฉลาก และมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับราคามากน้อยแค่ไหนกัน* หมายเหตุ ปลอกหมอนทั้งหมดถูกทดสอบโดย สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอ้างอิงคุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 962 – 2552 (ไม่ใช่ภาคบังคับ) ที่กำหนดให้ฉลากแสดงจำนวนเส้นด้ายเป็นตารางนิ้ว และจำนวนรวมของเส้นด้ายมีความคลาดเคลื่อนจากที่ระบุไว้ในฉลากได้ ± ร้อยละ 5 แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักแสดงฉลากเป็นตารางเซนติเมตร เราจึงต้องทดสอบเป็นตารางเซนติเมตรด้วย เพื่อดูว่าฉลากกับความจริงตรงกันหรือไม่       สรุปผลทดสอบ - มีเพียง 2 ยี่ห้อที่ระบุ “จำนวนเส้นใย” ได้ตามมาตรฐาน มอก. คือ Ikea รุ่น Gaspa และ Exotica ลาย Outlook Blue- ทุกยี่ห้อระบุ “ชนิดเส้นใย” ตรงตามฉลาก มีเพียงยี่ห้อ Lotus รุ่น อิมเพรสชั่น STRIPIES ที่ไม่มีฉลากระบุชนิดเส้นใย ซึ่งทดสอบได้เป็นเส้นใย Polyester 100%- ความคงทนของสีต่อการซัก และความคงทนต่อเหงื่อทั้งสภาวะกรด/ด่าง ทุกยี่ห้อได้มาตรฐาน มอก.- การขึ้นขนและเม็ด ส่วนใหญ่เฉลี่ยที่ระดับปานกลาง (ระดับ 3) มีเพียงยี่ห้อ LUXURIOUS รุ่น AMBIA ที่ได้ระดับชัดเจน – ปานกลาง (ระดับ 2 - 3) - ปลอกหมอนที่ได้มาตรฐานมากที่สุดในการทดสอบครั้งนี้คือ ยี่ห้อ Ikea รุ่น Gaspa   ตารางที่ 1 แสดงผลทดสอบด้านคุณสมบัติทั่วไปของปลอกหมอน    สรุปผลทดสอบ- จากตัวอย่างที่นำมาทดสอบ ปลอกหมอนยี่ห้อ Lotus รุ่น อิมเพรสชั่น STRIPIES แสดงฉลากระบุจำนวนเส้นใยเกินจริงมากที่สุด   *หมายเหตุ- มาตรฐาน มอก. กำหนดให้ ความคงทนของสีต่อการซัก และ ความคงทนของสีต่อเหงื่อทั้งสภาพกรดและสภาพด่าง  สำหรับประเภทใช้งานทั่วไปตามบ้านเรือน ไม่น้อยกว่า การเปลี่ยนสีระดับ 4 , การเปื้อนสีระดับ 3- ความคงทนของสีต่อการซัก ใช้วิธีการทดสอบ: น้ำสบู่ที่ใช้ (150 มล.) 1993 AATCC STANDARD REFERENCE DETERGENT WOB ความเข้มข้น 4 กรัม / ลิตร - การขึ้นขนและเม็ด ใช้เครื่องทดสอบ: ICI PILLING & SNAGGING TESTER (SDL ATLAS MODEL M227) / เวลาในการทดสอบ: 10 ชั่วโมง / จำนวนรอบการหมุน: 60 ± 2 รอบต่อนาทีฉลาดซื้อแนะ การเลือกซื้อปลอกหมอน- ราคา ชุดเครื่องนอนส่วนใหญ่มักจัดโปรโมชั่นลดราคาบ่อยๆ ผู้บริโภคจึงควรเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ แหล่งก่อนตัดสินใจซื้อ- เส้นใย ความแตกต่างระหว่างชนิดเส้นใยที่นำมาทอ 1. ผ้าฝ้าย (Cotton) เป็นเส้นใยที่ทำมาจากฝ้ายธรรมชาติ ผิวของผ้าจะเรียบเนียน ทนทาน ระบายอากาศได้ดี ราคาค่อนข้างสูง 2. ผ้าที่ได้จากเส้นใยสังเคราะห์โพลีเอสเตอร์ (Polyester)เนื้อผ้าจะไม่ค่อยยับ ราคาค่อนข้างถูก แต่การดูดซับน้ำและการระบายอากาศไม่ค่อยดีนัก นอกจากนี้เมื่อใช้ไปนานๆ มักมีปุ่มขนขึ้นมาบนเนื้อผ้า 3. ผ้าทอผสมระหว่าง Cotton และ Polyester (หรือผ้า TC)ส่วนใหญ่มักผสมกันในอัตราส่วน 65 : 35 ทำให้ได้ผ้าที่มีคุณสมบัติ ไม่ยืด ไม่ย้วยหรือมีความยืดหยุ่นปานกลาง ทนทานต่อการซักได้ดี และสามารถระบายอากาศได้ปานกลาง - จำนวนเส้นใย จากผลทดสอบพบว่าฉลากส่วนใหญ่ที่บอกจำนวนเส้นใยยังไม่มีความน่าเชื่อถือ- เมื่อเรานำปลอกหมอนมาใช้งานจริง ก็ไม่อาจหลีกเหลี่ยงคราบเหงื่อไคลทั้งในสภาวะกรดและด่าง ซึ่งส่งผลให้คุณภาพและสีของปลอกหมอนมีความเปลี่ยนแปลง การทดสอบประสิทธิภาพความคงทนต่อเหงื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่ตัวอย่างทั้งหมดที่เรานำมาทดสอบ มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน แนะนำการดูแลรักษาชุดเครื่องนอน- ควรซักก่อนการใช้งานครั้งแรก โดยไม่ใช้สารฟอกขาว และควรผสมน้ำยาปรับผ้านุ่มกับน้ำก่อนเทลงไป นอกจากนี้ควรแยกผ้าสีเข้มและสีอ่อนก่อนซัก กรณีซักเครื่องควรปั่นแห้งในระดับต่ำ หรือใช้ถุงถนอมผ้า และไม่ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ข้ามคืนเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับข้อมูลบนฉลากตามที่ มอก. กำหนดที่ภาชนะบรรจุผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ และต้องให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน1.    ชื่อผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานนี้2.    ประเภท และ / หรือแบบ3.    ชนิดเส้นใยและส่วนผสมของเส้นใยเป็นร้อยละ4.    จำนวนเส้นด้ายต่อ 546 ตารางมิลลิเมตร (1 ตารางนิ้ว)5.    ด้านกว้าง x ด้านยาวเป็นหน่วยเมตริก สำหรับผ้าปูที่นอนแบบไม่รัดมุม6.    ด้านกว้าง x ด้านยาว x ความยาว ของส่วนรัดมุม เป็นหน่วยเมตริก สำหรับผ้าปูที่นอนแบบรัดมุม7.    คุณลักษณะพิเศษ (ถ้ามี)8.    คำแนะนำหรือคำเตือนในการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจใช้สัญลักษณ์ตาม มอก.7669.    เดือนและปีที่ทำ10.    ชื่อผู้ทำหรือโรงงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน11.    ประเทศที่ทำ ที่ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษรหรือเครื่องหมาย แจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน1.    ชนิดเส้นใยและส่วนผสมของเส้นใยเป็นร้อยละ2.    คำแนะนำหรือคำเตือนในการดูแลรักษาที่เหมาะสม อาจใช้สัญลักษณ์ตาม มอก.766* ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศด้วย หรือใช้ภาษาต่างประเทศเพื่อการส่งออก ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น    

อ่านเพิ่มเติม >