ฉบับที่ 195 ค่าปลงศพ กรณีทำให้เขาตาย เรียกได้แค่ไหน

ในการเรียกร้องให้ชดเชยความเสียหาย กรณีทำละเมิดจนถึงแก่ชีวิต หากเกิดเหตุมีคนในครอบครัว หรือญาติของเรามีอันเป็นไปถึงแก่ชีวิต คนที่ทำละเมิดต้องรับผิดอะไร และเราหรือญาติของเราในฐานะผู้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายจะเรียกร้องอะไรได้บ้าง หลังจากเกิดเหตุเสียชีวิต แน่นอนว่าก็ต้องมีการนำศพไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือประเพณีท้องถิ่น เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย ซึ่งตามกฎหมาย เราเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวว่า “ค่าปลงศพ”  อันได้แก่ ค่าปลงศพ พอตายแล้วจะต้องมีหีบศพ ห่อศพ ฉีดยาป้องกันศพเน่า แต่งตัวให้ศพ แต่งชุดพิเศษหรือชุดที่ชอบ จ้างช่างตัดผมหรือหวีผมให้ หรือว่ากรณีร่างกายถูกรถชนแหลกเหลวจะต้องเย็บให้เข้าที่ ค่าจ้างหมอเย็บศพก็ถือว่าเป็นค่าปลงศพอย่างหนึ่ง ค่าพิธีการรดน้ำศพ สวดศพ ทำบุญอันจำเป็นตามประเพณี ค่าเช่าเมรุเผาศพ เป็นต้น ผู้ที่มีสิทธิเรียกค่าปลงศพได้ ตามกฎหมายกำหนดไว้เฉพาะ คือทายาทผู้มีอำนาจจัดการศพ ตามมาตรา 1649 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์    ดังนั้น ภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจไว้ในการจัดการศพ แม้จะเป็นผู้จัดการศพ ก็เรียกค่าปลงศพไม่ได้ (  (ฎ.212-213/2525) บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดกก็เรียกค่าปลงศพได้ (ฏ. 14/2517 และที่ 1202/2549) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2514ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับค่าปลงศพตามมาตรา 443 วรรค 1หมายความเฉพาะผู้ที่เป็นทายาทของผู้ตายที่จะเรียกร้องเอาแก่ผู้ที่กระทำละเมิด ทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเพราะสิทธิในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยเหตุที่ได้ละเมิดแก่เจ้ามรดกตกทอดมายังตนผู้เป็นทายาทภายใต้บังคับของมาตรา 1649 เท่านั้นมิได้หมายความว่าใครทำศพผู้ตายแล้วก็จะมีสิทธิเรียกร้องค่าทำศพในลักษณะที่เป็นค่าสินไหมทดแทนฐานละเมิดเสียเองได้เสมอไปเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทผู้ตายเพราะไม่ได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายในการปลงศพเป็นค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในการที่จำเลยกระทำละเมิดต่อผู้ตาย (อ้างฎีกาที่ 1314/2505)โจทก์ร่วมแม้จะเป็นมารดาของผู้ตาย แต่เมื่อฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์มาแต่ต้นสิทธิโจทก์ร่วมก็ไม่ดีกว่าโจทก์ โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่อาจเรียกค่าใช้จ่ายในการทำศพผู้ตายได้ ค่าปลงศพใช่ว่าจะต้องจ่ายไปแล้วเท่านั้นถึงจะมาเรียกร้องได้ แม้ว่าจะเป็นค่าปลงศพที่ยังไม่เกิดขึ้น เช่น ทายาทยังไม่ปลงศพทันทีแต่อาจจะจัดการเบื้องต้นโดยเก็บศพไว้ก่อน แล้วค่อยทำ ซึ่งเช่นนี้สามารถเรียกค่าปลงศพในอานาคตได้ แต่กรณีนี้ต้องบรรยายฟ้องมาให้ชัดว่าจะจัดการศพในอนาคตอย่างไร ตามลัทธิประเพณีหรือไม่ ตามสมควรหรือไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่  143/2521ผู้เสียหายย่อมฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดให้ร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ผู้ทำละเมิดกระทำไปในทางการที่จ้างได้ โดยไม่จำต้องบอกกล่าวทวงถามก่อน เพราะถือว่าได้ผิดนัดมาตั้งแต่วันทำละเมิดแล้วเมื่อเหตุที่รถชนกันเกิดเพราะความประมาทของคนขับรถทั้งสองฝ่าย และพฤติการณ์แห่งละเมิดมีความร้ายแรงพอๆ กันความเสียหายย่อมเป็นพับกันไปผู้ตายเนื่องจากการทำละเมิดเป็นบุตรโจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการศพ โดยภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกก็ตาม แต่ค่าใช้จ่ายในการนี้เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยจะยกเอาข้อที่ภรรยาผู้ตายเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายมายกเป็นข้อปัดความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่และแม้โจทก์จะยังไม่ได้จ่ายเงินค่าฌาปนกิจศพผู้ตายก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องได้ถ้าผู้ทำละเมิดช่วยค่าทำศพโดยไม่ยอมรับผิดจะมีลักษณะเป็นการช่วยทำบุญอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการจ่ายค่าปลงศพที่เรียกว่าเป็นค่าสินไหมทดแทน กรณีนี้จะมีบ่อยเวลาเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ฝ่ายเจ้าของรถยนต์ผู้ทำละเมิดจะไปเจรจากับฝ่ายผู้ตายเจรจาในช่วงแรกก็ยังไม่ยอมรับผิด ฝ่ายผู้ตายก็จะเรียกมาก ฝ่ายนี้ก็ไม่ยอมให้อ้างว่าไม่ได้ประมาท ไม่ผิด แต่เพื่อบรรเทาความรู้สึกของฝ่ายผู้ตาย ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาก็จะมอบเงินให้บางส่วน เช่นช่วยไป 10,000 บาท แต่ไม่ได้รับผิดเป็นการบรรเทาความรู้สึก กรณีอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกว่าเป็นค่าปลงศพเพราะว่าจ่ายโดยไม่ได้รับผิด สมมุติต่อมาเขาฟ้องเรียกค่าปลงศพ 100,000 บาท จะไปบอกขอหักที่ช่วยไปแล้ว 10,000 บาท อย่างนี้หักไม่ได้เพราะเป็นการช่วยทำบุญไม่ใช่ช่วยจ่ายค่าปลงศพอันเป็นค่าสินไหมทดแทนคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2528เงินจำนวน 3,000 บาทที่จำเลยที่ 3 ช่วยค่าทำศพในขณะที่จำเลยที่ 3 มิได้ยอมรับผิดว่าการตายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างของตน และมิได้มอบให้ในฐานะเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่ง แต่เป็นการให้ในลักษณะร่วมทำบุญอันเป็นสำนึกในด้านศีลธรรมและเรื่องการบุญการกุศลของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยจะนำมาหักกับจำนวนเงินค่าทำศพที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องไม่ได้สุดท้ายนี้ ขอย้ำว่าแม้ผู้บริโภคจะมีสิทธิเรียกร้องค่าปลงศพดังกล่าว ก็ต้องเรียกตามฐานะและตามสมควรนะครับ ไม่ใช่ว่าจะเรียกร้องได้ตามอำเภอใจ หรือถือโอกาสจัดงานเสียใหญ่โตเกินฐานะ เพราะศาลจะพิจารณากำหนดให้ตามฐานะสมควรเท่านั้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2506ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ทำละเมิดรับผิดใช้ค่าปลงศพรวมทั้งค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นๆ อีกด้วย นั้น จะต้องพิเคราะห์ตามฐานานุรูปของผู้ตาย มิใช่ว่าถ้ามีการใช้จ่ายเงินทำศพตามประเพณีเป็นจำนวนเท่าใดแล้วผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม >