ฉบับที่ 273 ผู้ประกอบการ “ยอดแย่” แห่งปี

        ประมาณช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี องค์กรผู้บริโภคออสเตรเลียหรือเรียกสั้นๆ ว่า CHOICE จะ “มอบ” รางวัลให้กับผู้ประกอบการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคจนสมควรแก่การพูดถึง ปีนี้เป็นการแจกครั้งที่ 18 แล้ว เจ้าของรางวัล Shonky 2023 มีตั้งแต่ร้านค้าปลีก แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า อุปกรณ์ไอที เว็บไซต์ ไปจนถึง “ตู้เย็น”ห้างค้าปลีก Woolworths and Coles ได้รางวัลแชมป์ขูดรีด         ปีนี้คนออสซีเผชิญค่าเช่าแพง ดอกเบี้ยเงินกู้แพง แถมข้าวของยังพากันขึ้นราคาอีกการสำรวจล่าสุดพบว่าร้อยละ 88 ของคนออสเตรเลียกังวลเรื่องราคาอาหารและสินค้าในชีวิตประจำวันเพราะพวกเขาเริ่มรู้สึกว่าได้ของกลับบ้านน้อยทั้งๆ ที่จ่ายเงินมากขึ้น ในขณะที่สองห้างใหญ่โกยกำไรอู้ฟู่         เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาห้างวูลเวิร์ธประกาศว่าปีนี้มีกำไร 1,620 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปีก่อนหน้า ผู้บริหารให้เหตุผลว่าที่กำไรเพิ่มก็เพราะมีค่าใช้จ่ายส่วนที่เกี่ยวกับโควิดน้อยลง หลังทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ ทางห้างโคลส์ก็มีกำไรถึง 1,100 ล้านเหรียญ เช่นกัน         การสำรวจโดย CHOICE ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 60 ของนักช้อปเชื่อว่าสองห้างนี้กำลังกอบโกยกำไรมหาศาลจากการขึ้นราคาสินค้า มีไม่ถึงร้อยละ 20 ที่คิดว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งสองแห่ง (ครองตลาดรวมกันถึงร้อยละ 65) ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้า RentTech แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า ที่ข้อมูลเกินจำเป็น         นอกจากค่าเช่าบ้านที่แพงขึ้นแล้ว คนออสซีจำนวนไม่น้อยยังหาบ้านอยู่ไม่ได้อีกด้วย แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า อย่าง Ignite, 2Apply และ Snug จึงกลายเป็นที่พึ่งสุดท้าย พวกเขาต้องยอมให้ข้อมูลมากมาย เพราะอยากมีที่อยู่ ตั้งแต่สเตทเมนท์ธนาคาร ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ก่อนหน้า บุคคลรับรองจากงานที่ทำล่าสุด 5 งาน หรือแม้แต่รูปถ่ายของลูกๆ และสัตว์เลี้ยง         การสำรวจโดย CHOICE พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ใช้แอปฯ เหล่า รู้สึกไม่พอใจกับปริมาณหรือชนิดของข้อมูลที่ต้องให้กับแอปฯ         ในขณะที่ร้อยละ 41 เคยถูกเจ้าของบ้านกดดันให้ทำเรื่องขอเช่าผ่านแอปฯ มีจำนวนไม่น้อย (ร้อยละ 29)ที่ตัดสินใจไม่เช่าเพราะไม่ไว้ใจแพลตฟอร์มเหล่านี้         CHOICE เสนอว่าถึงเวลาที่รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายควบคุม เพื่อป้องกันการเรียกขอข้อมูลตามใจชอบโดยไม่มีการแจ้งผู้ใช้ว่าจะส่งให้ใคร นำไปใช้อย่างไร และจะเก็บไว้นานแค่ไหน  Personal alarms อุปกรณ์ฉุกเฉินที่ชิลเกินไป         สินค้ายอดนิยมอย่างหนึ่งที่ลูกหลานนิยมซื้อให้ผู้สูงอายุใส่ติดตัวคืออุปกรณ์แจ้งเตือนฉุกเฉิน เจ้าเครื่องนี้ควรจะช่วยให้ผู้ที่สวมใส่ (ห้อยไว้ที่คอ สวมรอบข้อมือ หรือติดเป็นเข็มขัด) สามารถส่งสัญญาณไปขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลได้อย่างรวดเร็ว         แต่การทดสอบของ CHOICE ที่ทำกับอุปกรณ์นี้จำนวน  40 รุ่น พบว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น แม้จะทำหลายปีก็ยังไม่เจออุปกรณ์ที่ดีสักรุ่นเดียว ทั้งตั้งค่ายาก ใช้งานยาก ตัวหนังสือเล็กมาก คู่มือก็ไม่มีให้ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดเองจากอินเทอร์เน็ต ได้มาแล้วก็ยังอ่านยาก เจ้าหน้าที่ทดสอบ (ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี) อ่านเท่าไรก็ยังไม่เข้าใจ ต้องโทรไปถามฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัท แถมต้องชาร์จบ่อย ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความจำจะทำอย่างไร แต่ถึงจะจำได้ก็ชาร์จยากอยู่ดี ซ้ำร้ายบางรุ่นสัญญาณจะขาดหายเวลาที่ผู้ใช้งานอยู่บนยานพาหนะ เช่น รถเมล์ รถไฟ บ้างก็ไม่ส่งเสียงเตือนเมื่อผู้สวมใส่อยู่นอกเขตที่โปรแกรมไว้ สรุปว่าผู้ผลิตต้องปรับปรุงด่วน อุปกรณ์เหล่านี้จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายได้ก็ต่อเมื่อมันทำงานได้จริง Kogan First ทำเนียนเก็บค่าสมาชิก         การซื้อของออนไลน์ เหมือนการเดินฝ่าดงกับระเบิด หูตาต้องไว บางครั้งอาจไม่ใช่การกด “เลือก” แต่เราต้องมีสติและกด “ไม่เลือก” ไม่เช่นนั้นอาจถูกหักเงินในบัญชีบัตรเครดิตโดยไม่รู้ตัว         ผู้ที่ซื้อของกับร้านออนไลน์ของ Kogan หรือ Dick Smith จะเห็นตัวเลือก “ฟรีช้อปปิ้ง” ที่หน้าเช็คเอาท์ มีเครื่องหมายเหมือนถูกกดเลือกไว้แล้ว พวกเขาก็เข้าใจไปว่ามันฟรีตามนั้น แต่มองไม่เห็นตัวหนังสือเล็กๆ ที่แจ้งข้อความทำนองว่า “คุณได้สมัครเป็นสมาชิกเพื่อทดลองใช้บริการของเรา และสามารถใช้ได้ฟรีเป็นเวลาสองสัปดาห์ หากพ้นกำหนดแล้วคุณจะถูกหักเงิน 99 เหรียญ”         CHOICE ทอลองให้ผู้ใช้ 19 คน ลองเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าว และพบว่ามีถึง 9 คนที่ “พลาด” สมัครใช้บริการโดยไม่รู้ตัวว่าอีกสองอาทิตย์จะถูกหักเงิน         ปัจจุบันออสเตรเลียยังไม่มีกฎหมายที่จะสกัดพฤติกรรมแบบนี้ของผู้ประกอบการ ในขณะที่ยุโรป อเมริกาและสิงคโปร์มีแล้ว   Xbox Mini Fridge ตู้เย็นอะไร แช่แล้วไม่เย็น         เครื่องใช้ไฟฟ้านี้เป็นผลงานที่ Microsoft กับ Ukonic ร่วมกันพัฒนาเพื่อตอบโต้เรื่องล้อเลียนบนอินเทอร์เน็ตที่บอกว่าเกมคอนโซล Xbox Series X หน้าตาเหมือนตู้เย็นไม่มีผิด         ไหนๆ ถูกล้อแล้วก็ทำตู้เย็นไปเลย แต่ปัญหาคือมันแช่แล้วไม่เย็นนี่สิ         การทดสอบของ CHOICE ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ 32 องศา พบว่าตู้นี้ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงกว่าจะทำให้เครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง 8 กระป๋อง มีอุณหภูมิ 21 องศา (น้ำเปิดจากก๊อกยังเย็นกว่า) แถมยังกินไฟมากด้วย ถ้าเสียบปลั๊กไว้ทั้งวันทั้งคืนจะกินไฟประมาณ 376 kWh ต่อปี ไม่ต่างกับตู้เย็นขนาด 500 ลิตร ที่ทำความเย็นได้จริงๆ เลย เสียชื่อไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้นำด้านการลดการใช้พลังงานของวิดีโอเกม         CHOICE สรุปว่ามันไม่ใช่ตู้เย็น มันเป็นแค่ตู้เก็บความเย็นที่มีความจุ 10 ลิตร เราต้องนำของไปแช่ในตู้เย็นจริงๆ ก่อนแล้วค่อยเอามาใส่ แถมยังแช่เครื่องดื่มได้น้อยกว่าที่ออกแบบและโฆษณาไว้ เพราะกระป๋องเครื่องดื่มในออสเตรเลียมีขนาดใหญ่กว่าในอเมริกา เลยใส่ได้แค่ 8 กระป๋อง แทนที่จะเป็น 12

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 259 กระแสต่างแดน

รู้เร็วมีสิทธิรอด        ญาติของชายวัย 66 ปีที่ถูกพบเสียชีวิตในห้องน้ำของ MRT ฮ่องกง เตรียมฟ้องบริษัท หลังได้รับแจ้งจากบริษัทว่าปุ่มกดขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในห้องน้ำสำหรับผู้พิการไม่ทำงาน          เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชายคนดังกล่าวซึ่งมากับภรรยาขอตัวไปเข้าห้องน้ำ แต่หายไปนานจนผิดสังเกต ภรรยาจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ช่วยตามหา แต่ก็ไม่มีใครพบตัว ผ่านไปกว่าสี่ชั่วโมง พนักงานทำความสะอาดพบชายคนดังกล่าวเสียชีวิตอยู่ในห้องน้ำผู้พิการ ในฝั่งห้องน้ำหญิง บริษัทแจ้งว่าความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสาร         เมื่อห้องน้ำในสถานีดังกล่าวเปิดให้บริการอีกครั้ง ก็พบว่า “ปุ่มฉุกเฉิน” ในห้องน้ำดังกล่าวใช้งานไม่ได้ แต่ไม่มีหลักฐานว่าในวันเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิตได้กดปุ่มนั้นหรือไม่ เพราะห้องคอนโทรลไม่พบสัญญาณเรียกเข้า          อย่างไรก็ตามบริษัทเตรียมติดตั้งเครื่องตรวจจับ “ความไม่เคลื่อนไหว” เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่อาจหมดสติในห้องน้ำได้ทันเวลา โดยจะเริ่มจากสถานีที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดก่อนงบฯ แก้เหงา         เพราะความเหงาไม่เข้าใครออกใคร รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงอนุมัติงบประมาณ 40 ล้านยูโร (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนโครงการหรือการวิจัยใดๆ ก็ตามที่จะช่วย “ต่อต้านความเหงา” ภายใต้หลักความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ที่ต้องการรู้สึกว่าตัวเองมีความหมาย และเป็นส่วนหนึ่งของอะไรสักอย่าง        การสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งเนเธอร์แลนด์ที่ทำขึ้นในปี 2021 กับผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,000 คน พบว่า ร้อยละ 40 ของคนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้สึกเหงา ในจำนวนนี้บางส่วนตอบว่าเหงาหนักมาก ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากก่อนโควิดระบาดถึงร้อยละ 7         ที่น่าสนใจคือกลุ่มวัยรุ่น ก่อนโควิดมีเพียงร้อยละ 8 แต่หลังจากนั้นเพิ่มเป็นร้อยละ 13.5 ในทางกลับกันจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี ที่รู้สึกเหงากลับลดลง (จากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 9)        ที่เขาต้องจริงจังเพราะความเหงาไม่ได้มาเล่นๆ มันอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นอีกมากมาย เช่น โรคซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น เงินเปิดก๊อกไม่ได้         ปีนี้ “แอลเอ” แล้งเป็นประวัติการณ์ เทศบาลจึงต้องออกระเบียบจำกัดการใช้น้ำของครัวเรือน แต่สำหรับ”ชาวบ้าน” บางส่วนที่เป็นเศรษฐีหรือดาราฮอลลิวูด “ค่าปรับ” อย่างเดียวอาจไม่สามารถหยุดพวกเขาได้         บางเขตจึงใช้มาตรการติดตั้ง “อุปกรณ์จำกัดการไหลของน้ำ” ในบ้านที่ใช้น้ำเกินขีดจำกัดมากกว่าร้อยละ 150 เกินสี่ครั้ง (เกณฑ์นี้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2021) การประปาท้องถิ่นบอกว่าหลังจากดำเนินการมาสองสัปดาห์ ยังไม่เจอบ้านไหนโวยวายหรือขู่ฟ้อง        ทางออกสำหรับรายที่ไม่ต้องการให้ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ซิลเวสเตอร์ สตาโลน คือการทำจดหมายยืนยันว่าจะหาวิธีลดการใช้น้ำลงให้ได้ ส่วนมาดอนนานั้น รายงานข่าวระบุว่าเธอรอดไป เพราะสามารถอธิบายได้ว่า มิเตอร์น้ำที่ขึ้นรัวๆ นั้น เป็นเพราะก๊อกรั่ว และเธอได้ดำเนินการซ่อมแล้ว        การทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว (ซึ่งใช้เวลาติดตั้งไม่กี่นาที) ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกดชักโครกตามปกติ เพียงแต่จะอาบน้ำและล้างจานพร้อมกันไม่ได้ ส่วนการรดน้ำต้นไม้นั้นเป็นไปไม่ได้เลยเยอรมันก็ตื่นตูม         ฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว สินค้าที่คนเยอรมัน “ต้องมี” นาทีนี้คือเครื่องทำความร้อนชนิดใช้ไฟฟ้า เพราะเครื่องที่แต่ละบ้านมีอยู่ล้วนเป็นแบบใช้ก๊าซ ซึ่งอาจไร้ประโยชน์ทันทีถ้ารัสเซียหยุดส่งก๊าซมาให้        ยอดขายฮีทเตอร์ไฟฟ้าในเยอรมนีจนถึงเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 958,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 76 น่าสนใจว่าเทรนด์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้นใน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ซึ่งต้องพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียเหมือนกัน หากเฉลี่ยรวมทั้งห้าประเทศจะพบว่ายอดขายลดลงร้อยละ 5.1 ด้วยซ้ำ        ไม่ใช่แค่ซื้อเยอะขึ้น พวกเขายังซื้อชนิดเบอร์ใหญ่ไฮเอนด์ ซึ่งใช้กำลังไฟสูง ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า โอกาส “โอเวอร์โหลด” จะมีสูงมาก ถ้าทุกบ้านเปิดใช้พร้อมกัน         เจ้าหน้าที่รัฐต้องออกมาให้สติว่าพวกเขากลัวจนลืมไปหรือเปล่าว่า กรณีที่ก๊าซขาดแคลน บ้านเรือน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง จะต้องได้สิทธิในการใช้ก๊าซก่อนภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมอยู่แล้วตามกฎหมาย          และยังแนะนำว่าถ้าจะซื้อก็ขอให้ซื้อผ้าห่มไฟฟ้า ถูกกว่า อุ่นกว่า แถมประหยัดไฟกว่าด้วยคุมก่อน เคลียร์ทีหลัง        แอปฯ Buy Now Pay Later (BNPL) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เพราะถูกใจนักช้อปที่ไม่มีหรือไม่ต้องการผ่อนบัตรเครดิต เพราะกู้ง่าย ไม่มีค่าธรรมเนียม        ในอเมริกา หลังการระบาดของโควิด แอปฯ ประเภทนี้ (เช่น Klarna Affirm ZipCo Paypal และ After Pay) มีผู้ใช้มากขึ้นถึง 200% มียอดเงินกู้รวมกันมากถึง 24,200 ล้านเหรียญ         แต่แอปฯ BNPL ไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรายงานเครดิต คนที่จะปล่อยกู้ ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ คู่แข่ง หรือบริษัทสินเชื่ออื่นๆ จะไม่มีทางรู้ได้ว่าคนที่จะเป็นลูกหนี้ตัวเองนั้นมีหนี้มาแล้วเท่าไร มีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ และ BNPL ยังกำหนด “ค่าปรับ” การชำระเงินล่าช้าได้ตามใจ อย่างที่เคยเป็นข่าวในออสเตรเลีย        สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของสหรัฐฯ (Consumer Financial Protection Bureau) จึงเริ่มจับตากิจการนี้  แม้จะไม่มีอำนาจโดยตรงแต่ก็มั่นใจว่าสามารถกำกับดูแลบริษัทเหล่านี้ได้ เพราะทำกิจการไม่ต่างกับบริษัทเงินกู้แบบดั้งเดิม ถ้าใครข้องใจอะไรเดี๋ยวค่อยมาว่ากัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 259 ฉุกเฉิน! ฉุกเฉิน! เตรียมพร้อมด้วย ThaiEMS 1669

        เหตุฉุกเฉินเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดหรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดทันทีทันใดโดยไม่ทันได้ตั้งตัว ซึ่งสถานการณ์ในลักษณะนี้ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นนั้น จะช่วยทำให้ลดระยะเวลา ลดแรงกดดันได้มากทีเดียว ฉบับนี้จึงพามารู้จักกับแอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า ThaiEMS 1669          เมื่อต้องการความช่วยเหลือ แอปพลิเคชั่น ThaiEMS 1669 สามารถช่วยคุณได้ทันที โดยสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีในทุกระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟน แอปพลิเคชั่น ThaiEMS 1669 ถูกพัฒนาขึ้นโดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉินกับประชาชนอย่างรวดเร็วและทันท่วงทีอย่างครบครัน         เริ่มแรกให้ลงทะเบียนเข้าใช้งาน โดยมีวิธีการลงทะเบียนให้เลือก 4 รูปแบบ ได้แก่ ลงทะเบียนด้วย EMS Smart Card คือการใช้เลขบัตรประชาชน 13 หลักในการลงทะเบียนเข้าระบบ ลงทะเบียนด้วย Facebook ลงทะเบียนด้วย email และลงทะเบียนด้วยข้อมูลส่วนตัว คือการใช้ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ เลขประจำตัวประชาชน หรือกรณีที่เคยลงทะเบียนมาแล้วก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชั่นครั้งแรกแนะนำให้ลงทะเบียนด้วยข้อมูลส่วนตัวก่อน         หน้าแรกของแอปพลิเคชั่นจะปรากฏปุ่มสีแดงสำหรับกดเรียกรถพยาบาล ซึ่งทำให้ง่ายต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก และเหมาะกับการเกิดเหตุฉุกเฉินที่สุด ขณะรอรถพยาบาลเดินทางมาถึง สามารถกดปุ่มติดตามสถานะแจ้งเหตุได้ การกดปุ่มสีแดงจะสามารถระบุพิกัดตำแหน่งที่อยู่ผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างแม่นยำ ทำให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถส่งภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องเพิ่มไปได้พร้อมกัน เพื่อให้ทีมแพทย์ฉุกเฉินทราบถึงสถานการณ์นั้นได้อีกทาง         สำหรับหมวดเมนู ตรงบริเวณมุมด้านขวาบน จะรวบรวมรายละเอียดต่างๆ เป็นหมวดหมู่ที่เน้นเรื่องการให้ความรู้ความเข้าใจ ตั้งแต่วิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ ข้อมูลการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีหมดสติกะทันหัน โรคลมชัก หัวใจวาย โรคหอบหืด กระดูกหัก ภาวะอุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่าปกติ สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ เป็นต้น และเรียนรู้การคัดแยกภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการตรวจสอบโรงพยาบาลใกล้เคียงพร้อมเส้นทางที่ช่วยนำทางไปยังโรงพยาบาลนั้นได้         นอกจากนี้ด้านข้างของปุ่มสีแดงสำหรับกดเรียกรถพยาบาล จะเห็นปุ่มที่มีสัญลักษณ์ AED เป็นปุ่มที่ช่วยค้นหาตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติที่ใกล้ที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ส่วนปุ่มที่มีสัญลักษณ์ CPR จะเชื่อมต่อไปยังวิธีการปฐมพยาบาลในรูปแบบ CPR และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ทั้งนี้ควรศึกษาข้อมูลไว้ล่วงหน้า        แนะนำดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ThaiEMS 1669 มาติดสมาร์ทโฟนไว้ เพื่อเพิ่มความอุ่นใจให้ตัวเราและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว อย่างน้อยให้สามารถกดปุ่มฉุกเฉินเรียกรถพยาบาลและแจ้งพิกัดได้ทันที เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 สถานการณ์ฉุกเฉินจาก โรคติดต่อร้ายแรง Covid 19 ในเยอรมนี และเทคโนโลยีการพบแพทย์ที่ไม่ต้องเดินทางไปคลินิก

        วันนี้ผมขอนำเสนอสถานการณ์ของประชาชนในเยอรมนี ซึ่งกำลังประสบกับสถานการณ์ภัยพิบัติของ โรคติดต่อร้ายแรง Covid-19 ซึ่งทางเวบไซต์ของมูลนิธิทดสอบสินค้า ( Stiftungswarentest) ได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้บริโภค ในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งของข้อมูลทางวิชาการที่เป็นกลาง เชื่อถือได้ และขอแนะนำการให้บริการปรึกษาแพทย์แบบ VDO call ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจาก โควิด 19 ดังนี้  เราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของ โลก กับการระบาดของ Covid-19 ได้จากไหนบ้าง         สำหรับประชาชนชาวเยอรมันสามารถหาข้อมูล ที่ทันสมัยได้จากเวบไซต์ของสถาบันวิชาการอิสระ Robert Koch Institute(https://www.rki.de/DE/Content/InfAZ/N/Neuartiges_Coronavirus/nCoV.html) ที่เผยแพร่จำนวนของผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค Covid 19 ซึ่งมีการปรับปรุงให้ทันสมัย และทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศ หรือพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ได้ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับ แผนที่แบบ อินเตอร์แอคทีฟของศูนย์ระบบวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม (Center for Systems Science and Engineering: CSSE) ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University แห่งสหรัฐอเมริกา(https://gisanddata.maps.arcgis.com/apps/opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6) เราสามารถทราบถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของประเทศปลายทางที่จะเดินทางไปได้อย่างไร         กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกคำเตือนประชาชนที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2563 แนะนำให้ยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะมีข้อจำกัดในการเดินทางทางอากาศ และมาตรการการกักตัว เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ และการจำกัดการใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ และบางประเทศกระทรวงต่างประเทศก็ประกาศยกระดับ เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และอาจไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ถ้ามีมาตรการปิดประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเยอรมนีมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนที่ติดค้างอยู่ในต่างประเทศ โดยจัดลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งสามารถดูข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มเติมจากเวบไซต์ของกระทรวงต่างประเทศได้ เราสามารถยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ ที่เป็นประเทศเสี่ยงในการติดเชื้อ Covid-19 โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมได้หรือไม่         ผู้โดยสารสามารถใช้เหตุ ความไม่ปรกติของสถานการณ์ในการยกเลิกการเดินทางไปประเทศที่เสี่ยงกับการติดโรค โควิด-19 ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สำหรับความหมายของคำว่า ความไม่ปรกติ ในกรณีของประเทศเยอรมัน คือ การประกาศเตือนของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้เป็นข้ออ้างได้ในการขอยกเลิกการเดินทาง จริงๆ แล้ว มีสภาพบ่งชี้ อื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการขอยกเลิกการเดินทางได้เช่นกัน เช่น การปิดเมือง การปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางจุด การปิดประเทศทีเราอาต้องเดินทางผ่าน         ในกรณีที่เราจองกรุปทัวร์ไว้ และเตรียมตัวจะเดินทางก่อน 1 เดือน หรือ 2-3 สัปดาห์ ในกรณีของ ภัยพิบัติและความเสี่ยงสูงจากการติดโรค Covid-19 ก็เข้าเกณฑ์ในการเกิด เหตุการณ์ไม่ปรกติ บริษัททัวร์ต้องคืนค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับนักท่องเที่ยว โดยต้องไม่มีค่าธรรมเนียมในการบอกเลิกการเดินทาง (หมายเหตุ สำหรับกรณีอื่นๆ นั้น ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมาย แล้วแต่กรณีในการที่จะ ใช้เหตุความไม่ปรกติของสถานการณ์) แพทย์สามารถให้คำปรึกษาผ่านระบบ VDO ได้แล้ว ประชาชนควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง         ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านทางระบบ VDO call โดยจะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ แต่บริการนี้แพทย์ต้องเป็นฝ่ายเสนอการให้บริการลักษณะนี้เอง ปัจจุบันการให้บริการผ่าน VDO call ยังมีข้อจำกัดอยู่ และทำได้เพียง 20 % ของเคสเท่านั้น ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2020 คาดว่า จะสามารถให้บริการผ่าน VDO call ได้เต็มที่ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับแพทย์ที่จะเปิดให้บริการผ่าน VDO call ต้องใช้ระบบ VDO call ที่ผ่านการรองรับมาตรฐานแล้วเท่านั้น         สำหรับการพบแพทย์ด้วยเทคโนโลยี VDO call นี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานๆ และต้องรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการที่จะติดเชื้อระหว่างการรอพบแพทย์ และยังมีอาการเจ็บป่วยไม่มาก หรือการไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบอาการหลังการรักษา การให้คำปรึกษาของแพทย์ด้วยเทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม ปีที่แล้ว (2019) การให้คำปรึกษาของแพทย์จะมีค่าธรรมเนียมที่คิดคำนวณจากระบบประกันสุขภาพ และไม่จำเป็นที่แพทย์และผู้ป่วยจะต้องรู้จักหรือพบปะกันมาก่อน นอกจากนี้ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิคก็สามารถใช้บริการ VDO  Call กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง (Care Giver) ได้อีกด้วย         สำหรับผู้ป่วยที่สนใจบริการผ่าน VDO Call จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเลคโทรนิค ที่ติดตั้ง ไมโครโฟน ลำโพง และเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต และต้องผ่านระบบการนัดคิวของผู้ป่วยกับแพทย์ ที่สำคัญระบบ VDO Call ต้องเป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการรักษาความลับของผู้ป่วย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล        แนวทางปฏิบัติของเยอรมนีนั้น ผมคิดว่า เยอรมนีได้วางระบบการปรึกษาแพทย์ผ่าน VDO call ซึ่งสามารถลดปัญหาการติดโรค โควิด-19 ได้ดีระดับหนึ่ง และอาจเป็นทางเลือกการให้บริการผู้ป่วยของไทยในอนาคตอันใกล้ หลังจากผ่านวิกฤติ โควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของมนุษยชาติตามมา  แหล่งข้อมูล มูลนิธิทดสอบสินค้า (Stiftungswarentest e.V.) https://www.test.de/Coronavirus-Was-Sie-zum-neuen-Virus-aus-China-wissen-sollten-5570361-0/#question-1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 เงินฉุกเฉิน’ เบาะกันกระแทกที่ต้องมีก่อนก้าวต่อไป

        เชื่อว่าคนจำนวนหนึ่งมีเงินออมอยู่บ้าง มากน้อยก็ว่ากันไป แล้วเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ไหม? เช่น อยู่ๆ ต้องซ่อมรถ ต้องเข้าโรงพยาบาล ตกงาน หรือเหตุใดๆ ให้ต้องใช้เงินด่วน คนส่วนใหญ่ทำยังไงล่ะ? ก็เอาเงินออมนั่นแหละออกมาจ่าย เงินออมมีไว้เพื่อสิ่งนี้ไม่ใช่เหรอ?        ผิด เงินออม ก็คือเงินออมที่เราตระเตรียมไว้เพื่อต่อยอดให้งอกเงยผ่านการลงทุนอะไรก็ว่ากันไป         ส่วนเงินที่มีไว้เผื่อใช้จ่ายในคราวจำเป็นจริงๆ เขาเรียกว่า ‘เงินฉุกเฉิน’ อย่าทำเป็นเล่นไป เงินส่วนนี้สำคัญมากเพราะมันจะเป็นเบาะกันกระแทกอย่างดีเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันและต้องใช้เงินด่วน         โดยทั่วไปแล้วมีคำแนะนำว่า ควรมีเงินฉุกเฉินอย่างน้อย 3-6 เดือน (บางคนมีเงินฉุกเฉินถึง 1 ปีกันเลยทีเดียว) หมายความว่าถ้าคุณมีรายจ่ายต่อเดือน 20,000 บาท คุณก็ควรมีเงินฉุกเฉินอย่างน้อย 60,000 -120,000 บาท เห็นจำนวนเงินแล้วคงมีคนร้อง โอ้โห! แค่จะเก็บเงินธรรมดายังยากเย็น นี่แค่เงินฉุกเฉินทำไมต้องเยอะขนาดนี้         เศรษฐกิจช่วงนี้ซบเซา ยังไม่มีทีท่าจะกระเตื้อง ลองจินตนาการว่าคุณตกงาน รายได้ประจำที่เคยมีหายวับไป คุณจะทำยังไงล่ะ? แน่นอน หางานใหม่ที่คงต้องใช้เวลาอยู่บ้าง การมีเงินก้อนนี้ไว้จะทำให้คุณอุ่นใจไปได้อย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งน่าจะยาวนานพอให้คุณตั้งหลักหรือหางานได้         ตรงกันข้าม ถ้าคุณไม่มีเงินส่วนนี้เลย ลำบากแน่ โอเค คุณมีอาจเงินออมอยู่บ้าง แต่ไม่พอยื้อได้นาน จบลงด้วยการกู้หนี้ยืมสิน ค่อนข้างเป็นฉากที่เลวร้ายว่าไหม? แถมเงินออมที่ตั้งใจจะเอาไปซื้อบ้าน เรียนต่อ ก็ต้องหายวับไปกับตายเพราะความประมาทว่าชีวิตจะราบรื่น ไม่มีสะดุด         พูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่าคุณต้องตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงินฉุกเฉินอย่างเดียว คุณทำมันพร้อมๆ กับเก็บเงินออมได้ เพียงแค่จัดสรรเงินของตนทุกเดือนว่าส่วนไหนเงินออม ส่วนไหนเงินฉุกเฉิน        จะเก็บเงินฉุกเฉินไว้ที่ไหน? มี 2 แหล่ง ที่แรกก็ในเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปเพราะสามารถถอนออกมาได้เร็วทันสถานการณ์ อีกที่คือกองทุนตราสารเงิน ความเสี่ยงต่ำ ถ้าคุณส่งคำสั่งเอาเงินออกวันนี้ เงินจะเข้าบัญชีที่คุณผูกไว้กับกองทุนในวันรุ่งขึ้น ช้ากว่าเงินฝากนิดหน่อย แต่ให้อัตราผลตอบแทนดีกว่าเงินฝากนิดหน่อย (นักลงทุนใช้กองทุนตราสารเงินเป็นแหล่งพักเงินระหว่างที่ยังไม่รู้ว่าจะทำอะไรกับเงินก้อนนี้)        ปัญหาอยู่ที่ว่าคุณต้องมี ‘วินัย’ (เรื่องนี้สำคัญมากเช่นกัน ไว้จะพูดถึงในคราวต่อๆ ไป) แยกแยะให้ได้ว่าอะไรฉุกเฉินจริงๆ เพราะบัตรเอทีเอ็มอยู่ในมือ แบบว่าช่วงเซลล์ 50 เปอร์เซ็นต์กำลังจะหมดเขต ต้องรีบช้อป นี่ไม่ฉุกเฉินแน่นอน         การมีเงินฉุกเฉินยังช่วยให้การออมเงินไม่สะดุด ถึงเป้าหมายการออมได้โดยไม่ต้องมีเรื่องกวนใจ         ส่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือประสบอุบัติเหตุ ตรงนี้สามารถกระจายความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันช่วยรับภาระได้ อาจพูดได้ว่าเป็นเงินฉุกเฉินที่เราซื้อไว้ด้วยราคาที่ต่ำกว่า แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพูดแยกออกมาอีกตอน         จะให้ดีกว่านั้น เราคงต้องช่วยกันผลักดันสวัสดิการสุขภาพของทุกกองทุนสามารถดูแลเราได้อย่างมีคุณภาพ เท่าเทียม ทั่วถึง ครอบคลุมให้มากขึ้น และบังคับใช้กฎเกณฑ์อย่างจริงจังกับโรงพยาบาลเอกชน ถ้าทำได้ เรื่องฉุกเฉินด้านสุขภาพร่างกายก็เบาลงไปเยอะเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 225 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤศจิกายน 2562

ปฏิรูปห้องฉุกเฉิน สปสช. พร้อมจัดบริการนอกเวลาราชการ        สปสช. แถลงผลการประชุม วันที่ 13 พฤศจิกายน ระบุที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอการใช้สิทธิบริการสาธารณสุขตามนโยบาย ‘บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินคุณภาพ’ ซึ่งนำเสนอโดย นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ ว่า เพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉินเพื่อให้ผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินวิกฤตและเร่งด่วนได้รับบริการมีคุณภาพมากขึ้น แยกการบริการเจ็บป่วยไม่รุนแรงและเจ็บป่วยทั่วไปออก เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการที่ไม่ถึงเกณฑ์เจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วนมีสิทธิ์เข้ารับบริการนอกเวลาราชการ         โดยมีการออกประกาศตามข้อ 10 วรรคสอง ของข้อบังคับมาตรา 7 กำหนดเพิ่ม ‘เหตุสมควรอื่นเพื่อลดความแออัดในห้องฉุกเฉินและเพิ่มคุณภาพในการใช้บริการนอกเวลาราชการ’ เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลาราชการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและได้รับบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน กำหนดเงื่อนไขจัดบริการนอกเวลาราชการเฉพาะหน่วยบริการเฉพาะที่มีศักยภาพตามแนวทางบริการฉุกเฉินคุณภาพ ซึ่งจะแยกจัดบริการเป็น 2 ห้องชัดเจนตามมาตรฐานคือ ห้องฉุกเฉินคุณภาพเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตและเจ็บป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีแดงและสีเหลือง) และห้องฉุกเฉินไม่รุนแรงเพื่อดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) และที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลา พร้อมแยกระบบข้อมูลบริการนอกเวลาราชการ         นอกจากนี้ได้เพิ่มค่าบริการสาธารณสุขนอกเวลาราชการในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง และผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องรับบริการนอกเวลาราชการเป็นรายการบริการใหม่ โดยกำหนดอัตราชดเชยค่าบริการ 150 บาทต่อครั้ง ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 คาดว่าจะมีการรับบริการประมาณ 1.05 ล้านครั้ง หรือร้อยละ 10 ของการรับบริการผู้ป่วยนอก ใช้งบประมาณไม่เกิน 157.50 ล้านบาท โดยในระหว่างนี้จะเป็นการใช้เงินกองทุนรายการรายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสมในการดำเนินการหมอเผยพบมะเร็งเต้านมในสาวอายุน้อยเพิ่มขึ้น!         ในงานเสวนา “Save Your BREAST” จัดโดยมูลนิธิถันยรักษ์ รพ.ศิริราช กลุ่มอาร์ตฟอร์แคนเซอร์ และชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย เผยข้อมูลสำคัญว่า มะเร็งเต้านมคร่าชีวิตของผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ดังนั้นผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นและมีอายุน้อยลง         รศ.ดร.นพ.สืบวงศ์ จุฑาภิสิทธิ์ กล่าวว่า หากตรวจพบเร็วในระยะแรกจะเป็นผลดีต่อการรักษา เพราะทุกวันนี้เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทั้งการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องเมมโมแกรมและอัลตราซาวนด์ที่ทันสมัยสามารถตรวจพบตั้งแต่ก้อนเล็ก ทั้งวิธีการผ่าตัด การฉายรังสีรักษา การให้ยาคีโม ยาต้านฮอร์โมน และยารักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) ที่พัฒนาก้าวหน้า สามารถรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแรกให้มีโอกาสหายได้ หรือรักษาผู้ป่วยระยะลุกลามให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นปีหน้าลด-เลิกถุงพลาสติก ก่อนประกาศกฎหมายห้ามใช้เต็มตัว        มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอใช้กลไกขับเคลื่อนการงดใช้ถุงพลาสติก โดยจะมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และภาคเอกชน         “ภายในวันที่ 1 ม.ค. 63 จะลดและเลิกใช้ถุงพลาสติกที่ใช้กันทั่วไปอยู่ในทุกวันนี้แบบครั้งเดียวทิ้ง หรือที่ทุกคนเรียกกันว่า “ถุงก๊อบแก๊บ” เพื่อให้หันไปใช้ถุงกระดาษหรือถุงผ้า จากนั้นในวันที่ 1 ม.ค. 64 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะขอให้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการห้ามใช้ถุงพลาสติก แบบครั้งเดียวทิ้งด้วย” นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวกสทช.ยืนยันประเทศไทยจะมี 5G ใช้อย่างแน่นอน ภายในเดือน ก.ค. 2563        นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในช่วงต้นเดือน ก.พ. 2563 คาดว่าจะเปิดประมูลคลื่นสำหรับทำ 5G พร้อมกัน 4 คลื่น ได้แก่ 700 MHz,1800 MHz, 2600 MHz และ 26 GHz เพื่อให้สามารถออกใบอนุญาตได้ไม่เกิน 20 ก.พ. 2563 และเริ่มลงทุนโครงข่ายในช่วงต้นเดือน มี.ค. 2563 เพื่อภายในเดือนก.ค. 2563 ผู้ชนะการประมูลจะสามารถเปิดให้บริการ 5G ในบางพื้นที่ที่มีความต้องการได้ ระวังภัยโรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis         สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ ออกโรงเตือนคนวัยทำงาน ระวังภัยโรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis ทำให้แขนขาอ่อนแรง ชาตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ตามองไม่เห็นหรือมองภาพซ้อน พบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี         นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเอ็มเอส คือโรคที่เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นประสาทในสมองและไขสันหลัง สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น ความไม่สมดุลของภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อไวรัสบางชนิด พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุ 20-40 ปี ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ตามองไม่เห็นหรือมองภาพซ้อน ปัญหาเกี่ยวกับการกลืน การออกเสียง สะอึก ปวดแสบร้อน หรือคล้ายไฟช็อต การทรงตัวที่ผิดปกติ ภาวะเมื่อยล้า ปัญหาด้านความจำ อารมณ์ ความคิด และการควบคุมการขับถ่าย         ทั้งนี้ โรคดังกล่าวไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยแต่ละคนจะแสดงอาการแตกต่างกัน บางคนอาการหนัก หรือบางคนแสดงอาการเป็นครั้งคราว และไม่สามารถคาดเดา จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อีกทั้งปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแบบให้หายขาด แต่เป็นการรักษาเพื่อฟื้นฟูร่างกายและควบคุมอาการไม่ให้แย่ลง โดยแพทย์ให้คำแนะนำว่า ผู้ป่วยควรงดสูบบุหรี่ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงความเครียด         โรคเอ็มเอส เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตนเอง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรรีบมาพบแพทย์เพื่อรักษาได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 ใช้สิทธิฉุกเฉินไม่ได้

ก่อนหน้านี้เราเคยเสนอเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคหลายรายที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่ไม่สามารถใช้สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าได้ ปัจจุบันเราก็ยังพบปัญหานี้อยู่ แต่มีความคืบหน้ามาให้ผู้บริโภคได้รู้กันช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คุณสมจิตรเรียกรถพยาบาลให้รีบมารับเพื่อนที่มีอาการหมดสติอยู่ภายในบ้าน ซึ่งได้ถูกนำส่งไปยังโรงพยาบาลเปาโล เพราะอยู่ที่ใกล้ที่สุดในขณะนั้น โดยแพทย์ได้ช่วยเหลือด้วยการพาเข้าห้องไอซียู อย่างไรก็ตามก่อนทำการรักษา ทางโรงพยาบาลได้เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลล่วงหน้าเป็นเงิน 50,000 บาท ซึ่งคุณสมจิตรก็ยินยอมจ่ายเงินดังกล่าวไปในเวลาต่อมาเพื่อนของเธอได้เสียชีวิตลง แต่ภาระอื่นๆ ยังคงอยู่ เพราะแพทย์ได้แจ้งว่ายังมีค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมอีกเกือบ 1,000 บาท ซึ่งคุณสมจิตรก็ได้จ่ายเพิ่มไปอีกครั้ง แต่เธอก็สงสัยว่ากรณีดังกล่าวสามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้หรือไม่ จึงสอบถามไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และได้รับการตอบกลับว่า กรณีดังกล่าวสามารถใช้สิทธิฉุกเฉินได้ โดยให้ทางโรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการเบิกจ่ายผ่านระบบของ สปสช. ได้เลย อย่างไรก็ตามเมื่อคุณสมจิตรติดต่อกลับไปยังโรงพยาบาลก็พบว่า ทางโรงพยาบาลไม่ได้ทำเรื่องตั้งเบิกให้และไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ คุณสมจิตรจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องส่งเอกสารต่างๆ มาเพิ่มเติม ได้แก่ ใบเสร็จการชำระเงิน สำเนาบัตรประชาชนของผู้เสียชีวิต และช่วยร่างหนังสือถึง สปสช. เกี่ยวกับมาตรฐานการรักษาพยาบาลโดยการเรียกเก็บเงินล่วงหน้า และทำหนังสือถึงโรงพยาบาลเพื่อให้ดำเนินการตั้งเบิกกองทุนฉุกเฉิน พร้อมโทรศัพท์สอบถามที่โรงพยาบาลถึงการจัดตั้งกองทุนฉุกเฉิน ซึ่งเจ้าหน้าที่แจ้งว่ายังไม่มีการตั้งเบิก อย่างไรก็ตามสำหรับกรณีดังกล่าวจะนำเรื่องเข้าพิจารณาและขอติดต่อกลับมา โดยภายหลังได้มีการเยียวยาผู้ร้องด้วยการแจ้งว่าจะตั้งเบิกกรณีฉุกเฉินให้ แต่จะได้รับเงินคืนเพียง 10,000 กว่าบาท โดยเช็คจะออกอีกประมาณ 2 เดือนถัดไป ซึ่งผู้ร้องจึงยินดีรับข้อเสนอดังกล่าวและขอยุติเรื่องร้องเรียนทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหากรณีการใช้สิทธิฉุกเฉินที่ไม่ทั่วถึง ทาง สปสช. จึงได้ได้ออกประกาศล่าสุด โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุดฟรี โดยไม่ต้องจ่ายเงินใน 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งกลุ่มอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินที่สามารถใช้สิทธิได้มี 6 ประเภท ดังนี้ 1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ 2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง 3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม 4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลันรุนแรง 5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และ 6. มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตนอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลแต่ละแห่งรับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว จะต้องดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของตน โดยไม่มีเงื่อนไขการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรกนอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลแต่ละแห่งรับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว จะต้องดูแลรักษาเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของตน โดยไม่มีเงื่อนไขการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลในระยะ 72 ชั่วโมงแรก แต่ให้เรียกเก็บจากกรมธรรม์ประกันภัย หรือกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิรักษาพยาบาลตามกฎหมาย เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคม กรมบัญชีกลาง หรือตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายตามที่ภาครัฐกำหนด เช่น ค่าห้องผ่าตัดใหญ่ 2,400 บาท/ชั่วโมง ค่าอัลตราซาวน์ 1,150 บาท/ครั้ง ค่า MRI สมอง 8,000 บาท/ครั้ง ค่าลิ้นหัวใจเทียม 29,000 บาท/อัน ค่าสายยางและปอดเทียม 80,000 บาท/ชุด ส่วนการรักษาพยาบาลหลัง 72 ชั่วโมงนั้น ให้โรงพยาบาลที่รับตัวผู้ป่วยฉุกเฉินส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิรับการรักษาอยู่ ซึ่งจะเข้าสู่ระบบปกติ แต่หากผู้ป่วยประสงค์จะรักษาต่อในโรงพยาบาลแห่งนั้นก็จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง อย่างไรก็ตามหากใครสงสัยว่าจะสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้หรือไม่ก็สามารถโทรศัพท์สอบถามก่อนได้ที่สายด่วน 1669 (ฟรี) เพื่อช่วยให้เกิดการคัดกรองที่ถูกต้อง รวมทั้งหากพบผู้ป่วยฉุกเฉินก็สามารถโทรแจ้งที่เบอร์สายด่วนดังกล่าวได้เช่นกัน โดยมีแนวทางในการแจ้งรายละเอียดดังนี้ 1. ให้ข้อมูลว่าเกิดเหตุอะไรมีผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บในลักษณะใด 2. บอกสถานที่เกิดเหตุเส้นทางจุดเกิดเหตุให้ชัดเจน 3. บอกเพศ ช่วงอายุ อาการจำนวนผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บ 4. บอกระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย 5. บอกความเสี่ยงที่อาจเกิดซ้ำ เช่นอยู่กลางถนนหรือรถติดแก๊ส 6. บอกชื่อผู้แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ 7. ช่วยเหลือเบื้องต้นตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และ 8. รอทีมกู้ชีพมารับผู้ป่วยเพื่อนำส่งโรงพยาบาล หรือในกรณีที่มีข้อสงสัยอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์ประสานงานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โทร. 02-8721669 หรือสายด่วน สปสช. 1330

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน

เทศกาลสงกรานต์กำลังมาเยือนในปี 2560 หลายคนอมยิ้มกับเทศกาลนี้เพราะได้หยุดยาวหลายวันทีเดียว ซึ่งบางคนวางแผนกลับบ้านต่างจังหวัด หรือบางครอบครัววางแผนท่องเที่ยว สิ่งที่สำคัญของเทศกาลนี้คือการเดินทาง ไม่ว่าจะวางแผนในเรื่องใดก็ต้องมีการเดินทางเกิดขึ้น และการเดินทางทุกครั้งจะต้องระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ที่ทุกคนอาจจะสนุกสนานจนลืมนึกถึงความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้คาดหมาย เมื่อเกิดอุบัติเหตุก็จะมีการบาดเจ็บร่างกายขึ้น  ฉบับนี้ผู้เขียนจึงนำแอพพลิเคชั่นที่จะสามารถช่วยเหลือในเบื้องต้นเกี่ยวกับปฐมพยาบาลที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นั่นคือ แอพพลิเคชั่น EMS 1669 ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. ได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส, โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสอนวิธีการปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับร่างกาย วิธีใช้แอพพลิเคชั่นนี้ง่ายมาก เมนูจะปรากฏทั้งหมด 5 หมวด ได้แก่ หน้าแรกหมวดเรียกรถพยาบาล ภายในหน้านี้จะปรากฏปุ่มวงกลมสีแดงสำหรับกดเรียกรถพยาบาลเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน หมวดที่สองจะเป็นวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน จะมีข้อมูลปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างเช่น วิธีการปฏิบัติเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ วิธีปฏิบัติเมื่อผู้บาดเจ็บหมดสติกะทันหัน การเกิดอาการชัก อาการหัวใจวาย โรคลมแดด โรคหอบหืด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถผู้ปฐมพยาบาลสามารถปฏิบัติได้อย่างทันถ่วงที หมวดที่สามจะเป็นการเรียนรู้การคัดแยกภาวะฉุกเฉิน เพื่อเรียนรู้การรับมือกับอาการต่างๆ ที่จะเกิดกับผู้บาดเจ็บ ซึ่งส่วนท้ายของแต่ละอาการภายในหมวดนี้จะมีการรวบรวมคำถามคำตอบที่มีประโยชน์ไว้  หมวดที่สี่เป็นหมวดคัดแยกภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ปฐมพยาบาลสามารถตัดสินใจและประเมินสถานการณ์ โดยแอพพลิเคชั่นจะบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้นเพื่อให้เป็นหลักในการประเมินว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วนหรือไม่หมวดสุดท้ายเป็นหมวดโรงพยาบาล โดยภายในหมวดนี้จะรวบรวมโรงพยาบาลที่อยู่บริเวณโดยรอบ พร้อมที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ระยะทางจากจุดเกิดเหตุไปยังโรงพยาบาล และแผนที่การเดินทาง เส้นทางการเดินทางที่เชื่อมต่อกับ google map ได้ทันที นอกจากนี้ได้รวบรวมโรงพยาบาลทุกจังหวัดในประเทศโดยมีทั้งโรงพยาบาลรัฐบาลและโรงพยาบาลเอกชนลองดาวน์โหลดมาศึกษาและเรียนรู้การปฏิบัติตนในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกันนะคะ เพื่อเป็นความรู้และสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น แต่สิ่งที่ดีที่สุดก็คือทุกครั้งที่มีการเดินทางควรมีความระมัดระวังควบคู่ไปด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนธันวาคม 2552 2 ธ.ค. 52บุกจับอาหารเสริมปลอม กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมกับคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันจับกุมและยึดผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแอลคาร์นิทีน ตราหมอจุฬา ผลิตภัณฑ์อาหารลดน้ำหนัก ตรา SHAPE MINUS และกาแฟ 7 รายการ กว่า 2,000 ชิ้น มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท ของบริษัท ยินดีเนเจอร์โปรดักส์ จำกัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตจาก อย.   โดยการบุกเข้าจับกุมและยึดผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ พบ นาง นพธีรา ยินดี เจ้าของบริษัท ยินดีเนเจอร์โปรดักส์ จำกัด พร้อมกับสินค้าของกลาง ซึ่งตรวจสอบพบว่ามีการปลอมเลข อย. และแสดงเลขสารบบอาหารไม่ถูกต้อง จึงยึดไว้เป็นหลักฐาน เบื้องต้นได้แจ้งข้อหาผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีฉลากเพื่อลวง จัดเป็นอาหารปลอม สำหรับของกลางที่ตรวจยึดมาได้จะนำส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบสารที่ใช้เป็นส่วนผสม หากพบว่ามีการใช้สารอันตรายจะพิจารณาแจ้งข้อหาเพิ่มเติมกับผู้ต้องหาต่อไป +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 14 ธ.ค. 52 พบเฝือกคอเก๊ในรถฉุกเฉินของสาธารณสุข นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ได้สั่งห้ามนำเข้าชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อนหรือเฝือกคอของ บริษัท สุพรีม โพรดักส์ จำกัด และบริษัท FIEU Corporation .co.ltd ตัวแทนจำหน่าย PHILADELPHIA COLLAR ในประเทศไทย ซึ่งใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินในรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉินของหน่วยกู้ชีพจำนวน 232 คัน หลังพบความผิดปกติของหมายเลขลิขสิทธิ์สินค้าที่ไม่ตรงกัน ระหว่างเลขบนสติกเกอร์กับเลขตัวนูนบนชุดป้องกันกระดูก และบางชิ้นเลขที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ เป็นเลขของผลิตภัณฑ์ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน จึงเข้าข่ายอุปกรณ์การแพทย์ปลอม ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ชุดป้องกันกระดูกคอเคลื่อน ที่บริษัท สุพรีม นำเข้ามายังไม่มี Certificate of Free Sales หรือการแจ้งขอผ่อนผันการนำเข้า ถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 6) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 2.5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่ง อย.จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ 19 ธ.ค. 52 กิน “ปลาร้า” ระวัง! เจอยาฆ่าแมลง นพ.วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) นครราชสีมา เปิดเผยว่า จากการออกตรวจสอบและสุ่มเก็บตัวอย่างปลาร้า ปลาแห้ง และอาหารทหารแห้งที่ตลาดย่าโม เขตเทศบาลนครนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผลตรวจสอบเบื้องต้นพบสารฆ่าแมลงในสินค้าดังกล่าวจำนวน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 32 ซึ่งได้แจ้งตักเตือนผู้จำหน่ายถึงผลการตรวจสอบไปแล้วพร้อมให้หยุดการจำหน่ายทันที และจะขยายผลหาที่แหล่งผลิตเพื่อติดตามผู้ผลิตมาดำเนินคดีต่อไป สำหรับผู้บริโภคแนะให้ควรสังเกตดูว่า หากอาหารที่จำหน่ายใกล้เคียงมีแมลงวันตอม แต่ไม่ตอมปลาร้าก็ให้สงสัยว่าปลาร้านั้นปนเปื้อนสารฆ่าแมลงและควรปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ โฆษณาแฝงครองเมือง มีเดียมอนิเตอร์ ” เผยผลสำรวจ “ โฆษณาตรงโฆษณาแฝง ” พบ 3-5-7-9 โฆษณาตรงเกินกฎหมาย ขณะที่โฆษณาแฝงลามทุกรายการ เว้นข่าวพระราชสำนัก ประชุมรัฐสภา แย่สุดใช้เด็กเป็นร่างทรงโชว์สินค้าในรายการ นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการเฝ้าระวังสื่อฯ กล่าวว่า แม้ไทยใช้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุโทรทัศน์ พ . ศ . 2551 เพื่อ ควบคุมการโฆษณา แต่ยังพบปัญหาข้อกฎหมายตามไม่ทันกลยุทธ์ของผู้ประกอบการ เนื่องจากปัจจุบันมีการโฆษณาแฝงมาก ไร้กฎหมายควบคุมที่ชัดเจน อีกทั้งมีการใช้วิธีเปลี่ยนแปลงรูปแบบและการโฆษณา ขณะที่กรมประชาสัมพันธ์ ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ ระเบียบ การโฆษณาเพื่อบังคับใช้กับสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ นายธาม กล่าวว่า จากการศึกษาโฆษณาตรงทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 25-27 ก.ย. 2552 ตลอด 24 ชั่วโมง พบว่า มี 4 ช่องที่โฆษณาเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ 1. ช่อง 9 รวม 3 วัน มีการโฆษณาเกิน 192 นาที หรือเฉลี่ยวันละ 1 ชั่วโมง 2. ช่อง 3 โฆษณาเกิน 149 นาที 3. ช่อง 7 โฆษณาเกิน 111 นาที และ 4. ช่อง 5 โฆษณาเกิน 106 นาที ขณะที่ช่อง 11- สทท . ไม่พบการโฆษณาตรงเกินกว่าที่กำหนด นอกจากนี้เมื่อวัดจากจำนวนที่มีการโฆษณาแฝง พบมากที่สุด คือ ช่อง 5 มีการโฆษณาแฝงถึง 85.8% ช่อง 9 มีการโฆษณาแฝง 83.3 % ช่อง 7 โฆษณาแฝง 74.8% ช่อง 3 โฆษณาแฝง 68.7% และช่อง 11 โฆษณาแฝง 48.1% วิธีการโฆษณาแฝงที่พบบ่อยที่สุด คือ 1 . โฆษณาแฝงสปอตสั้นหรือวีทีอาร์ โดยใช้ภาพโฆษณาสินค้า ประมาณ 4-7 วินาที ในช่วงเข้าเนื้อหารายการ 2 .โฆษณาแฝงวัตถุ โดยตั้งใจจัดฉากให้เห็นสินค้าชัดเจน โดยเฉพาะฉากละครซิทคอมที่ร้านขายสินค้าจะเป็นจุดหลักของการโฆษณา ส่วนรายการข่าวจะนิยมใช้แก้วกาแฟ กล่องนม ซองขนมปัง และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค 3.การโฆษณาแฝงภาพกราฟฟิก มีความถี่บ่อย ฉายเวียนซ้ำกันในระหว่างเบรก และ4. การโฆษณาแฝงไปกับเนื้อหา แม้จะพบในระดับที่ไม่มาก แต่มีลักษณะที่แนบเนียน “ การโฆษณาดังกล่าว ถือว่าผิดกฎหมาย ตามพรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 มาตรา 23 ว่าด้วยสัดส่วนการโฆษณาธุรกิจ เนื่องจากการโฆษณาตรงต้องออกอากาศในช่วงที่ไม่ใช่เนื้อหารายการ โดยใช้เกณฑ์การโฆษณาธุรกิจ เฉลี่ยทั้งวันต้องไม่เกิน 10 นาทีต่อชั่วโมง อย่างไรก็ตามมีหลายช่องที่โฆษณาแฝงแทบทุกรายการ ยกเว้นการถ่ายทอดสดการประชุมรัฐสภา ข่าวพระราชสำนัก นอกจากนี้ยังพบว่ารายการเด็กและเยาวชน มีการใช้กลยุทธโฆษณาแฝงที่แนบเนียน จัดฉากให้เด็กมีส่วนร่วมในการโชว์สินค้า เด็กหรือผู้ร่วมรายการเป็นเหมือนร่างทรง ทั้งที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ ” +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ค้านหลักสูตรแพทย์อินเตอร์ หวั่นกระทบวงการสาธารณสุข น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยที่โรงเรียนแพทย์ผลักดันหลักสูตรแพทย์นานาชาติ เพื่อผลิตแพทย์ไทยให้สามารถรักษาผู้ป่วยต่างชาติ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลกระทบกับวงการสาธารณสุข ทั้งการแย่งชิงทรัพยากรบุคคลหรืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค “แพทยสภาควรปลดล็อกการสอบใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากภาษาไทยเพียงอย่างเดียวให้เป็นภาษาอังกฤษด้วย แล้วเปิดให้แพทย์ต่างชาติเข้ามาสอบโดยระบุให้แพทย์ต่างชาติต้องรักษาผู้ป่วยของชาติตัวเองในสถานพยาบาลเอกชนเท่านั้น ผู้ป่วยชาติใดมากก็แบ่งเป็นสัดส่วนกันไป น่าจะทำให้การที่ไทยจะเป็นเมดิคัลฮับยังคงเดินหน้าต่อไปได้ ขณะเดียวกันในส่วนของอาจารย์แพทย์คนไทยที่เก่งๆ ก็จะมีเวลากลับมารักษาคนไทยด้วย” น.ส.สารี กล่าวในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นวันที่ 16-18 ธันวาคม ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ในหัวข้อการประชุมวิชาการในเรื่อง สองแพร่ง หลักสูตรแพทย์นานาชาติทางเลือกระหว่างโลกาภิวัตน์กับสุขภาพคนไทย ด้าน นพ.เสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะดูแลเรื่องการจัดสรรกำลังคนด้านสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยยังมีความต้องการบุคลากรในวิชาชีพสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์เป็นอย่างมาก นโยบายของสธ.ยังมีการขยายงานให้มีแพทย์บริหารจัดการโรงพยาบาลระดับอำเภอทุกแห่งด้วย ดังนั้นถือว่าประเทศยังขาดแคลนแพทย์อยู่ การผลิตแพทย์หลักสูตรนานาชาติเพื่อรองรับผู้ป่วยต่างชาติจึงไม่เหมาะสมในช่วงเวลานี้ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ องค์กรผู้บริโภคคัดค้านการขึ้นค่าโทลล์เวย์โหด เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ออกมาคัดค้านการขึ้นค่าโทลล์เวย์ จากกรณีที่บริษัททางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ ประกาศขึ้นราคาค่าโทลล์เวย์ตลอดสาย จาก 55 บาทเป็น 85 บาท ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2552 เพราะเป็นการขึ้นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค และไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพของประชาชน แม้จะเป็นการทำตามสัญญาสัมปทาน แต่ต้องไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสาธารณะ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคต้องการให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจทางปกครองสั่งการให้กรมทางหลวงยุติการอนุมัติให้ขึ้นราคาค่าโทลล์เวย์ ไม่เช่นนั้นจะดำเนินการฟ้องร้องต่อคณะรัฐมนตรีที่ดำเนินการโดยไม่รักษาผลประโยชน์สาธารณะ เพราะประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับบริการสาธารณะในอัตราที่อิงกับต้นทุน มิใช่อัตราการคืนทุนตามที่กำหนดโดยสัญญาตามที่เจ้าของทุนต้องการ การอ้างของคณะรัฐมนตรีว่าเป็นไปตามสัญญาสัมปทานนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่ทำลายความชอบธรรมของการมีรัฐบาลเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ เพราะหากให้สัญญาที่ทำกับเอกชนซึ่งมุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนมาใช้ปิดปากอำนาจของรัฐในการกำหนดอัตราค่าบริการซึ่งเรียกเก็บจากประชาชนผู้ใช้บริการ ย่อมเป็นสัญญาทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยหลักของกฎหมายและเป็นสัญญาสัมปทานที่ไม่เป็นธรรม เพราะเป็นสัญญาที่อนุญาตให้เอกชนทำบริการสาธารณะแทนรัฐ ที่สำคัญสัญญานี้ไม่ได้เกี่ยวพันเพียงแค่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมากที่ต้องรับผลจากสัญญาดังกล่าว"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 เจ็บป่วยฉุกเฉิน ยังคงต้องสำรองจ่าย

แม้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทุกแห่งโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า ซึ่งประกาศไปเมื่อปี 2555 แต่ก็ยังเกิดปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินบางราย ไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ ดังกรณีของผู้ร้องรายนี้สามีของผู้ร้องเป็นโรคหัวใจ ซึ่งขณะที่กำลังเดินทางอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าก็เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ทำให้หมดสติ ต่อมาจึงได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยกู้ชีพ นำส่งไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดในขณะนั้นคือ โรงพยาบาลพระราม 9 แต่ภายหลังเข้ารับการรักษา สามีของเธอก็ได้เสียชีวิตลง อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ไม่ได้จบแค่นั้น เมื่อทางโรงพยาบาลให้วางเงินมัดจำนวนเกือบ 80,000 บาท เป็นค่ารักษาพยาบาล แม้ผู้ร้องจะแจ้งว่าขอใช้สิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ก็ได้รับคำตอบว่าให้เบิกคืนได้ที่กองทุนฉุกเฉิน เธอจึงต้องระดมหาเงินจำนวนดังกล่าวมาให้กับโรงพยาบาล ภายหลังจ่ายเงินเรียบร้อย เธอจึงไปติดต่อเบิกเงินคืนจาก สปสช. ซึ่งได้คืนประมาณ 19,000 บาท ส่วนที่เหลือกองทุนแจ้งว่า ต้องไปทำเรื่องขอความอนุเคราะห์เบิกกับที่โรงพยาบาลดังกล่าวแทน ดังนั้นเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ผู้ร้องจึงขอความช่วยเหลือมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้ผู้ร้องต้องการทราบว่าจะได้รับเงินที่จ่ายไปแล้วคืนหรือไม่ ศูนย์ฯ จึงช่วยทำหนังสือประสานงานไปยัง สปสช. และโรงพยาบาลดังกล่าว โดยอ้างตามสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบายรัฐบาล ภายหลังทางโรงพยาบาลยินยอมที่จะไม่เรียกเก็บเงิน พร้อมคืนเงินส่วนต่างทั้งหมดให้ ดังนั้นแนวทางสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินรายอื่นๆ ที่ไม่ต้องการเสียเงินเมื่อเข้ารับการรักษา มีดังนี้1. หากเลือกโรงพยาบาลได้ควรเป็นของรัฐ เพราะเจรจาต่อรองได้ง่ายกว่าเมื่อเกิดปัญหา2. ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งสำหรับการวินิจฉัยว่าเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ แพทย์จะพิจาณาตามข้อบ่งชี้ ดังนี้ - โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต หรืออันตรายต่อผู้อื่น- โรคหรืออาการของโรคที่มีลักษณะรุนแรง ต้องรักษาเป็นการเร่งด่วน- โรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต- โรคหรือลักษณะอาการของโรคที่คณะกรรมการกำหนด- ความดันโลหิต ชีพจร อาการของโรค การวินิจฉัยโรค แนวทางการรักษาและความเร่งด่วน ในการรักษารวมทั้งคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับบริการที่มีต่อการป่วยด้วย3. หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ต้องยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉิน โดยอ้างสิทธิตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งหากเจรจาตกลงกันไม่ได้ ควรแจ้งเรื่องที่สายด่วน สปสช. (โทรฟรี) 1330 4. เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่องอ้างอิงข้อมูล: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forpeople_useuc.aspx#b และ http://indyconsumers.org/main/index.php/information/handbook/health-service-157/168-571028016  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 เจ็บป่วยฉุกเฉิน สิทธิการรักษาที่สร้างความสับสน

นิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”   คงจะใช้ไม่ได้ในหลายกรณี เช่นเดียวกับผู้ป่วยรายนี้   คุณสายันห์  อายุ 61 ปี อาศัยอยู่แถว ซ.ประชาอุทิศ 19  ทุ่งครุ  เกิดอาการล้มหมดสติ เวลาประมาณ 23.00 น ในวันที่ 3 มกราคม 2557  ญาติได้นำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน   ระหว่างที่นำส่งญาติทราบดีว่าสิทธิของผู้ป่วยอยู่ รพ.ตากสิน แต่ขณะที่อยู่บนรถ คุณสายันห์ เกิดอาการหยุดหายใจ ญาติจึงเร่งนำตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งแพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน จนกระทั่งอาการดีขึ้นต่อมาเมื่อเจ้าหน้าที่เรียกเก็บค่ารักษาคุณสายันห์ เป็นเงิน 148,324 บาท  ญาติถึงกับตกใจ ภรรยาคุณสายันห์ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี จึงได้ขอให้ทางโรงพยาบาลย้ายคุณสายันห์ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลตากสินตามสิทธิ  แล้วจึงไปกู้เงินนอกระบบเพื่อนำกลับมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลแรกที่ช่วยรักษาคุณสายันห์ ปัญหาคือ ทำไมโรงพยาบาลจึงไม่แจ้งเรื่องสิทธิฉุกเฉิน 3 กองทุนที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ ทำไมต้องมาแบกรับภาระค่ารักษาทั้งๆ ที่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพเมื่อมารักษาที่โรงพยาบาลตากสิน จนอาการดีขึ้นแพทย์อนุญาตให้กลับไปรักษาต่อที่บ้านได้ แต่ญาติๆ พบว่าผู้ป่วยไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้ เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งอาจจะเกิดจากช่วงที่หัวใจหยุดเต้นก่อนถึงโรงพยาบาล  ปัจจุบันต้องมีคนคอยดูแลตลอดเวลาตามนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน”  อาจเป็นเพียงภาพลวงตาที่ไม่สามารถเป็นจริงได้ เช่นกรณีคุณสายันห์ป่วยฉุกเฉินด้วยอาการหยุดหายใจเฉียบพลัน ซึ่งเข้าตามเกณฑ์ที่สภาพยาบาลได้ให้ไว้  แต่สุดท้ายก็ต้องจ่ายเงิน(อย่างตกใจ)ไปก่อน พอได้ทราบเรื่องสิทธิและตามเบิกตามสิทธิแห่งตน ก็ได้รับการอนุมัติเงินคืนค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปก่อนหน้านั้นเพียง 16,543  บาท  หากเทียบกับยอดค่าใช้จ่ายที่ญาติผู้ป่วยจ่ายไป 148,324 บาท ยังไม่ได้ถึง 20% ของจำนวนเงินดังกล่าวเลย คำถามจึงเกิดขึ้นมาว่า อะไรคือมาตรฐานในการพิจารณาค่ารักษากรณีฉุกเฉิน  แล้วทำไมสถานพยาบาลจึงไม่มีข้อมูลแจ้งต่อผู้ป่วยหรือญาติ ในการอธิบายหรือช่วยประสานงานกับหน่วย EMCO หรือหน่วยดูแลกองทุนฉุกเฉิน ของ สปสช. ทำให้ผู้ป่วยหลายรายต้องกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เมื่อตัดสินใจเข้ารักษาที่โรงพยาบาลใกล้ที่สุดจากกรณีป่วยฉุกเฉิน ด้วยหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยลดทอนค่าใช้จ่ายลงได้ แต่กลับพบว่ามันไม่เป็นจริง แนวทางแก้ไข1. ประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพเพื่อตรวจสอบกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเจ้าหน้าที่ 1330 ได้แจ้งให้ประสานไปยังโรงพยาบาลเอกชนที่เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยเพื่อทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO2. ประสานโรงพยาบาลที่ทำการรักษาให้ทำเรื่องเคลมค่ารักษาพยาบาลไปยังสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ EMCO3. เมื่อได้รับการอนุมัติค่ารักษาแล้วพบว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนได้ ที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือ สปสช.   นโยบายรัฐให้คำจำกัดความเรื่องเจ็บป่วยฉุกเฉินว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน หมายถึง  ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ หรือมีอาการบ่งชี้ว่าจะเป็นอาการที่คุกคามต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ได้แก่ หัวใจหยุดเต้น หอบหืดขั้นรุนแรงมีอาการเขียวคล้ำของปากและเล็บมือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว สิ่งแปลกปลอมอุดกั้นหลอดลมทั้งหมด อุบัติเหตุรุนแรง  มีเลือดออกมาก ภาวะช็อกจากการเสียเลือดหรือขาดน้ำอย่างรุนแรง แขน ขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ชักตลอดเวลา หรือชักจนตัวเขียว มีไข้สูงกว่า 40 องศา ถูกสารพิษ สัตว์มีพิษกัด หรือได้รับยามากเกินขนาด ถูกสุนัขกัดบริเวณใบหน้าหรือลำคอ รักษาทุกที่ หมายถึง สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ทุกรพ.ทั้งรัฐและเอกชนที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ถูกถามสิทธิก่อนการรักษา ไม่ต้องสำรองจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล ไม่ถูกบ่ายเบี่ยงการรักษา และได้รับการดูแลรักษาจนกว่าอาการจะทุเลาลง ทั่วถึงทุกคน หมายถึง  ผู้ที่มีสิทธิของ 3 กองทุน ประกอบด้วย กลุ่มข้าราชการและครอบครัว (ประมาณ 5 ล้านคน) จากกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการกรมบัญชีกลาง กลุ่มลูกจ้างพนักงาน (ประมาณ 10 ล้านคน) จากกองทุนประกันสังคม กลุ่มประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (ประมาณ 48 ล้านคน) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ   สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้บริโภคเวลาที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องปฏิบัติดังนี้ ข้อควรปฏิบัติในการนำผู้ป่วยฉุกเฉินไปโรงพยาบาล กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1)       ต้องเตรียมบัตรประจำตัวประชาชนผู้ป่วยไปด้วยทุกครั้ง ถ้าอยู่ในวิสัยที่ทำได้ 2)       เข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หากเลือกได้ ขอให้เป็นโรงพยาบาลของรัฐ เพราะโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพ 3)       ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ป่วย (ถ้ามี) พร้อมแจ้งการขอใช้สิทธิฉุกเฉินกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หากไม่มีบัตรประชาชน ให้แจ้งชื่อ-สกุลผู้ป่วย แล้วรีบนำบัตรประชาชนมายื่นภายหลัง 4)       หากโรงพยาบาลเรียกเก็บเงิน ให้ยืนยันการใช้สิทธิฉุกเฉินตามสิทธิที่มี และอ้างนโยบายรัฐบาล แต่หากเจ้าหน้าที่ยังยืนยันจะเก็บเงิน ซึ่งส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นเงินมัดจำ แล้วจะคืนให้เมื่อเบิกจาก สปสช. ได้  ให้โทรไปสายด่วน 1330 สปสช. เพื่อให้เจราจากับโรงพยาบาล 5)       เมื่อแพทย์แจ้งว่าผู้ป่วยพ้นวิกฤตและสามารถเคลื่อนย้ายได้แล้ว ให้ประสานโรงพยาบาลตามสิทธิเพื่อย้ายผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อเนื่อง 6)       หากได้รับความเสียหายในการใช้สิทธิ สามารถแจ้งเรื่องได้ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช.) สายด่วน 1330  และกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้แจ้งเรื่องไปที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) 7)       กรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการ ผู้มีสิทธิบัตรทอง สามารถยื่นเรื่องขอรับการเยียวยา ความเสียหาย จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 41   ภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่ วันที่ทราบถึงความเสียหาย       //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 เพื่อชีวิต

จั่วหัวอย่างนี้ท่านผู้อ่านคงไม่คิดว่าผู้เขียนจะเขียนถึงบรรดาเพลงเพื่อชีวิตใช่มั้ย....เพราะเราจะเขียนเรื่องเพื่อชีวิตจริงๆ ที่เกิดขึ้น ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าจังหวัดสมุทรสงครามพอดีวันนั้นผู้เขียนมีเหตุอันต้องพาผู้บาดเจ็บไปทำแผลที่นั่นพอดี  ส่งคนเจ็บเข้าห้องฉุกเฉินไปแล้ว ก็นั่งอ่านหนังสือรอเพื่อพาคนเจ็บกลับบ้าน นั่งได้สักพักก็ได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วยด้วยๆ ดังแว่วมาพร้อมกับเสียงบีบแตรรถดังตามมา เสียงนั้นดังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว  และสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะได้เห็นในโรงพยาบาลก็เกิดขึ้น  เมื่อมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างขับบุกขึ้นมาบนโรงพยาบาล(ขึ้นมาตามทางลาดสำหรับคนพิการ)บนรถมีผู้หญิงอุ้มเด็กพาดบ่าซ้อนท้ายมาด้วย  ปากก็ตะโกนร้องช่วยด้วยๆ และตื่นซิลูกๆ ตลอดเส้นทางมอเตอร์ไซด์ปรี่มายังห้องฉุกเฉิน  โดยไม่มีรปภ.และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลคนใดมาขัดขวาง เรียกได้ว่าเข้ามาแบบโล่งๆ กันเลย   และพอถึงหน้าห้องฉุกเฉินก็มีภาพที่ผู้เขียนรู้สึกประทับใจมากคือพยาบาลในห้องฉุกเฉินเปิดประตูให้รถคันนั้นเข้าไปส่งเด็กที่ป่วยถึงในห้องฉุกเฉิน  ผู้เขียนนั่งตะลึง รู้สึกขณะนั้นว่า เฮ้ย..มันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย...     ณ นาทีนั้นเห็นได้ว่าไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนออกมาบอกว่าเข้าไม่ได้ผิดระเบียบโรงพยาบาล แม้แต่ห้องฉุกเฉินก็ไม่กลัวเชื้อโรคที่ติดมากับรถแต่อย่างใดผู้เขียนเห็นสีหน้าแววตาของคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เขามีความมุ่งมั่นที่จะช่วยชีวิตเด็กคนนั้นจริงๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงแต่ค่าโดยสาร เพราะเขาส่งเด็กแล้วเขาไม่ได้เรียกเงินค่าจ้าง ซ้ำยังยืนรอว่าเด็กที่เขาพามาจะรอดหรือไม่   ทุกฝ่ายมุ่งเพื่อชีวิตจริงๆ ทุกฝ่ายต่างมุ่งที่การช่วยชีวิตของเด็กคนนั้นเป็นสำคัญโดยไม่ยอมให้กฎระเบียบใดๆ มาขัดขวางการช่วยเหลือ  สรุปเด็กคนนั้นปลอดภัยผู้เขียนก็โล่งอกไปด้วย  ใครจะว่าเจ้าหน้าที่ละเลยปล่อยให้มอเตอร์ไซด์เข้าไปในห้องฉุกเฉินได้อย่างไรก็ตาม แต่ผู้เขียนรู้สึกซาบซึ้งกับภาพที่เห็นอย่างบอกไม่ถูก  และพูดได้เลยว่านี่แหละสังคมไทยที่แท้จริง  คือเราต้องเอื้ออาทรกับความทุกข์ร้อนของเพื่อนมนุษย์ มากกว่าจะเอากฎระเบียบมาเป็นอุปสรรค    เห็นอย่างนี้แล้วไม่อยากเก็บไว้คนเดียวจึงเขียนมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นกำลังใจให้กันว่าสังคมไทยของเรายังอบอุ่นและยังมีความเอื้ออาทรต่อกัน   แม้สังคมไทยจะสับสนวุ่นวายแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างไร แต่คนไทยก็ยังเป็นคนไทยอยู่วันยังค่ำ เราไปเป็นคนอื่นไม่ได้วิถีเราเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เป็นอย่างที่คนบางกลุ่มอยากให้เป็น ประเทศไทยเรายังมีเรื่องน่ารักๆอย่างนี้อีกมากมาย เรายังมีความหวังขอให้กำลังใจต่อคนทำดีและขอคารวะด้วยใจจริงๆ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 กระแสต่างแดน

  อย่างนี้มันต้องถอน(ให้หมด) สมาคมบัตร เอทีเอ็มประเทศเวียดนาม  เรียกร้องให้เพิ่มค่าธรรมเนียมถอนเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็ม(ATM) ของต่างธนาคารจาก 3, 300 เป็น 5, 500 ด่องเวียดนาม ในแต่ละครั้งที่มีการถอนเงิน พร้อมขออนุญาตให้สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินจากตู้ ATM จากธนาคารเจ้าของบัตรในครั้งที่ 4 ซึ่งก่อนหน้านี้การถอนเงินสามครั้งถูกหน่วยงานปฏิเสธไม่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม   สมาคมอ้างว่า การเพิ่มค่าธรรมเนียมถอนเงินสดของต่างธนาคารจะช่วยลดภาระการขาดทุนในการลงทุนตู้ ATM และเพื่อหลักประกันและความปลอดภัยของตู้ รวมทั้งจากเดิมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดสำหรับลูกค้าจากตู้ ATM ธนาคารของตนเอง รวมทั้งปัญหาของลูกค้าที่ลูกค้ามักจะถอนเงินทั้งหมดจากบัตรเพื่อฝากในบัญชีออมทรัพย์และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่ธนาคารไม่ได้ประโยชน์จากการเก็บเงินไว้ในตู้ ATM ขณะที่นักวิชาการเวียดนาม ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของสมาคมธนาคาร “ปัญหาสำคัญคือคุณภาพบริการที่ไม่เหมาะสมกับการขึ้นราคา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาตู้ATM ที่มักจะยึดบัตร ตู้ใช้การไม่ได้ หรือถอนเงินแล้วไม่มีเงินออกมาแต่ถูกหักบัญชีไป หรือแม้แต่ปัจจุบันที่ธนาคารส่วนใหญ่บังคับให้มีเงินขั้นต่ำไว้ ถึงแม้จะน้อยแต่ก็เป็นเงินให้ธนาคารหาประโยชน์โดยไม่มีต้นทุนใด ๆ และที่สำคัญธนาคารไม่ควรลงทุนในการขยายเครือข่าย ATM ให้มากเพราะในอนาคตแนวโน้มการชำระเงินที่ไม่ใช้เงินสดจะถูกพัฒนามากขึ้น   อยากมีทางด่วนแบบนี้บ้าง ประเทศอาเจนตินา มีกติกาที่น่าสนใจเรื่องการใช้ทางด่วน โดยเขาได้ออกเป็นกฎกระทรวงสำหรับให้ผู้ใช้ทางด่วนแห่งชาติ โดยมีการระบุรายละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ทาง ทั้งเรื่องระยะเวลาในการรอชำระค่าผ่านทาง และจำนวนยานพาหนะในการรอจ่ายเงินในแต่ละช่องทาง   โดยกำหนดให้การรอจ่ายเงินไม่เกินสามนาทีสำหรับเส้นทางพิเศษของรถประเภทเดียวกัน หรือห้านาที สำหรับเส้นทางการจราจรที่มีรถหลายประเภท  หรือจำนวนรถสูงสุดไม่เกิน 20 คัน ของรถที่รอชำระเงินค่าผ่านทางในแถวเดียวกัน และเมื่อไหร่ที่เข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ทางพิเศษต้องเปิดทางให้กับรถทุกคัน นั่นหมายความว่า ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกค้าได้เลย   ใครไปประเทศนี้ไม่ต้องแปลกใจหากได้ยินเสียงแตรเมื่ออยู่บนทางด่วนเพราะเป็นสัญญาณให้ไม้กั้นทางด่วนยกขึ้นและใช้ทางด่วนได้ฟรี เพราะไม่ทางด่วนไม่สามารถประกันเรื่องระยะเวลาที่รอหรือจำนวนรถที่มากเกิน 20 คันตามที่กำหนดไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค ------------------------------------------------------------------------------- มหาวิทยาลัยสตรีใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าโลกมุสลิมจะเคร่งครัดในประเพณีปฏิบัติเรื่องสิทธิ หญิง ชาย ทำให้หญิงมุสลิมจำนวนมากขาดโอกาสทางการศึกษา แต่ที่ซาอุดิอาระเบียที่นี่กลับก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะเขาเพิ่งเปิดมหาวิทยาลัยสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก กษัตริย์ อับดุลลาห์ แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้ทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน (Princess Nora bint Abdulrahman University – PNU) อย่างเป็นทางการ ด้วยศักยภาพในการรองรับนักศึกษาถึง 50,000 คน ทำให้ มหาวิทยาลัยปรินเซสโนราฯ นี้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับสูงและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสำหรับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ใช้งบประมาณในการสร้างถึง 200 ล้านเหรียญ ริยาลซาอุ  นาย อิบราฮิม อัล อัสแซบ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของซาอุฯ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบการศึกษาสำหรับผู้หญิงและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศนี้ของผู้หญิง”  นอกจากศักยภาพในการรองรับจำนวนมาก และการเปิดสอนในภาควิชาที่ผู้หญิงหาเรียนได้ยากในบางมหาวิทยาลัยที่เข้มงวดในเรื่องการแบ่งเพศชายและหญิงในชั้นเรียนแล้ว ม.ปรินเซส โนรา ยังมีสิ่งปลูกสร้างพร้อมอุปกรณ์การเรียน เครื่องไม้เครื่องมือเพื่อการศึกษาต่างๆ ที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ศูนย์วิจัย และห้องสมุดที่มีหนังสือและบทความต่างๆ กว่าห้าล้านเล่ม สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษของมหาวิทยาลัยนี้คือ ศูนย์กีฬาขนาดใหญ่สำหรับผู้หญิง และพื้นที่พักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับนักศึกษาได้ถึง 12,000 คน นาย อับอัสแซบ กล่าวเสริม มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถูกออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าที่มีความกว้าง 40000 ต.ร.เมตร ซึ่งพลังงานที่ได้นั้น 16% ใช้ไปกับการผลิตความร้อน และ 18% ในการทำความเย็นภายในมหาวิทยาลัย อีกหนึ่งความสะดวกและทันสมัยที่ต้องกล่าวถึงของมหาวิทยาลัยปรินเซส โนราคือ ระบบขนส่งภายในที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีรถไฟของมหาวิทยาลัยซึ่งเชื่อมต่อกับทุกอาคารและศูนย์ฯ ต่างๆ ให้บริการนักศึกษาตลอด 24 ชม. และไม่ใช่เพียงสาธารณูปโภคที่ทันสมัยเท่านั้น มหาวิทยาลัย ปรินเซสโนรา ยังมี โรงกำจัดขยะ โรงบำบัดน้ำเสีย โกดังเก็บของ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพื่อการตอบสนองและการดูแลมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างครบวงจรอีกด้วย งานนี้เรียกว่าใหญ่ครบวงจรจริงๆ ------------------------------------------------------------------------------- ห้องฉุกเฉิน มีก็เหมือนไม่มี ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่เพิ่งออกกฎหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับปัญหาห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในเขตคนจนที่อาศัยอยู่ในเมือง  จากการศึกษาซึ่งตีพิมพ์เป็นบทความของสมาคมการแพทย์อเมริกา พบว่าจำนวนห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยในเขตเมืองในสหรัฐอเมริกาช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีอัตราลดลงจาก 2,440 ห้อง ในปี 1990 เหลือ 1,779 ห้องในปี 2009 ถึงแม้ว่าอัตราจำนวนห้องฉุกเฉินจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 35% ทั่วประเทศก็ตาม  โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ต่างพากันปิดแผนกฉุกเฉิน โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ดำเนินการเน้นในเชิงธุรกิจ เนื่องจากห้องฉุกเฉินไม่ทำกำไรให้กับโรงพยาบาล ในรายงานการศึกษาพบว่า เกือบสองเท่าของห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่ดำเนินการเชิงธุรกิจและโรงพยาบาลที่ได้ผลกำไรต่ำมักปิดแผนกฉุกเฉินลง เนื่องจาก 40% เป็นการให้บริการแก่ผู้ป่วยยากจน  สำหรับผู้ป่วย “บางคนคิดว่า ตราบเท่าที่ยังมีห้องฉุกเฉินอยู่ พวกเขาก็ยังรู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง” ดร.ฮะเซีย นักวิจัยซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิโรเบิร์ต วูด จอห์นสัน กล่าว แต่ถึงแม้ว่าจะยังมีห้องฉุกเฉินใกล้บ้านให้อุ่นใจ พวกเขาก็ยังได้รับผลกระทบจากการมีห้องฉุกเฉินเพียงไม่กี่ห้องอยู่ดี เพราะจำนวนห้องที่มีน้อยทำให้ผู้ป่วยต้องรอนานขึ้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพในการรักษา  สถานการณ์การมีห้องฉุกเฉินน้อยอาจจะยิ่งเลวร้ายกว่านี้ เนื่องจากกฎหมายการดูแลสุขภาพฉบับใหม่ จะมีผลต่อแผนการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนยากจน เพราะบ่อยครั้งที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากห้องฉุกเฉินเนื่องจากหมอไม่ยอมรักษาผู้ป่วยภายใต้โครงการประกันสุขภาพของรัฐ  ดร.แซนดร้า เอ็ม ชไนเดอร์ ประธาน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ตามกฎหมายแล้ว ห้องฉุกเฉินต้องให้การรักษา โดยต้องไม่คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่ารักษาของผู้ป่วย แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ต่อไปอาจจะไม่มีห้องฉุกเฉินที่ไหนให้พวกเขาไปรักษาก็ได้” -------------------------------------------------------------------------------   ฉลากขนมแบบไฟจราจรทำไมจะทำไม่ได้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหารสุขภาพและอาหารเช้าซีเรียลของประเทศนิวซีแลนด์นามแซนิทาเรียม หัวก้าวหน้าสุดๆ ไม่กังวลว่าผู้บริโภคจะกลัวและไม่กล้าบริโภคผลิตภัณฑ์ หากติดสัญญาณ เขียว เหลือง แดง บนฉลากอาหาร เดินหน้าประกาศใช้ระบบฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรของตนเอง เรียกว่า “ระบบการกินเพื่อสุขภาพ” ฉลากของบริษัทนี้ก้าวไปไกลกว่าฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรแบบทั่วไป ตรงที่ไม่เพียงแค่มีข้อมูลด้านลบที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้แก่ ปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือ แต่ในอาหารบางผลิตภัณฑ์ยังแสดงข้อมูลอาหารด้านบวกที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ ปริมาณโปรตีน ใยอาหาร (ไฟเบอร์) และอาหารกลุ่มให้กากใย ได้แก่ ผัก ผลไม้ และ ธัญพืช  ที่ใจถึงสุดๆ คือ บริษัทกล้าระบุคำแนะนำความถี่ในการบริโภค โดยแบ่งคำแนะนำออกเป็น 3 ชนิด คือ กินได้บ่อย ๆ กินบ้างบางครั้งบางคราว และ กินเมื่อจำเป็น   ท้ายสุด ยังใจกว้างเป็นแม่น้ำ ด้วยการเปิดรับทุกเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ระบบฉลากโภชนาการสำหรับการกินเพื่อสุขภาพนี้ของบริษัท และยืนยันจะไม่จดลิขสิทธิ์ทางปัญญาใด ๆ กับระบบฉลากโภชนาการนี้ หากผู้ประกอบการรายใดหรือประเทศใดก็ตามสนใจรูปแบบฉลากนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที   ผู้ประกอบการคนไทย อายเขาไหมล่ะ ตัวอย่างฉลากโภชนาการของบริษัทแซนิทาเรียม

อ่านเพิ่มเติม >