นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทดสอบสารเคมีก่อมะเร็งกางเกงชั้นในชาย (สีดำ

        ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งในหลายผลิตภัณฑ์รอบตัวเรา ภัยเงียบใกล้ตัวที่สุดที่มักประมาทคือเสื้อผ้าที่เราสวมใส่อยู่ทุกวัน และยิ่งอ่อนไหวขึ้นไปอีกเมื่อเป็นชุดชั้นใน          นิตยสารฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างกางเกงชั้นในของผู้ชาย (สีดำ) มาตรวจหาสารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง, ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) และค่าความเป็นกรด-ด่างไปแล้วในฉลาดซื้อฉบับที่ 149 ปี 2556  พบสารฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นสารเคมีก่อมะเร็งในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน  2 ตัวอย่าง จากตัวอย่างที่เก็บตรวจทั้งหมด  11 ตัวอย่าง           ในปี 2022 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจากเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย อย่างต่อเนื่อง นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) จึงเก็บตัวอย่างกางเกงชั้นในของผู้ชายชนิดสีดำ จำนวน  11 ตัวอย่างทั้งที่ผลิตในประเทศไทยและนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (สีเอโซที่ให้อะโรแมติกแอมีน) , ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อีกครั้งพบผลการทดสอบดังนี้          ·     มี 3  ตัวอย่างที่ตรวจพบ สารเคมีในสีย้อม โรแมติกแอมีน คือ  กางเกงใน GIORDANO,  กางเกงใน Me-Style และกางเกงใน DOUBLE GOOSE (ห่านคู่)  โดยสารที่ตรวจพบคือ 4,4'-Diaminodiphenylmethane (1 ใน 24 ตัวตาม มอก. 2346-2550) ปริมาณที่พบเกินมาตรฐาน คือ  ยี่ห้อ GIORDANO พบปริมาณ 61.40 มก./กก. ยี่ห้อ Me-Style พบ 59.89 มก./กก.  สำหรับ DOUBLE GOOSE (ห่านคู่) พบ 14.55 มก./กก. ไม่เกินค่ามาตรฐาน        ·     ตัวอย่างที่พบค่าความเป็นกรด – ด่างในสิ่งทอสูงคือ  Me-Style มีค่ากรด - ด่าง 7.26  แต่ไม่เกินมาตรฐาน (มาตรฐานคือช่วงระหว่าง 4-7.5)           ·     ทั้ง 11 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์         แม้ทั้ง การทดสอบของฉลาดซื้อจำนวน 11 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์  แต่สารเคมีอันตรายในกลุ่มเสื้อผ้าสิ่งทอ ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด (29 พ.ย.) กรีนพีซ เยอรมนี แถลงว่าจากการตรวจ สินค้า SHEIN ในหลายแห่งทั่วโลก ทั้งหมด 42 ชิ้น ประกอบไปด้วยเครื่องแต่งกาย รองเท้า ทั้งสำหรับผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก และผลิตภัณฑ์สำหรับทารก พบการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ 7 ชิ้น (คิดเป็น 15%) โดยการพบการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในผลิตภัณฑ์นี้ผิดเงื่อนไขการจำกัดปริมาณสารเคมีของสหภาพยุโรป นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์ 5 ชิ้นจากทั้งหมดผิดเงื่อนไข โดยปนเปื้อนเกิน 100% หรือมากกว่านั้น และยังมีผลิตภัณฑ์ 15 ชิ้นจากทั้งหมดปนเปื้อนสารเคมีอันตรายในระดับที่น่าเป็นห่วง (คิดเป็น 32%)…………………………………………………………………………………………………..อันตรายและค่ามาตรฐานของสารที่ดำเนินการตรวจ (  ที่มา อ้างอิงตาม มอก.2346-2550        ·     ฟอร์มาลดีไฮด์ หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ฟอร์มาลีน”  คือสารเคมีทำให้ผ้าฝ้ายเรียบ รีดง่าย ยับยาก ยังผสมในสีทาบ้าน พลาสติก รวมถึงการดองศพ ฟอร์มาลดีไฮด์ที่สะสมอยู่ในผ้าจะระเหยออกมาในอากาศส่งผลต่อระบบประสาท ระคายผิวหนัง ทางเดินหายใจ และเป็นต้นเหตุของมะเร็งได้> ปริมาณต้องน้อยกว่า 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (เสื้อผ้าสำเร็จรูปชนิดที่ 2)         ·     ค่าความเป็นกรด – ด่างในสิ่งทอ หรือ pH ของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ สำหรับผิวหนังมนุษย์ที่มีความเป็นกรดอ่อนๆ เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรค แต่หากค่าความเป็นกรด-ด่าง จากเสื้อผ้าทำให้สมดุลผิวเสียไป ผิวหนังอาจระคายเคืองและเสียความสามารถในการปกป้องผิว ดังนั้นค่าความเป็น กรด-ด่าง ควรต้องอยู่ระหว่าง 4.0 ถึง 7.5 ตามมาตรฐานจึงจะมีความปลอดภัย             ·     สารเคมีในสีย้อม โรแมติกแอมีน 24 ชนิด เป็นกลุ่มสารอันตรายเมื่อสัมผัสผิวหนัง ทำให้ผิวเกิดอาการแพ้จนกระทั่งเกิดมะเร็งได้  บางชนิดทำให้เกิดความผิดปกติต่อพันธุกรรม และเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ>  ต้องมีไม่เกิน 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม…………………………………………………………………………………………………..อ่านผลทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำ  ฉบับเต็มได้ที่  https://www.chaladsue.com/article/4145 #สิทธิผู้บริโภค#สารเคมีในชุดชั้นใน#FastFashion#WhoMadeMyClothes 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 259 ผลทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำ

        เสื้อผ้ากับสารเคมีต่างๆ ในกระบวนการผลิตไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย หากสารเคมีตัวใดตัวหนึ่งที่อยู่ในข่ายต้องเฝ้าระวังมีค่าเกินมาตรฐานย่อมเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างกางเกงชั้นในของผู้ชาย (สีดำ) มาตรวจหาสารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง, ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) และค่าความเป็นกรด-ด่างไปแล้วครั้งหนึ่ง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 149 ในปี 2556          อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงด้านสุขภาพจากเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะกางเกงชั้นในชายที่มีพื้นผิวสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ซึ่งดำเนินโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ สสส. จึงจัดทำทดสอบเรื่องกางเกงชั้นในชาย (สีดำ) อีกครั้ง โดยเก็บตัวอย่างกางเกงชั้นในของผู้ชายอชนิดสีดำ จำนวน  11 ตัวอย่าง เป็นสินค้าที่มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทยและนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อดำเนินการตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง (สีเอโซที่ให้แอโรแมติกแอมีน) , ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) และ ค่าความเป็นกรด-ด่าง อีกครั้งเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องสรุปผลการทดสอบ        ผลการทดสอบกางเกงชั้นในชาย (ชนิดสีดำ) 11 ตัวอย่าง        ·     มี 3  ตัวอย่างที่ตรวจพบ สารเคมีในสีย้อม แอโรแมติกแอมีน คือ  กางเกงใน GIORDANO,  กางเกงใน Me-Style และกางเกงใน DOUBLE GOOSE (ห่านคู่)  โดยสารที่ตรวจพบคือ 4,4'-Diaminodiphenylmethane (1 ใน 24 ตัวตาม มอก. 2346-2550) ปริมาณที่พบเกินมาตรฐาน คือ  ยี่ห้อ GIORDANO พบปริมาณ 61.40 มก./กก. ยี่ห้อ Me-Style พบ 59.89 มก./กก.  สำหรับ DOUBLE GOOSE (ห่านคู่) พบ 14.55 มก./กก. ไม่เกินค่ามาตรฐาน        ·     ตัวอย่างที่พบค่าความเป็นกรด – ด่างในสิ่งทอสูงคือ  Me-Style มีค่ากรด - ด่าง 7.26  แต่ไม่เกินมาตรฐาน (มาตรฐานคือช่วงระหว่าง 4-7.5)           ·     ทั้ง 11 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบฟอร์มาลดีไฮด์  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 ชั้นในชายสีดำ

ฉลาดซื้อเคยเก็บตัวอย่างเสื้อชั้นในสตรีสีดำมาตรวจหาสารตกค้างจากสีย้อมไปแล้ว คราวนี้ถึงคราวกางเกงชั้นในของผู้ชายกันบ้าง เราทดสอบกางเกงชั้นในชายสีดำที่ทำจากเส้นใยฝ้าย จำนวน 11 ตัวอย่าง สนนราคาตั้งแต่ 25 ถึง 890 บาท มีทั้งที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ (จีน ฮ่องกง และบังคลาเทศ) เราส่งตัวอย่างไปทดสอบในห้องปฏิบัติการของศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ  เพื่อตรวจหา สารเคมีในสีย้อมที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง ฟอร์มาลดีไฮด์ (สารป้องกันผ้ายับ/ย่น) ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในการทดสอบคราวนี้เราไม่พบสารเคมีก่อมะเร็งที่มากับสีย้อมในกางเกงชั้นในชาย 11 ตัวอย่าง  แต่มีอยู่ 2 ตัวอย่างได้แก่ Body Basic และ ZEG ที่ตรวจพบฟอร์มัลดีไฮด์แต่ไม่เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนดไว้ที่ 75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ใน 4 ตัวอย่าง (Body Basic / ZEG / H&M และ F&F) ยังพบค่า pH สูงเกินเกณฑ์ด้วย ----------------------------------------------------------------------------------------------- ตลาดชุดชั้นในชายบ้านเรามีมูลค่าประมาณ 2,500 ล้านบาท เป็นตลาดบนร้อยละ 25 และตลาดล่างร้อยละ 75 ผู้ชายซื้อชั้นในปีละไม่เกิน 2 ครั้ง แต่ซื้อครั้งละ 3 – 4 ตัวหรือซื้อยกโหล (กัลยา กมลรัตน์ 2553 ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อชุดชั้นในชายในกรุงเทพมหานคร ) -----------------------------------------------------------------------------------------------   กางเกงใน Rosso รุ่น TC-701 ราคา 129 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่เกินมาตรฐาน ค่าความเป็นกรดด่าง 7.02     กางเกงใน Body Basic รุ่น Half brief ราคา 159 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 7.76     กางเกงใน ZEG รุ่น บิกินี ราคา 270 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ < 15 มก/กก. ค่าความเป็นกรดด่าง 8.12     กางเกงใน GUNMAN ราคา 25 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.23     กางเกงใน APPLE รุ่น 704 ราคา 49 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.26     กางเกงใน ADDER ราคา 129 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ไม่ระบุ สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.29     กางเกงใน H&M รุ่น Trunks Cotton Stretch ราคา 699 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 8.07   กางเกงใน J. PRESS รุ่น 9127A ราคา 179 บาท (แพค 3)   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.41     กางเกงใน UNIQLO รุ่น Knit Boxer Trunks ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 6.70     กางเกงใน Calvin Klein รุ่น Hip Brief ราคา 890 บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้าย สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.45     กางเกงใน F&F รุ่น FF-ES09MD ราคา บาท   ชนิดเส้นใยที่ระบุบนฉลาก ฝ้ายผสม สารก่อมะเร็งในสีย้อม ไม่พบ ฟอร์มัลดีไฮด์ ไม่พบ ค่าความเป็นกรดด่าง 7.56 ----------------------------------------------------------------------------------------------- โดยทั่วไปผิวหนังคนเรามีความเป็นกรดเล็กน้อย (ค่า ph 5.5) ค่าความเป็นกรด-ด่างที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคสำหรับเสื้อผ้าที่สวมใส่ติดผิวหนัง ควรอยู่ระหว่าง 4 ถึง 7.5  ถ้าสูงกว่านั้นอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือเป็นผื่นได้ ตามมาตรฐานกางเกงชั้นในชาย ปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ซึ่งเป็นหนึ่งในสารก่อมะเร็งจะต้องไม่เกิน 75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม --------------------------------------------------------------------------------------------------- พฤติกรรมการซื้อกางเกงชั้นในของผู้ชายสามารถชี้วัดความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ หลายปีก่อน อลัน กรีนสแปน อดีตประธานธนาคารกลางสหรัฐ เคยกล่าวไว้ว่าถ้ายอดขายกางเกงในชายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 -3 นั่นหมายความว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในขาขึ้น นอกจากนี้บรรดาผู้สังเกตการณ์ด้านแฟชั่นของเว็บขายชั้นในชายแห่งหนึ่งในอังกฤษ ที่ทำสถิติยอดขายระหว่างในช่วงปี 2007 – 2011 ยังพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจดีผู้ชายจะซื้อกางเกงชั้นในที่มีสีสันมากขึ้น และในเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำพวกเขาจะกลับไปซื้อชั้นในสีขาว สีเทา และสีดำเหมือนเดิม ----------------------------------------------------------------------------------------------- ชั้นในมือสอง? ปี 2012 รัฐบาลประเทศซิมบับเว สั่งห้ามการขายหรือนำเข้าชั้นในในมือสอง เพื่อเป็นการปกป้องตลาดชุดชั้นในภายในประเทศและลดปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชากร ก่อนหน้านั้น ในปี 1994 ประเทศกานาก็ประกาศแบนชั้นในมือสองไปแล้วเช่นเดียวกัน ----------------------------------------------------------------------------------------------- จากผ้าเตี่ยวสู่กางเกงชั้นใน แฟชั่นไอเท็มชิ้นแรกของบรรพบุรุษมนุษย์ถ้ำคือผ้าเตี่ยว ซึ่งได้รับความนิยมต่อมาในอารยธรรมอิยิปต์และโรมันด้วย รายละเอียดเรื่องนี้ไม่ชัดเจน แต่จากการขุดค้นสุสานของกษัตริย์ตุตันคาเมน นักโบราณคดีเขาพบผ้าเตี่ยวหรือกางเกงชั้นในของตุตันคาเมนถึง 145 ตัวเลยทีเดียว กางเกงชั้นในแบบสวมเริ่มมีในศตวรรษที่ 13 และ “ชั้นใน” เริ่มมีพัฒนาการในหลายรูปแบบมากขึ้นในหมู่ชายไฮโซ (เช่น คอร์เซท ถุงน่อง) จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 เมื่อมีคนเรารู้จักนำลินินมาใช้ ชั้นในก็เริ่มมีบทบาททำให้ชาวบ้านทั่วไปที่ฐานะยากจนได้มีอายุขัยยืนยาวขึ้นด้วย เพราะการสวมชั้นในช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องสัมผัสกับแบคทีเรียและเกิดการติดเชื้อง่ายเหมือนเมื่อก่อน พอถึงศตวรรษที่ 19 กางเกงชั้นในก็กลายเป็นไอเท็มจำเป็นของผู้คนทุกฐานะอาชีพไปในที่สุด ----------------------------------------------------------------------------------------------- ทำไมต้องสวมกางเกงในออกไปกู้โลก? การตูนเรื่องซูเปอร์แมนเล่มแรกออกวางขายในปี 1938 (หลังจากจ็อคกี้เปิดตัวกางเกงชั้นในรุ่นแรกได้ 3 ปี) คาแรคเตอร์นี้จะต้องสวมเสื้อผ้าเต็มตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องโชว์กล้ามเนื้อของซูเปอร์ฮีโร่ตามแบบรูปปั้นคลาสสิก จะให้ฮีโร่ของเด็กๆ ดูโป้เปลือยมันก็กระไรอยู่ ผู้วาดจึงต้องสวมกางเกงให้เขาหนึ่งตัว แฟชั่นกูรูให้ความเห็นว่าสิ่งที่เขาสวมอยู่นั่นไม่ใช่กางเกงชั้นในอย่างที่เราคิดกัน ... ชั้นในที่ไหนจะมีเข็มขัดกันล่ะ ... มันเป็นกางเกงกีฬาว่ายน้ำต่างหาก

อ่านเพิ่มเติม >