ฉบับที่ 255 ซื้อไข่จากห้างใหญ่มาพบว่า เน่ายกแผง

        “เราจะ​ไม่​ซื้อ​อาหาร​ตาม​ร้าน​ค้า​ทั่วๆ​ ไป​ที่​ไม่ได้มาตรฐาน​ความ​ปลอด​ภัย​ค่ะ และเรา​ก็เชื่อ​มั่น​​เสมอ​ว่าจะ​ได้สินค้า​ที่ดี​จากห้างนี้ค่ะ”         คุณแพรวคิดแบบนี้มาตลอดตั้งแต่ก่อนที่จะมา​เป็นสมาชิก​ของห้างค้าปลีกแห่งนี้ซะอีก จนกระทั่งความไว้เนื้อเชื่อใจนี้เองที่ทำให้เธอต้องซื้อ”ไข่เน่ายกแผง” กลับมาบ้าน         คุณแพรวเล่าให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟังว่า  ครอบครัว​เธอ​เป็น​ลูกค้า​ประจําที่ห้างค้าปลีกใหญ่ในกรุงเทพฯ​ นี้ โดยทุกอาทิตย์จะต้องไปจับจ่ายซื้อ​ของ​สดของแห้งเข้า​บ้าน​ วันเกิดเหตุนั้นเธอหยิบไข่ 1 แผง มี 30 ฟอง ใส่รถเข็นรวมไปกับของอื่นๆ โดยไม่ได้พิเคราะห์อะไรมากเพราะ​​เชื่อ​ใจ​ใน​มาตรฐาน​ด้าน​ความ​สด​ ใหม่​ สะ​อาด​ ใน​สินค้า​​ห้างนี้อยู่แล้ว ​ก็เลยไม่ได้ตรวจ​เช็กอะไรมากนัก ​แต่เมื่อกลับถึงบ้านพอเปิดฝาครอบแผงไข่ออกมาก็ได้กลิ่นเหม็นมาก แล้วก็ต้องผงะตกใจกับกองทัพ​หนอน​ไต่​ยั้วเยี้ย​อยู่ในไข่เน่าแผงนั้น เธอจึงรีบนำไปทิ้ง จนลืมดูวันหมดอายุที่ติดอยู่บนฝาครอบนั้นไปด้วย           ถึงจะเสียความมั่นใจไปบ้าง แต่คุณแพรวคิดว่าต้องมีความรับผิดชอบจากผู้ขายนะ เธอจึงรีบโทรศัพท์​ไปตามเบอร์ของ​สาขา​ที่​ให้​ไว้​บน​ใบ​เสร็จทันที แต่...ไม่มีใครรับสาย ก็เลยไปค้นหาเฟซบุ๊ก​ของห้างใหญ่​สาขาที่ประสบปัญหา​นี้​ เจอแล้ว ทักแล้ว แต่...ไม่มี​แอด​มิ​นเพจ​ทํางาน ​ในที่สุดเธอก็ขวนขวายจนหาเบอร์ติด​ต่อเพื่อร้องเรียนได้ที่ 1756 ซึ่งพนักงานคอลเซนเตอร์​ได้รับ​เรื่อง​​ไว้และแจ้งคุณแพรวว่า “จะประสาน​ไป​ที่​สา​ขาให้นะคะ​ คุณลูกค้ารอเลยค่ะจะ​มี​เจ้าหน้าที่​ติดต่อ​กลับ​แน่นอน” ทว่าสิ่งที่ได้ในวันนั้นคือความเงียบจากห้าง เหลือเพียงความเดือดเนื้อร้อนใจของคุณแพรวเท่านั้น​ ​         อย่างไรก็ตามในวันรุ่งขึ้น​ พนักงาน​ประจําสาขาห้างค้าปลีกนี้​ติดต่อ​​มาบอกว่า ไข่แผงนั้นน่า​จะหลุด QC ​ให้เธอนําไข่มา​เปลี่ยน​คืน​หรือ​จะ​รับ​เงิน​คืน​ก็​ได้ แต่คุณแพรว​แจ้ง​​ไป​ว่า​ไม่สะดวก​ เพราะเธอเพิ่งกลับจากขับรถออกไปซื้อไข่จากห้างอื่นมาเอง พนักงาน​เลย​บอก​ว่า​ถ้างั้นวัน​ไหนเธอจะ​เข้า​มา​ให้โทร.​แจ้ง​ก่อน​แล้ว​จะชดเชยให้เธอด้วยไข่แผงใหม่กลับ​ไป​         คุณแพรวจึงเขียนเล่าเรื่องนี้มาในเฟซบุ๊กของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำปรึกษา   แนวทางการแก้ไขปัญหา         ในกรณีนี้คือสินค้า​ที่​ซื้อ​มาอาจหมด​อายุ​หรือ​มี​สิ่ง​แปลก​ปลอม​ สิ่งแรกที่ต้องทำคือถ่าย​รูปตัวสินค้าและฉลาก​(​เน้นวัน​ผลิต​-วัน​หมด​อายุ)​ ​เก็บ​บรรจุ​ภัณฑ์ของ​สินค้า​และ​ใบ​เสร็จ​จาก​ร้าน​ที่​ซื้อ​ไว้เป็น​หลักฐาน​ (ถ่าย​สําเนา​​เก็บ​ไว้​ด้วย​) จากนั้นติดต่อ​ร้าน​ที่​ซื้อ​มา​และ​แจ้งว่าเราต้องการ​ให้​เขา​ดําเนิน​การ​อย่าง​ไร​ เพื่อ​แก้ไข​ปัญหา​พร้อม​ชด​เชย​ เยียวยาความ​เสีย​หาย​ที่​เกิด​ขึ้น​ เช่น ขอ​เปลี่ยน​สิน​ค้า ขอ​เงิน​คืน ขอให้จ่าย​ค่า​เสีย​เวลา​ ค่า​ขาด​ประ​โยชน์​ และ​ค่า​ใช้จ่าย​ใน​การ​ติดต่อ​กับ​ผู้ประกอบ​การ แนะนำให้​ทําเป็นหนังสือ​ชี้แจง​เหตุ​ของ​สิ่ง​ผิด​ปกติ​และควรขอให้แสดงคำ​ขอโทษ​ต่อผู้​เสีย​หาย​และ​สา​ธารณะ​ เป็น​ต้น แต่หาก​ตกลงกันไม่ได้​ ให้​ทําหนังสือ​ยื่น​กับ​ผู้ประกอบ​การ​ เล่า​สรุป​ปัญหา​ที่​พบ​ พร้อม​ข้อ​เรียก​ร้อง​ โดย​ส่ง​ถึง “​เจ้าของ​ร้าน​ค้า” หรือกรณีนี้คือผู้บริหารห้างค้าปลีกดังกล่าว ซึ่งขณะนี้คุณแพรวกำลังพิจารณาว่าตนเองต้องการให้ทางห้างชดเชยอย่างไรเพื่อส่งเป็นข้อเสนอกลับไป         จากกรณีนี้ขอแนะนำว่า แม้มั่นใจกันมากแค่ไหน แต่ทุกครั้งที่ซื้อสินค้า ผู้บริโภคก็ควรพิจารณาสินค้าให้ถี่ถ้วน โดยเฉพาะสิ่งที่สามารถมองเห็นหรือจับสังเกตได้ง่าย ถ้าพบเจอขณะซื้อสินค้าควรรีบแจ้งให้ทางร้านค้าดำเนินการจัดเก็บออกไปจากชั้นวาง แต่หากเผลอซื้อมาแล้ว ผู้บริโภคต้อง​เก็บ​ใบเสร็จรับ​เงิน​ไว้ เผื่อใช้​เป็น​หลัก​ฐาน​ยืนยัน​การ​ซื้อ​และ​ระบุตัว​ตนได้ว่า​เป็น​ผู้​เสีย​หาย ซึ่งทางร้านค้าก็ยากจะปฏิเสธความรับผิดชอบ

อ่านเพิ่มเติม >