ฉบับที่ 270 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก (ลีฟออน)

            ผลิตภัณฑ์ดูแลผมชนิดไม่ต้องล้างออก โดยเฉพาะที่มีคุณสมบัติปกป้องและบำรุงเส้นผมภายนอกจะมีทั้งที่เป็นน้ำมัน เซรั่ม เจลวิตามิน และลีฟออนครีม จัดเป็นไอเท็มโดนใจสำหรับใครที่ต้องการปรับสภาพเส้นผมที่แห้งเสีย เนรมิตให้ผมไม่ชี้ฟู ดูมีน้ำหนัก และเงางามสลวยได้ทันใจในชั่วโมงเร่งด่วน หรือต้องการปกป้องเส้นผมจากความร้อนของแสงแดดหรืออุปกรณ์ทำผมต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายสูตรเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเส้นผมที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างออก แสดงว่าส่วนประกอบต่างๆ จะเคลือบเกาะติดอยู่บนเส้นผมนานกว่าแชมพูและครีมนวดที่ต้องล้างออกทันที ดังนั้นนอกจากคาดหวังผลลัพธ์ให้ผมสวยแล้ว ผู้บริโภคควรใส่ใจความปลอดภัยจากสารที่อาจตกค้างหลังใช้ด้วย           นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดไม่ต้องล้างออก จำนวน 12 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 เพื่อสำรวจฉลากว่า มีสารเคมีหรือสารกันเสียที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         ซิลิโคน (Silicone) เป็นสารโพลิเมอร์ที่ใช้เพื่อให้ผมลื่น หวีง่าย เคลือบเส้นผมให้เงางาม แต่ล้างออกยาก จึงเกิดการสะสมอยู่ที่เส้นผมและหนังศีรษะ ใช้บ่อย ๆ เส้นผมจะลีบแบนและเป็นมันเยิ้ม ซึ่งสารซิลิโคนที่ตกค้างอาจจะไปอุดตันรูเส้นผม ทำให้เซลล์ผมทำงานผิดปกติ การขับของเสียและดูดซึมสารอาหารลดลง และหากใช้ไปนานๆ จะทำให้ผมร่วงได้         พาราเบน (Parabens) : สารกันเสียที่มีรายงานว่าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพ ส่งผลให้เป็นมะเร็ง         พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) : สารกันเสียที่มีคุณสมบัติทำให้กลิ่นหอมคงตัว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 1.0 % หากสัมผัสกับผิวในปริมาณที่มากอาจทำให้ผิวแพ้ ระคายเคือง และเกิดผดผื่นได้ ผลการสำรวจ ·     พบสารซิลิโคน ใน 11 ตัวอย่าง คิดเป็น 91.67% ของตัวอย่างทั้งหมด·     พบพาราเบน ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน, โลแลน อินเทนซ์ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ฟอร์ เอ็กซ์ตร้า ดราย แฮร์ และฟรี แอนด์ ฟรี แดเมจ เอด·     พบพีน็อกซี่เอทานอล ใน 3 ตัวอย่าง คิดเป็น 25% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น, แพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน และแคริ่ง เมอร์เมด ซุปเปอร์ ซิลกี้·     เมื่อคำนวณเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ  1 มิลลิลิตร พบว่า ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม แพงที่สุดคือ 4.20 บาท ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ถูกที่สุดคือ 0.98 บาท ข้อสังเกต·     ยี่ห้อบู๊ทส์ เนเจอร์ส ซีรีส์ อาร์แกน ออยส์ แฮร์ ซีรั่ม ไม่พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     ยี่ห้อแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน พบทั้งซิลิโคน พาราเบน และพีน็อกซี่เอทานอล·     สารกลุ่มซิลิโคนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Dimethicone (9 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Cyclopentasiloxane (8 ตัวอย่าง) และ Dimethiconol (6 ตัวอย่าง)·     สารกลุ่มพาราเบนที่พบในตัวอย่างครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็น Methylparaben (3 ตัวอย่าง) รองลงมาคือ Propylparaben (2 ตัวอย่าง)·     ตัวอย่างทั้งหมดที่ระบุวันผลิตไว้ ผลิตในปี 2003  ยี่ห้อเอ็กซ์คิวท์ มี ออร์แกนิค อาร์แกน ออยล์ แฮร์ เซรั่ม ระบุอายุไว้นานสุดคือ 5 ปี ส่วนยี่ห้อซันซิล สมูท & เมเนจเจเบิ้ล ลีฟออนครีม แอคทีฟ-อินฟิวส์ชั่น ระบุอายุไว้น้อยสุดคือ 2 ปี โดยส่วนใหญ่ระบุไว้ที่ 3 ปี ·     ยี่ห้อลอรีอัล ปารีส เอลแซฟ เอ็กซ์ตรอว์ดินารี่ ออยล์ เฟรนช์ โรส ออยล์ อินฟิวชั่น ฟรากรานซ์ แฮร์ ออยล์ และแพนทีน โปร-วี เพอร์เฟค+ออน ระบุเฉพาะวันผลิต ส่วนยี่ห้อเดอะเฟสซ็อป เอสเซ็นเชี่ยล ดาเมจ แคร์ แฮร์ เซรั่ม ระบุเฉพาะวันหมดอายุในปี 2024 ·     ทุกตัวอย่างระบุวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ไว้ และมี 6 ตัวอย่างที่ไม่ระบุคำเตือนหรือข้อควรระวังกำกับไว้ ฉลาดซื้อแนะ·     ควรเช็กเลขที่จดแจ้งบนฉลากว่าได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขถูกต้องหรือไม่ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบแอบสวมทะเบียนปลอม ·     ควรอ่านและทำความเข้าใจวิธีใช้ของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อาจมีรายละเอียดขั้นตอนแตกต่างกัน และปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด เช่น ทดสอบการแพ้ก่อนใช้ ถ้าเข้าตาควรล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที เก็บให้พ้นมือเด็กและแสงแดด หากเกิดการผิดปกติให้หยุดใช้ และปรึกษาแพทย์ เป็นต้น  ·     ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันเหมาะสำหรับเส้นผมที่โดนความร้อนเป็นประจำ ส่วนเส้นผมที่แห้งเสียมากควรใช้ประเภทครีมหรือเจลเพื่อปรับสภาพผมให้ชุ่มชื้นขึ้น·     ควรสระผมและเช็ดผมให้หมาดๆ ก่อนใช้ ผลิตภัณฑ์จะเคลือบเส้นผมได้ดี และช่วยให้ประหยัดด้วย เพราะไม่ต้องใช้ปริมาณเยอะ แค่ลูบไล้บริเวณปลายผมก็เพียงพอแล้ว·     แม้จะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผมชนิดที่ไม่ต้องล้างออก แต่ถ้ามีซิลิโคนและสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ หลังใช้ 1-2 วันควรสระผมทำความสะอาด ไม่ควรปล่อยให้สารเคมีเกาะเคลือบอยู่บนผมนานเกินไป เพื่อไม่ให้สารเหล่านั้นตกค้างและสะสมมากจนเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาได้ ข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อ ฉบับที่ 257 มีอะไรน่าสนใจใน “ครีมนวดผม”ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 261 เรื่องยุ่งๆ ของซิลิโคนในครีมนวดผมhttps://th.my-best.com/48384https://thaieurope.net/2018/03/16/eu-restriction-d4-and-d5/ EU

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 270 กระแสต่างแดน

ขอที่ปูผ้า        ชาวบ้านบนเกาะพารอส ประเทศกรีซ พากันนุ่งผ้าเช็ดตัวออกมาเรียกร้องการเข้าใช้พื้นที่บนหาดทราย หลังกิจการบาร์ชายหาดรุกพื้นที่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง จนไม่เหลือที่ให้คนท้องถิ่นมาปูผ้านอนอาบแดดได้โดยไม่ต้องเสียเงิน         กิจการ “ให้เช่าเก้าอี้อาบแดด” กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ใครก็อยากเข้ามาลงทุน เพราะเรียกเก็บค่าเช่าแพงๆ จากนักท่องเที่ยวได้ แค่เตียงผ้าใบสองตัวกับร่มอีกหนึ่งคัน ก็มีรายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 100 ยูโร (ประมาณ 3,800 บาท) แล้ว         โดยทั่วไปร้านค้าต้องได้รับอนุญาตก่อนจะให้บริการเช่าเตียงและร่มได้ แต่ส่วนใหญ่มักใช้พื้นที่เกินจากที่ขอไว้         “ม็อบผ้าเช็ดตัว” ทำให้เกิดกระแสขอคืนพื้นที่บนชายหาดของเกาะยอดนิยมทั้งทางตอนเหนือและตอนใต้ของประเทศ มีทั้งการเดินประท้วงและการร้องเรียนอย่างเป็นทางการ         ชายหาดกว่า 16,000 กิโลเมตรของกรีซ มีนักท่องเที่ยวมาเยือนปีละหลายล้านคนในช่วงวันหยุดฤดูร้อน พกร่มให้หล่อ        ตลาดร่มสำหรับผู้ชายในญี่ปุ่นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ชายเริ่มหันมาใช้ร่มกันมากขึ้น         ห้างสรรพสินค้าชื่อดังแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นบอกว่าปีนี้ยอดขาย “ร่มผู้ชาย” เพิ่มขึ้น 2.4 เท่า ห้างบอกว่าจากร่มในสต็อก 600 รุ่น มีถึง 80 รุ่น ที่เป็นร่มสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ         ร่มที่ลูกค้าชายชอบคือร่มสีเข้ม เช่น สีดำ กรมท่า และน้ำเงิน เป็นแบบพับได้หลายตอนและมีขนาดเล็กใส่กระเป๋าสะดวก (ในขณะที่ผู้หญิงชอบร่มที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนเพื่อให้เปิด/ปิดได้ง่าย ไม่เกี่ยงขนาด)         สาเหตุที่ผู้ชายนิยมกางร่มมากขึ้นเพราะเหตุผลด้านการดูแลผิว ผู้อยู่เบื้องหลังได้แก่บรรดาบริษัทเครื่องสำอางที่ประสบความสำเร็จในการเจาะตลาดลูกค้าผู้ชายในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องสำอางผู้ชายของญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30  ตลาดผลิตภัณฑ์กันแดด/แก้ผิวไหม้ ก็โตขึ้นร้อยละ 20 เช่นกัน         ห้างวิเคราะห์ต่อว่าการประชุมออนไลน์มีส่วนทำให้ผู้ชายใส่ใจรูปลักษณ์ตัวเองมากขึ้น เพราะได้เห็นหน้าตัวเองบนจอภาพพร้อมกับหน้าของผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่น   ไม่รับเงินสด         เป็นอีกเรื่องที่สร้างความหงุดหงิดใจให้ผู้บริโภคเสมอ เมื่อผู้ประกอบการยืนยันว่า “ไม่รับเงินสด” โดยเฉพาะเมื่อเป็นบริการรถสาธารณะ         กฎหมายของเดนมาร์ก จึงกำหนดให้ธุรกิจขนส่งไม่สามารถปฏิเสธเงินสดได้ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายว่าด้วยการชำระเงิน ที่กำหนดให้ธุรกิจต้องรับชำระเงินเป็นเงินสด แม้แต่การปฏิเสธ “แบงค์ใหญ่” เพราะไม่มีเงินทอน ก็ใช้เป็นข้ออ้างไม่ได้         แต่ Midttrafik ผู้ประกอบการรถเมล์สาธารณะในเมืองออฮุส ประเทศเดนมาร์ก กลับยืนยันว่าตั้งแต่พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป เขาจะไม่รับชำระค่าโดยสารเป็นเงินสดแล้ว          เทศบาลเมืองออฮุสแถลงว่าบริษัทไม่ได้ฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะที่ผ่านมาผู้โดยสารจะจ่ายค่าโดยสารเป็นเงินสดกับเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติที่ประตูกลางหรือประตูหลังของรถ เมื่อถึงกำหนดเวลาที่ต้องยกเครื่องเหล่านี้ออกไปทำลาย ช่องทางชำระด้วยเงินสดจึงหมดไปโดยปริยาย อยากระบาย         บริการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาที่กระทรวงสาธารณสุขไต้หวันจัดให้ฟรีสามครั้งสำหรับคนอายุ 15 ถึง 30 ปี ได้รับการตอบรับดีเกินคาด         ผู้อำนวยการกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ กล่าวว่าโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อรองรับ “คนไข้” จำนวน 6,000 คน ปัจจุบันมีคนมาจองพบจิตแพทย์ในคลินิกและโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเต็มหมดแล้ว         สาเหตุที่มีโครงการนี้ขึ้นมาก็เพราะ นอกจากภาวะหดหู่และโดดเดี่ยวในช่วงที่มีการระบาดของโควิดที่ทำให้คนหนุ่มสาวเหล่านี้ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านกับเพื่อนแล้ว คนเหล่านี้มีแนวโน้มจะจมอยู่กับอินเทอร์เน็ต ขาดทักษะทางสังคมและคนรุ่นพ่อแม่ของพวกเขาก็มีสถิติการหย่าร้างสูงขึ้น         กรมฯ มองว่า การตอบรับอย่างท่วมท้นนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะอย่างน้อยคนเหล่านี้ก็ไม่กลัวที่จะเล่าปัญหาตนเองให้คนอื่นฟัง ต่างกับคนรุ่นก่อนหน้าที่เลือกจะไม่ปรึกษาใครเพราะกลัวเสียภาพพจน์   แก้ขาดทุน         ปีหน้าผู้โดยสารรถไฟในเนเธอร์แลนด์จะต้องจ่าย “ค่าธรรมเนียมชั่วโมงเร่งด่วน” ร้อยละ 7 หลังรัฐบาลอนุมัติแผนแก้ปัญหาการขาดทุนของการรถไฟเนเธอร์แลนด์ (NS) ที่ต้องการนำเงินดังกล่าวมาเฉลี่ยกับรายได้ในช่วงที่มีผู้โดยสารน้อย         รัฐบาลยังเว้นการเรียกเก็บภาษีปีละ 80 ล้านยูโรจากบริษัท และให้เงินช่วยเหลือปีละ 13 ล้านยูโรด้วย ซึ่งกรณีหลังนี้องค์กร Alliance of Passenger Rail New Entrants (ALLRAIL) ออกมาค้านว่าน่าจะผิดกฎสหภาพยุโรป ที่ระบุว่ากิจการแสวงหากำไรที่เลี้ยงตัวเองได้ด้วยค่าโดยสารและรายได้อื่น ไม่สมควรได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐ เรื่องนี้ต้องติดตามกันต่อไป         ที่แน่นอนคือสัญญาการเดินรถระหว่างประเทศของ NS กำลังจะสิ้นสุดลง สหภาพยุโรปกำหนดว่าตั้งแต่ 25 ธันวาคมปีนี้เป็นต้นไป ต้องมีการประมูลรับสัมปทานกิจการรถไฟระหว่างประเทศกันใหม่ ขณะนี้มีผู้ประกอบการจากเยอรมนี อิตาลี รวมถึงบริษัทร่วมทุนเนเธอร์แลนด์/เบลเยียมก็แสดงความสนใจเข้ามาแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 268 ควบคุมดูแลสุขภาพด้วย CalkCal

        ปัจจุบันเครื่องดื่มที่ให้ความสดชื่นกับร่างกายมีหลากหลายชนิดและเป็นที่ชื่นชอบกันมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยเรียนและวัยทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกที่จะบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวาน อาทิ ชานมไข่มุก ชาเย็น กาแฟเย็น เป็นต้น อีกทั้งการเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่มีความหวานเหล่านี้อาจช่วยทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า จึงทำให้บริโภคจำนวนมากในแต่ละวัน         กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เผยถึงสถิติคนไทยติดหวานกินน้ำตาลเฉลี่ยวันละ 25 ช้อนชา ซึ่งมากกว่าที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา ถึง 4 เท่า โดยพฤติกรรมเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดหัวใจ และฟันผุ ตามมาได้         นอกจากความเสี่ยงข้างต้น ยังมีความเสี่ยงที่เกิดจากอาหารประเภทอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจนเกิดโรคต่างๆ ตามมาได้อีก ดังนั้นการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน และตรงตามความต้องการของร่างกาย เพื่อควบคุมดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัย ฉบับนี้มาแนะนำให้ลองมาใช้ตัวช่วยในการควบคุมอาหารกับแอปพลิเคชัน “CalkCal” กันดู ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ไม่ยุ่งยาก ง่ายต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก         แอปพลิเคชันนี้เน้นในเรื่องของการควบคุมอาหารเป็นหลัก ใช้งานในรูปแบบการบันทึกจำนวนแคลอรีโดยเลือกจากเมนูอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เมื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จะสอบถามข้อมูลส่วนตัว ได้แก่ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก รวมไปถึงเป้าหมายของการลดน้ำหนัก เพื่อนำมาคำนวณและหาค่าเฉลี่ยในการควบคุมพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ภายในแอปพลิเคชันจะแบ่งหมวด 5 หมวด ได้แก่ หมวด Calories หมวด Statistic หมวด Exercise หมวด Setting และหมวด About Us         การใช้งานไม่มีความซับซ้อนใดๆ เมื่อผู้ใช้แอปพลิเคชันต้องการกรอกรายละเอียดมื้ออาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ให้กดที่หมวด Calories จะปรากฎชื่อรายการอาหารพร้อมจำนวนแคลอรี เมื่อค้นหาเมนูอาหารเจอแล้ว จะต้องระบุจำนวนและเลือกมื้ออาหาร โดยจะแบ่งมื้ออาหารเป็น 4 มื้อ ได้แก่ มื้อเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น และมื้ออาหารว่าง กรณีที่ไม่เจอเมนูอาหารที่ต้องการสามารถเพิ่มรายการได้เอง ซึ่งให้กดเลือกปุ่มเครื่องหมายบวกที่อยู่ด้านบนขวามือ         หมวด Statistic ช่วยคำนวณปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวันว่าควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างไร เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนหมวด Exercise จะเป็นรายการการออกกำลังกายพร้อมจำนวนแคลอรีที่จะถูกเผาผลาญออกไป         เป้าหมายของการห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ ย่อมสัมพันธ์กับการเลือกรับประทานอาหาร ดังนั้นการควบคุมอาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายอย่างแท้จริง รวมถึงการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดีได้ เลิกติดหวานและหันมาติดการออกกำลังกายและควบคุมอาหารให้เหมาะสมกันดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 คุณภาพ “สถานดูแลผู้สูงอายุ” รับ “Ageing Societies” เมืองไทย

        ปัจจุบันประเทศไทย เข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์” มีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เกิน 20% ของประชากรทั้งประเทศ ทำผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งวางระบบการดูแลทั้งสุขภาพกายสุขภาพใจให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงการต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้นนั้นไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่ในขณะเดียวกันกับที่ลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยทำงานยังมีภาระต้องทำมาหากิน ดังนั้นเวลาที่จะอยู่ดูแลผู้สูงอายุในบ้านจึงน้อยลงไปด้วย “สถานดูแลผู้สูงอายุ” จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ แต่ก็ต้องมีการกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานให้ดีทั้งในด้านของสถานที่และบุคลากรที่จะมาดูแลผู้สูงอายุ “คุณภาพ มาตรฐานประเทศไทยและต่างประเทศ”         ทุกวันนี้ในเมืองไทยถือว่ามีสถานดูแลผู้สูงอายุมากขึ้นทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน ส่วนคุณภาพมาตรฐานต่างๆ ดังว่านั้นจะเป็นอย่างไร ทาง “ดร.วรชาติ เฉิดชมจันทร์” อาจารย์ประจำคณะกายภาพมหาวิทยาลัยรังสิต ได้สะท้อนให้ฟังว่า ถ้าพูดถึงจำนวนสถานดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยในปัจจุบันแม้จะมีมากขึ้นและมีหลายรูปแบบ  ซึ่งหลักๆ มี 3 รูปแบบใหญ่ คือ 1. เดย์แคร์ เช้าไปเย็นกลับ 2. Nursing Home ดูแลผู้สูงอายุที่ออกไปข้างนอกลำบาก หรือป่วยติดเตียง กลุ่มนี้จะอยู่นาน และ 3. เป็นเทรนด์มาใหม่คล้ายๆ คอนโดผู้สูงอายุ         ที่ว่ามานี้รวมๆ แล้วมีประมาณ 4,000 กว่าแห่ง ซึ่งมีการจดทะเบียนกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจริงๆ แค่ประมาณพันกว่าแห่งเท่านั้น ที่เหลือเป็นการเกิดแบบธรรมชาติหรือนักวิชาชีพไปเปิดเองแต่ไม่ขึ้นทะเบียน แต่จำนวนเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือการเข้าถึงยังอยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่เป็นผู้มีฐานะปานกลางหรือฐานะร่ำรวย         หากเทียบกับสถานดูแลผู้สูงอายุในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เยอรมนี แคนาดา หรือญี่ปุ่น จะเห็นว่าของไทยยังมีข้อด้อยกว่าในหลายๆ ด้าน คือ        1. สัดส่วนสถานดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เพียงพอ อย่างที่กล่าวในตอนต้น         2. คุณภาพ ซึ่งประเทศไทยจะเน้นเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีพอ ในขณะที่ต่างประเทศจะเน้นทั้งเรื่องของสุขภาพและสร้างสังคม หรือ healthcare + Social Care         อย่างไรก็ตามจากข้อมูลเท่าที่ลงสำรวจ ถ้าพูดถึงคุณภาพตามข้อกำหนดของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพถือว่าส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขออกมาใหม่ๆ เช่น การขยายประตู ทางเดินต่างๆ ต้องปรับกันพอสมควร ส่วนคนดูแลต้องไปสอบรับใบอนุญาตคล้ายๆ ใบประกอบการวิชาชีพ ดังนั้นเรื่องมาตรฐานถึงเราจะไม่พรีเมียม แต่ก็ไม่แย่นักและดีกว่าหลายๆ ประเทศในอาเซียน แต่ที่ยังสู้ประเทศที่เจริญแล้วไม่ได้เลยคือ การเอาเทคโนโลยีมาใช้ไม่ว่าจะเป็นระบบการบันทึกและติดตาม         นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความหลากหลายของบุคลากรที่เข้าไปให้บริการดูแลผู้สูงอายุ  บ้านเรานั้นส่วนใหญ่อาจจะเป็นคุณพยาบาล เป็นผู้ช่วยที่ผ่านการอบรมเป็นส่วนใหญ่ บางแห่งอาจจะดีหน่อยมีหมอเป็นเจ้าของเองมาดูแลบางส่วน หลายๆ แห่งมีบริการที่มากขึ้นเช่นมีนักกายภาพด้วย แต่ในต่างประเทศจะมีอีกอาชีพหนึ่งที่เรียกว่าเป็น care worker หรือเป็นผู้ช่วยผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมทางสังคมหลายๆ อย่าง ซึ่งประเทศไทยยังไม่มี ตรงนี้สำคัญมากๆ และที่จริงมหาวิทยาลัยรังสิตกำลังเปิดสอนปีนี้เป็นปีแรก          3. ระบบการเงิน ค่าบริการต่างๆ ในประเทศไทย ต่อให้บอกว่าเป็นสถานดูแลผู้สูงอายุ ในลักษณะสถานสงเคราะห์ อย่างบ้านบางแคก็ยังต้องมีการเสียค่าใช้จ่าย แถมยังต้องรอคิวนานเป็นปี นอกนั้นเป็นสถานดูแลผู้สูงอายุที่ประชาชนต้องจ่ายเอง แต่ในต่างประเทศจะมีระบบการร่วมจ่าย (copayment) รัฐบาลกลางจ่ายส่วนหนึ่ง ท้องถิ่นจ่ายส่วนหนึ่งและประชาชนร่วมใจอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งพอได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐก็ทำให้เกิดการเกิดการกระจายตัว ประชาชนเข้าถึงง่ายขึ้นและทำให้การระบบการตรวจสอบ กำกับ ติดตามและมาตรฐาน หรือ (KPI) เพื่อนำไปเบิกจ่ายกับหน่วยงานต่างๆ ได้        “สมมุติว่าประเทศไทยทำเรื่องนี้ให้เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุโดยตรง โดย สปสช. ยอมจ่าย แล้วไปจับมือกับท้องถิ่น ซึ่งจริงๆ มีกองทุนหลักประกันสุขภาพที่มีเงินอยู่เยอะมากที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ ถ้าภาครัฐไปหยิบเงินจากตรงนี้มาแล้วไปวางกลไกการบริหารจัดการให้ดีของศูนย์จะทำให้เรามีระบบที่ดีมาก ซึ่งน่าจับตาเพราะตอนนี้พรรคการเมืองหลายๆ พรรคก็นำมาทำแคมเปญอยู่” “ระบบ 3 หมอ ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชุมชน”           ดร.วรชาติ ย้ำว่า จริงอยู่ที่ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ สปสช. มีระบบ 3 หมอ ตลอดจนสิทธิประโยชน์ เช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ มีการเยี่ยมบ้านต่างๆ นานา ซึ่งถือว่าคล้ายกับแนวโน้มของต่างประเทศที่เริ่มระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน สร้างสังคมชุมชนที่ผู้สูงอายุสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ เพราะต่างก็ตระหนักดีว่า สังคมผู้สูงอายุโตเร็วมาก การสร้างสถานดูแลผู้สูงอายุมากเท่าไหร่ก็ไม่เพียงพอ จึงเน้นที่การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านให้มีคุณภาพ แต่จะเห็นว่าในต่างประเทศนั้นเน้นวางระบบคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่การมีผู้ช่วยผู้สูงอายุ การปรับปรุงบ้านที่เหมาะสมในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ           ในขณะที่ระบบ 3 หมอของไทย ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่ดี แต่จะเห็นว่าในทางปฏิบัติเหมือนเป็นเพียงการเยี่ยมบ้าน ให้กำลังใจ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตชีวา จัดกิจกรรมดูแลสุขภาพจริงจัง หลายครั้งเป็นเหมือนการไปเยี่ยมผู้ป่วยแล้วเอากระเช้าไปมอบเท่านั้น และเน้นเรื่องการสงเคราะห์ ซึ่งเป็นการดูแลสุขภาพแบบฉาบฉวยไม่ได้ทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างหมอคนที่ 1 คือ “อสม” ก็มีภารกิจเยอะมาก ยังไม่รวมถึงเวลา คุณภาพ ความรู้ทัศนคติ รวมถึงทักษะการจัดบริการ  ส่วนหมอคนที่ 2 คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก็มีภารกิจมากทำให้การดูแลแบบโฮมแคร์ยากขึ้นในประเทศไทย แต่หลายที่ก็ทำของแท้ได้โดยใช้กลไกชุมชนเข้ามาช่วยก็สามารถทำได้ดีระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนจากสสส. เริ่มต้นคล้ายโมเดลผู้สูงอายุและใช้กลไกผู้สูงอายุมารวมตัวกัน แต่ตรงนี้ก็เน้นโซเชียลแคร์อย่างเดียว แต่ health care ยังไปไม่ถึง หรือทำให้ยังมีปัญหา “ขาดทั้ง 2 ฝั่ง” ฝั่งหนึ่งขาดบุคลากรมีความรู้ทางด้าน health care และ Social care ที่ทำงานร่วมกันได้ หากทำร่วมกันได้จะถือว่าเป็นระบบบริการใหม่ที่จะเป็นจุดแข็งของประเทศไทยได้ ก็ต้องยอมรับว่าเราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็ว ในขณะที่เรายังจนอยู่ แต่เราก็ไม่ได้แย่ จึงอยากฝากว่าจากนี้ เรื่องของการดูแลผู้สูงอายุต้องสนใจ 3 เรื่องไปพร้อมกัน คือ        1. เรื่องสุขภาพ ในต่างประเทศจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยติดตามสุขภาพผู้สูงอายุสูงวัย เช่น นาฬิกาข้อมือที่สามารถรู้อัตราการเต้นของหัวใจ บางรุ่นดีมากๆ ถึงขนาดตรวจจับเรื่องของการเคลื่อนไหวที่เสี่ยงหกล้มได้ จากนั้นวางผังเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลต้นสังกัด        2. สถานที่ บ้านต้องปรับปรุงให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ในต่างประเทศถือเป็นสิทธิประโยชน์ที่ต้องได้รับการปรับปรุงที่พักอาศัยด้วย และ         3. เรื่องสังคม คือจะต้องมีโอกาสให้ผู้สูงอายุได้สื่อสาร หรือมีกิจกรรมกับสังคมภายนอกได้มากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขกับการที่อยู่บ้านและสามารถสร้างสังคมผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ได้  นอกจากนี้ อยากให้ทำระบบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  “สภาพปัญหาและเรื่องร้องเรียน”         นายธนัช ธรรมิสกุล หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ระบุว่า ที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียนปัญหาของสถานดูแลผู้สูงอายุเข้ามา ทั้งเรื่องคุณภาพ มาตรฐานต่างๆ แต่มีสิ่งที่น่าสังเกตคือการร้องเรียนถึงการ “หลอกลวง” โดยบริษัทนายหน้าจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ที่จะส่งไปดูแลผู้สูงอายุตามบ้าน เช่น ส่งคนที่ไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ หรือดูแลเด็ก ส่วนใหญ่อยู่ไม่นานก็หายไป ซึ่งในเรื่องนี้ ทางมพบ.ได้ให้คำแนะนำในการขอคืนค่าบริการ ซึ่งบางรายก็ได้เงินคืนบ้าง แบบทยอยคืน บางกรณีก็ไม่ได้คืนจนต้องฟ้องร้องคดี แต่การต่อสู้คดีก็พบว่ามีปัญหาตามมา เพราะดูเหมือนว่าบริษัทเหล่านี้จะรู้ข้อกฎหมายดี ถึงได้ส่งคนมาทำงาน 3 วัน 5 วัน ทำให้กลายเป็นแค่คดีแพ่งเท่านั้น (จะเข้าข่ายเป็นเรื่องฉ้อโกงหรือคดีอาญาคือ การไม่ส่งพนักงานมาเลย)           บริษัทพวกนี้ใช้วิธีการเลี่ยงกฎหมาย อ้างว่าจดในชื่อของบริษัท แต่ก็อ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของ ซึ่งจริงๆแล้ว คนที่เซ็นนั้นก็เป็นเจ้าของส่วนหนึ่งหรืออาจจะเป็นตัวแทนที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาเป็นผู้รับมอบอำนาจ ซึ่งบางครั้งผู้บริโภคหรือประชาชนอาจจะไม่ได้ขอดูรายละเอียดหนังสือมอบอำนาจว่าถูกต้องหรือไม่ บางคนโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียไว้ดีมาก มีหน้าม้าเข้ามาแสดงความเห็นชมเชย รีวิวดีงาม ซึ่งทำให้ประชาชนหลงเชื่อ         ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคที่ต้องการว่าจ้างคนไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ผ่านบริษัทนายหน้า ต้องตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียด โดยตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่า จดทะเบียนถูกต้องหรือไม่ ใครเป็นเจ้าของ มีการส่งงบดุลหรือไม่ เพราะถ้าไม่ส่ง ให้สันนิษฐานว่าเป็นบริษัทลม คิดจับเสือมือเปล่า รอมีคนว่าจ้างแล้วจึงจัดหาคนไปดูแล แล้วก็เข้าลูปเดิมคือ ไปทำงาน 3 วัน 5 วันแล้วหายตัวไป นอกจากนี้อย่าหลงเชื่อการแสดงความเห็นชมเชยทางโซเชียลฯ (รีวิว) ให้ตรวจสอบหลายๆ แหล่ง ว่ามีคนแสดงความเห็นตรงกันหรือไม่          อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ควรโยนภาระให้ประชนเป็นผู้ตรวจสอบอย่างเดียว แต่หน่วยงานรัฐควรเข้ามากำกับดูแลด้วย โดยจัดให้มีหน่วยงานกลาง กำกับดูแลบริษัทจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลเด็กตามบ้าน อย่างจริงจัง เหมือนกับที่มีหน่วยงานตรวจสอบ กำหนดมาฐานสถานดูแลผู้สูงอายุ สถานดูแลเด็ก ทั้งนี้หากพบว่ากระทำผิดต้องมีบทลงโทษจริงจัง เพราะที่ผ่านมา หลังจากมพบ.เข้าให้การช่วยเหลือประชาชน หลายหน่วยงานต่างก็โยนความรับผิดชอบไปให้อีกหน่วยงานหนึ่ง กลายเป็นว่าประชาชนไม่มีที่พึ่งต้องช่วยเหลือตนเอง          ในขณะที่สถานดูแลผู้สูงอายุและศูนย์ดูแลเด็กนั้น มีการร้องเรียนเข้ามาบ้าง เช่น สถานรับเลี้ยงตามชุมชน ตามหมู่บ้าน ในส่วนของผู้สูงอายุ ถ้ายกตัวอย่างคือสถานเลี้ยง ผู้สูงอายุบ้านบางแคและที่เปิดใหม่ที่ตรงบางปูของโรงพยาบาลรามาไปซื้อไม่ต่ำกว่าหลังละ 5 ล้านบาท เท่ากับว่าผู้ใช้บริการจะต้องไปซื้อหลังละไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซ้ำยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือน แถมยังมีเงื่อนไขว่า เมื่อเสียชีวิตก็ต้องคืนสิทธิ์นั้นให้กับเจ้าของเพื่อให้ผู้บริหารจัดการนำไปปล่อยขายต่อไป ซึ่งลักษณะเช่นนี้เหมาะกับคนที่มีฐานะดีมากจริงๆ   “ข้อกำหนดมาตรฐานตามกฎหมาย”        “นพ.สุระ วิเศษศักดิ์” อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการกำหนดมาตรฐาน อธิบายว่า  หลักสูตรด้านการดูแลผู้สูงอายุของกรม สบส. มี 2 หลักสูตร 1. หลักสูตรผู้ดำเนินการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 130 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องมีการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน  มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติที่ดี ในการดำเนินงานการดูแล มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารดำเนินงานและการให้บริการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นก็ต้องอบรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การปฐมพยาบาล การช่วยชีวิต ทั้งนี้ ผู้เรียนต้องอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 21            2. หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง  จะเป็นการอบรมให้มีทักษะสามารถทำงานได้จริง มีความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ประเมินภาวะวิกฤติ การช่วยชีวิต การปฐมพยาบาล การศึกษาสุขภาพองค์รวม โดยผู้เรียนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี จบการศึกษาภาคบังคับ มีสุขภาพร่างกายและจิตใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน เป็นต้น          ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด มีผู้ผ่านหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง 130 ชั่วโมง ทั้งหมด  663 คน อย่างไรก็ตาม ตามหลักเกณฑ์ระบุว่า สำหรับผู้ที่จบ 11 หลักสูตรไม่ต้องเข้ารับการอบรม ก็สามารถสอบเป็นผู้ดำเนินการได้ ดังนี้  หลักสูตรแพทยศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสูง หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรกายภาพบำบัด หลักสูตรการแพทย์แผนไทย หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรการแพทย์แผนจีน หลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขากิจกรรมบำบัด หลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาจิตวิทยา และหลักสูตรเภสัชศาสตร์ โดยรวมแล้วตอนนี้มีใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการ 2,328 คน (ข้อมูล 11 พ.ค. 2566)         ส่วนหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ 420 ชั่วโมง มีผู้ผ่านการอบรม 4,267 คน และมีผู้ที่จบ 5 หลักสูตรที่ไม่ต้องเข้ารับอารอบรม ก็สามารถขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในสถานดูแลได้เลย คือ หลักสูตรแพทยศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์และการผดุงครรภ์ชั้นสูง หลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ ระดับต้น หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) และหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล  โดยสรุปมีผู้ได้รับใบรับรองเป็นให้บริการ ทั้งหมด 8,214 คน (ข้อมูล 11 พ.ค.2566)         นพ.สุระ ระบุเพิ่มเติมว่า ตามกฎกระทรวงกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ได้แบ่งลักษณะ การให้บริการออกเป็น 3 ลักษณะ คือ (1) การให้บริการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงระหว่างวันที่มีการจัดกิจกรรมการดูแลส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง โดยไม่มีการพักค้างคืน (2) การให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีที่พำนักอาศัย ซึ่งในลักษณะที่ (1) และ (2) ไม่ได้มีการกำหนดสัดส่วนในการให้บริการไว้         ลักษณะที่ (3) การให้บริการดูแลและประคับประคองผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงที่มีการจัดกิจกรรมการดูแล ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีการพักค้างคืน โดยในลักษณะที่ (3) ได้กำหนดให้มีสัดส่วนของผู้ให้บริการ (ผู้ดูแลผู้สูงอายุ) 1 คนต่อผู้รับบริการ (ผู้สูงอายุ) ไม่เกิน 5 คน หรือ 1 : 5  ถ้าไม่เป็นไปตามสัดส่วนนี้จะไม่สามารถขอรับใบอนุญาต ประกอบกิจการได้ ซึ่งปัจจุบันมีสถานประกอบกิจการลักษณะ ที่ 3 ที่ได้รับอนุญาต 783 แห่ง         สำหรับหลักเกณฑ์มาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุ จะกำหนดไว้หลักๆ 3 ด้าน ดังนี้ 1. มาตรฐานด้านสถานที่ 2. มาตรฐานด้านความปลอดภัย 3. มาตรฐานด้านการให้บริการ โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการได้ที่ Website : https://esta.hss.moph.go.th/ ซึ่งใบอนุญาตจะมีอายุ 5 ปี ผู้ขออนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี และมีการต่ออายุทุก 5 ปี ทั้งนี้หากมาตรฐานไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จะมีบทลงโทษ ดังนี้         1. กรณีสถานที่ไม่เป็นไปตามที่กำหนด ซึ่งมาตรา 41 การใช้ชื่อ “สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท มาตรา 42 การไม่ขออนุญาตประกอบกิจการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         2. กรณีบุคลากรไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ให้บริการที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดในมาตรา 23 จะถูกลบชื่อออกจากทะเบียน โดยผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติ 1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ 2) ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรด้านการบริการเพื่อสุขภาพที่ได้รับการรับรองจากกรมสบส. และ ข. ลักษณะต้องห้าม 1) เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ  2) เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ         3. กรณีหากเกิดความเสียหายหรือสูญเสียในสถานดูแลผู้สูงอายุหรือจากบุคลากรตามกฎหมายสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ไม่มีบทกำหนดโทษ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสามารถใช้สิทธิเรียกร้องได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคหรือใช้สิทธิตามกฎหมายอื่น         สำหรับ กรณี “บริษัทจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ” นั้นในการการจัดส่งคนไปดูแลที่บ้านจะเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง มาตรการควบคุมกำกับดูแลการประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของ ผู้รับบริการ พ.ศ. 2564 ผู้รับผิดชอบ คือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้ที่ประสงค์จะดำเนินกิจการเพื่อให้บริการต้องขอรับใบอนุญาต ประกอบกิจการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ผู้ดำเนินกิจการประกอบ กิจการในเขตท้องถิ่นนั้น โดยผู้ให้บริการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้        1.มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์         2.ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ โรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ         3.ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ         4. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี          5. ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือทรัพย์ตามประมวล กฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หรือความผิดตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การค้าประเวณี เว้นแต่ได้พ้นโทษ มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี        6. ต้องมีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ และต้อง ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่กรมอนามัยรับรอง  

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 246 “มือแชร์ข่าวปลอมเลยพวกนี้ ต้องเอากลับมาแชร์ข่าวดีแทน”

        นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับนี้พาไปพบคนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคอีกท่าน ภญ.ชโลม เกตุจินดา หลังจากเรียนจบสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ ก็มุ่งมั่นมาทำงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพราะสนใจเรื่องอาหารสุขภาพ อาหารปลอดสารพิษ การดูแลสุขภาพ โดยเน้นเรื่องวัฒนธรรมชุมชน เธอบอกเราว่า “เราอยากจะเห็นสินค้าที่มันอยู่ในชุมชนได้รับการสนับสนุนและมีมาตรฐาน” ประสบการณ์และเรื่องเล่ามากมาย แต่ครั้งนี้จะเน้นถึงงานเรื่อง ข่าวปลอม ข่าวลวง ข่าวดี ว่ามีผลต่อผู้บริโภคอย่างไร และการทำงานด้วยพลังของอาสาสมัครนั้นสำคัญอย่างไร งานที่อาจารย์ให้ความสำคัญมากคือการเฝ้าระวังสินค้าออนไลน์         คืองานเฝ้าระวังออนไลน์ของเราตอนนี้ เราจะมุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครคนทำงาน ซึ่งสินค้าออนไลน์ส่วนหนึ่งนี่มันก็จะมีการแชร์ โพสต์ขาย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสถานการณ์โควิดค่อนข้างเยอะ    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องยารักษาหรือว่าชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ การตรวจพวกนี้หรือว่าสมุนไพร ซึ่งพอมีคนโพสต์แนะนำหรือให้ข่าวว่าสมุนไพรตัวนี้ใช้ดี สักพักเดี๋ยวก็จะมี “ตัวผลิตภัณฑ์” เกี่ยวกับสมุนไพรนั้นโผล่ขึ้นมาในกลุ่มไลน์ ซึ่งเป็นกลุ่มเฉพาะความที่เป็นกลุ่มเฉพาะมันก็จะทำให้การตรวจสอบจากข้างนอกมันเข้าไปไม่ถึง การที่เรามีอาสาสมัครที่เป็นกลไกอยู่ในกลุ่มไลน์ต่างๆ กลุ่มชุมชน กลุ่มวิสาหกิจ กลุ่ม อพม.อะไรอย่างนี้ พอเจอประเด็นอะไรเขาก็สามารถแคปหน้าจอกลับมาให้เราตรวจดูได้ อาจจะมีการแชร์เรื่องสมุนไพรที่โฆษณาเกินจริง มีการแชร์กันเกิดขึ้นอย่างนี้นะคะ เราจะมุ่งไปที่การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครในพื้นที่ ในการที่จะใช้สื่อออนไลน์แบบมีประสิทธิภาพ คนอายุเยอะส่วนใหญ่จะเป็นอาสาสมัครของเรา อายุประมาณ 50-60 หรือ 40 แถวๆ นี้         แต่ก็ยากตั้งแต่แคปหน้าจอเลย พอเราบอกว่าปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ เชื่อง่าย แชร์ง่ายด้วย แชร์เร็ว แต่ว่าหาหลักฐานหาข้อมูลไม่ได้ เราก็จะให้เขาช่วยแคปข้อมูลกลับมาแล้วเราก็ตรวจสอบ หลักจากนั้นก็ทำกระบวนการให้เขาสามารถเชคเกอร์ (Checker) หรือตรวจข้อมูลจาก Application ของ อย. หรือ FDA ได้ อย่างน้อยๆ ตรวจเลข อย.เป็น ว่าอันนี้คือตัวผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือว่าเป็นยาสมุนไพร เขาก็จะตรวจสอบผ่าน Application เป็นนะคะ อย่างนี้นะคะ ก็ค่อนข้างยากเพราะว่าแคปหน้าจอหลายยี่ห้อนะโทรศัพท์ มือถือหลายยี่ห้อมันก็จะแคปหน้าจอลำบาก พอแคปมาตัวหนังสือเขาก็จะเป็นฟอนต์ประมาณ 30 ตัวอักษรใหญ่ๆ ยาวๆ เต็มจอ มันก็จะมองไม่เห็นไม่ครบหน้าจอ ก็แคปได้ทีละจออะไรอย่างนี้ เราจะสอนให้เขาแคปแล้วก็แคปรูปแบบยาวๆ ให้มีข้อมูลครบ ก็จะเป็นเรื่องเทคนิค เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็จะกลายเป็นเหมือนเราฝึกทักษะทางดิจิตอลให้กับอาสาสมัครผู้บริโภคในการเฝ้าระวังด้วย ตอนนี้มีอาสาสมัครกี่คนที่กระจายตามกลุ่มไลน์ต่างๆ         เราทำอบรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 ตอนนี้ก็จะมีของสงขลา ประมาณ 100 คน แล้วเราก็ขยายเฉพาะโครงการนี้เป็นการเฝ้าระวังสื่อออนไลน์ คือรวมถึงเรื่องการเคลียร์เรื่องข้อมูลเท็จ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพด้วย แล้วก็จะมีประปรายไปว่าเอาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มันมีปัญหานะคะ ก็มีเริ่มไปอีก 5 จังหวัด แต่ก็ไม่ค่อยต่อเนื่องเพราะว่าสถานการณ์โควิด การฝึกอบรมที่จะต้องจับมือทำงาน  เลยจับไม่ได้เพราะว่าต้องใกล้ชิด โทรศัพท์เขาบางทีก็จะเป็นโทรศัพท์ที่มีปัญหาว่าข้อมูลเต็มเล่นอะไรไม่ได้แล้ว โทรศัพท์ลูกให้ ข้อมูลเต็มไปหมดแล้วก็ดี ไปกดรับอะไรก็ไม่รู้เป็นข้อความ SMS ยืมเงินอีก ก็เจอนะ ก็ต้องมานั่งช่วยเคลียร์ให้ เคลียร์แคช (Cache) เคลียร์อะไรให้ อันนี้ก็จะเป็นประเด็นหนึ่งเรื่องศักยภาพในเรื่องของการใช้พวกมือถือในการสื่อสาร         แต่ในช่วงโควิดนี้ อสม.ส่วนหนึ่งเขาก็จะได้รับหน้าที่ในเรื่องของการสำรวจข้อมูล ทำ Google from มันก็เลยทำให้งานแบบนี้มันได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นทุกคนก็จะรู้สึกว่ามันช่วยการทำงานของเขา อาสาสมัครเราส่วนหนึ่งส่วนมากก็จะเป็นแกนนำเป็น อสม.อยู่ในชุมชนที่ต้องใช้เรื่องพวกนี้ ขณะเดียวกันก็จะมีงานอีกชุดหนึ่งร่วมกับ กพย.กับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในเรื่องของการเฝ้าระวังยาชายแดน แล้วก็คิดงานในลักษณะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อทำงานเสริมศักยภาพเครือข่ายการทำงานร่วมกัน         เครือข่ายภาคีทำงานร่วมกันก็จะมีตั้งแต่ สาธารณสุขจังหวัด หน่วยบริการที่มีเภสัชฯ อยู่ในโรงพยาบาลระดับชุมชน เพราะว่างานเรื่องการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมส่วนหนึ่ง ก็จะมีกลุ่มเภสัชฯ ในโรงพยาบาลชุมชนที่เขาต้องลงไปดูเรื่องยาชุด ยาที่มีปัญหาสารสเตียรอยด์เกิดขึ้นในพื้นที่ หรือตัวอื่นๆ อย่างเช่น อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์ที่มันขายอยู่ตามตลาดนัด  ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์นี้จะไม่มีฉลากภาษาไทย รวมถึงยาบางตัวที่อยู่ตามเขตชายแดนก็จะเป็นภาษามลายู ภาษารูมี ที่เป็นภาษาของทางมาเลเชียเขียนแบบภาษาอังกฤษแต่อ่านคำเป็นภาษามาเลเชีย ก็จะสอดคล้องกับในพื้นที่เองเขาก็มีกระบวนการทำงานของอีกด้านหนึ่ง ด้านงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ไปเชื่อมกันที่เรียกว่า Border Health ที่เรียกว่าคณะกรรมการชายแดนเรื่องสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกัน คณะเภสัชฯ ซึ่งรับหน้าที่เป็นกลไกวิชาการประสานประชาคม ซึ่งพวกเราเองคือเครือข่ายผู้บริโภคในพื้นที่ ก็จะมีประเด็นทำงานร่วมกันมีการเฝ้าระวังผลิภัณฑ์ชายแดน ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน เพราะว่าปัญหาอยู่ในส่วนของชุมชน             “คือส่วนหนึ่งคนไม่ค่อยไปแจ้ง อย.หรือแจ้ง สสจ.แต่พอเราไป Survey สำรวจ มีกระบวนการเฝ้าระวัง เราก็จะไปถึงต้นตอปัญหาก็คือการใช้ยาในครัวเรือน” ครัวเรือนนี้ได้ยามาจากไหน ได้ยาจากคนที่เพิ่งไปกลับมาจากอินโดฯ กลับจากมาเลย์ แล้วก็มีการส่งต่อ รวบรวมมาแล้วก็ส่งให้ศูนย์วิทย์ฯ ก็เลยกลายเป็นการร่วมมือของภาคี ซึ่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เอง คณะเภสัชฯ ก็จะไปทำกระบวนการที่เรียกว่า ฝึกให้เราเป็นนักวิจัยร่วม คือเก็บข้อมูล แล้วก็ออกแบบสอบถามให้มันสามารถมาประมวลผลวิเคราะห์ได้ ฉะนั้นก่อนที่จะไปเก็บข้อมูลก็ต้องมานั่งออกแบบสอบถาม แบบ Survey ก่อนว่าเราต้องการข้อมูลแบบไหน มันก็จะทำให้เห็นทิศทางการจัดการปัญหา         เช่น ถ้าเกิดเจอแบบนี้แสดงว่าสเตียรอยด์ที่เราเจอ คือมันค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้ว ทางศูนย์วิทย์ฯ ก็จะส่งไปตรวจสอบ แล้วก็หลังจากนี้เราก็จะดูว่าถ้าเกิดตัวนี้มีปัญหาเราก็จะพูดคุยผ่านใครล่ะ ก็ต้องส่งไปที่ Border Health ส่วนหนึ่งก็จะมีทางสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาสนะคะ ที่ทำงานกับตรงนี้แล้วก็กับด่านสินค้า ด่านตรวจสินค้าก็จะมีด่านศูนย์วิทย์ฯ ของสงขลาด้วยส่วนหนึ่งนะคะ หลังจากนี้เราก็จะเอาข้อมูลพวกนี้มานั่งคุยกันว่าจะมีข้อเสนอต่อไปอย่างไรเพื่อจัดการตัวผลิตภัณฑ์นี้ อันนี้ก็จะเป็นกระบวนการทำงานและอาสาสมัครเองส่วนหนึ่งก็จะตรวจง่ายๆ เป็นสเตียรอยด์จะเป็นในกลุ่มที่เขาถ้าพัฒนาอีกนิดหนึ่งเขาก็จะเป็นอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญที่เขาเรียกว่า อาสาสมัครนักวิทย์ อสม.เขาจะมีกลุ่มนี้ก็จะตรวจสเตียรอยด์กันเป็นเบื้องต้นก่อน ศักยภาพของกลุ่มอาสาสมัครที่น่าสนใจ         คือกลุ่มไลน์พวกนี้ที่เขาเป็นสมาชิกกันเขาก็จะเกรงใจกันส่วนหนึ่ง แต่ว่าเขาก็จะมีศักยภาพคืออย่างน้อยๆ ตอนนี้เขาเริ่มพิมพ์เป็น คือกดพิมพ์ไม่ใช่กดแชร์อย่างเดียว พอเริ่มกดพิมพ์ได้เขาก็จะเริ่มถามว่าถ้าพูดไปอย่างนี้ดีไหม อย่างคนที่ส่งข้อมูลมามีวุฒิการศึกษานะเป็นอาจารย์โรงเรียนด้วย แต่อาจารย์คนนี้ส่งข้อมูลที่มันไม่น่าเชื่อถือ น่าสงสัย เรา (อาสาสมัคร) จะตอบกลับไปอย่างไร ก็จะมีกลุ่มไลน์เพื่อปรึกษาหารือกันเป็นกลุ่มไลน์เพื่อส่งข้อมูล คือแชร์หน้าจอมาแล้วเหล่าอาสาสมัครเขาก็จะถามว่าอันนี้จะตอบไปอย่างไรดี ให้ไม่หักหน้ากันมากนัก ปัจจุบันก็ยังมีข้อความที่แชร์เรื่องผิดๆ อยู่มาก มีวิธีจัดการอย่างไร         ใช่ค่ะ ถูก เพราะฉะนั้นตอนนี้ศักยภาพของอาสาสมัครเราที่เห็นได้ชัดเจนคือ ข่าวปลอมๆ พวกนี้ที่ได้รับมาบางส่วนมันเริ่มเป็นข่าววนซ้ำ เขา (อาสาสมัคร) จะจำได้ เช่น ข่าววนซ้ำว่าแชร์เรื่องคลิปที่อาจารย์มหิดลเขาทำวิจัยเรื่องกระชาย อาสาสมัครของเราก็สามารถบอกกันต่อได้ว่า “เออวิจัยนั้นเขาก็จะยังไม่เป็นยานะ เป็นแค่การทดลองในเซลล์ที่อยู่ข้างนอกที่เป็นในหลอดทดลองยังไม่ได้ใช้ในคน” เขาก็จะพิมพ์พวกนี้ได้เรียกว่ามีชุดข้อมูลที่ถูกต้อง  คือมีชุดคำที่พร้อมจะไปอธิบายว่า เห้ย ยังไม่ได้เป็นยาอันนี้อันนั้น หรือว่าอันนี้น้ำกระชายจริงๆ ยังไม่ควรกินแบบคั้นสด เพราะมันกินแล้วมันจะระคายเคืองปาก ปากคุณจะเป็นตุ่มนะและก็ไม่ได้รักษามีแค่เสริมภูมิ ก็จะชุดคำที่เขาเอาไปพูดได้แต่มันจะเริ่มวนซ้ำแล้ว เดี๋ยวสักพักจะมีคนในกลุ่มเขาก็จะแชร์เนื่องจากความยากในการเข้าถึงยาตอนนี้นะคะ          แต่ตอนนี้ก็อาจจะมีอีกประเด็นหนึ่งซึ่งยังเป็นความคลุมเครือยังไม่ลงตัวกันของข้อมูล เช่น ATK Antigen Test Kit ตอนนี้มันคืออะไรแน่มันต้องผ่าน WHO ก่อน หรือมันผ่าน อย.ก่อน ก็เป็นเรื่องประเด็นถกเถียงกัน ซึ่งการสื่อสารของ อย.ก็ไม่ชัด สื่อสารของหน่วยที่จัดซื้อก็ไม่ชัด อันนี้ก็จะลำบากนิดหนึ่ง จากประสบการณ์ของอาจารย์เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ         คือเราเองความไว้เนื้อเชื่อใจเรื่องมาตรฐานหรือเรื่อง อย.เราก็คิดว่าเป็นเกณฑ์แรก แต่ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีโดยเฉพาะในเรื่องของไลฟ์สไตล์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพการบำรุงสุขภาพเป็นพวก Function Drink  อะไรพวกนี้ไปไกลมากกว่าการที่จะมารับรองมาตรฐาน  แล้วคนก็สนใจในเรื่องภูมิคุ้มกันเรื่องการสร้างความแข็งแรงมากกว่าการรักษา เพราะฉะนั้นตัวผลิตภัณฑ์พวกนี้มันค่อนข้างจะคลุมตลาดได้กว้างมากขึ้นนะคะ แล้วก็การให้ใบอนุญาตอะไรพวกนี้มันก็ง่ายขึ้นแต่ไม่มีใครยืนยันความชัดเจน คือมันขายเหมือนอาหารนั่นแหละแต่มันโฆษณามากเกินกว่าอาหาร อันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เห็น         เรื่องพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจุบันคนก็ชอบทางลัดคือกินอะไรง่ายๆ กินนิดเดียวก็ได้ผัก 2 กิโลกรัม อะไรอย่างนี้ก็จะยิ่งสอดรับกับวิถีแบบนี้ ซึ่งเราก็คงไปบอกเขาห้ามกินไม่ได้ แต่เราก็จะต้องทำเรื่องกำกับคุณภาพกับหน่วยงาน หน่วยงานรัฐให้เขาทำเรื่อง Post Marketing ให้เยอะขึ้น เพราะเขาอนุญาตไปแล้วแต่เขาไม่ได้มาตามดูคุณภาพหลังจากที่มีใบอนุญาตออกมาแล้ว ก็มีการขายในท้องตลาดแล้ว มันควรจะมีหน่วยงานต่างหากที่มาทำเรื่องนี้ ทำวิจัยที่เรียกว่า Out of Pocket ด้วย ก็คือเราจะสุขภาพเกินไปไหม คือบางคนพร้อมจะจ่ายนะ แต่การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่มันเป็นการตลาดเหมือน Functional Drink ที่เราเห็นบางโครงการมันจะเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆ และหน่วยงานก็ไม่ได้กำกับดูแล กลายเป็นเราต้องไปซื้อหาเพื่อดูแลสุขภาพมากเกินจำเป็น แต่ก็ยังเจ็บป่วยอยู่เหมือนเดิม อันนี้ก็เห็นอยู่ในประเด็นเรื่องสุขภาพ         สำหรับประเด็นเรื่องอื่นของผู้บริโภค เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีแหล่งข้อมูลรีวิวสินค้าที่เป็นกลางมาก อันนี้ก็จะเห็นพัฒนาการว่าเรายังไม่มีหน่วยงานที่จะมาดูแลสินค้าที่น่าเชื่อถือ ก็คาดหวังว่าหน่วยงานรัฐเองจะสนับสนุนเรื่องเกณฑ์สินค้าที่เป็นมาตรฐานจริงๆ แล้วก็สินค้าบางตัวที่มันทำให้เสื่อมเร็ว ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับวิถีที่เราจะต้องดูแลสิ่งแวดล้อม มันก็ควรจะมีข้อบ่งใช้ให้พวกบริษัท ร้านค้า ผู้ประกอบธุรกิจร่วมรับผิดชอบด้วยเกี่ยวกับขยะต่างๆ ที่มันจะเกิดขึ้น อันนี้ในแง่มุมผู้บริโภค ซึ่งอันนี้น่าจะเป็นประเด็นเรื่องผู้บริโภคยั่งยืนด้วยคะ ก้าวต่อไปที่คิด         ก็คิดว่าส่วนหนึ่งคือ เราต้องไปทำระบบที่มันเป็นระบบข้อมูลที่คนเข้าถึงได้ง่าย คือตอนนี้ Application มันเยอะ สแกน QR Code ก็ง่ายแต่มันไม่มีเครื่องมือสำหรับผู้บริโภคที่เราจะเข้าถึงได้ง่ายอย่างนี้นะ ก็คิดว่ามันควรจะมีใครมาทำเรื่องพวกนี้ เปรียบเทียบราคาสินค้าต่างๆ เปรียบเทียบคุณภาพจากการสแกน QR Code คือผู้บริโภคจะต้องทำได้ง่ายขึ้น ก็คงจะต้องไปพัฒนาเขาเรียกว่า Smart People ให้เท่าทันกับสถานการณ์ว่าเรารีวิวสินค้าไม่ได้ แต่เราควรจะต้องมีเครื่องมืออะไรที่เรารู้ว่าอันนี้มันมีคะแนนให้จากคนทั่วไป ชุมชนอื่นหรือ อสม. หรือเครือข่ายผู้บริโภคอื่นๆ ที่สนใจ มีคำแนะนำอย่างไร         คือเริ่มต้นจริงๆ อสม.ทำได้นะคะ มันมีกองทุนสุขภาพท้องถิ่นรวมตัวกันแล้วก็เขียนโครงการเป็นเรื่องพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคได้เลยในเรื่องของสุขภาพในเรื่องของการตรวจสอบความเท่าทันข้อมูลสุขภาพที่เรียกว่า Health literacy อาจจะต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ช่วยหน่อยเป็นเรื่องความฉลาดทางสุขภาพนะคะ Health literacy ซึ่งมันต้องใช้พวกเครื่องไม้เครื่องมือนี้นะคะ ไปเขียนโครงการพัฒนาศักยภาพและก็ขณะเดียวกันก็อาจจะต้องหาคนมาช่วยเรื่องพวกนี้ แต่ว่าติดต่อมาทางเราได้ ยินดีเลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 241 สมัครคอร์สดูแลสุขภาพแล้วพบว่าป่วยจะบอกเลิกสัญญาได้ไหม

        ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพดีแล้วถ้ามีวิธีไหนที่จะทำให้สุขภาพดีและมีรูปร่างดูดีด้วยแล้ว เราก็คงอยากจะทำ เช่น คอร์สดูแลสุขภาพพร้อมความงาม แต่ถ้าเราตกลงแล้วจ่ายเงินเป็นค่าคอร์สไปเรียบร้อยแล้ว แต่พบว่าเราป่วยเป็นโรคร้ายแรง และหากยังฝืนทำตามคอร์สที่ซื้อมาอาจทำให้อาการป่วยเราแย่ลงจะขอเงินที่จ่ายไปแล้วคืนได้ไหม         คุณนวล ได้รับโทรศัพท์เชิญชวนให้ “เขา” เข้าตรวจสุขภาพของศูนย์ดูแลสุขภาพแห่งหนึ่ง เขาตอบรับคำชวนและเข้ารับการตรวจสุขภาพเพราะฟังคำเชิญชวนแล้วรู้สึกดีมาก ผลการตรวจพนักงานวิเคราะห์ว่า เขาสุขภาพไม่ค่อยดีนักมีปัญหาหลายเรื่อง เช่น ซึมเศร้า ไตไม่ดี และอื่นๆ ถ้าอยากจะรักษาต้องมีการตรวจเลือดแล้วนำผลเลือดมาพบแพทย์เพื่อห้วินิจฉัยโรคต่อไปซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในคอร์สนี้ 499,000 บาท         คุณนวลชะงักไปเมื่อได้ยินค่าใช้จ่าย บอกพนักงานไปว่าเขาเกษียณแล้วจะเอาเงินมากมายขนาดนั้นมาจากไหน พนักงานเสนอราคาพิเศษลดให้เหลือ 199,000 บาท แต่เขาก็ยังไม่มีเงินพออยู่ดี จึงต่อรองกับพนักงานและจ่ายไปก่อน 30% เป็นเงิน 59,700 บาท ด้วยบัตรเครดิตโดยรายละเอียดคอร์สนี้จะต้องได้รับการรักษา 17 ครั้ง เท่ากับเฉลี่ยครั้งละ 3,512 บาท         หลังจากพบคุณหมอที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ เขาได้รับการฉีดวิตามิน 2 ตัว และ Zinc เมื่อฉีดวิตามินแล้วเขารู้สึกเหมือนว่าหน้าอกเขาเริ่มใหญ่ขึ้น(พองขึ้น) และเจ็บที่หน้าอก หลังจากนั้นเขาได้รับวิตามินอีก 4 ครั้ง มีอาการเจ็บหน้าอกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงกังวลใจรีบได้ไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลออกมาว่าเขาเป็นมะเร็งปอด ต้องรับการรักษาด่วน         เมื่อคุณนวลแจ้งกับแพทย์ของโรงพยาบาลว่า เขาสมัครคอร์สดูแลสุขภาพไว้ โดยรับการฉีดวิตามินและอื่นๆ  แพทย์บอกว่าให้หยุดการรักษาทุกอย่างก่อนเพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นจะไม่รู้ว่าสาเหตุของอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุใด         หลังจากนั้นเขาไปปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์ดูแลสุขภาพ แพทย์เห็นด้วยว่า ควรหยุดการรักษาที่ศูนย์สุขภาพฯ ก่อน และเซ็นเอกสารให้ยกเลิกการรักษา คุณนวลจึงทำหนังสือยกเลิกสัญญาและขอเงินส่วนต่างที่ยังไม่ใช้บริการจำนวน 42,140 บาทคืน แต่ทางศูนย์ฯ โดยพนักงานยึกยักแจ้งว่าสามารถคืนได้เพียง 22,140 บาทเท่านั้น มิเช่นนั้นก็ให้ชวนคนอื่นเข้ามารักษาแทน (โอนสิทธิ) โดยเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย คุณนวลไม่สบายใจ เมื่อไม่อาจตกลงกันได้จึงมาขอคำปรึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหา         เนื่องจากคุณนวลขอยกเลิกสัญญาและขอเงินคืนเพราะมีเหตุผลด้านสุขภาพ คุณนวลย่อมมีสิทธิได้รับเงินส่วนต่างคืนตามยอดที่ได้ใช้จ่ายไปจริง โดยการเข้าคอร์ส​ครั้ง​นี้​พนักงาน​ได้​เรียก​เก็บ​เงิน​ไป​เป็​นเงินจํานว​น ​59,700 บาท​ ซึ่ง​จะ​ต้อง​ได้​รับ​การ​รักษา​ทั้ง​หมด​ 17 ครั้ง​ เท่ากับเป็นการ​รักษา​ครั้ง​ละ​ 3,512 บาท​ แต่คุณนวลได้รับการ​รักษาไปเพียง 5 ครั้ง​ รวม​เป็น​เงิน​ทั้ง​สิ้น​จํานว​น 17,560 บาท​ ดังนั้นจึง​มี​จํานวน​ส่วน​ต่าง​ที่จะ​ต้องได้คืนคือ ​42,140 บาท         ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ แนะนำให้คุณนวลทำหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาและขอคืนเงิน หลังจากที่หนังสือถึงศูนย์สุขภาพ ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ ได้ติดต่อไปยังศูนย์สุขภาพโดยช่วยคุณนวลอธิบายเรื่องสิทธิของลูกค้าที่จะได้รับเงินคืนและนัดวันเวลาเพื่อเจรจาเรื่องจำนวนเงินส่วนต่างที่จะต้องคืนให้แก่คุณนวล          ต่อมาทราบจากคุณนวลว่า ศูนย์สุขภาพฯ จะคืนเงินส่วนต่างให้เขาจำนวน 37,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่คุณนวลพอใจจึงขอยุติเรื่องร้องเรียนไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 ดูแลมืออย่างไรให้ดูสุขภาพดี

        เช่นเดียวกับใบหน้า มือก็ดุจสะพานที่พาคุณเชื่อมต่อกับผู้คน ไม่ว่าจะไหว้ ทักทาย ยื่นของให้ รับสิ่งของหรือการสัมผัสมือ คิดดูสิถ้ามือดูหยาบกร้าน ผิวแห้งตึง หรือลอกเป็นขุย ก็อาจทำให้เสียความมั่นใจได้เช่นกัน        ผิวบริเวณมือนั้น จะมีความพิเศษกว่าบริเวณอื่นตรงที่ฝ่ามือนั้นจะไม่มีรูขุมขน แต่ก็มีรูเปิดสำหรับเหงื่อนะ ด้านฝ่ามือนี้ธรรมชาติออกแบบมาเพื่อการหยิบจับที่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามผิวที่มือก็ประกอบด้วย ชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้เช่นเดียวกับผิวส่วนอื่นของร่างกาย การกินอาหารที่ดี การทำความสะอาด และการบำรุงก็ไม่ต่างกันมากนัก เพียงแต่ในชีวิตประจำวันมือจะสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ มากมาย จึงอาจต้องดูแลเพิ่มมากขึ้นอีกนิด ใส่ใจมากขึ้นหน่อยเพื่อให้เป็นมือที่ดูสุขภาพดี                                  ปัญหาของมือที่พบบ่อย คือ ความแห้งตึงของผิว ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ การล้างมือบ่อยคือสาเหตุหนึ่งที่คุณอาจคิดไม่ถึง เพราะว่าเราถูกสอนกันมาว่า ต้องหมั่นทำความสะอาดมือเพื่อสุขอนามัย แต่การล้างมือบ่อยก็เปิดโอกาสให้ผิวสูญเสียสมดุลของน้ำมันตามธรรมชาติ ผิวจึงแห้งตึง ซึ่งก่อให้เกิดอาการคัน และอาจนำไปสู่ผิวอักเสบได้อีก ดังนั้นเรามาดูขั้นตอนการล้างมือที่จะไม่ทำร้ายผิวก่อน            1.เลี่ยงน้ำอุ่นและสบู่ที่มีค่ากรดด่างสูง เลือกใช้สูตรอ่อนโยน            2.สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียไม่จำเป็นและอาจทำให้ผิวแห้งมากขึ้น            3.โฟมล้างมือเป็นทางเลือกที่ดี            4.ล้างมือโดยลูบเบาๆ อย่าขัดถูแรง            5.ล้างแล้วควรเช็ดมือให้แห้ง ไม่ปล่อยให้ผิวชื้นนานๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อรา            6.ถ้ารู้สึกผิวแห้งตึงมาก ใช้ครีมทามือเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น        การล้างมือบ่อยทำให้ผิวแห้ง คันได้ แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ผิวแพ้ แห้งหรือหยาบกร้าน ได้แก่             1.แพ้น้ำหอม สารกันเสียในโลชั่นหรือครีมที่ใช้ทามือ ลองสังเกตดูว่า เราแพ้สินค้าตัวใดควรหลีกเลี่ยง            2.สารเคมีในผลิตภัณฑ์ชำระล้าง เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยาล้างห้องน้ำ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ ควรปรับระยะเวลาการสัมผัสให้น้อยที่สุด การสวมถุงมือช่วยป้องกันได้ แรกๆ อาจอึดอัดแต่บ่อยเข้าจะชินเอง            3.การป้องกันแดดสำหรับผิวบริเวณมือก็สำคัญไม่ควรละเลย            4.บุหรี่และความเครียด เชื่อไหมว่า เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มือคุณหยาบกร้านไม่น่ามอง        รู้แล้วว่าต้องหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง ดังนั้นมาปิดด้วยการบำรุงรักษา มือนั้นสำคัญยิ่งไม่ควรปล่อยปะละเลย ควรหาเวลาสักนิดในแต่ละวัน ดูแลรักษามือและนิ้วมือบ้าง อย่างน้อยควรใช้ครีมหรือโลชั่น(ที่ไม่ก่ออาการแพ้) นวดมือทุกวันจะช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำมันของต่อมบริเวณผิวหนังที่มือทำให้มือสวยน่าทะนุถนอม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 ดูแลสุขภาพกับ “iCare Health Monitor”

วันนี้ขอมาดูแลสุขภาพกันนะคะ ปัจจุบันการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บในยุคสมัยนี้จะมากับอาหารการกินเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการทำงานที่อยู่ภายใต้ภาวะความกดดันและความเครียด ซึ่งคนส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาที่ใส่ใจสุขภาพของตนเองได้ตลอดเวลา หรือบางคนอาจจะไม่แม้แต่เสียเวลาในการไปตรวจสุขภาพประจำปีด้วยซ้ำ สุขภาพร่างกายควรได้รับการดูแลเอาใส่ใจเป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงขอแนะนำแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า “iCare Health Monitor” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับตรวจสอบสุขภาพในเบื้องต้น สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android หลังจากที่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเรียบร้อยแล้ว เมื่อเข้าไปในแอพพลิเคชั่นจะปรากฏหน้าหลัก โดยมีให้เลือกตรวจวัดสุขภาพทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ ด้านการมองเห็นหรือ Vision ด้านการได้ยินหรือ Hearing ด้านความดันเลือดหรือ Blood pressure ด้านอัตราการเต้นของหัวใจหรือ Heart rate ด้านความจุของปอดหรือ Lung capacity ด้านอัตราการหายใจหรือ Respiratory rate ด้านปริมาณออกซิเจนหรือ Oxygen ด้านจิตวิทยาหรือ Psychological ด้านการมองเห็นหรือ Vision จะเป็นการตรวจวัดการมองเห็นในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็นรูป สี เส้น ด้านการได้ยินหรือ Hearing จะเป็นการทดสอบการฟังเสียงที่ได้ยินที่ออกมาจากแอพพลิเคชั่น ด้านความจุของปอดหรือ Lung capacity จะทดสอบการเป่าลมโดยใช้ปอด ซึ่งแอพพลิเคชั่นจะให้เป่าลมอย่างเต็มแรงผ่านช่องไมโครโฟนของสมาร์ทโฟนสำหรับด้านความดันเลือดหรือ Blood pressure ด้านอัตราการเต้นของหัวใจหรือ Heart rate ด้านอัตราการหายใจหรือ Respiratory rate ด้านปริมาณออกซิเจนหรือ Oxygen และด้านจิตวิทยาหรือ Psychological แอพพลิเคชั่นจะให้ตรวจวัดโดยวิธีเดียวกันนั่นคือ ให้นำนิ้วชี้วางไว้บริเวณกล้องด้านหลังสมาร์ทโฟนโดยให้การกดหน้าจอค้างไว้ในขณะที่นำนิ้วชี้วางไว้บริเวณกล้องด้านหลัง และรอจนกว่าแอพพลิเคชั่นจะทำงานสำเร็จ หรือผู้ใช้สามารถตรวจเช็คสุขภาพแบบรวดเร็ว โดยกดปุ่มวงกลมใหญ่มีข้อความว่า Quick Check จนกว่าแอพพลิเคชั่นจะทำงานสำเร็จ ก็จะได้ผลการตรวจวัดทั้ง 5 ด้านซึ่งภายในแอพพลิเคชั่น “iCare Health Monitor” ยังสามารถเก็บสถิติการตรวจวัดในแต่ละครั้งเพื่อนำมาเปรียบเทียบย้อนหลังได้อีกด้วยนอกจากนี้แอพพลิเคชั่นยังมีหมวดการตรวจวัดจำนวนก้าวที่เดินในแต่ละวัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบให้ทราบเป็นระยะทางและจำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญออกไปในแต่ละวัน โดยจะมีผลสรุปเป็นกราฟให้เห็นอย่างชัดเจนของการก้าวเดินที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาในวันนั้นๆ และผลสรุปเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายปีมาใส่ใจสุขภาพกันวันละนิดนะคะ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 ระวังการจ้างคนดูแลผู้ป่วย

แม้การจ้างคนดูแลผู้ป่วย จะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระให้หลายครอบครัวได้ แต่บางครั้งอาจเป็นการสร้างปัญหาที่ยากจะแก้ไข ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้ คุณสุชาติร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ว่า เขาได้จ้างคนดูแลผู้ป่วยมาเฝ้าไข้คุณแม่ ซึ่งนอนพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จากศูนย์บริการจัดส่งพนักงานประจำบ้าน-โรงพยาบาล โดยได้ตรวจสอบแล้วว่าคนที่จ้างมา ผ่านการรับรองและได้รับประกาศนียบัตรการสำเร็จหลักสูตรพนักงานผู้ช่วยบริบาลสุขภาพหลักสูตร 420 ชั่วโมง จากโรงเรียนการจัดการสุขภาพจุฬาเวชเรียบร้อย อย่างไรก็ตามหลังดูแลคุณแม่ได้ไม่กี่วัน พนักงานคนดังกล่าวก็แจ้งมายังคุณสุชาติว่า คุณแม่ของเขาไม่สบายและต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวน 5,000 บาท โดยขอร้องให้เขาโอนเงินเข้าบัญชีของเธอ เพื่อสำรองจ่ายไปก่อน ด้านคุณสุชาติคิดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร จึงหลงเชื่อและโอนเงินเข้าบัญชีให้ แต่กลับพบว่าเธอได้หายตัวไปและติดต่อไม่ได้อีกเลยเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้เขาจึงไปแจ้งความ และติดต่อศูนย์บริการดังกล่าวเพื่อให้รับผิดชอบ แต่ได้รับคำตอบกลับมาว่า ตามสัญญาที่เขาทำไว้ก่อนตกลงจ้างคนดูแลผู้ป่วยได้ระบุไว้ดังนี้ “หากเกิดปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงาน หรือเกิดการเสียหายแก่ทรัพย์สินผู้ว่าจ้าง โดยเหตุเกิดอาจเกี่ยวกับพนักงานของผู้รับจ้าง ผู้ว่าจ้างจะต้องรีบแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายกับพนักงานได้ทันที โดยผู้รับจ้างไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบแต่ประการใดทั้งสิ้น เว้นแต่การให้ข้อมูลต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีเท่านั้น” ทำให้คุณสุชาติต้องส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องติดต่อไปยังโรงพยาบาลจุฬาเวชโดยตรง เพื่อร้องเรียนถึงพฤติกรรมของพนักงานดังกล่าว โดยขอให้พิจารณาถึงบทลงโทษต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากพนักงานอาจใช้ประกาศนียบัตรที่ได้รับการรับรองทำงานต่อไปและหลอกลวงผู้อื่นได้อีก อย่างไรก็ตามจากปัญหานี้ได้แสดงให้เห็นถึง ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งในขณะที่ผู้ร้องได้ร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ ยังไม่มีการควบคุมเรื่องข้อสัญญาสำหรับธุรกิจประเภทดังกล่าว ทำให้ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ ทุพพลภาพและผู้ป่วยตามสถานที่อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2559 โดยกำหนดว่า ข้อ 3 สัญญาการให้บริการดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ คนทุพพลภาพและผู้ป่วยตามสถานที่อยู่อาศัยที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร โดยมีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังนี้1.รายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ เลขประจำตัวประชาชนและที่อยู่ของผู้ประกอบธุรกิจ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคล ให้ระบุเลขทะเบียนนิติบุคคล2.รายละเอียดของพนักงาน อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ความประพฤติและประวัติการกระทำความผิด (ถ้ามี)กรณีพนักงานเป็นคนไทยให้ระบุเลขประจำตัวประชาชน แต่กรณีเป็นพนักงานต่างด้าวให้ระบุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว3.รายละเอียดเกี่ยวกับประเภท และขอบเขตของงานที่ให้บริการ เช่น วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการทำงาน วันหยุดพนักงาน การทำงานล่วงเวลา เป็นต้น4.รายละเอียดเกี่ยวกับอัตราค่าบริการ และเงินอื่นๆ ที่เรียกเก็บจากผู้บริโภค เช่น ค่าบริการพิเศษในวันหยุดของพนักงาน ค่าบริการล่วงหน้าและค่าทำงนล่วงเวลา รวมทั้งเงื่อนไขและวิธีชำระเงิน5.ผู้บริโภคมีสิทธิให้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงพนักงาน กรณีที่พนักงานไม่มาปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเอาใจใส่ ซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังตามที่พึงคาดหมายได้ จากการให้บริการตามสัญญา หรือพนักงานมีสภาพร่างกาย จิตใจ หรือความประพฤติไม่เหมาะสมหรือกระทำการอันเป็นความผิดอาญาทั้งนี้ผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญาได้ หากพบว่าไม่มีรายละเอียดของพนักงานตาม (2) หรือพนักงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การปฏิบัติในการให้บริการตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือพนักงานมีพฤติกรรมตาม (5)รวมทั้งไม่ตัดสิทธิผู้บริโภคที่จะเรียกเบี้ยปรับในอัตราเดียวกันกับอัตราเบี้ยปรับที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระในกรณีผิดสัญญา และ (8) เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินหรือสิ่งใดที่รับไว้เป็นค่าบริการล่วงหน้าทั้งหมดแก่ผู้บริโภค ภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา และถ้าผู้ประกอบธุรกิจไม่คืนเงินตามจำนวนและภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนั้นชำระเบี้ยปรับในอัตราเดียวกันกับอัตราเบี้ยปรับที่ผู้ประกอบธุรกิจกำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระในกรณีผิดสัญญานอกจากนี้ข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องไม่ใช่ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมายทำนองเดียวกัน ดังนี้(1) ข้อสัญญาที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากผู้ประกอบธุรกิจหรือพนักงาน(2) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจมีสิทธิริบเงินค่าบริการและเงินอื่นๆ ที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคไว้ล่วงหน้า(3) ข้อสัญญาที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชำระค่าปรับ ค่าเสียหายหรือเงินอื่นๆ เพิ่มเติมในกรณีที่มีการเลิกสัญญา เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้แล้วตามกฎหมาย(4) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนแปลงอัตราค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญา ทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา(5) ข้อสัญญาที่ให้สิทธิผู้ประกอบธุรกิจบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคมิได้ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญข้อใดข้อหนึ่งในสัญญา(6) ข้อสัญญาที่กำหนดให้การต่อระยะเวลาของสัญญามีผลบังคับทันทีเมื่อครบกำหนดระยะเวลา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ฉลากโภชนาการ สิ่งจำเป็นเพื่อการดูแลสุขภาพ

ความสำคัญและระดับการควบคุมข้อมูลโภชนาการหรือฉลากโภชนาการ เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้บริโภคได้รู้ถึงคุณค่าทางด้านโภชนาการหรือปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายจะได้รับเมื่อรับประทานเข้าไป และเป็นการยกระดับให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ผู้บริโภคพึงได้รับ ดังนั้นหน่วยงานที่ดูแลด้านสุขภาพของประชาชนในทุกประเทศทั่วโลก จึงต่างให้ความสำคัญกับการแสดงฉลากโภชนาการบนผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างไรก็ตามระดับการแสดงข้อมูลโภชนาการมีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อมูลโภชนาการบนฉลาก(Mandatory) เป็นลักษณะบังคับว่าต้องมี ถ้าไม่มี จะมีบทลงโทษ และกลุ่มที่ผู้ประกอบการสามารถแสดงฉลากได้ตามความสมัครใจ (Voluntary) คือ กฎหมายไม่บังคับ – จะแสดงฉลากหรือไม่ก็ได้1) ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่กฎหมายบังคับให้มีการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร ได้แก่ สหภาพยุโรป (อียู), สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, เม็กซิโก, อาร์เจนตินา, บราซิล, ชิลี, โคลัมเบีย, เอกวาดอร์, ปารากวัย, อุรุกวัย, อิสราเอล, อินเดีย, อินโดนีเซีย, จีน (+ เขตปกครองพิเศษฮ่องกง), เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ไต้หวัน, ไทย, ออสเตรเลีย, และนิวซีแลนด์  ซึ่งประเทศเหล่านี้จะกำหนดตามกฎหมายให้ผู้ประกอบการต้องแสดงฉลากโภชนาการถึงแม้ว่าจะไม่มีการแสดงคำกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือคำกล่าวอ้างทางสุขภาพก็ตาม โดยจะกำหนดว่าสารอาหารตัวใดจะต้องถูกแสดงบ้างและจะแสดงในลักษณะใด (เช่น ต่อ 100 กรัม หรือ ต่อหน่วยบริโภค เป็นต้น) นอกจากนี้ยังอนุญาตให้มีการแสดงรูปแบบอื่น ๆ ของฉลากโภชนาการได้โดยสมัครใจ อีกด้วย 2) ประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ให้มีการแสดงฉลากโภชนาการโดยสมัครใจโดยรัฐให้การสนับสนุนแนวทางในการแสดงข้อมูล ได้แก่ กลุ่มประเทศอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) (ประกอบด้วย บาห์เรน, คูเวต, กาตาร์, โอมาน, ซาอุดิอาระเบีย, และสหรัฐอาหรับเอมิเรต: ยูเออี), เวเนซุเอล่า, ตุรกี, สิงโปร์, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, เคนยา, เมาริเทียส, ไนจีเรีย, และอาฟริกาใต้ ซึ่งกฎหมายของประเทศกลุ่มนี้จะให้รัฐเป็นผู้กำหนดว่าสารอาหารใดบ้างที่ต้องมีการแสดงบนฉลากและต้องแสดงฉลากในลักษณะใดแต่ไม่ได้บังคับว่าจะต้องแสดงเว้นเสียแต่ว่ามีการกล่าวอ้างทางโภชนาการหรือกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารนั้น ๆ หรือเป็นอาหารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อการควบคุมน้ำหนัก   ภาพประกอบ : แผนภูมิภาพแสดงการแบ่งกลุ่มประเทศที่มีการแสดงฉลากโภชนาการตามกฎหมายกระแสโลกในการทำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมากระแสโลกในเรื่องการแสดงข้อมูลโภชนาการได้มุ่งไปสู่การทำเป็นกฎหมายภาคบังคับ เห็นได้จากการที่ มาตรฐานอาหารสากล(โคเด็กซ์) (Codex Alimentarius Commission, 2012) ซึ่งประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2555 นั้น ได้แนะนำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับแม้ว่าอาหารนั้นจะไม่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการก็ตามในหลายประเทศที่เคยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสดงฉลากโภชนาการแบบสมัครใจ ก็ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นกฎหมายฉลากโภชนาการแบบภาคบังคับ เช่น ประเทศจีนก่อนหน้านี้ใช้กฎหมายฉลากโภชนาการแบบสมัครใจ ต่อมาเมื่อได้นำมาตรฐานอาหารสากล(โคเด็กซ์) มาใช้ จึงเปลี่ยนให้ฉลากโภชนาการเป็นฉลากภาคบังคับและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 ด้านสหภาพยุโรป (อียู) ได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการให้ข้อมูลด้านอาหารแก่ผู้บริโภคในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 ซึ่งทำให้ฉลากโภชนาการเป็นกฎหมายภาคบังคับภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 แต่ยังมีหลายสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องทำก่อนถึงกำหนดในวันที่ 13 ธันวาคม 2559 หนึ่งในนั้นคือ การหาข้อสรุปว่า รูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการ แบบใดเหมาะสม เข้าใจง่าย และจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากที่สุด จึงทำให้มีการสนับสนุนทุนทำโครงการวิจัย ชื่อว่า FLABEL ที่พบข้อมูลว่า ใน 27 ประเทศสมาชิกของอียูและตุรกี มีผลิตภัณฑ์ร้อยละ 85 จาก 5 กลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ที่ใช้ฉลากโภชนาการแบบ แสดงด้านหลังบรรจุภัณฑ์ (Back of Pack : BOP) มีผลิตภัณฑ์ร้อยละ 48 ที่ใช้ฉลากโภชนาการแบบ แสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (Front of Pack : FOP) นอกจากนี้ยังพบว่า ร้อยละ 84 ของผลิตภัณฑ์จะแสดงข้อมูลโภชนาการใน รูปแบบเป็นตาราง หรือ เป็นเส้นตรง (ตารางโภชนาการหรือกรอบข้อความโภชนาการ) โดยที่มีเพียงร้อยละ 1 แสดงข้อมูลด้วยสัญลักษณ์สุขภาพ (health logos) และในบรรดาฉลากแบบ แสดงข้อมูลโภชนาการด้านหน้า ทั้งหมด รูปแบบฉลาก หวาน มัน เค็ม (Guideline Daily Amounts :GDA) และ การกล่าวอ้างทางโภชนาการ เป็นรูปแบบที่แพร่หลายที่สุด ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นมาตรฐานกลางของฉลากโภชนาการแบบแสดงข้อมูลด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (FOP)การโต้เถียงเรื่องการใช้ฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ของโลก ส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศในทวีปเอเชีย ได้สร้างความประหลาดใจแก่โลก โดยได้ประกาศใช้ การแสดงฉลากโภชนาการแบบด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งแสดงในรูปแบบที่เรียกว่า ฉลาก “หวาน มัน เค็ม” (GDA) เป็นประเทศแรกในเดือน พ.ค. 2554 โดยประกาศใช้ในขนมเด็ก 5 กลุ่ม หลังจากนั้นฉลากรูปแบบนี้ก็ได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐบาลในหลายประเทศ (เช่น ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา) โดยมีสิ่งที่รัฐต้องตัดสินใจคือ จะทำให้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้านี้เป็นกฎหมายภาคบังคับหรือไม่ และถ้าใช่ ควรที่จะต้องเพิ่มเติมเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจของคุณค่าทางโภชนาการที่แสดงผ่านการใส่สี (แบบสีสัญญาณไฟจราจร) หรือ การให้สัญลักษณ์ “เครื่องหมายสุขภาพ” (ตราที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มีโภชนาการเหมาะสมตามเกณฑ์ที่ถูกกำหนดไว้ เช่น ตรารูปหัวใจ : สมาร์ทฮาร์ท, เครื่องหมายรูปรูกุญแจสีเขียว) หรือให้ข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นของการบริโภคต่อวัน เช่น ฉลาก หวาน มัน เค็ม : GDA ท่ามกลางการตัดสินใจต่าง ๆ เหล่านี้ รูปแบบสีสัญญาณไฟจราจร (Traffic Light) ของสหราชอาณาจักร (UK) เป็นจุดสนใจและได้รับการโต้เถียงอย่างกว้างขวาง กลุ่มผู้บริโภคจำนวนมาก องค์กรภาคประชาสังคม (NGOs) สายสุขภาพ และบางรัฐบาลในยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศกลุ่มภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ได้ประกาศสนับสนุนรูปแบบฉลากโภชนาการด้านหน้าบรรจุภัณฑ์แบบสีสัญญาณไฟจราจรของสหราชอาณาจักรขณะที่รัฐบาลทั้งหลายกำลังตัดสินใจว่าจะใช้ฉลากโภชนาการแบบด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ และแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยข้องต่าง ๆ ของตนอย่างไรนั้น รูปแบบย่อยทั้งหลายของฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นก็แพร่หลายไปภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล, องค์กรระหว่างประเทศ, NGOs, กลุ่มองค์กรภาคอุตสาหรรม และบริษัทต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลโภชนาการได้ง่ายขึ้น ดังนั้น การผลักดันให้เกิดการหลอมรวมเป็นรูปแบบเดียวกันจึงเกิดขึ้นในบางประเทศ นปี พ.ศ. 2555 แผนกสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรได้เสนอรูปแบบฉลากที่รวมฉลาก GDA เข้ากับสีสัญญาณไฟจราจร และ ตัวหนังสือบรรยายโภชนาการ อย่างไรก็ตามยังคงมีการโต้เถียงในเรื่อง การระบุคำบรรยายใต้สัญลักษณ์สีสัญญาณไฟจราจรว่า “สูง” “ปานกลาง” และ “ต่ำ” บนฉลาก และ เกณฑ์ทางโภชนาการควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ซึ่งรูปแบบนี้ถูกนำไปใช้โดยความสมัครใจของร้านขายปลีกขนาดใหญ่ทั้งหลายเป็นที่เรียบร้อย แต่ผู้ผลิตอาหารจำนวนมากยังคงลังเลที่จะเข้าร่วมดำเนินการในสหรัฐอเมริกา มีรายงานระยะที่ 1 จาก the Institute of Medicine (IOM) Committee ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 แนะนำว่า ควรต้องมีระบบเฉพาะในการระบุข้อมูลโภชนาการที่สร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อผู้บริโภค 4 ประเภท คือ ค่าพลังงาน (แคลอรี่), หน่วยบริโภค (serving size), ไขมันทรานส์ (trans fat), ไขมันอิ่มตัวและโซเดียม ส่วนในรายงานระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้ระบุเรื่องของการเปิดกว้างของผู้บริโภค ความเข้าใจ และความสามารถในการการใช้ฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ ซึ่งได้ให้คำแนะนำแก่ อย. (USFDA) และหน่วยงานด้านเกษตร (USDA) ของสหรัฐไว้ว่า ควรต้องมีการพัฒนา ทดสอบและบังคับใช้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของฉลากโภชนาการแบบแสดงหน้าบรรจุภัณฑ์ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมด และได้ให้คำแนะนำให้การบังคับใช้มาตรการฉลากนี้ว่า จะต้องเกิดจากความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และกลุ่มผู้มีความสนใจที่หลากหลาย สำหรับรูปแบบฉลากที่แนะนำนั้น IOM เสนอให้แสดงเป็นสัญลักษณ์แสดงปริมาณแคลอรี่ต่อหน่วยบริโภคและแสดงคะแนนเป็นดาวโดยเทียบจากคุณค่าทางโภชนาการ ด้านไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ โซเดียม และน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ ที่ต่ำกว่าเกณฑ์โภชนาการ  ไม่เพียงแค่ภาครัฐที่ดำเนินการเรื่องฉลากโภชนาการ ในปี พ.ศ. 2555 กลุ่มภาคเอกชนของสหรัฐฯ ได้แก่ สมาคมร้านค้าของชำ สถาบันการตลาดอาหาร และผู้แทนของบริษัทชั้นนำด้านการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และและกลุ่มผู้ค้าปลีก ได้นำเสนอ ฉลากแบบสมัครใจเรียกว่า fact-based FOP nutrition labelling ที่แสดงข้อมูลพลังงาน และสารอาหารสำคัญ (ไขมันอิ่มตัว โซเดียม และน้ำตาล) ด้านหน้าของบรรจุภัณฑ์ ซึ่ง อย. ของ สหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนฉลากแบบนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า  ต้องไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดในสารอาหารของผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งความก้าวหน้าที่สำคัญของกระแสการทำให้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์กลายเป็นมาตรฐานสากลคือ การที่ สหภาพยุโรป ได้ประกาศใช้กฎหมาย ข้อมูลด้านอาหารเพื่อผู้บริโภค ที่อนุญาตให้มีการใช้ฉลากโภชนาการแบบสมัครใจในบางรูปแบบได้ ทำให้มีการแสดงข้อมูลทางโภชนาการ สี ภาพ หรือ สัญลักษณ์ ซึ่งต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ได้มีการออกเอกสารถาม-ตอบ (Q&A) เพื่อสร้างความชัดเจนในการบังคับใช้มาตรการนี้ออกมา โดยในเอกสารได้ยืนยันว่า กิโลจูล (หน่วยของค่าพลังงาน)สามารถใช้ได้บนฉลากโภชนาการแบบสมัครใจด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะแสดงเดี่ยว ๆ หรือจะแสดงคู่กันกับ กิโลแคลอรี ก็ได้ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในงานประชุมของรัฐบาลของทั้งสองประเทศได้มีความเห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการพัฒนาฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ที่เข้าใจและแปลความได้ง่าย แต่ยังไม่ได้ประกาศสนับสนุนการแสดงฉลากรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรโดยทันที ซึ่งต่อมา ในประเทศออสเตรเลีย ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศขึ้นชุดหนึ่งขึ้นมาทำงานในเรื่องนี้ เช่นเดียวกันกับในนิวซีแลนด์ ที่ได้มีกลุ่มทำงานมาพัฒนาแนวทางและคำแนะนำต่อการจัดทำฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าผลิตภัณฑ์ แต่มิได้มีรูปแบบเฉพาะเจาะจงออกมาเช่นกัน ซึ่งความน่าจะเป็นของรูปแบบฉลากโภชนาการของทั้งสองประเทศนี้น่าจะมีความคล้ายคลึงกันมาทางฝั่งทวีปเอเซียกันบ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ประเทศเกาหลีใต้ กลายเป็นประเทศแรกในเอเซียที่ประกาศใช้ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรโดยสมัครใจในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเด็ก และภายหลังเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2555 นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศยกระดับการแสดงฉลากในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจรในขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเป็นกฎหมายภาคบังคับโดยให้มีผลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ซึ่งการกระทำนี้ส่งผลให้ประเทศเกาหลีใต้กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้รูปแบบฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรภายใต้กฎหมายภาคบังคับ นับแต่นั้น ได้มีการผ่านร่างกฎหมายสองฉบับ ฉบับแรก ว่าด้วยการแสดงฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจรในอาหารที่เด็กชื่นชอบได้แก่ ขนมขบเคี้ยว และเครื่องดื่ม กับ กฎหมายฉบับที่สองซึ่งกำหนดให้มีการแสดงฉลากโภชนาการทั้งแบบสีสัญญาณไฟจราจรและแบบคุณค่าทางโภชนาการต่อวันที่ใส่สีเพื่อแสดงเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ การเคลื่อนไหวนี้ถือเป็นรุ่งอรุณแห่งมาตรการฉลากโภชนาการที่น่าจะช่วยให้ประเทศอื่น ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค เจริญรอยตาม ก็เป็นได้ข้อถกเถียงเรื่องรูปแบบฉลากโภชนาการยังไม่ยุติข้อถกเถียงที่ว่ารูปแบบฉลากโภชนาการแบบใดจะมีประสิทธิภาพที่สุด จะดำเนินต่อไปในยุโรป, เอเซีย-แปซิฟิค, และอเมริกา ในช่วงอนาคตอันใกล้ การศึกษาวิจัยที่มากขึ้นจะเป็นประโยชน์และช่วยยืนยันประเด็นนี้ รัฐบาล NGOs ผู้ผลิตอาหารและผู้ค้าปลีกได้ร่วมกันสำรวจว่า รูปแบบฉลากโภชนาการแบบใดที่ผู้บริโภคชื่นชอบที่สุด ด้วยเหตุผลใด และรูปแบบใดจะส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและการสร้างสมดุลในการเลือก แม้จะมีข้อมูลจำนวนหนึ่งที่ให้คำตอบได้ แต่ยังคงไม่มีข้อสรุปใด ๆ จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหลายว่าจะไปในทิศทางใดกัน อย่างไรก็ตาม มีความชัดเจนว่ามีความจำเป็นที่จะต้องให้ข้อมูลโภชนาการบนฉลากอาหารที่ง่ายกว่าในปัจจุบันแก่ผู้บริโภค ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการ แบบภาคบังคับ เป็นเครื่องมือทางสาธารณสุขที่ช่วยประกอบการตัดสินใจเลือกของผู้บริโภคในยุโรป สหรัฐฯ แคนาดา ฮ่องกง มาเลเซีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย และเหมือนกับเครื่องมืออื่นๆ มันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อเมื่อมันเหมาะสมต่อหน้าที่ของมัน ซึ่งก็คือ ผู้บริโภคมีความเข้าใจและใช้มัน ในสหรัฐฯ ความความเติบโตทางความเห็นที่ว่า ข้อมูลโภชนาการแบบเดิม ๆ อย่างเดียวไม่เพียงพอ หรือ มันไม่สามารถเข้าใจและใช้ได้ง่ายกว่าที่เป็นอยู่อีกแล้ว อย. สหรัฐฯ จึงได้ประกาศภารกิจเร่งด่วนในการทบทวนการแสดงโภชนาการในรูปแบบ ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการเสียใหม่ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงข้อมูลโภชนาการด้านหน้าผลิตภัณฑ์ (FOP) ขณะที่ฉลากหวาน มัน เค็ม (GDA) ได้รับการสนับสนุนจำนวนมากจากกลุ่มผู้ผลิตอาหาร และผู้กำหนดนโยบาย ความเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางประกอบการเลือกของผู้บริโภคจะขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าในการให้การศึกษาผู้บริโภคให้สามารถใช้ประโยชน์จากมันอย่างไร------------------------------สถานการณ์ด้านฉลากโภชนาการของประเทศไทย นับแต่การประกาศใช้ข้อมูลโภชนาการ/ ตารางโภชนาการ ในปี พ.ศ. 2541 ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการควบคุมฉลากโภชนาการแบบสมัครใจมาโดยตลอด จนถึงการบังคับใช้ฉลากโภชนาการแบบหวาน มัน เค็ม (จีดีเอ) ในปี พ.ศ. 2554 ที่ยกระดับการควบคุมทางกฎหมายของฉลากโภชนาการจากสมัครใจมาสู่กฎหมายภาคบังคับ โดยควบคุมการแสดงฉลากโภชนาการในอาหาร กลุ่มขนมขบเคี้ยว 5 ประเภท ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ, ข้าวโพดคั่วทอดกรอบหรืออบกรอบ, ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง, ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต, และเวเฟอร์สอดไส้ แต่ก็ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรูปแบบการแสดงฉลากโภชนาการอย่างต่อเนื่อง  ย้อนไปในปี พ.ศ. 2553 มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติระบุว่า ให้มีฉลากโภชนาการอย่างง่าย(ฉลากโภชนาการแบบแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์) ในรูปแบบสีสัญญาณไฟจราจร จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมและนำเสนอรูปแบบฉลากสีสัญญาณไฟจราจรแก่ อย. อย่างไรก็ตาม อย. กลับได้ประกาศใช้ฉลากหวาน มัน เค็ม แทนที่ฉลากสีสัญญาณไฟจราจรตามมติสมัชชา และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา อย. ได้ขยายการควบคุมจากผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 5 ประเภทมาเป็น อาหาร 5 กลุ่ม ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว (มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ, ข้าวโพดคั่วทอดหรืออบกรอบ, ข้าวเกรียบทอดหรืออบกรอบ หรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง, ถั่วหรือนัตทอดหรืออบกรอบหรืออบเกลือ หรือเคลือบปรุงรส, สาหร่ายทอด หรืออบกรอบ หรือเคลือบปรุงรส และปลาเส้นทอด หรืออบกรอบหรือปรุงรส), ช็อกโกแลต, ผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต, เวเฟอร์สอดไส้, คุ้กกี้, เค้ก, และ พาย เพสตรี้ ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้), อาหารกึ่งสำเร็จรูป (ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้นไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตามพร้อมซองเครื่องปรุง, และ ข้าวต้มที่ปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง), และอาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย  นอกจากการทำให้ฉลากโภชนาการแบบหวาน มัน เค็ม เป็นฉลากแบบบังคับแล้ว อย. ยังได้ร่วมกับหน่วยงานวิชาการในการทำการศึกษารูปแบบฉลากโภชนาการแบบสัญลักษณ์สุขภาพและได้ออกประกาศให้มีการแสดงฉลากโภชนาการแบบสมัครใจขึ้นมาอีก 1 รูปแบบ ใช้ชื่อว่า สัญลักษณ์โภชนาการ (สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ) โดยได้มีการประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่ง ทางเลือกสุขภาพนี้ คือเครื่องหมายที่ช่วยให้ผู้บริโภคทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีปริมาณสาร อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ดีต่อสุขภาพ  ด้านฝั่งองค์กรภาคประชาสังคมได้มีการรณรงค์เพื่อผลักดัน ให้ อย. พิจารณาบังคับให้ฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจร แทนที่ฉลากแบบหวาน มัน เค็ม โดยได้มีดัดแปลงรูปแบบจากรูปแบบของสหราชอาณาจักรมาเป็นสัญญาณไฟจราจรแบบไทย และได้นำประเด็นเข้าสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน พัฒนาเด็กและอาจารย์ในโรงเรียนให้มีความรู้ในการอ่านฉลากอาหารและฉลากโภชนาการรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสามารถใส่สีสัญญาณไฟจราจรลงบนฉลากอาหารได้ด้วยตนเอง โดยเริ่มทำงานในโรงเรียนจำนวน 3 แห่งในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายผล ขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมใน 8 จังหวัดของภาคตะวันตกตามการแบ่งเขตขององค์กรผู้บริโภค ได้แก่ นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ฉลากโภชนาการรูปแบบใดจะเหมาะสมสำหรับประเทศไทย สมควรหรือไม่ที่ควรต้องมีรูปแบบเดียว หรือจะให้มีหลากหลายรูปแบบทั้งแบบภาคบังคับและภาคสมัครใจนั้น ยังคงต้องการการศึกษาเพื่อยืนยัน ว่าฉลากรูปแบบใดกันแน่ ที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้บริโภคมากที่สุดข้อมูล Global Update on Nutrition Labelling Executive Summary January 2015Published by the European Food Information Council. www.eufic.org/upl/1/default/doc/GlobalUpdateExecSumJan2015.pdf

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 เคล็ดลับการดูแลบ้านและลูกน้อยของคุณแม่ชาวยุโรป (2)

 โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ การทำความสะอาดบ้านของคุณสามารถเพิ่มปริมาณสารเคมีในบรรยากาศภายในบ้านได้  บางครั้งอาจมีปริมาณสูงกว่าบรรยากาศภายนอกอาคารในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษ สารเคมีมากมายที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลบ้านนั้นเป็นชนิดเดียวกับที่ถูกใช้ในสารทำความสะอาดในอุตสาหกรรมที่ใช้งานหนัก  นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเริ่มที่จะกังวลว่าการได้รับสารเคมีหลายชนิดในปริมาณน้อยๆ เป็นระยะเวลายาวนาน  เหมือนที่ถูกพบในอากาศภายในบ้านและฝุ่นอาจจะทำให้มีปัญหาสุขภาพได้  การทดสอบผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ทดลองเฉพาะในสารเคมีประเภทเดียว  แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง  เราทุกคนต่างก็ได้รับสารเคมีหลายชนิดในทุกๆ วัน  เราสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย  งานทำความสะอาดบ้านส่วนมากนั้นสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมธรรมดาที่มีในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นพิษน้อยกว่าและมีราคาถูกกว่า เช่น เบคกิ้งโซดา  น้ำส้มสายชู เกลือ น้ำมะนาว น้ำมันพืช สบู่ บอแรกซ์และโซดาซักผ้า  ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์มีอยู่เป็นจำนวนมากในตลาด  อาจประกอบไปด้วยสารก่อความระคายเคืองรุนแรง เช่น แอมโมเนียซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อไตและตับ  คลอรีนหรือที่รู้จักกันในชื่อสารฟอกขาว และสารก่อมะเร็ง เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์   นอกจากนี้จะมีสารกันบูด น้ำหอมและสี  รวมถึงสารเคมีที่ทำให้ฮอร์โมนหยุดทำงาน  และสารเคมีที่ทำให้เกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนัง  และการหายใจติดขัด   เคล็ดลับในการใช้งาน• หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับทำความสะอาดหน้าต่าง ตะแกรง เครื่องเงิน หรือเตาอบ เพราะมันอาจมีสารเคมีที่เป็นพิษในปริมาณสูง• พึงตระหนักไว้เสมอว่าคลอรีนสามารถสร้างก๊าซคลอรีนที่เป็นพิษได้ ถ้าถูกผสมกับแอมโมเนียหรือน้ำส้มสายชู• ต้องมีการระบายอากาศอย่างเพียงพอในขณะที่กำลังทำความสะอาด ไม่ควรปิดหน้าต่างขณะทำความสะอาด• ผ้าไมโครไฟเบอร์สามารถกำจัดคราบสกปรก คราบเหนียวและฝุ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีทำความสะอาด ผงซักฟอกประกอบด้วยสารฟอกขาว  สารสังเคราะห์ที่ให้ผ้าขาวขึ้น น้ำหอมและสารลดความตึงผิวที่ทำให้เกิดอาการแพ้  ผงซักฟอกที่ตกค้างบนเสื้อผ้าและผ้าปูที่นอนเป็นแหล่งที่ทำให้ผิวหนังเกิดความระคายเคือง  และกลิ่นหอมที่ติดอยู่จากผลิตภัณฑ์ที่ใส่น้ำหอมสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางการหายใจได้   เคล็ดลับในการใช้งาน• หลีกเลี่ยงน้ำยาปรับผ้านุ่ม  น้ำยากำจัดคราบ  น้ำยาซักผ้าที่ฆ่าเชื้อโรค  และผลิตภัณฑ์สำหรับก่อนซัก• ซักผ้าที่อุณหภูมิต่ำเพื่อประหยัดพลังงาน• ใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เพราะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผิวหนัง   น้ำยาล้างจาน ล้างจานด้วยมือให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า และประหยัดกว่าการใช้เครื่องล้างจาน เพราะใช้น้ำและเวลาในการล้างที่น้อยกว่ามาก  น้ำยาล้างจานสำหรับเครื่องล้างจานมักจะมีฟอสเฟตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และมีสารที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน  น้ำยาล้างจานสำหรับการล้างด้วยมือนั้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังน้อยกว่า   น้ำยาล้างห้องน้ำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโถส้วมจำนวนมากมักจะมีฤทธิ์กัดกร่อนและทำให้เกิดแก๊สพิษเมื่อผสมกับน้ำ  พวกมันอาจมีสาร 1,4-ไดคลอรอเบนซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายต่อตับและไตได้  ไอระเหยกรดไฮโดรคลอริคทำให้เกิดอาการไอและหายใจลำบาก  และสารเคมีที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อดวงตา  ผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ  และสามารถก่อให้เกิดก๊าซคลอรีนที่ก่อให้เกิดมะเร็ง   เคล็ดลับการใช้งาน• ป้องกันคราบฝั่งแน่นโดยการทำความสะอาดด้วยแปรง• ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” หรือ สาร “ต่อต้านแบคทีเรีย”• น้ำยาดับกลิ่นและเจลให้กลิ่นหอมเป็นสิ่งไม่จำเป็น  และมีส่วนผสมที่สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้เมื่อมีการสัมผัส• หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์  ละอองที่เกิดขึ้นถูกสูดดมเข้าไปได้โดยง่ายและก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อปอด   น้ำยาทำความสะอาดพื้น พรม และเฟอร์นิเจอร์สารทำความสะอาดพื้น พรม และเฟอร์นิเจอร์อาจมีตัวทำละลายและสารกันบูดที่เป็นพิษต่อระบบประสาทและพทาเลตที่ทำให้รบกวนการทำงานของฮอร์โมน  และน้ำหอมที่ทำให้เกิดอาการผื่นคัน  เคล็ดลับการใช้งาน• สำหรับพื้น เช่น เสื่อน้ำมัน กระเบื้องพลาสติก  หินธรรมชาติและสำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่มีพื้นผิวเป็นไม้และพลาสติกให้ใช้น้ำ  ถ้าสกปรกมากใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์ชนิดอ่อนโยน• สำหรับตู้ โต๊ะ และเฟอร์นิเจอร์ไม้อื่นๆใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ก็เพียงพอแล้ว• สำหรับพื้นผิวที่ลงน้ำมันและเคลือบเงาให้ใช้น้ำมันลินสีดหรือขี้ผึ้ง• กำจัดคราบบนพื้นพรมและเครื่องหนังด้วยน้ำ  หรือใช้น้ำส้มสายชูพร้อมกับน้ำสบู่อ่อนๆ ในกรณีที่สกปรกมาก   น้ำหอมปรับอากาศโถเครื่องหอมกลิ่นลาเวนเดอร์ในห้องน้ำ  เทียนหอมในห้องรับแขก  สเปรย์ “กลิ่นทะเล” หรือสเปรย์กำจัดกลิ่นบุหรี่และกลิ่นกับข้าว  น้ำหอมปรับอากาศเหล่านี้อาจมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง  และก่อให้เกิดอาการแพ้และมีปฏิกิริยาต่อระบบทางเดินหายใจ   เคล็ดลับการใช้งาน• เปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศเสียออกไป อากาศบริสุทธิ์ดีกว่าผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ใดๆ   ข้อมูลอ้างอิงWoman in Europe for a Common Future (WECF) www.wecf.eu ตารางแสดงสารเคมีที่เป็นอันตราย ซึ่งพบในน้ำยาซักล้างและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารเคมีอันตราย ผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพ Formaldehydeฟอร์มัลดีไฮด์ Carcinogenic, mutagenic, toxic to reproduction ก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อให้เกิดการกลายพันธ์ เป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์ Triclosanไตรโคลซาน Very toxic to aquatic life, disrupts the hormone system เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทำให้ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน 1,2-dichlorobenzene1,2-ไดคลอโรเบนซิน Very toxic to aquatic life เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ 2-methoxyethanol 2-เมททอกซีเอทานอล Impaires fertility, harmful by inhalation, swallowing and skin contact, and for the unborn child ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง  ได้รับอันตรายจากการสูดดม กลืนกิน และการสัมผัสทางผิวหนัง  และเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ 2-ethoxyethanol 2-เอททอกซีเอทานอล Impaires fertility, harmful by inhalation, swallowing and skin contact, and for the unborn child ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง  ได้รับอันตรายจากการสูดดม กลืนกิน และการสัมผัสทางผิวหนัง  และเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ 2-ethoxyethyl acetate2-เอททอกซีเอธิลอะซีเตท Impaires fertility, harmful by inhalation, swallowing and skin contact, and for the unborn child ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง  ได้รับอันตรายจากการสูดดม กลืนกิน และการสัมผัสทางผิวหนัง  และเป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ Phthalates(DEHP, Bis (2-ethylhexylphthalat)พทาเลต (DEHP, Bis(2-เอธิลเฮซิลพทาเลต) Impaires fertility, harmful for the unborn child ความสามารถในการสืบพันธ์ลดลง  เป็นอันตรายต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ Nitromusks, polycyclic musks(Galaxolide, Tonalide)ไนโตรมัสค์, โพลีไซคลิก มัสก์ (กาแล็กโซไลด์, โทนาไลด์) Disrupts the hormone system, allergen ทำให้ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  และก่อให้เกิดอาการแพ้ Octamethylcyclotetrasiloxane ออคตะเมธิลไซโคลเตตระไซโลเซน Disrupts the hormone system and the fertility ทำให้ระบบฮอร์โมนและความสามารถในการสืบพันธ์หยุดทำงาน Octylphenol (ethoxylates) ออคทิลฟีนอล (เอทอกซิเลท) Disrupts the hormone system ทำให้ระบบฮอร์โมนหยุดทำงาน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 121 เคล็ดลับการดูแลบ้านและลูกน้อยของคุณแม่ชาวยุโรป (1)

  ผมได้ติดตามนโยบายปกป้องอันตรายที่อาจเกิดกับเด็กจากการใช้สารเคมีทำความสะอาดในบ้านขององค์กรสตรีในยุโรป ซึ่งเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกกำไร และได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการยุโรปด้านสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค เลยขอนำเสนอสาระที่น่าสนใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกๆ ซึ่งวันนี้จะเล่าถึงเรื่องวิธีการทำความสะอาด การใช้สารเคมีทำความสะอาดในบ้านที่เป็นมิตรและปลอดภัยสำหรับเด็กและทารกครับ การทำความสะอาดบ้านของคุณสามารถเพิ่มปริมาณสารเคมีในบรรยากาศภายในบ้านได้ บางครั้งอาจมีปริมาณสูงกว่าบรรยากาศภายนอกอาคารในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษ สารเคมีมากมายที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลบ้านนั้นเป็นชนิดเดียวกับที่ถูกใช้ในสารทำความสะอาดในอุตสาหกรรมที่ใช้งานหนัก เราสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย งานทำความสะอาดบ้านส่วนมากนั้นสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมธรรมดาที่มีในชีวิตประจำวันซึ่งเป็นพิษน้อยกว่าและมีราคาถูกกว่า เช่น เบคกิ้งโซดา น้ำส้มสายชู เกลือ น้ำมะนาว น้ำมันพืช สบู่ บอแรกซ์และโซดาซักผ้า ขณะเดียวกันผู้ผลิตที่เสนอผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นพิษน้อยลงก็มีจำนวนมากขึ้น   เคล็ดลับทั่วไปในการใช้สารเคมี• อ่านฉลากผลิตภัณฑ์และค้นคว้าเกี่ยวกับสารเคมีที่ปรากฏอยู่บนฉลากนั้นๆ  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม ห้องทารกที่สะอาดไม่ควรจะมีกลิ่นอะไรเลย • หลีกเลี่ยงน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าต่อต้านแบคทีเรียได้ การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคควรใช้เฉพาะในโรงพยาบาลและบ้านที่มีผู้ป่วยระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องอาศัยอยู่ การทำความสะอาดทั่วไปก็เพียงพอที่จะกำจัดแบคทีเรียที่เป็นอันตราย น้ำยาฆ่าเชื้อโรคอาจจะมีฟอร์มัลดีไฮด์ที่เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งและเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ และคลอรีนที่ส่งผลระคายเคืองต่อปอด ผลิตภัณฑ์ที่มีสารต่อต้านแบคทีเรียและสารต่อต้านจุลินทรีย์จะฆ่าแบคทีเรียที่มีประโยชน์เช่นกัน และมีส่วนทำให้แบคทีเรียเกิดอาการดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะ  • อย่าไว้ใจกับการกล่าวอ้างถึงสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิต  • ผงซักฟอกไม่มีทางเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% ดังนั้นใช้มันอย่างประหยัดที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และควบคุมปริมาณการใช้ โดยเฉพาะการใช้ผงซักฟอกชนิดเข้มข้น  • ยึดหลักการปลอดภัยไว้ก่อน หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่เป็นพิษ เก็บผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดให้พ้นมือเด็ก อย่าเทผลิตภัณฑ์ใส่ขวดชนิดอื่น  • หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองและอาการแพ้ โดยการหลีกเลี่ยงสารกันบูด น้ำหอม และสารดังต่อไปนี้ เช่น ไอโซเทียโซลีนโนน (CMIT, MIT, BIT, OIT), เอมิลซินนามาล, เฮกซิลซินนามัลดีไฮด์ ลินาลู, เบนซิลแอลกอฮอล์ คูมาริน เบนซิลเบนโซเอท เจรานอล ยูจีนอล ลิเลียล เมทิลเฮปตินคาร์บอร์เนต ซิโตรเนลโล ไลมอนีน ซิตราล และเจรานอล --------------------------------------------------------------------------------------------------- ทำไมจึงต้องใส่ใจเมื่อมีเด็กๆ อยู่ในบ้านเด็กคือคนที่อ่อนไหวที่สุดต่อสารพิษของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั่วไปและสารเคมีที่ใช้ในบ้านอื่นๆ เหตุผลคือร่างกายพวกเขามีขนาดเล็กกว่าผู้ใหญ่ เมื่อเทียบสัดส่วนสารที่ปริมาณเท่ากัน ในเด็กจะรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ ยิ่งกว่านั้น อวัยวะของพวกเขายังอยู่ระหว่างการพัฒนาและไม่สามารถกำจัดสิ่งที่พวกเขาได้รับเหมือนที่ผู้ใหญ่ทำได้ ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาเต็มที่ เหตุผลอีกข้อหนึ่งคือผิวหนังของพวกเขาอ่อนโยนกว่าของผู้ใหญ่ และข้อสุดท้าย เด็กๆ มักสำรวจโลกด้วยมือและปากของพวกเขา พวกเขาคลานและเล่นบนพื้น พวกเขามักจะอยู่ใกล้กับพื้นมากกว่าผู้ใหญ่ พื้นเป็นส่วนที่สะสมสารเคมีที่เหลืออยู่ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ถึงแม้ว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจะถูกควบคุมภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับสารชะล้างแห่งสหภาพยุโรป กฎหมายความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ทั่วไป กฎหมายที่สิ่งที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและ ระเบียบสารเคมี (REACH: Registration, Evaluation, Authorization and Restriction of Chemicals) ของสหภาพยุโรป แต่ทว่าสารที่เป็นอันตรายก็ยังถูกพบในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอยู่ดี ---------------------------------------------------------------------------------------------------  ประเภทของน้ำยาทำความสะอาดที่ควรปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เราควรจำกัดปริมาณการใช้สารเคมี เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมให้ปลอดจากสารพิษได้แก่   • น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์• น้ำยาทำความสะอาดหน้าต่าง• น้ำยาทำความสะอาดพื้น• น้ำยาทำความสะอาดและซักล้างพรม• ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์• และสารขัดเงา• ผงซักฟอก• และน้ำยาล้างจาน  ส่วนจะปรับเปลี่ยนอย่างไร คงต้องขอนำเสนอคราวหน้าครับ เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก  ข้อมูลอ้างอิงWoman in Europe for a Common Future (WECF) www.wecf.eu  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 167 ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ

จะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ประเทศไทยเราได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ตัวชี้วัดก็คือ จำนวนประชากรสูงวัย(อายุ 60 ปีขึ้น) ณ ปัจจุบันมีมากกว่า 9 ล้านคน ซึ่งเกิน 10% ตามนิยามขององค์การสหประชาชาติ ที่ระบุว่า ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกิน 10% หรืออายุ 65 ปี ขึ้นไปเกิน 7% ถือว่าประเทศนั้นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สิ่งที่ตามมากับตัวเลขอายุที่มากขึ้น คือ ความเสื่อมถอยของร่างกาย ทั้งหูตาที่ฝ้าฟาง ข้อ กระดูกที่เปราะบาง ความกระฉับกระเฉงลดลง ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ตามใจนึก อีกทั้งความเสื่อมถอยของร่างกายทำให้เป็นโรคได้ง่ายโดยเฉพาะกลุ่มโรคติดเชื้อ และถ้ายิ่งใช้ชีวิตแบบไม่ค่อยระวังตัว โรคเรื้อรังในกลุ่มหัวใจ เส้นเลือด ก็กลายเป็นโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการทุพพลภาพหรือพิการได้มากที่สุด ระดับผู้สูงอายุไทยอาจแบ่งได้เป็นสามระดับ คือ กลุ่มสูงอายุวัยต้น 60-79 ปี วัยปลาย 80-99 ปี และกลุ่มอายุเกิน 100 ปีขึ้นไป  ซึ่งในช่วงวัยต้นร่างกายยังไม่เสื่อมถอยมาก ประกอบกับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ทำให้ยังสามารถทำงานได้ เป็นประโยชน์ทั้งกับครอบครัวและชุมชน แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ต้องเข้าสู่ระยะพักผ่อน งานการต่างๆ ที่เคยทำได้ ก็อาจไม่สามารถทำได้อีกและต้องการผู้ช่วยเหลือดูแลในบางกิจกรรม เช่น  การเดินทาง  การใช้ขนส่งสาธารณะ การใช้โทรศัพท์ การเข้าใช้ห้องสุขา การอาบน้ำ การประกอบอาหาร เป็นต้น และเมื่อเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงมากที่สุด คือ ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ ต้องนอนติดเตียง ภาระทั้งหมดก็จะตกมาที่ผู้ดูแล ซึ่งสังคมไทยแต่เดิมมาก็ฝากไว้กับลูกหลาน หรือญาติพี่น้อง แต่สถานการณ์ปัจจุบันคือ ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งไม่มีลูก ต้องอยู่ตามลำพัง และถึงแม้จะมีลูก พวกเขาเหล่านั้นก็มีภาระที่มากมายรอบด้าน อาจทั้งในฐานะของพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูลูกของตน ตลอดจนภาระในการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ถ้าผู้สูงอายุต้องเข้าสู่ภาวะพึ่งพิงไม่ว่าจะมากหรือน้อย ใครจะเป็นผู้ดูแล?   สถานบริการดูแลผู้สูงอายุ จำนวนผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลไม่ว่าจะระดับมากหรือระดับน้อย ที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ส่งผลให้มีความต้องการการดูแลในสถานบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย แต่ปรากฏว่าภาครัฐยังไม่มีการจัดให้มีบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุกลุ่มนี้อย่างชัดเจน มีเพียงสถานสงเคราะห์คนชรา(บ้านพักคนชรา) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออุปการะผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาทุกข์ยากเดือดร้อนไม่มีผู้ดูแลหรือไม่ก็ไร้ที่อยู่อาศัยเท่านั้น ขณะที่สถานบริการดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ของภาคเอกชน ทั้งที่อยู่ในโรงพยาบาล หรือจดทะเบียนเป็นสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยสูงอายุ หรือที่เราเรียกว่า เนอร์สซิ่งโฮม (Nursing Home) จะมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูง และยังพบปัญหาในเรื่องของมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุที่ยังไม่มีมาตรฐานชัดเจนโดยตรง ตลอดจนอุปกรณ์การดูแลและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่นเรื่องแสงสว่าง พื้นผิวห้อง ทางลาด จำนวนผู้ดูแลที่ไม่พอต่อจำนวนผู้สูงอายุ เป็นต้น เนื่องจากยังไม่มีบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวในภาครัฐ  มีแต่การบริการโดยภาคเอกชน   แต่ด้วยการจดทะเบียนของสถานพยาบาลเอกชนของไทยนั้นมีหลายลักษณะมาก ทำให้เราไม่สามารถทราบจำนวนสถานบริการผู้สูงอายุที่แน่ชัดได้ อีกทั้งในการประกอบธุรกิจสถานดูแลผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเป็นสถานพยาบาลก็ได้ แค่จดทะเบียนการค้าเท่านั้นก็สามารถดำเนินธุรกิจนี้ได้แล้ว ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ อาจหมายถึง สถานบริการที่ไม่ใช่โรงพยาบาล แต่มีการให้บริการที่พำนัก บริการยาแก่ผู้สูงอายุที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเป็นประจำ โดยทั่วไปจะครอบคลุม การให้บริการที่พักค้างคืน บริการอาหารการดูแลความสะอาดเสื้อผ้าและที่พัก ตลอดจนความสะอาดของร่างกาย พร้อมทั้งติดตามดูแลสุขภาพเบื้องต้นอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ได้ให้การรักษาพยาบาล หากมีความเจ็บป่วยจะบริการนำส่งต่อแผนกคนไข้ของโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อรับการรักษาพยาบาลต่อไป โดยอาจมีบริการเสริมอื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมพิเศษ ที่ช่วยส่งเสริมให้ดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ถ้าการให้บริการเน้นการดูแลเพื่อการฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาและทุพพลภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องการบริการพยาบาลและยาเป็นประจำ จะจัดเป็น “สถานพยาบาล” ตาม พ.ร.บ. สถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547 และเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการประกอบกิจการสถานพยาบาล พ.ศ. 2545 อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบัน คือ การให้บริการในธุรกิจนี้จะมีลักษณะของการผสมผสาน  โดยที่ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาลแม้จะให้บริการในลักษณะของการบริบาลผู้สูงอายุก็ตาม และสถานบริการดูแลผู้สูงอายุหลายแห่งแม้แต่จดทะเบียนการค้าก็ยังไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้อง ประเภทของการให้บริการ การบริการในสถานดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มที่ไม่เน้นเรื่องการฟื้นฟูบำบัด ซึ่งผู้รับบริการส่วนใหญ่ไม่มีภาวะพึ่งพิง หรือพึ่งพิงไม่มาก ยังพอสามารถช่วยตัวเองได้ ส่วนใหญ่จะครอบคลุมการบริการหลักและมีการให้บริการเสริมเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและดึงดูดใจลูกค้า ดังนี้   บริการหลัก บริการเสริม Ø บริการดูแลผู้สูงอายุด้านความเป็นอยู่ทั่วไป Ø บริการที่พักค้างคืน Ø บริการอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่าง 2 มื้อ Ø ดูแลทำความสะอาดของร่างกาย Ø ดูแลทำความสะอาดเสื้อผ้า Ø ติดตามดูแลสุขภาพเบื้องต้นแต่ไม่ได้ให้การรักษาพยาบาล หากมีความเจ็บป่วย Ø จะบริการนำส่งต่อแผนกคนไข้ของโรงพยาบาลใกล้เคียง Ø กิจกรรมกายภาพบำบัดเบื้องต้น Ø กิจกรรมสันทนาการต่างๆ และกิจกรรมตามวัฒนธรรมประเพณี Ø บริการรถรับ-ส่งจากบ้าน Ø นำส่งผู้สูงอายุตามแพทย์นัด Ø ทัศนศึกษา Ø บริการด้านจิตใจ เช่น การจัดกิจกรรมทางศาสนา Ø บำบัดในรูปแบบพิเศษต่างๆ เช่น วารีบำบัด Ø บริการด้านความรู้ข่าวสารใหม่และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ Ø การบรรยายจากวิทยากรรับเชิญต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลในการดำเนินชีวิต Ø การบริการประสานงานกับองค์กรอื่นๆ เช่น การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย และการฌาปนกิจ   สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูง เช่น เป็นผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หรือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องหรือพักฟื้นจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล ลักษณะการให้บริการของสถานดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะอยู่ในข่าย เนอร์สซิ่งโฮม ซึ่งบริการที่จัดให้ได้แก่ บริการบำบัดทางการแพทย์ เช่น บริการยา การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดันโลหิต บริการให้อาหารทางสายยาง ดูดเสมหะ บริการกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพ การป้องกันแผลกดทับ ฯลฯ แต่ดังที่ได้กล่าวไป ส่วนใหญ่การให้บริการของสถานดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันจะมีลักษณะผสมผสาน จึงจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการในการเข้ารับบริการ   ค่าใช้จ่ายไม่ธรรมดา ผู้ที่เลือกใช้บริการในสถานดูแลผู้สูงอายุ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นลูกหลานของผู้สูงอายุ บางทีผู้สูงอายุก็เป็นผู้เลือกใช้บริการสถานดูแลเหล่านี้ด้วยตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าจำเป็นต้องมีความสามารถในการจ่ายพอสมควร ปกติราคาจะขึ้นอยู่กับบริการที่นำเสนอ ค่าบริการมีทั้งแบบรายวันและรายเดือน รวมทั้งเงินค้ำประกันหรือค่าประกันแรกเข้า(ส่วนนี้จะคืนเมื่อบอกเลิกใช้บริการ)   ในลักษณะรายวันค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 800-1000 บาท ส่วนรายเดือนประมาณ 10,000-25,000 บาท ทั้งนี้สถานบริการบางแห่ง ยังมีค่าบริการเสริมอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากค่าบริการปกติ เช่น การเฝ้าไข้เฉพาะบุคคล ค่ายานพาหนะรับส่งโดยกะทันหัน ค่ายาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งโดยรวมแล้วอาจสูงถึง 30,000 บาท/เดือน จากการสำรวจหากเป็นสถานบริการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด เพราะได้รวมค่าแพทย์และพยาบาลเข้าไว้ด้วย ค่าใช้จ่ายตกอยู่ที่ประมาณเดือนละ 30,000-50,000 บาท และจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการบางท่านให้ความเห็นว่า การเรียกเก็บค่าบริการสูง ส่วนหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการทิ้งผู้สูงอายุไว้กับสถานดูแล   มาตรฐานควบคุมและการคุ้มครองด้านบริการ กรณีสถานดูแลผู้สูงอายุในส่วนของเอกชน ยังไม่มีมาตรฐานกำกับที่ชัดเจน เว้นแต่ที่จดทะเบียนเป็นสถานพยาบาลสำหรับดูแลผู้สูงอายุ ตามกฎหมายสถานพยาบาล ที่มีกองการประกอบโรคศิลปะเป็นผู้กำกับดูแล นอกจากนี้ต้องบอกว่า ไม่มีองค์กรกำกับดูแลโดยตรง ทั้งในส่วนมาตรฐานการให้บริการ การกำกับดูแลและการขึ้นทะเบียน ดังนั้นหากเกิดปัญหาจากการใช้บริการ คงต้องดำเนินการร้องเรียนในเรื่องสัญญากับทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ถ้าสถานบริการดูแลผู้สูงอายุได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกองการประกอบโรคศิลปะ ก็สามารถร้องเรียนได้โดยตรง หรืออาจฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้โดยใช้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค   การเลือกสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ สถานดูแลผู้สูงอายุที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง ควรจัดให้เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะในการดูแลผู้สูงอายุ หากเป็นไปได้ การดูแลโดยคนในครอบครัวย่อมดีที่สุด แต่หากบางครั้งมีความจำเป็น เช่น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลตลอด 24 ชั่วโมง อาจพิจารณาเลือกจ้างผู้ดูแลพิเศษประจำบ้าน ซึ่งท่านสามารถดูแลต่อได้เมื่อผู้ดูแลกลับไป อีกทั้งผู้สูงอายุก็ได้อยู่ในบ้าน ซึ่งสร้างความอบอุ่นใจได้มากกว่า การเลือกสถานบริการดูแลผู้สูงอายุ ควรพิจารณาเรื่องทำเลที่ตั้ง ซึ่งควรจะใกล้บ้านและสะดวกในการเดินทาง สิ่งแวดล้อมรอบอาคารที่ให้บริการควรมีความสงบไม่พลุกพล่าน ไม่มีมลภาวะที่เป็นพิษ อีกทั้งควรพิจารณาในส่วนของอุปกรณ์เช่น เตียงนอน เครื่องมือแพทย์ การรักษาความสะอาดของสถานที่ ลักษณะทางกายภาพบางอย่างที่อาจไม่เหมาะกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น บันไดลาดชันเกินไป ประตูแคบไป ห้องน้ำสุขภาพภัณฑ์ต่างๆ   ควรได้รับการออกแบบให้เหมาะกับผู้สูงอายุ  ส่วนเรื่องราคาค่าบริการให้พิจารณาเปรียบเทียบกับการบริการที่จะได้รับ และระมัดระวังเรื่องค่าบริการเสริม ที่ไม่รวมอยู่ในค่าบริการปกติ และที่สำคัญอีกประการคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ควรเป็นผู้ที่ผ่านการอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนสอนหลักสูตรดังกล่าวหลายแห่ง และควรมีจำนวนที่เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ เพื่อให้สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ   แม้ว่าผู้สูงอายุจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่เหมือนในอดีต แต่ก็ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่มีส่วนในการพัฒนาประเทศ ดังนั้นควรช่วยกันเรียกร้องและผลักดันให้รัฐได้เข้ามามีส่วนในการดำเนินงาน สถานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่เป็นของรัฐ หรือหน่วยงานของชุมชน หรือในรูปแบบที่เหมาะสม ได้มาตรฐานและเป็นธรรมโดยถือเป็นสวัสดิการที่รัฐพึงมอบให้กับประชาชนกลุ่มสูงวัยที่ได้มีส่วนร่วมสร้างสังคมมา   ไทยสู่ยุค “คนชราเต็มเมือง” จี้รัฐกันเงินก้อนโตไว้ดูแล หมอแนะผู้สูงวัยตุนเงิน “3 ล้านบาท” ไว้รักษา 2 โรคยอดฮิต! ผู้จัดการออนไลน์ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ประเทศไทยใกล้เข้าสู่ภาวะคนชราเต็มเมือง แพทย์ชี้โรคหัวใจ-มะเร็ง ผลาญงบดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอ่วม แนะว่าที่ “คนแก่” ต้องเตรียมเงินค่ารักษาตัวโรคละ 1.5 ล้านบาท พร้อมเตรียมใจรับสภาพปัญหาขาดแคลนผู้ดูแลระดับวิกฤต “สิ่งที่รัฐบาลจะต้องรีบทำก็คือการส่งเสริมให้ประชาชนปรับเปลี่ยน วิถีชีวิตไปสู่แนวทางที่จะไม่เป็นโรคอย่างจริงจัง ซึ่งทำได้หลายระดับ ไม่เพียงแต่ให้ความรู้ในรูปแบบของข้อมูลเฉยๆ แต่รวมไปถึงการส่งเสริมทางสังคม เช่น จัดถนนหนทางให้คนขี่จักรยานได้โดยไม่มีรถมาชน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนออกกำลังกายระหว่างเดินทางไปทำงาน เพราะตอนนี้โอกาสที่คนไทยจะได้ออกกำลังกายแทบจะเหลืออยู่อย่างเดียวคือ การเดินทางไปทำงาน” นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์หัวหน้าศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพญาไท 2 แสดงทัศนะต่อบทบาทเชิงรุกที่รัฐบาลควรทำในการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของ ประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นมาระยะหนึ่งแล้ว โดยข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสังคมสูงวัยแล้ว   อีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์” เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มสูงถึงร้อยละ 14 และต่อจากนั้นอีกไม่เกิน 10 ปี ไทยจะเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ในปี พ.ศ. 2575 เมื่อประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ประชากร 1 ใน 5 จะมีอายุสูงกว่า 65 ปี และประชากรครึ่งหนึ่งในประเทศไทยจะมีอายุสูงกว่า 43 ปี! อาจจะช้าเกินไปด้วยซ้ำที่ประเทศไทยเพิ่งมาตั้งคำถามกันว่า จะเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้างเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคผู้สูงวัยเต็มอัตรา ? นพ.สันต์กล่าวต่อว่า ทุกวันนี้แม้แต่ชาวไร่ชาวนาก็ไม่ได้ออกแรง ส่งผลให้ชาวไร่ชาวนามีอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นโรคของคนไม่ออกแรง สูงพอๆ กับคนที่อยู่ในเมือง เพราะชาวไร่ชาวนาในปัจจุบันกลายเป็นผู้จัดการท้องนาที่ไม่ต้องออกแรงเหมือนเดิม กิจกรรมการเกี่ยวข้าวไถนาล้วนแต่เป็นหน้าที่ของรถเกี่ยวรถไถที่ถูกจ้างมาแทน ที่แรงคน “ทำอย่างไรจะให้คนได้เดินทางไปทำงานพร้อมกับออกกำลังกายไปในตัว เป็นเรื่องที่ต้องทำในระดับรัฐบาล โดยอาจจะตั้งต้นด้วยเมืองเล็กๆ นำร่องขึ้นมาสักเมือง กำหนดถนนสำหรับคนเดินและขี่จักรยานโดยเฉพาะ แล้วค่อยๆ ขยายออกไป ในที่สุดคนก็จะได้ออกกำลังกาย เพราะอย่างไรเขาก็ต้องเดินทางไปทำงานอยู่แล้ว ทุกวันนี้บางคนเขาก็อยากเดินหรือขี่จักรยานไปทำงาน แต่ทำไม่ได้ เพราะกลัวถูกรถชน” ดังนั้นรัฐต้องส่งเสริมให้คนเริ่มรักษาสุขภาพตนเองตั้งแต่วันนี้ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นคนจะเสี่ยงต่อ 3 กลุ่มโรควัยชราต่อไปนี้ 1. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคกลุ่มหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง จากข้อมูลปัจจุบันคนไทยราว 55% มีปัจจัยเสี่ยงของโรคเหล่านี้ ทำให้คนไทยเกินครึ่งเสียชีวิตจากโรคกลุ่มนี้ 2. โรคสมองเสื่อม ซึ่งมากับคนอายุยืน 3. โรคซึมเศร้า ซึ่งตามมากับภาวะสมองเสื่อมและโรคเรื้อรัง และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า “3 โรคนี้จะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตของประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมคนชรา โดยเฉพาะ 2 โรคที่ค่ารักษาพยาบาลแพงกว่าเพื่อนคือ โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เพราะทางการแพทย์ยังไม่รู้วิธีรักษา จึงต้องรักษาที่ปลายเหตุ ส่งผลให้เป็นกลุ่มโรคที่กินเงินมากที่สุด โดยสังเกตได้จากการลงทุนของโรงพยาบาลภาคเอกชนที่จะเน้นลงทุนในกลุ่มนี้ เพราะสามารถเก็บเงินได้มาก” นพ.สันต์บอกอีกว่า ต้นทุนค่ารักษาพยาบาล 2 โรคแพงในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งค่ารักษาพยาบาลขั้นต้นของโรคมะเร็งในโรงพยาบาลเอกชนจะตกอยู่ที่ประมาณ 600,000 บาท ไม่นับรวมต้นทุนการดูแลเมื่อคนไข้ทุพพลภาพหรือเป็นผู้ป่วยเรื้อรังระยะสุด ท้าย ซึ่งในทางการแพทย์อาจจะหยุดให้การรักษา เมื่อถึงจุดที่รักษาแล้วคุณภาพชีวิตไม่ดีขึ้น ขณะที่ต้นทุนการรักษาโรคหัวใจ เฉพาะค่ารักษาขั้นต้นในโรงพยาบาลเอกชน จะมี 2 ชนิด คือ ชนิดที่จบลงโดยไม่ต้องผ่าตัด ค่ารักษาอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาท และชนิดที่ต้องจบลงด้วยการผ่าตัดมีค่ารักษาประมาณ 800,000 บาท “นี่เป็นค่ารักษาขั้นต้นที่ยังไม่ได้นับรวมความยืดเยื้อเรื้อรังและ ค่าเสียโอกาสที่ทำงานไม่ได้ ดังนั้น ถัวเฉลี่ยแล้วโรค 2 กลุ่มนี้จะมีต้นทุนการรักษาขั้นต้น 6-8 แสนบาทต่อคนต่อโรคโดยประมาณ ไม่นับรวมภาวะทุพพลภาพที่เกี่ยวเนื่องจากโรค และการรักษาในฐานะผู้ป่วยที่สิ้นหวังระยะสุดท้าย ซึ่งการรักษาลุกลามจนเสียชีวิตก็ไม่น่าจะถูกกว่าการรักษาขั้นต้น โดยอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่พอๆ กัน หรือมากกว่า ดังนั้นโดยประมาณแล้วจะต้องใช้เงินต่อโรค 1,500,000 บาทต่อการดูแลผู้ป่วย 1 คน” ในขณะที่โรคสมองเสื่อมกับโรคซึมเศร้า มีต้นทุนการรักษาไม่แพง แต่ต้นทุนที่แพงไม่แพ้กันคือต้นทุนในแง่ของคุณภาพชีวิต เพราะคนที่เป็น 2 โรคนี้ชีวิตจะไม่มีคุณภาพ ยิ่งไปกว่านั้นคือจะไปมีต้นทุนที่ผู้ดูแล ซึ่งโครงสร้างสังคมไทยในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ยังมีผู้ดูแลเป็นคนในครอบครัวอยู่ แต่หลังจาก 10 ปีข้างหน้าไปแล้ว ยังไม่มีหลักฐานว่าใครจะเป็นผู้ดูแลคนชราเป็นที่คาดการณ์ว่าผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ดูแลคงจะเป็นภาระของสังคม นั่นหมายความว่ารัฐอาจจะต้องจัดตั้ง Nursing Home ขึ้นมาดูแลคนสูงอายุที่ไม่มีใครเอา เพราะลูกไม่พอเลี้ยงดู จากขนาดครอบครัวที่เล็กลง และผู้สูงอายุส่วนหนึ่งไม่มีลูกหลาน เพราะฉะนั้นถึงจุดหนึ่งโรคในกลุ่มโรคชราเรื้อรังจะต้องตกเป็นภาระของสังคม โดยเริ่มต้นตั้งแต่เดี๋ยวนี้เป็นต้นไป

อ่านเพิ่มเติม >