ฉบับที่ 202 คนกรุงเทพฯ ซื้อ (อาหาร) อะไรเป็น “ของฝาก” เมื่อไปเที่ยวต่างจังหวัด

วันหยุดยาวช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ หลายๆ คนก็มักจะเดินทางออกไปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเวลาไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวตามจังหวัดต่างๆ สิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนจะต้องทำก็คือการหาซื้อของฝาก แน่นอนว่าของฝากยอดนิยมอันดับหนึ่งคงหนีไม่พ้นของกิน ไม่ว่าจะเป็นพวกขนมนมเนย ของหวาน ของคาว มีให้เลือกสารพัด ซึ่งแต่ละภาคแต่ละจังหวัดในประเทศไทย ของฝากที่เป็นที่นิยมหรือของขึ้นชื่อก็มีความแตกต่างกันไปเป็นเอกลักษณ์ตามแต่พื้นที่นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร ดูว่าของกินประเภทไหนที่เป็นของฝากยอดนิยมของแต่ละภาคในประเทศที่คนกรุงเทพฯ ซื้อกลับมาฝากญาติสนิม มิตรสหาย นอกจากนี้ยังสำรวจดูพฤติกรรมการอ่านฉลากก่อนซื้อของผู้บริโภค ว่าให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อมากน้อยแค่ไหนการสำรวจครั้งนี้ เก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,271 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 28 - 30 พฤศจิกายน 2560 แบ่งเป็น 1.เพศ ชาย ร้อยละ 57.6 หญิง ร้อยละ 42.42.อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 10.2 21-25 ปี ร้อยละ 31.9 26-30 ปี ร้อยละ 17.0 31-35 ปี ร้อยละ 15.7 36-40 ปี ร้อยละ 12.5 41-45 ปี ร้อยละ 6.6 46-50 ปี ร้อยละ 4.4 มากกว่า 50 ปี ร้อยละ 1.73.อาชีพ นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา ร้อยละ 38.4 ข้าราชการ / พนักงานของรัฐ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 20.3 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 18.9 นักธุรกิจ / เจ้าของกิจการส่วนตัว ร้อยละ 13.0 พ่อบ้าน / แม่บ้าน ร้อยละ 9.4ผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการซื้อของฝากจากการท่องเที่ยวของคนกรุงเทพมหานคร1.ประเภทของของฝากที่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 อันดับแรกขนม ของทานเล่น ร้อยละ 26.6อาหารแห้ง ร้อยละ 26.0 ของชำร่วย พวงกุญแจ ฯลฯ ร้อยละ 24.4เครื่องแต่งกาย ร้อยละ 23.0ผักสด ผลไม้สด ร้อยละ 20.9 2.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคเหนือ 5 อันดับแรก น้ำพริกหนุ่ม ร้อยละ 36.1 แคบหมู ร้อยละ 29.7 หมูยอ ร้อยละ 25.0 ไส้อั่ว ร้อยละ 24.6 ใบชา ร้อยละ 18.3 3.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 อันดับแรก แหนมเนือง ร้อยละ 34.7 หมูยอ ร้อยละ 29.4 กุนเชียง ร้อยละ 26.9 แหนม ร้อยละ 19.7 น้ำพริก ร้อยละ 18.34.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันออก 5 อันดับแรก ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 29.1 ข้าวหลาม ร้อยละ 27.5 อาหารทะเลแห้ง ร้อยละ 26.3 ผลไม้อบแห้ง ร้อยละ 21.6 น้ำปลา ร้อยละ 17.55.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคกลาง 5 อันดับแรก ขนมเค้ก ร้อยละ 27.3 สายไหม ร้อยละ 27.1 โมจิ ร้อยละ 26.8 กะหรี่พัฟ ร้อยละ 22.0 ขนมเปี๊ยะ ร้อยละ 21.96.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคตะวันตก 5 อันดับแรก ทองหยิบทองหยอด ร้อยละ 27.7 ขนมหม้อแกง ร้อยละ 27.6 ขนมชั้น ร้อยละ 25.3 ขนมปังสับปะรด ร้อยละ 23.4 มะขามสามรส ร้อยละ 19.7 7.ของฝากที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคใต้ 5 อันดับแรก ปลาหมึกแห้ง ร้อยละ 32.5 กะปิ ร้อยละ 29.3 กุ้งแห้ง ร้อยละ 24.2 น้ำพริก ร้อยละ 22.3 เครื่องแกง ร้อยละ 21.3 ก่อนซื้อของฝาก เราดูวันหมดอายุบนฉลากกันมากน้อยแค่ไหน? ข้อมูลบนฉลากถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างมากในการเป็นตัวช่วยก่อนตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะ อาหาร แม้ว่าผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นของฝากชื่อดังหลายชนิดที่ทำสดใหม่ทุกวันและวางขายเฉพาะหน้าร้านของตัวเอง ไม่ได้ส่งต่อไปจำหน่ายที่อื่น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องแสดงฉลาก แต่อย่างน้อยข้อมูลสำคัญอย่าง วันเดือนปีที่หมดอายุ และ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ก็ควรมีการแจ้งไว้ให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญต่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย โดยผลสำรวจเรื่องการดูข้อมูลวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ  ร้อยละ 35.4 ไม่ได้ตรวจดูเรื่องวันหมดอายุบนฉลาก ร้อยละ 19.8 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่า ส่วนการดูข้อมูลเรื่องสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์ของฝาก พบว่า ร้อยละ 44.8 มีการตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิตบนฉลากก่อนตัดสินใจซื้อ ร้อยละ 34.2 ไม่ได้ตรวจดูข้อมูลสถานที่ผลิต ร้อยละ 21.0 ไม่แน่ใจว่าได้ตรวจดูหรือเปล่าเคยได้ของฝากที่หมดอายุบ้างหรือเปล่า? นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจในมุมของคนที่ได้รับของฝาก ว่ามีประสบการณ์เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุแล้วบ้างหรือเปล่า ผลสำรวจพบว่า  ร้อยละ 16.4 ของกลุ่มตัวอย่าง เคยได้รับของฝากจำพวกอาหารที่หมดอายุ ร้อยละ 54.8 ไม่เคยได้รับของฝากที่หมดอายุ ร้อยละ 28.8 ไม่แน่ใจว่าเคยได้รับของฝากที่หมดอายุหรือเปล่าอันตรายที่อาจปนเปื้อนมาพร้อมอาหารของฝากน้ำพริก – ระวังจุลินทรีย์และสารกันบูด เคยมีข่าวเมื่อปี 2559 ว่ากรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มตรวจน้ำพริกพร้อมบริโภค เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกกะปิ น้ำพริกขี้กา น้ำพริกเผา น้ำพริกปลาร้าสับ น้ำพริกตาแดง น้ำพริกนรก แจ่วบอง เป็นต้น ที่จำหน่ายตามตลาดสด ตลาดนัด ศูนย์โอทอป ศูนย์ของฝากทั่วประเทศ พบว่าจากทั้งหมด 1,071 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐาน 164 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 15  สาเหตุที่ไม่ผ่านมาตรฐาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการใช้วัตถุกันเสียเกินปริมาณที่อนุญาต ชนิดของวัตถุกันเสียที่พบมากสุด ได้แก่ กรดเบนโซอิค รวมทั้งปัญหาเรื่องการปนเปื้อนจุลินทรีย์และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น เชื้อบาซีลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และเชื้อคลอสตริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens)ที่มา : ข่าว “สุ่มตรวจ“น้ำพริกสำเร็จ”เปียก-แห้งไม่ผ่านมาตรฐาน15 %”, คอลัมน์คุณภาพชีวิต, เว็บไซต์ คมชัดลึก, 20 กันยายน 2559แหนมเนือง - ผักสดไม่สะอาดระวังเชื้อโรค แหนงเนือง อีกหนึ่งของฝากยอดนิยมของภาคอีสานที่หลายคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะรสชาติอร่อยแล้ว ยังถูกมองว่าเป็นอาหารสุขภาพเพราะมีผักหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ  แต่เมนูแหนมเนืองก็อาจมีอันตรายแฝงอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อจุลินทรีย์ อี.โคไล, ซาลโมเนลลา, สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อเหล่านี้มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ดิน และอากาศ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผักสด รวมทั้งเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่บริโภคโดยไม่ผ่านการปรุงให้สุกเพียงพอ เช่น แหนม และ หมูยอปลาหมึกแห้ง – เสี่ยงโลหะหนัก อาหารทะเลและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากอาหารทะเลส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงในเรื่องของการตกค้างของโลหะหนัก เช่น ปรอท แคดเมียม ตะกั่วและสารหนู ซึ่งเป็นการปนเปื้อนตามธรรมชาติ เนื่องจากปัจจุบันนี้แหล่งน้ำตามธรรมชาติมีการเจือปนของของเสียที่มาจากโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น  เมื่อปี 2553 ฉลาดซื้อเคยสุ่มวิเคราะห์ตัวอย่างปลาหมึกแห้งและกุ้งแห้ง เพื่อดูการปนเปื้อนของโลหะหนัก ทั้ง แคดเมียม ตะกั่ว และ ปรอท พบว่า ปลาหมึกแห้งทั้ง 8 ตัวอย่างที่สุ่มสำรวจซึ่งเก็บตัวอย่างจากทั่วประเทศ ทั้งใน กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น สมุทรสาคร และ สงขลา พบว่ามีการปนเปื้อนของโลหะหนักทุกตัวอย่าง  โดยพบการปนเปื้อนของแคดเมียม เกินมาตรฐานที่กฎหมายอนุญาต คือ ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/น้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมจำนวน 4 ตัวอย่าง  ส่วนโลหะหนักอีก 2 ชนิด คือ ตะกั่ว และ ปรอท พบการปนเปื้อนแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด (ตะกั่ว ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ปรอท ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสุ่มวิเคราะห์ ยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มยาฆ่าแมลง (ไพรีทรอยด์) ถึง 5 จาก 8 ตัวอย่าง ซึ่งตามปกติไม่ควรพบการปนเปื้อนสารเคมีดังกล่าวคำแนะนำในการเลือกซื้อของกินเป็นของฝาก 1.สถานที่ขายหรือสถานที่เก็บรักษาต้องสะอาด ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสิ่งไม่พึงประสงค์ เช่น แมลง สารเคมี และอาหารควรถูกเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของอาหาร 2.สภาพภาชนะบรรจุต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด ไม่มีร่องรอยที่อาจทำให้เกิดการรั่วซึมของสิ่งปนเปื้อน 3.ลักษณะของอาหารต้องอยู่ในสภาพปกติ ไม่มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อน ไม่มีร่อยรอยของการเกิดเชื้อราหรือเชื้อจุลินทรีย์ หรืออยู่ในสภาพอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในการบริโภค 4.ต้องอ่านฉลากทุกครั้ง เพื่อรู้ถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่าง วันเดือนปีที่ผลิตหรือหมดอายุ ส่วนประกอบหรือวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หากไม่มีฉลากแจ้งควรสอบถามจากผู้ขายก่อนตัดสินใจซื้อ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point