ฉบับที่ 263 โซเดียมในถั่วอบเกลือ (2)

        จากข้อมูลผลสำรวจปริมาณการบริโภคเกลือโซเดียมของคนไทยในปี 2563 พบว่า มีอัตราการบริโภคเฉลี่ย 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำเกือบ 2 เท่าในปีนี้ประเทศไทยได้มีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการบริโภคโซเดียมลงให้ได้ร้อยละ 30 หรือบริโภคไม่เกิน 700 - 800 มิลลิกรัมต่อมื้ออาหาร ภายในปี พ.ศ. 2568         ฉลาดซื้อฉบับที่ 261 (พฤศจิกายน 2565) ได้สำรวจโซเดียมในถั่วอบเกลือ (1) พบปริมาณโซเดียมมากที่สุดคือ 250 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค 38 กรัม ในฉบับนี้เราจะมาสำรวจต่อในกลุ่มถั่วเปลือกแข็ง (Nut) ซึ่งเป็นซูเปอร์ฟู้ดขวัญใจคนรักสุขภาพกัน               นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข็มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ “ถั่วอบเกลือ” ได้แก่ ถั่วพิสทาชิโอ ถั่วอัลมอนด์ และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ จำนวน 19 ตัวอย่าง 11 ยี่ห้อ เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565 มาสำรวจฉลากเพื่อเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมว่ายี่ห้อไหนมีมากน้อยกว่ากัน รวมถึงปริมาณโปรตีน และราคา นำเสนอเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจฉลาก         จากผลิตภัณฑ์ถั่วอบเกลือ 19 ตัวอย่าง ได้แก่ ถั่วพิสทาชิโอ 5 ตัวอย่าง ถั่วอัลมอลด์ 5 ตัวอย่าง และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 9 ตัวอย่าง พบว่า         - ปริมาณโซเดียมต่อ 1 หน่วยบริโภค มากที่สุดคือ 160 มิลลิกรัม ได้แก่ ยี่ห้อทองการ์เด้น อัลมอนด์อบเกลือ (มีโพแทสเซียม 220 มิลลิกรัมด้วย) และเจดีย์คู่ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ ส่วนยี่ห้อเปเล่ มะม่วงหิมพานต์อบเกลือ มีน้อยที่สุดคือ 10 มิลลิกรัม ในขณะที่ยี่ห้อนัท เนเทอร์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ ไม่มีโซเดียม (แต่มีโพแทสเซียม 190 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม)          - ปริมาณโปรตีนต่อ 1 หน่วยบริโภค มากที่สุดคือ 9 กรัม ในยี่ห้อเจดีย์คู่ พิสตาชิโออบเกลือ   ส่วนยี่ห้อซันคิสท์ พิสทาชิโออบเกลือ และนัท วอร์คเกอร์ พิสทาชิโออบเกลือ มีน้อยที่สุดคือ 3 กรัม         - ยี่ห้อคาเมล พิสทาชิโออบรสธรรมชาติ ระบุปริมาณต่อ 1 หน่วยบริโภคไว้มากที่สุดคือ 40 กรัม ส่วนยี่ห้อซันคิสท์ พิสทาชิโออบเกลือ และนัท วอร์คเกอร์ พิสทาชิโออบเกลือ ระบุไว้น้อยที่สุดคือ 15 กรัม (ไม่รวมเปลือก) ราคาต่อปริมาณ         เมื่อคำนวณความคุ้มค่าของราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อซันคิสท์ อัลมอนด์อบเกลือรสเค็มน้อย ราคาแพงสุดคือ 1.15 บาท ส่วนยี่ห้อสแนคทาวน์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ ราคาถูกสุดคือ 0.67 บาท  ตารางเปรียบเทียบผลสำรวจฉลากตัวอย่างถั่วอบเกลือ 2 กลุ่ม           จากตารางนี้พบว่า ตัวอย่างถั่วกลุ่มเปลือกแข็ง (Nut) มีปริมาณโซเดียมและโปรตีนต่อหน่วยบริโภคน้อยกว่าตัวอย่างถั่วกลุ่ม (1) แต่มีราคาสูงสุดต่อปริมาณ 1 กรัมแพงกว่าประมาณ 4.4 เท่า ข้อสังเกต         - มี 1 ตัวอย่างที่ได้รับสัญลักษณ์ “ทางเลือกสุขภาพ” คือ ยี่ห้อนัท เนเทอร์ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ ไม่มีโซเดียม อย่างไรก็ตามพบว่ามีโพแทสเซียม 190 มิลลิกรัม (ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม หรือ 633.33 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)         -เมื่อลองใช้เกณฑ์สัญลักษณ์ ”ทางเลือกสุขภาพ” กลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทถั่ว ที่กำหนดให้มีโซเดียม ≤ 100 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม มาพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างนี้จะพบว่า มี 2 ตัวอย่างที่เข้าเกณฑ์นี้ ได้แก่ ยี่ห้อเปเล่ มะม่วงหิมพานต์อบเกลือ มี 31.25 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม และยี่ห้อซันคิสท์ อัลมอนด์อบเกลือรสเค็มน้อย มี 66.67 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม         - มี 2 ตัวอย่างที่ไม่ระบุข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารไว้บนฉลาก ได้แก่ ยี่ห้อคาเมล เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบเกลือ และยี่ห้อลูคาส เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่วเกลือ ฉลาดซื้อแนะ        - รสชาติเค็มๆ มันๆ ของถั่วอบเกลือ ทำให้ยิ่งเคี้ยวยิ่งเพลิน หากเผลอกินมากไปอาจได้รับพลังงานและโซเดียมเกินจำเป็นได้ ปริมาณที่แนะนำกันคือ 30 กรัมต่อวัน (ถั่วพิสทาชิโอ 30 เม็ด อัลมอนด์ 20 เม็ด และเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ 15 เม็ด อาจมากน้อยกว่านี้นิดหน่อยได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเมล็ดถั่วด้วย)         - แม้ไม่มีคำว่าเกลือในชื่อก็ไม่แน่ว่าจะไม่มีโซเดียม จึงควรพิจารณาส่วนประกอบและข้อมูลบนฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง โดยเฉพาะหากซื้อให้เด็ก ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยโรคไตและความดันสูง         - ถ้าเลือกได้ ควรเลือกถั่วอบที่ไม่ปรุงรสใดๆ เลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด         - ควรเคี้ยวถั่วให้ละเอียดก่อนกลืน โดยเฉพาะในเด็กและผู้สูงอายุ หากเป็นถั่วเปลือกแข็งเมล็ดใหญ่ควรตำหรือบดให้เล็กลง เพื่อป้องกันการติดคอ สำลัก หรือฟันหักได้         - หากซื้อถั่วถุงใหญ่ ควรแบ่งบริโภคให้พอเหมาะ และเก็บถั่วที่เหลือในภาชนะที่ปิดมิดชิด วางไว้ในที่แห้ง หลีกเลี่ยงแสงแดดและความชื้นข้อมูลอ้างอิงhttps://www.thaihealth.or.th (เลือกกิน “ถั่ว” ให้ถูก ดีต่อสุขภาพแน่นอน)https://www.pobpad.com (ถั่วพิสตาชิโอ อาหารลดน้ำหนักและบำรุงสุขภาพ/ กินอัลมอนด์อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ/ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ของว่างเปี่ยมคุณค่าทางโภชนาการ)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 261 โซเดียมในถั่วอบเกลือ (1)

        จากข้อมูลส่วนแบ่งการตลาดขนมขบเคี้ยวประเภท “ถั่ว” ในประเทศไทย ย้อนไปเมื่อปี 2562 อยู่ที่ 12.3% มูลค่าประมาณ 4,562 บาท เป็นลำดับ 3 รองจากมันฝรั่งและขนมขึ้นรูป (ที่มา:Marketeer ) แต่เชื่อว่าด้วยกระแสความนิยมบริโภคโปรตีนจากพืชที่ขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่องอยู่ตอนนี้ หากถามถึงของว่างกินเล่นเพื่อสุขภาพในดวงใจของหลายๆ คนแล้ว ถั่วต่างๆ น่าจะมาวินอย่างแน่นอน เพราะในถั่วแต่ละชนิดนั้นมีโปรตีนสูง ไขมันชนิดดี เส้นใยอาหาร และวิตามินต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สำคัญอร่อยเคี้ยวเพลิน         ทว่าในถั่วที่ผ่านการปรุงรสต่างๆ อย่าง “ถั่วอบเกลือ” รสชาติเค็มๆ มันๆ นั้น หากเคี้ยวเพลินเกินพอดี ร่างกายอาจเสี่ยงได้รับโซเดียมปริมาณสูงและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้           นิตยสารฉลาดซื้อ โครงการสร้างเสริมความเข็มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์ “ถั่วอบเกลือ” ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ถัวปากอ้า(ถั่วฟาบา) และถั่วเขียวเลาะเปลือก ซึ่งผู้บริโภครู้จักกันดี หาซื้อง่ายและราคาถูก จำนวน 13 ตัวอย่าง 6 ยี่ห้อ เมื่อเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565 มาสำรวจฉลากเพื่อเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมว่ายี่ห้อไหนมีมากน้อยกว่ากัน รวมถึงปริมาณโปรตีน พลังงานและราคานำเสนอเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อต่อไป ผลการสำรวจฉลาก         จากผลิตภัณฑ์ถั่วอบเกลือ 13 ตัวอย่าง  ได้แก่ ถั่วลิสง 6 ตัวอย่าง ถั่วลันเตา 3 ตัวอย่าง ถั่วปากอ้า 3 ตัวอย่าง ถั่วเขียวเลาะเปลือก(ถั่วทอง) 1 ตัวอย่าง  พบว่า         - ปริมาณโซเดียมต่อ 1 หน่วยบริโภค มากที่สุดคือ 250 มิลลิกรัม ได้แก่ ยี่ห้อโก๋แก่ ถั่วลิสงเยื่อแดงโรยเกลือ และพี่รี่ ถั่วลันเตาอบกรอบ รสดั้งเดิม ส่วนยี่ห้อทองการ์เด้น ถั่วลิสงอบเกลือ มีน้อยที่สุด คือ 20 มิลลิกรัม (แต่มีโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม/หน่วยบริโภค)         - ปริมาณโปรตีนต่อ 1 หน่วยบริโภค มากที่สุดคือ 18 กรัม ในยี่ห้อมารูโจ้ ถั่วลิสงอบเกลือ ผสมเกลือหิมาลายัน ส่วนยี่ห้อทองการ์เด้น ถั่วปากอ้าอบเกลือ และถั่วฟาบาโรยเกลือ มีน้อยที่สุดคือ 6 กรัม         - ยี่ห้อทองการ์เด้น  ถั่วลันเตาเขียวอบเกลือ  ระบุปริมาณต่อ 1 หน่วยบริโภคไว้มากที่สุดคือ 45 กรัม ส่วนยี่ห้อทองการ์เด้น ถั่วฟาบาโรยเกลือ ระบุไว้น้อยที่สุดคือ 25 กรัมราคาต่อปริมาณ         เมื่อคำนวณความคุ้มค่าของราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ราคาแพงสุดคือ 0.26 บาท ได้แก่ยี่ห้อโก๋แก่ ถั่วลิสงอบเกลือ และทองการ์เด้น ถั่วลิสงอบเกลือข้อสังเกตน่าสนใจ        - ด้านการแสดงฉลากโภชนาการ พบว่า การแสดงปริมาณค่าพลังงานทั้งหมดของ มารูโจ้ ถั่วลิสงอบเกลือ ผสมเกลือหิมาลายัน น่าจะให้ข้อมูลผิด โดยเมื่ออ่านฉลากโภชนาการด้านหลังซอง ระบุ ค่าพลังงานทั้งหมด (ต่อหน่วยบริโภค 30 กรัม) คือ 520 กิโลแคลอรี แต่ในสัญลักษณ์ด้านหน้า (รูปกระบอก) ระบุว่า ทั้งซอง (ปริมาณบรรจุ 160 กรัม) ซึ่งแบ่งบริโภค 5 ครั้งนั้น มีพลังงานรวม 1040 กิโลแคลอรี หมายความว่า เมื่อหารด้วย 5 ค่าพลังงานต่อหน่วยบริโภคจะเท่ากับ 280 กิโลแคลอรีเท่านั้น  และเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นก็พบว่ามีความสอดคล้องกันว่าน่าจะเป็นการแสดงฉลากผิดพลาด ทำให้ข้อสังเกตส่งผลถึงเรื่องปริมาณของโซเดียมด้วย เพราะด้านหน้าของซองระบุปริมาณโซเดียม 130 มิลลิกรัมหากนำมาหารด้วยหน่วยบริโภคคือ 5 ครั้ง ควรมีค่าโซเดียมในฉลากโภชนาการเพียงแค่ 26 มิลลิกรัมแต่ในฉลากโภชนาการด้านหลังกลับระบุว่า 65 มิลลิกรัม         -เมื่อลองใช้เกณฑ์สัญลักษณ์ ”ทางเลือกสุขภาพ” กลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทถั่ว ที่กำหนดให้มีโซเดียม ≤ 100 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม มาพิจารณาในกลุ่มตัวอย่างนี้จะพบว่า ยี่ห้อทองการ์เด้น ถั่วลิสงอบเกลือ เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่มีปริมาณโซเดียมเข้าเกณฑ์นี้ คือ 52.63 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม อย่างไรก็ตามพบว่ามีโพแทสเซียมอยู่ 320 มิลลิกรัม (ต่อหน่วยบริโภค 38 กรัม หรือ 842 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม) ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมต้องระวัง ฉลาดซื้อแนะ         - ผู้บริโภคควรพิจารณาข้อมูลบนฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง โดยเฉพาะหากซื้อให้เด็กและผู้สูงอายุ         -ในแต่ละวัน ผู้ใหญ่ไม่ควรกินขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมเกิน 200 มิลลิกรัม เด็กอายุ 6-8 ปี ไม่ควรเกิน 32.5-95  มิลลิกรัม อายุ 9-12 ปี ไม่ควรเกิน  40-117.5 มิลลิกรัม อายุ 13-15 ปี ไม่ควรเกิน  50-150 มิลลิกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน และไม่ควรกินขนมขบเคี้ยวเกินวันละ 2 มื้อ          - หากซื้อถุงใหญ่ แนะนำให้แบ่งใส่ภาชนะแต่พอดี แล้วปิดถุง เก็บไว้ไกลมือ จะได้ไม่เผลอหยิบเข้าปากเคี้ยวเพลินจนหมดถุง เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินความจำเป็น         - ถั่วลิสงมีโปรตีนสูงสุด รองลงมาคือ ถั่วปากอ้า ถั่วเขียวเลาะเปลือก และถั่วลันเตา ตามลำดับ         - ถั่วปากอ้ามีเส้นใยอาหารสูงสุด รองลงมาคือ ถั่วลันเตา ถั่วลิสง และถั่วเขียวเลาะเปลือก ตามลำดับ     ข้อมูลอ้างอิงhttps://www.thairath.co.th ("โรคแพ้ถั่วปากอ้า" หรือ "ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD" โรคที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้)https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail.asp?id=1365(มารู้จักโซเดียมกันเถอะ)https://planforfit.com (เลือกถั่วให้เหมาะกับความต้องการของตัวเอง)https://www.gourmetandcuisine.com(ถั่วกับประโยชน์ต่อสุขภาพ)http://medicine.swu.ac.th/msmc/?p=756 (กินถั่วอย่างไร ได้ประโยชน์สูงสุด)https://www.pobpad.com (อาหารโปรตีนสูง ทางเลือกโภชนาการเพื่อสุขภาพ)   

อ่านเพิ่มเติม >

นิตยสารฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบพบสารพิษอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนในเนยถั่ว 12 ตัวอย่าง คิดเป็น 54.55% เตือนผู้บริโภคหากรับประทานมากอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ

        ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบอะฟลาท็อกซิน สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา ในผลิตภัณฑ์เนยถั่ว 11 ตัวอย่างมีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน  1 ตัวอย่างปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานถึง 3 เท่า แนะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนยถั่วมีมาตรฐาน GMP เนื่องจากมีข้อบังคับใช้ ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบแปรรูป เพื่อลดความเสี่ยงในการบริโภค         วันที่ 3 มีนาคม 2565 ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก (สสส.) ได้สุ่มเก็บผลิตภัณฑ์เนยถั่วจำนวน 22 ตัวอย่าง 14 ยี่ห้อ ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 จากห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพื่อนำมาทดสอบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน เนื่องจากสารอะฟลาท็อกซินโดยปกติเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราและสามารถปนเปื้อนได้ในเนยถั่ว หากร่างกายได้รับเข้าไปในปริมาณมากอาจเสี่ยงเกิดอาการชัก หายใจลำบาก ตับถูกทำลาย และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในตับได้         จากผลทดสอบการปนเปื้อนสารอะฟลาท็อกซินจากผลิตภัณฑ์เนยถั่ว นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เปิดเผยว่า พบ 1 ตัวอย่าง ที่มีสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเกินกว่าค่ามาตรฐานกำหนด ได้แก่ ยี่ห้อไม้ภูตะวัน เนยถั่วลิสงแบบละเอียด พบว่ามีสารอะฟลาท็อกซินถึง 65.87 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งตามที่ประกาศของทางกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับที่ 414 พ.ศ.2563 กำหนดให้มีการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินทั้งหมด (B1+B2+G1+G2) ในอาหารสูงสุดไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อ 1 กิโลกรัม และพบอีก 11 ตัวอย่าง มีสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนด้วยเช่นกัน แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด โดยคิดเป็นพบอะฟลาท็อกซิน 54.55% ของตัวอย่างทั้งหมด ได้แก่ ยี่ห้อแมช ครีมมี พีนัท บัตเตอร์, ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อสกิปปี้ ครีมมี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อจิฟ ครีมมี พีนัท บัตเตอร์, ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อแฮปปี้เมท ครีมถั่วลิสง รสธรรมชาติ บดหยาบ, ครีมถั่วลิสง รสน้ำผึ้ง บดหยาบ, ยี่ห้อ Paul food เนยถั่วลิสงชนิดละเอียด รสจืด, ยี่ห้อทองการ์เด้น เนยถั่วลิสงชนิดบดหยาบ, ยี่ห้อลิฟวิ่งเวล ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อโลตัส ชังค์กี้ พีนัท บัตเตอร์ ส่วนอีก 10 ตัวอย่าง ไม่พบสารอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามเมื่อลองเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม พบว่า ยี่ห้อแมช ครันชี พีนัท บัตเตอร์ มีราคาถูกที่สุดคือ 0.26 บาท และ ยี่ห้อพิคส์ พีนัท บัตเตอร์ สมูท ราคาแพงที่สุดคือ 1.05 บาท         ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักวิชาการอิสระ กองบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ ให้ความเห็นว่า สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อกล่าวถึงกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในเนยถั่วลิสงคือ สารอาหารนี้ถูกออกซิไดส์ให้เกิดความหืนได้ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จึงอาจจำเป็นต้องมีการเติมสารต้านออกซิเดชัน (antioxidants) ให้มากพอเพื่อช่วยในการดำรงสภาพของกรดไขมันไม่อิ่มตัว แม้ว่าเนื้อถั่วลิสงเองก็มีสารต้านออกซิเดชั่นธรรมชาติหลายชนิดก็ตามแต่ก็อาจไม่พอ สารต้านออกซิเดชันสังเคราะห์นั้นมีหลายชนิดที่อุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ เช่น BHA นอกจากนี้เนยถั่วลิสงบางยี่ห้ออาจมีการแต่งสีเพื่อให้มีความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้งของการผลิต พร้อมเติมไขมันอื่น ๆ เพื่อให้เนื้อเนยมีความเนียน และที่สำคัญคือ เนยถั่วลิสงอาจต้องมีการเติมสารกันเสียเพื่อกันราขึ้นด้วย         สิ่งที่ต้องแลกกับประโยชน์ของเนยถั่วลิสงคือ ความเสี่ยงในการรับสารพิษจากเชื้อราคือ อะฟลาท็อกซิน (B1, B2, G1 และ G2) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสงนั้นเป็นที่ยอมรับว่าปลอดจากสารพิษนี้ยาก จึงต้องพยายามคุมให้มีระดับไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งในทางพิษวิทยาถือว่า มีความเสี่ยงต่ำ         ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ ยังแนะนำเพิ่มเติมว่า ก่อนซื้อเนยถั่วลิสงควรดูฉลากว่า มีการเติมองค์ประกอบอื่น เช่น น้ำตาลทราย และสารเจือปนต่าง ๆ หรือไม่ แล้วจึงถามตัวเองว่ายอมรับได้หรือไม่ถ้าเนยถั่วลิสงไม่ได้มีเฉพาะถั่วลิสงบดกับเกลือ ซึ่งถ้ารับไม่ได้ก็จำเป็นต้องเลือกเนยถั่วยี่ห้อที่แสดงฉลากว่า ไม่เติมสารเจือปนใด ๆ หรือทำกินเองเพราะทำได้ง่ายมาก อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริโภคเนยถั่วลิสงคือ เนยถั่วลิสงนั้นอร่อยสุด ๆ การกินมากเกินไปย่อมทำให้อ้วนได้ สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้กินเนยถั่วลิสงได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งมีประมาณ 188 แคลอรี่ เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นวันไหนที่กินเนยชนิดนี้ก็ควรออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสักหน่อยเพื่อความสบายใจของแพทย์         ทั้งนี้  นิตยสารฉลาดซื้อแนะนำ การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนยถั่วควรเลือกจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP  เนื่องจากจะมีข้อกำหนดระดับการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสงบังคับใช้ เพื่อควบคุมคุณภาพวัตถุดิบที่นำไปใช้แปรรูป  และอะฟลาท็อกซินแม้พบในผลิตภัณฑ์เนยถั่วเกินครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่นำมาทดสอบ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณอะฟลาท็อกซินที่พบนั้น หากเฉลี่ยแล้วยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด นอกจากนี้ ฉลาดซื้อยังแนะอีกว่า การทำเนยถั่วกินเองช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการได้รับอะฟลาท็อกซิน เพราะผู้บริโภคมีโอกาสการเลือกวัตถุดิบที่ใหม่ และควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเองอ่านบทความผลทดสอบ “อะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่ว” ได้ที่ https://www.chaladsue.com/article/3942

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 อะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่ว

        เนยถั่ว ทำจากถั่วลิสง รสอร่อย กินเป็นของว่างก็ดี ใช้ปรุงอาหารก็ได้ เป็นหนึ่งในอาหารสุขภาพยอดนิยมของทุกเพศทุกวัย อุดมด้วยโปรตีน ไขมันดี วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทว่าผลิตภัณฑ์เนยถั่วหลายยี่ห้อมักเพิ่มน้ำตาล น้ำมัน หรือน้ำผึ้งเข้าไปด้วย เพื่อลดความหนืดและเพิ่มรสชาติ หากใครเผลออร่อยเพลินก็เสี่ยงอ้วนและเพิ่มโรคได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเรื่องนี้ไม่น่าเป็นปัญหาหากผู้บริโภคเลือกพิจารณาจากส่วนประกอบบนฉลากได้ แต่สิ่งที่น่ากังวลกว่าก็คือ ความเสี่ยงที่จะได้รับสาร อะฟลาท็อกซิน ซึ่งต้องอาศัยการทดสอบในห้องทดลองจึงจะพบได้        ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัยและความรู้เรื่องการบริโภคที่เหมาะสม นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เนยถั่วทั้งหมด 22 ตัวอย่าง 14 ยี่ห้อ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 มาทดสอบว่ามีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินหรือไม่   ผลการทดสอบการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่ว         จากผลิตภัณฑ์เนยถั่วที่สุ่มนำมาทดสอบทั้งหมด 22 ตัวอย่าง พบว่า         - มี 1 ตัวอย่างที่มีปริมาณอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด คือ ยี่ห้อไม้ภูตะวัน เนยถั่วลิสงแบบละเอียด  พบ 65.87 ไมโครกรัม/กิโลกรัม         - 10 ตัวอย่าง ไม่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน (คิดเป็น 45.45%ของตัวอย่างทั้งหมด) ได้แก่ ยี่ห้อเวทโทรส เอสเซนเชียล ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อมอร์ริสันส์ สมูท พีนัท บัตเตอร์และ100% พีนัท สมูท พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อโฮลเอิธ์ท ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อสกิปปี ซูเปอร์ชังค์ พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อพิคส์ พีนัท บัตเตอร์ สมูท, ยี่ห้อทองการ์เด้น เนยถั่วลิสงชนิดบดละเอียดและเนยถั่วลิสงบดหยาบ รสจืด, ยี่ห้อพิคส์ พีนัท บัตเตอร์ ครันชี และยี่ห้อเลมอนฟาร์ม เนยถั่วลิสง         - 12 ตัวอย่าง มีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อน (คิดเป็น 54.55% ของตัวอย่างทั้งหมด) ได้แก่ยี่ห้อแมช ครีมมี พีนัท บัตเตอร์และครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อสกิปปี ครีมมี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อจิฟ ครีมมี พีนัท บัตเตอร์และครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อแฮปปี้เมท ครีมถั่วลิสง รสธรรมชาติ บดหยาบและครีมถั่วลิสง รสน้ำผึ้ง บดหยาบ, ยี่ห้อ Paul food เนยถั่วลิสงชนิดละเอียด รสจืด, ยี่ห้อทองการ์เด้น เนยถั่วลิสงชนิดบดหยาบ, ยี่ห้อลิฟวิ่งเวล ครันชี พีนัท บัตเตอร์, ยี่ห้อโลตัส ชังค์กี้ พีนัท บัตเตอร์ และยี่ห้อไม้ภูตะวัน เนยถั่วลิสงแบบละเอียด ผลเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 กรัม         พบว่า ยี่ห้อแมช ครันชี พีนัท บัตเตอร์ ถูกที่สุดคือ 0.26 บาท ส่วน ยี่ห้อพิคส์ พีนัท บัตเตอร์ สมูท แพงที่สุดคือ 1.05 บาทฉลาดซื้อแนะ        - ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เนยถั่วจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP ซึ่งจะมีข้อกำหนดระดับการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสงบังคับใช้ เพื่อควบคุมคุณภาพวัตถุดิบที่จะนำไปใช้แปรรูปอยู่ด้วย        - แม้จะพบอะฟลาท็อกซินในผลิตภัณฑ์เนยถั่วเกินครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่นำมาทดสอบทั้งหมด แต่ปริมาณอะฟลาท็อกซินโดยเฉลี่ยแล้วยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนด ทั้งนี้มีผลการทดลองในต่างประเทศที่พบว่าในกระบวนการผลิตเนยถั่วที่ต้องทั้งอบและบดนั้น สามารถฆ่าเชื้ออะฟลาท็อกซินได้มากถึง 89%          - การทำเนยถั่วกินเองน่าจะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากการได้รับอะฟลาท็อกซินได้ทางหนึ่ง เพราะผู้บริโภคมีโอกาสเลือกวัตถุดิบถั่วลิสงที่ใหม่ และควบคุมการผลิตทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีทำเนยถั่วก็มีเผยแพร่ตามสื่อต่างๆ ให้เลือกทำตามได้ง่ายๆ          - หากเปิดกระปุกเนยถั่วแล้วควรใช้อุปกรณ์ที่สะอาดตักทุกครั้ง ปิดฝาให้สนิทแล้วเก็บไว้ในที่มืดและแห้ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนได้ภายหลัง  ข้อมูลอ้างอิงประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 414) พ.ศ. 2563ฉลาดซื้อฉบับที่ 186 อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงบทความ กินเนยถั่ว (ลิสง) อันตรายต่อสุขภาพไหม? (ฉลาดซื้อ)บทความ การปนเปื้อนเชื้อราและอะฟลาทอกซินในถั่วและผลิตภัณฑ์ถั่วพร้อมบริโภค (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)https://www.fitterminal.comhttps://www.scirp.org/Journal/PaperInformation.aspx?paperID=4527

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 250 รู้เท่าทันกินเนยถั่ว

กินเนยถั่ว (ลิสง) อันตรายต่อสุขภาพไหม        เนยถั่วลิสงเป็นอาหารยอดนิยมที่ผู้คนใช้ในการประกอบอาหารและของว่างหลายชนิด เป็นอาหารที่ไม่ควรมีคอเลสเตอรอลและเป็นตัวเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เต็มไปด้วยโปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เพราะเนยถั่วลิสงมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามความที่มันเป็นอาหารที่มีรสมันจัดจึงน่าสงสัยว่าดีต่อสุขภาพจริงหรือ         เนยถั่วลิสงนั้นต่างจากเนยสำหรับทาขนมปัง (หรือ butter ที่ทำจากนมวัว) ตรงที่เนยถั่วลิสงมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบสูงเท่าที่ถั่วลิสงมี แต่เนยทาขนมปังนั้นเป็นไขมันเกือบทั้งหมด โดย 100 กรัม เนยถั่วลิสงมีโปรตีนประมาณ 25 กรัม ในขณะที่เนยทาขนมปังนั้น 100 กรัม มีโปรตีนไม่เกิน 1 กรัม         นอกจากนี้ไขมันในเนยถั่วลิสงยังเป็นไขมันไม่อิ่มตัวสูงหรือ PUFA ซึ่งไม่มีคอเลสเตอรอล ในขณะที่เนยทาขนมปังมีไขมันตามที่นมมีคือ มักเป็นไขมันอิ่มตัวแต่อาจมีไขมันไม่อิ่มตัวได้บ้างตามอาหารที่วัวกินว่า เป็นหญ้าหรือกากถั่วเหลือง กากข้าวโพด ที่สำคัญคือ เนยทาขนมปังมีคอเลสเตอรอลได้เพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ดังนั้นถ้าเนยถั่วลิสงยี่ห้อใดมีการเติม butter เพื่อให้รสชาติดีโอกาสพบคอเลสเตอรอลในระดับหนึ่งย่อมเป็นไปได้         สิ่งที่ควรคำนึงเมื่อกล่าวถึงกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในเนยถั่วลิสงคือ สารอาหารนี้ถูกออกซิไดส์ให้เกิดความหืนได้ ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้จึงอาจจำเป็นต้องมีการเติมสารต้านออกซิเดชั่น (antioxidants) ให้มากพอเพื่อช่วยในการดำรงสภาพของกรดไขมันไม่อิ่มตัว แม้ว่าเนื้อถั่วลิสงเองก็มีสารต้านออกซิเดชั่นธรรมชาติหลายชนิดก็ตามแต่ก็อาจไม่พอ สารต้านออกซิเดชั่นสังเคราะห์นั้นมีหลายชนิดที่อุตสาหกรรมอาหารสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ เช่น BHA นอกจากนี้เนยถั่วลิสงบางยี่ห้ออาจมีการแต่งสีเพื่อให้มีความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ในแต่ละครั้งของการผลิต พร้อมเติมไขมันอื่น ๆ เพื่อให้เนื้อเนยมีความเนียน และที่สำคัญคือ เนยถั่วลิสงอาจต้องมีการเติมสารกันเสียเพื่อกันราขึ้นด้วย         สิ่งที่ต้องแลกกับประโยชน์ของเนยถั่วลิสงคือ ความเสี่ยงในการรับสารพิษจากเชื้อราคือ aflatoxin  (B1, B2, G1 และ G2) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วลิสงนั้นเป็นที่ยอมรับว่าปลอดจากสารพิษนี้ยาก จึงต้องพยายามคุมให้มีระดับไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน ซึ่งในทางพิษวิทยาถือว่า มีความเสี่ยงต่ำ         ก่อนซื้อเนยถั่วลิสงควรดูฉลากว่า มีการเติมองค์ประกอบอื่น เช่น น้ำตาลทราย และสารเจือปนต่าง ๆ หรือไม่ แล้วจึงถามตัวเองว่ายอมรับได้หรือไม่ถ้าเนยถั่วลิสงไม่ได้มีเฉพาะถั่วลิสงบดกับเกลือ ซึ่งถ้ารับไม่ได้ก็จำเป็นต้องเลือกเนยถั่วยี่ห้อที่แสดงฉลากว่า ไม่เติมสารเจือปนใด ๆ หรือทำกินเองเพราะทำได้ง่ายมาก         อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบริโภคเนยถั่วลิสงคือ เนยถั่วลิสงนั้นอร่อยสุด ๆ การกินมากเกินไปย่อมทำให้อ้วนได้ สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้กินเนยถั่วลิสงได้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ ซึ่งมีประมาณ 188 calories เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนั้นวันไหนที่กินเนยชนิดนี้ก็ควรออกกำลังกายเพิ่มขึ้นสักหน่อยเพื่อความสบายใจของแพทย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 สำรวจฉลากโภชนาการ “นมทางเลือกพร้อมดื่ม”

        ผลิตภัณฑ์นมที่เรารู้จักและดื่มกันมาเนิ่นนานคือ นมวัวและนมถั่วเหลือง แต่ปัจจุบันมีนมให้เลือกหลากหลายมาก ทั้งจากสัตว์คือนมแพะ และจากพืชคือนมข้าว นมถั่ว และนมมะพร้าว ซึ่งในช่วงแรกๆ นั้นจัดเป็นทางเลือกให้กับคนที่แพ้น้ำตาลแลคโตสและโปรตีนจากนมวัว ต่อมากระแสนิยมเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแพร่หลายในวงกว้าง ผู้ผลิตจึงพัฒนาสูตร ‘นมทางเลือกพร้อมดื่ม’ ต่างๆ มาตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่ใส่ใจเลือกอาหารการกินที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น         ทว่า นมเหล่านี้จะเป็นนมทางเลือกเพื่อสุขภาพตามที่มักพูดติดปากกันจริงแค่ไหน ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาไปสำรวจปริมาณสารอาหารในนมทางเลือกพร้อมดื่มจำนวน 16 ตัวอย่าง 10 ยี่ห้อ โดยดูฉลากว่ายี่ห้อไหนมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน รวมทั้งดูปริมาณพลังงาน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรตด้วย ซึ่งผลสำรวจจะเป็นอย่างไรนั้น เราไปดูกันผลสำรวจฉลากโภชนาการ“นมทางเลือกพร้อมดื่ม”         เมื่อเปรียบเทียบปริมาณพลังงาน น้ำตาล โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค พบว่า         1.พลังงาน - ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสูงที่สุดคือ 180 กิโลแคลอรี ส่วนยี่ห้อบลูไดมอนด์ เครื่องดื่มน้ำนมอัลมอนด์ รสออริจินอล และ 137 ดีกรี น้ำนมพิสตาชิโอ เบลนด์หิมพานต์ สูตรดั้งเดิม ผสมเมล็ดทานตะวัน มีต่ำที่สุดคือ 45 กิโลแคลอรี         2.น้ำตาล - ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวกล้องงอก มีสูงที่สุดคือ 14 กรัม ส่วนยี่ห้อฟอร์แคร์บาลานซ์ออร์แกนิก เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล และ 137 ดีกรี น้ำนมอัลมอนด์ สูตรไม่เติมน้ำตาล ผสมเมล็ดทานตะวัน นั้นไม่มีน้ำตาลเลย          3.โปรตีน - ยี่ห้อศิริชัย เครื่องดื่มนมแพะ ยูเอชที มีสูงที่สุดคือ 6 กรัม ส่วนนมที่มีโปรตีนต่ำที่สุดคือไม่ถึง 1 กรัม มี 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ยี่ห้อยูเอฟซี เวลเวท เครื่องดื่มน้ำนมมะพร้าว รสจืด, ซันคิสท์ เครื่องดื่มน้ำนมพิสทาชิโอ รสออริจินอล, ฟอร์แคร์บาลานซ์ออร์แกนิก เครื่องดื่มน้ำนมข้าวกล้องหอมมะลิออร์แกนิก ไม่เติมน้ำตาล และ137 ดีกรี น้ำนมวอลนัท สูตรดั้งเดิม ผสมเมล็ดทานตะวัน         4.คาร์โบไฮเดรต - ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีสูงที่สุดคือ 31 กรัม และต่ำที่สุดคือ 1 กรัม ในยี่ห้อ 137 ดีกรี น้ำนมอัลมอนด์ สูตรไม่เติมน้ำตาล ผสมเมล็ดทานตะวันข้อสังเกต- แม้จะผลิตจากน้ำนมมะพร้าวเหมือนกัน แต่กลับให้พลังงานต่างกันมาก โดยตัวอย่างยี่ห้อเพียวฮาร์เวสต์ ให้พลังงาน 144.5 กิโลแคลอรี ในขณะที่ยี่ห้อยูเอฟซี เวลเวท ให้พลังงาน 50 กิโลแคลอรี- นมทางเลือกส่วนใหญ่มาจากพืช มีเพียงตัวอย่างเดียวคือ นมแพะที่มาจากสัตว์ -มี 8 ตัวอย่าง เติมน้ำตาลเพิ่มในส่วนผสม- มี 5 ตัวอย่าง เติมแคลเซียมธรรมชาติเพิ่มในส่วนผสม- มี 6 ตัวอย่าง ระบุว่า แต่งกลิ่นเลียนแบบธรรมชาติหรือแต่งกลิ่นธรรมชาติ- ยี่ห้อวี-ฟิท เครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวกล้องงอก มีน้ำตาล 14 กรัม ถ้าดื่มวันละ 2 กล่อง ก็จะได้รับน้ำตาลเกินต่อปริมาณที่แนะนำ คือไม่ควรเกินวันละ 24 กรัมต่อวัน (6 ช้อนชา) ในแต่ละวันแล้ว-หากลองคำนวณเปรียบเทียบราคาในปริมาณต่อกล่องที่ 180 มิลลิลิตร พบว่า ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 18-19 บาท ยี่ห้อ 137 ดีกรี น้ำนมพิสตาชิโอ เบลนด์หิมพานต์ สูตรดั้งเดิม ผสมเมล็ดทานตะวัน มีราคาสูงสุดอยู่ที่ 28 บาท ส่วนราคาต่ำสุดอยู่ที่ประมาณ 9-10 บาท ได้แก่ ยี่ห้อวี-ฟิท ทั้งเครื่องดื่มธัญญาหาร น้ำนมข้าวไรซ์เบอร์รี่ และเครื่องดื่มธัญญาหารน้ำนมข้าวกล้องงอกคำแนะนำ- ควรเขย่าก่อนดื่ม แช่เย็นจะช่วยให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น ถ้าเปิดกล่องแล้วต้องแช่ตู้เย็น และควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน ถ้าเป็นกล่องใหญ่ภายใน 3-5 วัน- หากดื่มนมจากพืชเป็นหลัก ควรบริโภคอาหารหลากหลายให้ครบ 5 หมู่ควบคู่กัน เพราะนมจากพืชให้ปริมาณโปรตีน แคลเซียม และวิตามินต่างๆ น้อยกว่านมจากสัตว์ จึงควรเพิ่มโปรตีนจากไข่ หรือแคลเซียมจากปลาเล็กปลาน้อยเสริม หรือหากกินมังสวิรัติก็จัดเมนูเต้าหู้และผักใบเขียวเพิ่มด้วย- สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเลี่ยงน้ำนมข้าวต่างๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด เพราะมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตรวมอยู่ด้วย อาจมีผลกระตุ้นให้อาการเบาหวานกำเริบหรือแย่ลงได้- นมจากพืชไม่เหมาะให้เด็กในวัยกำลังเจริญเติบโตดื่มเป็นหลัก เพราะให้พลังงานและโปรตีนน้อยกว่านมจากสัตว์ แต่ให้เด็กๆ ดื่มเสริมเพื่อให้ได้รับสารอาหารและรสชาติที่หลากหลายได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 237 เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์น้ำนมถั่วเหลือง 2020

        ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 193 เราได้เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองไว้ถึง 34 ตัวอย่าง จาก 9 ยี่ห้อ สะท้อนว่า ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลืองได้รับความนิยมมาก มีหลากหลายสูตรให้ผู้บริโภคได้เลือกรับประทาน ซึ่งผลิตภัณฑ์หลักในสินค้ากลุ่มนี้ คือผลิตภัณฑ์ชนิดยูเอชที ที่ครองสัดส่วนการตลาดกว่าร้อยละ 96 มีสองแบรนด์หลักเป็นผู้ครองตลาด คือ แลคตาซอยและไวตามิ้ลค์ อย่างไรก็ตามในส่วนของผลิตภัณฑ์ชนิดพาสเจอร์ไรซ์ ถึงสัดส่วนจะมีเพียงร้อยละ 3 แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยมีแบรนด์โทฟุซัง ที่มาแรงครองใจผู้บริโภค ด้วยการวางภาพให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หวานน้อย ใช้วัตถุดิบออร์แกนิกเป็นจุดขาย ซึ่งในปี 2020 นี้ ฉลาดซื้อเราได้สำรวจเพิ่มเติมเพื่อดูแนวโน้มและเปรียบเทียบเรื่องคุณค่าทางโภชนาการตามที่ชี้แจงในฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์ยี่ห้อใหม่ๆ เพื่อให้เป็นข้อมูลสำหรับการเลือกซื้อของผู้บริโภค         เราไปส่องกันเลยว่าสินค้าที่เราเก็บตัวอย่างเดือนกันยายน ที่ผ่านมา มีอะไรบ้างสิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกซื้อนมถั่วเหลือง1.เลือกที่มีส่วนผสมของน้ำนมถั่วเหลืองในปริมาณสูง2.เลือกรสชาติที่หวานน้อยเพื่อเลี่ยงภาวะติดหวาน3.เลือกที่ปราศจากวัตถุกันเสีย4.เลือกที่วันผลิตสดใหม่5.เลือกโดยพิจารณาว่าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพดี โดยเฉพาะชนิดกล่องต้องไม่อยู่ในสภาพบุบยุบตัวสิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อเลือกซื้อนมถั่วเหลือง1.เลือกที่มีส่วนผสมของน้ำนมถั่วเหลืองในปริมาณสูง2.เลือกรสชาติที่หวานน้อยเพื่อเลี่ยงภาวะติดหวาน3.เลือกที่ปราศจากวัตถุกันเสีย4.เลือกที่วันผลิตสดใหม่5.เลือกโดยพิจารณาว่าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพดี โดยเฉพาะชนิดกล่องต้องไม่อยู่ในสภาพบุบยุบตัว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 231 ยาฆ่าหญ้า ไกลโฟเซต อันตรายที่ไกลตัว?

                มหากาพย์เรื่องยาวของการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร 3 ชนิด แบ่งเป็นสารกำจัดวัชพืช (ยาฆ่าหญ้า) 2 ชนิด (พาราควอต และไกลโฟเซต) กับ สารกำจัดแมลง (ยาฆ่าแมลง) 1 ชนิด (คลอร์ไพริฟอส) ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2560 ได้จบบทแรกลงไปแล้ว โดยที่ได้มีการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2563 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ให้พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก ครอบครอง โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ประกาศดังกล่าวส่งผลให้การขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการยกเลิกการใช้สารเคมีประสบความสำเร็จบางส่วน อย่างไรก็ตามยังคงเหลือสารเคมีอีก 1 ตัวที่ยังไม่ถูกแบน ซึ่งได้แก่ยาฆ่าหญ้า – ไกลโฟเซต ที่ยังอยู่ในการควบคุมระดับวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 หรือการจำกัดการใช้เท่านั้น         การคงอยู่ของการใช้ไกลโฟเซตในวงจรการผลิตนำมาซึ่งคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและการตกค้าง ว่าจะมีการตกค้างของไกลโฟเซตหรือไม่ และถ้ามีจะมีมากน้อยเพียงใด “ฉลาดซื้อ” เลยถือโอกาสเก็บตัวอย่างถั่วเหลืองทั้งแบบเต็มเม็ดและแบบผ่าซีก เพื่อทดสอบหาการตกค้างของไกลโฟเซต มาให้หายสงสัยกัน อย่างไรก็ตามต้องแจ้งให้ท่านผู้อ่านทุกท่านทราบก่อนว่าผลการทดสอบครั้งนี้เป็นผลที่เก็บตัวอย่างและทดสอบกันมาระยะหนึ่งแล้วมิใช่การทดสอบที่เพิ่งดำเนินการแต่ประการใด         การเก็บตัวอย่าง 3 ครั้ง ในวันที่ 29 พ.ย., 2 ธ.ค. และ 6 ธ.ค. 62  ได้ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองรวม 8 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ การทดสอบทำตามเกณฑ์มาตรฐานในการอ้างอิงใช้ค่าการตกค้างสูงสุดที่ยอมรับได้จากมาตรฐานอาหารสากล (MRL CODEX : glyphosate 2006) ที่ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม        สรุปผลการทดสอบ        ผลการทดสอบพบการตกค้างของไกลโฟเซตจำนวน 5 ตัวอย่าง (ร้อยละ 62.5) (แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน) ได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา ไร่ทิพย์ ที่ 0.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, ถั่วเหลืองซีก ตรา เอโร่ ที่ 0.07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ถั่วเหลือง ตรา ด็อกเตอร์กรีน ที่ 0.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, ถั่วเหลืองซีก ตรา โฮม เฟรช มาร์ท ที่ 0.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, และถั่วเหลืองผ่าซีก ตรา แม็กกาแรต ที่ 0.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยมี 3 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้าง (ร้อยละ 37.5) ได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา บิ๊กซี, ถั่วเหลิองออร์แกนิค ตรา โฮม เฟรช มาร์ท, และถั่วเหลืองซีก ตรา ท็อปส์         นอกจากไกลโฟเซตแล้ว “ฉลาดซื้อ” ยังได้ตรวจสอบหาสารที่เป็นเมตาโบไลท์หลักของไกลโฟเซตชื่อ Aminomethyphosphonic acid: AMPA ซึ่งตรวจพบการตกค้างของ AMPA จำนวน 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 50) ได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา ไร่ทิพย์ ที่ 0.84 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, ถั่วเหลืองซีก ตรา เอโร่ ที่ 0.16 มิลลิกรัม/กิโลกรัม,   ถั่วเหลือง ตรา ด็อกเตอร์กรีน ที่ 0.79 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, และถั่วเหลืองซีก ตรา โฮม เฟรช มาร์ท ที่ 0.51 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนอีก 4 ตัวอย่างที่ตรวจไม่พบได้แก่ ถั่วเหลือง ตรา บิ๊กซี, ถั่วเหลิองออร์แกนิค ตรา โฮม เฟรช มาร์ท, ถั่วเหลืองซีก ตรา ท็อปส์, และถั่วเหลืองผ่าซีก ตรา แม็กกาแรต         ข้อสังเกต จากทั้งหมดที่พบไกลโฟเซตจำนวน 5 ตัวอย่างมี 3 อย่าง (ถั่วเหลืองตราไร่ทิพย์, ถั่วเหลืองซีกตราเอโร่, และถั่วเหลืองซีก ตรา โฮม เฟรช มาร์ท) ที่เป็นผู้ผลิตรายเดียวกันคือ บริษัท ไร่ธัญญะ จำกัด         แม้ว่าการตรวจพบไกลโฟเซตจำนวน 5 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง (มี 1 ตัวอย่างเป็นถั่วเหลืองออร์กานิค) นั้น จะไม่มีตัวอย่างใดเลยที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานอาหารสากล (ค่าเฉลี่ยเพียงแค่ 0.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) แต่การพบการตกค้างหมายความว่า ยังคงมีความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากมีการบริโภคในปริมาณที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านความร้อนสูงไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฟองเต้าหู้ ฯลฯ         การตกค้างที่ตรวจพบไม่ใช่เรื่องไกลตัวของผู้บริโภค ดังนั้นผู้บริโภคที่นิยมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองในกลุ่มที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจจะต้องสนใจในแหล่งที่มาของวัตถุดิบของอาหารของเราให้มากขึ้น ซึ่งหนึ่งในข้อเสนอของฉลาดซื้อ คือ การแสดงฉลากโดยระบุว่า “ใช้ สาร….” (ในที่นี้คือไกลโฟเซต) ตรงส่วนประกอบของอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกซื้อ และเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีเกินสมควรด้วยตนเอง         อย่างไรก็ตามความปลอดภัยของผู้บริโภค ณ ต้นทาง ย่อมสำคัญกว่าการจัดการที่ปลายทาง ฉลาดซื้อยังคงคาดหวังที่จะเห็นการยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตเช่นเดียวกันกับ พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงอยากขอให้ผู้อ่านทุกท่านมีส่วนร่วมโดยการเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย เร่งรัดการยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตโดยเร็วที่สุด โดยร่วมกันไม่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่แสดงว่ามีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง ทั้งนี้ให้เริ่มจากไกลโฟเซตเป็นลำดับแรก*ข้อมูลประกอบhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%95 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 194 สารกันบูดในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป

แฟนๆ ฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ เราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในขนมเปี๊ยะ” ที่พบว่ามีตัวอย่างขนมเปี๊ยะเพียง 1 จาก 13 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก โดยพบปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่การพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ ทั้งที่บางยี่ห้อระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” นั้น ทำให้ฉลาดซื้อมีข้อสงสัยว่า สารกันบูดที่พบมาจากส่วนประกอบใดในขนมเปี๊ยะกันแน่ ฉบับนี้เราเลยเลือกทดสอบไส้ขนมสำเร็จรูป ชนิด “ถั่วกวน” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์ขนมหลายชนิด ไม่ใช่แค่ขนมเปี๊ยะ แต่ยังมีทั้ง ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ฯลฯ ซึ่งไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพร้อมนำไปทำขนมได้ทันทีนี้ มีวางจำหน่ายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำขนมและเบเกอรี่เจ้าใหญ่หลายแห่ง เราลองไปดูกันสิว่าในไส้ถั่วกวนสําเร็จรูปมีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก มากน้อยแค่ไหนถั่วกวนสำเร็จรูป ใส่สารกันบูดได้หรือไม่? ใส่ได้มากน้อยแค่ไหน?ถ้าเทียบตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภท พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น อบแห้ง แคนนิ่ง แช่แข็ง ฯลฯ ตามการแบ่งกลุ่มย่อยของประเภทอาหารที่อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิก ซึ่งตามประกาศไม่มีกำหนดปริมาณที่ใช้เป็นตัวเลขชัดเจน ระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งเมื่อลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปดังนั้นเกณฑ์สำหรับเทียบเคียงในการทดสอบ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปครั้งนี้ ขอยึดที่เกณฑ์พบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 193 สารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม

เชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลที่หลายคนชื่นชอบการบริโภคนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ มาจากคุณค่าหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ในเครื่องดื่มดังกล่าว เพราะถั่วเหลืองมีไขมันอิ่มตัวน้อยและมีโปรตีนสูงใกล้เคียงกับนมวัว ทำให้ผู้ที่ควบคุมน้ำหนักหรือรับประทานมังสวิรัติสามารถดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมและมดลูกได้อีกด้วย โดยปัจจุบันเราสามารถเลือกซื้อนมถั่วเหลืองมาบริโภคกันได้ง่ายขึ้น ผ่านร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป เพราะมีการจำหน่ายนมถั่วเหลืองในรูปแบบสำเร็จรูปพร้อมดื่มได้ทันทีนั่นเองอย่างไรก็ตามนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มเหล่านี้ จำเป็นต้องมีการปรับรสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคส่วนใหญ่ จึงอาจทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูงเกินกว่าที่เราควรได้รับต่อวัน หรือไม่ควรเกินวันละ 24 กรัม/วัน (6 ช้อนชา) ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงสุ่มทดสอบปริมาณสารอาหารในนมถั่วเหลืองพร้อมดื่มจำนวน 34 ตัวอย่าง จาก 9 ยี่ห้อ ซึ่งตรวจสอบด้วยการดูฉลากว่ายี่ห้อไหนจะใส่น้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน รวมทั้งตรวจสอบปริมาณโปรตีนและแคลเซียมในแต่ละยี่ห้ออีกด้วย โดยผลทดสอบจะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับนมถั่วเหลือง- นมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ คือผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่นำมาแปรรูป- ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีสารไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสารจากพืชที่ออกฤทธิ์เป็นฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) แต่มีฤทธิ์ในปริมาณค่อนข้างต่ำ จึงไม่ใช่ตัวการหลักที่กระตุ้นให้เด็กผู้หญิงมีรอบเดือนเร็วกว่าปกติ-  ผู้หญิงที่มักปวดท้องเมื่อมีรอบเดือน อาจมีสาเหตุจากร่างกายสร้างเอสโตรเจนออกมาในปริมาณมาก ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเป็นประจำ เพราะในถั่วเหลืองมีสารเจ็นนิสตีน (genistine) ที่ช่วยทำให้เอสโตรเจนออกฤทธิ์น้อยลง ด้วยการแย่งพื้นที่จับบริเวณผนังเซลล์ของต่อมน้ำนมและมดลูก แต่หากบริโภคสารดังกล่าวในรูปแบบอาหารเสริมเป็นประจำ อาจส่งผลให้มีบุตรยากได้สรุปผลทดสอบจากนมถั่วเหลืองพร้อมดื่ม 34 ตัวอย่าง 9 ยี่ห้อ พบว่า1. น้ำตาล- ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณน้ำตาล 28 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า น้ำตาลน้อย (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 4 กรัม/หน่วยบริโภค- ส่วนนมถั่วเหลืองชนิดแห้งที่มีปริมาณน้ำตาลสูงที่สุดคือ โอวันติน เนเจอร์ซีเล็คท์ ซอยย์ นมถั่วเหลืองปรุงสำเร็จชนิดผง สูตรผสมงาดำ (เจ) มีปริมาณน้ำตาล 18 กรัม/หน่วยบริโภค และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยที่สุดคือ ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ไม่มีปริมาณน้ำตาลผสมอยู่เลย2. โปรตีน- ยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนสูงที่สุดมี 5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมถั่วเหลืองสีดำ (แบล็ค ซิงค์) 2.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรข้าวบาร์เลย์และมอลต์ ทูโก (ขวดแก้ว) 3.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรทูโก ออริจินัล (ขวดแก้ว) 4.ไวตามิ้ลค์ น้ำนมถั่วเหลือง สูตรดับเบิ้ลช็อกโก ทูโก (ขวดแก้ว) 5.แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic มีปริมาณโปรตีน 9 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน- ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณโปรตีนน้อยที่สุดคือ โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) มีปริมาณโปรตีน 4 กรัม/หน่วยบริโภคเท่ากัน3. แคลเซียม- ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที ไฮแคลเซียม สูตรเจ มีปริมาณแคลเซียม 60%/หน่วยบริโภค ในขณะที่ยี่ห้อที่มีปริมาณแคลเซียมน้อยที่สุดคือ ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมจมูกข้าวญี่ปุ่น น้ำตาลน้อย (เจ) และดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมน้ำนมข้าวโพด (เจ) มีปริมาณแคลเซียมน้อยกว่า 2%/หน่วยบริโภค4. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงานสูงที่สุดคือ แลคตาซอย น้ำนมถั่วเหลืองยูเอชที รสหวาน สูตร Original Classic ให้พลังงานทั้งหมด 260 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค - ยี่ห้อที่ให้พลังงานน้อยที่สุดมี 3 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.ดอยคำ นมถั่วเหลือง100% ให้พลังงานทั้งหมด 70 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภค และ 2.ดีน่า นมถั่วเหลืองยูเอชที สูตรผสมงาดำ 2 เท่า (เจ) 3. โทฟุซัง นมถั่วเหลืองออร์แกนิค รสออริจินัล (เจ) ให้พลังงานทั้งหมด 90 กิโลแคลอรี/หน่วยบริโภคเท่ากัน 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 187 อะฟลาท็อกซินในถั่วเหลือง

“ถั่วเหลือง” เป็นอีกหนึ่งธัญพืชที่นิยมบริโภคกันทั่วไป หารับประทานง่าย รสชาติอร่อย ซึ่งส่วนใหญ่เรานิยมนำถั่วเหลืองไปแปรรูป เป็นน้ำนมถั่วเหลือง หรือ น้ำเต้าหู้ รวมทั้งนำมาทำเป็นเต้าหูประเภทต่างๆ นำมากวนทำขนม หรือจะนำเมล็ดถั่วเหลืองมาคั่วคลุกเกลือ กินเป็นขนมทานเล่นก็อร่อยไม่แพ้กันเชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะบริโภคอาหารที่แปรรูปจากถั่วเหลืองแทบจะทุกวัน การคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย การตรวจสอบป้องกันการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตรายของสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งก็เช่นเดียวกับถั่วชนิดอื่นๆ ที่มักจะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของ “อะฟลาท็อกซิน” สารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ถ้าได้รับเข้าไปมากๆ จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร คนที่แพ้ก็อาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นอาเจียน หมดสติ แถมถ้าสะสมในร่างกายนานๆ เข้าก็อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ฉลาดซื้อ ฉบับที่แล้ว (ฉบับที่ 186) เราได้นำเสนอผลทดสอบอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสง ซึ่งผลที่ออกมาถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภค เมื่อพบว่ามีถั่วลิสงถึง 10 จากทั้งหมด 11 ตัวอย่างที่เรานำมาตรวจวิเคราะห์ ไม่พบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ส่วนอีก 1 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนก็พบในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งไม่เกินจากปริมาณที่กฎหมายกำหนด เรียกว่าผู้บริโภคสามารถกินถั่วลิสงได้อย่างสบายใจ ปลอดภัยหายห่วง ส่วนฉบับนี้ก็เป็นทีของถั่วเหลืองบ้าง ไปดูกันสิว่า ถั่วเหลืองหลากหลายยี่ห้อที่วางขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไป จะเจอการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน บ้างหรือเปล่าผลการทดสอบผู้บริโภคได้ดีใจกันอีกครั้ง เมื่อผลทดสอบการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน ในถั่วเหลือง ได้ผลที่ปลอดภัยในการบริโภค ไม่พบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเลยในถั่วเหลืองทั้ง 8 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบข้อกำหนดปริมาณอะฟลาท็อกซินในอาหารประกาศกระทรวงสาธาณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่ทีสารปนเปื้อน กำหนดให้พบการปนเปื้อนของ อะฟลาท็อกซิน ในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรับ ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัมสถานการณ์การบริโภคถั่วเหลืองในประเทศไทยข้อมูลจากรายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้ม ปี 2558 โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุว่า เมื่อปี 2557 ประเทศไทยเรามีความต้องการใช้เมล็ดถั่วเหลืองอยู่ที่ 2.07 ล้านตัน มากกว่าปี 2556 ที่มีความต้องใช้อยู่ที่ 1.74 ล้านตัน เพิ่มมากขึ้นถึง 18.65% โดยมีการนำเมล็ดถั่วเหลืองไปใช้ประโยชน์ในหลายวัตถุประสงค์ ที่มากที่สุดก็คือ การนำไปสกัดน้ำมัน คิดเป็น 81.87% ของจำนวนถั่วเหลืองที่ใช้ทั้งหมดในประเทศ รองลงมาคือการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 17.65% และนำไปทำพันธุ์ 0.19%แม้ว่าประเทศไทยเราจะมีความต้องการถั่วเหลืองค่อนข้างสูง แต่ว่าการผลิตในประเทศยังค่อนข้างน้อย เนื่องจากขาดแคลนเมล็ดพันธ์ที่ดี และถั่วเหลืองถือเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ส่งผลให้ไทยเราต้องมีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองในปริมาณที่ค่อนข้างสูง โดยในปี 2558 มีการนำเข้าอยู่ที่ประมาณ 2.10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่นำเข้าในปริมาณใกล้เคียงกันคือ 2.02 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณเมล็ดถั่วเหลืองที่เราสามารถผลิตได้เองในประเทศอยู่ที่แค่ 5 หมื่นกว่าตันเท่านั้น หนำซ้ำยังมีการคาดการณ์กันว่าเนื้อที่เพราะปลูกถั่วเหลืองในประเทศน่าจะลดลงเรื่อง โดยปัจจุบันเรามีเนื้อที่เพราะปลูกถั่วเหลืองอยู่ที่ประมาณ 0.18 ล้านไร่ถั่วเหลือง อาหารมากคุณประโยชน์ถั่วเหลือง ถือเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในถั่วเหลืองประกอบด้วยโปรตีน 35% ไขมัน 20% ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่นตัวเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีใยอาหาร มีแร่ธาตุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม เหล็ก วิตามินบี 1 และ วิตามินบี 2ประโยชน์จากการบริโภคถั่วเหลืองนั่นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เพราะในถั่วเหลืองมีแคลเซียมสูง นอกจากนี้โปรตีนในถั่วเหลืองยังช่วยยับยั้งให้ร่างกายของเราสูญเสียแคลเซียมลดลง ถั่วเหลืองยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง สารประกอบในถั่วเหลืองเป็นสารที่ช่วยในการยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ที่จะเปลี่ยนเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็ง โปรตีนในถั่วเหลืองยังไปช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ในถั่วเหลืองยังมีสารที่ชื่อว่า “ไฟโตเอสโตรเจน” (phytoestrogen) ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิง ถือเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อผู้หญิงช่วยให้ฮอร์โมนทำงานได้ปกติและดีขึ้น ลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ดีต่อสุขภาพของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การบริโภคอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นประจำจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายของเรา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 106 ฝันลม ๆ แล้ง ๆ กับถั่วขาว

ผู้เขียนมีอาการ(ซึ่งไม่ใช่โรค) ประจำตัวอยู่อาการหนึ่งคือ อาการปวดหัวไมเกรน (Migraine headache) ด้วยสาเหตุนานาประการ แต่ที่จำแม่นคือ อาการท้องอืด ดังนั้นเมื่อใดที่กินอาหารแล้วเกิดอาการท้องอืด สิ่งที่ผู้เขียนจะรีบทำคือ กินยาช่วยย่อย สาเหตุของการท้องอืดนั้นมากมายหลายประการ แต่ที่แน่นอนและเป็นบ่อยคือ อาหารไม่ย่อย ไม่ ว่าจะไม่ย่อยเพราะกินมากไปเนื่องจากไปกินบุฟเฟ่ต์ที่ต้องเอาให้คุ้ม หรือบางครั้งไม่ได้กินมาก แต่มันมีสาเหตุว่าในอาหารมีสารที่ไปยับยั้งการย่อยอาหาร เช่น ถั่วลันเตาอบกรอบ คำถามว่า ทำไมเมื่ออาหารไม่ย่อยแล้วจึงทำให้ปวดหัวไมเกรนได้ปรกติแล้วอาหารที่ผ่านการย่อยในลำไส้เล็ก มักเหลือเพียงกากใยซึ่งเป็นส่วนของพืชผักที่ไม่ถูกย่อย เมื่อลงสู่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในนั้นก็จะย่อยใยอาหารบางส่วนเป็นอาหาร จนเหลือส่วนที่ไม่มีใครย่อยได้ปนกับสิ่งอื่นๆ ออกเป็นอุจจาระ ท่านผู้อ่านอาจรู้สึกแปลกใจจนถึงอาจเกิดอาการกังวลถ้าทราบว่า ชนิดของแบคทีเรียที่มีได้ในลำไส้ใหญ่นั้นมากมายนัก ราว 300 ถึง 400 สายพันธุ์ ไม่ได้มีเฉพาะแลคโตบาซิลัส สายพันธุ์พิเศษที่สาวขายยา…บอกดอก ชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่นั้นถูกกำหนดด้วยกากอาหารที่เราผ่านลงไป วันหนึ่งกินอาหารอย่างหนึ่งก็เหลือกากอาหารแบบหนึ่งลงไปทำให้แบคทีเรียสายพันธุ์หนึ่งเจริญ พออีกวันกินอาหารอีกแบบหนึ่งสายพันธุ์ของแบคทีเรียก็เปลี่ยนไป แบคทีเรียเหล่านี้ทำหน้าที่ต่างกันไป บางชนิดช่วยกระตุ้นการดูดน้ำออกจากกากอาหารพอประมาณ ทำให้กลายเป็นอุจจาระที่สมบูรณ์แบบคือ ไม่แข็งโป๊ก หรือเหลวปิ๊ด แต่บางสายพันธุ์สามารถทำให้ท่านผู้อ่านหน้านิ่วคิ้วผูกโบว์ได้ในตอนเช้า เพราะการดูดน้ำออกจากกากอาหารมากไป หรือหน้าเซียวไปเลยถ้ามันเหลวเละเพราะแบคทีเรียไม่ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกจากกากอาหาร ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีกากใยที่แบคทีเรียย่อยได้ดีและเป็นแบคทีเรียที่ช่วยให้การดูดน้ำออกจากกากอาหารไม่มากเกินไป ช่วงเวลาเข้าห้องน้ำตอนเช้าก็จะสุขารมย์ปานยกภูเขาออกจากอก แต่ในกรณีที่มีอาหารที่ไม่ใช่กากใยจากผักผลไม้ผ่านลงไปด้วย เช่น กรณีที่อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตไม่ถูกย่อยในลำไส้เล็ก ผ่านลงไปลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียชนิดที่ใช้คาร์โบไฮเดรตชนิดนั้นได้ ก็จะเจริญมากขึ้นเป็นเสาหลักของลำไส้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น กรณีที่ท่านผู้อ่านหลายท่านเลิกดื่มนมหลังจากที่โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว วันหนึ่งเกิดกลัวเป็นโรคกระดูกพรุนเร็ว เพราะโทรทัศน์เขาเตือนว่า วันนี้คุณดื่มนมแล้วหรือยัง เลยรีบไปหามาดื่ม แล้วก็พบว่า ภายในคืนนั้นเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาจมีอาการถ่ายเหลวที่ไม่ใช่อาการท้องเสีย เพราะอุจจาระที่ถ่ายออกมาไม่ได้มีกลิ่นเหม็นแบบรุนแรง แต่เป็นกลิ่นปรกติของมัน ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปในไม่ช้า เหตุที่การกินนมหลังจากเลิกมานานแล้วทำให้ถ่ายท้องนั้น อธิบายได้ว่าผู้ใหญ่หลายคนขาดเอนไซม์ที่ใช้ย่อยน้ำตาลแลคโตส เนื่องจากเอนไซม์นี้มีเฉพาะในผู้ใหญ่ที่ดื่มนมเป็นประจำมาตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ส่วนคนที่พอคิดว่าโตแล้วต้องเลิกดื่มนม เพราะกลัวถูกหาว่าเป็นลูกแหง่ ร่างกายก็เลยเลิกสร้างเอนไซม์นี้เพราะเมื่อเลิกกินนมก็ไม่มีน้ำตาลแลคโตสจากนมไปคอยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเอนไซม์ออกมาใช้ ดังนั้นเมื่อหวนกลับมาดื่มนมจึงไม่มีเอนไซมไปย่อยน้ำตาลแลคโตสเป็นพลังงาน แบคทีเรียที่มีในลำไส้ใหญ่ชนิดที่กินน้ำตาลแลคโตสได้ก็จะกินแทนแล้วปล่อยแก๊สเช่น ไฮโดรเจน ออกมาทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาการท้องอืดท้องเฟ้อนั้นน่าจะส่งผลเนื่องไปถึงระบบประสาทที่สมอง ทำให้เกิดอาการไมเกรนได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสารอาหารประเภทใดเหลือลงไปในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียชนิดที่กินอาหารกลุ่มนั้นได้ก็จะ เจริญมากขึ้น และมักปล่อยแก๊สต่างๆ ออกมา เหม็นมากบ้าง น้อยบ้าง เช่น ถ้าเป็นอาหารพวกโปรตีนหลงลงไปลำไส้ใหญ่ แก๊สที่เกิดมักเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือแก๊สไข่เน่า ซึ่งท่านผู้อ่านจะประจักษ์ได้เลยว่า วันไหนได้กินอาหารมีโปรตีนสูงมากจนย่อยในลำไส้เล็กไม่หมด วันนั้นจะสร้างมลพิษในอากาศจนคนใกล้ตัวอยากฆ่าตัวตายหนีไปเลย เกริ่นมาเสียยาวเกี่ยวกับเรื่องอาการท้องอืดเฟ้อเพราะในฉลาดซื้อฉบับนี้ตั้งใจคุยถึงโฆษณาสินค้าที่จัดเป็นอาหารชิ้นหนึ่งคือ ผลิตภัณฑ์ใส่ถั่วขาว ความสนใจของผู้เขียนนั้นเริ่มที่ว่าในโฆษณานั้นมีการใส่กางเกงยีนของสตรีนางหนึ่ง ซึ่งถ่ายทำค่อนข้างเร็วจนผู้เขียนเกิดความสงสัยว่า ตอนที่กางเกงยีนไม่เข้าที่นั้นเขาคงต้องใส่แต่ชั้นในชิ้นเดียวจึงได้เข้าไปในเว็บ www.adintrend.com เพื่อดูคลิปนี้ให้หายข้องใจ และก็พบความจริงว่าผู้แสดงโฆษณาใส่อะไรก่อนใส่กางเกงยีนที่ใส่ยากเย็นจนลิ้นแล่บออกมา ผลของการใส่กางเกงยีนยากนั้น ในโฆษณาวางเนื้อเรื่องให้เราคิดต่อไปว่า นางแบบคงรู้สึกตัวว่าอ้วนจึงคิดถึงผลิตภัณฑ์ที่อาจทำให้ผอมลงได้คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีการผสมถั่วขาวเข้าไป ก่อนทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ความสงสัยจึงเกิดขึ้นทันทีว่า ถั่วขาวคืออะไร และมันไปทำให้ผอมได้อย่างไรเข้าเน็ทไปก็พบว่า ถั่วขาว (White Kidney Beans) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า ถั่วแขก และถั่วพูลักษณะเป็นฝักที่มีเมล็ดคล้ายรูปไต พบมากในเขตน้ำกร่อย ขึ้นได้ดีในดินเลนค่อนข้างแข็ง ออกดอกและผลเกือบตลอดทั้งปี จากเว็บ www.foodsafetymobile.org ทำให้รู้ว่าถั่วขาวมีกำเนิดจากพื้นที่สูงแถวเม็กซิโกและกัวเตมาลา เป็นพืชขึ้นได้ดีในอากาศหนาวเย็นระหว่างเจริญเติบโต ในประเทศไทยนั้นก็มีการลองปลูกถั่วขาวบนพื้นที่สูงและพบว่าปลูกได้ดีทีเดียวแต่ไม่แพร่หลายเพราะเรานิยมกินถั่วเหลืองมากกว่า ถั่วชนิดนี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร มีผลแบบงอกตั้งแต่ยังอยู่ บนต้น ผลสีเขียวยาว 1-1.4 ซม. กลีบเลี้ยงหุ้มผลรูปดาว กลีบโค้งกลับ มีการนำถั่วขาวมาแปรรูปทางด้านอุตสาหกรรมอาหารพร้อมบริโภคต่างๆ หลากหลาย เช่น ถั่วขาวในกาแฟและโกโก้ ซุปครีมถั่วขาว ถั่วขาวผสมคอลลาเจน ถั่วขาวในซอสมะเขือเทศบรรจุกระป๋อง เป็นต้น สำคัญที่สุดคือ มีการสกัดสารสำคัญในถั่วขาวชื่อว่า ฟาซิโอลามีน (Phaseolamin) ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสซึ่งขับออกมาจากตับอ่อน (เพื่อย่อยแป้งในลำไส้เล็ก) ได้ถึง 66% ดังนั้นการกินสารนี้เข้าไปจะทำให้เกิดการสูญเปล่าในการกินอาหารแป้ง มีคำแนะนำว่าถ้าได้กินสารนี้ราว 500 มิลลิกรัมต่อวัน ร่างกายจะได้รับพลังงานจากแป้งลดน้อยลงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งมีผลทำให้การสะสมของไขมันในร่างกายที่เกิดจากน้ำตาลในแป้งลดน้อยลง เมื่อร่างกายได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน ดังนั้นร่างกายก็จะเผาผลาญไขมันเก่าที่สะสมออกมาใช้มากยิ่งขึ้น ร่วมไปถึงยังลดระดับของไตรกรีเซอไรด์ในร่างกายด้วย จึงทำให้น้ำหนักลดลงโดยไม่ต้องใช้วิธีอดอาหารหรือกินยาลดความอ้วน แต่โปรดอย่าลืมว่า สารสกัดบริสุทธิ์ 500 มิลลิกรัมนั้นไม่ทราบว่ามาจากถั่วขาวธรรมดากี่กรัมหรืออาจเป็นกี่กิโลกรัม ความจริงโทษสมบัติในการยับยั้งการย่อยแป้ง ตลอดจนโปรตีนและไขมันนั้น เป็นโทษสมบัติของถั่วดิบทั่วไป ตัวอย่างเช่น การทำนมถั่วเหลือง ถ้าต้มไม่สุก สารพิษที่ยับยั้งการย่อยสารอาหารนั้นจะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากอาหารไม่ย่อย แต่แบคทีเรียย่อยแทนได้แก๊สออกมา จากเว็บ quackwatch.com นายแพทย์ Stephen Barrett ได้กล่าวถึงสารกลุ่มที่เป็น calorie blocker หรือสารยับยั้งการได้พลังงานจากอาหารแป้งว่า ในปี 2525 ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยราว 100 ราย ที่เกิดอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว และอาเจียน หลังจากบริโภคสารกลุ่มที่ยับยั้งการใช้แป้ง ดังนั้นผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เติมสารดังกล่าวจึงได้ถูกเก็บออกจากตลาด อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกานั้น คงไม่ได้รวมเอาผลิตภัณฑ์ที่เติมถั่วขาวเข้าไปด้วยเพราะขณะนั้นคงยังไม่มีการพัฒนาขึ้นมา แต่อาการนั้นใกล้เคียงกับการได้รับสารพิษตามธรรมชาติจากถั่วดิบต่าง ๆ จึงมีคำถามว่า ถ้าถั่วขาวที่เติมลงในกาแฟ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สามารถออกฤทธิ์ได้จริงอย่างที่หวัง ผู้บริโภคจะถ่ายเหลว ผายลม ปวดท้องหรือไม่ เพราะอาการดังกล่าวมักเกิดเวลาท้องอืด ในทางตรงข้ามกัน ถ้าบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีถั่วขาวเป็นองค์ประกอบแล้ว ไม่เกิดอาการขายหน้าเลย ก็แสดงว่าปริมาณสารออกฤทธิ์จากถั่วขาวในผลิตภัณฑ์นั้นน้อยไป จนไม่ออกฤทธิ์ ดังนั้นการป้องกันการได้พลังงานจากอาหารแป้งที่กินเข้าไป ก็จะไม่ได้ผล อาจพอประมาณได้ว่า กินผลิตภัณฑ์ผสมถั่วขาวได้ผลลมหายใจออกข้างล่างแทน อยากพิสูจน์ต้องไปหาซื้อมากินสักครั้งในวันอาทิตย์ ซึ่งสามารถทำขายหน้าได้ที่บ้าน เพื่อดูว่าจะเกิดอาการตามที่สงสัยหรือไม่ สำหรับผู้เขียนเองค่อนข้างจะเชื่อในข้อสงสัยเรื่องการผลิตลม เพราะวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความเชื่อถือสูงคือ Science ชุดที่ 219 ฉบับที่ 4583 หน้าที่ 393-395 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง A bean alpha-amylase inhibitor formulation (starch blocker) is ineffective in man ซึ่งแปลง่ายๆ ว่า อาหารที่มีสารพวกที่ทำหน้าที่ยับยั้งการย่อยแป้งซึ่งเรียกว่า starch blocker นั้นไม่มีผลอะไรในมนุษย์ ซึ่งบทความนี้ได้สรุปแบบฟันเสาธงเลยว่า this formulation has no effect on starch digestion in humans. ดังนั้นถ้าท่านบริโภคอะไรก็ตามที่ใส่ถั่วขาว ก็ขอให้บริโภคเพราะชอบในรสชาติก็แล้วกัน อย่าเพิ่งหวังอะไรมากนักเลย เดี๋ยวจะเสียใจภายหลัง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 114 ถั่วแปบ รออีกแป๊บก็จะได้กิน

ถั่วแปบ รออีกแป๊บก็จะได้กิน พอเข้ากลางเดือนมิถุนายน ฝนก็เริ่มตกลงมาถี่ขึ้นจากก่อนหน้านี้   ความคำนึงที่จะให้ต้นไม้ในสวนรกๆ ที่บ้านร้างที่จังหวัดนนท์ดูจะผ่อนเพลาความกังวลลงไปได้อย่างมาก  ส่วนที่บ้านแม่ที่ฉันเพิ่งย้ายกลับมาอยู่ ฉันเล็งแลดูว่าพอจะมีที่ทางให้ต้นไม้ชนิดใหม่ที่แม่ไม่เคยรู้จักได้มีที่หยั่งรากอาศัยไหม ริ้วรั้วข้างประตูด้านนอก น่าจะเป็นทำเลที่เจ้าฝูงไก่ต็อกจอมซ่าของแม่มาคุ้ยเขี่ยไม่ได้ วันที่ฝนตกหนักฉันเริ่มเอาเมล็ดถั่วแปบที่ได้มา 4 – 5 เมล็ด แช่น้ำ พอรุ่งเช้าเพียงแค่หย่อนเมล็ดถั่วแปบลงหลุม  รอฝนชุ่มๆ ตกลงมา  ฉันก็ฝันเตลิดไปถึงเมนูจากมันเสียแล้วสิ “ถั่วแปบ” ในความคุ้นเคยของเด็กต่างจังหวัดในภาคกลางนั้นเป็นเพียงชื่อขนมชนิดหนึ่ง   หากเมื่อได้ออกเดินทางไปอีสานและภาคเหนือบ่อยๆ  ชื่อนี้ก็กลายเป็นความคุ้นเคยในฐานะผักพื้นบ้านประเภทถั่วที่ปลูกง่าย โตไว และได้กินฝักสดๆ กลางก่อนกลางแก่ได้ในปีละหน ในช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือช่วงปลายเดือนตุลาคมไปยันมกราคม ในการศึกษา “ความรู้ก้นครัวจากถั่วพื้นบ้าน” โดยคณะทำงานศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่นจากถั่วพื้นบ้านในระบบการผลิตที่ยั่งยืนของเกษตรกรรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น โดนมีคุณนันทา กันตรีและคณะเป็นผู้ศึกษานั้นพบว่ามีถั่วแปบมีปลูกอย่างแพร่หลายทั้งในภาคเหนือ  ภาคอีสาน  และแถบผืนป่าตะวันตกในจังหวัดสุพรรณบุรี  อุทัยธานี และนครสวรรค์  โดยทางภาคเชียงใหม่นั้นเรียก  มะแปบ   ส่วนคนแม่สอด อำเภอชายแดนไทยพม่าใน จ.ตากเรียก มะแป๊บ หรือถั่วหนัง และในทางอีสานเรียกถั่วใหญ่หรือบักแปบ ผักสดๆ ของบักแปบนั้นต้องนำไปลวกให้สุกเสียก่อน จึงน้ำไปจิ้มแจ่วหรือป่นแบบอีสานได้อร่อยนัก นอกจากนี้บักแปบยังนำมาทำซุบ ก้อย  ตามสไตล์ของคนอีสานได้อีกด้วย  ส่วนทางภาคเหนือนั้น นอกจากลวกฝักมะแปบให้สุกกินกับน้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แล้วยังนำไปใส่ในแกงสารพัดผักพื้นบ้านอย่างแกงแค แกงส้ม  รวมทั้งนำไปผัดกับน้ำมัน และนำไปยำตามวิถีของชาวเหนือที่จะตำเครื่องแกงซึ่งคือ พริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ถั่วเน่า(หรือกะปิ)  ตำให้เข้าเข้ากันพอแหลก  แล้วนำไปผัดคั่วไฟในกระทะให้หอม ใส่เนื้อสับหรือหมูสับลงไปผัดจนสุกแล้วจึงใส่ฝักมะแปบที่ลวกไว้แล้วลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากันก็ได้ยำมะแปบที่อร่อยแบบล้านนาอีกหนึ่งเมนู  กินคู่กับข้าวนึ่งและแคบหมูกรอบๆ เค็มๆ มันๆ  ได้อย่างเพลิดเพลินเจริญอาหาร ส่วนอีกหนึ่งเมนูที่จะมาชวนทำมะแปบกินกัน คือ “แกงเลียงถั่วแปบ” เป็นเมนูตำรับอาหารพื้นบ้านของมอญแถบ อ.หนองฉาง จ.อุทัยธานี โดยตำรับนี้ได้จาก แม่พะเยาว์ กาหลง ที่บอกเราว่าคนที่นี่ชอบถั่วแปบฝักกลมมากกว่าฝักแบน เพราะหวานและกรอบกว่า ถั่วแปบชนิดอื่น ซึ่งหทัยชนก อินทรกำแหง และกำพล กาหลง คณะวิจัยสำรวจพบว่าถั่วแปบแถบผืนป่าตะวันตกนี้มีไม่ต่ำกว่า 8 สายพันธุ์   แกงเลียงถั่วแปบอย่างมอญเครื่องปรุงปลาช่อนต้มสุก หรือสดย่าง (แบบไม่รมควัน)   1 ตัว , ถั่วแปบ   1      ถ้วย , มะขามเปียก      2 – 3  ฝัก เครื่องแกงกระชาย  2 – 3 หัว ,  ตะไคร้  1  ต้น ,  หอมแดง  2 – 3    หัว ,  กระเทียม   1   หัว , พริก         5 – 10   เม็ด  (ตามความชอบเผ็ดของแต่ละคน) , ปลาร้าสับละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ , เกลือ 1 หยิบมือ วิธีทำ 1. ตั้งน้ำต้มปลา โดยใส่เกลือ และ ปลาร้าสัก 1 ตัว  ต้มจนสุก สุกแล้วยกพักขึ้นจากน้ำ 2. ตำเครื่องแกง โดยเริ่มจากกระชาย ตะไคร้ หอม กระเทียม หอมแดง และพริกให้เข้ากันดีแล้วเติมปลาร้าสับลงไปโขลกให้เข้ากัน 3. แกะเอาแต่เนื้อปลามาโขลกกับเครื่องแกง 4. กรองเอาน้ำต้มปลามาตั้งไฟต้มอีกครั้ง แล้วใส่เครื่องแกงที่ตำเข้ากันดีกับเนื้อปลาต้มลงไปละลาย ปรุงรสเปรี้ยวเค็มด้วยมะขามเปียกและน้ำปลาให้รสชาติกลมกล่อมพอดีอย่างที่ชอบใจ 5. เมื่อน้ำแกงเดือด  ใส่ถั่วแปบที่ล้างสะอาด ดึงเส้นเหนียวที่สันออก และหั่นเป็นท่อนพอคำลงไป  รอให้เดือดและถั่วแปบสุกแล้วจึงยกลง  ตักใส่ถ้วยร้อนๆ กินกับข้าวสวย อร่อยมาก ถั่วแปบมีมีวิตามินเอ และบี สูง  มีสารที่จำเป็นในการผลิตเม็ดเลือดขาวให้แก่ร่างกายที่ชื่อไฟโตฮีแมคกลูตินิน (phytohemagglutinine) และเยื่อใยสูง  หมอยาพื้นบ้านใช้เมล็ดถั่วแปบแก้ไข้ บำรุงธาตุ แก้อาการเกร็ง  รากมีสรรพคุณแก้ซางเด็ก  รากถั่วแปบกับรากขัดมอนตัวผู้ และรากพันงู แช่น้ำกินแก้ไอ  ชาวบ้านทางเหนือ นำรากถั่วแปบมาตากแดดให้แห้งแล้วฝนกินกับน้ำใช้ดับพิษไข้ ใครอยากทดลองปลูกถั่วแปบดูเพราะดอกสวยมีทั้งสีขาวและม่วง ส่วนฝักมีทั้งสีเขียวและม่วงแดง  และแม้เป็นบ้านในเมืองก็ปลูกได้ เหมาะเป็นไม้ริมรั้ว คาดว่าปลายปีนี้จะมีฝักและเมล็ดมาให้ทดลองปลูกกัน  .... โปรดอดใจรอ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 110 ข้าว – ถั่ว – งา มากับกุยช่าย

เมนูอันใหม่นี้มีที่มาจากเหตุอันน่ายินดีของเพื่อนพ้องน้องพี่ต่างองค์กร เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์กับหลานสาวคนใหม่เอี่ยม น้องลูกน้ำ - ลูกของศจินทร์ เจ้าของคอลัมน์ connecting ในฉลาดซื้ออาหารตำรับคุณแม่หลังคลอดที่เราคุ้นเห็นจะเป็นแกงส้มกับแกงเลียง แกงอย่างแรกช่วยเรื่องการระบายส่วนอย่างหลังช่วยเพิ่มน้ำนมเพื่อการเลี้ยงลูก นอกจากนี้ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ปรุงให้แม่ลูกอ่อนกินเรียกน้ำนม เช่น หัวปลี แมงลัก พริกไทยอ่อน เมล็ดขนุน และกุยช่ายกุยช่าย หมอยาร้านสมุนไพรบุญเหลือที่ตลาดบางบัวทองเคยแนะเพื่อนแม่ลูกอ่อนของฉันให้นำมาต้มกับเนื้อปลา ใส่กระเทียมสด เป็นอีกเมนูที่เพิ่มมาจากผัดกุยช่ายกับตับและขนมกุยช่ายช่วงให้นมลูกซึ่งควรมีระยะเวลายาวนานไม่ต่ำกว่า 6 เดือนเป็นอย่างน้อย ฉันเลยทดลองเมนูใหม่จากวัตถุดิบอินทรีย์ที่มี ทดลองทำมาได้ 2 เมนู คือ ขนมกุยช่ายสุขภาพ กับโจ๊กบำรุงแม่ลูกอ่อน ขนมกุยช่ายสุขภาพเริ่มด้วยการตระเตรียม ข้าวกล้องหอมมะลิ 1 แก้ว ถั่วเขียวอินทรีย์ 1 แก้ว งา 3 สี (ขาว-ดำ-น้ำตาล) อย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา กุยช่ายปลูกเอง 1 กำมือ (หั่นเป็นท่อน 1 ซม.) และน้ำ 3 แก้ว ข้าวกล้อง ถั่วและงา ทั้ง 3 อย่างนี้ แยกถ้วยเอาไปซาวน้ำแล้วสงให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นค่อยๆ นำทีละอย่างไปปั่นด้วยเครื่องปั่นไฟฟ้าให้ละเอียด จากนั้นนำส่วนผสมทั้ง 3 อย่างเทลงภาชนะทนไฟ หรือพิมพ์ขนมเค้กก็ได้ เติมน้ำ คนให้เข้ากันดีแล้วเติมเกลือกับใบกุยช่ายลงไป จากนั้นนำไปนึ่ง โดยนำพิมพ์เค้กใส่ลงในหม้อนึ่งหรือซึ้ง หาฝาปิดพิมพ์เค้กไว้เพื่อป้องกันไอน้ำหยดลงไปทำให้หน้าขนมแฉะ นึ่งไฟกลางประมาณ 30 นาที จะได้ขนมกุยช่ายที่เคี้ยวมันๆ มีสารอาหารจากข้าวกล้อง ถั่ว งา พร้อมกากใยที่แม่ลูกอ่อนต้องการอย่างมาก แต่เนื้อขนมไม่เหนียวเหมือนขนมกุยฉ่ายทั่วไปที่ใส่แป้งข้าวเจ้ากับข้าวเหนียว หลังนึ่งใหม่ๆ กินกับน้ำจิ้มที่ทำจากซีอิ๊วดำ ผสมกับน้ำส้มสายชูหมัก น้ำตาลโตนด เคี่ยวบนเตาไฟสัก 10 นาทีแล้วหั่นพริกสดใส่ลงไป ตอนทดลองชิมนี่ไม่มีใครมาชิมด้วย ขนมจึงถูกแช่เก็บไว้ เมื่อจะกินอีกที เอาชิ้นขนมขนาดที่ต้องการมาอังบนกระทะเคลือบ ใช้น้ำมันมะพร้าวเทลงกระทะเล็กน้อย อุ่นให้เหลืองหอม ก็ได้รสชาติแปลกจากตอนเริ่มทำไปอีกแบบ   อีกสูตรที่แปลงจากขนมกุยช่ายสุขภาพ คือ โจ๊กบำรุงแม่ลูกอ่อน เมนูนี้ต้องเตรียมเครื่องปรุงเพิ่มอีก ดังนี้ค่ะ น้ำซุปผัก ผักกะหล่ำปลีอินทรีย์ เห็ดหอม กุ้งแห้งวิธีทำน้ำซุป น้ำซุปผัก เตรียมจากหอมแดง กระเทียม และใบหม่อน และน้ำสะอาด ตั้งไฟอ่อน ใส่กุ้งแห้งกับเกลือไปตั้งแต่ตอนเริ่มต้ม เมื่อเดือดใส่ผักกะหล่ำ จนกะหล่ำนิ่มกำลังกิน เห็ดหอมที่แช่น้ำแล้วหั่นเป็นชิ้น จากนั้นใส่ขนมกุยช่ายที่เราทำไว้ลงไป คนให้เข้ากันก็จะได้เป็นโจ๊กร้อนๆ เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่ความหอมของเครื่องปรุงที่เข้ากันอย่างกลมกล่อมกุ้งแห้งตัวใหญ่คัดพิเศษ ผลิตแบบคนทำรับประกันความสะอาดทุกขั้นตอนได้มาตอนที่ฉันเริ่มทดลองพอดีคนรับประกันไม่ใช่ใครที่ไหน เป็นพี่บุญยืน คอลัมน์นิสต์ฉลาดซื้อของเราอีกคน ที่กำลังแบกภาระหนักในการผลิตกุ้งแห้งอินทรีย์ปลอดสารเคมีมาจำหน่ายให้พวกเรากินแบบไฟท์บังคับ ดูท่าว่าลูกค้าจะกึ่งบังคับกึ่งขอร้องกันไปอีกยาวนาน เพราะหลังจากที่เครือข่ายผู้บริโภคออกเก็บตัวอย่างกุ้งแห้งทั่วตลาดส่งให้ฉลาดซื้อไปตรวจแล้วเจอสีปนอยู่ในกุ้งแห้งทุกตัวอย่าง มีข่าวดีฝากไว้ก่อนจาก ตอนไปฟังการบรรยายวันเปิดตลาดสีเขียวในโรงพยาบาลต้นแบบปทุมธานีเมื่อต้นมีนาคม วิทยากรอาจารย์สุทธิวัสส์ คำภา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรและแพนดูลั่ม ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “ต้มข้าวกับถั่วเขียวกินอย่างละเท่าๆ กัน ใช้ล้างพิษโลหะในตัวได้” ดีและง่ายจนน่าปลื้มใจและสนุกสนานไปกับการทดลองดูนะคะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 184 ร้องเรียนเรื่องนมถั่วเหลืองบูดก่อนวันหมดอายุ

กลับมาแล้วจ้ะ  หลังจากหายหน้าไปนาน เล่มนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการพิทักษ์สิทธิของเราเอง  เมื่อเจอสินค้าเสื่อมคุณภาพ(สินค้าเน่าเสียก่อนวันหมดอายุ)   โดยต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม  ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ กรณีนมถั่วเหลืองชนิดยูเอชที เน่าเสียก่อนวันหมดอายุ(ตามที่ระบุไว้ที่กล่อง)   เอาล่ะเราก็ต้องตรวจสอบไล่เรียงเรื่องราวกันก่อน ได้ความว่าผู้ร้องได้ซื้อนมถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่งจากร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน  เพื่อนำไปแจกในงานศพญาติ  ก่อนซื้อได้ตรวจดูวันผลิตและวันหมดอายุแล้ว(ผลิตวันที่ 25 กุมภาพันธ์.59 หมดอายุ 25 ธันวาคม 59) ผู้ร้องซื้อสินค้าตอนต้นเดือนมีนาคม ห่างจากวันผลิตไม่ถึง 10 วัน จริงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่หลังจากแจกจ่ายนมไปแล้ว   ปรากฏว่าแขกในงานที่ได้รับแจกนมกล่องไป ได้โทรมาต่อว่าผู้ร้อง ว่าแจกนมบูดไปให้เขากิน  ผู้ร้องจึงได้ไปตรวจสอบนม ที่เหลืออยู่ปรากฏว่าบูดเสียจริงทั้งแพ็กที่ซื้อมาจึงได้มาร้องเรียนที่สมาคมฯ   จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เรื่องนี้ไม่สามารถไปเอาผิดกับร้านสะดวกซื้อได้ เพราะไม่ได้จำหน่ายสินค้าหมดอายุ  จึงต้องนำเรื่องไปร้องเรียนที่บริษัทผู้ผลิต ซึ่งเหตุการณ์นี้สันนิษฐานได้ว่าน่าจะเกิดจากความบกพร่องในกระบวนการผลิต    ทางสมาคมฯ จึงได้แนะนำกับผู้ร้องให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้  1. ผู้ร้องต้องกลับไปซื้อนมร้านเดิม วันเดือนปี ผลิตเดียวกัน(ซึ่งพบว่ายังมีจำหน่ายอยู่) มาเปิดพิสูจน์อีกครั้งว่าเน่าเสียเหมือนกันหมดหรือไม่ 2. ถ้าพบว่านมนั้นเน่าเสีย  ให้นำนมนั้นไปเป็นหลักฐานในการแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งผลคือพบนมเน่าเสียทั้งหมด (อันที่จริงถ้าไม่พบที่ร้านอีกก็สามารถนำนมที่เหลืออยู่กับผู้ร้องไปแจ้งความได้) ผู้ร้องจึงได้ไปแจ้งความลงบันทึกตามคำแนะนำของสมาคมฯ จากนั้นสมาคมฯ ได้รวบรวมเอกสารหลักฐาน พร้อมส่งหนังสือร้องเรียนไปที่บริษัทผู้ผลิตนมยี่ห้อนั้น  ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานของตน และได้ทำหนังสือมาขอโทษและแจ้งว่าบริษัทฯ ได้ตรวจสอบนมล็อตที่ถูกร้องเรียน ซึ่งพบว่า มีปัญหาเน่าเสียจริง อันเป็นผลจากกระบวนการขนส่งบริษัท และทางบริษัทฯ ได้เรียกเก็บนมล็อตนั้นออกจากตลาดแล้วทั้งหมด   จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการเจราจาความเสียหายของผู้ร้องเรียน  บริษัทเสนอชดเชยด้วยนมจำนวน 4 ลัง และขอให้เรื่องจบ   สมาคมฯ เห็นว่าไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภค และแจ้งบริษัทว่ากรณีร้องเรียนนี้ ผู้ร้องมิได้เสียหายแค่ซื้อสินค้ามาบริโภคเอง แต่มีการแจกจ่ายไปให้ผู้ร่วมงานศพ ทำให้เพื่อนบ้านในวงกว้าง เข้าใจผิด ทำให้ผู้ร้องเสียหายจากการถูกกล่าวหาว่าซื้อของเน่าเสียมาแจก  ทำให้เกิดความเสียหายทางด้านจิตใจ สมาคมฯในฐานะคนกลางในการไกล่เกลี่ย ได้เสนอการเยียวยาความเสียหายของผู้ร้อง 2 ข้อดังนี้ คือหนึ่งให้บริษัทเยียวยาความเสียหายของผู้ร้องเป็นจำนวนเงิน  20,000  บาท  สองให้บริษัททำหนังสือขอโทษ และสัญญาว่าจะระมัดระวังผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานทุกชิ้นก่อนถึงมือผู้บริโภค  จากนั้นมีการลงนาม 3 ฝ่าย (บริษัทผู้ผลิต สมาคมฯ ผู้รับเรื่องร้องทุกข์ ผู้ร้องเรียนในฐานะผู้เสียหาย) ในข้อตกลง และแต่ละฝ่ายเก็บข้อตกลงไว้คนละฉบับ ซึ่งทางบริษัทยินดีปฏิบัติตามข้อเสนอ      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ถั่วงอก

ถั่วงอก คือต้นอ่อนระยะเริ่มงอกของเมล็ดถั่ว แต่คนไทยจะรู้จักมากๆ จาก ถั่วงอกถั่วเขียว เพราะหากินง่าย ราคาไม่แพง กินได้ทั้งดิบและสุก ชาติแรกที่เพาะถั่วงอกมาทำเป็นอาหาร หนีไม่พ้นชนชาติจีน ตั้งแต่เมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยเริ่มเพาะจากถั่วเหลือง ซึ่งเดี๋ยวนี้คนไทยหลายคนก็นิยมรับประทาน เรียกกันว่า ถั่วงอกหัวโต ถั่วงอกถือเป็นแหล่งอาหารชั้นดีอุดมด้วยวิตามินซีและสารโปรตีน คนไทยจัดถั่วงอกเป็นผัก ทำอาหารได้หลายชนิดโดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวและผัดไท ขาดถั่วงอกไม่ได้เลย ถั่วงอกบ้านเราทำจากเมล็ดถั่วเขียว ซึ่งมีสองชนิดที่นำมาเพาะ คือถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ(ถั่วแขก) แบบผิวมันถั่วงอกที่ได้จะออกเหลืองอ่อนๆ ไม่ขาวเท่าถั่วงอกจากถั่วเขียวผิวดำ ในขั้นตอนการเพาะถั่วงอกตอนที่ถั่วเริ่มออกรากเล็กๆ บางโรงผลิตจะให้สารเร่งอ้วน คล้ายการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ถั่วงอกดูอวบๆ น่ากิน และก่อนนำไปขาย อาจมีการใช้สารฟอกสี เพื่อให้ขาวน่ากินมากขึ้น และพอมาถึงผู้ค้ารายย่อยอาจมีการใช้สารฟอร์มาลีนเพื่อคงความสดให้กับถั่วงอก คนกินจึงอาจเสี่ยงได้รับสารเคมีตกค้าง ถึงจะเสี่ยงแต่ถั่วงอกก็มีคุณค่าทางอาหารสูง โดยเฉพาะวิตามินบี 12 และวิตามิน ซี พบว่าถั่วและเมล็ดงอกทุกชนิดมีวิตามินซีมากกว่าในรูปที่เป็นเมล็ด 3-5 เท่า หากท่านมีโอกาสเลือก ปัจจุบันมีคนเพาะ ถั่วงอกแบบไร้สารมาขาย กันมากขึ้น หาซื้อไม่ยาก โปรดจงอุดหนุนเพื่อร่วมกำหนดคุณภาพอาหารที่ดี และหากไม่ได้มีธุระอะไรมากเพาะถั่วงอกกินเองขำๆ ก็สนุกดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 อะฟลาท็อกซินในถั่วลิสง

  ถั่วลิสง ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยโปรตีนในปริมาณที่ใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์ แถมยังให้สารอาหารครบถ้วนทั้ง พลังงาน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต รวมทั้งยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด โดยเราสามารถนำถั่วลิสงมาปรุงอาหารได้หลากหลายประเภททั้งเป็นส่วนประกอบในเมนูจานหลัก อย่าง แกงมัสมั่น ต้มขาหมูถั่วลิสง ใส่ในยำต่างๆ ใส่ในส้มตำ ฯลฯ หรือจะเป็นของกินเล่น อย่างขนมถั่วทอด ถั่วคั่วเกลือ หรือจะทำถั่วต้มธรรมดาๆ ก็อร่อยทั้งนั้น ยิ่งในช่วงเทศกาลกินเจเราจะเห็นถั่วลิสงเป็นพระเอกในเมนูอาหารเจต่างๆ เพราะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญทดแทนการใช้เนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญคือราคาไม่แพงแต่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับความกังวลเรื่องการปนเปื้อนของ “อะฟลาท็อกซิน” ในถั่วลิสง เนื่องจากสารตัวนี้เป็นสารพิษอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราหากบริโภคเข้าไปในปริมาณมากหรือได้รับสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะอะฟลาท็อกซิน เป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้พยายามออกมาตรการควบคุมกับผู้ผลิตผู้นำเข้าถั่วลิสงให้เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงของตัวเองปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินอะฟลาท็อกซิน(aflatoxin) เป็นสารพิษที่สร้างขึ้นโดยเชื้อรา โดยเฉพาะแอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus) และแอสเพอร์จิลลัส พาราซิติคัส (Aspergillus parasiticus) อะฟลาท็อกซินโดยทั่วไปที่พบในถั่วลิสง มี 4 ชนิด คือ อะฟลาท็อกซิน บี1 (B1) บี2 (B2) จี1 (G1) และ จี 2 (G2)นอกจากนี้ถั่วลิสงแล้วก็ยังมีพวกสินค้าทางการเกษตรอีกหลายชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซิน ไม่ว่าจะเป็น ข้าวโพด ข้าว กระเทียม พริกแห้ง พริกป่น กุ้งแห้ง รวมถึงอาหารจำพวกแป้ง เช่น แป้งข้าวสาลี แป้งข้าวเหนียว แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด ฯลฯพิษของอะฟลาท็อกซินหากเรารับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในปริมาณมาก อาจส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการท้องเดิน อาเจียน ยิ่งในเด็กเล็กยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับผลรุนแรงเฉียบพลัน อาจเกิดอาการชักและหมดสติ เนื่องจากตับและสมองทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีผลในระยะยาวหากร่างกายของเราได้รับอะฟลาท็อกซินสะสมเป็นเวลานานต่อเนื่อง อะฟลาท็อกซินที่สะสมอยู่ในร่างกาย จะไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างโปรตีน ส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ ส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ เพราะสารพิษอะฟลาท็อกซินจะไปรบกวนการทำงานของตับ ทำให้เกิดไขมันมากในตับ และทำให้มีพังผืดขึ้นที่ตับองค์การอนามัยโลก จัดให้สารอะฟลาท็อกซินเป็นสารก่อมะเร็งที่ร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่ง เพราะปริมาณของอะฟลาท็อกซินเพียง 1 ไมโครกรัม สามารถทําให้เกิดการกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย และทําให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ หากได้รับอย่างต่อเนื่องที่มา: บทความ “อะฟลาท็อกซิน : สารปนเปื้อนในอาหาร” ศูนย์วิทยบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเลือกซื้อถั่วลิสงดิบอย่างไรให้ปลอดภัยจากอะฟลาท็อกซิน-เลือกที่อยู่ในสภาพใหม่ เมล็ดเต็มสวยงาม ไม่แตกหัก ไม่ลีบ รูปร่างและสีไม่ผิดปกติ ที่สำคัญคือต้องไม่ขึ้นรา ลองดมดูแล้วไม่มีกลิ่นเหม็นอับ เหม็นหืน-ถั่วลิสงดิบแบบที่บรรจุถุงจะมีฉลากแจ้งข้อมูลต่างๆ ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อยี่ห้อ น้ำหนักสุทธิ ชื่อ-ที่อยู่ผู้ผลิต ที่สำคัญคือวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ดังนั้นควรใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ โดยเฉพาะข้อมูลวันที่ผลิตและหมดอายุ เลือกซื้อถั่วลิสงดิบที่ผลิตใหม่ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอะฟลาท็อกซินได้-อะฟลาท็อกซิน สามารถทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส ดังนั้นการปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่สามารถฆ่าอะฟลาท็อกซินได้ แต่การนำถั่วลิสงไปตากแดด ความร้อนจากแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งอยู่ในแสงอาทิตย์ก็สามารถทำลายอะฟลาท็อกซินได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ความร้อนจากแสงอาทิตย์จะช่วยลดความชื้นในถั่วลิสง ทำให้ลดความเสี่ยงของการเกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นที่มาของอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงได้ ดังนั้นถั่วลิสงที่ซื้อมาแล้วถูกเก็บเอาไว้นานๆ ก่อนจะนำมาปรุงอาหารควรนำออกตากแดด เพื่อไล่ความชื้น -ผลทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบโดยใช้ตัวอย่างของถั่วลิสงดิบ ซึ่งต้องนำไปปรุงให้สุกอีกครั้งก่อนรับประทาน แต่ถั่วลิสงที่เมื่อทำให้สุกแล้วและมักเก็บไว้ใช้นานๆ ใช้เป็นเครื่องปรุงหรือส่วนประกอบตามร้านอาหารต่างๆ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไท ร้านส้มตำ ซึ่งผู้บริโภคต้องไม่ลืมที่จะสังเกตลักษณะของถั่วลิสงให้ดีก่อนปรุงหรือรับประทาน ต้องไม่มีร่องรอยของเชื้อรา ไม่ดูเก่า ไม่อับชื้น ไม่มีกลิ่นเหม็น หากพบลักษณะที่น่าสงสัยดูแล้วเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงที่จะรับประทาน-ความคิดที่ว่า หากพบเจอส่วนที่ขึ้นราแค่ตัดส่วนนั้นทิ้ง ส่วนที่เหลือยังสามารถนำมารับประทานได้นั้น เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด เพราะเชื้อราแม้จะไม่แสดงลักษณะให้เห็นแต่อาจแพร่กระจายไปแล้วทั่วทั้งชิ้นอาหาร ดังนั้นเมื่อพบอาหารที่ขึ้นราควรทิ้งทั้งหมด อย่าเสียดายประเทศไทยคุมเข้มการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงถั่วลิสง จัดเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ได้รับการควบคุมดูแลมาตรฐานอย่างเคร่งครัดจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเมื่อปี 2557  ได้มีการออกข้อกำหนดเรื่อง “ปริมาณอะฟลาท็อกซินในเมล็ดถั่วลิสง” เพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่ก็มีมาตรฐานสินค้าเกษตรของถั่วลิสงแห้งอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นว่าประเทศไทยเรามีการบริโภคถั่วลิสงในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเฉพาะที่ผลิตเองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงต้องมีการนำเข้าถั่วลิสง นอกจากนี้ถั่วลิสงถือเป็นต้นทางของการผลิตอาหารอีกหลากหลายชนิด ทางคณะกรรมการฯ จึงเห็นว่าจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานควบคุมเรื่องการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในถั่ว เนื่องจากอะฟลาท็อกซินเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคโดยข้อกำหนดปริมาณอะฟลาทอกซินของถั่วลิสง ที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นอกจากจะมีการกำหนดเรื่องปริมาณการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินที่กำหนดไว้เท่ากับประกาศกระทรวงสาธารณสุข คือ พบได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อถั่วลิสง 1 กิโลกรัม ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่น่าสนใจ อย่างการกำหนดให้ต้องมีการคัดแยกเมล็ดขึ้นรา เมล็ดแตกหัก เมล็ดเสียหาย และสิ่งแปลกปลอมก่อนส่งจำหน่าย ซึ่งเมล็ดที่พบความบกพร่องที่ถูกคัดแยกไว้ ห้ามนำไปจำหน่ายเพื่อบริโภคหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอื่นอีก และการนำเข้าถั่วลิสงจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยต้องมีการแสดงหลักฐานการตรวจสอบการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินและต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่ควบคุมดูแลก่อนนำมาวางจำหน่าย ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง (100 กรัม) สารอาหาร ถั่วลิสงแห้ง ถั่วลิสงสุก พลังงาน (กิโลแคลอรี) 548 316 โปรตีน (กรัม) 23.4 14.4 ไขมัน (กรัม) 45.3 26.3 คาร์โบไฮเดรต (กรัม) 21.6 11.4 เหล็ก (มิลลิกรัม) 1.5 2.2 แคลเซียม (มิลลิกรัม) 58 45 ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม) 357 178 ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร   ฉลาดซื้อเราเคยทดสอบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงมาแล้วครั้งหนึ่ง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 94 ธันวาคม 2551 ซึ่งตอนนั้นทดสอบอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงชนิดพร้อมรับประทาน ได้แก่ ถั่วลิสงอบเกลือ ถั่วลิสงเคลือบแป้ง และถั่วลิสงอบกรอบทั้งเปลือก รวมแล้วทั้งหมด 10 ตัวอย่าง ซึ่งผลที่ออกมาถือว่าน่ายินดี เพราะแม้จะมีการพบการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินอยู่บ้าง คือพบจำนวน 5 ตัวอย่าง แต่ก็เป็นการพบที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน คือไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม โดยพบในปริมาณที่น้อยมาก คือเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 0.5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้นผลทดสอบการปนเปื้อนของเชื้อราอะฟลาท็อกซินในถั่วลิสงดิบจากผลการทดสอบครั้งนี้ พบข่าวดี เมื่อตัวอย่างถั่วลิสงดิบที่ฉลาดซื้อสุ่มนำมาทดสอบจำนวนทั้งหมด 11 ตัว พบว่าไม่มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินเลยถึง 10 ตัวอย่าง มีเพียงหนึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนคือยี่ห้อ Home Fresh Mart ซึ่งก็พบการปนเปื้อนที่ค่อนข้างน้อยมากๆ คือ 1.81 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้น ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กฏหมายกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 94 มีถั่วลิสงที่ไหน มีอะฟลาท็อกซินที่นั่น ?

ถั่วลิสงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย เนื่องจากเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศ และใช้บริโภคได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบสด หรือนำไปประกอบอาหารอื่นๆ อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดีและราคาไม่แพง แต่ก็นั่นแหละ เวลาที่กระทรวงสาธารณสุขสำรวจอาหารทั่วประเทศทีไร ปัญหาที่เกิดขึ้นเสมอๆ ก็คือ การปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาทอกซิน ที่มักตรวจพบในถั่วลิสงมากที่สุด โดยเฉพาะถั่วคั่วที่นำมาปรุงอาหารหลายชนิด อย่างก๋วยเตี๋ยวผัดไท ก๋วยเตี๋ยวต้มยำหรือส้มตำไทยที่คนนิยมกันทุกหัวระแหงนั่นแหละตัวดีเลย ตรวจเจอเป็นประจำ ผู้บริโภคจึงไม่ควรรับประทานให้บ่อยมากนัก ในส่วนของถั่วคั่วเราอาจพอคาดเดาได้ว่า มีสารอะฟลาท็อกซินอยู่มากและควรหลีกเลี่ยง แต่ในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีถั่วเป็นตัวชูโรง อย่างถั่วลิสงอบเกลือ หรือถั่วลิสงเคลือบแป้ง ตลอดจนถั่วลิสงที่อบกรอบทั้งเปลือกที่บรรจุซองขายในลักษณะของอาหารว่างนั้น ก็เข้าข่ายต้องสงสัยเหมือนกันว่า มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนต่อการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน ตารางทดสอบถั่วลิสงอบเกลือ/ถั่วลิสงเคลือบแป้ง/ถั่วลิสงอบกรอบทั้งเปลือก ทดสอบที่สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลส่งตัวอย่างวิเคราะห์เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2551ผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 94 พริกป่น…เสี่ยงอะฟลาท็อกซินไม่แพ้ถั่วลิสง

เกิดเป็นไทยกินอาหารอะไรก็ต้องให้แซ่บไว้ก่อน พริกเลยเป็นเครื่องเทศที่เกือบขาดไม่ได้ในอาหารไทย นอกจากเรื่องกินแล้ว พริกยังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญระดับประเทศ เพราะสามารถนำไปพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมได้อีกหลายอย่างนอกจากเรื่องอาหาร ได้แก่ ยา ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ปลวก หนู ส่วนผสมของสายเคเบิล ผลิตภัณฑ์แก้ง่วง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ป้องกันตนเองในกลุ่มของผลิตภัณฑ์อาหารนอกจากน้ำพริก ซอสพริกแล้ว พริกแห้ง พริกป่น ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ดูอย่างก๋วยเตี๋ยวถ้าสั่งใส่ถุงกลับบ้าน ทุกถุงก็จะได้รับพริกป่นในแบบซองเล็กๆ ใส่ให้ด้วย ถ้าเป็นแบบเดิมคนขายจะตักแยกใส่ถุงพลาสติกแบ่งครึ่งกับน้ำตาลทรายให้ลูกค้า แต่แบบซองเล็กๆ นี้ก็สะดวกมากขึ้นเพราะดูผนึกเรียบร้อยมิดชิดดี พริกป่นนั้นควรต้องเก็บในที่แห้งสนิท เพราะเชื้อราจะขึ้นได้ง่ายมาก และหากเกิดเชื้อราขึ้นแล้วเราก็จะได้รับสารพิษ “อะฟลาท็อกซิน” เป็นของแถม จากข้อมูลที่ผ่านมา พริกป่น จัดว่าเป็นอาหารที่เสี่ยงต่ออะฟลาท็อกซินไม่แพ้ถั่วลิสง ยิ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าพริกป่นจากต่างประเทศมากขึ้น ความเสี่ยงก็มีมากขึ้น เพราะผู้บริโภคจะขาดข้อมูลในเรื่องแหล่งผลิตสินค้า ทำให้ไม่อาจมั่นใจได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิตพริกป่นนั้นมีการควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน ฉลาดซื้อทดสอบเพื่อเฝ้าระวังปัญหาเรื่อง อะฟลาท็อกซินในพริกป่น ฉลาดซื้อ ได้เก็บตัวอย่างพริกป่นที่บรรจุในซองสำเร็จรูปที่แถมกับอาหารตามสั่งหรือก๋วยเตี๋ยว ยี่ห้อยอดนิยมสองยี่ห้อได้แก่ ไร่ทิพย์และข้าวทอง พร้อมด้วยพริกป่นที่บรรจุซองขายในห้างสรรพสินค้าอีก 5 ยี่ห้อ ได้แก่ พริกขี้หนูป่นตรา เจเจ พริกขี้หนูป่นตราบางช้าง พริกขี้หนูป่น ตรามือที่ 1 พริกขี้หนูป่น ตรานักรบ และพริกขี้หนูป่น ตราศาลาแม่บ้าน และพริกขี้หนูแบบแบ่งขายในตลาดสดพระประแดงและตลาดสดดินแดง แล้วมอบให้ห้องทดสอบของสถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล ตรวจหาสารพิษอะฟลาท็อกซิน ผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินในพริกป่นเกือบทุกตัวอย่าง แต่ในปริมาณที่ไม่มากจนน่าห่วง พบน้อยกว่าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม อีกอย่างพริกนั้นเรากินไม่มาก แค่พอชูรสให้อร่อย จากผลทดสอบจึงไม่น่าจะมีปัญหาต่อการบริโภค แต่ก็ไม่ควรประมาทเพราะวันหนึ่งๆ เราก็กินอาหารอื่นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนอะฟลาท็อกซินด้วยเช่นเดียวกัน ให้ดีที่สุดก็คือ เลือกพริกแห้งมาคั่วทำพริกป่นกินเองจะดีที่สุด ส่วนแม่ค้าแม่ขายที่ซื้อพริกป่นจากตลาดสด ควรเลือก เจ้าที่เชื่อถือได้และมีการหมุนเวียนขายพริกได้ไว อย่างที่ตลาดพระประแดง ฉลาดซื้อไม่พบอะฟลาท็อกซินในตัวอย่างพริกป่นเลย เพราะของเขาขายดีมาก หมดไวมาก ขณะที่ตัวอย่างอื่นๆ พบอะฟลาท็อกซินกันอย่างละเล็กละน้อย  (ดูตาราง) ตารางผลทดสอบปริมาณอะฟลาท็อกซินในพริกป่น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 ขาว ใช่ว่าจะดีเสมอไป

เรื่องทดสอบ 3 คงไม่มีใครที่อยากเสี่ยงกับการปนเปื้อนของสารพิษในอาหาร โดยเฉพาะกรณีจงใจใส่ลงไปทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นอันตรายกับผู้บริโภค แต่ผู้ค้าหลายรายก็ยังคง เล่นไม่ซื่อ กับลูกค้าตาดำๆ ดังนั้นจึงต้องมีการเฝ้าระวังอันตรายจากการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารอยู่เสมอ ฉลาดซื้อฉบับนี้ ไปเดินสำรวจตลาดแล้วแวะซื้อถั่วงอกกับขิงซอย มาตรวจหาสารฟอกขาว หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยสุ่มตัวอย่างจากตลาดสด 4 แห่ง และซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดบางแค ตลาดคลองเตย ตลาดยิ่งเจริญและตลาดเทวราช ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ต 3 แห่ง คือ คาร์ฟู บางแค โลตัส อ่อนนุช และเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ถั่วงอกสด คนนิยมบริโภคกันมาก เพราะเป็นผักที่นิยมกินกันดิบๆ โดยจะกินเป็นเครื่องเคียงของอาหารคาวชนิดต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ขนมจีนน้ำพริก-น้ำยา ผัดไท ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือนิยมนำมาผัดกับเต้าหู้ ที่เป็นเมนูโปรดของหลายคน ส่วนขิงซอย แม้จะบริโภคในปริมาณไม่มากเท่าถั่วงอกเพราะมีรสเผ็ดร้อน แต่ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เดิมอาจไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเราซื้อกันเป็นแง่งมาปอกเปลือกและหั่นฝอยเอง แต่เดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่แม่ค้าที่ต้องใช้ขิงซอยประกอบอาหาร สามารถซื้อแบบซอยสำเร็จรูปแล้ว มาปรุงอาหารได้เลย แน่นอนว่า ขิงนั้นปล่อยไว้สักระยะก็จะมีสีคล้ำดำ จนไม่น่ารับประทาน จึงนิยมนำสารฟอกขาวมาผสมเพื่อให้ขาวเรียกความสนใจได้นานๆ ผลทดสอบจากการทดสอบ สินค้าที่เป็นแบรนด์ของห้าง ไม่พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาว ทั้งในถั่วงอกและขิงซอย แต่แบรนด์ที่ไม่ใช่ของห้างแต่นำมาวางขายในห้าง คือ ถั่วงอกยี่ห้อ วีพีเอฟ ซึ่งเก็บจากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน พบการปนเปื้อนของสารฟอกขาวหรือ ซัลเฟอร์ไฮดรอกไซด์ 11.47 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในขณะที่ยี่ห้อ วีพีเอฟที่เก็บตัวอย่างจาก คาร์ฟู บางแค ไม่พบการปนเปื้อน ในส่วนของขิงซอย ที่พบมากน่าเป็นห่วงคือ ขิงซอยจากตลาดยิ่งเจริญ พบสารฟอกขาว 204.58 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รองลงมาได้แก่ ขิงจากตลาดเทวราช พบ 48.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินถั่วงอก ขิงหั่นฝอยให้หายห่วง 1.ซื้อถั่วงอก ขิงซอย ที่ไม่ดูขาวจนเกินไป ผิดธรรมชาติ โดยเฉพาะขิงซอย เมื่อไม่มีเปลือกมันจะมีสีคล้ำตามธรรมชาติเนื่องจากการสัมผัสกับอากาศ ถ้าขาวก็ถือว่าผิดปกติ ส่วนถั่วงอก ตามธรรมชาติ เมื่อเด็ดหางออกบริเวณที่มีรอยฉีกขาดจะมีสีคล้ำขึ้น 2.ถั่วงอก ถ้าให้ล้างพิษจากสารฟอกขาวได้เด็ดขาด ต้องลวกในน้ำเดือด เพื่อที่จะทำลายสารตกค้าง 3.หาโอกาสเพิ่มทางเลือก ด้วยการปลูกหรือเพาะถั่วงอกเอง เพื่อรับประทานภายในครัวเรือน ผลทดสอบ ถั่วงอก สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์)มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ โฮม เฟรช มาร์ท (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ถั่วงอก วีพีเอฟ (ห้างคาร์ฟู บางแค) ไม่พบ ตลาดเทวราช 3.79 ตลาดยิ่งเจริญ 5.79 ถั่วงอก วีพีเอฟ (จากเดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) 11.47 ผลทดสอบ ขิงหั่นฝอย สถานที่เก็บตัวอย่าง สารฟอกขาว (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์) มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตลาดบางแค ไม่พบ ตลาดคลองเตย ไม่พบ ซีโอเอฟ (เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน) ไม่พบ ซีโอเอฟ (คาร์ฟู บางแค) ไม่พบ เทสโก ไฮจีนิก (โลตัส อ่อนนุช) ไม่พบ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ไม่พบ ตลาดเทวราช 48.45 ตลาดยิ่งเจริญ 204.58 สารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในการผลิตอาหารหลายประเภท ทั้งในอาหารที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้ใส่สารฟอกขาว โดยพบการตกค้างในปริมาณสูงในอาหารหลายชนิด จึงถูกจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ต้องมีการเฝ้าระวังในการใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารอย่างใกล้ชิด สารฟอกขาวที่นิยมใช้ในอาหารบ้านเราส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารประกอบซัลไฟต์ ซึ่งเป็นชื่อรวมของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และเกลืออนินทรีย์ของกรดซัลฟูรัสซึ่งแตกตัวให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของสารกลุ่มนี้ไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอรไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน และประเทศไทยได้อนุญาตให้สารซัลไฟต์เป็นสารฟอกขาวใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท เช่น การผลิตน้ำตาล วุ้นเส้น เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ลูกเกด และอาหารทะเลเยือกแข็ง เป็นต้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point